หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
ผักกาด
Joined: พุธ เม.ย. 23, 2014 10:13 am
214
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - ผักกาด
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: รับจองมีตติ้งวีไอภาคใต้ ไตรมาส 1/2564
จอง 1 ที่ค่ะ
โดย
ผักกาด
จันทร์ พ.ค. 03, 2021 8:52 pm
0
0
Re: **เปิดรับสมัคร** Thai VI Global Forum เปิดประตูสู่หุ้นต่างประเทศ
สมัครร่วมงาน
โดย
ผักกาด
ศุกร์ ต.ค. 09, 2020 7:43 pm
0
0
Re: รับจองมีตติ้งวีไอภาคใต้ ไตรมาส 2/2563
จอง 1 ค่ะ สมาชิก
โดย
ผักกาด
เสาร์ ก.ค. 18, 2020 8:01 pm
0
0
Re: **เปิดรับสมัคร VI 101 ** - วันนี้ 10.00 น.
ลงทะเบียน
โดย
ผักกาด
ศุกร์ ก.ค. 10, 2020 10:00 am
0
0
Re: ==ลองอ่าน Alchemy of Finance ของ จอร์จ โซรอส ค่ะ ==
== Crash 1929 vs 1987 ในทัศนะของโซรอส == chart.jpg นอกจากนี้ในหนังสือยังมีเรื่องที่น่าสนใจคือเค้าได้มีการแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์วิกฤติตลาดหุ้นปี 1929 และ ปี 1987 ไว้ด้วยค่ะ (เราจะไม่พูดถึงผลการทดลองในตลาดหุ้นของเค้า ที่อยู่ส่วนกลางในหนังสือ เพราะกลัวว่าเราจะเข้าใจมั่วๆ ) ที่จริงแล้วตั้งใจจะรวมเอามุมมองของเค้าต่อวิกฤติ 2008 เข้ามาในโพสนี้ด้วย แต่รู้สึกจะยาวไป ขอตัดออกไปก่อน วิกฤติ 1929 ที่เป็น Great depression เราจะเรียก crash 1929, ส่วน วิกฤติ 1987 เราขอเรียก Black Monday สลับไปกับ crash 1987 ค่ะ *** โซรอสบอกว่าใน crash 1929 นั้น ตลาด NYSE ร่วงลงไป -36% ซึ่งเป็นตัวเลขเปอร์เซ็นต์ใกล้เคียงกับ crash 1987 จากนั้นตลาดฟื้นตัวกลับขึ้นมาครึ่งนึงของที่มันร่วงลงไป...จากนั้นร่วงต่อไปอีก 80% จนกลายเป็นภาวะหมีระยะยาวช่วง 1930-1932 (หนังสือเบนจามิน เกรแฮมก้อจะมาช่วงๆนี้) โซรอสมองว่าประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำรอยเดิม เพราะเหตุการณ์มันเป็นที่ขื่นขมมาก จนทุกคนจดจำมันได้ดี และการ take action ของรัฐบาลเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ crash เป็นสิ่งยืนยันการต่อสู้กับเหตุการณ์วิกฤตินี้ หลังจาก crash 1929 ผู้กำกับนโยบายการเงินได้ทำความผิดพลาดครั้งใหญ่ ที่ไม่ได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าในระบบอย่างเพียงพอ แต่ถ้าจะพูดถึงวิกฤติในปัจจุบัน หรือวิกฤติอื่นๆในอนาคต ผู้กำกับนโยบายจะดำเนินมาตรการที่ผิดพลาดแบบอื่น ไม่ซ้ำรอยเดิม (แปลไทยเป็นไทย คือ พอเกิดวิกฤตินึง ออกมาตรการนึงออกมา แล้วพบทีหลังว่ามันไม่ได้ผล พอมีวิกฤติครั้งหน้า จะดำเนินมาตรการใหม่ เพราะเรียนรู้จากวิกฤติครั้งก่อนว่าที่เคยทำมันไม่ได้ผล....กลายเป็นความผิดพลาดใหม่ๆ) แต่โดยพื้นฐานของการดำเนินมาตรการในเริ่มแรก (initial reaction) ของผู้กำกับนโยบาย โซรอสมองว่ามันเป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะพวกเค้าจะเลือกมาตราการที่ทำลายเสถียรภาพของค่าเงินดอลล่าร์ และพยายามหลีกเลี่ยงการเกิด recession .... อย่างน้อยก้อในปีที่มีการเลือกตั้ง (คุ้นๆมั้ยคะ อย่าลืมว่าเล่มนี้เขียนมา 30 ปีแล้วนะคะ ปล. ในวันที่เราเขียนนี้ ที่อเมริกาจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือน พฤศจิกายน ถ้าไม่มีการเลื่อนค่ะ) ** ในทางเทคนิคแล้ว crash 1987 มีความคล้ายคลึงกับ crash 1929 ** ไม่ว่าจะเป็นด้านรูปทรงและขอบเขตของภาวะหมี (shape and extent) คล้ายคลึงแม้กระทั่งการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นรายวัน เค้าบอกว่ามันมีึความใกล้เคียงกันมาก #ย่อหน้าต่อไปนี้เราว่าคม ส่วนความแตกต่างหลักๆคือใน crash 1929 หลังจากวันที่เกิดการเทขายที่เป็น climax วันแรก ก้อมีการเทขายระลอก 2 ตามมาในเพียงเวลาไม่กี่วัน ทำให้ตลาดเกิด lower low ในขณะที่ crash 1987 ไม่เกิดการเทขายระลอก 2 (ตลาดจะไม่เกิด lower low) โซรอสมองว่าถ้าในอนาคตเกิดวิกฤติขึ้นอีก ตลาดก้อจะไม่เกิด new low และแพทเทรินของการเทขายในช่วงเวลาวิกฤติจะมีึความแตกต่างออกไป (จริงหรือเปล่า ลองตามไปดูที่ crash 2008 หน่อยสิ) เค้าบอกว่ามันมี divergence bear เพราะผู้กำกับนโยบายพยายามจะทำทุกอย่างที่จะไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำเดิม แบบในปี 1929 ** การเกิด crash 1987 นั้นเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน ซึ่งก้อเหมือนๆกับ crash 1929 ถึงแม้ว่าผู้คนจะตระหนักถึงความไม่มั่นคงและความไม่มีเสถียรภาพของสภาวะ bull ที่แพร่กระจายไปทั่วโลกในขณะนั้น ตอนนั้นโซรอสคาดว่าต้องเกิด crash ในญี่ปุ่นก่อนแน่ๆ แต่มันกลับกลายเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่ แสนแพงของเค้า (อ่านในหนังสือ ข้าคือเงินตรา ได้ค่ะ ว่าโซรอสขาดทุนหนักมากจาก Black Monday ประมาณ 200 ล้านเหรียญในวันเดียว แต่ส่วนตัวไม่อินกับเล่มนี้ เพราะเจ้าตัวไม่ได้เขียนเอง เป็นนัก นสพ ที่พยายามไปสัมภาษณ์โซรอส แต่ไม่ได้สัมภาษณ์ เลยไปสัมภาษณ์คนรอบข้างเอง แล้วเอามาเขียนหนังสือโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่สำคัญเหตุผลที่ นัก นสพ เขียนถึงวิกฤตินี้ ก้อไม่้เหมือนกับที่โซรอสเขียนใน Alchemy) ** โซรอสบอกว่า ถ้ามองย้อนกลับไปเพื่อลำดับเหตุการณ์ crash 1987 น่ะมันง่าย ตอนนั้นเกิดภาวะกระทิงเพราะสถาพคล่องมันมีมากมาย แต่จู่ๆเกิดการหดตัวของสถาพคล่อง ที่เป็นต้นตอของวิกฤติ .. ซึ่งเหมือนกับ crash 1929 ที่ก่อนหน้าจะเกิดวิกฤติ ก้อมีภาวะ bull มาก่อน (อ่านหนังสือ The great bull market in 1920s ของ Robert Robel ที่พี่ชาย มโนภาส เคยแนะนำไว้ด้วยได้ค่ะ) ตอนนั้นเป็นช่วงหลังสงคราม และเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากอังกฤษมาเป็นอเมริกา เพราะอังกฤษเองก้อบอบช้ำจากสงครามมาก และตอนนั้นเงินดอลล่าร์เข้ามามีบทบาทมากในตระกร้าเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ แทนเงินปอนด์ของอังกฤษ แต่ถ้าถามว่าสาเหตุที่ทำให้สภาพคล่องในปี 1987 หายไปคืออะไร โซรอสบอกไม่รู้เหมือนกัน มันยาก ถ้าจะเอาจริงๆ ต้องลงทุนทำวิจัย แต่คำตอบนึงที่โซรอสมั่นใจมากๆ คือ ความพยายามที่จะปกป้องค่าเงินดอลล่าร์เข้ามามีบทบาทพอสมควร (มาตรการโดยละเอียดเขียนอยู่ในหนังสือค่ะ ... มีรีเควสมาให้อธิบาย เลยเพิ่มเติมไว้ในย่อหน้าถัดไปค่ะ) ซึ่งการเข้ามาแทรกแซงของธนาคารกลางนี้ โซรอสเองก้อไม่แน่ใจว่า จะมาช่วยสร้างเสถียรภาพ หรือทำให้เกิดความไร้เสถียรภาพกันแน่ อธิบายเพิ่มเติมเรื่องมาตรการในการพยายามรักษาเสถียรภาพของค่าเงินดอลล่าร์: โซรอสเล่าว่าช่วง 2-3 เดือนหลังจาก ที่มีการทำข้อตกลง Louvre Accord (ข้อตกลงว่าด้วยการพยายามรักษาเสถียรภาพของ international currency market) ซึ่งไปเซ็นต์กันที่กรุงปารีส ก้อเริ่มมีการพยายามรักษาค่าเงินดอลลาร์ด้วยการเข้าแทรกแซง ด้วยการรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มเข้าไปดูดเงินดอลลาร์ออกจากระบบ เเต่พวกเค้าพบว่า พวกเค้าต้องดูดเงินออกจากระบบมากกว่าที่คิด พวกเค้าจึงเปลี่ยนแผน ด้วยการยอมปล่อยให้ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจนภาคเอกชนเต็มใจที่จะถือเงินดอลล่าร์เอาไว้ เรียกว่าเป็นการ "แปรรูป" การแทรกแซง ซึ่งโซรอสบอกว่า ...ไม่รู้ว่าการแทรกแซงครั้งนี้ จะเป็นการช่วยรักษาเสถียรภาพ หรือทำให้เกิดความไม่เสถียรกันแน่ เพราะมันทำให้สภาพคล่องหายไปจากระบบ มันเป็นการผ่องถ่ายเงินจำนวนมหาศาลกลับเข้าสู่หีบเก็บเงินของธนาคารกลาง และพวกเค้าอาจจะไม่สามารถที่จะฉีดเม็ดเงินจำนวนเท่าเดิมกลับเข้าสู่ระบบได้ทัน จึงทำให้นโยบายนี้มีการ lag ของผลลัพธ์ที่ต้องการ หรืออาจจะเป็นไปได้ว่า ทั้งผู้กำกับนโยบายการเงินของญี่ปุ่นเเละเยอรมันต่างกังวลเรื่องเงินเฟ้อ ที่อาจจะเกิดตามมาหลังจากการแทรกแซง (จึงไม่อยากจะทำอย่างที่อเมริกาต้องการ) และเป็นเพราะความพยายามเหล่านี้ไปสร้างความปั่นป่วนในปริมาณเงิน (Money supply) ในระบบ จนส่งผลกระทบให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นทั่วโลก โซรอสบอกว่า สาเหตุหลังนี้มีความเป็นไปได้มากกว่า ** ใน crash 1987 โซรอสมองว่าการพังทลายของตลาด bond ญี่ปุ่น เป็นลำดับเเรกๆของเหตุการณ์วิกฤติ มีการเก็งกำไรมหาศาลด้วย L position ของ bond futures รอบเดือนกันยา ที่มันไม่สามารถถูก liquidated ได้ พวกที่ hedge ไว้ เลยยอมหมอบ เเละปล่อยให้ bond futures รอบเดือนธันวา collapse โซรอสมองว่าการ collapse ในตลาด bond ญี่ปุ่นจะลามเข้าไปในตลาดหุ้น ที่มันเกินมูลค่าอยู่แล้วอย่างมาก ยิ่งกว่าตลาดพันธบัตรเสียอีก แต่โซรอสคิดผิด เพราะมีปริมาณเม็ดเงินเก็งกำไร ไหลกลับเข้าไปในตลาดหุ้น เพื่อพยายามชดเชยความเสียหายที่ได้รับมาจากตลาด bond เป็นผลให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นวิ่งทะยานขึ้นไปน้องๆนิวไฮ (สมัยนั้นญี่ปุ่นเอง เป็นมหาอำนาจในการผลิตด้วย สามารถส่งออกไปอเมริกาได้มากมาย ซึ่งในขณะนั้นอเมริกาเองมีความต้องการบริโภคสูงกว่าความสามารถในการผลิตได้เอง) ส่วนผลกระทบต่อโลกในส่วนที่เหลือนั้นสาหัสกว่านั้น *** สรุปภาษาไทยเป็นภาษาไทยคือ -โซรอสมองว่า ถ้าเกิดวิกฤติครั้งถัดๆไปในอนาคต โอกาสที่เกิดการเทขาย ระลอก 2, ระลอก 3 เป็นไปได้ยาก เพราะผู้กำกับนโยบายจะเข้ามาแทรกแซงด้วยการทำอะไรสักอย่าง ทำให้ตลาดไม่เกิด lower low ค่ะ -ถ้าผู้กำกับนโยบายต้องเลือกมาตรการในการแทรกแซง เค้าจะเลือกใช้มาตรการที่ปกป้องการเกิด recession มากกว่าเลือกใช้มาตรการปกป้องค่าเงินดอลลาร์ค่ะ หวังว่าจะช่วยเพื่อนๆให้อ่านหนังสือของโซรอสได้เข้าใจมากขึ้นค่ะ ขอบคุณเพื่อนๆที่เข้ามาอ่านค่ะ :D :oops:
โดย
ผักกาด
อาทิตย์ มิ.ย. 28, 2020 2:52 pm
0
24
Re: มีตติ้งวีไอภาคใต้ ไตรมาส 1/2563
จองค่ะ
โดย
ผักกาด
พุธ พ.ค. 06, 2020 8:01 pm
0
0
Re: ** วันนี้ **เปิดรับงานสังสรรค์ VI ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1
ขอจองเพิ่มอีกที่นึงค่ะ Yadakul/บุคคลทั่วไป / 1ที่/ 1,600/SCB / 05-02-2563 /12:22 Yadakul.jpg
โดย
ผักกาด
พุธ ก.พ. 05, 2020 12:28 pm
0
0
Re: ** วันนี้ **เปิดรับงานสังสรรค์ VI ประจำปี 2563 ครั้งที่ 1
ผักกาด/สมาชิก/1ที่/1,440.08/SCB/ 05-02-2563 /11:50 SCB.jpg
โดย
ผักกาด
พุธ ก.พ. 05, 2020 11:55 am
0
0
Re: **จองได้เลยจ้า** Money Talk@SET เดือน ก.พ. 63
1 ค่ะ
โดย
ผักกาด
อังคาร ก.พ. 04, 2020 9:54 am
0
0
Re: **จองได้เลยค่ะ** CV@DOHOME บมจ. ดูโฮม - (วิสิท 5 ก.พ.63)
1 ค่ะ
โดย
ผักกาด
พุธ ม.ค. 29, 2020 11:17 am
0
0
Re: **วันนี้เปิดรับจอง** Money Talk@SET เดือน ม.ค. 63
1 ที่ค่ะ
โดย
ผักกาด
พุธ ม.ค. 08, 2020 6:51 pm
0
0
Re: **เปิดรับจอง Money Talk@SET เดือน ต.ค. 62**
จองด้วยค่ะ
โดย
ผักกาด
เสาร์ ต.ค. 12, 2019 9:27 am
0
0
Re: ++เปิดจอง CV@COM7 บมจ.คอมเซเว่น - (วิสิท 16 ต.ค.62)++
1 ที่ค่ะ
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. ต.ค. 03, 2019 9:21 pm
0
0
Re: **วันนี้เปิดรับจอง CV@TQM บมจ.ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น - (วิสิท 3 ต.ค.62)**
1 ที่ค่ะ
โดย
ผักกาด
พุธ ก.ย. 25, 2019 2:22 pm
0
0
Re: *ลงทะเบียนได้เลยค่ะ*CV@PORT ไปวิสิทวันพุธที่ 11 ก.ย.62
จอง1 ที่ค่ะ นักลงทุน/ไม่เคยไปค่ะ
โดย
ผักกาด
อังคาร ส.ค. 27, 2019 9:46 am
0
0
Re: **เปิดรับ** CV@TPCH ไปวิสิทวันที่ 27 ส.ค. 62
จอง 1 ที่ ไปรถตู้ค่ะ
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. ส.ค. 15, 2019 10:13 am
0
0
Re: **เปิดรับจอง Money Talk@SET เดือน ส.ค. 62**
จองค่ะ
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. ส.ค. 15, 2019 9:10 am
0
0
Re: *The Great Hack*สารคดี Netflix เกี่ยวกับ Cambridge Analy
ทำนองนั้นค่ะพี่ อันนี้มาจาก presentation ตอนที่ Cambridge Analytica ใช้ขายงานค่ะ เคลมประสบการณ์ขายงานมาเเล้วหลายประเทศ IMG_20190802_184613.jpg คนที่เป็น whistle blower (ซึ่งก้อเป็นคนที่มีส่วนร่วมในการไปดีล เวลาขายงานพวกนี้) ให้การว่ามันเป็น weapon-grade communications tactics ตอนที่โดนสอบสวนเรื่องแคมเปญ leave.eu ในอังกฤษ IMG_20190802_184250.jpg Paul Schulte เรียกมันว่า military-grade pshychological program (วิวัฒนาการของหลายๆสิ่งหลายๆอย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มันเริ่มมาจากกองทัพ เช่น วิธีการสุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบคุณภาพการผลิต ก้ออ้างอิงมาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างเมื่อก่อน ที่กองทัพต้องทดสอบกระสุนที่ผลิต หรือพวกอีเมล์ เริ่มต้นเป็นการใช้สื่อสารในกองทัพมาก่อน) ทำนองว่า Cambridge Analytica เคยทำเกี่ยวกับกองทัพและการทหารมาก่อน เป็นเรื่องของการใช้ data มาทำ marketing, advertizing ในการโน้มน้าวจิตใจคน (emotional manipulation) และตอนนี้มันเปลี่ยน field มาใช้ในการเลือกตั้ง การเมือง หรือแคมเปญต่างๆ ก็อว่าไปตามที่หนังบอกค่ะ
โดย
ผักกาด
เสาร์ ส.ค. 03, 2019 11:35 am
0
1
Re: *The Great Hack*สารคดี Netflix เกี่ยวกับ Cambridge Analy
ที่ไม่ได้ใส่สรุปเนื้อหาคร่าวๆ เพราะเดี๋ยวหาว่า spoil ค่ะ สั้นคือมีคนในเป็น whistle blower (ภาษาไทยคือประมาณคนในออกมาแฉ) ว่ามันมีการใช้สื่อ, AI และ big data ไปทำให้พวกกลุ่มคนที่เป็น persuable (แบบที่เปลี่ยนใจเพื่อนๆคนอื่นต่อได้) เปลี่ยนไปโหวตให้ โดยเป็นทั้งเบื้องหลังแคมเปญเลือกตั้งของทรัมป์ ของ Brexit เลือกตั้งมาเลย์เซีย และประเทศอื่นๆในทวีฟแอฟริกา รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ทำนองนี้
โดย
ผักกาด
ศุกร์ ส.ค. 02, 2019 10:30 am
0
6
Re: รับจองมีตติ้งภาคใต้ ไตรมาส 2/2562
จองค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. ก.ค. 25, 2019 8:02 pm
0
0
Re: VIETNAM in Snapshot by Dr Visit Trinity
ขอบพระคุณมากค่ะ ขยันจริงๆพี่ ชอบฟังดร. วิศิษฐ์เรื่องภาพ macro ค่ะ
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. ก.ค. 25, 2019 6:13 pm
0
1
Re: Best Buy ร้านค้าปลีกไร้พ่าย ที่แม้แต่ Amazon ก็ฆ่าไม่ได้
ขอบคุณค่ะ พอดีได้ไปเรียนคลาส Rinen กับ อจ. เกด กฤตินี Muramaru มาด้วยค่ะ เเล้วเคสนี้เป็น 1 ในบรรดากรณีศึกษาที่ อจ. เกด ยกขึ้นมาสอนด้วยค่ะ ขออนุญาต อจ. เกด ไว้ ณ. ที่นี้เลยนะคะ Best Buy บริษัทขายเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อทำ e commerce ไม่เก่งเท่า Amazon ในขณะเดียวกันสาขาแบบ brick&motar ก็ไม่เยอะเท่า WalMart …Best Buy เค้าปรับกลยุทธ์อย่างไรให้ฟื้นกลับมา Best buy1.png Best buy2.png
โดย
ผักกาด
จันทร์ ก.ค. 22, 2019 7:02 am
0
3
Re: VI หาดใหญ่
สอนลูกแบบไหนในยุคดิจิตัล ==Futuration by ดร.สันติธาร เสถียรไทย== 2.png บางคนเรียกเค้าว่าอัจฉริยะ บินมาจากสิงคโปร์เพื่องานนี้ (จริงๆเราว่าพิธีกรก้อพูดเว่อร์ไป เค้ามาพูดงาน Tech Sauce พรุ่งนี้ 19-June-19 ด้วยนะ) ..มุมมองงี้คมมาก ทั้งๆที่ใช้ภาษาธรรมดาๆค่ะ จากที่เค้าแนะนำตัว ดร. สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ (ดาวรุ่งของเอเชีย) เคยทำงานที่ธนาคาร Credit Suisse 8 ปีในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดทีมวิเคราะห์ ปัจจุบันเป็นผู้บริหารของบริษัท SEA Group ที่เป็นแม่ของ Garena, Shopee และ AirPlay ตอนย้ายมาทำที่ SEA Group ตำแหน่งที่เค้าเป็นนี่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ Founder คุยด้วยแล้วชอบ อยากให้มาทำด้วย แต่ไม่รู้จะลงในตำแหน่งไหน บอกให้ไปคิดมาว่าตัวเองจะเข้ามาทำตำแหน่งอะไรในบริษัท.... สร้างตำแหน่งด้วยตัวเอง (ย้ายจากการเงิน มาทำ Tech) จบตรีเศรษฐศาสตร์จาก LSE, โทเอก ฮาร์วาร์ด ได้รางวัลวิทยานิพนธ์ยอดเยี่ยม หนังสือที่เขียนจะเขียนแนวพ่อคุยกับลูกเพราะต้องการสื่อถึงลูกที่กำลังจะโตขึ้นไปเจออะไร ในอนาคต -เดิมโลกเป็นยุคการค้า ทำอุตสาหกรรมผลิตมาเพื่อขาย>> ต่อมาเป็นยุคการเงิน (มักเกิดวิกฤตการเงินบ่อยๆ เช่น เตกิล่า, ต้มยำกุ้ง, แฮมเบอร์เกอร์...ชื่ออาหารทั้งนั้น) >> เข้าสู่ยุคปัจจุบันคือยุคที่โลกเชื่อมกันด้วย Data ..อยากรู้ว่าโลกเป็นยุคอะไร ให้ดูหน้าตาของบริษัทที่เป็น Topๆ หรือดูว่านักเรียนอยากไปเรียนต่อที่ไหน เมื่อก่อนอยากเรียน MBA เดี๋ยวนี้อยากเรียน Data science, อยากไปทำบริษัท Tech -เดิมบริษัทTech อยู่อเมริกา ตอนนี้ย้ายขั้วมาเป็นจีน มหาอำนาจที่เเข่งขันกันอยู่ทำให้ประเทศเล็กๆมีอำนาจต่อรองมากขึ้น อย่างเช่นอินโดนีเซียต่อรองรถไฟความเร็วสูงกับจีน -การค้าออนไลน์ของเอเชียคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2-3% เท่านั้น ในขณะที่อเมริกาเป็น 1x% จีนเป็น 2x%... แปลว่าไทยตามหลังจีนอยู่ 8 ปี -จากรายงาน Internet report 2019 ของ Mary Meeker ราชินีแห่งเทค เค้าจะอัพเดททุกปี ถึงรายงานมันจะดูน่าเบื่อแต่คนทั่วไปจะใช้อันนี้เป็น guideline แนวโน้มอุตสาหกรรมตลอด...ปี 2019 มีความพิเศษคือเป็นครั้งแรกที่ คนใช้อินเตอร์เนทมีจำนวนมากกว่าคนไม่ใช้เนท แปลว่าเรื่องง่ายๆที่เกี่ยวกับเนทเราทำไปหมดแล้ว -บริษัทที่เป็น platform ยิ่งทำ ยิ่งคนใช้เยอะ ยิ่งมีมูลค่าเยอะเพราะมีnetwork effect พวกstart up เริ่มไม่แข่งกันเองเเล้ว หันมาจับมือกันรวมทั้งไป จับมือกับบริษัทใหญ่ๆด้วย เช่นกับ Bank การปล่อยกู้เริ่มเปลี่ยนจาก collateral-based loan >> information-based loan คือไม่ต้องมีหลักประกัน แต่ใช้ข้อมูลพฤติกรรมเราแทน อย่าง Ant financial ของ Alibaba -บริษัทที่จะถูก disrupted ไปก่อนคือพวกที่ไม่ตื่นตัว ไม่ยอม disrupted ตัวเอง ยกตัวอย่าง Gerena เมื่อก่อนไปซื้อเกมมาปรับแต่ง ตอนนี้ยอมเปิด กว้างให้พนักงานพัฒนาเกมเอง จน free fly ติดอันดับ Top 5 และเป็นเกมที่ถูกdownload แล้ว 450 ล้านครั้ง มีคนเล่นวันละ 50 ล้านคน แล้วไปฮิตแถบลาตินอเมริกา .. SEA Group listed ใน NYSE มีมูลค่าเทียบเท่ายูนิคอร์นแล้ว -Shopee เข้ามาทีหลัง Lazada แต่ด้วยคอนเซป we run กล้าเปิดตัวเวบไซต์พร้อมกัน 7 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่แต่ละประเทศมีภาษาและฟังก์ชั่นของตัวเอง ซึ่งตอนนั้นถือว่าเสี่ยงมาก แต่ตอนนี้ประสบความสำเร็จแล้ว -ชอบที่ Kai Fu Lee พูดว่า AI ไม่ได้จะมาแทนที่คน แต่มันเป็นสิ่งที่บอกว่า..อะไรที่ทำให้เราเป็นคน (แตกต่างจากหุ่นยนต์) เค้าคิดได้ตอนป่วยเป็นมะเร็งใกล้จะตาย มาคิดว่าอะไรคือความเป็นคน.. 1)คนมี creativity ความคิดสร้างสรรค์ 2)คนมี compassion คือความเมตตา ความเห็นอกเห็นใจ ดึงทักษะความเป็นคนออกมาใช้เพื่อเอาชนะ AI -ระบบการศึกษาปัจจุบันมันเตรียมคนเพื่ออุตสาหกรรมยุคเก่า เรียนเพื่อลดความผิดพลาด (ของกระบวนการผลิต) แต่ปัจจุบันเรียนเพื่อ learn how to learn..เพื่อเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะ 60% ของอาชีพในอนาคตจะไม่ใช่อาชีพที่มีในทุกวันนี้(ซึ่งก้อยังไม่รู้ว่ามันจะเป็นอาชีพอะไรบ้าง) ดังนั้นวันนี้ต้องเรียนเพื่อที่รู้ว่าล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้ ที่ Sweden เปิด Museum of Failed Innovation เช่นซอส Heize เคยทำสีเขียว Colgate เคยออกลาซานญ่าแช่เเข็งเพื่อที่จะบอกว่าแปรงฟันด้วย Colgate แล้วกินลาซานญ่าอร่อยขึ้น...Sweden ต้องการจะบอกคนในประเทศว่ามันเป็น Museum ที่รวบรวมความคิดสร้างสรรค์ ต้อง failed กันมาก่อนทั้งนั้น ค่านิยมทั้งไทยและสิงคโปร์ในปัจจุบันไม่นิยมความล้มเหลว..ห้ามล้มเหลว ซึ่งมันปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์มันต้องล้มเหลวมาก่อน -มีบทความหรือหนังสืออะไรสักอย่างบอกว่า มหาวิทยาลัยจะเดินตามโลกดนตรี..โลกดนตรีมันถูก disrupted ไปก่อนเพื่อน ไม่มีเทป ไม่มี CD แล้ว อยากฟังเพลงไหนก้อจ่ายแค่เพลงนั้น มหาวิทยาลัยก้อเช่นกัน จะจบปริญญาไม่ต้องเรียนตามหลักสูตรแบบเดิมๆเเล้ว อยากลงคอร์สไหนก้อลงเลย อยากเรียนกฎหมาย การเงิน data science ก้อลงไปตามรายวิชา ..เป็นไปได้ว่าการสมัครงานในอนาคตไม่ต้องใช้ใบปริญญา -ต่อไปบริษัทจะมองหาคนที่มี mindset แบบ C O R E C-Coordination ทำงานกับทีมได้ O-Open mindset เปิดกว้าง อีโก้ต่ำๆหน่อย RE- Resilient ยืดหยุ่น ทนทาน เหมือนหนังสือชื่อ GRIT คืออึด อดทน วิริยะอุตสาหะ พลาดแล้วต้องทนได้ -Mindset ของการเรียนรู้ตลอดชีวิตคือ 1)ลด Ego ของตัวเองลงบ้าง, humble ถ่อมตัว ฟังความเห็นคนอื่นบ้าง 2)Curiosity สงสัย ตั้งคำถาม 3)Courage กล้าที่จะออกนอกกรอบที่เราไม่คุ้นเคย เปิดรับความคิดของคนรุ่นเก่าบ้าง..เพราะเค้าก้อมี Data ..แต่มันอยู่ในรูปของ 'ประสบการณ์' -ชอบอ่านหนังสือของ Yuval Harari...เค้าเหมือนมนุษย์ต่างดาว มองเข้ามาในหมู่มนุษย์ จบค่า^^
โดย
ผักกาด
พุธ มิ.ย. 19, 2019 8:26 am
0
12
Re: **เปิดรับจอง** งาน Money Talk@SET เดือน มิ.ย.62
จองค่ะ
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. พ.ค. 30, 2019 2:27 pm
0
0
Re: VI หาดใหญ่
ในหนังสือเค้าจะพูดถึงเคสการโกงของ Enron พอสมควร แต่หนังสือไม่ได้อธิบาย เคส Enron อย่างละเอียด แต่เราเคยโน้ตไว้แล้วจากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ) วาร์ปไปเคส Enron แบบคร่าวๆ เคสกลบัญชี- จากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ) พยายามเอาแบบสั้นๆ ได้ใจความก้อแล้วกันค่ะ ROYNET ROYNET เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในปี 2546 ถูกกล่าวหาด้วยความผิด 3 ประการคือ 1) จัดทำข้อมูลทางการเงินที่เป็นเท็จ 2) ใช้ข้อมูลภายใน ในการซื้อขายหุ้น 3) ไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นทุก 5% มาดูเฉพาะความผิดแรก ที่จำทำข้อมูลทางบัญชีเป็นเท็จ ROYNET บันทึกรายได้จากการขายบัตร internet ในงบกำไรขาดทุน ไตรมาส 1 ถึง 3 ในปี 2546 รวมทั้งสิ้น 71 ล้านบาท รายงานยอดลูกหนี้ 66 ล้านบาท เมื่อ auditor ไล่ตรวจกลับไปถึงการชำระเงินของลูกหนี้ใน ไตรมาส 3 พบว่าบริษัทได้รับชำระเงินเพียง 8 ล้านบาท .... แสดงว่าบริษัท “บันทึกรายได้เร็วเกินไป” เพราะบัตร internet ที่บันทึกเป็นรายได้นั้น ยังไม่ได้ถูกขายออกไป ... แค่นำไปฝากขายเท่านั้น เมื่อบริษัทต้องแก้ไขงบ ไตรมาส 3/2546 ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. พบว่า กำไรสุทธิที่เคยแสดงไว้ที่ 11 ล้านบาท กลับกลายเป็นขาดทุนสุทธิ 13 ล้านบาท (แสดงว่าบันทึกรายได้สูงเกินไป 24 ล้านบาท) และงบในงวด 9 เดือนแรก ต้องแสดงผลขาดทุนสุทธิ 36 ล้านบาท (จากที่เคยระบุว่า 9 งวด เดือนแรก กำไรสุทธิ 22 ล้านบาท) ENRON ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 เกิดจากการควบรวมกิจการของ Houston Natural Gas ในแท็กซัส และ InterNorth บริษัทขายแก๊สธรรมชาติในเมืองโอมาฮา เพื่อจัดส่งแก๊สธรรมชาติระหว่างรัฐ Kenneth Lay คือประธานบริษัทคนแรก ...ความยิ่งใหญ่ของบริษัทเริ่มมาจาก เมื่อปี 1989 Lay กับ Skiing (คนหลังนี่เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน) ตัดสินใจให้ เอนรอนเริ่มเข้าสู่ธุรกิจการซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงิน ไม่นาน เอนรอนกลายเป็นบริษัทผู้ค้าแก๊สธรรมชาติรายใหญ่ รวมไปถึงไฟฟ้า สินค้าโภคภัณฑ์ ให้คำปรึกษาทางอินเตอร์เนทความเร็วสูง และเป็นบริษัท ที่ขายโภคภัณฑ์ผ่านเวบ (ผ่านทางอนุพันธ์) ด้วยความเก่งและใหญ่ ในปี 1993 เอนรอนก้อได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของรัฐแคลิฟอร์เนีย (CalPERS) ทำการจัดตั้ง JEDI-1 (Joint Energy Development Investment-1) เพื่อลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน และซื้อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วโลก (ขนาดโรงไฟฟ้าราชบุรีที่บริษัทเราทำ ยังโดนจีบเลย) โดยลงขันคนละ US$ 250M โครงการ JEDI-1 ตอนนั้นกำไรมหาศาล เป็นเงินประมาณ US$ 400M (ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ ประมาณ 23%) CalPERS เรียกให้เอนรอนชำระบัญชีและแบ่งผลกำไร ในปี 1997.... แต่เอนรอน (โดย Skiing) ไม่อยากเลิก เพราะเห็นว่าโครงการมันทำกำไรได้มากมาย และยิ่งไปกว่านั้น เค้าต้องการทำ JEDI-2 ขึ้นมาด้วย โดยจะเอาให้ใหญ่กว่า JEDI-1 เป็นสองเท่าอีกต่างหาก (ลงเงินเพิ่มคนละอีกเท่าตัว) ทาง CalPERS ก้อโอเคที่จะลงเงิน US$ 500M สำหรับ JEDI-2 แต่มีข้อแม้ว่า CalPERS ต้องขอถอนผลตอบแทนทั้งหมด US$ 383M ออกจาก JEDI-1 เสียก่อน ... แต่เอนรอนไม่อยากขาย แต่ก้อต้องหาเงินมาคืน ซึ่งการจะเก็บทั้ง 2 โครงการไว้เอนรอนต้องไปกู้เงินมา US$ 500M แต่ถ้าเอนรอนทำแบบนั้น... งบจะไม่สวยเพราะจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมา US$ 500M ในงบตัวเอง เอนรอนก้อเลยจัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจ เอาหนี้สินส่วนนี้ไปซุกไว้นอกงบการเงินของตัวเอง โดยบริษัทเฉพาะกิจนี้ จะต้องดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเอนรอน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำงบมาแสดงในงบการเงินรวม ... CHEWCO จึงเกิดขึ้น เพื่อจ่ายเงินจำนวน US$ 383M ให้ CalPERS เพื่อซื้อ JEDI-1 >>> CHEWCO ซึ่งไม่ได้มีตังค์มากขนาดนั้น ก้อไปยืมเงินเอนรอน US$ 132M + กู้ US$240M จากธนาคาร Barclays = US$ 371.5M ยังขาดอีก US$11.5M (หรือ 3%) ซึ่งต้องไปหาจากบุคคลภายนอกมาลงทุน ตามกฎบัญชีของเมกา (ในเมกา จะมีกฎ 3% ซึ่งอนุมานมาจากการตีความของคำถามทางบัญชีเรื่องนึงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า ... กฎสรุปว่า ผู้เช่า ไม่ต้องนำงบการเงินของ ผู้ให้เช่า มารวมในงบการเงินรวบ ถ้าผู้ให้เช่ามีเงินลงทุนที่มาจากบุคคลภายนอก (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เช่า) เป็นจำนวน 3% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ... พูดง่ายๆก้อคือ ผู้เช่า จะลงทุนและค้ำประกัน ผู้ให้เช่า ได้ไม่เกิน 97% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ....ทีนี้ การตีความนี้ ก้อถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย กลายเป็นเกณฑ์ในการคิดว่าจะการนำ งบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง มารวมหรือไม่) ทีนี้ ไอ้เงิน 3% (ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ CHEWCO) ที่ยังขาดอยู่ ทาง ผบห ก้อจะเอาชื่อเครือญาติมาลงไม่ได้ ... ก้อเลยไปตั้งบริษัท Big River Funding และ Little River Funding ขึ้นมา แล้วเอาเงินของเพื่อนที่อยู่ใต้บังคัญบัญชาไปลงทุน เพื่อให้โครงสร้างดูซับซ้อน โดยใช้ Big River Funding เป็นผู้ลงทุนใน CHEWCO และใช้ Little River Funding เป็นผถห ใน Big River Funding CHEWCO เอาตังค์ไปจ่าย CalPERS เรียบร้อย และหนี้กว่า US$400M นี้ ไม่เคยปรากฎในงบของเอนรอนเลยแม้แต่เพนนีเดียว ปัญหามันอยู่ที่ว่า ในการคำนวนว่าเงินลงทุนของ เอนรอนใน CHEWCO จะเกิน 97% หรือไม่นั้น เอนรอนจะต้องนำทั้งเงินกู้ยืมที่เอนรอนเป็นผู้คำประกันให้แก่ CHEWCO และหุ้นส่วน CHEWCO มารวมด้วย ... ดังนั้นเงินประมาณครึ่งนึงของ จำนวน US$ 11.5M ที่ Big River Funding และ ใช้ Little River Funding เอามาลงนั้น ... มาจาก ผบห ของเอนรอนเอง ... จึงเท่ากับว่าเป็นเงินกู้ยืมที่เอนรอนค้ำประกันให้ ... เมื่อเป็นเช่นนี้ แปลว่า เอนรอนคือผู้ลงทุนใน CHEWCO เกินกว่า 97% และต้องนำ CHEWCO เข้ามารวมในงบการเงินของเอนรอน ซึ่งควรทำมาแล้วตั้งแต่ปี 1997... งานนี้บริษัท audit บัญชี อย่าง Andersen ก้อมีส่วนรู้เห็นด้วย เพราะลงชื่อรับรองความถูกต้องมาตลอด (เมื่อก่อนบริษัท audit บัญชี ขนาดใหญ่จะมี 5 ที่ เรียก BIG5>> EY, KPMG, Deloitte, PwC และ Andersen แต่ Andersen ก้อล้มเพราะงานนี้เหมือนกัน) ปี 2001 เมื่อเอนรอนทำการแก้ไขงบการเงินไตรมาส 3/2000 ด้วยข้อผิดพลาดที่สำคัญ.... โดยการนำงบของ CHEWCO มารวมด้วย ทำให้มีการแสดงผลขาดทุนจำนวน US$ 618M (ก่อนหน้านั้นรายงาน กำไร ไตรมาส 3 อยู่ที่ US$ 292 M) เท่านั้นแระ ... นรกแตก
โดย
ผักกาด
อังคาร พ.ค. 28, 2019 9:48 am
0
14
Re: =หนังสือทีเล่าด้านมืดของบริษัทผู้ตรวจบัญชี The Big Four
ในหนังสือเค้าจะพูดถึงเคสการโกงของ Enron พอสมควร แต่หนังสือไม่ได้อธิบาย เคส Enron อย่างละเอียด แต่เราเคยโน้ตไว้แล้วจากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ) วาร์ปไปเคส Enron แบบคร่าวๆ เคสกลบัญชี- จากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ) พยายามเอาแบบสั้นๆ ได้ใจความก้อแล้วกันค่ะ ROYNET ROYNET เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI ในปี 2546 ถูกกล่าวหาด้วยความผิด 3 ประการคือ 1) จัดทำข้อมูลทางการเงินที่เป็นเท็จ 2) ใช้ข้อมูลภายใน ในการซื้อขายหุ้น 3) ไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหุ้นทุก 5% มาดูเฉพาะความผิดแรก ที่จำทำข้อมูลทางบัญชีเป็นเท็จ ROYNET บันทึกรายได้จากการขายบัตร internet ในงบกำไรขาดทุน ไตรมาส 1 ถึง 3 ในปี 2546 รวมทั้งสิ้น 71 ล้านบาท รายงานยอดลูกหนี้ 66 ล้านบาท เมื่อ auditor ไล่ตรวจกลับไปถึงการชำระเงินของลูกหนี้ใน ไตรมาส 3 พบว่าบริษัทได้รับชำระเงินเพียง 8 ล้านบาท .... แสดงว่าบริษัท “บันทึกรายได้เร็วเกินไป” เพราะบัตร internet ที่บันทึกเป็นรายได้นั้น ยังไม่ได้ถูกขายออกไป ... แค่นำไปฝากขายเท่านั้น เมื่อบริษัทต้องแก้ไขงบ ไตรมาส 3/2546 ตามคำสั่งของ ก.ล.ต. พบว่า กำไรสุทธิที่เคยแสดงไว้ที่ 11 ล้านบาท กลับกลายเป็นขาดทุนสุทธิ 13 ล้านบาท (แสดงว่าบันทึกรายได้สูงเกินไป 24 ล้านบาท) และงบในงวด 9 เดือนแรก ต้องแสดงผลขาดทุนสุทธิ 36 ล้านบาท (จากที่เคยระบุว่า 9 งวด เดือนแรก กำไรสุทธิ 22 ล้านบาท) ENRON ก่อตั้งขึ้นในปี 1985 เกิดจากการควบรวมกิจการของ Houston Natural Gas ในแท็กซัส และ InterNorth บริษัทขายแก๊สธรรมชาติในเมืองโอมาฮา เพื่อจัดส่งแก๊สธรรมชาติระหว่างรัฐ Kenneth Lay คือประธานบริษัทคนแรก ...ความยิ่งใหญ่ของบริษัทเริ่มมาจาก เมื่อปี 1989 Lay กับ Skiing (คนหลังนี่เชี่ยวชาญทางด้านการเงิน) ตัดสินใจให้ เอนรอนเริ่มเข้าสู่ธุรกิจการซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงิน ไม่นาน เอนรอนกลายเป็นบริษัทผู้ค้าแก๊สธรรมชาติรายใหญ่ รวมไปถึงไฟฟ้า สินค้าโภคภัณฑ์ ให้คำปรึกษาทางอินเตอร์เนทความเร็วสูง และเป็นบริษัท ที่ขายโภคภัณฑ์ผ่านเวบ (ผ่านทางอนุพันธ์) ด้วยความเก่งและใหญ่ ในปี 1993 เอนรอนก้อได้ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของรัฐแคลิฟอร์เนีย (CalPERS) ทำการจัดตั้ง JEDI-1 (Joint Energy Development Investment-1) เพื่อลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน และซื้อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วโลก (ขนาดโรงไฟฟ้าราชบุรีที่บริษัทเราทำ ยังโดนจีบเลย) โดยลงขันคนละ US$ 250M โครงการ JEDI-1 ตอนนั้นกำไรมหาศาล เป็นเงินประมาณ US$ 400M (ผลตอบแทนการลงทุนอยู่ที่ ประมาณ 23%) CalPERS เรียกให้เอนรอนชำระบัญชีและแบ่งผลกำไร ในปี 1997.... แต่เอนรอน (โดย Skiing) ไม่อยากเลิก เพราะเห็นว่าโครงการมันทำกำไรได้มากมาย และยิ่งไปกว่านั้น เค้าต้องการทำ JEDI-2 ขึ้นมาด้วย โดยจะเอาให้ใหญ่กว่า JEDI-1 เป็นสองเท่าอีกต่างหาก (ลงเงินเพิ่มคนละอีกเท่าตัว) ทาง CalPERS ก้อโอเคที่จะลงเงิน US$ 500M สำหรับ JEDI-2 แต่มีข้อแม้ว่า CalPERS ต้องขอถอนผลตอบแทนทั้งหมด US$ 383M ออกจาก JEDI-1 เสียก่อน ... แต่เอนรอนไม่อยากขาย แต่ก้อต้องหาเงินมาคืน ซึ่งการจะเก็บทั้ง 2 โครงการไว้เอนรอนต้องไปกู้เงินมา US$ 500M แต่ถ้าเอนรอนทำแบบนั้น... งบจะไม่สวยเพราะจะมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมา US$ 500M ในงบตัวเอง เอนรอนก้อเลยจัดตั้งบริษัทเฉพาะกิจ เอาหนี้สินส่วนนี้ไปซุกไว้นอกงบการเงินของตัวเอง โดยบริษัทเฉพาะกิจนี้ จะต้องดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเอนรอน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องนำงบมาแสดงในงบการเงินรวม ... CHEWCO จึงเกิดขึ้น เพื่อจ่ายเงินจำนวน US$ 383M ให้ CalPERS เพื่อซื้อ JEDI-1 >>> CHEWCO ซึ่งไม่ได้มีตังค์มากขนาดนั้น ก้อไปยืมเงินเอนรอน US$ 132M + กู้ US$240M จากธนาคาร Barclays = US$ 371.5M ยังขาดอีก US$11.5M (หรือ 3%) ซึ่งต้องไปหาจากบุคคลภายนอกมาลงทุน ตามกฎบัญชีของเมกา (ในเมกา จะมีกฎ 3% ซึ่งอนุมานมาจากการตีความของคำถามทางบัญชีเรื่องนึงที่เกี่ยวข้องกับสัญญาเช่า ... กฎสรุปว่า ผู้เช่า ไม่ต้องนำงบการเงินของ ผู้ให้เช่า มารวมในงบการเงินรวบ ถ้าผู้ให้เช่ามีเงินลงทุนที่มาจากบุคคลภายนอก (ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผู้เช่า) เป็นจำนวน 3% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ... พูดง่ายๆก้อคือ ผู้เช่า จะลงทุนและค้ำประกัน ผู้ให้เช่า ได้ไม่เกิน 97% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ ผู้ให้เช่า ....ทีนี้ การตีความนี้ ก้อถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย กลายเป็นเกณฑ์ในการคิดว่าจะการนำ งบการเงินของบริษัทที่เกี่ยวข้อง มารวมหรือไม่) ทีนี้ ไอ้เงิน 3% (ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ CHEWCO) ที่ยังขาดอยู่ ทาง ผบห ก้อจะเอาชื่อเครือญาติมาลงไม่ได้ ... ก้อเลยไปตั้งบริษัท Big River Funding และ Little River Funding ขึ้นมา แล้วเอาเงินของเพื่อนที่อยู่ใต้บังคัญบัญชาไปลงทุน เพื่อให้โครงสร้างดูซับซ้อน โดยใช้ Big River Funding เป็นผู้ลงทุนใน CHEWCO และใช้ Little River Funding เป็นผถห ใน Big River Funding CHEWCO เอาตังค์ไปจ่าย CalPERS เรียบร้อย และหนี้กว่า US$400M นี้ ไม่เคยปรากฎในงบของเอนรอนเลยแม้แต่เพนนีเดียว ปัญหามันอยู่ที่ว่า ในการคำนวนว่าเงินลงทุนของ เอนรอนใน CHEWCO จะเกิน 97% หรือไม่นั้น เอนรอนจะต้องนำทั้งเงินกู้ยืมที่เอนรอนเป็นผู้คำประกันให้แก่ CHEWCO และหุ้นส่วน CHEWCO มารวมด้วย ... ดังนั้นเงินประมาณครึ่งนึงของ จำนวน US$ 11.5M ที่ Big River Funding และ ใช้ Little River Funding เอามาลงนั้น ... มาจาก ผบห ของเอนรอนเอง ... จึงเท่ากับว่าเป็นเงินกู้ยืมที่เอนรอนค้ำประกันให้ ... เมื่อเป็นเช่นนี้ แปลว่า เอนรอนคือผู้ลงทุนใน CHEWCO เกินกว่า 97% และต้องนำ CHEWCO เข้ามารวมในงบการเงินของเอนรอน ซึ่งควรทำมาแล้วตั้งแต่ปี 1997... งานนี้บริษัท audit บัญชี อย่าง Andersen ก้อมีส่วนรู้เห็นด้วย เพราะลงชื่อรับรองความถูกต้องมาตลอด (เมื่อก่อนบริษัท audit บัญชี ขนาดใหญ่จะมี 5 ที่ เรียก BIG5>> EY, KPMG, Deloitte, PwC และ Andersen แต่ Andersen ก้อล้มเพราะงานนี้เหมือนกัน) ปี 2001 เมื่อเอนรอนทำการแก้ไขงบการเงินไตรมาส 3/2000 ด้วยข้อผิดพลาดที่สำคัญ.... โดยการนำงบของ CHEWCO มารวมด้วย ทำให้มีการแสดงผลขาดทุนจำนวน US$ 618M (ก่อนหน้านั้นรายงาน กำไร ไตรมาส 3 อยู่ที่ US$ 292 M) เท่านั้นแระ ... นรกแตก
โดย
ผักกาด
อังคาร พ.ค. 28, 2019 9:47 am
0
13
Re: VI หาดใหญ่
สวัสดีค่ะ ขออนุญาติเอามาแปะในนี้อีกที พอดีเล่มนี้อ่านเเล้วเล่าคร่าวๆไว้นานเเล้ว ขออนุญาติเอามาแปะอีกทีในนี้ค่ะ พอดีมีเคสปรับผู้ตรวจสอบบัญชีของ EY 13.8 ล้านบาท ... เรื่องแบบนี้ในหนังสือเล่มนี้เล่าไว้หลายเคสมากๆค่ะ https://money2know.com/%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5/ === The Big Four by Ian Gow & Stuart Kells === เป็นเรื่องเกี่ยวกับ auditing firms ยักษ์ใหญ่ 4 แห่ง อันได้แก่ Deloitte, PwC, EY และ KPMG ... เล่าตั้งแต่ประวัติศาตร์ว่าบัญชีกับคนตรวจสอบบัญชีเกิดขึ้นมาได้ยังไงไปจนถึงเล่าดราม่าการล้มละลายของ Lehman brothers ว่าด้วยเกี่ยวกับความบกพร่องของการตรวจสอบบัญชี รวมไปถึงการเข้าไปวางระบบตรวจสอบบัญชีในจีนตอนที่เปิดประเทศใหม่ จนกระทั่งกำลังจะโดนจีนเตะออกมา หลังจากที่ดูดความรู้ไปหมดแล้ว คนเขียนเป็นออสเตรเลีย ***เนื้อหามันจะปนดราม่านิดๆ เพราะฉะนั้น..please do not kill the messenger นะคะ อันนี้ว่าไปตามหนังสือ >< เราเล่าไปเรื่อยๆตามที่จำได้นะคะ ไม่ได้เรียงตามหนังสือเช่นเคย และไม่ใช่ทั้งหมดของหนังสือค่ะ ในหนังสือเคสเยอะ ใช้ศัพท์ค่อนข้างยาก ถ้าสนใจลองไปหาอ่านเพิ่มดูค่ะ *** . เรื่องสถาบันการเงินและระบบบัญชีมันเริ่มมาจาก Medici bank ก่อตั้งในเมืองฟลอเรนซ์ (ประเทศอิตาลี ในปัจจุบัน) แบงก์นี้เค้าสนับสนุนการเงินให้พระคารดินัลไต่เต้าตำแหน่งขึ้นไป ทำให้แบงค์นี้กลายเป็นแบงก์ที่ได้รับความเชื่อถือและขยายไปมากที่สุดในยุโรป และสนิทกับพระสันตปาปา พระคาร์ดินัล ถือว่ากุมอำนาจระดับนึง พอขยายสาขามากๆเริ่มมีการทุจริต เลยต้องเริ่มระบบการทำบัญชี และการตรวจสอบขึ้นมา และแบงก์นี้แหละที่เป็นคนคิดเรื่องการบันทึกบัญชี 2 ขา พวก debit, credit . แต่หลังจากที่ James Watt คิดเครื่องจักรไอน้ำได้แล้ว เกิดการปฎิวัติอุสาหกรรมในอังกฤษ ทำให้ระบบบัญชีไปเติบโตที่นั่น เกิดการขนส่งระบบรางขึ้นมา เกิดบริษัท railways หลายแห่งในอังกฤษ และมีธุรกิจรายรอบกิจการเดินรถรางด้วย รวมไปถึงเกิดบริษัทที่ล้มละลายจำนวนมากด้วย ทำให้ช่วงนั้นทนายความและนักกฎหมายมีเยอะ และเป็นอาชีพที่มีเกียรติมาก พอคนล้มละลายเป็นคดีความเยอะ ทำให้มีการต้องตรวจสอบการรับจ่าย จึงทำให้นักบัญชีและการตรวจสอบบัญชีเป็นที่ต้องการ แต่สมัยนั้นยังไม่มีการ qualified คุณสมบัติของนักบัญชีและผู้ตรวจสอบ ใครก้อได้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพอื่น (เช่นช่างทำหมวก ช่างทำรองเท้า) ก้อมาเป็นนักบัญชี ทำให้คนอื่นค่อนข้างดูถูก จนกระทั่ง 1880 เริ่มมีการก่อตั้งสมาคมนักบัญชี ICAEW (Institute of Chartered Accountants in England and Wales) และสร้างมาตรฐานบัญชีขึ้นมา เมื่อมีการลงทุนก่อสร้างรางรถไฟมากขึ้นทำให้รัฐบาลระดมเงินไม่ทัน มีการระดมทุนกันเองของบริษัท railways มีผู้ถือหุ้น มีการออกตราสารหนี้ มีปันผล เมื่อไม่มีระบบจัดการที่ดีทำให้เกิดการโกง ปลอมเอกสารได้ง่ายซึ่งส่วนใหญ่โกงโดยนักบัญชี จนเสื่อมเสียไปทั้งวงการ แต่ทีนี้ก้อเริ่มมีนักบัญชีบางคนที่ไม่โกง และเปิดโปงการทุจริต ยกตัวอย่าง William Deloitte ที่เปิดโปงการโกงทะเบียนหุ้นของ Great Northern Railway (GNR) โดยนาย Leopold Redpath แก้ชื่อหุ้นให้เป็นของตัวเอง และนาย Redpath โดนขับไล่ออกจากอังกฤษในสุด บริษัทเดินรถไฟอื่นๆเลยมาจ้าง Deloitte ให้มาตรวจสอบบริษัทตัวเองบ้าง จนเป็นที่มาของการชำระล้างการโกงในอุตสาหกรรมการรถไฟ รัฐบาลเลยให้มาช่วยร่างกฎหมายควมคุมบริษัทรถไฟ รวมไปถึงกำหนดให้บริษัทรถไฟบันทึกบัญชีแบบ 2 ขาด้วย สมัยนั้น Deloitte และ Waterhouse เลยเป็นบริษัทตรวจสอบบัญชีที่ทรงอิทธิพลมาก ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 20 จัดเป็นยุคทองของการบัญชีและขยายไปอเมริกา Deloitte ไปเปิดออฟฟิศในอเมริกาปี 1893 ตรวจสอบบัญชีให้กับ บริษัทที่ทำสบู่กับเทียน ซึ่งต่อมาคือ Procter & Gamble หลังจากเกิดcrash ใน Wall Street ปี 1929 มีการออก พรบ. หลักทรัพย์ออกมา โดยกำหนดให้บัญชีของบริษัทจดทะเบียนต้องถูกตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ Price Waterhouse มีการเข้าไปช่วยร่าง GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ให้กับ กลต. รวมไปถึงช่วยร่างอะไรหลายๆอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อนักบัญชี รวมไปถึงการลด uncapped liability ที่นักบัญชีต้องรับผิดชอบผลจากการตรวจสอบบัญชีด้วย . ปัจจุบัน Big 4 มีพนักงานรวมกันมากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก (โดยไม่รวม outsource) ในปี 2017, มี 497 บริษัทที่อยู่ใน S&P 500 index ใช้บริการตรวจสอบบัญชีจาก 1 ใน Big 4 รวมไปถึงใช้บริการที่ปรึกษา ขนาด PwC เคลมว่าเค้าให้คำปรึกษากับ 422 บริษัทที่ติด Fortune Global 500 ในปี 2017 กันเลยทีเดียว มันบ่งบอกถึงความเกือบจะเป็น monopoly ของ audit firms เหล่านี้ ** ตั้งเเต่สมัยก่อน ..มีการควบรวมกิจการกันเกิดขึ้นเรื่อยๆ ไล่มาจาก >> Big 8 (1-Arthur Anderson, 2-Arthur Young McClelland Moores & Co, 3 -Coopers & Lybrand, 4 -Deloitte Haskins & Sells, 5 -Ernst & Whinney, 6 -Peat Marwick Mitchell, 7 -Price Waterhouse, 8 -Touche Ross Bailey & Smart ) >> Big 6 (1989 Ernst & Whinney รวมกับ Arthur Young เป็น Ernst & Young (EY), Deloitte, Haskins & Sells รวมกับ Touche Ross เป็น Deloitte & Touche) >> Big 5 (1998 when Price Waterhouse รวมกับ Coopers & Lybrand เป็น PricewaterhouseCoopers -PwC) โดยมี Arthur Anderson เป็น audit firm ที่มีชื่อเสียงที่สุด เข้มสุด และเค้าเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีให้กับ Enron ด้วย ... แต่พอ Anderson ตกนรกไปพร้อม Enron ก้อเหลือเป็น Big 4 (แต่จะมี Anderson Consulting ที่เหลือรอดออกมาได้ เพราะ split ตัวออกมาทันเวลาภายใต้แบรนด์ใหม่ ชื่อ Accenture นั่นเอง) ต่อมาปี 2005 มี KPMG แอบไปช่วยเรื่องเลี่ยงภาษีให้ลูกค้า โดน US of Justice จับได้ …. แต่ว่าโลกใบนี้ไม่สามารถจะปล่อยให้เหลือแค่ Big 3 ทำให้ KPMG รอดจากการล่มสลาย เหลือแค่โดนปรับไป US$ 456 million ในหนังสือเค้าจะพูดถึงเคสการโกงของ Enron พอสมควร แต่หนังสือไม่ได้อธิบาย เคส Enron อย่างละเอียด แต่เราเคยโน้ตไว้แล้วจากหนังสือกลบัญชี, บัญชีศรีธนญชัย ของ อ. ดร. ภาพร ค่ะ (กราบขอบพระคุณ อ.ค่ะ) นอกจากการตรวจสอบบัญชีแล้ว Big 4 ยังรับเป็นที่ปรึกษา และช่วยยื่นเรื่องระบบภาษี รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทข้ามชาติเลี่ยงภาษี ซึ่งเหล่านี้เป็นธุรกิจที่มีมาร์จิ้นดีกว่าการตวจสอบบัญชี (ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้แรงงานเยอะ เสี่ยงติดคุก คดีความอีก เลยมีการจ้างเด็กๆเข้ามาฝึกเป็น auditors เพื่อ “leverage” ด้วยๆ เด็กๆที่จบใหม่ที่เข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี ก้อประหนึ่งแรงงานทาส ทำงานเยอะ กลับดึก (หรือกลับเช้า)ไม่มีโอที ตรวจผิดก้อซวย โดนไล่เบี้ยตลอด แต่ทุกคนที่เข้ามาทำเพราะต้องการปั้น resume เพื่อที่จะเป็นบันไดไปต่อ..ที่ไหนก้อได้ .. อะไรก้อได้สักที่ >//< **อันนี้หนังสือเขาว่านะคะ** **แต่หลังจากที่เกิดเรื่องราวของ Enron ที่ตอนนั้น Arthur Anderson รับเป็นทั้งบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษาให้ ซึ่งทำให้นักกฎหมายเชื่อว่าผลประโยชน์จากการเป็นที่ปรึกษาให้กับ Enron ทำให้ขาด้านตรวจสอบบัญชีของ Arthur Anderson ทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และไม่อิสระ ... หลังจากที่ Enron ล้มละลาย และเกิดมีการออก พรบ. Sarbox (Sarbanes-Oxley Act หรือเป็นที่รู้จักกันว่า "Public Company Accounting Reform and Investor Protection Act" (in the Senate ) และ "Corporate and Auditing Accountability, Responsibility, and Transparency Act" (in the House) เพื่อช่วยปกป้องนักลงทุน) ออกมา ทำให้ Big 4 บางเจ้าออกจากกิจการที่ปรึกษา อย่าง PwC ขายธุรกิจ consulting ให้กับ IBM, KPMG ขาย KPMG consulting ออก...แต่สุดท้ายแล้ว ต่างก้อกลับเข้ามาทำกันใหม่ (ก้อมาร์จิ้นมันดี) **ช่วงปี 2008 Financial Crisis บริษัที่ตรวจสอบบัญชีของแบงก์ต่างๆรับเละ .. Deloitte ตรวจ Bear Sterns และ Fannie Mae, KPMG ตรวจ Citigroup, PwC ตรวจ AIG และ Goldman Sachs, EY ตรวจ Lehman Brothers แต่ดูเหมือนว่าเคสของ Lehman Brothers จะหนักที่สุดเพราะ EY ไปรับตรวจให้เค้าอยู่ 7 ปี..จนถึงปี 2007 ได้รับค่าจ้างตรวจไป US$ 185 million ในเคสของ Lehman เกิดจากไปทำ Repo 105 (Repurchase ด้วย level collateralization ที่ระดับ 105%) คือเหมือนไปทำ window dressing ทางการเงินด้วย การขายสินทรัพย์ที่มีมูลค่ากว่าหลายสิบ US$ bn ออกทุกๆสิ้นไตรมาส แล้วซื้อกลับในเวลาอันรวดเร็ว เงินที่ขายทรัพย์สินได้ เอาไปจ่ายหนี้ทำงบการเงินดูมีหนี้สิ้นน้อย ... ในขณะที่ผู้ตรวจสอบบัญชีของ EY รู้อยู่เต็มอกว่า Lehman มีการกระทำลักษณะนี้ แต่ยังรายงานงบการเงินว่าไม่มีอะไร (clean audit) ที่อังกฤษ ปี 2012 PwC โดนปรับ £1.4 million เพราะไปรายงานว่า JP Morgan Securities ทำตามกฎเกี่ยวกับ Segregation and Separation ของเงินลูกค้าที่อยู่ในกองทุน..ทั้งๆที่ JP Morgan Securities ไม่ได้ทำตามนั้น ปี 2014 ปู่ Buffett เสียเงิน US$750 million ขายหุ้น Tesco ทิ้งเพราะงบการเงินปี 2013 มีความน่าสงสัย แต่ audit firm ไม่ได้แสดงความเห็นและให้ clean audit **ส่วนเรื่องการเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทข้ามชาติเรื่องการทำภาษี ให้จ่ายภาษีน้อยลงเวลาไปทำกิจการที่ประเทศอื่น โดยช่วยในการหา defendable expense allocation (หาที่ลงให้ คชจ ต่างๆโดยไม่ต้องเสียภาษีและยังสามารถอธิบายได้ เวลาสรรพากรมาตรวจสอบ) จนเป็นที่มาของการรั่วไหลของ LuxLeak (Luxembourg Leak) ในปี 2014 (ซึ่งคล้ายกับ Panama paper ในปี 2015 และ Paradise paper ในปี 2017) เรื่องของเรื่องก้อประมาณว่า พนักงานของ PwC เอาเอกสาร 30,000 หน้าให้นักข่าว มันเป็นเอกสารเกี่ยวกับการที่บริษัทแบบ Accenture, Burberry, FedEx, Heinz, IKEA หรือ Pepsi รวม 343 บริษัท ใช้ประเทศอย่าง Luxembourg ในการจัดการกับ Corporate tax deals ===เอาประมาณนี้พอล่ะกันค่ะ === bigfour.jpg
โดย
ผักกาด
อังคาร พ.ค. 28, 2019 9:41 am
0
15
Re: ((เปิดรับศิษย์เก่า)) หลักสูตรอบรมการลงทุนเน้นคุณค่า รุ่น
ผักกาด/รุ่น11/23 มิ.ย.
โดย
ผักกาด
พุธ พ.ค. 15, 2019 9:01 am
0
0
Re: รับจองมีตติ้งภาคใต้ ไตรมาส 1/2562 (ครบรอบ 10 ปี ครั้งที่
ขอจอง 1 ค่ะ ทานข้าวด้วย แต่ต้องกลับก่อนค่ะ
โดย
ผักกาด
อาทิตย์ พ.ค. 05, 2019 8:01 pm
0
0
Re: งาน Money Talk@SET เดือน พ.ค.62
ขอจองด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. พ.ค. 02, 2019 9:14 am
0
0
Re: **เปิดรับ** งานสังสรรค์ VI ประจำปี 2562 ครั้งที่1
ผักกาด/ สมาชิกสมาคม / 1ที่นั่ง / 1,441บาท / Kbank / 23-04-62 /10:14
โดย
ผักกาด
อังคาร เม.ย. 23, 2019 10:16 am
0
0
Re: มีตติ้งภาคใต้ ไตรมาส 4/2561
1 ที่ สมาชิก ขอบคุณค่ะ
โดย
ผักกาด
จันทร์ ก.พ. 11, 2019 8:05 pm
0
2
Re: VI หาดใหญ่
ตอนจบค่ะ The Challenge to the S&P 500 Index Fund "... funds should be managed and operated in the best interests of their shareholders, rather than in the interests of advisers, underwriters, and others... The [Vanguard] funds are promoting this goal." - SEC Administrative Proceeding File No. 3-5281, Feb 1981- ### Jack Bogle ทำสถิติของ market share แต่ละ house ไว้ให้เราดูตามรูปนี้ค่ะ นับช่วงเวลาที่แต่ละ house ถือครองสินทรัพย์สูงที่สุด และจำนวนสินทรัพย์ในปีปัจจุบัน Funds mkt share.jpg บางกองในเครือของ Vanguard ก็ติดอันดับกองทุนหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งชาติตั้งแต่สมัยก่อน (1985) เลยค่ะ อย่างเช่น Windsor Fund ที่บริหารโดย John Neff Jack เล่าว่า John Neff เป็นคนที่ทั้ง conservative และ aggressive เพราะ conservative ในแง่ที่จะเลือกหุ้นอย่างพิถีพิถัน สาย VI แนว contrarian ชัดเจน... ถือรอได้ กว่าตลาดจะให้มูลค่าก็ต้องถืออยู่พักใหญ่ ส่วนเป็นพวก aggressive ในแง่ที่กว่ากล้าทำพอร์ตแบบ concentrate นั่นเอง John Neff.jpg Vanguard เป็น mutual fund complex แห่งเดียวที่ใช้ fund ดูแลตัวเอง Jack บอกว่ากองทุนรวมอื่นๆจะทำงานร่วมกับคนนอก โดยเค้าจะทำกันได้ 3 แบบ คือ 1) privately owned 2) publicly owned หรือ 3) owned โดย domestic หรือ foreign financial conglomerate ซึ่งแต่ละแบบพยายามที่จะเก็บค่าธรรมเนียมให้สูงที่สุดเพื่อที่จะ maximize profit ให้กับพวกของตัวเอง เค้าเปรียบเทียบเทียบการออกกองทุนรวมก็เหมือนเด็ก มีพ่อแม่ (management company) คอยดูแลให้โต และออกไปใช้ชีวิต ทำงาน สร้างธุรกิจของตัวเอง แต่กองทุนรวมจะต่างจากเด็กตรงที่จะไม่มีวันเป็นอิสระ และเติบโตด้วยตัวเองได้ เค้ายกตัวอย่าง ความพยายามที่เค้าจะไปทำแบบเดียวกันนี้ให้กองทุนอื่นนะ วันนึงโอกาสที่ Jack รอคอยก็มาถึง ในปี 1994 เมื่อ IBM ซึ่งมี โครงการกองทุนรวมสำหรับพนักงานที่เกษียณ โดยมีบริษัทในเครือชื่อ IBM Credit Investment Management ดูแลอยู่ ตอนนั้นมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ $950 million ทีนี้ IBM ต้องการจะอัพสเกลขึ้นไปเป็นระดับ public เลยต้องการคนมาจัดโดยที่ทาง IBM Credit Investment Management ยังคงเป็นที่ปรึกษาอยู่ โดยทาง IBM ต้องการให้คนที่เสนอราคาสูงสุดเป็นคนดำเนินงาน พอ Jack รู้ก็เข้าไปเสนอ proposal โดยที่บอกทางบริษัทลูกของ IBM ว่าจะไม่ให้อะไรกับทาง IBM และ และเค้าก็จะเก็บค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด ซึ่ง จะทำให้สามารถประหยัดเงินของผู้ถือหน่วยลงทุน (ซึ่งก็คือบรรดาพนักงานของ IBM และคนที่เกษียณไปแล้ว) ได้ถึง $ 1.2 million ในปีแรก และอีกหลายล้านในปีต่อๆไป ... ไม่แปลกใจเลยที่ผลสรุปคือ Jack ก็กินแห้วไป ส่วน IBM Credit Investment Management ขายให้กับ Rhode Island’s Fleet Financial group ที่ราคา $ 14 million **Note ว่าตอนหลังกองนี้กลายมาเป็น IBM 401(K) retirement fund ซึ่งเป็น index fund ที่เก็บค่าธรรมเนียมเพียง 0.12% เท่านั้นค่ะ มีอยู่ 2-3 ประเด็นที่ Jack มองว่าเป็นความท้าทายในอนาคตค่ะ มันมาจากประสบการณ์ของเค้าที่ทำแต่กองทุนรวมมาตั้งแต่เรียนจบเลย .. ทำมาทั้งชีวิต เรื่องแรก คือสิทธิการโหวต ด้วยความที่กอง index fund ได้รับความนิยม และขยายตัวขึ้นเรื่อย จากเดิมอยู่ที่ 2% ของ สินทรัพย์ใน equity fund ตอนปี 1987 กลายมาเป็นมีขนาดครึ่งนึง มันทำให้ Wall steet journal ออกมาเขียนบทความว่ากอง index fund ที่เป็นพวก passive fund ไม่ควรจะมีสิทธิ์ มีเสียงในการโหวตในบริษัที่เค้าไปถือหุ้นอยู่ และควรจะยกสิทธิ์การโหวตให้กับพวกกองทุน active funds ... Jack บอก ไร้สาระที่ stock owners ต้องยกสิทธิ์ให้ stock renters แต่เค้าไม่กังวลเท่าประเด็นต่อไป ประเด็นต่อไป คือเรื่อง “common ownership” คือมันมี paper นักวิชาการจาก University of Chicago Law School รวมไปถึงจากทุนวิจัยของ Yale ก็ดีระบุว่า กองทุนมักจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหลายๆบริษัท ทีนี้ประเด็นมันอยู่ที่ว่า บางกองไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่เป็นคู่แข่งกันในอุตสาหกรรมเดียวกัน .. แล้วพวกกองทุนดันไปห้ามไม่ให้บริษัทมาแข่งกัน (ถือหุ้นใหญ่ไงคะ มีสิทธิ์พูด แสดงความเห็น) ยกตัวอย่างกองเดียวกัน ไปถือหุ้นใหญ่ในหุ้นสายการบิน 2-3 ที่เป็นคู่แข่งกัน แล้ว paper ยังระบุว่า นักวิชาการแนะนำให้กองทุนเลือกถือหุ้นตัวเดียวของแต่ละอุตสาหกรรม ณ. ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าการถือหุ้นใหญ่ของกองทุน ไปกีดกันการแข่งขัน Jack บอกว่า อันนี้น่าเป็นห่วง เพราะถ้าเกิดใครบ้าจี้ เอาไปออกเป็นกฎหมายจริงจะเกิดปัญหาทันที เพราะว่าจะกองทุนถูกบังคับให้ต้องขายหุ้นบางตัว เพื่อที่จะเหลือถือหุ้นแค่บริษัทเดียวในแต่ละ sector ซึ่งหุ้นหลายๆตัวเค้าถือมาตั้งนานนนนนแล้ว ทุนคือต่ำมาก แล้วอยู่ๆจะมาบังคับให้ขาย เพื่อต้องเลือก แล้วกระทบกับผู้ถือหน่วยลงทุนอีก เพราะถ้ากองขายหุ้นออกมา ก็ต้องเสียภาษี อีกอย่างมันจะกระทบกับแนวทางการลงทุนแบบ diversify portfolio อีกด้วยค่ะ ต่อมาคือปัญหา Oligopoly ในหมู่กองทุนรวม Jack บอกว่ามันไม่ได้เป็น Oligopoly เพราะว่ามี barrier of entry แต่เพราะค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากๆ ทำให้ไม่ค่อยมีคนอยากเข้ามาทำ เพราะไม่ได้อะไร อย่างตอนนี้ แค่ 3 บริษัทแรก ก็กิน market share ไป 80% ของ index fund assets แล้วค่ะ Vanguard 50% BlackRock 20% State Street Global 10% ทีนี้พอมีผู้เล่นไม่กี่ราย ก็จะเป็นเป้าที่จะโดนคนของทางการเพ่งเล็งได้ นอกจากนี้ Jack ยังพูดถึงกฎหมายที่จะออกมาควบคุมในอนาคตค่ะ แต่เราไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้ ถ้าท่านใดสนใจ สามารถไปอ่านรายละเอียดเพื่มเติมได้ค่ะ just buy hay stack.jpg เรื่องที่จะเล่าก็ขอจบประมาณนี้ค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่เเวะเข้ามาอ่าน, กด + และให้กำลังใจนะคะ มันดีต่อใจมากเลยค่ะ เพราะตั้งใจเขียนมากๆ ^^ ถ้าลงอันไหนผิด ขออภัยด้วยนะคะ Buffett on Jack Bogle.jpg
โดย
ผักกาด
เสาร์ ม.ค. 26, 2019 7:23 am
0
32
Re: “Stay The Course” / หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle
ฮูเร่ ขอบคุณมากค่ะ ดีต่อใจ The Challenge to the S&P 500 Index Fund "... funds should be managed and operated in the best interests of their shareholders, rather than in the interests of advisers, underwriters, and others... The [Vanguard] funds are promiting this goal." - SEC Administrative Proceeding File No. 3-5281, Feb 1981- ### Jack Bogle ทำสถิติของ market share แต่ละ house ไว้ให้เราดูตามรูปนี้ค่ะ นับช่วงเวลาที่แต่ละ house ถือครองสินทรัพย์สูงที่สุด และจำนวนสินทรัพย์ในปีปัจจุบัน Funds mkt share.jpg บางกองในเครือของ Vanguard ก็ติดอันดับกองทุนหุ้นที่ใหญ่ที่สุดแห่งชาติตั้งแต่สมัยก่อน (1985) เลยค่ะ อย่างเช่น Windsor Fund ที่บริหารโดย John Neff Jack เล่าว่า John Neff เป็นคนที่ทั้ง conservative และ aggressive เพราะ conservative ในแง่ที่จะเลือกหุ้นอย่างพิถีพิถัน สาย VI แนว contrarian ชัดเจน... ถือรอได้ กว่าตลาดจะให้มูลค่าก็ต้องถืออยู่พักใหญ่ ส่วนเป็นพวก aggressive ในแง่ที่กว่ากล้าทำพอร์ตแบบ concentrate นั่นเอง John Neff.jpg Vanguard เป็น mutual fund complex แห่งเดียวที่ใช้ fund ดูแลตัวเอง Jack บอกว่ากองทุนรวมอื่นๆจะทำงานร่วมกับคนนอก โดยเค้าจะทำกันได้ 3 แบบ คือ 1) privately owned 2) publicly owned หรือ 3) owned โดย domestic หรือ foreign financial conglomerate ซึ่งแต่ละแบบพยายามที่จะเก็บค่าธรรมเนียมให้สูงที่สุดเพื่อที่จะ maximize profit ให้กับพวกของตัวเอง เค้าเปรียบเทียบเทียบการออกกองทุนรวมก็เหมือนเด็ก มีพ่อแม่ (management company) คอยดูแลให้โต และออกไปใช้ชีวิต ทำงาน สร้างธุรกิจของตัวเอง แต่กองทุนรวมจะต่างจากเด็กตรงที่จะไม่มีวันเป็นอิสระ และเติบโตด้วยตัวเองได้ เค้ายกตัวอย่าง ความพยายามที่เค้าจะไปทำแบบเดียวกันนี้ให้กองทุนอื่นนะ วันนึงโอกาสที่ Jack รอคอยก็มาถึง ในปี 1994 เมื่อ IBM ซึ่งมีโครงการกองทุนรวมสำหรับพนักงานที่เกษียณ โดยมีบริษัทในเครือชื่อ IBM Credit Investment Management ดูแลอยู่ ตอนนั้นมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ $950 million ทีนี้ IBM ต้องการจะอัพสเกลขึ้นไปเป็นระดับ public เลยต้องการคนมาจัดโดยที่ทาง IBM Credit Investment Management ยังคงเป็นที่ปรึกษาอยู่ โดยทาง IBM ต้องการให้คนที่เสนอราคาสูงสุดเป็นคนดำเนินงาน พอ Jack รู้ก็เข้าไปเสนอ proposal โดยที่บอกทางบริษัทลูกของ IBM ว่า จะไม่ให้อะไรกับทาง IBM และ และเค้าก็จะเก็บค่าธรรมเนียมต่ำที่สุด ซึ่งจะทำให้ สามารถประหยัดเงินของผู้ถือหน่วยลงทุน (ซึ่งก็คือบรรดาพนักงานของ IBM และคนที่เกษียณไปแล้ว) ได้ถึง $ 1.2 million ในปีแรก และอีกหลายล้านในปีต่อๆไป ... ไม่แปลกในเลยที่ ผลสรุปคือ Jack ก็กินแห้วไป ส่วน IBM Credit Investment Management ขายให้กับ Rhode Island’s Fleet Financial group ที่ราคา $ 14 million **Note ว่าตอนหลังกองนี้กลายมาเป็น IBM 401(K) retirement fund ซึ่งเป็น index fund ที่เก็บค่าธรรมเนียมเพียง 0.12% เท่านั้นค่ะ มีอยู่ 2-3 ประเด็นที่ Jack มองว่าเป็นความท้าทายในอนาคตค่ะ มันมาจากประสบการณ์ของเค้าที่ทำแต่กองทุนรวมมาตั้งแต่เรียนจบเลย .. ทำมาทั้งชีวิต เรื่องแรก คือสิทธิการโหวต ด้วยความที่กอง index fund ได้รับความนิยม และขยายตัวขึ้นเรื่อย จากเดิมอยู่ที่ 2% ของ สินทรัพย์ใน equity fund ตอนปี 1987 กลายมาเป็นมีขนาดครึ่งนึง มันทำให้ Wall steet journal ออกมาเขียนบทความว่ากอง index fund ที่เป็นพวก passive fund ไม่ควรจะมีสิทธิ์ มีเสียงในการโหวตในบริษัที่เค้าไปถือหุ้นอยู่ และควรจะยกสิทธิ์การโหวตให้กับพวกกองทุน active funds ... Jack บอก ไร้สาระที่ stock owners ต้องยกสิทธิ์ให้ stock renters แต่เค้าไม่กังวลเท่าประเด็นต่อไป ประเด็นต่อไป คือเรื่อง “common ownership” คือมันมี paper นักวิชาการจาก University of Chicago Law School รวมไปถึงจากทุนวิจัยของ Yale ก็ดีระบุว่า กองทุนมักจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของหลายๆบริษัท ทีนี้ประเด็นมันอยู่ที่ว่า บางกองไปถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่เป็นคู่แข่งกันในอุตสาหกรรมเดียวกัน .. แล้วพวกกองทุนดันไปห้ามไม่ให้บริษัทมาแข่งกัน (ถือหุ้นใหญ่ไงคะ มีสิทธิ์พูด แสดงความเห็น) ยกตัวอย่างกองเดียวกัน ไปถือหุ้นใหญ่ในหุ้นสายการบิน 2-3 ที่เป็นคู่แข่งกัน แล้ว paper ยังระบุว่า นักวิชาการแนะนำให้กองทุนเลือกถือหุ้นตัวเดียวของแต่ละอุตสาหกรรม ณ. ตอนนี้ยังไม่มีหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าการถือหุ้นใหญ่ของกองทุน ไปกีดกันการแข่งขัน Jack บอกว่าอันนี้น่าเป็นห่วง เพราะถ้าเกิดใครบ้าจี้ เอาไปออกเป็นกฎหมายจริงจะเกิดปัญหาทันที เพราะว่าจะกองทุนถูกบังคับให้ต้องขายหุ้นบางตัว เพื่อที่จะเหลือถือหุ้นแค่บริษัทเดียวในแต่ละ sector ซึ่งหุ้นหลายๆตัวเค้าถือมาตั้งนานนนนนแล้ว ทุนคือต่ำมาก แล้วอยู่ๆจะมาบังคับให้ขาย เพื่อต้องเลือก แล้วกระทบกับผู้ถือหน่วยลงทุนอีก เพราะถ้ากองขายหุ้นออกมา ก็ต้องเสียภาษี อีกอย่างมันจะกระทบกับแนวทางการลงทุนแบบ diversify portfolio อีกด้วยค่ะ ต่อมาคือปัญหา Oligopoly ในหมู่กองทุนรวม Jack บอกว่ามันไม่ได้เป็น Oligopoly เพราะว่ามี barrier of entry แต่เพราะค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากๆ ทำให้ไม่ค่อยมีคนอยากเข้ามาทำ เพราะไม่ได้อะไร อย่างตอนนี้แค่ 3 บริษัทแรก ก็ กิน market share ไป 80% ของ index fund assets แล้วค่ะ Vanguard 50% BlackRock 20% State Street Global 10% ทีนี้พอมีผู้เล่นไม่กี่ราย ก็จะเป็นเป้าที่จะโดนคนของทางการเพ่งเล็งได้ นอกจากนี้ Jack ยังพูดถึงกฎหมายที่จะออกมาควบคุมในอนาคตค่ะ แต่เราไม่ขอลงรายละเอียดในที่นี้ ถ้าท่านใดสนใจ สามารถไปอ่านรายละเอียดเพื่มเติมได้ค่ะ just buy hay stack.jpg เรื่องที่จะเล่าก็ขอจบประมาณนี้ค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่เเวะเข้ามาอ่าน, กด + และให้กำลังใจนะคะ มันดีต่อใจคนโพสมากเลยค่ะ เพราะตั้งใจเขียนมากๆ ^^ ถ้าลงอันไหนผิด ขออภัยด้วยนะคะ Buffett on Jack Bogle.jpg
โดย
ผักกาด
ศุกร์ ม.ค. 25, 2019 8:17 pm
0
17
Re: How to get Super Rich Accidentally / ดร.นิเวศน์ เหมวชิรว
มีออกทีวีที่มาเลเซียด้วยนะ https://youtu.be/WaG2rt1J4Ew [Youtube]Https://youtu.be/WaG2rt1J4Ew[/youtube]
โดย
ผักกาด
ศุกร์ ม.ค. 25, 2019 7:32 am
0
2
Re: How to get Super Rich Accidentally / ดร.นิเวศน์ เหมวชิรว
มีออกทีวีที่มาเลเซียด้วยนะ Https://youtu.be/WaG2rt1J4Ew
โดย
ผักกาด
ศุกร์ ม.ค. 25, 2019 7:31 am
0
2
Re: VI หาดใหญ่
The Revolution of Index Fund “The search for winning fund managers is a tough and ultimately unrewarding strategy for the vast majority of investors.” ก่อนอื่นมาดูผลงานกันก่อนค่ะ Disruptor2.jpg Vanguard size2.png ค่าใช้จ่ายของกองทุนในกลุ่ม Vanguard มีค่า Investment expenses และ operating expenses คิดเป็น 0.02% ในปี 2018 ลดลงมาถึง 94% จากปี 1977 ที่ตอนนั้นก็บอยู่ที่ 0.35% Vanguard expense2.png ลองนับดูเล่นๆแล้ว ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนขึ้นมาในปี 1975 จนถึงปัจจุบัน (2018) ผู้ถือหน่วยลงทุนของ Vanguard สามารถประหยัดเงินค่าธรรมเนียมไปได้ถึง $217 billion!!! แม่จ้าว ### ถ้าที่พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ไม่มีความบังเอิญเป็นเรื่องจริง เรื่องราวของ Jack ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นแบบรูปธรรม (อันนี้ไม่มีในหนังสือนะคะ มันเป็นความรู้สึกส่วนตัวของเรา) Paul A. Samuelson ได้รับรางวัลโนเบลจากการวิจัยของเค้า และงานวิจัยของ Paul ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสาร The Journal of Portfolio Management ในเดือนตุลาคม 1974 เรื่อง “The Challenge of Judgement” Dr. Samuelson could find no “brute evidence” that fund managers could systematically outperform the returns of the S&P 500 Index “on repeatable, sustained basis” …he demands that someone, somewhere, start an index fund modeled on the S&P 500. “As yet, there exist no convenient fund that apes the whole market, requires no load, and keep commission…fees to the feasible minimum” ผลงานวิจัยของ Paul ระบุว่า เค้า ไม่สามารถหาหลักฐาน เพื่อที่จะพิสูจน์ได้ว่า จะมีผู้จัดการกองทุนคนใด ที่สามารถบริหารกองทุน แล้ว ได้ผลตอบแทนชนะ S&P 500 index อย่างเป็นระบบ, ยั่งยืน โดยเป็นผลที่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องซ้ำได้เลย Paul บอกว่าต้องการให้มีใครสักคน ที่ไหนก็ได้ในโลก สร้างกองทุนที่เป็น index fund ไปลงแบบ S&P 500 โดยที่เก็บค่าธรรมเนียมให้ต่ำที่สุด Challenge to Judgement.png JackBoglePaulVolcker.jpg ... เชื่อมั้ยคะ ว่า Jack ได้อ่าน paper นี้ไม่กี่วันหลังจากที่เค้าเพิ่งจดทะเบียนจัดตั้ง Vanguard ขึ้นมา .. เรื่องที่ Paul ทำวิจัยก็ไปสอดคล้องกับวิทนานิพนธ์ที่เค้าเขียนเมื่อ 24 ปีก่อน ตอนที่เค้าจะจบจาก Princeton “Mutual fund may make no claim to superiority over the market averages” ในวิทยานิพนธ์ของ Jack เขียนว่า ไม่มีกองทุนรวมใดในโลกที่สามารถอ้างได้ว่าทำผลตอบแทนชนะค่าเฉลี่ยของตลาด หลักฐานคือ Jack ได้รวบรวมสถิติ annual return ของแต่ละกองทุนรวมที่มีอยู่ในสมัยนั้นย้อนไป 30 ปี (1945-1975) เทียบผลตอบแทนกับ S&P 500 เพื่อนำเสนอใน proposal เพื่อขอ board อนุมัติการจัดตั้งกองทุน “The First Index Investment Trust” (ชื่อเดิมของ Vanguard 500 Index Fund) ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index = 11.3% ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมหุ้น = 9.7% ถ้าใส่เงิน $1,000,000 ลงใน S&P 500 Index จะได้ $25,020,000 แต่ถ้าใสเงิน $1,000,000 ลงในกองทุนรวมหุ้นทั่วไปจะได้ $16,390,000 Board เห็นตัวเลขก็ทึ่ง แต่ยังกังวลว่า Vanguard จะทำได้เหรอ เพราะมีข้อกำหนดที่โดนแบน ห้ามทำนู่น นี่ค้ำคออยู่ Jack บอกว่า ก็ไม่ได้ทำอะไรนิ แค่ไปถือหุ้น 500 ตัวใน S&P 500 Index แค่นั้น ** Jack ได้ลองรัน model ซ้ำอีกทีในปี 2016 ใช้ข้อมูลช่วง 1985-2015 พบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index ยังคงสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของ actively managed large-cap blend funds อยู่ 1.6 percentage point. บางตอนของหนังสือ Jack พูดถึง กองทุน Magellan Fund ของ Peter Lynch แห่ง Fidelity จากที่เคยเล่าถึงมุมมองของ Jack ต่อ Go-Go era ไปแล้วนั้น กองทุนนึงที่ outperform คือ Magellan Fund หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากช่วงฟองสบู่แตกใน Go-Go era กองทุนนี้เปิดขายครั้งแรกปี 1963 แต่ Magellan ทำผลงานได้น่าประทับใจ สามารถเอาชนะ S&P 500 ได้ถึง 22. 5 percentage point ต่อปี ในช่วง 1975-1983 และทำผลงานดีต่อเนื่องอีกช่วง 1984-1993 โดยชนะ S&P 500 ได้ 3. 5 percentage point ต่อปี แต่หลังจากที่ Peter Lynch ลาออก ผลงานของกองทุนเริ่มถดถอย และเริ่มแพ้ตลาดถึง 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 24 ปีหลังจากนั้น Magellan ที่เคยมีสินทรัพย์สูงถึง $110 billion ในปี 2000 แต่ถึงปัจจุบัน 2018 เหลือสินทรัพย์เพียง $17 billion (หายไป $93 billion) Jack ปิดท้ายว่า “He who lives by the sword shall die by the sword.” ** Note ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 ระดับ market share ของ Fidelity เริ่มนิ่งเพราะเข้ามาทำ Index funds ที่คิดเป็น 25% ของ Fidelity ‘s equity fund assets ### 2 ตอนสุดท้ายนี่จะออกดราม่าหน่อยๆ นะคะ และมีการพาดพิงบุคคลที่ 3 ถ้าอยากเคลียร์ยังไง ให้ตามไปเคลียร์กับ Jack Bogle คนเขียนนะคะ เราเป็นคนอ่านที่เค้าเขียน แล้วเอามาเล่าให้ฟังค่ะ ^^ Please do not kill the messenger Section นี้ยาวที่สุดในหนังสือ เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาและผลการดำเนินงานของกองทุนหลายๆกอง รวมไปถึงช่วงเวลา ว่าผ่านมาได้อย่างไง แต่เราไม่มีเจตนาที่จะแปล หรือสรุปหนังสือ ดังนั้น มันอาจจะไม่ครบ แต่ถ้าสนใจไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ ### ตอนต่อไป เป็นตอนจบที่เราจะเล่า (แต่ไม่ใช่ตอนจบของหนังสือนะคะ) Future of Investment Management – Bogle’s view
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. ม.ค. 24, 2019 11:21 am
0
25
Re: “Stay The Course” / หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle
The Revolution of Index Fund “The search for winning fund managers is a tough and ultimately unrewarding strategy for the vast majority of investors.” ก่อนอื่นมาดูผลงานกันก่อนค่ะ Disruptor2.jpg Vanguard size2.png ค่าใช้จ่ายของกองทุนในกลุ่ม Vanguard มีค่า Investment expenses และ operating expenses คิดเป็น 0.02% ในปี 2018 ลดลงมาถึง 94% จากปี 1977 ที่ตอนนั้นก็บอยู่ที่ 0.35% Vanguard expense2.png ลองนับดูเล่นๆแล้ว ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนขึ้นมาในปี 1975 จนถึงปัจจุบัน (2018) ผู้ถือหน่วยลงทุนของ Vanguard สามารถประหยัดเงินค่าธรรมเนียมไปได้ถึง $217 billion!!! แม่จ้าว ### ถ้าที่พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ไม่มีความบังเอิญเป็นเรื่องจริง เรื่องราวของ Jack ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นแบบรูปธรรม (อันนี้ไม่มีในหนังสือนะคะ มันเป็นความรู้สึกส่วนตัวของเรา) Paul A. Samuelson ได้รับรางวัลโนเบลจากการวิจัยของเค้า และงานวิจัยของ Paul ถูกตีพิมพ์ลงนิตยสาร The Journal of Portfolio Management ในเดือนตุลาคม 1974 เรื่อง “The Challenge of Judgement” Dr. Samuelson could find no “brute evidence” that fund managers could systematically outperform the returns of the S&P 500 Index “on repeatable, sustained basis” …he demands that someone, somewhere, start an index fund modeled on the S&P 500. “As yet, there exist no convenient fund that aps the whole market, requires no load, and keep commission…fees to the feasible minimum” ผลงานวิจัยของ Paul ระบุว่า เค้า ไม่สามารถหาหลักฐาน เพื่อที่จะพิสูจน์ได้ว่า จะมีผู้จัดการกองทุนคนใด ที่สามารถบริหารกองทุน แล้ว ได้ผลตอบแทนชนะ S&P 500 index อย่างเป็นระบบ, ยั่งยืน โดยเป็นผลที่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องซ้ำได้เลย Paul บอกว่าต้องการให้มีใครสักคน ที่ไหนก็ได้ในโลก สร้างกองทุนที่เป็น index fund ไปลงแบบ S&P 500 โดยที่เก็บค่าธรรมเนียมให้ต่ำที่สุด Challenge to Judgement.png JackBoglePaulVolcker.jpg ... เชื่อมั้ยคะ ว่า Jack ได้อ่าน paper นี้ไม่กี่วันหลังจากที่เค้าเพิ่งจดทะเบียนจัดตั้ง Vanguard ขึ้นมา .. เรื่องที่ Paul ทำวิจัยก็ไปสอดคล้องกับวิทนานิพนธ์ที่เค้าเขียนเมื่อ 24 ปีก่อน ตอนที่เค้าจะจบจาก Princeton “Mutual fund may make no claim to superiority over the market averages” ในวิทยานิพนธ์ของ Jack เขียนว่า ไม่มีกองทุนรวมใดในโลกที่สามารถอ้างได้ว่าทำผลตอบแทนชนะค่าเฉลี่ยของตลาด หลักฐานคือ Jack ได้รวบรวมสถิติ annual return ของแต่ละกองทุนรวมที่มีอยู่ในสมัยนั้นย้อนไป 30 ปี (1945-1975) เทียบผลตอบแทนกับ S&P 500 เพื่อนำเสนอใน proposal เพื่อขอ board อนุมัติการจัดตั้งกองทุน “The First Index Investment Trust” (ชื่อเดิมของ Vanguard 500 Index Fund) ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index = 11.3% ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมหุ้น = 9.7% ถ้าใส่เงิน $1,000,000 ลงใน S&P 500 Index จะได้ $25,020,000 แต่ถ้าใสเงิน $1,000,000 ลงในกองทุนรวมหุ้นทั่วไปจะได้ $16,390,000 Board เห็นตัวเลขก็ทึ่ง แต่ยังกังวลว่า Vanguard จะทำได้เหรอ เพราะมีข้อกำหนดที่โดนแบน ห้ามทำนู่น นี่ค้ำคออยู่ Jack บอกว่า ก็ไม่ได้ทำอะไรนิ แค่ไปถือหุ้น 500 ตัวใน S&P 500 Index แค่นั้น ** Jack ได้ลองรัน model ซ้ำอีกทีในปี 2016 ใช้ข้อมูลช่วง 1985-2015 พบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของ S&P 500 Index ยังคงสูงกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยของ actively managed large-cap blend funds อยู่ 1.6 percentage point. บางตอนของหนังสือ Jack พูดถึง กองทุน Magellan Fund ของ Peter Lynch แห่ง Fidelity จากที่เคยเล่าถึงมุมมองของ Jack ต่อ Go-Go era ไปแล้วนั้น กองทุนนึงที่ outperform คือ Magellan Fund หนึ่งในผู้รอดชีวิตจากช่วงฟองสบู่แตกใน Go-Go era กองทุนนี้เปิดขายครั้งแรกปี 1963 แต่ Magellan ทำผลงานได้น่าประทับใจ สามารถเอาชนะ S&P 500 ได้ถึง 22. 5 percentage point ต่อปี ในช่วง 1975-1983 และทำผลงานดีต่อเนื่องอีกช่วง 1984-1993 โดยชนะ S&P 500 ได้ 3. 5 percentage point ต่อปี แต่หลังจากที่ Peter Lynch ลาออก ผลงานของกองทุนเริ่มถดถอย และเริ่มแพ้ตลาดถึง 2% ต่อปี เป็นระยะเวลา 24 ปีหลังจากนั้น Magellan ที่เคยมีสินทรัพย์สูงถึง $110 billion ในปี 2000 แต่ถึงปัจจุบัน 2018 เหลือสินทรัพย์เพียง $17 billion (หายไป $93 billion) Jack ปิดท้ายว่า “He who lives by the sword shall die by the sword.” ** Note ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 ระดับ market share ของ Fidelity เริ่มนิ่งเพราะเข้ามาทำ Index funds ที่คิดเป็น 25% ของ Fidelity ‘s equity fund assets ### 2 ตอนสุดท้ายนี่จะออกดราม่าหน่อยๆ นะคะ และมีการพาดพิงบุคคลที่ 3 ถ้าอยากเคลียร์ยังไง ให้ตามไปเคลียร์กับ Jack Bogle คนเขียนนะคะ เราเป็นคนอ่านที่เค้าเขียน แล้วเอามาเล่าให้ฟังค่ะ ^^ Please do not kill the messenger Section นี้ยาวที่สุดในหนังสือ เล่าเรื่องประวัติความเป็นมาและผลการดำเนินงานของกองทุนหลายๆกอง รวมไปถึงช่วงเวลา ว่าผ่านมาได้อย่างไง แต่เราไม่มีเจตนาที่จะแปล หรือสรุปหนังสือ ดังนั้น มันอาจจะไม่ครบ แต่ถ้าสนใจไปหาอ่านเพิ่มเติมได้ค่ะ ### ตอนต่อไป เป็นตอนจบที่เราจะเล่า (แต่ไม่ใช่ตอนจบของหนังสือนะคะ) Future of Investment Management – Bogle’s view
โดย
ผักกาด
พฤหัสฯ. ม.ค. 24, 2019 11:14 am
0
13
Re: VI หาดใหญ่
หลบหน่อยพระเอกมา (ป.ล. ไม่ได้เรียงตามหนังสือนะคะ อยากจะเล่าก็เล่าค่ะ) กำเนิดของ Vanguard – The Birth of a New Flagship Vanguard logo.png หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต กลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการทหารโดดเด่นไปทั่วทวีปยุโรป นโปเลียนต้องการจะบุกเกาะอังกฤษเพราะอังกฤษถือเป็นภัยคุกคามสำหรับฝรั่งเศส อังกฤษมีกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อว่าทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ที่กองเรือฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้มาแล้วอย่างหมดท่า เมื่อเห็นดังนั้นฝรั่งเศสจึงหันไปร่วมมือกับสเปนที่เป็นพันธมิตร ซึ่งกองทัพเรือสเปนก็จัดว่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร เข้าบุกหมายจะตีเกาะอังกฤษ สิงหาคม 1798 ในการรบที่สมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile ทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของ พลเรือโท ลอร์ดเนลสันผู้ซึ่งบัญชาการรบอยู่บนเรือหลวง Vanguard (ช่วงนั้นอยู่ภายใต้ ดยุคแห่ง Wellington) นำทัพเรืออังกฤษ 14 ลำ แยกเป็นสอง กอง กองนึงล้อมอยู่ด้านนอก กองนึงแอบล่องเข้าไปตรงกลาง สามารถจมเรือรบของฝรั่งเศสได้ 17 ลำได้สำเร็จ (ดัดแปลงมาจาก Wikipedia และ history today.com ค่ะ) โป๊ะ เช๊ะ! ในช่วงฤดูร้อนปี 1974 Jack ปิดหนังสือที่เค้าเพิ่งซื้อมา ... พึมพำกับตัวเอง อะไรมันจะเข้ากับชีวิตเราขนาดนี้ นายพลเนลสัน, ดยุคแห่ง Wellington (หมายถึง Mr. Morgan ในบริบทของ Jack) ต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่หลังชนฝา ... บัญชาการรบบนเรือหลวง Vanguard... อีกอย่าง Vanguard ก็แปลว่าผู้นำแห่งแนวทางใหม่ด้วย .. อะไรจะลงตัวขนาดนั้น เอาชื่อนี้ละวะ !! ## กลับมาที่การควบรวมกับ 4 สหายแห่ง Boston ซึ่งเป็นการให้หุ้นของ Wellington Management Company โดยที่ 4 partners ถือ 40%, ตัว Jack ถือ 28% และที่เหลือเป็น ผถห ในตลาดถือ 32% สมัยนั้น พวกเค้าถูกเรียกว่า whiz kids Whiz kids2.png ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หุ้น Nifty-Fifty กำลังมาแรงและไม่มีใครคิดว่าหุ้นเหล่านั้นจะตก ลงมาได้เลย หุ้นแบบ Xerox, Polaroid, IBM, Avon, Digital Equipment พุ่งขึ้นไปสูงเกินกว่า 50 เท่าของ earning แต่หลังจากที่ฟองสบู่แตกในปี 1973 ไมใช่เพียงเม่าอเมริกันที่ตายเกลื่อน แต่ยังรวมไปถึงผู้จัดการกองทุน, นักลงทุนสถาบัน, บริษัทประกัน, และพวก college endowment funds เหตุการณ์ดังกล่าว พลอยทำให้ business model ตัวใหม่ของ Wellington เละไปด้วย สินทรัพย์ของ Ivest หายไปถึง 65% รวมไปถึงเจ้ากอง Go-Go 2 กองที่ทำเอาไว้ก็มีผลประกอบการย่ำแย่ และสุดท้าย failed ไปในที่สุด ส่วนลูกพี่ once-conversative Wellington (กอง Wellington ที่ครั้งนึงเคยหัวโบราณ) ก็เละเป็นโจ๊กในช่วงปี 1966-1976 “we had a fiduciary duty both to our mutual fund shareholders and to our management company shareholders. But when a privately held management company becomes publicly held, this conflict of interest is exacerbated” 1971 Jack เสนอแนวความคิดว่าเมื่อมันเกิด conflict of interest ในการบริหารจัดการกองทุนแบบนี้ เราควรจะเดินหน้า Mutualization ให้เต็มตัว นั่นคือการเสนอให้ funds acquire management company เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุน (หุ้น) เป็นเจ้าของกองทุน และเค้าอยากจะทำให้มันเกิดขึ้นจริงๆ แต่ในความตลาดหมี ช่วง 1973-1974 ทำให้ partnership ที่ก่อตั้งขึ้นตอนปี 1966 ต้องแยกตัว ช่วงนั้นสินทรัพย์ของ Wellington ที่เคยมีสูงสุดประมาณ $2 billion ในปี 1965 ลดลงมาเหลือไม่ถึง $ 1 billion และต่ำสุดที่ $ 480 million billion ในปี 1975 (คิดดู ว่าจาก 2000 เหลือ 480) ราคาหุ้นจาก $50/share >> $ 4.25/share ช่วงเวลาแบบนี้... เราต้องหา แพะรับบาป ... แน่นอนว่าทุกคนชี้นิ้วมาที่ Mr. Bogle ใช่ค่ะ.. Jack Bogle ถูกไล่ออกจาก CEO ของ Wellington Management Company ในวันที่ 23 มกรา 1974 และ Robert W. Doran ถูกโปรโมทขึ้นเป็น CEO มันเป็นช่วงเวลาที่เค้าบอกว่าใจสลาย ... แต่ว่าเค้าเลือกที่จะสู้กลับ ในสมัยนั้นกองทุนจะถูกควบคุมดูแลโดยคณะกรรมการอิสระ ทำให้เค้ายังมีโอกาสสู้ เช้าวันต่อมา เค้าเรียก บรรดา board of directors ของกองทุน Wellington 11 กอง ประชุมกันที่นิวยอร์ค เสนอว่าเราควรจะประกาศตัวเป็นอิสระ จาก Wellington Management Company แล้วจะทำการ mutualize กลุ่มกองทุน 11 กองของพวกเค้า เพื่อที่จะมาทำกันเองแบบ “at-cost” basis ซึ่ง Jack บอกว่ามันจะเป็นการ disrupt อุตสาหกรรมกองทุน เพราะไม่เคยมีใครทำมาก่อน แม้แต่ New York Times ยังไม่เข้าใจเลยว่า อะไรกำลังเกิดขึ้น ... วันที่ 14 มีนา 1974 New York Times ลงข่าว “Ex-Fund Chief to Come Back” Ex fund Chief to come back.png แต่ว่าในประชุมครั้งนั้นบรรดา board of directors ของกองทุน Wellington กลับขอให้เค้าไปคิดดีกว่าเราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไง ช่วงนั้นมันเป็นเหมือนสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่าง กลุ่มของกองทุน, CEO (Jack), และ Wellington Management Company เค้าไปทำร่างเสนออยู่หลาย options แต่แน่นอนว่าเค้าค่อนข้างเอนเอียงไปทาง mutualization การดำเนินงานของกลุ่มกองทุน โดยการซื้อ Wellington’s mutual funds กลับมาทำกันเอง แทนที่จะไปพึ่ง Wellington Management Company แต่เพราะว่าขอเสนอของเค้าไม่เคยมีใครทำมาก่อน ทำให้ กลต. สหรัฐเองก็ไม่ค่อยแน่ว่าเค้าจะทำมันยังไง สุดท้ายก็จบลงที่ประมาณว่า the Wellington funds จะต้องตั้งบริษัทในเครือขึ้นมาบริหารจัดการกองทุน โดยที่มี Jack เป็น CEO โดยนิยามของการบริหารจัดการนั้น .. ทำได้แค่ financial affairs, share holder recordkeeping, legal & compliance, handling share purchases & redemptions ประมาณว่าบริษัทใหม่ที่เค้าจะเข้าไปทำได้นั้นถูกจำกัดสิทธิ์ และกิจกรรมในการดำเนินงาน (ประมาณว่าเค้าจะถูกจำกัดเรื่องการตลาด การโฆษณา การ distribution การเป็นที่ปรึกษาทางการลงทุน นู่น นี่ นั่น แค่คอยซื้อขายหุ้น หรือหน่วยลงทุน ทำบัญชีรายงานงบได้แค่นั้นค่ะ) เค้าถึงกับเซ็งไปเลย ไม่เอาแล้วเลิก แต่ Jack บอกว่าเค้ายังโชคดีที่มีบอร์ดคนนึง คือ Charles D. Root Jr. ที่เป็นคนที่เห็นต่างจากคนอื่น และเชื่อมั่นในตัวเค้า . .. Jack ถึงกับบอกว่า ในเวลาที่แย่ๆ ขอแค่มีคนคนเดียวที่เข้าใจ มันก็เปลี่ยนโลกของเค้าทั้งใบแล้ว Root บอกเค้าว่า ให้ทำต่อ “Jack, you can call the group anything you want. And then go out and make it the finest name in the whole damn mutual fund industry!” จะตั้งชื่อบริษัทอะไรก็ตั้ง แล้วทำให้มันเป็นชื่อที่ดีที่สุดของโลกของกองทุนเลยนะ ทำยังไง Jack ก็คิดชื่อไม่ออกหรอกค่ะ จนกระทั่งไม่กี่อาทิตย์ก่อนหน้าที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ มีคนขายสิ่งพิมพ์เก่าๆผ่านมาหาที่ออฟฟิศ แล้วเสนอสิ่งพิมพ์และหนังสือที่เกี่ยวกับสงครามนโปเลียน แล้วมีเสนอแถมเรื่องเกี่ยวกับกองเรืออังกฤษเอาชนะฝรั่งเศสได้ในสมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile มาด้วย เค้าก้อเลยซื้อๆมา ... และเค้าก็เริ่มพลิกๆหนังสือดู เหมือนตอนที่เค้าพลิกอ่านหนังสือ Fortune magazine สมัยหาเรื่องทำวิทยานิพนธ์นั่นเอง! ขนลุกเลยเนาะ ตอนต่อไป The Revolution of Index Fund อีก 2 ตอนจบเเล้วค่ะ
โดย
ผักกาด
พุธ ม.ค. 23, 2019 4:42 pm
0
29
Re: “Stay The Course” / หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle
โอ๊ะ ลง ปีผิด สมัยที่อังกฤษรบฝรั่งเศสต้องเป็น 1798 นะคะ ขอโทษค่า _/\_ พิมพ์จนมึน >\\<
โดย
ผักกาด
พุธ ม.ค. 23, 2019 2:48 pm
0
3
Re: “Stay The Course” / หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle
ขอบคุณมากค่า ตามมาๆ ## หลบหน่อยพระเอกมา (ป.ล. เราไม่ได้เรียงตามหนังสือนะคะ อยากจะเล่าก็เล่า) กำเนิดของ Vanguard – The Birth of a New Flagship Vanguard logo.png หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 ภายใต้การนำของ จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต กลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านการทหารโดดเด่นไปทั่วทวีปยุโรป นโปเลียนต้องการจะบุกเกาะอังกฤษเพราะอังกฤษถือเป็นภัยคุกคามสำหรับฝรั่งเศส อังกฤษมีกองทัพเรือที่ขึ้นชื่อว่าทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก ที่กองเรือฝรั่งเศสเคยพ่ายแพ้มาแล้วอย่างหมดท่า เมื่อเห็นดังนั้นฝรั่งเศสจึงหันไปร่วมมือกับสเปนที่เป็นพันธมิตร ซึ่งกองทัพเรือสเปนก็จัดว่าไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร เข้าบุกหมายจะตีเกาะอังกฤษ สิงหาคม 1978 ในการรบที่สมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile ทัพเรืออังกฤษภายใต้การนำของ พลเรือโท ลอร์ดเนลสันผู้ซึ่งบัญชาการรบอยู่บนเรือหลวง Vanguard (ช่วงนั้นอยู่ภายใต้ ดยุคแห่ง Wellington) นำทัพเรืออังกฤษ 14 ลำ แยกเป็นสอง กอง กองนึงล้อมอยู่ด้านนอก กองนึงแอบล่องเข้าไปตรงกลาง สามารถจมเรือรบของฝรั่งเศสได้ 17 ลำได้สำเร็จ (ดัดแปลงมาจาก Wikipedia และ history today.com ค่ะ) โป๊ะ เช๊ะ! ในช่วงฤดูร้อนปี 1974 Jack ปิดหนังสือที่เค้าเพิ่งซื้อมา ... พึมพำกับตัวเอง อะไรมันจะเข้ากับชีวิตเราขนาดนี้ นายพลเนลสัน, ดยุคแห่ง Wellington (หมายถึง Mr. Morgan ในบริบทของ Jack) ต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่หลังชนฝา ... บัญชาการรบบนเรือหลวง Vanguard... อีกอย่าง Vanguard ก็แปลว่าผู้นำแห่งแนวทางใหม่ด้วย .. อะไรจะลงตัวขนาดนั้น เอาชื่อนี้ละวะ !! ## กลับมาที่การควบรวมกับ 4 สหายแห่ง Boston ซึ่งเป็นการให้หุ้นของ Wellington Management Company โดยที่ 4 partners ถือ 40%, ตัว Jack ถือ 28% และที่เหลือเป็น ผถห ในตลาดถือ 32% สมัยนั้น พวกเค้าถูกเรียกว่า whiz kids Whiz kids2.png ช่วงนั้นเป็นช่วงที่หุ้น Nifty-Fifty กำลังมาแรงและไม่มีใครคิดว่าหุ้นเหล่านั้นจะตก ลงมาได้เลย หุ้นแบบ Xerox, Polaroid, IBM, Avon, Digital Equipment พุ่งขึ้นไปสูงเกินกว่า 50 เท่าของ earning แต่หลังจากที่ฟองสบู่แตกในปี 1973 ไมใช่เพียงเม่าอเมริกันที่ตายเกลื่อน แต่ยังรวมไปถึงผู้จัดการกองทุน, นักลงทุนสถาบัน, บริษัทประกัน, และพวก college endowment funds เหตุการณ์ดังกล่าว พลอยทำให้ business model ตัวใหม่ของ Wellington เละไปด้วย สินทรัพย์ของ Ivest หายไปถึง 65% รวมไปถึงเจ้ากอง Go-Go 2 กองที่ทำเอาไว้ก็มีผลประกอบการย่ำแย่ และสุดท้าย failed ไปในที่สุด ส่วนลูกพี่ once-conversative Wellington (กอง Wellington ที่ครั้งนึงเคยหัวโบราณ) ก็เละเป็นโจ๊กในช่วงปี 1966-1976 “we had a fiduciary duty both to our mutual fund shareholders and to our management company shareholders. But when a privately held management company becomes publicly held, this conflict of interest is exacerbated” 1971 Jack เสนอแนวความคิดว่าเมื่อมันเกิด conflict of interest ในการบริหารจัดการกองทุนแบบนี้ เราควรจะเดินหน้า Mutualization ให้เต็มตัว นั่นคือการเสนอให้ funds acquire management company เพื่อให้ผู้ถือหน่วยลงทุน (หุ้น) เป็นเจ้าของกองทุน และเค้าอยากจะทำให้มันเกิดขึ้นจริงๆ แต่ในความตลาดหมี ช่วง 1973-1974 ทำให้ partnership ที่ก่อตั้งขึ้นตอนปี 1966 ต้องแยกตัว ช่วงนั้นสินทรัพย์ของ Wellington ที่เคยมีสูงสุดประมาณ $2 billion ในปี 1965 ลดลงมาเหลือไม่ถึง $ 1 billion และต่ำสุดที่ $ 480 million billion ในปี 1975 (คิดดู ว่าจาก 2000 เหลือ 480) ราคาหุ้นจาก $50/share >> $ 4.25/share ช่วงเวลาแบบนี้... เราต้องหา แพะรับบาป ... แน่นอนว่าทุกคนชี้นิ้วมาที่ Mr. Bogle ใช่ค่ะ.. Jack Bogle ถูกไล่ออกจาก CEO ของ Wellington Management Company ในวันที่ 23 มกรา 1974 และ Robert W. Doran ถูกโปรโมทขึ้นเป็น CEO มันเป็นช่วงเวลาที่เค้าบอกว่าใจสลาย ... แต่ว่าเค้าเลือกที่จะสู้กลับ ในสมัยนั้นกองทุนจะถูกควบคุมดูแลโดยคณะกรรมการอิสระ ทำให้เค้ายังมีโอกาสสู้ เช้าวันต่อมา เค้าเรียก บรรดา board of directors ของกองทุน Wellington 11 กอง ประชุมกันที่นิวยอร์ค เสนอว่าเราควรจะประกาศตัวเป็นอิสระ จาก Wellington Management Company แล้วจะทำการ mutualize กลุ่มกองทุน 11 กองของพวกเค้า เพื่อที่จะมาทำกันเองแบบ “at-cost” basis ซึ่ง Jack บอกว่ามันจะเป็นการ disrupt อุตสาหกรรมกองทุน เพราะไม่เคยมีใครทำมาก่อน แม้แต่ New York Times ยังไม่เข้าใจเลยว่า อะไรกำลังเกิดขึ้น ... วันที่ 14 มีนา 1974 New York Times ลงข่าว “Ex-Fund Chief to Come Back” Ex fund Chief to come back.png แต่ว่าในประชุมครั้งนั้นบรรดา board of directors ของกองทุน Wellington กลับขอให้เค้าไปคิดดีกว่าเราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไง ช่วงนั้นมันเป็นเหมือนสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่าง กลุ่มของกองทุน, CEO (Jack), และ Wellington Management Company เค้าไปทำร่างเสนออยู่หลาย options แต่แน่นอนว่าเค้าค่อนข้างเอนเอียงไปทาง mutualization การดำเนินงานของกลุ่มกองทุน โดยการซื้อ Wellington’s mutual funds กลับมาทำกันเอง แทนที่จะไปพึ่ง Wellington Management Company แต่เพราะว่าขอเสนอของเค้าไม่เคยมีใครทำมาก่อน ทำให้ กลต. สหรัฐเองก็ไม่ค่อยแน่ว่าเค้าจะทำมันยังไง สุดท้ายก็จบลงที่ประมาณว่า the Wellington funds จะต้องตั้งบริษัทในเครือขึ้นมาบริหารจัดการกองทุน โดยที่มี Jack เป็น CEO โดยนิยามของการบริหารจัดการนั้น .. ทำได้แค่ financial affairs, share holder recordkeeping, legal & compliance, handling share purchases & redemptions ประมาณว่าบริษัทใหม่ที่เค้าจะเข้าไปทำได้นั้นถูกจำกัดสิทธิ์ และกิจกรรมในการดำเนินงาน (ประมาณว่าเค้าจะถูกจำกัดเรื่องการตลาด การโฆษณา การ distribution การเป็นที่ปรึกษาทางการลงทุน นู่น นี่ นั่น แค่คอยซื้อขายหุ้น หรือหน่วยลงทุน ทำบัญชีรายงานงบได้แค่นั้นค่ะ) เค้าถึงกับเซ็งไปเลย แล้วไม่เอาแล้วเลิก แต่ Jack บอกว่าเค้ายังโชคดีที่มีบอร์ดคนนึง คือ Charles D. Root Jr. ที่เป็นคนที่เห็นต่างจากคนอื่น และเชื่อมั่นในตัวเค้า . .. Jack ถึงกับบอกว่า ในเวลาที่แย่ๆ ขอแค่มีคนคนเดียวที่เข้าใจ มันก็เปลี่ยนโลกของเค้าทั้งใบแล้ว Root บอกเค้าว่า ให้ทำต่อ “Jack, you can call the group anything you want. And then go out and make it the finest name in the whole damn mutual fund industry!” จะตั้งชื่อบริษัทอะไรก็ตั้ง แล้วทำให้มันเป็นชื่อที่ดีที่สุดของโลกของกองทุนเลยนะ ทำยังไง Jack ก็คิดชื่อไม่ออกหรอกค่ะ จนกระทั่งไม่กี่อาทิตย์ก่อนหน้าที่จะจัดตั้งบริษัทใหม่ มีคนขายสิ่งพิมพ์เก่าๆผ่านมาหาที่ออฟฟิศ แล้วเสนอสิ่งพิมพ์และหนังสือที่เกี่ยวกับสงครามนโปเลียน แล้วมีเสนอแถมเรื่องเกี่ยวกับกองเรืออังกฤษเอาชนะฝรั่งเศสได้ในสมรภูมิแห่งแม่น้ำ Nile มาด้วย เค้าก้อเลยซื้อๆมา ... และเค้าก็เริ่มพลิกๆหนังสือดู เหมือนตอนที่เค้าพลิกอ่านหนังสือ Fortune magazine สมัยหาเรื่องทำวิทยานิพนธ์นั่นเอง! ขนลุกเลยเนาะ ตอนต่อไป The Revolution of Index Fund
โดย
ผักกาด
พุธ ม.ค. 23, 2019 2:27 pm
0
20
Re: *9.00 วันนี้เปิดจอง* งาน Money Talk@SET เดือน ก.พ. 62
ขอจองด้วยคนค่า
โดย
ผักกาด
พุธ ม.ค. 23, 2019 9:00 am
0
0
Re: VI หาดใหญ่
ตามมาแปะให้ตามที่พี่ๆแนะนำค่ะ _/\_ “Stay The Course” - The story of Vanguard and the Index Revolution หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle โพสนี้จะขออนุญาตค่อยๆเล่าถึงหนังสือเล่ม (น่าจะ) สุดท้ายของ Jack Bogle ก่อนที่เค้าจะเสียชีวิตเมื่อกลางเดือนที่ผ่านมาค่ะ เล่มนี้ออกมาประมาณเดือนกันยายน 2018 ไม่ใช่การสรุปหนังสือทั้งหมดนะคะ เเค่อยากจะหยิบบางส่วนที่น่าสนใจมาเล่าเฉยๆค่ะ bookcover.png Jack.png “If a statue is ever erected to honor the person who has done the most for American investors, the hands down choice should be Jack Bogle.” -Warren Buffett- เป็น quote แรกที่เขียนถึงเจ้าของหนังสือ Jack Bogle (หรือชื่อจริงคือ John Clifton Bogle) ค่ะ Jack เขียนคำนำหนังสือไว้เมื่อวันที่ 1 กันยายนปีที่แล้ว (2018) เล่าว่า เค้าเขียน “Stay The Course” ขึ้นมาเพื่อย้ำว่าการลงทุนไม่ว่าจะเป็นใน กองทุนดัชนี หรือหุ้นก็ตาม เราต้องลงทุนเป็นระยะยาว ถือเอาไว้นานๆ อย่าไปหวั่นไหวกับความผันผวนรายวันของตลาดหุ้น (stay the course แปลว่า keep going strongly to the end of a race or contest) Jack บอกว่าหนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็น 4 parts โดย Part 1 - จะเป็นเรื่องราวความเป็นมาของ Vanguard ที่เริ่มก่อตั้งปี 1974 และเริ่มทำ index fund ในปี 1975 Part 2 - จะเป็นกองทุนหลักที่ Vanguard funds ทำมา เช่น Wellington fund, index funds, Windsor funds, PRIMECAP funds, และพวก bond funds Part 3 - Jack จะมาบอกว่าเค้ามองอนาคตของ investment management เป็นอย่างไรและมันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร Part 4 - จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ Personal reflection ค่ะ ส่วนตัวสนใจ Part 3 จะเล่าถึงละเอียดหน่อยค่ะ “The First Index Investment Trust” ชื่อเดิม ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น “Vanguard 500 Index Fund” มาดูผลงานกันก่อนค่ะ ตารางนี้บอกเราว่า ถ้าเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน $500 เหรียญ ตอนที่เริ่มมีกองทุนในปี 1977 เเล้วเติมเงินเเบบ DCA ไปเรื่อยๆ $100 ทุกเดือน ผลตอบแทน ณ. สิ้นปี 2017 จะเป็นดังนี้ค่ะ Table.JPG Vanguard (ภาพซ้าย)เป็นกองทุนที่มีขนาด US$ 5 Trillion บริหารเงินให้ลูกค้า 20 ล้านราย ดำเนินงานด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด คือเก็บแค่ at-cost basis เพราะวางโครงสร้างไว้ตามรูปด้านล่างนี้ค่ะ จะเห็นความแตกต่างจากกองทุนอื่นๆ ทั่วๆไป (ภาพขวา) structure2.png Jack Bogle เริ่มเล่าตั้งเเต่สมัยเป็นนักเรียนทุน ไปเรียนในโรงเรียนประจำทึ่ Blair Academy, New Jersey ช่วงนั้นประมาณปี 1945 พบจบเเล้วมาได้ทุนต่อที่ Princeton university เค้าเป็นนักศึกษารุ่น 1951 เเต่เรื่องมันเริ่มตอนที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่หาเรื่องทำไม่ได้ เเล้วไปอ่าน Fortune magazine ที่ออกมาของเดือน ธันวาคม 1949 หน้า 116 เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่อง "Big Money in Boston" น่าจะเป็นเรื่องที่เป็นแรงบันดาลใจเค้าเลยทีเดียว ตามไปอ่าน ที่ Jack เขียนถึงบทความนั้นได้ที่นี่ค่ะ http://johncbogle.com/wordpress/wp-cont ... -17-13.pdf Big Money in Boston เล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติ, นโนบาย และการดำเนินงานของ Massachusetts Investor Trust (M.I.T) ก่อตั้งในปี 1924 เป็น open-end fund กองแรกและจนถึงปัจจุบันใหญ่ที่สุด เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ Jack เขียนวิทยานิพนธ์ที่ไม่เคยมีนักศึกษาคนไหนเขียนมาก่อน MIT.png อันนี้ไปดึง factsheet 3Q2018 บางกองมาแปะค่ะ MIT2.png 1951 Welter L. Morgan (Mr. Morgan) ซึ่งเป็นทั้งศิษย์เก่าที่ Princeton และเป็นทั้ง Mentor ในชีวิตการทำงานของเค้า ... พอ Mr. Morgan ได้อ่านวิทยานิพนธ์ของ Jack ก็ชวนเค้ามาทำงานที่ Wellington fund เลย สมัยนั้นกองทุนยังไม่ค่อยใหญ่ ทั้งอุตสาหกรรมมีสินทรัพย์ ประมาณ $2 billion แต่ Jack บอกว่า เค้าเห็นอนาคตเลยว่าอุตสาหกรรมนี้จะโตไปได้อีกและจะมีเม็ดเงินเข้ามาสูงขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์สูงถึง $ 21 trillion Wellington fund ลงทุนแบบ balanced fund คือถือพวกหุ้นผสมพันธบัตร บริหารไปเรื่อยๆ แต่อุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรต 1960s เค้าเรียกมันว่า Go-Go era เป็นยุคที่กองทุนเริ่มเสนอแนวการลงทุนที่หวือหวามากขึ้น เริ่มมีไปลงใน speculative stocks ทำให้กองทุนของเค้าถูกมองว่า หัวโบราณมากเกินไป มันเหมือนกองทุนของ Wellington เป็น bagel ถ้าเคยทานมันจะแบบแห้งๆ แข็งๆ (แต่ Jack บอกว่ามันเต็มไปด้วยสารอาหาร) พออุตสาหกรรมเริ่มมีโดนัทเข้ามา มันชวนอร่อยกว่า เพราะว่ามันนุ่มนิ่ม สีสันสดใส รสชาติหวานถูกใจ Fidelity ก็เป็นหนึ่งในผู้นำของยุค Go-Go era ที่ทำให้กองทุนเหล่านั้นกลายเป็น “เหมืองทอง” ของผู้จัดตั้งกองทุน .. แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน บางกองถึงกับส่อแววพิรุธในการรายงานผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม บางครั้ง Jack ถึงกับสงสัยเลยว่านี่ใช่ของจริงแน่หรือ? เค้ายกตัวอย่างกอง Enterprise Fund ที่เพิ่งจะจัดตั้งกองทุนในปี 1967 แต่กลับมี return สูงถึง 117% และพอสิ้นปี 1968 มีสินทรัพย์เพิ่มเป็น $950 million … แต่ว่าพอถึงปี 1977 สินทรัพย์ของกองทุนลดลง 84% คือเหลือไม่ถึง $150 million แถมกระแสเงินสดติดลบถึง 22 ปี จากระยะเวลาดำเนินงาน 25 ปี (1970-1994) สุดท้ายก็ต้องปิดกอง ออกจากตลาดไปในปี 2011 กลับมาที่ Wellington ความฮอตของหุ้นหวือหวาตอนนั้นทำให้ market share ของพวกกอง balanced fund ลดลงอย่างน่าใจหาย ลดลงจาก 1955 = 40%, 1965 = 17%, 1970 = 5%, 1975 = แทบจะเหลือ 1% Mr. Morgan ก็เรียก Jack มาคุยว่า เราจะเอายังไงดี เราเริ่มอยู่ไม่ได้แล้วนะ (ตอนนั้นปี 1965 เค้าอายุ 35 ปี) Mr. Morgan บอกว่า “Jack, I want you to take charge and do whatever it takes to solve our problems” มันเป็นอะไรที่เค้าจำได้ดีจนถึงวันนี้ (วันที่เขียนหนังสือ) ประมาณว่าเป็นการบอกกลายๆว่าเค้าจะต้องเป็นผู้สืบทอดต่อจาก Mr. Morgan ... ในที่สุด Jack ก็ตัดสินใจ ทางรอดคือต้องไป merge กับ fund firm อื่น ตอนนั้นเค้าคัดมา 3 ที่ เลือกเอาที่แบบงบการเงินแข็งแกร่ง แล้วก็ยื่นข้อเสนอไปทุกแห่ง แห่งแรก เป็น American Funds group ของ LA ที่ดูแลสินทรัพย์ประมาณ $1 billion (สมัยนั้นกองนี้จัดเป็นอันดับที่ 5 มีสินทรัพย์ประมาณ 3% ของอุตสาหกรรม ) แห่งที่ 2 เป็น กอง stand alone ใน Boston ชื่อ Incorporated Investors ซึ่งต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของ Putnam fund complex แห่งที่ 3 เป็น Franklin Custodian Funds เป็นกองเล็กๆ ซึ่งตอนนั้นมีสินทรัพย์เพียง $ 17 million เท่านั้น ..ทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อ Franklin Templeton Investments มีสินทรัพย์ประมาณ $415 billion ในปี 2018 ผลของการเสนอ merger proposal ไปคือทุกที่ปฏิเสธเค้าหมด! สุดท้ายเค้ามาได้ที่ Thorndike, Doran, Pain & Lewis, Inc.ซึ่งเป็นบริษัทเล็กๆใน Boston มี partners 4 คนเป็นเจ้าของ แต่มีทำกองประเภท Go-Go ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ชื่อ Ivest ตอนนั้นมีสินทรัพย์ประมาณ $ 17 million และทำธุรกิจเกี่ยวกับเป็นที่ปรึกษากองทุนบำนาญด้วยค่ะ แล้ว Mr. Morgan ก็อนุมัติการควบรวมในปี 1966 ตอนหน้าจะเป็น.. กำเนิดของ Vanguard !!!
โดย
ผักกาด
พุธ ม.ค. 23, 2019 8:29 am
0
35
Re: “Stay The Course” / หนังสือเล่มสุดท้ายของ Jack Bogle
เย่ๆ ขอบพระคุณมากค่ะพี่ :oops: :wink: เราโพสช้าหน่อยนะคะ วันละกล่อง พอดีทำงานด้วย ^^ ### Big Money in Boston เล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติ, นโนบาย และการดำเนินงานของ Massachusetts Investor Trust (M.I.T) ก่อตั้งในปี 1924 เป็น open-end fund กองแรกและจนถึงปัจจุบันใหญ่ที่สุด เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ Jack เขียนวิทยานิพนธ์ที่ไม่เคยมีนักศึกษาคนไหนเขียนมาก่อน MIT.png อันนี้ไปดึง factsheet 3Q2018 บางกองมาแปะค่ะ MIT2.png 1951 Welter L. Morgan (Mr. Morgan) ซึ่งเป็นทั้งศิษย์เก่าที่ Princeton และเป็นทั้ง Mentor ในชีวิตการทำงานของเค้า ... พอ Mr. Morgan ได้อ่านวิทยานิพนธ์ของ Jack ก็ชวนเค้ามาทำงานที่ Wellington fund เลย สมัยนั้นกองทุนยังไม่ค่อยใหญ่ ทั้งอุตสาหกรรมมีสินทรัพย์ ประมาณ $2 billion แต่ Jack บอกว่า เค้าเห็นอนาคตเลยว่าอุตสาหกรรมนี้จะโตไปได้อีกและจะมีเม็ดเงินเข้ามาสูงขึ้น ซึ่งก็เป็นไปตามนั้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้มีสินทรัพย์สูงถึง $ 21 trillion Wellington fund ลงทุนแบบ balanced fund คือถือพวกหุ้นผสมพันธบัตร บริหารไปเรื่อยๆ แต่อุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วงกลางทศวรรต 1960s เค้าเรียกมันว่า Go-Go era เป็นยุคที่กองทุนเริ่มเสนอแนวการลงทุนที่หวือหวามากขึ้น เริ่มมีไปลงใน speculative stocks ทำให้ กองทุนของเค้าถูกมองว่า หัวโบราณมากเกินไป มันเหมือนกองทุนของ Wellington เป็น bagel ถ้าเคยทานมันจะแบบแห้งๆ แข็งๆ (แต่ Jack บอกว่ามันเต็มไปด้วยสารอาหาร) พออุตสาหกรรมเริ่มมีโดนัทเข้ามา มันชวนอร่อยกว่า เพราะว่ามันนุ่มนิ่ม สีสันสดใส รสชาติหวานถูกใจ Fidelity ก็เป็นหนึ่งในผู้นำของยุค Go-Go era ที่ทำให้กองทุนเหล่านั้นกลายเป็น “เหมืองทอง” ของผู้จัดตั้งกองทุน .. แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ถือหน่วยลงทุน บางกองถึงกับส่อแววพิรุธในการรายงานผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม บางครั้ง Jack ถึงกับสงสัยเลยว่านี่ใช่ของจริงแน่หรือ ? เค้ายกตัวอย่างกอง Enterprise Fund ที่เพิ่งจะจัดตั้งกองทุนในปี 1967 แต่กลับมี return สูงถึง 117% และพอสิ้นปี 1968 มีสินทรัพย์เพิ่มเป็น $950 million … แต่ว่าพอถึงปี 1977 สินทรัพย์ของกองทุนลดลง 84% คือเหลือไม่ถึง $150 million แถมกระแสเงินสดติดลบถึง 22 ปี จากระยะเวลาดำเนินงาน 25 ปี (1970-1994) สุดท้ายก็ต้องปิดกอง ออกจากตลาดไปในปี 2011 กลับมาที่ Wellington ความฮอตของหุ้นหวือหวาตอนนั้นทำให้ market share ของพวกกอง balanced fund ลดลงอย่างน่าใจหาย ลดลงจาก 1955 = 40%, 1965 = 17%, 1970 = 5%, 1975 = แทบจะเหลือ 1% Mr. Morgan ก็เรียก Jack มาคุยว่า เราจะเอายังไงดี เราเริ่มอยู่ไม่ได้แล้วนะ (ตอนนั้นปี 1965 เค้าอายุ 35 ปี) Mr. Morgan บอกว่า “Jack, I want you to take charge and do whatever it takes to solve our problems” มันเป็นอะไรที่เค้าจำได้ดีจนถึงวันนี้ (วันที่เขียนหนังสือ) ประมาณว่าเป็นการบอกกลายๆว่าเค้าจะต้องเป็นผู้สืบทอดต่อจาก Mr. Morgan ... ในที่สุด Jack ก็ตัดสินใจ ทางรอดคือต้องไป merge กับ fund firm อื่น ตอนนั้นเค้าคัดมา 3 ที่ เลือกเอาที่แบบงบการเงินแข็งแกร่ง แล้วก็ยื่นข้อเสนอไปทุกแห่ง แห่งแรก เป็น American Funds group ของ LA ที่ดูแลสินทรัพย์ประมาณ $1 billion (สมัยนั้นกองนี้จัดเป็นอันดับที่ 5 มีสินทรัพย์ประมาณ 3% ของอุตสาหกรรม ) แห่งที่ 2 เป็น กอง stand alone ใน Boston ชื่อ Incorporated Investors ซึ่งต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของ Putnam fund complex แห่งที่ 3 เป็น Franklin Custodian Funds เป็นกองเล็กๆ ซึ่งตอนนั้นมีสินทรัพย์เพียง $ 17 million เท่านั้น ..ทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อ Franklin Templeton Investments มีสินทรัพย์ประมาณ $415 billion ในปี 2018 ผลของการเสนอ merger proposal ไปคือ ทุกที่ปฏิเสธเค้าหมด! สุดท้ายเค้ามาได้ที่ Thorndike, Doran, Pain & Lewis, Inc.ซึ่งเป็นบริษัทเล็กๆใน Boston มี partners 4 คนเป็นเจ้าของ แต่มีทำกองประเภท Go-Go ที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ชื่อ Ivest ตอนนั้นมีสินทรัพย์ประมาณ $ 17 million และทำธุรกิจเกี่ยวกับเป็นที่ปรึกษากองทุนบำนาญด้วยค่ะ แล้ว Mr. Morgan ก็อนุมัติการควบรวมในปี 1966 ตอนหน้าจะเป็น.. กำเนิดของ Vanguard !!!
โดย
ผักกาด
พุธ ม.ค. 23, 2019 8:01 am
0
22
Re: How to get Super Rich Accidentally / ดร.นิเวศน์ เหมวชิรว
ขอบคุณพี่ Chatchai มากค่ะ _/\_ ถ้าเขียนอะไรผิดพลาดไป ขออภัยไว้ ณ. ตรงนี้ด้วยค่ะ คนสุดท้ายที่จะขอเล่าถึงสำหรับงานในปีนี้คือ Mr. จาคุซซี่ (ถ้าอ่านเร็วๆ) Jack Kouzi เป็น Director ด้าน Strategy ของ VFS Group, Australia https://vfsgroup.com.au/ บินตรงมาจาก Sydney, ประเทศ Australia มาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ Jack เล่าถึงวิธีการหาหุ้นที่เราจะไปลงทุนแบบ Top-Down approach โดยเริ่มจากการมองหาภูมิภาคที่น่าสนใจ กำลังอยู่ในช่วงเติบโต และค่อยมองลงไปถึงระดับประเทศที่มีความน่าสนใจค่ะ และเค้าได้ยกตัวอย่างว่า “ประเทศจีน” เป็นประเทศที่มีศักยภาพในอนาคตค่ะ 20190119_160319.jpg เค้ามองว่าทวีปเอเชีย (รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของพวกเราด้วยค่ะ) จะกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเติบโตกำลังมีการเคลื่อนย้ายจากตะวันตก มาฝั่งตะวันออก ภายในปี 2020 ทวีปเอเชียจะครอง wealth ถึง 44% ของทั้งโลก ที่เค้ามองว่าเอเชียจะได้ไปต่อ และจีนเป็นประเทศที่น่าสนใจค่ะ ด้วยจำนวนประชากร เรื่องการพัฒนาในด้านต่างๆของประเทศ จีนคิดเรื่อง One Belt One Road เพื่อเปิดเส้นทางการค้าใหม่ และกำลังพยายามจะทำให้เกิดได้จริง รวมไปถึงมี Maritime Silk Road (ที่จะกลายมาเป็นเครือข่ายท่าเรือที่จะเชื่อมต่อการค้าจากทะเลจีนใต้ไปแอฟริกา และทำให้เกิดการค้าโดยตรงกับจีนได้ง่ายขึ้น) มีการก่อสร้างโครงการด้าน infrastructure เช่นพวกโรงกลั่นน้ำมัน, โรงไฟฟ้า, นิคมอุตสาหกรรม และกำลังลากสาย fibre optics เพื่อทำให้ initiatives ดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมาได้ โครงการเหล่านี้จีนไม่ได้ทำคนเดียวนะคะ จนถึงตอนนี้มีถึง 60 กว่าประเทศที่ยกมือบอกว่าจะเข้าร่วมด้วยแล้ว 20190119_160554.jpg จีนเป็น World’s banker ลองดูได้จากธนาคารจีนที่กลายเป็นผู้ปล่อยกู้หลักๆของโลก 20190119_161100.jpg จีนเป็น World’s builder ลองดูได้จากบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่เป็น Top 10 ของโลก 20190119_161121.jpg จีนมีบริษัททางด้าน Technology ที่กำลังหายใจรดต้นคอบริษัททางฝั่งตะวันตก อย่างตัวเทคโนโลยี 5G ตอนนี้ก็ยังไม่ชัดว่าจะเป็นฝั่งอเมริกา หรือฝั่งจีนที่จะได้เป็นผู้นำทางด้านนี้ 20190119_161019.jpg ประชากรที่เป็น millennium ของจีนมากขึ้น รายได้มากขึ้น มีการใช้จ่ายมากขึ้นไปกับพวก มือถือ การท่องเที่ยว โดยเค้ายก business model ของ 1 ในหุ้น BATs มาเล่าว่ามีความน่าสนใจ เเต่เราไม่ขอเล่าตรงนี้นะคะ เพราะเค้าไปเล่าเรื่อง business model ที่หุ้นจีนไปทำในอินเดีย ซึ่งเราก็งงๆ ว่าตกลงกำลังพูดถึงจีน หรืออินเดีย คร่าวๆของงานก็จะประมาณนี้ค่ะ
โดย
ผักกาด
อังคาร ม.ค. 22, 2019 6:35 am
0
19
Re: How to get Super Rich Accidentally / ดร.นิเวศน์ เหมวชิรว
ขอบพระคุณมากค่ะพี่ Wispan _/\_ มาต่อกันค่ะ เราจะขอเล่าถึง ผู้หญิงที่น่าอิจฉาที่สุดในงาน ... คนที่โดนปู่ Warren กอด แถมกระซิบข้างหู (^^) และได้ไปสัมภาษณ์ ปู่ Warren ถึง 8 ครั้งในงานประชุมประจำปีของผู้ถือหุ้น Berkshire Hathaway เธอชื่อ Sarah Fu ค่ะ https://www.youtube.com/watch?v=PFRprdawPbE [youtube]https://www.youtube.com/watch?v=PFRprdawPbE[/youtube] Sarah เป็นนักข่าว เธอไม่ได้เล่าถึงการลงทุนมากนัก แต่มาแชร์ประสบการณ์, เล่าเรื่องของปู่ Warren และฉายภาพบรรยากาศเวลาที่เธอได้สัมภาษณ์มากกว่า และนี่เป็นครั้งแรกที่ Sarah มางาน VI Summit ค่ะ เราขอคัดเฉพาะเนื้อๆมาแชร์แล้วกันค่ะ Sarah มักจะถูกคนรอบข้างถามว่า ปู่ Warren ใบ้หุ้นอะไรให้บ้าง ... จริงๆ คงไม่มีหรอกค่ะ ไม่งั้นคงเป็นข่าวดังไปเเล้ว แต่แค่เห็นรูปนี้ก็อิจฉาแล้วอ่ะ อยากมีปู่มาทำท่ากระซิบข้างหูบ้างอะไรบ้าง ^^ 20190120_113322.jpg ตัดภาพมาที่ Sarah ได้ทำข้อมูลกราฟช่วงที่ปู่ Warren อายุระหว่าง 50-88 ปี เทียบกับผลตอนแทนทบต้นของ Berkshire พบว่าเงิน 1 เหรียญสหรัฐ ถ้าลงทุนในหุ้นของ Berkshire ตอนปี 1980 จะโตขึ้นเป็น 1,055 เหรียญสหรัฐ (ขออภัยในมุมมองของภาพค่ะ เราอาจจะไม่ได้นั่งในตำแหน่งที่ดีนัก แต่พยายามถ่ายมาให้ชัดที่สุดแล้ว) 20190120_114852.jpg 20190120_120713.jpg ถัดมา ..ลองมาดูการถือเงินสดของ Berkshire นั้นเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ก็ไม่ทราบว่ายังหาที่ลงที่ถูกใจไม่ได้ หรือส่งสัญญาอะไรหรือเปล่านะคะ ก็ว่ากันไป 20190120_115602.jpg 20190120_120809.jpg และนี่คือหน้าตาของหุ้นหลักๆในพอร์ตของ Berkshire Hathaway ในแต่ละปีค่ะ 20190120_120707.jpg คร่าวๆ ก็จะประมาณนี้ค่ะ สำหรับช่วงของ Sarah
โดย
ผักกาด
จันทร์ ม.ค. 21, 2019 1:50 pm
0
23
Re: *เปิดจอง* งาน Money Talk@SET เดือน ธ.ค. 61
ขอจองด้วยค่ะ
โดย
ผักกาด
พุธ ธ.ค. 12, 2018 9:00 am
0
0
Re: รับจองมีตติ้งภาคใต้ ไตรมาส 3/2561
จองด้วยคนค่า 1 ที่ ขอบคุณมากค่ะ
โดย
ผักกาด
ศุกร์ ต.ค. 26, 2018 8:03 pm
0
0
Re: FROM RAGS TO RICHES
ขอบคุณมากค่า
โดย
ผักกาด
พุธ ต.ค. 24, 2018 9:18 am
0
0
Re: **เปิดจองงาน Money Talk@SET เดือน ต.ค.61
ขอจอง 1 ที่ค่ะ
โดย
ผักกาด
อังคาร ต.ค. 16, 2018 10:51 am
0
0
72 โพสต์
of 2
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
ผักกาด
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พุธ เม.ย. 23, 2014 10:13 am
ใช้งานล่าสุด:
-
โพสต์ทั้งหมด:
214 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.06 ข้อความต่อวัน)
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว