มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 490
- ผู้ติดตาม: 0
มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 1
หลังจากยกเลิกจำหน่ายเบนซิน การใช้เอทานอลอาจจะมากขึ้น บริษัทไหนในตลาดที่น่าจะได้ประโยชน์ครับ
- KentaII
- Verified User
- โพสต์: 382
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 5
LANNA ครับ ผ่าน บ. ลูก Thai Agro Industry
ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "แมงเม่า" เขาผู้นั้นมักไม่ใช่แมงเม่า...แต่ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "เซียน" เขาผู้นั้น จะกลายเป็น แมงเม่าในไม่ช้า เพราะเขา "หยุดพัฒนาตนเอง"
-
- Verified User
- โพสต์: 409
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 6
TOP
หลักการของการลงทุนแบบ VI คือการซื้อหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นประเภทใดก็ตามควรจะได้รับการพิจารณาเหมือนๆกันในแง่ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับราคาที่นักลงทุนจะจ่าย ...เครดิต อ.โจ ลูกอีสาน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 490
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 7
ดูๆแล้วน่าสนใจ lanna และพวกทำน้ำตาลอยู่แล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 8
ขอนอกเรื่องจากคำถามนะคับ เเต่ว่าด้วยEthanol
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... catid=0306
จากบทความนี้จะเห็นโอกาสของเอทานอลมากมายคับ
ขอเพิ่มเติมนิดนึงคับ
-EEผมไม่เเน่ใจว่าผลิตEthanolได้หรือยังหรือเเค่ปลูกมันสัมปะหลังไว้ก่อน
-KBSยังไม่ผลิตEthanolนะคับ เเต่ขายกากโมลาสซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตEthanolอีกที
-KSLดูครบเครื่องกว่าkbs Ethanolทำกำไรราว13%ให้ บ.ในปี55(ปี54กำไรจากethanolเเค่3%) ถ้าจะลงทุนตัวนี้คงคิดถึงเรื่องน้ำตาลเป็นหลักก่อนอะคับ โดยเฉพาะราคขอบคุณมากๆครับ าลตลาดโลก
-Lannaดีไหมคับไม่เคยตาม
สุดท้ายเเล้วมุมมองผมถ้าจะเล่นtrend Ethanol บ.ที่ได้ประโยชน์สุดคือPTTอยู่ดีเพราะพี่เเกผูกขาดอะคับ^^
(เเลกเปลี่ยนกันคับ ถ้าผิดพลาดอะไร รบกวนเเก้ไขให้ด้วย ขอบคุณมากๆคับ^^)
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... catid=0306
จากบทความนี้จะเห็นโอกาสของเอทานอลมากมายคับ
ขอเพิ่มเติมนิดนึงคับ
-EEผมไม่เเน่ใจว่าผลิตEthanolได้หรือยังหรือเเค่ปลูกมันสัมปะหลังไว้ก่อน
-KBSยังไม่ผลิตEthanolนะคับ เเต่ขายกากโมลาสซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตEthanolอีกที
-KSLดูครบเครื่องกว่าkbs Ethanolทำกำไรราว13%ให้ บ.ในปี55(ปี54กำไรจากethanolเเค่3%) ถ้าจะลงทุนตัวนี้คงคิดถึงเรื่องน้ำตาลเป็นหลักก่อนอะคับ โดยเฉพาะราคขอบคุณมากๆครับ าลตลาดโลก
-Lannaดีไหมคับไม่เคยตาม
สุดท้ายเเล้วมุมมองผมถ้าจะเล่นtrend Ethanol บ.ที่ได้ประโยชน์สุดคือPTTอยู่ดีเพราะพี่เเกผูกขาดอะคับ^^
(เเลกเปลี่ยนกันคับ ถ้าผิดพลาดอะไร รบกวนเเก้ไขให้ด้วย ขอบคุณมากๆคับ^^)
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 490
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณมากครับคุณ torpongpak ผมยังหาตัวที่มันทำตั้งแต่ต้นยันจบและมีสัดส่วนที่มากในตลาดยังไม่ได้ที่นึกออกมี EA อีกตัวหรือเปล่าครับที่ทำด้วย
แปะให้ดูข่าวที่ผมอ่านเจอเมื่อวานครับ
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ พพ. เปิดเผยว่า ขณะนี้การใช้เอทานอลในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2.6 ล้านลิตร/วัน สูงเกินกว่าเป้าหมายที่เคยตั้งเป้าไว้ว่า เมื่อยกเลิกการขายเบนซิน 91 จะทำให้ยอดการใช้เอทานอลปี 2556 เฉลี่ยอยู่ในระดับ 2 ล้านลิตร/วัน เนื่องจากประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น
รายละเอียด
ที่มา : แนวหน้า, บ้านเมือง, ASTV ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์ ( 15 ก.ค. 2556 )
แปะให้ดูข่าวที่ผมอ่านเจอเมื่อวานครับ
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ พพ. เปิดเผยว่า ขณะนี้การใช้เอทานอลในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2.6 ล้านลิตร/วัน สูงเกินกว่าเป้าหมายที่เคยตั้งเป้าไว้ว่า เมื่อยกเลิกการขายเบนซิน 91 จะทำให้ยอดการใช้เอทานอลปี 2556 เฉลี่ยอยู่ในระดับ 2 ล้านลิตร/วัน เนื่องจากประชาชนหันมาใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น
รายละเอียด
ที่มา : แนวหน้า, บ้านเมือง, ASTV ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์ ( 15 ก.ค. 2556 )
torpongpak เขียน:ขอนอกเรื่องจากคำถามนะคับ เเต่ว่าด้วยEthanol
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... catid=0306
จากบทความนี้จะเห็นโอกาสของเอทานอลมากมายคับ
ขอเพิ่มเติมนิดนึงคับ
-EEผมไม่เเน่ใจว่าผลิตEthanolได้หรือยังหรือเเค่ปลูกมันสัมปะหลังไว้ก่อน
-KBSยังไม่ผลิตEthanolนะคับ เเต่ขายกากโมลาสซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตEthanolอีกที
-KSLดูครบเครื่องกว่าkbs Ethanolทำกำไรราว13%ให้ บ.ในปี55(ปี54กำไรจากethanolเเค่3%) ถ้าจะลงทุนตัวนี้คงคิดถึงเรื่องน้ำตาลเป็นหลักก่อนอะคับ โดยเฉพาะราคขอบคุณมากๆครับ าลตลาดโลก
-Lannaดีไหมคับไม่เคยตาม
สุดท้ายเเล้วมุมมองผมถ้าจะเล่นtrend Ethanol บ.ที่ได้ประโยชน์สุดคือPTTอยู่ดีเพราะพี่เเกผูกขาดอะคับ^^
(เเลกเปลี่ยนกันคับ ถ้าผิดพลาดอะไร รบกวนเเก้ไขให้ด้วย ขอบคุณมากๆคับ^^)
- ronnachai
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 167
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 11
เดี๋ยวๆ นะครับ EUREKA มันทำออกแบบอุปกรณ์และงานด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่ใช้หรอครับ หรือว่าเค้ากำลังมีการลงทุนหันมาทำเอทานอลด้วยผมไม่ได้ตามตัวนี้ ยังไงขอคำชี้แจงเป็นความรู้ด้วยนะครับ
ความรู้สำคัญ แต่ความเข้าใจสำคัญกว่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 12
เอทานอลในเมืองไทยใช้วัตถุดิบ 2 อย่าง คือ โมลาส(กากน้ำตาล)และมันสำปะหลัง (หัวมันหรือมันเส้น)
ผมว่าถ้าใครเป็นผู้ควบคุมวัตถุดิบในมือก็จะได้เปรียบครับ ซึ่งคนที่มีวัตถุดิบในมือคือ
1. โรงงานน้ำตาลเป็นเจ้าของโมลาส ซึ่งเจ้าที่อยู่ในตลาดและทำเอทานอลถ้าจำไม่ผิดมีแค่ KSL แต่ธุรกิจหลักก็คือน้ำตาลไม่ใช่เอทานอล (แต่มันก็เป็นการกระจายความเสี่ยงของธุรกิจน้ำตาลได้ดีในระดับหนึ่งเลยครับ) ส่วนของ KBS ผมว่ายังยากเนื่องจากพึ่งลงทุนสร้างโรงไฟฟ้ายังไม่น่ามีเงินสดมาลงทุนทำเอทานอล และเป็นโรงงานไม่ใหญ่มากอาจจะมีโมลาสทำได้ไม่มากนัก
2. ลานมัน หรือโรงแป้ง กลุ่มนี้จะซื้อมันสดเป็นจำนวนมากอยู่แล้วทำให้มีวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก แต่ต้นทุนมันสำปะหลังก็ยังสูงกว่าโมลาสอยู่ดี (โมลาสเป็นผลพลอยได้ของโรงงานน้ำตาล ในทางตรงกันข้ามมันสดต้องซื้อจากชาวไร่ซึ่งต้องสู้กับโครงการรับจำนำที่ทำมันราคาแพงขึ้นไปเกินความเป็นจริง) พอทำเป็นเอทานอลก็ราคาแพง แต่ถ้าช่วงที่ความต้องการเอทานอลสูงแบบตอนนี้ ใครผลิตได้ก็คงได้กำไรทุกคนหล่ะครับ
โรงงานที่ไม่มีวัตถุดิบผมไม่พูดถึงนะครับ เพราะว่าราคาขายไม่แน่นอน แถมต้นทุนก็ยังไม่แน่นอนอีก กำไรก็จะผันผวนมากๆ
ผมว่าถ้าใครเป็นผู้ควบคุมวัตถุดิบในมือก็จะได้เปรียบครับ ซึ่งคนที่มีวัตถุดิบในมือคือ
1. โรงงานน้ำตาลเป็นเจ้าของโมลาส ซึ่งเจ้าที่อยู่ในตลาดและทำเอทานอลถ้าจำไม่ผิดมีแค่ KSL แต่ธุรกิจหลักก็คือน้ำตาลไม่ใช่เอทานอล (แต่มันก็เป็นการกระจายความเสี่ยงของธุรกิจน้ำตาลได้ดีในระดับหนึ่งเลยครับ) ส่วนของ KBS ผมว่ายังยากเนื่องจากพึ่งลงทุนสร้างโรงไฟฟ้ายังไม่น่ามีเงินสดมาลงทุนทำเอทานอล และเป็นโรงงานไม่ใหญ่มากอาจจะมีโมลาสทำได้ไม่มากนัก
2. ลานมัน หรือโรงแป้ง กลุ่มนี้จะซื้อมันสดเป็นจำนวนมากอยู่แล้วทำให้มีวัตถุดิบเป็นจำนวนมาก แต่ต้นทุนมันสำปะหลังก็ยังสูงกว่าโมลาสอยู่ดี (โมลาสเป็นผลพลอยได้ของโรงงานน้ำตาล ในทางตรงกันข้ามมันสดต้องซื้อจากชาวไร่ซึ่งต้องสู้กับโครงการรับจำนำที่ทำมันราคาแพงขึ้นไปเกินความเป็นจริง) พอทำเป็นเอทานอลก็ราคาแพง แต่ถ้าช่วงที่ความต้องการเอทานอลสูงแบบตอนนี้ ใครผลิตได้ก็คงได้กำไรทุกคนหล่ะครับ
โรงงานที่ไม่มีวัตถุดิบผมไม่พูดถึงนะครับ เพราะว่าราคาขายไม่แน่นอน แถมต้นทุนก็ยังไม่แน่นอนอีก กำไรก็จะผันผวนมากๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 51
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 13
บริษัทลูกของ LANNA คือ Thai Agro Industry มีโรงเอธานอลสองโรงแล้วครับ
พอเปิดโรงที่สองเต็มสูบช่วงต้นปี 55 ธุรกิจเอธานอลก็พลิกเป็นกำไรต่อเนื่องครับ
ตอนนี้เอธานอลล้นตลาดอยู่บ้าง แต่เข้าใจว่า Thai Agro Industry มีสัญญาขายอยู่กับ TOP ก็เลยไม่กระเทือน
พอเปิดโรงที่สองเต็มสูบช่วงต้นปี 55 ธุรกิจเอธานอลก็พลิกเป็นกำไรต่อเนื่องครับ
ตอนนี้เอธานอลล้นตลาดอยู่บ้าง แต่เข้าใจว่า Thai Agro Industry มีสัญญาขายอยู่กับ TOP ก็เลยไม่กระเทือน
- KentaII
- Verified User
- โพสต์: 382
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 14
ถึงแม้ Ethanol จะ oversupply ในตลาด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องดูรายละเอียดแต่ละราย ไปครับ บางเจ้าขายได้หมดตามกำลังการผลิตเลย อย่างเช่น Thai agro แต่บางเจ้าก็ยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่
ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "แมงเม่า" เขาผู้นั้นมักไม่ใช่แมงเม่า...แต่ผู้ใดบอกว่าตัวเองเป็น "เซียน" เขาผู้นั้น จะกลายเป็น แมงเม่าในไม่ช้า เพราะเขา "หยุดพัฒนาตนเอง"
-
- Verified User
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 15
Biofuels Annual Report 2013 - Thailand. Full report can be downloaded from the link below.
http://gain.fas.usda.gov/Recent%20GAIN% ... 8-2013.pdf
This report gives an overview of the current situation of ethanol and biodiesel in Thailand.
Below is the executive summary (for the ethanol part)
In 2013, ethanol consumption will likely double to 800 million liters or approximately 2.2 million liters per day compared to 1.1 million liters in 2012. The expected increase is attributed to an increase in E10 (a mixture of 10 percent ethanol and 90 percent gasoline) and E20 (a mixture of 20 percent ethanol and 80 percent gasoline) gasohol consumption driven by the government’s decision to phase out the use of Octane 91 regular gasoline. The elimination of Octane 91 has increased the use of E10 and E20 gasohol to 20 million liters per day compared to 12.2 million liters per day in 2012.
The increase in ethanol consumption is likely to result in tighter ethanol supplies, particularly during the last quarter of 2013 when feedstock supplies of molasses are expected to be limited. Molasses accounts for 80 percent of the total feedstock used to produce ethanol. The current upward pressure on molasses prices is likely to make cassava-based ethanol production more viable. In 2014, ethanol production is expected to increase to approximately 2.7 million liters per day (about 1 billion liters for the whole year), up 7 to 8 percent from around 2.5 million liters per day in 2013. Cassava-based ethanol production is likely to account for 20 to 30 percent of total ethanol production, up from approximately 15 to 20 percent in 2013. Tight ethanol supplies will likely limit ethanol exports to 130 million liters in 2013.
http://gain.fas.usda.gov/Recent%20GAIN% ... 8-2013.pdf
This report gives an overview of the current situation of ethanol and biodiesel in Thailand.
Below is the executive summary (for the ethanol part)
In 2013, ethanol consumption will likely double to 800 million liters or approximately 2.2 million liters per day compared to 1.1 million liters in 2012. The expected increase is attributed to an increase in E10 (a mixture of 10 percent ethanol and 90 percent gasoline) and E20 (a mixture of 20 percent ethanol and 80 percent gasoline) gasohol consumption driven by the government’s decision to phase out the use of Octane 91 regular gasoline. The elimination of Octane 91 has increased the use of E10 and E20 gasohol to 20 million liters per day compared to 12.2 million liters per day in 2012.
The increase in ethanol consumption is likely to result in tighter ethanol supplies, particularly during the last quarter of 2013 when feedstock supplies of molasses are expected to be limited. Molasses accounts for 80 percent of the total feedstock used to produce ethanol. The current upward pressure on molasses prices is likely to make cassava-based ethanol production more viable. In 2014, ethanol production is expected to increase to approximately 2.7 million liters per day (about 1 billion liters for the whole year), up 7 to 8 percent from around 2.5 million liters per day in 2013. Cassava-based ethanol production is likely to account for 20 to 30 percent of total ethanol production, up from approximately 15 to 20 percent in 2013. Tight ethanol supplies will likely limit ethanol exports to 130 million liters in 2013.
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 79
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 16
แก้ Link ให้ครับ http://gain.fas.usda.gov/Recent%20GAIN% ... 8-2013.pdfoffshore-engineer เขียน:Biofuels Annual Report 2013 - Thailand. Full report can be downloaded from the link below.
http://gain.fas.usda.gov/Recent%20GAIN% ... 8-2013.pdf
This report gives an overview of the current situation of ethanol and biodiesel in Thailand.
Below is the executive summary (for the ethanol part)
In 2013, ethanol consumption will likely double to 800 million liters or approximately 2.2 million liters per day compared to 1.1 million liters in 2012. The expected increase is attributed to an increase in E10 (a mixture of 10 percent ethanol and 90 percent gasoline) and E20 (a mixture of 20 percent ethanol and 80 percent gasoline) gasohol consumption driven by the government’s decision to phase out the use of Octane 91 regular gasoline. The elimination of Octane 91 has increased the use of E10 and E20 gasohol to 20 million liters per day compared to 12.2 million liters per day in 2012.
The increase in ethanol consumption is likely to result in tighter ethanol supplies, particularly during the last quarter of 2013 when feedstock supplies of molasses are expected to be limited. Molasses accounts for 80 percent of the total feedstock used to produce ethanol. The current upward pressure on molasses prices is likely to make cassava-based ethanol production more viable. In 2014, ethanol production is expected to increase to approximately 2.7 million liters per day (about 1 billion liters for the whole year), up 7 to 8 percent from around 2.5 million liters per day in 2013. Cassava-based ethanol production is likely to account for 20 to 30 percent of total ethanol production, up from approximately 15 to 20 percent in 2013. Tight ethanol supplies will likely limit ethanol exports to 130 million liters in 2013.
-
- Verified User
- โพสต์: 79
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 17
ส่วนตัวผมมองว่าต้องจับตามองครับว่าการเปลี่ยนแปลงในตลาดเอทานอลในประเทศจะเป็น Structural Change ที่ Sustain หรือไม่ ซึ่งขณะนี้จะพบว่าราคาเอทานอลในประเทศอยู่ในระดับ 27-30 บาทต่อลิตร ซึ่งสูงกว่าราคาในต่างประเทศถึงราว 20% โดยที่ยังยืนอยู่ได้เนื่องจากเอทานอลถูกห้ามมิให้นำเข้า ประกอบกับการยกเลิกเบนซิน 91 จึงทำให้ Demand ในเอทานอลเพิ่มขึ้นกระทันหัน แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าจับตามองคือ Capacity ใหม่ที่จะเพิ่มเข้ามา ประกอบกับ Capacity เดิม ซึ่งโรงเอทานอลส่วนใหญ่ Run อยู่ในระดับ 60-70% ของ Capacity เท่านั้น
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1369
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 18
วัตถุดิบก็เป็นเรื่องสำคัญครับ สาเหตุส่วนหนึ่งที่รันได้ไม่เต็มแค็ปเพราะขาดแคลนวัตถุดิบ
บ.น้ำตาลไม่น่าห่วง เพิ่มกำลังการผลิตมาก็มีวัตถุดิบรองรับ
หากอนาคตมีการแก้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ สามารถผลิตเอทานอลจากน้ำตาลได้โดยตรง
ก็สามารถยืดหยุ่นมากขึ้น
แต่บ.ที่มาผสมโรงด้วยโดยพึ่งพิงวัตถุดิบจากที่อื่นนี่ต้องคิดให้ดีเพราะอาจจะแย่งชิงวัตถุดิบกันจนไม่่คุ้ม
บ.น้ำตาลไม่น่าห่วง เพิ่มกำลังการผลิตมาก็มีวัตถุดิบรองรับ
หากอนาคตมีการแก้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ สามารถผลิตเอทานอลจากน้ำตาลได้โดยตรง
ก็สามารถยืดหยุ่นมากขึ้น
แต่บ.ที่มาผสมโรงด้วยโดยพึ่งพิงวัตถุดิบจากที่อื่นนี่ต้องคิดให้ดีเพราะอาจจะแย่งชิงวัตถุดิบกันจนไม่่คุ้ม
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 20
http://www.eppo.go.th/petro/price/
ลิ้งข้างบนจะเป็นโครงสร้างราคาน้ำมัน ซึ่งในนั้นจะมีราคาเอทานอลอยู่ด้วย โดยราคาที่เราเห็นจะเป็นราคาเอทานอลที่เฉลี่ยระหว่างเอทานอลจากโมลาสและมันสำปะหลังครับ ตอนนี้อยู่ที่ 26.24 บาทต่อลิตร (17 ก.ค.56)
เมื่อเราขึ้นไปดูราคาเบนซินหน้าโรงกลั่นคือ 25.99 บาทต่อลิตร (เปรียบเทียบราคาหน้าโรงกลั่น ไม่รวมภาษีและอื่นๆ) ราคาเอทานอลและเบนซินที่เราเห็นดูใกล้กันมาก แต่เอทานอลกินน้ำมันมากกว่าเบนซินประมาณ 20-25%
ผมถามความเห็นหลายๆท่านครับ ว่าคุณคิดยังไง
1. แพงกว่าน้ำมันก็ไม่เป็นไร ผมช่วยเกษตรกร ผมช่วยชาติ ผมรักสิ่งแวดล้อม
2. ผมก็ช่วยชาติ แต่ให้ราคาเอทานอลมันถูกกว่าเบนซินหน่อยได้มั้ย เพราะว่ามันกินน้ำมันมากกว่าเบนซิน 25%
3. ความคิดเห็นอื่นๆ
ผมอยากฟังความคิดเห็นของหลายๆคนในประเด็นนี้
ขอบคุณที่ตอบตามตรงครับ
ลิ้งข้างบนจะเป็นโครงสร้างราคาน้ำมัน ซึ่งในนั้นจะมีราคาเอทานอลอยู่ด้วย โดยราคาที่เราเห็นจะเป็นราคาเอทานอลที่เฉลี่ยระหว่างเอทานอลจากโมลาสและมันสำปะหลังครับ ตอนนี้อยู่ที่ 26.24 บาทต่อลิตร (17 ก.ค.56)
เมื่อเราขึ้นไปดูราคาเบนซินหน้าโรงกลั่นคือ 25.99 บาทต่อลิตร (เปรียบเทียบราคาหน้าโรงกลั่น ไม่รวมภาษีและอื่นๆ) ราคาเอทานอลและเบนซินที่เราเห็นดูใกล้กันมาก แต่เอทานอลกินน้ำมันมากกว่าเบนซินประมาณ 20-25%
ผมถามความเห็นหลายๆท่านครับ ว่าคุณคิดยังไง
1. แพงกว่าน้ำมันก็ไม่เป็นไร ผมช่วยเกษตรกร ผมช่วยชาติ ผมรักสิ่งแวดล้อม
2. ผมก็ช่วยชาติ แต่ให้ราคาเอทานอลมันถูกกว่าเบนซินหน่อยได้มั้ย เพราะว่ามันกินน้ำมันมากกว่าเบนซิน 25%
3. ความคิดเห็นอื่นๆ
ผมอยากฟังความคิดเห็นของหลายๆคนในประเด็นนี้
ขอบคุณที่ตอบตามตรงครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 51
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 21
นโยบายใช้เอธานอลแรกเริ่มที่บราซิล ที่มีการปลูกอ้อยและโรงน้ำตาลเยอะ แล้วพอหมักทำเอธานอลก็ได้ yield ดี บริษัทน้ำมันบราซิลก็เลยเอามาผสมน้ำมันขาย กำไรเป็นล่ำเป็นสัน (คุ้นๆ ว่าเป็น Petrobras)
อเมริกาก็เอามั่ง ต้องการพึ่ง fossil fuel น้อยลง มีการรณรงค์ใช้พลังงานที่ยั่งยืน (Renewable energy) อเมริกาปลูกข้าวโพดเยอะ เลยใช้ข้าวโพดทำเอธานอล แต่บอกได้เลยว่าขาดทุนยับ บวกต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าหมัก ต้นทุนแพงกว่าเอธานอลของบราซิลหลายเท่าตัว โครงการยังอยู่ได้เพราะรัฐบาลอเมริกาออกเงิน subsidize อยู่ ตอนนี้ผู้ส่งออกเอธานอลหลักก็เป็นบราซิลกับอเมริกา
ไทยเราก็เลียนแบบนโยบายอเมริกา BOI ส่งเสริมโรงหมักเอธานอลหลายโรงมาก ๆ แต่เรายังโชคดีที่เอากากน้ำตาลกับมันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบได้ ต้นทุนเราก็เลยพออยู่ได้ ไม่ต้องคอยพึ่งรัฐบาล ระยะยาวเอธานอลคงพออยู่ได้ครับ แต่มาแบบบิดเบี้ยว เพราะในความเป็นจริง มันไม่มีความจำเป็น สงสารคนที่ขับรถหรือมอเตอร์ไซค์รุ่นเก่าๆ ต้องไปเปลี่ยนเครื่อง ไม่งั้นเอธานอลกัดพังหมด
ส่วนตัว ผมคิดว่าพลังงานทางเลือก Biodiesel จากน้ำมันปาล์มเป็นทางออกที่สมเหตุสมผลที่สุด เราดวงดีที่แผ่นดินเรามีน้ำเหลือเฟือ ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำเยอะ (แทบจะปลูกในนาข้าวได้) และให้ yield น้ำมันปาล์มได้ถึง 30% สูงกว่าพืชน้ำมันอื่น ๆ ลิบลับ ต้นทุนที่แท้จริงก็สู้น้ำมันดิบได้ แต่บริษัทน้ำมันใหญ่ๆ มันกลัวกันมาก เพราะมันจะผูกขาดยากขึ้น ผมคาดว่าคงยังเกิดไม่ได้ไปอีกสักพัก [ท่านที่เป็นวิศวกรเครื่องยนต์หลายท่านคงจำได้ว่าเครื่องดีเซลรุ่นแรกเขาพัฒนามาใช้กับน้ำมันพืช ผมอ่านเจอว่ามีวิศวกรเครื่องยนต์ต่างประเทศเอาน้ำมันพืชไปผสมกับน้ำมันธรรมดา คุ้นๆ ว่าประมาณ 8:2 (ต้องไปทดสอบดูอีกที) ไปใช้กับเครื่องดีเซลได้เหมาะเจาะ ไม่มีปัญหา น้ำมันปาล์มก็คงไม่ต่างกันเท่าไหร่]
สังเกตได้ง่าย ๆ ว่าบริษัทน้ำมันใหญ่ๆ จะสร้างภาพ ว่าสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังแสงอาทิตย์ พลังลม ฯลฯ แต่จะไม่มีทางสนับสนุนน้ำมันปาล์ม เพราะโรงสกัด โรงกลั่น มันทำง่ายเกินไป ใครๆ ก็ทำได้ บริษัทน้ำมันเสียประโยชน์เขาก็เลยไม่ทำ
อเมริกาก็เอามั่ง ต้องการพึ่ง fossil fuel น้อยลง มีการรณรงค์ใช้พลังงานที่ยั่งยืน (Renewable energy) อเมริกาปลูกข้าวโพดเยอะ เลยใช้ข้าวโพดทำเอธานอล แต่บอกได้เลยว่าขาดทุนยับ บวกต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าหมัก ต้นทุนแพงกว่าเอธานอลของบราซิลหลายเท่าตัว โครงการยังอยู่ได้เพราะรัฐบาลอเมริกาออกเงิน subsidize อยู่ ตอนนี้ผู้ส่งออกเอธานอลหลักก็เป็นบราซิลกับอเมริกา
ไทยเราก็เลียนแบบนโยบายอเมริกา BOI ส่งเสริมโรงหมักเอธานอลหลายโรงมาก ๆ แต่เรายังโชคดีที่เอากากน้ำตาลกับมันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบได้ ต้นทุนเราก็เลยพออยู่ได้ ไม่ต้องคอยพึ่งรัฐบาล ระยะยาวเอธานอลคงพออยู่ได้ครับ แต่มาแบบบิดเบี้ยว เพราะในความเป็นจริง มันไม่มีความจำเป็น สงสารคนที่ขับรถหรือมอเตอร์ไซค์รุ่นเก่าๆ ต้องไปเปลี่ยนเครื่อง ไม่งั้นเอธานอลกัดพังหมด
ส่วนตัว ผมคิดว่าพลังงานทางเลือก Biodiesel จากน้ำมันปาล์มเป็นทางออกที่สมเหตุสมผลที่สุด เราดวงดีที่แผ่นดินเรามีน้ำเหลือเฟือ ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำเยอะ (แทบจะปลูกในนาข้าวได้) และให้ yield น้ำมันปาล์มได้ถึง 30% สูงกว่าพืชน้ำมันอื่น ๆ ลิบลับ ต้นทุนที่แท้จริงก็สู้น้ำมันดิบได้ แต่บริษัทน้ำมันใหญ่ๆ มันกลัวกันมาก เพราะมันจะผูกขาดยากขึ้น ผมคาดว่าคงยังเกิดไม่ได้ไปอีกสักพัก [ท่านที่เป็นวิศวกรเครื่องยนต์หลายท่านคงจำได้ว่าเครื่องดีเซลรุ่นแรกเขาพัฒนามาใช้กับน้ำมันพืช ผมอ่านเจอว่ามีวิศวกรเครื่องยนต์ต่างประเทศเอาน้ำมันพืชไปผสมกับน้ำมันธรรมดา คุ้นๆ ว่าประมาณ 8:2 (ต้องไปทดสอบดูอีกที) ไปใช้กับเครื่องดีเซลได้เหมาะเจาะ ไม่มีปัญหา น้ำมันปาล์มก็คงไม่ต่างกันเท่าไหร่]
สังเกตได้ง่าย ๆ ว่าบริษัทน้ำมันใหญ่ๆ จะสร้างภาพ ว่าสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังแสงอาทิตย์ พลังลม ฯลฯ แต่จะไม่มีทางสนับสนุนน้ำมันปาล์ม เพราะโรงสกัด โรงกลั่น มันทำง่ายเกินไป ใครๆ ก็ทำได้ บริษัทน้ำมันเสียประโยชน์เขาก็เลยไม่ทำ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 490
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 22
ผลิตจากโมลาสหรือมันสำปะหลัง ต้นทุนถูกกว่าครับ แล้วมันมี GM ประมาณเท่าไหร่ พอมีใครทราบบ้างไหมครับ
ถ้าการผลิตจากมันสำปะหลังกำลังเติบโตผมว่า EE อาจเป็นทางเลือกอีกทางนึงครับ
ถ้าการผลิตจากมันสำปะหลังกำลังเติบโตผมว่า EE อาจเป็นทางเลือกอีกทางนึงครับ
Winstein เขียน:โรงที่สองของ Thai Agro เป็น multi-feed ครับ ใช้กากน้ำตาลก็ได้ ใช้มันสำปะหลังก็ได้
อันนี้ได้เปรียบโรงอื่นเยอะมาก
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โพสต์ที่ 23
บางจากชะลอขยายปั๊มอี20
พพ.ตั้งวงถกปรับแผนรับซื้อเอทานอลจากมัน หลังราคาสูงกว่าผลิตจากโมลาส บางจากชะลอขยายปั๊ม อี20
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ก.ค. ได้เชิญ ปตท. บางจาก และผู้ผลิตเอทานอลมาหารือถึงสถานการณ์เอทานอลด้านกำลังการผลิตและราคา โดยเฉพาะการขอความร่วมมือบริษัทน้ำมันกำหนดสัดส่วนรับซื้อเอทานอลจากมัน|สำปะหลังและกากน้ำตาล (โมลาส) ที่ทำให้มีต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น หลังจากความต้องการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ตันปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ภาครัฐได้ขอความร่วมมือ ปตท.และบางจาก ให้รับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันเฉลี่ยทั้งปี 38% และจากโมลาส 62% เพื่อพยุงราคามันที่ตกต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์ของบริษัทน้ำมันสูงขึ้น เนื่องจากเอทานอลที่ผลิตจากมันมีราคา 28 บาท/ลิตร สูงกว่าเอทานอลที่ผลิตจากโมลาสประมาณ 2-3 บาท/ลิตร และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงปลายปีที่จะหา|เอทานอลจากโมลาสไม่ได้ เพราะถูกจองซื้อล่วงหน้าจากบริษัทน้ำมันรายอื่นๆ
“พพ.จะหาทางป้องกันปัญหา โดยจะเจรจาหาตลาดเอทานอลจากโมลาสไว้รองรับ เพราะถือว่า ปตท.และบางจากให้ความร่วมมือภาครัฐช่วยรับซื้อเอทานอลจากมัน”นายอำนวย กล่าว
ด้านนายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านธุรกิจการตลาด บริษัท บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า ต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์ของบางจากสูงขึ้น เนื่องจากได้เข้าไปช่วยรับซื้อเอทานอลจากมันสัดส่วนเกือบ 50% สูงกว่าที่กระทรวงพลังงานขอให้ซื้อในสัดส่วน 38% ดังนั้นการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ อี20 ทุกๆ ลิตรจึงไม่ครอบคลุมต้นทุนที่ควรจะได้ แม้จะได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 90 สตางค์/ลิตรก็ตาม จึงจำเป็นต้องชะลอแผนการขยายปั๊ม อี20 ออกไประยะหนึ่ง จากที่มีแผนจะขยายจากปัจจุบัน 658 แห่ง เป็น 700 แห่ง ในปี 2556 แต่หากมีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนก็จะเดินหน้าขยายปั๊มตามแผนเดิม
“ยอดขายแก๊สโซฮอล์ อี20 ขยายตัวถึง 20% จากปลายปี 2555 หรือจากวันละ 7.6 แสนลิตร เป็นวันละ 9.2 แสนลิตร |แต่ปัญหาคือราคาเอทานอลเฉลี่ยที่บางจากรับซื้อมาค่อนข้าวสูง”นายยอดพจน์ กล่าว
ข้อมูลจาก posttoday.com
อ่านแล้วเหมือนบางจากเป็นคนดีมากเลยนะครับ แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่าบางจากถือหุ้นโรงงานผลิตเอทานอลที่ใช้มันฯเป็นวัตถุดิบ
พพ.ตั้งวงถกปรับแผนรับซื้อเอทานอลจากมัน หลังราคาสูงกว่าผลิตจากโมลาส บางจากชะลอขยายปั๊ม อี20
นายอำนวย ทองสถิตย์ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ก.ค. ได้เชิญ ปตท. บางจาก และผู้ผลิตเอทานอลมาหารือถึงสถานการณ์เอทานอลด้านกำลังการผลิตและราคา โดยเฉพาะการขอความร่วมมือบริษัทน้ำมันกำหนดสัดส่วนรับซื้อเอทานอลจากมัน|สำปะหลังและกากน้ำตาล (โมลาส) ที่ทำให้มีต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น หลังจากความต้องการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ตันปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ภาครัฐได้ขอความร่วมมือ ปตท.และบางจาก ให้รับซื้อเอทานอลที่ผลิตจากมันเฉลี่ยทั้งปี 38% และจากโมลาส 62% เพื่อพยุงราคามันที่ตกต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์ของบริษัทน้ำมันสูงขึ้น เนื่องจากเอทานอลที่ผลิตจากมันมีราคา 28 บาท/ลิตร สูงกว่าเอทานอลที่ผลิตจากโมลาสประมาณ 2-3 บาท/ลิตร และอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงปลายปีที่จะหา|เอทานอลจากโมลาสไม่ได้ เพราะถูกจองซื้อล่วงหน้าจากบริษัทน้ำมันรายอื่นๆ
“พพ.จะหาทางป้องกันปัญหา โดยจะเจรจาหาตลาดเอทานอลจากโมลาสไว้รองรับ เพราะถือว่า ปตท.และบางจากให้ความร่วมมือภาครัฐช่วยรับซื้อเอทานอลจากมัน”นายอำนวย กล่าว
ด้านนายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานด้านธุรกิจการตลาด บริษัท บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า ต้นทุนการผลิตแก๊สโซฮอล์ของบางจากสูงขึ้น เนื่องจากได้เข้าไปช่วยรับซื้อเอทานอลจากมันสัดส่วนเกือบ 50% สูงกว่าที่กระทรวงพลังงานขอให้ซื้อในสัดส่วน 38% ดังนั้นการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ อี20 ทุกๆ ลิตรจึงไม่ครอบคลุมต้นทุนที่ควรจะได้ แม้จะได้รับการชดเชยจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 90 สตางค์/ลิตรก็ตาม จึงจำเป็นต้องชะลอแผนการขยายปั๊ม อี20 ออกไประยะหนึ่ง จากที่มีแผนจะขยายจากปัจจุบัน 658 แห่ง เป็น 700 แห่ง ในปี 2556 แต่หากมีแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนก็จะเดินหน้าขยายปั๊มตามแผนเดิม
“ยอดขายแก๊สโซฮอล์ อี20 ขยายตัวถึง 20% จากปลายปี 2555 หรือจากวันละ 7.6 แสนลิตร เป็นวันละ 9.2 แสนลิตร |แต่ปัญหาคือราคาเอทานอลเฉลี่ยที่บางจากรับซื้อมาค่อนข้าวสูง”นายยอดพจน์ กล่าว
ข้อมูลจาก posttoday.com
อ่านแล้วเหมือนบางจากเป็นคนดีมากเลยนะครับ แต่จะมีกี่คนที่รู้ว่าบางจากถือหุ้นโรงงานผลิตเอทานอลที่ใช้มันฯเป็นวัตถุดิบ