อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความรู้]
- PrasertsakK
- Verified User
- โพสต์: 286
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 32
ช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยได้ไหมครับว่าทำไมบริษัทอย่างนี้ถึงได้เปรียบ ? ? ? ? ? ?dr.momo เขียน: - บริษัทที่ซื้อวัตถุดิบเป็น Commo แต่ขายสินค้าเป็น Brand name จะได้เปรียบ
http://prasertsakk.blogspot.com/
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
-
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 33
เข้าใจว่าเป็นคำพูดของ Buffet นะครับ
ความหมาย ก็คงประมาณว่า
ผู้ขายคอมโมกำหนดราคาเองยาก ทำให้มาร์จินน้อย
ในขณะที่สินค้าที่เป็นแบรนด์เนม จะมีมาร์จินสูง
ถึงแม้ว่าต้นทุนที่เป็นคอมโมอาจผันผวนตามราคาตลาด แต่บริษัทที่ขายสินค้าเป็นแบรนด์ก็น่าจะปรับราคาได้ ซึ่งทำให้มีผลกระทบน้อย
ดังนั้นบริษัทที่ซื้อวัตถุดิบเป็นคอมโมและขายสินค้าที่เป็นแบรนด์จึงน่าจะได้เปรียบในระยะยาวครับ
ความหมาย ก็คงประมาณว่า
ผู้ขายคอมโมกำหนดราคาเองยาก ทำให้มาร์จินน้อย
ในขณะที่สินค้าที่เป็นแบรนด์เนม จะมีมาร์จินสูง
ถึงแม้ว่าต้นทุนที่เป็นคอมโมอาจผันผวนตามราคาตลาด แต่บริษัทที่ขายสินค้าเป็นแบรนด์ก็น่าจะปรับราคาได้ ซึ่งทำให้มีผลกระทบน้อย
ดังนั้นบริษัทที่ซื้อวัตถุดิบเป็นคอมโมและขายสินค้าที่เป็นแบรนด์จึงน่าจะได้เปรียบในระยะยาวครับ
-----------------------
มีหลายสิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้
มีหลายสิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้
และก็มีหลายสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้
สุดท้าย หลายสิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้ เราอาจจะไม่รู้ก็ได้
มีหลายสิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้
มีหลายสิ่งที่เรารู้ว่าเราไม่รู้
และก็มีหลายสิ่งที่เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้
สุดท้าย หลายสิ่งที่เรารู้ว่าเรารู้ เราอาจจะไม่รู้ก็ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 34
เช่น S&P มาม่า ซื้อแป้ง น้ำมันปามล์ เป็น commu เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า เมื่อราคาขึ้น ทางบริษัทมีอำนาจปรับราคาสินค้า เราก็ต้องยอม ลูกค้าไม่มีอำนาจในการ ต่อรองใดๆเลย ต่อมา สินค้าเป็น comu มีความผันผวนในตลาด ราคา อาจะลง แต่ เป็นไงครับ มาม่า ไม่เคยลงตามเลย กำไรก็ เพิ่มขึ้น อีกPrasertsakK เขียน:ช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยได้ไหมครับว่าทำไมบริษัทอย่างนี้ถึงได้เปรียบ ? ? ? ? ? ?dr.momo เขียน: - บริษัทที่ซื้อวัตถุดิบเป็น Commo แต่ขายสินค้าเป็น Brand name จะได้เปรียบ
-
- Verified User
- โพสต์: 282
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 36
เพิ่มเติมครับ ของพี่ฉัตรชัย
ถ้าจะดูหุ้น Turn around เราต้องรู้ว่าธุรกิจนั้นกำลังประสบปัญหาอะไรอยู่
เช่นบริษัทที่พี่ ฉัตรชัย ลงทุน
แต่ก่อนมีปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อ
เราก็ต้องดูว่ามีการปรับเปลี่ยนการบริหารหรือยัง ก็ต้องไปดูที่นโยบายถ้าอ่านแล้ว OK ก็ควรดูลูกหนี้การค้า ว่าลดลงอย่างที่กล่าวไว้มัย ชนิดที่ว่าต้องติดตาม QoQ เลยถ้าสัญญานดีขึ้นเรื่อยๆ
ก็ค่อยๆเริ่มทยอยเก็บแล้วติดตาม บริษัท ไปเรื่อยๆ
ถ้าจะดูหุ้น Turn around เราต้องรู้ว่าธุรกิจนั้นกำลังประสบปัญหาอะไรอยู่
เช่นบริษัทที่พี่ ฉัตรชัย ลงทุน
แต่ก่อนมีปัญหาเรื่องการปล่อยสินเชื่อ
เราก็ต้องดูว่ามีการปรับเปลี่ยนการบริหารหรือยัง ก็ต้องไปดูที่นโยบายถ้าอ่านแล้ว OK ก็ควรดูลูกหนี้การค้า ว่าลดลงอย่างที่กล่าวไว้มัย ชนิดที่ว่าต้องติดตาม QoQ เลยถ้าสัญญานดีขึ้นเรื่อยๆ
ก็ค่อยๆเริ่มทยอยเก็บแล้วติดตาม บริษัท ไปเรื่อยๆ
Power Of Thinking
-
- Verified User
- โพสต์: 84
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 38
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 44
มีเรื่องอยากจะแชร์เกี่ยวกับ แนวคิดการทำงานกลุ่มครับ พอดีได้อ่านหนังสือ "เรื่องของคน" ของ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ แล้วรู้สึกว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับการทำงานกลุ่มของพวกเราทุกคนนะครับ เลยขออนุญาติคัดลอกเอามาให้อ่านกันครับ
หนังสือ “เรื่องของคน” โดย นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
บทที่ 3 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (หน้า 52)
ในเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์สังคม คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ทุกวันนี้งานหลายอย่างไม่สามารถทำให้สำเร็จลุล่วงด้วยตัวคนเดียวได้ เราจึงต้องทำงานเป็นทีม
คนส่วนมากมักไม่ค่อยมีประสบการณ์ที่ดีกับการทำงานเป็นทีมเท่าไรนัก เวลาทำงานเป็นทีม ปัญหาเรื่องของคนจะมีมาก ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกบางคนในทีมพร้อมที่จะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้บรรยากาศในการทำงานของทีมเสียไป สุดท้ายแล้วทีมจึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง
ต่างกับเวลาที่เราทำงานแค่คนเดียว เมื่อเราตัดสินใจอะไร ก็ลงมือทำได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาปวดหัวกับการดิ้นรนหาข้อสรุปที่ทำให้ทุกคนในทีมเห็นพ้องต้องกัน เราจึงมักรู้สึกว่าการทำงานคนเดียวดูจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานเป็นทีม เมื่อก่อนผมเองก็เชื่ออย่างนั้น...
เมื่อครั้งที่ผมไปเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจที่ต่างประเทศ มีวิชาหนึ่ง อาจารย์แจกปัญหาอย่างหนึ่งให้นักเรียนทุกคนในห้องพยายามตอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการเอาตัวรอดในป่าดงดิบ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนสมัยนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเชี่ยวชาญเท่าไรนัก เพราะเราอาศัยอยู่ในเมืองกันตั้งแต่เกิด เมื่อนักเรียนทุกคนในห้องเขียนคำตอบของตัวเองเสร็จแล้ว อาจารย์ก็แบ่งนักเรียนทั้งห้องออกเป็นสิบสอง กลุ่ม กลุ่มละห้าคน คราวนี้อาจารย์ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบของปัญหาเดิมอีกครั้ง แต่มีข้อแม้ว่า แต่ละกลุ่มจะต้องไม่หาข้อสรุปของกลุ่มด้วยวิธีการโหวตเด็ดขาด สมาชิกแต่ละคนต้องพยายามถกเถียงกัน จนกว่าจะได้คำตอบสุดท้ายที่เป็นมติของกลุ่มออกมา
การโต้เถียงในกลุ่มของผมดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อนจนในที่สุด เมื่อใกล้จะหมดเวลา เราก็ได้คำตอบของกลุ่มออกมาซึ่งเป็นคำตอบที่ไม่มีสมาชิกคนใดในกลุ่มเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นคำตอบที่ทุกคนในกลุ่มพอจะยอมรับได้ ตอนนั้นผมคิดในใจว่า กลุ่มของผมคงทำคะแนนได้ไม่ดีนัก เพราะผมรู้สึกว่ากลุ่มของเราขัดแย้งกันมาก และคำตอบที่ได้ก็ดูเหมือนจะมีจุดอ่อนอยู่หลายอย่างในความคิดของผม ผมมั่นใจในคำตอบของผมเองมากกว่า
เมื่อทุกกลุ่มส่งคำตอบครบหมดแล้ว อาจารย์ก็เฉลยคำตอบที่ถูกต้องแล้วเอาคำตอบของแต่ละกลุ่มรวมทั้งคำตอบของนักเรียนแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน ผลปรากฏว่า คำตอบของทุกกลุ่มได้คะแนนสูงกว่าคำตอบของสมาชิกเกือบทุกคนที่อยู่ในกลุ่มนั้น นับเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก
กิจกรรมในวันนั้นทำให้ผมและเพื่อนร่วมห้องทุกคนรู้สึกทึ่งในพลังความคิดของทีม ดูเหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “หลายหัวดีกว่าหัวเดียว” จะเป็นความจริง แต่อะไรล่ะคือเหตุผลที่ทำให้ทีมสามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนหนึ่งคน?
หนังสือ “เรื่องของคน” โดย นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
บทที่ 3 มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (หน้า 52)
ในเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์สังคม คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม ทุกวันนี้งานหลายอย่างไม่สามารถทำให้สำเร็จลุล่วงด้วยตัวคนเดียวได้ เราจึงต้องทำงานเป็นทีม
คนส่วนมากมักไม่ค่อยมีประสบการณ์ที่ดีกับการทำงานเป็นทีมเท่าไรนัก เวลาทำงานเป็นทีม ปัญหาเรื่องของคนจะมีมาก ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกบางคนในทีมพร้อมที่จะปะทุขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้บรรยากาศในการทำงานของทีมเสียไป สุดท้ายแล้วทีมจึงไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เพราะเต็มไปด้วยความขัดแย้ง
ต่างกับเวลาที่เราทำงานแค่คนเดียว เมื่อเราตัดสินใจอะไร ก็ลงมือทำได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาปวดหัวกับการดิ้นรนหาข้อสรุปที่ทำให้ทุกคนในทีมเห็นพ้องต้องกัน เราจึงมักรู้สึกว่าการทำงานคนเดียวดูจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานเป็นทีม เมื่อก่อนผมเองก็เชื่ออย่างนั้น...
เมื่อครั้งที่ผมไปเรียนปริญญาโทบริหารธุรกิจที่ต่างประเทศ มีวิชาหนึ่ง อาจารย์แจกปัญหาอย่างหนึ่งให้นักเรียนทุกคนในห้องพยายามตอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับการเอาตัวรอดในป่าดงดิบ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนสมัยนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความเชี่ยวชาญเท่าไรนัก เพราะเราอาศัยอยู่ในเมืองกันตั้งแต่เกิด เมื่อนักเรียนทุกคนในห้องเขียนคำตอบของตัวเองเสร็จแล้ว อาจารย์ก็แบ่งนักเรียนทั้งห้องออกเป็นสิบสอง กลุ่ม กลุ่มละห้าคน คราวนี้อาจารย์ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบของปัญหาเดิมอีกครั้ง แต่มีข้อแม้ว่า แต่ละกลุ่มจะต้องไม่หาข้อสรุปของกลุ่มด้วยวิธีการโหวตเด็ดขาด สมาชิกแต่ละคนต้องพยายามถกเถียงกัน จนกว่าจะได้คำตอบสุดท้ายที่เป็นมติของกลุ่มออกมา
การโต้เถียงในกลุ่มของผมดำเนินไปอย่างเผ็ดร้อนจนในที่สุด เมื่อใกล้จะหมดเวลา เราก็ได้คำตอบของกลุ่มออกมาซึ่งเป็นคำตอบที่ไม่มีสมาชิกคนใดในกลุ่มเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นคำตอบที่ทุกคนในกลุ่มพอจะยอมรับได้ ตอนนั้นผมคิดในใจว่า กลุ่มของผมคงทำคะแนนได้ไม่ดีนัก เพราะผมรู้สึกว่ากลุ่มของเราขัดแย้งกันมาก และคำตอบที่ได้ก็ดูเหมือนจะมีจุดอ่อนอยู่หลายอย่างในความคิดของผม ผมมั่นใจในคำตอบของผมเองมากกว่า
เมื่อทุกกลุ่มส่งคำตอบครบหมดแล้ว อาจารย์ก็เฉลยคำตอบที่ถูกต้องแล้วเอาคำตอบของแต่ละกลุ่มรวมทั้งคำตอบของนักเรียนแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน ผลปรากฏว่า คำตอบของทุกกลุ่มได้คะแนนสูงกว่าคำตอบของสมาชิกเกือบทุกคนที่อยู่ในกลุ่มนั้น นับเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก
กิจกรรมในวันนั้นทำให้ผมและเพื่อนร่วมห้องทุกคนรู้สึกทึ่งในพลังความคิดของทีม ดูเหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “หลายหัวดีกว่าหัวเดียว” จะเป็นความจริง แต่อะไรล่ะคือเหตุผลที่ทำให้ทีมสามารถแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนหนึ่งคน?
-
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 45
(ต่อ)เหตุผลอย่างแรกที่ทำให้ทีมมักจะเก่งกว่าคนคนเดียวคือ ถ้าปัญหานั้นต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การที่มีจำนวนคนมากขึ้น ย่อมทำให้โอกาสที่จะมีใครบางคนในทีมที่มีความชำนาญในเรื่องนั้นมีสูงขึ้นด้วย
เหตุผลประการต่อมาคือ คนแต่ละคนจะมองปัญหาเดียวกันในมุมมองที่ต่างกันเสมอ ดังนั้นการแก้ปัญหาเป็นทีมจึงสามารถมองปัญหาได้รอบด้านมากกว่าคนคนเดียว ต่อให้คนนั้นจะเป็นที่มีความชำนาญในเรื่องนั้นมากที่สุดในทีมก็ตาม เพราะคนคนเดียวมักมองปัญหาไม่รอบด้าน ทำให้มีโอกาสผิดพลาดจากการมองข้ามมุมมองบางมุมของปัญหานั้นที่มีความสำคัญไป
ใครที่ชอบซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องยนต์กลไกต่างๆ เช่น รถยนต์ ด้วยตนเอง เป็นต้น จะเข้าใจถึงประเด็นนี้ได้ดี คนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องรถยนต์มากๆ ก็ สามารถ “ตกม้าตาย” กับปัญหาของรถบางคันได้ง่ายๆ เช่น บางทีหาต้นตอของปัญหาไม่พบเพียงเพราะลืมต่อสายไฟ เป็นต้น ความที่เราเชี่ยวชาญในเรื่องบางเรื่องมากเกินไปทำให้มั่นใจมากเกินไป และมัวแต่พุ่งประเด็นไปที่ด้านใดด้านหนึ่งของปัญหา จนลืมมองด้านอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นด้านที่ดูง่ายเกินไป แต่ที่จริงแล้วกลับเป็นต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การได้รับฟังความเห็นจากคนที่มีความชำนาญน้อยกว่า กลับช่วยทำให้ผู้เชี่ยวชาญมองปัญหาได้กว้างขึ้น ดังนั้นทีมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญล้วนๆ ก็อาจแก้ปัญหาได้ไม่ดีเท่ากับทีมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญผสมกับคนธรรมดาทั่วไป
ปัญหาที่ทีมจะแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนคนเดียวมากเป็นพิเศษคือ ปัญหาที่มีเรื่องของความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้องด้วยมากๆ เช่น การคาดการณ์อนาคตบางอย่าง การประมาณการยอดขายสินค้าในปีหน้า การวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อน การซ่อมสิ่งของ การวิเคราะห์การลงทุน เป็นต้น โดยปกติแล้ว ปัญหาเหล่านี้แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญที่สุดก็ยังมีโอกาสตอบถูกได้ไม่มากนัก เราพบว่า ทีมที่ประกอบด้วยคนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นมาก และคนที่มีความเชี่ยวชาญน้อย กลับแก้ปัญหาได้ดีกว่า ทีมที่ประกอบด้วยคนที่มีความเชี่ยวชาญมากอย่างเดียวเสียอีก ในทางตรงกันข้าม ปัญหาที่เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญล้วนๆ โดยมีความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้องน้อยมาก เช่น การทำบัญชี การคำนวญทางดาราศาสตร์ เป็นต้น ความสามารถของทีมอาจจะไม่สูงมากไปกว่าความสามารถของสมาชิกในทีมที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นมากที่สุดมากนัก
เหตุผลประการต่อมาคือ คนแต่ละคนจะมองปัญหาเดียวกันในมุมมองที่ต่างกันเสมอ ดังนั้นการแก้ปัญหาเป็นทีมจึงสามารถมองปัญหาได้รอบด้านมากกว่าคนคนเดียว ต่อให้คนนั้นจะเป็นที่มีความชำนาญในเรื่องนั้นมากที่สุดในทีมก็ตาม เพราะคนคนเดียวมักมองปัญหาไม่รอบด้าน ทำให้มีโอกาสผิดพลาดจากการมองข้ามมุมมองบางมุมของปัญหานั้นที่มีความสำคัญไป
ใครที่ชอบซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องยนต์กลไกต่างๆ เช่น รถยนต์ ด้วยตนเอง เป็นต้น จะเข้าใจถึงประเด็นนี้ได้ดี คนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องรถยนต์มากๆ ก็ สามารถ “ตกม้าตาย” กับปัญหาของรถบางคันได้ง่ายๆ เช่น บางทีหาต้นตอของปัญหาไม่พบเพียงเพราะลืมต่อสายไฟ เป็นต้น ความที่เราเชี่ยวชาญในเรื่องบางเรื่องมากเกินไปทำให้มั่นใจมากเกินไป และมัวแต่พุ่งประเด็นไปที่ด้านใดด้านหนึ่งของปัญหา จนลืมมองด้านอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นด้านที่ดูง่ายเกินไป แต่ที่จริงแล้วกลับเป็นต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาได้ การได้รับฟังความเห็นจากคนที่มีความชำนาญน้อยกว่า กลับช่วยทำให้ผู้เชี่ยวชาญมองปัญหาได้กว้างขึ้น ดังนั้นทีมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญล้วนๆ ก็อาจแก้ปัญหาได้ไม่ดีเท่ากับทีมที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญผสมกับคนธรรมดาทั่วไป
ปัญหาที่ทีมจะแก้ปัญหาได้ดีกว่าคนคนเดียวมากเป็นพิเศษคือ ปัญหาที่มีเรื่องของความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้องด้วยมากๆ เช่น การคาดการณ์อนาคตบางอย่าง การประมาณการยอดขายสินค้าในปีหน้า การวินิจฉัยโรคที่ซับซ้อน การซ่อมสิ่งของ การวิเคราะห์การลงทุน เป็นต้น โดยปกติแล้ว ปัญหาเหล่านี้แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญที่สุดก็ยังมีโอกาสตอบถูกได้ไม่มากนัก เราพบว่า ทีมที่ประกอบด้วยคนที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นมาก และคนที่มีความเชี่ยวชาญน้อย กลับแก้ปัญหาได้ดีกว่า ทีมที่ประกอบด้วยคนที่มีความเชี่ยวชาญมากอย่างเดียวเสียอีก ในทางตรงกันข้าม ปัญหาที่เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญล้วนๆ โดยมีความไม่แน่นอนมาเกี่ยวข้องน้อยมาก เช่น การทำบัญชี การคำนวญทางดาราศาสตร์ เป็นต้น ความสามารถของทีมอาจจะไม่สูงมากไปกว่าความสามารถของสมาชิกในทีมที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นมากที่สุดมากนัก
-
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 46
อย่างไรก็ตาม พลังของการคิดเป็นทีม จะไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพียงแค่จับคนหลายคนมาคิดร่วมกัน เพราะในการทำงานร่วมกันเป็นทีม สิ่งที่จะคอยลดทอนศักยภาพของทีมอยู่ ก็คือ สัญชาตญาณการลอกเลียนแบบคนอื่นที่มีอยู่ในตัวสมาชิกทุกคนในทีมนั่นเอง
เมื่อคนจำนวนมากถูกจับมารวมกันเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาเป็นทีม พฤติกรรมตามธรรมชาติหลายอย่างจะทำให้ทุกคนในทีมมีแนวโน้มที่จะคล้อยตามความคิดของคนส่วนใหญ่ในทีม เช่น ต่างฝ่ายอาจต่างไม่กล้าเผยความคิดเห็นที่แท้จริงของตัวเอง ออกมาเพราะกลัวว่าจะไปกระทบความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกด้วยกัน บางคนกล้วขายหน้าที่จะพูดอะไรผิดๆออกมาทำให้พยายามเห็นด้วยกับคนอื่น หรือบางทีมไม่ค่อยมีใครกล้าแสดงความคิดเห็นเท่าที่ควร เพราะมีสมาชิกบางคนมีท่าทีเผด็จการมากเกินไป ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทุกคนจะคล้อยตามความคิดเห็นของคนอื่นในทีม เพื่อรักษาความสงบในทีมมากกว่าที่จะช่วยกันนำเสนอมุมมองที่หลากหลายเพื่อช่วยปรับปรุงคำตอบของทีมให้ดีขึ้น เมื่อไรก็ตามที่ทีมตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ประสิทธิภาพของทีมจะต่ำมาก สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นได้ง่ายในสังคมที่มีวัฒนธรรมแบบคนเอเชีย ซึ่งค่อนข้างประนีประนอมสูง
ทุกวันนี้ องค์กรส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธรุกิจนิยมใช้ทีมในการแก้ปัญหาหายอย่างมากขึ้น อาทิเช่น คณะกรรมการบริษัท หรือคณะอนุกรรมการที่ศึกษาปัญหาบางอย่างในองค์กร เป็นต้น ถ้าหากองค์กรเหล่านี้ไม่มีวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการคิดเป็นทีมที่ดี การหันมาใช้ทีมแก้ไขปัญหาให้กับองค์กรมากขึ้นกลับจะยิ่งส่งผลร้ายต่อองค์กรได้
ดังนั้นทีมที่ดีควรเป็นทีมที่สมาชิกแต่ละคนมีอิสระในการคิดและแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด เทคนิคหนึ่งที่อาจนำมาใช้ คือการแต่งตั้งให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งในทีมทำหน้าที่เป็น Facilitator ที่คอยตรวจสอบตลอดเวลาว่า สมาชิกแต่ละคนได้รับโอกาสในการแสดงความคิดเห็นมากพอหรือยัง มีใครในทีมที่พยายามผูกขาดการสนทนาอยู่หรือไม่ ฯลฯ
เมื่อคนจำนวนมากถูกจับมารวมกันเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาเป็นทีม พฤติกรรมตามธรรมชาติหลายอย่างจะทำให้ทุกคนในทีมมีแนวโน้มที่จะคล้อยตามความคิดของคนส่วนใหญ่ในทีม เช่น ต่างฝ่ายอาจต่างไม่กล้าเผยความคิดเห็นที่แท้จริงของตัวเอง ออกมาเพราะกลัวว่าจะไปกระทบความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างสมาชิกด้วยกัน บางคนกล้วขายหน้าที่จะพูดอะไรผิดๆออกมาทำให้พยายามเห็นด้วยกับคนอื่น หรือบางทีมไม่ค่อยมีใครกล้าแสดงความคิดเห็นเท่าที่ควร เพราะมีสมาชิกบางคนมีท่าทีเผด็จการมากเกินไป ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทุกคนจะคล้อยตามความคิดเห็นของคนอื่นในทีม เพื่อรักษาความสงบในทีมมากกว่าที่จะช่วยกันนำเสนอมุมมองที่หลากหลายเพื่อช่วยปรับปรุงคำตอบของทีมให้ดีขึ้น เมื่อไรก็ตามที่ทีมตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ประสิทธิภาพของทีมจะต่ำมาก สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นได้ง่ายในสังคมที่มีวัฒนธรรมแบบคนเอเชีย ซึ่งค่อนข้างประนีประนอมสูง
ทุกวันนี้ องค์กรส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธรุกิจนิยมใช้ทีมในการแก้ปัญหาหายอย่างมากขึ้น อาทิเช่น คณะกรรมการบริษัท หรือคณะอนุกรรมการที่ศึกษาปัญหาบางอย่างในองค์กร เป็นต้น ถ้าหากองค์กรเหล่านี้ไม่มีวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการคิดเป็นทีมที่ดี การหันมาใช้ทีมแก้ไขปัญหาให้กับองค์กรมากขึ้นกลับจะยิ่งส่งผลร้ายต่อองค์กรได้
ดังนั้นทีมที่ดีควรเป็นทีมที่สมาชิกแต่ละคนมีอิสระในการคิดและแสดงความคิดเห็นให้มากที่สุด เทคนิคหนึ่งที่อาจนำมาใช้ คือการแต่งตั้งให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งในทีมทำหน้าที่เป็น Facilitator ที่คอยตรวจสอบตลอดเวลาว่า สมาชิกแต่ละคนได้รับโอกาสในการแสดงความคิดเห็นมากพอหรือยัง มีใครในทีมที่พยายามผูกขาดการสนทนาอยู่หรือไม่ ฯลฯ
-
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 47
(ต่อ)นอกจากนี้ีทีมที่ดีคือทีมที่มีสมาชิกบางคนชอบแสดงความเห็นคัดค้านความเห็นของสมาชิกคนอื่น หรือที่เรียกว่ามี Devil’s Advocate แม้ว่าพฤติกรรมเช่นนี้มักทำให้สมาชิกบางคนในกลุ่มเกิดความรู้สึกเครียดไปบ้าง เพราะรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังเกิดความขัดแย้งขึ้นภายในทีม แต่การมี Devil’s advocate จะช่วยทำให้การคิดของทีมมีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้นถ้าหาก Facilitator เห็นว่า ทีมยังมีความเห็นแบบ Devil’s Advocate น้อยเกินไป Facilitator อาจใช้วิธีเจาะจงให้สมาชิกทุกคนในทีมช่วยกันคิดถึงทางเลือกอื่นๆ ที่ขัดแย้งกับความเห็นส่วนใหญ่ของทีม เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าความคิดของทีมยังมีช่องโหว่ตรงไหนอีกบ้าง
ส่วนวิธีหาข้อสรุปของทีมโดยใช้การโหวตนั้นเป็นวิธีการที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะการโหวตคือความพยายามรูปแบบหนึ่งของทีมที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แต่การทำเช่นนั้นมักนำมาซึ่งคำตอบทีมที่ไม่ดีพอ ผู้คนในยุคนี้มักมีความเชื่อว่าการโหวตเป็นวิธีการหาข้อสรุปของหมู่คณะที่ดีเนื่องจากพวกเราถูกปลูกฝังเรื่องประชาธิบไตยกันมากเกินไปจนทำให้เราคิดว่าการโหวตคือการให้น้ำหนักความเห็นของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การโหวตไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะกับสถานการณ์หลายอย่าง เพราะการโหวตทำให้ความเห็นของสมาชิกแต่ละคนมีน้ำหนักเท่ากันหมด แต่จะทำให้ความเห็นที่ดีที่สุดไม่สามารถกลายเป็นความเห็นของทีมได้ ในทาตรงกันข้าม การปล่อยให้มีการถกเถียงกันจนกระทั่งทุกฝ่ายจำนนด้วยเหตุผลจะทำให้ได้คำตอบของทีมที่มีคุณภาพมากกว่าแม้ว่า สมาชิกบางคนอาจรู้สึกเครียดไปบ้าง การโหวตควรใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อมีกรอบเวลาเข้ามาบังคับแล้วจริงๆเท่านั้น
ส่วนการทำ Brainstorming ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในองค์กรนั้น นักวิจัยพบว่า คำตอบของทีมจะดีขึ้นถ้าหากสมาชิกแต่ละคนได้มีเวลาส่วนตัวสำหรับคิดหาคำตอบของปัญหานั้นตามลำพังก่อนที่จะมาถกเถียงกันในทีม ดังนั้นเวลาที่คุณต้องการแก้ปัญหาขององค์กรด้วยวิธีการทำ Brainstorming ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนมีเวลาทำการบ้านของตนเองมาให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมาพบกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะดีกว่าการจับทุกคนมานั่งล้อมวงกัน แล้วคิดหาคำตอบของปัญหานั้นโดยทันที
ส่วนวิธีหาข้อสรุปของทีมโดยใช้การโหวตนั้นเป็นวิธีการที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะการโหวตคือความพยายามรูปแบบหนึ่งของทีมที่จะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แต่การทำเช่นนั้นมักนำมาซึ่งคำตอบทีมที่ไม่ดีพอ ผู้คนในยุคนี้มักมีความเชื่อว่าการโหวตเป็นวิธีการหาข้อสรุปของหมู่คณะที่ดีเนื่องจากพวกเราถูกปลูกฝังเรื่องประชาธิบไตยกันมากเกินไปจนทำให้เราคิดว่าการโหวตคือการให้น้ำหนักความเห็นของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การโหวตไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะกับสถานการณ์หลายอย่าง เพราะการโหวตทำให้ความเห็นของสมาชิกแต่ละคนมีน้ำหนักเท่ากันหมด แต่จะทำให้ความเห็นที่ดีที่สุดไม่สามารถกลายเป็นความเห็นของทีมได้ ในทาตรงกันข้าม การปล่อยให้มีการถกเถียงกันจนกระทั่งทุกฝ่ายจำนนด้วยเหตุผลจะทำให้ได้คำตอบของทีมที่มีคุณภาพมากกว่าแม้ว่า สมาชิกบางคนอาจรู้สึกเครียดไปบ้าง การโหวตควรใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อมีกรอบเวลาเข้ามาบังคับแล้วจริงๆเท่านั้น
ส่วนการทำ Brainstorming ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในองค์กรนั้น นักวิจัยพบว่า คำตอบของทีมจะดีขึ้นถ้าหากสมาชิกแต่ละคนได้มีเวลาส่วนตัวสำหรับคิดหาคำตอบของปัญหานั้นตามลำพังก่อนที่จะมาถกเถียงกันในทีม ดังนั้นเวลาที่คุณต้องการแก้ปัญหาขององค์กรด้วยวิธีการทำ Brainstorming ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกแต่ละคนมีเวลาทำการบ้านของตนเองมาให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมาพบกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะดีกว่าการจับทุกคนมานั่งล้อมวงกัน แล้วคิดหาคำตอบของปัญหานั้นโดยทันที
-
- Verified User
- โพสต์: 105
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 48
ขอบคุณคุณ i-salmon ที่แบ่งปันครับ
- จงใช้ชีวิตในแต่ละวันของคุณ ดุจดังว่ามันเป็นวันสุดท้ายของชีวิต
- อย่าเสียเวลาเพื่อเติมเต็มชีวิตผู้อื่น อย่าติดกับดักของกฎเกณฑ์ที่ไม่มีข้อพิสูจน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลของความคิดของคนอื่น
- จงกล้าที่จะทำตามหัวใจและสัญชาติญาณของคุณ
สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs)
- อย่าเสียเวลาเพื่อเติมเต็มชีวิตผู้อื่น อย่าติดกับดักของกฎเกณฑ์ที่ไม่มีข้อพิสูจน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลของความคิดของคนอื่น
- จงกล้าที่จะทำตามหัวใจและสัญชาติญาณของคุณ
สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs)
-
- Verified User
- โพสต์: 297
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 49
โอ้สุดยอด ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 70
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 1 [Part 2/2 ตกผลึกความ
โพสต์ที่ 52
ขอบคุณมากครับ
"If I had six hours to chop down a tree, I'd spend the first four hours sharpening the axe"
"ถ้าข้าพเจ้ามีเวลา 6 ชั่วโมงในการตัดต้นไม้ ข้าพเจ้าจะใช้เวลา 4 ชั่วโมงแรก ลับขวานให้คม"
Abraham Lincoln
"ถ้าข้าพเจ้ามีเวลา 6 ชั่วโมงในการตัดต้นไม้ ข้าพเจ้าจะใช้เวลา 4 ชั่วโมงแรก ลับขวานให้คม"
Abraham Lincoln