ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลงทุน
โพสต์ที่ 1
สวัสดีค่ะ คิดอยู่นานว่าจะโพสต์ถามดีไหม เพิ่งแต่งงานมา 3 เดือนค่ะ ก่อนหน้านี้ก็เคยเห็นสามีอ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนบ้าง ก็ไม่ได้สนใจอะไร โดนคะยั้นคะยอให้อ่านอยู่เรื่อยๆ เราก็บอกปัดไป บอกไม่สนใจ ขี้เกียจ เราช่วยเก็บเงินให้สามีลงทุนแทนละกัน เค้าก็อ้างว่า อยากให้รู้ว่าเค้าเอาเงินไปทำอะไร ถ้ามันเจ๊งก็จะได้เข้าใจ สุดท้ายสิ่งที่ทำให้เราสนใจคือ ที่เค้าพูดว่า อยากให้เรารู้เรื่องการลงทุน เวลาที่เค้าไม่อยู่ เราจะได้บริหารเงินเป็นเพื่อเราเองและลูกในอนาคต พอเริ่มอ่านก็เริ่มรู้สึกว่ามันน่าสนใจมาก จนเราอยากจะเก็บเงินจากเงินเดือนมาเริ่มลงทุนเอง เราเลยสงสัยว่าถ้าต่างคนต่างลงทุนจะดีไหม มันจะกระจายเงินมากไปไหม แล้วครอบครัวอื่นเขาทำอย่างไรกัน ถ้าให้สามีลงทุนในหุ้นที่เลือกมาด้วยกัน ก็ไม่ได้แปลว่าอยากขาย หรือปรับพอร์ทเหมือนกัน รายได้เรากะสามีพอๆกัน เรามากกว่านิดหน่อย ถ้าเก็บเงินเท่าๆกันใส่กองกลาง กลัวว่าจะมีปัญหาเวลาดึงเงินมาลงทุนกันทั้งคู่ แบบว่าต่างฝ่ายต่างเชื่อมั่นในหุ้นตัวเอง ช่วงนี้กำลังวางแผนเก็บเงินอยู่ค่ะ เพราะก่อนหน้านี้ ต่างคนต่างใช้ ความจริงอยากเล่นแยกกัน จะได้มาดูว่าของใครงอกเงยมากกว่ากัน มีเพื่อนคุย ปรึกษาหาความรู้ด้วยกัน ตอนนี้เราทั้งคู่ก็ยังอ่านหนังสืออยู่ค่ะ เราอ่านมาซัก 3 เดือนเอง ยังอ่านงบไม่ค่อยเป็น เลยยังเลือกไม่ได้ ยังไม่กล้าเข้าตอนนี้ ตลาดดูร้อนแรง ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 2
แบบเดียวกันครับ แฟนผมก็ไม่ค่อยสนใจการลงทุน ยังดีที่เค้าไว้ใจเราและไม่ว่าเลย ที่เอาเงินเก็บมาลงทุน
แต่ยังไงผมก็คอยพูดกรอกหูเรื่องหุ้นที่เราถืออยู่ทุกวัน จะได้มีความรู้ติดตัวไว้บ้าง
ส่วนเรื่องการลงทุน ผมว่าแล้วแต่สะดวก จะแยกกันลงหรือลงร่วมกัน แต่บริหารจัดการเงินเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้านให้ดี กลัวว่ามาลงหุ้นหมด แล้วจะไม่เหลือสภาพคล่อง จะอึดอัดมากเวลาอยากใช้เงิน
และเรื่องการลงทุนถ้าอ่านงบการเงินยังไม่เป็น อย่าเพิ่งงทุนเลยครับ ตลาดหุุ้นไม่หนีไปไหนหรอก หาความรู้เยอะๆก่อน อีกปีก็ยังไม่สาย
แต่ยังไงผมก็คอยพูดกรอกหูเรื่องหุ้นที่เราถืออยู่ทุกวัน จะได้มีความรู้ติดตัวไว้บ้าง
ส่วนเรื่องการลงทุน ผมว่าแล้วแต่สะดวก จะแยกกันลงหรือลงร่วมกัน แต่บริหารจัดการเงินเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้านให้ดี กลัวว่ามาลงหุ้นหมด แล้วจะไม่เหลือสภาพคล่อง จะอึดอัดมากเวลาอยากใช้เงิน
และเรื่องการลงทุนถ้าอ่านงบการเงินยังไม่เป็น อย่าเพิ่งงทุนเลยครับ ตลาดหุุ้นไม่หนีไปไหนหรอก หาความรู้เยอะๆก่อน อีกปีก็ยังไม่สาย
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 915
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 3
ผมยังไม่ได้แต่งงานนะครับ อาจจะไม่เข้าถึงนัก
ตอนแรกผมว่าร่วมกันลงทุนก็ดี แต่จริงๆมันก็อาจจะมีความเห็นคนละอย่างก็ได้นะเวลาเลือกหุ้น
เลยออกมาเป็นว่า ผมว่าต่างคนต่างลงทุนเถอะครับ แต่อยากให้ใช้เวลาในการเลือกหุ้นด้วยกัน
คืออาจจะถามความคิดเห็นว่าเป็นยังไง แต่ต่างฝ่ายต่างตัดสินใจกันเอง
ผมว่าชีวิตคู่คงมีเรื่องลงทุนให้พูดคุยกันอีกเยอะเลย
ตอนแรกผมว่าร่วมกันลงทุนก็ดี แต่จริงๆมันก็อาจจะมีความเห็นคนละอย่างก็ได้นะเวลาเลือกหุ้น
เลยออกมาเป็นว่า ผมว่าต่างคนต่างลงทุนเถอะครับ แต่อยากให้ใช้เวลาในการเลือกหุ้นด้วยกัน
คืออาจจะถามความคิดเห็นว่าเป็นยังไง แต่ต่างฝ่ายต่างตัดสินใจกันเอง
ผมว่าชีวิตคู่คงมีเรื่องลงทุนให้พูดคุยกันอีกเยอะเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 338
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 4
สำหรับผม ลงทุนด้วยกันครับ
ช่วยกันเลือกหุ้น ต้องมีความเห็นตรงกันทั้งสองคนจึงจะซื้อ หรือขาย ครับ
ตอนเลือกหุ้นแต่ละคนก็จะหาข้อดีของหุ้นที่หาเอง แล้วก็ข้อด้อยของหุ้นของอีกคน
กว่าจะได้หุ้นแต่ละตัวใช้เวลาครับ แต่ก็ดีตรงที่คิดได้รอบคอบขึ้น
ตอนซื้อก็แบ่งเงินคนละครึ่ง ซื้อเท่าๆ กัน ทั้งสองพอร์ต
เวลาขายก็เหมือนกันครับ
แต่ส่วนมากผมจะเป็นคนหาข้อมูลหุ้นมาให้ แล้วให้ภรรยาหาข้อติ
ก่อนหน้านี้ตอนเล่นเก็งกำไรตีกันตลอดครับ
แต่ละวันเครียดมาก แต่ผลตอบแทนน้อยมาก
พอเปลี่ยนมาเป็นวิธีที่ว่าด้านบน ดีขึ้นมากเลยครับ
ไม่มีการโยนความผิดให้กันและกัน เพราะช่วยกันเลือก
ใจเย็นขึ้นมาก ถือหุ้นได้ยาวมาก
เพราะกว่าจะได้หุ้นแต่ละตัวใช้เวลาศึกษาพอสมควรครับ
ช่วยกันเลือกหุ้น ต้องมีความเห็นตรงกันทั้งสองคนจึงจะซื้อ หรือขาย ครับ
ตอนเลือกหุ้นแต่ละคนก็จะหาข้อดีของหุ้นที่หาเอง แล้วก็ข้อด้อยของหุ้นของอีกคน
กว่าจะได้หุ้นแต่ละตัวใช้เวลาครับ แต่ก็ดีตรงที่คิดได้รอบคอบขึ้น
ตอนซื้อก็แบ่งเงินคนละครึ่ง ซื้อเท่าๆ กัน ทั้งสองพอร์ต
เวลาขายก็เหมือนกันครับ
แต่ส่วนมากผมจะเป็นคนหาข้อมูลหุ้นมาให้ แล้วให้ภรรยาหาข้อติ
ก่อนหน้านี้ตอนเล่นเก็งกำไรตีกันตลอดครับ
แต่ละวันเครียดมาก แต่ผลตอบแทนน้อยมาก
พอเปลี่ยนมาเป็นวิธีที่ว่าด้านบน ดีขึ้นมากเลยครับ
ไม่มีการโยนความผิดให้กันและกัน เพราะช่วยกันเลือก
ใจเย็นขึ้นมาก ถือหุ้นได้ยาวมาก
เพราะกว่าจะได้หุ้นแต่ละตัวใช้เวลาศึกษาพอสมควรครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 385
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 5
ลองดูครับ หลังวิวาห์แล้วก็อาจได้แง่คิดอะไรนะ
MONEY TALK - การเงิน ก่อนวิวาห์
http://www.youtube.com/watch?v=3fuFf9aYUVU
MONEY TALK - การเงิน ก่อนวิวาห์
http://www.youtube.com/watch?v=3fuFf9aYUVU
-
- Verified User
- โพสต์: 65
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 6
ผมเองแต่งงานแล้ว อยากจะแนะนำแบบเริ่มต้นเลย ตกลงให้กันให้เข้าใจเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
เริ่มต้นตกลงได้แล้วก็มาดูเป้าหมายการลงทุนเพื่อใช้สำหรับ
- ค่าใช้จ่ายบุตร
- หลังเกษียณอายุ
- เพื่อหารายได้เพิ่มจากรายได้ประจำ(เนื่องจากรายได้ประจำไม่พอใช้จ่าย)
- เพื่อค่าใช้จ่ายเสริมความสะดวกสบายในชีวิต
- เพื่อจ่ายค่าบ้านให้หมดเร็วไว
- อื่นๆ
หลังจากที่เรากำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
เราก็สามารถลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวได้ สามารถ
-ทนต่อการเห็นการขาดทุนทั้งrealized และunrealizedได้
-ทนต่อการรวยขึ้นจากมูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้นรุนแรงได้
- ทนต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่นทุกคนรวยหมดหรือราคาหุ้นที่เย้ายวนรุนแรง
- เปรียบเทียบผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยจากแหล่งต่างๆ เช่นดอกเบี้ยบ้าน0% หุ้นก ปันผล 10% ก็ไม่ต้องรีบเอาเงินไปโป๊ะ มีส่วนต่างเห็นๆ
การหาความรู้
-อ่านหนังสือไปเรื่อยๆจบเป็นเล่มๆ หรือไม่จบก็ได้ แล้วลองคิดย้อนกลับ เราได้อะไรจากหนังสือแต่ละเล่มเพื่อเสริมทักษะการวิเคาระห์
- การวิเคราะห์ ก็มาจากองค์ความรู้ของเราที่ตกผลึกในด้านนั้นๆ
อยากเปรียบเทียบกับ เวลาพรีเซนต์งาน ถ้าเราพรีเซนต์ไปอ่านตามสไลด์ไปหรือท่องไปก็แสดงว่าเราไม่มีความรู้
แต่ถ้าเราสามารถพรีเซนต์ออกมาจากองค์ความรู้นั้นได้ ใครถามในแง่มุมไหนก็ตอบได้ (ไม่ใช่ตอบข้อมูลที่เป็นรายละเอียดนะครับ ข้อมูลที่ละเอียดต้องเป็นพนงธุรการทำ)แบบนี้เราถึงจะได้ประโยชน์ในการมองหุ้น
หวังว่าที่แนะนำคงเป็นประโยชน์นะครับ
ผมเองเป็นคนขี้เกียจอ่านหนังสือ หนังสือผมมีหลายเล่มที่ยังดูใหม่กิ๊กเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
เริ่มต้นตกลงได้แล้วก็มาดูเป้าหมายการลงทุนเพื่อใช้สำหรับ
- ค่าใช้จ่ายบุตร
- หลังเกษียณอายุ
- เพื่อหารายได้เพิ่มจากรายได้ประจำ(เนื่องจากรายได้ประจำไม่พอใช้จ่าย)
- เพื่อค่าใช้จ่ายเสริมความสะดวกสบายในชีวิต
- เพื่อจ่ายค่าบ้านให้หมดเร็วไว
- อื่นๆ
หลังจากที่เรากำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
เราก็สามารถลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวได้ สามารถ
-ทนต่อการเห็นการขาดทุนทั้งrealized และunrealizedได้
-ทนต่อการรวยขึ้นจากมูลค่าพอร์ตที่เพิ่มขึ้นรุนแรงได้
- ทนต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่นทุกคนรวยหมดหรือราคาหุ้นที่เย้ายวนรุนแรง
- เปรียบเทียบผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยจากแหล่งต่างๆ เช่นดอกเบี้ยบ้าน0% หุ้นก ปันผล 10% ก็ไม่ต้องรีบเอาเงินไปโป๊ะ มีส่วนต่างเห็นๆ
การหาความรู้
-อ่านหนังสือไปเรื่อยๆจบเป็นเล่มๆ หรือไม่จบก็ได้ แล้วลองคิดย้อนกลับ เราได้อะไรจากหนังสือแต่ละเล่มเพื่อเสริมทักษะการวิเคาระห์
- การวิเคราะห์ ก็มาจากองค์ความรู้ของเราที่ตกผลึกในด้านนั้นๆ
อยากเปรียบเทียบกับ เวลาพรีเซนต์งาน ถ้าเราพรีเซนต์ไปอ่านตามสไลด์ไปหรือท่องไปก็แสดงว่าเราไม่มีความรู้
แต่ถ้าเราสามารถพรีเซนต์ออกมาจากองค์ความรู้นั้นได้ ใครถามในแง่มุมไหนก็ตอบได้ (ไม่ใช่ตอบข้อมูลที่เป็นรายละเอียดนะครับ ข้อมูลที่ละเอียดต้องเป็นพนงธุรการทำ)แบบนี้เราถึงจะได้ประโยชน์ในการมองหุ้น
หวังว่าที่แนะนำคงเป็นประโยชน์นะครับ
ผมเองเป็นคนขี้เกียจอ่านหนังสือ หนังสือผมมีหลายเล่มที่ยังดูใหม่กิ๊กเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 7
การไม่จดทะเบียนสมรสทำเพื่ออะไรครับ ปัจจุบันตามกฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากรรายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถเสียภาษีในชื่อของภรรยาได้อยู่แล้ว ในกรณีแบบนี้ถ้าเกิดภรรยาเกิดเสียชีวิตไป และไม่มีบุตร ผลประโยชน์ตรงนี้จะตกไปที่ใครครับpaperpong เขียน:ผมเองแต่งงานแล้ว อยากจะแนะนำแบบเริ่มต้นเลย ตกลงให้กันให้เข้าใจเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
"Become a risk taker, not a risk maker"
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 8
ต่างคนก็ต่างสไตล์นะครับ... ผมเห็นเพื่อนผมคู่หนึ่งแยกกระเป๋า แยกพอร์ต แยกเรื่องการเงินทุกสิ่งทุกอย่างออกจากกัน...
แต่สำหรับคู่ของผม... ภรรยาผมจะเชื่อใจให้ผมดูแลการเงินและการลงทุนทั้งหมด แต่เงินทั้งหมดจะถือว่าเป็นของภรรยา ภรรยาผมไม่มีความรู้ที่มากเพียงพอในการลงทุนด้วยตัวเอง ผมเลยได้สั่งเสียกับภรรยาเอาไว้แล้ว หากว่าเกิดเหตุที่ทำให้ผมไม่สามารถจัดการพอร์ตให้กับภรรยาได้ ให้ไปติดต่อกับใครเพื่อช่วยดูแล และได้ฝากฝังเธอเอาไว้กับเค้าแล้วคร่าวๆ คิดว่า หากถึงเวลา เค้าน่าจะช่วยแนะนำการจัดการพอร์ตให้กับเธอได้ ช่วยเหลือในการ Transfer เงินลงทุนไปถึงมือพวก Wealth Management อีกทีหนึ่ง
อย่างไรก็ตามสไตล์การลงทุนของผมจะลงทุนในกิจการที่เราเข้าใจ ใช้บริการ และเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวอยู่แล้ว ดังนั้นภรรยาของผมจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ความเห็น ช่วยดูในเรื่องปัจจัยเชิงคุณภาพและแนวโน้มของกิจการมากกว่า เค้าจะเข้าไปคุย ทดลองใช้บริการ ถามความเคลื่อนไหว ช่วยผมติดตามกิจการในมุมของปัจจัยเชิงคุณภาพ
สุดท้าย... คู่แต่ละคู่ก็ไม่เหมือนกันแหละครับ... ต้องหาจุดตรงกลาง ที่ทั้งสองฝ่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างลงตัวและมีความสุขให้ได้
สำหรับผม... ผมดีใจที่ภรรยาผม ไว้ใจผม... แม้ขณะที่เกิดวิกฤตซับไพร์ม เงินลงทุนขาดทุนไป 60-70% เธอก็ยังไว้ใจในความสามารถของผม ร่วมฝันฝ่าอุปสรรคไปด้วยกัน... ณ ตอนนั้นทองแพง หุ้นถูก... ผมขอทองที่เธอได้มาตอนแต่งงานไปขาย เพื่อเอามาซื้อหุ้น... เธอก็เชื่อใจและไว้ เดินไปเร่ขายสมบัติที่มีอยู่น้อยนิดด้วยกัน... ซึ่งก็โชคดีที่ตัดสินใจถูก จึงทำให้มีวันนี้ได้
สำหรับผม... พอร์ตการลงทุน ไม่สำคัญเท่ากับพอร์ตของชีวิต... หากการลงทุน ทำให้ชีวิตคู่มีปัญหา ทำให้เกิดการทะเลาะกันมากเกินความจำเป็น นั่นคือสัญญาณอันตราย ว่าจุดที่ยืนอยู่ อยู่ในจุดที่เสียสมดุลเสียแล้ว... ต้องรีบปรับกลยุทธ์ ปรับวิธีการใช้ชีวิตคู่ และการลงทุนโดยด่วน... โดยส่วนตัว ผมยอมแพ้ในเกมหุ้น ดีกว่ายอมที่จะแพ้ในเกมชีวิต
แต่สำหรับคู่ของผม... ภรรยาผมจะเชื่อใจให้ผมดูแลการเงินและการลงทุนทั้งหมด แต่เงินทั้งหมดจะถือว่าเป็นของภรรยา ภรรยาผมไม่มีความรู้ที่มากเพียงพอในการลงทุนด้วยตัวเอง ผมเลยได้สั่งเสียกับภรรยาเอาไว้แล้ว หากว่าเกิดเหตุที่ทำให้ผมไม่สามารถจัดการพอร์ตให้กับภรรยาได้ ให้ไปติดต่อกับใครเพื่อช่วยดูแล และได้ฝากฝังเธอเอาไว้กับเค้าแล้วคร่าวๆ คิดว่า หากถึงเวลา เค้าน่าจะช่วยแนะนำการจัดการพอร์ตให้กับเธอได้ ช่วยเหลือในการ Transfer เงินลงทุนไปถึงมือพวก Wealth Management อีกทีหนึ่ง
อย่างไรก็ตามสไตล์การลงทุนของผมจะลงทุนในกิจการที่เราเข้าใจ ใช้บริการ และเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวอยู่แล้ว ดังนั้นภรรยาของผมจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ความเห็น ช่วยดูในเรื่องปัจจัยเชิงคุณภาพและแนวโน้มของกิจการมากกว่า เค้าจะเข้าไปคุย ทดลองใช้บริการ ถามความเคลื่อนไหว ช่วยผมติดตามกิจการในมุมของปัจจัยเชิงคุณภาพ
สุดท้าย... คู่แต่ละคู่ก็ไม่เหมือนกันแหละครับ... ต้องหาจุดตรงกลาง ที่ทั้งสองฝ่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างลงตัวและมีความสุขให้ได้
สำหรับผม... ผมดีใจที่ภรรยาผม ไว้ใจผม... แม้ขณะที่เกิดวิกฤตซับไพร์ม เงินลงทุนขาดทุนไป 60-70% เธอก็ยังไว้ใจในความสามารถของผม ร่วมฝันฝ่าอุปสรรคไปด้วยกัน... ณ ตอนนั้นทองแพง หุ้นถูก... ผมขอทองที่เธอได้มาตอนแต่งงานไปขาย เพื่อเอามาซื้อหุ้น... เธอก็เชื่อใจและไว้ เดินไปเร่ขายสมบัติที่มีอยู่น้อยนิดด้วยกัน... ซึ่งก็โชคดีที่ตัดสินใจถูก จึงทำให้มีวันนี้ได้
สำหรับผม... พอร์ตการลงทุน ไม่สำคัญเท่ากับพอร์ตของชีวิต... หากการลงทุน ทำให้ชีวิตคู่มีปัญหา ทำให้เกิดการทะเลาะกันมากเกินความจำเป็น นั่นคือสัญญาณอันตราย ว่าจุดที่ยืนอยู่ อยู่ในจุดที่เสียสมดุลเสียแล้ว... ต้องรีบปรับกลยุทธ์ ปรับวิธีการใช้ชีวิตคู่ และการลงทุนโดยด่วน... โดยส่วนตัว ผมยอมแพ้ในเกมหุ้น ดีกว่ายอมที่จะแพ้ในเกมชีวิต
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 9
เข้าใจว่าจะเป็นเรื่องleky เขียน:การไม่จดทะเบียนสมรสทำเพื่ออะไรครับ ปัจจุบันตามกฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากรรายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถเสียภาษีในชื่อของภรรยาได้อยู่แล้ว ในกรณีแบบนี้ถ้าเกิดภรรยาเกิดเสียชีวิตไป และไม่มีบุตร ผลประโยชน์ตรงนี้จะตกไปที่ใครครับpaperpong เขียน:ผมเองแต่งงานแล้ว อยากจะแนะนำแบบเริ่มต้นเลย ตกลงให้กันให้เข้าใจเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
1. การรับผิดในหนี้ เจ้าหนี้จะได้ไม่สามารถฟ้องร้องไปถึงภรรยาได้ หากเกิดปัญหา
2. มรดก สินสมรส แม้ว่าจะทำมรดกยกทรัพย์สินให้ภรรยา ก็ยังมีช่องว่างที่ทายาทโดยธรรมจะฟ้องเพื่อเรียกร้องสิทธิในมรดกได้
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- Verified User
- โพสต์: 65
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 10
หนี้สินจะตกอยู่กับสามี ในกรณีที่การลงทุนผิดพลาดทั้งหุ้นหรือการลงทุนอื่น ภรรยาไม่ต้องรับใช้หนี้ ผลปรโยชน์ทางภาษีตามที่คุณlekyกล่าวถึงเป็นผลประโยชน์พลอยได้leky เขียน:การไม่จดทะเบียนสมรสทำเพื่ออะไรครับ ปัจจุบันตามกฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากรรายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถเสียภาษีในชื่อของภรรยาได้อยู่แล้ว ในกรณีแบบนี้ถ้าเกิดภรรยาเกิดเสียชีวิตไป และไม่มีบุตร ผลประโยชน์ตรงนี้จะตกไปที่ใครครับpaperpong เขียน:ผมเองแต่งงานแล้ว อยากจะแนะนำแบบเริ่มต้นเลย ตกลงให้กันให้เข้าใจเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
ในกรณีที่ภรรยาเสียชีวิต, ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยได้มาก ทั้งเทรดอินเตอร์เนตหรือIBanking สามารถโอนเงินไปมาได้สะดวก หรือชอบแบบสั่งมาร์เก็ตติ้ง ก็เซนต์เอกสารดำเนินการแทนได้ ไม่มีปัญหา
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 11
ในกรณีของหุ้นอาจจะทำแบบนั้นได้ครับ ถึงแม้ว่าจริง ๆ ถ้าว่ากันตามตรงถ้ามีการตรวจสอบขึ้นมาการทำแบบนั้นน่าจะผิดนะครับ ถ้าภรรยาเสียชีวิตแล้วมีการขายหุ้นโอนเงินออกไปหลังจากนั้น แต่ถ้าบอกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ ให้เป็นชื่อภรรยา ในกรณีของบ้านและรถและทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่หุ้นละครับ ผมว่าน่าจะมีปัญหานะครับ อีกอย่างหนึ่งการจดทะเบียนสมรสบางครั้งอาจจะทำให้ได้สิทธิ์อื่น ๆ เช่นในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับราชการ อีกคนหนึ่งก็จะได้สิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ครับpaperpong เขียน:หนี้สินจะตกอยู่กับสามี ในกรณีที่การลงทุนผิดพลาดทั้งหุ้นหรือการลงทุนอื่น ภรรยาไม่ต้องรับใช้หนี้ ผลปรโยชน์ทางภาษีตามที่คุณlekyกล่าวถึงเป็นผลประโยชน์พลอยได้leky เขียน:การไม่จดทะเบียนสมรสทำเพื่ออะไรครับ ปัจจุบันตามกฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากรรายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถเสียภาษีในชื่อของภรรยาได้อยู่แล้ว ในกรณีแบบนี้ถ้าเกิดภรรยาเกิดเสียชีวิตไป และไม่มีบุตร ผลประโยชน์ตรงนี้จะตกไปที่ใครครับpaperpong เขียน:ผมเองแต่งงานแล้ว อยากจะแนะนำแบบเริ่มต้นเลย ตกลงให้กันให้เข้าใจเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
ในกรณีที่ภรรยาเสียชีวิต, ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยได้มาก ทั้งเทรดอินเตอร์เนตหรือIBanking สามารถโอนเงินไปมาได้สะดวก หรือชอบแบบสั่งมาร์เก็ตติ้ง ก็เซนต์เอกสารดำเนินการแทนได้ ไม่มีปัญหา
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นค่ะ ได้ไอเดียมากมายเลยค่ะ ทุกอย่างเป็นชื่อภรรยานี่ก็น่าสนใจนะคะ ต้องให้สามีมาอ่าน อยากจะวางแผนๆดี จะได้ไม่ทะเลาะกันภายหลังค่ะ สุดท้ายตั้งใจว่าจะเก็บเงินส่วนหนึ่งไว้เที่ยวตอนอายุยังไม่เยอะด้วย ไม่อยากเที่ยวตอนอายุเยอะ เดินไม่ไหว
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 13
ลองให้แฟนคุณ ดูผลตอบแทนของกองทุนหุ้น ที่ดีๆก่อนก็ได้ครับ
หรือเริ่มจาก LTF ที่ผลตอบแทนดีๆ พวกนี้อ่ะครับ อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง
ให้เขาเห็นเรื่อง เงินเฟ้อ เรื่องค่าเลีย้งดูลูก ในอนาคต พวกนี้น่าจะช่วยได้
หรือเริ่มจาก LTF ที่ผลตอบแทนดีๆ พวกนี้อ่ะครับ อาจจะต้องใช้เวลาบ้าง
ให้เขาเห็นเรื่อง เงินเฟ้อ เรื่องค่าเลีย้งดูลูก ในอนาคต พวกนี้น่าจะช่วยได้
You only live once, but if you do it right, once is enough.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 14
ผมยังไม่มีแฟนน่ะนะครับ
แต่เคยได้ยินมาว่า
ถ้าจดทะเบียนเป็นสามีภรรยาถูกต้อง
หากมีบุตร และเราไม่อยาก
ให้ญาติพี่น้องมาแบ่งทรัพย์สิน
ที่ควรเป็นของบุตรธิดาเราไป
ก็จะพิจารณาให้พอร์ตเปิดเป็นชื่อ
ของสามีภรรยาที่เป็นลูกคนเดียวครับ
แต่เคยได้ยินมาว่า
ถ้าจดทะเบียนเป็นสามีภรรยาถูกต้อง
หากมีบุตร และเราไม่อยาก
ให้ญาติพี่น้องมาแบ่งทรัพย์สิน
ที่ควรเป็นของบุตรธิดาเราไป
ก็จะพิจารณาให้พอร์ตเปิดเป็นชื่อ
ของสามีภรรยาที่เป็นลูกคนเดียวครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 20
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 15
ถ้าภรรยาทำพินัยกรรมเอาไว้น่าจะตัดปัญหาตรงนี้ได้นะคะpaperpong เขียน:หนี้สินจะตกอยู่กับสามี ในกรณีที่การลงทุนผิดพลาดทั้งหุ้นหรือการลงทุนอื่น ภรรยาไม่ต้องรับใช้หนี้ ผลปรโยชน์ทางภาษีตามที่คุณlekyกล่าวถึงเป็นผลประโยชน์พลอยได้leky เขียน:การไม่จดทะเบียนสมรสทำเพื่ออะไรครับ ปัจจุบันตามกฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากรรายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถเสียภาษีในชื่อของภรรยาได้อยู่แล้ว ในกรณีแบบนี้ถ้าเกิดภรรยาเกิดเสียชีวิตไป และไม่มีบุตร ผลประโยชน์ตรงนี้จะตกไปที่ใครครับpaperpong เขียน:ผมเองแต่งงานแล้ว อยากจะแนะนำแบบเริ่มต้นเลย ตกลงให้กันให้เข้าใจเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
ในกรณีที่ภรรยาเสียชีวิต, ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยได้มาก ทั้งเทรดอินเตอร์เนตหรือIBanking สามารถโอนเงินไปมาได้สะดวก หรือชอบแบบสั่งมาร์เก็ตติ้ง ก็เซนต์เอกสารดำเนินการแทนได้ ไม่มีปัญหา
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 16
ผมคิดว่าภรรยาให้มุมมองทางธุรกิจที่สุดยอดแก่นักลงทุนที่เป็นสามีได้ครับ
ส่วนเรื่องการเงิน ก็บ้านใครบ้านมันล่ะครับ อิอิ
ส่วนเรื่องการเงิน ก็บ้านใครบ้านมันล่ะครับ อิอิ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- BalsamiC
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 398
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 17
สำหรับผม แยกกระเป๋า แยกพอร์ท ครับ
พวกหนังสือการลงทุน หนังสือพิมพ์ธุรกิจ นิตยสารธุรกิจ ผมจะซื้อและวางไว้ ถ้าภรรยาผมว่างเค้าก็จะมาหยิบๆไปอ่านบ้าง
เวลาเปิดทีวี ผมก็จะเปิดช่อง Money Channel เป็นหลัก หลังๆจะดูช่อง กรุงเทพธุรกิจทีวี ปนๆบ้าง ซึ่งที่บ้านมีทีวีเครื่องเดียว ภรรยาผมก็เลยต้องดูด้วยโดยปริยาย แต่โชคดีที่ที่บ้านเป็น IPTV ที่ดูรายการย้อนหลังได้ ภรรยาผมเค้าเลยไม่ซีเรียสเพราะกดดูละครย้อนหลังได้ ไม่พลาดละครที่เค้าฮิตๆกัน ก็ดีคับ win-win
หุ้นในพอร์ทผมกับภรรยาแทบจะไม่เหมือนกันเลย ส่วนหนึ่งของเค้าจะเป็นพวกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่ผมไม่มี
ส่วนเรื่องปรึกษา ก็จะมีคุยกันเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เค้าจะเป็นคนถามผมว่าคิดเห็นยังไง แต่พอดีความรู้ผมยังจำกัด บ่อยครั้งที่ผมไม่มีความรู้ในหุ้นตัวนั้นเลย บางครั้งก็ต้องไปลองหาอ่านข้อมูลดูเพื่อจะได้ให้คำแนะนำหรือคุยกันต่อได้
พวกหนังสือการลงทุน หนังสือพิมพ์ธุรกิจ นิตยสารธุรกิจ ผมจะซื้อและวางไว้ ถ้าภรรยาผมว่างเค้าก็จะมาหยิบๆไปอ่านบ้าง
เวลาเปิดทีวี ผมก็จะเปิดช่อง Money Channel เป็นหลัก หลังๆจะดูช่อง กรุงเทพธุรกิจทีวี ปนๆบ้าง ซึ่งที่บ้านมีทีวีเครื่องเดียว ภรรยาผมก็เลยต้องดูด้วยโดยปริยาย แต่โชคดีที่ที่บ้านเป็น IPTV ที่ดูรายการย้อนหลังได้ ภรรยาผมเค้าเลยไม่ซีเรียสเพราะกดดูละครย้อนหลังได้ ไม่พลาดละครที่เค้าฮิตๆกัน ก็ดีคับ win-win
หุ้นในพอร์ทผมกับภรรยาแทบจะไม่เหมือนกันเลย ส่วนหนึ่งของเค้าจะเป็นพวกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่ผมไม่มี
ส่วนเรื่องปรึกษา ก็จะมีคุยกันเรื่อยๆ ส่วนใหญ่เค้าจะเป็นคนถามผมว่าคิดเห็นยังไง แต่พอดีความรู้ผมยังจำกัด บ่อยครั้งที่ผมไม่มีความรู้ในหุ้นตัวนั้นเลย บางครั้งก็ต้องไปลองหาอ่านข้อมูลดูเพื่อจะได้ให้คำแนะนำหรือคุยกันต่อได้
-
- Verified User
- โพสต์: 1219
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 18
เห็นด้วยกับพี่ๆหลายๆท่านที่แนะนำให้เลือกวิธีที่เหมาะกับเราครับ
ของผมยึดหลักคนเดียวหัวหาย 2คนเพื่อนตายครับ
ที่ผมเลือกร่วมมือกันเพราะผมว่าชีวิตครอบครัวมันเป็นเรื่องของเรา2คนครับ
เราได้คิด ได้ตัดสินใจ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ผมว่ามันได้อะไรมากกว่าความสำเร็จจากการลงทุนครับ
มีบ่อยครั้งที่ความเห็นไม่ตรงกัน ก็ต้องยืดหยุ่นกันครับ
บางเรื่องเราก็ให้เค้าเป็นใหญ่ บางเรื่องเราต้องเป็นใหญ่ในการตัดสินใจ
แฮ่...แต่ส่วนมากในครอบครัวผม
แฟนมักเป็นใหญ่ครับ
ของผมยึดหลักคนเดียวหัวหาย 2คนเพื่อนตายครับ
ที่ผมเลือกร่วมมือกันเพราะผมว่าชีวิตครอบครัวมันเป็นเรื่องของเรา2คนครับ
เราได้คิด ได้ตัดสินใจ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ผมว่ามันได้อะไรมากกว่าความสำเร็จจากการลงทุนครับ
มีบ่อยครั้งที่ความเห็นไม่ตรงกัน ก็ต้องยืดหยุ่นกันครับ
บางเรื่องเราก็ให้เค้าเป็นใหญ่ บางเรื่องเราต้องเป็นใหญ่ในการตัดสินใจ
แฮ่...แต่ส่วนมากในครอบครัวผม
แฟนมักเป็นใหญ่ครับ
ซื้อหุ้นตัวที่เมื่อมองไปในอนาคตแล้ว ที่ปัจจุบันราคายัง undervalue ที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 381
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 19
แต่ละครอบครัวปัจจัยแตกต่างกัน วิธีการย่อมแตกต่างกัน
แต่จับหลักให้ได้ว่า 1ให้ผลตอบแทนที่ดี 2ไม่ต้องทะเลาะกัน
ผมว่าก็พอเพียงแล้ว
กําไรหุ้นแต่ทะเลาะกันอาจไม่คุ้ม
ขาดทุนแล้วโกรธกันยิ่งแย่ไปใหญ่
ตอนแรกที่ผมลงทุนกําไรบ้างขาดทุนบ้าง
ภรรยาจะสอนตลอดว่าบอกแล้วให้ขาย ไม่เชื่อเป็นไงหละ
แต่ตอนนี้ไม่มาสอนแล้ว
มีแต่มาขอสตางค์ไปช็อปปิ้งอยู่เรื่อยๆ
แต่จับหลักให้ได้ว่า 1ให้ผลตอบแทนที่ดี 2ไม่ต้องทะเลาะกัน
ผมว่าก็พอเพียงแล้ว
กําไรหุ้นแต่ทะเลาะกันอาจไม่คุ้ม
ขาดทุนแล้วโกรธกันยิ่งแย่ไปใหญ่
ตอนแรกที่ผมลงทุนกําไรบ้างขาดทุนบ้าง
ภรรยาจะสอนตลอดว่าบอกแล้วให้ขาย ไม่เชื่อเป็นไงหละ
แต่ตอนนี้ไม่มาสอนแล้ว
มีแต่มาขอสตางค์ไปช็อปปิ้งอยู่เรื่อยๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 20
อาจจะดูเหมือนง่ายในหลักการ แต่ในทางปฏิบัติอาจจะไม่ง่ายครับ ถ้ามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ต้องมาตามแก้พินัยกรรมหรือเปล่าครับNaChY เขียน:ถ้าภรรยาทำพินัยกรรมเอาไว้น่าจะตัดปัญหาตรงนี้ได้นะคะpaperpong เขียน:หนี้สินจะตกอยู่กับสามี ในกรณีที่การลงทุนผิดพลาดทั้งหุ้นหรือการลงทุนอื่น ภรรยาไม่ต้องรับใช้หนี้ ผลปรโยชน์ทางภาษีตามที่คุณlekyกล่าวถึงเป็นผลประโยชน์พลอยได้leky เขียน:การไม่จดทะเบียนสมรสทำเพื่ออะไรครับ ปัจจุบันตามกฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากรรายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถเสียภาษีในชื่อของภรรยาได้อยู่แล้ว ในกรณีแบบนี้ถ้าเกิดภรรยาเกิดเสียชีวิตไป และไม่มีบุตร ผลประโยชน์ตรงนี้จะตกไปที่ใครครับpaperpong เขียน:ผมเองแต่งงานแล้ว อยากจะแนะนำแบบเริ่มต้นเลย ตกลงให้กันให้เข้าใจเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
ในกรณีที่ภรรยาเสียชีวิต, ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยได้มาก ทั้งเทรดอินเตอร์เนตหรือIBanking สามารถโอนเงินไปมาได้สะดวก หรือชอบแบบสั่งมาร์เก็ตติ้ง ก็เซนต์เอกสารดำเนินการแทนได้ ไม่มีปัญหา
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 5011
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 21
สำหรับคู่ของผม ค่อยๆศึกษา เรียนรู้ไปด้วยกัน ชีวิตนี้ไม่มีอะไรแน่นอน หากเกิดอะไรขึ้นกับอีกคนหนึ่ง ก็ยังมีอีกคนประคับประคองครอบครัวครับ ต้องลงทุนเป็นทั้งสองคน ส่วนจะแยกพอร์ตหรือไม่ ผมว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญครับ แรกเริ่มค่อยๆเรียนรู้ไปครับ ช่วงแรกของการลงทุนเงินสำคัญน้อยกว่าความรู้ครับ
--------------------------------------------
รวยด้วยรัก
http://www.thorfun.com/story/view/URtOR67rWaF3ABtA
--------------------------------------------
รวยด้วยรัก
http://www.thorfun.com/story/view/URtOR67rWaF3ABtA
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 22
เราตัดสินใจว่าเราจะแยกกันลงทุนดีกว่าค่ะ ในอนาคตค่อยดูอีกทีนึง แต่ตอนนี้ก็ศึกษาหาความรู้ไปด้วยกันก่อนดีกว่า เราค่อนข้างแพ้ทางสามีค่ะ โดนกล่อมง่าย การลงทุนก็คงเป็นหนึ่งในนั้น จากที่เราไม่สนใจ ก็เริ่มสนใจ เหมือนเค้าจะทำให้สิ่งที่เค้าชอบ สนใจ กลายเป็นสิ่งที่เราสนใจเองได้แบบเนียนๆ แบบไม่รู้สึกว่าโดนยัดเยียดเลยค่ะ เลยอยากลงทุนแบบตัดสินใจด้วยตัวเองก่อนดีกว่า แต่คงถามความเห็นบ้างในเบื้องต้น
-
- Verified User
- โพสต์: 20
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 23
ถูกค่ะคุณ leky ถ้าทำพินัยกรรมก็ต้องคอย update เป็นระยะๆ ... ชีวิตคนเราไม่แน่นอนค่ะ บางทีการทำพินัยกรรมเตรียมเอาไว้ก็ช่วยคนข้างหลังได้มากจริงๆleky เขียน:อาจจะดูเหมือนง่ายในหลักการ แต่ในทางปฏิบัติอาจจะไม่ง่ายครับ ถ้ามีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็ต้องมาตามแก้พินัยกรรมหรือเปล่าครับNaChY เขียน:ถ้าภรรยาทำพินัยกรรมเอาไว้น่าจะตัดปัญหาตรงนี้ได้นะคะpaperpong เขียน:หนี้สินจะตกอยู่กับสามี ในกรณีที่การลงทุนผิดพลาดทั้งหุ้นหรือการลงทุนอื่น ภรรยาไม่ต้องรับใช้หนี้ ผลปรโยชน์ทางภาษีตามที่คุณlekyกล่าวถึงเป็นผลประโยชน์พลอยได้leky เขียน:การไม่จดทะเบียนสมรสทำเพื่ออะไรครับ ปัจจุบันตามกฎเกณฑ์ใหม่ของกรมสรรพากรรายได้จากเงินปันผลหรือดอกเบี้ยสามารถเสียภาษีในชื่อของภรรยาได้อยู่แล้ว ในกรณีแบบนี้ถ้าเกิดภรรยาเกิดเสียชีวิตไป และไม่มีบุตร ผลประโยชน์ตรงนี้จะตกไปที่ใครครับpaperpong เขียน:ผมเองแต่งงานแล้ว อยากจะแนะนำแบบเริ่มต้นเลย ตกลงให้กันให้เข้าใจเลย
1. เปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา, และสินทรัพย์อื่นก็ควรเป็นชื่อภรรยา
2. หนี้สินให้เป็นชื่อสามีทั้งหมด
3. ไม่จดทะเบียนสมรส
4. ทำประกันชีวิตวงเงินประกันสามารถคุ้มครองหนี้สินทั้งหมด ผู้รับผลประโยชน์:ภรรยา
ในกรณีที่ภรรยาเสียชีวิต, ปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยได้มาก ทั้งเทรดอินเตอร์เนตหรือIBanking สามารถโอนเงินไปมาได้สะดวก หรือชอบแบบสั่งมาร์เก็ตติ้ง ก็เซนต์เอกสารดำเนินการแทนได้ ไม่มีปัญหา
ความเห็นส่วนตัวคิดว่าการไม่จดทะเบียนสมรสเป็นการป้องกันความเสี่ยงสำหรับครอบครัวที่ทำธุรกิจค่ะ ในกรณีที่ธุรกิจมีปัญหา ถูกฟ้องร้อง ล้มละลาย ฯลฯ อีกฝ่ายจะไม่เดือดร้อนด้วยค่ะ ถ้าลงทุนในหุ้นอย่างเดียวก็จะไม่มีความเสี่ยงตรงนี้ ไม่น่าเป็นห่วงมากเท่าไหร่
-
- Verified User
- โพสต์: 1161
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 25
ผมอยากให้ภรรยาสนใจเรื่องลงทุนมาก เคยบอกภรรยาว่าควรจะสนใจเรื่องลงทุนเผื่อผมอาจจะไม่อยู่ จะได้ดูแลทรัพย์สินและลูกได้ ถึงขนาดบอกว่าถ้าลงทุนเก่งๆแล้วจะโอนพอร์ตให้ดูแลทั้งหมดเลย
ผลก็คือ ภรรยาบอกว่า ให้ผมทำแหล่ะดีแล้ว
ผลก็คือ ภรรยาบอกว่า ให้ผมทำแหล่ะดีแล้ว
ไม่ควรลงทุนอะไร ถ้าไม่รู้สึกสบายใจในสิ่งนั้น
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 26
สำหรับผม โชคดีมากๆ ที่ภรรยาก็เป็นนักลงทุนในแนว VI เหมือนกัน เลยคุยกันรู้เรื่อง เธอจะอ่านตีแตกก่อนผมเสียด้วยซ้ำ ตอนนี้ที่เราทำคือผมจะต้องเอาข้อดีข้อเสียของหุ้นแต่ละตัวมาคุยกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าควรจะลงทุนในหุ้นนั้นหรือไม่
คู่คิด ย่อมดีกว่าคิดคนเดียวแน่นอนครับ พอช่วยกันคิด ความคิดที่แคบก็จะกว้างเข้า แต่ละคนก็มีมุมมองดีๆ มาแชร์กันนะครับ
เรื่องพื้นฐานของการดูงบ ไม่ยากเท่าไรหรอกครับ ดูคุณภาพของกิจการยากกว่าเยอะ และขอบเขตความรู้ของคู่สามีภรรยาจะช่วยกันขยายมุมมองให้กว้างขึ้น
เชียร์เลยให้ทั้งคู่ช่วยกันดูหุ้น!!!
คู่คิด ย่อมดีกว่าคิดคนเดียวแน่นอนครับ พอช่วยกันคิด ความคิดที่แคบก็จะกว้างเข้า แต่ละคนก็มีมุมมองดีๆ มาแชร์กันนะครับ
เรื่องพื้นฐานของการดูงบ ไม่ยากเท่าไรหรอกครับ ดูคุณภาพของกิจการยากกว่าเยอะ และขอบเขตความรู้ของคู่สามีภรรยาจะช่วยกันขยายมุมมองให้กว้างขึ้น
เชียร์เลยให้ทั้งคู่ช่วยกันดูหุ้น!!!
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- Verified User
- โพสต์: 65
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 27
คำแนะนำของคุณวิวรรณ ในกรุงเทพธุรกิจ 18/2/2556 น่าจะเป็นประโยชน์นะครับ
ปีนี้วันตรุษจีนกับวันวาเลนไทน์อยู่ในสัปดาห์เดียวกัน ดิฉันจึงต้องเลื่อนการเขียนถึงการเงินของครอบครัวและคู่สมรสมาไว้ในสัปดาห์นี้ ซึ่งอยู่หลังจากวันวาเลนไทน์ 4 วัน
ดิฉันเคยเขียนถึงการจัดการการเงินของครอบครัวไปแล้วเมื่อสองปีก่อนและได้รวมเล่มไว้ใน “Money Pro เงินทองต้องจัดการ”จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในบทที่ชื่อว่า “ความรักกับการเงิน” โดยเขียนวิธีการจัดการเงินทองของคู่สมรสว่าจะแยกกระเป๋า รวมกระเป๋า หรือแยกบ้างรวมบ้าง และได้ให้ข้อคิดในเรื่องการจัดการเงินๆทองๆของคู่สมรสไปบ้าง
เนื่องจากมีแฟนคอลัมน์ขอให้แนะนำวิธีจัดการเงินทองของครอบครัวมา ดิฉันจึงขอใช้โอกาสในเดือนที่มีวันแห่งความรัก เสนอข้อคิดและเทคนิคบางอย่าง เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ
ดิฉันเห็นว่าวิธีการจัดการเงินทองของคู่สมรสที่เหมาะสมกับยุคสมัยนี้ น่าจะเป็นการแยกกระเป๋าแต่รวมความรับผิดชอบ คือหากต่างฝ่ายต่างมีรายได้ ต่างฝ่ายต่างควรมีบัญชีของตนเอง มีอิสระในการใช้จ่ายเอง แต่ร่วมกันรับผิดชอบรายจ่ายและภาระทางการเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าใช้จ่ายของลูก ฯลฯ
จะใช้เทคนิคการเปิดบัญชีร่วมของสองคนสำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันก็ได้ค่ะ และต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่นำเงินในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ เข้าไปฝากในบัญชีนี้
เมื่อต้องร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและภาระทางการเงิน การจัดการงบประมาณจึงเป็นเรื่องที่สำคัญค่ะ ต้องมีการประมาณการว่า ในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี เราจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะนำเงินที่จะใช้ในเรื่องนั้นๆมาจากไหน
ยกตัวอย่าง ค่าผ่อนหนี้เงินกู้ซื้อบ้าน อาจจะมาจากกระเปาของฝ่ายชาย ในขณะที่ค่าผ่อนรถ อาจจะมาจากกระเป๋าของฝ่ายหญิง ค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในบ้านมาจากฝ่ายชาย และค่าเล่าเรียนของลูกมาจากฝ่ายหญิง เป็นต้น
หากไม่แบ่งแยกรายการ ก็ใช้วิธีคิดรวมและรับผิดชอบตามสัดส่วน เช่น รับภาระกันฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หรือกรณีฝ่ายชายมีรายได้สูงกว่า ฝ่ายชายอาจรับภาระ 60% ฝ่ายหญิงรับภาระ 40% หรือหากฝ่ายหญิงมีรายได้สูงกว่าก็อาจจะรับภาระมากกว่าเป็นต้น
งบประมาณในที่นี้ประกอบด้วย งบประมาณที่จำเป็น เช่นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเล่าเรียนลูก ฯลฯ งบประมาณเพื่อความบันเทิง เพื่อสาธารณกุศล และที่ควรจะจัดสรรเพื่อความมั่นคงของอนาคต คืองบประมาณเพื่อการเก็บออมและลงทุน
การแบ่งกระเป๋ากัน ยังหมายถึงการที่ต่างฝ่ายต่างมีบัตรเครดิตเป็นของตนเอง ทั้งนี้เมื่อแยกกันขอบัตรเครดิต อาจได้วงเงินรวมที่สูงกว่ารวมกันขอและฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบัตรเสริมอีกด้วย
อย่างไรก็ดี การได้วงเงินเพิ่มไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการมีบัตรเครดิตเป็นของตนเองค่ะ วัตถุประสงค์หลักคือต้องการให้มีความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่ตนก่อขึ้น คือให้แน่ใจว่าจะตัดสินใจซื้อต่อเมื่อมีเงินเพียงพอที่จะชำระ
หากรวมวงเงินกัน อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งยังมีวงเงินว่าง หรือมีงบประมาณเหลือ จึงขอยืมใช้ไปก่อน ซึ่งหากต่างฝ่ายต่างคิดเช่นนี้ อาจใช้จ่ายเกินกว่างบประมาณหรือรายได้ที่มีได้
นอกจากนี้ยังทำให้แต่ละฝ่ายได้สร้างเครดิตของตนเอง มีหลักฐานข้อมูลการเดินบัญชี หากวันใดวันหนึ่งในอนาคตต้องแยกจากกัน ไม่ว่าจะเนื่องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปทำงานต่างประเทศ หรือจากการหย่าร้าง หรือจากไปด้วยการเสียชีวิตก็ตาม ฝ่ายที่เหลือก็จะสามารถกู้ยืมเงิน ขอบัตรเครดิต หรือทำธุรกรรมทางการเงินในนามของตนเองได้อย่างสะดวก ไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่
คู่สมรสควรพูดคุยกันเกี่ยวกับเป้าหมายชีวิตและเป้าหมายการออมไว้ตั้งแต่ก่อนแต่งงาน และหากไม่ตรงกัน ต้องพยายามปรับให้ตรงกันหรืออย่างน้อยต้องใกล้เคียงกันค่ะ ไหนๆจะเป็นทองแผ่นเดียวกันแล้ว
การเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สิน หนี้สิน ก่อนสมรสเป็นเรื่องสำคัญ อย่าให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องประหลาดใจกับหนี้สินแปลกๆที่โผล่ขึ้นมาหลังจากแต่งงานกันแล้ว ซึ่งทำให้บางคู่ถึงกับแตกแยกกันเลยทีเดียว
นอกจากข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินแล้ว การใช้ชีวิตก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปรับเข้าหากัน ถ้าฝ่ายหญิงช่างซื้อ ฝ่ายชายช่างเก็บ(เงิน) คงจะต้องมีสักวันที่ฝ่ายชายจะลุกขึ้นมาปฎิวัติบ้าง ฝ่ายหญิงก็ต้องปรับตัวค่ะ คงไม่สามารถคิดจะซื้ออะไรก็ซื้อเหมือนก่อนแต่งงานได้
การสมรสแปลว่าคนทั้งคู่พร้อมที่จะผูกพันกัน ทั้งชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งความคิด ทั้งงบประมาณ และต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน จึงไม่ควรปิดบังข้อมูลกัน เพราะการปิดบังแสดงให้เห็นถึงการไม่ไว้วางใจ หากมาค้นพบหรือรับทราบในภายหลัง เรื่องอาจจะบานปลายไปมากกว่าที่ควรจะเป็น
ในการออมและลงทุน ต้องปรับทัศนคติเกี่ยวกับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่รับได้กันทั้งสองฝ่าย โดยทั่วไปหากแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ฝ่ายที่อนุรักษนิยมจะชนะ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าดีนะคะ การกลัวความเสี่ยงและอนุรักษนิยมมากเกินควรอาจจะทำให้เสียโอกาสการลงทุนเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งไป
อาจมีในบางกรณีที่พื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่เท่ากัน แต่ความโลภ อยากได้ผลตอบแทนสูงๆ อาจจะจูงใจทำให้หน้ามือตาลาย หากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทัดทาน ก็อาจจะพาทั้งครอบครัวไปลงเหวได้
คู่สมรสจึงควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินพื้นฐานด้วย อ่านหนังสือเล่มเดียวกันก็ดีค่ะ หรือมีบทความอะไรดีๆก็แบ่งปันกันอ่าน นำเรื่องการออมการลงทุนมาคุยกันหารือกันเป็นระยะๆ เพราะเป้าหมายชีวิตของคนเราเปลี่ยนไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ในช่วงใดของชีวิต นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความมั่นคงของหน้าที่การงาน ความมั่งคั่งโดยรวมที่มีอยู่ ณ ขณะนั้นๆ ภาระทางการเงินที่แต่ละคนมีอยู่ และลักษณะการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ที่เรามีหรืออยากมีในอนาคตด้วย
เป้าหมายชีวิตเปลี่ยนได้ แต่ชีวิตของคนเราไม่มีเป้าหมายไม่ได้ค่ะ
ปีนี้วันตรุษจีนกับวันวาเลนไทน์อยู่ในสัปดาห์เดียวกัน ดิฉันจึงต้องเลื่อนการเขียนถึงการเงินของครอบครัวและคู่สมรสมาไว้ในสัปดาห์นี้ ซึ่งอยู่หลังจากวันวาเลนไทน์ 4 วัน
ดิฉันเคยเขียนถึงการจัดการการเงินของครอบครัวไปแล้วเมื่อสองปีก่อนและได้รวมเล่มไว้ใน “Money Pro เงินทองต้องจัดการ”จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ในบทที่ชื่อว่า “ความรักกับการเงิน” โดยเขียนวิธีการจัดการเงินทองของคู่สมรสว่าจะแยกกระเป๋า รวมกระเป๋า หรือแยกบ้างรวมบ้าง และได้ให้ข้อคิดในเรื่องการจัดการเงินๆทองๆของคู่สมรสไปบ้าง
เนื่องจากมีแฟนคอลัมน์ขอให้แนะนำวิธีจัดการเงินทองของครอบครัวมา ดิฉันจึงขอใช้โอกาสในเดือนที่มีวันแห่งความรัก เสนอข้อคิดและเทคนิคบางอย่าง เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ
ดิฉันเห็นว่าวิธีการจัดการเงินทองของคู่สมรสที่เหมาะสมกับยุคสมัยนี้ น่าจะเป็นการแยกกระเป๋าแต่รวมความรับผิดชอบ คือหากต่างฝ่ายต่างมีรายได้ ต่างฝ่ายต่างควรมีบัญชีของตนเอง มีอิสระในการใช้จ่ายเอง แต่ร่วมกันรับผิดชอบรายจ่ายและภาระทางการเงิน เช่น ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าใช้จ่ายของลูก ฯลฯ
จะใช้เทคนิคการเปิดบัญชีร่วมของสองคนสำหรับค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันก็ได้ค่ะ และต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่นำเงินในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบ เข้าไปฝากในบัญชีนี้
เมื่อต้องร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและภาระทางการเงิน การจัดการงบประมาณจึงเป็นเรื่องที่สำคัญค่ะ ต้องมีการประมาณการว่า ในแต่ละเดือน หรือแต่ละปี เราจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และจะนำเงินที่จะใช้ในเรื่องนั้นๆมาจากไหน
ยกตัวอย่าง ค่าผ่อนหนี้เงินกู้ซื้อบ้าน อาจจะมาจากกระเปาของฝ่ายชาย ในขณะที่ค่าผ่อนรถ อาจจะมาจากกระเป๋าของฝ่ายหญิง ค่าอาหารและค่าใช้จ่ายในบ้านมาจากฝ่ายชาย และค่าเล่าเรียนของลูกมาจากฝ่ายหญิง เป็นต้น
หากไม่แบ่งแยกรายการ ก็ใช้วิธีคิดรวมและรับผิดชอบตามสัดส่วน เช่น รับภาระกันฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หรือกรณีฝ่ายชายมีรายได้สูงกว่า ฝ่ายชายอาจรับภาระ 60% ฝ่ายหญิงรับภาระ 40% หรือหากฝ่ายหญิงมีรายได้สูงกว่าก็อาจจะรับภาระมากกว่าเป็นต้น
งบประมาณในที่นี้ประกอบด้วย งบประมาณที่จำเป็น เช่นค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเล่าเรียนลูก ฯลฯ งบประมาณเพื่อความบันเทิง เพื่อสาธารณกุศล และที่ควรจะจัดสรรเพื่อความมั่นคงของอนาคต คืองบประมาณเพื่อการเก็บออมและลงทุน
การแบ่งกระเป๋ากัน ยังหมายถึงการที่ต่างฝ่ายต่างมีบัตรเครดิตเป็นของตนเอง ทั้งนี้เมื่อแยกกันขอบัตรเครดิต อาจได้วงเงินรวมที่สูงกว่ารวมกันขอและฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นบัตรเสริมอีกด้วย
อย่างไรก็ดี การได้วงเงินเพิ่มไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของการมีบัตรเครดิตเป็นของตนเองค่ะ วัตถุประสงค์หลักคือต้องการให้มีความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่ตนก่อขึ้น คือให้แน่ใจว่าจะตัดสินใจซื้อต่อเมื่อมีเงินเพียงพอที่จะชำระ
หากรวมวงเงินกัน อาจจะเกิดเหตุการณ์ที่คิดว่าอีกฝ่ายหนึ่งยังมีวงเงินว่าง หรือมีงบประมาณเหลือ จึงขอยืมใช้ไปก่อน ซึ่งหากต่างฝ่ายต่างคิดเช่นนี้ อาจใช้จ่ายเกินกว่างบประมาณหรือรายได้ที่มีได้
นอกจากนี้ยังทำให้แต่ละฝ่ายได้สร้างเครดิตของตนเอง มีหลักฐานข้อมูลการเดินบัญชี หากวันใดวันหนึ่งในอนาคตต้องแยกจากกัน ไม่ว่าจะเนื่องจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปทำงานต่างประเทศ หรือจากการหย่าร้าง หรือจากไปด้วยการเสียชีวิตก็ตาม ฝ่ายที่เหลือก็จะสามารถกู้ยืมเงิน ขอบัตรเครดิต หรือทำธุรกรรมทางการเงินในนามของตนเองได้อย่างสะดวก ไม่ต้องไปเริ่มต้นใหม่
คู่สมรสควรพูดคุยกันเกี่ยวกับเป้าหมายชีวิตและเป้าหมายการออมไว้ตั้งแต่ก่อนแต่งงาน และหากไม่ตรงกัน ต้องพยายามปรับให้ตรงกันหรืออย่างน้อยต้องใกล้เคียงกันค่ะ ไหนๆจะเป็นทองแผ่นเดียวกันแล้ว
การเปิดเผยข้อมูลทรัพย์สิน หนี้สิน ก่อนสมรสเป็นเรื่องสำคัญ อย่าให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องประหลาดใจกับหนี้สินแปลกๆที่โผล่ขึ้นมาหลังจากแต่งงานกันแล้ว ซึ่งทำให้บางคู่ถึงกับแตกแยกกันเลยทีเดียว
นอกจากข้อมูลทรัพย์สินและหนี้สินแล้ว การใช้ชีวิตก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปรับเข้าหากัน ถ้าฝ่ายหญิงช่างซื้อ ฝ่ายชายช่างเก็บ(เงิน) คงจะต้องมีสักวันที่ฝ่ายชายจะลุกขึ้นมาปฎิวัติบ้าง ฝ่ายหญิงก็ต้องปรับตัวค่ะ คงไม่สามารถคิดจะซื้ออะไรก็ซื้อเหมือนก่อนแต่งงานได้
การสมรสแปลว่าคนทั้งคู่พร้อมที่จะผูกพันกัน ทั้งชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งความคิด ทั้งงบประมาณ และต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน จึงไม่ควรปิดบังข้อมูลกัน เพราะการปิดบังแสดงให้เห็นถึงการไม่ไว้วางใจ หากมาค้นพบหรือรับทราบในภายหลัง เรื่องอาจจะบานปลายไปมากกว่าที่ควรจะเป็น
ในการออมและลงทุน ต้องปรับทัศนคติเกี่ยวกับความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่รับได้กันทั้งสองฝ่าย โดยทั่วไปหากแตกต่างกัน ส่วนใหญ่ฝ่ายที่อนุรักษนิยมจะชนะ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าดีนะคะ การกลัวความเสี่ยงและอนุรักษนิยมมากเกินควรอาจจะทำให้เสียโอกาสการลงทุนเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งไป
อาจมีในบางกรณีที่พื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนไม่เท่ากัน แต่ความโลภ อยากได้ผลตอบแทนสูงๆ อาจจะจูงใจทำให้หน้ามือตาลาย หากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ทัดทาน ก็อาจจะพาทั้งครอบครัวไปลงเหวได้
คู่สมรสจึงควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินพื้นฐานด้วย อ่านหนังสือเล่มเดียวกันก็ดีค่ะ หรือมีบทความอะไรดีๆก็แบ่งปันกันอ่าน นำเรื่องการออมการลงทุนมาคุยกันหารือกันเป็นระยะๆ เพราะเป้าหมายชีวิตของคนเราเปลี่ยนไปได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราอยู่ในช่วงใดของชีวิต นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความมั่นคงของหน้าที่การงาน ความมั่งคั่งโดยรวมที่มีอยู่ ณ ขณะนั้นๆ ภาระทางการเงินที่แต่ละคนมีอยู่ และลักษณะการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ที่เรามีหรืออยากมีในอนาคตด้วย
เป้าหมายชีวิตเปลี่ยนได้ แต่ชีวิตของคนเราไม่มีเป้าหมายไม่ได้ค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 1049
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 28
กรณี จขกท. ต่างคนต่างศึกษาดีมากๆครับ สองหัวย่อมดีกว่าหัวเดียวครับ
แยกพอร์ตรับผิดชอบเงินเท่าๆกัน ครับ
ส่วนผมรับเละคนเดียว ภรรยาสุดเลิฟผมไม่สนใจเลย
ผมเลยคิดว่าก็หาเงินไปเรื่อยๆ ถ้าเกิดผมไม่สามารถทำงานได้ ผมก็บอกให้เอาเงินทั้งหมดไปฝาก
แบงค์กินดอกเบี้ย ส่วนกิจการที่บ้านก็ทำกันต่อไป ก็สามารถดูแลคนในครอบครัวต่อไปได้สบายๆ
ตอนนี้ผมก็เริ่มเล่าเรื่องการลงทุนให้ลูกชายวัย 6ขวบ ได้ซึมซับไปก่อนครับ
ถามว่าแล้วเด็กขนาดนี้จะรู้เรื่องหรอ ผมยืนยันได้ครับ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นแน่ๆ ขอแค่คุณมีเวลา
ให้ลูกเล่นและเล่าเรื่องราวต่างๆ พอความผูกพันเกิดเด็กก็อยากทำเหมือนพ่อแน่ๆ ทุกวันนี้ลูกผม
บอกว่าโตขึ้นอยากเป็น นักธุรกิจเหมือนพ่อ ฮาๆ พอลูกพูดแค่นี้ผมก็รู้สึกภูมิใจในตัวเขาทันที อิอิ
แต่ผมก็ไม่ได้จะคาดหวังให้เขาเหมือนผมทุกเรื่องนะ เพราะตัวผมเองบางเรื่องก็คิดว่ายังทำได้ไม่ดี
แยกพอร์ตรับผิดชอบเงินเท่าๆกัน ครับ
ส่วนผมรับเละคนเดียว ภรรยาสุดเลิฟผมไม่สนใจเลย
ผมเลยคิดว่าก็หาเงินไปเรื่อยๆ ถ้าเกิดผมไม่สามารถทำงานได้ ผมก็บอกให้เอาเงินทั้งหมดไปฝาก
แบงค์กินดอกเบี้ย ส่วนกิจการที่บ้านก็ทำกันต่อไป ก็สามารถดูแลคนในครอบครัวต่อไปได้สบายๆ
ตอนนี้ผมก็เริ่มเล่าเรื่องการลงทุนให้ลูกชายวัย 6ขวบ ได้ซึมซับไปก่อนครับ
ถามว่าแล้วเด็กขนาดนี้จะรู้เรื่องหรอ ผมยืนยันได้ครับ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้นแน่ๆ ขอแค่คุณมีเวลา
ให้ลูกเล่นและเล่าเรื่องราวต่างๆ พอความผูกพันเกิดเด็กก็อยากทำเหมือนพ่อแน่ๆ ทุกวันนี้ลูกผม
บอกว่าโตขึ้นอยากเป็น นักธุรกิจเหมือนพ่อ ฮาๆ พอลูกพูดแค่นี้ผมก็รู้สึกภูมิใจในตัวเขาทันที อิอิ
แต่ผมก็ไม่ได้จะคาดหวังให้เขาเหมือนผมทุกเรื่องนะ เพราะตัวผมเองบางเรื่องก็คิดว่ายังทำได้ไม่ดี
อย่าหลุดแนวที่ตัวเองถนัด สู้สู้
-
- Verified User
- โพสต์: 7
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
โพสต์ที่ 29
แอบอ่านมานาน กระทู้นี้คงพอจะเอาสิ่งที่ใช้อยู่ในชีวิตคู่มาแบ่งปันให้เป็นประโยชน์กับท่านอื่นได้บ้างครับ
ผมกับภรรยาก่อนแต่งงาน เรื่องที่คุยกันให้เข้าใจเลยคือเรื่องการใช้เงิน เพราะผมเห็นจากคนรู้จักหลายๆ คู่ที่ใช้เงินโดยไม่วางแผน ทำให้ชีวิตค่อนข้างมีปัญหา
ผมและภรรยาทำงานบริษัททั้งคู่ ตกลงกันที่จะใช้ระบบ นำรายรับทั้งหมดมารวมกัน และแบ่งค่าใช้จ่ายส่วนตัวของแต่ละคน ไปจัดการเอง โดยผมได้ค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท (ค่าเดินทาง อาหาร และอื่นๆ)
ส่วนภรรยาผม 15,000 บาท (มากกว่าผม 5,000 สำหรับค่าความสวยงามของผู้หญิง ) ส่วนที่เหลือจากก้อนนี้สามารถเก็บไว้เองโดยไม่ต้องนำกลับมาคืนกองกลางครับ
และมีค่าใช้จ่ายสำหรับการไปกินข้าวนอกบ้าน ค่าช่วยงาน และสันทนาการอื่นๆ ไม่เกิน 5,000 บาท(ก้อนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้หมดครับ)
ผมและภรรยา จัดทำแผนการลงทุนของครอบครัว ล่วงหน้า 5 ปี โดยแบ่งรายละเอียด
ตามลักษณการลงทุน ทั้งหุ้น สหกรณ์ และเงินออมสำหรับฉุกเฉิน กำหนดว่าแต่ละเดือนต้องเติมเงินลงไปในกองทุนใดเท่าไหร่ และคาดหวังผลตอบแทนที่เท่าไหร่
จัดทำแผนค่าใช้จ่ายประจำปี เช่น ประกันชีวิต ประกันรถยนต์ จ่ายคืนกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ของผมเอง )
ทุกสิ้นเดือน ผมและภรรยาจะมานั่งบันทึกค่าใช้จ่ายหลักของครอบครัว เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าใช้จ่ายในบ้านเช่นค่าอินเตอร์เนท ค่าน้ำ ค่าไฟ เพื่อดูว่ามีค่าใช้จ่ายใดที่ผิดปกติไปบ้าง ผมรับหน้าที่เป็นคนจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายเอง
จากนั้น เงินที่จ่ายค่าใช่จ่ายหลักแล้ว (ผมจ่ายหนี้ก่อนครับ ) จะนำมาเติมลงในกองทุนต่างๆ ตามที่กำนดไว้ เงินส่วนที่เหลือจะนำไปเติมใส่บัญชีเงินออมฉุกเฉิน แต่บัญชีนี้จะเติมเงินไม่เกิน 200,000 บาท เพราะเอาไว้ใช้ฉุกเฉินจริงๆ
เมื่อบัญชีฉุกเฉินถึงระดับ 200,000 บาท เงินส่วนเกินจะเอามาพิจารณาเพื่อลงเพิ่มในบัญชีลงทุนต่างๆ
หลังจากบันทึกค่าใช้จ่ายหลัก และเติมเงินลงบัญชีลงทุนแล้ว จะมาวิเคราะห์กันว่าเราทำได้ตามที่ตั้งเป้าหมายระยะ 5 ปีไว้ไหม(เทียบเดือนต่อเดือน) ถ้าทำได้ตามเป้าหมาย ก็จะให้รางวัลครอบครัวโดยการไปท่องเที่ยวครับ (ผมและภรรยาชอบท่องเที่ยวต่างประเทศแบบ backpack) โดยจะมีกองที่ลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวอยู่ด้วยครับ
กองที่ลงทุนหุ้น ผมรับหน้าที่ดูแล เพราะภรรยาผมบอกว่า ทำงานเหนื่อยละ ไม่อยากมาเจอตัวเลขอีก ผมก็โอเค แต่ใช้ระบบน้ำซึมบ่อทราย ค่อยพูดๆ และให้อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจของ VI ทั้งหลาย(แกมบังคับ)
หนี้สินเช่นบ้าน คอนโดเป็นชื่อผม เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝัน ประกันสามารถครอบคลุมและภรรยาผมไม่จำเป็นต้องจ่ายหนี้ที่เหลือครับ
เท่าที่แต่งงานมา 3 ปี ยังไม่เคยมีปัญหาเรื่องเงิน มีการปรับแผนบ้างตามเล็กน้อยตามโอกาส แต่แผนหลัก 5 ปียังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงครับ
ทำแบบนี้เลยทำให้รู้สึกว่า เราวางแผนแบบ "ครอบครัว"
*เพิ่มเติม เงินที่ผมเหลือจากค่าใช้จ่ายส่วนตัว ผมก็เปิดบัญชีหุ้นไว้ต่างหาก กำไรที่ได้ก็เอาไว้ซื้อของขวัญวันเกิด และ ของขวัญครบรอบแต่งงานให้ภรรยาครับ (ราคาของตามผลกำไรประจำปี )
ท่านใดมีข้อชี้แนะ ยินดีน้อมรับครับ
ผมกับภรรยาก่อนแต่งงาน เรื่องที่คุยกันให้เข้าใจเลยคือเรื่องการใช้เงิน เพราะผมเห็นจากคนรู้จักหลายๆ คู่ที่ใช้เงินโดยไม่วางแผน ทำให้ชีวิตค่อนข้างมีปัญหา
ผมและภรรยาทำงานบริษัททั้งคู่ ตกลงกันที่จะใช้ระบบ นำรายรับทั้งหมดมารวมกัน และแบ่งค่าใช้จ่ายส่วนตัวของแต่ละคน ไปจัดการเอง โดยผมได้ค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท (ค่าเดินทาง อาหาร และอื่นๆ)
ส่วนภรรยาผม 15,000 บาท (มากกว่าผม 5,000 สำหรับค่าความสวยงามของผู้หญิง ) ส่วนที่เหลือจากก้อนนี้สามารถเก็บไว้เองโดยไม่ต้องนำกลับมาคืนกองกลางครับ
และมีค่าใช้จ่ายสำหรับการไปกินข้าวนอกบ้าน ค่าช่วยงาน และสันทนาการอื่นๆ ไม่เกิน 5,000 บาท(ก้อนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้หมดครับ)
ผมและภรรยา จัดทำแผนการลงทุนของครอบครัว ล่วงหน้า 5 ปี โดยแบ่งรายละเอียด
ตามลักษณการลงทุน ทั้งหุ้น สหกรณ์ และเงินออมสำหรับฉุกเฉิน กำหนดว่าแต่ละเดือนต้องเติมเงินลงไปในกองทุนใดเท่าไหร่ และคาดหวังผลตอบแทนที่เท่าไหร่
จัดทำแผนค่าใช้จ่ายประจำปี เช่น ประกันชีวิต ประกันรถยนต์ จ่ายคืนกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (ของผมเอง )
ทุกสิ้นเดือน ผมและภรรยาจะมานั่งบันทึกค่าใช้จ่ายหลักของครอบครัว เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าใช้จ่ายในบ้านเช่นค่าอินเตอร์เนท ค่าน้ำ ค่าไฟ เพื่อดูว่ามีค่าใช้จ่ายใดที่ผิดปกติไปบ้าง ผมรับหน้าที่เป็นคนจัดการเรื่องค่าใช้จ่ายเอง
จากนั้น เงินที่จ่ายค่าใช่จ่ายหลักแล้ว (ผมจ่ายหนี้ก่อนครับ ) จะนำมาเติมลงในกองทุนต่างๆ ตามที่กำนดไว้ เงินส่วนที่เหลือจะนำไปเติมใส่บัญชีเงินออมฉุกเฉิน แต่บัญชีนี้จะเติมเงินไม่เกิน 200,000 บาท เพราะเอาไว้ใช้ฉุกเฉินจริงๆ
เมื่อบัญชีฉุกเฉินถึงระดับ 200,000 บาท เงินส่วนเกินจะเอามาพิจารณาเพื่อลงเพิ่มในบัญชีลงทุนต่างๆ
หลังจากบันทึกค่าใช้จ่ายหลัก และเติมเงินลงบัญชีลงทุนแล้ว จะมาวิเคราะห์กันว่าเราทำได้ตามที่ตั้งเป้าหมายระยะ 5 ปีไว้ไหม(เทียบเดือนต่อเดือน) ถ้าทำได้ตามเป้าหมาย ก็จะให้รางวัลครอบครัวโดยการไปท่องเที่ยวครับ (ผมและภรรยาชอบท่องเที่ยวต่างประเทศแบบ backpack) โดยจะมีกองที่ลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวอยู่ด้วยครับ
กองที่ลงทุนหุ้น ผมรับหน้าที่ดูแล เพราะภรรยาผมบอกว่า ทำงานเหนื่อยละ ไม่อยากมาเจอตัวเลขอีก ผมก็โอเค แต่ใช้ระบบน้ำซึมบ่อทราย ค่อยพูดๆ และให้อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจของ VI ทั้งหลาย(แกมบังคับ)
หนี้สินเช่นบ้าน คอนโดเป็นชื่อผม เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝัน ประกันสามารถครอบคลุมและภรรยาผมไม่จำเป็นต้องจ่ายหนี้ที่เหลือครับ
เท่าที่แต่งงานมา 3 ปี ยังไม่เคยมีปัญหาเรื่องเงิน มีการปรับแผนบ้างตามเล็กน้อยตามโอกาส แต่แผนหลัก 5 ปียังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงครับ
ทำแบบนี้เลยทำให้รู้สึกว่า เราวางแผนแบบ "ครอบครัว"
*เพิ่มเติม เงินที่ผมเหลือจากค่าใช้จ่ายส่วนตัว ผมก็เปิดบัญชีหุ้นไว้ต่างหาก กำไรที่ได้ก็เอาไว้ซื้อของขวัญวันเกิด และ ของขวัญครบรอบแต่งงานให้ภรรยาครับ (ราคาของตามผลกำไรประจำปี )
ท่านใดมีข้อชี้แนะ ยินดีน้อมรับครับ