การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
นายมานะ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1116
ผู้ติดตาม: 0
เสาร์ ก.พ. 22, 2014 11:05 am | 0 คอมเมนต์
เห็นกระทู้ที่น่าสนใจที่ถูกล็อกไปแล้วในบอร์ด value investing ครับ อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์กับนักลงทุนที่ประสบการณ์น้อยอย่างตัวผมเอง จึงขออนุญาต quote ข้อความในกระทู้ดังกล่าว เพื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่นักลงทุนรุ่นใหม่ๆ ครับ
เนื้อหาของกระทู้ทำให้เข้าใจหลักการการประเมินมูลค่าได้มากยิ่งขึ้นครับ ทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิธี DCF PE และ OE ว่าแท้จริงแล้วมีรากหรือที่มาของหลักคิดไม่ได้แตกต่างกันมาก เพียงแต่นำมาประยุกต์ให้มีความลึก และความสะดวกในการวิเคราะห์แตกต่างกันครับ ขอบคุณคุณ kspnwwn ผู้ตั้งกระทู้ และพี่ IH ที่เข้ามาตอบไว้ ณ ทีนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=14065
kspnwwn เขียน: เป็นตัวอย่างการหา Intrinsic Value ของ Washington Post ตอนที่ Buffett ตัดสินใจเข้าซื้อหุ้นเมื่อปี 1973 น่ะครับ นั่งอ่านอยู่เมื่อคืนแล้วมีจุดที่ยังงงๆอยู่ คงต้องรบกวนผู้เชี่ยวชาญเข้ามาไขข้อข้องใจครับ (อ้อ ลืมบอกไป ตัวอย่างนี้ได้มาจากหนังสือเรื่อง The Warren Buffett Way ของ Robert Hagstrom น่ะครับ คิดว่าหลายๆคนคงเคยอ่านแล้ว แต่ผมเพิ่งยืมมาอ่านได้สองสามวัน)
1. Market Value ของ Post เท่ากับ 80ล้านเหรียญ ในปี 1973 เริ่มต้นด้วยการคำนวณหา Owner Earnings โดยเอา net income (13.3ล้าน) บวกกับ depreciation และ amortization (3.7ล้าน) ลบกับ Capital Expenditure (6.6ล้าน) ได้เป็น Owner earnings ออกมาเท่ากับ 10.4 ล้านเหรียญ
2. จากนั้นเขาเอา 10.4 ล้านเหรียญ หารด้วย อัตราดอกเบี้ยของ long-term US bond (6.81%) ได้ออกมาเป็น Intrinsic Value 150 ล้านเหรียญ
3. แต่เขาว่า Buffett ไม่ได้หยุดแค่นี้เนื่องจาก Buffett คิดว่าในธุรกิจหนังสือพิมพ์เนี่ย Capital Expenditure จะมีมูลค่าเท่าๆกับ depreciation+amortization ดังนั้นเขาคิด owner earnings จาก net income ล้วนๆเลยซึ่งจะได้ออกมาประมาณ 196 ล้านเหรียญ (13.3/0.0681)
4. แต่ยังไม่จบครับ Buffett คิดว่าธุรกิจหนังสือพิมพ์มี Pricing Power ดังนั้นเขาเลย made assumption ว่า Post จะสามารถขึ้นราคาขายหนังสือพิมพ์ได้อีก 3% ซึ่งจะทำให้มูลค่าของกิจการกลายเป็นประมาณ 350 ล้านเหรียญ
5. ยังมีอีกครับ เนื่องจาก Buffett คิดว่า profit margin ของบริษัท 10% ที่ทำได้ในปีนั้นเนี่ยยังต่ำกว่า margin ในอดีตที่เคยทำได้ราว 15% แล้วอีกอย่าง Buffett ค่อนข้างเชื่อมือผู้บริหารว่าเธอคนนี้ (Katherine Graham) จะสามารถดึง margin ให้ขึ้นมาได้ถึง 15% เหมือนเดิม ก็เลยจัดการปรับตัวเลขมูลค่าแท้จริงของกิจการให้ขึ้นมาอยู่ที่ 485 ล้านเหรียญ
ที่ผมงงก็คือ
ในข้อ 2. ทำไมต้องเอา อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรมาหาร ผมไม่ได้สงสัยเรื่องการเลือกประเภทของอัตราดอกเบี้ยนะครับ แต่ผมสงสัยแค่ว่าทำไมเขาต้องเอามาหาร ไม่เข้าใจอ่ะครับ
ในจุดอื่นๆ ก็เป็นการปรับตัวเลขต่างๆที่ผมยังงงๆว่าคิดมายังไง แต่นึกไปนึกมาก็คิดว่าคงต้องใช้งบการเงินมานั่งดูประกอบด้วยถึงจะเข้าใจที่มาของตัวเลขได้น่ะครับ
Buffett ไม่ใช้ DCF จริงๆด้วยแฮะ
ดูวิธีการคำนวณแล้ว เหมือนจะธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาจริงๆ
ในหนังสือเล่มนี้ก็ยังมีตัวอย่างของบริษัทอื่นด้วยนะครับ เช่น Geico, ABC ซึ่งเป็นอะไรที่แตกต่างไปอีก ไว้มีเวลาจะเอามา post ถามใหม่ครับ
Invisible hand เขียน: วิธีของ Buffet ก็มีแนวคิดแบบการหา DCF ครับ แต่ง่ายกว่าเยอะ และได้ผลไม่ค่อยจะต่างกัน
DCF model จะพิจารณา growth ความเสี่ยง ค่าเสื่อมราคา และเงินลงทุน เป็นหลัก
หากทำ DCF บ่อยๆ จะเห็นว่าท้ายสุด ค่าเสื่อมในระยะยาวๆ จะเท่ากับ capex ดังนั้น การ discount cash flow จะเปลี่ยนมาเป็น discount ตัว net profit แทนก็ไม่ได้ผลแตกต่างอะไรนัก
นอกจากนี้ รายการหนึ่งในการคิด DCF คือ terminate value ซึ่งใช้สูตร FCF / WACC -g หากให้ g=0 ก็เท่กับ FCF / WACC
ดังนั้นสูตรการคิด p/e ง่ายๆ คือ ใช้ p/e = 1 / WACC -g
g คือ long-term growth rate ครับ ตัวนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากครับ หลายคนจะใช้ g เป็น + เพราะคิดว่าธุรกิจมี growth แต่ผมคิดว่า g ควรใกล้ 0 ครับ ผมคิดว่าหุ้นที่ g มากกว่า 0 ควรจะเป็นหุ้นที่โตได้มากกว่าเศรษฐกิจครับ ดังนั้นหุ้นที่โตตามเศรษฐกิจ g ควรจะเป็น 0 ครับ
และ g ไม่ควรบวกมากๆ เพราะไม่มีธุรกิจไหนครับที่สามารถโตในระยะยาวๆ ได้มากกว่าเศรษฐกิจนานๆ
ผมเคยใช้ g เป็น + พอสมควรสำหรับหุ้นที่ทำบ้านจัดสรร ในช่วง boom ซึ่งท้ายสุดพบว่าเป็นความผิดพลาดร้ายแรงอย่างหนึ่งของการทำงานครับ เพราะทำให้ valuation มันเพี้ยนไปเยอะ เพราะท้ายสุดแล้วอสังหาฯ ก็เป็นหุ้นที่โตได้ตามเศรษฐกิจหรือมากกว่านิดหน่อยเท่านั้นเอง
ปกติแล้วใน model DCF มูลค่าส่วนใหญ่จะอยู่กับ terminate value ครับ
ดังนั้นการคิดมูลค่าหุ้นโดยใช้ model " zero growth " คีอให้ g=0 ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้
แต่ Buffet ใช้ long-term gov bond เป็น WACC ซึ่งปกติ WACC จะสูงกว่า gov bond มันเหมือนจะได้มูลค่าสูงเกินจริงเพราะตัวหารต่ำ แต่อย่างที่บอก Buffet ก็ปรับมูลค่าที่จะซื้อด้วย margin of safety เอง
นอกจากนี้ 1 / WACC - g มันจะได้ multiple ค่าหนึ่งซึ่งคล้ายๆ กับ P/e ครับเพราะ p/e สะท้อนความเสี่ยงและการเติบโต
ยกตัวอย่าง หากเราให้ WACC ซึ่งสะท้อนความเสี่ยงที่ 11% และให้หุ้นตัวนั้นมี growth ( g ) ที่ 3% ก็เท่ากับว่า multiple หรือ P/e = 1 / 11% - 3 %
= 1 / 8%
= 12.5 เท่า
WACC ก็คือความเสี่ยง อย่างต่ำต้องใช้เท่ากับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีครับ ปัจจุบัน 6.8% ปกติหุ้นทั่วๆ ไปอาจจะใช้ WACC 8-15% ครับ แล้วแต่ความเสี่ยง เสี่ยงมาก wacc มาก แต่ยังไง long-term gov bond ก็ควรดูค่าที่น่าจะเป็น long-term ด้วย อย่างเช่นตอนที่ผลตอบแทนพันธบัตรลงไป 4% เราไม่ควรใช้ 4% ตอนนั้นหากเราเชื่อว่าดอกเบี้ยตอนนั้นต่ำกว่าปกติ ควรจะดูค่าเฉลี่ยระยะ 10-15 ปีย้อนหลังดีกว่า
ดังนั้น หากใช้ p/e ให้เป็น คือ รู้ว่าหุ้นตัวนั้นๆ ควรจะ p/e เท่าไหร่ ผมคิดว่ามันก็หมายความว่าเราคิด DCF เป็นนั่นแหละครับ
ผมเคยเห็นหลายกระทู้ก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ แสดงความกังวลว่าหา DCF ไม่เป็นจะลงทุนไหวมั้ย คิดว่านี่น่าจะเป็นคำตอบได้ครับว่าจริงๆ แล้วใช้ p/e ก็พอในระดับหนึ่งครับ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของ p/e มากๆ ครับ เช่น
1. การใช้ p/e กับหุ้นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรของราคาผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องต้องระวังมากๆ
2 p/e สะท้อน growth และ risk หุ้นโตสูง p/e สูง หุ้นเสี่ยงสูง p/e ต่ำ
ฯลฯ
ส่วน DCF แม้ว่าจะแม่นยำขึ้น เพราะมีการพิจารณางบดุลเข้ามาประกอบ ซึ่งเราอาจจะ adjusted อีก ratio หนึ่งคือ
EV / net profit คือ แทนที่เอา mkt cap / net profit ก็เพิ่ม long-term debt เข้าไปด้วย เพราะ EV = mkt cap + long-term debt
เหตุผลที่ไม่ใช้ EV/ EBITDA เพราะผมเชื่อว่าระยะยาวๆ Depre = capex ครับ และ interest tax ก็ต้องจ่ายออกไปจริง
ดังนั้น EV/net profit จะสูงกว่า ( หุ้นตัวนั้นแพงกว่า ) สำหรับหุ้นที่มีหนี้มาก และต่ำกว่าหากหนี้น้อย กรณีที่กำไรเท่ากันครับ
สิ่งที่น่าห่วงคือ นักวิเคราะห์ตอนนี้เอา dcf ไปใช้แบบผิดๆ คือ เอาไปใช้กับหุ้นที่ไม่ควรหา valuation แบบ dcf เช่น หุ้นวัฎจักร
เหตุผลหนึ่งที่นักวิเคราะห์ใช้ dcf เพราะว่ามันดูเป็นศาสตร์ชั้นสูง เวลานักลงทุนถามจะรู้สึกว่าตอบไปว่าใช้ dcf จะไม่ถูกถามอะไรกลับมาและดูน่าเชื่อถือ หากใช้ target p/e p/bv จะรู้สึกว่ามีคำถามกลับมาเยอะ
step การเขียนอาจจะไม่ค่อยดีนะครับ ถ้าอ่านแล้วงงก็อาจจะลองอ่านซัก 2 รอบอาจจะช่วยได้นะครับ
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 2
เสาร์ ก.พ. 22, 2014 11:12 am | 0 คอมเมนต์
เยี่ยมยอด
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2748
ผู้ติดตาม: 0
เสาร์ ก.พ. 22, 2014 6:33 pm | 0 คอมเมนต์
ขอบคุณครับ
V i IM rovised
JobJakraphan
Verified User
โพสต์: 749
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 12:01 am | 0 คอมเมนต์
ขอบคุณมากๆครับ
นายมานะ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1116
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 12:29 am | 0 คอมเมนต์
เพื่อนๆ พี่ๆ นักลงทุนนิยมใช้วิธีไหน เพราะอะไร แชร์กันได้นะครับ ^^
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 7:11 am | 0 คอมเมนต์
ขอบคุณมากๆครับ
KentaII
Verified User
โพสต์: 382
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 12:47 pm | 0 คอมเมนต์
เห็นด้วยเลยครับ ว่าการใช้ DCF นั้น มันดูเป็นศาสตร์ชั้นสูง แต่จริงๆ แล้วไส้ในของมันก็มี assumption มากมาย ซึ่งที่มาของ assumption นั้นๆ บางทีอาจไม่ได้ใช้หลักการที่ถูกต้องก็ได้ มันก็เหมือน garbage in- garbage out ซึ่งในระยะยาวแล้ว การคำนวณมูลค่าจริงๆ มันไม่มีใครสามารถคำนวณได้ถูกต้องหรอก เพราะ discount rate หรือ expected return แต่ละคนไม่เท่ากันอยู่แล้ว
ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "แมงเม่า" เขาผู้นั้นมักไม่ใช่แมงเม่า...แต่ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "เซียน" เขาผู้นั้น จะกลายเป็น แมงเม่าในไม่ช้า เพราะเขา "หยุดพัฒนาตนเอง"
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 1:35 pm | 0 คอมเมนต์
pe คือสุดยอดกระบวนท่าสูงสุด
การทำ dcf ก็เหมือนเด็ก หัดเรียน บวก ลบ คูณ หาร บัญญัติ ไตรยางค์
สมการ whatever etc
แต่ภาพความเป็นจริง ใครๆเริ่มมาก็ pe
dcf ประโยชน์ ไม่ได้อยู่ที่ค่าที่หาออกมาได้
แต่อยู่ ที่ระหว่างทำ กว่าจะได้ตัวเลขแต่ละตัวมา
ทำให้เข้าใจบ. มากขึ้น ทั้งโครงสร้างเงินทุน ความเสี่ยง
ธรรมชาติ และ โมเดล ธุรกิจ เรียกว่า ถูกบังคับให้เข้าใจและศึกษา
จนเข้าใจบ.ที่ทำพอสมควร
สำหรับท่านที่เก่งแล้วไม่ว่ากันคับ
ทำไม่ทำ ก็อยู่ที่วิจารณญาณ
show me money.
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 2
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 2:25 pm | 0 คอมเมนต์
PE = 1/(WACC-g)
สูตรเดียว หากินได้ทั้งชีวิตเลย
My House
Verified User
โพสต์: 1311
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 2:46 pm | 0 คอมเมนต์
ขอบคุณครับ
p4pyrus
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 9:21 pm | 0 คอมเมนต์
อยากสอบถามพี่ๆครับ ว่าวิธีการคำนวณหา wacc ในส่วนของ Cost of equity
เราควรใช้ค่า Book value หรือค่า Market value ในการคำนวณครับ
STAY HUNGRY STAY FOOLISH
tigerroad197
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0
อาทิตย์ ก.พ. 23, 2014 9:33 pm | 0 คอมเมนต์
ขอบคุณมากครับ
6 Dimensions
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 641
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ ก.พ. 24, 2014 1:17 pm | 0 คอมเมนต์
kspnwwn เขียน:
step การเขียนอาจจะไม่ค่อยดีนะครับ ถ้าอ่านแล้วงงก็อาจจะลองอ่านซัก 2 รอบอาจจะช่วยได้นะครับ
ชอบประโยคนี้
Risk Management = Risk Measurement + Risk Controlling+ Risk Taking
--------------------
นายมานะ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1116
ผู้ติดตาม: 0
พฤหัสฯ. ก.พ. 27, 2014 8:26 pm | 0 คอมเมนต์
ไปเจอมาอีกกระทู้ครับ
humdrum เขียน: ผมไม่ทราบว่าใครเขียน แต่งานเขียนเหมือนอาจารย์อินวิซิเบิล
ขอบคุณทั้งคนเขียนและคนที่เก็บบทความคุณ toroman
BIG CREDIT:
http://toromagn.wordpress.com/2009/10/1 ... %E0%B8%A1/
บทความที่ดีที่สุดบทความนึงของอาจารย์ตลอดกาลของผมครับ
เรื่องการประเมินราคาที่เหมาะสมของหุ้นนั้นผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ยาก และราคาที่เหมาะสมของหุ้นนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป และสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น หุ้นตัวหนึ่งมี eps 1 บาท และมี p/e ที่เหมาะสมคือ 15 เท่า ในปีนี้ราคาที่เหมาะสมคือ 15 บาท แต่หุ้นตัวนี้มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% ราคาที่เหมาะสมในปีหน้าก็จะเพิ่มเป็น 1.2*15 คือ 18 บาท
นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้ราคาเหมาะสมอาจจะเปลี่ยนแปลงคือ สภาพแวดล้อมต่างๆ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวบริษัทเองที่อาจจะทำให้การเพิ่มขึ้นของกำไร เพิ่มขึ้นหรือน้อยลง กว่าที่คาดไว้ ซึ่งการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของกำไรที่คาดหวัง จะมีส่วนทำให้ p/e ของหุ้นต่ำลงหรือสูงขึ้นด้วย ดังนั้นหาก eps growth ลด ก็ทำให้ eps ในปีต่อไปลดจากที่คาดไว้ และ p/e ที่เหมาะสมหรือ p/e ที่ตลาดจะให้กับหุ้นตัวนั้นๆ ลดลงด้วย เป็น 2 เด้ง ในทางกลับกันก็เช่นกัน ดังนั้นเราอาจจะเห็นว่าตลาด เปลี่ยนแปลงราคาที่เหมาะสมสำหรับหุ้นตัวนั้นได้เร็วและรุนแรงพอสมควรครับ เช่น หุ้น MINT เคยได้ p/e 10-15 เท่า เพราะตลาดคาดว่าหุ้นตัวนี้จะโตได้ปีละ 10-15% แต่เมื่อ mint สามารถเติบโตในปีก่อนได้เ 40% ก็กลายเป็นว่าตลาดก็ให้ p/e ของmint สูงถึง 20-25 เท่า ดังนั้น หากเรายึดติดกับว่า mint ไม่ควรมี p/e เกิน 15 เท่าก็กลายเป็นว่าอาจจะขายหุ้น mint ก่อนเวลาอันควรก็เป็นได้
หรือ หุ้น amata ในปี 44-45 เคยมี p/e เพียง 4-6 เท่า แต่ปัจจุบัน มี p/e 15-20 เท่า ดังนั้น ความคาดหวังของนักลงทุน ณ เวลาที่ต่างกัน สถานการณ์ต่างกัน ก็มีความแตกต่างกันมากครับ
แม้กระทั่งหุ้นกลุ่มอสังหาฯ หรือวัสดุก่อสร้าง เคยได้ p/e 10-20 เท่าในปี 46 แต่ปัจจุบัน p/e 6-8 เท่า หลายคนยังไม่อยากซื้อเลยครับ
ดังนั้น ผมคิดว่าการคำนวณราคาที่เหมาะสมของหุ้นแต่ละตัวนั้นค่อนข้างลำบาก สำหรับผมเองคงจะบอกได้ว่า หุ้นตัวหนึ่งๆ นั้นยังถูกพอสมควร และมี upside มาก ในขณะที่ downside หรือความเสี่ยงไม่มากนัก ทำให้น่าสนใจในการลงทุน หรือบอกว่าหุ้นตัวหนึ่งแพงกว่าที่ควรจะเป็น หรือมี downside พอสมควร หรือมีอนาคตที่ไม่น่าสนใจหรือมีความกังวลอะไรบางอย่าง ทำให้ไม่น่าสนใจนัก หรืออย่างมากก็บอกได้ว่าหุ้นตัวนั้นๆ ตามพื้นฐานแล้วราคาหุ้นไม่ควรต่ำกว่ากี่บาทต่อหุ้น แต่ผมเองไม่สามารถทำนายราคาที่เหมาะสมของหุ้นตัวนั้นได้อย่างถูกต้องครับ และไม่สามารถบอกได้ว่าหุ้นตัวนั้นจะขึ้นไปถึงเท่าไหร่ถึงจะน่าขายที่สุด หากเปรียบเทียบก็เหมือนกับว่า หากมีคน 10 คนวิ่งแข่งกัน ผมสามารถบอกได้ว่า 3 คนไหนน่าจะมีอันดับแรกๆ หรือ พอจะบอกได้ว่านักวิ่ง 3 คนที่ผมเลือกมานั้นควรจะทำเวลาได้ไม่เกินกี่วินาที แต่ผมไม่สามารถบอกได้ว่าทั้ง 3 คนหรือแต่ละคนจะใช้เวลาวิ่งกี่วินาทีครับ
ดังนั้น การที่การประเมินราคาที่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ยาก ระยะหลังๆ ผมจึงเน้นการที่เลือกหุ้นที่ดี คือ อยู่ในธุรกิจที่มีการเติบโต บริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และมีผู้บริหารที่ดี แล้วถือลงทุนไปเรื่อยๆ ครับ กล่าวคือ ผมคิดว่าเราควรจะทุ่มเทเวลาในการศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพ หรือ qualitative เช่น การวิเคราะห์ทำความเข้าใจในธุรกิจ มากกว่าปัจจัยด้านตัวเลขหรือปริมาณครับ
การวิเคราะห์ความถูกแพงของหุ้นก็เป็นสิ่งสำคัญครับ ซึ่งหลักๆ คือการดู p/e การใช้ p/e นั้นต้องใช้กับหุ้นที่ไม่ใช่หุ้นวัฎจักรเท่านั้นนะครับ ถ้าเป็นหุ้นวัฎจักรก็ต้องใช้วิธีอื่นๆ ดู ซึ่งผมคิดว่านักลงทุนทั่วไปที่ยังไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งยังไม่ควรเริ่มศึกษาจาก หุ้นวัฎจักรครับ
ผมเคยเขียนถึงหุ้นวัฎจักรไปบ้างแล้ว เผื่อหลายท่านยังไม่ได้อ่าน ผมขอฉายหนังซ้ำนะครับ
หุ้นวัฎจักรแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ครับ
1 หุ้น commodity cyclical หุ้นประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นหุ้นที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์หรือ commodity ซึ่งสินค้าจะหน้าตาเหมือนกัน ทำให้ผู้ผลิตเกือบทุกรายจะต้องขายสินค้าหรือบริการที่ราคาเดียวกัน ได้แก่ เหล็ก ปิโตรฯ น้ำมัน ถ่านหิน เรือ แร่ธาตุ ฯลฯ หุ้นประเภทนี้จะมี cycle ขึ้นลงตาม demand supply ของอุตสาหกรรม ซึ่งมีปัจจัยด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเข้ามาเกี่ยวข้องในด้าน demand และมีปัจจัยด้านการเพิ่มหรือลดการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ของโลกซึ่งเป็นตัวกำหนด supply ดังนั้นผู้ศึกษา cycle ของธุรกิจจะต้องวิเคราะห์ให้ถูกทั้งด้าน demand และ supply ถูกด้านเดียวไม่พอครับ
2 หุ้น economic cyclical หุ้นประเภทนี้แม้จะไม่ได้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ แต่สินค้าหรือบริการนั้นมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจสูง เพราะอาจจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตนักหรือพอจะชะลอการ ซื้อได้ หรือ/และ สินค้าของผู้ผลิตเหล่านี้แม้ไม่ได้เป็น commodity ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักและลูกค้าพร้อมจะ switching จากยี่ห้อหนึ่งไปอีกยี่ห้อ ทำให้เมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจึงมีการตัดราคากัน หรือเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนคงที่สูงมากทำให้การลดลงของรายได้ใกล้เคียงกับ กำไรที่จะลดลง หุ้นกลุ่มนี้ เช่น รถยนต์ อสังหาฯ วัสดุก่อสร้าง อิเลคทรอนิกส์ รวมไปถึงหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน คือ ธนาคาร เงินทุนและหลักทรัพย์
การวิเคราะห์หุ้น economic cyclical นั้น ต้องอาศัยความสามารถในการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคสูงครับ เพราะยอดขายของหุ้นกลุ่มดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับภาวะเศรษฐกิจและความ เชื่อมั่นของผู้บริโภคค่อนข้างสูง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับนักลงทุนอย่างเราที่ จะไปทำนายแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศ ที่ปัจจุบันมีตัวแปรในอนาคตที่คาดการณ์ยากจำนวนมาก เช่น การเมือง ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจประเทศสำคัญๆ เช่น สหรัฐ จีน
หุ้น cyclical ทั้งสองประเภทนั้น ดู p/e เป็นหลักไม่ได้ครับ โดยเฉพาะหุ้น commodity cyclical หุ้นเหล่านี้ แม้ p/e ต่ำมาก ก็จะใช่ว่าถูกเสมอไป หรือช่วงที่ p/e สูงก็ไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป เช่น หากธุรกิจกำลังอยู่ช่วง peak หุ้นประเภท cyclical มักจะมีกำไรที่สูงมากทำให้ p/e ต่ำ แต่เมื่อธุรกิจเข้าสู่ขาลงกำไรจะลดลงแรงมากหรือถึงขั้นขาดทุน
ดังนั้น สำหรับนักลงทุนที่เป็นมือใหม่ หรือเป็นนักลงทุนที่มีงานประจำค่อนข้างยุ่งและไม่มีเวลาศึกษามากนัก ผมจึงแนะนำให้ดูหุ้นกลุ่มที่เป็น non-cyclical เป็นหลัก ซึ่งจะปลอดภัยกว่าและวิเคราะห์ง่ายกว่าครับ
สำหรับหุ้น non-cyclical ผมให้ดู p/e ครับ แต่ต้องเป็น eps ที่ adjust กำไรที่ไม่ใช่การดำเนินงานออกนะครับ และเป็น fully diluted eps คือรวมผลของ warrant esop เข้ามาแล้ว และคำนึงถึงเรื่องอัตราภาษีในอนาคตด้วยสำหรับหุ้นที่ยังมีสิทธิพิเศษ ทางภาษีอยู่
หุ้นที่น่าสนใจในการลงทุนคือ หุ้นที่มี p/e ต่ำกว่าการเติบโตของกำไรเฉลี่ยต่อปี ในอีก 5-10 ข้างหน้าครับ คือ ควรจะวิเคราะห์ให้แตกฉานจนเห็นภาพของธุรกิจอย่างน้อยในอีก 5 ปีข้างหน้า ถ้าให้ดี 10-20 ปีก็จะดีมากครับ ดังนั้นหุ้นที่อาจจะเติบโตปีละ 30% แต่ทำได้แค่ปีเดียว ก็ไม่น่าสนใจในความคิดผมครับ เว้นเสียว่าจะโต 100% ในปีเดียวก็อาจจะน่าสนใจในการลงทุนอีกลักษณะคือ แบบ hit and run ครับ
นอกจากนี้ ต้องอย่างลืมพิจารณาเรื่อง คุณภาพของกำไร ด้วยนะครับ ตามที่ผมเคยเขียนกระทู้เรื่องนี้ไว้แล้ว คือ เราจะต้องให้ p/e สูงกว่าในหุ้นที่มีคุณภาพของกำไรสูง และให้ p/e ต่ำกว่าในหุ้นคุณภาพกำไรต่ำหรือไม่ลงทุนเลยในกรณีคุณภาพของกำไรต่ำมาก
ดังนั้นคำถาม ก็คือ จะทราบได้อย่างไรว่าหุ้นแต่ละตัวจะมีการเติบโตกี่ % ต่อปีในอีก 5-10 ปีข้างหน้า คงจะต้องดู 3 ประการครับ
1 market growth
2 market share growth
3 net profit margin
1 market growth คือจะต้องศึกษาว่าธุรกิจ อุตสาหกรรมดังกล่าวมีการเติบโตแค่ไหน ซึ่งการวิเคราะห์ตรงนี้ก็ค่อนข้างยากและเป็นศิลปะพอสมควร และเราจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวอุตสาหกรรมอย่างมากครับ วิธีที่ง่ายที่จะเริ่มต้น ก็คือ การคิดว่า อนาคต หากผู้บริโภคมีรายได้ 100 บาทต่อปี ถ้าปัจจุบัน ผู้บริโภคจ่ายเงินในการซื้อสินค้าและบริการในธุรกิจนี้ 5 บาทต่อปี อนาคตเราคิดว่าคนจะจ่ายเงินในสัดส่วนของรายได้เพิ่มขึ้นหรือลดลง หรือคงที่ครับ หากสรุปได้ว่าคงที่ ก็เท่ากับว่า market จะโตได้พอๆ กับการเติบโตของรายได้ของผู้บริโภค คือ เท่าๆ กับ GDP ครับ ถ้าคิดว่าสัดส่วนการใช้จ่ายเงินของผู้บริโภคจะสูงขึ้น แสดงว่าธุรกิจดังกล่าวจะโตต่ำกว่า gdp ครับ
2 mkt share growth ให้ประเมินสถานภาพ mkt share ของบริษัท ว่ามี mkt share ประมาณกี่ % ถ้าหุ้นตัวนั้นๆ มี mkt share สูงมากอยู่แล้ว เช่น 70% หุ้นตัวนั้นคงจะลำบากในการเพิ่ม share สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือการรักษา mkt share และโตตามตลาด ดังนั้น สิ่งที่เราจะต้องดูเพิ่มเติมก็คือ เราจะคิดว่าหุ้นตัวดังกล่าวจะรักษา mkt share ได้หรือไม่ครับ คงจะต้องไปศึกษา barrier to entry ของธุรกิจ ศึกษาคู่แข่งด้วยครับ สำหรับหุ้นที่ mkt share ต่ำ ก็มีข้อดีคือ มีโอกาสเพิ่ม mkt share ได้อีก แต่ข้อเสียคือ มีโอกาสล้มหายตายจาก เพราะการมี mkt share ต่ำแสดงถึงการเสียเปรียบหลายๆ อย่างกับผู้มี mkt share สูง และอาจจะแสดงถึงความสามารถในการบริหารที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นการเลือกหุ้น mkt share ต่ำ แม้ว่าจะมี upside สูง แต่ก็มี downside สูงเช่นกัน ดังนั้นเราจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ถึงสาเหตุของการมี mkt share ต่ำว่าอะไร เพราะอาจจะมีเหตุผลที่ดีก็ได้เช่น เป็นบริษัทใหม่ แต่ถ้าเป็นบริษัทที่ตั้งมาหลายสิบปีแล้วแต่ยังมี mkt share ต่ำอยู่ผมคิดว่าอาจจะยากเกินเยียวยาครับเว้นเสียว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในการ บริหารอย่างมีนัยสำคัญ
3 net margin ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดูครับ เพราะบางครั้ง net margin ในบางปีของแต่ละบริษัทอาจจะต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจจะมีเหตุผลบางอย่าง หรืออาจจะสูงกว่าปกติในบางปี
สำหรับหุ้นที่ net margin ต่ำ ก็คงต้องระวังว่าหากต่ำกว่านี้อีกหน่อย ก็เท่ากับว่าขาดทุนทันที แม้จะมียอดขายเพิ่มก็ตาม แต่ก็มีข้อดีคือมี room ที่ margin ที่เพิ่มขึ้นหากมีการปรับปรุงหรือมียอดขายที่เพิ่มขึ้นซึ่งน่าจะนำพาให้ economy of scale มากขึ้น
สำหรับหุ้นที่ net margin สูง ก็มีข้อดีข้อเสีย ข้อดีคือ บริษัทนั้นๆ จะมีแนวโน้ม roa roe ที่สูง และบริษัทนั้นๆ จะทนกับการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง หรือปัจจัยด้านต้นทุนได้ดี ก็คือยังสามารถสร้างกำไรอยู่ได้ แต่ข้อเสียคือ การมี margin สูงมากๆ ประเภท too good to be true จะนำมาซึ่งการแข่งขันที่รุนแรงในอนาคตหาก barrier to entry ไม่สูงพอ และข้อเสียกับนักลงทุนคือหากเราให้ net margin ดังกล่าวในการทำนายในอนาคต อาจจะได้ผลที่คาดเคลื่อนได้ครับ
ดังนั้น เราจะต้องพิจารณา 3 ปัจจัยดังกล่าว ในการประเมินคร่าวๆ ว่าหุ้นตัวนั้นๆ จะมี growth มากน้อยเพียงใดในอนาคตครับ เราอาจจะแบ่งหุ้นได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ครับ
1 market growth สูง และ mkt share สูง
หากธุรกิจดังกล่าวมี barrier to entry สูงด้วย หุ้นนั้นๆ จะเป็น super stocks ครับ เพราะการที่หุ้นนั้นๆ มี mkt share สูงจะทำให้มีความได้เปรียบคู่แข่งมากในด้านทรัพยาการต่างๆ ที่จะมาใช้ในการสร้างยอดขายเพื่อรองรับการเติบโตต่างๆ เช่น ทรัพยากรเงินทุน บุคลากร แต่หาก barrier to entry ต่ำ ก็อาจจะทำให้ความน่าสนใจลดลง แต่ด้วยความที่เค้กก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจจะทำให้หุ้นตัวนั้นๆ พอจะมีความน่าสนใจอยู่บ้างครับ
2 market growth สูง mkt share ต่ำ
หุ้นประเภทนี้ให้ดูปัจจัยเดียวเป็นหลักครับ คือ ความสามารถของผู้บริหาร ถ้าเราคิดว่าผู้บริหารมีความสามารถสูงและจะสามารถเพิ่ม mkt share ได้ หุ้นประเภท 2 นี้จะมี upside มากกว่าประเภท 1 อีกครับเพราะจะโตจากทั้งตลาดรวมที่โตและ mkt share ที่เพิ่ม ยกตัวอย่าง เช่น หุ้น LH ตอนปี 43 มี mkt share เพียง 7% ของตลาด แต่หลังจากได้สร้างบ้านก่อนขายและมี concept บ้านสบาย ทำให้ mkt share เพิ่มเป็นประมาณ 25-30% ในปี 46 ในขณะที่ตลาดรวมก็เติบโตสูง ผลก็คือ Lh มีราคาหุ้นเพิ่มขึ้น 10 เท่าครับ
3 mkt growth ต่ำ mkt share สูง
หุ้นประเภทนี้น่ากลัวครับ เพราะการเติบโตของตลาดรวมที่ต่ำ ทำให้ผู้เล่นรายใหม่จะต้องมาแย่งเค้กจากรายเดิม และบริษัทที่มี mkt share สูงจะต้องอยู่ในสภาวะที่ตั้งรับ คือ ต้องรักษา mkt share อย่างเดียว และโอกาสเติบโตก็มีค่อนข้างน้อย ยกตัวอย่างคือ หุ้น BEC ในปี 43-44 มี mkt share ในตลาดโฆษณา TV 40% แต่ธุรกิจโฆษณา TV เริ่มโตช้าลง ในขณะที่ bec ได้เสีย mkt share ให้กับช่อง 7 ITV และ ช่อง 9 ทำให้ราคาหุ้นของ BEC ลดลงจาก 25 บาทมาเหลือ 15 บาทในปัจจุบัน
4 mkt growth ต่ำ mkt share ต่ำ
หุ้นประเภทนี้มองยากครับ ถ้าเป็นบริษัทที่ผู้บริหารมีความสามารถและสามารถเพิ่ม mkt share ได้ก็จะทำให้กำไรเติบโตได้มาก แต่ต้องดูว่าเป็นการเพิ่ม mkt share ที่ยั่งยืนหรือไม่ด้วยเพราะการที่บริษัทขนาดเล็กได้ mkt share เพิ่มก็มักจะถูกรุกกลับจากผู้เล่นรายใหญ่ที่มีความได้เปรียบในด้านทรัพยากร โดยเฉพาะการเพิ่ม mkt share ด้วยการตัดราคาในขณะที่ต้นทุนยังลดไม่ได้คงไม่ใช่วิธีที่ดีแน่นอนครับ นอกจากนี้ยิ่งหากเป็นบริษัทที่ผู้บริหารไม่เก่งแล้ว บริษัทเหล่านี้ก็มีโอกาสล้มหายตายจากครับ เพราะการที่ mkt growth ต่ำทำให้ผู้เล่นรายใหญ่จะต้องมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดกันเอง คนที่กระทบหนักสุดคือรายเล็กครับ เข้าข่าย ช้างชนกัน หญ้าแพรกก็แหลกราญครับ
สิ่งที่ผมอธิบายคงจะเป็นแค่ส่วนหนึ่งนะครับ ก็มีรายละเอียดอีกมากมายซึ่งผมจะพยายามเขียนและถ่ายทอดออกมาในอนาคตนะครับ คงจะไม่ว่านะครับที่ผมคงจะไม่มีสูตรลับหรือหลักการอะไรตายตัวให้ เพราะผมก็ไม่มีจริงๆ ครับ และคิดว่าไม่น่าจะมีสูตรหรือหลักการอะไรที่เป็นสูตรสำเร็จนะครับ เพราะมิฉะนั้นเราคงจะเห็นคนจำนวนมากมายร่ำรวยจากการลงทุนในตลาดหุ้นไปแล้ว อาจารย์มหาวิทยาลัยที่จบปริญญาเอกและสอนด้านการลงทุนคงจะร่ำรวยจากตลาดหุ้น และออกมาลงทุนเองกันหมดแล้ว และก็คงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมระยะหลังๆ ผมพยายามจะไม่ให้ราคาที่เหมาะสมของหุ้นแต่ละตัว ผมคิดว่าหุ้นเป็นศิลปะ 90% เป็นคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อีก 10% ครับ ดังนั้นการศึกษาให้มากที่สุด เรียนรู้ให้มากที่สุด คงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนในหุ้นครับ แม่ทัพที่มีชื่อเสียงของโลกในอดีต ก็ต่างใช้กลยุทธ์และการจัดทัพในแต่ละสนามรบต่างๆ กันในการรบแต่ละครั้งขึ้นกับภูมิประเทศ อากาศ จำนวนทหารและยุทโธปกรณ์ของของตนและข้าศึก ฯลฯ ดังนั้นคงจะไม่มี short cut หรือหลักการตายตัวอะไรที่ได้ผล 100% ครับ
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4626
ผู้ติดตาม: 0
พฤหัสฯ. ก.พ. 27, 2014 8:37 pm | 0 คอมเมนต์
p4pyrus เขียน: อยากสอบถามพี่ๆครับ ว่าวิธีการคำนวณหา wacc ในส่วนของ Cost of equity
เราควรใช้ค่า Book value หรือค่า Market value ในการคำนวณครับ
ฺใช้งบ แยก Equity ออกเป็นส่วน ๆ ประกอบด้วย
1. ต้นทุนเงินกู้
2. ต้นทุนหุ้นสามัญ
3. ต้นทุนหุ้นบุริมสิทธ์
4. ต้นทุนหุ้นกู้
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4626
ผู้ติดตาม: 0
พฤหัสฯ. ก.พ. 27, 2014 8:51 pm | 0 คอมเมนต์
หลังจากนั้นหา ROIC ของธุรกิจที่สนใจ เน้นธุรกิจที่ ROIC สูง
= หาปลาในที่ที่มีปลา
ส่วนต่างระหว่าง ROIC และ WACC มักจะถูก present ออกมาในรูป EVA
ซึ่งบริษัท A และ B ร่วมธุรกิจเดียวกันจะมี EVA ไม่เท่ากัน = หาผู้ชนะ
ที่สำคัญในบางปีธุรกิจแข็งแกร่งอาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์บางอย่างทำให้ EVA ต่ำลง นั่นเป็นจังหวะเข้าซื้อที่ดีมากกว่าลนลานขาย = ซื้อนกอินทรีบาดเจ็บ
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 2
พฤหัสฯ. ก.พ. 27, 2014 9:00 pm | 0 คอมเมนต์
Nevercry.boy เขียน: หลังจากนั้นหา ROIC ของธุรกิจที่สนใจ เน้นธุรกิจที่ ROIC สูง
= หาปลาในที่ที่มีปลา
ส่วนต่างระหว่าง ROIC และ WACC มักจะถูก present ออกมาในรูป EVA
ซึ่งบริษัท A และ B ร่วมธุรกิจเดียวกันจะมี EVA ไม่เท่ากัน = หาผู้ชนะ
ที่สำคัญในบางปีธุรกิจแข็งแกร่งอาจได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์บางอย่างทำให้ EVA ต่ำลง นั่นเป็นจังหวะเข้าซื้อที่ดีมากกว่าลนลานขาย = ซื้อนกอินทรีบาดเจ็บ
Nevercry.boy
Verified User
โพสต์: 4626
ผู้ติดตาม: 0
ศุกร์ ก.พ. 28, 2014 11:01 am | 0 คอมเมนต์
อีกเรื่องนึงผมอยากโน๊ตไว้ หนังสือหลายเล่มเป็นหนังสือที่ดี แต่เขียนจากบัฟเฟตต์ในมุมมองที่บัฟเฟตต์ประสบความสำเร็จแล้ว คือเขียนในมุมมองของขงเบ้งหลังเหตุการณ์ บัฟเฟตต์หนุ่มกับบัฟเฟตต์ชราก็มีมุมมองหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลง
ผมอยากแนะนำให้อ่าน จดหมายของบัฟเฟตต์ตั้งแต่สมัยพาร์ทเนอร์ชิพ และหนังสือของ carol loomis ซึ่งเป็นบทความ ณ จุดเวลา ท่านจะเห็นพัฒนาการของบัฟเฟตต์ที่ต่อเนื่องและยาวนาน และจะนำมาประยุกต์ใช้กับหนทางของตนเองได้ครับ
iceberg
Verified User
โพสต์: 258
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ มี.ค. 03, 2014 7:07 pm | 0 คอมเมนต์
มีคำถามต่อนะครับ
เจ้า Intrinsic value หาได้แล้วทำไงต่อครับ
ถ้าเจอหุ้นที่ราคาต่ำกว่า Intrinsic value ให้ซื้อรึป่าวครับ
แล้วทำไมราคามันถึงต่ำกว่า Intrinsic value
ok ถ้ามันถูกจริง ทำไมมันถูก มันถูกเพราะมันควรจะถูก
หรือตลาดให้ราคาผิด
มีอะไรที่เราไม่รู้รึป่าวกับหุ้นตัวนี้
มีอีกด้านของเหรียญที่เราไม่รู้ใช่หรือไม่
แล้วทำไมเราถึงเห็นคนเดียว คนอื่นไม่สังเกตหรืออย่างไร
etc...
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ มี.ค. 03, 2014 8:04 pm | 0 คอมเมนต์
สิ่งต้องระมัดระวัง คือ กิจการที่มี Net Profit Margin ต่ำ แต่จำเป็นต้องลงทุน Working Capital มาก คือ ลูกหนี้การค้า + สินค้าคงเหลือ - เจ้าหนี้การค้า มากๆ หรือ ระยะเวลาเก็บเงิน ระยะเวลาขายสินค้า นาน แต่ระยะเวลาชำระเงินสั้น เพราะหมายความว่า ถ้าบริษัทจะเติบโตต้องลงทุนมาก เงินทุนไม่พอ ก็ต้องกู้มาลงทุน เสียดอกเบี้ยจ่าย
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0
จันทร์ มี.ค. 03, 2014 8:07 pm | 0 คอมเมนต์
ประเด็น ค่าเสื่อราคา = เงินลงทุน อาจไม่ใช่ทุกกิจการ
เราตรวจสอบเพิ่มเติมอีกประเด็นให้แน่ใจก็คงไม่ลำบากเกินไป
รักจะเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า อย่าขี้เกียจตรวจสอบกิจการครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
Pordamo
Verified User
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0
อังคาร มี.ค. 04, 2014 9:51 pm | 0 คอมเมนต์
iceberg เขียน: มีคำถามต่อนะครับ
เจ้า Intrinsic value หาได้แล้วทำไงต่อครับ
ถ้าเจอหุ้นที่ราคาต่ำกว่า Intrinsic value ให้ซื้อรึป่าวครับ
แล้วทำไมราคามันถึงต่ำกว่า Intrinsic value
ok ถ้ามันถูกจริง ทำไมมันถูก มันถูกเพราะมันควรจะถูก
หรือตลาดให้ราคาผิด
มีอะไรที่เราไม่รู้รึป่าวกับหุ้นตัวนี้
มีอีกด้านของเหรียญที่เราไม่รู้ใช่หรือไม่
แล้วทำไมเราถึงเห็นคนเดียว คนอื่นไม่สังเกตหรืออย่างไร
etc...
- ก็คงขึ้นอยู่กับ MOS ของแต่ละคนน่ะครับ
- อีกประเด็นหนึ่งผมว่าคุณภาพและความแน่นอนของกำไรก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก มีหุ้นในกลุ่มเกษตรบางตัวผมเห็นมี Up Side จากราคาในปัจจุบันถึง 50% (ผมใช้ DCF with No Growth) แต่ราคาจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ไปไหน เข้าใจว่าตลาดน่าจะยังกังวลในเรื่องของความไม่แน่นอนของกำไรที่จะขึ้นอยู่กับลูกค้าที่มาจากประเทศเดียว หรือสภาพดินฟ้าอากาศ และค่าเงิน ที่อาจทำให้บริษัท Gen กำไรออกมาได้ไม่เติบโตอย่างสม่ำเสมอ
Stay Calm, Stay Invest.
SawScofield
Verified User
โพสต์: 236
ผู้ติดตาม: 0
พุธ มี.ค. 05, 2014 12:21 pm | 0 คอมเมนต์
chatchai เขียน: ประเด็น ค่าเสื่อราคา = เงินลงทุน อาจไม่ใช่ทุกกิจการ
เราตรวจสอบเพิ่มเติมอีกประเด็นให้แน่ใจก็คงไม่ลำบากเกินไป
รักจะเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า อย่าขี้เกียจตรวจสอบกิจการครับ
รบกวนพี่ฉัตรยกตัวอย่างกิจการหรืออุตสาหกรรมที่ ค่าเสื่อมไม่เท่ากับเงินลงทุน ให้พอเห็นภาพได้ไหมครับ
ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
Respect, Persistence then Deserve
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0
พุธ มี.ค. 05, 2014 12:29 pm | 0 คอมเมนต์
ลองวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจผลิตสินค้า
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
iceberg
Verified User
โพสต์: 258
ผู้ติดตาม: 0
พุธ มี.ค. 05, 2014 10:56 pm | 0 คอมเมนต์
Por เขียน:
- ก็คงขึ้นอยู่กับ MOS ของแต่ละคนน่ะครับ
ไม่ได้จะอะไรนะครับ ผมขอถามต่อ สมมติผมคำนวณ DCF ได้ 100 ,MOS ผม 10% ผมควรจะซื้อในราคา 90 ใช่ป่าวครับ
ถ้าซื้อราคาตกไป 80 ผมทำไงต่อครับ ok ซื้อเพิ่มรึป่าวครับ แล้วถ้าไปไหลลงไป 70...60..50.. ทำไงครับ
(สถานการณ์จริงครับ ดูหุ้นระดับนางฟ้าในตำนานได้ครับก่อน hamburger)
Por เขียน:
- อีกประเด็นหนึ่งผมว่าคุณภาพและความแน่นอนของกำไรก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก มีหุ้นในกลุ่มเกษตรบางตัวผมเห็นมี Up Side จากราคาในปัจจุบันถึง 50% (ผมใช้ DCF with No Growth) แต่ราคาจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ไปไหน เข้าใจว่าตลาดน่าจะยังกังวลในเรื่องของความไม่แน่นอนของกำไรที่จะขึ้นอยู่กับลูกค้าที่มาจากประเทศเดียว หรือสภาพดินฟ้าอากาศ และค่าเงิน ที่อาจทำให้บริษัท Gen กำไรออกมาได้ไม่เติบโตอย่างสม่ำเสมอ
รู้ได้ยังไงครับว่าตลาดให้ราคาผิด ทำไมไม่คิดว่าเราคำนวณ DCF ผิดครับ เรา over confident รึป่าวครับ
เราติดกับดัก commitment รึป่าวครับ
iceberg
Verified User
โพสต์: 258
ผู้ติดตาม: 0
พุธ มี.ค. 05, 2014 11:12 pm | 0 คอมเมนต์
ขอเพิ่มเติมจากพี่ chatchai นะครับ
ลองดูบริษัทที่มีสัดส่วน fix asset สูงๆ นะครับ
เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตร การบิน
พวกนี้ capex มหาศาลครับ เพราะแข่งราคาอย่างเดียว
ใครต้นทุนถูกกว่ารอดครับ
นายมานะ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1116
ผู้ติดตาม: 0
พุธ มี.ค. 05, 2014 11:27 pm | 0 คอมเมนต์
iceberg เขียน: มีคำถามต่อนะครับ
เจ้า Intrinsic value หาได้แล้วทำไงต่อครับ
ถ้าเจอหุ้นที่ราคาต่ำกว่า Intrinsic value ให้ซื้อรึป่าวครับ
แล้วทำไมราคามันถึงต่ำกว่า Intrinsic value
ok ถ้ามันถูกจริง ทำไมมันถูก มันถูกเพราะมันควรจะถูก
หรือตลาดให้ราคาผิด
มีอะไรที่เราไม่รู้รึป่าวกับหุ้นตัวนี้
มีอีกด้านของเหรียญที่เราไม่รู้ใช่หรือไม่
แล้วทำไมเราถึงเห็นคนเดียว คนอื่นไม่สังเกตหรืออย่างไร
etc...
ผมคิดว่าการลงทุนกระแสหลักในปัจจุบันพอจะแบ่งได้คร่าวๆ เป็น 3 ประเภท 1. คือแนวพื้นฐาน (รวม Vi สายต่างๆ) 2. คือแนวเทคนิค 3. คือแนวคิด EMT
การเชื่อว่ามูลค่าแท้จริงมีอยู่จริง และสามารถคำนวณได้ จะอยู่ในแนวคิดประเภทที่ 1. ครับ ในขณะที่แนวคิดที่เชื่อว่าราคาตลาดคือมูลค่าเหมาะสมของกิจการแล้วจะอยู่ในข้อที่ 3. ครับ
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่ามูลค่าแท้จริงมีอยู่จริงครับ เหตุผลเนื่องมาจากว่า มูลค่าแท้จริงของกิจการคือการคาดการณ์ "มูลค่าในอนาคต" ของกิจการ แล้วนำมา discount เป็นราคาปัจจุบัน ซึ่งถามว่าอนาคตมีอยู่จริงไหม ผมเชื่อว่ามีจริงแน่นอนครับ แต่แต่ละคนมองภาพแตกต่างกัน ทำให้มูลค่าแท้จริงที่แต่ละคนเชื่อหรือคาดการณ์ก็จะแตกต่างกันไป
ทีนี้ถ้าถามว่าแล้วทำไมคนอื่นๆ ถึงไม่เห็นอนาคตแบบเดียวกับที่เราเห็น นั่นคงเป็นเพราะมนุษย์นั้นมีแนวคิด ความรู้ ประสบการณ์ หรือแม้แต่อคติที่แตกต่างกันไปครับ แนวคิดของ EMT เป็นแนวคิดบนสมมติฐานว่าในตลาดประเภท market strong form นั้น นักลงทุนต่างมีความรู้ ทักษะ รวมไปถึงเหตุผลที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งทำให้ราคาในปัจจุบันสะท้อนมูลค่าในอนาคตไปทั้งหมดแล้ว ซึ่งถ้าเราเชื่อ EMT เราก็ไม่จำเป็นต้องศึกษากิจการใดๆ เลย เพียงแต่เลือกระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเอง และลงทุนโดยเน้นการกระจายความเสี่ยงที่สามารถขจัดได้ก็พอ
ทั้งหมดที่ว่ามาเพียงสะท้อนความแตกต่างทางความเชื่อ เนื่องจากไม่ว่านักลงทุนแนว Vi จะใช้หลักฐานใดๆ มายืนยันว่าการลงทุนในแนว Vi เป็นเครื่องมือที่สามารถเอาชนะตลาดได้ นักวิชาการที่เชื่อใน EMT ก็จะโต้แย้งว่านักลงทุน Vi ได้ผลตอบแทนดีกว่าเพราะมีความเสี่ยงสูงกว่าเท่านั้น ไม่ว่าจะได้หุ้น 10 เด้งเป็นปกติแบบลินช์ หรือชนะตลาดตลอด 50 ปีแบบปู่บัฟ ก็ไม่ได้ทำให้ความเชื่อใน EMT หมดไปจากวิชาการเงินในยุคสมัยใหม่ได้ครับ
นายมานะ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1116
ผู้ติดตาม: 0
พุธ มี.ค. 05, 2014 11:31 pm | 0 คอมเมนต์
ไม่รู้สอนจระเข้ว่ายน้ำหรือเปล่านะครับ คือผมก็ไม่ได้มั่นใจว่า Intrinsic value ที่ผมหาได้ คือสิ่งที่ถูกต้อง หรือเป็นราคาที่เหมาะสมกว่าราคาตลาด (ราคาที่คนส่วนใหญ่คิดว่าควรจะเป็น) เพียงแต่มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผมลงทุนได้อย่างมีสติมากขึ้นเท่านั้นเองครับ
นายมานะ
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1116
ผู้ติดตาม: 0
พุธ มี.ค. 05, 2014 11:32 pm | 0 คอมเมนต์
chatchai เขียน: ประเด็น ค่าเสื่อราคา = เงินลงทุน อาจไม่ใช่ทุกกิจการ
เราตรวจสอบเพิ่มเติมอีกประเด็นให้แน่ใจก็คงไม่ลำบากเกินไป
รักจะเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า อย่าขี้เกียจตรวจสอบกิจการครับ
ขอบคุณอาจารย์ฉัตรชัยที่เข้ามาช่วยตักเตือนครับ ^^
iceberg
Verified User
โพสต์: 258
ผู้ติดตาม: 0
พุธ มี.ค. 05, 2014 11:54 pm | 0 คอมเมนต์
นายมานะ เขียน: ไม่รู้สอนจระเข้ว่ายน้ำหรือเปล่านะครับ คือผมก็ไม่ได้มั่นใจว่า Intrinsic value ที่ผมหาได้ คือสิ่งที่ถูกต้อง หรือเป็นราคาที่เหมาะสมกว่าราคาตลาด (ราคาที่คนส่วนใหญ่คิดว่าควรจะเป็น) เพียงแต่มันก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผมลงทุนได้อย่างมีสติมากขึ้นเท่านั้นเองครับ
Good answer ครับ
ประเด็นของผม คือ DCF ไม่น่าจะเป็น Holy Grail อย่างเดียวในการลงทุนนะครับ
มันต้องมีอย่างอื่นจำนวนมากเกี่ยวข้องด้วย