อาทิตย์ เม.ย. 02, 2006 5:14 am | 0 คอมเมนต์
สนุกดีครับ กระทู้นี้
ถามคุณ 007-S ตอนต่อคิว นอกจากต่อว่าเขาแล้ว ก้ปล่อยให้เขาลัดคิวอย่างนั้นหรือเปล่าครับ?
คุณ chatchai ครับ ติดสินบนยาม นี้ เราควรทำอย่างไรครับถึงไม่ให้เกิดการติดสินบนยามอีก?
การผลักดัน เราเริ่มที่เราเองได้ แต่ เราจะขยายวงได้อย่างไร ทำอย่างไร
ใครคนใหนจะมาฟังเราคอยจำจี้จ้ำใช ห้ามโน่น ห้ามนี้ ญาติก็ไม่ใช่
ใครกัน ที่บอกปุ๊บ เสียงดัง ต้องมีคนฟัง
ใครกัน ที่เป็นตัวอย่างได้อย่างดี
เรามีแรงน้อย ก็ทำตามแรงที่มี ใครมีแรงมากก็ช่วยผลักได้มากหน่อย ...
แต่ยังไงก็ต้องช่วยกัน
และ เสริมว่า ไม่ใช่บอกว่า ก็ข้าพเจ้าออกแรงแล้ว ทำตามหน้าที่ก็หมดเรื่องแล้ว ...
...
เรื่องการเงิน ถามหน่อยครับ ว่าทำไมช่วงนี้ดอกเบี้ยขึ้น เพราะ อะไร
มันมีการส่งผลกันเป็นทอด ๆ
(เอาหัวโขนการเมืองออกเหมือนคุณลูกอิสานบอกด้วยนะครับ)
มาหาต้นตอสาเหตุของดอกเบี้ยที่ขึ้นดีมั้ยครับ
....
ลูกอิสาน เขียน: มุมมองด้านอื่นๆ ของตัวเลขที่นำมาอ้าง ผมได้โพสต์ไว้ในกระทู้แล้ว แต่ขอสรุปสั้นง่ายๆ อย่างนี้ครับ
1.รัฐบาลชุดนี้บริหารประเทศมาแล้วประมาณ 5 ปี แล้วทุกปีใช้จ่ายพยุงเศรษกิจอย่างนี้หรือเปล่า ถ้าใช่แสดงว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ก็ต้องถามว่าแล้วปี 2004 ละครับ ทำไมใช้จ่ายน้อย
2.การใช้จ่ายเหล่านี้ ผันผวนไปตามเมกะโปรเจคหรือเปล่า ซึ่งคงไม่สามารถสร้างกันได้ทุกปี ถ้าปีไหนมีการสร้าง ตัวเลขก็ต้องกระโดดขึ้นเป็นธรรมดา
3.การใช้จ่ายเหล่านี้ อยู่ในกรอบงบประมาณ หากรัฐหารายได้เพียงพอรายจ่าย เราจะไปกังวลทำไมกับตัวเลขเหล่านี้
4.การใช้จ่ายเหล่านี้เพื่อกระตุ้นเศรษกิจหรือสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนหรือเปล่า
ตอบคำถามตามความเห็นของผม
1. ทุกปีใช้พยุงครับ รายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่ของการเติบโตของ GDP การที่รัฐบาลไม่มีรายจ่ายเลย GDP บางส่วนจะหายไป และต้องชดเชยด้วยการผลิตภาคเอกชนที่ไม่ได้ป้อนให้รัฐบาล ส่วนปี 2004 ใช้จ่ายเรื่องอะไรบ้างครับ (การชดเชยราคาน้ำมันนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของรัฐบาลหรือไม่ครับ และ เป็นการพยุงเศรษฐกิจหรือไม่ ... ถ้าไม่นับรวมว่าเป็นการพยุงเศรษฐกิจ นี้มันก็เหมือนกับการเล่นบัญชีนะครับ)
2. เมกะโปรเจคยังไม่ได้ทำเลยนะครับ ตลอด 5 ปีของการบริหาร ผมเรียกว่าใช้จ่ายกันแบบไม่มีประสิทธิภาพ ตอนนี้ต้องมาดูว่าจะต้องไปกู้เงินมาทำงานเมกะพวกนี้อีกเท่าไร (ยิ่งกู้ตอนร้อนเงิน ไม่รู้ดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นอย่างไร และที่สำคัญสิ่งนี้เป็นหนี้สาธารณะ)
3. ใช่ครับอยู่ในกรอบงบประมาณขาดดุล (คือ รัฐบาลกู้มาใช้จ่าย ... จะสมดุลได้ตามเป้าที่วางไว้หรือเปล่านี้ชักไม่แน่ใจ)
4. ความสามารถในการแข่งขัน แย่ลง (ต้นทุนการจัดการแพงขึ้น และ คุณภาพคนทำงานของเราไม่ได้ดีขึ้นกว่าเก่าเท่าไรนัก) และที่สำคัญ ความขยันน้อยลง , คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น คือ สัดส่วนรายได้ กับค่าใช้จ่ายแย่ลง อัตราเงินออมลดลง หมายความว่า ความเสียงด้านการเงินของแต่ละคนมากขึ้น (ไม่รู้ว่าตัวนี้จะรวมอยู่ในการประเมินด้านคุณภาพด้วยหรือเปล่า)
เหมือนสมการบัญชี บอกว่าทรัพสินย์ ของเรามากขึ้น แต่ที่มาของทรัพย์สินนั้นไม่ได้มาจากส่วนทุน แต่มาจากส่วนของหนี้สิน ส่งผลให้รายจ่ายมากขึ้น
ถ้าทรัพยสินย์ สามารถสร้างรายได้คุ้มกับรายจ่ายนี้ก็ดีไป แต่ถ้าทำให้รายจ่ายมากกว่าหนี้สิน นี้รอสักพัก น้ำลดตอก็จะผุด
****
เรื่องการใช้จ่ายของสิ่งที่คุ้มค่า และ เป็นตัวอย่างให้รัฐบาลได้อย่างดีที่สุดอย่างนึงก็คือ โครงการขยายอ่างเก็บน้ำที่กุยบุรี โดย พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ท่านทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ในการนี้ด้วย
จะเห็นว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก สร้าง GDP ให้ประชาชนแถบนั้นได้อย่างมหาศาล คือ เพียงแค่ปีเดียวก็คุ้มทุนแล้ว
สิ่งนี้เป็นตัวอย่าง ที่ดีสำหรับทุกคนที่ได้มาเป็นรัฐบาลที่ต้องคิด และ ต้องเดินตามราอยพระบาทในเรื่องนี้
ไม่ใช่ลงทุนอย่าง CTX ...
****