สมาชิกใหม่อยู่ต่างจังหวัดจะเริ่มต้นเลือกตัวไหนอย่างไรดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สมาชิกใหม่อยู่ต่างจังหวัดจะเริ่มต้นเลือกตัวไหนอย่างไรดี
โพสต์ที่ 2
เลือกตัวที่อ่าน และมั่นใจมากที่สุดโดยใช้เงินที่สามารถรับได้ก่อน ครับ
- BeSmile
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1178
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สมาชิกใหม่อยู่ต่างจังหวัดจะเริ่มต้นเลือกตัวไหนอย่างไรดี
โพสต์ที่ 3
เริ่มต้นด้วยการอ่านครับ
มีแนวทางดี ๆ ในห้องกระทู้คุณค่า เยอะ
อ่านหนังสือ ของอาจารย์นิเวศน์ buffet lynch
เสียเวลาในการศึกษา ประมาณ 1-2 ปีิ น่าจะ พอเลือกหุ้นได้เองครับ
ถ้าผ่านไป 1-2 ปี ยังเลือกหุ้นและตัดสินใจไม่ได้ ก็ต้องอ่านต่อไปครับ
แต่ผมว่าถ้าตั้งใจอ่านและศึกษาอย่างจริงจัง น่าจะได้ผลครับ
มีแนวทางดี ๆ ในห้องกระทู้คุณค่า เยอะ
อ่านหนังสือ ของอาจารย์นิเวศน์ buffet lynch
เสียเวลาในการศึกษา ประมาณ 1-2 ปีิ น่าจะ พอเลือกหุ้นได้เองครับ
ถ้าผ่านไป 1-2 ปี ยังเลือกหุ้นและตัดสินใจไม่ได้ ก็ต้องอ่านต่อไปครับ
แต่ผมว่าถ้าตั้งใจอ่านและศึกษาอย่างจริงจัง น่าจะได้ผลครับ
มีสติ - อย่าประมาทในการใช้ชีวิต
-
- Verified User
- โพสต์: 1254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สมาชิกใหม่อยู่ต่างจังหวัดจะเริ่มต้นเลือกตัวไหนอย่างไรดี
โพสต์ที่ 5
ถ้าเริ่มต้นลงทุนจากหุ้นที่คุณสามารถเข้าใจลักษณะธุรกิจของบริษัทที่กำลังดำเนินงานอยู่ได้เป็นอย่างดีผมว่าดีคับ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 144
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สมาชิกใหม่อยู่ต่างจังหวัดจะเริ่มต้นเลือกตัวไหนอย่างไรดี
โพสต์ที่ 6
แนะนำ บทความ อ.นิเวศน์ ผมมักจะอ่านทุกครั้งเวลาที่สับสน
เข็มทิศลงทุน
เข็มทิศช่วยให้นักเดินเรือในสมัยโบราณไม่หลงทางท่ามกลางทะเลที่เวิ้งว้าง การมีเข็มทิศจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและหมายถึงความเป็นความตาย เดินทางผิด ผู้เดินทางอาจหลงทางหรือในบางครั้งอาจต้องตายกลางทะเล เดินทางถูก เป้าหมายก็อยู่แค่เอื้อม ในการลงทุนในตลาดหุ้นเองนั้น เราจำเป็นต้องมี “เข็มทิศ” ที่จะช่วยชี้นำให้เรา “เดินทาง” สู่เป้าหมาย นั่นก็คือ สู่ความมั่งคั่ง มีอิสรภาพทางการเงิน “เข็มทิศลงทุน” ที่เราควรจะต้องใช้ในการนำเราไปสู่เป้าหมายมีหลายข้อดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ซื้อหุ้นให้ทำเหมือนกับว่าเรากำลังลงทุนทำธุรกิจหรือเข้าหุ้นทำธุรกิจกับเพื่อน นี่เป็น “เข็มทิศ” ที่สำคัญที่สุด หุ้นไม่ใช่กระดาษแผ่นเล็ก ๆ ที่ราคาขึ้น ๆ ลง ๆ เบื้องหลังของหุ้นนั้นมีโรงงาน มีสำนักงาน มีร้านค้า มีพนักงาน มียี่ห้อ มีระบบการบริหาร มีลูกค้า และมีสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างกำไร และจ่ายปันผลให้เราซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น ถ้าเรายึดแนวทางนี้อย่างมั่นคง การลงทุนของเราก็จะ “ไม่หลง” โอกาสผิดพลาดมีน้อย
ข้อ 2 ถ้าบริษัททำผลงานได้ดี หุ้นก็จะดีตามเสมอ แม้ว่าราคาหุ้นอาจจะไม่ตามผลการดำเนินงานในทันทีทันใด แต่ในที่สุดแล้วมันก็จะต้องปรับตัวตามผลงานของบริษัท ดังนั้น เมื่อซื้อหุ้นแล้ว สิ่งที่จะบอกว่าเราซื้อถูกต้องก็คือ ผลงานของบริษัทดีขึ้นเรื่อย ๆ และเราได้รับปันผลมากขึ้นเรื่อย ๆ และแน่นอน ราคาหุ้นก็จะปรับตัวขึ้นตามกันไป
ข้อ 3 หาหุ้นของกิจการที่เข้าใจได้ง่ายและเราสามารถคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า อย่าซื้อหุ้นที่เราไม่รู้จักว่าบริษัทผลิตและขายสินค้าอะไรและความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับอะไร ด้วยเข็มทิศอันนี้ เราจึงไม่ควรซื้อหุ้นของกิจการจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากเรามักจะไม่รู้จักธุรกิจจำนวนมากที่อาจจะสลับซับซ้อนเกินไปและเกินความสามารถของเราที่จะเข้าใจได้
ข้อ 4 การลงทุนที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีและมีความเสี่ยงต่ำซึ่งในระยะยาวจะทำให้เรารวยได้ก็คือ การซื้อหุ้นของบริษัทที่ดีในราคาที่ต่ำหรือราคายุติธรรม การซื้อหุ้นของกิจการที่เลวในราคาถูกไม่ทำให้เรารวย เช่นเดียวกัน การซื้อหุ้นของกิจการที่ดีในราคาแพงก็ไม่ทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดี
ข้อ 5 กระจายความเสี่ยงโดยการถือหุ้นจำนวนพอสมควร ประมาณ 5 - 10 ตัว แต่อย่ากระจายมากเกินไปเพราะมันจะทำให้ผลตอบแทนลดลงจนไม่สามารถจะทำผลงานที่ดีได้ เกณฑ์คร่าว ๆ ก็คือ อย่าซื้อหุ้นถ้าเราไม่พร้อมที่จะถือมันถึง 5% ของพอร์ต ในอีกด้านหนึ่ง อย่าซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินกว่า 50% ของพอร์ต
ข้อ 6 ถือพอร์ตของหุ้นตลอดเวลาแม้ในยามวิกฤติ เหตุก็เพราะว่าในยามนั้นราคาหุ้นมักจะตกต่ำลงมากมาก่อนแล้ว จงจำไว้ว่าดัชนีหุ้นนั้นเป็นดัชนี “ชี้นำ” ไม่ใช่ดัชนี “ตาม” ของภาวะเศรษฐกิจ นั่นหมายความว่า เราจะเอาภาวการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบันมาเป็นเครื่องชี้ว่าเราควรจะถือหุ้นหรือไม่ไม่ได้ แน่นอน ถ้าเรารู้ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรในอีกหนึ่งปีข้างหน้า เราก็สามารถนำมาใช้ในการลงทุนได้ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำพอ ดังนั้น อย่าสนใจเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ถือพอร์ตของหุ้นที่จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร
ข้อ 7 อย่าซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นโดยอิงจากภาวะตลาดหรือราคาของหุ้นรายวันหรือรายเดือน พิจารณาปรับพอร์ตจากข้อมูลพื้นฐานของบริษัท เช่น ผลการดำเนินงาน ความแข็งแกร่งของกิจการ ปัจจัยภายนอกที่กระทบกับการดำเนินงานของบริษัท โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะเวลาการถือหุ้นแต่ละตัวไม่ควรจะต่ำกว่า 2- 3 ปี
ข้อ 8 ผลการดำเนินงานของบริษัทไม่จำเป็นต้องดีขึ้นทุกปี ในบางปีผลการดำเนินงานอาจจะถดถอยลงได้เนื่องจากปัจจัยภายนอกบางอย่างอย่างเช่นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ความแข็งแกร่งของบริษัทควรจะต้องรักษาไว้ได้ แต่ถ้าความแข็งแกร่งของบริษัทกลับเพิ่มขึ้นในยามที่ผลการดำเนินงานลดลง สถานการณ์แบบนี้เราควรจะยินดีและถือว่าเป็นความ “ก้าวหน้า” ไม่ใช่ความถดถอยของบริษัท เหตุผลก็เพราะว่า หลังจากความถดถอยของกำไรแล้ว กิจการจะเติบโตและทำกำไรดีขึ้นเป็นทวีคูณในอนาคต เนื่องจากคู่แข่งอาจจะล้มหายหรืออ่อนเปลี้ยลง ในขณะที่กิจการของบริษัทจะเติบโตและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ข้อ 9 ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัททั้งจาก “ในสนาม” คือเรื่องของผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด และจากสื่อสารมวลชนต่าง ๆ โดยเฉพาะในหน้าหนังสือพิมพ์ธุรกิจ อย่าตื่นเต้นกับประเด็นต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีความสำคัญ “ในเชิงยุทธศาสตร์” นั่นก็คือ มันไม่ได้เป็นข้อมูลที่จะเปลี่ยนสาระสำคัญของความสามารถของกิจการ “ข่าวดี” และ “ข่าวร้าย” ที่ปรากฏในสื่อนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องที่ “เกิด” แล้วก็ “ดับ” ไป โดยที่ไม่ได้มีผลในระยะยาวกับบริษัทเลย แต่บางครั้งมันทำให้ราคาหุ้นขึ้นลง “ชั่วคราว” และมันอาจเป็นโอกาสที่เราจะฉกฉวยประโยชน์ได้
ข้อ 10 เป้าหมายสูงสุดจริง ๆ ของการลงทุนก็คือ ปันผลของพอร์ตหุ้นของเรา ความสำเร็จของการลงทุนอย่างจริงจังก็คือ การที่เราเห็นปันผลของเรามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปีแล้วปีเล่า เพราะถ้ามันเป็นอย่างนั้น ในที่สุดเราก็จะพบว่า ปันผลที่เราได้รับแต่ละปีนั้น เพียงพอที่จะเลี้ยงชีวิตเราได้โดยไม่ต้องหารายได้จากแหล่งอื่น และนั่นก็คือ ความเป็นอิสระทางการเงินที่จะทำให้เราสามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตได้ตามที่เราต้องการ ดังนั้น นักลงทุนที่มุ่งมั่นทุกคนควรจะต้องจดบันทึกเงินปันผลที่ได้รับในแต่ละปี ทุกปีที่เรารวบรวมรายรับจากปันผลเสร็จ ลองตรวจดูว่ามันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าหรือไม่ ถ้ามันยังเพิ่มขึ้นก็อย่าได้กังวลแม้ว่ามูลค่าพอร์ตลงทุนจะลดลง เพราะ ปันผลนั้นเป็น “ของแท้” แต่ราคาหุ้นเป็นของ “ชั่วคราว” ถ้าปันผลยังดีอยู่ ในที่สุดราคาหุ้นก็จะตามมา
ทั้งหมดนั้นก็คือ “เข็มทิศลงทุน” ซึ่งถ้าเราเดินตามอย่างมั่นคง มันจะพาเราไปที่ “ทิศเหนือ” สู่ความมั่งคั่งและความสำเร็จ
เข็มทิศลงทุน
เข็มทิศช่วยให้นักเดินเรือในสมัยโบราณไม่หลงทางท่ามกลางทะเลที่เวิ้งว้าง การมีเข็มทิศจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและหมายถึงความเป็นความตาย เดินทางผิด ผู้เดินทางอาจหลงทางหรือในบางครั้งอาจต้องตายกลางทะเล เดินทางถูก เป้าหมายก็อยู่แค่เอื้อม ในการลงทุนในตลาดหุ้นเองนั้น เราจำเป็นต้องมี “เข็มทิศ” ที่จะช่วยชี้นำให้เรา “เดินทาง” สู่เป้าหมาย นั่นก็คือ สู่ความมั่งคั่ง มีอิสรภาพทางการเงิน “เข็มทิศลงทุน” ที่เราควรจะต้องใช้ในการนำเราไปสู่เป้าหมายมีหลายข้อดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ซื้อหุ้นให้ทำเหมือนกับว่าเรากำลังลงทุนทำธุรกิจหรือเข้าหุ้นทำธุรกิจกับเพื่อน นี่เป็น “เข็มทิศ” ที่สำคัญที่สุด หุ้นไม่ใช่กระดาษแผ่นเล็ก ๆ ที่ราคาขึ้น ๆ ลง ๆ เบื้องหลังของหุ้นนั้นมีโรงงาน มีสำนักงาน มีร้านค้า มีพนักงาน มียี่ห้อ มีระบบการบริหาร มีลูกค้า และมีสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นในการสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างกำไร และจ่ายปันผลให้เราซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น ถ้าเรายึดแนวทางนี้อย่างมั่นคง การลงทุนของเราก็จะ “ไม่หลง” โอกาสผิดพลาดมีน้อย
ข้อ 2 ถ้าบริษัททำผลงานได้ดี หุ้นก็จะดีตามเสมอ แม้ว่าราคาหุ้นอาจจะไม่ตามผลการดำเนินงานในทันทีทันใด แต่ในที่สุดแล้วมันก็จะต้องปรับตัวตามผลงานของบริษัท ดังนั้น เมื่อซื้อหุ้นแล้ว สิ่งที่จะบอกว่าเราซื้อถูกต้องก็คือ ผลงานของบริษัทดีขึ้นเรื่อย ๆ และเราได้รับปันผลมากขึ้นเรื่อย ๆ และแน่นอน ราคาหุ้นก็จะปรับตัวขึ้นตามกันไป
ข้อ 3 หาหุ้นของกิจการที่เข้าใจได้ง่ายและเราสามารถคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า อย่าซื้อหุ้นที่เราไม่รู้จักว่าบริษัทผลิตและขายสินค้าอะไรและความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับอะไร ด้วยเข็มทิศอันนี้ เราจึงไม่ควรซื้อหุ้นของกิจการจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์ เนื่องจากเรามักจะไม่รู้จักธุรกิจจำนวนมากที่อาจจะสลับซับซ้อนเกินไปและเกินความสามารถของเราที่จะเข้าใจได้
ข้อ 4 การลงทุนที่จะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีและมีความเสี่ยงต่ำซึ่งในระยะยาวจะทำให้เรารวยได้ก็คือ การซื้อหุ้นของบริษัทที่ดีในราคาที่ต่ำหรือราคายุติธรรม การซื้อหุ้นของกิจการที่เลวในราคาถูกไม่ทำให้เรารวย เช่นเดียวกัน การซื้อหุ้นของกิจการที่ดีในราคาแพงก็ไม่ทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดี
ข้อ 5 กระจายความเสี่ยงโดยการถือหุ้นจำนวนพอสมควร ประมาณ 5 - 10 ตัว แต่อย่ากระจายมากเกินไปเพราะมันจะทำให้ผลตอบแทนลดลงจนไม่สามารถจะทำผลงานที่ดีได้ เกณฑ์คร่าว ๆ ก็คือ อย่าซื้อหุ้นถ้าเราไม่พร้อมที่จะถือมันถึง 5% ของพอร์ต ในอีกด้านหนึ่ง อย่าซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินกว่า 50% ของพอร์ต
ข้อ 6 ถือพอร์ตของหุ้นตลอดเวลาแม้ในยามวิกฤติ เหตุก็เพราะว่าในยามนั้นราคาหุ้นมักจะตกต่ำลงมากมาก่อนแล้ว จงจำไว้ว่าดัชนีหุ้นนั้นเป็นดัชนี “ชี้นำ” ไม่ใช่ดัชนี “ตาม” ของภาวะเศรษฐกิจ นั่นหมายความว่า เราจะเอาภาวการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบันมาเป็นเครื่องชี้ว่าเราควรจะถือหุ้นหรือไม่ไม่ได้ แน่นอน ถ้าเรารู้ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรในอีกหนึ่งปีข้างหน้า เราก็สามารถนำมาใช้ในการลงทุนได้ แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำพอ ดังนั้น อย่าสนใจเรื่องภาวะเศรษฐกิจ ถือพอร์ตของหุ้นที่จะสามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร
ข้อ 7 อย่าซื้อ ๆ ขาย ๆ หุ้นโดยอิงจากภาวะตลาดหรือราคาของหุ้นรายวันหรือรายเดือน พิจารณาปรับพอร์ตจากข้อมูลพื้นฐานของบริษัท เช่น ผลการดำเนินงาน ความแข็งแกร่งของกิจการ ปัจจัยภายนอกที่กระทบกับการดำเนินงานของบริษัท โดยเฉลี่ยแล้ว ระยะเวลาการถือหุ้นแต่ละตัวไม่ควรจะต่ำกว่า 2- 3 ปี
ข้อ 8 ผลการดำเนินงานของบริษัทไม่จำเป็นต้องดีขึ้นทุกปี ในบางปีผลการดำเนินงานอาจจะถดถอยลงได้เนื่องจากปัจจัยภายนอกบางอย่างอย่างเช่นภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ความแข็งแกร่งของบริษัทควรจะต้องรักษาไว้ได้ แต่ถ้าความแข็งแกร่งของบริษัทกลับเพิ่มขึ้นในยามที่ผลการดำเนินงานลดลง สถานการณ์แบบนี้เราควรจะยินดีและถือว่าเป็นความ “ก้าวหน้า” ไม่ใช่ความถดถอยของบริษัท เหตุผลก็เพราะว่า หลังจากความถดถอยของกำไรแล้ว กิจการจะเติบโตและทำกำไรดีขึ้นเป็นทวีคูณในอนาคต เนื่องจากคู่แข่งอาจจะล้มหายหรืออ่อนเปลี้ยลง ในขณะที่กิจการของบริษัทจะเติบโตและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ข้อ 9 ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัททั้งจาก “ในสนาม” คือเรื่องของผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด และจากสื่อสารมวลชนต่าง ๆ โดยเฉพาะในหน้าหนังสือพิมพ์ธุรกิจ อย่าตื่นเต้นกับประเด็นต่าง ๆ ที่ไม่ได้มีความสำคัญ “ในเชิงยุทธศาสตร์” นั่นก็คือ มันไม่ได้เป็นข้อมูลที่จะเปลี่ยนสาระสำคัญของความสามารถของกิจการ “ข่าวดี” และ “ข่าวร้าย” ที่ปรากฏในสื่อนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องที่ “เกิด” แล้วก็ “ดับ” ไป โดยที่ไม่ได้มีผลในระยะยาวกับบริษัทเลย แต่บางครั้งมันทำให้ราคาหุ้นขึ้นลง “ชั่วคราว” และมันอาจเป็นโอกาสที่เราจะฉกฉวยประโยชน์ได้
ข้อ 10 เป้าหมายสูงสุดจริง ๆ ของการลงทุนก็คือ ปันผลของพอร์ตหุ้นของเรา ความสำเร็จของการลงทุนอย่างจริงจังก็คือ การที่เราเห็นปันผลของเรามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปีแล้วปีเล่า เพราะถ้ามันเป็นอย่างนั้น ในที่สุดเราก็จะพบว่า ปันผลที่เราได้รับแต่ละปีนั้น เพียงพอที่จะเลี้ยงชีวิตเราได้โดยไม่ต้องหารายได้จากแหล่งอื่น และนั่นก็คือ ความเป็นอิสระทางการเงินที่จะทำให้เราสามารถเลือกที่จะใช้ชีวิตได้ตามที่เราต้องการ ดังนั้น นักลงทุนที่มุ่งมั่นทุกคนควรจะต้องจดบันทึกเงินปันผลที่ได้รับในแต่ละปี ทุกปีที่เรารวบรวมรายรับจากปันผลเสร็จ ลองตรวจดูว่ามันเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าหรือไม่ ถ้ามันยังเพิ่มขึ้นก็อย่าได้กังวลแม้ว่ามูลค่าพอร์ตลงทุนจะลดลง เพราะ ปันผลนั้นเป็น “ของแท้” แต่ราคาหุ้นเป็นของ “ชั่วคราว” ถ้าปันผลยังดีอยู่ ในที่สุดราคาหุ้นก็จะตามมา
ทั้งหมดนั้นก็คือ “เข็มทิศลงทุน” ซึ่งถ้าเราเดินตามอย่างมั่นคง มันจะพาเราไปที่ “ทิศเหนือ” สู่ความมั่งคั่งและความสำเร็จ