อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไม่
-
- Verified User
- โพสต์: 440
- ผู้ติดตาม: 0
อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไม่
โพสต์ที่ 1
ทุกคนที่ลงทุนในหุ้นตัวนี้ คงรู้ว่าตั้งแต่เริ่มต้น บริษัทได้ฝ่าฟันอุปสรรคมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลท้องถิ่น มวลชล นักการเมือง จนมาระยะหนึ่งก็ดีขึ้นมีกำไรที่พอจ่ายปันผลได้ แล้วก็มาจับโรงถลุง ที่ถลุงเงินบริษัทไปจนแทบไม่เหลือจนต้องเพิ่มทุนหลายต่อหลายครั้ง
และมาวันนี้(ในวันที่แถลง Opportunity Day & Company Highlights ) ว่าบริษัทจะเริ่มมีกำไรแล้ว ตามสรุปที่นำมาวางไว้ท้ายนี้
SSI คาดผลประกอบการปี 57 พลิกเป็นกำไร หลังขาดทุนต่อเนื่อง
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 17:37:44 น.
บมจ.สหวิริยาอินดัสตรี(SSI) คาดว่าผลประกอบการของบริษัทจะเริ่ม break event ตั้งแต่ไตรมาส 4/56 และจะเริ่มมีกำไรในปี 57 หลังจากประสบกับภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
นายวิน วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ SSI เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการโดยรวมทั้งปีบริษัทฯตั้งเป้ารายได้รวมอยู่ที่ 70,000 ล้านบาท และมั่นใจจะถึงจุดคุ้มทุนได้ในไตรมาส 4 นี้ และจะพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในไตรมาส 1/57 หลังจากขาดทุนต่อเนื่อง โดยไตรมาส 2 ขาดทุนแล้ว 465 ล้านบาท ซึ่งขะกลับมาเป็นกำไรได้เนื่องจากโครงการ PCI สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
ทั้งนี้ บริษัทฯคาดว่าปริมาณการขายแผ่นเหล็กรีดร้อนในประเทศทั้งปีจะอยู่ที่ 2.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8.3% จากปี 55 อยู่ที่ 2.5 ล้านตัน และจากตลาดรวมทั้งหมดในประเทศอยู่ที่ 7.7 ล้านตัน โดยปัจจุบันมีสัดส่วนการตลาดอยู่ที่ 30%
นอกจากนี้ ปริมาณการขายแผ่นเหล็กรีดร้อน(HRC)ของบริษัทในไตรมาส 3/56 จะกลับสู่ภาวะปกติ โดยราคาขาย HRC และราคา Slab มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นไตรมาส หลังจากนั้นจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในปลายไตรมาส ส่งผลให้ HRC Roling Margin จะอยู่ที่ 14-16% และคาดว่าปริมาณการขาย Slab จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเป็นการขายให้บุคคลภายนอกประมาณ 50% ของยอดขายรวม ราคาขายเฉลี่ยปรับตัวลดลงประมาณ 10% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวลดลงจากผลของโครงการ PCI โดย Slab Margin คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 19-21%
"ทั้งปีมองว่าคงจะมีแค่ไตรมาส 2 ที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งขณะนี้ราคาเหล็กเริ่มกลับมาดีขึ้น ยอดขายไตรมาส 3-4 น่าจะกลับมาทำยอดขายได้เหมือนเดิม ตัว PCI เริ่มเดินเครื่องได้ตามแผนซึ่งจะส่งผลให้มีต้นทุนต่ำลง โดยขณะนี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 9,000 ตัน/วัน และอยากเห็นกำลังการผลิตอยู่ที่ 10,000 ตัน/วันในต้นปีหน้า
ส่วน SSI UK มีแนวโน้มขาดทุนลดลง เนื่องจากมีกำลังซื้อจากกลุ่มประเทศที่อยู่แอตแลนติกส์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงกังวลต่อสถานการทางการเมือง และภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วม หากไม่เกิดเหตุการณ์ตรงนี้จะทำให้ยอดขายดีขึ้น สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วง"
สำหรับตลาดเหล็กภายในประเทศ ยังอยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากภาคการส่งออกยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐลดลง แต่ยังมีอานิสงส์จากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยังเติบโตดี โดยระดับการผลิตกลับสู่ภาวะปกติ จึงคาดว่าในไตรมาสนี้ปริมาณเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนจะอยู่ที่ 1.85 ล้านตัน ลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปริมาณการผลิตทั้งปีจะเพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อนที่มี 7.7 ล้านตัน
นายวิน กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกจะเริ่มทรงตัวจากไตรมาส 2/56 โดยต้องติดตามสถานการณ์ภาคการผลิต ก่อสร้างและอุตสาหกรรมรถยนต์ หากส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน จะเป็นปัจจัยหนุนให้ปริมาณการผลิตในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจของจีนที่เป็นผู้นำเข้าสำคัญว่าจะเติบโตสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหรือไม่ โดยประเมินว่าจีดีพีของจีนในไตรมาส 3/56 จะเติบโตประมาณ 7.8%
ด้านราคาเหล็กในไตรมาส 3/56 ประเมินว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นไตรมาส และจะปรับตัวดีขึ้นในปลายไตรมาส โดยประเมินกรอบราคาสินแร่เฉลี่ยที่ 126-128 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนราคาเหล็กแท่งแบนและเหล็กแผ่นรีดร้อนจะอยู่ที่ 465-475 เหรียญสหรัฐต่อตัน และ 533-563 เหรียญสหรัฐต่อตันตามลำดับ
ทั้งนี้ แผนการลงทุนของ SSI ยังเป็นการปรับปรุงโรงถลุงเหล็ก SSI UK , โครงการ PCI ที่คืบหน้าไปแล้ว 96% ที่เดินเครื่องไปบางส่วนแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 56
อินโฟเควสท์ โดย สุวิมล ภูมิคำ/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ท่านมีความคิดเห็นว่า เช่นใด เมื่อได้อ่านบทความข้างต้น ( ท่านสามารถฟังและชม Opportunity Day ฉบับเต็มได้ที่ www.set.or.th )
ท่านเห็นว่าผู้บริหารมีความสามารถ ทำได้ ตามที่แถลง ได้หรือไม่ ขอความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผลหน่อยครับ
และมาวันนี้(ในวันที่แถลง Opportunity Day & Company Highlights ) ว่าบริษัทจะเริ่มมีกำไรแล้ว ตามสรุปที่นำมาวางไว้ท้ายนี้
SSI คาดผลประกอบการปี 57 พลิกเป็นกำไร หลังขาดทุนต่อเนื่อง
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 17:37:44 น.
บมจ.สหวิริยาอินดัสตรี(SSI) คาดว่าผลประกอบการของบริษัทจะเริ่ม break event ตั้งแต่ไตรมาส 4/56 และจะเริ่มมีกำไรในปี 57 หลังจากประสบกับภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
นายวิน วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ SSI เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการโดยรวมทั้งปีบริษัทฯตั้งเป้ารายได้รวมอยู่ที่ 70,000 ล้านบาท และมั่นใจจะถึงจุดคุ้มทุนได้ในไตรมาส 4 นี้ และจะพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในไตรมาส 1/57 หลังจากขาดทุนต่อเนื่อง โดยไตรมาส 2 ขาดทุนแล้ว 465 ล้านบาท ซึ่งขะกลับมาเป็นกำไรได้เนื่องจากโครงการ PCI สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
ทั้งนี้ บริษัทฯคาดว่าปริมาณการขายแผ่นเหล็กรีดร้อนในประเทศทั้งปีจะอยู่ที่ 2.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8.3% จากปี 55 อยู่ที่ 2.5 ล้านตัน และจากตลาดรวมทั้งหมดในประเทศอยู่ที่ 7.7 ล้านตัน โดยปัจจุบันมีสัดส่วนการตลาดอยู่ที่ 30%
นอกจากนี้ ปริมาณการขายแผ่นเหล็กรีดร้อน(HRC)ของบริษัทในไตรมาส 3/56 จะกลับสู่ภาวะปกติ โดยราคาขาย HRC และราคา Slab มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นไตรมาส หลังจากนั้นจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในปลายไตรมาส ส่งผลให้ HRC Roling Margin จะอยู่ที่ 14-16% และคาดว่าปริมาณการขาย Slab จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเป็นการขายให้บุคคลภายนอกประมาณ 50% ของยอดขายรวม ราคาขายเฉลี่ยปรับตัวลดลงประมาณ 10% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวลดลงจากผลของโครงการ PCI โดย Slab Margin คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 19-21%
"ทั้งปีมองว่าคงจะมีแค่ไตรมาส 2 ที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งขณะนี้ราคาเหล็กเริ่มกลับมาดีขึ้น ยอดขายไตรมาส 3-4 น่าจะกลับมาทำยอดขายได้เหมือนเดิม ตัว PCI เริ่มเดินเครื่องได้ตามแผนซึ่งจะส่งผลให้มีต้นทุนต่ำลง โดยขณะนี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 9,000 ตัน/วัน และอยากเห็นกำลังการผลิตอยู่ที่ 10,000 ตัน/วันในต้นปีหน้า
ส่วน SSI UK มีแนวโน้มขาดทุนลดลง เนื่องจากมีกำลังซื้อจากกลุ่มประเทศที่อยู่แอตแลนติกส์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงกังวลต่อสถานการทางการเมือง และภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วม หากไม่เกิดเหตุการณ์ตรงนี้จะทำให้ยอดขายดีขึ้น สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วง"
สำหรับตลาดเหล็กภายในประเทศ ยังอยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากภาคการส่งออกยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐลดลง แต่ยังมีอานิสงส์จากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยังเติบโตดี โดยระดับการผลิตกลับสู่ภาวะปกติ จึงคาดว่าในไตรมาสนี้ปริมาณเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนจะอยู่ที่ 1.85 ล้านตัน ลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปริมาณการผลิตทั้งปีจะเพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อนที่มี 7.7 ล้านตัน
นายวิน กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกจะเริ่มทรงตัวจากไตรมาส 2/56 โดยต้องติดตามสถานการณ์ภาคการผลิต ก่อสร้างและอุตสาหกรรมรถยนต์ หากส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน จะเป็นปัจจัยหนุนให้ปริมาณการผลิตในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจของจีนที่เป็นผู้นำเข้าสำคัญว่าจะเติบโตสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหรือไม่ โดยประเมินว่าจีดีพีของจีนในไตรมาส 3/56 จะเติบโตประมาณ 7.8%
ด้านราคาเหล็กในไตรมาส 3/56 ประเมินว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นไตรมาส และจะปรับตัวดีขึ้นในปลายไตรมาส โดยประเมินกรอบราคาสินแร่เฉลี่ยที่ 126-128 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนราคาเหล็กแท่งแบนและเหล็กแผ่นรีดร้อนจะอยู่ที่ 465-475 เหรียญสหรัฐต่อตัน และ 533-563 เหรียญสหรัฐต่อตันตามลำดับ
ทั้งนี้ แผนการลงทุนของ SSI ยังเป็นการปรับปรุงโรงถลุงเหล็ก SSI UK , โครงการ PCI ที่คืบหน้าไปแล้ว 96% ที่เดินเครื่องไปบางส่วนแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 56
อินโฟเควสท์ โดย สุวิมล ภูมิคำ/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ท่านมีความคิดเห็นว่า เช่นใด เมื่อได้อ่านบทความข้างต้น ( ท่านสามารถฟังและชม Opportunity Day ฉบับเต็มได้ที่ www.set.or.th )
ท่านเห็นว่าผู้บริหารมีความสามารถ ทำได้ ตามที่แถลง ได้หรือไม่ ขอความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผลหน่อยครับ
Try to find a good company.
-
- Verified User
- โพสต์: 925
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 2
ผมเคยเชื่อมาตั้งแต่แกบอกว่าปี 2555 ไตามาส 3 จะกำไร (ลองไปดูให้ห้องได้ครับ)lb เขียน:ทุกคนที่ลงทุนในหุ้นตัวนี้ คงรู้ว่าตั้งแต่เริ่มต้น บริษัทได้ฝ่าฟันอุปสรรคมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลท้องถิ่น มวลชล นักการเมือง จนมาระยะหนึ่งก็ดีขึ้นมีกำไรที่พอจ่ายปันผลได้ แล้วก็มาจับโรงถลุง ที่ถลุงเงินบริษัทไปจนแทบไม่เหลือจนต้องเพิ่มทุนหลายต่อหลายครั้ง
และมาวันนี้(ในวันที่แถลง Opportunity Day & Company Highlights ) ว่าบริษัทจะเริ่มมีกำไรแล้ว ตามสรุปที่นำมาวางไว้ท้ายนี้
SSI คาดผลประกอบการปี 57 พลิกเป็นกำไร หลังขาดทุนต่อเนื่อง
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2556 17:37:44 น.
บมจ.สหวิริยาอินดัสตรี(SSI) คาดว่าผลประกอบการของบริษัทจะเริ่ม break event ตั้งแต่ไตรมาส 4/56 และจะเริ่มมีกำไรในปี 57 หลังจากประสบกับภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง
นายวิน วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ SSI เปิดเผยว่า แนวโน้มผลประกอบการโดยรวมทั้งปีบริษัทฯตั้งเป้ารายได้รวมอยู่ที่ 70,000 ล้านบาท และมั่นใจจะถึงจุดคุ้มทุนได้ในไตรมาส 4 นี้ และจะพลิกกลับมาเป็นกำไรได้ในไตรมาส 1/57 หลังจากขาดทุนต่อเนื่อง โดยไตรมาส 2 ขาดทุนแล้ว 465 ล้านบาท ซึ่งขะกลับมาเป็นกำไรได้เนื่องจากโครงการ PCI สามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
ทั้งนี้ บริษัทฯคาดว่าปริมาณการขายแผ่นเหล็กรีดร้อนในประเทศทั้งปีจะอยู่ที่ 2.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 8.3% จากปี 55 อยู่ที่ 2.5 ล้านตัน และจากตลาดรวมทั้งหมดในประเทศอยู่ที่ 7.7 ล้านตัน โดยปัจจุบันมีสัดส่วนการตลาดอยู่ที่ 30%
นอกจากนี้ ปริมาณการขายแผ่นเหล็กรีดร้อน(HRC)ของบริษัทในไตรมาส 3/56 จะกลับสู่ภาวะปกติ โดยราคาขาย HRC และราคา Slab มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นไตรมาส หลังจากนั้นจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นในปลายไตรมาส ส่งผลให้ HRC Roling Margin จะอยู่ที่ 14-16% และคาดว่าปริมาณการขาย Slab จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเป็นการขายให้บุคคลภายนอกประมาณ 50% ของยอดขายรวม ราคาขายเฉลี่ยปรับตัวลดลงประมาณ 10% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบปรับตัวลดลงจากผลของโครงการ PCI โดย Slab Margin คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 19-21%
"ทั้งปีมองว่าคงจะมีแค่ไตรมาส 2 ที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งขณะนี้ราคาเหล็กเริ่มกลับมาดีขึ้น ยอดขายไตรมาส 3-4 น่าจะกลับมาทำยอดขายได้เหมือนเดิม ตัว PCI เริ่มเดินเครื่องได้ตามแผนซึ่งจะส่งผลให้มีต้นทุนต่ำลง โดยขณะนี้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 9,000 ตัน/วัน และอยากเห็นกำลังการผลิตอยู่ที่ 10,000 ตัน/วันในต้นปีหน้า
ส่วน SSI UK มีแนวโน้มขาดทุนลดลง เนื่องจากมีกำลังซื้อจากกลุ่มประเทศที่อยู่แอตแลนติกส์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงกังวลต่อสถานการทางการเมือง และภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำท่วม หากไม่เกิดเหตุการณ์ตรงนี้จะทำให้ยอดขายดีขึ้น สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งยังไม่น่าเป็นห่วง"
สำหรับตลาดเหล็กภายในประเทศ ยังอยู่ในภาวะทรงตัว เนื่องจากภาคการส่งออกยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐลดลง แต่ยังมีอานิสงส์จากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ยังเติบโตดี โดยระดับการผลิตกลับสู่ภาวะปกติ จึงคาดว่าในไตรมาสนี้ปริมาณเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนจะอยู่ที่ 1.85 ล้านตัน ลดลง 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่ปริมาณการผลิตทั้งปีจะเพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อนที่มี 7.7 ล้านตัน
นายวิน กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็กในตลาดโลกจะเริ่มทรงตัวจากไตรมาส 2/56 โดยต้องติดตามสถานการณ์ภาคการผลิต ก่อสร้างและอุตสาหกรรมรถยนต์ หากส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน จะเป็นปัจจัยหนุนให้ปริมาณการผลิตในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจของจีนที่เป็นผู้นำเข้าสำคัญว่าจะเติบโตสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหรือไม่ โดยประเมินว่าจีดีพีของจีนในไตรมาส 3/56 จะเติบโตประมาณ 7.8%
ด้านราคาเหล็กในไตรมาส 3/56 ประเมินว่าจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นไตรมาส และจะปรับตัวดีขึ้นในปลายไตรมาส โดยประเมินกรอบราคาสินแร่เฉลี่ยที่ 126-128 เหรียญสหรัฐต่อตัน ส่วนราคาเหล็กแท่งแบนและเหล็กแผ่นรีดร้อนจะอยู่ที่ 465-475 เหรียญสหรัฐต่อตัน และ 533-563 เหรียญสหรัฐต่อตันตามลำดับ
ทั้งนี้ แผนการลงทุนของ SSI ยังเป็นการปรับปรุงโรงถลุงเหล็ก SSI UK , โครงการ PCI ที่คืบหน้าไปแล้ว 96% ที่เดินเครื่องไปบางส่วนแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 56
อินโฟเควสท์ โดย สุวิมล ภูมิคำ/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ท่านมีความคิดเห็นว่า เช่นใด เมื่อได้อ่านบทความข้างต้น ( ท่านสามารถฟังและชม Opportunity Day ฉบับเต็มได้ที่ http://www.set.or.th )
ท่านเห็นว่าผู้บริหารมีความสามารถ ทำได้ ตามที่แถลง ได้หรือไม่ ขอความคิดเห็นอย่างมีเหตุมีผลหน่อยครับ
ตอนนี้ผมลองทำตัวเลขเองยังไงๆก็ยากครับ อย่างดีก็ EBITDA บวกเพื่อชำระหนี้ไปก่อน
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 3
ผมคิดว่าตัวผู้บริหารมีความตั้งใจแน่วแน่ครับ แต่เป็นเพราะตัวธุรกิจที่ค่อนข้างผันผวนและคาดเดาลำบาก มีปัจจัยมากระทบเยอะ ทำให้การคาดการณ์หลายๆครั้ง ไม่ค่อยตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงครับ
- raynus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 716
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 4
ตัวธุรกิจมันผันผวนมากครั้บเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้
ผมเคยเอา รายงานประจำปี + คาดการณ์ของ Nippon Steel , AM , Bluescope ,TATA
มาอ่านคาดการณ์ สถานการณ์อยู่พักใหญ่ๆ
(แน่นอนว่าผิดหมด)
รวมถึงนักวิเคราะห์ในไทยที่ปีที่แล้วทายว่าเหล็กจะเป็นขาขึ้นเต็มตัวในปีน้
ไม่มีใครทายถูกเลยครับ
ผู้บริหารมีความตั้งใจจริงหรือไม่ เรื่องนี้ก็นานาจิตตัง
ใครที่สนใจในหุ้นตัวนี้ ผมยังแนะนำให้รอดู Q3 ครับ
ผมเคยเอา รายงานประจำปี + คาดการณ์ของ Nippon Steel , AM , Bluescope ,TATA
มาอ่านคาดการณ์ สถานการณ์อยู่พักใหญ่ๆ
(แน่นอนว่าผิดหมด)
รวมถึงนักวิเคราะห์ในไทยที่ปีที่แล้วทายว่าเหล็กจะเป็นขาขึ้นเต็มตัวในปีน้
ไม่มีใครทายถูกเลยครับ
ผู้บริหารมีความตั้งใจจริงหรือไม่ เรื่องนี้ก็นานาจิตตัง
ใครที่สนใจในหุ้นตัวนี้ ผมยังแนะนำให้รอดู Q3 ครับ
สายปันผลครับ
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 5
แล้วประวัติผู้บริหารเป็นอย่างไรบ้างครับ
มีชื่อเสียงและชื่อเสียในวงการเป็นอย่างไรบ้าง
มีชื่อเสียงและชื่อเสียในวงการเป็นอย่างไรบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 440
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 7
รัฐสกัดนำเข้าเหล็กอุ้มสหวิริยา ค่ายรถยนต์โวยเจอแจ็กพอตซ้ำ
updated: 19 ก.ย. 2556 เวลา 13:07:00 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ฝุ่นตลบเก็บภาษีเหล็กรีดเย็น-รีดร้อน "นิวัฒน์ธำรง" ไฟเขียวขึ้นภาษี Safeguard ปิดประตูนำเข้าจาก 165 ประเทศ ล่าสุด "งัด" มาตรการชั่วคราวเก็บภาษี เหล็กแผ่นรีดเย็นโดนด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์
"นิสสัน-ฮอนด้า-จีเอ็ม" โวยลั่นยื่นหนังสือรัฐเร่งแก้ปัญหา
ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง (Safeguard) เรื่อง มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่คณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง มีคำวินิจฉัยขั้นที่สุดว่า การนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ มีการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศจริง
ทั้งนี้การใช้มาตรการ Safeguard เหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ เป็นผลมาจากคำร้องขอของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน), บริษัท สหวิริยาเพลทมีล จำกัด (มหาชน), บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) และบริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้ง 4 บริษัทได้รวมกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงพาณิชย์ จนมีการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Antidumping หรือ AD) สินค้าเหล็กรีดร้อนเจือโบรอนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่นำเข้าจากจีนในอัตรา 14.28% และ 19.47% มาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2555
แต่การใช้มาตรการ AD ยังไม่สามารถป้องกันการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนราคาถูกที่สำแดงพิกัดอื่น ๆ อาทิ พิกัดเหล็กเจือโบรอน-อัลลอย เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี AD ได้ โดยปริมาณการนำเข้าในพิกัดเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ (ครอบคลุมพิกัด 722530-722691) ได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเข้าจากจีน
สุดท้ายบริษัทผู้ผลิตภายในประเทศทั้ง 4 บริษัทจึงยื่นคำขอให้มีการเรียกเก็บภาษี Safeguard การนำเข้าทั้งหมดใน 3 ระยะเวลานำเข้าคือสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ความหนา 0.9-50.0 มิลลิเมตร ความกว้าง 100-3,048 มิลลิเมตร 1) อัตรา 44.20% ของราคา CIF สำหรับสินค้าที่นำเข้าตั้งแต่ 15 ก.ย. 2556-26 ก.พ. 2557 2) อัตรา 43.57% ของราคา CIF สำหรับสินค้าที่นำเข้า 27 ก.ย. 2556-26 ก.พ. 2558 และ 3) อัตรา 42.95% ของราคา CIF สำหรับสินค้าที่นำเข้าตั้งแต่ 27 ก.พ. 2558-26 ก.พ. 2559 จากประเทศผู้ส่งออกตามบัญชีแนบท้ายประกาศ ก.รวม 165 ประเทศ แต่มีการ "ยกเว้น" ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ การนำเข้ามาเพื่อชุบแข็งต่อ และเหล็กเกรดพิเศษ
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเข้ามาว่า การเรียกเก็บภาษี Safeguard ดังกล่าว เท่ากับบีบให้ผู้ใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนต้องหันไปซื้อเหล็กจากบริษัทสหวิริยา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน/รีดเย็นรายใหญ่ที่สุดของประเทศเพียงกลุ่มเดียว ขณะที่ผู้ผลิตอื่น ๆ อาทิ กลุ่มเจ สตีล มีปัญหาในเรื่องของสภาพคล่องและอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้จนต้องให้ผู้ใช้นำเงินมาวางก่อนการผลิต
"เรื่องที่ทุกคนกลัวก็คือ เราไม่มีทางเลือกอื่นในการต่อรองราคาเหล็กกับสหวิริยา เดิมทียังพอมีการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากต่างประเทศเข้ามาได้บ้าง ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า มีการนำเข้าในราคาต่ำจนทำลายอุตสาหกรรมภายในนั้น ผมยอมรับว่า จริง แต่หากผู้ผลิตภายในไม่ขึ้นราคาเกินกว่าราคาตลาดโลกไปมากมาย แถมเวลาจะขายก็ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาส่งมอบได้แบบนี้แล้ว ใครจะอยากซื้อเหล็กนำเข้าที่มีราคาใกล้เคียงกับเหล็กภายในประเทศบ้าง ที่สำคัญมีเหล็กแผ่นรีดร้อนหลายรายการหรือหลายขนาดที่ผู้ผลิตภายในประเทศไม่ผลิต หรือผลิตก็ไม่มีคุณภาพตามมาตรฐาน รายการเหล่านี้ก็ถูกเรียกเก็บภาษี Safeguard หมด" ผู้ใช้เหล็กรายหนึ่งกล่าวให้ความเห็น
ล่าสุดความพยายามในการ "ปิดตลาด" นำเข้าเหล็กได้ขยายไปสู่กรณีของเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนด้วย หลังจากที่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะประธานคณะกรรมการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ทตอ.) ได้มีมติให้ขยายระยะเวลาเรียกเก็บหลักค้ำประกันมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (มาตรการชั่วคราว) สินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นที่นำเข้าจากจีน-เวียดนาม-ไต้หวัน ออกไปอีก 4 เดือน จากเดิมกำหนดให้เรียกเก็บตั้งแต่ 10 พฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ให้ขยายออกไปเป็นถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2556 นั้น เพื่อรอการพิจารณาอัตราภาษี AD ขั้นสุดท้าย
ทั้งนี้มาตรการชั่วคราวจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 11.76% ของราคา CIF สำหรับสินค้านำเข้าจากจีน 11.86% สำหรับสินค้านำเข้าจากเวียดนาม และ 8.76% สำหรับสินค้านำเข้าจากไต้หวัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2556 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในตามคำร้องขอของบริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ในเครือสหวิริยาเช่นกัน
โดยประกาศฉบับดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ใช้เหล็กแผ่นรีดเย็นในกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบ ซึ่งมีการนำเข้าเหล็กชนิดนี้ประมาณปีละ 400,000 ตัน เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตภายในประเทศเองก็ไม่สามารถผลิตสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นบางพิกัดได้ แต่ผู้ผลิตเองกลับยืนยันว่า ผลิตได้ทุกประเภท ส่งผลให้ กรมการค้าต่างประเทศ ต้องจัดตั้งคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญพิเศษขึ้นมา และเตรียมประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นของ 2 ฝ่ายอีกครั้ง
ด้านนายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มยานยนต์ ซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กรีดเย็นชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนในอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบ ได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณา "ยกเว้น" การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นสำหรับอุตสาหกรรม
ยานยนต์และส่วนประกอบ โดยอาศัยหลักการเดียวกันกับการออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนจากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นก่อนหน้านี้
"สาเหตุที่จะต้องขอยกเว้น เพราะปัจจุบันผู้ผลิตเหล็กทำเหล็กรีดเย็นได้คุณภาพในระดับหนึ่งเท่านั้น มีบางรายการที่ยังจำเป็นต้องนำเข้า แต่อย่างเหล็กรีดร้อนต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งก็ถูกจำกัดด้วยปริมาณโควตา ตามกรอบการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งถึงแม้ว่ากรมจะยกเว้นให้สำหรับผู้ผลิตที่นำเข้าตามกฎหมายศุลกากร กฎหมายบีไอโอ แต่ก็มีปัญหาการขอคืนอากรล่าช้า ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น นำเข้าเหล็กแผ่นมา ต้องมาตัดเหลือเป็นสเครปหรือเศษก็ไม่สามารถจะนำมาคำนวณขอคืนภาษีได้"
ทั้งนี้อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้มาตรการชั่วคราว ประกอบไปด้วย กลุ่มยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), สมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น กลุ่มนิสสัน ฮอนด้า จีเอ็ม และบริษัทกรุงเทพผลิตเหล็ก ทำลอนหลังคา ได้มีหนังสือคัดค้านการเรียกเก็บหลักประกันอากรดังกล่าวแล้ว
นายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวยืนยันว่า บริษัทสามารถผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้อยู่แล้ว แต่ในบางพิกัดน่าจะเป็นอุตสาหกรรมพิเศษมากกว่านั้น และทางบริษัท "ไม่มีข้อมูล" ต้องรอรับข้อมูลจากลูกค้าหรือผู้นำเข้าว่ามีความต้องการสินค้าชนิดใด และปริมาณเท่าใด แม้ว่าบางรายการจะมีความต้องการใช้น้อย ที่เป็นเหล็กชนิดพิเศษก็น่าจะบริหารจัดการได้ เนื่องจากมีศูนย์บริหารจัดการเหล็กที่ดูแลอยู่
สำหรับปริมาณผลิตของบริษัทเต็มที่คือ 1 ล้านตัน/ปี แต่เมื่อเกิดปัญหาเหล็กรีดเย็นต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาดส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหลือเพียงครึ่งเดียว โดยประเทศที่เลือกฟ้องเก็บภาษีทุ่มตลาด (AD) รวม 3 ประเทศ คือจีน, เวียดนาม, ไต้หวัน ที่มีการทุ่มตลาดมากสุด อย่างไรก็ตาม ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่มีสินค้าเหล็กรีดเย็นที่อยู่ในข่ายทุ่มตลาดเหมือนกัน เช่น อินเดีย เกาหลี
ความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ที่ 1.2 ล้านตัน/ปี ในขณะที่เมื่อรวมการผลิตของบริษัทเหล็กแผนรีดเย็นกับบริษัท สยามยูไนเต็ด สตีล จำกัด จะมีกำลังผลิตรวมกันที่ 2.4 ล้านตัน/ปี ฉะนั้นในแง่ปริมาณจึงเพียงพอ การประกาศหลักประกันเบื้องต้นที่ 8-11% ของราคา C.I.F ในอัตรานี้สามารถช่วยปกป้องอุตสาหกรรมได้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากเดิมมีการนำเข้าจากกลุ่มประเทศนี้เป็น 100,000 ตัน/เดือน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 60,000 ตัน/เดือน อย่างจีนเคยนำเข้า 10,000 ตัน/เดือน ตอนนี้เหลือ 2,000-3,000 ตัน/เดือน
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์www.facebook.com/prachachatทวิตเตอร์ @prachachat
updated: 19 ก.ย. 2556 เวลา 13:07:00 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ฝุ่นตลบเก็บภาษีเหล็กรีดเย็น-รีดร้อน "นิวัฒน์ธำรง" ไฟเขียวขึ้นภาษี Safeguard ปิดประตูนำเข้าจาก 165 ประเทศ ล่าสุด "งัด" มาตรการชั่วคราวเก็บภาษี เหล็กแผ่นรีดเย็นโดนด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์
"นิสสัน-ฮอนด้า-จีเอ็ม" โวยลั่นยื่นหนังสือรัฐเร่งแก้ปัญหา
ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง (Safeguard) เรื่อง มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่คณะกรรมการพิจารณามาตรการปกป้อง มีคำวินิจฉัยขั้นที่สุดว่า การนำเข้าสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ มีการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจนก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศจริง
ทั้งนี้การใช้มาตรการ Safeguard เหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ เป็นผลมาจากคำร้องขอของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน), บริษัท สหวิริยาเพลทมีล จำกัด (มหาชน), บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) และบริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) ซึ่งก่อนหน้านี้ทั้ง 4 บริษัทได้รวมกันยื่นคำร้องต่อกระทรวงพาณิชย์ จนมีการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (Antidumping หรือ AD) สินค้าเหล็กรีดร้อนเจือโบรอนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนที่นำเข้าจากจีนในอัตรา 14.28% และ 19.47% มาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2555
แต่การใช้มาตรการ AD ยังไม่สามารถป้องกันการทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนราคาถูกที่สำแดงพิกัดอื่น ๆ อาทิ พิกัดเหล็กเจือโบรอน-อัลลอย เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี AD ได้ โดยปริมาณการนำเข้าในพิกัดเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ (ครอบคลุมพิกัด 722530-722691) ได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเข้าจากจีน
สุดท้ายบริษัทผู้ผลิตภายในประเทศทั้ง 4 บริษัทจึงยื่นคำขอให้มีการเรียกเก็บภาษี Safeguard การนำเข้าทั้งหมดใน 3 ระยะเวลานำเข้าคือสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่น ๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน ความหนา 0.9-50.0 มิลลิเมตร ความกว้าง 100-3,048 มิลลิเมตร 1) อัตรา 44.20% ของราคา CIF สำหรับสินค้าที่นำเข้าตั้งแต่ 15 ก.ย. 2556-26 ก.พ. 2557 2) อัตรา 43.57% ของราคา CIF สำหรับสินค้าที่นำเข้า 27 ก.ย. 2556-26 ก.พ. 2558 และ 3) อัตรา 42.95% ของราคา CIF สำหรับสินค้าที่นำเข้าตั้งแต่ 27 ก.พ. 2558-26 ก.พ. 2559 จากประเทศผู้ส่งออกตามบัญชีแนบท้ายประกาศ ก.รวม 165 ประเทศ แต่มีการ "ยกเว้น" ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ การนำเข้ามาเพื่อชุบแข็งต่อ และเหล็กเกรดพิเศษ
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเข้ามาว่า การเรียกเก็บภาษี Safeguard ดังกล่าว เท่ากับบีบให้ผู้ใช้เหล็กแผ่นรีดร้อนต้องหันไปซื้อเหล็กจากบริษัทสหวิริยา ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน/รีดเย็นรายใหญ่ที่สุดของประเทศเพียงกลุ่มเดียว ขณะที่ผู้ผลิตอื่น ๆ อาทิ กลุ่มเจ สตีล มีปัญหาในเรื่องของสภาพคล่องและอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้จนต้องให้ผู้ใช้นำเงินมาวางก่อนการผลิต
"เรื่องที่ทุกคนกลัวก็คือ เราไม่มีทางเลือกอื่นในการต่อรองราคาเหล็กกับสหวิริยา เดิมทียังพอมีการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากต่างประเทศเข้ามาได้บ้าง ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า มีการนำเข้าในราคาต่ำจนทำลายอุตสาหกรรมภายในนั้น ผมยอมรับว่า จริง แต่หากผู้ผลิตภายในไม่ขึ้นราคาเกินกว่าราคาตลาดโลกไปมากมาย แถมเวลาจะขายก็ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาส่งมอบได้แบบนี้แล้ว ใครจะอยากซื้อเหล็กนำเข้าที่มีราคาใกล้เคียงกับเหล็กภายในประเทศบ้าง ที่สำคัญมีเหล็กแผ่นรีดร้อนหลายรายการหรือหลายขนาดที่ผู้ผลิตภายในประเทศไม่ผลิต หรือผลิตก็ไม่มีคุณภาพตามมาตรฐาน รายการเหล่านี้ก็ถูกเรียกเก็บภาษี Safeguard หมด" ผู้ใช้เหล็กรายหนึ่งกล่าวให้ความเห็น
ล่าสุดความพยายามในการ "ปิดตลาด" นำเข้าเหล็กได้ขยายไปสู่กรณีของเหล็กแผ่นรีดเย็นชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนด้วย หลังจากที่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะประธานคณะกรรมการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (ทตอ.) ได้มีมติให้ขยายระยะเวลาเรียกเก็บหลักค้ำประกันมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (มาตรการชั่วคราว) สินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นที่นำเข้าจากจีน-เวียดนาม-ไต้หวัน ออกไปอีก 4 เดือน จากเดิมกำหนดให้เรียกเก็บตั้งแต่ 10 พฤษภาคม 2556 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ให้ขยายออกไปเป็นถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2556 นั้น เพื่อรอการพิจารณาอัตราภาษี AD ขั้นสุดท้าย
ทั้งนี้มาตรการชั่วคราวจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 11.76% ของราคา CIF สำหรับสินค้านำเข้าจากจีน 11.86% สำหรับสินค้านำเข้าจากเวียดนาม และ 8.76% สำหรับสินค้านำเข้าจากไต้หวัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2556 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในตามคำร้องขอของบริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งอยู่ในเครือสหวิริยาเช่นกัน
โดยประกาศฉบับดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้ใช้เหล็กแผ่นรีดเย็นในกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบ ซึ่งมีการนำเข้าเหล็กชนิดนี้ประมาณปีละ 400,000 ตัน เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตภายในประเทศเองก็ไม่สามารถผลิตสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นบางพิกัดได้ แต่ผู้ผลิตเองกลับยืนยันว่า ผลิตได้ทุกประเภท ส่งผลให้ กรมการค้าต่างประเทศ ต้องจัดตั้งคณะอนุกรรมการเชี่ยวชาญพิเศษขึ้นมา และเตรียมประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นของ 2 ฝ่ายอีกครั้ง
ด้านนายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า กลุ่มยานยนต์ ซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กรีดเย็นชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนในอุตสาหกรรมยานยนต์และส่วนประกอบ ได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณา "ยกเว้น" การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดเย็นสำหรับอุตสาหกรรม
ยานยนต์และส่วนประกอบ โดยอาศัยหลักการเดียวกันกับการออกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วนจากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นก่อนหน้านี้
"สาเหตุที่จะต้องขอยกเว้น เพราะปัจจุบันผู้ผลิตเหล็กทำเหล็กรีดเย็นได้คุณภาพในระดับหนึ่งเท่านั้น มีบางรายการที่ยังจำเป็นต้องนำเข้า แต่อย่างเหล็กรีดร้อนต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งก็ถูกจำกัดด้วยปริมาณโควตา ตามกรอบการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งถึงแม้ว่ากรมจะยกเว้นให้สำหรับผู้ผลิตที่นำเข้าตามกฎหมายศุลกากร กฎหมายบีไอโอ แต่ก็มีปัญหาการขอคืนอากรล่าช้า ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เช่น นำเข้าเหล็กแผ่นมา ต้องมาตัดเหลือเป็นสเครปหรือเศษก็ไม่สามารถจะนำมาคำนวณขอคืนภาษีได้"
ทั้งนี้อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้มาตรการชั่วคราว ประกอบไปด้วย กลุ่มยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.), สมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น กลุ่มนิสสัน ฮอนด้า จีเอ็ม และบริษัทกรุงเทพผลิตเหล็ก ทำลอนหลังคา ได้มีหนังสือคัดค้านการเรียกเก็บหลักประกันอากรดังกล่าวแล้ว
นายนาวา จันทนสุรคน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวยืนยันว่า บริษัทสามารถผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นป้อนอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้อยู่แล้ว แต่ในบางพิกัดน่าจะเป็นอุตสาหกรรมพิเศษมากกว่านั้น และทางบริษัท "ไม่มีข้อมูล" ต้องรอรับข้อมูลจากลูกค้าหรือผู้นำเข้าว่ามีความต้องการสินค้าชนิดใด และปริมาณเท่าใด แม้ว่าบางรายการจะมีความต้องการใช้น้อย ที่เป็นเหล็กชนิดพิเศษก็น่าจะบริหารจัดการได้ เนื่องจากมีศูนย์บริหารจัดการเหล็กที่ดูแลอยู่
สำหรับปริมาณผลิตของบริษัทเต็มที่คือ 1 ล้านตัน/ปี แต่เมื่อเกิดปัญหาเหล็กรีดเย็นต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาดส่งผลให้ปริมาณการผลิตเหลือเพียงครึ่งเดียว โดยประเทศที่เลือกฟ้องเก็บภาษีทุ่มตลาด (AD) รวม 3 ประเทศ คือจีน, เวียดนาม, ไต้หวัน ที่มีการทุ่มตลาดมากสุด อย่างไรก็ตาม ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่มีสินค้าเหล็กรีดเย็นที่อยู่ในข่ายทุ่มตลาดเหมือนกัน เช่น อินเดีย เกาหลี
ความต้องการใช้ของอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ที่ 1.2 ล้านตัน/ปี ในขณะที่เมื่อรวมการผลิตของบริษัทเหล็กแผนรีดเย็นกับบริษัท สยามยูไนเต็ด สตีล จำกัด จะมีกำลังผลิตรวมกันที่ 2.4 ล้านตัน/ปี ฉะนั้นในแง่ปริมาณจึงเพียงพอ การประกาศหลักประกันเบื้องต้นที่ 8-11% ของราคา C.I.F ในอัตรานี้สามารถช่วยปกป้องอุตสาหกรรมได้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากเดิมมีการนำเข้าจากกลุ่มประเทศนี้เป็น 100,000 ตัน/เดือน แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 60,000 ตัน/เดือน อย่างจีนเคยนำเข้า 10,000 ตัน/เดือน ตอนนี้เหลือ 2,000-3,000 ตัน/เดือน
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์www.facebook.com/prachachatทวิตเตอร์ @prachachat
Try to find a good company.
- [v]
- Verified User
- โพสต์: 1402
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 8
เป็นกลุ่มสินค้าที่ขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลกครับ ถ้าความต้องการกับปริมาณการผลิตไม่สอดคล้องกันราคาก็มีขึ้นๆลงๆ ถ้าอุตสาหกรรมเป็นขาขึ้นทำอะไรก็ง่ายไปหมด แต่ถ้าตลาดทรงๆราคาเหล็กก็ไม่ไปไหนหรอกครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 925
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 9
ถ้าใครอยากจะวิเคราะห์บริษัทนี้จริงๆผมแนะนำว่าทำแยก 2 ส่วนง่ายกว่าครับ
ส่วนแรกที่ไทย SSI TH นั้นการทำให้กลับมากำไรไม่ยากครับ ค่า HRC spread สัก 130-150 ก็มีโอกาสไม่ยากแล้วครับ ดูจากประวัติก็ได้ครับ
สำหรับที่ SSI UK นั้น ยังไงก็กำไรยากครับ เพราะถ้าไปขุดๆดูไฟล์เก่าๆตอนที่ไปซื้อจะเห็นว่า สมมุติฐานของการเข้าซื้อนั้น SLAB spread 280 USD/TON หรือ ประมาณนั้นนะครับ ปัจจุบันยัง แค่ 100กว่าๆ
และเมื่อเอากำไรจากการดำเนินงานทั้งสองที่มารวมกันก็ประมาณเท่าทุนหรือ ดีสุดก็เขียวอ่อนๆ
แต่อย่าลืมว่าแต่ก่อน SSI ไม่เคยมีหนี้มากขนาดนี้นะครับ และยังเป็นหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเมื่อเจอดอกเบี้ยเข้าไปจึงทำให้กลับมากำไรยากมากครับ
ปล เว้นแต่ว่าสุดท้ายจะแปลงหนี้เป็นทุนครับ
ส่วนแรกที่ไทย SSI TH นั้นการทำให้กลับมากำไรไม่ยากครับ ค่า HRC spread สัก 130-150 ก็มีโอกาสไม่ยากแล้วครับ ดูจากประวัติก็ได้ครับ
สำหรับที่ SSI UK นั้น ยังไงก็กำไรยากครับ เพราะถ้าไปขุดๆดูไฟล์เก่าๆตอนที่ไปซื้อจะเห็นว่า สมมุติฐานของการเข้าซื้อนั้น SLAB spread 280 USD/TON หรือ ประมาณนั้นนะครับ ปัจจุบันยัง แค่ 100กว่าๆ
และเมื่อเอากำไรจากการดำเนินงานทั้งสองที่มารวมกันก็ประมาณเท่าทุนหรือ ดีสุดก็เขียวอ่อนๆ
แต่อย่าลืมว่าแต่ก่อน SSI ไม่เคยมีหนี้มากขนาดนี้นะครับ และยังเป็นหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเมื่อเจอดอกเบี้ยเข้าไปจึงทำให้กลับมากำไรยากมากครับ
ปล เว้นแต่ว่าสุดท้ายจะแปลงหนี้เป็นทุนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 440
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 10
บริษัทรายงานว่า บริษัทเครือ สหวิริยา จำกัด ลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนอีก พันสองร้อยกว่าล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ .68 บาท เป็นเงิน 822,121,967.921บาท โดยทยอยซื้อ 4 วันคือวันที่ 4-10 ตุลาคม 2556
ทำไม กล้าลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่ 0.68บาท ต่อหุ้น แพงกว่าตลาดมาก หากใช้เงินจำนวนเดียวกันสามารถซื้อหุ้นได้ มากถึง สองพันกว่าล้านหุ้น แทนที่แค่พันล้านหุ้น
สงสัยว่า มันดีจริง หรือไม่จริง ทำไม ราคาในตลาด วันนี้ ราคาหุ้นละ 0.38 บาท จึงเหมือนกลับไม่มีใครซื้อมากนัก
หากว่าเรามีเงิน 800.-ล้าน ทำไมไม่ใช้เงินนั้น ลากราคาหุ้นในตลาดให้ขึ้นไปที่ 1.-บาท แล้วน่าจะทำให้ ขายหุ้นเพ่ิมทุนได้ทั้งหมด ท่านว่าจริงหรือไม่
สับสน สับสน จริง ๆ จะซื้อ หรือไม่ซื้อเพิ่มดี / 555 / ใครช่วยบอกที
ทำไม กล้าลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่ 0.68บาท ต่อหุ้น แพงกว่าตลาดมาก หากใช้เงินจำนวนเดียวกันสามารถซื้อหุ้นได้ มากถึง สองพันกว่าล้านหุ้น แทนที่แค่พันล้านหุ้น
สงสัยว่า มันดีจริง หรือไม่จริง ทำไม ราคาในตลาด วันนี้ ราคาหุ้นละ 0.38 บาท จึงเหมือนกลับไม่มีใครซื้อมากนัก
หากว่าเรามีเงิน 800.-ล้าน ทำไมไม่ใช้เงินนั้น ลากราคาหุ้นในตลาดให้ขึ้นไปที่ 1.-บาท แล้วน่าจะทำให้ ขายหุ้นเพ่ิมทุนได้ทั้งหมด ท่านว่าจริงหรือไม่
สับสน สับสน จริง ๆ จะซื้อ หรือไม่ซื้อเพิ่มดี / 555 / ใครช่วยบอกที
Try to find a good company.
-
- Verified User
- โพสต์: 1679
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 11
ขอก๊อปความเห็นพี่ไปแปะในห้อง ssi นะครับ เผื่อมีแนวร่วมช่วยกันถกมากขึ้นlb เขียน:บริษัทรายงานว่า บริษัทเครือ สหวิริยา จำกัด ลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนอีก พันสองร้อยกว่าล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ .68 บาท เป็นเงิน 822,121,967.921บาท โดยทยอยซื้อ 4 วันคือวันที่ 4-10 ตุลาคม 2556
ทำไม กล้าลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่ 0.68บาท ต่อหุ้น แพงกว่าตลาดมาก หากใช้เงินจำนวนเดียวกันสามารถซื้อหุ้นได้ มากถึง สองพันกว่าล้านหุ้น แทนที่แค่พันล้านหุ้น
สงสัยว่า มันดีจริง หรือไม่จริง ทำไม ราคาในตลาด วันนี้ ราคาหุ้นละ 0.38 บาท จึงเหมือนกลับไม่มีใครซื้อมากนัก
หากว่าเรามีเงิน 800.-ล้าน ทำไมไม่ใช้เงินนั้น ลากราคาหุ้นในตลาดให้ขึ้นไปที่ 1.-บาท แล้วน่าจะทำให้ ขายหุ้นเพ่ิมทุนได้ทั้งหมด ท่านว่าจริงหรือไม่
สับสน สับสน จริง ๆ จะซื้อ หรือไม่ซื้อเพิ่มดี / 555 / ใครช่วยบอกที
-
- Verified User
- โพสต์: 440
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 12
ผมขอนำข่าวที่เป็นบทสรุปการเพิ่ทุน ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นการเพิ่มทุนแล้ว เพราะเห็นว่าจะลดทุนหุ้นที่ขายไม่หมด ซึ่งแสดงว่าความจำเป็นในการใช้เงินเพิ่มทุน ก็น่าจะผ่อนคลายแล้ว หรืออาจจะพอสรุปได้ว่า ภาวะขาดทุน น่าจะบรรเทา หรืออาจจะมีกำไรในปี 2557 ตามทีเขาคาดการณ์ และเขาที่อาจจะคาดการณ์ไม่ผิดอีกก็ได้ จึงกล้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนแพงกว่าราคาตลาดมาก ๆ ขอแปะไว้ เพื่อเก็บไว้ดูย้อนหลังว่าเขามีความสามารถในการคาดการณ์หรือไม่ หรือสรุปข้อมูลในภายหน้าอีกที
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 ตุลาคม 2556 17:21:22 น.
นายวิน วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) กล่าวว่า เอสเอสไอได้ดำเนินการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนเสร็จสิ้นไปแล้วเป็นจำนวน รวม 13,829.55 ล้านหุ้น ประกอบด้วย กลุ่มสหวิริยา 8,199.64 ล้านหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจและผู้ถือหุ้นทั่วไป 2,736.77 ล้านหุ้น คิดเป็นเงินที่ระดมได้รวม 9,404.09 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีหุ้นสามัญที่ยังไม่ได้จำหน่ายรวมจำนวน 5,604.11 ล้านหุ้น ซึ่งเอสเอสไอจะดำเนินการลดทุนจดทะเบียนของเอสเอสไอ โดยการตัดหุ้นสามัญเพิ่มทุนส่วนที่คงเหลือต่อไป
นอกจากนี้ เอสเอสไอได้จำหน่ายเงินลงทุนใน บมจ.เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย(TCRSS)เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ได้รับเงินจำนวน 1,568.25 ล้านบาท ซึ่งได้นำไปลงทุนซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธุรกิจโรงถลุงเหล็ก ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ยูเค จำกัด ที่ได้ดำเนินการเพิ่มทุนชำระแล้วจาก 473 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น 895.61 ล้านเหรียญสหรัฐเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนและลดต้นทุนทางการเงินให้แก่ธุรกิจโรงถลุงเหล็กได้
“เอสเอสไอได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นและพันธมิตรทางธุรกิจเป็นอย่างดีในการระดมทุนโดยการขายหุ้นเพิ่มทุนและการขายทรัพย์สิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในธุรกิจ วิสัยทัศน์ การบริหารจัดการ และบุคลากรของเอสเอสไอ การเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้เอสเอสไอ และ ทำให้ต้นทุนทางการเงินของเอสเอสไอลดลงอีกด้วย“ นายวินกล่าว
อินโฟเควสท์ โดย รัชดา คงขุนเทียน/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 ตุลาคม 2556 17:21:22 น.
นายวิน วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) กล่าวว่า เอสเอสไอได้ดำเนินการขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนเสร็จสิ้นไปแล้วเป็นจำนวน รวม 13,829.55 ล้านหุ้น ประกอบด้วย กลุ่มสหวิริยา 8,199.64 ล้านหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจและผู้ถือหุ้นทั่วไป 2,736.77 ล้านหุ้น คิดเป็นเงินที่ระดมได้รวม 9,404.09 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีหุ้นสามัญที่ยังไม่ได้จำหน่ายรวมจำนวน 5,604.11 ล้านหุ้น ซึ่งเอสเอสไอจะดำเนินการลดทุนจดทะเบียนของเอสเอสไอ โดยการตัดหุ้นสามัญเพิ่มทุนส่วนที่คงเหลือต่อไป
นอกจากนี้ เอสเอสไอได้จำหน่ายเงินลงทุนใน บมจ.เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย(TCRSS)เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ได้รับเงินจำนวน 1,568.25 ล้านบาท ซึ่งได้นำไปลงทุนซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธุรกิจโรงถลุงเหล็ก ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี ยูเค จำกัด ที่ได้ดำเนินการเพิ่มทุนชำระแล้วจาก 473 ล้านเหรียญสหรัฐเป็น 895.61 ล้านเหรียญสหรัฐเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยเพิ่มเงินทุนหมุนเวียนและลดต้นทุนทางการเงินให้แก่ธุรกิจโรงถลุงเหล็กได้
“เอสเอสไอได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นและพันธมิตรทางธุรกิจเป็นอย่างดีในการระดมทุนโดยการขายหุ้นเพิ่มทุนและการขายทรัพย์สิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในธุรกิจ วิสัยทัศน์ การบริหารจัดการ และบุคลากรของเอสเอสไอ การเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้เอสเอสไอ และ ทำให้ต้นทุนทางการเงินของเอสเอสไอลดลงอีกด้วย“ นายวินกล่าว
อินโฟเควสท์ โดย รัชดา คงขุนเทียน/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
Try to find a good company.
-
- Verified User
- โพสต์: 440
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อดีตที่ฝ่าฟัน อนาคตที่อาจจะรุ่งโรจน์ (SSI) เชื่อได้หรือไ
โพสต์ที่ 14
ได้เลยครับVAEEEEE เขียน:ขอก๊อปความเห็นพี่ไปแปะในห้อง ssi นะครับ เผื่อมีแนวร่วมช่วยกันถกมากขึ้นlb เขียน:บริษัทรายงานว่า บริษัทเครือ สหวิริยา จำกัด ลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุนอีก พันสองร้อยกว่าล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ .68 บาท เป็นเงิน 822,121,967.921บาท โดยทยอยซื้อ 4 วันคือวันที่ 4-10 ตุลาคม 2556
ทำไม กล้าลงทุนซื้อหุ้นเพิ่มทุน ที่ 0.68บาท ต่อหุ้น แพงกว่าตลาดมาก หากใช้เงินจำนวนเดียวกันสามารถซื้อหุ้นได้ มากถึง สองพันกว่าล้านหุ้น แทนที่แค่พันล้านหุ้น
สงสัยว่า มันดีจริง หรือไม่จริง ทำไม ราคาในตลาด วันนี้ ราคาหุ้นละ 0.38 บาท จึงเหมือนกลับไม่มีใครซื้อมากนัก
หากว่าเรามีเงิน 800.-ล้าน ทำไมไม่ใช้เงินนั้น ลากราคาหุ้นในตลาดให้ขึ้นไปที่ 1.-บาท แล้วน่าจะทำให้ ขายหุ้นเพ่ิมทุนได้ทั้งหมด ท่านว่าจริงหรือไม่
สับสน สับสน จริง ๆ จะซื้อ หรือไม่ซื้อเพิ่มดี / 555 / ใครช่วยบอกที
วันนี้ ( 18/10/13 )Volume Bid มากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะที่0.38บาทต่อหุ้น สงสัยเหลืือเกินว่า จะเอาเงินที่เหลือจากการที่ไม่ต้องซือหุ้นเพิ่มทุน มาไล่เก็บหุ้นในกระดาน แทน เพื่อถั่วเฉลี่ย ต้นทุนหรือเปล่า ?????
Try to find a good company.