ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
โพสต์ที่ 1
ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์'ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ' คนปัจจุบัน
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, July 23, 2012 05:34
61048 XTHAI XGEN DAS V%NETNEWS P%WKT
แม้พอร์ตอาจไม่ใหญ่เป็นพันๆ ล้าน แต่ด้วยเพดานบินที่สูงบวกความตั้งใจที่เต็มเปี่ยม 'เซียนหุ้นวีไอ' น้อยใหญ่เต็มใจยกตาแหน่ง 'ผู้นา' ให้กับเขา..'ไก่ ธันวา เลาหศิริวงศ์' นายกสมาคมวีไอ 'รุ่นที่ 1'
ชายวัย 45 ปี ผู้ที่ตัดสินใจลาออกจากตาแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อมา "เล่นหุ้น" เป็นอาชีพ..ชายวัย 45 ปี ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อมา "เล่นหุ้น" เป็นอาชีพ..เขาต้องบ้าแน่ๆ นั่นอาจเป็นความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับ "ไก่" ธันวา เลาหศิริวงศ์ การหลุดออกจากกรอบชีวิตเดิมๆ เพื่อริเริ่มสิ่งใหม่ให้ชีวิต คือการเริ่มต้นนับหนึ่งของความท้าทาย ครั้งใหม่
ปัจจุบันธันวาในวัย 47 ปี ไม่เพียงได้รับโอกาสใหม่ๆ ในชีวิต เป็นกรรมการตรวจสอบ บมจ.เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (AS) เป็นกรรมการอิสระ บมจ.อีซี่ บาย และเป็นคอลัมนิสต์เขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนมากมายแล้ว เพื่อนพ้องน้องพี่ชาว "วีไอ" ยังมอบภารกิจ "ผู้นำ" ให้กับเขาในตำแหน่ง นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) รับไม้ต่อจาก สุทัศน์ ขันเจริญสุข เจ้าของพอร์ตหุ้น "หลายร้อยล้านบาท" ที่ขอจบภารกิจตัวเอง ภายหลัง ผลักดันเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" ขึ้นเป็น "สมาคม" จนสำเร็จลุล่วงย้อนประวัติหัวหน้าวีไอคนปัจจุบัน หลังเรียนจบ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี 2530 และภายหลังได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าวิศวะฯ ลาดกระบัง "ดีเด่น" ธันวาสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งวิศวะกรระบบในบริษัท โตโย เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ทำงานได้ 3 ปีก็ลาออกมาเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ไต่เต้าจากตำแหน่ง เล็กๆ เลื่อนจนได้เป็นผู้บริหาร ก่อนจะถูกส่งตัวไปทำงาน ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 4 ปี จากนั้นได้รับการโปรโมท ให้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ต่อจาก ศุภจี สุธรรมพันธุ์ (ปัจจุบันเป็น CEO บมจ.ไทยคม)
กว่า 20 ปี ที่ธันวาเป็นลูกหม้อไอบีเอ็ม จากตำแหน่ง เล็กๆ ไต่เต้าจนเป็นผู้นำองค์กร ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2554 เพื่อก้าวเดินใน เส้นทางใหม่ของชีวิตตั้งใจแน่วแน่จะทำประโยชน์ให้กับ สังคม ในระหว่างที่ร่วมงานกับไอบีเอ็มเขาได้เตรียมความพร้อมทางการเงินล่วงหน้ามานานกว่า 10 ปี แม้จะมีเงินเดือนสูงแต่ธันวาใช้ชีวิตเรียบง่ายและนำเงินไปลงทุนต่อจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพารายได้ประจำชีวิตก็อยู่ได้อย่างสบาย
สิบโมงตรง ณ ชั้นใต้ดินตึก IBM กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดหมายกับนายกสมาคมวีไอใหม่แกะกล่อง แวบ!! แรกที่สังเกตเห็นชายวัยกลางคนผู้นี้มีบุคลิกกระตือรือร้นตลอดเวลา ตั้งแต่เปิดประตูเข้ามาแทบ ไม่เห็นเขาหยุดสั่งงานกรรมการสมาคมหรือนั่งพัก แถมอำนวยความสะดวกแขกผู้แปลกหน้า (นักข่าว+ช่างภาพ) ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง แม้จะไม่ใช่เจ้านายของตึก IBM แล้ว ไม่ว่าธันวาจะเดินไปที่ไหน พนักงานที่พบไม่เว้นแม้แต่แม่ค้าบนโรงอาหารชั้น 7 ต่างพากันยกมือไหว้และทักทายอย่างเป็นกันเอง
เจ้าตัวเล่าชีวิตการลงทุนให้ฟังว่า เริ่มสัมผัส การลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อปี 2532 หลังมีโอกาสเจอพี่คนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นที่เขาสนใจลงทุนในตลาดหุ้น ช่วงนั้นยังไม่มีครอบครัวจึงตัดสินใจควักเงินเก็บ "หลักแสนบาท" ที่ตั้งใจจะนำส่วนหนึ่งไปสร้างบ้านมาลงทุน แต่ปัจจุบันมีลูก 2 คน ผู้หญิงคนโตตอนนี้เรียนอยู่ปี 2 ทางด้านไฟแนนซ์อยู่ที่อเมริกา ส่วนลูกชายคนสุดท้องกำลังจะบินไปเรียนตามพี่สาว
"การลงทุนช่วงแรกผมขาดทุนหนักมาก (หัวเราะ) จนแทบจำตัวเลขไม่ได้ เพราะลงทุนแบบไม่มีหลักการ แถม "จัดเต็ม" ซื้อหุ้นหลายตัวชนิดไม่มีข้อมูลสักอย่าง อยู่ในหัวสมอง ทำให้ตอนนั้นต้องกู้เงินมาสร้างบ้าน ตลอดระยะเวลา 10 ปีแรกของการลงทุน ยอมรับว่า "ไม่ประสบความสำเร็จ" โดนวิกฤติเล่นงานตลอด ไม่ว่าจะเป็นสงครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ ต้มยำกุ้ง แต่ก็ไม่รู้สึกว่าเข็ดแม้จะยังมองไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ เรียกได้ว่าขายขาดทุนก็ต้องยอม" จุดหักเหของการลงทุนเกิดขึ้นในช่วงที่ทำงาน อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ตอนนั้นได้อ่านหนังสือต่างประเทศ เรื่อง "Rich dad Poor dad" (พ่อรวยสอนลูก) ของโรเบิร์ต คิโยซากิ เรื่องนี้สอนเกี่ยวกับอิสรภาพทาง การเงิน และสอนให้ใช้เงินทำงานแทนเรา เมื่อกลับมาเมืองไทยก็ได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเรื่อง "ตีแตก"ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เล่มนี้สอนเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า และสอนให้รู้ว่าลงทุนแบบไหน มีความเสี่ยงต่ำ และมีความมั่นคงสูง
"ผมใช้เวลาอ่านหนังสือ 2 เล่มนี้ไม่นาน..ชอบมาก! มันมีเหตุมีผลเหมือนวิชาวิศวะที่เราร่ำเรียนมา จริงๆ แล้ว หนังสือ "ตีแตก" เปลี่ยนแปลงชีวิตและครอบครัวของผม ไม่เช่นนั้นชีวิตการลงทุนคงเหมือนในช่วง 10 ปีก่อน ที่ขาดทุนอย่างหนัก"
เขาอธิบายรอยต่อจุดหักเหของความคิดก่อนจะ "ตีแตกทางความคิด" สำเร็จว่า เดิมตัวเองมีแนวคิดว่า"การเล่นหุ้น" คือ "ต้องขายเมื่อมีกำไร" โดยไม่สนใจว่า พื้นฐานบริษัทเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ แต่หนังสือตีแตกสอนให้คิดว่าการเล่นหุ้น คือ "การลงทุนทำธุรกิจ" แม้ราคาหุ้นจะ "ขึ้น" แต่หากพื้นฐานยังดีก็ "ไม่จำเป็นต้องขาย" จริงๆ อยากให้นักลงทุนกลับไปอ่านบทความที่ผมเขียน เรื่อง "มรดกอาณาจักรธุรกิจ" และ "คุณค่านักลงทุน"เนื้อหาโอเคมาก
ธันวาเริ่มบททดสอบในเส้นทางวีไออย่างจริงจัง ช่วงปี 2546 โดยลงทุนหุ้นเป็น "สิบตัว" เน้น "ราคาถูก"เป็นหลัก โดยจะดูค่า P/E และค่า P/BV เน้นต่ำๆ เข้าไว้ รวมถึงดูผลตอบแทนจากเงินปันผล ซึ่งจะต้องอยู่ระดับ 4-5% การลงทุนในลักษณะนี้ยอมรับว่า "ผลตอบแทน ไม่ค่อยดีเท่าไร" การที่ "หุ้นถูก" เพราะมัน "ไม่มีสตอรี่"มาสนับสนุนราคา ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน เขาจมอยู่กับการลงทุนลักษณะนี้ 2-3 ปี เห็นว่า "ยังไม่ใช่" จึงเปลี่ยน กลยุทธ์ใหม่ "วันนี้เงื่อนไขการลงทุนของผมมีค่อนข้างเยอะ จะเน้นลงทุนเฉพาะหุ้น "ซูเปอร์สต็อก" คือ หนึ่ง..มีรูปแบบธุรกิจที่ดี ผู้บริโภคมีการซื้อซ้ำ สอง..บริษัทมีรายได้มั่นคงแน่นอน สาม..ฐานะการเงินดี สี่..ผู้บริหารเก่ง ห้า..ธุรกิจมีความเสี่ยงต่ำ และมี Economy of scale (ยิ่งใหญ่ต้นทุนยิ่งถูก) ทุกวันนี้หุ้นในตลาดมีมากถึง 500 บริษัท แต่เชื่อหรือไม่! ว่ามีหุ้นที่เป็น ซูเปอร์สต็อกแบบที่ผมบอกไม่ถึง 20 ตัว"
นอกจากเรื่องปัจจัยพื้นฐานแล้วธันวายังคำนึงถึงเรื่อง "สภาพคล่อง" ประกอบด้วย เขาจะซื้อหุ้นที่มี สภาพคล่องค่อนข้างสูง เคยซื้อหุ้นดีราคาถูกแต่พอจะขายต้องใช้เวลาเป็นเดือน ตรงข้ามกับหุ้นที่มีสภาพคล่อง ใช้เวลาขายเพียง 2-3 วันก็หมด นี่เป็นอีกเงื่อนไขการลงทุน ส่วนตัวที่อาจจะต่างจากวีไอคนอื่น
"ทุกวันนี้ผมจะให้ความสำคัญกับการแกะงบการเงิน น้อยลง แต่จะเน้นดูภาพรวมของธุรกิจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามากกว่าว่าเขามีความชำนาญและธุรกิจทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจมากแค่ไหน ปัจจุบันผมมีหุ้นในพอร์ตแค่ 5-6 ตัว เป็นซูเปอร์สต็อกเกือบทั้งหมด มีเพียง 1 ตัว ที่เป็นหุ้นขนาดกลาง ตั้งใจจะหาจังหวะขาย เพื่อปรับพอร์ตให้เป็นหุ้นซูเปอร์สต็อกทุกตัว" อยากรู้ว่าพอร์ตลงทุนของนายกสมาคมวีไอมีมูลค่าเท่าไร..? ถามกันตรงๆ แบบนี้ เจ้าตัวถึงกับหัวเราะก่อนปิดประตูใส่กลอนว่า "ไม่ขอเปิดเผยดีกว่า!" เอาเป็นว่ามีมูลค่า "มากระดับหนึ่ง" ส่วนหุ้นในพอร์ต 5-6 ตัว มีอะไรบ้าง! เจ้าตัวก็ตอบเลี่ยงไปว่า ชอบกลุ่มค้าปลีก, อาหาร, โรงพยาบาล และสื่อสาร ซึ่งกลุ่ม เหล่านี้ในระยะกลางถึงยาวน่าสนใจมาก โอกาสจะสร้างผลตอบแทนปีละ 12-15% มีสูงมาก
จริงๆ บอกแค่นี้ก็เดาออกแล้วว่ามีหุ้นอะไรบ้าง!! ซึ่งก็พอรู้ว่าวีไอเขาเล่นหุ้นอะไรกันอยู่ แต่บางตัว "บิซวีค" มองว่าอาจจะขึ้นมา "เยอะมากแล้ว"ทำไม! ถึงชอบ 4 กลุ่มนี้ (ค้าปลีก, อาหาร, โรงพยาบาล, สื่อสาร) เจ้าตัววิเคราะห์ให้ฟังคร่าวๆ โดยบอกก่อนว่า หุ้นทั้ง 4 กลุ่ม ถือเป็นปัจจัยที่ "คนขาดไม่ได้" คือ "ต้องกิน-ต้องใช้-ต้องรักษา" กลุ่มค้าปลีกและอาหารทนต่อทุกสภาวะเศรษฐกิจ ส่วนธุรกิจโรงพยาบาล ชอบเพราะเป็นธุรกิจที่ "คนต่อรองไม่ได้" (เขาจะฟัน เท่าไรก็ต้องจ่าย) ปัจจุบันคนไทยประมาณ 25% (เป็นผู้สูงอายุ) อยู่ในวัยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ฉะนั้นธุรกิจนี้ไม่มีทางไม่เติบโตมีแต่ "เติบโตไม่มาก" กับ"เติบโตมาก"
สำหรับธุรกิจสื่อสาร แม้จะไม่ใช่ปัจจัย 4 แต่ถือว่า "จำเป็น" ในการดำรงชีวิตประจำวัน วันไหนลืมหยิบโทรศัพท์มาก็แทบจะอยู่ไม่ได้แล้ว..จริงมั้ย!! ที่สำคัญเป็นธุรกิจที่มีการ "ใช้ซ้ำทุกวัน" อีกอย่างหากระบบ 3G เกิดจริงๆ รายได้จากการขายโทรศัพท์ของโอเปอเรเตอร์จะมากขึ้น "แต่การทำนายของผมอาจผิดก็ได้ (หัวเราะ)"
สำหรับเป้าหมายผลตอบแทน เขาบอกว่า ถ้าได้ 12-15% ต่อปี เท่านี้ก็ "แฮปปี้" แล้ว ผมชอบคำพูด ประโยคหนึ่งของอาจารย์นิเวศน์ แกบอกว่า "10 ปี 1 หลัก" หมายความว่า เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี เราควรมีมูลค่าพอร์ตเพิ่ม 1 หลัก ถือเป็นเป้าหมายท้าทายมาก ..ผมก็อยากทำให้ได้อย่างนั้นเหมือนกัน แต่ไม่ถึงขนาดมุ่งมั่น
อีกหนึ่งวรรคทองของ ดร.นิเวศน์ ที่ชอบคือ "เราไม่รู้หรอกว่าราคาหุ้นจะไปเท่าไร รู้เพียงว่า เป็นหุ้นที่ดี กิจการของเขายอดเยี่ยม และจะดีต่อไป ในระยะยาว" แต่นักลงทุนบางรายมักจะบอกว่า การที่ได้กำไรหลายๆ เด้งเป็นเพราะเหตุผลโน่นนี่ ส่วนตัว คิดว่ามันอาจไม่ใช่เหตุผลอย่างนั้นก็ได้ เราคงไม่สามารถ คำนวณเหตุผลได้แม่นยำ การเล่นหุ้นมีเทคนิคมากมาย เราไม่สามารถประเมินได้ว่าจะกำไรเท่าไร
"ผมเน้นการลงทุนแล้วสบายใจ นับวันผมยิ่ง "ขี้เกียจลงทุน" เพราะเงื่อนไขการลงทุนของผมมีมากมาย ทำให้ไม่ค่อยเจอหุ้นที่อยู่ในเงื่อนไขเท่าไร ส่วนใหญ่จะหาข้อมูลเพื่อมาเขียนบทความมากกว่า (หัวเราะ) แม้จะขี้เกียจแต่ผมก็มักจะสอนลูกทั้ง 2 คน โดยวิธีให้เงินลูก ไปบริหารจัดการเอง..เช่น ผมจะให้เงิน 100 บาท เขาอยากเอาไปเรียนอะไรตามใจเขาเลย เพราะส่วนที่เหลือจะเป็นของเขา เมื่อเขาอายุ 25 ปี ผมจะโอนเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เขา ผมอยากสอนให้ลูกรู้จักการออกแบบทางการเงินและออกแบบชีวิตของเขาเอง"
ในฐานะนายกสมาคมวีไอ ธันวาฝากบอกนักลงทุน ว่า คุณต้องหาแนวทางการลงทุนของตัวคุณเองให้เจอ คนเราเก่งไม่เหมือนกัน อยากให้ทุกคนมีความสุขกับการลงทุน และเมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็ควรตอบแทนคืนให้สังคมบ้างทางไหนก็ได้
"ผมเห็นหลายคนถ่ายรูปตอนไปเที่ยวเมืองนอก กินอาหารเริ่ดหรู จริงๆ แล้วคนที่ประสบความสำเร็จบางคน อาจกลับไปทำแบบเดิมไม่ได้แล้วก็ได้ หลักการ ที่ดีคนอื่นต้องทำตามได้ ที่ผ่านมาผมมักแบ่งเงิน ส่วนหนึ่งไปช่วยเรื่องการศึกษา เพื่อเป็นทุนให้กับ คนด้อยโอกาส ซึ่งผมจะนำแนวทางนี้ไปใช้กับทางสมาคมด้วย ทุกวันนี้บ้านพ่อผมอยู่ที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผมก็จะส่งเงินให้พ่อนำไปช่วยการศึกษาเด็กๆ ที่โน่นเป็นประจำ"
ความเสี่ยงของความสำเร็จ คือหยุดไม่ได้ที่จะขยายมันออกไปเรื่อยๆ เส้นทางของ "เซียนหุ้น" ที่แท้จริงอยู่ที่การ "ให้" ยิ่งให้..ยิ่งได้!!! เกิดมาชาติหนึ่งได้ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ และสังคม นั่นต่างหาก..ความสำเร็จที่แท้จริง "ธันวา เลาหศิริวงศ์" เขาตั้งใจที่ จะเดินเส้นทางนั้น!!
"แม้พอร์ตอาจไม่ใหญ่เป็นพันๆ ล้าน แต่ด้วยเพดานบินที่สูงบวกความตั้งใจที่เต็มเปี่ยม 'เซียนหุ้นวีไอ' น้อยใหญ่เต็มใจยกตำแหน่ง 'ผู้นำ' ให้กับเขา... 'ไก่' ธันวา เลาหศิริวงศ์' นายกสมาคมวีไอ 'รุ่นที่ 1'"
บรรยายใต้ภาพ
ธันวา เลาหศิริวงศ์--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, July 23, 2012 05:34
61048 XTHAI XGEN DAS V%NETNEWS P%WKT
แม้พอร์ตอาจไม่ใหญ่เป็นพันๆ ล้าน แต่ด้วยเพดานบินที่สูงบวกความตั้งใจที่เต็มเปี่ยม 'เซียนหุ้นวีไอ' น้อยใหญ่เต็มใจยกตาแหน่ง 'ผู้นา' ให้กับเขา..'ไก่ ธันวา เลาหศิริวงศ์' นายกสมาคมวีไอ 'รุ่นที่ 1'
ชายวัย 45 ปี ผู้ที่ตัดสินใจลาออกจากตาแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อมา "เล่นหุ้น" เป็นอาชีพ..ชายวัย 45 ปี ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย เพื่อมา "เล่นหุ้น" เป็นอาชีพ..เขาต้องบ้าแน่ๆ นั่นอาจเป็นความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่สำหรับ "ไก่" ธันวา เลาหศิริวงศ์ การหลุดออกจากกรอบชีวิตเดิมๆ เพื่อริเริ่มสิ่งใหม่ให้ชีวิต คือการเริ่มต้นนับหนึ่งของความท้าทาย ครั้งใหม่
ปัจจุบันธันวาในวัย 47 ปี ไม่เพียงได้รับโอกาสใหม่ๆ ในชีวิต เป็นกรรมการตรวจสอบ บมจ.เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (AS) เป็นกรรมการอิสระ บมจ.อีซี่ บาย และเป็นคอลัมนิสต์เขียนบทความเกี่ยวกับการลงทุนมากมายแล้ว เพื่อนพ้องน้องพี่ชาว "วีไอ" ยังมอบภารกิจ "ผู้นำ" ให้กับเขาในตำแหน่ง นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) รับไม้ต่อจาก สุทัศน์ ขันเจริญสุข เจ้าของพอร์ตหุ้น "หลายร้อยล้านบาท" ที่ขอจบภารกิจตัวเอง ภายหลัง ผลักดันเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" ขึ้นเป็น "สมาคม" จนสำเร็จลุล่วงย้อนประวัติหัวหน้าวีไอคนปัจจุบัน หลังเรียนจบ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี 2530 และภายหลังได้รับการยกย่องให้เป็นศิษย์เก่าวิศวะฯ ลาดกระบัง "ดีเด่น" ธันวาสมัครเข้าทำงานในตำแหน่งวิศวะกรระบบในบริษัท โตโย เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ทำงานได้ 3 ปีก็ลาออกมาเป็นเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ไต่เต้าจากตำแหน่ง เล็กๆ เลื่อนจนได้เป็นผู้บริหาร ก่อนจะถูกส่งตัวไปทำงาน ที่ประเทศสิงคโปร์ เป็นเวลา 4 ปี จากนั้นได้รับการโปรโมท ให้เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย ต่อจาก ศุภจี สุธรรมพันธุ์ (ปัจจุบันเป็น CEO บมจ.ไทยคม)
กว่า 20 ปี ที่ธันวาเป็นลูกหม้อไอบีเอ็ม จากตำแหน่ง เล็กๆ ไต่เต้าจนเป็นผู้นำองค์กร ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจลาออกเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2554 เพื่อก้าวเดินใน เส้นทางใหม่ของชีวิตตั้งใจแน่วแน่จะทำประโยชน์ให้กับ สังคม ในระหว่างที่ร่วมงานกับไอบีเอ็มเขาได้เตรียมความพร้อมทางการเงินล่วงหน้ามานานกว่า 10 ปี แม้จะมีเงินเดือนสูงแต่ธันวาใช้ชีวิตเรียบง่ายและนำเงินไปลงทุนต่อจึงไม่จำเป็นต้องพึ่งพารายได้ประจำชีวิตก็อยู่ได้อย่างสบาย
สิบโมงตรง ณ ชั้นใต้ดินตึก IBM กรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดหมายกับนายกสมาคมวีไอใหม่แกะกล่อง แวบ!! แรกที่สังเกตเห็นชายวัยกลางคนผู้นี้มีบุคลิกกระตือรือร้นตลอดเวลา ตั้งแต่เปิดประตูเข้ามาแทบ ไม่เห็นเขาหยุดสั่งงานกรรมการสมาคมหรือนั่งพัก แถมอำนวยความสะดวกแขกผู้แปลกหน้า (นักข่าว+ช่างภาพ) ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง แม้จะไม่ใช่เจ้านายของตึก IBM แล้ว ไม่ว่าธันวาจะเดินไปที่ไหน พนักงานที่พบไม่เว้นแม้แต่แม่ค้าบนโรงอาหารชั้น 7 ต่างพากันยกมือไหว้และทักทายอย่างเป็นกันเอง
เจ้าตัวเล่าชีวิตการลงทุนให้ฟังว่า เริ่มสัมผัส การลงทุนในตลาดหุ้นเมื่อปี 2532 หลังมีโอกาสเจอพี่คนหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นที่เขาสนใจลงทุนในตลาดหุ้น ช่วงนั้นยังไม่มีครอบครัวจึงตัดสินใจควักเงินเก็บ "หลักแสนบาท" ที่ตั้งใจจะนำส่วนหนึ่งไปสร้างบ้านมาลงทุน แต่ปัจจุบันมีลูก 2 คน ผู้หญิงคนโตตอนนี้เรียนอยู่ปี 2 ทางด้านไฟแนนซ์อยู่ที่อเมริกา ส่วนลูกชายคนสุดท้องกำลังจะบินไปเรียนตามพี่สาว
"การลงทุนช่วงแรกผมขาดทุนหนักมาก (หัวเราะ) จนแทบจำตัวเลขไม่ได้ เพราะลงทุนแบบไม่มีหลักการ แถม "จัดเต็ม" ซื้อหุ้นหลายตัวชนิดไม่มีข้อมูลสักอย่าง อยู่ในหัวสมอง ทำให้ตอนนั้นต้องกู้เงินมาสร้างบ้าน ตลอดระยะเวลา 10 ปีแรกของการลงทุน ยอมรับว่า "ไม่ประสบความสำเร็จ" โดนวิกฤติเล่นงานตลอด ไม่ว่าจะเป็นสงครามอ่าวเปอร์เซีย หรือ ต้มยำกุ้ง แต่ก็ไม่รู้สึกว่าเข็ดแม้จะยังมองไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ เรียกได้ว่าขายขาดทุนก็ต้องยอม" จุดหักเหของการลงทุนเกิดขึ้นในช่วงที่ทำงาน อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ ตอนนั้นได้อ่านหนังสือต่างประเทศ เรื่อง "Rich dad Poor dad" (พ่อรวยสอนลูก) ของโรเบิร์ต คิโยซากิ เรื่องนี้สอนเกี่ยวกับอิสรภาพทาง การเงิน และสอนให้ใช้เงินทำงานแทนเรา เมื่อกลับมาเมืองไทยก็ได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือเรื่อง "ตีแตก"ของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เล่มนี้สอนเกี่ยวกับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า และสอนให้รู้ว่าลงทุนแบบไหน มีความเสี่ยงต่ำ และมีความมั่นคงสูง
"ผมใช้เวลาอ่านหนังสือ 2 เล่มนี้ไม่นาน..ชอบมาก! มันมีเหตุมีผลเหมือนวิชาวิศวะที่เราร่ำเรียนมา จริงๆ แล้ว หนังสือ "ตีแตก" เปลี่ยนแปลงชีวิตและครอบครัวของผม ไม่เช่นนั้นชีวิตการลงทุนคงเหมือนในช่วง 10 ปีก่อน ที่ขาดทุนอย่างหนัก"
เขาอธิบายรอยต่อจุดหักเหของความคิดก่อนจะ "ตีแตกทางความคิด" สำเร็จว่า เดิมตัวเองมีแนวคิดว่า"การเล่นหุ้น" คือ "ต้องขายเมื่อมีกำไร" โดยไม่สนใจว่า พื้นฐานบริษัทเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ แต่หนังสือตีแตกสอนให้คิดว่าการเล่นหุ้น คือ "การลงทุนทำธุรกิจ" แม้ราคาหุ้นจะ "ขึ้น" แต่หากพื้นฐานยังดีก็ "ไม่จำเป็นต้องขาย" จริงๆ อยากให้นักลงทุนกลับไปอ่านบทความที่ผมเขียน เรื่อง "มรดกอาณาจักรธุรกิจ" และ "คุณค่านักลงทุน"เนื้อหาโอเคมาก
ธันวาเริ่มบททดสอบในเส้นทางวีไออย่างจริงจัง ช่วงปี 2546 โดยลงทุนหุ้นเป็น "สิบตัว" เน้น "ราคาถูก"เป็นหลัก โดยจะดูค่า P/E และค่า P/BV เน้นต่ำๆ เข้าไว้ รวมถึงดูผลตอบแทนจากเงินปันผล ซึ่งจะต้องอยู่ระดับ 4-5% การลงทุนในลักษณะนี้ยอมรับว่า "ผลตอบแทน ไม่ค่อยดีเท่าไร" การที่ "หุ้นถูก" เพราะมัน "ไม่มีสตอรี่"มาสนับสนุนราคา ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหน เขาจมอยู่กับการลงทุนลักษณะนี้ 2-3 ปี เห็นว่า "ยังไม่ใช่" จึงเปลี่ยน กลยุทธ์ใหม่ "วันนี้เงื่อนไขการลงทุนของผมมีค่อนข้างเยอะ จะเน้นลงทุนเฉพาะหุ้น "ซูเปอร์สต็อก" คือ หนึ่ง..มีรูปแบบธุรกิจที่ดี ผู้บริโภคมีการซื้อซ้ำ สอง..บริษัทมีรายได้มั่นคงแน่นอน สาม..ฐานะการเงินดี สี่..ผู้บริหารเก่ง ห้า..ธุรกิจมีความเสี่ยงต่ำ และมี Economy of scale (ยิ่งใหญ่ต้นทุนยิ่งถูก) ทุกวันนี้หุ้นในตลาดมีมากถึง 500 บริษัท แต่เชื่อหรือไม่! ว่ามีหุ้นที่เป็น ซูเปอร์สต็อกแบบที่ผมบอกไม่ถึง 20 ตัว"
นอกจากเรื่องปัจจัยพื้นฐานแล้วธันวายังคำนึงถึงเรื่อง "สภาพคล่อง" ประกอบด้วย เขาจะซื้อหุ้นที่มี สภาพคล่องค่อนข้างสูง เคยซื้อหุ้นดีราคาถูกแต่พอจะขายต้องใช้เวลาเป็นเดือน ตรงข้ามกับหุ้นที่มีสภาพคล่อง ใช้เวลาขายเพียง 2-3 วันก็หมด นี่เป็นอีกเงื่อนไขการลงทุน ส่วนตัวที่อาจจะต่างจากวีไอคนอื่น
"ทุกวันนี้ผมจะให้ความสำคัญกับการแกะงบการเงิน น้อยลง แต่จะเน้นดูภาพรวมของธุรกิจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามากกว่าว่าเขามีความชำนาญและธุรกิจทนทานต่อภาวะเศรษฐกิจมากแค่ไหน ปัจจุบันผมมีหุ้นในพอร์ตแค่ 5-6 ตัว เป็นซูเปอร์สต็อกเกือบทั้งหมด มีเพียง 1 ตัว ที่เป็นหุ้นขนาดกลาง ตั้งใจจะหาจังหวะขาย เพื่อปรับพอร์ตให้เป็นหุ้นซูเปอร์สต็อกทุกตัว" อยากรู้ว่าพอร์ตลงทุนของนายกสมาคมวีไอมีมูลค่าเท่าไร..? ถามกันตรงๆ แบบนี้ เจ้าตัวถึงกับหัวเราะก่อนปิดประตูใส่กลอนว่า "ไม่ขอเปิดเผยดีกว่า!" เอาเป็นว่ามีมูลค่า "มากระดับหนึ่ง" ส่วนหุ้นในพอร์ต 5-6 ตัว มีอะไรบ้าง! เจ้าตัวก็ตอบเลี่ยงไปว่า ชอบกลุ่มค้าปลีก, อาหาร, โรงพยาบาล และสื่อสาร ซึ่งกลุ่ม เหล่านี้ในระยะกลางถึงยาวน่าสนใจมาก โอกาสจะสร้างผลตอบแทนปีละ 12-15% มีสูงมาก
จริงๆ บอกแค่นี้ก็เดาออกแล้วว่ามีหุ้นอะไรบ้าง!! ซึ่งก็พอรู้ว่าวีไอเขาเล่นหุ้นอะไรกันอยู่ แต่บางตัว "บิซวีค" มองว่าอาจจะขึ้นมา "เยอะมากแล้ว"ทำไม! ถึงชอบ 4 กลุ่มนี้ (ค้าปลีก, อาหาร, โรงพยาบาล, สื่อสาร) เจ้าตัววิเคราะห์ให้ฟังคร่าวๆ โดยบอกก่อนว่า หุ้นทั้ง 4 กลุ่ม ถือเป็นปัจจัยที่ "คนขาดไม่ได้" คือ "ต้องกิน-ต้องใช้-ต้องรักษา" กลุ่มค้าปลีกและอาหารทนต่อทุกสภาวะเศรษฐกิจ ส่วนธุรกิจโรงพยาบาล ชอบเพราะเป็นธุรกิจที่ "คนต่อรองไม่ได้" (เขาจะฟัน เท่าไรก็ต้องจ่าย) ปัจจุบันคนไทยประมาณ 25% (เป็นผู้สูงอายุ) อยู่ในวัยที่ต้องเข้าโรงพยาบาล ฉะนั้นธุรกิจนี้ไม่มีทางไม่เติบโตมีแต่ "เติบโตไม่มาก" กับ"เติบโตมาก"
สำหรับธุรกิจสื่อสาร แม้จะไม่ใช่ปัจจัย 4 แต่ถือว่า "จำเป็น" ในการดำรงชีวิตประจำวัน วันไหนลืมหยิบโทรศัพท์มาก็แทบจะอยู่ไม่ได้แล้ว..จริงมั้ย!! ที่สำคัญเป็นธุรกิจที่มีการ "ใช้ซ้ำทุกวัน" อีกอย่างหากระบบ 3G เกิดจริงๆ รายได้จากการขายโทรศัพท์ของโอเปอเรเตอร์จะมากขึ้น "แต่การทำนายของผมอาจผิดก็ได้ (หัวเราะ)"
สำหรับเป้าหมายผลตอบแทน เขาบอกว่า ถ้าได้ 12-15% ต่อปี เท่านี้ก็ "แฮปปี้" แล้ว ผมชอบคำพูด ประโยคหนึ่งของอาจารย์นิเวศน์ แกบอกว่า "10 ปี 1 หลัก" หมายความว่า เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี เราควรมีมูลค่าพอร์ตเพิ่ม 1 หลัก ถือเป็นเป้าหมายท้าทายมาก ..ผมก็อยากทำให้ได้อย่างนั้นเหมือนกัน แต่ไม่ถึงขนาดมุ่งมั่น
อีกหนึ่งวรรคทองของ ดร.นิเวศน์ ที่ชอบคือ "เราไม่รู้หรอกว่าราคาหุ้นจะไปเท่าไร รู้เพียงว่า เป็นหุ้นที่ดี กิจการของเขายอดเยี่ยม และจะดีต่อไป ในระยะยาว" แต่นักลงทุนบางรายมักจะบอกว่า การที่ได้กำไรหลายๆ เด้งเป็นเพราะเหตุผลโน่นนี่ ส่วนตัว คิดว่ามันอาจไม่ใช่เหตุผลอย่างนั้นก็ได้ เราคงไม่สามารถ คำนวณเหตุผลได้แม่นยำ การเล่นหุ้นมีเทคนิคมากมาย เราไม่สามารถประเมินได้ว่าจะกำไรเท่าไร
"ผมเน้นการลงทุนแล้วสบายใจ นับวันผมยิ่ง "ขี้เกียจลงทุน" เพราะเงื่อนไขการลงทุนของผมมีมากมาย ทำให้ไม่ค่อยเจอหุ้นที่อยู่ในเงื่อนไขเท่าไร ส่วนใหญ่จะหาข้อมูลเพื่อมาเขียนบทความมากกว่า (หัวเราะ) แม้จะขี้เกียจแต่ผมก็มักจะสอนลูกทั้ง 2 คน โดยวิธีให้เงินลูก ไปบริหารจัดการเอง..เช่น ผมจะให้เงิน 100 บาท เขาอยากเอาไปเรียนอะไรตามใจเขาเลย เพราะส่วนที่เหลือจะเป็นของเขา เมื่อเขาอายุ 25 ปี ผมจะโอนเงินส่วนที่เหลือทั้งหมดให้เขา ผมอยากสอนให้ลูกรู้จักการออกแบบทางการเงินและออกแบบชีวิตของเขาเอง"
ในฐานะนายกสมาคมวีไอ ธันวาฝากบอกนักลงทุน ว่า คุณต้องหาแนวทางการลงทุนของตัวคุณเองให้เจอ คนเราเก่งไม่เหมือนกัน อยากให้ทุกคนมีความสุขกับการลงทุน และเมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็ควรตอบแทนคืนให้สังคมบ้างทางไหนก็ได้
"ผมเห็นหลายคนถ่ายรูปตอนไปเที่ยวเมืองนอก กินอาหารเริ่ดหรู จริงๆ แล้วคนที่ประสบความสำเร็จบางคน อาจกลับไปทำแบบเดิมไม่ได้แล้วก็ได้ หลักการ ที่ดีคนอื่นต้องทำตามได้ ที่ผ่านมาผมมักแบ่งเงิน ส่วนหนึ่งไปช่วยเรื่องการศึกษา เพื่อเป็นทุนให้กับ คนด้อยโอกาส ซึ่งผมจะนำแนวทางนี้ไปใช้กับทางสมาคมด้วย ทุกวันนี้บ้านพ่อผมอยู่ที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผมก็จะส่งเงินให้พ่อนำไปช่วยการศึกษาเด็กๆ ที่โน่นเป็นประจำ"
ความเสี่ยงของความสำเร็จ คือหยุดไม่ได้ที่จะขยายมันออกไปเรื่อยๆ เส้นทางของ "เซียนหุ้น" ที่แท้จริงอยู่ที่การ "ให้" ยิ่งให้..ยิ่งได้!!! เกิดมาชาติหนึ่งได้ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ และสังคม นั่นต่างหาก..ความสำเร็จที่แท้จริง "ธันวา เลาหศิริวงศ์" เขาตั้งใจที่ จะเดินเส้นทางนั้น!!
"แม้พอร์ตอาจไม่ใหญ่เป็นพันๆ ล้าน แต่ด้วยเพดานบินที่สูงบวกความตั้งใจที่เต็มเปี่ยม 'เซียนหุ้นวีไอ' น้อยใหญ่เต็มใจยกตำแหน่ง 'ผู้นำ' ให้กับเขา... 'ไก่' ธันวา เลาหศิริวงศ์' นายกสมาคมวีไอ 'รุ่นที่ 1'"
บรรยายใต้ภาพ
ธันวา เลาหศิริวงศ์--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
- xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
โพสต์ที่ 2
เพิ่งได้อ่านประวัติพี่ธันวาครั้งแรก ผมนับถือจริงๆครับ
เพราะการตัดสินใจออกจากงานประจำทั้งที่หน้าที่การงานนั้นดีเยี่ยมมากๆ ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตจริงๆ ผมเชื่อว่า Package ที่พี่ธันวาได้รับจาก IBM ในฐานะลูกจ้างมืออาชีพนั้นต้องเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทยแน่นอน
ยิ่งร่วมกับการที่มีครอบครัวและมีลูกอีกสองคนที่ต้องรับผิดชอบนั้น ต้องเชื่อได้ว่าพี่ธันวาต้องเป็นคนที่ตัดสินใจได้แน่วแน่มากๆ และก็สะท้อนถึงมุมมองของการลงทุนที่พี่ได้เขียนให้เราอ่านกันในช่วงหลังด้วย และวิธีคิดในการเลือกหุ้นนั้นก็มีตรรกะเหตุผลชัดเจนมากครับ
ผมเชื่อว่า Port พี่ไปถึงพันล้านแน่นอนครับ
เพราะการตัดสินใจออกจากงานประจำทั้งที่หน้าที่การงานนั้นดีเยี่ยมมากๆ ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตจริงๆ ผมเชื่อว่า Package ที่พี่ธันวาได้รับจาก IBM ในฐานะลูกจ้างมืออาชีพนั้นต้องเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทยแน่นอน
ยิ่งร่วมกับการที่มีครอบครัวและมีลูกอีกสองคนที่ต้องรับผิดชอบนั้น ต้องเชื่อได้ว่าพี่ธันวาต้องเป็นคนที่ตัดสินใจได้แน่วแน่มากๆ และก็สะท้อนถึงมุมมองของการลงทุนที่พี่ได้เขียนให้เราอ่านกันในช่วงหลังด้วย และวิธีคิดในการเลือกหุ้นนั้นก็มีตรรกะเหตุผลชัดเจนมากครับ
ผมเชื่อว่า Port พี่ไปถึงพันล้านแน่นอนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 469
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
โพสต์ที่ 4
10 ปี = 10 เท่า ผลตอบแทน 26% ทบต้นเลยนะครับสำหรับเป้าหมายผลตอบแทน เขาบอกว่า ถ้าได้ 12-15% ต่อปี เท่านี้ก็ "แฮปปี้" แล้ว ผมชอบคำพูด ประโยคหนึ่งของอาจารย์นิเวศน์ แกบอกว่า "10 ปี 1 หลัก" หมายความว่า เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี เราควรมีมูลค่าพอร์ตเพิ่ม 1 หลัก ถือเป็นเป้าหมายท้าทายมาก ..ผมก็อยากทำให้ได้อย่างนั้นเหมือนกัน แต่ไม่ถึงขนาดมุ่งมั่น
Sixth Sense Investor
-
- Verified User
- โพสต์: 1734
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
โพสต์ที่ 5
ขอร่วมอวยพรให้คุณธันวา บริหารพอร์ตหุ้น บริหารสมาคมฯ
ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่ได้วางไว้ครับ
ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่ได้วางไว้ครับ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
โพสต์ที่ 7
ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึงของสมาคม ที่อยู่ในการบริหารของผู้นำ
ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ความสามารถ และมีจิตอาสา อย่างแท้จริง
ดีใจจริงๆครับ
ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ความสามารถ และมีจิตอาสา อย่างแท้จริง
ดีใจจริงๆครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
- 1154
- Verified User
- โพสต์: 894
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณสำหรับบทความ มุมมอง และ ประสบการณ์ ครับ
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณครับ
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- T50
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ตีแตกความคิด 'ธันวา เลาหศิริวงศ์' ผู้นำ 'เซียนหุ้นวีไอ'
โพสต์ที่ 15
ผมเห็นหลายคนถ่ายรูปตอนไปเที่ยวเมืองนอก กินอาหารเริ่ดหรู จริงๆ แล้วคนที่ประสบความสำเร็จบางคน อาจกลับไปทำแบบเดิมไม่ได้แล้วก็ได้ หลักการ ที่ดีคนอื่นต้องทำตามได้ ที่ผ่านมาผมมักแบ่งเงิน ส่วนหนึ่งไปช่วยเรื่องการศึกษา เพื่อเป็นทุนให้กับ คนด้อยโอกาส ซึ่งผมจะนำแนวทางนี้ไปใช้กับทางสมาคมด้วย ทุกวันนี้บ้านพ่อผมอยู่ที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ผมก็จะส่งเงินให้พ่อนำไปช่วยการศึกษาเด็กๆ ที่โน่นเป็นประจำ"
ความเสี่ยงของความสำเร็จ คือหยุดไม่ได้ที่จะขยายมันออกไปเรื่อยๆ เส้นทางของ "เซียนหุ้น" ที่แท้จริงอยู่ที่การ "ให้" ยิ่งให้..ยิ่งได้!!! เกิดมาชาติหนึ่งได้ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ และสังคม นั่นต่างหาก..ความสำเร็จที่แท้จริง "ธันวา เลาหศิริวงศ์" เขาตั้งใจที่ จะเดินเส้นทางนั้น!!
ประทับใจมากครับ ^^
ความเสี่ยงของความสำเร็จ คือหยุดไม่ได้ที่จะขยายมันออกไปเรื่อยๆ เส้นทางของ "เซียนหุ้น" ที่แท้จริงอยู่ที่การ "ให้" ยิ่งให้..ยิ่งได้!!! เกิดมาชาติหนึ่งได้ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ และสังคม นั่นต่างหาก..ความสำเร็จที่แท้จริง "ธันวา เลาหศิริวงศ์" เขาตั้งใจที่ จะเดินเส้นทางนั้น!!
ประทับใจมากครับ ^^
อย่าไปพนันกับการฟื้นตัวในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกำลังเสื่อมลง