ศุกร์ มี.ค. 15, 2013 10:20 pm | 0 คอมเมนต์
CARPENTER เขียน: ดอกเบี้ยรับ 52,122 ล้าน
ดอกเบี้ยจ่าย 126,807 ล้าน
ขาดทุนดอกเบี้ย 74,685 ล้านบาท
การขาดทุน ร่วมแสนล้านบาทต่อปี
แต่ ผวก bot ก็ยังรู้สึกเฉยๆ
ถ้าปีนี้ยังบริหารแบบเดิม ดอกเบี้ยจ่ายสูงๆ ดอกเบี้ยรับต่ำๆ ก็คงขาดทุนร่วมแสนล้านบาทต่อไป
คนโพสต์บางคนตลกมาก ถามว่าลดดอกเบี้ยแล้วได้อะไร
จริงๆแล้ว การที่ bot จ่ายดอกเบี้ยสูงควรเป็นคนตอบว่า จ่ายดอกเบี้ยสูงๆทำไม
ทั้งๆที่เงิน มันล้นโลก bot ก็ไม่อยากให้เงินไหลเข้า แต่ก็ตั้งดอกเบี้ยสูงๆ เงินมันก็ไหลเข้า
ทำไม bot ไม่พูดถึงการเพิ่มสำรองของธนาคารพาณิชย์ ถ้าไม่อยากให้คนกู้เงินมากเกินไป
ที่ไม่พูดถึงการเพิ่มสำรองเพราะ นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้นทุนเพิ่ม
bot ทำเฉพาะในสิ่งที่ธนาคารพาณิชได้เปรียบ
ที่ยกมาคือ งบกำไรขาดทุนในปี 2554 ใช่ไหมครับ ที่บอกว่า
ดอกเบี้ยรับ52,122,482,501 บาท
ดอกเบี้ยจ่าย 126,807,054,427 บาท
แต่เมื่อไปดูที่งบกระแสเงินสด
เงินสดรับดอกเบี้ย 55,994,553,388 บาท
เงินสดจ่ายดอกเบี้ย 82,531,563,374 บาท
ปัญหาคือ เงินสดรับดอกเบี้ย มันใกล้เคียงกันทั้งสองงบคืองบกำไรขาดทุน กับงบกระแสเงินสด
แต่ทำไมดอกเบี้ยจ่าย ของทั้งสองงบไม่เท่ากันละครับ
ประเด็นนี้ซิ น่าสงสัยว่ามีอะไรเกิดขึ้นหรือเปล่า
ถ้าหากเป็นบริษัท ก็ถือว่ามีการ Cap ดอกเบี้ยไปที่อื่นๆ จึงไม่เห็นในงบกระแสเงินสด
จ่ายในรูปของสินทรัพย์
ไปอ่านต่อที่หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 2
2.1 การรับรู้รายได้
รายได้ดอกเบี้ยรับรู้ตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลา โดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทบที่แท้จริง เว้นแต่จะเปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชีเฉพาะเรื่อง ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง
2.2 การรับรู้ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง
2.6 สัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ (Foregin Exchange Swap Contracts)
สัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศเป็นเครื่องมือทางการเงินที่ใช้บริหารสภาพคล่อง โดยถือเป็นการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 2 สกุล และมีสัญญาแลกเปลี่ยนเงินสกุลเดียวกันกลับคืนในอนาคต แสดงด้วยมูลค่าสุทธิของภาระคงค้างที่แปลงค่าเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นปีที่รายงาน กำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการแปลงค่าภาระคงค้างแสดงเป็นเงินสำรองอันที่เกิดจากการตีราคาสินทรัพย์และหนี้สินในส่วนของทุน และทยอยรับรู้ส่วนต่างอันเกิดจากการแลกเปลี่ยนเป็นดอกเบี้ยรับหรือดอกเบี้ยจ่ายตามระยะเวลาของสัญญา
หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 เงินสดและเงินฝาก (อันนี้ทำให้เกิดดอกเบี้ยรับ แต่ถ้าอยู่ในรูปเงินฝากต่างประเทศมีเรื่องการแปลงค่าเงินให้เป็นเงินบาทด้วย)
แต่ อ่านข้อความนี้ดีๆ "ธปท.ถือเงินฝากต่างประเทศ(ประเภทเงินฝากประจำ) เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารเงินสำรองระหว่างประเทศ มิได้ถือไว้เพื่อการชำระภาระผูกพันระยะสั้น"
หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 9 สินทรัพย์อื่น ประกอบด้วย
...... (ตัวที่ให้ดู)
ปี 2554 มีสินทรัพย์สุทธิจากสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ 9,303.7 ล้านบาท
ปี 2553 ไม่มี
รายการนี้ก่อให้เกิดดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย (ตามนโยบายที่ได้บอกไว้ในหมายเหตุประกอบงบข้อที่ 2)
หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 10 เงินรับฝาก (สิ่งที่ให้ดู)
เงินรับฝากแบบมีดอกเบี้ย
ปี 2554 มีจำนวน 33,508.0 ล้านบาท
ปี 2553 มีจำนวน 140,067.0 ล้านบาท (จะเห็นได้ลดลง 116,441 ล้านบาท ถ้าดูในปี 2554 มีการลดดอกเบี้ย)
"เงินรับฝากแบบมีดอกเบี้ย เป็นเงินรับฝากที่ ธปท. รับฝากจากสมาชิกสถาบันการเงินโดยจ่ายดอกเบี้ยเพื่อเป็นช่องทางให้สถาบันการเงินใช้ปรับสภาพคล่องสิ้นวัน และ ธปท.ใช้ควบคุมดูและอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินให้เหมาะสมในการส่งผ่านนโยบายการเงิน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาตลาดการเงิน"
หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 13 ตราสารหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย
"ตราสารหนี้ที่ ธปท.เป็นผู้ออกประกอบด้วยพันธบัตร ธปท. และตราสารหนี้ ธปท.เื่พื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงินของธปท. รวมทั้งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการของตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้ของไทย โดยในปี 2554 ธปท.มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร ธปท จำนวน 67,768.4 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยตราสารหนี้ ธปท. จำนวน 31,370.6 ล้านบาท แสดงรายการเป็นส่วนหนึ่งของดอกเบี้ยจ่าย
หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 21
21.2 สัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ธปท.มีภาระผูกพันสุทธิที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศโดยต้องซื้อเงินดอลล่าร์ สรอ.จำนวน 20,539.4 ล้านดอลล่าร์ เงินปอนด์สเตอร์ลิง 436.0 ล้านปอนด์ และเงินยูโร 14,860.9 ล้านยูโร ขายคืนเงินดอลล่าร์ออสเลีย 416.7 ล้านดอลล่าร์ เงินดอลล่าร์แคนาดา 1,708.0 ล้านดอลล่าร์ เงินเยนญี่ปุ่น 553,798.4 ล้านเยน และเงินวอนเกาหลี 863,700.0 ล้านวอน ซึ่งจะครบกำหนดในปี 2555
ทั้งนี้ ธปท. ได้แสดงมูลค่าสุทธิจากภาระคงค้างของสัญญาสวอปเงินตราต่างประเทศเป็นสินทรัพย์อื่นตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 9 หรือหนี้สินอื่นตามหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 14
ขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขขข
สรุปคือ ขาดทุนเพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนเดินไปข้างหน้าแบบลอยตัวโดยมีการบริหารจัดการ
มิใช่แบบตะกร้าเงิน
ส่วนในตลาดการเงินและตลาดตราสารหนี้ก็ดำรงเรื่องสภาพคล่อง และการส่งผ่านนโยบายให้สอดคล้องกับนโยบายที่ออก
ดังนั้น ที่ขาดทุนนั้นไม่ใช่ขาดทุนแบบไม่ได้อะไรตอบแทน แต่เป็นการขาดทุนที่ได้สิ่งอื่นที่มองไม่เห็นตอบแทนกลับคืนมา (หากไปเข้าใจ เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ลองกลับไปค้นหาดู ซึ่งยกตัวอย่างในด้านที่อัตราแลกเปลี่ยน คือบาทอ่อนค่า และเงินดอลล่าร์แข็งค่ามาก โดยยกในช่วงที่เกิดต้มยำกุ้งอธิบาย)
คงเข้าใจในสิ่งที่บอกกล่าวแล้ว ไม่มากก็น้อยกว่าขาดทุนเพราะอะไร จะได้หายสงสัย