เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 361
เหตุปัจจัยที่ทำให้มีโภคะมากครับ
...
[๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าวน้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ
[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ...ตถาคต
...
[๕๙๐] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมไม่เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไปไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีโภคะน้อย ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะน้อยนี้ คือ ไม่ให้ข้าวน้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ
[๕๙๑] ดูกรมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ย่อมเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย เครื่องตามประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีโภคะมาก ดูกรมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีโภคะมากนี้ คือ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย แก่สมณะหรือพราหมณ์ ฯ...ตถาคต
ไม่ประมาท
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 362
รอมาหลายวันแล้ว ไม่มีใครมาพูดถึง เพราะเราพูดถึงเรื่องนี้กันอยู่ ยกมาจากคำสอนขององค์หลวงตามหาบัว เรื่องปัญญาอบรมสมาธิ
--------------------------------
คนบางประเภทไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก เพียงใช้คำบริกรรมภาวนา พุทฺโธ ธมฺโม สง.โฆ เป็นต้น บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้ กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบายที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา อันดับต่อไปสมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา
ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าทั้งสองนัย คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับปริยัติ แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้
สรุปความ ถ้าจิตสงบได้ด้วยอารมณ์สมถะ คือ คำบริกรรมด้วยธรรมบทใด ก็บริกรรมบทนั้น ถ้าจะสงบได้ด้วยปัญญาสกัดกั้นโดยอุบายต่างๆ ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อความสงบเสมอไป ผลรายได้จากการอบรมทั้งสองวิธีนี้ คือ ความสงบและปัญญา อันจะมีรัศมีแฝงขึ้นจากความสงบนั้นๆ
-----------------------------------
สาธุ
--------------------------------
คนบางประเภทไม่ค่อยมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก เพียงใช้คำบริกรรมภาวนา พุทฺโธ ธมฺโม สง.โฆ เป็นต้น บทใดบทหนึ่งเข้าเท่านั้น ใจก็ได้รับความสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิลงได้ กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญา ให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างสบายที่เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้องต้นนั้น เมื่อสมาธิเกิดมีขึ้นด้วยอำนาจปัญญา อันดับต่อไปสมาธิก็กลายเป็นต้นทุนหนุนปัญญาให้มีกำลังก้าวหน้า สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา
ผู้ต้องการอบรมใจให้เป็นไปเพื่อความฉลาด รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส อย่ายึดปริยัติจนเกิดกิเลส แต่ก็อย่าปล่อยวางปริยัติจนเลยศาสดา ผิดพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าทั้งสองนัย คือ ในขณะที่ทำสมาธิภาวนา อย่าส่งใจไปยึดปริยัติจนกลายเป็นอดีตอนาคตไป ให้ตั้งจิตลงสู่ปัจจุบัน คือ เฉพาะหน้า มีธรรมที่ตนเกี่ยวข้องเป็นอารมณ์เท่านั้น เมื่อมีข้อข้องใจ ตัดสินใจลงไม่ได้ว่าถูกหรือผิด เวลาออกจากที่ภาวนาแล้ว จึงตรวจสอบกับปริยัติ แต่จะตรวจสอบทุกขณะไปก็ผิด เพราะจะกลายเป็นความรู้ในแบบ ไม่ใช่ความรู้เกิดจากภาวนา ใช้ไม่ได้
สรุปความ ถ้าจิตสงบได้ด้วยอารมณ์สมถะ คือ คำบริกรรมด้วยธรรมบทใด ก็บริกรรมบทนั้น ถ้าจะสงบได้ด้วยปัญญาสกัดกั้นโดยอุบายต่างๆ ก็ต้องใช้ปัญญาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อความสงบเสมอไป ผลรายได้จากการอบรมทั้งสองวิธีนี้ คือ ความสงบและปัญญา อันจะมีรัศมีแฝงขึ้นจากความสงบนั้นๆ
-----------------------------------
สาธุ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 363
รอมาหลายวันแล้ว ไม่มีใครมาพูดถึง เพราะเราพูดถึงเรื่องนี้กันอยู่ ยกมาจากคำสอนขององค์หลวงตามหาบัว เรื่องปัญญาอบรมสมาธิ
รบกวนคุณ Dech กรุณาอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับว่า
ในเวลาปฏิบัติจริง แล้ว ต้องทำอย่างไร
ประเด็นที่หลวงตาสั่งสอนมา
ผมฟัง mp3 หลายเที่ยวมากๆ
แต่ตีความไม่แตก ว่าเวลาทำจริงต้องเป็นอย่างไร
ขอบคุณและอนุโมทนาครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 364
เครื่องวัดปัญญา คือ รู้เห็นถึงการเกิด-ดับ
เครื่องวัดสมาธิ คือ ฌาณทั้งสี่
ถ้าปฏิบัติอานาปานสติ
รู้ลมหายใจอยู่ แล้วไปรู้อดีต หรือไปรู้ความคิด นี่คือเปลี่ยนแล้ว
ขณะที่จิตเปลี่ยน เห็นการเกิด-ดับ จิตไปรับรู้สิ่งอื่นแทนลมหายใจ
สิ่งที่รู้ดับไปแล้ว เห็นสิ่งที่เกิดใหม่
สิ่งหนึ่งหายไป สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น
ก็จะเข้าใจ ความเป็นอนัตตา ไม่เป็นตัวตนที่แท้จริง
คือมีการเกิดปรากฏ เสื่อมปรากฏ เห็นความไม่เที่ยง ความดับ เห็นทุกข์ นี้คือปัญญา
ศีล คือการสำรวมจิตไม่ไปตามอกุศล ซึ่งเอื้อต่อการมีสมาธิ ทำให้เกิดปัญญาเห็นธรรม
ก็จะเข้าใจว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา นี้คือปัญญา
ศีล ช่วยให้เราคุมกาย วาจาใจ เพื่อเอื้อให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญา
จะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ หรือสมาธิอบรมปัญญา ก็นำไปสู่จุดหมายเดียวกัน
เจริญอานาปานสติ มองเห็นความเกิดขึ้น-ความเสื่อมทั้งหลาย
เห็นลม เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นสิ่งที่อยู่เนื่องในจิต เห็นนิวรณ์ห้า
เห็นขันธ์ห้า เห็นสังโยชน์ที่อาศัยอายตนะหก เห็นโพชฌงค์เจ็ด เห็นอริสัจสี่
อานาปานสติ ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญสติปัฏฐานสี่ ให้บริบูรณ์ได้
สติปัฏฐานสี่ ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญโพชฌงค์เจ็ด ให้บริบูรณ์ได้
โพชฌงค์เจ็ด ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้
ปฏิบัติกันไปเถิดคับ หนทางเข้าถึงปัญญามีอยู่โดยรอบ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก สติปัฏฐานสูตร http://www.larnbuddhism.com/grammathan/ ... /sati.html
อานาปานสติสูตร http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn11.php
เครื่องวัดสมาธิ คือ ฌาณทั้งสี่
ถ้าปฏิบัติอานาปานสติ
รู้ลมหายใจอยู่ แล้วไปรู้อดีต หรือไปรู้ความคิด นี่คือเปลี่ยนแล้ว
ขณะที่จิตเปลี่ยน เห็นการเกิด-ดับ จิตไปรับรู้สิ่งอื่นแทนลมหายใจ
สิ่งที่รู้ดับไปแล้ว เห็นสิ่งที่เกิดใหม่
สิ่งหนึ่งหายไป สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น
ก็จะเข้าใจ ความเป็นอนัตตา ไม่เป็นตัวตนที่แท้จริง
คือมีการเกิดปรากฏ เสื่อมปรากฏ เห็นความไม่เที่ยง ความดับ เห็นทุกข์ นี้คือปัญญา
ศีล คือการสำรวมจิตไม่ไปตามอกุศล ซึ่งเอื้อต่อการมีสมาธิ ทำให้เกิดปัญญาเห็นธรรม
ก็จะเข้าใจว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา นี้คือปัญญา
ศีล ช่วยให้เราคุมกาย วาจาใจ เพื่อเอื้อให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญา
จะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ หรือสมาธิอบรมปัญญา ก็นำไปสู่จุดหมายเดียวกัน
เจริญอานาปานสติ มองเห็นความเกิดขึ้น-ความเสื่อมทั้งหลาย
เห็นลม เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นสิ่งที่อยู่เนื่องในจิต เห็นนิวรณ์ห้า
เห็นขันธ์ห้า เห็นสังโยชน์ที่อาศัยอายตนะหก เห็นโพชฌงค์เจ็ด เห็นอริสัจสี่
อานาปานสติ ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญสติปัฏฐานสี่ ให้บริบูรณ์ได้
สติปัฏฐานสี่ ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญโพชฌงค์เจ็ด ให้บริบูรณ์ได้
โพชฌงค์เจ็ด ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้
ปฏิบัติกันไปเถิดคับ หนทางเข้าถึงปัญญามีอยู่โดยรอบ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก สติปัฏฐานสูตร http://www.larnbuddhism.com/grammathan/ ... /sati.html
อานาปานสติสูตร http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn11.php
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 365
โอ้ อ.มาถาม งั้นต้องออกตัวก่อนว่าอาจจะไม่เหมือนในตำรานะครับ อ.
เวลาที่ปฏิบัติจริงของผมคือสำหรับวิธีการทั่วไปก็นั่งสมาธิแบบที่เขาทำกันปกติทั่วไป เนี้ยแหละครับ ตามดูลมหายใจ ตามดูพุทโธ ไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าทำเท่าไหร่จิตก็ไม่รวม มีแต่ฟุ้งซ่านไปเรื่องนู้นเรื่องนี้ นั่งหลับไปบ้าง แต่ทำไปเรื่อยๆ จิตมันจะรวมได้ ถามว่าอาการของจิตรวมได้เป็นอย่างไร ก็มีหลายระดับ คงยังไม่ต้องบอกในที่นี่ เพราะผมเองก็ทำได้ไม่มากนัก ยังทำอะไรไม่ได้มาก แต่เอาเป็นว่าถ้าทำได้แล้วจะรู้เองว่ามีการแปลกไปของจิต หรือการรู้ตัวนะครับ นั่นเป็นจุดวัดว่าเราทำมาถูกหรือเปล่า ยกตัวอย่างว่ามีอาการขนลุกเกิดขึ้นละกันครับ เราก็นั่งพิจารณาไปเรื่อยๆ พุทโธ ก็ได้ หรือจะตามดูลมหายใจไปเรื่อยก็ได้ ทำไปเรื่อยๆ คือวิตกหรือวิจารอยู่กับลมหายใจนั้น หรือพุทโธ นะครับ วิตกวิจารไปเรื่อย ทำไปจนจิตทิ้งวิตกและวิจารแล้ว จะมีอาการขนลุกขึ้น เอาแค่นี้ก่อน ทำไปเรื่อยๆ จนมีอาการขนลุก นี่คือแบบแรก ยังไม่ต้องรู้ว่ามีปัญญาหรือไม่มีนะครับ กับวิธีที่สองไม่เอาพุทโธ ไม่เอาลมหายใจ มานั่งสมาธิปั๊ปก็พิจารณาเลย คือคิดโดยเฉพาะจงความคิดว่าเราจะคิดเฉพาะเรื่องนี้เท่านั้น เช่น แยกรูปแยกนาม เราก็คิดไปเรื่อยทดลองแยกรูปแยกนามต่างๆ คิดนะครับ คิดไป มันจะมีฟุ้งซ่านเหมือนกันนะครับ คือมันจะไปคิดเรื่องขึ้นมาแทน คิดถึงอยากรวย คิดถึงเรื่องงานเรื่องอะไรสารพัด จะคิดอะไรก็ปล่อยมันไป พอรู้ตัวว่าออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ ก็กลับมาคิดเรื่องเดิม คือวิตกวิจารในความคิดรูปนาม อะไรเป็นรูปบ้างเป็นนามบ้าง ทำไปเรื่อย จะมีอาการขนลุก เหมือนกันนะครับ ตามที่ผมทำมา มันเป็นได้ทั้งคู่นะครับไม่ใช่ขนลุกจากอากาศหนาวหรือปวดห้องน้ำหรือตกใจกลัวอะไรนะครับ เป็นขนลุกที่มีความสุข ลองดูสิครับ ให้สังเกตุว่าขนลุกเมื่อกี้ที่ได้จากบริกรรม กับแบบนี้ที่ได้จากการคิด มันอันเดียวกันหรือเปล่าครับ ลองดู ถ้าใช่ แสดงว่ามันมาลงรอยเดียวกันนะครับ อ.น่าจะเคยมีบ้าง ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง เราก็เอาตัวนั้นเป็นจุดวัดได้ครับ ไม่ต้องสนใจว่าอันไหนเป็นสมาธิอันไหนเป็นปัญญา แค่รู้ไป
หัวใจของทั้งสองอย่างนั้นอยู่ที่จุดเดียวกันคือการรู้
ต่ออีกนิด แบบแรกสมมุติว่าคือรู้ลมหายใจ เราก็รู้ว่าตามดูลมหายใจ รู้ว่าลมหายใจสั้น รู้ว่าลมหายใจออก รู้ว่าเข้า รู้ว่ายาว รู้ว่าสั้น ไอ้อาการรู้นี่ตัวสำคัญ รู้ว่าตามดูลมหายใจเรียกว่าวิตก ตามดูลมหายใจอยู่ก็คือวิตกในลมหายใจ ส่วนอาการวิจารลมหายใจคือรู้อาการที่ละเอียดขึ้นของลมหายใจ รู้ว่ามันสั้น รู้ว่ามันยาว รู้ยาวมันเบา รู้ว่ามันหนัก อะไรทำนองนี้เรียกวิจาร เราไม่ได้รู้อยู่ตอนเวลา เพราะจิตโดยปกติมันมีความปกติอย่างหนึ่งคือ มันบังคับไม่ได้ มันก็ไปรู้เรื่องอื่นบ้าง ลืมบ้าง ไปคิดบ้าง คือตามเท่าทันลมหายใจไม่ได้ มันจึง วนเวียนอยู่แค่ วิตก วิจาร และหลุดไปกับฟุ้งซ่าน ซึ่งก็คือเครื่องกั้นที่สำคัญ เรียกว่านิวรณ์ก็ได้ ทำให้ ไม่สามารถข้ามวิตก วิจารและนิวรณ์มาที่ ปิติ เช่นเกิดขนลุก และสุขได้ มันอาจจะข้ามมาได้แค่ชั่วขณะ เช่นมีขนลุก แวบหนึ่งอาจไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ นั้นให้รู้ว่า ขณะจิตนั้น ข้ามมาได้แล้ว ที่เรียกว่าไม่ทันรู้ตัวนั้น จริงๆ นั้นรู้แล้วแต่เจ้าตัวไม่มั่นใจ เพราะจะมีผู้รู้มารู้ว่ามีอาการบางอย่างเกิดขึ้น แต่จิตมีความคุ้นเคยกับเรื่องเดิมอยู่ ยังไม่มั่นใจเรื่องนี้ ไม่สามารถทรงสภาพไว้ได้ก็ต้องมานับเริ่มกันใหม่อีก ถ้าทรงอยู่ได้ตลอด จิตก็จะแสดงอาการอื่นๆ มาให้เราชื่นชม อันนี้ข้ามไป
ส่วนวิธีการคิดก็เช่นกัน เราก็คิด ตัดต้นตอของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา คือคิดอยู่ในเรื่องสภาพปกติของกายและใจ ว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน อันที่เห็นชัดที่สุดอันหนึ่งคือสภาพของรูปนาม ก็คิดแยกรูปนาม คิดแยกออกมา ว่ากายใจเรานี้มีรูปและนามประกอบอยู่ คิดให้ชัดไปอีกก็ได้หลายอย่าง ตั้งหน้าตั้งตามาคิด คิดนี้ก็มีหลายเรื่อง เช่นคิดว่ารูปนามเรานี้แยกออกมาได้ เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือแยกออกมาเป็นอาการ 32 หรือแยกออกเป็นอื่นๆ อีกได้ มีมาก แล้วแต่ความชอบ ปกติก็แบบเดียวกับการตามดูลมหายใจ จิตมันก็บังคับบัญชาได้ยาก มันก็ตามไม่เท่าทัน ไปคิดเรื่องอื่นๆ บ้างหรือบางทีดูลมหายใจมาจนเคยชินก็ลืมไปดูลมบ้าง ลืมไปบริกรรมบ้าง อันนี้เป็นความฟุ้งซ่านของการคิดแล้ว เพราะเป้าตอนนี้ของเราอยู่ที่การคิด วิตกเรื่องรูปนาม ก็ต้องตั้งใจวิตกคือคิดเฉพาะเรื่องรูปและนามเท่านั้น วิจารในเรื่องรูปนามคือแยกรูปนามออกไปให้ละเอียด คิดไป ใครจะว่าไงก็ช่าง เอาปริยัติที่รู้นั้นแหละมาช่วยคิด วิตกไปคือคิดเรื่องรูปนาม แยกไปเลยที่ง่ายที่สุดคือ แยกรูปนามออกเป็นอาการ 32 เพราะไปตามคิดว่าอันนี้เป็นเวทนาสัญญาสังขารนี้ อาจจะยากเกิดไป ก็วิจารไป แยกออก รูปนามเราแยกออกเป็น เล็บหนังผมขนเหงื่อ ไล่ไปให้ครบอาการ 32 เลยครับ วิตกวิจารอยู่แค่นี้ มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่เรานะเนี้ย วิตกวิจารไปเรื่อยๆ วนไปวนมาเรื่องเดิมเนี้ย ซ้ำๆซากๆ ตัวฟุ้งซ่านมันก็พยายามมากั้นขวางเราอยู่ตลอด เราก็ไม่สนใจแพ้มันบ้างชนะมันบ้างทำไปเรื่อยๆ หว่านล้อมจิตไป วิตกคิดวิจารคิดไป สุดท้ายมันจะข้ามวิตกวิจารมาที่ปิติและสุขได้ เช่นกัน อาจจะขนลุกมาแวบเดียวไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ คือรู้นั้นแหละ มีการรู้เรื่องที่คิดและรู้ว่าจิตคิดและมีผู้รู้มารู้อารมณ์รู้นั้นอีกที แต่คนรู้นั้นไม่มั่นใจ เพราะมันมาได้แวบเดียวมันก็กลับไปวิตกวิจารไปฟุ้งซ่านต่อแล้ว ก็ทำให้บ่อยๆ มันจะเห็นว่ามันมารวมที่เดียวกันได้ สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา หรือปัญญาอบรมสมาธิ มันก็จะสอดรับกันไปแบบนี้นะครับ
วิธีการก็คือรู้ไปบ่อยๆ แบบนี้ครับ ใครถัดแบบไหนก็ทำไป เราทำได้แวบเดียวก็ไม่เป็นไรนิครับ หัวใจของสมาธิไม่ได้มานั่งแข่งทนกันนิครับ
ว่าใครนั่งหรือทรงสมาธิได้นานกว่ากัน แต่อยู่ที่ว่าใครเอาความรู้มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่ากัน เอาเป็นว่าตามที่ผมรู้ ผมก็ว่าทำแบบนี้ได้นะครับ หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย สาธุ
เวลาที่ปฏิบัติจริงของผมคือสำหรับวิธีการทั่วไปก็นั่งสมาธิแบบที่เขาทำกันปกติทั่วไป เนี้ยแหละครับ ตามดูลมหายใจ ตามดูพุทโธ ไปเรื่อยๆ รู้สึกว่าทำเท่าไหร่จิตก็ไม่รวม มีแต่ฟุ้งซ่านไปเรื่องนู้นเรื่องนี้ นั่งหลับไปบ้าง แต่ทำไปเรื่อยๆ จิตมันจะรวมได้ ถามว่าอาการของจิตรวมได้เป็นอย่างไร ก็มีหลายระดับ คงยังไม่ต้องบอกในที่นี่ เพราะผมเองก็ทำได้ไม่มากนัก ยังทำอะไรไม่ได้มาก แต่เอาเป็นว่าถ้าทำได้แล้วจะรู้เองว่ามีการแปลกไปของจิต หรือการรู้ตัวนะครับ นั่นเป็นจุดวัดว่าเราทำมาถูกหรือเปล่า ยกตัวอย่างว่ามีอาการขนลุกเกิดขึ้นละกันครับ เราก็นั่งพิจารณาไปเรื่อยๆ พุทโธ ก็ได้ หรือจะตามดูลมหายใจไปเรื่อยก็ได้ ทำไปเรื่อยๆ คือวิตกหรือวิจารอยู่กับลมหายใจนั้น หรือพุทโธ นะครับ วิตกวิจารไปเรื่อย ทำไปจนจิตทิ้งวิตกและวิจารแล้ว จะมีอาการขนลุกขึ้น เอาแค่นี้ก่อน ทำไปเรื่อยๆ จนมีอาการขนลุก นี่คือแบบแรก ยังไม่ต้องรู้ว่ามีปัญญาหรือไม่มีนะครับ กับวิธีที่สองไม่เอาพุทโธ ไม่เอาลมหายใจ มานั่งสมาธิปั๊ปก็พิจารณาเลย คือคิดโดยเฉพาะจงความคิดว่าเราจะคิดเฉพาะเรื่องนี้เท่านั้น เช่น แยกรูปแยกนาม เราก็คิดไปเรื่อยทดลองแยกรูปแยกนามต่างๆ คิดนะครับ คิดไป มันจะมีฟุ้งซ่านเหมือนกันนะครับ คือมันจะไปคิดเรื่องขึ้นมาแทน คิดถึงอยากรวย คิดถึงเรื่องงานเรื่องอะไรสารพัด จะคิดอะไรก็ปล่อยมันไป พอรู้ตัวว่าออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ ก็กลับมาคิดเรื่องเดิม คือวิตกวิจารในความคิดรูปนาม อะไรเป็นรูปบ้างเป็นนามบ้าง ทำไปเรื่อย จะมีอาการขนลุก เหมือนกันนะครับ ตามที่ผมทำมา มันเป็นได้ทั้งคู่นะครับไม่ใช่ขนลุกจากอากาศหนาวหรือปวดห้องน้ำหรือตกใจกลัวอะไรนะครับ เป็นขนลุกที่มีความสุข ลองดูสิครับ ให้สังเกตุว่าขนลุกเมื่อกี้ที่ได้จากบริกรรม กับแบบนี้ที่ได้จากการคิด มันอันเดียวกันหรือเปล่าครับ ลองดู ถ้าใช่ แสดงว่ามันมาลงรอยเดียวกันนะครับ อ.น่าจะเคยมีบ้าง ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง เราก็เอาตัวนั้นเป็นจุดวัดได้ครับ ไม่ต้องสนใจว่าอันไหนเป็นสมาธิอันไหนเป็นปัญญา แค่รู้ไป
หัวใจของทั้งสองอย่างนั้นอยู่ที่จุดเดียวกันคือการรู้
ต่ออีกนิด แบบแรกสมมุติว่าคือรู้ลมหายใจ เราก็รู้ว่าตามดูลมหายใจ รู้ว่าลมหายใจสั้น รู้ว่าลมหายใจออก รู้ว่าเข้า รู้ว่ายาว รู้ว่าสั้น ไอ้อาการรู้นี่ตัวสำคัญ รู้ว่าตามดูลมหายใจเรียกว่าวิตก ตามดูลมหายใจอยู่ก็คือวิตกในลมหายใจ ส่วนอาการวิจารลมหายใจคือรู้อาการที่ละเอียดขึ้นของลมหายใจ รู้ว่ามันสั้น รู้ว่ามันยาว รู้ยาวมันเบา รู้ว่ามันหนัก อะไรทำนองนี้เรียกวิจาร เราไม่ได้รู้อยู่ตอนเวลา เพราะจิตโดยปกติมันมีความปกติอย่างหนึ่งคือ มันบังคับไม่ได้ มันก็ไปรู้เรื่องอื่นบ้าง ลืมบ้าง ไปคิดบ้าง คือตามเท่าทันลมหายใจไม่ได้ มันจึง วนเวียนอยู่แค่ วิตก วิจาร และหลุดไปกับฟุ้งซ่าน ซึ่งก็คือเครื่องกั้นที่สำคัญ เรียกว่านิวรณ์ก็ได้ ทำให้ ไม่สามารถข้ามวิตก วิจารและนิวรณ์มาที่ ปิติ เช่นเกิดขนลุก และสุขได้ มันอาจจะข้ามมาได้แค่ชั่วขณะ เช่นมีขนลุก แวบหนึ่งอาจไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ นั้นให้รู้ว่า ขณะจิตนั้น ข้ามมาได้แล้ว ที่เรียกว่าไม่ทันรู้ตัวนั้น จริงๆ นั้นรู้แล้วแต่เจ้าตัวไม่มั่นใจ เพราะจะมีผู้รู้มารู้ว่ามีอาการบางอย่างเกิดขึ้น แต่จิตมีความคุ้นเคยกับเรื่องเดิมอยู่ ยังไม่มั่นใจเรื่องนี้ ไม่สามารถทรงสภาพไว้ได้ก็ต้องมานับเริ่มกันใหม่อีก ถ้าทรงอยู่ได้ตลอด จิตก็จะแสดงอาการอื่นๆ มาให้เราชื่นชม อันนี้ข้ามไป
ส่วนวิธีการคิดก็เช่นกัน เราก็คิด ตัดต้นตอของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา คือคิดอยู่ในเรื่องสภาพปกติของกายและใจ ว่ามันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน อันที่เห็นชัดที่สุดอันหนึ่งคือสภาพของรูปนาม ก็คิดแยกรูปนาม คิดแยกออกมา ว่ากายใจเรานี้มีรูปและนามประกอบอยู่ คิดให้ชัดไปอีกก็ได้หลายอย่าง ตั้งหน้าตั้งตามาคิด คิดนี้ก็มีหลายเรื่อง เช่นคิดว่ารูปนามเรานี้แยกออกมาได้ เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือแยกออกมาเป็นอาการ 32 หรือแยกออกเป็นอื่นๆ อีกได้ มีมาก แล้วแต่ความชอบ ปกติก็แบบเดียวกับการตามดูลมหายใจ จิตมันก็บังคับบัญชาได้ยาก มันก็ตามไม่เท่าทัน ไปคิดเรื่องอื่นๆ บ้างหรือบางทีดูลมหายใจมาจนเคยชินก็ลืมไปดูลมบ้าง ลืมไปบริกรรมบ้าง อันนี้เป็นความฟุ้งซ่านของการคิดแล้ว เพราะเป้าตอนนี้ของเราอยู่ที่การคิด วิตกเรื่องรูปนาม ก็ต้องตั้งใจวิตกคือคิดเฉพาะเรื่องรูปและนามเท่านั้น วิจารในเรื่องรูปนามคือแยกรูปนามออกไปให้ละเอียด คิดไป ใครจะว่าไงก็ช่าง เอาปริยัติที่รู้นั้นแหละมาช่วยคิด วิตกไปคือคิดเรื่องรูปนาม แยกไปเลยที่ง่ายที่สุดคือ แยกรูปนามออกเป็นอาการ 32 เพราะไปตามคิดว่าอันนี้เป็นเวทนาสัญญาสังขารนี้ อาจจะยากเกิดไป ก็วิจารไป แยกออก รูปนามเราแยกออกเป็น เล็บหนังผมขนเหงื่อ ไล่ไปให้ครบอาการ 32 เลยครับ วิตกวิจารอยู่แค่นี้ มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ใช่เรานะเนี้ย วิตกวิจารไปเรื่อยๆ วนไปวนมาเรื่องเดิมเนี้ย ซ้ำๆซากๆ ตัวฟุ้งซ่านมันก็พยายามมากั้นขวางเราอยู่ตลอด เราก็ไม่สนใจแพ้มันบ้างชนะมันบ้างทำไปเรื่อยๆ หว่านล้อมจิตไป วิตกคิดวิจารคิดไป สุดท้ายมันจะข้ามวิตกวิจารมาที่ปิติและสุขได้ เช่นกัน อาจจะขนลุกมาแวบเดียวไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ คือรู้นั้นแหละ มีการรู้เรื่องที่คิดและรู้ว่าจิตคิดและมีผู้รู้มารู้อารมณ์รู้นั้นอีกที แต่คนรู้นั้นไม่มั่นใจ เพราะมันมาได้แวบเดียวมันก็กลับไปวิตกวิจารไปฟุ้งซ่านต่อแล้ว ก็ทำให้บ่อยๆ มันจะเห็นว่ามันมารวมที่เดียวกันได้ สุดท้ายก็ลงรอยเดียวกันกับหลักเดิมที่ว่า สมาธิอบรมปัญญา หรือปัญญาอบรมสมาธิ มันก็จะสอดรับกันไปแบบนี้นะครับ
วิธีการก็คือรู้ไปบ่อยๆ แบบนี้ครับ ใครถัดแบบไหนก็ทำไป เราทำได้แวบเดียวก็ไม่เป็นไรนิครับ หัวใจของสมาธิไม่ได้มานั่งแข่งทนกันนิครับ
ว่าใครนั่งหรือทรงสมาธิได้นานกว่ากัน แต่อยู่ที่ว่าใครเอาความรู้มาใช้ประโยชน์ได้มากกว่ากัน เอาเป็นว่าตามที่ผมรู้ ผมก็ว่าทำแบบนี้ได้นะครับ หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย สาธุ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 366
ขอตอบตามความเข้าใจตนเองหน่อย..
การใช้ปัญญาอบรมสมาธิ..ก็จะเป็นไปตามแนวทางของหลวงพ่อพุทธทาส ซึ่งใช้พลังของสติปัญญามากกว่า เพราะเอาปัญญานำหน้า ทำนองว่า สุขะวิปัสสกะ
ส่วนอีกด้านคือสมาธิอบรมปัญญา ซึ่งเป็นวิธีที่คนชอบเป็นส่วนใหญ่ เพราะทำสมาธิแล้วมีความสุข จนบางคนติดสมาธิหลงสมาธิไม่ยอมเดินทางต่อ
แต่เป้าหมายคือสิ่งเดียวกันคือรู้เห็นตามความเป็นจริง และไม่ยึดมั่น ถือมั่น เพราะมันเป็น ตถตา (คือ เช่นนั้นเอง)
ซึ่งเมื่อเดินทางมาจุดหมายเดียวกัน ทั้งสมาธิและปัญญาก็จะอบรมและหนุนกันและกันโดยสภาวะของมันเอง
การใช้ปัญญาอบรมสมาธิ..ก็จะเป็นไปตามแนวทางของหลวงพ่อพุทธทาส ซึ่งใช้พลังของสติปัญญามากกว่า เพราะเอาปัญญานำหน้า ทำนองว่า สุขะวิปัสสกะ
ส่วนอีกด้านคือสมาธิอบรมปัญญา ซึ่งเป็นวิธีที่คนชอบเป็นส่วนใหญ่ เพราะทำสมาธิแล้วมีความสุข จนบางคนติดสมาธิหลงสมาธิไม่ยอมเดินทางต่อ
แต่เป้าหมายคือสิ่งเดียวกันคือรู้เห็นตามความเป็นจริง และไม่ยึดมั่น ถือมั่น เพราะมันเป็น ตถตา (คือ เช่นนั้นเอง)
ซึ่งเมื่อเดินทางมาจุดหมายเดียวกัน ทั้งสมาธิและปัญญาก็จะอบรมและหนุนกันและกันโดยสภาวะของมันเอง
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- Verified User
- โพสต์: 135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 367
oatty Posted: Thu Jan 23, 2014 2:28 pm
แต่เป้าหมายคือสิ่งเดียวกันคือรู้เห็นตามความเป็นจริง และไม่ยึดมั่น ถือมั่น เพราะมันเป็น ตถตา (คือ เช่นนั้นเอง)
และเป้าหมายคือรู้เห็นตามความเป็นจริง นั้นคือ สูญญาตา
แต่เป้าหมายคือสิ่งเดียวกันคือรู้เห็นตามความเป็นจริง และไม่ยึดมั่น ถือมั่น เพราะมันเป็น ตถตา (คือ เช่นนั้นเอง)
และเป้าหมายคือรู้เห็นตามความเป็นจริง นั้นคือ สูญญาตา
-
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 368
Tibular เขียน:เครื่องวัดปัญญา คือ รู้เห็นถึงการเกิด-ดับ
เครื่องวัดสมาธิ คือ ฌาณทั้งสี่
ถ้าปฏิบัติอานาปานสติ
รู้ลมหายใจอยู่ แล้วไปรู้อดีต หรือไปรู้ความคิด นี่คือเปลี่ยนแล้ว
ขณะที่จิตเปลี่ยน เห็นการเกิด-ดับ จิตไปรับรู้สิ่งอื่นแทนลมหายใจ
สิ่งที่รู้ดับไปแล้ว เห็นสิ่งที่เกิดใหม่
สิ่งหนึ่งหายไป สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น
ก็จะเข้าใจ ความเป็นอนัตตา ไม่เป็นตัวตนที่แท้จริง
คือมีการเกิดปรากฏ เสื่อมปรากฏ เห็นความไม่เที่ยง ความดับ เห็นทุกข์ นี้คือปัญญา
ศีล คือการสำรวมจิตไม่ไปตามอกุศล ซึ่งเอื้อต่อการมีสมาธิ ทำให้เกิดปัญญาเห็นธรรม
ก็จะเข้าใจว่านั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา นี้คือปัญญา
ศีล ช่วยให้เราคุมกาย วาจาใจ เพื่อเอื้อให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญา
จะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ หรือสมาธิอบรมปัญญา ก็นำไปสู่จุดหมายเดียวกัน
เจริญอานาปานสติ มองเห็นความเกิดขึ้น-ความเสื่อมทั้งหลาย
เห็นลม เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นสิ่งที่อยู่เนื่องในจิต เห็นนิวรณ์ห้า
เห็นขันธ์ห้า เห็นสังโยชน์ที่อาศัยอายตนะหก เห็นโพชฌงค์เจ็ด เห็นอริสัจสี่
อานาปานสติ ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญสติปัฏฐานสี่ ให้บริบูรณ์ได้
สติปัฏฐานสี่ ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญโพชฌงค์เจ็ด ให้บริบูรณ์ได้
โพชฌงค์เจ็ด ทำให้มาก ชื่อว่าเจริญวิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้
ปฏิบัติกันไปเถิดคับ หนทางเข้าถึงปัญญามีอยู่โดยรอบ
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก สติปัฏฐานสูตร http://www.larnbuddhism.com/grammathan/ ... /sati.html
อานาปานสติสูตร http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn11.php
ไม่ประมาท
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 369
สำหรับผม จุดชี้วัดว่าเราทำมาถูกหรือเปล่า? คือ นิสัยใจคอของเราเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหรือเปล่า? วัดกันที่ชีวิตทางโลก ว่า สิ่งที่เราเคยทำไม่ดี ที่เรารู้แล้วว่ามันไม่ดี เราสามารถพัฒนาตัวเองให้ทำสิ่งต่างๆ ไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือเปล่า?Dech เขียน:......
นั่นเป็นจุดวัดว่าเราทำมาถูกหรือเปล่า
......
วิปัสสนา คือ วิชาเปลี่ยนจิต เปลี่ยนจิตจากปุถุชนให้เป็นอริยะชน ขัดเกลาให้กิเลสเบาบางลง ดังนั้นจุดชี้วัดที่สำคัญในการปฏิบัติ คือ ถ้าเมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าเราโลภแรงขึ้น โกรธแรงขึ้น หลงแรงขึ้น อันนั้นคือมาผิดทาง แต่ถ้าปฏิบัติไปแล้วเห็นนิสัยเสียของเรา เห็นข้อเสียของเรา เห็นกิเลสของเรา ไปใช้ชีวิตทางโลก แล้วเรารู้สึกว่าเราไม่เป็นไปกับกิเลสหรือนิสัยเสียๆ ของเรามากเหมือนที่เคยเป็นมาในอดีตได้มากขึ้น นั่นคือจุดชี้วัดว่าเราทำมาถูกทาง
แนวทางการปฏิบัติของทางสายผมนี่ เวลาปฏิบัติจะไม่ให้ไปตั้งใจคิดเด็ดขาด เพราะ การกำหนดเรื่อง กำหนดหัวข้อคิด มันค่อนข้างเข้าใกล้จินตามยปัญญามาก ซึ่งเป้าหมายในการปฏิบัติเราต้องการพัฒนาภาวนามยปัญญา และภาวนามยปัญญาจะต้องเกิดจากสติและสมาธิที่ไปรู้อารมณ์ขณะหนึ่งๆ ซึ่งเมื่อรับรู้อารมณ์ขณะนั้นแล้ว อารมณ์นั้นก็จะกลายเป็นอดีตไปแล้ว รับรู้แล้วก็ทิ้ง ไปรับรู้อารมณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันอารมณ์นี่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เราจะไม่เหนี่ยวนำ หน่วงอารมณ์แบบการทำสมถะ รู้ก็ให้สักแต่ว่ารู้เป็นขณะๆ
กำลังสติ สมาธิที่จะพัฒนาให้เกิดวิปัสสนาญาณได้ ต้องเป็นการกำหนดรู้ที่จดจ่อ ต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน และมีพลัง รู้ก็สักแต่ว่ารู้ขณะหนึ่งๆ ซึ่งในช่วงที่สติ สมาธิยังไม่แก่กล้า มันจะมีอาการหน่วงอารมณ์อยู่บ้าง ผลของมันก็จะมีกำลังสมาธิที่ไม่สมส่วนกับวิริยะ ซึ่งก็จะแสดงออกเป็นผลของธรรมปีติทั้งหลาย อย่างอาการขนลุก เห็นแสง ตัวโยก ตัวลอย ฯลฯ ก็เป็นผลของสมาธิที่ก้าวล้ำวิริยะ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของโยคีบุคคลที่หลังจากที่รับรู้ด้วยสติ ว่ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ก็ต้องใช้สติเร่งวิริยะ ที่จะกำหนดให้ได้ปัจจุบันมากขึ้น ให้สติรับรู้คมขึ้น มีพื้นที่ทำงานมากขึ้น ปรับแต่งอินทรีย์ให้วิริยะไล่ตามสมาธิได้ทั้ง อินทรีย์ 5 ที่พัฒนาขึ้นจึงจะทำให้เห็นความเป็นจริงของกายใจต่างๆ ได้มากขึ้น
การเข้าไปเห็นธรรมชาติ ความจริงของกายใจ สิ่งที่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์ที่สุด คือ เราจะได้เข้าไปเห็นนิสัยชั่วๆ ของเรา ได้ไปเห็นความคิดแต่ละขณะก่อนที่จะเกิดคำพูด การกระทำ ได้เข้าไปเห็นทิฏฐิต่างๆ ที่นำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อเห็นบ่อยๆ เข้า เราก็รู้จักตัวเองมากขึ้น เพื่อที่จะได้ขัดเกลาตัวเองได้ และได้ใช้ประโยชน์จากกายใจนี้ได้มากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการเข้าไปเห็นนิสัย ความคิด ทิฏฐิ เหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่การกระทบผัสสะ ไปจนถึงเกิดกระบวนการปรุงแต่งต่างๆ ขึ้นเหล่านี้ ไม่ได้เกิดขึ้นในระดับการนึกคิดปรุงแต่ง หรือในระดับสุตมยปัญญา หรือจินตามยปัญญา แต่มันจะเกิดขึ้นในระดับวิญญาณ คือ ขณะที่สติเข้าไปรับรู้กระบวนการปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยปราศจากการนึกคิดแม้แต่น้อย เช่น ในขณะเดินจงกรมอยู่ สติคอยกำหนดรู้อาการเคลื่อนทางกายอย่างแนบแน่น อินทรีย์ 5 มีความสมส่วน และในขณะที่เกิดได้ยินเสียงขึ้น และมีการปรุงแต่งขึ้น สติที่มีกำลังจะไปตามดูกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ตั้งแต่เสียงมากระทบไปจนจบกระทบการปรุงแต่ง จนจิตไม่สนใจอารมณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น และทิ้งอารมณ์นั้นๆ กลับมาจดจ่อกำหนดรู้กับอาการเคลื่อนทางกายต่อ
โดยย่อ การเดินจงกรมและการนั่งสมาธิกำหนดรู้ เจริญสติอยู่กับฐานกาย นั้นเป็นเหมือนกับบ้าน เป็นเหมือนกับเครื่องมือในการพัฒนาอินทรีย์ 5 ให้แก่กล้า เพื่อที่จะได้เอากำลังที่ได้ไปกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ ที่ละเอียดในฐานจิต และเมื่ออินทรีย์ 5 แก่กล้ามาเพียงพอ เมื่อเกิดความคิดแทรกขึ้นมา แค่กำหนด คิดหนอ แค่ครั้งเดียว จิตจะรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น กระแสความคิด รวมไปถึงเหตุปัจจัยทั้งหมด และเมื่อรู้แล้วก็ทิ้งอารมณ์นั้นกลับมากำหนดฐานกายต่อ แต่สิ่งที่ได้รับรู้แล้ว แม้จะเป็นเพียงแค่ขณะจิตเดียว แต่แค่ขณะจิตเดียว กับสติและสมาธิที่มีกำลัง การเข้าไปรับรู้แบบนี้จะเกิดปัญญาขึ้นโดยอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องยกขึ้นมาพิจารณาใคร่ครวญแม้แต่น้อย จึงควรทิ้งอารมณ์กลับมากำหนดอารมณ์หลักให้สติ สมาธิพัฒนายิ่งๆ ขึ้น อินทรีย์ 5 กลายเป็นพละ 5 เพื่อที่จิตจะได้มีกำลังในการเข้าไปเห็นธรรมชาติของกายใจที่ละเอียดๆ ยิ่งๆ ขึ้นไป
อย่างไรก็ตามอันนี้เป็นการปฎิบัติในสายที่ผมปฏิบัติ สำหรับการปฏิบัติสายอื่นๆ ก็คงจะมีรายละเอียดต่างๆ วิธีการปรับแต่งอินทรีย์ที่แตกต่างกันไป แต่หวังว่าองค์ความรู้ของผมจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ไม่มากก็น้อย
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 370
ความมีสติในการรับรู้เมื่อผสมกันถูกส่วนกับความเพียรย่อมทำให้ธรรมปิติเกิดขึ้น แล้วการตามรู้ในความจริงของปิติย่อมเกิดความรู้แจ้งขึ้น
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 372
มายืนยันว่าปิติเป็นจุดวัดอย่างหนึ่ง ถ้าปฏิบัติมาถูกทางยังไง ปิติก็ต้องเกิด
เกิดแล้วจะทำไงต่อเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่ถ้าใครมาติด ก็จะเป็นการเกิดตัณหาในวิปัสสนาญาณ
ละโลกมายึดธรรม แบบนี้ก็ไม่ต้องการ
เกิดแล้วจะทำไงต่อเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่ถ้าใครมาติด ก็จะเป็นการเกิดตัณหาในวิปัสสนาญาณ
ละโลกมายึดธรรม แบบนี้ก็ไม่ต้องการ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 373
..ทุกข์..
https://www.facebook.com/v.vajiramedhi/ ... 6650475877
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 367&Z=4404
...........................................................
http://www.nkgen.com/388.htm
วชิราสูตร
........................................
*****
http://www.nkgen.com/388.htm
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ.
ทุกฺขเมว หิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ นาญฺญตฺร ทุกฺขา สมฺโภติ นาญฺยตฺร ทุกฺขา นิรุชฺฌติ
[( วชิราภิกฺขุนี ) สํ. ส. ๑๕/๑๙๙. ขุ. มหา. ๒๙/๕๓๖.]
https://www.facebook.com/v.vajiramedhi/ ... 6650475877
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 367&Z=4404
...........................................................
http://www.nkgen.com/388.htm
วชิราสูตร
พระสูตรที่แสดงธรรมของท่านวชิราภิกษุณี ที่แสดงต่อมารที่มารบกวนท่าน ด้วยหวังจะล่อลวงด้วยถ้อยคำถามให้หลงผิดย่อท้อ แต่ท่านกลับแสดงธรรมตอบคำถามของมารอย่างอาจหาญ อย่างปรมัตถ์ ยิ่งนัก จนมารต้องหนีหาย หรืออันตรธานไปจากจิตของท่าน
จนบันทึกอยู่ในพระไตรปิฏกตราบเท่าทุกวันนี้ในบท วชิราสูตร นี้, ธรรมที่ท่านได้กล่าวแสดงแก่มารจนเป็นที่เลื่องระบือ ดังเช่น
สังขารในพระไตรลักษณ์ ที่ย่อมประกอบขึ้นแต่เหตุปัจจัย
อันท่านได้อุปมาอุปไมยโดยอาศัยรถ ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยประกอบหรือปรุงแต่งกัน
จึงเป็นสิ่งที่เรียกกันโดยสมมติสัจจะว่า รถ,
และยังตอบปัญหามารถึงเรื่องสัตว์บุคคลเขาเรา ถึงความแตกต่างของบุคคลตัวตนหรือสัตว์ที่หมายถึงมีชีวิต ที่แม้ไม่มีตัวตนและเกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นเดียวกับ รถ โดยแสดงเหตุปัจจัยที่ยังความแตกต่างกับ รถ กล่าวคือ บุคคลตัวตนหรือสัตว์แม้ต่างก็ไม่มีอัตตาตัวตนแท้จริงเช่นเดียวดังรถ
เพราะสิ่งที่เห็นหรือผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามที เป็นเพียงกลุ่ม หรือก้อน หรือมวล(ฆนะ)ของเหตุที่มาประชุมปรุงแต่งเป็นปัจจัยกันขึ้นนั้นๆจึงขึ้นหรืออิงหรือเนื่องสัมพันธ์กับเหตุปัจจัยนั้นๆ จึงไม่ใช่ตัวใช่ตนที่หมายถึงเราหรือของเราอย่างแท้จริง เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราอย่างแท้จริง, ส่วนบุคคลตัวตนหรือสัตว์นั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยปรุงแต่งของขันธ์ต่างๆครบ จึงพากันเรียกสิ่งนั้นกันโดยสมมติหรือโดยสมมติสัจจะว่าสัตว์บุคคลเขาเราหรือชีวิต เป็นอนัตตาเพราะแม้แลดูประหนึ่งว่าเป็นเราเป็นของเรา แต่ความจริงแล้วก็ยังเป็นเพียงกลุ่ม หรือก้อน หรือมวลรวมของขันธ์ทั้ง ๕ เท่านั้นที่มาประชุมกัน
นั่นจึงไม่ใช่เรา เราจึงไม่ใช่นั่น นั่นจึงไม่ใช่ตัวใช่ตนของเรา
และยังได้แสดงโฉลกธรรมแก่มารในเรื่องของ สังขารต่างๆรวมทั้งตัวตนเขาเรา ตลอดจนสังขารความสุขความทุกข์ว่าความจริงแล้ว ล้วนเป็นทุกข์ไว้อย่างปรมัตถ์ จนเป็นพุทธภาษิตหรือคติธรรมที่ได้ยินและกล่าวอ้างอิงกันอยู่เนืองๆโดยทั่วไปในพระศาสนา เพราะความที่เป็นปรมัตถ์ยิ่งนัก จึงเป็นจริงอย่างที่ท่านกล่าวไว้ตั้ง ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วในหมู่ผู้รู้ธรรมที่แสวงหาในโลกุตระธรรม
........................................
[๕๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ
ครั้งนั้น เวลาเช้า วชิราภิกษุณีนุ่งห่มแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไป
บิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลา
ปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้วเข้าไปยังป่าอันธวันเพื่อพักกลางวัน ครั้นถึงป่า
อันธวันแล้ว จึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ฯ
[๕๕๓] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปใคร่จะให้วชิราภิกษุณีบังเกิดความกลัว
ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อนจากสมาธิ จึงเข้า
ไปหาวชิราภิกษุณีถึงที่นั่งพัก ครั้นแล้วได้กล่าวกะวชิราภิกษุณีด้วยคาถาว่า
สัตว์นี้ ใครสร้าง ผู้สร้างสัตว์อยู่ที่ไหน สัตว์บังเกิดใน
ที่ไหน สัตว์ดับไปในที่ไหน ฯ
[๕๕๔] ลำดับนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่ใครหนอกล่าวคาถา
จะเป็นมนุษย์หรืออมนุษย์ ฯ
ทันใดนั้น วชิราภิกษุณีได้มีความดำริว่า นี่คือมารผู้มีบาปใคร่จะให้เรา
บังเกิดความกลัว ความหวาดเสียว ความขนพองสยองเกล้า และใคร่จะให้เคลื่อน
จากสมาธิ จึงกล่าวคาถา ฯ
ครั้นวชิราภิกษุณีทราบว่า นี่คือมารผู้มีบาป แล้วจึงได้กล่าวกะมารผู้มีบาป
ด้วยคาถาว่า
ดูกรมาร เพราะเหตุไรหนอ ความเห็นของท่านจึงหวนกลับ
มาว่าสัตว์ ฯ
ในกองสังขารล้วนนี้ ย่อมไม่ได้นามว่าสัตว์ ฯ
เหมือนอย่างว่า เพราะคุมส่วนทั้งหลายเข้า เสียงว่ารถย่อมมี
ฉันใด ฯ
เมื่อขันธ์ทั้งหลายยังมีอยู่ การสมมติว่าสัตว์ย่อมมี ฉันนั้น ฯ
ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่และเสื่อมสิ้น
ไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มี
อะไรดับ ฯ
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า วชิราภิกษุณีรู้จักเรา ดังนี้
จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ
จบภิกษุณีสังยุต
*****
http://www.nkgen.com/388.htm
เหตุที่ท่านวชิราภิกษุณีได้กล่าวไว้ดังนั้น เป็นการพิจารณาเห็นความจริงในพระไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบันธรรม เพราะสังขารทั้งหลายทั้งปวง จึงไม่ว่ารถ, สัตว์, สิ่งของ, แม้กระทั่งสุข, ทุกข์ ฯลฯ. (กล่าวคือ ทุกสรรพสิ่งพึงยกเว้นแต่อสังขตธรรมเท่านั้น) ต่างล้วนเป็นสังขตธรรม อันเกิดแต่เหตุปัจจัยหรือปฏิจจสมุปบันธรรม จึงมีลักษณะโดยทั่วไปหรือที่เรียกกันว่าสามัญญลักษณะ ที่มีความไม่เที่ยง๑ เป็นทุกข์ กล่าวคือ สภาพทนอยู่ได้ยาก หรือสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ต้องดับไปเป็นที่สุด๑ ล้วนเป็นอนัตตา๑
ดังนั้นสังขารทั้งหลายทั้งปวง อันย่อมครอบคลุมถึง ตัวตนหรือสัตว์๑ ตลอดจนความทุกข์๑ อันย่อมล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยมาประชุมปรุงแต่งเช่นกัน จึงเรียกกันโดยสมมติว่าเกิดขึ้น แล้วมีการตั้งอยู่อย่างแปรปรวนไปมา แล้วดับไปเป็นที่สุด และด้วยเหตุที่สังขารทั้งสองต่างมีสามัญญลักษณะประจำตัวคือทุกข์หรือทุกขัง ดังกล่าวไว้ข้างต้นหรือในพระไตรลักษณ์ จึงล้วนย่อมมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เฉกเช่นเดียวกัน จึงไม่ควรไปยึดมั่น ไม่ปล่อยวาง ให้ยืดยาวเป็นทุกข์ไปนั่นเอง
ถ้ามองกันในแง่ของความสุขความทุกข์แล้ว เหตุที่ท่านกล่าวว่า มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิด มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับ ก็เพราะว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ อย่างปรมัตถ์ กล่าวคือ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น และ
ขณะเมื่อทุกข์ดับไปเป็นสภาวะที่เราเรียกกันโดยสมมติเป็นภาษาโลกว่า สุข นั่นเอง
เป็นมายาหรือมารยาของจิตที่หลอกล่อ ด้วยอวิชชา จึงมองไม่เห็น
ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นจากดับทุกข์นั้นเล่า แม้เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่งของชีวิตเช่นกัน ที่เกิดจากดับไปของทุกข์ จึงสมหวังเป็นสุข จึงยังคงมีอยู่เป็นธรรมดา แต่ตามความจริงอย่างปรมัตถ์แล้ว ก็คือ ยังเป็นทุกข์ อย่างละเอียดลึกซึ้งนั่นเอง กล่าวคือย่อมมีอาการของทุกขังคือคงทนอยู่ได้ยากจึงต้องดับไปเช่นกัน
ดังนั้น ผู้มิได้สดับในธรรมของพระองค์ท่าน
เมื่อเกิดเหล่าสุขหรือก็คือสุขเวทนาไม่ว่าจักเกิดจากกามคุณ ๕ หรือรูปฌาน หรืออรูปฌานก็ตามที อันเป็นสภาวธรรมของชีวิตที่เมื่อมีเหตุปัจจัยยังคงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมก่อให้เกิดปริเทวะอันเป็นหนึ่งในอาสวะกิเลสอันคือเกิดอาการโหยไห้ อาลัยหาในสุขนั้นในภายภาคหน้าขึ้นอีก เนื่องจากการเพลิดเพลินหรือติดเพลิน หรือยึดมั่นในกิเลสอันคือสุขนั้นนั่นเอง จึงกล่าวว่า สุขก็คือทุกข์อันละเอียดอ่อนที่นอนเนื่องต่อไปนั่นเอง อันย่อมยังให้เกิดทุกข์ขึ้นเป็นที่สุดในลำดับต่อมา กล่าวคือสุขทุกข์ต่างล้วนเป็นไปเพื่อทุกข์ ดังนี้
สุขเวทนา เป็นสุขเพราะตั้งอยู่ เป็นทุกข์เพราะแปรไป
ทุกขเวทนา เป็นทุกข์เพราะตั้งอยู่ เป็นสุขเพราะแปรไป
(ภาพประกอบ จาก google image search "bamiyan buddha")
อทุกขมสุขเวทนา เป็นสุขเพราะรู้ชอบ เป็นทุกข์เพราะรู้ผิด.
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 374
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... cha_62.htm
เห็นธรรมดับทุกข์
พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
โพสท์ใน ลานสนทนา ลานธรรมจักร โดย TU 12-07-2547
วันนี้เป็นวันเพ็ญเดือนห้า ญาติโยมได้พากันมาฟังธรรมมากพอควร การฟังธรรมนั้นได้ผลก็มี ไม่ได้ผลก็มี ได้ผลลึกซึ้งก็มี ได้ผลเผินๆ ก็มี ทั้งนี้ก็เพราะเครื่องรับที่วางไว้เหมาะและไม่เหมาะต่างกัน
การฟังธรรมนั้นทำใจให้เป็นสมาธิก็พอ ไม่ต้องพนมมือไหว้ก็ได้ แล้วแต่เหตุการณ์ เพราะจะเป็นการบังคับร่างกายจนเกินไป อาจจะเกิดผลเสียทางการฟังไปก็ได้ และการฟังธรรมนั้นไม่จำเป็นจะต้องจำให้ได้หมด บางคนคิดว่าฟังแล้วก็ลืม จำอะไรไม่ได้ ข้อนี้ไม่สำคัญ อยู่ที่ตั้งใจฟัง ให้เสียงนั้นผ่านไปๆ ด้วยความสงบ เหมือนกับผ้าที่เราพับไว้เป็นชั้นๆ ถึงคราวที่เราจะคลี่ออกมา การฟังธรรมก็เหมือนกัน มันจะค่อยซึมซาบเข้าไปในความทรงจำทีละน้อยเพราะมีสติสันติพุทโธความระลึกได้สงบใจและตื่นตัวรู้ตัวอยู่ในขณะที่ฟังธรรม ทั้งสามนี้มีอยู่พร้อมกันจะกำจัดนิวรณ์ได้
เมื่อมีความสงบใจ ความรู้จะเกิดขึ้น เรื่องต่างๆ หรือเหตุการณ์ที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา และความรู้บางอย่างจะเกิดขึ้นมาเอง การฟังธรรมด้วยดีจะเกิดเป็นไตรสิกขาขึ้น ดังนี้
การสำรวมระวังกายวาจาใจเรียกว่าศีล
ใจสงบเรียกว่าสมาธิ
อาการที่รู้ทันเมื่อมีอารมณ์มากระทบ รู้ตามความเป็นจริง เรียกว่าปัญญา
อันธรรมดา เมื่อเราเก็บสิ่งของ เช่น เพชรนิลจินดาไว้ เมื่อมีความกังวลใจมาก จิตใจเกิดความวุ่นวายจะหาของนั้นไม่พบ คิดไม่ออกว่าเก็บไว้ที่ไหน ความทุกข์จะเกิดขึ้น แต่ถ้าเราทำใจให้หายกังวล ตัดใจได้ว่าหายก็หายไป ถ้ามันไม่ใช่ของเราก็เป็นของยาก ทำใจให้สบายและสงบลง ก็จะนึกออกเองได้บ้าง ของนั้นที่เราเก็บไว้ในที่นั้นๆ เมื่อเรานึกได้รู้ได้ว่าอยู่ในที่นั้นๆ ทั้งๆ ที่เรายังไม่ได้ไปเอา ใจเราก็สบาย เพราะหมดความกังวลนั้นเอง ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีความสุขใจ
ผู้บรรลุธรรมนั้น เหมือนผู้ไปถึงบ้าน การพูดธรรมเรียนธรรมนั้น ไม่ใช่ผู้ถึงธรรม ส่วนผู้ถึงธรรม หรือใจเป็นธรรม ย่อมต่างจากผู้พูดผู้เรียนธรรมนั้นๆ
พระพุทธองค์ทรงทำกิจเกี่ยวกับการสอนสัตว์โลกสองอย่าง คือ
...
เบื้องแรกจัดโลกให้สะอาดและมีระเบียบด้วยทานศีล
ขั้นที่สองขนนำสัตว์ออกจากโลก (ออกจากความโลภ โกรธ หลง) ให้ได้พบความสะอาดสงบสว่าง ด้วยการภาวนา
ในโลกนี้มีแต่ความทุกข์ แม้จะอยู่ในบ้านมันก็วุ่นวายอยู่เรื่อยๆ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
“ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
นอกจากทุกข์ หาอะไรเกิด อะไรดับมิได้ นอกจากทุกข์”
การเห็นธรรม คือการเห็นความดับทุกข์
การดูโลกก็คือการดูท่อนไม้ ต้องดูให้รู้ปลายท่อนไม้ทั้งสองข้าง
เมื่อเรารู้ที่สุดของท่อนไม้ท่อนนั้นทั้งสองข้างแล้ว
เราจะหาท่ามกลางของท่อนไม้นั้นได้ ด้วยการวัดจากปลายทั้งสองข้างเข้ามา
กึ่งกลางก็จะปรากฏเอง กึ่งกลางของท่อนไม้ไหนๆ ก็มีอยู่แล้วในท่อนไม้นั้น
เราจะไปหาที่อื่นย่อมไม่พบ
ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอน ก็เหมือนกัน
กุศลธรรมธรรมอันขาวได้แก่ บุญ
อกุศลธรรมคือธรรมอันดำ ได้แก่ บาป อัพยากตธรรม
คือธรรมไม่ดำไม่ขาว ได้แก่พระนิพพาน คือ ธรรมเป็นกลางๆ
ความดีใจความเสียใจคือปลายทั้งสองข้าง ล้วนแต่เป็นทุกข์
ให้เราพิจารณารู้เท่าทัน อย่าไปติดปลายทั้งสองข้าง
ความทุกข์ก็จะลดลงได้
เมื่อเรารู้ศูนย์กลางของมัน
ก็ต้องทิ้งปลายทั้งสองข้างเสีย
เหมือนคนหาบของ ต้องหาบกึ่งกลางของไม้คานได้เอง
ถ้าปล่อยให้หาบยื่นไปข้างหน้ามากเกินไป
หรือยื่นไปข้างหลังมากเกินไป ก็จะหาบของไม่ได้
แต่ถ้าเลื่อนไปเลื่อนมาหาศูนย์กลางได้แล้ว ก็จะหาบไปได้อย่างสบาย
จิตใจของเราก็เหมือนกัน ถ้าปล่อยให้อารมณ์ชอบใจ
หรือไม่ชอบใจเข้าสิงสู่ มันก็เกิดทุกข์
เมื่อเราดีใจก็ให้เหลือเผื่อแผ่แขกที่จะมาใหม่
คือความเสียใจบ้าง
ถ้าเสียใจก็ให้เหลือเผื่อแผ่แขกที่จะมา
คือความดีใจบ้าง
อย่าเห็นแก่ปลายข้างเดียว
มันจะเกิดความทุกข์
เราต้องรู้เท่าทันในความเห็นที่ถูกต้อง ในรูปนาม (ร่างกาย จิตใจ) พิจารณาจนรู้ปลายทั้งสองจนแน่ชัดแล้ว
เราจะรู้ตรงกลางได้เอง
ความเห็นแก่ตัวไม่อยากตาย ให้คนอื่นตาย
ร้อนก็ไม่อยากร้อน ให้คนอื่นร้อน
เราอยากได้สุข คนอื่นจะทุกข์อย่างไรก็ช่าง
ถ้าเจ็บให้คนอื่นเจ็บ เราเองไม่อยากเจ็บ
เขาเรียกว่าคนเห็นปลายข้างเดียว
มีดีติดดี มีชั่วติดชั่ว
จึงต้องเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป
ฉะนั้นจำเป็นจะต้องศึกษาเพื่อให้เข้าถึงรู้ทันมันจะยืนเดินนอนนั่งหรือจะอยู่ที่ไหนๆ
ก็มีสติพิจารณาอยู่อย่างนี้ว่า
ได้ปฏิบัติตามธรรมนั้น
เช่นเรารักลูก รักจนหมด มีความรักเท่าไรมอบให้หมด
รักผู้อื่น รักคนอื่นก็เหมือนกัน เขาเรียกว่าคนเห็นปลายข้างเดียว
ไม่รู้จักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเรารัก ก็เหลือไว้เผื่อชังบ้าง
เมื่อชังก็เหลือไว้เผื่อรักบ้าง
เราต้องรู้ทันอารมณ์ อยู่เหนืออารมณ์ คนหลงอารมณ์
ก็คือคนหลงโลก คนหลงโลก ก็คือคนหลงอารมณ์
พระพุทธองค์ที่ได้รับการยกย่องจากพุทธบริษัท
ว่าเป็นโลกวิทู ผู้รู้แจ้งโลก ก็เพราะพระพุทธองค์รู้อย่างนี้
เรามาฟังธรรม ก็เพื่อให้ตัวเราเป็นธรรม มีธรรมอยู่ในใจ
ไม่หลงโลก หลงอารมณ์
เป็นผู้เข้าถึงธรรม จึงจะมีความสุขความสบาย
อันผลไม้มีรสหวาน ภูเขามีป่าไม้เขียวชะอุ่ม เกิดความชุ่มชื่น เยือกเย็น
ย่อมเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์และมนุษย์
พระอริยสงฆ์มีความดีทางกาย วาจา ใจ ตรง และตรงต่อศีล สมาธิ ปัญญา
เมื่อเราปฏิบัติดี คือชอบกาย ชอบวาจา ชอบศีล สมาธิ ปัญญาเมื่อเราปฏิบัติตามก็ได้ชื่อว่าถึงพระสงฆ์แน่นอน
เราเกิดมาเห็นเขาทำเราก็ทำ ไม่รู้จักผิดถูก รับศีลก็ว่าตามพระบอก ไม่ทราบว่าคืออะไร เมื่อก่อนนี้พวกเราชาวบ้านพากันทำกระทงหน้าวัว เอาข้าวดำ ข้าวแดง กล้วย อ้อยมาทำพิธีส่งผีป่าหนี แต่ผีบ้านไม่มีส่งสักที เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ สาธุ! ขอให้คุณศีลคุณทานช่วยคนเอากายเข้าวัดแม้จะนั่งใกล้พระแต่จิตใจอยู่ไกล ทำอย่างนี้สัตว์ต่างๆ หมู หมา เป็ด ไก่ มันก็เอากายเข้ามาได้ มันจะไม่เข้าถึงธรรมเหมือนกันหรือ
การเข้าวัดมาหาพระ แต่อย่าติดพระ
ควรเข้าถึงธรรมซึ่งเป็นหลักของใจ
เมื่อมีศีลชื่อว่าเป็นคนดี พวกวัวควายเราหัดได้ ไม่นานก็ใช้งานได้
คนเราหัดตั้งนานยังใช้ไม่ค่อยจะได้ ยังเป็นสัตว์อยู่ เพราะมันหนามาก
เราต้องพิจารณาให้ลึกๆ การรักษาศีล ฟังธรรม จะทำให้เป็นผู้พบความสุข
แต่เราเห็นว่ามันยาก ทำตามก็ยาก เพราะเรายังไม่พร้อม
พระให้บุญขณะที่เรากำลังเป็นๆ มีชีวิตอยู่ยังไม่รับ คอยจะรับและเห็นว่าเหมาะเวลาตายแล้ว
เพราะเรายังไม่เข้าใจลึกซึ้ง ยังหลงของที่ยังมีอยู่
วัวควายอ่านหนังสือไม่ออกก็น่าให้อภัย เป็นพวกอบายภูมิต่ำๆ
ต้องพูดกันด้วยไม้ ด้วยแส้ ต้องตีต้องเฆี่ยน
พระพุทธองค์สอนศีลธรรม ไม่ได้สอนแก่สัตว์เดรัจฉาน
ท่านสอนสัตว์มนุษย์เรานี่เอง เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์
นึกว่าเป็นของง่าย คิดว่าเป็นของง่าย คิดว่าตนเองจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์เสมอไป
เพราะความหลงคนหนุ่มคนสาวยิ่งหลงในรูปเสียงกลิ่นรสอยู่มากวันหนึ่งๆ ต้องส่องกระจกดูหลายครั้ง
เพราะนึกว่าตนเองยังสวย แต่หารู้ไม่ว่า ร่างกายมันเปลี่ยนแปลงไปทุกวินาที
การเข้าถึงธรรมนั้นย่อมทำให้กาย วาจา ใจ เป็นสุขสบาย
เราไม่ทำอันตรายเขา เขาก็ไม่ทำอันตรายเรา
คนอื่นๆ ก็ไม่ทำอันตรายแก่กันและกัน
โลกนี้ยิ่งมีความสุข เพราะไม่เบียดเบียนกัน
แต่เราไม่เห็นตามความเป็นจริง ของไม่ดีก็ว่าดี ของไม่งามก็ว่างาม
ของสั้นก็ว่าของยาว ของไม่ยั่งยืน ก็ว่ายั่งยืน ผู้สอนต้องหาอุบายมาสอนจนเหนื่อยอ่อน
เราเกิดมาแล้วต้องพิจารณาให้มากๆ เห็นเขาทำนาบนดิน ตัวเองก็คิดว่าจะทำได้ เขาทำไร่บนดินก็เช่นกัน แต่ว่าดินนั้นมันต่างกัน ที่ดินเรากับที่ดินเขาที่ทำไร่ย่อมมีลักษณะแตกต่างกัน ผู้จะทำต้องเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดินนี้ แต่ก่อนเราทำบุญอุทิศ นิยมทำต้นดอกผึ้ง ทำแล้วต้องมีของเสมอกัน มีสุราอาหารและของที่ต้องผลาญชีวิตสัตว์อื่นๆ ทำแล้วคิดว่าจะได้บุญ เหมือนลิงถวายรวงผึ้งแก่พระพุทธเจ้า แต่ลิงป่ากับลิงบ้านทำบุญต่างกัน ตัวหนึ่งไม่ได้ฆ่าเอาเนื้อมาทำบุญ แต่พวกหนึ่งฆ่าเขาเอามาทำบุญ มันจึงมีผลต่างกัน ลิงป่าทำทานแล้วไปสวรรค์ แต่ลิงบ้านทำแล้วไปนรก เพราะความหลงเข้าใจผิด
การพิจารณาร่างกาย พิจารณาถึงความตาย จะเป็นการผ่อนคลายความโลภ ความโกรธ และความหลงลงได้บ้าง เพราะเรากลัวตายจึงไม่ค่อยพิจารณากัน ถ้าใครพูดถึงความตายก็ห้ามไว้ ฉะนั้นพวกเราจึงพากันเข้าแถวเดียวกัน ตายอยู่อย่างนี้หลายพันชาติ ธรรมะเป็นของเยือกเย็น ทำใจให้สงบ ส่วนเงินทองข้าวของเป็นของร้อน มีแล้วก็อยากซื้อสิ่งนั้นสิ่งนี้ ทำใจให้เกิดความวุ่นวายมีทุกข์ แต่ศีลธรรมนำโลกให้สะอาด เบา สบาย ขนสัตว์ออกจากเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์ ศีลคือความสะอาด ธรรมะ คือการขนออกจากของสกปรก เพราะตามธรรมดา เราเมื่อดีใจก็คอยความเสียใจตามมาเสียใจก็คอยความดีใจตามมา มันกลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้
เราเกิดมาแม้ยังหนุ่มสาวก็อย่าประมาท คิดว่าตนยังไม่แก่ ควรพิจารณาถึงความตายเอาไว้บ้าง ความจริงแก่มาตั้งแต่เราเกิดทีแรก เหมือนกับคนหิว กินอาหารมันก็เริ่มอิ่มมาตั้งแต่คำแรกนั่นแหละ แต่คนมีความหิวมาก กินด้วยความโลภจึงมองไม่เห็น คิดว่าตนยังไม่อิ่ม เช่นคนมีผมแซมขาวปนดำ ใกล้ความตายเข้าไปทุกวัน เหมือนกับเรือที่จวนจะล่มสู่ก้นแม่น้ำนั่นเอง ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ตายทั้งนั้น เป็นคนใกล้ความเป็นเทวดาหรือเปล่า? เราพิจารณาบ่อยๆ จะเกิดความรู้ จะทำให้ตนมีความสุขความสบาย ปราศจากความเดือดร้อนทั้งกายและใจ
ได้แสดงธรรมมาพอสมควรแก่เวลา ขอยุติไว้เพียงเท่านี้ เอวัง
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 375
--รถ--
มิลินทปัญหา วรรคที่ ๑
ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ
read more at:
http://read.in.th/node/162
http://read.in.th/sites/default/files/M ... an-Haa.pdf
มิลินทปัญหา วรรคที่ ๑
ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ
http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-25-01.htm
" มหาบพิตรเป็นผู้มีความสุขมาแต่กำเนิดมหาบพิตรได้เสด็จออกจากพระนครในเวลาร้อนเที่ยงวันอย่างนี้ มาหาอาตมภาพได้เสด็จมาด้วยพระบาท ก้อนกรวดเห็นจะถูกพระบาทให้ทรงเจ็บปวด พระกายของพระองค์เห็นจะทรงลำบากพระหฤทัยของพระองค์เห็นจะเร่าร้อน ความรู้สึกทางพระวรกายของพระองค์ เห็นจะประกอบกับทุกข์เป็นแน่ เพราะเหตุไรอาตมภาพจึงว่าอย่างนี้ เพราะเหตุว่า มหาบพิตรมีพระหฤทัยดุร้าย ได้ตรัสพระวาจาดุร้าย มหาบพิตรคงได้เสวยทุกขเวทนาแรงกล้า อาตมาจึงขอถามว่า มหาบพิตรเสด็จมาด้วยพระบาท หรือด้วยราชพาหนะอย่างไร ? "
พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสตอบว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน โยมไม่ได้มาด้วยเท้า โยมมาด้วยรถต่างหาก "
พระนาคเสนเถระจึงกล่าวประกาศขึ้นว่า
" ขอพวกโยนกทั้ง ๕๐๐ กับพระภิกษุ ๘ หมื่นองค์นี้ จงฟังถ้อยคำของข้าพเจ้า คือพระเจ้ามิลินท์นี้ได้ตรัสบอกว่า เสด็จมาด้วยรถ ข้าพเจ้าจะขอถามพระเจ้ามิลินท์ต่อไป "
กล่าวดังนี้แล้ว จึงถามว่า
" มหาบพิตรตรัสว่า เสด็จมาด้วยรถจริงหรือ ? "
พระเจ้ามิลินท์ตรัสตอบว่า
" เออ…ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โยมว่ามาด้วยรถจริง "
พระเถระจึงซักถามต่อไปว่า
" ถ้ามหาบพิตรเสด็จมาด้วยรถจริงแล้ว ขอจงตรัสบอกอาตมภาพเถิดว่า งอนรถหรือ…เป็นรถ ? "
" ไม่ใช่ พระผู้เป็นเจ้า "
" ถ้าอย่างนั้น เพลารถหรือ…เป็นรถ ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในเพลาหรือ ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น ล้อรถหรือ…เป็นรถ ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในล้อรถหรือ ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น ไม้ค้ำรถหรือ…เป็นรถ ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น กงรถหรือ…เป็นรถ ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น เชือกหรือ…เป็นรถ ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในเชือกหรือ ? "
" ไม่ใช่ "
" ถ้าอย่างนั้น คันปฏักหรือ…เป็นรถ ? "
" ไม่ใช่ "
"ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในคันปฏักหรือ ? "
" ไม่ใช่ "
"ถ้าอย่างนั้น แอกรถหรือ…เป็นรถ ? "
" ไม่ใช่ "
"ถ้าอย่างนั้น รถมีอยู่ในแอกหรือ ? "
" ไม่ใช่ "
" ขอถวายพระพร อาตมภาพไม่เล็งเห็นว่า สิ่งใดเป็นรถเลย เป็นอันว่ารถไม่มี เป็นอันว่ามหาบพิตรตรัสเหลาะแหละเหลวไหล มหาบพิตรเป็นพระราชาผู้เลิศในชมพูทวีปนี้ เหตุไรมหาบพิตรจึงตรัสเหลาะแหละเหลวไหลอย่างนี้ ?
" เมื่อพระเถระกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกโยนกข้าราชบริพารทั้ง ๕๐๐ นั้น
ก็พากันเปล่งเสียงสาธุการขึ้นแก่พระนาคเสนเถระแล้วกราบทูลพระเจ้ามิลินท์ขึ้นว่า
" ขอมหาราชเจ้าจงทรงแก้ไขไปเถิดพระเจ้าข้า " พระเจ้ามิลินท์จึงตรัสขึ้นว่า
" ข้าแต่พระนาคเสน โยมไม่ได้พูดเหลาะแหละเหลวไหล
การที่เรียกว่ารถนี้เพราะอาศัยเครื่องประกอบรถทั้งปวง คือ งอนรถ เพลารถ ล้อรถ
ไม้ค้ำรถ กงรถ เชือกขับรถ เหล็กปฏัก ตลอดถึงแอกรถ มีอยู่พร้อม จึงเรียกว่ารถได้ "
พระเถระจึงกล่าวว่า
" ถูกแล้ว มหาบพิตร ข้อที่อาตมภาพได้ชื่อว่า " นาคเสน
" ก็เพราะอาศัยเครื่องประกอบด้วยอวัยวะทุกอย่าง คือ อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน
หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น อันจำแนกแจกออกไปเป็นขันธ์ ธาตุอายตนะทั้งปวง
ข้อนี้ถูกตามถ้อยคำของ นางปฏาจาราภิกษุณี ผู้เป็นพระอรหันต์
กล่าวขึ้นในที่เฉพาะพระพักตร์ของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
" อันที่เรียกว่ารถ เพราะประกอบด้วยเครื่องรถทั้งปวงฉันใด
เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ก็สมมุติเรียกกันว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาฉันนั้น "
ดังนี้ ขอถวายพระพร "
พระเจ้ามิลินท์ทรงฟังแก้ปัญหาจบลงน้ำพระทัยของพระบาทท้าวเธอปรีดาปราโมทย์ออกพระโอษฐ์ตรัสซ้องสาธุการว่า
" สาธุ..พระผู้เป็นเจ้าช่างแก้ปัญหาได้อย่างน่าอัศจรรย์
กล่าวปัญหาเปรียบเทียบอุปมาด้วยปฏิภาณอันวิจิตรยิ่ง
ให้คนทั้งหลายคิดเห็นกระจ่างแจ้งถูกต้องดีแท้ ถ้าพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่
ก็จะต้องทรงสาธุการเป็นแน่ "
read more at:
http://read.in.th/node/162
http://read.in.th/sites/default/files/M ... an-Haa.pdf
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 376
หลังๆมานี้ ผมก็ใช้วิธีนี้เหมือนกันครับ เพราะนั่งแล้วไม่ค่อยเป็นสมาธิ สาเหตุคงเป็นเพราะDech เขียน:แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ[/color] ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้อง
ได้เคยรู้แล้วว่า สมาธิเป็นยังไง เลยเกิดความอยากให้เกิดสมาธิแบบนั้นอีก สมาธิก็
เลยไม่เกิด เพราะจิตฟุ้งแทน
ตอนนี้เลยใช้ปัญญาอบรมสมาธิแทน คือ คิดแล้วก็ปล่อยวางไป ยิ่งคิดจิตก็ยิ่งผ่องใส
ยิ่งคิดจิตก็ยิ่งเบิกบาน สุดท้ายกลายเป็นความสงบ ได้สมาธิมาแทนปัญญาเฉยเลย
การเพ่งโทษตัวเอง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผมใช้แล้วทำให้จิตสงบ เพราะเมื่อเห็นข้อผิดพลาด
ของคนอื่น แล้วนำมาพิจารณาว่าเราเคยเป็น เคยทำอย่างนั้นไหม ก็จะพบว่าตัวของเราเอง
ก็เคยเป็น เคยทำอย่างนั้นมาเหมือนกัน สุดท้ายโทสะ ก็จะเบาบางลง ความพยาบาทก็
จะไม่มี ความอาฆาตมาตร้ายหายไป เหลือเพียงความสลดสังเวช และถอยห่างจากสิ่งเหล่านี้ไปครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 377
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นสำหรับการปฏิบัติในแนวทางที่ผมใช้นะครับtum_H เขียน:หลังๆมานี้ ผมก็ใช้วิธีนี้เหมือนกันครับ เพราะนั่งแล้วไม่ค่อยเป็นสมาธิ สาเหตุคงเป็นเพราะDech เขียน:แต่คนบางประเภทมีสิ่งแวดล้อมเป็นภาระกดถ่วงใจมาก และเป็นนิสัยชอบคิดอะไรมากอย่างนี้ จะอบรมด้วยคำบริกรรมอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่สามารถที่จะยังจิตให้หยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ต้องใช้ปัญญาไตร่ตรองเหตุผล ตัดต้นเหตุของความฟุ้งซ่านด้วยปัญญา เมื่อปัญญาได้หว่านล้อมในสิ่งที่จิตติดข้องนั้นไว้อย่างหนาแน่นแล้ว จิตจะมีความรู้เหนือปัญญาไปไม่ได้ และจะหยั่งลงสู่ความสงบเป็นสมาธิได้ ฉะนั้นคนประเภทนี้ จะต้องฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิได้ด้วยปัญญา ที่เรียกว่า ปัญญาอบรมสมาธิ[/color] ตามชื่อหัวเรื่องที่ให้ไว้แล้วในเบื้อง
ได้เคยรู้แล้วว่า สมาธิเป็นยังไง เลยเกิดความอยากให้เกิดสมาธิแบบนั้นอีก สมาธิก็
เลยไม่เกิด เพราะจิตฟุ้งแทน
ตอนนี้เลยใช้ปัญญาอบรมสมาธิแทน คือ คิดแล้วก็ปล่อยวางไป ยิ่งคิดจิตก็ยิ่งผ่องใส
ยิ่งคิดจิตก็ยิ่งเบิกบาน สุดท้ายกลายเป็นความสงบ ได้สมาธิมาแทนปัญญาเฉยเลย
การเพ่งโทษตัวเอง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผมใช้แล้วทำให้จิตสงบ เพราะเมื่อเห็นข้อผิดพลาด
ของคนอื่น แล้วนำมาพิจารณาว่าเราเคยเป็น เคยทำอย่างนั้นไหม ก็จะพบว่าตัวของเราเอง
ก็เคยเป็น เคยทำอย่างนั้นมาเหมือนกัน สุดท้ายโทสะ ก็จะเบาบางลง ความพยาบาทก็
จะไม่มี ความอาฆาตมาตร้ายหายไป เหลือเพียงความสลดสังเวช และถอยห่างจากสิ่งเหล่านี้ไปครับ
ในการปฏิบัติสายของผม อารมณ์สมาธิ ความสงบทั้งหลาย ไม่ใช่เป้าหมายในการปฏิบัติ แต่การได้เรียนรู้ธรรมชาติของกิเลส ธรรมชาติของจิตที่ปรากฏชัดเจนขึ้นในขณะนั้นต่างหากเป็นอารมณ์ที่เราควรกำหนดรู้ เพื่อที่จะได้เรียนรู้ธรรมชาติของกายใจของเรา ดังนั้นเมื่อเกิดความฟุ้งขึ้นก็กำหนดรู้ความฟุ้ง เมื่อเกิดความอยากให้จิตเป็นสมาธิก็กำหนดรู้ความอยาก เมื่ออยากได้ความสงบก็กำหนดรู้อาการอยาก เมื่อหงุดหงิดรำคาญใจที่ปฏิบัติไปแล้วไม่สงบก็กำหนดรู้ความหงุดหงิดรำคาญใจที่เกิดขึ้น ฯลฯ เหล่านี้เป็นอารมณ์ที่ควรเอาสติไปกำหนดรู้ตามความเป็นจริง
ความสงบ ความสุข ปีติ ความคล่องแคล่วว่องไวของจิตในการกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ แม้ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีที่น่าพึงปรารถนา อย่างไรก็ตามการไปยึดมั่นถือมั่น ความชอบใจในอารมณ์เหล่านั้น ความโลภอยากได้อารมณ์เหล่านั้นให้เกิดขึ้นอีก เหล่านี้เป็นโจทย์อันใหม่ที่โยคีบุคคลควรกำหนดรู้ตามความเป็นจริง กำหนดความชอบใจ ไม่ชอบใจ การถดถอยในอารมณ์ ความฟุ้ง ความสงสัย กล่าวโดยย่อแล้วนิวรณ์ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นอารมณ์ที่ควรกำหนดรู้ จริงๆ แล้วนิวรณ์ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจแต่อย่างใด แต่นิวรณ์ธรรมเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าธรรมชาติของจิตของเรายังมีกิเลสตัวใดอยู่บ้าง และกิเลสแต่ละตัวมีผลต่อความคิด คำพูด การกระทำของเราอย่างไร
ดังนั้นในสายที่ผมปฏิบัติ นิวรณ์ธรรมต่างๆ ที่ปรากฎขึ้นเป็นอารมณ์ที่ควรกำหนดรู้ เรียนรู้ธรรมชาติของมัน เรียนรู้ว่าก่อนที่จะเกิดนิวรณ์แต่ละตัวขึ้นขณะนั้นเรากำลังกำหนดอะไรอยู่ นิวรณ์เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ตอนไหน เมื่อเกิดขึ้นแล้วนิวรณ์ตัวนั้นมีลักษณะอย่างไร มีอาการอย่างไร ขณะกำหนดนิวรณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และนิวรณ์ที่เรากำหนดอยู่ดับไปอย่างไร หายไปตอนไหน และเมื่อดับไปแล้วเราก็กลับมากำหนดในอารมณ์หลักของเราต่อ เช่นกำหนดอาการทางกายต่อ เป็นต้น
นอกจากนี้ในการปฏิบัติสายของผม อาจารย์จะให้ผู้ปฏิบัติทำความเข้าใจว่า อารมณ์วิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์ที่ไม่ใช่อารมณ์ที่สงบ เงียบ สบาย แต่เป็นอารมณ์ที่แสดงถึงอารมณ์ไตรลักษณ์อยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ จะเห็นอารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฎขึ้นเปลี่ยนแปลง(อนิจจัง) ทนอยู่ไม่ได้(ทุกขัง) บังคับบัญชาไม่ได้(อนัตตา) เมื่อกำหนดในอารมณ์ใดก็แล้วแต่มันจะไม่ได้สงบ จะไม่ใช่อารมณ์ที่นิ่งๆ แต่เมื่อกำหนดรู้ในอารมณ์ได้ อารมณ์นั้นจะเปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา หรือไม่ก็จะเป็นทุกข์ ไม่ได้เป็นอารมณ์ที่นิ่งๆ เงียบๆ เหมือนอารมณ์สมถะ
ดังนั้นหากกำหนดรู้แล้วเกิดความวุ่นวาย เห็นการแปรเปลี่ยน ก็อย่าไปเสียใจว่าการปฏิบัติถดถอย อันที่จริงแล้วการปฏิบัตินั้นกำลังก้าวหน้า เพราะ เรากำลังเห็นอาการไตรลักษณ์ และการเข้าไปเห็นอาการไตรลักษณ์ในช่วงแรกๆ ที่จิตยังไม่เข้าใจ ยังไม่สามารถวางใจให้เป็นกลางได้ จิตจะมีอาการเครียดขึง เพราะ ไม่คุ้นเคย จนกระทั่งเรากำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นไปตามความเป็นจริงได้บ่อยๆ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะเห็นว่าไม่ว่าจะเป็นรูปหรือนามก็มีอาการไตรลักษณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่มีอะไรที่สามารถยึดมั่นถือมั่นได้เลย จิตจึงจะวางใจเป็นกลางต่อสภาวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่ดีหรือไม่ดีได้ นำไปสู่ความก้าวหน้าในการปฏิบัติ ที่สามารถวางใจเป็นกลางต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าดีหรือร้าย ใจจะสงบจากกิเลส เป็นการสงบระงับจากการรู้สิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ไม่ใช่สงบจากการที่มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวไม่รับรู้สิ่งต่างๆ แบบอารมณ์สมถะ เป็นความสงบที่เกิดขึ้นจากการรู้แล้ววางๆ สงบจากการที่กิเลสยึดครองใจเราได้น้อยลงๆ
คำถามที่ตามมา คือ ถ้าเป้าหมายคือเราจะกำหนดอารมณ์ที่เกิดขึ้นไปความเป็นจริง อย่างนี้เราก็กำหนดความคิด กำหนดจิตไปเรื่อยๆ ไม่ได้หรือ? จริงๆ แล้วจะว่าได้ก็ได้ แต่การกำหนดอารมณ์ฐานนาม กำหนดดูจิต ดูธรรมนั้น จำเป็นต้องใช้กำลังของสติและสมาธิมาก กำหนดได้ยาก บ่อยครั้งที่เราจะหลงไปกับอารมณ์ เป็นไปกับกิเลสได้ง่าย ความยากง่ายของการกำหนดอารมณ์ในแต่ละฐานเป็นไปดังประโยคนี้
"กำหนดกายเห็นเวทนา กำหนดเวทนาเห็นจิต กำหนดจิตเห็นธรรม"
ประโยคนี้แสดงถึงกำลังของสติและสมาธิที่ใช้ในการปฏิบัติ หากเรายังไม่มีความเชี่ยวชาญในการกำหนดของหยาบอย่างกาย การที่จะไปเท่าทันจิต เท่าทันความคิดนั้นก็เป็นไปได้ยาก เปรียบเหมือนการออกกำลังกายที่ต้องค่อยๆ ฝึกเพิ่มความเชี่ยวชาญ และความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ เริ่มจากการฝึกสิ่งง่ายๆ ขึ้นไปสิ่งที่ยากๆ ก่อนที่จะลงแข่งได้ การปฏิบัติก็เช่นกันหากยังไม่มีความเชี่ยวชาญในการกำหนดของหยาบ การจะไปกำหนดรู้ของละเอียดก็ทำได้ยาก
นอกจากนี้เรื่องการฝึกความเชี่ยวชาญที่ต้องพัฒนาเป็นลำดับขั้นแล้ว ประโยชน์ของฐานกายเป็นอารมณ์หลักอีกอย่าง คือ เราสามารถใช้ฐานกายเป็นบ้าน เป็นป้อม เป็นฐานที่มั่น ในการออกไปสู้กับกิเลส เมื่อกิเลสเล่นงานเข้ามาที่ฐานจิต เมื่อเรารู้ชัดว่าเรายังไม่มีกำลังพอที่จะไปต่อสู้กับกิเลส เราก็ยังมีฐานกายเป็นบ้านให้กลับมาได้ทุกเมื่อ ดังนั้นสำหรับผู้ปฏิบัติที่ปฏิบัติในช่วงต้นๆ ที่อินทรีย์ยังไม่แก่กล้าพอ เมื่อกำหนดรู้กิเลสที่เกิดขึ้นและรู้ว่าเป็นไปกับมัน ยังไม่สามารถกำหนดรู้กิเลสได้อย่างเป็นผู้ดู ยังคงโดนกิเลสเล่นงานและครอบงำ เราจะทิ้งอารมณ์ทางจิต กลับมากำหนดฐานกาย ใช้ฐานกายเป็นที่หลบภัย กลับมาสั่งสมกำลัง ก่อนที่จะไปกำหนดรู้ในฐานจิตอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น เมื่อปฏิบัติๆ ไป เราโดนความเศร้าหมองหดหู่เล่นงาน หากเรากำหนดรู้ความหดหู่แล้ว อารมณ์นั้นไม่ดับ เราจะกลับมากำหนดฐานกายให้แน่นๆ โดยไม่ต้องไปสนใจอารมณ์ฐานจิตที่เข้ามาเล่นงาน การรับรู้อารมณ์ฐานจิต จะดูแค่ห่างๆ แค่ให้พอรู้ว่ามีอยู่ ให้พอรำคาญๆ แต่มุ่งเป้าไปที่อาการเคลื่อนทางกาย จนกระทั่งจิตรวบรวมอินทรีย์ 5 ได้มากเพียงพอ อารมณ์ทางจิตจะเบาคลายลง เมื่อขึ้นไปกำหนดฐานจิต ก็จะเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นโดยไม่เป็นไปกับมัน จะเห็นการดับไปของอารมณ์ที่หดหู่ เป็นต้น
ปล. หวังว่าข้อความข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย หากข้อความดังกล่าวมีความผิดพลาด หรือได้ล่วงเกินท่านใด ผมกราบขอโทษ ขออโหสิด้วยนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 378
ขอบคุณมากเลยครับ คุณ picatospicatos เขียน: ความสงบ ความสุข ปีติ ความคล่องแคล่วว่องไวของจิตในการกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ แม้ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีที่น่าพึงปรารถนา อย่างไรก็ตามการไปยึดมั่นถือมั่น ความชอบใจในอารมณ์เหล่านั้น
สอบถามหน่อยครับ เกี่ยวกับขณะปฎิบัติ เมื่อจิตสงบจนลมหายใจหายไป ความปวดเมื่อยหายไป
ความรู้สึกถึงกายเบาจิตเบา เหมือนกายกับจิตแยกจากกัน
ขณะนั้นเองเกิดความรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ ตกใจ จนสมาธิถอน
ไม่ทราบว่าเราจะใช้วิธีไหนในการระงับอารมณ์นี้ครับ เพื่อให้ไม่หลุดออกจากสมาธิ
รบกวนขอคำแนะนำหน่อยครับ
ขอบคุณครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 379
อ่านการบรรยายธรรมของ อ.ตี่ แล้ว เข้าใจง่ายกว่าดูสไลด์การหามูลค่าหุ้นอีกแฮะ...
แต่ อ.ตี่ สุดยอดทั้งทางโลก และทางธรรม แล้วละ (ความเห็นผมนะ ..)
แต่ อ.ตี่ สุดยอดทั้งทางโลก และทางธรรม แล้วละ (ความเห็นผมนะ ..)
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 380
จริงๆ แล้วลมหายใจไม่ได้หายไปไหนครับ เพียงแต่ว่าลมมันละเอียดขึ้น เมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิ ตามธรรมชาติร่างกายจะต้องการอ็อกซิเจนลดลง ผลที่ตามมาคือเราจะหายใจเบาลง และลึกขึ้น ทำให้สติเราเข้าไปเห็นอาการตรงนี้ได้ยากขึ้น เกาะกับอาการทางกายอันเนื่องจากวาโยธาตุ(ธาตุลม) ได้ยากขึ้น อีกทั้งธรรมชาติของสมาธินั้นมีธรรมชาติที่จะเกาะอารมณ์หนึ่งๆ เป็นอารมณ์เดียว มีอาการหน่วงอารมณ์เอาไว้ ไม่ไปรับรู้อารมณ์อื่น จึงเกิดผลทำให้การรับรู้ไม่คมชัด เบลอๆtum_H เขียน:ขอบคุณมากเลยครับ คุณ picatospicatos เขียน: ความสงบ ความสุข ปีติ ความคล่องแคล่วว่องไวของจิตในการกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ แม้ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีที่น่าพึงปรารถนา อย่างไรก็ตามการไปยึดมั่นถือมั่น ความชอบใจในอารมณ์เหล่านั้น
สอบถามหน่อยครับ เกี่ยวกับขณะปฎิบัติ เมื่อจิตสงบจนลมหายใจหายไป ความปวดเมื่อยหายไป
ความรู้สึกถึงกายเบาจิตเบา เหมือนกายกับจิตแยกจากกัน
ขณะนั้นเองเกิดความรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ ตกใจ จนสมาธิถอน
ไม่ทราบว่าเราจะใช้วิธีไหนในการระงับอารมณ์นี้ครับ เพื่อให้ไม่หลุดออกจากสมาธิ
รบกวนขอคำแนะนำหน่อยครับ
ขอบคุณครับ
ในสายที่ผมปฎิบัติ เมื่อปฏิบัติถึงจุดนี้ หากมองโดย Concept ของอินทรีย์ 5 คือ สมาธิที่พัฒนาขึ้นได้ก้าวล้ำวิริยะไป จึงทำให้กำลังของสมาธิก้าวล้ำมากเกินกว่าที่สติจะตามได้ทันจึงมีผลของสมาธิขึ้นมากดการรับรู้ของสติ การจะปรับอินทรีย์ให้สมส่วนคือเราต้องเร่งวิริยะให้มากขึ้น ซึ่งเทคนิคในการเร่งวิริยะ เพื่อปรับให้สมส่วนกับสมาธิจะมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ตัวอย่างเช่น การใส่ใจการกำหนดรู้ให้แนบแน่นขึ้นในการเกาะอารมณ์หลัก การเพิ่มองค์บริกรรมให้ถี่ขึ้น การใช้สติเพิ่มการรับรู้รูปนั่ง การใช้สติไปไล่ตามจุดต่างๆ ในร่างกายทั้งที่มีสัมผัสหรือไม่มีสัมผัส เป็นต้น ซึ่งการเร่งวิริยะเหล่านี้ เมื่อวิริยะสมส่วนกับสมาธิ สติก็จะคมชัดขึ้น เดชของสมาธิก็จะลดน้อยลงไปเองโดยอัตโนมัติ เป็นผลทำให้เราเห็นอาการทางกายอันเนื่องจากวาโยธาตุได้ชัดเจนขึ้นอีกครั้ง ก็กลับมากำหนดอารมณ์หลักของเรา
เดชของสมาธิก็จะมีอาการอย่างเช่น อาการเบลอๆ รู้สึกวืบๆ เหมือนจะตกภวังค์ ตัวเบา เห็นแสง ตัวโยก แขนลอย ตัวลอย มดไต่ ไรไต่ ตัวร้อน ตัวเย็น ฯลฯ เมื่ออินทรีย์ 5 สมส่วน การกำหนดรู้จะก้าวขึ้นไปอีกระดับ สติ สมาธิจะคมขึ้นอีกระดับ สามารถที่จะกำหนดรู้อารมณ์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นๆ จนเห็นกระบวนการปรุงแต่งของจิตที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะๆ มากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่การเข้าใจธรรมชาติของกายใจตัวเองมากยิ่งขึ้น
ส่วนอาการของคุณ tum_H ที่เกิดขึ้นถ้าเป็นสายผม ผมก็กำหนดไปตรงๆ ดื้อๆ รู้อาการตรงๆ ดื้อๆ เลยครับ รู้สึกเบาก็กำหนด เบาหนอ รู้สึกแยกก็รู้สึกแยกหนอ รู้สึกตื่นเต้นก็กำหนดตื่นเต้นหนอ ดีใจก็ดีใจหนอ ตกใจก็ตกใจหนอ จิตไม่เป็นสมาธิก็กำหนดไม่มีสมาธิหนอ กำหนดรู้ไปตรงๆ ดื้อๆ ไม่คิด วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์ในสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะ ธรรมชาติของจิตที่เป็นสมาธิกับจิตที่ไม่เป็นสมาธิมันก็เป็นไปตามธรรมชาติของไตรลักษณ์อยู่แล้ว เดี๋ยวก็เป็นสมาธิ เดี๋ยวก็ไม่เป็นสมาธิ เดี๋ยวก็สงบ เดี๋ยวก็วุ่นวาย หน้าที่ของเราคือกำหนดรู้สิ่งต่างๆ ไปตามความเป็นจริง ให้มีสติกับสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ปัญญาก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องไปคิดใคร่ครวญ
ไม่รู้ว่าจะได้ประโยชน์ ตอบตรงประเด็นหรือเปล่านะครับ... แต่ก็ขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้อธิบายเพิ่มเติม... ขอบคุณครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 382
เป็นประโยชน์มากเลยครับ หากจิตสงบถึงขั้นนั้นอีก จะลองใช้วิธีที่คุณ picatos แนะนำไว้ครับpicatos เขียน: ไม่รู้ว่าจะได้ประโยชน์ ตอบตรงประเด็นหรือเปล่านะครับ... แต่ก็ขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้อธิบายเพิ่มเติม... ขอบคุณครับ
เพราะเวลาจิตหลุดออกมา เหมือนยังกับตกลงมาจากบันไดเป็นขั้นๆ พลักๆๆ
ขอถามอีกนิดครับ หากเวลาจิตหลุดออกมาจากสมาธิแล้ว จะใช้วิธีใด
ในการรวมจิตให้กับไปยังสมาธิขั้นนั้นอีก (ณ เวลานั้นเลย)
เพราะที่ผมพบหากหลุดออกมาแล้ว จะกลับเข้าไปได้ยากมาก จนต้องหยุด
เพราะมีนิวรณ์เข้ามาแทรก บางทีใช้เวลาเป็นอาทิตย์ หรือ เป็นเดือนๆก็มีครับ
ขอบคุณครับ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 260
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 383
ผมขอตอบตามที่ผมเข้าใจและลองผิดลองถูกมานะครับtum_H เขียน:ขอบคุณมากเลยครับ คุณ picatospicatos เขียน: ความสงบ ความสุข ปีติ ความคล่องแคล่วว่องไวของจิตในการกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ แม้ว่าจะเป็นอารมณ์ที่ดีที่น่าพึงปรารถนา อย่างไรก็ตามการไปยึดมั่นถือมั่น ความชอบใจในอารมณ์เหล่านั้น
สอบถามหน่อยครับ เกี่ยวกับขณะปฎิบัติ เมื่อจิตสงบจนลมหายใจหายไป ความปวดเมื่อยหายไป
ความรู้สึกถึงกายเบาจิตเบา เหมือนกายกับจิตแยกจากกัน
ขณะนั้นเองเกิดความรู้สึกตื่นเต้น ดีใจ ตกใจ จนสมาธิถอน
ไม่ทราบว่าเราจะใช้วิธีไหนในการระงับอารมณ์นี้ครับ เพื่อให้ไม่หลุดออกจากสมาธิ
รบกวนขอคำแนะนำหน่อยครับ
ขอบคุณครับ
ส่วนตัวผมว่าการที่ลมหายใจหายแบ่งได้ 2 เคส
1) เข้าภวังค์ คือ สติอ่อน หรือ บางทีเรียกว่า สมาธินำสติมากไป อาการนี้เราจะไม่รู้สึกตัวว่าเราสติหายไปตอนไหน ลมหายใจหายไปรึป่าว กลับมารู้ตัวอีกทีเหมือนขาดช่วงไปช่วงนึง อาการเหมือนวูบบ้าง เคลิ้มบ้าง อาการแบบนี้บางทีจะมีนิมิตเข้ามาบ้าง คล้ายๆเหมือนภาพแวบเข้ามาในหัว สั้นๆ ไม่นานก็หาย ไป แต่ละครั้งนิมิตก็จะต่างกันไป ซึ่งเกิดจากที่สติและสมาธิไม่บาลานซ์กัน คือสติอ่อน ภวังค์แบบนี้จะเรียกว่า "ภวังคบาต"
2) เข้าสมาธิจริงๆ คือ อาการนี้จะใช้เวลานานมากนะครับ ผมว่าถ้าเข้าถึงจุดนี้จริงๆครั้งแรกๆ ไม่น่าจะต่ำกว่า 3 ชม. ไม่ใช่่ว่าเข้าๆออกๆได้ในเวลาแปปเดียว เพราะอาการนี้คืออาการที่จิตเริ่มตัดขาดจากกายทีละน้อยๆ ซึ่งใช้เวลานาน เริ่มแรกแขนขาจะเริ่มชาๆเบาๆ หมดความรู้สึกไปทีละนิด ซักพักจะรู้สึกเหมือนแขนขาหายไป เหลือแต่ตัวกับหัว ซักพักตัวก็จะเริ่มหายไป จะรู้สึกแค่เหมือนมีลมหายใจเบาๆที่เหลืออยู่ อารมณ์รู้สึกเหมือนเหลือแต่หัวที่ลอยอยู่และหายใจอยู่เบาๆประมาณนี้มั้งครับ จุดสุดท้ายที่จิตตัดขาดจากกายหมด ก็จะเห็นแค่แสงสว่างกลมๆข้างหน้าลอยไปลอยมา สว่างเหมือนหลับตามองดวงอาทิตย์ แต่ก็เบาตาเหมือนมองแสงจันทร์ ซึ่งผมว่ามันไม่ใช่ไม่หายใจ แต่จิตตัดขาดจากกายหมดแล้วมากกว่า (ปล.เริ่มแรกที่แขนขาเริ่มชาๆเบาๆ ก็ต้องผ่านปิติมาแล้วน่ะครับ)
ผิดถูกยังไงก็โปรดอภัยด้วยนะครับ
เมื่อใดเห็นทุกข์ เมื่อนั้นเห็นธรรม
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 384
เจ้าชายสิทธัตถะเรียนจบพระเวทหมดของพราหมณ์และศิลปศาสตร์ 18 ศาสตร์ทั้งหมดของกษัตริย์
แล้วฤาษีสิทธัตถะมาเรียนต่อจบสมาธิแล้วก็ยังไม่ตรัสรู้
แล้วฤาษีสิทธัตถะมาเรียนต่อจบสมาธิแล้วก็ยังไม่ตรัสรู้
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 385
...รูปนาม..รถยนต์
...
อุปมาหนึ่งเหมือนกันกับรถยนต์ที่เขาประกอบไปด้วยสัมภาระต่างๆ เมื่อประกอบไปแล้ว ก็ต้องให้สมบูรณ์แบบ จึงจะให้ชื่อว่ารถยนต์ และก็จะมีพลังขึ้นมา สามารถที่จะขับเคลื่อนไปในที่ไหนๆ ได้ตามประสงค์
รูปนาม ของเราก็เหมือนกัน ถ้าแยกกันอยู่ก็ไม่มีพลังแต่เพราะประกอบหรือคุมกันเข้าด้วยธาตุทั้ง ๔ ก็เกิดพลังขึ้นมา
พลังที่ว่านี้ก็คือ นาม นั่นเอง เมื่อมีนาม รูปก็มีพลังขึ้นมา เหมือนรถยนต์ที่ประกอบกัน ทีนี้
ถ้าเราแยกรถยนต์ออกเป็นชิ้นส่วน คำว่า รถยนต์ ก็ไม่มี
จะเห็นว่านี้ เป็นล้อ เป็นเพลา เป็นคลัตช์ เป็นเครื่องยนต์ เป็นต้น รูปนามก็เหมือนกัน เมื่อแยกออกเป็นสัดเป็นส่วนแล้ว ก็จะเห็นเพียงว่า นี้เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
...
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 386
ทำไมต้อง
รูปนาม?
...
http://www.watpitchvipassana.com/%E0%B8 ... B8%A1.html
...
...
รูปนาม?
...
http://www.watpitchvipassana.com/%E0%B8 ... B8%A1.html
...
ในการประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติธรรม คือผู้เจริญพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน ต้องสำเหนียกพิจารณาให้รู้แจ้งแทงตลอดในเรื่อง รูป เรื่อง นาม เพราะว่า รูปนาม นั้น เป็นพื้นฐานรองรับในการเจริญพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน
การเจริญวิปัสสนานี้มี รูปนาม ยืนให้วิปัสสนาดู มีรูปนาม ยืนให้วิปัสสนาพิสูจน์ ให้วิปัสสนาเห็น ให้วิปัสสนารู้ เหตุนั้น ผู้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำเหนียกว่า อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม
อุปมาเหมือนกับ วิทยุก็ดี เครื่องขยายเสียงก็ดี ตู้เย็นก็ดี พัดลมก็ดี เราต้องสำเหนียกว่า อะไรเป็นอะไรจะเปิดปิดสวิตช์ไฟที่ตรงไหน เราจะต้องเรียนให้รู้ให้เข้าใจจึงจะใช้เครื่องไฟฟ้าเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์เต็มที่
ตลอดถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่วิทยาการสมัยใหม่เจริญขึ้นอยู่ในปัจจุบันนี้ นาฬิกาก็มีคอมพิวเตอร์ อะไรๆ ก็คอมพิวเตอร์ การคิดเลข เมื่อก่อนใช้ลูกคิด สมัยนี้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เราก็ต้องเรียนให้รู้ ถ้าเราเรียนรู้มากก็ได้ประโยชน์มากจากการใช้สิ่งต่างๆ เหล่านั้น รู้น้อยก็ได้ประโยชน์น้อย แต่ถ้าเราไม่รู้อะไรเสียเลย ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยในการที่มีสิ่งของทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น
เหตุนั้น เราทั้งหลายที่เจริญพระวิปัสสนากัมมัฏฐาน เรามีรูปมีนามด้วยกันทุกท่านทุกคน และเราทุกท่านทุกคน ที่เป็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี้ ก็ใช้รูปใช้นาม เพราะรูปนามนี้ เป็นเครื่องมือเรา รูปนามนี้เป็นเครื่องใช้ของเรา หรือพูดง่ายๆ ว่า รูปนามนี้เป็นผู้รับใช้ของเรา เป็นทาสของเรา ถือว่าเป็นผู้ที่ทำให้ความดำริของเราสำเร็จได้ตามความประสงค์ เราต้องรู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ต้องสำเหนียกทุกครั้ง
ถ้าเรารู้รูปนามมาก ก็ได้ประโยชน์มาก ถ้าเรารู้รูปนามน้อย ก็ได้ประโยชน์น้อย ถ้าเราไม่รู้รูปนามเสียเลย ก็ไม่ได้อะไรจากการมีรูปมีนาม จากการใช้รูปใช้นาม นอกจากจะมิได้ประโยชน์อะไรแล้ว มิหนำซ้ำยังจะเป็นอันตรายต่อตัวเราเอง
สาเหตุที่ไม่รู้รูปรู้นาม บางครั้งก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำบาปทำกรรม ด้วยอำนาจของความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ ตัณหา อุปาทาน ทำให้เราต้องไปตกนรก ไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน บางครั้งก็ต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ นี้ก็อยู่ที่การรู้รูปรู้นาม หรือไม่รู้รูปรู้นามเป็นปัจจัย
การที่เราทั้งหลายกำหนดบทพระกัมมัฏฐานอยู่ทุกวันนี้ เช่น กำหนดอาการขวาย่าง กำหนดอาการซ้ายย่าง กำหนดอาการพอง อาการยุบ อาการนั่ง อาการถูกก็ดี ก็เพื่อจะให้ได้รู้รูปรู้นาม อะไรเป็นรูปอะไรเป็นนาม
...
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 387
ครั้งแรก เราก็จำเป็นที่จะต้องรู้รูปเสียก่อน เพราะว่ารูปนี้เป็นที่อาศัยของนาม ถ้าเราไม่รู้รูป ก็ไม่สามารถที่จะรู้นาม เมื่อเราไม่รู้นาม ก็ไม่สามารถที่จะรู้กิเลสที่นอนเนื่องในจิตในใจของเรา ว่ามันมีอะไรบ้าง ตัวไหนที่ทำให้เราเกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน เราก็ไม่รู้
เหตุนั้น การรู้รูปก็เหมือนกันกับเห็นฝักดาบ การรู้นามก็เหมือนกันกับที่เราเห็นดาบที่ชักออกจากฝัก
รูปนาม นี้ อุปมาเหมือนกันกับ เราสกัดน้ำมันงา ตามปกติเมล็ดงาที่เรามองด้วยตาเปล่า เราก็เห็นมันเป็นเมล็ดงาธรรมดาๆ แต่เมื่อเราใช้กรรมวิธีเอาเมล็ดงานั้นมาโขลกให้ละเอียดแล้ว เราก็สกัดเอาน้ำมันงาออกมา ก็สามารถที่จะเห็นน้ำมันงา ข้อนี้ฉันใด
เมื่อเราเห็นรูปแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เราเห็นนาม เมื่อเราเห็นนามแล้ว ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เห็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในจิตในใจของเรา เมื่อเห็นกิเลสแล้วก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เห็นพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สืบทอดกันไปตามลำดับ
และอีกอย่างหนึ่ง รูปนาม นี้ อุปมาเหมือนกันกับที่เราทำน้ำขุ่นให้ใส เช่น น้ำอยู่ในแก้วของเรา เรามองดูก็รู้ว่ามันใสเต็มที่แล้ว แต่ถ้าเราใช้กรรมวิธี โดยการเอาสารส้มลงไปแกว่งในน้ำของเรา แล้ววางไว้สักครู่หนึ่ง เมื่อเราไปดูแล้ว เราจะเห็นตะกอนมันนอนอยู่ที่ก้นแก้ว ข้อนี้ฉันใด รูปกับนามก็เหมือนกัน ฉันนั้น
รูปนาม นี้ ถ้าเรามองดูเผินๆ ก็จะเห็นแต่รูปอย่างเดียว แต่ถ้าเราใช้ปัญญาพิจารณา ด้วยการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานแล้ว จะเห็นว่าที่ตรงนี้เป็นรูป ที่ตรงนี้เป็นนาม เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้เป็นตัวกิเลส เป็นโลภะ เป็นโทสะ เป็นโมหะ จะเห็นได้ทันที
อนึ่ง รูปนาม นี้ไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา เป็นแต่ธรรมชาติที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดินน้ำไฟลมผสมกันเข้า ผลสุดท้ายชาวโลกก็ให้สมัญญาเรียกว่า คน เป็นบุคคล เป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นเขา
อุปมาเหมือนกันกับ ต้นไม้ ถ้าเรามองดูผิวเผิน เราจะเห็นเป็นต้นไม้ทั้งต้น แต่ถ้าเรามาแยกต้นไม้นั้นออกไป เราจะเห็นว่าตรงนี้เป็นเปลือก ตรงนี้เป็นกระพี้ ตรงนี้เป็นแก่น ตรงนี้เป็นกิ่ง เป็นใบ เป็นดอก เป็นผล เมื่อเราแยกออกไปเช่นนี้ จะหาต้นไม้ที่ไหนไม่ได้ เพราะมันแยกกันคนละชิ้นละอัน ถ้าเราเอาไปทำอย่างอื่น เช่นว่า เอาไปทำบ้านทำเรือนอย่างนี้ คำว่าต้นไม้ก็ยิ่งหมดไป เราจะเห็นว่า อันนี้เป็นเสา เป็นคอสอง เป็นขื่อ เป็นจันทัน เป็นแป เป็นต้น ข้อนี้ฉันใด รูปกับนามก็เหมือนกันฉันนั้น
อุปมาหนึ่งเหมือนกันกับรถยนต์ที่เขาประกอบไปด้วยสัมภาระต่างๆ เมื่อประกอบไปแล้ว ก็ต้องให้สมบูรณ์แบบ จึงจะให้ชื่อว่ารถยนต์ และก็จะมีพลังขึ้นมา สามารถที่จะขับเคลื่อนไปในที่ไหนๆ ได้ตามประสงค์ รูปนาม ของเราก็เหมือนกัน ถ้าแยกกันอยู่ก็ไม่มีพลัง แต่เพราะประกอบหรือคุมกันเข้าด้วยธาตุทั้ง ๔ ก็เกิดพลังขึ้นมา
พลังที่ว่านี้ก็คือ นาม นั่นเอง เมื่อมีนาม รูปก็มีพลังขึ้นมา เหมือนรถยนต์ที่ประกอบกัน ทีนี้ถ้าเราแยกรถยนต์ออกเป็นชิ้นส่วน คำว่า รถยนต์ ก็ไม่มี จะเห็นว่านี้ เป็นล้อ เป็นเพลา เป็นคลัตช์ เป็นเครื่องยนต์ เป็นต้น รูปนามก็เหมือนกัน เมื่อแยกออกเป็นสัดเป็นส่วนแล้ว ก็จะเห็นเพียงว่า นี้เป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
รูปนาม นี้ไม่ใช่อันเดียวกัน ถึงจะรวมกันอยู่หรืออาศัยกันอยู่ก็จริง ก็ไม่ใช่อันเดียวกัน ถึงว่ารูปนามนี้ประกอบกันเข้าเป็นธาตุทั้ง ๔ แล้วเกิดพลังขึ้นมา พลังที่เกิดขึ้นมา เราจะเห็นว่า เป็นอันเดียวกันกับธาตุทั้ง ๔ ก็ไม่ได้ ธาตุทั้ง ๔ เราจะเห็นว่าเป็นอันเดียวกันกับพลังของธาตุทั้ง ๔ ก็ไม่ได้
รูปนาม นี้ อุปมาเหมือนกันกับดวงอาทิตย์ คือ รูป นั้นเหมือนกันกับดวงอาทิตย์ นาม อุปมาเหมือนแสงของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ก็ไม่ใช่แสงสว่าง แสงสว่างก็ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ หรืออุปมาเหมือนกันกับพระจันทร์และแสงสว่างของพระจันทร์ พระจันทร์ไม่ใช่แสงสว่างของพระจันทร์ และแสงสว่างของพระจันทร์ก็ไม่ใช่พระจันทร์
อุปมาเหมือน ไฟฉายกับแสงสว่างของไฟฉาย ไฟฉายก็ไม่ใช่แสงสว่างของไฟฉาย แสงสว่างของไฟฉายก็ไม่ใช่ไฟฉาย หรืออุปมาเหมือนกันกับกลองและเสียงของกลอง กลองก็ไม่ใช่เสียงของกลอง เสียงของกลองก็ไม่ใช่กลอง แต่ก็ต้องอาศัยกันเกิดขึ้น ข้อนี้ฉันใด รูปก็ไม่ใช่นาม นามก็ไม่ใช่รูป แต่ต้องอาศัยกัน
เหตุนั้น การกำหนดแต่ละครั้งๆ ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายต้องสำเหนียกอยู่ตลอดเวลา เช่น เวลายืน เวลาอยากกลับ เวลากลับ เวลาอยากเดิน เวลาเดิน เวลาอยากนั่ง เวลานั่ง เวลากำหนด อาการพอง อาการยุบ อาการปวด อาการคิด กำหนดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กำหนดอาการคู้ เหยียด เวลากำหนดอาการก้มเงย เป็นต้น เราต้องสำเหนียกทุกครั้งว่า ตรงไหนมันเป็นรูป ตรงไหนมันเป็นนาม ต้องรู้ต้องเข้าใจ
ท่านทั้งหลาย อย่าได้เข้าใจว่าเรื่องเช่นนี้เป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องขี้ผง ของเล็กๆ น้อยๆ ไม่น่านำมาบรรยาย ขออย่าได้เข้าใจเช่นนั้น เพราะว่าเรื่องรูปเรื่องนามนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจยากเหลือเกิน
บางท่านเรียนจบนักธรรมชั้นเอก มาปฏิบัติอยู่ ๑๔–๑๕ วัน กำหนดอาการพองอาการยุบ เป็นต้น แต่ไปถามแล้วไม่รู้ว่า ตรงไหนเป็นรูป ตรงไหนเป็นนาม บางท่านก็เรียนจบอภิธรรม มหาอภิธรรมบัณฑิต เวลามาประพฤติปฏิบัติ ทั้งๆ ที่ความรู้ประเภทนี้ เราเรียนมาแล้วจนจบ ใช้เวลาตั้ง ๗-๘ ปี แต่เวลามาปฏิบัติ ถามว่าตรงไหนเป็นรูป ตรงไหนเป็นนาม ตอบไม่ได้
แม้บางท่านจบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สำเร็จเป็นด๊อกเตอร์ มาบวชมาปฏิบัติอยู่ที่นี้ อะไรๆ ก็รู้กันหมด จนเป็นครูเป็นอาจารย์เขาได้ แต่เวลาถาม เช่นว่า เวลากำหนดอาการเย็นอาการร้อน ตรงไหนเป็นรูปตรงไหนเป็นนาม ตอบไม่ได้ หรือบางทีจบเปรียญ ๙ ประโยค นี้ไม่ใช่ของธรรมดา จบเปรียญ ๗ เปรียญ ๘ ก็เคยมาประพฤติปฏิบัติ แต่เมื่อถาม ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นรูป ตรงไหนเป็นนาม
บางที มีฝรั่งมาปฏิบัติ จบปริญญาโท ปริญญาเอก ปริญญาตรี โท เอก นี้ไม่ใช่ของน้อย อย่างฝรั่งนี่ จบปริญญาเอก แต่ถามแล้ว ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นรูป ตรงไหนเป็นนาม จนนึกสงสัยว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนี้
คำถามสั้นๆ แต่มันชอบกล ไม่รู้ว่าตรงไหนเป็นรูป ตรงไหนเป็นนาม เกิดความสงสัยขึ้นมา มันเป็นอย่างนี้ ขออย่าได้เข้าใจว่าเรื่องที่บรรยายมานี้เป็นเรื่องธรรมดา เรื่องขี้ผง เป็นเรื่องของเด็กๆ ที่จะพูดกัน ความจริงเป็นของรู้ได้ยาก เป็นของละเอียด
การรู้รูปนาม เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเหตุไร เพราะว่าการรู้รูปรู้นามนี้ สามารถที่จะทำลายกิเลสตัณหา ให้หมดไปจากขันธสันดานของเราได้ ถ้ารู้มากก็ได้ประโยชน์มาก ถ้ารู้น้อยก็ได้ประโยชน์น้อย
รูปนามนี้ ต่างก็ไม่มีเดช ไม่มีอำนาจในตัวเอง ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน อุปมาเหมือนกันกับ มัดไม้อ้อ ๒ มัด ที่ค้ำยันกันไว้ ถ้ามัดหนึ่งล้ม อีกมัดหนึ่งก็ต้องล้ม ข้อนี้ก็เหมือนกัน ถ้ารูปดับ นามก็ต้องดับ ถ้านามดับ รูปก็ต้องดับ อยู่ต่อไปไม่ได้
รูปนาม ต่อ จาก ข้างบน
-
- Verified User
- โพสต์: 2686
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 388
องค์คุณของนักปฏิบัตินั้น มีอยู่ ๗ ประการ ดังพระบาลีว่า สตฺตหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อาหุเนยฺโย โหติ เป็นต้น
แปลใจความว่า ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ผู้ที่เห็นภัยในวัฏสงสารประกอบด้วยคุณธรรมอันเป็นองค์คุณของนักปฏิบัติ ๗ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรแก่การเคารพบูชา เป็นแขกผู้มีเกียรติสูง ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่สักการะวรามิส ควรแก่การกราบไหว้นับถือ เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของชาวโลก
องค์คุณทั้ง ๗ ประการ นั้นคือ
๑. ธัมมัญญู รู้ธรรม
๒. อัตถัญญู รู้อรรถ
๓. อัตตัญญู รู้ตน
๔. มัตตัญญู รู้ประมาณ
๕. กาลัญญู รู้กาล
๖. ปริสัญญู รู้บริษัท
๗. ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกบุคคล
http://www.watpitchvipassana.com/องค์คุ ... ระการ.html
..l
vvv๑. ธัมมัญญู คำว่า ธัมมัญญู รู้ธรรมนั้น ในแนวปฏิบัติ หมายเอาวิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ อริยสัจ และปฏิจจสมุปบาท
เมื่อจะกล่าวโดยย่อในเวลาปฏิบัติ ได้แก่ การกำหนดรูปนาม คืออาการพอง อาการยุบ ใช้สติกำหนดไว้ที่ท้อง ภาวนาว่า พองหนอ ยุบหนอ ย่อมถูกขันธ์ ถูกธาตุ ถูกอายตนะ ถูกอินทรีย์ ถูกอริยสัจ ถูกปฏิจจสมุปบาท และถูกทั้งพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม
ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม ชื่อว่าป็นผู้รู้ธรรม ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ได้ในอรรถว่า ธัมมัญญู ผู้รู้ธรรม คือรู้ทั้งภาคปริยัติ ภาคปฏิบัติ รู้ทั้งภาคปฏิเวธ
๒. อัตถัญญู รู้อรรถนั้น คือรู้ความหมายของธรรมะ รู้ใจความของภาษิตเป็นต้น ตัวอย่างที่พระอัสสชิแสดงธรรมโดยย่อแก่พระสารีบุตรว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต เป็นต้น แปลความว่า ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น ก็เข้าใจความหมายของธรรมทันทีว่า
ในพระศาสนานี้สอนว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เมื่อเกิด ก็เพราะเหตุเกิดก่อน เมื่อจะดับ ก็เพราะเหตุดับก่อน ได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา และรู้ชัดขึ้นว่า ในศาสนานี้สอนให้ละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
๓. อัตตัญญู รู้ตน คือรู้ว่า ขณะนี้คุณธรรมทั้ง ๕ ประการ คือ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา (ปัญญา ๔ คือ หีนปัญญา มัชฌิมปัญญา มหาปัญญา อุตตมปัญญา) ปฏิภาณ ได้แก่ มีเชาวน์ไวไหวพริบ มีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ เฉียบแหลม คมคาย สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี มีอยู่ในตนเอง การรู้ธรรมทั้ง ๖ ประการนี้เรียกว่า รู้ตน
๔. มัตตัญญู รู้ประมาณ คือ
๑) รู้ประมาณในการบริโภคโภชนะ
๒) รู้ประมาณในการใช้จ่าย
๓) รู้ประมาณในปัจจัย ๔ มีเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น
๔) รู้ประมาณในอายุสังขารของตน
๕) รู้ประมาณในการปฏิบัติธรรม
๖) รู้ประมาณในการคบหาสมาคมกับบุคคล ภายนอก
นอกจากนี้ ยังต้องรู้ประมาณกับคุณธรรมภายใน ได้ แก่ รู้ปัจจุบันธรรม รู้รูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ รู้มรรค ผล พระนิพพาน อย่างนี้เรียกว่า มัตตัญญู คือเป็นผู้รู้ประมาณ
๕. กาลัญญู รู้กาล หมายความดังนี้
๑) อยํ กาโล อุทฺเทสสฺส รู้ว่ากาลนี้ ควรเรียน ควรฟังธรรม ก็ต้องเรียน ต้องฟังธรรม
๒) อยํ กาโล ปริปุจฺฉาย รู้ว่ากาลนี้ควรสอบอารมณ์ ควรสอบถามปริยัติ ก็ต้องไปสอบอารมณ์สอบถามปริยัติกับครูบาอาจารย์ตามสมควร
๓) อยํ กาโล โยคสฺส รู้ว่ากาลนี้ควรทำความเพียร ก็ต้องรีบทำความเพียรไม่ชักช้า มิได้ผลัดวันประกันพรุ่ง
๔) อยํ กาโล ปฏิสลฺลานาย รู้ว่ากาลนี้ควรหลีกออกจากหมู่อยู่แต่ผู้เดียว เพื่อให้ได้ความสงบ ๓ ประการคือ
(๑) กายวิเวก สงัดกาย คือ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
(๒) จิตตวิเวก สงัดจิต คือ สงบจากสิ่งรบกวนภายนอกและภายใน
(๓) อุปธิวิเวก สงัดกิเลส คือมีใจสงัดจากกิเลส ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด
สรุปความย่อๆ ได้แก่ ผู้ที่ไม่ประมาทในวัย และไม่ประมาทในชีวิต รีบทำกิจคือปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานจนได้บรรลุมรรค ผล พระนิพพานนั่นเอง
๖. ปริสัญญู รู้จักบริษัท หมายความว่า รู้จักขัตติยบริษัท พราหมณ์บริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท และรู้จักบริษัท ๓ คือ
๑) อคฺควตี ปริสา บริษัทที่เลิศที่ประเสริฐ ไม่มักมาก ไม่ขี้เกียจ ไม่ท้อถอย ไม่ทอดธุระการงาน ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญน้อมใจไปในวิเวกทั้ง ๓ ประการ ปรารภความเพียร เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
๒) วคฺคา ปริสา ได้แก่ บริษัทที่แตกกัน ทะเลาะกันวิวาทกัน ทิ่มแทงกันด้วยหอกคือปาก เสียดสีกัน กีดกันซึ่งกันและกัน อิจฉาริษยากัน เอารัดเอาเปรียบกัน โกงกัน ฆ่ากัน ข่มเหงเบียดเบียนกันและกันโดยประการต่างๆ ไม่ปรองดองกัน ไม่มีความสามัคคีกัน ถือพวก ถือหมู่ ถือก๊ก ถือเหล่า รังเกียจเหยียดหยามซึ่งกันและกัน
๓) สมคฺคา ปริสา ได้แก่ บริษัทที่พร้อมเพรียงกันดี เพลิดเพลินต่อกันและกัน ไม่ทะเลาะกัน รักใคร่กัน ดุจดื่มน้ำนมจากแม่คนเดียวกัน และดูแลกันด้วยจิตเอ็นดู สงสารกัน เต็มเปี่ยมไปด้วยพรหมวิหารธรรม
สมัยนั้น ได้บุญมาก เป็นอยู่อย่างประเสริฐ เกิดปีติปราโมทย์ เกิดปัสสัทธิ สงบกายสงบใจ เกิดความสุข เกิดสมาธิ เกิดปัญญา อุปมาเหมือนฝนตกลงมายังพื้นแผ่นดิน ย่อมยังพื้นพสุธาให้ชุ่มชื่น ยังห้วยหนองคลองบึงให้เต็มเปี่ยม ตลอดจนยังทะเลหลวงชลาลัยให้เต็มฉะนั้น
เมื่อรู้ว่าบริษัทไหนดีแล้ว ให้เข้าไปหาบริษัทนั้น นำ เอาจริยาวัตรและข้อปฏิบัติของท่านมาปฏิบัติ เพื่อเป็นการอบรมตนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมวัฒนธรรมยิ่งๆ ขึ้นไป อย่างนี้เรียกว่าปริสัญญู รู้บริษัท
๗. ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือกบุคคล ท่านจำแนกวิธีเลือกบุคคลไว้ในพระไตรปิฎก ๗ ประการคือ
๑) เทฺว ปุคฺคลา ในระหว่างบุคคล ๒ จำพวก คือ จำพวกหนึ่งอยากเห็นพระภิกษุ อีกจำพวกหนึ่งไม่อยากเห็นภิกษุ ควรเลือกคบพวกต้น เพราะเป็นผู้ควรสรรเสริญ
๒) เทฺว ทสฺสนกามา ในบุคคลจำพวกที่อยากเห็นภิกษุนั้น ยังแบ่งออกไปอีก ๒ จำพวกคือจำพวกที่ ๑ อยาก ฟังพระสัทธรรม อีกจำพวกหนึ่งไม่อยากฟังพระสัทธรรม ควรเลือกคบหาสมาคมกับจำพวกที่อยากฟังพระสัทธรรม เพราะเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ
๓) เทฺว โสตุกามา ในบุคคลจำพวกที่อยากฟังพระสัทธรรมนั้น ยังแบ่งออกเป็น ๒ จำพวกคือ จำพวกหนึ่งตั้งใจฟังพระสัทธรรม อีกพวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังพระสัทธรรม ควรเลือกจำพวกที่ตั้งใจฟังพระสัทธรรม เพราะเป็นบุคคลควรแก่การสรรเสริญ
๔) เทฺว โอหิตโสตา ในบุคคลจำพวกที่ตั้งใจฟังพระสัทธรรมยังแบ่งออกไปอีก ๒ จำพวก คือจำพวกหนึ่งฟังแล้วจำได้ จำพวกหนึ่งฟังแล้วจำไม่ได้ ควรเลือกคบบุคคลที่ฟังแล้วจำได้ เพราะควรแก่การสรรเสริญ
๕) เทฺว ปุคฺคลา สุตฺวา ธมฺมํ ธาเรนฺติ ในบุคคลที่ฟังธรรมแล้วจำได้นั้น ยังแบ่งออกอีกเป็น ๒ จำพวก คือจำพวกหนึ่ง ย่อมพิจารณาธรรมที่จำได้ อีกจำพวกหนึ่งย่อมไม่พิจารณา ควรเลือกคบบุคคลจำพวกต้น เพราะเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ
๖) เทฺว ปุคฺคลา ธตานํ ธมฺมานํ อตฺถํ อุปปริกฺขนฺติ ในบุคคลจำพวกที่พิจารณาไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมนั้น ยังแบ่งออกเป็น ๒ จำพวก พวกหนึ่งรู้อรรถ รู้ธรรม รู้เหตุ รู้ผลแล้ว ปฏิบัติธรรมตามควรแก่ธรรม คือได้เจริญวิปัสสนาสมควรแก่โลกุตตรธรรม ๙ จำพวกหนึ่ง รู้อรรถ รู้ธรรม รู้เหตุ รู้ผลแล้ว ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ควรเลือกคบบุคคลจำพวกที่ ๑ เพราะเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ
๗) เทฺว ปุคฺคลา อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา ในบุคคลจำพวกรู้อรรถ รู้ธรรมรู้เหตุ รู้ผล แล้วปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมนั้น ยังแบ่งออกเป็น ๒ จำพวก คือ
จำพวกหนึ่ง ปฏิบัติธรรมเพื่อประโยชน์ตน ไม่เพื่อประโยชน์ผู้อื่น อีกจำพวกหนึ่งปฏิบัติธรรมเพื่อประโยชน์ตนด้วย เพื่อประโยชน์ผู้อื่นด้วย ควรเลือกคบคนจำพวกสุดท้ายนี้ เพราะเป็นผู้ควรแก่การสรรเสริญ
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 389
จริงๆ แล้วการปฏิบัติแต่ละสายก็มีวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน และวิปัสสนาจารย์ของโยคีแต่ละคนก็จะให้คำแนะนำแก้ไขสภาวะที่ติดขัดแตกต่างกันไป ซึ่งผมไม่ทราบเหมือนกันว่าวิธีการปฏิบัติของพี่ tum_H เป็นอย่างไร? ไม่แน่ใจว่าความคิดเห็น ประสบการณ์การปฏิบัติของผมที่ให้ไปจะเป็นประโยชน์หรือเป็นโทษก็ไม่อาจทราบได้ ยิ่งผมเป็นโยคีใหม่ที่พึ่งเริ่มต้นศึกษาธรรมะ ความรู้ยังอ่อนด้อย ไม่แตกฉาน ดังนั้นสิ่งที่ผมได้อธิบายไปหรือจะอธิบายต่อไป ควรไปทดลอง ตรวจสอบ รวมไปถึงสอบถามผู้รู้ในสายของตนจะดีกว่านะครับtum_H เขียน:เป็นประโยชน์มากเลยครับ หากจิตสงบถึงขั้นนั้นอีก จะลองใช้วิธีที่คุณ picatos แนะนำไว้ครับpicatos เขียน: ไม่รู้ว่าจะได้ประโยชน์ ตอบตรงประเด็นหรือเปล่านะครับ... แต่ก็ขอขอบคุณที่ให้โอกาสผมได้อธิบายเพิ่มเติม... ขอบคุณครับ
เพราะเวลาจิตหลุดออกมา เหมือนยังกับตกลงมาจากบันไดเป็นขั้นๆ พลักๆๆ
ขอถามอีกนิดครับ หากเวลาจิตหลุดออกมาจากสมาธิแล้ว จะใช้วิธีใด
ในการรวมจิตให้กับไปยังสมาธิขั้นนั้นอีก (ณ เวลานั้นเลย)
เพราะที่ผมพบหากหลุดออกมาแล้ว จะกลับเข้าไปได้ยากมาก จนต้องหยุด
เพราะมีนิวรณ์เข้ามาแทรก บางทีใช้เวลาเป็นอาทิตย์ หรือ เป็นเดือนๆก็มีครับ
ขอบคุณครับ
ในสายที่ผมปฏิบัติ... ในจุดที่จิตเริ่มเป็นสมาธิ อาจารย์บอกว่าจะเป็นจุดที่แบ่งแยกในการปฏิบัติไป 2 ทาง ทางหนึ่งคือไปทางสมถะกรรมฐานผลของสมถะคือจะได้ฌาณ อีกทางหนึ่งจะไปทางวิปัสสนาผลของวิปัสสนาคือจะได้ญาณ(ปัญญา) ซึ่งในสายของผมเป้าหมายจะเดินไปทางวิปัสสนา ดังนั้นหากต้องการให้จิตเป็นสมาธิ ต้องการให้จิตรวม อะไรก็แล้วแต่ อันนั้นผมเข้าใจว่าจะเดินไปทางสมถะกรรมฐาน ซึ่งผมก็ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติในทางสายนั้นเหมือนกัน
หากพูดถึงสมาธิ สมาธิจะแบ่งเป็น ขณิกสมาธิ คือ สมาธิเล็กๆ น้อยๆ ที่สติใช้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นขณะหนึ่งๆ อุปจารสมาธิ คือ สมาธิเฉียดฌาณ และ อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิระดับฌาณ
การจะเกิดวิปัสสนาญาณได้จะใช้สมาธิแค่ระดับขณิกสมาธิเท่านั้น จะไม่ปล่อยให้กำลังของสมาธิไหลลงไปจนถึงระดับฌาณ แต่สติที่ประกอบด้วยขณิกสมาธิที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องๆ จะทำให้สติกลายเป็นมหาสติ ขณิกสมาธิที่มีกำลังอย่างต่อเนื่องจะมีกำลังขึ้นไประดับอุปจารสมาธิ ทำให้การเจริญสติอย่างต่อเนื่องรู้แล้ววางปัจจุบันขณะไปเรื่อยๆ เกิดปัญญาขึ้น โดยเป็นปัญญาณที่รู้ในไตรลักษณ์และอริยสัจ 4 ซึ่งปัญญาเหล่านี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหากเจริญสติอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องไปคิดนึก วิเคราะห์ ไคร่ครวญ แม้จะไม่ได้ศึกษาปริยัติมาก่อน สติ สมาธิที่เกิดขึ้นก็จะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งในอริยะสัจ 4 ได้เอง ดังเช่นสมัยพุทธกาล ธรรมะที่พุทธเจ้าตรัสสั่งสอนก็เป็นธรรมสั้นๆ ที่ทำให้จิตของพูดฟังน้อมเข้าสู่ไตรลักษณ์ เมื่อไปปฏิบัติต่อ ก็สามารถรู้แจ้งได้ด้วยตนเอง
ทีนี้ในจุดที่จิตเริ่มจะเป็นสมาธิ หากมองในมุมของอินทรีย์ 5 สมาธิจะก้าวล้ำกว่าอินทรีย์ 5 ตัวอื่นๆ ส่งผลให้เกิดเดชของสมาธิขึ้นในการปฏิบัติ ที่จุดนี้จะเกิดวิปัสสนูปกิเลสทั้ง 10 ขึ้น ซึ่งในสายของผมการเจริญสติขณะนั่งจะใช้การกำหนดอาการเคลื่อนของท้องโดยมีองค์บริกรรมพองหนอ เมื่อมีอาการท้องพอง และกำหนดยุบหนอเมื่อมีอาการยุบของท้อง ในจุดที่จิตเริ่มเป็นสมาธิ ลมหายใจจะแผ่วเบาลง หายใจจะลึกขึ้น ทำให้เราจับอาการพองยุบได้ไม่ชัดเจน ที่จุดนี้อาจจะมีเดชของสมาธิต่างๆ เกิดขึ้น เช่น เห็นแสง เห็นสี เห็นนิมิตอายตนะต่างๆ ตัวโยก ฯลฯ
อาการพองยุบที่แผ่วเบา ไม่ชัดเจน หรือ หายไป ทำให้จิตไม่มีอารมณ์ในการเสพเสวย สติไม่มีที่ทำงาน มองในมุมอินทรีย์ 5 หากต้องการให้อินทรีย์สมควรต้องเพิ่มวิริยะให้สมดุลกับสมาธิ ต้องเพิ่มการงานให้กับจิต เพื่อทำให้สมาธิที่เริ่มหนักขึ้นจนจะเข้าไปเป็นอุปจาระ ลดลงมาเหลือแค่ขณิกสมาธิ การเพิ่มการงานให้กับจิตตรงนี้ สายผมจะเพิ่มการกำหนดสติให้เข้าไปรู้อาการนั่ง หรือรูปนั่ง โดยกำหนด นั่งหนอ แล้วกำหนดส่งจิตไปรู้จุดสัมผัสต่างๆ ทางกาย ทั้งสัมผัสที่มีอยู่จริง (เช่น ก้นที่สัมผัสกับพื้น ขาหนีบที่เบียดกัน) รวมไปถึงที่ไม่มีสัมผัส (เช่น หัวเข่า หน้าขา) ตัวอย่างเช่น กำหนด นั่งหนอ (รู้อาการนั่ง) ถูกหนอ (ส่งจิตไปรู้สัมผัสที่ก้นขวาที่สัมผัสกับพื้น) นั่งหนอ (รู้อาการนั่ง) ถูกหนอ (ส่งจิตไปที่ก้นกบขวา) นั่งหนอ (รู้อาการนั่ง) ถูกหนอ (ส่งจิตไปที่ขาหนีบขวา) ฯลฯ ซึ่งจะไล่จุดไปเรื่อยๆ จนกว่าอาการพองยุบจะกลับมาชัด ก็ไปกำหนดรู้อาการพองยุบต่อ เมื่อพองยุบหาย ก็กำหนดนั่งหนอถูกหนอไปเรื่อยๆ (ซึ่งอาจจะไล่จุดถูกไปถึง 20-30 จุดไม่ซ้ำกัน) จนกว่าพองยุบจะชัดก็กลับมากำหนดพองยุบ
อาจารย์บอกว่าวิธีดังกล่าวเป็นวิธีการเพิ่มวิริยะ เพื่อเร่งกำลังของสติให้ไล่ทันสมาธิที่ก้าวหน้าขึ้นไป ทำให้สติมีความคล่องแคล่วว่องไวยิ่งขึ้น นำไปสู่พัฒนาสติให้เข้มแข็งนำไปสู่การเท่าทันอารมณ์ทางจิต ฐานนามที่ต้องใช้กำลังของสติที่มากขึ้น
โดยกระบวนการ คือ เมื่อปฏิบัติไป สมาธิจะพัฒนาขึ้น เราต้องเร่งวิริยะ เพื่อให้สติก้าวตามสมาธิขึ้นไปให้ทัน พัฒนาตัวรู้ให้รู้ชัด และรู้ละเอียดยิ่งขึ้น และเมื่ออินทรีย์ 5 สมส่วนขึ้นมาระดับหนึ่งก็จะเกิดปัญญาขึ้นระดับหนึ่ง และต่อไปสมาธิก็จะก้าวขึ้นไปอีกระดับ ก็ต้องเร่งวิริยะขึ้นไปอีกระดับ จนกระทั่งกำลังของอินทรีย์ 5 ถูกพัฒนาถึงเป็นพละ 5 สามารถกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆ ได้ตามความเป็นจริงมากขึ้นๆ อกุศลครองจิตได้น้อยลงๆ กำลังของกุศลที่สั่งสมอยู่ในจิตมีพลังมากเพียงพอที่จะเกิดปัญญาในการเห็นความจริงของสิ่งต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้นๆ อันนำไปสู่การขัดเกลา หรือประหารกิเลสได้ในที่สุด
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ
โพสต์ที่ 390
ขอบคุณพี่ picatos มากครับ ที่แนะนำแนวทางและวิธีการปฏิบัติให้ครับpicatos เขียน: อาจารย์บอกว่าวิธีดังกล่าวเป็นวิธีการเพิ่มวิริยะ เพื่อเร่งกำลังของสติให้ไล่ทันสมาธิที่ก้าวหน้าขึ้นไป ทำให้สติมีความคล่องแคล่วว่องไวยิ่งขึ้น นำไปสู่พัฒนาสติให้เข้มแข็งนำไปสู่การเท่าทันอารมณ์ทางจิต ฐานนามที่ต้องใช้กำลังของสติที่มากขึ้น
สำหรับผมถือว่ามีประโยชน์อย่างมากครับ เพราะการปฏิบัติของผมยังลุ่มๆดอนๆอยู่
เมื่อพิจารณาแบบนี้จะทำให้ใจไม่ห่างจากกาย
จนทำจิตให้เข้าภวังค์ เมื่อกระแสแห่งภวังค์หายไป ก็จะได้ญาณเกิดขึ้น
และขอขอบคุณท่านอาจารย์เด็กใหม่เป็นอย่างมาก ที่ตั้งกระทู้ดีๆแบบนี้ขึ้นมาครับ ขออนุโมทนา
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก