หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
@DNA@
Joined: อังคาร ม.ค. 09, 2007 10:44 pm
101
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - @DNA@
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
ของที่ระลึกมอบแด่พี่ครรชิตครับ
ยินดีด้วยครับ เหมาะสมอย่างยิ่งครับ
โดย
@DNA@
พฤหัสฯ. ก.ค. 24, 2008 1:04 pm
0
0
หัวข้อ independent study ใดเกี่ยวกับหุ้น ที่ท่านอยากให้มี?
5) IS ต่างกับ thesis อย่างไร เนื่องจากวิธีการแก้ปัญหาแบบวิธีวิจัย เป็นวิธีการที่ใช้แก้ปัญหี่ดีที่สุดวิธีการหนึ่ง มีเหตุมีผลทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ แม้หลายหลักสูตรจะไม่มีการทำวิทยานิพนธ์เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลา แต่ความต้องการให้นักศึกษามีทักษะในการวิจัยก็ยังมีอยู่ IS จึงเกิดขึ้นมาทดแทน โดยให้ความสำคัญหรือบทบาทลดลง แต่ยังใช้กระบวนการเดิม เช่น IS หน่วยกิจน้อยกว่า จึงให้เวลาสั้นกว่า มักไม่ถึง 1 ปี หัวข้อจึงเบากว่า ใช้งบประมาณน้อยกว่า และบางสถาบันผ่อนปรนมากกว่านั้นเช่น IS 1 ชิ้นอาจจะมีผู้ร่วมทำมากกว่า 1 คน แต่ถ้าถามว่าคุณภาพต่างกันไหม ผมรู้สึกว่า IS หลายเล่มของบางมหาวิทยาลัยดีกว่าวิทยานิพนธ์ของอีกหลายๆมหาวิทยาลัย ขอบเขตกว้างกว่า เป็นประโยชน์กว่า แก้ปัญหาและตั้งปัญหาได้ดีกว่า บางมหาวิทยาลัยปล่อยให้นิสิตลอกวิทยานิพนธ์เพียงแค่เปลี่ยนชื่อเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่เข้าใจกระบวนการอะไรเลย (ส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยที่รับนิสิตทีละมากๆ และจบพร้อมกับทีละมากๆ) เริ่มต้นอาจจะมีเล่มหนึ่งเป็นเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกหุ้นของกองทุนรวม ก็จะมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกอะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมดแต่ไม่ได้สนใจว่าแก้ปัญหาหรือไม่ หรือการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ...ในเขต... อีกหน่อยก็จะมาอีกหลายเล่มว่าจะสำรวจบริการอื่นๆ เขตอื่นๆ อาจารย์นิธิ เคยวิจารณ์ให้ฟังว่าแม้แต่ทางวิทยาศาสตร์ เริ่มต้นก็มีสูตรเคมีของซีอิ้ว ไม่นานห้องสมุดก็จะเต็มไปด้วยสูตรเคมีของกะปิ น้ำปลา เต้าเจี้ยว งานศึกษาโครงสร้างตลาด.ในเขต.. ต่อไปก็มีงานศึกษาลักษณะนี้งอกมาอีกมาก อาจารย์นิธิยังเคยถามเลยว่าเราอยากได้เหรอความรู้แบบเนี้ยะ คนที่ทำคงหวังแค่ปริญญา งานเหล่านี้มีประโยชน์ก็เพียงทำให้ห้องสมุดแน่นขึ้นแม้แต่ผู้ทำก็ยังไม่รู้วิธีการแก้ปัญหา คนในแวดวงวิชาการอย่างอาจารย์โสภิณจะขนานนาม thesis ที่อาจารย์ยอมปล่อยให้ผ่านไปโดยใช้วิธีการไปดูว่าเล่มอื่นเขาทำยังไง แล้วลองทำคล้ายๆ เขาโดยไม่มีการทบทวนว่ามันเป็นปัญหาจริงหรือไม่ และพยายามเน้นที่เครื่องมือสถิติ วิธีแก้ปัญหาว่า thesis ที่ไม่มี thesis 6) จำเป็นต้องคิดทฤษฎีใหม่หรือไม่ งานคิดทฤษฎีใหม่เป็นงานที่หนักมากเพราะต้องสำรวจความรู้ว่ายังมีช่องว่างอะไรในความจริงแท้แน่นอนที่ทฤษฎีที่มีอยู่ทั้งหมดอธิบายไม่ได้ เพราะขอเน้นนะครับ อย่าพยายามเข้าข้างตัวเองว่าเราพบในสิ่งที่ยังไม่มีใครค้นพบจนตั้งทฤษฎีได้ เพราะโลกใบนี้มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก อายุของมันตั้งแต่มีคำว่าวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นบนโลก มีคนคิดและเขียนไว้มากมายเพียงแต่เรามีความรู้หรืออ่านมากพอที่จะเข้าถึงทฤษฎีหรือไม่ เคยมีนิสิตมาพบผมแล้วพยายามบอกผมว่างานที่เขาคิดนั้นไม่เคยมีใครทำมาก่อน จึงหางาน review ไม่ได้ พอผมสำรวจแล้วมีมากมายเพียงแต่บางครั้งอาจเป็นภาษาที่ไม่ใช่ภาษาไทย และที่เป็นภาษาไทยก็มี เมื่อถามถึงเหตุผลว่าทำไมถึงบอกว่าไม่มี นิสิตจะบอกผมว่าเรื่องที่เหมือนเรื่องที่เขาจะทำไม่มี ผมจึงต้องพยายามเน้นว่า ถ้ามีเรื่องที่เหมือนเรื่องที่เรามีปัญหาอยู่ทุกกระเบียดนิ้ว ไม่ต้องลอกมาส่งและไม่ต้องทำมาส่ง เพราะแปลว่าได้มีคนแก้ปัญหานั้นให้คุณได้แล้ว คุณไม่จำเป็นต้องหาวิธีแก้ปัญหาซ้ำคุณนำวิธีนั้นมาใช้ได้เลย ให้หาหัวข้อใหม่ เพราะย่อมมีปัญหาที่ต่อเนื่องและปัญหาข้างเคียงจากเรื่องนั้นอีกมากมายที่จะทำได้ถ้าเราเป็นคนที่สนใจพอ
โดย
@DNA@
เสาร์ มิ.ย. 14, 2008 5:20 pm
0
0
หัวข้อ independent study ใดเกี่ยวกับหุ้น ที่ท่านอยากให้มี?
4) ทฤษฎีคืออะไร ต้องเข้าใจกรอบในการหาความรู้ 2 ประเด็น คือ วิธีอุปนัย(induction) และวิธีนิรนัย(deduction) และเข้าใจสิ่งที่ต้องเป็น (positive) กับสิ่งที่ควรเป็น (normative) การเข้าถึงความจริงจนสามารถสรุปเป็นทฤษฎีได้มีด้วยกัน 2 วิธีคืออุปนัย และนิรนัย ที่นิสิตมักจะท่องกันว่าใหญ่ไปหาเล็ก หรือเล็กไปหาใหญ่ ศาสตร์ลักษณะเดียวกับวิทยาศาสตร์จะใช้วิธีอุปนัยเป็นหลัก ศาสตร์ทางสังคมศาสตร์จะใช้วิธีนิรนัยซะมาก แต่เนื่องจากหัวข้อที่กำลังถกอยู่ส่วนใหญ่ คือ ประเด็นทางด้านการเงิน ซึ่งผมถือทฤษฏีและปัญหาส่วนใหญ่มีลักษณะของความเป็นศาสตร์และใช้วิธี induction คือ อะไรวิธีการนี้จะนำความจริงที่มีลักษณะเฉพาะหรือความจริงที่เหนือกว่ามาทำการสรุปความจริงในระดับถัดๆ ไป ตัวอย่าง เช่น ทฤษฎีที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของอัตราดอกเบี้ยกับราคาหุ้น ตัวทฤษฎีจริงๆ จะมีข้อสมมุติ เพื่อล้อมกรอบให้เหลือสภาพที่สามารถอธิบายและเข้าใจโลกจริงได้ง่ายขึ้น เช่น นักลงทุนแต่ละรายมุ่งหวังกำไรสูงสุด มีปัจจัยอื่นๆ เปลี่ยนแปลงนอกจากดอกเบี้ยและราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์แต่ละตัวมีความเสี่ยงเท่ากัน ทฤษฎีนี้อาศัยทฤษฎีทางคณิตศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่กว่าอ้างอิงมาอีกทีหนึ่ง คือ กฏของอุปสงค์และcalculus ซึ่งพิสูจน์ว่าการจะได้ค่าตัวแปรใดสูงสุด จะต้องทำการเลือกตัวแปรอื่นจนผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่ได้จากการเลือกตัวแปรอื่นๆ ทุกตัวเท่ากัน เมื่อนำมาประยุกต์ในการลงทุนก็คือเมื่ออยากได้ผลตอบแทนสูงสุดนักลงทุนก็จะเลือกหุ้นและหลักทรัพย์อื่นๆ จนผลตอบแทนที่ได้จากเงินแต่ละบาทนั้นเท่ากัน หากมีหลักทรัพย์ใดที่ให้ผลตอบแทนต่อเงิน 1 บาทที่กำลังลงทุนสูงกว่าหลักทรัพย์อื่นๆ นักลงทุนควรจะ switch ไปลงทุนในหลักทรัพย์ตัวอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นการลงทุนจะต้องเปลี่ยนแปลงนั่นคือนักลงทุนจะ switch ไปยังการฝากเงินจนผลตอบแทนที่ได้จากเงิน 1 บาทเท่ากัน + กฏของอุปสงค์ เมื่อ supply มากขึ้นจากการขายหุ้นราคาหุ้นก็จะลดลง ดังนั้นทฤษฎีนี้เป็นจริงเสมอถ้าตราบใดทฤษฏีที่ยังอ้างอิงอยู่เป็นจริง นั่นคือเรื่องการหาค่าสูงสุดของ calculus และ กฏอุปสงค์ ส่วน ข้อสมมติไม่เป็นจริงทฤษฎีนี้ก็ยังจริงเพราะเราบอกอยู่แล้วว่าข้อสมมติแสดงว่าเราสมมติเอา เราไม่สนว่ามันจะจริงหรือไม่จริง ข้อสมมติเหมือนการให้เงื่อนไข ดังนั้นหากในโลกของความเป็นจริงความจริงที่เกิดขึ้นไม่ตรงกับทฤษฎีถือว่าทฤษฎีผิดหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ เพราะทฤษฎีอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว การพิสูจน์ว่าทฤษฎีใดผิดต้องกลับไปพิสูจน์สิ่งที่ไม่ใช่เงือนไขแต่เป็นความจริงที่เหนือกว่าที่ทฤษฎีนี้อ้างอิงอยู่ เช่น เมื่อมีวันหนึ่งมีคนค้นพบวิธีการหาค่าสูงสุดโดยใช้ calculus ของนิวตั้นนั้นไม่ได้ให้ค่าสูงสุดจริง ทฤษฎีนี้จะล้มทันที คำถามถัดมาแล้วทฤษฏีมีประโยชน์ได้ยังไง ในเมื่อติดขัดด้วยเงื่อนไข ในการใช้ในโลกจริงเราจะผสมผสานทฤษฎีเข้าด้วยกัน เช่น กรณีมีการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยแต่เกิดการลดลงของความเสี่ยงจากเศรษฐกิจเติบโต ทฤษฎีที่อาจจะเกี่ยวข้องอีกตัวก็คือการหาผลตอบแทนในเรื่องความเสี่ยงซึ่งอาศัยทฤษฎีทางคณิตศาสตร์เป็นการหาค่าเฉลี่ยภายใต้ความไม่แน่นอนของ pascal เราอาจจะนำทฤษฎีทั้งสองมาร่วมวิเคราะห์ และให้น้ำหนักเป็นผลหักล้างกัน เพราะในโลกจริงเกิดปรากฏที่มีผลจากทฤษฎีที่ 1 และทฤษฎีที่ 2 พร้อมกันแน่นอน แต่ทฤษฏีใดในขณะนั้นมี effect มากกว่ากันก็จะสะท้อนออกมาผ่านความจริง คนที่ไม่เข้าใจก็จะบอกทันทีว่าทฤษฎีใช้ไม่ได้ในโลกความเป็นจริง แต่ในชีวิตจริงทุกคนที่ทำงานอยู่กลับพยายามประเมินผลกระทบที่เกิดจาก effect ต่างๆ ภายใต้ที่ทฤษฎี(โดยไม่รู้ว่าจริงๆแล้วตนกำลังใช้ทฤษฎีที่เรียนมา) ในเวปหลายครั้งหลายคลามักจะมีการดูถูกทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง เช่น ตลาดที่มีประสิทธิภาพ ลองกลับไปสำรวจนะครับว่าจริงๆ เป็นทฤษฎี ข้อสมมติ หรือมีข้อสมมติอื่นๆ หนุนอยู่หรือไม่ จริงๆ ทฤษฎีต้องการเสนอมุมมองใด ประเด็นถัดมาถ้าสังเกตให้ดีทฤษฎีทุกทฤษฎีจะมีลักษณะเป็น positive statement ไม่ใช่ Normative statement แปลว่าอะไร positive statement เป็นการวิเคราะห์อย่างที่มันต้องเป็น เช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นราคาของหลักทรัพย์จะลดลง โดยที่ข้อสมมติ.... นั่นคือ ทฤษฎีพยายามนำเสนอความจริงของโลกโดยไม่มีความรู้สึก ไม่มีอัตวิสัย เป็นความจริงที่สะอาด บริสุทธิ์ และจริงเสมอ จึงเป็นความจริงที่มีความแข็งแกร่งมากพอที่จะใช้อ้างอิง ส่วน normative statement จะเป็นควรจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ การลงทุนแบบ VI เป็นการลงทุนที่ดีที่สุดเป็นคำกล่าวที่มีลักษณะเป็นความคิดเห็นมากกว่า และไม่จำเป็นที่จะต้องจริงแท้ เพราะบ้างครั้งอาจจะจริงและบางครั้งอาจจะไม่จริงประกอบด้วยอัตวิสัยอยู่ในตัว การอ้างอิงจึงเป็นอันตราย VI เป็นทฤษฎีหรือไม่ เพื่อเปรียบเทียบให้ชัดขึ้นผมจะเปรียบเทียบกับการผลิตรถยนต์ว่าการผลิตรถยนต์เป็นทฤษฎีหรือไม่ ผมมองการผลิตรถยนต์เป็นการนำทฤษฎีทางฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์ มาใช้ประโยชน์ เบื้องหลังของการที่รถยนต์วิ่งได้สำเร็จคือทฤษฎีต่างๆ ผมค่อนข้างหมั่นใจว่า VI เป็นวิธีการหรือหลักการที่มีทฤษฏีรองรับอยู่เบื้องหลังแต่เป็นทฤษฎีหรือไม่ วิธีที่ไม่เหมือนกับ VI ไม่ถือว่าผิดไปจากความจริงของโลก ดังนั้นคนมีวิธีการอื่นที่จะศรัทธาได้ VI ไม่ได้บอกความสัมพันธ์หรืออธิบายความจริงของโลก ไม่ได้ล้อมกรอบให้มันเป็นความจริงเสมอ เช่นเดียวกับวิธีจัดการแบบต่างๆ เป็นแบบอย่างแต่ไม่ใช่ความจริงแท้ วันข้างหน้าอาจจะมีวิธีจัดการที่ดีกว่า VI เหมือนบอกเล่าว่าทำอย่างไรถึงจะดี วันหนึ่งมันอาจจะไม่ดีหรือมีวิธีการอื่นที่ดีกว่าและขึ้นอยู่กับอัตวิสัยไม่ได้มาจากการสร้างความจริงใหม่เป็นการให้วิธีการใหม่ หากสนใจ VI ให้มองไปเบื้องหลังว่า VI ใช้ทฤษฎีการเงินอื่นๆ อย่างไร ทฤษฎีเหล่านั้นอธิบายทุกอย่างได้ครบถ้วนโดยไม่ต้องมี VI อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ เรื่องของทฤษฎีใหม่หรือเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงจริงๆ แล้วเป็นวิธีปฏิบัติเป็นแนวคิดในการปฏิบัติไม่ใช่ทฤษฎี แต่ทฤษฎีใหม่มีทฤษฎีอื่นๆ รองรับอยู่หลังวิธีปฏิบัติ เช่น การกระจายความเสี่ยง การเติบโตอย่างยั่งยืน แต่วิธีการปฏิบัติที่ดี บางคนจะไม่สนใจจึงต้องใช้คำว่าทฤษฎีเพื่อดึงความสนใจ ผมคาดเดาว่าที่อาจารย์ไม่ให้ทำน่าจะมาจากประเด็นเรื่องปัญหามากกว่า เพราะผมไม่เห็นปัญหาเช่น การวิเคราะห์หุ้นโดยใช้หลักการแบบ VI หัวข้อนี่เป็นการเล่าเรื่องบอกเรื่องว่าการลงทุนแบบ VI เป็นอย่างไร แต่ไม่เห็นว่าจะแก้ปัญหาใด รู้แล้วแก้ปัญหาอะไรยังบอกไม่ชัด ถ้าบอกปัญหามาเราสามารถหาทฤษฎีที่อยู่เหนือวิธีการแบบ VI มาปรับใช้ได้ (เหมือนเราบอกว่าบิลเกตส์จัดการองค์กรได้ดีเอาวิธีที่บิลเกตส์จัดการองค์กรมาพยายามอธิบายว่าทำไมบริษัทเราถึงล้มเหลว เราก็จะบอกว่าบริบทต่างกันอาจจะอธิบายได้หรือไม่ได้ก็ได้ แต่ถ้าจะทำก็อาจจะเริ่มด้วยว่าบริษัทที่เน้นเทคโนโลยีส่วนใหญ่มักล้มเหลว เราพยายามแก้ปัญหาบริษัทที่เน้นเทคโนโลยี่ แล้วพยายามดูว่า Microsoft ประสบความสำเร็จได้อย่างไร ภายใต้ทฤษฎีทางธุรกิจ เพื่อเป็นบทเรียนหรือปัญหาของธุรกิจอื่นๆ) ถ้าเริ่มต้นด้วยว่ามีคนจำนวนมากเสียหายจากการลงทุน ปัญหาคือจะช่วยคนที่เสียหายนั้นอย่างไร เราทำการสำรวจว่าคนที่ลงทุนแล้วเสียหายมีลักษณะอย่างไร คนที่ลงทุนแล้วมั่งคั่งมีลักษณะอย่างไร คนทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร และพบว่าคนที่ลงแบบ VI เป็นคนที่ลงทุนแล้วประสบความสำเร็จมาก สามารถดูต่อได้ว่าทำไมสำเร็จมากเพราะอะไร การตอบปัญหาทั้งหมดเป็นการตอบปัญหาใหญ่ทั้งสิ้น และ VI เป็นทางผ่านอาจารย์จะไม่ปฏิเสธที่จะให้ทำหรอกครับ แต่สิ่งสำคัญคือที่พูดๆกันอะไรเป็นตัวพิสูจน์ มีงานรองรับหรือไม่ หรือทึกทักเอา การวิจัยพยายามเน้นที่การหาปัญหาและแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ไม่ใช่การหาวิธีแก้แล้วค่อยไปหาปัญหาที่เหมาะกับวิธีแก้ อีกประการหนึ่งเหตุผลที่จะนำมาสนับสนุนว่าวิธีการใดเหมาะ ควรเป็นลักษณะที่บ่งบอกความจริง หรือความสัมพันธ์เพื่อไว้ยึดเหนี่ยวให้ความคิดมีเหตุผล และบอกเราว่าเราควรเลือกวิธีการแบบใดต่อไป แต่ไม่ใช่การนำวิธีการมาตอบว่าเหมาะไม่เหมาะเพราะไม่มีวิธีการใดที่ดีที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง
โดย
@DNA@
เสาร์ มิ.ย. 14, 2008 4:45 pm
0
0
หัวข้อ independent study ใดเกี่ยวกับหุ้น ที่ท่านอยากให้มี?
3) เมื่อระบุปัญหาได้ หลายครั้งปัญหานั้นจะประกอบด้วยปัญหาเล็กหรือ คำถามเล็กๆที่ต้องตอบ เช่น ปัญหาระบบบัญชีที่มีอยู่ไม่สามารถสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของบริษัทโดยเฉพาะในส่วนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเพื่อให้ทำให้บริษัทที่ดีไม่สามารถระดมทุนได้เท่าที่ควร การศึกษาจะมุ่งไปที่การแก้ปัญหาดังกล่าวแต่แก้ยังไง การแก้จำเป็นต้องมีข้อมูลสถานะของความรู้ในเรื่องย่อยๆ เช่น 1) เกณฑ์ในการประเมินสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เหมาะสมกับบ้านเราและมีความแม่นยำ 2) โครงสร้างหน่วยงานที่ทำการประเมิน 3) ความคุ้มค่าในการใช้เกณฑ์ดังกล่าวทั้งทางได้และทางต้นทุนที่เสียไป 4) ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการใช้เกณฑ์นี้ ฯลฯ (ตย.ที่ยกมาผมใช้วิธีสมมติขึ้นผมไม่แน่ใจว่าจะมีสถานะเป็นปัญหาที่ควรศึกษาจริงหรือไม่ และหวังว่าจะไม่มีใครนำไปเป็นแนวคิดเพื่อลอกแบบทำ IS) ปัญหาย่อยๆ ทั้งหมดก็จะถูกกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนั้นวัตถุประสงค์ไม่ได้กำหนดมาลอยๆ แต่ต้องสอดรับและช่วยในการตอบปัญหาใหญ่ ดังนั้นถ้าเรียกวัตถุประสงค์ในการศึกษาให้ชัดอาจจะเรียกได้ว่าปัญหาย่อย ซึ่งถ้าปัญหาย่อยย่อยมากพอจะมีลักษณะเข้าใกล้คำถาม การคิดของนักศึกษาส่วนใหญ่จึงเป็นคิดย้อนกลับคือเริ่มจากอยากรู้แต่บางทีไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนอยากรู้นั้นจะไปทำอะไร เพราะไม่ได้เริ่มจากปัญหาเวลาเขียนความสำคัญของปัญหาจึงไม่สามารถเขียนได้ และมักจะเริ่มต้นว่าก็อยากรู้ทำไมทำไม่ได้ และถึง เวลาที่เขียนประโยชน์ที่ได้รับก็จะไม่สามารถเขียนได้เนื่องจากมันไม่ได้มาจากปัญหา และยังไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์อะไร เนื่องจากนักศึกษาทำ thesis หรือ IS ต้องใช้เงินส่วนตัว และมีเวลาจำกัด ความเชี่ยวชาญจำกัด ดังนั้นหากนักศึกษาเสนอปัญหาที่ใหญ่เกินตัว เช่น ปัญหาที่ยกเป็นตัวอย่างด้านบนหากทำทั้งหมดอาจจะแย่หรือจบไม่ทัน อาจารย์หลายท่านจะพยายามเน้นปัญหาที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษาจริงๆ เพราะเป็นเงินส่วนตัวและอาจจะให้ลดขนาดปัญหาให้ปัญหาเหลือขนาดเท่ากับวัตถุประสงค์แต่นักศึกษายังต้องมีความรู้ว่าตนเองต้องการหาวิธีแก้ปัญหาใดในมุมไหน และในปัญหาย่อยเองหรือวัตถุประสงค์หากดูให้ลึกลงไปในการตอบปัญหาจจะมีปัญหาย่อยอีกเช่นเดียวกัน เช่น วิธีที่ตีค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เหมาะกับบ้านเราและมีความแม่นยำ จะมีปัญหาย่อยอยู่ เช่น วิธีตีค่าที่ธุรกิจส่วนใหญ่ใช้อยู่,ปัญหาที่เกิดจากการใช้วิธีดังกล่าวในปัจจุบัน,วิธีตีค่าแบบต่างๆ, ต้นทุนในการตีค่าแบบต่างๆ,ประเด็นที่ไม่ครอบคลุมของวิธีการแบบต่างๆ,ความเหมาะสมของวิธีต่างๆในแต่ละอุตสาหกรรม,การยอมรับได้หรือสามารถปฏิบัติได้ในแต่ละวิธี อาจารย์ที่ปรึกษาจะกรอบปัญหาและกรอบขอบเขตให้เล็กลงจนอยู่ในระดับที่ข้อจำกัดด้านเวลา เงินทุน และความรู้นักศึกษาจะพึงทำได้ proposal หรือข้อเสนอการวิจัยจึงเกิดขึ้นเพื่อบอกว่าปัญหาสำคัญอย่างไร ในการแก้ปัญหาจะต้องตอบปัญหาหรือคำถามอะไร และกรอบในการตอบจะอยู่เฉพาะส่วนใด เรื่องใด เพื่อให้นักศึกษามีทิศทางมีเป้าหมายที่ชัด ไม่หลงพยายามตอบคำถามที่ไม่ใช่ปัญหาหรือไม่มีประโยชน์ ถ้าอ่านมากพอเข้าใจมากพอทุกส่วนใน proposal จะสอดรับกัน และมีแผนที่ในการเก็บข้อมูล หาข้อมูลเพิ่มหรืออ่านงานต่างๆ เพิ่มเติมได้ไม่หลงทาง proposal ที่สมบูรณ์แบบจริง ๆ จะเท่ากับว่าผู้ทำได้เขียนงานเสร็จไปแล้วมากกว่าครึ่งคือ บทที่ 1 ถึงบทที่ 3 เป็นคำตอบ ที่ผมเคยถูกอาจารย์ของผมเองตอกหน้าหงาย เมื่อผมตั้งคำถามว่าถ้าผมอ่านเยอะมากๆ กว่าจะได้ปัญหาผมอาจจะสามารถทำ thesis เรื่องอื่นๆเสร็จไปแล้ว อาจารย์ถามคำถามผมกลับว่าคนทำวิจัยในเรื่องใดหรือเรียกตัวเองว่าเป็นนักวิจัยในเรื่องใดควรเป็นคนที่รู้เรื่องเหล่านั้นอย่างลึกซึ้งหรือไม่ ดังนั้นนักวิจัยจะเลือกเรื่องที่ตนมีความสามารถมากที่สุด อาจารย์ได้เปิดโอกาสให้เลือกในเรื่องที่เรามีความสามารถมากที่สุดแล้วมิใช่หรือ ถ้าไปเลือกเรื่องอื่นจริงคุณมีความสามารถในเรื่องอื่นๆ ที่บอกว่าทำได้เร็วกว่าจริงหรือไม่ ถ้าไม่มีความสามารถก็ให้เลือกเรื่องที่ชอบที่สุดเพื่อมีความสุขกับการศึกษาถ้าเปลี่ยนเป็นเรื่องคุณจะมีความสุขจริงหรือไม่
โดย
@DNA@
เสาร์ มิ.ย. 14, 2008 11:41 am
0
0
หัวข้อ independent study ใดเกี่ยวกับหุ้น ที่ท่านอยากให้มี?
2) ลองสังเกตุดูนะครับ ก็ให้เราหาปัญหานี่ เราก็มีปัญหาแล้วนี่นาทำไมคนถึงเล่นหุ้นแล้วไม่รวย--อ้าวไม่ได้เหรอ เรื่องมากจังก็หาเราระบุปัญหานี่ แล้วทำไมปัญหามันระบุเป็นคำถามไม่ได้ละ เปลี่ยนก็ได้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเล่นหุ้นแล้วไม่รวย==อ้าวไม่ได้อีกแล้ว ข้อสังเกตประการหนึ่งนักศึกษาส่วนใหญ่พยายามมุ่งเน้นที่จะทำ IS และ thesis ให้เสร็จมากจนเกินไป เวลาที่อาจารย์พยายามกำชับจะไม่ค่อยใส่ใจ แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่ผมเน้นอาจารย์ที่ดูแล thesis หรือ IS ท่านได้เน้นแล้ว อยากให้ดูคำ 2 คำ นะครับ คือ problem และ question ซึ่งตรงกับคำไทยว่า ปัญหา และ คำถาม แต่เนื่องจากเราไม่ค่อยละตัวตนของเรา เราจึงคิดว่าเราเข้าใจคำว่า ปัญหา หรือ คำถาม ดีพอแล้ว ซึ่ง 2 คำนี้ คือ ปัญหาและคำถามมีความหมายที่แตกต่างกันมาก ปัญหา (problem) พอเห็นคำในภาษาอังกฤษเราจะรู้ทันทีว่าไม่เคยจบด้วยประโยคคำถามเช่น ปัญหาราคาน้ำมันแพง ปัญหาปากท้อง ปัญหาวัยรุ่นฆ่าตัวตาย แต่หลายครั้ง อาจารย์ที่ปรึกษาจะอนุโลมถ้ามองว่านักศึกษาอ่านหนังสือมามากพอ จนระบุคำถามที่น่าสนใจและมีโอกาสที่จะนำไปสู่ปัญหาจริงได้ เช่น ทำไมวัยรุ่นถึงฆ่าตัวตาย อะไรเป็นสาเหตุ ถ้ามองให้ดี คำถามที่ระบุขึ้นนี้เมื่อรู้แล้วแก้ปัญหาได้หรือไม่ คำตอบคือได้แต่ไม่ครบ ดังนั้นหลายครั้งตัวปัญหาใหญ่กว่าคำถามมาก ดังนั้นเมื่อมีการกำหนดปัญหาแล้วจึงอาจจะต้องมีการกำหนดขอบเขตของปัญหาว่าจะหาวิธีแก้เฉพาะมุมใด ด้านใด หรือเฉพาะกลุ่มใด พื้นที่ใด นอกจากนี้หลายครั้งเรามักจะเข้าใจผิดทึกทักเอาว่าสิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัญหาคือปัญหาจริงๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสำรวจก่อนว่าสิ่งที่เราว่าเป็นปัญหาจริงๆ เป็นปัญหาหรือไม่ การสำรวจทำโดยการ review งานวิจัยต่างๆ หรืออาจจะเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ว่าปัญหาที่เราคิดว่าเป็นปัญหาจริงๆ ยังเป็นปัญหาอยู่หรือไม่ เช่น เราอาจจะมองว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอมีปัญหาเพราะประเทศจีนผลิตสิ่งทอราคาถูกออกมาจำนวนมาก ถ้าเรามองว่ามันเป็นปัญหาเราก็จะเสนอทางแก้ปัญหาหรือวิธีวิจัยต่างๆ เช่นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต แต่ถ้าคนที่สำรวจสถานะของปัญหามาดีพออาจจะชัดเจนเลยว่ามันไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เพราะสิ่งทอราคาถูกนั้นย้ายฐานการผลิตไปจากเมืองไทยแล้ว หรือผู้ประกอบการที่มีอยู่ได้ปรับเปลี่ยนไปผลิตสิ่งทอคุณภาพแล้ว ประเด็นที่สำคัญสำหรับการระบุปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือสิ่งที่เรามีข้อมูล support ว่าเป็นปัญหาจริงหรือเป็นเพียงอาการ (problem หรือ symptom) ลักษณะที่ดูเหมือนปัญหา จริงๆ แล้วอาจเป็นแค่อาการที่เกิดจากปัญหาจริง เช่น ปัญหาข้าวราคาถูกเป็นเพียงอาการหรือไม่ ปัญหาที่แท้จริงอาจจะเป็นเรื่องโครงสร้างตลาดข้าว แหล่งเงินทุนของชาวนาชาวนาต้องกู้จากโรงสีจริงต้องกลับมาขายข้าวให้โรงสีราคาถูก หรือเป็นปัญหาเรื่องคุณภาพข้าวจึงทำให้ข้าวราคาถูก การ review งานและบทความจะช่วยให้เราเข้าใจได้ การวิจัยจึงให้ความสำคัญกับส่วนนี้มากที่สุดเพราะถ้าระบุปัญหาผิด วิธีการอื่นๆในขั้นถัดไปจะผิดทั้งหมด อาจารย์หลายๆท่านจะพยายามบังคับให้นักศึกษาจะต้องในเรื่องที่นักศึกษาบอกว่าสนใจ และจะให้อ่านแล้วอ่านอีกจนคนผู้นั้นเชี่ยวชาญพอที่จะระบุปัญหาได้ แต่นักศึกษาส่วนใหญ่จะใช้วิธีนึกหัวข้อเอาพอนึกได้ทีก็ไปหาอาจารย์ทีไม่ยอม review เพราะนักศึกษาเข้าใจว่าถ้า review ไปก่อนจะเสียเวลา review ไปเปล่าๆ เพราะพอถึงมืออาจารย์ อาจารย์ไม่ชอบหัวข้อนั้นๆ จะไม่รับปรึกษา ในความเป็นจริงหากนิสิต review จนได้ปัญหาที่ชัดเจนตอบได้ว่าปัญหานั้นสำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ มีผู้ถูกผลกระทบมากน้อย มีข้อมูลหรืองานรองรับว่าข้อหัวที่เสนอไปไม่ใช่แค่อาการเป็นปัญหาจริงที่คุ้มค่าแก่การทำต่อในขั้นถัดไป อาจารย์ไม่ว่าท่านไหนก็รับทั้งนั้น บางคนอาจจะกลัวว่า review ไปไม่เจอปัญหาจะเสียเวลา review เปล่า ทุกๆ เรื่องล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น ถ้าได้ review มากพอ เพราะไม่มีสาขาวิชาใดในโลกจะพัฒนาไปถึงขีดสุดจนไม่มีปัญหา ศาสตร์ใดก็ตามที่ไม่มีปัญหาให้ต้องแก้ไขหรือขบคิดอีกต่อไป ศาสตร์นั้นก็ไม่ควรมีอยู่บนโลกอีก เพราะแต่ละศาสตร์มีหน้าที่ของตนในการขบคิดและแก้ปัญหา (ถ้าปัญหาสังคมหมดไปเราไม่จำเป็นต้องมีนักสังคมศาสตร์อีกต่อไป ถ้าปัญหาทางธุรกิจไม่มีอีกแล้วเพราะใช้ระบบวางแผนจากส่วนกลางหรือคอมมิวนิสต์ก็ไม่จำเป็นต้องมีนักธุรกิจ) บางคนอาจจะไม่ยอม review เพราะกลัวว่าเรื่องที่ review จะยากเกิน เรื่องนี้ก็ไม่ต้องห่วงอีก เพราะศาสตร์แต่ละศาสตร์อายุเกิน 100 กันทั้งนั้นช่วงเวลาที่ผ่านมาถ้ามีปัญหาไหนที่แก้ได้ง่ายๆ ปัญหานั้นถูกนักศึกษาส่วนใหญ่ทำไปหมดแล้ว อาจารย์ส่วนใหญ่จึงพยายามเริ่มต้นด้วยการบังคัยนิสิตให้อ่านแต่ถ้าอาจารย์พูดเฉยๆ นักศึกษามักไม่ค่อยสนใจ และยังยึดความคิดตนเป็นใหญ่ อาจารย์หลายท่านจึงใช้วิธีรับเด็กที่พอมีแววหรือรู้จักนิสัยว่าทำงานจริงจังและพยายามโน้มน้าวให้อ่านมากขึ้น อาจารย์บางท่านใช้วิธีบังคับเด็กให้อ่านงานที่เกี่ยวข้องก่อนอย่างน้อย 50 เล่ม และสัญญาว่าระบุปัญหาได้หรือไม่ได้ก็จะรับ แต่จริงๆ แล้วอ่านไปถึงแค่ 10-20 เล่มก็จะมีความเชี่ยวชาญพอที่จะระบุปัญหาและได้ปัญหาเองโดยอัตโนมัติ อาจารย์บางท่านต้องลงทุนโยน proposal ที่ใช้วิธีนั่งเทียนเขียนทิ้งลงถังขยะต่อหน้าเพื่อลดอัตตาของเด็กลงไม่ให้เด็กคิดหรือทึกทักปัญหาเอาเองยอมกลับไปอ่าน ปัญหาที่สำคัญสุดของผู้ทำ IS จึงเป็นเรื่องที่ผู้ทำไม่มีปัญหาเนื่องจากไม่ยอมอ่านนั่นเอง
โดย
@DNA@
เสาร์ มิ.ย. 14, 2008 8:18 am
0
0
หัวข้อ independent study ใดเกี่ยวกับหุ้น ที่ท่านอยากให้มี?
ผมต้องขอออกตัวก่อนเลยนะครับ สายที่ผมถนัดจริงๆ ไม่ใช่สายการเงิน ดังนั้นผมจะไม่สามารถให้คำตอบเรื่องสถานะของปัญหาได้ แต่งานที่ผมทำอยู่ผมมีโอกาสที่จะทำวิจัยอยู่บ้าง ผมจึงมีความรู้ในกระบวนการวิจัยและกล้าที่จะตอบเฉพาะกระบวนการวิจัย ผมเองก็มีความสับสนมาก่อนและถูกอาจารย์ของผมเองด่าผมเสียๆหายๆ เอามากๆ จนผมต้องละอัตตาของตัวเอง ยอมทำตามกระบวนการของท่าน เมื่อทำครบกระบวนการสิ่งที่ผมได้ถือว่ามีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง เทียบกับเพื่อนคนอื่นๆ ที่เลือกอาจารย์ใจดี แต่ทุกวันนี้แม้จะทำ thesis แล้วก็ยังไม่เข้าใจขบวนการวิจัยนั้น ผมขอตอบคำถามแบบรวมๆ ออกเป็น 4 ประเด็น 1) การวิจัยคืออะไรแล้ว thesis หรือ IS ไปยุ่งอะไรกับการวิจัยอย่างไร 2) ปัญหา ปัญหา ปัญหา ไม่ใช่คำถาม 3) ทำไมต้องเขียน proposal ก่อนทำด้วย ความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์คืออะไรเกี่ยวข้องกับปัญหาไหม 4) ทำไมทำวิจัยเรื่อง VI ไม่ได้ แล้วทำไม VI ไม่ใช่ทฤษฎี 5) IS ต่างกับ Thesis ตรงไหน 1) การวิจัยเป็นการระบุและหาวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยอาศัยความรู้เชิงทฤษฎีในแต่ละศาสตร์ การให้นักศึกษาทำ thesis หรือ IS นั้นวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้นิสิตได้รู้จักวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะได้ใช้ทฤษฎีในสายวิชาที่ตนร่ำเรียนมา แต่เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่ผู้ช่วยวิจัย จะยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยมาก่อนและการตอบโจทย์ปัญหาหลายตัวมีต้นทุนที่สูงมาก จึงให้ทำการศึกษาในปัญหาที่ตนเองสนใจและมีขนาดที่เล็กลงคล้ายๆ กับก่อนที่จะลองทำจริง ไปลองทำของใช้ส่วนตัวดูก่อน ดังนั้นหลักการของการวิจัยจึงครอบคลุมและมีเป้าหมายเดียวกันกับ thesis และ IS (เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น thesis และ IS อาจจะเรียกอีกชื่อว่า babys research)
โดย
@DNA@
เสาร์ มิ.ย. 14, 2008 8:09 am
0
0
หัวข้อ independent study ใดเกี่ยวกับหุ้น ที่ท่านอยากให้มี?
เพิ่มเติมอีกข้อครับ ถ้าได้ตามอ่านกระทู้ใน thaivi บ่อยๆ ปัญหาในการวิจัยมีอยู่เยอะแยะมากมาย
โดย
@DNA@
อังคาร มิ.ย. 10, 2008 7:58 am
0
0
หัวข้อ independent study ใดเกี่ยวกับหุ้น ที่ท่านอยากให้มี?
ในฐานะผู้อยู่ในแวดวงการศึกษาคนหนึ่งขอให้ทุกท่านอย่าให้ความเห็นถ้าผู้อ่านไม่ได้ทำการบ้านมาก่อน คิดเด็ดยอดเอาง่ายๆ การถามลักษณะนี้เป็นความมักง่ายของผู้ถามอย่างยิ่ง หัวข้อ IS หรือ thesis ที่ปรึกษามักจะพยายามให้ผู้ศึกษาทำการ review จากงานเขียนต่างๆ เพื่อสำรวจว่าอะไรคือปัญหาขณะนั้น หลังจากที่ทำการทบทวนวรรณกรรมเรียบร้อย จะพอทราบปัญหาที่แท้จริงนำไปสู่โจทย์ของการวิจัย และวิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ แต่ประสบการณ์ของผมมักพบนิสิตเข้ามาพบและตั้งคำถามว่า อยากทำเรื่องอุตสาหกรรมรถยนต์ อยากทำเรื่องการเงิน คำถามลักษณะนี้มาจากคนที่ไม่ยอมอ่าน ไม่ยอม review เวลาถามลึกลงไปว่าทำไมอยากทำเรื่องดังกล่าว ปัญหาอยู่ที่ไหนก็มักจะไม่ได้คำตอบ เพราะไม่ยอม review สถานะการณ์ของปัญหาในขณะนั้น คิดแต่จะให้ได้หัวข้อ และถึงแม้อาจารย์ที่ปรึกษาทนไม่ได้ ทำการ review แทนแล้วบอกหัวข้อให้ ก็จะเจอกับปัญหาที่ต้องคอยบอกว่าจะแก้ปัญหาของโจทย์อย่างไรต่อไป หากเจอวิธีที่ยากก็จะเปลี่ยนหัวข้อไปเรื่อยๆ ถ้าใครอยากช่วย จขกท จริง เพื่อให้รู้วิธีการของกระบวนการวิจัยอย่างถูกต้องกรุณาให้ จขกท แสดงความรู้อะไรบางอย่างที่ได้จากการ review มาบ้าง และ ให้ช่วยเหลือเพียงการตั้งคำถามที่เป็นลักษณะของการชี้แนวทางเท่านั้น เช่น อ่านหนังสือเล่มไหน สิ่งที่คุณคิดถูกหรือผิดเพราะอะไร ที่เหลือให้เป็นหน้าที่ของที่ปรึกษา เหมือนที่ทุกคนในเวปนี้ชี้แนวทางในการหาหุ้น โดยเน้นที่ สอนวิธีจับปลากินเอง ผมขอเริ่มด้วยคำถามว่า ทำไมอยากทำ IS เกี่ยวกับหุ้นครับ?
โดย
@DNA@
อังคาร มิ.ย. 10, 2008 7:48 am
0
0
รบกวนตอบแบบสอบถามของเว็บ thaivi.com หน่อยนะครับ
ตอบแล้วเช่นกันครับ เสนอให้ทำ sticky ไว้ครับ คนจะได้เห็นชัดและเติมคำว่า "เพื่อเวปไทยวีไอ" ด้วยครับ + โยงเข้าไปใน 100 คน 100 หุ้นด้วยครับ
โดย
@DNA@
พฤหัสฯ. พ.ค. 01, 2008 9:28 am
0
0
Re: ถ้า
[quote="marnoch"]ถ้าเอาเงินกำไรทั้งก้อนไปลงทุนในหุ้น
โดย
@DNA@
อังคาร เม.ย. 01, 2008 4:36 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
อังคาร เม.ย. 01, 2008 8:42 am
0
0
หมีกำลังแย่!
:lovl: ใคร ๆ เขาก็รู้กันทั้งโลกครับ (ยกเว้นบรรดานักเศรษฐศาสตร์ และนักการเมืองไทย) ว่าเมกาเขาพูดอย่าง ทำอย่าง :lovl: กระทบกระเทือนหลายคนนะครับ วิจารณ์เป็นคน ๆ ดีกว่า อย่าเหมาเอาทั้งหมดเลย :8) งั้นขอเปลี่ยนเป็น "ยกเว้นบรรดานักเศรษฐศาสตร์ และนักการเมือง เกือบทั้งหมด ของเมืองไทย"
โดย
@DNA@
อาทิตย์ มี.ค. 16, 2008 10:33 am
0
0
สุดท้ายก็รู้ว่า PE บ้านเราเป็นเท่าไหร่
อย่าไปติ wording เล็กๆน้อยๆ ระหว่างบรรทัดเหมือนพยายามจับผิดเลยครับ ผมไม่แน่ใจว่าข่าวที่ได้นำมามาจากไหน นักข่าวหลายครั้งเวลาเขียนข่าวเขาไม่ได้มีความรู้จริง คำพูดที่นำมาเขียนก็ไม่ได้ถ่ายทอดทุกคำมา ใช้สรุป ๆ เอาบางทีก็ใส่สีเติมไข่อีก คนเขียนก็ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเท่าไร ผมมีเพื่อนที่ทำงานเป็นนักข่าวอยู่คนครับ มันก็ยังบอกผมเลยว่าต้องแปลงให้คนทั่วไปเข้าใจและอยากอ่าน แต่พออ่านไปมันคนละเรื่องเลยครับ และถ้าอยากรู้ว่านักข่าวส่วนใหญ่มั่วขนาดไหนลองไปตามงานแถลงข่าวใหญ่ ๆ ดูครับ พวกนักข่าวจะทำตัวเป็นอภิสิทธิ์ชนมาก มาถึงไม่ยอมฟังว่าเขาแถลงอะไร บอกแต่ว่าเขาเป็นนักข่าวเวลาไม่มาก รีบให้เขาสัมภาษณ์คนที่เขาอยากสัมภาษณ์แล้วก็หนีกลับ เวลาเขาแถลงข่าวกันก็คุยกันเสียงดัง ไม่สนใจว่าในงานนั้นเขาเน้นอะไรให้เหตุผลอะไร แถมเวลาสรุปออกมามั่วมากๆ สำหรับผมเวลาอ่านข่าวผมเอาแค่เนื้อหาหลักเท่านั้นแหละครับ
โดย
@DNA@
ศุกร์ มี.ค. 07, 2008 10:21 am
0
0
สูตรมหัศจรรย์!! สไตล์ VI
[quote="สามัญชน"]อ้อ.....ปีแรก(เริ่มนับ1) ต้องคิดว่าได้มา 127100 แต่พี่เจ๋งให้แค่ 100000
โดย
@DNA@
จันทร์ ก.พ. 11, 2008 9:15 pm
0
0
สูตรมหัศจรรย์!! สไตล์ VI
คุณ jeng ลืมบวกผลตอนแทนตอนปลายปี ปีสุดท้ายกลับเข้าไปอะครับ มูลค่าในอนาคตที่ถูกต้องต้องเป็น 8084329.7+1560275.62 แต่คุณ jeng ใช้เฉพาะผลตอบแทนที่ได้ปีสุดท้ายคือ 1560275.62 มาเป็น future value ผลตอบแทนที่ได้สะสมเป็นเงินต้นในปีสุดท้ายไม่ได้นำมาคิดด้วยหายไปประมาณ 8 ล้านอะครับ :lol: :lol:
โดย
@DNA@
จันทร์ ก.พ. 11, 2008 9:12 pm
0
0
สูตรมหัศจรรย์!! สไตล์ VI
ผมลองเอารายชื่อที่คุณ mprandy ให้ จำแนกได้เป็น ที่เหมือนกันในรายชื่อ 50 ตัว ทั้ง roa และ roe มี BGT BLAND CIG CITY DEMCO DRT DSGT EGCO GC GL GOLD HANA IFEC JUTHA KDH LEE LPN LVT MCS PDI PICO PSL PTL PTTAR SAT SATTEL SIMAT SPALI TCB TEAM TPAC TR TTA TYONG ที่ต่างกันและใช้ ROA มี BAT-3K BJC BROOK DRACO EWC ILINK JCT PATO PG SPACK SMIT SPG STANLY TPC TWFP WG ที่ต่างกันและใช้ ROE มี BAFS BRC CCET GFM KCAR MBAX MDX MFEC NIPPON PL PPM RPC SCAN SCC SSSC TWP แต่ที่ผมไม่ชอบเลยเวลาดูทั้ง 2 กลุ่ม คือรายชื่อในลำดับแรกๆ เป็นหุ้นวัฏจักรทั้งนั้นเลยครับ คงเพราะเหตุนี้ pe ถึงได้ค่อนข้างต่ำ และอาจจะเป็นอีกเหตุผลก็ได้ครับที่ให้ถือไม่เกิน 1 ปี ผมจะรออีกซัก 1 สัปดาห์แล้วจะกลับมารวบรวมความคิดเห็นตัดตัวที่ถูกวิจารณ์ออกนะครับ
โดย
@DNA@
เสาร์ ก.พ. 09, 2008 11:25 pm
0
0
สูตรมหัศจรรย์!! สไตล์ VI
คิดดูอีกที่ตามที่ทุกท่าน comment สำหรับหุ้นไทยผมเพิ่มให้เป็น 50 หุ้นเลยละกันครับ เนื่องจากผมไม่รู้ story หุ้นทุกตัว ตัวไหนต้องตัดออกบ้างช่วยกันวิจารณ์แล้วค่อยสรุปเป็น list ภายหลังก็ได้ครับ 36) TEAM 37) PTTAR 38) STANLY 39) BAT-3K 40) TWFP 41) SPALI 42) LVT 43) ILINK 44) SAT 45) SMIT 46) DSGT 47) GOLD 48) TPAC 49) LPN 50) SPG
โดย
@DNA@
เสาร์ ก.พ. 09, 2008 10:36 pm
0
0
สูตรมหัศจรรย์!! สไตล์ VI
ขอโทษด้วยนะครับ รายชื่อที่ให้ไปมีข้อผิดพลาดที่แต่ละท่านต้องพิจารณาต่อนะครับ ที่แน่ๆ เช่น bjc ค่า pe ที่ใช้รู้สึกว่ายังไม่ได้คิดตามการแตกพาร์นะครับ
โดย
@DNA@
เสาร์ ก.พ. 09, 2008 10:28 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
เสาร์ ก.พ. 09, 2008 10:10 pm
0
1
The Snowball
คงไม่ช้าไปนะครับ สนับสนุน 1 เสียงครับ และผมซื้อแน่นอนครับ
โดย
@DNA@
ศุกร์ ก.พ. 08, 2008 6:06 pm
0
0
แจก EPS16YEAR (งบดุล ย้อน 19 ปี,ราคา,Ratio,แบบเครดิตภาษี)
ตกใจนิดหน่อยอัพเดตไม่ได้ ต้องพึ่งพี่แล้วครับ ขออัพเดตด้วยคนครับ
[email protected]
โดย
@DNA@
พุธ ม.ค. 09, 2008 7:36 pm
0
0
ผู้ถือหุ้นที่ดี
คิดถึงประโยชน์ระยะยาวของบริษัทที่ตัวเองถือหุ้นอยู่ครับ ไม่ใช่หวังผลแค่ไม่กี่เดือน หรือไม่กี่ปี แล้วคอยด่าผู้บริหารเวลาผู้บริหารเพิ่มทุน หรือดำเนินนโยบายที่จะเป็นผลเสียกับราคาในระยะสั้น พยายามเข้าใจผู้บริหารว่าทำไมทำอย่างนั้น ไม่ใช่พยายามแนะนำวิธีสุดแสนจะประหลาดเพียงเพื่อให้ราคาหุ้นไม่ร่วง
โดย
@DNA@
ศุกร์ ก.ย. 28, 2007 11:02 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
ศุกร์ ก.ย. 28, 2007 10:50 pm
0
0
อยากทราบว่าบริษัทไทยที่มี brand ระดับโลกมีบ้างไหมครับ
picni น่าจะเทียบกับ enron หรือ worldcom ได้นะครับ :lol: ถ้าเทียบคงไม่ใช่ความใหญ่ หรือผลิตภัณฑ์ คงเป็น... :lol:
โดย
@DNA@
พฤหัสฯ. ก.ย. 20, 2007 5:05 pm
0
0
อยากทราบว่าบริษัทไทยที่มี brand ระดับโลกมีบ้างไหมครับ
cpf pttep thai :lol:
โดย
@DNA@
พุธ ก.ย. 19, 2007 9:31 pm
0
0
งานสัมมนาดีๆ โดย ดร.นิเวศน์ และคุณเทพ รุ่งธนาภิรมย์
ของดีๆนานๆจะมาถึงที่และฟรีด้วยไม่ไปได้อย่างไรครับ ขอบคุณมากครับ คุณ@DNA@ ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว...ขอบคุณเจ้าของกระทู้ครับ งานนี้จะหอบหนังสือ..VI....ของ...ดร. ไปขอลายเซ็นต์ให้ครบทุกเล่มเลย ลงทะเบียนที่..... http://www.tsi-thailand.org http://register.set.or.th/psp/regprd/?cmd=login&languageCd=ENG ยินดีครับแล้วพบกันที่งานครับ
โดย
@DNA@
อาทิตย์ ส.ค. 26, 2007 10:03 pm
0
0
งานสัมมนาดีๆ โดย ดร.นิเวศน์ และคุณเทพ รุ่งธนาภิรมย์
ขอ confirm เพื่อความมั่นใจอีกทีนะคับ ม.นเรศวรใช่ไหมคับ!!!! ทำไมตอนผมอยู่พิด-โลกตั้งสามปี ไม่เห็นมีอะไรเจ๋งๆอย่างงี้ พอมา กทม.แผลบเดียว ก้อมีอย่างงี้เลย เศร้าคับ ใช่ครับจัดที่ ม.นเรศวร ครับ โดยลงทะเบียนและสมัครได้ที่ TSI ครับ เข้าใจว่ายังเพิ่งเปิดยังเหลือที่อีกเยอะ รู้สึกมีเลี้ยงข้าวและของว่างด้วยนะครับ หากท่านใดสนใจอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ที่พัก การเดินทาง รถไฟ รถทัวร์จากกรุงเทพฯ ก็มีจอดหน้ามหาวิทยาลัยนะครับ หรืออยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับงานสัมมนา ถามได้เลยนะครับ ผมพอสอบถามจากผู้จัดงานได้ครับ
โดย
@DNA@
ศุกร์ ส.ค. 24, 2007 5:45 pm
0
0
งานสัมมนาดีๆ โดย ดร.นิเวศน์ และคุณเทพ รุ่งธนาภิรมย์
http://i178.photobucket.com/albums/w277/phahuyut/POSTERcopy.jpg
โดย
@DNA@
พฤหัสฯ. ส.ค. 23, 2007 9:44 pm
0
0
company visit PS
ขอไปด้วยคนครับ ทันไหมครับ ผมมีหุ้นอยู่นิดหน่อยแต่สนใจมากๆ ครับ
โดย
@DNA@
จันทร์ ส.ค. 20, 2007 8:12 pm
0
0
ขอชื่นชม คุณพี่ chartchai madman
:bow:
โดย
@DNA@
เสาร์ ส.ค. 04, 2007 5:19 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
พฤหัสฯ. ก.ค. 26, 2007 5:56 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
จันทร์ ก.ค. 23, 2007 11:58 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
จันทร์ ก.ค. 23, 2007 11:56 pm
0
0
รับจอง The Intelligent Investor ฉบับแปลเพื่อบำรุงเวบ
เพื่อนๆ อ่านมีปัญหาแบบเดียวกับผมนะครับ เวลาไปเช็คที่ร้านแล้วจะหาไม่เจอ ผมพยายามสั่งจาก eshop ของ se-ed หลายครั้งครับกว่าจะเจอได้ เนื่องจากการบันทึกชื่อหนังสือของร้านเป็นภาษาไทย ทำให้เวลาเราจะสั่งผ่านร้าน online หรือถามหาตามร้านหนังสือแล้ว ให้พนักงานเช็คพนักงานจะเช็คไม่ค่อยเจอเนื่องจากมักจะพิมพ์ชื่อผิด หรือพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ หรือพยายามพิมพ์แปลให้เรา เช่น นักลงทุนผู้ชาญฉลาด บทสรุปคือกลายเป็นชื่ออื่นไป ชื่อภาษาไทยนะครับ "ดิ อินเทลลิเจนท์ อินเวสเตอร์ คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า"
โดย
@DNA@
เสาร์ ก.ค. 21, 2007 3:39 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
เสาร์ ก.ค. 14, 2007 1:02 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
ศุกร์ มิ.ย. 08, 2007 4:37 pm
0
0
มีใครอ่าน Money Game แล้วมั่ง
จริงๆ ดีมากเลยนะครับ ที่เขาเขียนผมมีคนเข้าใจคลาดเคลื่อนไปมาก ไม่ใช่ที่ความเห็นส่วนใหญ่เข้าใจนะครับ คนเขียนเข้าพยายามให้เห็นว่า พวก hedge fund ทำงานยังไง flow ของเงินทุนดูอะไรบ้าง ทำให้เห็นว่าภาวะตลาดกระทิงและตลาดหมีที่เกิดจาก money จากประเทศต่างๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่ใช่หวังเพียงแค่ผลตอบแทนจากตลาด หรืออัตราแลกเปลี่ยนอย่างเดียว และที่สำคัญก็คือ เขาสอนให้เราเปรียบเทียบตัวแปรทางเศรษฐกิจ ที่พวก hedge fund ดูครับ เช่น M2 GDP_Growth Market_cap ratioต่างๆ ดอกเบี้ยเชิงนโยบาย แถมยังมีงานวิจัยส่วนตัวที่หาความสัมพันธ์โดยวิธีทางสถิติ ให้เห็นตัวแปรอะไรมีผลสำคัญที่สุด ทำให้เข้าใจการไหลเข้าออกของทุนในขณะนี้ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสภาพคล่องของโลกที่เกิน เรานำผลดังกล่าวมาปรับใช้กับการคาดการณ์โดยเฉพาะหุ้น big_cap ได้ แถมไม่ใช่แค่คาดการณ์แต่มีตัวเลขชัดเจนไปเลย เพียงแต่ ตัวแปร และดัชนีหลายๆตัว (หาได้จากรายงานของแบงค์ชาติ IMF ADB Worldbank สภาพัฒน์) รวมถึงวิธีการที่พวก hedge fund ใช้ คนที่ไม่ได้มีพื้นฐานอาจจะลำบากครับ เพราะไม่ใช่เป็นหลักการกว้างๆ แต่เป็นหลักวิชาการ ถ้าใช้ประกอบกับแนวลงทุน VI เราจะเห็นโอกาสก่อนที่มันจะมาถึงจริงครับ
โดย
@DNA@
ศุกร์ มิ.ย. 08, 2007 1:26 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
ศุกร์ มิ.ย. 08, 2007 12:42 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
พุธ พ.ค. 23, 2007 10:25 am
0
0
แจก EPS16YEAR (งบดุล ย้อน 19 ปี,ราคา,Ratio,แบบเครดิตภาษี)
ขอพี่ช่วยส่งให้ด้วยนะครับ อยากได้มากๆ ครับ ที่
[email protected]
ครับ ขอบคุณมากๆครับ
โดย
@DNA@
พุธ พ.ค. 02, 2007 10:23 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
อังคาร พ.ค. 01, 2007 3:37 pm
0
0
อเมริกาอาจตัดgspที่ให้กับสินค้าอัญมณีของไทย
น่าจะมีผลกระทบนะครับ จากรายงานประจำปี 2549 pranda มีรายได้จาก USA อยู่ที่ 754 ล้านเหรียญ US จากรายได้ทั้งหมด 1718 ล้านเหรียญ US ประมาณ 40% ของรายได้ทั้งหมด แต่ที่น่าสนใจก็คือ pranda นอกจากจะมีโรงงานในไทยแล้ว ยังมีการตั้งโรงงานอยู่ในประเทศจีน เวียดนาม และร่วมทุนที่ อินโดนีเซีย ดังนั้นแม้จะถูกตัด GSP ก็สามารถส่งสินค้าเข้า อเมริกาโดยผ่านฐานการผลิตอื่นๆ ครับ ถ้าจะให้ชัดเจนคงต้องดูลักษณะของสินค้าที่ผลิตจากฐานการผลิตต่างๆ ว่าสินค้าที่ส่งเข้าอเมริกาผลิตจากประเทศใด ได้รับสิทธิ์หรือถูกตัดสิทธิ์ GSP หรือไม่ ในเบื้องต้นอาจจะมีปัญหาในเรื่องของการปรับเปลี่ยนโยกย้ายฐานการผลิตในสินค้าบางตัวทำให้ผลประกอบการตกลงได้ แต่ระยะยาวเมื่อการโยกย้ายสมบูรณ์น่าจะไม่มีผลกระทบเท่าไหร่ เหมือนกรณีของญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลี ที่เคยย้ายฐานการผลิตสิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อลดต้นทุนและสวมสิทธิ์ GSP ในประเทศต่างๆ
โดย
@DNA@
อังคาร พ.ค. 01, 2007 3:22 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
เสาร์ มี.ค. 17, 2007 12:22 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
ศุกร์ มี.ค. 16, 2007 6:53 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
ศุกร์ มี.ค. 16, 2007 5:43 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
พุธ มี.ค. 07, 2007 3:47 pm
0
0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
http://i178.photobucket.com/albums/w277/phahuyut/BigMac.gif ทำได้แล้วครับ ดูเล่นๆ สนุกๆ นะครับ อย่าจริงจังมาก เพราะ ppp มีการตั้งข้อสมมติอยู่มากเหมือนกัน ที่สำคัญใช้แค่ราคา big mac ไม่ได้ใช้สินค้าทุกตัวครับ สำหรับคุณ chatchai อย่างที่ได้ผมได้เขียนไว้ก่อนครับ การดำเนินนโยบายการคลังของภาครัฐมีข้อจำกัดเรื่องความล่าช้า และข้อจำกัดเรื่องของการก่อหนี้ การขาดดุลงบประมาณ และการแย่งเงินลงทุนจากภาคเอกชน การใช้จ่ายของรัฐบาลเก่าไม่เหมือนที่ ดร.ศุภวุฒิ ได้พูดถึงแน่ครับ เพราะการใช้จ่ายในหลายเรื่องเป็นแค่เรื่องคะแนนเสียง ไม่ได้ส่งเสริมความสามารถที่แท้จริง ที่สำคัญเพราะการใช้จ่ายแบบรัฐบาลเก่านี่สิครับ หนี้ภาครัฐที่ใช้วิธีฝากคนอื่นก่อ แล้วรัฐเข้าไปเป็นคนจ่ายคนค้ำประกัน คิดแล้วเป็นแสนล้านเนี่ย ผมว่าเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่หม่อมอุ๋ยแกต้องคิดให้หนัก ในเรื่องของการใช้การลงทุนของภาครัฐเป็นตัวนำ
โดย
@DNA@
พุธ ก.พ. 14, 2007 6:22 pm
0
0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ใครรู้วิธี post รูปได้บ้างครับ จะได้ post big mac Index ให้ดู เอาไว้ดูเล่นสนุกๆ ครับ คือความสามารถในการใช้ webboard ผมไม่ค่อยดีครับ [/img]
โดย
@DNA@
พุธ ก.พ. 14, 2007 2:21 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
@DNA@
พุธ ก.พ. 14, 2007 1:56 pm
0
0
ทำไมเงินบาทจึงจะแข็งค่าต่อไป ... ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ถ้าได้อ่านบทความเก่าๆ ของ ดร.ศุภวุฒิ จะเข้าใจมากขึ้นครับ การบอกว่าการนำเข้าเครื่องจักรและ Infrastruture เป็นทางออก แต่ปัญหาก็คือในช่วงที่ผ่านมา มีสถานการการเมืองที่ไม่แน่นอน โดยธรรมชาติผู้ประกอบการไม่มีใครนำเข้าเครื่องจักรเพื่อขยายโรงงานหรอกครับ จึงเป็นที่มาของปัญหาว่าทำไมเราเกินดุลจนค่าเงินบาทแข็งขนาดนี้ ถ้าดูดัชนี big mac ที่เขาคิดกันเล่น อาศัย ppp จะยิ่งตกใจครับ ว่าค่าเงินของเราอยู่ที่ 18-19 บาทต่อดอลล่าด้วยซ้ำไปครับ ไม่แปลกใจว่าทำไมฝรั่งถึงมั่นใจว่าค่าเงินขึ้นแน่
โดย
@DNA@
พุธ ก.พ. 14, 2007 10:49 am
0
0
67 โพสต์
of 2
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
@DNA@
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ที่อยู่:
พิษณุโลก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อังคาร ม.ค. 09, 2007 10:44 pm
ใช้งานล่าสุด:
พฤหัสฯ. พ.ค. 02, 2013 12:01 pm
โพสต์ทั้งหมด:
101 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.02 ข้อความต่อวัน)
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว