รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 421

โพสต์

RATCH เผยโรงไฟฟ้าชีวมวล"สงขลาไบโอ แมส"เซ็นสัญญาซื้อขายไฟกับกฟภ. [ ทันหุ้น, 09 สิงหาคม 2555 ]

บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง(RATCH)เปิดเผยว่า โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลของ บริษัท สงขลาไบโอ แมส จำกัด ซึ่งบริษัทเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 40% ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าประเภท Non-Firm สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กมากกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยมีอายุสัญญาระยะเวลา 25 ปี ตั้งแต่วันเริ่มต้นเดินเครื่องเชิงพาณิชย์
โครงการดังกล่าวมีขนาดกำลังผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ใน อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวลจากปีกไม้และรากไม้ยางพารา และได้รับเงินสนับสนุน(ADDER)จากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.)จำนวน 1.30 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 7 ปี คาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ได้ปลายปี 57
biomass_graphic.jpg

ที่มา :
http://www.energy.ca.gov/biomass/
http://protectionrelay.blogspot.com/201 ... st_12.html
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 422

โพสต์

'เอสพีซีจี'เจรจากู้แบงก์2.4พันล.รับ'โซลาร์ฟาร์ม' [ กรุงเทพธุรกิจ, 10 ส.ค. 55 ]

เอสพีซีจีหันกู้เงินระยะสั้นแบงก์กสิกรมูลค่า 1.4-2.4 พันล้านบาท รองรับโซลาร์ฟาร์มโครงการที่
17-34 หวั่นคลอดกองทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานไม่ทัน มั่นใจปีนี้กำไรโตเท่าตัวจากปีก่อนที่ขาดทุน เผยมีแผน
เข้าซื้อใบอนุญาตโซลาร์ฟาร์มอีก 1 ราย กำลังผลิต 6 เมกะวัตต์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 423

โพสต์

ปตท.ทุ่ม 4 หมื่นล้านวางท่อก๊าซโกรกพระ-โคราช
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, August 11, 2012


การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ครั้งล่าสุดในวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในโครงการขนส่งทางท่อถึง 3 โครงการ คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 41,100 ล้านบาท ประกอบไปด้วย โครงการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อเส้นทางวังน้อย-โกรกพระ, โครงการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อเส้นทางแก่งคอย-สูงเนิน และโครงการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อบ้านอีต่อง กาญจนบุรี มีรายละเอียดของโครงการดังต่อไปนี้ โครงการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อจาก อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ไปยัง อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ ระยะทาง 210 กิโลเมตร จะวางท่อก๊าซบนบกขนาด 28 นิ้ว พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ควบคุม ใช้เงินลงทุน 23,000 ล้านบาท เริ่มต้นจากสถานีควบคุมก๊าซวังน้อย (MRS วังน้อย) ที่โรงไฟฟ้าวังน้อย ไปตามแนวสายส่งไฟฟ้า อ.บางปะอิน วิ่งขนานไปกับถนนสายเอเชีย เข้าถนนพหลโยธิน ไปสิ้นสุดที่ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ โครงการนี้จะสามารถขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อได้ 145,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/ปี เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง โครงการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อจาก อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ไปยัง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ระยะทาง 150 กิโลเมตร จะวางท่อก๊าซบนบกขนาด 28 นิ้ว พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ ใช้เงินลงทุน 16,000 ล้านบาท เริ่มต้นจากสถานีควบคุมความดันก๊าซธรรมชาติที่ 5 (WK5) ของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติวังน้อย-แก่งคอย สระบุรี มาตามแนวถนนมิตรภาพ ไปสิ้นสุดโครงการที่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ขนส่งก๊าซธรรมชาติ ทางท่อได้ 141,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/ปี เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง

และโครงการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อจากจุดซื้อขายก๊าซบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ ไปยังสถานีควบคุมความดันก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตกที่ 1 (Block Value West1) ตั้งอยู่ที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี จะวางท่อก๊าซระยะทาง 1 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุน 2,100 ล้านบาท จะขนส่งก๊าซธรรมชาติได้ 125,000 ล้านลูกบาศก์ฟุต/ปี

จากเดิมที่สถานีควบคุมความดันก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตกที่ 1 รับก๊าซธรรมชาติที่ส่งมาจากแหล่งยาดานา/เยตากุน เมียนมาร์ ตัวโครงการที่บ้านอีต่องจะเป็นการวางท่อก๊าซเพิ่มเติมเพื่อต่อเชื่อมกับท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นใหม่ของบริษัท ปตท. ที่จะมาจากแหล่งซอติก้า เมียนมาร์

สำหรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 3,649 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน บริษัท ปตท.ได้คาดการณ์ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในระหว่างปี 2553-2557 จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เป็น 4,821 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน

ที่สำคัญตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติที่วางขึ้นใหม่ โดยเฉพาะท่อก๊าซวังน้อย-โกรกพระ กับท่อก๊าซแก่งคอยสูงเนิน บริษัท ปตท.จะสามารถก่อ สร้างสถานีบริการก๊าซ NGV ได้ตลอด แนวท่อก๊าซ เพิ่มความสามารถในการ ขนส่งก๊าซทางท่อ สามารถลดการขนส่งโดยใช้รถบรรทุกก๊าซ NGV ลงได้มาก และจะก่อให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ ตามมา

สำหรับโครงการขนส่งทางท่อ (น้ำมัน+ ก๊าซ) ปัจจุบัน BOI ได้ให้การส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว 9 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน), บริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย (THAPP LINE), บริษัทเจพี-วันแอสเซ็ท, บริษัทอมตะจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ, บริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ (FTP), บริษัทไออาร์พีซี (IRPC) และบริษัททรานส์ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) (TTM)

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 424

โพสต์

Indonesian activists prepare to sue PTTEP unit over Montara spill
Source - The Nation (Eng), Saturday, August 11, 2012


Indonesians who live and work in the southern part of East Nusa Tenggara (NTT) province can only recall the heyday when they sailed into the clean open sea, caught many fish and cultivated fresh seaweed.

Their fortunes changed in August 2009 when an oil platform owned by PTTEP Australasia in the Montara field off Australia’s north coast exploded, leaking 2,000 barrels of oil a day and polluting the Timor Sea and nearby waters.A number of fishermen in Kupang, the provincial capital, said their catches had drastically dropped because southern waters that border immediately with Australia have been polluted with oil, so bottom-dwelling fish have migrated away."The fishermen have been searching for fish in the north of Timor Island around Batek Island and the Alor island chain and its surroundings over the past year," said Simon Lakona, who earns his living catching bottom-dwelling fish."Fish resources in the south of NTT have dropped drastically. Fishermen even have to become construction labourers because their catches have dropped up to 90 per cent," he added.Lakona said a large number of seaweed farmers in Kupang and Rote Ndao, a regency on one of NTT southern islands, were also facing economic failure after the oil explosion and none of them were farming seaweed now.Semin Polin, village chief of Kuanheun in West Kupang district, said: "I still recall the heyday of seaweed production when people could earn between 15 million and 30 million rupiah [Bt50,000-Bt100,000] each harvest. However, none of them grow seaweed now because of harvest failure."According to the West Timor Care Foundation (YPTB), the oil spill has caused ecological damage in the Timor Sea and Indonesian waters, covering the south of Timor Island, the Sawu Sea, Kupang coasts, Rote, Kupang, Sabu, Sumba and other waters in NTT."Seaweed production and catches of bottom- and surface-dwelling fish have dropped by up to 80 per cent over the past three years. [This] has caused coastal communities to suffer from economic failure after the oil spill polluted Indonesian waters," YPTB director Ferdi Tanoni said.YPTB, along with its network in Indonesia, Australia, East Timor and the United States, plans to file a lawsuit at the Australian Federal Court before August 21 against PTTEP Australasia. The legal measures were taken after the company failed to pay compensation for the impact of the oil spill since August 21, 2009."According to Australian laws, a case is deemed to have expired after three years, so YPTB and its networks will file the lawsuit before August 21. Our legal advisers have prepared lawsuit materials and will register at the Australian Federal Court before the case expires," Tanoni said.The lawsuit consists of two parts. The first seeks compensation for material damages amounting to 16.59 trillion rupiah for ecological damage in the Timor Sea and Indonesian waters.The second part of the suit demands that PTTEP Australasia hire an independent team comprising scientists from Indonesia, Australia, East Timor and the US to conduct research to determine the impacts of the pollution in a scientific, transparent and accountable manner.To support the lawsuit, YPTB has received powers of attorney to represent six regions in NTT, namely Kupang municipality and Kupang and the regencies of South Central Timor, North Central Timor, Belu and Rote Ndao.Tanoni said that based on initial research by a number of scientists, about 98 per cent of the oil spill contaminated the Timor Sea and Indonesian waters with lead and the toxic solvent Corexit 9500.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 425

โพสต์

ผู้เชี่ยวชาญฯเตือนรัฐเร่งปรับโครงสร้างพลังงานก่อน AEC หยุดเพิ่มภาระกองทุนน้ำมัน
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 7 สิงหาคม 2555 18:09:12 น.


นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวเตือนให้รัฐบาลปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนความเป็นจริง ไม่เช่นนั้นจะทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีภาระเพิ่มขึ้น และมีโอกาสประสบภาวะขาดทุนหนัก จากปัจจุบันที่มีสถานะติดลบ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร และชะลอการปรับขึ้นราคา LPG ซึ่งมีแนวโน้มชะลอไปถึงสิ้นปีนี้ ถือเป็นนโยบายถอยหลังเข้าคลอง จากก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลมีการปรับโครงสร้างราคาพลังงานตามราคาตลาด แต่เมื่อถูกแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อทำให้ต้องชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ทั้งที่ราคานำเข้า LPG ช่วงต้นปีสูงถึง 1,200 เหรียญสหรัฐ/ตัน และกลางปีลดลงเหลือ 590 เหรียญสหรัฐ/ตัน แต่ในเดือน ส.ค. ราคาได้ปรับขึ้นไปที่ 700 เหรียญสหรัฐ/ตัน

ทั้งนี้ หากไม่มีการปรับโครงสร้างราคาพลังงานก่อนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)โดยเฉพาะ LPG การอุดหนุนค่าพลังงานจะกลายเป็นการอุดหนุนให้กับประชากรทั้ง AEC จำนวน 600 ล้านคน ขณะที่อัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจัดเก็บในอัตราต่ำที่ 0.005 บาท/ลิตรส่งเข้ากองทุนน้ำมันเพียง 0.60 บาท/ลิตร และมีแนวโน้มจะนำเงินอุดหนุนราคาน้ำมัน อีกทั้งควรปรับราคาน้ำมันดีเซลตามราคาตลาด ขณะที่รัฐจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน 7 บาท/ลิตร แต่ส่งเข้ากองทุนน้ำมัน 7.10 บาท

สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันในครึ่งหลังปี 55 คาดว่าน้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ 90-105 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันดิบตลาดเบรนท์อยู่ที่ 95-110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันเวสท์เท็กซัสอยู่ที่ 80-95 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล แต่หากกรณีเลวร้ายสุดจากวิกฤติยุโรปที่กรีซออกจากยูโรโซนและสเปนขอความช่วยเหลือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงเหลือ 70-75 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่วนโอกาสน้ำมันขึ้นถึง 200 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็นกรณีการเกิดสงครามตะวันออกกลาง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 426

โพสต์

ผู้ประกอบการปิโตรเคมี ไทยพร้อมจัดงาน'ออยแอนด์แก๊ส2012'
Source - พิมพ์ไทย (Th), Wednesday, August 15, 2012


นายอดิเทพ พิศาลบุคร์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ในอนาคตคาดการณ์กันว่า พลังงานดังกล่าวจะต้องมีวันหมดไป เราจึงต้องหาพลังงานทดแทนขึ้นมาเป็นพลังงานทางเลือก เช่น น้ำมันปาล์มจากต้นปาล์ม หรือพืชชนิดต่างๆ นอกจากนี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการทำงานที่สอดคล้องกันระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต้องบริหารการจัดการของเสียที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน

"ภาพรวมของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน และก๊าซในปัจจุบันยังคงมีอัตราการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น อันเป็นผลจากการปรับลดอัตราอากรนำเข้าตามข้อตกลงการค้าต่างๆ และนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรม ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรเตรียมรับสถานการณ์ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้" นายอดิเทพ กล่าว

ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2555 จะมีการจัดงานการแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ในงาน"Oil & Gas Thailand (OGET) 2012 and Petrochemical Asia 2012"ครั้งที่ 2 ที่ฮอล์ 105 ไบเทคบางนา โดยการสนับสนุนจาก กลุ่มบริษัท ปตท. กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน หรือสสปน.)ภายในงานจะมีผู้ประกอบการชั้นนำจากนานาชาติจาก มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย อิตาลี เยอรมันเป็นต้น จะนำสินค้าและเทคโนโลยีมาจัดแสดง

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 427

โพสต์

ภาพข่าว: ปตท. เตรียมเดินหน้าขยายคลังก๊าซเขาบ่อยา รองรับการนำเข้าแอลพีจี
Source - สยามรัฐ (Th), Wednesday, August 15, 2012


นายณัฐชาติ จารุจินดาประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)และนายเกรแฮม โป๊ปกรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท ฟอสเตอร์ วีลเลอร์ (ประเทศไทย)จำกัด ร่วมลงนามในสัญญาให้บริการที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมการขยายความสามารถในการรับจ่ายแอลพีจี ในโครงการท่าเรือแอลพีจี คลังก๊าซเขาบ่อยา จังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับปริมาณการใช้แอลพีจีที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ ที่อาคาร เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ซี

--จบ--
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 428

โพสต์

ประวัติการดำเนินงานกว่า 5 ทศวรรษของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน

ประวัติและการดำเนินงาน

พ.ศ. 2555 ฉลองครบรอบ 50 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

พ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซครบ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

พ.ศ. 2554 ผลิตน้ำมันครบ 300 ล้านบาร์เรลพ.ศ. 2554 ผลิตก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ผลิตปลาทองระยะที่ 2 เป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2554 ฉลองครบรอบ 30 ปี เอราวัณ แหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งแรกในอ่าวไทย

พ.ศ. 2554 ฉลองการผลิตน้ำมันครบ 200 ล้านบาร์เรลจากพื้นที่ผลิต B8/32

พ.ศ. 2554 เปิดศูนย์ขนส่งทางอากาศแห่งใหม่ที่จ.นครศรีธรรมราช

พ.ศ. 2553 ผลิตคอนเดนเสทครบ 300 ล้านบาร์เรล

พ.ศ. 2553 ครบรอบ 30 ปีศูนย์เศรษฐพัฒน์ จ.สงขลา

พ.ศ. 2552 ผลิตก๊าซครบ 9 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

พ.ศ. 2551 ผลิตก๊าซครบ 8 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

พ.ศ. 2550 ได้รับสัมปทานแปลงใหม่อีก 4 แปลง ได้แก่G4/50, G6/50, G7/50 และ G8/50 โดยเชฟรอนเป็นผู้ดำเนินการในสามแปลงแรก

พ.ศ. 2550 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับแปลงสัมปทานหมายเลข 10-13 ในอ่าวไทย กับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยเชฟรอนจะจัดส่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นที่อัตรา500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นไป

พ.ศ. 2550 ได้รับการต่ออายุสัมปทานการผลิตในอ่าวไทยแปลง 10-13 อีก 10 ปี (พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2565)

พ.ศ. 2550 ผลิตก๊าซธรรมชาติส่งเข้าท่อก๊าซเส้นที่ 3 ของปตท. เฉลี่ยวันละ 240 ล้านลูกบาศก์ฟุต

พ.ศ. 2549 ผลิตก๊าซครบ 7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตพ.ศ. 2549 ได้รับสัมปทานในอ่าวไทยเพิ่มเติมอีก 2 แปลงได้แก่ จี 4/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 504 ตารางกิโลเมตร) และจี 9/48 (ครอบคลุมพื้นที่ 252 ตารางกิโลเมตร)

พ.ศ. 2549 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 70,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32

พ.ศ. 2548 ควบรวมกิจการระหว่างยูโนแคล คอร์ปอเรชั่นกับเชฟรอน คอร์ปอเรชั่น และเปลี่ยนชื่อจากบริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด

พ.ศ. 2548 ผลิตก๊าซครบ 6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตพ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุมสำรวจ4 หลุมที่แปลง A ประเทศกัมพูชา

พ.ศ. 2547 ประสบความสำเร็จในการขุดเจาะหลุม 1 หลุมที่ลันตา 1 และ ลันตา 2 ในแปลง จี 4/43

พ.ศ. 2547 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านบริหารความปลอดภัยจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2546 ผลิตก๊าซครบ 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตพ.ศ. 2546 ผลิตน้ำมันดิบครบ 5 ล้านบาร์เรลพ.ศ. 2546 เซ็นสัญญาแปลง จี 4/43 และ แปลง 9A ในอ่าวไทย

พ.ศ. 2545 สร้างสถิติยอดผลิตน้ำมันบรรลุ 60,000 บาร์เรลต่อวันบนพื้นที่ผลิตบี 8/32

พ.ศ. 2545 ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งเอราวัณและแหล่งยูโนแคล 2/3 ลดราคาก๊าซธรรมชาติรวมมูลค่า 10,294 ล้านบาทภายในระยะเวลา 10 ปี

พ.ศ. 2545 ฉลองครบรอบ 40 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

พ.ศ. 2545 ได้รับสัมปทานการสำรวจในแปลง A ประเทศกัมพูชา

พ.ศ. 2545 แผนกวิเคราะห์และควบคุมผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพ ISO 9001

พ.ศ. 2544 ขุดเจาะหลุมน้ำมันในแนวนอน (horizontal monobore oil well) หลุมแรกในอ่าวไทย

พ.ศ. 2544 สร้างสถิติผู้นำการผลิตน้ำมันในอ่าวไทยบรรลุ38,000 บาร์เรลต่อวัน

พ.ศ. 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอย่างเป็นทางการของแท่นกระบวนการผลิตน้ำมันแหล่งปลาทอง นับเป็นแท่นกระบวนการผลิตปิโตรเลียมแท่นแรกที่สร้างและประกอบในประเทศไทย

พ.ศ. 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดแหล่งก๊าซไพลินในอ่าวไทย

พ.ศ. 2543 ผลิตก๊าซครบ 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตพ.ศ. 2543 ค้นพบแหล่งน้ำมันชบา ได้รับสัมปทานการสำรวจแหล่งจามจุรีเหนือ

พ.ศ. 2542 ประสบผลสำเร็จเพิ่มผลผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่ในการขุดเจาะหลุมก๊าซตามแนวนอนเป็นหลุมแรกที่หลุม"ตราด A-07" ณ ความลึก 1,990 เมตร (6,530 ฟุต)

พ.ศ. 2542 ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสงขลาของยูโนแคลได้รับใบรับรองมาตรฐาน มอก. 1300 (ISO/IEC Guide 25) จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

พ.ศ. 2542 ค้นพบแหล่งน้ำมันดิบปริมาณเชิงพาณิชย์ในอ่าวไทย ในแปลงสำรวจที่ 10A และ 11A

พ.ศ. 2542 ขุดเจาะหลุมก๊าซในแนวนอนหลุมแรกในอ่าวไทยพ.ศ. 2542 เริ่มการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งเบญจมาศในวันที่ 1 กรกฎาคม โดยเชฟรอนเป็นผู้ผลิตในวันที่ 1 ตุลาคม

พ.ศ. 2542 เชฟรอนควบรวมกิจการกับ Rutherford Moran Oil Corp. ในวันที่ 17 มีนาคม

พ.ศ. 2541 ฉลองครบรอบ 36 ปีของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย

พ.ศ. 2541 เซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลวกับ ปตท.

พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตร ISO 14001 ในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

พ.ศ. 2540 ผลิตก๊าซธรรมชาติครบ 3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

พ.ศ. 2540 ติดตั้งแท่นผลิตก๊าซ 3 ขาแท่นแรกที่ก่อสร้างในประเทศไทย

พ.ศ. 2540 เริ่มการผลิต ณ แหล่งทานตะวันในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และค้นพบแหล่งมะลิวัลย์

พ.ศ. 2539 ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแหล่งไพลินกับ ปตท.

พ.ศ. 2538 ค้นพบแหล่งเบญจมาศ และเริ่มต้นพัฒนาแหล่งทานตะวัน

พ.ศ. 2538 ขยายศูนย์เศรษฐพัฒน์ให้เป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์โดยการเพิ่มหน่วยฝึกอบรมปฏิบัติการฉุกเฉินและสถานีความปลอดภัยในน้ำ

พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลประกาศนียบัตรรับรองระดับสามขั้นสูง ด้านการจัดการสุขภาพและความปลอดภัย จากสถาบันDNV ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ดำเนินการรับรองความปลอดภัยตามระบบ International Safety Rating System (ISRS)

พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยของกระทรวงอุตสาหกรรม มอบให้โดย ฯพณฯนายกรัฐมนตรี

พ.ศ. 2537 ผลิตก๊าซครบ 2 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตพ.ศ. 2535 ค้นพบแหล่งทานตะวันในอ่าวไทยพ.ศ. 2534 ได้รับสัมปทานการสำรวจปิโตรเลียมแปลงB8/32

พ.ศ. 2533 ผลิตก๊าซครบ 1 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

พ.ศ. 2533 ติดตั้งสถานีเรดาร์ตรวจอากาศนอกฝั่งที่แหล่งก๊าซสตูล

พ.ศ. 2531 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 3 กับ ปตท.

พ.ศ. 2525 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับที่ 2 กับ ปตท.พ.ศ. 2524 เริ่มผลิตก๊าซส่งขึ้นฝั่งที่โรงแยกก๊าซของ ปตท.จังหวัดระยอง

พ.ศ. 2523 ก่อตั้งศูนย์เศรษฐพัฒน์ เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมเทคโนโลยีปิโตรเลียมสำหรับพนักงานชาวไทย

พ.ศ. 2521 ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซฉบับแรกกับ ปตท.พ.ศ. 2516 ประสบความสำเร็จค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณเชิงพาณิชย์แหล่งแรกของประเทศ ในแปลงหมายเลข 12 ซึ่งภายหลังตั้งชื่อว่าแหล่ง "เอราวัณ"

พ.ศ. 2511 ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลงหมายเลข12 และ 13 ในอ่าวไทย

พ.ศ. 2505 บริษัทยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด เป็นบริษัทแรกที่ได้รับอนุมัติสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทยบริเวณที่ราบสูงโคราช


ที่มา : ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, August 17, 2012
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 429

โพสต์

'บี.กริม'ตั้งกสิกรฯระดม5หมื่นล.รองรับสร้างโรงไฟฟ้า 10 แห่ง แบงก์เล็งชิงเค้กที่ปรึกษา หลัง
ผ่อนเกณฑ์โฮลดิ้งที่มีธุรกิจนอกประเทศ ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้
[ กรุงเทพธุรกิจ, 17 ส.ค. 55 ]

'อมตะ บี.กริม เพาเวอร์'ตั้งแบงก์กสิกรไทย เป็นที่ปรึกษาระดมเงินทุน 5 หมื่นล้านบาท
เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า 10 แห่งรวด ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าป้อน กฟผ. และโรงงานในนิคมอุตฯ ชั้นนำ 5
แห่ง สร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศในระยะยาว ด้านนายแบงก์ ชี้หลังผ่อนเกณฑ์โฮ
ลดิ้งมีธุรกิจหลักต่างประเทศเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยได้ เป็นโอกาสชิงเค้กที่ปรึกษา
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 430

โพสต์

PTTEP to finalise Cove acquisition
Source - Bangkok Post (Eng), Saturday, August 18, 2012


PTT Exploration and Production Plc (PTTEP) will soon begin the process of acquiring the remaining 5.68% of Cove shares from Cove shareholders who have not yet accepted the offer.

Tevin Vongvanich, the president and chief executive, said PTTEP Africa Investment Ltd (PTTEP AI), a wholly owned subsidiary of PTTEP, successfully acquired all of Cove Energy Plc’s share capital.

On Wednesday, PTTEP received written consent for the indirect change of control of Cove from the Mozambican Mineral Resources Ministry. PTTEP’s bid was accepted by 91.37% of Cove shareholders last month.

PTTEP will now request the London Stock Exchange cancel trading of Cove Shares on the Alternative Investment Market. Once Cove shares are delisted, Cove will be re-registered as a private company.

Mr Tevin said PTTEP will become a partner in Rovuma area 1 and other petroleum projects in Mozambique and Kenya.

The Rovuma Area 1 field in Mozambique is a world-class gas discovery, with estimated gas resources of up to 60 trillion cubic feet including oil prospects in the Black Pearl structure.

PTTEP shares closed yesterday on the SET at 152 baht, unchanged, in trade worth 547 million baht.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 431

โพสต์

มาเลย์อ้อนซื้อเพิ่ม ก๊าซองค์กรร่วมฯ อ้างความต้องการพุ่ง
Source - ไทยรัฐ (Th), Sunday, August 19, 2012


ก.พลังงานเตรียมชง ครม.แก้สัญญา มาเลย์ขอซื้อก๊าซธรรมชาติเพิ่ม จากองค์กรร่วมไทย-มาเลย์ อ้างความต้องการในประเทศเพิ่มสูงมาก....

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ส.ค.นี้ กระทรวงพลังงานเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาเรื่อง องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย โดยขอความเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ระหว่างองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท Hess Oil Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทเปโตรนาสในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ

ขอความเห็นชอบให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ 7 เม.ย. 2541, 14 ก.ย. 2542, 14 ก.ย. 2547, 13 ก.พ. 2550 นั้น1. บริษัท เปโตรนาสได้มีหนังสือแจ้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ว่า ประเทศมาเลเซียมีความต้องการใช้ก๊าซภายในประเทศเพิ่มสูงมาก บริษัทจึงมีความประสงค์ที่จะขอนำก๊าซตามสิทธิ์การขอซื้อของเปโตรนาส จากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย แปลง A-18 ไปใช้ในมาเลเซียเพิ่มขึ้นจำนวน 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ปัจจุบันแปลง A-18 มีการผลิตในอัตรา 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งให้เปโตรนาสในอัตรา 421 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 โดยกลุ่มผู้ขายและกลุ่มผู้ซื้อได้มีการหารือและร่วมกันจัดทำร่างสัญญาแก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2555

2. องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียได้เสนอร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ที่คณะกรรมการองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ได้เห็นชอบแล้วในการประชุมองค์กรร่วมครั้งที่ 97 เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2555 และได้มีการลงนามกำกับย่อ (Initial) โดยคู่สัญญาทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย (พร้อมทั้งนำเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลมาเลเซียด้วยเช่นกัน) ก่อนที่องค์กรร่วมจะได้ลงนามในฐานะผู้ขายก๊าซร่วมต่อไป

3. สรุปสาระสำคัญร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ได้ดังนี้วันที่มีผลบังคับใช้ของสัญญา อายุสัญญาเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. 2555 จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ฉบับลงวันที่ 30 ต.ค. 2542 กลุ่มผู้ขายจะส่งก๊าซส่วนเพิ่มให้กับบริษัท เปโตรนาสในอัตรา 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (และส่งเพิ่มขึ้นอีก 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากได้รับการร้องขอจากบริษัท เปโตรนาส) เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ปริมาณก๊าซที่ส่งเกินกว่า 869 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะมีราคาเพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู

นอกจากนี้ บริษัท เปโตรนาสจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อผูกพันและความรับผิดของกลุ่มผู้ซื้อที่เกิดภายใต้สัญญาฉบับนี้แต่เพียงผู้เดียว พน.โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ส่งร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 นี้ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาควบคู่กันไปด้วยแล้ว.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 432

โพสต์

สถาบันวิทยาการพลังงาน Thailand Energy Academy: Energy Review: แกะรอยประเด็นร้อน...ทางเลือกพลังงานไทย
Source - มติชน (Th), Monday, August 20, 2012


ปัญหา "พลังงานไทย" ที่ไม่มีคาตอบยังมีอีกมาก ตั้งแต่ราคาพลังงานควรปล่อยตามกลไกตลาดหรือไม่ แหล่งพลังงานในประเทศที่ใกล้หมดควรทาอย่างไร โรงไฟฟ้าแบบไหนจึงจะถูกต้อง ถูกใจ "ถ่านหิน -นิวเคลียร์-น้า หรือพลังงานทางเลือก"

ขณะที่การตอบโจทย์เหล่านี้ต้องสัมพันธ์กับความต้องการใช้พลังงานของประเทศที่เพิ่มขึ้นมิเช่นนั้นอนาคตประเทศไทยอาจเจอปัญหา เช่น ที่อินเดียเผชิญกับปัญหาไฟฟ้าดับ ครั้งใหญ่เกือบครึ่งประเทศ ส่งผลกระทบต่อพลเมืองกว่า 620 ล้านคน ทั้งโรงพยาบาล การขนส่ง และน้าประปาหยุดชะงัก

"Energy Review" ได้สรุปแนวคิดเรื่อง "ประเด็นร้อนพลังงาน" จากเวทีเสวนาที่ประกอบด้วย ศ.กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน คุณสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผอ.สานักงานนโยบายและแผนพลังงาน คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คุณพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. และ ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์ประจาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี คุณจักรพันธ์ ยมจินดา และคุณศรีสุวรรณ จรรยา เป็น ผู้ดาเนินรายการ รวมทั้งมุมมองจากนักธุรกิจ นักวิชาการ และสื่อมวลชนมานาเสนอ ประเด็นร้อนพลังงาน "ราคา หรือ มั่นคง"

แม้ปัจจุบันรัฐบาลได้อุดหนุนราคาพลังงานบางส่วนแต่ราคาก็ยังอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้เนื่องจากราคาพลังงานของไทย ประกอบด้วยหลายส่วน ต้นทุนของเนื้อพลังงาน ภาษีสรรพสามิต และเก็บเงินเข้ากองทุนน้ามันเชื้อเพลิง จึงมีคาถามว่าประเทศไทยควรเลิกอุดหนุนราคาพลังงานหรือไม่ เพราะเป็นการบิดเบือนโครงสร้างราคา และจะส่งผลต่อประเทศในระยะยาว

เช่นเดียวกับกรณีก๊าซแอลพีจี ที่ประชาชนคุ้นเคยกับราคาที่รัฐช่วยประคองไว้ แถมยังทาให้มีการลักลอบส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้น หากมีการอุดหนุนราคาน้ามันอีกตัว นั่นหมายถึงรายจ่ายรัฐบาลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลก็ต้องระมัดระวังภาระด้านการคลังที่จะเพิ่มขึ้น จากการอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม และค่าไฟ

แต่หากปล่อยให้ราคาพลังงานเป็นไปตามกลไกตลาด ก็จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนเชื้อเพลิงที่จะส่งผลต่อค่าขนส่ง และต้นทุนค่าไฟฟ้า ที่จะกระทบกับทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชน โดยในเวทีเสวนาต่างเห็นว่าน่าจะปล่อยราคาพลังงานให้เป็นไปตามกลไกตลาด ส่วนการที่จะช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รัฐบาลก็ควรออกมาตรการสนับสนุนให้ตรงกับกลุ่มผู้เดือดร้อน เช่นอาจใช้รูปแบบการแจกคูปองหรือบัตรเครดิตพลังงานให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ใช้ไฟน้อย ซึ่งวิธีการนี้รัฐบาลจะใช้เงินน้อยกว่าการอุดหนุนราคาพลังงาน

สาหรับ "โครงสร้างราคาขายปลีก" ที่เหมาะสมต้องตอบโจทย์ ทั้งการใช้พลังงานอย่างประหยัด ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด และภาครัฐมีรายได้จากภาษีการใช้น้ามัน

และสิ่งสาคัญคือ ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการใช้ไฟฟ้าและพลังงานสูง ต้องปรับโครงสร้างในการเลือกใช้กรีนเทคโนโลยีรวมถึงส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสมัครใจซื้อพลังงานสีเขียวด้วย เร่งหาแหล่งพลังงานใหม่สร้างความมั่นคง

วันนี้ แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดลงในอีกราว 10 ปีข้างหน้า ขณะที่การผลิตไฟฟ้าของไทยใช้ก๊าซมากถึง 70% จึงเป็นคาถามว่า ผู้เกี่ยวข้องจะวางแผนจัดหาพลังงานเพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าอย่างไร เพราะการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี เช่นกัน

การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าคือต้องหาแหล่งเชื้อเพลิงที่หลากหลายเข้ามาเสริม โดยแผนการพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้า (PDP) ฉบับล่าสุด กฟผ. ระบุว่า ได้เตรียมแผนรับมือไว้ 2 แนวทาง หนึ่ง คือ ซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ซื้อไฟฟ้าพลังน้าจากลาว และกาลังพิจารณาพม่าเพิ่มเติม

แนวทางที่สอง คือ พลังงานหมุนเวียน ข้อดีคือไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ข้อเสียคือ ราคาสูง รวมทั้งปัญหาความไม่เสถียรภาพของพลังงานหมุนเวียน ที่ผันผวนตามธรรมชาติ

ทั้งนี้การวางแผนความมั่นคงด้านพลังงานต้องมองครบทั้ง 4 มิติคือ "เพียงพอ มั่นคง ราคา และ สิ่งแวดล้อม"โจทย์สำคัญยุทธศาสตร์ประเทศไทยจะเลือกพลังงานอะไร

ขณะที่ "ก๊าซธรรมชาติ" ยังคงต้องเป็นพลังงานหลักของประเทศไทย เพียงแต่ว่าจะใช้จากแหล่งไหน สาหรับพลังงานประเภทอื่นที่มีโอกาสจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นก็คือ "ถ่านหิน" เพราะปัจจุบันเทคโนโลยี Clean Coal Technology มีการพัฒนาจนสามารถขจัดมลภาวะได้สมบูรณ์มากขึ้น ประกอบกับเป็นพลังงานที่มีต้นทุนไม่สูง ซึ่งที่ผ่านมาโรงไฟฟ้าถ่านหินจากแม่เมาะก็ช่วยพยุงค่าไฟไม่ให้สูงเกินไป

นอกจากนี้ในวงเสวนายังสนใจพลังงานทดแทน ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบจาก การเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกพืชพลังงานไม่ว่าจะเป็นมันสาปะหลัง อ้อย ปาล์ม ซึ่งสามารถใช้เป็น ฐานการผลิต "พลังงานทดแทน" เพียงแต่ต้องเลือกว่าจะนาไปผลิตพลังงานหรืออาหาร หรือความพอดีอยู่ตรงไหน

รวมถึงข้อเสนอการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ใช้แหล่งพลังงาน "ท้องถิ่น" ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดลักษณะชุมชนพึ่งตนเอง หากปัจจัยเสี่ยงของระบบนี้คือระบบสารอง ในภาวะฉุกเฉิน หรือเกิดภัยธรรมชาติ

และอีกหนึ่งทางเลือกสาคัญ คือ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่จะสามารถปลดล็อก ทั้งปัญหาความมั่นคงพลังงาน ปัญหาโลกร้อน และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และราคาค่าไฟฟ้า หากอุปสรรคสาคัญ คือ "ความกลัว" ต่อมาตรฐานการควบคุมความปลอดภัย แม้ว่าหลายกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตได้ถูกออกแบบและแก้ไขแล้วก็ตาม

ขณะที่แผนการพัฒนากาลังผลิตไฟฟ้า (PDP) 2010 ฉบับล่าสุด ได้มีการลดจานวน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จาก 4 โรง เหลือ 2 โรง ซึ่งจะเดินเครื่องในปี 2569 - 2570

ก่อนอื่นต้องยอมรับว่า แหล่งพลังงานแต่ละประเภทมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน การกาหนดทางเลือกนั้นแน่นอนว่า รัฐบาล ผู้ผลิต ผู้กากับดูแลแต่ละคน มีหน้าที่ต่างกัน มุมมองต่างกัน ดังนั้นทางออกอาจจะไม่ได้อยู่ที่ผู้หนึ่งผู้ใด

ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมกาหนดอนาคตว่า 40 50 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเลือกใช้พลังงานรูปแบบไหน สิ่งสาคัญ คือต้องให้ความรู้เพื่อให้ประชาชนเข้าใจ และยอมรับถึงข้อจากัดต่างๆ ของพลังงานแต่ละประเภทเพื่อจะได้ร่วมกันกาหนดยุทธศาสตร์พลังงานของประเทศไปให้ในทิศทางที่ถูกต้อง

สถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) จัดตั้ง ขึ้นด้วยเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนที่มีบทบาทสาคัญในสังคม ได้มีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูล และมีความเข้าใจมิติต่างๆ ของธุรกิจพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสาคัญในการ ขับเคลื่อน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศในรูปแบบการถ่ายทอดข้อมูล ระดมสมอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้ประเทศพร้อมเผชิญกับความท้าทายในการสร้างความยั่งยืนของพลังงาน และความผันผวนของราคาที่มี แนวโน้มสูงขึ้น--จบ--



ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 433

โพสต์

โบรกเกอร์ผ่ากลุ่มโรงไฟฟ้าแนวโน้มครึ่งหลังกำไรแผ่ว [ กรุงเทพธุรกิจ, 20 ส.ค. 55 ]

กลุ่มโรงไฟฟ้าครึ่งแรกกำไรเฉียด 1.5 หมื่นล้าน เพิ่มขึ้น 89% โบรกเกอร์ประเมินครึ่งปีหลังแผ่ว
ตามฤดูกาลของธุรกิจตามปกติระบุการลงทุนใหม่ของ "เอ็กโก-ราชบุรี" ช่วยพยุงกำไรให้อ่อนตัวลดลง
ขณะที่โกลว์ได้อานิสงส์โรงไฟฟ้าเก็คโค่วันเดินเครื่องดันกำไรอย่างมีนัยสำคัญ มองกลุ่มไฟฟ้าโตต่อเนื่อง
ลุ้นประมูลไอพีพีรอบใหม่ปลายปีนี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 434

โพสต์

PTTEPซื้อCOVEสำเร็จ มูลค่าหุ้นเพิ่มอีก12บาท
Source - ข่าวหุ้น (Th), Monday, August 20, 2012


PTTEP ลั่นคำเสนอซื้อหุ้น COVE บรรลุเงื่อนไข สั่งลุยบังคับซื้อหุ้นที่เหลือเพิ่มเติม ขณะที่แหล่งบงกชเดินเครื่องเต็มกำลัง ดันยอดขายครึ่งปีหลังพุ่ง กำไรทั้งปีกระฉูด 5.2 หมื่นล้านบาท โบรกฯชี้ลงทุนCOVE ช่วยเพิ่มราคาเป้าหมายอีก 12 บาท

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า กระบวนการเข้าซื้อหุ้น COVE ENERGY ในขณะนี้มีผู้ถือหุ้นตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นไปแล้วเกิน 90% จึงคงเหลือในบางส่วนที่จะเข้าซื้อเพิ่ม

สำหรับทิศทางธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลัง ทางบริษัทจะทำยอดการผลิตในอัตราที่สูงขึ้น หลังจากแหล่งบงกชใต้ได้เดินเครื่องผลิตเต็มกำลัง รวมทั้งยังมียอดผลิตของแหล่งเวียดนามและออยล์แซนด์เข้ามาช่วยสนับสนุนบริษัท ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา PTTEP ทำยอดขายปิโตรเลียมเฉลี่ยอยู่ที่ 2.58 แสนบาร์เรลต่อวัน

“ตอนนี้ผู้ถือหุ้นที่ตอบรับคำเสนอซื้อมีมากกว่า 90% ไปแล้ว ส่วนตัวธุรกิจของ PTTEP ในช่วงครึ่งปีหลัง จะได้เห็นยอดการผลิตที่สูงขึ้น อย่างแหล่งบงกชใต้จะผลิตขึ้นเต็มที่ รวมทั้งยังมีแหล่งผลิตที่เวียดนาม ส่วนตัวออยล์แซนด์จะผลิตอยู่ที่ 18,000-20,000 บาร์เรลต่อวัน” นายเทวินทร์กล่าว

นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา ทาง PTTEP ยังได้แจ้งประกาศผ่านทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) อีกว่า ทางPTTEP AI บริษัทย่อยในเครือ PTTEP ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรโดยไม่มีเงื่อนไขจากรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรณี (Minister of Mineral Resources) สาธารณรัฐโมซัมบิก ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้ถือสัดส่วนทางอ้อมในทรัพย์สินทั้งหมดของ Cove ในสาธารณรัฐโมซัมบิกแล้ว ดังนั้น PTTEP จึงขอประกาศว่า การซื้อหุ้นในครั้งนี้ได้บรรลุเงื่อนไขตามคำเสนอซื้อครบถ้วนแล้ว

อีกทั้งจะเริ่มกระบวนการการบังคับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่เหลืออยู่ของ COVE ซึ่งยังไม่ได้ตอบรับคำเสนอซื้อภายในเร็วๆ นี้ ส่วนกรณีการเพิกถอน COVE ออกจากตลาดหลักทรัพย์ ทางปตท.สผ.ได้ให้ Cove ดำเนินการแจ้งตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน เพื่อให้เพิกถอนหุ้นออกจากตลาด Alternative Investment Market (AIM) ภายใน 20 วันทำการนับจากที่ได้มีหนังสือแจ้ง และภายหลังจากที่หุ้น Cove ได้ทำการเพิกถอนเรียบร้อย จะส่งผลให้ Cove เปลี่ยนสภาพกลับเป็นบริษัทจำกัด

ด้านนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด กล่าวว่า ประเด็นเรื่องการออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 650 ล้านหุ้น ทางบริษัทจะใช้เวลาประมาณเดือน 2-3 เดือน ในการยื่นไฟลิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยน่าจะแล้วเสร็จภายในช่วงเดือนต.ค.นี้ ส่วนทิศทางยอดขายปิโตรเลียมในช่วงครึ่งปีหลังจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับงวด 6 เดือนแรกได้อีกประมาณ 3-5%

สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/55 จะทำอัตรากำไรสุทธิกลับมาปรับเพิ่มขึ้นได้อีกครั้ง โดยมีแรงหนุนหลักมาจากยอดปริมาณขาย ซึ่งแหล่งบงกชใต้จะมีปริมาณการผลิต 24,000 บาร์เรลต่อวัน ทำการผลิตได้เต็มไตรมาส ส่วนราคาขายจะยังใกล้เคียงกับงวดไตรมาส 2 ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ คาดว่าในไตรมาส 3/55 ผลขาดทุนจากรายการพิเศษที่เคยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในงวดก่อนหน้าจะมีน้อยลง อย่างไรก็ตาม เพื่อสะท้อนต่ออัตรากำไรในไตรมาส 2/55 ที่หดตัวแรง จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิในปี 2555 ลงจากเดิม 10% มาสู่ระดับ 52,000 ล้านบาท เติบโตขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีกำไรสุทธิ 44,748 ล้านบาท แนะนำ “ซื้อ” กำหนดราคาเป้าหมาย 173 บาท

ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวว่า ในขณะนี้ทางฝ่ายวิเคราะห์ได้ปรับมูลค่าเหมาะสมของหุ้น PTTEP มาอยู่ที่ระดับ 177 บาท จากเดิม 198 บาท ซึ่งเป็นการประเมินที่รวมผลของDilution Effect ที่เกิดจากการเพิ่มทุนจำนวน 16.4% (Fully Dilution) และมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าลงทุนใน COVE อีก 12 บาท

สำหรับราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงได้สะท้อนปัจจัยลบจากประเด็นการเพิ่มทุน และช่วงก่อนหน้าที่ผ่านมา ทางฝ่ายวิเคราะห์ยังได้ประเมินจุดต่ำสุดของราคาหุ้น PTTEP จากการเพิ่มทุนไว้ที่ 150.77 บาท โดยระดับราคาหุ้นในปัจจุบันถือว่ามี Down side risk ต่ำ รวมทั้งแนวโน้มผลประกอบการในงวดครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากยอดขายปิโตรเลียมที่สูงขึ้น กำหนดคำแนะนำ “ซื้อ”

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
nongnoykung
Verified User
โพสต์: 400
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 435

โพสต์

อ่านเจอข่าวเก่า เลยมาโพสต์ให้อ่านครับ


วันพุธ ที่ 14 มี.ค. 2555

ก.พลังงานเร่งแผนนำก๊าซฯ เผาทิ้งจากแหล่งน้ำมันดิบไปใช้ประโยชน์

สุโขทัย 14 มี.ค.-กระทรวงพลังงานเร่งแผนให้นำก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบไปใช้ประโยชน์ หลังจากประสบความสำเร็จในการนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเร่งแผนนำไปผลิตเอ็นจีวีจ่ายในภาคเหนือเพิ่มขึ้น ด้าน ปตท.สผ.เตรียมลงทุน 600-700 ล้านบาท รวบรวมก๊าซจากแหล่งสิริกิติ์มาสนองนโยบายคาดผลิตเพิ่มอีก 10-15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันผลิต 22 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยแผนดังกล่าว หลังเป็นประธานเปิดเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบแหล่งเสาเถียร-เอ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งเป็นแหล่งหนึ่งของแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ ว่า โครงการนี้เป็นการนำก๊าซธรรมชาติเหลือใช้จากกระบวนการผลิตน้ำมันดิบที่จะต้องนำมาเผาทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อนำมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และยังช่วยลดมลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

ด้านนายนพพล มิลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า โครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติแหล่งเสาเถียร-เอ เป็นโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือ VSPP มีมูลค่าโครงการประมาณ 190 ล้านบาท โดยเป็นการใช้ก๊าซฯ ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันดิบ ของแหล่งเสาเถียร-เอ วันละ 800,000 ลูกบาศก์ฟุต เป็นเชื้อเพลิงกำลังผลิต 4 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 24 ล้านหน่วยต่อปี เทียบเท่ากับการลดการนำเข้าน้ำมันเพื่อมาผลิตไฟฟ้าได้ 100 ล้านบาท/ปี และลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 12,000 ตัน/ปี รวมทั้งยังสามารถขายคาร์บอนเครดิต (ซีดีเอ็ม) ต่อตลาดโลก คิดเป็นมูลค่าประมาณ 10 ล้านบาท/ปี
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ 2 หลังจากโครงการแรก คือโครงการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งน้ำมันประดู่เฒ่า อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีกำลังการผลิต ประมาณ 3 เมกะวัตต์ และคาดว่าจะสามารถขยายเพิ่มได้อีก 1 เมกะวัตต์ ในเร็ว ๆ นี้ รวมถึงที่หนองตูม ที่มีแผนจะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก จากที่ปัจจุบัน แหล่งหนองตูมมีก๊าซฯ วันละ 1.2 ล้านลูกบาศก์ฟุต โดยโครงการทั้งหมดนำมาจากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ที่ทาง บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) เป็นเจ้าของสัมปทาน

นายไพโรจน์ แรงผลสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ โครงการเอส 1 ปตท.สผ. กล่าวว่า แผนการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งสิริกิติ์ในปีนี้ คาดว่าจะผลิตน้ำมันดิบได้ถึง 30,000 บาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันที่ผลิตได้ประมาณวันละ 27,000-28,000 บาร์เรล เนื่องจาก ปตท.สผ. จะสำรวจเพิ่มเติม และได้มีการนำเอาเทคโนโลยีในการขุดเจาะน้ำมันเพื่อนำน้ำมันขึ้นมาใช้ได้เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ จะมีการรวบรวมแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งเล็ก ๆ 5-6 แหล่ง ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันเพื่อรวบรวมก๊าซฯ จัดส่งผ่านท่อส่งก๊าซฯ ขนาด 3-5 นิ้ว ไปรวมกันที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น การปั่นไฟฟ้า การใช้ผลิตก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือ เอ็นจีวี จากปัจจุบันที่แหล่งลานกระบือ สามารถผลิตก๊าซฯ ได้ประมาณวันละ 22 ล้านลูกบาศก์ฟุต แบ่งเป็นการใช้เอ็นจีวี 6-7 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และผลิตไฟฟ้าวันละ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600-700 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทำให้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณวันละ 10-15 ล้านลูกบาศก์ฟุต

ด้านนายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการนำก๊าซที่ ปตท.สผ. รวบรวมไว้ที่ลานกระบือทั้งหมด มาปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางการผลิตเอ็นจีวีในภาคเหนือ เพื่อรองรับความต้องการใช้เอ็นจีวีที่เพิ่มขึ้นในภาคเหนือ เพื่อลดการขนส่งเอ็นจีวีจากภาคกลางมายังภาคเหนือ ประกอบกับ ในแหล่งลานกระบือยังมีปริมาณก๊าซฯ อีกพอสมควรที่สามารถนำมาผลิตเป็นเอ็นจีวีได้ และยังช่วยลดปริมาณการเผาก๊าซฯ ที่เหลือจากกระบวนการผลิตทิ้งได้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันก๊าซฯ ที่รวบรวมได้ทาง ปตท.สผ. จัดส่งแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อผลิตไฟฟ้า แต่โรงไฟฟ้าดังกล่าวใกล้ปลดระวางแล้วจึงเห็นว่าน่าจะนำมาใช้เป็นเอ็นจีวีทั้งหมดจะดีกว่า. -สำนักข่าวไทย

ที่มา http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/341737.html
VI ค่อยๆไป โปรดท่องให้ขึ้นใจ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 436

โพสต์

DEMCO ลุยพลังงาน-สื่อสาร จ่อปรับเป้ารายได้พุ่ง 6 พันล. [ ทันหุ้น, 21 ส.ค. 55 ]

DEMCO เล็งอัพเป้าหมายรายได้รวมปีนี้ขึ้น 5.5-6 พันล้านบาทจากเดิมที่ 5.3 พันล้านบาท หลัง
แนวโน้มได้งานประมูลใหม่เพิ่มเข้าพอร์ต เผยกสทช.เตรียมประมูล 3G ไตรมาส 4/2555 คาดรับงาน
สร้างเสา 3G ปีละ 10% ส่วนโปรเจ็กต์พลังงานลมห้วยบง 2 และ 3 ปีหน้ารับเงินปันผลอื้อซ่า โบรก
พร้อมปรับประมาณการขึ้น แนะ "ซื้อ" เป้า 6.40 บาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 437

โพสต์

ชงรัฐดึงทุนสำรองลงทุนสร้างคลังน้ำมันยุทธศาสตร์แสนล้าน - ปตท.ชี้เอกชนรับภาระไม่ไหว
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, August 21, 2012


เล็งออกหุ้นกู้ 1,000 ล้านดอลล์ เพิ่มทุนปตท.สผ.ซื้อโคฟพร้อมยุบ 30 บริษัทลูกเพื่อความคล่องตัว

"ไพรินทร์"เสนอรัฐบาลหารือแบงก์ชาติใช้ทุนสำรองสร้างคลังน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของประเทศ ระบุใช้เงินแสนล้าน เอกชนรับภาระไม่ไหว แนะตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมาดูแล เผยสร้างที่จังหวัดระยองเหมาะสมที่สุด

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นโยบายการเพิ่มสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ซึ่งต้องสร้างคลังน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ดังนั้นรัฐบาลควรหาวิธีการลงทุน โดยอาจหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากมีเงินสำรองจำนวนมาก

"การสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก ซึ่งเกินความสามารถของภาคเอกชน ดังนั้นรัฐคงต้องหาวิธีการในการลงทุนโครงการ ดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้อาจต้องไปหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งปัจจุบันมีการสำรองเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจจะเก็บสำรองเป็นทรัพย์สินอื่น เช่น พลังงานเหมือนในหลายๆ ประเทศ เป็นต้น" นายไพรินทร์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบให้หาแนวทางการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงทางยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยเห็นว่าประเทศไทยในฐานะประเทศผู้นำเข้าน้ำมันกว่า 80% จะต้องสำรองน้ำมัน และตามมาตรฐานองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency : IEA) จะต้องสำรองอย่างน้อย 90 วัน โดยรัฐบาลให้ปตท.ไปศึกษารายละเอียด

นายไพรินทร์ กล่าวว่า การสำรองน้ำมันจะมีต้นทุนเพิ่มขึ้น 2 ส่วนจากการก่อสร้างคลังน้ำมัน และการซื้อน้ำมันเพื่อมาสำรอง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก หรือประมาณ 5,000-6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง การสร้างคลังสำรองน้ำมันนี้ รัฐบาลควรจะตั้งหน่วยงานของรัฐเข้ามาดูแล เพราะหากให้เอกชนเข้ามาดำเนินงานทั้งหมด จะมีความเสี่ยงขาดทุนจากสต็อกน้ำมันสูงมาก ส่วนภาคเอกชนนั้น ทำได้เพียงสำรองเพิ่มจาก 5% เป็น 6% เท่านั้น ซึ่งการเพิ่มในสัดส่วนนี้ก็ทำให้มีต้นทุนเพิ่มประมาณ 7-10 สตางค์ต่อลิตร

นายไพรินทร์กล่าวว่าการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ มีจุดประสงค์หลักเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ โดยไม่ใช่ทำกำไรจากน้ำมัน อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าว จำเป็นต้องก่อสร้างคลังน้ำมันเพิ่ม ซึ่งควรจะอยู่ในทำเลใกล้โรงกลั่นน้ำมัน จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด โดยเห็นว่าพื้นที่ที่มีศักยภาพในการสร้างน่าจะเป็นที่จังหวัด ระยอง หรือพื้นที่ของรัฐ เช่น ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นต้น ทั้งนี้การสำรองทางยุทธศาสตร์ดังกล่าวอาจเก็บสำรองร่วมกันของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน เพื่อความมั่นคงของภูมิภาคในภาพรวม

ด้าน นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท. กล่าวว่าการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากและเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ ซึ่งภาคเอกชน รวมถึง ปตท.ไม่มีศักยภาพมากพอในการลงทุนในระดับแสนล้านบาทได้ ดังนั้นภาครัฐควรมีกลไกในการหาเงินมาลงทุน

จี้ลอยตัวราคาพลังงานรับเออีซี

ส่วนเรื่องโครงสร้างราคาพลังงานในปัจจุบันนั้น ขณะนี้รัฐบาลยังอุดหนุนราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือเอ็นจีวี และตรึงราคาน้ำมันดีเซล ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ซึ่งเห็นว่านโยบายอุดหนุนราคาเหล่านี้ ควรต้องยกเลิกไปทั้งหมดภายในปี 2558 เพราะไทยจะต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินนโยบาย Market Priority หรือราคาตลาด เป็นเรื่องแรก ซึ่งขณะนี้ประเทศอินโดนีเซีย ได้ประกาศลอยตัวราคาน้ำมันแล้ว เพื่อเตรียมเข้าสู่เออีซี

"รัฐบาลควรพิจารณาดูว่า จะใช้วิธีทยอยปรับขึ้นราคาพลังงาน ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงปี 2558 หรือเลือกตรึงราคาพลังงานไปเรื่อยๆ จนถึงปี 2558 แล้วปรับขึ้นราคาทีเดียว ซึ่งหากเลือกวิธีหลังนี้ ก็อาจจะต้องมีการปรับราคาพลังงานในอัตราที่สูงมาก และประชาชนหรือผู้ประกอบการอาจจะปรับตัวไม่ได้ " นายไพรินทร์ กล่าว

ปัจจุบันไทยมีการสนับสนุนราคาพลังงานใน 2 รูปแบบ คือ Blanket subsidy หรือการสนับสนุนราคาพลังงานทุกกลุ่ม ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก เหมือนกับที่กำลังอุดหนุนราคา แอลพีจี และเอ็นจีวี ในปัจจุบัน กับอีกรูปแบบ คือ Direct subsidy หรือการเลือกให้การสนับสนุนเฉพาะกลุ่ม เช่น การอุดหนุนค่าไฟฟ้าฟรีให้กับ ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ซึ่งหลังจากที่มีการเปิดสู่เออีซี การสนับสนุนแบบทุกกลุ่มจะต้องหมดไป เหลือเพียงการสนับสนุนเฉพาะกลุ่ม

สำหรับแผนการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจีนั้น ต้องยอมรับว่า ขณะนี้แอลเอ็นจี ได้กลายเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกของไทย รองรับกรณีก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในอ่าวไทยที่มีปริมาณลดลง เพื่อมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า และในอนาคตมีแนวโน้มที่จะมีการใช้แอลเอ็นจีเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักของประเทศ เพราะเชื้อเพลิงถ่านหิน และนิวเคลียร์ ยังไม่เป็นที่ต้องการของประชาชนในประเทศ และขณะนี้ยังไม่สามารถนำก๊าซจากพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา มาใช้ได้ ซึ่งหากจะเพิ่มความมั่งคงในการจัดหา จะต้องมีการสร้างคลังเก็บและแปรรูปแอลเอ็นจีจาก 5 ล้านตันในปัจจุบัน เป็น 10 ล้านตันในอนาคต เพื่อรองรับการนำเข้าแอลเอ็นจีที่เพิ่มขึ้น

เตรียมระดมทุนพันล้านดอลล์ซื้อหุ้นโคฟ

ด้าน นายสุรงค์ กล่าวว่า ปตท. มีแผนที่จะออกหุ้นกู้ และกู้เงินจากสถาบันการเงินประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ ภายในเดือนส.ค.-ต.ค.นี้ เพื่อปรับพอร์ตเงินกู้ และนำไปเพิ่มทุนในบริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) ในการระดมทุนเข้าซื้อบริษัท โคฟ เอนเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นในโครงการโรโวมา (Rovuma) แหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในประเทศโมซัมบิก ที่ถือหุ้นโครงการนี้ 8.5% ซึ่งประเทศโมซัมบิกมีศักยภาพก๊าซธรรมชาติสูงมากรองจากประเทศกาตาร์ที่มีแหล่งก๊าซมากที่สุดในโลก

นอกจากนี้ บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ พีทีทีจีซี ซึ่งเป็นบริษัทลูก ของ ปตท. ก็จะออกหุ้นกู้มูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อขยายการลงทุน ส่วน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ก็ได้ออกหุ้นกู้ไปแล้ว 10,000 ล้านบาท รวมทั้งยังมีแผนที่จะนำบริษัท โรงกลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ เอสพีอาร์ซีเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้เร็วที่สุด จากนั้นมีแนวทางจะขายหุ้นเอสพีอาร์ซีที่ปตท.ถือทั้งหมด ทั้งนี้สาเหตุที่นำเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ช้า เนื่องจากมีบางสัญญาที่เอสพีอาร์ซีได้ทำกับผู้ค้าบางราย ไม่ตรงกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ จึงต้องใช้เวลาในการปรับปรุงสัญญาต่างๆ

สั่งยุบ30บริษัทลูกไร้ผลดำเนินงาน

นายสุรงค์ กล่าวว่า ปตท. ยังมีแผนที่จะยุบรวมบริษัทลูกต่างๆ ของกลุ่มที่มีจำนวนกว่า 200 บริษัท ให้มีจำนวนลดลง โดยจะเลือกบริษัทที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือไม่ได้ดำเนินกิจการแล้ว รวมทั้งจะมีการควบรวมบริษัทที่มีการทำงานที่ซ้ำซ้อน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทลูกในต่างประเทศ ที่ปตท.ตั้ง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าไปดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 30 บริษัทที่เข้าข่าย และส่วนใหญ่อยู่ใน เอเชีย เช่น จีน มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์ เป็นต้น เช่น บริษัท เคลออยล์ จำกัด ที่นำเข้าแอลพีจี จากไทยไปจำหน่ายในมาเลเซีย เนื่องจากในอดีตไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกแอลพีจี แต่ต่อมาภายหลังไทยมีการใช้แอลพีจีภายในประเทศมากขึ้นจนปัจจุบันไทยกลายเป็นประเทศผู้นำเข้า แอลพีจี ทำให้ต้องยุติการส่งออกแอลพีจีไปมาเลเซีย บริษัทนี้จึงไม่มีผลการดำเนินงาน จึงต้องพิจารณาปิดบริษัท เป็นต้น

การดำเนินงานของ ปตท.ในครั้งนี้ เป็น การดำเนินตามนโยบาย เพื่อสร้างความคล่องตัว ให้กับองค์กร และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันใน อนาคต ซึ่งการปรับตัวในครังนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิกฤติเศรษฐกิจโลก หรือการเข้าเป็นสมาชิก เออีซี แต่เป็นแผนระยะยาวที่ดำเนินการผลักดันมานานแล้ว

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 438

โพสต์

ปตท.จ่อยุบ30บ. เพิ่มความคล่องตัว
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Tuesday, August 21, 2012


ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เตรียมยุบทิ้ง 30บริษัทในเครือฯทั้งในและต่างประเทศ ที่ทำธุรกิจซ้ำซ้อนหรือไม่ได้ดำเนินธุรกิจแล้วตามนโยบาย Corperate Down Sizing เพิ่มความคล่องตัว รับมือการแข่งขันในอนาคตและผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก แนะรัฐตั้งกองทุนเพื่อใช้ซื้อแหล่งปิโตรเลียมในต่างประเทศเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต ปตท. เล็งกู้เงินหรือออกหุ้นกู้1พันล้านดอลล์ในช่วงส.ค.-ต.ค.นี้เพื่อคืนหนี้และลงทุน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่า ตามที่ได้ตนมอบหมายให้บริษัทในเครือฯทบทวนแผนการลงทุน รวมถึงบริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจ(Active)ด้วย ตามนโยบายการลดขนาดองค์กรกลุ่มปตท.(Corperate Down Sizing) เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจรองรับการแข่งขันในอนาคต และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก

นอกจากนี้ บริษัทฯ จะตรวจสอบดูว่าบริษัทใดที่เป็นบริษัทขนาดเล็ก หรือดำเนินธุรกิจที่ไม่ใหญ่มากนักสามารถที่จะควบรวมกิจการกันได้หรือไม่ หรือมีความจำเป็นหรือไม่ที่จะดำเนินกิจการต่อไป เนื่องจากปัจจุบันปตท.มีบริษัทลูกกว่า 200 บริษัทฯ พบว่ามี 30 บริษัทที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจหรือทำธุรกิจซ้ำซ้อนกันทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปตท.เคยมีการลงทุนเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว อาทิ ใน จีนฟิลิปปินส์และมาเลเซีย ก็จะต้องมีการควบรวมกิจการ หรือลดสัดส่วนการถือหุ้นให้น้อยที่สุดและบางแห่งก็ต้องปิดบริษัทไป เช่น บริษัทKeloil-PTT LPG Sdn,bhd ประเทศมาเลเซียที่ปตท.ถือหุ้นอยู่ 40% ซึ่งเดิมตั้งบริษัทร่วมทุนดังกล่าวเพื่อนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากไทยที่เหลือส่งออก แต่ปัจจุบันไทยไม่มีการส่งออกแอลพีจีแล้ว ซึ่งปตท.จะพิจารณาว่าจะขายหุ้นดังกล่าวออกไป

ส่วนจีนก็มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน อาทิ ปิโตรเอเชีย ในเมืองต่างๆ นอกจากนี้ยังมีบริษัทในเครือของ บมจ.พีทีที โกลบอลเคมิคอล (PTTGC) ซึ่งมีบริษัทในเครือจำนวนมากที่มีการดำเนินกิจการซ้ำซ้อนกันหลังจากมีการควบรวมกิจการแล้ว

นายไพรินทร์ กล่าวต่อไปว่า จากนโยบายอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศทั้งรัฐบาลทั้งแอลพีจี ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี)และน้ำมันดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรนั้นเชื่อว่าหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 2558 เรื่องเหล่านี้จะจบทั้งหมดโดยราคาพลังงานดังกล่าวคงต้องเป็นไปตามตลาด เนื่องจากรัฐไม่สามารถอุดหนุนราคาได้อีกดังนั้นรัฐคงต้องพิจารณาว่าจะใช้วิธีทยอยปรับขึ้นราคาไปจนถึงปี 2558 หรือจะปรับขึ้นราคาทีเดียวในปี 2558 น่าจะมีผลทำให้ผู้ประกอบการและประชาชนไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

ปัจจุบันไทยมีการอุดหนุนราคาพลังงานใน2 รูปแบบ คือ การอุดหนุนราคาในทุกกลุ่มจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก กับการอุดหนุนราคาแบบเฉพาะกลุ่มที่จะใช้เงินอุดหนุนน้อยกว่าเชื่อว่าหลังจาก AEC จะเหลือการอุดหนุนราคาเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ซึ่งนโยบายการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งอีก 25 สตางค์ต่อกิโลกรัมเมื่อวันที่ 16 ส.ค.นี้เป็นสัญญาณให้เห็นว่ารัฐบาลอยากจะปรับขึ้นราคาแอลพีจี

ส่วนการนำเข้าแอลเอ็นจีนับวันจะมีบทบาทสำคัญเพื่อรองรับกรณีก๊าซฯจากอ่าวไทยและพม่ามาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพราะโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนิวเคลียร์ ยังไม่เป็นที่ต้องการของประชาชนในประเทศ และไม่สามารถนำก๊าซฯ จากพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา มาใช้ได้หากจะเพิ่มความมั่งคงในการจัดหา ก็ต้องมีการสร้างคลังเก็บและแปรรูปแอลเอ็นจีจาก 5 ล้านตันในปัจจุบัน เป็น 10 ล้านตันในอนาคตตามแผนยุทธศาสตร์ที่จะให้ ปตท.สผ.เป็นหัวหอกในการลงทุนสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานล่าสุด ปตท.สผ.ได้เข้าถือหุ้นใน Cove Energy ทำให้ไทยมีโอกาสซื้อแอลเอ็นจีในราคาที่ถูกกว่าราคาตลาด

อย่างไรก็ตาม ปตท.สผ.อาจจะลงทุนคนเดียวไม่ไหว ดังนั้นภาครัฐโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ซึ่งเป็นผู้ให้สัมปทานในประเทศไทยทั้งหมด น่าจะมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปลงทุนได้ โดยอาจจะมีการตั้ง Sovereign Fund แล้วเอากองทุนนี้เข้าไปถือหุ้นในแหล่งปิโตรเลียมต่างๆ เหมือนต่างประเทศทำอยู่ขณะนี้โดยอาจจะพิจารณาใช้เงินทุนสำรองของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีการสำรองเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ ก็อาจจะเก็บสำรองเป็นทรัพย์สินอื่น เช่น พลังงาน

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ปตท.มีแผนจะออกหุ้นกู้และกู้เงินประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้ เพื่อปรับพอร์ตเงินกู้และรีไฟแนนซ์หนี้ รวมทั้งใช้ในการลงทุนในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน บมจ.ปตท.สผ.ด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาว่าสัดส่วนการออกหุ้นกู้และกู้เงินจะเป็นเท่าไร

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 439

โพสต์

IRPCเซ็นสัญญาGEนาน12ปีบำรุงรักษาเครื่องกังหันก๊าซ [ ข่าวหุ้น, 21 ส.ค. 55 ]

IRPC ลงนามสัญญากับ GE บำรุงรักษาเครื่องกังหันก๊าซ ระยะเวลา 12 ปี มูลค่าหลายล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพื่อสร้างความมั่นใจการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำให้กับโรงงานปิโตรเคมีและโรงงานปิโตรเลียม
โบรกฯแนะซื้อเก็งกำไรรับไตรมาส 3/55 มีกำไรสต๊อกน้ำมัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
nongnoykung
Verified User
โพสต์: 400
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 440

โพสต์

'พีทีทีโกลบอล'รื้อแผนลงทุนสำรองสภาพคล่อง7หมื่นล.
"พีทีทีโกลบอล"ปรับแผนการลงทุนใหม่ตั้งรับวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ประเมินวิกฤติยูโรลากยาว
เดินหน้า 5 มาตรการรับมือ พร้อมสำรองสภาพคล่อง 7 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าปีนี้ลดต้นทุน 5-10% ชี้ผล
ประกอบการครึ่งปีหลังขึ้นอยู่กับปัจจัยราคาน้ำมัน
VI ค่อยๆไป โปรดท่องให้ขึ้นใจ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 441

โพสต์

ข่าวฉบับเต็มครับ

'พีทีทีโกลบอล'รื้อแผนลงทุนสำรองสภาพคล่อง7หมื่นล.
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, August 22, 2012


"พีทีทีโกลบอล"ปรับแผนการลงทุนใหม่ ตั้งรับวิกฤติเศรษฐกิจโลกรอบใหม่ ประเมินวิกฤติยูโรลากยาว เดินหน้า 5 มาตรการรับมือ พร้อมสำรองสภาพคล่อง 7 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าปีนี้ลดต้นทุน 5-10% ชี้ผลประกอบการครึ่งปีหลังขึ้นอยู่กับปัจจัยราคาน้ำมัน

นายทิติพงษ์ จุลพรศิริดี ผู้จัดการฝ่ายหน่วยงานการเงินองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างทบทวนแผนการลงทุนในช่วง 5 ปี วงเงิน 4,500 ล้านดอลลาร์ และจัดลำดับความสำคัญของโครงการ ซึ่งยังอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะต้องเลื่อน หรือปรับลดการลงทุนโครงการใดบ้าง สำหรับฐานะทางการเงินของบริษัทนั้นสามารถรองรับการลงทุนได้ต่อเนื่อง โดยมีสภาพคล่อง 2,500 ล้านดอลลาร์ ส่วนอีก 2,000 ล้านดอลลาร์จะทยอยกู้ในช่วง 5 ปีข้างหน้า

เขากล่าวถึง แนวโน้มผลประกอบการในครึ่งหลังของปีนี้ ว่า ผลการดำเนินงานขึ้นอยู่กับแนวโน้มราคาน้ำมันช่วง 6 เดือนหลังของปี โดยหากราคาทรงตัวเทียบช่วงครึ่งปีแรก จะส่งผลดีต่อบริษัท เพราะกำลังการผลิตของบริษัทในครึ่งหลังของปีจะขยายตัวเพิ่มขึ้น

"ภาพรวมสถานการณ์ของธุรกิจยังคงไม่ดี จากเศรษฐกิจในยุโรป แต่บริษัทยังเติบโตจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น และโครงการลงทุน ส่วนแนวทางปรับโครงสร้างบริษัทในเครือของ ปตท.นั้น ในส่วนของบริษัท อาจต้องปรับโครงสร้างบริษัท พีทีที ฟีนอลซึ่งเป็นบริษัทลูกด้วย เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทั้งวงจรธุรกิจ แต่เนื่องจากเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน จึงต้องมีการตั้งที่ปรึกษาทางเงินขึ้นมาศึกษาในรายละเอียดก่อน" นายทิติพงษ์ กล่าว

เขากล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทในเครือ ปตท.ได้มีการทดสอบการรับมือภาวะวิกฤติ หรือ Stress test จากวิกฤติเศรษฐกิจโลก เพื่อเตรียมมาตรการรองรับ และทำให้การบริหารจัดการบริษัทในเครือ ปตท.เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมี 5 มาตรการ คือ 1.พยายามปรับลดต้นทุนการดำเนินงาน โดยลดค่าใช้จ่ายประจำปีลง และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน 2.พยายามทบทวนโครงการลงทุนในอนาคต โดยจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนว่าโครงการใดจำเป็นต้องลงทุนแม้มีวิกฤติ และโครงการใดต้องเลื่อน หรือต้องตัดออกไปก่อน

3.การเตรียมสภาพคล่องสำรองใน การดำเนินงาน หากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องของบริษัทหายไป จากบางปัจจัย อาทิเช่น ราคาผลิตภัณฑ์ปรับลดลงมาก 4.การบริหารจัดการเงินกู้ โดยต้องจัดหาเงินกู้ระยะยาวมากขึ้น และ 5.บริหารเงินลงทุนประจำปี โดยพิจารณาว่าส่วนใดต้องลงทุนต่อเนื่อง เช่นการลงทุนที เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานความ ปลอดภัยที่ยังต้องมีอยู่ แต่หากเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอาจจะสามารถชะลอออกไปได้ "แม้ยังไม่ถึงขั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โลก แต่มีการมองว่าปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปยังคงมีอยู่ และยังไม่เห็นพัฒนาการในการแก้ปัญหาในระยะสั้น จึงได้ใช้บางมาตรการ ตามแนวทางการทดสอบการรับมือภาวะวิกฤติอาทิ การลดต้นทุนการบริหารจัดการลง 5-10% และได้เตรียมสภาพคล่อง สำรองไว้แล้วประมาณ 70,000 ล้านบาท เป็นเครดิตไลน์ประมาณ 47,000 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะสั้น 30,000 ล้านบาท ซึ่งน่าจะเพียงพอสำหรับสภาพคล่องของบริษัท" นายทิติพงษ์ กล่าว

ก่อนหน้านี้ บริษัท พีทีที โกลบอลฯ ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/2555 พบว่า กำไรสุทธิลดลงเหลือ 851 ล้านบาท เทียบไตรมาสเดียวกันปีก่อนกว่า 90% เนื่องจากราคาน้ำมันดิบดูไบลดลง เฉลี่ยไตรมาส 2/2555 มาอยู่ที่ 106 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล ลดลงจากไตรมาส 2/2554 ที่ราคาเฉลี่ย 111 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่ง เป็นผลมาจากปัญหาความไม่สงบใน กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบผ่อนคลาย ลง ประกอบกับกำลังผลิตในตลาดโลก เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ปัญหาหนี้ยุโรปที่ยืดเยื้อและเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบดูไบได้ลดต่ำถึงระดับ 93 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในท้ายของไตรมาส 2/2555 ส่งผลให้บริษัท เกิดขาดทุนสต็อก (Stock Loss) จำนวน 5,073 ล้านบาท และมีค่าเผื่อการลดมูลค่าสินค้าคงเหลือ 1,114 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีแผนลงทุนต่อเนื่อง ภายหลังเข้าซื้อหุ้น 51% ของหุ้นทั้งหมด ใน บริษัท Perstorp Holding France SAS ประมาณ 4,830 ล้านบาท จากผู้ถือหุ้นเดิมและเปลี่ยนชื่อกิจการเป็น Vencorex Holding การเข้าร่วมลงทุน 50%ใน บริษัท NatureWorks LLC ประมาณ 4,572 ล้านบาท

โดยนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ว่า หากราคาน้ำมัน ลดลงต่อเนื่องถึงระดับแตะ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต้องปรับแผนการลงทุนใหม่ทั้งหมด โดยชะลอโครงการลงทุนที่ไม่จำเป็นออกไป และลดต้นทุนการผลิต

"สถานการณ์ของธุรกิจยังคงไม่ดี จากเศรษฐกิจในยุโรป"

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 442

โพสต์

ไฟเขียวแก้สัญญามาเลย์ขอซื้อก๊าซธรรมชาติเพิ่ม
Source - พิมพ์ไทย (Th), Wednesday, August 22, 2012


นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอ กระทรวงพลังงาน ในการแก้ไขสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สำหรับการซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย- มาเลเซีย ระหว่างองค์กรร่วมไทยมาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท Hess Oil Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)และบริษัทเปโตรนาสในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ

เนื่องจากบริษัท เปโตรนาส ได้มีหนังสือแจ้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซียว่าประเทศมาเลเซียมีความต้องการใช้ก๊าซภายในประเทศเพิ่มสูงมากบริษัทประสงค์ขอนำก๊าซตามสิทธิการขอซื้อของเปโตรนาสจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย แปลงA-18 ไปใช้ในมาเลเซียเพิ่มขึ้นจำนวน 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ปัจจุบันแปลง A-18 มีการผลิตในอัตรา 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งให้เปโตรนาสในอัตรา 421 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน)เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี2555

โดยกลุ่มผู้ขายและกลุ่มผู้ซื้อได้มีการหารือและร่วมกันจัดทำร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2555 ขณะที่ที่คณะกรรมการองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2555 และได้ลงนามกำกับย่อ(Initial) โดยคู่สัญญาทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทยและมาเลเซียก่อนองค์กรร่วมจะได้ลงนามในฐานะผู้ขายก๊าซร่วมต่อไป โดยปริมาณก๊าซที่ส่งเกินกว่า 869 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะมีราคาเพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 443

โพสต์

เอ็กโกสบช่องต่างประเทศ เปิดทางโรงไฟฟ้า-กลุ่มถ่านหินสิ้นปีใช้ 4,500 ล.บูมฟิลิปปินส์ [ โพสต์ทูเดย์, 22 ส.ค. 55 ]

"เอ็กโก" ลุยต่างประเทศเพิ่มโอกาส พร้อมเร่งขยายโรงไฟฟ้าเคซอน ฟิลิปปินส์ ปลายปี
คาดใช้ 2,250-4,500 ล้านบาท

นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า หรือเอ็กโกกรุ๊ป เปิดเผยถึง
ทิศทางการพัฒนาธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2555 ว่า เอ็กโกยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจพลังงาน
ในต่างประเทศต่อเนื่อง โดยเฉพาะการมองหาโอกาสการลงทุนในประเทศอาเซียนา ซึ่งโครงการล่าสุด
จะพยายามเร่งสรุปแผนลงทุนส่วนขยายของโรงไฟฟ้าเคซอน ประเทศฟิลิปปินส์ จากเดิมที่เคยลงทุนไปแล้ว
และขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดเพิ่มเติมตัดสินใจกำหนดรูปแบบการลงทุนจะเป็นในลักษณะใด คาด
ว่าใช้เงินลงทุน 2,250-4,500 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 444

โพสต์

กองทุนพลังงานไฟเขียว งบลงทุน278ล้านบาท พัฒนาพลังงานทดแทน [ ข่าวหุ้น, 23 ส.ค. 55 ]

นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือ สนพ. กระทรวง
พลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ สนพ. ได้รับงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สนับสนุน
โครงการศึกษา วิจัย พัฒนา เทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ในการคิดค้น พัฒนา หรือริเริ่ม
การดำเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน ซึ่งปีนี้มีโครงการที่ สนพ. ให้การสนับสนุน 22
โครงการ รวมวงเงินกว่า 278 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 445

โพสต์

บอร์ดปิโตรเลียมอนุมัติ2แหล่งใหม่
InfoQuest , 23-08-2012 04:09:09

บอร์ดปิโตรเลียมอนุมัติ2แหล่งใหม่ ครึ่งปีเก็บค่าภาคหลวง4.2หมื่นล้าน

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน สรุปสถานการณ์ด้านการจัดหาและพัฒนาปิโตรเลียม ช่วงเดือนกรกฎาคม 2555 ว่า ประเทศไทยมีอัตราการผลิตปิโตรเลียมเทียบเท่าน้ำมันดิบทั้งสิ้น 849,144 บาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็นประมาณ 43% ของความต้องการใช้ในประเทศ โดยแบ่งเป็นก๊าซธรรมชาติ 3,531 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว 96,904 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันดิบ 145,194 บาร์เรลต่อวัน โดยช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2555 กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน สามารถจัดเก็บค่าภาคหลวง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 42,300 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปี 2554 ประมาณ 18%

สำหรับผลการดำเนินงานพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย เป็นบริเวณที่ไทยและมาเลเซียอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกันในบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ช่วงเดือนกรกฎาคม 2555 มีการผลิตก๊าซธรรมชาติ อัตรา 1,259 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สามารถที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย วันละประมาณ 736 ล้านลูกบาศก์ฟุต และก๊าซธรรมชาติเหลว 15,825 บาร์เรลต่อวัน โดยช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2555 สามารถนำส่งรายได้จากการดำเนินงานพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย สู่ประเทศ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,777 ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 14 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ การประชุมคณะกรรมการปิโตรเลียมดังกล่าว อนุมัติพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติม 2 พื้นที่ เนื่องจากผลการสำรวจของบริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียม พบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพทางด้านธรณีวิทยาที่จะพัฒนาเป็นแหล่งปิโตรเลียม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ประกอบด้วย แหล่งดงมูล ของบริษัท อพิโก้ (โคราช) จำกัด ซึ่งอยู่ในแปลงสำรวจ L27/43 สัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 9/2546/43

โดยคณะกรรมการปิโตรเลียมมีมติเห็นชอบให้ได้รับอนุมัติเป็นพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมรวม 31.91 ตารางกิโลเมตร และคาดว่ามีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 96 พันล้านลูกบาศก์ฟุต เริ่มผลิตปี 2558 หากดำเนินการพัฒนาสำเร็จและผลิตได้จะผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 14 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยบริษัทจะมีการลงทุนมูลค่าประมาณ 6,774 ล้านบาท และผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับจากโครงการนี้ประมาณ 3,095 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 60% ส่วนบริษัทจะได้รับผลตอบแทนหลังหักเงินลงทุนประมาณ 2,066 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณ 40%

โดยแหล่งปะการังตะวันตกของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งอยู่ในแปลงในทะเล แปลง B11 สัมปทานเลขที่ 1/2515/5 โดยคณะกรรมการปิโตรเลียมมีมติเห็นชอบให้ได้รับอนุมัติเป็นพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมรวม 118.1 ตารางกิโลเมตร และคาดว่ามีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 1 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 8.97 ล้านบาร์เรล ซึ่งจะเริ่มผลิตในปี 2558

หากดำเนินการพัฒนาสำเร็จและผลิตได้ คาดว่าจะผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยสูงสุดประมาณ 4,300 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติประมาณ 59 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน โดยบริษัทจะมีการลงทุนมูลค่าประมาณ 19,000 ล้านบาท และผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับจากโครงการนี้ประมาณ 10,200 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 57% ส่วนบริษัทจะได้รับผลตอบแทนหลังหักเงินลงทุนประมาณ 7,584 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 43%
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 446

โพสต์

คอลัมน์ คาบลูกคาบดอก: มองอนาคต
Source - ไทยรัฐ (Th), Thursday, August 23, 2012


เมื่อสัปดาห์ก่อน กลุ่มนักข่าวพม่า ออกมาประท้วงรัฐบาลในนครย่างกุ้ง เรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการทำข่าว คณะกรรมการเพื่อเสรีภาพสื่อของพม่าหารือกับกระทรวงข่าวสารเพื่อยกเลิกคณะกรรมการเซ็นเซอร์สื่อ ไม่กี่วันผ่านมารัฐบาลพม่าออกประกาศตั้งแต่ 20 ส.ค.เป็นต้นไป จะให้เสรีภาพกับสื่อมวลชนในประเทศ ภายใต้กฎใหม่ของกระทรวงสื่อสารพม่า โดยสื่อมวลชนไม่ต้องส่งเนื้อหาข่าวหรือบทความให้คณะกรรมการเซ็นเซอร์ตรวจสอบก่อนตีพิมพ์ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปีที่สื่อพม่าสามารถเสนอข่าวและแสดงความเห็นอย่างเสรี

ความเปลี่ยนแปลงในพม่าที่จะนำไปสู่คำว่าประชาธิปไตย เป็นการผลัดใบ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ผลตอบแทน ไม่เฉพาะที่รัฐบาลพม่าจะได้เครดิตเท่านั้น แต่ประเทศพม่าและคนพม่าจะได้ประโยชน์จากการนี้ด้วย

ประเทศพม่าได้รับการตอบรับจากสังคมโลกมากขึ้น บริษัทภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ ของสหรัฐฯ ประกาศเตรียมที่จะเข้าไปบุกเบิกธุรกิจบันเทิงในพม่า ประเดิมด้วยภาพยนตร์เรื่องไททานิค ในระบบ 3 มิติ ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปีเช่นกันหลังจากที่บริษัทดังกล่าวถอนตัวออกจากพม่าตั้งแต่ปี 2505

ตามข่าวยังระบุว่าทุกวันนี้โรงภาพยนตร์ในพม่า นำหนังต่างประเทศด้วยวิธีละเมิดลิขสิทธิ์ จากประเทศไทยนำไปฉายตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ ดังนั้น บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์จึงต้องการที่จะเข้าไปดำเนินธุรกิจดังกล่าวในพม่าเป็นการให้ความบันเทิงในราคาถูก อาทิ ตั๋วดูภาพยนตร์อาจจะขายแค่ใบละ 11 บาทเท่านั้น

การมองโลกในแนวบวก มองอนาคต มากกว่าจะยึดติดกับอดีต เป็นวิสัยทัศน์ของนักบริหารรุ่นใหม่ๆ แนวคิดในการสร้างคลังน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของประเทศ ของ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ผู้จัดการใหญ่ ปตท. เป็นเรื่องที่น่าคิด นโยบายการเพิ่มน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ต้องสร้างคลังน้ำมันเพิ่มขึ้นและใช้ทุนสูงมากเกินความสามารถของเอกชนที่ต้องใช้เงินเป็นหลักแสนล้าน รัฐบาลจึงควรหาวิธีการลงทุน เช่นอาจจะหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีเงินสำรองอยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันสำรองในรูปของเงินดอลลาร์ ก็อาจจะเปลี่ยนมาเป็นการสำรองในรูปแบบทรัพย์สินอื่น เช่นในรูปแบบพลังงานเหมือนกับในหลายๆประเทศ

ประเทศไทยต้อง นำเข้าน้ำมันกว่าร้อยละ 80 และการสำรองน้ำมันตามมาตรฐานองค์การพลังงานระหว่างประเทศ จะต้องสำรองอย่างน้อย 90 วัน เพราะฉะนั้นการสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้นจะต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งจากการสร้างคลังน้ำมันและซื้อน้ำมันสำรอง ความสามารถของภาคเอกชนสามารถที่จะสำรองน้ำมันเพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินร้อยละ 1 เพราะต้องเสี่ยงกับการขาดทุนจากการสต๊อกน้ำมัน

เรื่องของพลังงานเป็นเรื่องสำคัญกับโลกในยุคปัจจุบัน น้ำมันยิ่งน้อยความต้องการก็ยิ่งมาก น้ำมันเป็นต้นทุนการผลิตสินค้าทุกประเภท ทุกอุตสาหกรรม ชี้เป็นชี้ตายเศรษฐกิจของประเทศ และอนาคตของคนไทยทั้งประเทศ.

หมัดเหล็ก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 447

โพสต์

ผู้ถือหุ้นแทปไลน์ได้ข้อยุติลุยโครงการท่อขนส่งน้ำมัน
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, August 24, 2012


ผู้ถือหุ้นแทปไลน์ได้ข้อยุติ เดินหน้าลงทุนโครงการท่อส่งน้ำมัน เริ่มเส้นอีสานก่อน เหตุคุ้มค่าการลงทุน หลังจากประเมินศักยภาพเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านหลังเปิดเออีซี คาดผลตอบแทนการลงทุน 15-16%

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงานเปิดเผยว่าผู้ถือหุ้นบริษัทท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือ แทปไลน์ เห็นชอบลงทุนโครงการก่อสร้างท่อ ส่งน้ำมันสายเหนือและอีสาน โดยจะเลือกลงทุน ท่อส่งภาคอีสานก่อน เนื่องจากคุ้มค่าลงทุนมากกว่า

บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในแทปไลน์ ได้หารือกับผู้ถือหุ้นทั้งหมดแล้วและได้ข้อตกลงว่าผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะไม่ขายหุ้นที่ถือในแทปไลน์ออกไป และพร้อมเดินหน้าลงทุนโครงการ ทำให้ ภาระที่ต้องใส่เงินลงทุนลดลง เหลือประมาณ 5,000 ล้านบาท จากงบลงทุนโครงการทั้งหมดประมาณ 15,000 ล้านบาท ซึ่งจะสรุปในเดือนก.ย. นี้

ปัจจุบัน ผู้ถือหุ้นแทปไลน์ ประกอบด้วย ปตท.ถือหุ้น 33.19% บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 9.19% เอสโซ่ 20.66% เชลล์ 14.87% เชฟรอน 9.91% คูเวตปิโตรเลียม 4.96% ปิโตรนาส 3.97% และบีพี 3.24%

ก่อนหน้านี้ ผู้ถือหุ้นในแทปไลน์ไม่พร้อมลงทุน เนื่องผลตอบแทนการลงทุนต่ำประมาณ 11% ขณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และที่ผ่านมารัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยเหลือ ทำให้การขนส่งน้ำมันทางท่อไม่คุ้มค่าหากเทียบการขนส่งทางถนน ซึ่ง ปตท.จึงว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายอื่น และเดินหน้าลงทุนเอง เนื่องจากเป็นนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันส่งน้ำมันผ่านท่อแทนการขนส่งน้ำมันโดยรถยนต์

"ขณะนี้ได้ข้อยุติแล้ว หลังจากประเมินว่าหากลงทุนเฉพาะท่อสายอีสาน จะทำให้ผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มเป็น 15-16% โครงการนี้สามารถต่อกับ เชื่อมกับการเปิดเส้นทางไปยังประเทศต่างๆ ในอาเซียน ทำให้โครงการคุ้มค่าในการลงทุนมากขึ้น"

สำหรับท่อสายเหนือนั้นจะต้องมีการหารือในลำดับถัดไป หากจะมีโครงการลงทุนในอนาคต เพราะผู้ถือหุ้นต้องการขอศึกษาความความคุ้มค่าในการลงทุนในรายละเอียด

ทั้งนี้โครงการท่อสายอีสานและเหนือ ใช้งบลงทุน 15,237 ล้านบาท เป็นโครงการท่อจากสระบุรี-ลำปาง และ สระบุรี-โคราช-ขอนแก่น ระยะทางรวมประมาณ 958 กิโลเมตร แบ่งเป็นระบบท่อส่ง 8,854 ล้านบาท คลังจ่ายน้ำมัน 4,374 ล้านบาท และด้าน อื่น 2,009 ล้านบาท มีผลตอบแทนการลงทุน 11%

กรมธุรกิจพลังงาน ประเมินว่าการขนส่งน้ำมันสายภาคเหนือและอีสานมีประสิทธิภาพสูง โดยคาดว่า ในปี 2556 ภาคเหนือจะมียอดความต้องการใช้ เชื้อเพลิง 3,001 ล้านลิตร จะช่วยประหยัดค่าขนส่ง 1,534 ล้านบาท ส่วนในภาคอีสาน 4,127 ล้านลิตร ประหยัดค่าขนส่ง 1,857 ล้านบาท นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศประหยัดพลังงาน เป็นเงิน 42,000 ล้านบาท ประหยัดค่าซ่อมแซมและอะไหล่รถบรรทุกน้ำมัน 19,500 ล้านบาท ลดก๊าซเรือนกระจก มูลค่า 530 ล้านบาท รวม 25 ปีตลอดอายุการใช้งาน


--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 448

โพสต์

หุ้นพลังงานขึ้นจริงหรือ?
Posted by สุกิจ อุดมศิริกุล on วันพฤหัสบดี, 09 สิงหาคม 2012
ที่ http://www.moneychannel.co.th/index.php ... n_ref_map=[]
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
equinox
Verified User
โพสต์: 98
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 449

โพสต์

A huge explosion at Venezuela's biggest oil refinery has killed at least 26 people and halted production for two days, officials say.

At least 80 people were also injured in the blast which started a fire at the Amuay plant in Falcon state in the north-west of the country.

State Governor Stella Lugo said nearby houses had been damaged by the blast. The fire is said to be under control.

The refinery, one of the biggest in the world, produces 645,000 barrels a day.

Ms Lugo said there was no risk of further explosions.

Among the dead is a boy of 10.

Venezuelan Vice-President Elias Jaua, who travelled to the area in western Venezuela, said 17 of the victims were members of the National Guard stationed at the plant.

He added that military air ambulances had been dispatched to help evacuate the injured.

President Hugo Chavez has declared three days of national mourning.

Analysts say refineries in Venezuela, South America's biggest oil producer, have suffered from a long list of problems including power failures and accidents.

Gas leak

Energy Minister Rafael Ramirez confirmed operations at the plant had stopped but he expected them to resume by Monday.

He said that Venezuela had enough fuel supplies to guarantee continued exports and domestic supply, according to the Associated Press news agency.

Troops secured the area and were helping oil workers inspect the damage.
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์ที่ 450

โพสต์

สถาบันปิโตรเลียมจี้'ธปท.'ใช้ทุนสำรองหนุนพลังงาน
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Saturday, August 25, 2012


สถาบันปิโตรเลียมแนะ ธปท.กันเงินทุนสำรองซื้อแหล่งพลังงาน ชี้ต้องใช้เงินลงทุนเฉียด 3 ล้านล้านบาท ทำให้ ปตท.ไม่สามารถลงทุนเองได้ ด้าน ปตท.เดินหน้ายกเลิกส่งออกน้ำมันดิบ ลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปี

นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การสร้างความมั่นคงทางพลังงานในระยะยาวนั้นรัฐบาลมีแผนให้บริษัท ปตท. ออกไปซื้อแหล่งน้ำมันและก๊าซทั่วโลก เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉินทางพลังงานที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ไทยยังมีพลังงานขับเคลื่อนประเทศต่อไปได้ ขนาดของแหล่งน้ำมันที่ทำให้ไทยมีความมั่นคงต้องมีปริมาณผลิตส่งกลับมาไทยไม่ต่ำกว่า 8 แสนบาร์เรลต่อวัน เป็นเวลาต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10 ปี

"จากการหารือกับ ปตท. พบว่าหากให้ ปตท.ออกไปลงทุนเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีกำลังเพียงพอ เพราะต้องใช้เงินลงทุนซื้อแหล่งน้ำมันเกือบ 3 ล้านล้านบาท ไม่รวมต้นทุนการผลิต ขณะที่ ปตท.ดำเนินกิจการมา 33 ปี มีสินทรัพย์เพียง 1 ล้านล้านบาท ดังนั้น การลงทุนที่หวังผลภายใน 3-5 ปี ข้างหน้า ด้วยการเพิ่มทุนอีกกว่าเท่าตัว จะส่งผลกระทบต่อตลาดทุนเป็นวงกว้าง"

ทั้งนี้ จะเห็นว่าหากให้ ปตท.รับผิดชอบในการออกไปซื้อแหล่งน้ำมัน เพื่อความมั่นคงทั้งประเทศเพียงฝ่ายเดียวเป็นเรื่องที่เกินกำลัง จึงควรนำเงินทุนสำรองของประเทศเข้ามาซื้อแหล่งพลังงาน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ควรกำหนดปริมาณเงินทุนสำรองที่เพียงพอต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเงินจะมีจำนวนเท่าไร และแบ่งเงินทุนสำรองที่เหลือมาลงทุนซื้อแหล่งพลังงาน เพื่อความมั่งคงของประเทศ

"หลายประเทศในโลกเดินมาในแนวทางนี้ ในการนำเงินทุนสำรองของประเทศออกไปลงทุนในกิจการต่างๆ เพื่อสร้างความมั่งคั่ง และความมั่นคงให้กับประเทศ ยกตัวอย่าง เช่น สิงคโปร์ก็ตั้งกองทุนเทมาเส็กมานานกว่า 20 ปี ออกไปลงทุนในทุกด้าน รวมทั้งแหล่งพลังงานก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง สร้างรายได้และความมั่งคงให้กับประเทศ"

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังมีแผนยกเลิกการส่งออกน้ำมันดิบ และนำกลับมาใช้ในประเทศทั้งหมด โดยปีที่ผ่านมา ไทยสามารถผลิตน้ำมันดิบ และคอนเดนเสทรวมทั้งสิ้นประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน จำนวนนี้เป็นการส่งออก 15% หรือประมาณ 3.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ไทยต้องนำเข้าน้ำมันมากกว่า 6 แสนบาร์เรลต่อวัน จึงควรนำน้ำมันส่วนนี้กลับมาใช้ในประเทศเพื่อลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศถึงปีละกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 3 หมื่นล้านบาทต่อปี

กระทรวงพลังงานจึงให้ ปตท.วางแผนทยอยนำน้ำมันดิบที่ส่งออกกลับมาใช้ในประเทศ โดย ปตท.จะเจรจากับผู้ที่ได้รับสัมปทานผลิตน้ำมันในไทยให้ปรับเปลี่ยนจากส่งออกมาขายให้กับ ปตท.ทั้งหมด

โดยคาดว่าไตรมาส 4 ของปี 2555 จะลดการส่งออกเหลือ 2.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ไตรมาส 1 ของปี 2556 เหลือ 2 หมื่นบาร์เรลต่อวันไตรมาส 2 เหลือ 1.8 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และในไตรมาส 4 ของปีหน้าจะไม่มีปริมาณน้ำมันดิบส่งออกอีกเลย

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."