รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 451

โพสต์

ชงอารักษ์เปิดสัมปทานปิโตรเลียม
Source - ไทยโพสต์ (Th), Saturday, August 25, 2012


พลังงาน * กรมเชื้อเพลิงฯ เตรียมชง "อารักษ์" เปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ภายในปี 2555 ส่วนพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา รอบัวแก้วสรุปเขตแดนก่อน

นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชพ.) เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมยื่นเสนอขอเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 กับ นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน ภายในปี 2555 แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทนที่รัฐได้รับจากผู้รับสัมป ทาน ซึ่งได้ชี้แจงกับสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และวุฒิสภา (ส.ว.) แล้ว และเตรียมแผนจะขยายทำความเข้าใจไปยังจังหวัดต่างๆ ที่จะเปิดประมูลกว่า 10 จังหวัด คือ ขอนแก่น อุดรธานี กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหา สารคาม สกลนคร โคราช บุรีรัมย์ พิษณุโลก สุโขทัย

ส่วนพื้นที่สัมปทานปิโตร เลียมในอ่าวไทย ต้องหารือร่วมกับ สมาคมประมงก่อน เพราะแม้จะมี พื้นที่ที่มีศักยภาพ แต่พื้นที่ที่จะเปิด สัมปทานเป็นพื้นที่เก่า ซึ่งผู้ขอสัมป ทานไม่สามารถผลิตได้ตามกำหนดภายใน 4 ปี เช่น แหล่งจามจุรีของบริษัท เชฟรอนประเทศไทย, แหล่งพิกุลของ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม เป็นต้น

สำหรับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา ยังต้องรอความชัดเจนจากทางกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหาข้อสรุปการแบ่งเขตแดนก่อน ส่วนการเปิดประมูลสัมปทานรอบที่ 21 โดยในส่วนของอ่าวไทยยังคงเน้นแหล่งเดิมที่ยึดคืนมาหลังจากที่ผู้ขอสัมปทานไม่สามารถผลิตได้ตามกำหนด.

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 452

โพสต์

จับตาพลังงาน-ปิโตรฯ
Source - ข่าวหุ้น (Th), Monday, August 27, 2012


รับผลกระทบเศรษฐกิจจีน-ยุโรป

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ระบุกำลังติดตาม "ใกล้ชิด" ถึงผลกระทบของเศรษฐกิจจีนและยุโรปที่ชะลอตัวต่อบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในกลุ่มพลังงาน โรงกลั่น และปิโตรเคมี ซึ่งอาจมีผลต่อการพิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือในช่วงต่อไป

นายเลิศชัย กอเจริญรัตนกุล หัวหน้าฝ่ายจัดอันดับเครดิต บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างติดตามข้อมูลเพื่อพิจารณาว่าควรจะปรับลดอันดับเครดิตบริษัทในกลุ่มพลังงาน โรงกลั่น และปิโตรเคมีหรือไม่ โดยกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ได้รับผลกระทบทางตรงจากปัญหาในต่างประเทศทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและปัญหาหนี้สินในยุโรป จนอาจทำให้ราคาผลิตภัณฑ์ผันผวนในระยะถัดไป ดังนั้น บริษัทจึงต้องติดตามข้อมูลใกล้ชิด

"กลุ่มธุรกิจพลังงาน ปิโตรฯ รีฟายเนอรี่ ถือว่ามีความแข็งแกร่งทางการเงิน แต่ก็ต้องยอมรับว่า เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบทางตรงจากปัญหาเศรษฐกิจโลกด้วย"

ดังนั้น นับจากนี้เราจึงต้องติดตามว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกที่จะเกิดขึ้นต่อไปจะส่งกระทบอย่างไรบ้าง โอกาสการฟื้นตัวปีหน้าเป็นอย่างไร และผลประกอบการย้อนหลังในอดีตดีหรือไม่ เข้ามาพิจารณาว่า ต้องปรับอันดับเครดิตลงหรือไม่

ทั้งนี้ มีหลักฐานมากขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจจีนกำลังพยายามต่อสู้กับอุปสรรคที่รุนแรงทั่วโลก ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในครึ่งปีหลังลงอีก ทำให้หลายคนระบุว่า รัฐบาลจีนอาจพลาดเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 7.5% ทั้งปีนี้

ขณะที่วิกฤติหนี้ยุโรปส่งผลให้หลายประเทศ เช่น กรีซ, ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในช่วงที่ผ่านมา

ส่วนกลุ่มธุรกิจที่นายเลิศชัย ประเมินว่าจะได้รับผลกระทบทางอ้อม ได้แก่ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มปูนซิเมนต์ กลุ่มสื่อสารและกลุ่มค้าปลีก ซึ่งจะชะลอตัวลงเนื่องจากปัจจัยลบในต่างประเทศ แต่จะไม่ถึงขั้นที่จะทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงมากนักเนื่องจากความต้องการและเศรษฐกิจในประเทศยังคงสนับสนุน

นายเลิศชัย กล่าวว่า ในครึ่งแรกปีนี้ บริษัทยังไม่ได้ปรับลดอันดับเครดิตของบริษัทลูกค้า เพราะส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีงบการเงินดี และสามารถบริหารธุรกิจได้สอดคล้องกับภาวะความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงติดตามและประเมินผลว่าควรปรับมุมมองต่ออันดับเครดิตหรือไม่ เป็นระยะๆ

"การปรับลดอันดับเครดิต ก็มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน เพราะเครดิตลดลง ก็หมายถึงว่าตราสารที่อ้างอิงบริษัทนั้นๆ มีความเสี่ยง แต่ถ้าพูดถึงในแง่ของนักลงทุนสถาบันที่มีอิทธิพลต่อตลาดแล้ว ผมคิดว่าเขาคงไม่ panic ถ้ามีการลดอันดับเครดิต นอกเสียจากว่าการปรับลดเครดิตครั้งนั้น เป็นสิ่งที่เหนือกว่าการคาดการณ์" นายเลิศชัย กล่าว

ปัจจุบันบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) มีลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการจัดอันดับเครดิต โดยส่วนมากเป็นบจ.ขนาดใหญ่ อาทิ กลุ่มบริษัท ปตท. รวมถึงธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินในไทย

“ภาพรวมบจ.เหล่านี้ได้อันดับเครดิตอยู่ที่ประมาณ A และ BBBเป็นส่วนใหญ่ และมีเพียงบริษัทในกลุ่ม ปตท. จำนวนราว 3-4 บริษัทเท่านั้น ที่ได้อันดับเครดิตสูงในระดับ AA

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 453

โพสต์

SOLAR ได้งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 25 เมกกะวัตต์ มูลค่า 619.80 ล้านบาท [ ทันหุ้น, 27 สิงหาคม 2555 ]

บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน) ขอแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่า บริษัทฯ
ชนะการประมูลสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งที่ 4 ของกลุ่มบริษัท บางจากปิโตรเลียม ขนาด
ขนาด 25 เมกกะวัตต์ ที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีรายละเอียดดังนี้

วันที่ลงนาม 24 สิงหาคม 2555
คู่สัญญา บริษัท บางจาก โซลาร์ เอ็นเนอร์ยี จำกัด
สถานที่ก่อสร้าง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ขอบเขตงาน รับเหมาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 25 เมกกะวัตต์
ด้าน Engineering, Procurement and Construction for 25 MW (DC)
มูลค่าสัญญา 619.80 ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ระยะเวลาแล้วเสร็จ มกราคม 2556
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 454

โพสต์

ปตท.ฮุบถ่านหินอินโดฯตั้งโต๊ะซื้อหุ้นซาการิในสิงคโปร์ หวังเพิ่มสิทธิบริหาร
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, August 28, 2012


ย้ำราคาซื้อ หารือที่ปรึกษาแล้ว ระบุเหมาะสม เหตุเป็นช่วงถ่านหินตลาดโลกเริ่มลดลง

ปตท.รุกธุรกิจถ่านหิน อนุมัติ "พีทีที ไมนิ่ง" บริษัทลูกทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หุ้น "ซาการิ รีซอร์ส" บริษัทถ่านหินในตลาดหุ้นสิงคโปร์ เพื่อหวังได้สิทธิในการบริหาร เพิ่มเติม และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเกิน 50% หากรายย่อยถือหุ้นต่ำกว่า 10% อาจถอนออกจากตลาด พร้อมเจรจาหาซื้อเหมืองถ่านหินอื่นๆ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. (PTT) ผู้ประกอบกิจการพลังงานรายใหญ่สุดของไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัท ได้อนุมัติให้ บริษัท พีทีที ไมนิ่ง (PTTML) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PTTI) ประกาศทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ออกแล้ว หรือที่จะออกเพื่อรองรับใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้น (ออปชั่น) ทั้งหมดของบริษัท ซาการิ รีซอร์ส (Sakari Resources Limited หรือ SAR) ซึ่งทำธุรกิจเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซีย โดยไม่รวมหุ้นที่ถืออยู่หรือตกลงที่จะเข้าซื้อแล้ว

ปัจจุบัน บริษัท PTT Asia Pacific Mining PTY LTD (PTTAPM) ซึ่ง เป็นบริษัทย่อยของ บริษัท พีทีที ไมนิ่ง ถือหุ้นสามัญของ SAR จำนวน 514,679,220 หุ้น สัดส่วน 45.3% ของหุ้นทั้งหมด โดย PTTAPM ได้

ให้คำรับรองที่เพิกถอนไม่ได้ว่าจะไม่ขายหุ้นซาการิ ที่ถือครองอยู่ตามคำเสนอซื้อหุ้นของพีทีที ไมนิ่ง

การเสนอซื้อดังกล่าวเป็นการเสนอซื้อด้วยเงินสด โดยมีราคาเสนอซื้อหุ้นสามัญของซาการิที่ 1.90 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อหุ้น คำเสนอซื้อนี้มีเงื่อนไขว่า พีทีที ไมนิ่ง ต้องได้รับการตอบรับขายหุ้นในจำนวนที่มีผลให้ พีทีที ไมนิ่ง และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง มีหุ้นที่ถือครองอยู่และจะได้มาเพิ่มนั้น คิดเป็นสัดส่วนเกิน 50% ของคะแนนเสียงทั้งหมดของซาการิ ตามสิทธิของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จดทะเบียนและชำระแล้ว คาดจะเสนอซื้อหุ้นเสร็จสิ้นเดือนต.ค.นี้

การทำคำเสนอซื้อดังกล่าวเป็นไปเพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในซาการิ ให้แก่ ปตท. เพื่อรองรับการขยายกิจการในธุรกิจถ่านหิน หากซาการิมีผู้ถือหุ้นรายย่อยต่ำกว่า 10% ของหุ้นทั้งหมดของซาการิ ตามเกณฑ์ที่จะดำรงสถานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามกฎตลาดหลักหุ้นสิงคโปร์แล้ว

ทาง พีทีที ไมนิ่ง ขอสงวนสิทธิ์ที่จะประเมินสถานการณ์โดยพิจารณาจากสภาวะตลาดที่เหมาะสม ในการพิจารณาเพิกถอนหุ้นซาการิ ออกจากตลาดหลักทรัพย์ของสิงคโปร์ต่อไป

ด้าน นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ของ ปตท. กล่าวว่า บริษัทยังคงเป้า ที่จะมีการผลิตถ่านหินในระดับ 70 ล้านตัน ภายในปี 2563 จากปัจจุบันมีการผลิตอยู่ราว 11-12 ล้านตันต่อปี

นอกจากการจะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มในซาการิ แล้ว ปตท.ยังอยู่ระหว่างเจรจาซื้อเหมืองถ่านหินในแหล่งอื่นเพิ่มเติมด้วย เพื่อผลักดันให้ถ่านหินเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของกลุ่มบริษัท

"การเข้าซื้อหุ้นเพิ่มในซาการิครั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีผู้มาเสนอขายมากน้อยแค่ไหน เราต้องการได้สัดส่วนเกิน 50% เพื่อได้มีสิทธิในการบริหาร" นายสุรงค์กล่าว

ทั้งนี้ช่วงเช้า ปตท. แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่า จะเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดในซาการิ จากปัจจุบันที่ถือหุ้นอยู่ 45.3% โดยจะเสนอซื้อที่ราคาหุ้นละ 1.90 ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งคาดจะดำเนินการแล้วเสร็จเดือนต.ค. นี้

หาก ปตท. เข้าซื้อหุ้นได้ทั้งหมด จะใช้วงเงินราว 960 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.2 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์

ปัจจุบัน PTTAPM ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มปตท. ถือหุ้นในซาการิ สัดส่วน 45.3% ของหุ้นทั้งหมด ขณะที่ ซาการิ ทำธุรกิจเหมืองถ่านหินเซบูกู และ เจมบายันในอินโดนีเซีย ที่มีการผลิตแล้ว และยังถือหุ้นในโครงการอื่นๆ ด้วย รวมถึงล่าสุดได้สิทธิทำธุรกิจเหมืองถ่านหินในกัมพูชา

ทั้งนี้ ราคาที่ปตท.เสนอซื้อซาการิ ที่หุ้นละ 1.90 ดอลลาร์สิงคโปร์ สูงกว่าราคาปิดของหุ้นซาการิ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (24 ส.ค.) 27.5% ขณะที่ราคาหุ้นซาการิ ที่ตลาดหุ้นสิงคโปร์เมื่อวานนี้ (27 ส.ค.) พุ่งขึ้น 26.85% มาที่ 1.890 ดอลลาร์สิงคโปร์

นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในกลุ่ม ปตท. กล่าวว่า การเสนอซื้อหุ้น ซาการิ ที่ราคาดังกล่าว ได้หารือกับที่ปรึกษาทางการเงินแล้ว และเห็นว่าเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสม หลังจากที่ราคาถ่านหินในตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลง และทำให้หุ้นซาการิ ปรับตัวลงมาด้วย

"เป็นช่วงที่ราคาถ่านหินลดลง ราคาหุ้นก็ลงมาเยอะ ราคาเคยเกิน 3 ดอลลาร์ แต่ตอนนี้เริ่มลดลงเหลือ 1.50 หรือ 1.55 ถ้าเราเสนอซื้อที่ 1.55 ก็คงไม่มีใครขาย ถ้าเสนอที่ 1.60 ก็คงมีคนขายไม่เยอะ เราได้ปรึกษากับที่ปรึกษาแล้ว ตอนนี้ราคาถ่านหินอยู่ในช่วงกำลังไต่ระดับขึ้น" นายจิตรพงษ์ กล่าวผ่านรอยเตอร์

ปตท. มีธุรกิจหลักในกลุ่มก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และ ปิโตรเคมี ขณะที่ได้ขยายการลงทุน ไปสู่ธุรกิจเหมืองถ่านหินตั้งแต่ปี 2552

ด้าน บล.ทรีนีตี้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจถ่านหินของ ปตท.ในช่วงครึ่งแรกปีแรก อยู่ที่ 1.17 พันล้านบาท จากกำไรสุทธิ 4.59 หมื่นล้านบาท ตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทย่อย PTTAPM ราว 45.3%

ทั้งนี้ ประเมินว่าสัดส่วนกำไรจากธุรกิจถ่านหิน คิดเป็น 5% ของประมาณการกำไรสุทธิปีนี้ของ ปตท. ภายใต้สมมติฐาน มีสัดส่วนถือหุ้นซาการิ 100% โดยคงประมาณการกำไรปีนี้ของ ปตท. ไว้ที่ระดับเดิม 1.05 แสนล้านบาท

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 455

โพสต์

ท่อส่งก๊าชรั่วอุตสาหกรรมโรจนะ-จนท.เร่งขนคนหนีอลหม่าน
Source - ไอ.เอ็น.เอ็น. (Th), Tuesday, August 28, 2012


ท่อส่งก๊าชอุตสาหกรรมโรจนะรั่ว เจ้าหน้าที่เร่งขนพนักงานอลหม่าน ขณะผู้จัดการ ปตท. ระบุ เหตุวาวล์ข้อต่อหลุด ไม่อันตรายเป็นก๊าซธรรมชาติ

เมื่อเวลา 23.30 น. (27 ส.ค.) เกิดเหตุท่อส่งก๊าชธรรมชาติภายในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ โซน B ม.1 ต.คานหาม อ.อุทัยจ.พระนครศรีอยุธยา รั่ว มีก๊าชพวยพุ่งขึ้นมาจากบริเวณริมถนน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสวนอุตสาหกรรม ต้องกันพนักงานที่อยู่ในโรงงานข้างเคียงอย่างน้อย 3 โรงงาน ออกห่างจากจุดที่มีก๊าชรั่ว และปิดการจราจรทันที

ต่อมา นายปราโมทย์ ก่อเกิด อายุ 50 ปี ผู้จัดการส่วนปฏิบัติการ ปตท. พร้อมวิศวกร ได้เดินทางมายังจุดเกิดเหตุ เป็นร่องริมถนนสำหรับให้ท่อลำเลียงก๊าชธรรมชาติ ผ่านไปยังโรงงาน 5 โรง ภายในสวนอุตสาหกรรม ซึ่งพบว่า สาเหตุเกิดจากการที่ฝนตกลงมาอย่างหนัก และกัดเซาะดินด้านล่าง ทำให้วาวล์ข้อต่อท่อส่งก๊าชดังกล่าวหลุดออกจากกัน เจ้าหน้าที่ จึงได้รีบทำการปิดวาวล์หัวท้ายโดยใช้เวลาประมาณ 30 นาที

ทั้งนี้ นายปราโมทย์ กล่าวว่า ท่อลำเลียงก๊าชที่เกิดเหตุนั้นเป็นท่อขนาด 6 นิ้ว มีความหนาประมาณ 1 ซ.ม. ไม่มีอันตราย เนื่องจากเป็นก๊าชธรรมชาติ แต่สามารถติดไฟได้ จึงได้ปิดวาวล์เพื่อซ่อมแซม ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ช.ม. ซึ่งจากการปิดวาวล์ก๊าชเพื่อซ่อมนี้ ก็ส่งผลกระทบกับการผลิตตามโรงงานต่าง ๆ ที่นำก๊าชธรรมชาตินี้ไปเป็นเชื้อเพลิงจะต้องหยุดการผลิตชั่วคราวจนกว่าจะซ่อมเสร็จและจ่ายเชื้อเพลิงนี้ไปตามปกติได้

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 456

โพสต์

UAC ตั้งโรงก๊าซCBG-CNCครึ่งปีหลังกำไรเริ่ด-เร่งศึกษาไปโอดีเซลในพม่า [ ข่าวหุ้น, 28 ส.ค. 55 ]

UAC แย้มปลายเดือนนี้ลุ้นข่าวดี รับใบอนุญาตก่อสร้างโรงผลิต CBG เพิ่มอีก 10 แห่งจากกระทรวง
พลังงาน มั่นใจรายได้ปีนี้ทะลุ 1 พันล้านบาท ส่งซิกรายได้-กำไรครึ่งปีหลังโตมากกว่าครึ่งปีแรก เหตุ
ออเดอร์พุ่ง ส่วนหุ้นเพิ่มทุนมีกองทุนในประเทศสนใจขอซื้อแล้วจำนวน 22 ล้านหุ้น หุ้นละ 1 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 457

โพสต์

PTG เล็งระดมทุน IPO ปีนี้ ลุยปรับโฉมขยายปั๊มน้ำมัน [ ทันหุ้น, 28 ส.ค. 55 ]

ผู้บริหารพีทีจี เอ็นเนอยี "พิทักษ์ รัชกิจประการ" ประกาศลุยเดินหน้าขยายสถานีบริหารน้ำมันโชว์
เดือนเดียวเปิดสถานีบริการน้ำมันเป็นไปตามเป้า เตรียมเปิดตัวโฆษณาสร้างการรับรู้ปั๊ม PT รูปแบบใหม่
ส่วนแผนนำบริษัทระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ คาดไตรมาส 3/2555 ดำเนินการยื่นเอกสารไฟลิ่ง พร้อม
ซื้อ-ขายอย่างเป็นทางการภายในสิ้นปี 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 458

โพสต์

ส่งกฟผ.ชิมลาง กองทุนอินฟราฯ มูลค่า 2 พันล้าน [ โพสต์ทูเดย์, 28 ส.ค. 55 ]

คลังชิมาลางกองทุนอินฟราฯ 2,000 ล้านบาท

นายประสงค์ พูนธเนศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า
กฎหมายลูกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรืออินฟราสตรักเจอร์ ฟันด์ จะมีผลบังคับในไม่ช้านี้ โดยในส่วนของ
กระทรวงการคลังได้วางแผนให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งกองทุนวงเงิน 2,000
ล้านบาท เพื่อนำเงินมาลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าผลิตขายใช้ภายในประเทศ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 459

โพสต์

ปตท.ผวาศก.โลกผันผวนปรับลดงบลงทุน2หมื่นล
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, August 29, 2012


ชี้ยุทธศาสตร์สารองน้ามันต้องเป็น วาระชาติดึงคลัง-ธปท.ร่วมคิดโมเดลปตท.ประเมินปีนี้เศรษฐกิจยุโรป-สหรัฐ-จีนยังผันผวนหนัก เร่งลดต้นทุนให้ได้ 5-10% พร้อมลดงบลงทุนปีนี้แล้ว 20,000 ล้านบาท ยันแผนซื้อกิจการต่างประเทศต้องรอบคอบมากขึ้น

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท.ได้ประเมินเศรษฐกิจยุโรปที่มีความไม่แน่นอนสูง รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐ และจีน ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ ปตท.ระมัดระวังในการลงทุนอย่างมาก โดยทุกบริษัทในเครือได้รับสัญญาณให้ลดต้นทุนลง 5-10%

ในส่วนของบริษัท ปตท.ได้ลดงบลงทุนปีนี้ลงไป 20,000 ล้านบาท จากประมาณ 90,000 ล้านบาท เหลือ 70,000 ล้านบาท ซึ่งงบลงทุนที่ลดลงดังกล่าวมาจากต้นทุนโครงการลดลง จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ส่วนแผนระยะยาวขณะนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่ง ปตท.ยังเน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมถึงพลังงานทดแทน เช่น ปาล์ม รวมถึงการลงทุนในกิจการถ่านหินในต่างประเทศ และพุ่งเป้าการลงทุนในอาเซียน ประกอบด้วย พม่า อินโดนีเซีย และกัมพูชา

สำหรับการลงทุนซื้อกิจการในต่างประเทศเพิ่มเติมนั้น จะพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ทำให้ ปตท.ไม่ต้องการรีบตัดสินใจ แต่ยอมรับว่า ให้ความสนใจกิจการที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีของยุโรป และสหรัฐ เพราะเศรษฐกิจในยุโรปที่ตกต่ำในเวลานี้เป็นโอกาสอย่างมาก

ขณะเดียวกัน ก็มีกิจการที่พร้อมขายมากเช่นเดียวกัน โดยทีม ปตท.กำลังประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ที่จะซื้อกิจการเพิ่มเติม ซึ่งเทคโนโลยีที่ ปตท.เน้น เกี่ยวข้องกับกิจการ ของ ปตท.โดยตรง อาทิเช่น เทคโนโลยีการสำรวจและขุดเจาะ การผลิต ก๊าซธรรมชาติเหลวบนเรือ (FLNG) และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม

ส่วนการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของประเทศเพิ่มเป็น 90 วัน นั้น นายสุรงค์ กล่าวว่า การสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ เป็นภารกิจหนึ่งของ ปตท.ที่คู่ขนานกับการดูแลผู้มีส่วนได้เสีย

การยุทธศาสตร์การสำรองน้ำมันนั้นมีความสำคัญมาก เพราะประเทศรอบบ้านของเรา สำรองเป็นร้อยวัน เช่น ในญี่ปุ่น หรือเกาหลี และทบวงพลังงานระหว่างประเทศ หรือ ไออีเอเอง ก็แนะนำไทยมาระยะหนึ่งแล้ว ให้เพิ่มสำรองน้ำมัน ประกอบกับภาวะของเศรษฐกิจโลกและพลังงานที่มีความผันผวนมากขึ้น จึงเห็นว่าถึงเวลาที่ต้องทำให้เรื่องนี้อย่างจริงจังและผลักดันเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาร่วมคิดและหาโมเดลที่เหมาะสม กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องเข้ามาร่วมมือด้วย

การสำรองทางยุทธศาสตร์เป็นเรื่องที่รัฐต้องบริหารจัดการ โดยมี 3 เรื่องที่ต้องทำควบคู่กันไป ประกอบด้วย 1. การสร้างระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการรองรับ เช่น ท่าเรือ ท่อ ภาชนะจัดเก็บที่ต้องหาจุดที่เหมาะสม 2. กระบวนการการจัดหาน้ำมันมาเก็บเป็นสำรองโดยประเมินจาก ราคาน้ำมันในปัจจุบัน คิดเป็นเงินที่ต้องใช้ถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ 3. การจัดการ ซึ่งต้องเป็นองค์กรอิสระที่ไม่ใช่เอกชน

นายสุรงค์ กล่าวต่อว่า การสำรองทางยุทธศาสตร์ไม่ใช่เรื่องราคา แต่เป็นการป้องกันการขาดแคลน ดังนั้น ปัจจัยหลัก คือ เงินที่จะนำมาใช้และการบริหารจัดการ จึงย้ำว่าต้องมีคลัง และ ธปท.มาเกี่ยวข้อง เพราะสำรองพลังงานเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศไม่ต่างจากเงินตรา

"สำรองยุทธศาสตร์คงต่างคนต่างทำไม่ได้ เพราะการสำรองน้ำมันดิบจำนวนมาก ต้องใช้คลังขนาดใหญ่ และต้องหาพื้นที่ขนาดกว่า 200- 300 ไร่ และต้องเป็นพื้นที่เหมาะสม ติดแม่น้ำและทะเล เป็นต้น เอกชนก็ทำไม่ได้แล้ว เรื่องนี้สามารถทำได้หลายโมเดล โดยสามารถนำไปผูกโยงกับสำรองของอาเซียน เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องระดับนโยบายที่ต้อง ตัดสินใจ" นายสุรงค์ กล่าว


ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 460

โพสต์

ไทยออยล์ไม่ขาดทุนสต็อกผนึกปตท.ลงทุนอาเซียน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, August 29, 2012


ไทยออยล์ไม่ขาดทุนสต็อกผนึกปตท.ลงทุนอาเซียนหลังไตรมาส 3 ราคาน้ำมันตลาดโลกฟื้นดีเกินคาด ล่าสุดขึ้นมาแตะระดับ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลกำไรครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งแรกของปี ยังมองหาโอกาสซื้อกิจการและลงทุนในอาเซียนร่วมกับ ปตท.

น.ส.ภัทรลดา สง่าแสง ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์และนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัทไทยออยล์ เปิดเผยว่า แนวโน้มผลการ ดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ จะ ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรก ที่ได้รับผล กระทบจากขาดทุนสต็อกน้ำมันกว่า 6 พัน ล้านบาท ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิเพียง 300 ล้านบาท เพราะสถานการณ์ราคาน้ำมันใน ตลาดโลกฟื้นตัว จากที่เคยต่ำกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

นอกจากนี้ มาร์จินรวมของบริษัทยังมีแนวโน้มดีขึ้น จากค่าการกลั่น หรือส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับราคาน้ำมันดิบ (สเปรด) ที่เพิ่มขึ้นทุกตัว โดยส่วนต่างของน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 16 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลจากที่เคยอยู่ระดับ 15-16 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ล่าสุดปรับขึ้นเกิน 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว ขณะที่ส่วนต่างของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีก็ปรับดีขึ้น

"ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ราคาน้ำมันปรับขึ้นดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นหลายแห่งในโลก และคาดว่าราคาน้ำมันจะอยู่ในระดับสูงไปจนถึงไตรมาส 4 ทำให้ไตรมาส 3 มีกำไรจาก สต็อกน้ำมัน ผลประกอบการจึงดีกว่าไตรมาส 2 ขณะที่แนวโน้มไตรมาส 4 ก็น่าจะดีกว่าไตรมาส 3 เช่นเดียวกัน"

บริษัทคาดว่าราคาน้ำมันในช่วงปลายปีคงไม่ถึงระดับ 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยบริษัทคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 105 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องเศรษฐกิจโลก แต่หากราคาน้ำมันปิดที่ 106 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เท่ากับช่วงต้นปี บริษัทก็ไม่มีขาดทุนจากสต็อกน้ำมัน และแนวโน้มผลการดำเนินงานปีหน้าจะดีกว่าปีนี้

การลงทุนของบริษัท ยังมองหาการเข้าไปลงทุนซื้อและควบรวมกิจการในแถวอาเซียนและเออีซี ร่วมกับกลุ่มบริษัท ปตท. (PTT) นอกจากนี้ ยังมองว่าบริษัทน่าจะได้ประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน เพราะจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น ขณะที่การสร้างโรงกลั่นใหม่ใช้เวลา 4-5 ปี ทำให้ประเทศเหล่านี้ต้องนำเข้าน้ำมันจากไทย

ทั้งนี้ ในช่วง 3 ปีข้างหน้า บริษัทมีแผนจะใช้เงินลงทุนประมาณ 700 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณปีละกว่า 200 ล้านดอลลาร์ สำหรับโครงการเปลี่ยนสัดส่วนการกลั่นน้ำมันเตาให้เป็นน้ำมันเบนซินและดีเซลมากขึ้น การลดการใช้พลังงานในกระบวนการกลั่น และโครงการ พีเอ็กซ์ อัพเดท ซึ่งโครงการเหล่านี้ได้ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการแล้ว อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในช่วง 5 ปีหลังจากนี้ อีกกว่า 800 ล้านดอลลาร์

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 461

โพสต์

ปตท.สผ.เกาะงานไทยแลนด์เคลียร์เพิ่มทุน
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Thursday, August 30, 2012

โพสต์ทูเดย์ -ปตท.สผ. อาศัยไทยแลนด์โฟกัส แจงผู้ลงทุนเรื่องเพิ่มทุนและซื้อโคฟ

น.ส.เพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการเงินและบัญชีองค์กรบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า นักลงทุนในงานไทยแลนด์ โฟกัส 2012 สนใจซักถามรูปแบบการเพิ่มทุนของบริษัท จึงชี้แจงไปว่าเป็นการเพิ่มทุนขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ มั่นใจว่าจะไม่กระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของบริษัท

แม้ว่าสัดส่วนหนี้สินต่อทุนจะขยับขึ้นมาเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ 0.5 เท่า ภายหลังการซื้อบริษัท โคฟ เอนเนอร์ยี บริษัทยืนยันจะเพิ่มทุนแต่เงินอาจเข้ามาช้ากว่ากำหนด

นอกจากนี้ บริษัทได้อธิบายให้นักลงทุนเข้าใจว่า การซื้อหุ้นโคฟเป็นการเพิ่มศักยภาพของ PTTEP ในอนาคต เพราะทำให้ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของบริษัทเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันในช่วงเดือน ต.ค.และ ธ.ค.นี้ แหล่งสำรวจโมซัมบิก แอฟริกาตะวันออกจะมีการขุดเจาะใหม่ 2 หลุม หากประสบสำเร็จสำรวจพบก๊าซก็จะเป็นข่าวดี

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. (PTT) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีหลัง ปตท.เตรียมระดมเงินอีก 2-3 หมื่นล้านบาทรองรับการลงทุนช่วง

ครึ่งหลัง โดยเฉพาะการซื้อหุ้นเพิ่มทุนในPTTEP และบริษัท Sakari Resources (SAR) ยืนยันบริษัทไม่มีปัญหาสภาพคล่องโดยมีกระแสเงินสดในมือ 6 หมื่นล้านบาทดี/อีต่ำ 0.5 เท่า

ทั้งนี้ บริษัท บ้านปู (BANPU) ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล จากกำไรสะสมและผลการดำเนินงานงวด 6 เดือน ในอัตราหุ้นละ 9 บาท รวมเป็นเงิน 2,445 ล้านบาท ในวันที่ 26 ก.ย. 2555

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 462

โพสต์

PTT to raise B30bn
Source - Bangkok Post (Eng), Thursday, August 30, 2012


PTT Plc, said yesterday it would seek 30 billion baht in funds in the second half of this year for working capital, debt refinancing and to finance expansion.

State-controlled PTT has cash of about 60 billion baht and would have no problem helping upstream unit PTTEP raise fund or finance the acquisition of Sakari Resources Ltd, chief financial officer Surong Bulakul told reporters after the market closed yesterday.

PTT group has no plans for further acquisitions this year after PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) agreed to pay $2.2 billion including tax to take over Cove Energy.

Earlier this week, PTT announced an offer to buy out Singpore-listed Sakari for $960 million as the oil and gas firm expands into coal to meet rising regional demand for the fuel.

Shares of PTT closed on the Stock Exchange of Thailand at 333 baht yesterday, down one baht.REUTERS


Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
equinox
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 463

โพสต์

New York, Aug 30 - The discovery along Africa’s east coast of the world’s biggest gas finds in a decade threatens to undo investment plans on the other side of the Indian Ocean.

The discovery along Africa’s east coast of the world’s biggest gas finds in a decade threatens to undo investment plans on the other side of the Indian Ocean.

Royal Dutch Shell Plc (RDSA), BG Group Plc (BG/) of the U.K. and France’s Total SA (FP) may scale back projects to build liquefied natural gas export plants in Australia and switch to Tanzania and Mozambique, where the new prospects lie and will cost about half as much, according to Jefferies International Ltd.

The LNG boom in Australia, where $180 billion of planned investment was set to make gas the country’s fastest-growing export over the next five years, risks losing strength as labor and material shortages force up building costs. As energy companies consider the next $100 billion of projects, a switch to East Africa would hold back Australia’s market share in China and India, where energy consumption is forecast rise more than 60 percent by 2030.

“Because of the volume that’s been discovered in East Africa, the economics look to be able to challenge Australian LNG projects, given the cost inflation they have experienced,” said Peter Hutton, an RBC Capital Markets analyst in London. “All companies will have that on their radar.”

The Asian market for LNG, gas that’s chilled to a liquid for shipment by tanker, accounts for about two-thirds of global demand and will grow by 6 percent a year this decade, according to Sanford C. Bernstein & Co. Among six Australian projects scheduled to reach investment decisions in 2013, few will be approved because of climbing costs, Neil Beveridge, a Hong Kong- based analyst at Bernstein, said in a report this month.

’Real Competition’

“There is real competition in the 2020 time frame,” said David Knox, the chief executive officer at Santos Ltd. (STO), which is developing Australia’s $18.5 billion Gladstone LNG venture together with Total, Petroliam Nasional Bhd. and Korea Gas Corp. “But we can compete, provided we keep our productivity up, our cost base under reasonable control and we can unlock the resources.”

Dale Nijoka, an analyst at Ernst & Young LLP, said this month in a report that LNG from East Africa “could become more competitive than unsanctioned Australian LNG projects, causing them to be delayed, re-worked or possibly canceled” over the long term.

One such Australian project is a third processing plant, or train, at BG’s Curtis Island project. Reading, England-based BG said in May that spending on the first two trains would rise 36 percent to about $20 billion because of higher costs and a more expensive Australian dollar. BG is considering investing in East Africa’s first LNG project in Tanzania.

Tanzania LNG

“The ability for Tanzania to compete for capital in BG’s portfolio is growing,” said Theepan Jothilingam, an oil analyst at Nomura Holdings Inc. It can “prioritize Tanzania LNG” over expansion of its venture on Queensland’s Curtis Island.

Kim Blomley, a spokesman at BG, declined to comment on payments to East African nations for the fuel, saying that the company is “only in the exploratory phase right now” and “it’s a little early to say any more.”

Explorers in Tanzania and Mozambique may build at least two trains in each country with combined costs of about $32 billion and ship the first LNG as soon as 2018, according to Jefferies. The cost per unit of capacity will be about 44 percent lower in Tanzania than at Pluto LNG in Australia, the most expensive plant built, the bank said. Mozambique, ranked 213 of 227 countries for per capita income, may be even cheaper.

Shell and Total have been in talks with Anadarko Petroleum Corp. (APC) and Eni SpA (ENI) about buying into gas fields discovered off Mozambique with more than 100 trillion cubic feet (2.8 trillion cubic meters) of gas resources, enough to meet Asian demand for almost five years.

Development Risks

There will be risks to developing LNG projects in East Africa, where there’s no history of large-scale oil and gas production and roads and airports are often relatively poor.

“East Africa’s regulatory and infrastructure gaps could hinder the transition from gas exploration to production in the medium term,” said Clare Allenson and Anne Fruhauf, analysts at Eurasia Group in London. “Now that investors are confident of the existence of commercial natural gas reserves in the region, the focus will shift to the evolving operating environment.”

BG is developing plans for an LNG project in Tanzania after discovering about 7 trillion cubic feet of gas together with partner Ophir Energy Plc. At the same time, it’s trying to find a partner for Curtis Island to cut Australian costs.

“While it’s going very well in Tanzania, when the result of six in a row discoveries are very encouraging, we are not in the place to take discussions further” on the LNG project, said Neil Burrows, a spokesman for BG. He declined to comment on whether BG would opt to develop Tanzania LNG before making an investment decision for the third train in Queensland.

Skill Shortage

Australia’s LNG industry faces a shortage of skilled workers and has to pay higher wages in the world’s fastest growing developed economy. The strong Australian dollar has also boosted costs for the developments in U.S. dollar terms after the currency rose 23 percent since 2008.

“East Africa has got potential to be a bigger LNG supplier than for example Australia or Qatar on a much lower cost base,” said Barry Rushworth, the CEO at Australia’s Pancontinental Oil & Gas NL, which is drilling now a well off Kenya. “People are just not actually realizing how much potential East Africa has yet.”

$30 Billion Shell Investment

Shell, which plans to invest $30 billion in Australia over the next five years, is looking at opportunities in Africa. The Hague-based company has drilled in Tanzania and last month dropped its $1.8 billion bid for Cove Energy Plc, a U.K. explorer with assets in Mozambique, because Thailand’s state oil company made a higher offer. The decisions to walk away was described by the Anglo-Dutch company’s CEO Peter Voser as an “example of capital discipline.”

“The bid for Cove highlighted the potential need to rotate exposure from Australian LNG projects to the new East Africa frontier,” RBC’s Hutton said. “We believe Shell was right to withdraw, but the shift in portfolio still needs to be addressed.”

Shell spokesman Jonathan French referred Bloomberg News to Voser’s comments made July 26 when the CEO described East Africa as “an interesting province” and “a big resource.”

Total, based in Paris, has increased its stake in the $34 billion Ichthys LNG project in northern Australia, where costs may beat Pluto’s record, according to the Australian Bureau of Resources and Energy Economics.

The French company CEO Christophe De Margerie plans to expand in East Africa after joining a $10 billion oil project in Uganda. In June, Total secured the latest permit to explore for oil and gas off Kenya.

“East Africa is a strategic oil and gas province for Total, where the group seeks to build a stronger presence and currently pursues exploration activities,” said Anastasia Zhivulina, a spokeswoman at the company.
nongnoykung
Verified User
โพสต์: 400
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 464

โพสต์

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ ได้จัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคม เพื่อรองรับการพัฒนาอนาคตของประเทศในระยะยาวภายในปี 2563 รวมทั้งโครงการพัฒนาระบบคมนาคมรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 โดยจะใช้เงินลงทุนจาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท สำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีทั้งหมด 55 โครงการ วงเงินประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท
สำหรับโครงการที่อยู่ในแผนเงินกู้จะพิจารณาจากโครงการที่มีความพร้อมในการออกแบบและสามารถประกวดราคาได้ทันที หรือไม่ก็เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม.แล้วแต่ไม่มีเงินงบประมาณ เพื่อให้โครงการเหล่านี้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยหาก พ.ร.บ.กู้เงินผ่านการพิจารณาของรัฐสภาโดยเร็วก็จะสามารถประกวดราคาเพื่อดำเนินโครงการได้ตั้งแต่ปี 2556
ส่วนรายละเอียดโครงการ ได้แก่ ทางหลวงวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3, ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ช่วงชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ช่วงบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ช่วงนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ และช่วงบางปะอิน-นครสวรรค์, รถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, รถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน เส้นทางสุวรรณภูมิ-ระยอง, รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี
นอกจากนั้นเป็นโครงการเขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 การก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริการทางเดินอากาศ
VI ค่อยๆไป โปรดท่องให้ขึ้นใจ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 465

โพสต์

ปตท.สผ.รับผิด 4 ข้อหาทำน้ำมันรั่วครั้งใหญ่
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Friday, August 31, 2012


วันนี้ (30 ส.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ยอมรับผิด 4 ข้อหา ในการไต่สวนคดีที่ศาลแขวงเมืองดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย ข้อหาละเมิดกฤษฎีกาการทำปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อ 3 ปีก่อน

ซึ่งน้ำมันดิบปริมาณหลายพันบาร์เรล รั่วไหลจากแท่นขุดเจาะเวสต์ แอตลาส ของบริษัท พีทีทีอีพี ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.ส.ผ. ของไทย ทะลักสู่แปลงขุดเจาะน้ำมันดิบมอนทาราในทะเลติมอร์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย เป็นเวลานานเกือบ 10 สัปดาห์ ระหว่างปลายเดือน ส.ค. ถึงต้นเดือน พ.ย. 2552 ทำให้คราบน้ำมันลอยเป็นแพ เป็นวงกว้างกินพื้นที่เกือบ 90,000 ตารางกิโลเมตร

บริษัท พีทีทีอีพี ออสเตรเลีย ให้การยอมรับผิดต่อศาลแขวงดาร์วิน ของออสเตรเลีย ใน 4 ข้อกล่าวหา รวมถึง ละเมิดกฎหมายขุดเจาะน้ำมันนอกชายฝั่ง (Offshore Petroleum Act) ในกรณีที่ไม่ดำเนินมาตรการที่เหมาะสมอย่างครบถ้วน เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันดิบจากแท่นขุดเจาะ และทำให้คนงานบนแท่นเสี่ยงอันตราย

ทั้งนี้ คณะกรรมการสืบสวนของรัฐบาลออสเตรเลียกล่าวโทษว่าบริษัท ปตท.สผ. บกพร่องต่อเหตุน้ำมันรั่วไหล ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้อินโดนีเซียเรียกร้องเงินชดเชยถึง 2,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากความเสียหายต่อแนวประการังและการประมง และบริษัท ปตท.สผ. อาจถูกปรับเงินเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านดอลลาร์ จากการรับผิดตามข้อกล่าวหา

ทั้งนี้ คาดว่า ศาลออสเตรเลียจะมีคำตัดสินคดีนี้ในวันศุกร์ และปตท.สผ. อาจกลับเข้าไปเริ่มขุดเจาะน้ำมันได้อีกครั้งก่อนสิ้นปีนี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 466

โพสต์

ปตท.รวบธุรกิจไฟฟ้าประเดิมผลิต1,300MW
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, August 31, 2012


ประเดิมผลิต1,300MW

PTT ขยายฐานธุรกิจผลิตไฟฟ้าเต็มตัว อนุมัติควบรวม PTTUT- IPT ตั้งขึ้นเป็นบริษัทใหม่ โชว์กำลังการผลิตไฟฟ้าสูงถึง 1,357 เมกะวัตต์ โดย PTT กับ PTTGC ถือหุ้นฝั่งละ 30% ส่วน TOP ถือหุ้นอีก 27% ควบรวมเสร็จสิ้นภายในเดือนม.ค. 2556

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด หรือ PTTUT ที่ PTT ได้ถือหุ้นในจำนวน 40% เข้าควบรวมกับบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ IPT ซึ่ง PTT ถือหุ้นอีก 20% และส่งผลให้เกิดบริษัทใหม่ที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าขนาด 1,357 เมกะวัตต์

สำหรับกำลังการผลิตไฟฟ้าเทียบเท่าทั้งสิ้นประมาณ 1,357 เมกะวัตต์ ได้แบ่งเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าจำนวน 1,038 เมกะวัตต์ และเป็นกำลังการผลิตไอน้ำจำนวน 1,340 ตันต่อชั่วโมง หรือเทียบเท่ากำลังผลิตไฟฟ้า 319 เมกะวัตต์ โดยคาดว่าการดำเนินการต่างๆ ภายใต้แผนควบรวมบริษัทจะแล้วเสร็จภายในเดือนม.ค. 2556

สำหรับบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมจะรับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของPTTUT และ IPT ทั้งหมด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่มปตท. รวมทั้งการลงทุนและพัฒนาโครงการด้านธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต ตามแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและนโยบายการปรับโครงสร้างการลงทุนของปตท.

อีกทั้งเป็นการลงทุนและพัฒนาโครงการด้านธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต ตามแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจและนโยบายการปรับโครงสร้างการลงทุนของปตท. จะทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมกับเพิ่มมูลค่าของธุรกิจไฟฟ้าของกลุ่ม PTT ในระยะยาว

ด้านนายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า สำหรับ TOP ได้ถือหุ้นอยู่ใน IPT จำนวน 24% และถือหุ้นทางอ้อมโดยบริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด หรือ TP ในสัดส่วน 56% ได้มีมติเห็นชอบการควบรวมบริษัทระหว่าง IPT และ PTTUT เพื่อดำเนินธุรกิจไฟฟ้า

รวมทั้งการลงทุนและพัฒนาโครงการด้านธุรกิจไฟฟ้าในอนาคต จึงเป็นไปตามแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของ TOP นอกจากนี้ การควบรวมบริษัทยังส่งเสริมศักยภาพการขยายงานด้านธุรกิจไฟฟ้า รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยภายหลังการควบรวม ทางบริษัท IPT จะสิ้นสภาพของการเป็นบริษัทย่อยของ TOP

ขณะที่นายปฏิภาณ สุคนธมาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงินและบัญชี บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC กล่าวว่า สำหรับ PTTUT ทางบริษัทได้ถือหุ้นอยู่ในจำนวน 60% ได้มีมติเห็นชอบการควบบริษัทระหว่าง PTTUT กับ IPT โดยจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงด้านสาธารณูปโภคที่ดียิ่งขึ้นและส่งเสริมศักยภาพการขยายงานด้านธุรกิจไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม PTTUT จะสิ้นสภาพของการเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ภายหลังการควบรวมบริษัท

ดังนั้น สัดส่วนการถือหุ้นภายหลังจากการควบรวมบริษัทใหม่ จะแบ่งออกเป็นดังนี้ ทาง PTTGC จะเข้าถือหุ้นโดยตรงในสัดส่วนอันดับหนึ่งจำนวน 30.31% ส่วนทาง PTT จะถือครองหุ้นเป็นอันดับสองในจำนวน 30.10% ขณะที่ TOP จะถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นสัดส่วนรวม 27.12% (แบ่งเป็นการถือโดยตรง 11.88% และถือหุ้นทางอ้อมผ่าน TP ในสัดส่วน15.24%)

ทั้งนี้ ราคาหุ้น PTT ล่าสุดในวานนี้ (30 ส.ค.) ปิดการซื้อขายอยู่ที่ 329 บาท ปรับลดลง 4 บาท หรือคิดเป็น 1.2% มีมูลค่าการซื้อขายทั้งสิ้น 1,192 ล้านบาท ด้าน PTTGC ปิดการซื้อขายอยู่ที่ 61.50 บาท ปรับลดลง 0.75 บาท หรือคิดเป็น 1.2% มีมูลค่าการซื้อขาย 572 ล้านบาท และหุ้น TOP ปิดการซื้อขายอยู่ที่ 65 บาท ปรับลดลง 2 บาท หรือคิดเป็น 2.99% มีมูลค่าการซื้อขาย 406 ล้านบาท

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 467

โพสต์

ผลวิจัย สกว. พบศักยภาพพลังงานลมอ่าวไทยสูง 10,000 เมกะวัตต์

นายจอมภพ แววศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.พัทลุง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพลังงานทดแทน กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการใช้พลังงานลมในอ่าวไทยสูงมาก โดยผลวิจัยของสำนักงานคณะกรรมวิจัยแห่งชาติ (สกว.) ได้ศึกษาศักยภาพในการใช้พลังงานลมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานีลงมาถึง จ. สงขลา พบว่าทิศทางลมบริเวณนี้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้สูงถึง 10,000 เมกะวัตต์ ซึ่งถือว่ามีศักยภาพสูงมาก ทั้งนี้ความต้องการการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยมีประมาณ 30,000 เมกะวัตต์ ถ้าเราสามารถทำฟาร์มกังหันลมในพื้นที่ดังกล่าวได้จริงก็เพียงพอที่จะใช้ในพื้นที่ภาคใต้ได้อย่างแน่นอน ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะเป็นปัญหาสร้างความขัดแย้งให้กับประชาชนในพื้นที่มาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเช่นกัน โดยเฉพาะที่เขื่อนลำตะคองที่ขณะนี้มีการติดตั้งกังหันลมที่ผลิตไฟฟ้าได้ 2.5 เมกะวัตต์ และขณะนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้สั่งซื้อกังหันลมมาติดตั้งเพิ่มอีก 2 ตัว รวมกำลังผลิต 180 เมกะวัตต์ โดยอาจจะมีการติดตั้งที่ จ.ชัยภูมิ และ นครราชสีมา คิดว่าจะได้เห็นฟาร์มกังหันลมขนาดใหญ่ ในภาคอีสานเร็วๆนี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 468

โพสต์

จีนเปิดแล้ว "เขื่อนสามผา" สุดทรงพลังผลิตพลังงานได้เทียบเท่าเตาปฏิกรณ์ 15 เครื่อง

จีนเปิด"เขื่อนสามผา" หรือ Three Gorges Dam" ซึ่งถือเป็นเขื่อนอันทรงพลังด้านการผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงสุดถึง 22.5 ล้านกิโลวัตต์ เทียบเท่าเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 15 เครื่อง โดยเขื่อนดังกล่าวถูกเปิดใช้ในช่วงที่จีนกำลังมีกระแสน้ำมากที่สุดของปีนี้ และถือเป็นเขื่อนพลังงานน้ำใหญ่ที่สุดในโลก โดยถูกสร้างบนแม่น้ำแยงซี ในมณฑลหูเบ่ย เขื่อนสามผา เป็นแหล่งสร้างพลังงานสะอาดจำนวนมหาศาล ช่วยลดปัญหาน้ำท่วมในช่วงที่ประเทศมีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุดของปี รวมทั้งใช้เพื่อกักเก็บน้ำและกระจายส่งน้ำในช่วงหน้าแล้ง โดยสามารถส่งน้ำได้อย่างน้อย 26,000 ลบ.เมตรต่อวินาที โดยเขื่อนแห่งนี้เริ่มสร้างเมื่อปี 2003 ส่งผลให้ชาวบ้านถูกไล่ที่เป็นจำนวนกว่า 1.4 ล้านชีวิต และถูกโจมตีจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกว่าเป็นเขื่อนที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร์มากที่สุดในโลก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 469

โพสต์

กรีนพีซชงหลักการ 5 ข้อ เร่งรัฐออกกฎหมายพลังงานหมุนเวียน

กลุ่มกรีนพีซได้จัดโครงการ “ปฏิวัติพลังงาน ผ่านกฎหมายพลังงานหมุนเวียน” เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีกฎหมายพลังงานหมุนเวียน โดยทราบว่าขณะนี้กระทรวงพลังงานกำลังยกร่างกฎหมายพลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของประเทศไทย กลุ่มกรีนพีซจึงขอเรียกร้องให้กฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่รัฐบาลกำลังยกร่าง ต้องมีหลักการขั้นพื้นฐาน 5 ข้อดังต่อไปนี้ เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาวิกฤตพลังงานไทย โดย

1.รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาและการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืนเป็นอันดับแรก ผู้ผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถเข้าถึงระบบสายส่งก่อนพลังงานอื่นๆ

2. ทุกคน ทุกบ้าน ทุกชุมชน สามารถผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้และขายเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้า ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการใช้และผลิตพลังงานหมุนเวียน

3.การบริหารจัดการระบบโครงข่ายไฟฟ้าต้องมีความโปร่งใสและราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนมีความเป็นธรรม

4.ต้องมีการจัดตั้งกองทุนและพัฒนาศักยภาพและเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในทุกจังหวัด และเพิ่มอัตราการจ้างงานจากการลงทุนและการดำเนินงานระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืน

5.ผู้ใช้ไฟฟ้ามีสิทธิเลือกใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและยั่งยืนแทนไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลเพื่อสร้างจิตสาธารณะร่วมกัน ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม

โดยกลุ่มกรีนพีซเริ่มการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งทางออนไลน์และการจัดกิจกรรมตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อระดมพลังประชาชนอย่างน้อย 55,555 คน ผลักดันให้เกิดกฎหมาย พลังงานหมุนเวียนฉบับแรกของไทยโดยเร็วที่สุด
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 470

โพสต์

สผ.ผลิตมอนทาราสิ้นปีนี้ถูกปรับแค่ 16.5ล้านต่ำกว่าสำรองที่ตั้งไว้ถึง 31.5ล้าน PTTEPร่วงต่อกังวลเพิ่มทุน
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Saturday, September 01, 2012


โพสต์ทูเดย์ -"PTTEP" ปลดบ่วงมอนทารา ศาลตัดสินจ่ายค่าปรับ5.1 แสนเหรียญออสเตรเลีย น้อยกว่าสำรองที่ตั้งไว้ เดินหน้าผลิตปลายปีนี้

นายเทวินทร์ วงศ์วานิชประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) เปิดเผยว่า ล่าสุดศาลออสเตรเลียได้มีคำตัดสินให้ บริษัท พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย(PTTEP AA) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของปตท.สผ. ให้จ่ายค่าปรับในกรณีที่แหล่งมอนทารารั่วไหลเมื่อปี2552 เป็นเงิน 5.1 แสนเหรียญออสเตรเลีย หรือประมาณ 16.5 ล้านบาท

"ค่าปรับครั้งนี้ไม่กระทบกับฐานะของบริษัท เพราะได้ตั้งสำรองแล้วในงบการเงิน ปี 2552 และคาดว่าจะสามารถเริ่มการผลิตน้ำมันดิบแห่งนี้ได้ในปลายปีนี้" นายเทวินทร์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ ตลาดคาดการณ์ว่าปตท.สผ.จะถูกปรับเป็นเงิน 1-1.5 ล้านเหรียญออสเตรเลีย

อย่างไรก็ตาม ภายหลังเหตุการณ์มอนทารา PTTEP AA ได้ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลออสเตรเลียอย่างใกล้ชิด และเสนอเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการกำจัดคราบน้ำมัน และยังได้ให้การสนับสนุนเงินทุนในการศึกษาวิจัยและเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาวในทะเลติมอร์ด้วย และขณะนี้ PTTEP AA ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาต่างๆ แล้วเสร็จ และพัฒนาแหล่งมอนทาราอย่างต่อเนื่อง

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส(ASP) ระบุว่า ค่าปรับที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นไปตามที่ PTTEP คาดการณ์ไว้ ซึ่งในปี 2552 ได้ตั้งสำรองค่าปรับจำนวน 1.5 ล้านเหรียญออสเตรเลีย หรือราว 48 ล้านบาทแล้ว และคำตัดสินที่ออกมาถือเป็นการคลี่คลายความกังวลของตลาดและจะส่งผลเชิงบวกต่อนักลงทุนในระยะสั้น

"ค่าปรับมอนทาราเป็นการปลดภาวะความกังวลของนักลงทุนออกไปเปราะหนึ่ง แต่ในอีก 1 เดือนข้างหน้าตลาดและนักลงทุนยังมีความกังวลในประเด็นการเพิ่มทุนหลังจากเลื่อนการประชุมผู้ถือหุ้นออกไป เพราะไม่แน่ชัดว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผนเดิมหรือไม่ จึงแนะนำแค่ถือให้ราคาที่ 167.51 บาท" บล.เอเซีย พลัส ระบุ

บล.ธนชาต คงคำแนะนำ "ขาย" PTTEP ราคาเป้าหมาย 142 บาท และยังคงมีความกังวลต่อการลงทุนในต่างประเทศ เช่น โคฟ เอ็นเนอร์ยี่

ล่าสุด PTTEP ปิดที่ 149 บาทลดลง 0.50 บาท

ด้าน บล.เกียรตินาคิน ออกบทวิเคราะห์หลังจาก บริษัท ปตท.(PTT) ควบรวมบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจโรงไฟฟ้ากับบริษัทไฟฟ้าของ บริษัทไทยออยล์ (TOP) คือการควบรวมระหว่าง IPT และ PTTUT ว่าเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการขยายการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้ารวมถึงการเข้าประมูลIPP รอบใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2556

ด้านตลาดหุ้นไทยเก่ง วิ่งแรงที่สุดในตลาดเอเชีย โดยดัชนีปิดสูงสุดของวัน ที่1,227.48 จุดเพิ่มขึ้น 12.98 จุด คิดเป็น 1.06% มูลค่าการซื้อขายเบาบาง 24,789.51 ล้านบาท ด้านนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิ 875 ล้านบาท

สำหรับแนวโน้มตลาดยังมีโอกาสอ่อนตัวลง เพราะคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐคงจะไม่ออกมาตรการอะไรออกมากระตุ้นเศรษฐกิจ


ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 471

โพสต์

PTT rules out capital increase
Source - Bangkok Post (Eng), Monday, September 03, 2012
YUTHANA PRAIWAN



Low debt leaves several options to raise funds

Despite looming concerns over its cash flow stability given its heavy capital expenditure requirements, PTT Plc has reaffirmed its financial capability as adequate for new mergers and acquisitions for both conventional and unconventional petroleum resources.

"We have a debt-to-equity ratio of only 0.5, and it is not that difficult for us to find new funds through loans, selffinancing, retained earnings and debentures," said Surong Bulakul, chief financial officer of the national oil conglomerate.

"So there is no need to raise registered capital," he added.

According to Mr Surong, PTT is cautious about every project it acquires,trying its best to steer clear of high-risk projects.

For Cove Energy, which was snapped up by PTT Exploration and Production Plc (PTTEP), PTT’s exploration unit, for US$2.2 billion, Mr Surong said PTT believes the project is worth investing given Cove’s large proven reserves of natural gas.

"We expect the deal will help enable us to produce liquefied natural gas at relatively low costs, so we are committed to the Cove deal. More importantly, it’s our obligation to procure LNG to cater to growing Thai demands."

He admitted, however, that all affiliated firms are set to jointly plan funding management if PTTEP has large projects to be acquired which need to raise massive funding.

In the latest development, Mr Surong said to curb the impact of the eurozone slowdown, PTT itself has cut investment capital this year to 70 billion baht from 90 billion baht, particularly in the gas pipeline projects from Saraburi to Nakhon Ratchasima and the expansion of a liquefied petroleum gas tank farm in Si Racha.

"We have been in close discussions within the group particularly on ways to procure energy sources to supply back to Thailand," he said."We bought the coal business as we realised that Thailand is excessively reliant on natural gas which is expected to become depleted over the next three decades from the Gulf of Thailand and the country is subject to a high risk if existing blocks have their production interrupted."

According to Mr Surong, coal is only the last lifeline, as nuclear development is a thorny issue, oil is excessively expensive, while alternative energy still lacks steady production and entails relatively high production costs.

PTT Plc last week offered S$1.2 billion (30 billion baht) to buy out the Singapore Exchange-listed Sakari Resources in a move aimed at boosting its coal business to meet rising regional fuel demand.

The national oil conglomerate offered S$1.90 a share for the remainder of Sakari Resources it does not already own through PTT Mining Ltd, a wholly owned unit of the group’s PTT International (PTTI) subsidiary.

The PTT Group already owns 45.27%of Sakari, which operates coal mines in Indonesia through PTT Asia Pacific Mining Pty Ltd, also wholly owned by PTTI.

Sakari has two coal mines in Indonesia’s South Kalimantan and East Kali-mantan provinces Sebuku and Jembayan, respectively.

The move is part of PTT’s ambitious plan of expanding coal assets to 70 million tonnes a year by 2020 from 12 million tonnes this year.

The group also plans to increase oil and gas production to 900,000 barrels equivalent a day (BOED) during the period from 273,000 BOED a day last year, and amass 500,000 hectares of palm oil plantations within the designated period.

PTT, which this year made Thailand’s biggest international energy takeover through its publicly traded PTTEP unit,will spend 720 billion baht between this year and 2016 to acquire assets including gas, coal, petrochemicals, oil facilities and biofuel operations.

Songklod Wongchai, analyst at Finansia Syrus Securities, said the Cove deal fetched reasonable prices and was not as expensive as many had estimated.

"PTTEP is very eager about the Cove deal, as it opens it the doors to becoming a partner in Rovuma area 1 and other petroleum projects in Mozambique and Kenya which have not yet been fully tapped."

The Rovuma field in Mozambique is a world-class discovery, with estimated gas resources of up to 60 trillion cubic feet including oil prospects in the Black Pearl structure.

Preeyanun Tripetchchuporn, an analyst at Phillip Securities, added PTT still has adequate financial ability to purchase several projects in the future without raising new capital.

"For investments in any large projects,the company itself could not spend the capital at its will. The final decision still rests with shareholders," said the securities firm."A lesson has been learned by PTTEP which recently pushed back its planned capital increase to year-end from this month, as a number of shareholders were displeased with the plan,"said Ms Preeyanun.

In July PTTEP decided to raise 98 billion baht via an issue of up to 650 million new shares in the nation’s biggest equity offering to fund expansion.

According to Ms Preeyanun, a role in developing strategic petroleum reserves to 90 days daily consumption is also beyond the company’s financial capability as the proposal is capitalintensive, needing approximately $6 billion.

More importantly, as a private company it is also not a direct role of PTT to invest massive capital in such projects as this would upset its shareholders,she noted.

PTT shares closed Friday on the Stock Exchange of Thailand at 330 baht, up one baht, in trade worth 957 million baht.


Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 472

โพสต์

'ไออาร์พีซี'ขอ3ปีผงาดฟีนิกซ์เบ็ดเสร็จดันอีบิทด้าโตเท่าตัวปี58
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, September 03, 2012
วรินทร์ ตริโน



’อธิคม’ ลั่นมาร์เก็ตแคป กลับมาทะลุแสนล้าน เล็งขายเงินลงทุนในบริษัทลูกที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก 11 แห่ง

"ไออาร์พีซี" คาดปีนี้ไม่ขาดทุนสต็อกน้ำมัน หลังราคาน้ำมันตลาดโลกครึ่งปีหลังฟื้นตัว เดินหน้าใส่เงินลงทุนในโครงการ "ฟินิกซ์" อีกกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท คาดทั้งโครงการ 4 หมื่นล้านแล้วเสร็จปี 2557 ดันรายได้โตปีละ 10% แต่อิบิทด้าโตมากกว่าเท่าตัวจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 6 พันล้าน และดันมาร์เก็ตแคปทะลุ 1 แสนล้านบาทในปี 2558 ได้

นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี (IRPC) ให้สัมภาษณ์พิเศษ "กรุงเทพธุรกิจ" ถึงทิศทางการเติบโตของบริษัท ว่า ช่วง 3 ปีนี้จากนี้ บริษัทอยู่ในช่วงเดินหน้าลงทุนตามโครงการ "ฟีนิกซ์" ให้แล้วเสร็จตามแผน (2553-2557) ซึ่งเป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ของบริษัท วงเงินรวม 1.4 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 4 หมื่นล้านบาท จะเสร็จทั้งหมดในปี 2558

ปีนี้จะเริ่มลงทุนในโครงการเพิ่มมูลค่า หรืออัพเกรดผลิตภัณฑ์ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง ใช้เงินลงทุนประมาณ 900 ล้านดอลลาร์ หรือ 2.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วน 80-90% ของเม็ดเงินลงทุนในโครงการฟีนิกซ์ทั้งหมด ทำให้บริษัทผลิตได้เต็มกำลังการผลิต 2.1 แสนบาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันที่ผลิตอยู่ 1.8 แสนบาร์เรลต่อวัน เพราะหน่วยปรับปรุงคุณภาพการผลิตเล็กกว่ากำลังการผลิต

ทั้งนี้ โครงการฟีนิกซ์จะแล้วเสร็จทั้งหมดในปี 2557 และสร้างผลประโยชน์ให้บริษัทได้เต็มที่ในปี 2558 ซึ่งประเมินว่า เป็นช่วงที่ตลาดปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยคาดว่าจะช่วยสร้างรายได้ของบริษัทให้เติบโตเฉลี่ย ปีละ 10% แต่อัตราการเติบโตของกำไรก่อนหักรายการภาษี ดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา หรือ อิบิทด้า (EBITDA) จะโตเฉลี่ยมากกว่า 15% ต่อปี หรือประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทในปี 2558 เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีที่ผ่านมา ที่มีอิบิทด้าอยู่ที่ประมาณ 6 พันล้านบาท

"การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เดิมที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผลตอบแทนการลงทุน (ROIC) ของแต่ละโครง การจึงอยู่ในระดับสูง หรือประมาณ 14% จึงช่วย ดันอิบิทด้าให้เติบโตเฉลี่ยสูงกว่าการเติบโตของ รายได้"

หวังดันมาร์เก็ตแคปแตะแสนล้าน

นอกจากนี้ หลังโครงการฟีนิกซ์เสร็จ จะทำให้นักลงทุนเห็นทิศทางการเติบโตของบริษัทชัดเจนขึ้น ซึ่งการนำเสนอข้อมูลให้กับนักลงทุน หรือการไปโรดโชว์ที่ผ่านมา บริษัทพยายามชี้แจงนักลงทุนว่า ปัจจุบันบริษัทอยู่ในช่วงการเพาะปลูก และรอเวลาที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ทำให้ช่วงนี้ราคาหุ้นของบริษัทไม่เต็มมูลค่า (Fully Value) เท่าใดนัก นักลงทุนต้องใช้ความอดทนรอ เพราะจากโครงการต่างๆ ที่บริษัทประกาศว่าจะทำ มีทิศทางการเติบโตที่ดี และนักลงทุนเห็นได้ว่าบริษัทสามารถเดินหน้าได้ตามแผนที่วางไว้

"จริงๆแล้วเชื่อว่าราคาหุ้นบริษัทยังไม่ฟูลลี่ แวลู แต่หลังจากที่โครงการลงทุนต่างๆ เสร็จ ประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท ก็จะเทียบชั้นกับบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเดียวกัน และเชื่อว่าขนาดของบริษัทจะเติบโตได้อีก หรือมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม มากกว่าแสนล้านบาทได้ จากปัจจุบัน 7-8 หมื่นล้านบาท"

ตั้งเป้าขายทิ้งบริษัทลูก 11 แห่ง

เขากล่าวว่า บริษัทมีแผนขายเงินลงทุนในบริษัทที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก หรือบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินการแล้ว เพื่อลดภาระต้นทุนของบริษัท ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีบริษัทในเครือทั้งหมด 36 บริษัท ซึ่งหลังจากพิจารณาแล้ว จะต้องขายเงินลงทุนออกกว่า 11 บริษัท แต่การดำเนินการต่างๆ ค่อนข้างซับซ้อน จึงต้องทยอยทำ โดยปีนี้ บริษัทได้ดำเนินการไปขายไปแล้ว 5 บริษัทนอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่พิจารณาการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะสินทรัพย์ที่เป็นที่ดิน ซึ่งบริษัทมีอยู่กว่า 1.5 หมื่นไร่ โดยจะมีการพิจารณาว่าที่ดินที่มีอยู่ บริษัทมีโอกาสจะใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ หากดูแล้วใช้ประโยชน์ไม่ได้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับกิจการของบริษัทก็จะดำเนินการทยอยขายออก เพราะเป็นต้นทุน แต่คงไม่มากรวมแล้วประมาณ 200-300 ล้านบาท

ผนึกเครือปตท.หาโอกาสลงทุนอาเซียน

ส่วนการลงทุนในต่างประเทศ บริษัทมองหาโอกาสการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียน ร่วมกับกลุ่ม ปตท. โดยเฉพาะการลงทุนในพม่า ที่มองภาพรวมการลงทุนในอุตสาหกรรมด้านพลังงานและปิโตรเคมีเป็นหลัก ส่วนการลงทุนในแถบภูมิภาคอื่น จะให้ความสำคัญกับการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เพื่อมาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ

"การลงทุนต่างประเทศของบริษัทคงมีไม่มาก ไม่เหมือนบริษัทอื่นๆ เพราะบริษัทยังมีโอกาสเติบโตภายในได้อีกมาก จากการพัฒนาประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ไม่เหมือนโรงกลั่นอื่นๆ ที่เติบโตภายในเต็มที่แล้ว จึงต้องออกไปแสวงหาการเติบโตจากต่างประเทศ หากมีโอกาสที่น่าสนใจ บริษัทพร้อมพิจารณา"

คาดปีนี้ไม่มีขาดทุนสต็อก

เขากล่าวต่อว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานในปีนี้ มีโอกาสที่บริษัทจะไม่มีขาดทุนจากสต็อก หรือสต็อกลอสท์ แม้ว่าในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้จะมีขาดทุนสต็อกกว่า 3.4 พันล้านบาท จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับลดลงแรง แต่ในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทคาดราคาเฉลี่ยทั้งปีน่าจะยืนที่ระดับ 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้

นอกจากนี้ บริษัทยังได้มาตรการต่างๆ เพื่อบริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมัน และภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งมีทั้งมาตรการรักษาสภาพคล่อง ด้วยการจัดหาเงินกู้ระยะยาว โดยออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้านบาท การขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้กับ ปตท. เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนปรับลดลง 0.47 เท่า

บริษัทได้ลดสต็อกน้ำมันเหลือ 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากที่เคยอยู่ระดับ 8.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน มีการบริหารความเสี่ยงด้วยการทำเฮดจิ้งน้ำมันดิบ 100% และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี 50% ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลง 10% ซึ่งช่วยเพิ่มอิบิทด้า 389 ล้านบาท เร่งสร้างรายได้เสริม ทั้งขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็น เพิ่มรายได้จากธุรกิจอื่น เช่น การให้เช่าถัง เพิ่มรายได้จากเทรดดิ้ง และร่วมมือกับกลุ่มบริษัท ปตท.เพื่อลดต้นทุน เช่น การขายน้ำมันดีเซลชนิดกำมะถันสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มอิบิทด้าได้รวมๆ กันเกือบ 700 ล้านบาท

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 473

โพสต์

กกพ.ชงผุด"ท่อก๊าซ-ไฟฟ้า"อาเซียน จ่อขึ้นค่าเอฟทีในประเทศก.ย.นี้ต่ำกว่า58สตางค์
updated: 03 ก.ย. 2555 เวลา 07:27:46 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



กกพ.ถกอาเซียน ลุย "ท่อก๊าซ-ไฟฟ้า" อาเซียน เสนอที่ประชุม ครม.พลังงานอาเซียน 11-13 ก.ย.นี้ เร่งศึกษาเปิดเสรีค้าก๊าซธรรมชาติ เปิดช่องภาคอุตสาหกรรมใช้พลังงานถูก ส่วนค่าเอฟทีไฟในประเทศขึ้นรอบใหม่ ก.ย.นี้ ต่ำกว่า 58 สตางค์ชัวร์

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมร่วมกับหน่วยงานกำกับกิจการพลังงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เบื้องต้นข้อสรุปเรื่องการรวมตัวเพื่อจัดตั้งหน่วยกำกับกิจการพลังงานจากแต่ละประเทศ โดย กกพ.เป็นเจ้าภาพศึกษาและหารือเพิ่มเติม 3 เรื่อง คือเรื่องแรก การขยายความร่วมมือโครงข่ายไฟฟ้า (ASEAN GRID) เรื่องที่ 2 โครงข่ายเชื่อมโยงท่อก๊าซอาเซียน (ASEAN PIPELINE) เรื่องที่ 3 การเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอาเซียน และคู่เจรจา 10 ประเทศ กำหนดจะจัดขึ้นระหว่าง 11-13 กันยายน 2555 ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา

ประเด็นโครงข่ายเชื่อมโยงท่อก๊าซอาเซียนได้หารือเกี่ยวกับกฎระเบียบการค้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี ในกลุ่มสมาชิกอาเซียน เพื่อให้มีมาตรฐานและกฎระเบียบเดียวกัน รวมทั้งสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาค เรื่อยไปจนถึงการวางมาตรฐานเชื่อมโยงท่อก๊าซธรรมชาติร่วมกัน เพื่อรองรับการต่อท่อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซในประเทศอินโดนีเซียเข้ามาขายในอาเซียน

"ระหว่างนี้ กกพ.ได้เร่งพิจารณาเรื่องการวางกฎระเบียบ และศึกษาแนวทางการเปิดให้บริษัทผู้ค้าก๊าซธรรมชาติรายอื่น นอกจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้ามาแข่งขันขายก๊าซธรรมชาติได้อย่างเสรี โดยได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ศึกษาการวางกฎระเบียบ อัตราค่าใช้จ่ายการใช้ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และคลังจัดเก็บแอลเอ็นจี ให้ผู้ค้าก๊าซธรรมชาติทุกรายสามารถเข้าถึงได้ และสามารถแข่งขันด้านราคาได้อย่างเต็มที่

"เปิดทางผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งภาคอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้า สามารถเลือกซื้อก๊าซธรรมชาติจากผู้ค้าที่พร้อมจำหน่ายในราคาต่ำที่สุดได้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนภาคอุตสาหกรรม และการผลิตไฟฟ้าลดลงด้วย คาดการณ์ภายในสิ้นปี 2555 ผลการศึกษาจะแล้วเสร็จ จากนั้น กกพ.จะพิจารณาขั้นตอนต่อไปให้ลุล่วงภายในปี 2556 อาจสามารถเปิดให้มีการแข่งขันในธุรกิจก๊าซธรรมชาติได้"

นายดิเรกกล่าวต่อว่า ระหว่างการประชุมกับสมาชิกอาเซียนยังได้ข้อตกลงเกี่ยวกับอาเซียนกริด กำหนดข้อตกลงด้านมาตรฐานการเชื่อมต่อสายส่งไฟฟ้าระหว่างประเทศ ได้แก่ มาตรฐานความปลอดภัย หลักการคิดอัตราค่าเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศ การขายไฟฟ้าข้ามประเทศ และการแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งจะทำให้การซื้อขายไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอาเซียนมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

ส่วนประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากโครงการอาเซียนกริด คือช่วยประหยัดงบประมาณการก่อสร้างโรงไฟฟ้า โดยจะใช้วิธีซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ใช่ช่วงความต้องการใช้สูงสุด (peak) มาใช้ช่วงพีกของไทย เพราะที่ผ่านมาไทยใช้วิธีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับช่วงการใช้ไฟฟ้าช่วงพีกแต่ละวันมาตลอดอยู่ 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงก่อนเที่ยง ช่วงบ่าย และช่วงเย็น ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านมีช่วงพีกเช่นกัน แต่คนละเวลากับไทย ทำให้ไทยสามารถซื้อไฟฟ้าจากเพื่อนบ้านแทนการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มได้ ขณะเดียวกันก็สามารถส่งไฟฟ้าขายให้เพื่อนบ้านช่วงพีกได้

นายดิเรกกล่าวเพิ่มเติมถึงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) ที่จะปรับขึ้นงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม 2555 นั้น มีแนวโน้มต่ำกว่าพอสมควรจากที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คาดการณ์ไว้ที่ 58 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะนำเงินชดเชยที่ ปตท.ต้องจ่ายจากกรณีอุบัติเหตุท่อส่งก๊าซแหล่งปลาทองรั่วเมื่อปีที่ผ่านมา 2,400 ล้านบาท มาลดหย่อนค่าเอฟที และอาจจะให้ กฟผ.รับภาระในส่วนหนึ่ง แต่ตัวเลขค่าเอฟทีที่แน่นอน จะประชุมสรุปชัดเจนอีกครั้งวันที่ 6 กันยายนนี้

สำหรับการขึ้นค่าเอฟทีปี 2555 นั้นทางภาครัฐพยายามตรึงไว้ เพื่อช่วยแบ่งเบาความเดือดร้อนของประชาชน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 474

โพสต์

PTT เล็งซื้อ LNG-สร้างคลังเฟสสอง [ ทันหุ้น, 03 กันยายน 2555 ]


บมจ.ปตท.(PTT)ผู้ประกอบกิจการพลังงานรายใหญ่ของไทย มีแผนซื้อ ก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ตามสัญญาระยะยาว จากแหล่งตะวันออกกลางในอนาคต จาก ขณะนี้เป็นการซื้อตลาดจร(spot) เพื่อรองรับการใช้ในธุรกิจไฟฟ้า

ขณะที่รอความชัดเจนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า(PDP) ใหม่ ก่อนเดินหน้าสร้าง คลัง LNG เฟสสอง มูลค่าราว 2 หมื่นล้านบาท

แต่นายวิชัย พรกีรติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น และก๊าซธรรมชาติ ของ PTT ไม่ได้ระบุถึงปริมาณและราคา LNG ที่จะซื้อตามสัญญาระยะยาว ในครั้งนี้

"ขณะนี้เราอยู่ระหว่างการทำร่างสัญญาซื้อขายก๊าซ LNG ระยะยาว แต่ในช่วง ระยะนี้จนถึง 1-2 ปีข้างหน้า คงจะต้องหาซื้อจากตลาด spot ไปก่อน ตามแผนที่วางเอาไว้ ซึ่งตอนนี้เราซื้อประมาณ 1 แสนตันต่อเดือน เพื่อป้อนให้กับธุรกิจไฟฟ้า" นายวิชัย กล่าว

ไทยเริ่มนำเข้า LNG ตั้งแต่กลางปี 54 ซึ่งเป็นการซื้อจาก spot หลังได้เปิด ดำเนินการคลังเก็บและหน่วยเปลี่ยน LNG มาเป็นก๊าซธรรมชาติ (LNG Receiving Terminal) ขนาด 5 ล้านตัน มูลค่าราว 3 หมื่นล้านบาท ในจ.ระยอง

LNG เป็นทางเลือกหนึ่งของการจัดหาก๊าซฯ เพื่อรองรับเศรษฐกิจเติบโต รวมถึง การใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า
นายวิชัย กล่าวอีกว่า บริษัทมีแผนก่อสร้าง LNG Receiving Terminal ระยะ ที่สอง ที่มีขนาด 5 ล้านตัน มูลค่าราว 2 หมื่นล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ รองรับ LNG เป็น 10 ล้านตัน แต่ขณะนี้ยังต้องรอความชัดเจนจากแผน PDP ฉบับใหม่ที่ อยู่ระหว่างจัดทำ ซึ่งจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าในระยะยาวไทยจะต้องการใช้เชื้อเพลิงประเภท ใดในการผลิตไฟฟ้า

"หากแผนดังกล่าวยังไม่สามารถทำเสร็จได้ แผนการขยาย LNG Terminal ระยะ ที่สอง คงต้องรอความชัดเจนดังกล่าวไปก่อน ซึ่งแผนงานดังกล่าวปตท.ได้กันงบสำหรับ ลงทุนไว้เรียบร้อยแล้ว" นายวิชัย กล่าว

ขณะที่แผน PDP ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นแผนปี 2553-2573 ฉบับปรับปรุงครั้ง ที่ 3 โดยสิ้นสุดปี 73 จะเป็นการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ 54%, ถ่านหิน 11%, ซื้อ ไฟฟ้าจากต่างประเทศ 12%, พลังงานหมุนเวียน 14%, นิวเคลียร์ 3% และพลังงานน้ำ 6%

อย่างไรก็ตาม รมว.พลังงาน เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่า กระทรวงพลังงานจะจัดทำแผน PDP 2012 ขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะเป็นแผนระยะยาว 20 ปีข้างหน้า โดยจะมีการพิจารณาประเภท เชื้อเพลิงที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยเห็นว่าการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ยัง มีโอกาสบรรจุในแผนใหม่ด้วย หลังแผนฉบับปรุงปรุงครั้งที่ 3 ได้บรรจุโรงไฟฟ้าจากก๊าซฯ เพิ่มขึ้น

ราคาหุ้น PTT ช่วงเที่ยง บวก 2.12% มาที่ 337 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 475

โพสต์

เปิดทางเอกชนดูแลพลังงานทดแทน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Monday, September 03, 2012


กระทรวงพลังงานเปิดทางเอกชนดูแลพลังงานทดแทนโดยเฉพาะ ลดอำนาจทางการตลาดของปตท.ลง แต่ถามหาใครจะเป็นผู้ลงทุน ด้านส.อ.ท.ชี้บางจากมีศักยภาพเหมาะสม ที่สำคัญต้องให้ปตท.ออกจากการถือหุ้น

ขณะที่แผนการพัฒนาพลังงานทดแทนเดินหน้าได้แล้ว 9.9% แต่ยังเหนื่อยกับการส่งเสริมใช้ไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ ยังต่ำกว่าเป้า

นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากกรณีที่ภาคเอกชนเสนอให้มีการตั้งบริษัทเพื่อดูแลด้านพลังงานทดแทนโดยเฉพาะ เพื่อต้องการลดอำนาจทางการตลาดของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลง เนื่องจากปัจจุบัน ปตท.มีส่วนแบ่งทางการตลาดค่อนข้างมากทั้งเชื้อเพลิงฟอสซิลและพลังงานทดแทน โดยเฉพาะไบโอดีเซลบี100 และเอทานอล

ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานไม่ได้ปิดกั้น และพร้อมเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนรายอื่นที่สนใจเข้ามาลงทุนด้านพลังงานทดแทน แต่สิ่งที่ทำได้ยากคือ ใครจะเป็นผู้ลงทุน และการที่จะให้พลังงานทดแทนขับเคลื่อนไปกับโรงกลั่นน้ำมัน เนื่องจากการนำไบโอดีเซลบี 100 และเอทานอล ไปผสมในเนื้อน้ำมันนั้น จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้โรงกลั่นและคลังน้ำมัน เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์

ขณะเดียวกันการขับเคลื่อนพลังงานทดแทนในช่วงแรกนั้น จำเป็นต้องใช้ผู้ค้าน้ำมันช่วยส่งเสริม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์มากที่สุด และเป็นไปตามเป้าของแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 10 ปี ที่ตั้งเป้าปริมาณการใช้เอทานอลที่ 9 ล้านลิตรต่อวัน และบี100 ที่ 4.5 ล้านลิตรต่อวัน เนื่องจาก ปตท.มีสถานีบริการน้ำมันจำนวนมาก สามารถจำหน่ายพลังงานทดแทนได้ในปริมาณมาก

"เราไม่ได้ปิดกั้นหากมีเอกชนสนใจที่จะขยายกำลังการผลิตบี100 และเอทานอล หรือต้องการลงทุนด้านพลังงานทดแทน สาเหตุที่ต้องการให้ ปตท. เดินหน้าพลังงานทดแทน เพราะต้องอยู่ใกล้โรงกลั่นน้ำมัน และเป็นตัวขับเคลื่อนให้ได้ตามแผน ซึ่งขณะนี้ ปตท. ก็อยู่ระหว่างการทดลองน้ำมันดีเซลที่ผลิตจากบี100 (BSD) และน่าจะสามารถจำหน่ายผ่านสถานีบริการเร็วๆนี้ หากประสบความสำเร็จจะทำให้สามารถใช้บี100 ในเนื้อน้ำมันเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 30-40% จากปัจจุบันที่ใช้บี100 ผสมในเนื้อน้ำมันดีเซลเพียง 3-5% เท่านั้น เชื่อว่าจะทำให้ความต้องการใช้บี100 เพิ่มขึ้น"

นายไกรฤทธิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับการส่งเสริมด้านพลังงานทดแทน ในปีนี้ถือว่าประสบความสำเร็จและคืบหน้ามากขึ้น เชื่อว่าแผนของรัฐบาลที่ตั้งเป้าว่าปี 2564 ไทยจะเดินหน้าพลังงานทดแทนให้ได้ 25% ของการใช้พลังงานทั้งหมดน่าจะเป็นไปตามเป้า ซึ่งปีนี้ทำได้แล้ว 9.9% จากเดิมตั้งไว้ 9.2% โดยเฉพาะพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่นำมาผลิตไฟฟ้า ถือว่าประสบความสำเร็จ สามารถเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาจาก 72 เมกะวัตต์ เป็น 260 เมกะวัตต์ คาดว่า ปลายปีนี้จะได้ถึง 380 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตาม ยังกังวลเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งไบโอดีเซลและเอทานอลไม่เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ ว่าภายในสิ้นปีนี้เอทานอลต้องอยู่ที่ 1.8 ล้านลิตรต่อวัน แต่เวลานี้ทำได้เพียง 1.2-1.3 ล้านลิตรต่อวัน เนื่องจากประชาชนยังไม่ให้ความสำคัญในส่วนนี้มากนัก ขณะที่ไบโอดีเซลตั้งเป้าที่ 3.1-3.2 ล้านลิตรต่อวัน ปัจจุบันทำได้ประมาณ 2.5 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น เนื่องจากไบโอดีเซลได้รับผลกระทบจากผลปาล์มน้ำมันขาดแคลน

แหล่งข่าวจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ธุรกิจพลังงานทดแทนของไทย ในอีก 10 ปีข้างหน้า ในส่วนของไบโอดีเซลเชื่อว่าจะเป็นไปตามเป้าที่ 4.5 ล้านลิตรต่อวัน เนื่องจากมีการกำหนดสัดส่วนผสมในเนื้อน้ำมันดีเซลชัดเจน แต่ในส่วนของเอทานอล หากภาครัฐต้องการให้เป็นไปตามเป้าที่ 9 ล้านลิตรต่อวัน ในอีก 10 ปีข้างหน้าจะต้องยกเลิกจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ตามที่ประกาศไว้จะยกเลิกภายในเดือนมกราคม 2556 หากสำเร็จจะทำให้ความต้องการใช้เอทานอลเพิ่มเป็น 3-4 ล้านลิตรต่อวัน รวมถึงจะต้องส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี20 และอี85 อย่างจริงจังด้วย ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้เอทานอลจะเป็นไปตามเป้าได้

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่าการควบคุมดูแลด้านพลังงานทดแทนของไทย อาจต้องตั้งบริษัทใดบริษัทหนึ่งเข้ามาดูแลโดยเฉพาะหรือไม่นั้น เพราะหากให้ปตท. ดูแลทั้งพลังงานฟอสซิล และพลังงานทดแทนด้วยนั้น อยากถามว่าคนไทยมีความพร้อมและเห็นด้วยที่จะมอบอำนาจให้กับ ปตท.หรือไม่

โดยเห็นว่าควรจะมีการจัดตั้งบริษัทเพื่อดูแลพลังงานทดแทนโดยเฉพาะขึ้นมา หรือหากเป็นบริษัทในเครือ ปตท. ก็มองว่าบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) มีความเหมาะสม เพราะมีความเป็นผู้นำด้านพลังงานทดแทนมาต่อเนื่อง แต่ ปตท. จะต้องถอนสัดส่วนการถือหุ้นในบางจากออกด้วย


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,771 2-5 กันยายน พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 476

โพสต์

SRICHA เดินหน้าประมูลงานใน-ตปท.เกือบ 1.2 หมื่นลบ.ทยอยรู้ผลถึงปีหน้า
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 3 กันยายน 2555 15:29:08 น.

บมจ.ศรีราชาคอนสตรัคชั่น (SRICHA)ยื่นประมูลงานใหม่ทั้งในประเทศและต่างประเทศไปแล้วรวม 2.9 พันล้านบาท คาดว่าจะรู้ผลต้นเดือนต.ค.นี้ พร้อมกันนั้นบริษัทเตรียมยื่นประมูลโครงการใหญ่ในต่างประเทศมูลค่าราว 9 พันล้านบาท คาดว่าจะรู้ผลในช่วงปี 56 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงาน Oil&Gas พร้อมกันนั้นบริษัทยังอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรเพื่อร่วมกันพัฒนาที่ดินติดกับท่าเรือเพื่อรองรับงานในอนาคต

ปัจจุบัน บริษัทมีงานในมือ(backlog)ราว 500 บาทคาดว่าจะรับรู้เป็นรายได้ภายในปีนี้

--อินโฟเควสท์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 477

โพสต์

PTTEP คัดเลือก TOTAL-JX NOEX ร่วมทุนแหล่ง M11 ในพม่า รวมถือหุ้น 55%
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 3 กันยายน 2555 13:34:23 น.


นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เปิดเผยว่า PTTEP International Limited(PTTEPI) ซึ่งเป็นบริษัทลูก ได้คัดเลือก Total E&P Myanmar และ JX Nippon Oil & Gas Exploration (Myanmar) Limited ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ JX NOEX เข้าเป็นผู้ร่วมทุนในแปลงสำรวจปิโตรเลียม เอ็ม 11 ในสัดส่วน 40% และ 15% ตามลำดับ โดย PTTEP จะยังคงเป็นผู้ดำเนินการและถือสิทธิการร่วมทุนในสัดส่วน 45% สัญญาดังกล่าวจะมีผลบังคับเมื่อได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์แล้ว

นายเทวินทร์ กล่าวว่า การหาพันธมิตรเพื่อเข้าร่วมทุนในแปลงเอ็ม 11 เป็นการบริหารจัดการด้านความเสี่ยงในการลงทุนของบริษัท โดยเฉพาะการสำรวจในบริเวณน้ำลึก และยังเป็นการต่อยอดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ระหว่างกัน รวมทั้งการมองหาโอกาสขยายการลงทุนร่วมกันในอนาคตด้วย นอกจากนี้ TOTAL จากประเทศฝรั่งเศส ยังเป็นผู้ร่วมทุนกับบริษัทในโครงการอื่นๆ เช่น โครงการบงกชและโครงการยาดานา ในขณะที่ JX NOEX จากประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ร่วมทุนในโครงการเยตากุน และโครงการบี 6/27 ซึ่งทั้งสองบริษัทมีความเชี่ยวชาญและมีเทคโนโลยีด้านการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก

แปลงเอ็ม 11 มีพื้นที่ 5,373 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่บริเวณน้ำลึกในอ่าวเมาะตะมะ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ที่บริษัทได้รับสิทธิการสำรวจปิโตรเลียมในแปลงดังกล่าวในปี 2548 โดยได้ทำการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 2 มิติและศึกษาธรณีวิทยาปิโตรเลียม จากนั้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้เสร็จสิ้นการวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติในบริเวณโครงสร้างที่มีศักยภาพสูง โดยแผนงานต่อไปจะดำเนินการเจาะหลุมสำรวจ จำนวน 1 หลุมภายในไตรมาส 3/56

ปัจจุบัน PTTEP มีโครงการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียมในสหภาพเมียนมาร์ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการยาดานา และโครงการเยตากุน ซึ่งอยู่ในระยะผลิตก๊าซธรรมชาติ โครงการวอติก้าอยู่ในระยะพัฒนา ส่วนโครงการพม่าเอ็ม 3 และเอ็ม 11 และโครงการพม่าพีเอสซี จี และอีพี 2 อยู่ระยะสำรวจ


--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 478

โพสต์

ปตท.ลุ้น5ปีผลิตน้ำมันจากสาหร่าย
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, September 04, 2012


ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.คาดผลิตน้ำมันจากสาหร่ายได้ภายใน 5 ปี หลังพบต้นทุนการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายอยู่ลิตรละ 45 บาท ใกล้เคียงราคาน้ำมันจากฟอสซิล

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมระดับนานาชาติด้านวัตกรรมของสาหร่าย ครั้งที่ 2 (The 2 Asia-Oceania Algae Innovation Summit)ในหัวข้อสาหร่ายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2555 ที่มีสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยผู้จัดว่า ทางสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.ได้ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ร่วมกันวิจัย และพัฒนาสาหร่ายเซลล์เดียวเพื่อผลิตน้ำมัน ซึ่งถือเป็นพลังงานทางเลือกในอนาคต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่เหมาะสม คาดว่าในปี 2560 จะสามารถผลิตน้ำมันจากสาหร่ายเชิงพาณิชย์ได้

จากการวิจัยของญี่ปุ่นพบว่า น้ำมันไบโอดีเซลที่ผลิตจากสาหร่ายมีราคาลดลงมากอยู่ที่ 45 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นระดับราคาที่มีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์เพราะราคาใกล้เคียงราคาน้ำมันจากฟอสซิล ในอนาคตราคาน้ำมันจากฟอสซิลจะแพงขึ้นขณะที่น้ำมันจากสาหร่ายจะมีแนวโน้มต้นทุนการผลิตที่ลดต่ำลง นับเป็นพลังงานทางเลือกที่ดีที่สุด

นายไพรินทร์ กล่าวต่อไปว่า ข้อดีของการใช้สาหร่ายผลิตน้ำมัน คือ สาหร่ายสามารถผลิตน้ำมันได้ 60% และกากสาหร่ายที่เหลือสามารถนำทำเป็นอาหารสัตว์ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงน้อยมาก ไม่กระทบห่วงโซ่อาหารเหมือนกับพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น ไบโอดีเซล

การจัดประชุมฯในครั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ผู้แทนรัฐจาก 11 ประเทศรวมกว่า 500 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง องค์ความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสาหร่าย รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นประเทศระดับแนวหน้าของโลกที่ทำการวิจัยและพัฒนาสาหร่ายเพื่อผลิตน้ำมัน

นายวิชัย พรกีรติวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติปตท. กล่าวว่า ขณะนี้แผนการก่อสร้างคลังก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ระยะที่2 ล่าช้ากว่าแผน จากเดิมจะเริ่มปลายปีที่แล้ว เนื่องจากต้องรอมติ ครม. อนุมัติแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว หรือ พีดีพี ฉบับปรับปรุงใหม่ แต่เมื่อยังไม่อนุมัติก็ยังไม่สามารถเริ่มโครงการก่อสร้างคลังดังกล่าวได้

โดยโครงการนี้จะสร้างในพื้นที่แอลเอ็นจีระยะที่ 1 ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จะมีการก่อสร้างคลังรับแอลเอ็นจี 2 คลัง เงินลงทุน 20,000 ล้านบาท สิ่งที่น่าห่วง คือ ระยะเวลาก่อสร้างที่นาน 5 ปี หากยิ่งช้าก็จะกระทบต่อการจัดหาเชื้อเพลิงเพราะแอลเอ็นจีจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ต้องดูสัญญาทั้งระยะสั้นและยาวขณะที่ก๊าซในประเทศและการซื้อจากประเทศเพื่อนบ้านมีข้อจำกัด

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 479

โพสต์

ปตท.ชี้เชื่อมั่นลดหลังศาลสั่งยุตินิคมบ้านค่าย
แหล่งข่าว : ไทยโพสต์ , วันที่ : 04/09/2012


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรม การผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผย ว่า จากกรณีที่ศาลปกครองระยองมี คำสั่งเพิกถอนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมระยอง (บ้านค่าย) ของ บมจ.ไออาร์พีซี ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.บ้านค่าย จ. ระยอง ตามคำฟ้องของเครือข่ายสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน เมื่อวันที่31 ส.ค.2555 เพื่อให้กลับไปจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ให้ เสร็จก่อน จึงจะประกาศเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมบ้านค่ายได้นั้น เห็นว่าดำเนินการดังกล่าวกระทบกับความเชื่อมั่นลงทุนของตลาดทั้งประเทศและคาดว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องร่วมกับไออาร์พีซี จะเป็นผู้ดำเนินการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาแต่ทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายต่อไป

นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไออาร์พีซี กล่าวว่า พื้น ที่นิคมอุตสาหกรรมบ้านค่ายมีพื้นที่ใช้ สอยรวม 2,500 ไร่ โดยใช้ประโยชน์จริง 2,000 ไร่ ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่สำหรับจัดสร้างสาธารณูปโภคและเป็นพื้นที่สีเขียว โดยไออาร์พีซีจะเริ่มพัฒนาระบบสาธารณูปโภคปลายปี 2555 และเริ่มเปิดขายพื้นที่นิคมฯ ใน ปี 2556 ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งใจให้นิคมอุตสาหกรรมบ้านค่ายที่นิคมฯ ที่เป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะเปิดขาย พื้นที่เพื่อทำอุตสาหกรรมด้านพลังงานทดแทน สินค้าแปรรูปเกษตร อิเล็กทรอนิกส์และสถานที่วิจัยและพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 480

โพสต์

PTTEP inks partnership deal
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, September 04, 2012
YUTHANA PRAIWAN



Will explore M11 block alongside foreign firms

PTT Exploration and Production, the only SET-listed upstream oil firm, has finally entered into a partnership agreement with Total of France, JX Nippon Oil of Japan and Gas Exploration Myanmar to jointly explore M11 block off the Myanmar coast.

PTTEP, through wholly owned subsidiary PTTEP International, will hold the majority stake of 45%, said Tevin Vongvanich, PTTEP’s chief executive and president.

Total, through subsidiary Total E&P Myanmar, will hold 40% of the venture.JX Nippon, through subsidiary JX Nippon Oil and Gas Exploration Myanmar, will take 15% in the venture.

The farm-out agreement is subject to the consent of the Myanmar government.

Mr Tevin said having a partnership will help the company manage investment risks, particularly in deep-water exploration. They could also exchange knowledge and technology with each other while exploring future investment opportunities.

He said Total and JX Noex are its long-time strategic partners in many projects in Thailand and Myanmar. Both companies have a strong recognition in oil and gas exploration technology and experience.

M11 block covers an area of 5,373 square kilometres, located in deep-water in the Gulf of Martaban. PTTEP received the exploration and production rights to M11 block in 2005, and later finalised the 2D seismic survey and petroleum geology study.

In March PTTEP completed a 3D seismic survey in the high potential structure area. The partnership plans

an exploration drill in next year’s third quarter.

Mr Tevin said PTTEP has so far invested in five petroleum exploration and production projects in Myanmar including Yadana, Yetagun and the Zawtika project which is in a development phase.

The company also has M3,M11, Myanmar PSC G and EP 2 projects which were under exploration.Mr Tevin said PTTEP projected its oil and gas production will triple to 900,000 barrels of oil equivalent per day by 2020, up from the current 280,000 BOED.

The M11 project is one of the company’s long-term investment plans for 2012-16, with a budget of US$20 billion.

Songklod Wongchai, a stock analyst at Finansia Syrus Securities, said the share dilution of the M11 project had nothing to do with the company’s financial status or the Cove energy deal.

Normally, he said exploration and production companies will dilute shares for a joint-venture company in order to reduce risks before drilling starts.

In addition, the M11 block project is in a deep water area requiring a large investment, so more parties are needed to jointly invest.

Mr Songklod said PTTEP last year also diluted shares in M9 or Zawtika projects to 80% from 100% for Myanmar Oil and Gas Enterprise (MOGE), which will have first gas in 2014.

The company reported that deep water drilling will cost around $100 million for each project.

PTTEP closed at 150 baht yesterday,up one baht, in trade worth 362 million baht.



Caption

Tevin: Partnering spreads risk around



Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."