ธุรกิจ : BizWeek
วันที่ 23 กรกฎาคม 2555 09:00
"ยักษ์ค้าปลีก" เท 7 หมื่นล. ดักโอกาส "เออีซี"
โดย : ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
เหลือเวลาอีกไม่ถึง 3 ปี กับการตักตวงโอกาสเออีซี “ยักษ์ค้าปลีกไทย” เคลื่อนไหวคึกคัก ไล่นับเม็ดเงินลงทุนรวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท แบบหักกันไม่ลง
นับถอยหลัง ยิ่งใกล้วันที่อาเซียน 10 ประเทศ จะรวมตัวเป็นหนึ่งเดียว (Single Market) หรือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 เวลาที่เหลืออยู่อีก "ราว 3 ปี" จากนี้ จึงมีค่าดั่งทอง ที่เหล่าผู้ประกอบการจะเตรียมความพร้อม รองรับขนาดตลาดที่จะใหญ่ขึ้น จากจำนวนประชากรอาเซียนรวมกันกว่า 600 ล้านบาท "เพิ่มขึ้น 9 เท่าตัว" เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรไทยในปี 2555 ที่มีอยู่ราว 67 ล้านคน
ทว่า เส้นเขตแดนที่เลือนราง นอกจากจะเป็นโอกาส ยังกลายเป็นวิกฤติได้เช่นกัน จากคู่แข่งมีมากหน้าหลายตามากขึ้น
นี่คือ ความหมายของการปรับตัว ที่ท้าทายความอยู่รอดของผู้ประกอบการไทย
"ธุรกิจค้าปลีก" ถือเป็น "กลุ่มทุนไทย"รายแรกๆ ที่มองเห็นการ "เบ่งกล้าม" ปรับตัวอย่างชัดเจน จากอภิมหาเศรษฐีเมืองไทย ที่ทยอยประกาศอภิมหาโปรเจค "รีโนแวต" ศัลยกรรมเหลาคาง เสริมจมูก ห้างสรรพสินค้าให้สวยขึ้น เด่นขึ้น กว่าเดิม รวมไปถึงการเปิดโปรเจคใหม่ (New Project) ด้วยขนาดและความหรูเลิศอลังการ เพื่อเรียกแขก (กำลังซื้อมหาศาล)
จำเป็นต้องเริ่มจัดหนักจัดเต็มในช่วงนี้ เพื่อให้ทัน "ดักโอกาส" (หอบใหญ่) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2558
โดยเฉพาะ "Road of Retail" ถนนสายค้าปลีก ย่านการค้าไข่แดงกลางกรุง ตั้งแต่ สยาม มายังสี่แยกราชประสงค์ เรื่อยมาถึง ชิดลม ลากยาวต่อมาที่พร้อมพงษ์ ตามเส้นทางรถไฟฟ้า และการลงทุนพัฒนาพื้นที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา
จากการรวบรวมมูลค่าเงินลงทุนของกลุ่มทุนค้าปลีก ในหลายค่าย พบเม็ดเงินลงทุนเพื่อปรับโฉมศูนย์การค้าเดิม รวมถึงการลงทุนใหม่ เป็นวงเงินรวมกัน กว่า 7 หมื่นล้านบาท
หากไล่ตามเส้นทางการลงทุนตามแนวรถไฟฟ้า เริ่มจาก "สถานีรถไฟฟ้าสยาม" บริษัทสยามพิวรรธน์ ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ และสยามพารากอน ได้ปิดปรับปรุง "ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์" ด้วยเงินลงทุน 1,000 ล้านบาท บนพื้นที่ 6 หมื่นตารางเมตร ไปเมื่อ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา เป็นระยะเวลา 4 เดือนเต็มไปจนถึงเดือน พ.ย. ก่อนจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือน ธ.ค.นี้
ถือเป็นการพลิกโฉมสยามเซ็นเตอร์ครั้งใหญ่ในรอบ 4 ทศวรรษ (40 ปี)
ก่อนหน้านี้ ผู้บริหารสยามพิวรรธน์ พูดชัดว่า การปิดปรับปรุงรอบนี้ เพื่อรองรับเออีซี ในปี 2558 โดยเชื่อว่าหลังปิดปรับปรุงจะทำให้มี Traffic เพิ่มขึ้นอีกราว 50% หรือมีลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 1-1.5 แสนคน นอกจากนี้ จะช่วยขยายกลุ่มเป้าหมายจากเด็กวัยรุ่นที่หิ้วกระเป๋านักเรียนเดินกันขวักไขว่ มาเป็นกลุ่มเป้าหมายในวัยทำงานและนักท่องเที่ยวต่างชาติมากขึ้น จากการเพิ่มไลน์สินค้าที่เป็น International Brand มากขึ้น
บนความคาดหวังจะเพิ่มสัดส่วนลูกค้าต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 40% เป็น 50% สร้างมูลค่าเพิ่ม (ซินเนอร์ยี่) กับให้กับ "ทั้งสาม" ศูนย์การค้าในเครือข่าย
ไม่เพียงการรีโนแวตสยามเซ็นเตอร์ สยามพิวรรธน์ ยังเดินก้าวใหญ่ โดยร่วมกับพวก ได้แก่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวลล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของซีพี เปิดโครงการมิกซ์ยูส คอนโดมิเนียมและห้างสรรพสินค้า บนเป้าหมายเนรมิตโปรเจค "ย่านเจริญนคร" แห่งนี้ให้เป็น "แลนด์มาร์ค" แห่งใหม่ของโลก (World Class Destination) โดยทุ่มทุนสร้างมากถึง 3.5 หมื่นล้านบาท พัฒนาเนื้อที่ 40 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2558 ปีเดียวกับการเกิดขึ้นของเออีซี
โดยโครงการนี้ขับเคลื่อนโดย 2 สาว 2 บุคลิก จาก 2 ค่าย แป๋ม "ชฎาทิพ จูตระกูล" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ กับ บี "ทิพาภรณ์ เจียรวนนท์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แมกโนเลียฯ ลูกสาวคนเล็กของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ เศรษฐีอันดับ 1 ของไทย แห่งซีพี
นอกจากนี้ยังมีโครงการ "เอเชีย ทีค เดอะ ริเวอร์ฟร้อนท์" ชอปปิงไลฟ์สไตล์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านเจริญกรุง ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของเบียร์ช้าง ดำเนินการผ่านบริษัททีซีซี แคปปิตอล แลนด์ โดยทุ่มทุนกว่า 10,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาที่ดิน 72 ไร่ บริเวณนั้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวและชอปปิงไลฟ์สไตล์ย้อนยุค ที่เพิ่งเปิดให้บริการเฟสแรกไปเมื่อไม่นานนี้
ทว่าเจ้าสัวเจริญยังไม่หยุดซื้อ กับการทุ่มเงิน 5,000 ล้านบาท ผ่านบริษัททีซีซี เวิ้งนาครเขษม เข้าซื้อที่ดิน 14 ไร่ บริเวณเวิ้งนาครเขษม อีกแปลงย่านเจริญกรุง (สำเพ็ง) โดยมีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตาม "ยุทธศาสตร์การค้าผสมการท่องเที่ยว"
ล่าสุดยังเพิ่งเปิดตัวศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย ศูนย์การค้าสไตล์ญี่ปุ่น ภายใต้บริษัททีซีซี แลนด์ รีเทล นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ในแผน อาทิเช่น การพัฒนาศูนย์การค้าย่านรัชดาฯ ในปลายปีนี้ ในปีหน้าจะพัฒนาคอมมูนิตี้มอลล์ ย่านลาซาล ขณะเดียวกัน ยังมีแผนปรับปรุงศูนย์การค้าในกลุ่ม อย่างพันธุ์ทิพย์พลาซา และดิจิตอลเกตเวย์
นอกจากกลุ่มทุนใหญ่ อย่างสยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และกลุ่มทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ ของเจ้าสัวเจริญแล้ว
อีกบิ๊กมูฟที่เกิดขึ้นในย่านสยามสแควร์ นั่นคือ การลงทุนของ "แลนด์ลอร์ด" ตัวจริงอย่าง "สำนักงานทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ผู้ดูแลทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นอีกองค์กรธุรกิจ ที่จับโอกาสของเออีซี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของที่ดินที่ครอบครอง ไล่มาตั้งแต่ย่านสยามสแควร์ มายังสี่แยกปทุมวัน สวนหลวง สามย่าน รวมเรียกว่าอาณาจักร "ที่ดินในเขตปทุมวัน" ของสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด 1,153 ไร่ ในจำนวนนี้เป็นที่ดินเพื่อการพาณิชย์ 385 ไร่
กับแผนปรับปรุงพื้นที่ 60 ไร่ย่านสยามสแควร์ โดยสัญญาเช่าที่จะทยอยหมดลงทางสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ มีแผนจะนำพื้นที่ที่หมดสัญญาเช่ามาบริหารเอง อาทิเช่น สัญญาเช่าของโรงหนังลิโด้ ที่จะหมดลงในปี 2556 และโรงหนังสกาล่า ที่จะหมดลงในปี 2559 กับกลุ่มทุนสวนนงนุช สำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ต้องการนำพื้นที่บริเวณนี้มาพัฒนาเป็น "ชอปปิงสตรีทแนวสูง" แบ่งเป็น 3 เฟส โดยเฟสแรกบริเวณโรงหนังสยามเดิมที่ถูกเพลิงไหม้ (สยามสแควร์ซอย 4-5) ขณะนี้ อยู่ระหว่างดำเนินโครงการสแควร์วัน บนพื้นที่ 8 ไร่ ใช้เงินลงทุน 1,800 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จ ธ.ค. 2556 ส่วนเฟส 2 บริเวณโรงหนังลิโด้ จะเริ่มพัฒนาในปี 2557 เป็นโครงการค้าปลีก ชอปปิงมอลล์แห่งใหม่ และเฟส 3 บริเวณโรงหนังสกาล่า จะพัฒนาต่อเนื่องจากเฟสสอง เว้นระยะดำเนินการ 2 ปี โดยจะเปิดทางให้ภาคเอกชนเข้าร่วมพัฒนาโครงการ
ทั้งนี้ ตามการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ ทำให้นึกภาพตามว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ย่านสยามสแควร์จะถูกพลิกโฉมจากห้องเช่าและลานจอดรถ เป็นห้างสรรพสินค้าที่เน้นสินค้าแฟชั่นและดิจิทัล ในรูปแบบชอปปิงสตรีทแนวสูง
ขณะที่ บมจ.เอ็มบีเค ผู้บริหารศูนย์การค้า "เอ็มบีเค เซ็นเตอร์" ชื่อเดิมมาบุญครอง เป็นอีกกลุ่มทุนศูนย์การค้าย่านสยามสแควร์ ที่ปรับตัวรับเออีซี หลังได้ต่อสัญญาเช่ากับทางสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ อีก 20 ปี จากที่จะหมดสัญญาปี 2556 ได้ประกาศปรับโลโก้ใหม่ "เอ็มบีเค กรุ๊ป" เพื่อจัดระเบียบการรับรู้แบรนด์ของ 8 กลุ่มธุรกิจในเครือให้เป็นหนึ่งเดียว โดยในส่วนของธุรกิจศูนย์การค้า ได้ทุ่มงบ 500 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงศูนย์การค้า จากงบประมาณที่ตั้งไว้ในปี 2555-2556 ไว้กว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจหลักในเครือ
ขยับมาที่ฝั่ง "ราชประสงค์" อดีตจุดยุทธศาสตร์การชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง ธุรกิจค้าปลีกที่เห็นการปรับตัวชัดรับเออีซีที่ชัดเจน ผู้ไม่ถูกเสื้อแดงเผา คือ "ศูนย์การค้าเกษร" ห้างหรูระดับ Luxury Brand ของ ชาญ ศรีวิกรม์ ประธานกรรมการ เกษร แลนด์ แอสแซท แมนเนจเม้นท์ จำกัด ที่ประกาศทุ่มงบรีโนเวต 1,000 ล้านบาทเนรมิตห้างหรู โดยเริ่มทยอยดำเนินการไปแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2556 จะทำให้ทราฟฟิกเพิ่มขึ้น 100% ต่อวัน หรือ 8-9 ล้านคนต่อปี
ก่อนหน้านี้เกษร ยังทุ่มเงินอีกกว่า 4,000 ล้านบาท สร้าง "ห้างเกษร 2" ที่จะเป็นการร่วมทุนกับกลุ่ม "ฮ่องกงแลนด์" พันธมิตรเก่าแก่ของ LVMH บริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแบรนด์เนมชื่อดังระดับโลกกว่า 50 แบรนด์ ที่จะมาร่วมในโปรเจคนี้ โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2557 แล้วเสร็จในปี 2560-2561 เพื่อรองรับการไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่จะหนาแน่นมากขึ้น
“ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราเห็นแล้วว่าในอนาคตตลาดสินค้าแบรนด์เนมยังจะไปได้อีกไกล หลังจากเปิดเออีซีตลาดจะใหญ่มากขึ้น นักท่องเที่ยวจะเดินทางได้สะดวกขึ้น”
เขายังมองอีกว่า เมื่อประตูเออีซีเปิดเชื่อมประเทศในอาเซียนทั้งหมดไว้ด้วยกันแล้ว ยังจะรวมประเทศอื่นๆ เข้ามาแจมอีก เช่น จีน ออสเตรเลีย เกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จะทำให้มีจำนวนนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามายังภูมิภาคนี้มากขึ้น ไม่นับรวมจำนวนแรงงานเคลื่อนย้าย ประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งจุดหมายสำคัญของบรรดา Expat (ผู้ที่ทำงานนอกประเทศ) ทั้งหลาย ยิ่งจะทำให้ตลาดสินค้าแบรนด์เนมขยายตัวได้อีกมาก เขาคาด
หลุดจากราชประสงค์ขึ้นมาที่ "สถานีรถไฟฟ้าชิดลม" จะพบกับโครงการ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่เนรมิตที่ดินบริเวณสถานทูตอังกฤษเดิม (ถนนเพลินจิต ตัดกับสี่แยกวิทยุ) แห่งนี้ ให้เป็น Luxury Retail Destination แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของแบรนด์หรู ด้วยมูลค่าเงินลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ภายใต้การบริหารงานโดยบริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ CRC โดยมี ชาติ จิราธิวัฒน์ นั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ โดยโครงการนี้จะแล้วเสร็จในปี 2556 เน้นจับตลาดนักท่องเที่ยวและต่างชาติเป็นหลักจากการเกิดขึ้นของเออีซี
เรื่อยมาถึง "สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์" ที่ตั้งของห้างหรู "ดิ เอ็มโพเรี่ยม" ธุรกิจของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ภายใต้การนำของแม่เสือสาว "ศุภลักษณ์ อัมพุช" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ดิ เอ็มโพเรี่ยม และสยามพารากอน มีหรือจะหลุดขบวนเออีซี ขอประกาศเดินหน้าปรับปรุงภาพลักษณ์ศูนย์การค้าทุกแห่งยกระดับสินค้าและกลุ่มเป้าหมาย โดยปีนี้ ทางกลุ่มได้เตรียมเงินลงทุนไว้สำหรับการปรับปรุงแต่ละสาขา ไม่ว่าจะเป็น สาขาเดอะมอลล์ บางกะปิ บางแค และงามวงศ์วาน ราว 1,000 ล้านบาทไว้เพื่องานนี้ โดยจะเห็นการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ภายใน 1-2 ปีจากนี้
โดยศุภลักษณ์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า ต้องการยกระดับศูนย์การค้าเดอะมอลล์ เพื่อขยายฐานลูกค้าใหม่ให้กว้างขึ้น ปรับระดับลูกค้าจากเกรด B ไปที่ เกรด A เช่นเดียวกับสยามพารากอน รองรับกับการเปิดเออีซี มีการเพิ่มแบรนด์สินค้าระดับโลก อาทิเช่น หลุยส์ วิตตอง มิว มิว หรือปราด้า เพื่อรองรับกำลังซื้อที่จะกลับมา โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยว ที่ประเมินว่าจะมากกว่า 25 ล้านคน
ไฮไลต์สำคัญยังอยู่ที่ "ดิ เอ็มโพเรี่ยม 2" ร่วมกับกลุ่มทุน โสภณพนิช ที่จะเปิดตัวในปี 2557 ก่อนการเกิดขึ้นของเออีซี 1 ปี แว่วมาว่าโครงการนี้ใช้เม็ดเงินลงทุนมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท โดยโครงการนี้ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามดิ เอ็มโพเรี่ยม เดิม บนพื้นที่ 16 ไร่ หรือกว่า 2 แสนตารางเมตร เมื่อรวมกับโครงการเดิมจะทำให้พื้นที่ใกล้เคียงกับสยามพารากอน งัดกับโครงการเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ ของตระกูลจิราธิวัฒน์
การเกิดขึ้นของเออีซี ในปี 2558 จึงถือเป็นการพลิกโฉมหน้า "ธุรกิจค้าปลีก" ห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้า ของประดากลุ่มทุนใหญ่ของไทย ที่เน้นความหรู เลิศ อลังการ
เต็มไปด้วยคำว่า "ที่สุด" แบบที่ไม่มีใครยอมหักให้ใคร !!!
----------------------------------------------------
ทุนจีน - สิงคโปร์ -มาเลย์ รุกคืบ ค้าปลีกไทย
วีระ เจียรนัยพาณิชย์ นักการตลาดผู้เชี่ยวชาญด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เชื่อว่า การเปิดเออีซี ในปี 2558 จะเป็น "ปัจจัยบวก" ต่อธุรกิจค้าปลีกไทย เนื่องจากธุรกิจนี้ถือว่ามีความเข้มแข็งมากกว่าอีกหลายประเทศในภูมิภาคนี้ ทั้งด้วยขนาดและศักยภาพ โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) ที่ผ่านมา ยังเห็นความเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่หลายรายของไทย ต่างมีแผนตักตวงโอกาสจากการเปิดเออีซี
"ห้างไทยหลายๆ ราย เก่งกว่าหลายๆ ประเทศในภูมิภาคนี้มาก ในอาเซียนไม่มีใครรุกธุรกิจค้าปลีกไปจีนเหมือนอย่างกลุ่มเซ็นทรัล นอกจากนี้ ยังเข้าไปตั้งห้างตามหัวเมืองใหญ่ รอยต่อประเทศ ในจุดสำคัญๆ ที่จะเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เชียงราย ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังพม่า จีน หรือห้างที่อุดรธานี และขอนแก่น ล้วนแต่รองรับกลุ่มลูกค้าที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว"
นอกจากนี้ ทีวี และสื่อบันเทิงอื่นๆ จากไทย ที่ไปได้รับความนิยมในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้สินค้าในกลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องประดับ รองเท้าและกระเป๋า จากนำเข้าจากไทยพลอยเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อธุรกิจค้าปลีกไทย
อย่างไรก็ตาม แม้กลุ่มธุรกิจค้าปลีกไทยจะมีความเข้มแข็ง แต่ยังมีคู่แข่งที่น่าจับตา คือ กลุ่มทุนค้าปลีกจากมาเลเซีย และสิงคโปร์ พ่วงด้วยกลุ่มทุนค้าปลีกจากจีน ปรากฏการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ คือ การรุกคืบเข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะกิจการร่วมค้า (Joint Venture) หรือการส่งเสริมการขายระหว่างกัน (Merchandise) กับธุรกิจขนาดกลางในต่างจังหวัด
“กลุ่มทุนจีนเข้ามาทางภาคเหนือค่อนข้างเยอะ อย่างเชียงราย ขณะที่กลุ่มทุนสิงคโปร์ และมาเลย์จะเน้นที่โซนหัวหินและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ของไทย” เขาตั้งข้อสังเกต
วิทวัส รุ่งเรืองผล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บอกว่า เออีซี คือ ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจปรับตัว โดยเฉพาะในกลุ่มห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ๆ ในเมืองไทย ไม่เท่านั้น ในช่วง 10 ปีให้หลังมานี้ยังมีนักพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หลายรายผันตัวเองเข้ามาอยู่ในธุรกิจค้าปลีก
“เราจะเห็นดีเวลลอปเปอร์จำนวนหนึ่งโดดเข้ามาเล่นบทบาทของเจ้าของห้างสรรพสินค้าขนาดย่อมๆ หรือคอมมูนิตี้ มอลล์ ซะเอง ซึ่งถือว่าเป็นสูตรสำเร็จของผู้ประกอบการที่ต้องหาความแปลกใหม่หรือจุดขายให้กับสินค้าของตัวเอง ที่เรียกว่ามิกซ์ยูสที่จะมีทั้งห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ และที่พักอาศัยอยู่ร่วมกัน”
เขาระบุว่า การพัฒนาห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ของไทยในรอบหลายปีที่ผ่านมายังเห็นภาพไม่ชัดเจน เพราะนักลงทุนต่างระมัดระวังการลงทุนใหม่จากหวั่นเกรงบทเรียนเดิมๆ ยกเว้นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญ ที่ขยายธุรกิจปักธงออกไปตั้งห้างฯตามหัวเมืองใหญ่ๆ ตามเส้นทางการพัฒนาเออีซี เช่น ขอนแก่น เชียงราย ชลบุรี เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกที่เป็นเบอร์หนึ่งในตลาดในขณะนี้ คือ กลุ่มเซ็นทรัล ถือว่าเป็นกลุ่มที่ขยับตัวต่อเนื่องโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะบุกตลาดค้าปลีกโลก ขณะที่กลุ่มสยามฟิวเจอร์ ก็ไล่มาติดๆ หลังจากที่มีการร่วมกับกลุ่มทุนต่างชาติอย่างไอเกีย ขณะที่เบอร์สาม คงยังเป็นเดอะมอลล์
"ยักษ์ค้าปลีก" เท 7 หมื่นล. ดักโอกาส "เออีซี"
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
"ยักษ์ค้าปลีก" เท 7 หมื่นล. ดักโอกาส "เออีซี"
โพสต์ที่ 1
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: "ยักษ์ค้าปลีก" เท 7 หมื่นล. ดักโอกาส "เออีซี"
โพสต์ที่ 2
อ่านตามแล้วเห็นภาพ เหมือนเวลาไปเดินเที่ยวย่านชอปปิ้งดังๆ ใน ญี่ปุ่น หรือ ฮ่องกงเลยครับ น่าจะคึกคักขึ้นน่าดู มีคน Asean มาเดินเที่ยวกันให้พรึบ (ทุกวันนี้เดิน ก็เห็นแต่ต่างชาติ โดยเฉพาะคนจีน) ยังไงอยากให้ก็เก็บของเก่าๆ แต่ทรงคุณค่าเอาไว้บ้างนะครับ โดยเฉพาะ China Town, สำเพ็ง
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
-
- Verified User
- โพสต์: 819
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ยักษ์ค้าปลีก" เท 7 หมื่นล. ดักโอกาส "เออีซี"
โพสต์ที่ 3
“อิออน”ทุ่มแสนล้านผุดมอลล์ทั่วอาเซียน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กรกฎาคม 2555 12:54 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน - อิออนมอลล์ ยักษ์ค้าปลีกญี่ปุ่นฮึด ทุ่มงบแสนล้านบาท ปูพรมค้าปลีกในอาเซียน เพิ่มอีก 50 สาขาใน 8 ปีจากนี้ สนลงทุนในไทยด้วย หลังปักฐานซูเปอร์มาร์เก็ตแน่นหนาแล้วกว่า 20 ปี
นายอาคิฟูมิ นากามุระ ผู้อำนวยการทั่วไปดูแลด้านอาเซียน บริษัท อิออน มอลล์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์การค้าจากประเทศญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ “อิออน มอลล์” เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนที่จะขยายธุรกิจศูนย์การค้า อิออนมอลล์ในประเทศไทย เพราะเล็งเห็นว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาตลาดในไทยเพื่อหาทำเลที่เหมาะสม ซึ่งมั่นใจว่าหลังจากเปิดบริการแล้ว จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ของไทยอย่างเดอะมอลล์ และเซ็นทรัลได้
ก่อนหน้านี้บริษัทฯลงทุนในไทยมาก่อนแล้ว เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อว่า แม็กซ์แวลู และ แม็กซ์แวลูทันใจ กว่า 20 ปีมาแล้ว อย่างไรก็ตามคาดว่าภายใน 3 ปีจากนี้ น่าจะเปิดสาขาแรกของศูนย์การค้าอิออนมอล์ไนไทยได้
การขยายธุรกิจในไทยถือเป็น 1 ในหลายประเทศที่วางแผนไว้ว่า ภายใน ปี 2563 หรือประมาณ 8 ปีนับจากนี้ วางเป้าหมายขยายศูนย์การค้าอิออนมอลล์ได้ 50 สาขา ด้วยงบประมาณมากกว่า 3,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 116,250 ล้านบาท กระจายไปในภูมิภาคอาเซียน เบื้องต้นเน้นไปที่ ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว และพม่า และไทย รวมทั้งจีนและอินเดียด้วย
“การเลือกเปิดสาขาในเอเชียนั้นเป็นเพราะตลาดค้าปลีกในเอเชียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลก อีกทั้งยังมีการขยายตัวของเศรษฐกิจในอาเซียที่มากถึง 25 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และยังมีจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว สอดคล้องกับการเติบโตของค้าปลีก” นายอาคิฟูมิกล่าว
ทั้งนี้ประเทศแรกที่จะลงทุนก่อนในภูมิภาคอาเซียนคือ กัมพูชา โดยจะสร้างศูนย์การค้าบนพื้นที่ 1 แสนตร.ม. แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โซนร้านอาหาร 200 ร้านค้า โซนโรงหนัง โซนท่าเรือ โดยในส่วนของร้านค้าที่จะนำมาเปิดให้บริการจะแบ่งเป็นร้านค้าจากประเทศญี่ปุ่น 30% ร้านค้าจากผู้ประกอบการในกัมพูชา 30% และอีก 40% จะเป็นร้านค้าที่มาจากประเทศต่างๆ
ล่าสุดมีผู้ประกอบการของไทยหลายรายเข้าร่วมโครงการแล้ว คิดเป็นอัตราส่วน 20-30% เช่น กลุ่มเซ็นทรัลเรสเตอร์รองต์ และไมเนอร์สนใจนำร้านค้าเข้าไปเปิดให้บริการภายในศูนย์การค้าอิออนมอลล์แล้ว
ทั้งนี้คาดว่า ในไตรมาสแรกปี 2557 บริษัทฯ จะเปิดศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และที่จาร์การ์ต้า อินโดนีเซีย และที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม ได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 กรกฎาคม 2555 12:54 น.
ASTVผู้จัดการรายวัน - อิออนมอลล์ ยักษ์ค้าปลีกญี่ปุ่นฮึด ทุ่มงบแสนล้านบาท ปูพรมค้าปลีกในอาเซียน เพิ่มอีก 50 สาขาใน 8 ปีจากนี้ สนลงทุนในไทยด้วย หลังปักฐานซูเปอร์มาร์เก็ตแน่นหนาแล้วกว่า 20 ปี
นายอาคิฟูมิ นากามุระ ผู้อำนวยการทั่วไปดูแลด้านอาเซียน บริษัท อิออน มอลล์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจศูนย์การค้าจากประเทศญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ “อิออน มอลล์” เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนที่จะขยายธุรกิจศูนย์การค้า อิออนมอลล์ในประเทศไทย เพราะเล็งเห็นว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาตลาดในไทยเพื่อหาทำเลที่เหมาะสม ซึ่งมั่นใจว่าหลังจากเปิดบริการแล้ว จะสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ของไทยอย่างเดอะมอลล์ และเซ็นทรัลได้
ก่อนหน้านี้บริษัทฯลงทุนในไทยมาก่อนแล้ว เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อว่า แม็กซ์แวลู และ แม็กซ์แวลูทันใจ กว่า 20 ปีมาแล้ว อย่างไรก็ตามคาดว่าภายใน 3 ปีจากนี้ น่าจะเปิดสาขาแรกของศูนย์การค้าอิออนมอล์ไนไทยได้
การขยายธุรกิจในไทยถือเป็น 1 ในหลายประเทศที่วางแผนไว้ว่า ภายใน ปี 2563 หรือประมาณ 8 ปีนับจากนี้ วางเป้าหมายขยายศูนย์การค้าอิออนมอลล์ได้ 50 สาขา ด้วยงบประมาณมากกว่า 3,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 116,250 ล้านบาท กระจายไปในภูมิภาคอาเซียน เบื้องต้นเน้นไปที่ ประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว และพม่า และไทย รวมทั้งจีนและอินเดียด้วย
“การเลือกเปิดสาขาในเอเชียนั้นเป็นเพราะตลาดค้าปลีกในเอเชียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับทั่วโลก อีกทั้งยังมีการขยายตัวของเศรษฐกิจในอาเซียที่มากถึง 25 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และยังมีจำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นรวดเร็ว สอดคล้องกับการเติบโตของค้าปลีก” นายอาคิฟูมิกล่าว
ทั้งนี้ประเทศแรกที่จะลงทุนก่อนในภูมิภาคอาเซียนคือ กัมพูชา โดยจะสร้างศูนย์การค้าบนพื้นที่ 1 แสนตร.ม. แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โซนร้านอาหาร 200 ร้านค้า โซนโรงหนัง โซนท่าเรือ โดยในส่วนของร้านค้าที่จะนำมาเปิดให้บริการจะแบ่งเป็นร้านค้าจากประเทศญี่ปุ่น 30% ร้านค้าจากผู้ประกอบการในกัมพูชา 30% และอีก 40% จะเป็นร้านค้าที่มาจากประเทศต่างๆ
ล่าสุดมีผู้ประกอบการของไทยหลายรายเข้าร่วมโครงการแล้ว คิดเป็นอัตราส่วน 20-30% เช่น กลุ่มเซ็นทรัลเรสเตอร์รองต์ และไมเนอร์สนใจนำร้านค้าเข้าไปเปิดให้บริการภายในศูนย์การค้าอิออนมอลล์แล้ว
ทั้งนี้คาดว่า ในไตรมาสแรกปี 2557 บริษัทฯ จะเปิดศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และที่จาร์การ์ต้า อินโดนีเซีย และที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม ได้