หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
pookii
Joined: พฤหัสฯ. เม.ย. 04, 2013 9:53 am
1414
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - pookii
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: รับจองมีตติ้งวีไอภาคใต้ ไตรมาส 1/2564
จอง 1 ที่ครับ
โดย
pookii
อังคาร พ.ค. 04, 2021 9:04 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกัน COVID-19 แม้ว่าจะมีความพยายามซื้อวัคซีนชนิดต่างๆ มาให้คนไทยใช้ในการป้องกัน COVID-19 แต่วัคซีนหลักสำหรับคนไทยก็คงจะต้องเป็นวัคซีน AstraZeneca-Oxford เหตุที่สำหรับคนไทยก็คงจะต้องเป็นวัคซีน AstraZeneca-Oxford เพราะได้มีการสั่งซื้อล่วงหน้ามากกว่า 60 ล้านโดส ดังนั้น หลายคนคงจะได้เห็นตารางข้างล่างที่สำนักข่าว BBC ได้รวบรวมการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดต่างๆ ๆไปแล้ว ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าวัคซีนหลักที่จะเป็นทางเลือกให้กับคนไทยนั้นจะมีประสิทธิภาพประมาณ 62-90% ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพต่ำกว่าประเภทอื่นๆ เช่น วัคซีน Moderna หรือ Pfizer บ้าง แต่ราคาถูกกว่ามากและเก็บรักษาได้ง่ายดายกว่า ทั้งนี้สำหรับวัคซีนของ Pfizer นั้น รัฐบาลไทยประกาศว่าจะนำเข้ามาให้ฉีดสำหรับเด็ก (อายุ 12ปีขึ้นไป) รูปภาพ https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652450 ล่าสุดนั้นมีงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร The Lanect เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2021 เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer-BioNTech กับ AstraZeneca-Oxford โดยอาศัยข้อมูลการฉีดวัควีนดังกล่าวให้กับชาวสก๊อตแลนด์ 1.33 ล้านคนในช่วง 8 ธันวาคม 2020 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2021 (ฉีดวัคซีนได้อย่างรวดเร็วมากแม้จะเป็นฤดูหนาวของสก๊อตแลนด์) โดยประเมินผลออกมาว่า โดสแรกของวัคซีน Pfizer ลดการป่วยเข้าโรงพยาบาลจาก COVID-19 ได้เท่ากับ 91% โดยติดตามตัวเลขผู้ป่วย 28-34 วันหลังการฉีดวัคซีน สำหรับวัคซีน AstraZeneca นั้นประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยเข้าโรงพยาบาลเท่ากับ 88% ประเทศอิสราเอลเป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนหลายประเภทและฉีดได้อย่างทั่วถึงอย่างรวดเร็วมาก (ปัจจุบันฉีดให้ประชาชนครบเกือบทุกคนแล้ว) ซึ่งมีข้อมูลจากการฉีดวัคซีน Pfizer ให้กับบุคลากรด้านการแพทย์ที่ Sheba Medical Center เกือบ 10,000 คนว่าการฉีดโดสแรกช่วยป้องกันการติดเชื้อ covid-19 ได้สูงถึง 85% เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2021 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่าวัคซีน Pfizer และ Moderna ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็น COVID-19 ได้ 80% สองสัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนเข็มแรกและเมื่อฉีดเข็มที่ 2 แล้วความเสี่ยงที่จะเป็น COVID-19 ก็จะลดลงไปอีกเป็น 90% สองสัปดาห์หลังจากการฉีด ทั้งนี้โดยอาศัยข้อมูลจากการฉีดวัคซีนดังกล่าวให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของสหรัฐ 4,000 คน ซึ่งมีผลใกล้เคียงกับงานวิจัยก่อนหน้าเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสอง สำหรับวัคซีนอีกประเภทหนึ่งที่ประเทศไทยกำลังนำมาใช้คือ Sinovac นั้นเป็นวัคซีนหลักที่ได้ถูกนำไปใช้ที่ประเทศบราซิลและชิลี โดยในกรณีของชิลีนั้นได้มีรายงานข่าวจาก South China Morning Post เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2021 (“Chile COVID-19 vaccination drive adds to Sinovac efficacy data”) โดยมีข้อสรุปว่าวัคซีน Sinovac นั้นให้ความคุ้มครองจาก COVID-19 สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนดังกล่าวประมาณ 56.5% สองสัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนดังกล่าวครบ 2 โดส ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ใกล้เคียงกับที่พบในประเทศบราซิลที่วัคซีน Sinovac ให้การคุ้มครองจาก COVID-19 ประมาณ 50% กรณีของชิลีนั้นน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เป็นประโยชน์เพราะได้มีการฉีดวัคซีนดังกล่าวให้กับประชากรไปแล้วถึง 7.2 ล้านคน โดย 4.3 ล้านคนได้รับการฉีดโดสที่สองไปแล้ว ทั้งนี้จากประชากรที่ประเทศชิลีทั้งหมดเกือบ 19 ล้านคน แต่ปรากฏว่าการระบาดของ COVID-19 ในประเทศชิลีก็ยังมีความรุนแรงอยู่มาก กล่าวคือเมื่อวันที่ 8เมษายน 2021 นั้น ก็มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงถึง 8,195 คนและมีผู้เสียชีวิต 183 คน ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 23,979 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมากสำหรับประเทศที่มีประชากรไม่ถึง 1/3 ของประชากรของประเทศไทย แต่ที่ผมมีข้อสังเกตคือประเทศชิลีมีผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละกว่า 8,000 คนติดต่อกันมานานหลายวันแล้ว แต่ระยะหลังนี้จำนวนผู้เสียชีวิตรายวันยังไม่สูงมาก (เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ) ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะภูมิคุ้มกันที่ได้จากการฉีดวัคซีน กล่าวคือแม้ว่าวัคซีนอาจจะไม่ได้ช่วยป้องกันการเป็น COVID-19 แต่วัคซีนช่วยให้อาการป่วยจาก COVID-19 ไม่รุนแรงและรอดชีวิตได้มากกว่ากรณีที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย อย่างไรก็ดีงานวิจัยของ University of Chile สรุปว่าการฉีดวัคซีน Sinovac โดสแรกนั้นให้ความคุ้มครองจากการติด COVID-19 เพียง 3% เท่านั้น ทั้งนี้ความคุ้มครองจะเพิ่มขึ้นเป็น 27.7% สองสัปดาห์หลังจากการได้รับการฉีดโดสที่สองและความคุ้มครองจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็น 56.5% ในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา งานวิจัยเกี่ยวกับ Sinovac ที่ประเทศบราซิลโดยอาศัยการฉีดวัคซีนดังกล่าวให้กับบุคลากรทางการแพทย์ประมาณ 22,000 คนในช่วงมากราคม-กุมภาพันธ์ 2021 พบว่าวัคซีนดังกล่าวให้ผลในการคุ้มครองจากการติด COVID-19 ประมาณ 50.7% สองสัปดาห์หลังการฉีดวัคซีนโดสที่ 2 และความคุ้มครองเพิ่มขึ้นเป็น 51.8% สามสัปดาห์หลังการฉีดโดสที่ 2 แต่มีประเด็นที่น่าสนใจเพิ่มเติมคือที่บราซิลนั้นมีการระบาดอย่างหนักของ COVID-19 สายพันธุ์บราซิล (สายพันธุ์ P1) ซึ่งพบว่ามีสัดส่วนสูงถึง 64% ของ COVID-19 ที่พบทั้งหมด ทั้งนี้ COVID-19 สายพันธุ์บราซิลนั้นน่าจะทำให้วัคซีนอื่นๆ เช่น Pfizer Moderna และ AstraZeneca มีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 จากสายพันธุ์ดังกล่าวครับ
โดย
pookii
จันทร์ พ.ค. 03, 2021 9:18 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
AstraZeneca vaccine: How common are blood clots https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652370 คนไทยจะต้องพึ่งพาวัคซีนของ AstraZeneca-Oxford เป็นหลักในการป้องกันการเป็นโรค COVID-19 แต่มีข่าวออกมามากมายเกี่ยวกับความเสี่ยงที่การฉีดวัคซีนดังกล่าว อาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรงถึงเสียชีวิต คือเกิดลิ่มเลือด (blood clot) ซึ่งผมพบบทวิเคราะห์ที่ค่อนข้างละเอียดของ CNN เมื่อวันที่ 8 เมษายน ผมจึงขอนำเอาบทวิเคราะห์ดังกล่าวมาสรุปให้อ่านกันในตอนนี้ครับ หลังจากการพบหลักฐานว่า การฉีดวัคซีนของ AstraZeneca (AZ) อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงคือลิ่มเลือดอุดตันที่สมองและที่ท้องได้ในประเทศยุโรปในเดือนมีนาคม หน่วยงานที่รับผิดชอบของยุโรปคือ European Medicines Agency (EMA) และของอังกฤษคือ UK MHRA จึงได้นำเอาข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาและได้ประกาศผลการพิจารณาและข้อสรุปออกมาให้สาธารณชนทราบเมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา โดยมีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้ ในกรณีของ EMA นั้นยอมรับว่า “there is a possible causal association” กล่าวคือเป็นไปได้ที่จะมีความเชื่อมโยงกันระหว่างการฉีดวัคซีน AZ การเกิดลิ่มเลือด แต่ EMA ก็ยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงคำแนะนำให้สามารถฉีดวัคซีน AZ ได้ต่อไป เพราะประโยชน์ที่พึงได้รับนั้นมีมากกว่าอันตรายที่ อาจเกิดขึ้นซึ่งที่มีความเสี่ยงที่ต่ำมาก อย่างไรก็ดีหลายประเทศในยุโรปเพิ่มข้อกำหนดของตนเองโดยแนะนำให้ฉีดวัคซีน AZ สำหรับผู้สูงอายุเป็นหลัก (อายุ 50-60 ปีหรือมากกว่า) ในส่วนของยุโรปนั้นมีรายงานว่ามีผู้ที่ฉีดวัคซีน AZ แล้วเกิดลิ่มเลือดขึ้นทั้งหมด (ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2021) 86 ราย เป็นลิ่มเลือดที่สมอง 62 ราย (เรียกว่า cerebral venous sinus thrombosis หรือ (CVST)) และลิ่มเลือดที่ท้อง (เรียกว่า splanchnic vein thrombosis) 24 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 18 ราย ทั้งนี้จากการฉีดวัคซีน AZ รวมทั้งสิ้น 25 ล้านเข็มทำให้ EMA สามารถสรุปได้ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดที่เป็นภัยอันตรายต่อชีวิตนั้นมีอยู่ค่อนข้างต่ำมากคือประมาณ 1 ใน 100,000 ราย อย่างไรก็ดีในส่วนของข้อมูลของยุโรปนั้นไม่ได้แบ่งแยกในรายละเอียดออกเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น เพศชายหรือเพศหญิงและไม่ได้แบ่งตามอายุ สาเหตุเพราะมีตัวอย่างกรณีการป่วยน้อยรายจึงคงไม่มีความมั่นใจว่าจะมีข้อสรุปที่ชัดเจนได้ในเชิงสถิติ อย่างไรก็ดี EMA มีข้อสังเกตว่าผู้ป่วย “ส่วนใหญ่” นั้นเป็นผู้หญิงอายุน้อยกว่า 60 ปี สำหรับประเทศอังกฤษนั้นก็ยอมรับว่า “ความเชื่อมโยง” (link) กันระหว่างการฉีดวัคซีน AZ กับการเกิดลิ่มเลือด โดยพบการเกิดลิ่มเลือดที่รุนแรง (serious blood clot) ทั้งสิ้น 79 ราย (ตัวเลขถึงวันที่ 31 มีนาคม) และมีผู้เสียชีวิต 19 รายเป็นผู้หญิง 51 คน ผู้ชาย 28 คน แต่ทั้งนี้ก็ได้ฉีดวัคซีน AZ ให้กับผู้หญิงในจำนวนที่สูงกว่าผู้ชายด้วย โดยฉีดไปแล้ว 20 ล้านเข็ม ที่น่าสนใจคืองานวิจัยของมหาวิทยาลัย Cambridge ที่ถูกนำมาใช้อ้างอิงในการแถลงข่าวด้วยดังข้อสรุปปรากฏในตารางข้างต้นนี้ ซึ่งพยายามประเมิน “ผลดี-ผลเสีย” ของการฉีดวัคซีน AZ โดยในคอลัมน์แรกนั้นคือการประเมินว่าการฉีดวัคซีน AZ จะให้ประโยชน์ในการหลีกเลี่ยงอาการป่วยหนักจนต้องนำตัวเข้ารักษาในห้อง ICU ต่อ 100,000 กรณีที่เกิดการเป็นโรค COVID-19 ซึ่งจะเห็นได้ว่าสำหรับคนที่อายุ 20-29 นั้น มีโอกาสป่วยหนักต้องเข้าไปรักษาตัวในห้อง ICU เพียง 0.8 คนต่อ 100,000 คน (ในช่วงเวลา 16 สัปดาห์) แต่ในขณะเดียวกัน คนอายุน้อยดังกล่าวมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการลิ่มเลือดเท่ากับ 1.1 คนต่อ 100,00 คน เป็นผลให้ UKMHRA แนะนำว่าสำหรับคนกลุ่มดังกล่าวนั้นควรเลือกฉีดวัคซีนประเภทอื่นที่ไม่ใช่ AZ จะดีกว่า แต่สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่านั้นก็ยืนยันว่ายังควรรับการฉีดวัคซีน AZ เพราะประโยชน์ที่พึงจะได้รับนั้นสูงกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอย่างมาก เช่นในกรณีของผู้ที่มีอายุ 60-69 ปีนั้น มีเพียง 0.2 คนต่อ 100,000 คน (หรือ 2 คนต่อ 1 ล้านคน) ที่จะเกิดลิ่มเลือดแต่จะช่วยให้ 14.1 คนไม่ป่วยหนักจนต้องเข้าไปรักษาตัวในห้อง ICU นอกจากนั้นก็ยังได้มีการประเมินอีกว่าการฉีดวัคซีน AZ ที่ต้องฉีดทั้งหมด 2 เข็มนั้นเมื่อฉีดเข็มแรกไปแล้วจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 ได้สูงถึง 73% (และสูงถึง 90% เมื่อฉีดเข็มที่ 2) ทั้งนี้มีข้อสรุปด้วยว่าเมื่อฉีดวัคซีน AZ แล้ว ความเสี่ยงที่จะป่วยหนักจนต้องเข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลจะลดลงไปมากกกว่า 80% ประเด็นสุดท้ายคือการเกิดลิ่มเลือดนั้นเป็นเรื่องของพันธุกรรมหรือไม่เพียงใด ซึ่งได้มีการประเมินว่าที่ยุโรปนั้นน่าจะมีคนที่มียีนที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือด (คือยีน Factor V Leiden) ประมาณ 3% ถึง 15% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ในขณะที่ US CDC ประเมินว่ามีประชาชนสหรัฐประมาณ 5% ถึง 8% ที่มียีนที่ทำให้มีความเสี่ยงดังกล่าว การจะเกิดหรือไม่เกิดลิ่มเลือดนั้นให้สังเกตอาการที่ผิดปกติที่ยืดเยื้อเกินกว่า 1 สัปดาห์ เช่น การหายใจไม่ค่อยออก (shortness of breath) อาการเจ็บหน้าอก การบวมของขา อาการปวดท้องเรื้องรัง การปวดหัวอย่างหนัก การมองเห็นที่พร่ามัวและเม็ดเลือดใต้ผิวหนัง (blood spots under the skin) ทั้งนี้หน่วยงานด้านสาธารณสุขของเยอรมนีชี้แจงว่าอาการลิ่มเลือดนั้นสามารถรักษาได้โดยไม่ยาก โดยโรงพยาบาลขนาดกลางและขนาดใหญ่จะสามารถทำการรักษาได้เพราะมีอาการเหมือนกับการแพ้ยาละลายลิ่มเลือดคือ Heparin ซึ่งมีใช้มาตั้งแต่ปี 1916 (105 ปี) มาแล้วครับ.
โดย
pookii
จันทร์ เม.ย. 19, 2021 11:50 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ประเมินเรื่องของวัคซีนและการฉีดวัคซีน ประเทศไทยกำลังกลับมากังวลเรื่องการระบาดระลอก 3 ของ COVID-19 ซึ่งครั้งนี้น่าจะรุนแรงมากกว่ารอบ 2 ที่ตั้งต้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพราะครั้งนี้ดูเหมือนจะไม่ทราบต้นตอของการระบาดและเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ (B117) ที่แพร่ขยายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม 70% และเกิดการระบาดในหลายพื้นที่พร้อมกันและเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางเศรษฐกิจคือกทม.และจังหวัดใกล้เคียงที่คิดเป็นสัดส่วนต่อจีดีพีสูงกว่าสมุทรสาครหลายเท่าตัว ความรุนแรงของการระบาดรอบใหม่นี้คงต้องรอดูหลังสงกรานต์ว่าจะมากน้อยเพียงใด ในขณะเดียวกันไอเอ็มเอฟเพิ่งประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 6 เมษายนไปในทิศทางที่ดีกว่าการประเมินครั้งก่อนหน้าในเดือนมกราคมของปีนี้ โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะขยายตัวได้มากถึง 6% ในปีนี้และ 4.4% ในปี 2022 ดีกว่าการประเมินเดิมที่คาดการณ์ว่าจีดีพีโลกจะขยายตัว 5.5% ในปีนี้และ 4.2% ในปีหน้า ทั้งนี้เพราะการฟื้นตัวที่รวดเร็วของประเทศจีนและสหรัฐเป็นหลัก กล่าวคือจีดีพีของสหรัฐจะขยายตัวสูงถึง 6.4% ในปีนี้ ในขณะที่จีดีพีของจีนจะขยายตัวได้สูงถึง 8.4% ซึ่งดูห่างไกลจากความพยายามที่จะให้จีดีพีของไทยขยายตัวได้ 4% อย่างยิ่ง ตัวเลขดังกล่าวข้างต้นกำลังบอกคนไทยว่าเศรษฐกิจไทยกำลังจะเสื่อมถอยเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลกโดยรวม เพราะเมื่อปีที่แล้วเศรษฐกิจโลกติดลบ 3.3% แต่เศรษฐกิจไทยติดลบมากถึง 6.1% และในขณะที่จีดีพีโลกจะขยายตัว 6.0% ในปีนี้และ 4.4% ในปีหน้า แต่เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวได้เพียง 3% ในปีนี้และ 4% ในปีหน้า ดังนั้น จะเห็นว่าในช่วง 3 ปีดังกล่าว (2020 ถึง 2022) เศรษฐกิจไทยจะถูกเศรษฐกิจโลกทิ้งห่างออกไป 2.8+3+0.4=6.2% หรือคิดเป็นมูลค่าต่อจีดีพีของไทยที่สูญเสียไปหากเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำน้อยกว่าเศรษฐกิจไทยและฟื้นตัวเร็วกว่าเศรษฐกิจไทย ก็จะรวมกันคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท อย่างที่ทราบกันโดยทั่วไปว่ารัฐบาลและทุกๆ ฝ่ายในประเทศไทยกำลังหวังพึ่งพาวัคซีนเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจไทย (ไม่ใช่เพื่อป้องกันคนไทยจากการเป็น COVID-19 เท่านั้น) ซึ่งหากมีความมุ่งหมายดังกล่าวก็ควรต้องกำหนดแนวทางในการจัดสรรการฉีดวัคซีนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว คือ ต้องฉีดวัคซีนให้กับประชาชนบนเกาะภูเก็ตและเกาะสมุย ตลอดจนบุคลากรที่เป็นแนวหน้าในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวก่อนกลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เป็นต้น (ที่สามารถอยู่บ้านเฉยๆ ต่อไปอีกได้) แต่หากกลับไปดูตัวเลขจำนวนวัคซีนและอัตราการฉีดวัคซีนของไทยในช่วงที่ผ่านมาก็จะต้องรู้สึกเป็นห่วงอย่างมากว่า วัคซีนจะไม่สามารถเป็นทางออกทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ในปีนี้ ตัวเลขเท่าที่ผมรับทราบมาคือปัจจุบันประเทศไทยได้รับวัคซีนมาประมาณ 2 ล้านเข็มและฉีดไปแล้วประมาณ 3 แสนเข็ม ดังนั้นจึงประเมินได้ว่าอัตราการฉีดคือประมาณ 7 พันคนต่อ 1 วัน หากตั้งเป้าหมายว่าต้องการเปิดเศรษฐกิจได้อย่างกว้างขวางตั้งแต่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป ก็แปลว่าต้องการให้คนไทยประมาณ 70% ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรก เท่ากับจะต้องฉีดให้คนไทย 47 ล้านเข็มภายใน 30 กันยายนหรือภายใน 168 วัน หากเริ่มต้นเร่งฉีดตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนเป็นต้นไป ในกรณีดังกล่าวก็จะต้องเร่งฉีดให้ได้วันละเกือบ 280,000 เข็ม (เปรียบเทียบกับปัจจุบันที่ฉีดประมาณ 7,000 เข็มต่อวัน) นอกจากนั้นคงจะต้องประเมินด้วยว่าจะต้องฉีดเข็มที่ 2 ให้กับคนที่ฉีดเข็มแรกไปแล้วภายในเวลาประมาณ 12 สัปดาห์อีกด้วย ดังนั้นการประเมินว่าจะต้องฉีดวันละ 280,000 โดยวัคซีน 47 ล้านเข็มจึงจะเป็นการประเมินในขั้นต่ำ แต่ก็น่าจะนำไปใช้เป็นมาตรฐานเบื้องต้นได้เพราะการฉีดเข็มแรกก็จะช่วยได้อย่างมากในการลดการระบาดของ COVID-19 ตลอดจนการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว นอกจากนั้นก็อาจจะยังมีเรื่องของการที่มีการสอบถามและมีข้อกังวลอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากวัคซีนอีกด้วย โดยเฉพาะวัคซีน Astra Zeneca ที่จะต้องเป็นวัคซีนหลักของประเทศไทย ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามีงานวิจัยในเชิงวิชาการทั้งที่ประเทศเยอรมันและนอร์เวย์ ที่มีข้อสรุปว่า การฉีดวัคซีน Astra Zeneca อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาที่รุนแรงได้ในบางกรณี แต่มีจำนวนน้อยมากจริงๆ คือได้มีผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วประมาณ 37 คนจากจำนวนผู้ที่ฉีดวัคซีน Astra Zeneca (AZ) ไปแล้วประมาณ 18 ล้านคน ทั้งนี้อาการข้างเคียงที่รุนแรงดังกล่าวคือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่สมองหรือ Thromboembolic effect โดยผู้ที่เกิดอาการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงอายุ 55 ปีหรือต่ำกว่า ทำให้ประเทศบางประเทศ เช่น เยอรมันที่แนะนำให้ใช้ Astra Zeneca เฉพาะกับผู้ที่อายุ 60 ปีหรือมากกว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 20021 หน่วยงานที่ควบคุมด้านการแพทย์และยาของประเทศอังกฤษและของสหภาพยุโรปคล้ายคลึงกันว่าพบหลักฐานว่าวัคซีน AZ “may be linked with very rare blood clots often in the brain or the abdomen” โดยพบอัตราการป่วยเป็นอาการดังกล่าวประมาณ 1 ต่อ 100,000 คน ทั้งนี้บริษัท Astra Zeneca ยังยืนยันว่าไม่มีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าวัคซีนของบริษัททำให้เกิดอาการดังกล่าวเพราะในเชิงสถิตินั้นการมีอาการ Thromboembolic side effects นั้นเกิดขึ้นในบางกรณีโดยปกติอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับการฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนและหน่วยงานของรัฐในยุโรปก็ยืนยันว่าการฉีดวัคซีน AZ ให้ประโยชน์มากกว่าโทษและกล่าวด้วยว่าอาการข้างเคียงดังกล่าวนั้นสามารถรักษาได้ในโรงพยาบาลขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ทั่วไป อย่างไรก็ดีความไม่แน่นอนและความกังวลดังกล่าว ตลอดจนการฉีดวัคซีนที่น่าจะทำได้ในจำนวนที่ต่ำกว่าที่จะทำให้คนไทยประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมดได้รับวัคซีนภายในต้นไตรมาส 4 ของปีนี้ คงจะหมายหมายความว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของไทยคงจะไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ในปี 2021 นี้ ทั้งนี้หากเกิดการระบาดรอบที่ 3 ที่รุนแรงขึ้นไปอีกก็ยิ่งจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้เกิดขึ้นได้ยากยิ่งขึ้นไปอีกครับ.
โดย
pookii
อังคาร เม.ย. 13, 2021 5:46 pm
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ (3) ต่อเนื่องตอนที่ 3 เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ โดย 2 ตอนแรกนำเสนอเรื่องยีนที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยง ล่าสุดการออกกำลังกายที่ช่วยลดเสี่ยง ครั้งที่แล้วผมกล่าวถึงงานวิจัยที่อังกฤษที่ติดตามการดำเนินชีวิตของผู้ชาย 1,235 คน (อายุ 45-59 ปี) เป็นเวลา 30 ปี (1979-2009) โดยกลุ่มที่ดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 4 ประการจากทั้งหมด 5 ประการ (ไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและดื่มสุราอย่างจำกัด) สามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคสมองเสื่อมได้มากถึง 64% นอกจากนั้นนักวิจัยมีข้อสังเกตที่สำคัญอีก 3 ข้อคือ 1.มีคนที่ดำเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพครบ 5 ประการอย่างต่อเนื่องเพียง 2 คน จึงไม่สามารถสรุปได้ว่าหากทำได้ครบ 5 ประการแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากเพียงใด 2.การประเมินผลอย่างละเอียดสะท้อนว่าการออกกำลังกายเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการคาดการณ์ความเสี่ยง (important predictor) ของการเป็นโรคสมอง กล่าวคือการออกกำลังกายจะลดความเสี่ยงของการเกิดความบกพร่องทางสติปัญญา (cognitive impairment) ถึง 36% และลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) ถึง 59% 3.หากผู้ชายเพียงครึ่งหนึ่งของ 2,235 คน ปรับการดำเนินชีวิตและปฏิบัติตามข้อแนะนำเพิ่มขึ้นอีกเพียง 1 ข้อ (ข้อใดก็ได้) ก็จะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคสมองเสื่อมได้มากถึง 13% ความเสี่ยงะการเป็นโรคเบาหวาน 12% และการเป็นโรคเส้นเลือดตีบตันได้ 6% บางคนอาจมองว่าตอนนี้ตัวเองอายุมากแล้ว คงจะสายเกินไปที่จะเริ่มต้นออกกกำลังกายแล้ว แต่ผมขออ้างอิงงานวิจัยอีก 3 ชิ้นที่มีข้อสรุปว่า it’s never too late to start exercising งานวิจัยผู้สูงอายุ (เฉลี่ย 82 ปี) 716 คน พบว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายน้อยที่สุดมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายมากที่สุดกว่า 2 เท่าตัว งานวิจัยเพื่อประมวลผลงานวิจัยรวม 26 ชิ้น สรุปว่าการออกกำลังกายมีผลโดยตรงต่อสติปัญญา (cognitive performance) ของผู้สูงอายุเกินอกว่า 60 ปีขึ้นไปและการออกกกำลังกายเป็นวิธีที่จะลดความตกต่ำและบกพร่องทางสติปัญญาเมื่ออายุมากขึ้น (exercise is an effective way to reduce cognitive decline in later life) งานวิจัยคนชาวสกอตแลนด์ 638 คน สรุปผลว่าคนที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเมื่ออายุ 70 ปี จะช่วยให้สมองหดตัวลงในอัตราที่ช้ากว่าคนที่ไม่ได้ออกกกำลังกาย ท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านเรื่องของสุขภาพอย่างเป็นประจำคงจะเริ่มเห็นว่าข้อเขียนของผมจะวนเวียนอยู่เพียง 3-4 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกันอยู่คือ 1.ปัญหาสุขภาพหลักที่เราต้องเผชิญคือโรคที่ไม่ติดต่อซึ่งมีอยู่ 5-6 โรคหลักๆ คือ โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดตีบตัน (ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจและ Stroke) โรคสมองเสื่อมและโรคมะเร็ง 2.โรคดังกล่าวนั้นมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันคือการที่เราแก่ตัวลงและเมื่อเราปล่อยให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเกินว่าเกณฑ์ 3.แนวทางในการแก้ไขนั้นไม่ใช่การรอรักษาที่ละโรค เพราะพอเป็นโรคหนึ่งโรคใดแล้วมักจะเป็นโยงกัน ทำให้เป็นพร้อมๆ กันเกือบทุกโรค ดังนั้นแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือการเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเพื่อลดความสี่ยงจากการเป็นโรคร้ายดังกล่าวทุกประเภท 4.แนวทางที่ว่านี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายแล้วคือการกินให้น้อย (เช่นการกินอาหารมื้อเย็นอย่างจำกัดและการจำกัดการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว) การนอนหลับให้เพียงพอ การออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอและการไม่สูบบุหรี่และการดื่มสุราอย่างระมัดระวัง ความเชื่อมโยงของโรคดังกล่าวข้างต้นนั้นเมื่อค้นคว้าเพิ่มเติมก็จะเห็นว่ามีความเชื่อมโยงกันในเชิงพื้นฐาน เช่น American Heart Association อ้างงานวิจัยที่พบว่าการเป็นโรคเบาหวานนั้นสามารถนำไปสู่ความผิดปกติของระดับคอเลสเตอรอล diabetic dyslipidemia ได้คือเมื่ออินซูลินไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ที่ระดับสูงได้ก็จะทำให้ระดับของ LDL คอเลสเตอรอล (ที่ไม่ดี) เพิ่มขึ้นพร้อมไปกับระดับไตรกลีเซอไรด์(triglycerides) และระดับของ HDL คอเลสเตอรอล (ไขมีนที่ดี) ก็จะลดลงไปด้วย ทำให้ภาวะไขมันอุดตันเส้นเลือดมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น เป็นต้น ภาวะดังกล่าวนั้นนอกจากจะกระทบกับร่างกายโดยรวมแล้วเมื่อกระทบกับสมองก็จะนำไปสู่การเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ดังที่กล่าวในตอนก่อนหน้าว่าโรคนี้สามารถเรียกได้ว่าเป็นโรคเบาหวานประเภท 3 แต่ก็มีข่าวดี (เล็กๆ) จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Arizona ตีพิมพ์เมื่อ 20 มีนาคม 2021 ใน EBio Medicine ชื่อ “Metabolic analysis of a selective ABCA1 inducer in obesogenic challenge provides a rationale for therapeutic development” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่พบว่าโมเลกุล CL2-57 สามารถกระตุ้นการทำงานของยีน ABCA1 ที่ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลไปที่สมองให้ทำงานมากขึ้นเพื่อลดระดับของไขมันไม่ดีและเพิ่มไขมันดี ทำให้ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเส้นเลือดตีบตัน โรคเบาหวานและโรคสมองเสื่อมไปพร้อมๆ กัน ซึ่งนักวิจัยกำลังจะทำการวิจัยต่อยอดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยหวังว่าจะพัฒนาให้เป็นยาที่ใช้รักษาโรคได้ต่อไปครับ.
โดย
pookii
พฤหัสฯ. เม.ย. 08, 2021 8:22 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงเป็น ‘โรคอัลไซเมอร์’ ครั้งที่แล้วผมกล่าวถึงการมียีน APOE ประเภท e2, e3 และ e4 ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละคนมีความเสี่ยงจากการเป็นโรคอัลไซเมอร์แตกต่างกันเมื่อสูงอายุ คนที่มียีน APOE ที่ได้รับ e4 จากทั้งบิดาและมารดาคือมี APOE (e4, e4) จะมีความเสี่ยงสูงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งอาจมองว่าไม่เห็นจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อะไรมากนักสำหรับคนที่มียีนดังกล่าวเพราะเปลี่ยนแปลงยีนไม่ได้ แต่ในระยะยาวนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เพราะขณะนี้มีบริษัท start-up ชื่อ Beam Therapeutics (และน่าจะมีบริษัทอื่นๆ) กำลังทำงานวิจัยที่จะตัดแต่ง APOE e4 ให้กลายเป็น APOE e2 ได้ แต่ ณ ปัจจุบันสิ่งที่สำคัญคืองานวิจัยที่พบจากสถิติผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ว่ากลุ่มคนที่มียีน APOE e4 ทั้งคู่ (ซึ่งในโลกน่าจะมีอยู่ประมาณ 15%) นั้นสามารถลดแความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในตอนสูงวัยได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในช่วงวัยกลางคน ซึ่งน่าจะเป็นข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตอย่างแน่นอนในความเห็นของผม การลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงนั้น สามารถทำได้โดยการดำเนินวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพโดยรวม (Healthy Lifestyle) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายให้เพียงพอ การกินอาหารเพื่อสุขภาพในปริมาณที่จำกัด การนอนหลับให้เพียงพอและการไม่สูบบุหรี่และดื่มสุราในปริมาณที่จำกัด แต่เพื่อตอกย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตัวที่ดีต่อสุขภาพนั้น ผมต้องขอยืมข้อสรุปของ Harvard T.H.Chan School of Public Health (22 July 2020) ที่กล่าวว่า “Prediabetes and type 2 diabetes are largely preventable. About 9 in 10 cases in the US can be avoided by making lifestyle changes” ทั้งนี้งานวิจัยที่อ้างถึงสรุปว่า การมีน้ำหนักเกิน (overweight) จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานมากถึง 7 เท่าและหากเป็นโรคอ้วน (obese) จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากถึง 20 ถึง 40 เท่า แต่การลดน้ำหนักตัวลง 7-10% จะลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลง 50% ในทำนองเดียวกัน Mayo Clinic ประเมินว่าการลดน้ำหนักตัวลง 1 กิโลกรัมจะช่วยลดความดันโลหิตได้ 1mm Hg (และควรควบคุมไม่ให้เอวใหญ่เกินไป กล่าวคือผู้ชายเอวไม่เกิน 40 นิ้วและผู้หญิงไม่เกิน 35 นิ้ว) อีกปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงคือการออกกำลังกาย ซึ่งมีงานวิจัยมากมายหลายชิ้นสรุปอย่างชัดเจนว่า การออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญ เช่น งานวิจัยเมื่อปี 1999 (JAMA) เปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้หญิง 70,102 คนเป็นเวลา 6 ปีพบว่า กลุ่มที่ออกกำลังกายมากที่สุดลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลงถึง 46% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลังกาย การเดินเร็วเพื่ออออกกำลังกายเพียงวันละ ½ ชั่วโมงจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวานได้มากถึง 30% งานวิจัยเมื่อปี 2009 โดยอาศัยข้อมูลจากผู้หญิงผิวดำ 45,668 คน ติดตามพฤติกรรมการนั่งดูโทรทัศน์เป็นเวลา 10 ปีพบว่า การออกกำลังกาย 7 ชั่วโมงต่อ 1 สัปดาห์หรือมากกว่า ทำให้มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานลดลงประมาณ 57% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย คนที่ดูโทรทัศน์เท่ากับหรือมากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนที่ดูโทรทัศน์วันละต่ำกว่า 1 ชั่วโมงถึง 86% การเดินเร็วเพื่อออกกำลังกายเท่ากับหรือมากกว่า 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้ 33% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้เดินออกกำลังกาย นอกจากนั้น Mayo Clinic ยังกล่าวถึงการเดินอออกกำลังกายวันละ 30 นาที (สัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง) ว่าจะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ประมาณ 5mm Hg ถึง 8mm Hg แต่ย้ำว่าจะต้องทำให้เป็นประจำเพื่อให้ความดันโลหิตลดลงอย่างถาวร กล่าวคือการออกกำลังกายจะต้องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต กลับมาถึงประเด็นหลักของเรื่องคือการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะการเดินเร็วหรือวิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นมีงานวิจัยที่อังกฤษที่ติดตามการดำเนินชีวิตของผู้ชาย 2,235 คน (อายุ 45-59 ปี) เป็นเวลา 30 ปี (1979-2009) กลุ่มที่ดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 4 ประการจาก 5 ประการ (คือไม่สูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก กินอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอและดื่มสุราอย่างจำกัด) นั้น ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia) ได้มากถึง 64% และลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจมากถึง 50% ตลอดจนชะลอการมีอาการของโรคเส้นเลือดตีบตัน (delay vascular disease events) หรืออาการโรคหัวใจหรือเลือดอุดตันเสมองไปถึง 12 ปี ครั้งต่อไปผมจะเขียนถึงรายละเอียดเพิ่มเติมของงานวิจัยนี้และงานวิจัยอื่นๆ ที่มีผลสรุปอย่างชัดเจนว่าถ้าต้องการให้สมองแข็งแรงและมีสุขภาพดี ก็ต้องรีบหันมาออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและเป็นประจำครับ.
โดย
pookii
จันทร์ มี.ค. 29, 2021 9:33 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ (1) https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652215 ผมให้ความสำคัญกับการลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคสมองเสื่อม โดยเฉพาะโรคอัลไซเมอร์เป็นพิเศษ เพราะเป็นโรคที่ค้นพบมาเกือบ 115 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มียารักษา มีแต่เพียงยาเพื่อชะลออาการได้เพียงเล็กน้อยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยาโดยคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐเพียง 5 ชนิด นอกจากนั้นสถิติของการเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นก็เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้สูงอายุที่มีเพิ่มขึ้นในโลกที่ประชากรโดยเฉลี่ยแก่ตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การมีอายุเกินกว่า 65 ปีเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่สูงที่สุด ในกรณีของโรคอัลไซเมอร์โดยประมาณการว่าในกลุ่มคนที่อายุ 80 ปีหรือมากกว่านั้นมีสัดส่วนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์มากถึง 30-40% มนุษย์ยังไม่ทราบว่าโรคอัลไซเมอร์เกิดขึ้นจากอะไร แต่ทราบว่ามียีนประมาณ 50 ยีนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (association) การเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคนี้โดยอาจแบ่งการเกิดขึ้นของโรคอัลไซเมอร์ได้เป็น 2 กรณีหลักๆ คือการเกิดขึ้นในช่วงที่อายุยังไม่มาก (early onset of Alzheimer’s) ประมาณอายุกลางคนหรือส่วนใหญ่คือเกิดขึ้นในกลุ่มของผู้สูงอายุ (late-onset of Alzheimer’s) ดังที่ผมได้กล่าวแล้วข้างต้น ข้อมูลจาก Mayo Clinic สรุปว่าสำหรับการเป็นโรค late onset of Alzheimer’s นั้นพบว่ามียีนอย่างน้อย 7 ตัวที่อาจมีการเกี่ยวเนื่องในการเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคดังกล่าวได้ เช่น ยีน CLU ที่ทำหน้าที่กำจัด Amyloid Beta ที่เกาะตัวบนเปลือกสมองทำให้สมองฝ่อหรือยีน CRI ที่เมื่อขาดแคลนจะสามารถนำไปสู่การอักเสบของสมองทำให้สมองเสื่อมสภาพ และยีน PLD3 ที่จากสถิติพบว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรค late onset of Alzheimer’s ซึ่งตรงนี้ผมต้องขอย้ำอีกครั้งว่าเป็นเพียงข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับความเสี่ยงเท่านั้น การมีหรือไม่มียีนดังกล่าวไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นสาเหตุของการเป็นโรคหรือมีกลไกอะไรที่ทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ แตกต่างจากบางโรค เช่น โรคเลือด Thalassemia ที่เป็นผลมาจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ทำให้มีความผิดปกติ ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้เพียงพอ เป็นต้น อย่างไรก็ดีก็ได้มีการทำงานวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับยีน APOE กับการเป็นโรค late onset Alzheimer’s ซึ่งผมจะขอนำมาเขียนถึงในตอนนี้เพราะปัจจุบันนี้เราสามารถตรวจร่างกาย (โดยผ่านผู้ที่ให้บริการตรวจสอบพันธุกรรมของบุคคล เช่น 23andme) ว่าตัวของเรานั้นมียีน APOE ประเภทไหน ซึ่งจะบ่งบอกได้ในระดับหนึ่งว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค late onset Alzheimer’s มากน้อยเพียงใด ยีน APOE นั้นมีความสำคัญต่อร่างการอย่างมากเพราะทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เรียกว่า apolipoproteinE ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในการสร้างถุงใส่ไขมัน (lipoprotein) ที่นำเอาไขมัน (lipid, cholesterol) มีเลือดไปให้ร่างกายใช้งานโดย APOE นั้นมีอยู่ 3 ประเภทที่เราจะได้รับเป็นคู่มาจากบิดาและมารดาคือ APOEe2, APOEe3 และAPOEe4 กล่าวคือเราจะมี APOE (e2, e2) APOE (e2, e3) APOE (e2, e4) APOE (e3, e3) และ APOE (e4, e4) ซึ่งหากใครมี APOE (e2, e2) นั้นก็ต้องบอกว่าน่าจะเป็นผู้ที่โชคดีอย่างมาก เพราะคนกลุ่มนี้แทบจะไม่เป็นโรค late onset Alzheimer’s เลย หากอิงกับผลงานวิจัยร่วมเมื่อปี 2019 ของ Banner Alzheimer’s Institute, Boston University, Massachusetts General Hospital และ AD Genetics ที่ชันสูตรสมองของผู้สูงอายุที่เสียชีวิตแล้ว 5,007 คน (เป็นผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ 4,0108 ราย) พบว่า 1.คนที่มียีน APOE (e2, e2) มีเพียง 24 คน (0.5% ของจำนวนคนในงานวิจัยทั้งหมด) แต่เป็นโรคอัลไซเมอร์เพียง 5 คน (0.1% ของจำนวนคนทั้งหมดที่เป็นโรคอัลไซเมอร์) 2.คนที่มียีน APOE (e4, e4) มี 633 คน (15.6% ของคนทั้งหมด) แต่มีที่ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์เพียง 10 คน เท่านั้น 3.คนส่วนใหญ่ที่มี APOE e2, e3, e4 ผสมกันไปตามประเภทที่เหลือ 3 แบบซึ่งมีความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป เช่น คนที่มี APOE (e2, e3) ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ต่ำกว่าคนที่มี APOE (e3, e3) ถึง 87% แต่การมี APOE (e3, e3) ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ต่ำกว่าคนที่มี APOE (e4, e4) ถึง 99.6% เป็นต้น ทำไมการมี APOE e4 จึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ? มีงานวิจัยล่าสุดตีพิมพ์ในวารสาร Alzheimer’s and Dementia (June 2020) ที่ค้นพบข้อมูลใหม่ที่ได้มาจากการใช้หนูทดลองและให้คำอธิบายว่า APOE มีหน้าที่นำเอาไขมัน (lipid) เข้าไปให้สมองนำไปใช้โดยจะทำงานร่วมกับ Sortilin (ใช้คำศัพท์ภาษอังกฤษว่า APOE binds to the receptor Sortilin) เพื่อเอาไขมันเข้าไปสู่นิวรอน (neurons) หรือเซลล์สมอง แต่ปรากฏว่าในกรณีที่มี APOE e4 นั้น ตัว APOE และ Sortilin ไปอุดตันในเซลล์สมองไม่สามารถพาตัวเองออกมาทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องในการลำเลียงไขมันได้ (clumps inside the cells) ซึ่งการอุดตันนั้นนำไปสู่การอักเสบของเซลล์สมองซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้สมองเสื่อม ทั้งนี้การอุกตันดังกล่าวไม่เกิดขึ้นในกรณีของ APOE e2 และ APOE e3 ข้อมูลข้างต้นนั้นบางคนอาจถามว่าจะมีประโยชน์เพียงใดสำหรับการปฏิบัติตัวของเรา (โดยเฉพาะหากเราพบว่าเรามี APOE e4 ทั้งสองตัว) เพราะการมียีนตัวใดตัวหนึ่งนั้นไม่ใช่สิ่งที่เราจะเลือกเองหรือเปลี่ยนแปลงได้ คำตอบคือในระยะยาวนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดต่อยีนหรือ Crispr gene editing แห่งสถาบัน Broad Institute (ของมหาวิทยาลัย Harvard ร่วมกับ MIT) ชื่อ Feng Zhang ได้ตั้งบริษัทชื่อว่า Beam Therapeutics ขึ้น ซึ่งกำลังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า RNA Editing ภายให้โครงการ RNA Editing for Specific C to U Exchange (RESCUE) ที่สามารถดัดแปลงส่วนประกอบของ RNA (ที่รับคำสั่งมาจาก DNA เพื่อนำไปผลิตโปรตีน) จากยีนที่เป็น APOE e4 แต่สามารถปรับเปลี่ยนมาผลิตยีนที่เป็น APOE e2 ได้สำเร็จเมื่อปี 2019 นอกจากบริษัท Beam Therapeutics แล้วก็ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในภาคตะวันตกของสหรัฐที่กำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีในการตัดต่อยีนแบบ RNA Editing เพื่อรักษาโรคต่างๆ อีกด้วย ในระหว่างนี้เราควรทำตัวอย่างไร? มีงานวิจัยที่ติดตามดูสถิติของผู้ที่มียีน APOE e4 พบว่าคนกลุ่มนี้สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ในอนาคตได้อย่างมีนัยสำคัญโดยการระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้มีความดันโลหิตสูงในช่วงวัยกลางคนและจะต้องหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเบาหวานให้ได้อย่างที่สุด เพราะ 2 โรคนี้จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้คนกลุ่มนี้เป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่อแก่ตัวลง ครั้งต่อไปผมจะเขียนถึงประโยชน์ของการออกกำลังการอย่างเป็นประจำ โดยเฉพาะการวิ่งออกกำลังกายในการช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ครับ.
โดย
pookii
ศุกร์ มี.ค. 26, 2021 2:59 pm
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
การกินไขมันอิ่มตัวกับโรคเบาหวาน ผมขอขยายความต่อในบทความตอนนี้ เกี่ยวกับการกินไขมันอิ่มตัวที่ได้มาจากเนื้อสัตว์กับความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้บริโภคเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/652169 โรคเบาหวานประเภท 2 (Type 2 Diabetes-T2D) เกิดจากการที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเรื้อรังจนกระทั่งตับอ่อนผลิตอินซูลินออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการดื้ออินซูลินและ/หรือตับอ่อนเสื่อมสภาพในที่สุด ซึ่งแตกต่างจากโรคเบาหวานประเภท 1 ซึ่งตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินมาตั้งแต่ต้น ทั้งนี้โรคเบาหวานนี้สามารถสรุปได้ว่ากำลัง “ระบาด” อย่างหนักโดยงานวิจัยล่าสุด “Global regional and national burden and trends of diabetes in 195 countries” (Nature 8 September 2020) ประเมินว่า ณ ปี 2017 มีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 451 ล้านคน (ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพียง 118 ล้านคน) และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 693 ล้านคนภายในปี 2045 หากไม่มีมาตรการป้องกันการ “ระบาด” ของโรคเบาหวาน สำหรับประเทศไทยนั้นได้เคยมีการประเมินว่าอาจมีผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากถึง 9-10% ของจำนวนประชากรผู้ใหญ่ของประเทศหรือน่าจะเป็นตัวเลขประมาณ 4-5 ล้านคนหรือมากกว่านั้น ปกติแล้วเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน ผมเข้าใจว่าจะต้องลดการกินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเป็นหลัก แต่พบว่ามีงานวิจัยมากมายที่สรุปว่าการกินไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ รวมทั้งเนื้อสัตว์ที่ผ่านการปรุงต่างมากๆ เช่น ไส้กรอก หมูแฮม เบคอน ฯลฯ ก็เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานดังที่กล่าวถึงไปแล้วในบทความตอนที่แล้ว ครั้งนี้ผมขอกลับมาขยายความเกี่ยวกับงานวิจัยที่อาศัยกลุ่มที่นับถือศาสนานิกาย 7th day Adventist เป็น ฐานข้อมูลเพราะคนกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมเหมือนกัน กล่าวคือจะไม่ดื่มกาแฟหรือสุราและมักจะไม่สูบบุหรี่ จะมีความแตกต่างกันคือการกินเนื้อหรือไม่กินเนื้อสัตว์ ซึ่งในงานวิจัยชุดแรกที่ติดตามคนกลุ่มนี้รวม 8,401 คนเป็นเวลา 17 ปี พบว่าคนที่กินเนื้อสัตว์อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ถึง 29% ทั้งนี้หากกินเนื้อสัตว์ที่มีการปรุงแต่ง (processed meats) ก็จะมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นอีก 27% เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพิ่มเติมก็พบว่า หากดูกลุ่มคนที่กินเนื้อสัตว์และไม่กินเนื้อสัตว์ในระยะยาวทั้ง 17 ปีของช่วงเวลางานวิจัยก็พบว่า คนที่กินเนื้อสัตว์มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์สูงถึง 74% ทั้งนี้แม้จะได้ปรับตัวแปรตัวอื่นๆ ให้เหมือนกันแล้ว เช่น ระดับการศึกษา การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ เป็นต้น การที่มีน้ำหนักตัวสูงเกินเกณฑ์หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น (ในช่วง 17 ปีของงานวิจัย) นั้นทำให้ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ความเสี่ยงที่สำคัญเท่ากับการกินเนื้อสัตว์ นอกจากนั้นก็ยังได้มีการแบ่งกลุ่มของบุคคลตามประเภทของการกิน หรือ ไม่กินเนื้อสัตว์ ออกมาอย่างละเอียดในงานวิจัยเ Adventist Health Study รอบที่ 2 ซึ่งเก็บข้อมูลจากคนกลุ่มนี้มากถึง 60,903 คน และได้ผลสรุปที่น่าสนใจอย่างมากดังปรากฏอยู่ในตารางข้างล่าง จะเห็นได้จากรูปแรกด้านซ้ายมือว่า กลุ่มคนที่กินเนื้อสัตว์เป็นประจำตั้งแต่แรกเริ่มของงานวิจัยนั้น มีสัดส่วนของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมากถึง 7.6% แต่ในกลุ่มคนที่กินอาการประเภทวีแกน (Vegan) คือไม่กินเนื้อสัตว์หรือโปรตีนจากสัตว์เลยนั้น มีสัดส่วนที่เป็นโรคเบาหวานเพียง 2.9% นอกจากนั้นก็จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่กินเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราว (semi-vegetarian) นั้นมีสัดส่วนของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานลดลงคือ 6.1% ตามด้วยกลุ่มที่กินเฉพาะปลาและอาหารทะเลกับนม เนยและไข่ (Pesco-vegetarian) ที่มีสัดส่วนผู้เป็นโรคเบาหวาน 4.8% และกลุ่มที่กินเฉพาะนม เนยและไข่ (Lacto-ovo-vegetarian) ที่มีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเพียง 3.2% เมื่อพิจารณาถึงตรงนี้ก็ดูเหมือนว่าพฤติกรรมการกินที่ “คุ้มค่า” ที่สุดในการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวานคือการหลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ทุกประเภทเหลือแต่การกินนม เนยและไข่ กล่าวคือกินแบบ Lacto-ovo-vegetarian รูปด้านขวาคือการประเมินความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานที่สามารถลดลงได้จากการกินอาหารประเภทต่างๆ ทั้งนี้ได้มีการปรับตัวแปรอื่นๆ ให้เหมือนกันแล้ว เช่น ดัชนีมวลรวมของร่างกาย (BMI) อายุ เพศ เชื้อชาติและการออกกกำลังกาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการกินเนื้อสัตว์เป็นครั้งคราว (semi-vegetarian) นั้นจะลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานลงไปประมาณ 24% และการเป็นวีแกนเต็มตัวจะทำให้ความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวานลดลงไป 49% และในความเห็นของผมพฤติกรรมที่ดูจะ “คุ้มค่า” มากที่สุดคือการเลือกที่จะกินเฉพาะ นม เนยและไข่หรือ Lacto-ovo-vegetarian ซึ่งจะลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวานลงไปถึง 46% เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2019 ได้มีการตีพิมพ์งานวิจัยประเภท Meta-Study (นำเอางานวิจัยประเภทเดียวกัน 9 ชิ้นมาประมวลและวิจัยต่อไปอีกเพื่อหาข้อสรุป) ชื่อ “Association Between Plant-Based Dietary Patterns and Risk of Type 2 Diabetes (JAMA International Medicine) ซึ่งมีข้อสรุปว่า การกินอาหารประเภทพืชจะทำให้ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคเบาหวาน 23% เมื่อเทียบกับคนกินเนื้อสัตว์ ในขณะที่การกินอาหารพืชที่มีประโยชน์ (Healthy Plant-based Diet) ก็จะลดความเสี่ยงลงเพิ่มขึ้นเป็น 30% ทั้งนี้โดยเก็บข้อมูลจากประชากรในทั้ง 9 งานวิจัยรวมกันมากถึง 307,099 คน โดยในกลุ่มดังกล่าวพบผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจำนวนทั้งสิ้น 23,544 คน ในส่วนของคำอธิบายว่าทำไมกินเนื้อสัตว์แล้วจึงจะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานนั้น ยังไม่มีคำตอบชัดเจน แต่เป็นที่ประจักษ์ว่าการที่มีไขมันอยู่ในเส้นเลือดและอวัยวะต่างๆ นั้น ทำให้เกิดการ “ดื้อ” อินซูลิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease) ซึ่งพบว่าคนเป็นโรคเบาหวานนั้นประมาณ 70-80% จะเป็นโรคไขมันพอกตับพร้อมกันไปด้วย (ตับมีบทบาทสำคัญในการสร้างน้ำดี คอเลสเตอรอลและนำเอาน้ำตาลส่วนเกินในเลือดกลับมาเก็บเอาไว้ใช้เมื่อจำเป็น) ทั้งนี้ ในระยะหลังนี้พบว่าจำนวนผู้ที่เป็นโรคไขมันพอกตับ ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุราเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยคาดว่าอาจมีมากถึง 20% ของประชากรโลกทั้งหมดครับ.
โดย
pookii
ศุกร์ มี.ค. 26, 2021 2:55 pm
0
1
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
กิน 'เนื้อสัตว์-ไขมันสัตว์' เพิ่มความเสี่ยงเป็นเบาหวาน ผมเข้าใจมาโดยตลอดว่าการกินอาหารแป้งและโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินน้ำตาลเป็นสาเหตุหลักในการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ส่วนการกินเนื้อสัตว์และไขมันจากสัตว์ซึ่งประกอบด้วยไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) หรือไขมันประเภท Trans Fat นั้นเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดตีบตัน แต่ผมพบงานวิจัยหลายชิ้นที่มีข้อสรุปว่าการกินเนื้อสัตว์และไขมันสัตว์นั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน บทความที่อธิบายความเชื่อมโยงระหว่างการกินไขมันอิ่มตัวกับโรคเบาหวานประเภท 2 มีอยู่มาก แต่ที่ผมพบว่าอ่านแล้วเข้าใจได้ง่ายคือบทความ “Diet and Diabetes: Why Saturated Fats are the Real Enemy” โดยมหาวิทยาลัย University of California, Davis เมื่อ 14 กันยายน 2016 โดยเริ่มด้วยการอธิบายว่าอินซูลินนั้นมีหน้าที่ไขล็อคเปิดประตูของเซลล์ให้น้ำตาลจากเลือดเข้ามา แต่ปริมาณไขมันที่เพิ่มขึ้นในเซลล์ จะทำให้เซลล์เกิดการดื้ออินซูลิน (insulin resistance) ดังนั้น น้ำตาลจึงติดค้างอยู่ในเลือดทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น การดื้ออินซูลินนั้นเกิดขึ้นได้ภายใน 3 ชั่วโมงหลังจากการกินไขมันอิ่มตัว เมื่อเกิดอาการดื้ออินซูลินในเบื้องต้นก็มีความเสี่ยงอย่างมากว่าจะเกิดวัฏจักรแห่งความเสื่อมถอย ที่ทำให้อาการดื้ออินซูลินรุนแรงขึ้นและกระทบกับอวัยวะสำคัญๆ ของร่างกายกล่าวคือ เมื่อน้ำตาลในเลือดมีปริมาณสูงขึ้น ตับอ่อน (pancreas) ก็ต้องทำงานหนักขึ้นในการผลิตอินซูลินออกมา (คนที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 1 จะไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้) แต่ระดับอินซูลินในเลือดสูงนั้นจะนำไปสู่การเกิดไขมันพอกตับ (fatty liver disease) ตับนั้นสามารถผลิตกลูโคสจากไกลโคเจน (glycogen) ได้ แต่จะหยุดผลิตกลูโคสเมื่อเรากินอาหารเพราะมิฉะนั้นแล้วก็จะมีการผลิตกลูโคสเกินความต้องการของร่างกาย แต่เมื่อตับถูกพอกด้วยไขมันตับก็จะดื้ออินซูลินและผลิตกลูโคสออกมาอย่างไม่หยุดหย่อน ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นไปอีก เมื่อระดับกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือดขยับสูงขึ้นไปอีก ตับอ่อนก็ยิ่งเร่งผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้นและทำให้ไขมันพอกตับเพิ่มขึ้นอีก จนในที่สุดตับเองก็ต้องสลัดไขมันออกไปยังเส้นเลือดทำให้ไขมันพอกเส้นเลือดและยังไปพอกตับอ่อนได้อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ความสามารถของตับอ่อนในการผลิตอินซูลินเสื่อมถอยลง วัฏจักรที่เลวร้ายดังกล่าวนั้นนอกจากจะทำลายตับและตับอ่อนและเพิ่มปริมาณน้ำตาลและไขมันในเส้นเลือดแล้ว ก็มักจะอุดตันเส้นเลือดในไตอันจะนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไตวายได้อีกด้วย สิ่งที่สำคัญคือข้อสรุปที่ว่าโรคเบาหวานประเภท 2 นั้นมีสาเหตุสำคัญอีกสาเหตุหนึ่งคือการสะสมของไขมันจากการกินไขมันจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไข่ นมและเนย (ไม่ใช่จากการกินน้ำตาลและแป้งเท่านั้น) ในขณะเดียวกันไขมันที่ได้มาจากพืชเป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัว (mono unsaturated fatty acids) นั้นมีหลักฐานว่าอาจช่วยให้ร่างกายตอบสนองกับอินซูลินได้ดีมากขึ้น ดังนั้น จึงจะต้องถามว่า มีงานวิจัยทางวิชาการที่พิสูจน์ได้หรือไม่ว่าการกินเนื้อสัตว์ในปริมาณที่สูงนั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งผมพบว่ามีงานวิจัยดังกล่าวหลายชิ้นซึ่งผมขอนำมาเสนอเป็นตัวอย่าง 5 ชิ้นคือ การติดตามพฤติกรรมของผู้นับถือศาสนาคริสนิกาย Adventist ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ที่ไม่ค่อยกินเนื้อสัตว์เทียบกับที่กินเนื้อสัตว์ปกติจำนวน 89,000 คน พบว่าคนที่กินเนื้อสัตว์ยิ่งมากเท่าไหร่ก็จะพบการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้นเท่านั้น โดยคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เลย (วีแกนหรือ Vegan) นั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานลดลงไปมากถึง 78% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่กินเนื้อสัตว์ งานวิจัยของ Imperial College ที่ประเทศอังกฤษ (ตีพิมพ์ใน European Journal of Clinical Nutrition February 2005) พบว่าคนที่กินแบบวีแกนมีการตอบสนองต่ออินซูลินที่ดีกว่าคนที่กินเนื้อสัตว์ นอกจากนั้นยังมีความดันโลหิตและระดับน้ำตาลที่ต่ำกว่า ทั้งนี้คนทั้งสองกลุ่มมีน้ำหนักตัวเท่ากัน งานวิจัยชื่อ High-Carbohydrate, high fiber diets for insulin-treated men with diabetes (ตีพิมพ์ใน America Journal of Clinical Nutrition November 1979) นำเอาผู้ชายน้ำหนักตัวปกติที่เป็นโรคเบาวานประเภท 2 อยู่แล้วมาให้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทและใยอาหารในปริมาณสูงแทนการกินเนื้อสัตว์ โดยไม่ให้น้ำหนักตัวลดลง พบว่าการกินแบบวีแกนทำให้สามารถลดปริมาณของการฉีดอินซูลินเพื่อรักษาโรคเบาหวานลดลงไปได้มากถึง 60% โดยครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานทั้งหมด 20 คนนั้นสามารถยุติการฉีดอินซูลินทั้งหมดและการกินอาหารวีแกนนั้นให้ผลในการลดอาการของโรคเบาหวานลงได้ภายในเวลาเพียง 16 วัน งานวิจัย Taiwanese vegetarian and omnivores dietary composition, prevalence of diabetes and impaired fasting glucose (ตีพิมพ์ใน PLoS One February 2014) โดยเก็บข้อมูลจากชาวไต้หวัน 4,384 คนและพบว่าผู้ชายที่กินอาการมังสวิรัติเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่กินเนื้อสัตว์ 50% และสำหรับผู้หญิงนั้นคนที่กินอาหารมังสวิรัติเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่กินเนื้อสัตว์มากถึง 75% งานวิจัย Association between dietary meat consumption and incident type 2 diabetes (Diabetologia, January 2013) เป็นงานวิจัยขนาดใหญ่ที่อาศัยข้อมูลจากฐานข้อมูลประชากร EPIC-Interact 340,234 คนในประเทศในทวีปยุโรป 8 ประเทศ โดยตามเก็บข้อมูลเป็นเวลา 11.7 ปี พบว่าความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 8% เมื่อกินเนื้อสัตว์ต่อวันเพิ่มขึ้น 50 กรัม (เท่ากับอกไก่ไร้กระดูและหนัง 1 ชิ้น) ดังนั้นหากกินเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นวันละ 100 กรัมก็จะทำให้ความเสี่ยงจากการเป็นโรคเ บาหวานเพิ่มขึ้นเป็น 16% ข้อมูลดังกล่าวทำให้ผมต้องยอมเริ่มลดการกินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อย่างจริงจังต่อจากนี้เป็นต้นไปครับ.
โดย
pookii
ศุกร์ มี.ค. 26, 2021 2:52 pm
0
1
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
การบริโภคไขมันจากสัตว์มากไป เสี่ยงที่อาจทำให้เกิดเบาหวานในอนาคต https://www.youtube.com/watch?v=io-51JgR3hg
โดย
pookii
ศุกร์ มี.ค. 26, 2021 2:49 pm
0
0
Re: 2Q21 KS Investment Outlook The Series EP.01 : เศรษฐกิจและการลงทุนไทยหลังได้วัคซีน
https://www.youtube.com/watch?v=_SDnkqrKFXs
โดย
pookii
อาทิตย์ มี.ค. 21, 2021 2:06 pm
0
2
Re: 2Q21 KS Investment Outlook The Series EP.01 : เศรษฐกิจและการลงทุนไทยหลังได้วัคซีน
https://www.youtube.com/watch?v=KEz3PWAy31w
โดย
pookii
อาทิตย์ มี.ค. 21, 2021 2:05 pm
0
1
Re: ‘Beating the Crisis’ กับ ศุภวุฒิ สายเชื้อ
https://www.youtube.com/watch?v=_YzvAcHQq5U
โดย
pookii
จันทร์ ก.พ. 01, 2021 7:21 pm
0
1
Re: ปรับ mindset ของนักลงทุน VI สู่การลงทุนหุ้นเทคโนโลยี ถามอีก กับพี่แดม ชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ นักลงทุน
https://www.youtube.com/watch?v=WvlidRpEZ-g https://www.youtube.com/watch?v=tRaWvAS2yp8
โดย
pookii
จันทร์ ม.ค. 11, 2021 10:45 am
0
3
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
https://www.youtube.com/watch?v=gxESAr0d5hw
โดย
pookii
จันทร์ ม.ค. 04, 2021 10:25 pm
0
0
Re: อภินิหารของหุ้นที่ถูก Corner/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
https://www.youtube.com/watch?v=yH2R9k4ItRE
โดย
pookii
จันทร์ ธ.ค. 28, 2020 4:34 pm
0
2
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
รายการ CEO VISION |การดูแลสุขภาพ (การกิน) ( 28-12-63) https://www.youtube.com/watch?v=FC2K9wgXxzs
โดย
pookii
จันทร์ ธ.ค. 28, 2020 10:47 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เรื่อง "การกลายพันธุ์ของ Covid-19 ในอังกฤษติดง่าย" ทำให้เพิ่มจำนวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว https://www.youtube.com/watch?v=ud8g4eaJPYg
โดย
pookii
พฤหัสฯ. ธ.ค. 24, 2020 9:42 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
Why We Age and Why We Don’t Have To (3) ผมได้เขียนถึง 4 ปัจจัยหลักที่นำไปสู่ความแก่ชรา โดย 2 ปัจจัยแรก Genomic Instability และ Telomere Attrition เหลืออีก 2 ปัจจัยจะกล่าวถึงดังนี้ ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงปัจจัยหลัก 4 ปัจจัยที่นำไปสู่ความแก่ชรา 2 ปัจจัยแรกคือ Genomic Instability และ Telomere Attrition เหลืออีก 2 ปัจจัยหลักคือ Epigenic Alteration และ Loss of Proteostasis ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจได้ไม่ง่ายนัก แต่เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับการแก่ชรา ซึ่งน่าจะมีความครบถ้วนและถูกต้องมากกว่าความรู้อย่างจำกัดที่เราเข้าใจเกี่ยวกับความแก่ชรา เช่น ความเชื่อว่าเป็นเรื่องที่จะต้องเสื่อมถอยลงโดยธรรมชาติเมื่อเวลาผ่านไป (เพราะอันที่จริงแล้ว เซลล์ของมนุษย์และสัตว์มีกลไกที่ซ่อมแซมและแก้ไขความผิดพลาดและความเสียหายที่ เกิดขึ้นในดีเอ็นเอ และยังมีหางเทโลเมียร์ที่ทำหน้าที่ปกป้องรักษาความเสถียรของโครโมโซมเมื่อเซลล์แบ่งตัวอีกด้วยดังที่กล่าวถึงในครั้งที่แล้ว) ที่สำคัญคือ พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ในมิติต่างๆ เพื่อซ่อมแซมหรือตัดแต่งดีเอ็นเอ เช่น กลไก Cripr Cas 9 ที่สามารถตัดต่อ (edit) ยีน (ผู้ที่คิดค้นกลไกดังกล่าวเพิ่งได้รับรางวัลโนเบลในปี 2020) และในส่วนของหางเทโลเมียร์ก็ยังมีเอ็นไซม์ที่ชื่อว่า “เทโลเมอเรส” ซึ่งสามารถเติมความยาวของหางเทโลเมียร์ได้ แต่จะต้องระมัดระวังไม่ให้เป็นการต่ออายุเซลล์ที่อาจเป็นโรคมะเร็ง ดังนั้น ในกรณีเอ็นไซม์เทโลเมอเรสหยุดทำงาน และปล่อยให้หางเทโลเมียร์ถูกเฉือนออกไปจนหมด แล้วปล่อยให้เซลล์หยุดบทบาทและหมดสภาพลง (แต่ไม่ยอมตาย) ก็เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันไม่ให้เซลล์ที่โครโมโซมชำรุดเสียหายและอาจกลายตัวเป็นเซลล์มะเร็ง ข้อสรุปของผมคือ ร่างกายของมนุษย์นั้นมีระบบที่มีความสลับซับซ้อนอย่างมาก และนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญก็ยังจะต้องเรียนรู้อีกมาก สำหรับสาเหตุของการแก่ตัวลงของร่างกายนั้น ข้อต่อไปคือข้อที่ 3 ได้แก่ Epigenetic Alterations นักวิจัยบางคน เช่น ดร.David Sinclair เชื่อว่า ข้อนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการแก่ตัวของร่างกาย Epigenetic Alterations ประเด็นสำคัญที่ต้องขอกล่าวถึงอีกครั้งหนึ่งในส่วนนี้คือ ความเข้าใจว่ามนุษย์มีเซลล์ประมาณ 200 ประเภท (เช่น เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์สมอง) แต่ในทุกๆ เซลล์จะบรรจุดีเอ็นเอครบถ้วนเหมือนกันหมดในนิวเคลียส โดยดีเอ็นเอนั้นหากคลี่ออกมาก็จะยาวประมาณ 2 เมตรและแต่ละส่วนของดีเอ็นเอคือยีน ซึ่งกำหนดลักษณะต่างๆ ของตัวเรา เช่น ความสูง สีผมและความโด่งของจมูก เป็นต้น (หากยีนมีความบกพร่องก็อาจทำให้ตาบอดสีได้ด้วย) มนุษย์มียีนประมาณ 24,000 ยีน แต่ละยีนนั้นมีหน้าที่แตกต่างกันและอาจมีหน้าที่ในการทำงานร่วมกับยีนอื่นๆ ในหลายหน้าที่อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ยีนที่ช่วยในการทำหน้าที่เกี่ยวกับคอเลสเตอรอลคือยีน APOE นั้น คนที่มียีน APOE4 จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มี APOE2 เป็นต้น ที่สำคัญในส่วนนี้คือ เซลล์ของมนุษย์ในตอนแรกที่อยู่ในท้องของมารดานั้นจะเป็นสเต็มเซลล์ หมายความว่า จะปรับตัวไปเป็นเซลล์อะไรก็ได้ แต่ต่อมาจะมีการแบ่งแยกประเภทอย่างชัดเจน เช่น เซลล์ที่ถูกกำหนดให้เป็นเซลล์กล้ามเนื้อก็จะ “อ่าน” เฉพาะยีนในบริเวณของดีเอ็นเอที่สั่งการเกี่ยวกับการแบ่งตัวของเซลล์และการทำงานของเซลล์ที่กำหนดที่เป็นเซลล์กล้ามเนื้อเท่านั้น (ส่วนอื่นๆ มีอยู่ในดีเอ็นเอแต่ไม่ต้องไป “อ่าน”) และการจะทำงานหรือไม่ทำงานของยีน (gene expression) นั้นก็ยังขึ้นอยู่กับการม้วนตัวหรือคลี่ตัวของดีเอ็นเออีกด้วย กิจกรรมเกี่ยวกับการ “อ่าน” ดีเอ็นเอเฉพาะในส่วนที่ควรจะอ่านนั้นเรียกว่า Epigenome (เอฟิจีโนม) หรือแปลตรงตัวว่า ส่วนที่อยู่เหนือว่า genome เรียกในเชิงวิชาการว่า “การควบคุมเหนือพันธุกรรม” ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ว่า เอฟิจีโนมนั้นเหมือนกับเข็ม “อ่าน” แผ่นซีดีเพื่อเล่นเสียงเพลงให้ถูกต้อง ส่วนจีโนมหรือพันธุกรรมนั้นเหมือนกับแผ่นซีดีที่เป็นระบบดิจิทัล การแก่ตัวที่เกิดขึ้นในส่วนของเอฟิจีโนมคือ การที่เข็มอ่านข้อมูลในซีดีชำรุดและอ่านซีดีผิดพลาด เสียงเพลงที่ออกมาจึงผิดเพี้ยนไป ซึ่งความเสื่อมถอยของเอฟิจีโนมนั้นเกิดขึ้นได้จากความคลาดเคลื่อนหลังจากการแบ่งตัวบ่อยๆ ของเซลล์หรือจากมลภาวะในอากาศและในอาหาร ตลอดจนการสูบบุหรี่ เป็นต้น ประเด็นสำคัญคือความเสี่ยงตรงนี้น่าจะแก้ไขได้โดยไม่ยากลำบากนัก แตกต่างจากการชำรุดของพันธุกรรม 4. Loss of Proteostasis หรือการเสื่อมถอยของระบบควบคุมคุณภาพของการผลิตโปรตีนของร่างกาย ตรงนี้ต้องขยายความว่าชิ้นส่วนพื้นฐานที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายและการทำงานของร่างกายคือ กรดอะมิโน (aminoacid) ที่มีอยู่ 20 ประเภท ที่เป็นส่วนประกอบในการสร้างโปรตีนประเภทต่างๆ โปรตีนนั้นจะมีอยู่เป็นร้อยประเภทที่มีความแตกต่างกันในโครงสร้างที่มี 3 มิติ (กว้าง ยาวและสูง) ที่จะต้องถูกผลิตออกมาให้มีมิติและขนาดที่ถูกต้อง จึงจะสามารถนำไปใช้งานในภารกิจต่างๆ แต่หากผลิตออกมาผิดพลาด กล่าวคือมีมิติที่ไม่ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องถูกนำกลับไปที่ “โรงงาน” เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง หรือถ้าผิดพลาดเกินแก้ก็จะต้องนำกลับไปแยกชิ้นส่วนเป็นชิ้นๆ เพื่อนำไปประกอบขึ้นมาใหม่ทั้งหมด แต่เมื่อเวลาผ่านไป กลไกควบคุมคุณภาพดังกล่าวเสื่อมถอยลง ก็จะเกิดการผลิตโปรตีนที่ไม่สมประกอบมากขึ้น ทำให้ต้อง “ทิ้ง” โปรตีนที่บกพร่องเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นภาระที่เรียกว่า Loss of Proteostasis เรื่องนี้ผมเชื่อว่า สามารถนำมาเชื่อมต่อกับเรื่องของวัคซีนที่กำลังจะผลิตขึ้นโดยบริษัท Pfizer+BioNTech และบริษัท Astrazeneca+Oxford ที่ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า mRNA ได้แก่ การใช้ messenger RNA ฉีดข้าไปในร่างกายเพื่อให้เซลล์ของมนุษย์สร้างโปรตีนที่มีรูปลักษณะเหมือนกับโปรตีนปลายแหลม (spike protein) ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ประเด็นคือ เมื่อมนุษย์มีเทคโนโลยีที่สามารถสั่งการให้เซลล์ผลิตโปรตีนอะไรก็ได้ ก็ย่อมจะเป็นไปได้อย่างมากในอนาคตว่ามนุษย์จะสามารถใช้เทคโนโลยี mRNA เพื่อซ่อมแซมการเสื่อมถอยของระบบควบคุมะคุณภาพของการผลิตโปรตีนได้ แม้ว่าในขั้นต้นนั้น เทคโนโลยี mRNA คงจะถูกนำไปใช้ในภารกิจที่สำคัญกว่าคือ การผลิตโปรตีนเพื่อรักษาโรคที่ร้ายแรง เช่น โรคเลือดจางและโรคมะเร็ง เป็นต้นครับ
โดย
pookii
อังคาร ธ.ค. 22, 2020 4:01 pm
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
Why We Age and Why We Don’t Have To (2) ว่าด้วยตอน 2 เรื่องสุขภาพที่ลงลึกระดับเซลล์และนิวเคลียส ในประเด็นสาเหตุการแก่ตัวของเซลล์และร่างกาย บนพื้นฐานความรู้และวิทยาการของวิทยาศาสตร์ ครั้งที่แล้วผมกล่าวถึงการแก่ตัวของเซลล์ ซึ่งมุมมองทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดสรุปว่ามีอยู่ 9 ลักษณะ (9 Hallmarks of Aging) คือ 1. Genomic Instability 2. Telomere Attrition 3. Epigenetic Alteration 4. Loss of Proteostasis 5. Deregulated Nutrient Sensing 6. Mitochondrial Dysfunction 7. Cellular Senescence 8. Stem Cell Exhaustion 9. Altered Intercellular Communications 9 ลักษณะของการแก่ตัวของเซลล์นั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มหนึ่ง (ข้อ 1-4) ถือได้ว่าเป็นต้นเหตุหลัก (primary hallmark) ของการแก่ตัว กล่าวคือการเสื่อมถอยใน 4 ข้อนี้คือสาเหตุหลักของการแก่ตัวของเซลล์และร่างกาย กลุ่มสอง (ข้อ 5-7) เป็นการปรับตัวของร่างกายเพื่อลดผลกระทบจากข้อ 1 -4 ซึ่งในระยะสั้นช่วยรักษาสุขภาพและเสถียรภาพของเซลล์และร่างกายได้ในตอนแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปและความเสื่อมถอยสะสมเพิ่มขึ้น ปัจจัยดังกล่าวก็จะกลับมาบั่นทอนการทำงานของเซลล์ในที่สุด ส่งผลให้เซลล์แก่ตัวและเสื่อมถอยลงไปอีก กลุ่มสาม (ข้อ 8-9) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะได้รับผลกระทบจากกลุ่มหนึ่งและกลุ่มสอง เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะไม่ได้ทำให้ท่านผู้อ่านเกิดความกระจ่างเพิ่ม แต่เป็นการชี้ให้เห็นว่า การแก่ตัวลงของเซลล์และร่างกายนั้นมีปัจจัยหลักอยู่ 4 ข้อ ในขณะเดียวกันก็มีความเชื่อมโยงกันในหลายปัจจัยและส่งผลกระทบในวงกว้าง ส่วนปัจจัยพื้นฐาน 4 ข้อนั้น ได้แก่ 1.Genomic Instability หรือความไม่เสถียรในระดับของพันธุกรรม 2.Telomere Attrition หรือการสูญเสียหางเทโลเมียร์ ทำให้เซลล์ต้องจบชีวิตลง 3.Epigenetic Alteration หรือการอ่านพันธุกรรมที่ผิดเพี้ยนไป ทำให้เซลล์ที่ผลิตออกมาใหม่ทำหน้าที่ของตัวเองคลาดเคลื่อน 4.Loss of Proteostasis คือการที่เซลล์ไม่สามารถควบคุมให้ผลิตโปรตีนที่มีคุณภาพตามความต้องการ ปัจจัยพื้นฐาน 4 ข้อนี้เป็นเรื่องที่ผมจะขอขยายความในแต่ละข้อดังต่อไปนี้ 1.Genomic Instability ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์กว่า 200 ประเภท (เช่น เซลล์สมอง เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อ ฯลฯ) มีจำนวนทั้งสิ้น 37.2 ล้านล้านเซลล์ โดยทุกเซลล์มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ กรอบนอกของเซลล์ที่เรียกว่า เมมเบรน (membrane) ภายในเมมเบรนจะมีไซโตพลาซึม (cytoplasm) ซึ่งเป็นที่อยู่ของไมโทคอนเดรีย (mitochordria) นิวเคลียส (nucleus) และส่วนประกอบอื่นๆ ไมโทคอนเดรียเป็นเซลล์ต่างด้าวที่วิวัฒนาการมาอาศัยอยู่ในเซลล์ของเรา และทำประโยชน์อย่างมากในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ของเราและมีส่วนในการกำหนดการตายของเซลล์ (apoptosis) ในขณะที่นิวเคลียส คือที่เก็บดีเอ็นเอหรือพันธุกรรมของเรา ซึ่งหากคลี่ออกมาก็จะยาวถึง 2 เมตรและแต่ละช่วงของดีเอนเอก็คือยีนของมนุษย์ที่มีทั้งสิ้น 24,000 ยีน (หากยังไม่เข้าใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มได้จากหนังสือเล่มใหม่ของผมคือ Healthy Always บทที่ 8 ครับ) ประเด็นสำคัญคือยีนทั้งหมด 24,000 ยีนนั้น เป็นเสมือนกับตำราให้เซลล์นำไปอ่านเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตน และโดยปกติแล้วยีนจะมีความคงทนมาก (เปรียบเทียบว่าเป็นระบบดิจิทัล) และหากเกิดความเสียหายเซลล์ก็จะมีกลไกในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาให้คงสถานะเดิมเอาไว้ได้ แม้ว่าในการแบ่งตัวของเซลล์แต่ละครั้งอาจทำให้เกิดความผิดเพี้ยน (mutation) ขึ้นได้บ้าง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความเสื่อมถอยและการแก่ตัว หรือหากผิดเพี้ยนมากเกินไปก็ยังมีกลไกสั่งการให้เซลล์ “ฆ่าตัวตาย” (apoptosis) ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดกับดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียได้เช่นกัน ดังนั้น ความไม่เสถียรของพันธุกรรมของไมโทคอนเดรีย จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งเของการทำให้เซลล์แก่ตัว ข้อสรุปคือการชำรุดของดีเอ็นเอและ/หรือการที่ระบบซ่อมแซมดีเอ็นเอบกพร่องทั้งของเซลล์ของตัวเราเองและของไมโทคอนเดรีย คือปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดการแก่ชรา 2. Telomere Attrition ทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัว หางของโครโมโซมที่เรียกว่า เทโลเมียร์ จะถูกตัดให้สั้นลง และเมื่อหางเทโลเมียร์กุด โคโมโซมก็จะไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครอง ทำให้เซลล์ต้องจบชีวิตลง จึงมีการนำเสนอบริการประเมินความยาวของหางเทโลเมียร์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิธีการวัดอายุที่แท้จริงของเซลล์ กล่าวคือหากหางเทโลเมียร์สั้นก็จะแปลว่า เซลล์แก่ตัวเพราะจะแบ่งตัวได้อีกเพียงไมกี่ครั้ง ที่สำคัญคือ มีความพยายามหาหนทาง “ต่อหาง” เทโลเมียร์ ซึ่งยังทำไม่ได้ผลมากนัก (แม้ว่ามนุษย์จะรู้จักเทโลเมียร์มา 40 ปีแล้วและผู้ที่ค้นพบความสำคัญของเทโลเมียร์จะได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 2009) แต่กิจกรรมบางประเภทสามารถทำให้หางเทโลเมียร์ยาวขึ้นได้ เช่น การวิ่งหรือการออกกำลังกายให้หัวใจเต้นเร็ว (โปรดดู Differential effects of endurance, interval and resistance training on telomerase activity and telomere length in a randomized, controlled study ในวารสาร European Heart Journal January 2019) แนวทางต่อหางเทโลเมียร์นั้นได้มีความพยายามกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่เรียกว่า เทโลเมอเรส (telomerase) แต่เรื่องนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างมาก เพราะการหยุดการทำงานของเทโลเมอเรส เพื่อปล่อยให้เซลล์ต้องจบชีวิตลงนั้น เป็นกลไกสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์ที่โครโมโซมชำรุดเสียหายสามารถแพร่ขยายต่อไปได้อีก เช่น กรณีของเซลล์มะเร็ง ดังนั้น Dr.Elizabeth Blackburn หนึ่งในผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลในปี 2009 ในฐานะผู้ที่ค้นพบกลไกเทโลเมียร์จึงได้กล่าวเมื่อปี 2017 ว่าการใช้วิทยาศาสตร์เพื่อต่อหางเทโลเมียร์จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความแก่ตัว แต่ก็ต้องนำเอาประโยชน์ดังกล่าวมาชั่งกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากการเป็นโรคมะเร็งบางชนิด (โปรดดู TED Talk April 2017 Vancouver “The Science of Cells That Never Get Old”) ในครั้งต่อไปผมจะเขียนถึงอีก 2 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความแก่ชราคือ Epigenetic Alteration และ Loss of Proteostasis ครับ
โดย
pookii
ศุกร์ ธ.ค. 18, 2020 10:36 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
Why We Age and Why We Don’t Have To (ตอน 1/3) ในช่วงนี้ ดร.ศุภวุฒิ ขอพักเรื่องเศรษฐกิจเอาไว้ก่อน และจะเปลี่ยนมานำเสนอเรื่องสุขภาพระดับเซลล์เชื่อมโยงถึงการชะลอหรือเยียวยาฟื้นฟูเซลล์ชรา ในเดือนธันวาคมนี้ผมจะขอพักเรื่องเศรษฐกิจเอาไว้ก่อน เพื่อรอให้ว่าที่ประธานาธิบดีไบเดนนำเสนอชื่อครม.ให้ครบถ้วนและให้เห็นการอนุมัติขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกัน COVID-19 สัก 2-3 ตำรับจึงจะกลับมาเขียนถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจในปี 2021 ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นคือเศรษฐกิจจะยังขยายตัวอย่างกระท่อนกระแท่นหรืออาจชะลอลงอย่างมากในไตรมาส 1 แล้วจึงจะฟื้นตัวได้อย่างชัดเจนขึ้นในครึ่งหลังของปี 2021 หากสามารถฉีดวัคซีนให้ประชากรโลกได้อย่างทั่วถึง (ประมาณ 75-85% ของประชากรทั้งหมด) ภายในปลายปีหน้า แต่ในเดือนธันวาคมนี้จะขอเขียนถึงเรื่องที่เป็นหัวข้อซึ่งมีความสำคัญต่อผู้สูงวัยเช่นผม ซึ่งหยิบยืมชื่อหนังสือของดร. David Sinclair ที่ได้ตีพิมพ์จำหน่ายแล้วตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมาคือ “Lifespan: Why We Age and Why We Don’t Have To” ในหนังสือเล่มนี้ดร. Sinclair ประเมินว่าปัจจุบันเทคโนโลยีในระดับเซลล์นั้นวิวัฒนาการไปถึงระดับที่มนุษย์ใกล้จะสามารถควบคุมการแก่ตัว (หรือไม่ให้แก่ตัว) ของเซลล์ได้แล้วในการทำการทดลองกับสัตว์และกำลังเข้าสู่การทำการทดลองกับมนุษย์ในช่วงอีกไม่นานข้างหน้านี้ และในบางกรณีก็ได้มีการค้นพบโดยบังเอิญแล้วว่าการหมุนเวลากลับทำให้มนุษย์อายุลดลงนั้นได้บังเกิดขึ้นแล้วดังที่ผมได้เคยเขียนถึงเมื่อต้นปีนี้จากงานวิจัยของดร. Gregory Fahy (“กินยา 3 ชนิดเป็นเวลา 1 ปีอายุลดลง 2.5 ปี” วันที่ 27 มกราคม 2563) นอกจากนั้นในตอนที่แล้วผมได้เขียนถึงความสำเร็จที่ดีเกินคาดของการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยบริษัท Pfizer (กับ BioNTech) และบริษัท Moderna ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่คือ messenger RNA (หรือ mRNA) ซึ่งการนำเอา RNA ของโคโรน่าไวรัสไปสอดใส่เข้าไปในร่างกายของมนุษย์ให้สร้างโปรตีนปลายแหลม (spike protein) ของโคโรน่าไวรัสเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของตัวเราเองสามารถกำจัดโคโรน่าไวรัสได้นั้น ถือได้ว่าเป็นพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สำคัญมากเพราะเปรียบเทียบได้ว่า ณ วันนี้มนุษย์เราค้นพบวิธีการเพื่อสั่งการให้ร่างกายของเราผลิตโปรตีนอะไรก็ได้ตามใจชอบแล้ว ดังนั้น ในหลักการมนุษย์จะสามารถฉีด mRNA เข้าไปในร่างกายเพื่อผลิตโปรตีนให้ร่างกายนำไปใช้รักษาโรคต่างๆ ได้ทุกโรค เช่น ก่อนหน้าที่ COVID-19 จะระบาดนั้น บริษัท Moderna ได้พยายามใช้ mRNA สั่งการให้เซลล์สร้างโปรตีน vascular endothelial factor ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดหัวใจวายและต่อมาก็กำลังพัฒนา mRNA เพื่อสั่งการให้เซลล์ที่เป็นมะเร็งทำลายตัวเอง เป็นต้น หมายความว่าเทคโนโลยี mRNA นั้นทำให้ร่างกายของตัวเรากลายเป็นโรงงานผลิตยาของตัวเองเพื่อรักษาโรคต่างๆ ได้ (จึงไม่แปลกใจว่าราคาหุ้นของ Moderna ปรับเพิ่มขึ้นจากต้นปีที่ประมาณ 20 เหรียญมาเป็น 120 เหรียญในขณะนี้) แต่ที่ผมอยากเขียนเล่าให้ท่านผู้อ่านได้รับรู้ร่วมกันคือ ทฤษฎีล่าสุดเกี่ยวกับการแก่ตัวของร่างกายของเราในระดับเซลล์ว่ามีลักษณะที่สำคัญอะไรบ้าง ซึ่งเรามักจะเข้าใจว่าการแก่ตัวของร่างกายนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ กล่าวคือเมื่อเวลาผ่านไปร่างกายก็จะต้องเสื่อมถอยลงเป็นธรรมดาเมื่อมีการใช้งานมาเป็นเวลานานหลายสิบปีและหลายคนก็จะนึกถึงการที่ร่างกายต้องเผชิญกับอนุมูลอิสระ (free radicals) ที่เกิดทั้งจากปัจจัยภายนอก (เช่น อาหารและอากาศเป็นพิษ) และที่เกิดจากภายในซึ่งล้วนแล้วแต่จะส่งผลในการบั่นทอนร่างกาย ดังนั้น จึงต้องกินอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (anti-oxidant) ทำให้อาหารที่โฆษณาว่ามีคุณประโยชน์ดังกล่าวเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งๆ ที่งานวิจัยเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมาพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ขายเป็นอาหารเสริมนั้นไม่สามารถช่วยให้สุขภาพดีขึ้นหรืออายุยืนขึ้นแต่อย่างใด ดังนั้น จึงควรเลือกกินผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริมประเภทดังกล่าว แนวคิดเกี่ยวกับการแก่ตัวของเซลล์นั้นได้พัฒนาไปไกลกว่าความเชื่อว่าร่างกายต้องเสื่อมถอยโดยธรรมชาติและ/หรือเกิดจากอนุมูลอิสระ ซึ่งท่านผู้อ่านที่สนใจจะอ่านบทความที่รวบรวมแนวคิดล่าสุดเกี่ยวกับลักษณะของการแก่ตัว (ของเซลล์) นั้นสามารถอ่านได้จากวารสาร Cell เรื่อง “The Hall Marks of Aging” ที่ตีพิมพ์เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2013 ซึ่งผมได้พยายามอ่านและทำความเข้าใจอยู่เป็นเวลาหลายปีอยู่เพราะอ่านยากและยาวมาก บทความดังกล่าวได้กล่าวถึงการแก่ตัวว่าเป็นการสูญเสียดุลทางสรีระของร่างกาย (loss of physiological integrity) ซึ่งนำไปสู่การทำหน้าที่ที่บกพร่องของร่างกาย (impaired function) และการเพิ่มความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเป็นโรคต่างๆ ที่ทำให้เสียชีวิตในที่สุดเช่นการเป็นโรคมะเร็ง เบาหวาน หัวใจและสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ได้แบ่งลักษณะของการแก่ตัวของร่างกายออกเป็น 9 ลักษณะคือ Genomic Instability Telomere Attrition Epigenetic Alteration Loss of Proteostasis Deregulated Nutrient Sensing Mitochondrial Disfunction Cellular Senescence Stem cell Exhaustion Altered Inter-cellular Communication ในตอนต่อไปอีก 3 ตอนข้างหน้าผมจะพยายามอธิบายถึงความสำคัญของแต่ละลักษณะให้เข้าใจร่วมกันและความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อดูแลทั้ง 9 ลักษณะดังกล่าวเพื่อเป็นการตอบโจทย์ในการทำให้มนุษย์ไม่จำเป็นจะต้องแก่ตัวลงครับ
โดย
pookii
ศุกร์ ธ.ค. 18, 2020 10:31 am
0
0
Re: **เปิดรับ 15 ที่นั่ง CV@AMA โดยไม่ต้องใช้สิทธิ์ CV**
จอง 1 ที่ครับ
โดย
pookii
พฤหัสฯ. ธ.ค. 03, 2020 10:00 am
0
0
Re: **วันนี้ 10.00 น.**เปิดรับ 30 ที่นั่งCV@IIG บมจ.ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป
จอง 1 ที่ครับ
โดย
pookii
อังคาร ก.ย. 22, 2020 9:56 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เรื่อง "ชากับคุณประโยชน์ในการสร้างระบบภูมิคุ้มกัน" https://www.youtube.com/watch?v=gL78__BFwR4
โดย
pookii
พฤหัสฯ. ก.ย. 17, 2020 12:17 pm
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เรื่อง "ปัญหาสุขภาพของนายกอาเบะ" ที่ทำให้เราต้องหันมาดูแลสุขภาพตัวเอง https://www.youtube.com/watch?v=OU3FbnBBV3g
โดย
pookii
ศุกร์ ก.ย. 11, 2020 11:12 pm
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เรื่อง "Stroke ภัยเงียบทางสมอง ปัญหาสุขภาพที่ต้องใส่ใจ" https://www.youtube.com/watch?v=lP6-fWu97CQ
โดย
pookii
ศุกร์ ก.ย. 11, 2020 11:11 pm
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
การดูแลผู้สูงอายุ (2) ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุของไทยปี 2561 และมีข้อสรุปว่าการจะลดภาระทางเศรษฐกิจ จากจำนวนผู้สูงอายุของไทยที่จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจาก 11 ล้านคนในปัจจุบันเป็น 20 ล้านคนในอีกไม่ถึง 20 ปีข้างหน้านั้น ดูเหมือนว่าจะต้องขับเคลื่อนให้กลุ่มที่มีอายุ 60-79 ปีนั้นยังมีสุขภาพแข็งแรงและทำงานหาเลี้ยงชีพได้ต่อไป ทั้งนี้เมื่อสุขภาพแข็งแรงแล้วก็น่าจะหมายถึงการปลอดโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นพร้อมกับการแก่ตัว (เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง) ซึ่งจะเป็นภาระสำหรับระบบสาธารณสุขได้อย่างมาก หมายความว่าหากคนกลุ่มนี้ปลอดโรคและทำงานได้ ก็จะเหลือผู้สูงอายุที่อายุ 80 ปีหรือมากกว่าที่อาจเป็นภาระต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพียง 1.3 ล้านคนในปี 2561 และเพิ่มเป็น 3.1 ล้านคนในปี 2581 ประเทศที่จัดระบบการดูแลสุขภาพที่น่าสนใจมากที่สุดประเทศหนึ่ง ที่มีทั้งจุดอ่อนจุดแข็งคือสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ได้มีการจัดตั้งศูนย์กลางสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (Centers of the National Institutes of Health : NIH) โดยรัฐสภาสหรัฐเมื่อปี 1974 โดยเป็นศูนย์รวมของสถาบันวิจัยที่ได้รับงบประมาณจากรัฐบาลทุกปี (เมื่อปีงบประมาณ 2019 ได้รับอนุมัติเงิน 39,000 ล้านดอลลาร์) เพื่อสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพใน 27 ด้าน โดยมีสถาบันที่ถูกจัดตั้งมาเพื่อการนี้ทั้งหมด 27 สถาบัน สถาบันที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ National Institute on Aging : NIA ซึ่งนอกจากจะสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการส่งเสริมงานวิจัยและกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุแล้ว ก็ยังได้รับมอบหมายให้เป็นสถาบันหลักในการสนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม (โดยเฉพาะโรค Alzheimer’s) อีกด้วย ทั้งนี้ NIA ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2020-2025) โดยวิสัยทัศน์ของ NIA คือการขับเคลื่อนให้คนอเมริกันทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีอิสระเมื่ออายุสูงขึ้น“enable all Americans to enjoy robust health and independence with advancing age” ซึ่งสำหรับผมนั้นถือว่า “โดน” มาก เพราะน่าจะเป็นความหวังอันสูงสุดของผู้สูงอายุทุกคน ทั้งนี้ NIA ได้รับงบประมาณในปี 2019 รวมทั้งสิ้น 3,080 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 97,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยเลย ในสาระสำคัญนั้น NIA มีภารกิจและงบประมาณที่จะส่งเสริมการวิจัยทั้งในสหรัฐและทั่วโลก โดย NIA ประเมินว่าปัจจุบันมนุษย์สามารถควบคุมและรักษาโรคติดเชื้อและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจนกระทั่งอายุคาดเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมาก วันนี้การสูงวัยจึงกำลังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการนำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็งหลายชนิด โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคไตวายและโรคเบาหวาน (“aging itself remains the most significant risk factor for many chronic diseases and conditions including Alzheimer’s disease and related forms of dementia….”) NIA ประกาศว่ามีเป้าหมายในการใช้งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยและกิจกรรมทั้งหมด 9 เป้าหมาย แต่ผมขอนำเอาเพียง 3 เป้าหมายมาขยายความ ได้แก่ 1.เข้าใจกระบวนการแก่ตัวของร่างกายเพื่อนำมาสู่การป้องกัน (prevention) ชะลอการพัฒนาและส่งเสริมการดูแลรักษาโรคภัยและการนำไปสู่การพิการของร่างกาย 2.พัฒนาวิธีการที่จะรักษาสุขภาพและความแข็งแรงของร่างกาย เพื่อลดภาระ โรคภัย ความผิดปกติและการพิการของร่างกายในวัยสูงอายุ 3.พัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับการแก่ตัวของสมอง โรค Alzheimer’s และโรคสมองเสื่อมต่างๆ ทั้งนี้ นอกจากจะรับผิดชอบการส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับการแก่ตัวแล้ว NIA ยังได้รับมอบหมายให้แกนนำด้านงานวิจัยเพื่อรักษาโรคสมองเสื่อมอีกด้วย ในส่วนของข้อ 1 (Better understand the biology of aging) นั้นยังยืนยันว่าความแก่ไม่ใช่โรค (aging is not disease) แต่มีข้อสังเกตว่าโรคหลายชนิดเร่งกระบวนการแก่ตัวของร่างกาย โดยเฉพาะการอักเสบระดับต่ำแบบเรื้อรัง (low-level chronic inflammation) การอักเสบแบบเรื้อรังมีผลต่อสุขภาพและการแก่ตัวของร่างกายอย่างไรนั้น ผมจะขอเขียนถึงในโอกาสต่อไป แต่ท่านผู้อ่านที่สนใจเรื่องอาจกูเกิล “Inflammaging” ล่วงหน้าไปได้เลย NIA ยังกล่าวถึงแนวทางในการขยายอายุขัยและอายุขัยที่มีสุขภาพแข็งแรง (interventions that extend lifespan also extend health span) โดยให้ความสำคัญกับ cellular senescence หรือการที่เซลล์หมดสภาพเป็นซอมบี้ (zombie) แต่ไม่ยอมตายไป ซึ่งในสภาวะดังกล่าวเซลล์จะยังผลิตสารเคมีที่ก่อให้เกิดการอักเสบและบ่อนทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ใกล้เคียง ดังนั้น NIA จึงให้ความสำคัญกับการทำวิจัยที่จะกำจัดเซลล์ซอมบี้ดังกล่าว (senolytics) และพบว่าการกำจัดเซลล์ซอมบี้ในหนูทำให้หนูสุขภาพดีและอายุยืน NIA ยังกล่าวถึงการกำจัดการบริโภคแคลอรี (caloric restriction) ซึ่งเซลล์ปกติจะปรับตัวกับสภาวการณ์และทำให้ร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น แต่เป็นสิ่งที่ทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอ ซึ่งอยู่ในระหว่างการทดลองว่าจะเป็นแนวทางในการส่งเสริมประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งโดยการทำคีโม (chemotherapy) ได้หรือไม่ และประเด็นสุดท้ายที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือ การกล่าวถึง epigenetic changes ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะคุ้นหู แต่ผมขอแปลว่าการทำงานของยีนในเซลล์ที่ผิดเพี้ยนไปตามกาลเวลา ปัจจัยรอบข้างและพฤติกรรมเช่นการสูบบุหรี่และไม่ออกกำลังกายที่ทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของเซลล์เลอะเลือนและหย่อนประสิทธิภาพลง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการแก่ตัว แต่ที่น่าสนใจคือปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นสามารถส่งผ่านไปให้ลูกหลานและกระทบกับอายุขัยและสุขภาพของลูกหลานได้ กล่าวคือการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ epigenetics นี้จึงอาจนำมาซึ่งแนวทางในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและยาวนานได้ในอนาคต ซึ่งเรื่อง epigenetics นี้ผมก็จะขอเขียนถึงในรายละเอียดในโอกาสหน้า จะเห็นได้ว่าแนวคิดในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในส่วนของการทำงานวิจัยนั้นกำลังพลิกไปสู่การทำให้ร่างกายสุขภาพดีอยู่เสมอและหลีกเลี่ยงการเป็นโรคโดยเป็นการวิจัยระดับยีนและเซลล์มากกว่าการเตรียมตั้งรับการรักษาโรคไปทีละโรคและรอดูแลผู้แก่ชราที่จะช่วยตัวเองไม่ได้ครับ
โดย
pookii
จันทร์ ก.ย. 07, 2020 11:53 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
การดูแลผู้สูงอายุ (1) จำนวนประชากรผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีหรือสูงกว่า) ของไทยนั้นได้มีการประเมินว่าในปัจจุบันและคาดการณ์ในอนาคตว่า ในปี 2015 ไทยมีผู้สูงอายุจำนวน 11.69 ล้านคนหรือ 17.13% ของประชากรทั้งประเทศ ในปี 2020 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์โดยมีประชากรสูงอายุจำนวน 13.28 ล้านคนหรือ 20% ของประชากรทั้งประเทศ อีก 20 ปีข้างหน้า (2040) ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุจำนวน 22.40 ล้านคนหรือ 32.13% ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นการเตรียมการอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมในการรองรับจำนวนผู้สูงอายุของไทยที่จะเพิ่มขึ้นจาก 13 ล้านคนเป็น 22 ล้านคน จึงน่าจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในลำดับต้นๆ ของประเทศไทยทั้งในเชิงเศรษฐกิจและการเมือง ผู้สูงอายุเช่นผมจะให้ความสำคัญกับการมีสุขภาพดีและความสมบูรณ์ของร่างกายอย่างต่อเนื่องและยาวนานจนวาระสุดท้ายของชีวิต (compressed morbidity) เพราะจะทำให้มีความสุขสบายและไม่เป็นภาระต่อผู้ใกล้ชิดและต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาพัฒนาการที่สำคัญในด้านสาธารณสุขของไทยคือการจัดตั้งระบบประกันสุขภาพแห่งชาติหรือที่ตอนแรกเรียกว่า “30 บาทรักษาทุกโรค” ซึ่งก็ถือได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในการทำให้ประชากรของไทยสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขอย่างถ้วนหน้า ทำให้ประเทศไทยได้รับคำชมเชยอย่างกว้างขวางและเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยอย่างมากเพราะชัดเจนว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้านั้นเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับประชาชนคนไทยที่มีรายได้น้อย แต่ต้องยอมเสียเวลารอคิวในการรับบริการและยังต้องมีการจำกัดมูลค่าเฉลี่ยสูงสุดต่อหัวในการให้บริการรักษาพยาบาล ดังนั้นจึงยังมีการให้บริการที่ราคาและคุณภาพแตกต่างกันระหว่างคนรวยกับผู้ที่มีรายได้น้อย แต่ประเด็นที่ผมให้ความสำคัญดังที่กล่าวข้างต้นคือการมีสุขภาพดีจนวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งในกรณีของผู้สูงอายุของไทยนั้นดูเหมือนจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่น ข้อมูลที่ว่าจำนวนผู้สูงอายุที่ต้องได้รับความช่วยเหลือในการทำกิจกรรมประจำวัน (เดินในบ้าน กินอาหารและอาบน้ำ) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 15.5% ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดในปี 2009 มาเป็น 20.7% ในปี 2014 สิ่งที่ผมอยากจะเห็นคืออนาคตที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นแต่เกือบทุกคนสุขภาพดีและแข็งแรง ทำให้สัดส่วนผู้ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลงให้มากที่สุด เรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ท้าทายประเทศไทยอย่างมากในอนาคตที่ประชากรไทยกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว เช่น ค่ามัธยฐานของอายุของประชากรไทย (median age) ในปี 2020เท่ากับ 40.15 ปี แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 49.17 ปีในปี 2050 ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ (non- communicable disease หรือ NCDs) เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้สถิติของโลกปัจจุบันนี้พบว่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรนั้นประมาณ 2/3 เกิดจาก NCDs ไม่ใช่โรคติดต่อได้เช่น COVID-19 และแนวโน้มในอนาคตการเสียชีวิตขาก NCDs ก็มีแต่จะเพิ่มขึ้น เพราะระบบการแพทย์และการรักษาพยาบาลของโลก (และของไทย) นั้นยังเป็นการรอรักษาโรค (curing disease) มากกว่าการดูแลสุขภาพให้ดีตลอดไป (maintain good health and vitality) กล่าวคือเรายังมีสมมติฐานว่าเมื่ออายุมากขึ้นและแก่ตัวลง สุขภาพก็จะถดถอยและต้องพึ่งพาคนอายุน้อยมากขึ้น จึงได้มีการคำนวณสัดส่วนของประชากรสูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน (age dependency ratio) ซึ่งของประเทศไทยนั้นจำนวนผู้ที่อยู่ในวัยทำงานต่อจำนวนผู้สูงอายุจะลดลงอย่างมากจาก 7 คนทำงานต่อ 1 ผู้สูงอายุในปี 2000 มาเป็น 3.7 คนต่อ 1 คนในปี 2020 และ1.7 คนต่อ 1 คนในปี 2050 โดยเป็นข้อมูลที่ผมเห็นจากงานวิจัยของรศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผมได้อ่านรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ.2561 ให้ความสำคัญกับการเสนอแนะเชิงนโยบายให้ผู้สูงอายุ “ยังคงอยู่ในกำลังแรงงานมากที่สุด” โดยรายงานให้ความสำคัญกับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่การทำงานอย่างต่อเนื่องของผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 8 ข้อ ซึ่งเมื่อดูในรายละเอียดของข้อมูลแล้วผมสรุปว่าการทำงานของผู้สูงอายุนั้นน่าจะช่วยในเรื่องของภาระทางเศรษฐกิจอย่างมาก เห็นได้จากตัวเลขประชากรแบ่งตามอายุดังนี้ 159869681163.jpg จะเห็นได้หากผู้สูงอายุกลุ่ม 60-79 ปีทำงานต่อไปได้ก็จะลดภาระทางเศรษฐกิจอย่างมากเพราะจะเหลือจำนวนผู้ที่ผมเรียกว่า “แก่ชรา” ((80 ปีหรือมากกว่า) เพียง 1.3 ล้านคนในปี 2561 และแม้จะเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 ล้านคนในปี 2581 ก็น่าจะสามารถบริหารจัดการได้ แต่ประเด็นสำคัญที่จะเป็น game changer และทำให้การแก่ตัวของประชากรไม่เป็นภาระทางเศรษฐกิจน่าจะเป็นเรื่องของการทำให้กลุ่มคนอายุ 60-79 ปีมีสุขภาพแข็งแรงและไม่เป็นโรคเรื้อรังที่จะเป็นภาระกับระบบสาธารณสุขและทำให้คนกลุ่มนี้สามารถทำงานหาเงินเลี้ยงชีพตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง (แม้ว่าอาจจะไม่ค่อยอยากทำงานแต่อยากพักผ่อน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังออมเงินเอาไว้สำหรับวัยเกษียณไม่เพียงพอ ทั้งนี้เพราะเบี้ยยังชีพรายเดือนที่ได้รับปัจจุบันนั้นคือ 600 บาทสำหรับคนที่อายุ 60-69 ปีและ 700 บาทสำหรับคนที่อายุ 70-79 ปี รัฐให้เบี้ยยังชีพสำหรับคนอายุ 80-89 ปีเท่ากับ 800 บาทและสำหรับคนอายุ 90 ปีขึ้นไปจะเพิ่มเป็น 1,000 บาท แต่อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยในปี 25661 นั้นอยู่ที่ 77 ปี ดังนั้นคนที่อยู่ในกลุ่มนี้อายุ 80 ปีหรือมากกว่าคงจะมีจำนวนไม่มากนักภายใต้สภาวะปัจจุบัน ผมมีข้อสังเกตจากการอ่านรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ.2561 ว่ามีการกล่าวถึงการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังไม่มากนัก ทั้งๆ ที่ในปัจจุบันนั้นประมาณ 2/3 ของจำนวนผู้ที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรนั้นเกิดจากการเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ (โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคปอด โรงสมองเสื่อม เป็นต้น) และโรคประเภทนี้บั่นทอนสุขภาพ ทำให้เป็นภาระในด้านการรักษาและทำให้ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปรากฏว่าข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุไทย 10 ข้อนั้นปรากฏในหน้าสุดท้ายของรายงาน (หน้า 122) ผมขอเสนอแนะให้ท่านผู้สูงอายุที่สนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ลองอ่านข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่มีอยู่รายงานดังกล่าวและยังมีรายงายฉบับก่อนหน้าอีกหลายปีที่น่าสนใจอีกด้วย สำหรับผมนั้นได้ไปลองอ่านดูรายงานประเภทเดียวกันของสหรัฐ โดยสถาบันการสูงวัยแห่งชาติ (National Institute on Aging) ซึ่งเพิ่งเขียนแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีออกมาเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งผมจะได้นำมาเขียนถึงในสัปดาห์หน้าครับ
โดย
pookii
จันทร์ ก.ย. 07, 2020 11:52 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
สูงวัยอย่างมีคุณภาพ กับ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ Suthichai Live : 23/08/2563 https://www.youtube.com/watch?v=8zwWuAGIvs0
โดย
pookii
อาทิตย์ ส.ค. 23, 2020 1:34 pm
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
คอเลสเตอรอล เราเข้าใจกันดีว่าการที่เลือดของเรามีระดับคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่า 200 นั้นมีความเสี่ยงที่คอเลสเตอรอลจะทำให้เกิดการก่อตัวของคราบไขมัน ไปเกาะที่เส้นเลือดเป็นเสมือนหินปูน (plaque) ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็ง (Atherosclerosis) และเส้นเลือดแคบลง ซึ่งเมื่อรุนแรงมากขึ้นก็จะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหลอดเลือดสมองตีบ ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับไตเพราะไตจะมีเส้นเลือดเป็นจำนวนมาก เราจะเข้าใจกันด้วยว่ามีคอเลสเตอรอล 2 ประเภทคือ High Density Lipoprotein (HDL) และ Low Density Lipoprotein (LDL) ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนั้นภาษาอังกฤษไม่ได้ใช้คำว่าไขมันหรือ fat แต่ใช้คำว่า Lipid กล่าวคือไขมันหรือ fat ก็เป็น Lipid ประเภทหนึ่งเช่นกัน นอกจากนั้นแล้วยังมีคำว่า protein อีกด้วย กล่าวคือ Lipid นั้นจะถูกขนส่งเข้าไปในเลือดไม่ได้หากไม่มีการเคลือบโดย protein จึงเป็นที่มาของชื่อว่า lipoprotein คอลเลสเตอรอลซึ่งเป็น lipid ประเภทหนึ่งนั้นเราจะเผาผลาญโดยการออกกำลังกาย (หรือโดยการนำมา “ใช้” ของร่างกาย) ไม่ได้ คอเลสเตอรอลนั้นร่างกายของเราสร้างเองได้หรือมีอยู่ในเนื้อสัตว์และนมเนยที่เรากินเข้าไป ที่เราพูดกันว่า LDL (Low Density Lipoprotein)คือ “ไขมันไม่ดี” ก็เพราะ LDLคือไขมันที่มีความหนาแน่นต่ำที่นำพาคออเลสเตอรอลไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายและหากมีการนำส่งมากเกินความต้องการของร่างกายก็จะทำให้เกิดการสะสมตามเส้นเลือดดังที่กล่าวข้างต้น สำหรับ HDL หรือ High Density Lipoprotein ที่เราเรียกกันว่าเป็น “ไขมันดี” นั้นก็เพราะไขมันที่มีความหนาแน่นสูงดังกล่าวคือกระบวนการของการเก็บคอเลสเตอรอลที่เหลือใช้กลับไปไว้ที่ตับ จึงเป็นที่มาของการตั้งมาตรฐานว่าร่างกายควรมี LDL ไม่เกิน 130 mg/dLและ HDL ไม่ควรต่ำกว่า 40 mg/dLสำหรับผู้ชายและ 50 mg/dL สำหรับผู้หญิง ดังนั้นจึงมีการกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าหากคอเลสเตอรอลรวมเกินกว่า 200 เล็กน้อยก็อาจไม่ต้องกังวลมากหากระดับ HDL สูง (เช่นประมาณ 60-70 หรือมากกว่านั้น) เพราะหมายความว่า HDL จะช่วยเก็บกวาดเอาคอเลสเตอรอลที่ร่างกายไม่ต้องการใช้กลับออกมาจากเส้นเลือด แต่ไขมันที่มีความสำคัญต่อสุขภาพอย่างมากอีกตัวหนึ่งคือไตรกลีเซอรไรด์ (triglycerides) ที่ไหลเวียนอยู่ในเลือดโดยจะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อเรากินอาหารที่มีแคลอรี่สูง (เช่นอาหารแป้งและน้ำตาล รวมทั้งไวน์และสุรา) และไม่ได้ออกกำลังกายทำให้มีแคลอรี่เหลือใช้ ซึ่งจะถูกแปลงมาเก็บเอาไว้ในรูปของไตรกลีเซอรไรด์ในเซลล์ไขมัน (fat cells) ของร่างกาย ปริมาณไตรกลีเซอรไรด์ควรต่ำกว่า 100 mg/dLโดยระดับสูงที่น่าเป็นห่วงคือ 200 หรือมากกว่านั้นและหากสูงเท่ากับ 300 หรือมากกว่าจะถือว่าอันตรายมาก การลดระดับคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” หรือ LDL กับไตรกลีเซอรไรด์ลงนั้นเราจะได้รับคำแนะนำให้ลดการกินอาหารที่มีไขมัน “ไม่ดี” (ไขมันอิ่มตัว) ให้น้อยลดง ตลอดจนการลดการบริโภคแป้งและน้ำตาลและควรออกกำลังให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ “ดี” หรือ HDL อีกด้วย แต่เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยากดังที่หลายๆ คนคงจะประสบอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ผมขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการค้นคว้าเกี่ยวกับ LDL ว่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ใหญ่และนุ่ม (large fluffy) หรือ Type A ซึ่งมีอันตรายน้อย เล็กและหนาแน่น (small and dense) หรือType Bซึ่งอันตรายมาก ทั้งนี้เพราะมีงานวิจัยพบว่า LDL Type B นั้นจะเกาะติดเส้นเลือดอย่างเหนียวแน่นทำให้ HDL เก็บกวาดออกได้ยาก ดังนั้นผู้ที่มี LDL Type B เป็นจำนวนมากจึงมีงานวิจับพบว่าความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ทั้งนี้การกินอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลเป็นจำนวนมากจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้มี LDL Type B เป็นจำนวนมาก กล่าวคือการลดการกินอาหารประเภทไขมันลงเพื่อหวังลดคอเลสเตอรอลนั้นจะต้องทำไปพร้อมๆ กับการลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลอีกด้วย มิฉะนั้นแล้ว LDL ประเภทอันตรายคือ Type B ก็อาจเพิ่มขึ้นอย่างมากก็ได้ นอกจากนั้นแล้วการกินแป้งและน้ำตาลมากเกินไปก็ยังทำให้มีพลังงาน (แคลอรี่) เหลือใช้ ทำให้ไตรกลีเซอรไรด์สูงขึ้นดังที่กล่าวข้างต้นอีกด้วย ซึ่งสามารถประเมินได้ว่าการมีไตรกลีเซอรไรด์สูงจะควบคู่ไปกับการมี LDLType B ในระดับสูงอีกด้วย ดังนั้นหากLDL ไม่สูงเกินเกณมากนักฑ์และไตรกลีเซอรไรด์ต่ำก็อาจเบาใจได้บ้างว่า LDL ที่สูงนั้นน่าจะเป็นประเภทใหญ่และนุ่ม (Type A) ที่ HDL สามารถกวาดเก็บออกมาได้โดยง่าย จึงได้มีการทำงานวิจัยที่พบว่าสัดส่วนของไตรกลีเซอรไรด์ต่อ HDL นั้นเสามารถใช้ประเมินความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดตีบตันได้อย่างแม่นยำ ทั้งนี้ Triglyceride/HDL นั้นควรอยู่ที่ระดับต่ำเช่น 1-2 และไม่ควรสูงถึง 4 หรือมากกว่านั้น เช่นงานวิจัยชื่อ Comparison of serum lipid values in patients with coronary artery disease ตีพิมพ์ใน American Journal of Cardiology เมื่อธันวาคม 2005 ซึ่งมีข้อสรุปว่า “Triglycerides and ratio of triglycerides to HDL cholesterol were the most powerful, indepent variables related to precocity (การคาดการณ์ที่แม่นยำ) of coronary artery disease” ดังนั้นจึงควรระมัดระวังระดับของไตรกลีเซอรไรด์และพยายามเพิ่มระดับของ HDL นอกจากการควบคุมระดับ LDL และคอเลสเตอรอลโดยรวมให้เหมาะสมครับ
โดย
pookii
จันทร์ ส.ค. 17, 2020 8:40 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เรื่อง "คอเลสเตอรอล" เพียงเข้าใจสามารถสร้างร่างกายให้สุขภาพดี https://www.youtube.com/watch?v=_97kgWUs8jw
โดย
pookii
ศุกร์ ส.ค. 14, 2020 8:41 am
0
0
Re: แนวโน้มราคา "ทองคำ" ทรัพย์สินที่น่าลงทุนจริงหรือ /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
นาทีที่30 เป็นต้นไป https://www.youtube.com/watch?v=L4WRi6-yxuQ&feature=youtu.be&fbclid=IwAR0QhM9njc31rw7WHuv_DTfzGLAVL8nsClhAq-93p6zbL7mfBnmziDz7xX8
โดย
pookii
จันทร์ ส.ค. 10, 2020 12:27 pm
0
1
Re: ++เปิดรับ 20 ที่นั่ง Open House บมจ.อาร์เอส (RS) พบกับ CEO ตัวเป็นๆ ที่ไม่ใช่แค่ IR
จอง 1 ที่ ครับ
โดย
pookii
พุธ ส.ค. 05, 2020 10:05 am
0
0
Re: หุ้นTechต่างประเทศ เลือกแบบวีไอ อย่างไรให้โดน
Outsource หรือการจ้างคนอื่นผลิตเป็น megatrend โลกที่ใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งตั้งแต่ยุคหนังสือ The World is flat ในปี 2005 / FB Verapong Guo Lin Tam ยุคนั้นส่วนมากเป็น physical outsource จ้างผลิตสินค้า นำโลกสู่ยุค Globalization ซึ่งสร้าง case study ไว้ใน Wall street ยุคนั้นมากมาย . Dell ว่าจ้างบริษัทไต้หวันแห่งหนึ่งผลิตคอมพิวเตอร์ให้ และปิดโรงงานตัวเอง เพื่อเพิ่มตัวเลขทางการเงินให้สวย ๆ พยายามเป็น Platform Amazon of PC . ROE ของ Dell สูงขึ้นพร้อม ๆ กับราคาหุ้นที่วิ่งสูงลิ่วตลอดช่วงยุคทองของ Dell แต่สุดท้ายใครจะรู้ว่าบริษัทไต้หวันเล็ก ๆ ที่ Dell ว่าจ้างในวันนั้นจะโตขึ้นมาเป็น Asus ที่สามารถเทียบเคียง Dell ในตลาด PC ได้ในที่สุด . ล่าสุด Intel สุดยอด Chip maker ของโลกซึ่ง CEO มองออกว่า Intel ต้องเอา Chip กลับมาผลิตเองตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว แต่สุดท้ายด้วยหลายๆ เหตุผลบริษัทไต้หวันอย่าง TSMC ก็ผลิตดีกว่า จน Intel ต้องกลับไป Outsource อีกครั้ง แย่ไปกว่านั้นคือ Intel สูญเสีย focus ของความเป็นผู้นำ chip design ที่น่าจะเป็น core value ตัวเองไปอีก . เหตุผลเบื้องต้นเป็นแค่ Case ๆ หนึ่ง แต่จริงๆ มันเกิดขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ประเทศตะวันตกรู้สึกถึงภัยคุกคามในความสามารถทางการผลิต (ความขยันผิดมนุษย์) ของเอเชียตะวันออก จึงทำให้ Physical Outsource ซึ่งทำให้ Globalization เฟื่องฟูใน 20 ปีที่ผ่านมาถึงจุดตกต่ำลง เกิดการย้ายฐานการผลิตกลับ เกิด Trade war ซึ่งสุดท้ายผมเชื่อว่าทำได้แค่บางส่วน เพราะมันจะซ้ำรอย Intel . แต่อย่าลืมว่ามีบริษัทที่ได้ประโยชน์จาก Globalization และโตขึ้นมาอยู่ในทำเนียบ Dowjones ได้หลายตัวเช่นเดียวกัน . โลก Outsource หลังจากนี้คือ SaaS (Software as Service) ซึ่งเป็นการ Outsource Virtual World หรือโลกเสมือน ไปไว้บน Cloud services . ความแตกต่างหนึ่งคือ SaaS มักจะ enhance business process มากกว่าไปลด core value creation ของธุรกิจอย่างที่ Outsource ดั้งเดิมทำ และโลกเสมือนก็ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่ผมพูดในเทปนี้ว่าผมว่าโลกกำลังสร้าง The Metrix เหมือนในหนัง . บริษัทไทยจำนวนมากยังไม่ได้เข้าถึงประโยชน์ของ SaaS ซึ่งจะนำมาด้วย ประสิทธิภาพและโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ . Skill ที่จำเป็นบนโลกอนาคตใบนี้ อาจจะเป็นความสามารถในการใช้ Software เหล่านี้มาประยุกต์ สิ่งที่เราเรียนในห้องเรียนแทบไม่ตอบโจทย์โลกใบใหม่ . ผมคิดว่าหุ้นพวกนี้จะเติบโตไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่มันคุกคามธุรกิจดั้งเดิม และถูกคุมกำเนิดไม่ว่าจะโดยรัฐ หรือ เอกชนเอากลับไปทำเอง ส่วนราคาหุ้นมันเฟ้อพอสมควร ใครจะลงทุนก็ศึกษาให้ดีครับ . ขอบคุณ Jitta ที่เชิญไปคุยนะครับ อนาคตคงไปรบกวนขอความรู้ digital transformation อิอิ ตอนถ่ายทำอุปกรณ์เยอะมาก Set up เยอะกว่าห้องส่งทีวีอีก เตรียมตัวกันดีฝุด ๆ บรรยากาศพนักงานเต็มห้องส่ง รอจนจบ Live สามทุ่ม . ทำให้คิดถึงหนังสือที่ดีที่สุดในช่วงปีนี้ของผมเรื่อง The ride of a lifetime ทุกคนทำให้ดีที่สุดจนหาจุดที่ทำให้ดีกว่านี้ไม่ได้แล้ว . “Don't be in the business of playing it safe. Be in the business of creating possibilities of greatness” Robert Igor . T1.jpg T2.jpg T3.jpg T4.jpg T5.jpg
โดย
pookii
จันทร์ ก.ค. 27, 2020 9:04 am
0
4
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เกิด แก่ (ไม่) เจ็บ ตาย https://www.youtube.com/watch?v=xdfhIUWIMbw
โดย
pookii
อาทิตย์ ก.ค. 26, 2020 9:14 am
0
0
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
ดื่มชาเพื่อสุขภาพ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษา กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร มนุษย์เริ่มดื่มชามานานกว่า 4,700 ปีแล้ว ในขณะที่ชาวตะวันตกเริ่มดื่มชาเมื่อ 400 ปีที่แล้ว แต่ที่สำคัญคือในระยะ 15 ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้หันมาสนใจและทำงานวิจัยเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของชาอย่างแพร่หลายเพื่อพิสูจน์ว่าการดื่มชานั้นมีประโยชน์จริงอย่างที่มีการกล่าวอ้างหรือไม่ ผมหันมาสนใจเรื่องชาเพราะมีงานวิจัยเกี่ยวกับเครื่องดื่มนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากและหลายท่านที่ผมได้มีโอกาสคุยด้วยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพมักจะถามว่า “กินอะไรดี” ซึ่งในช่วงแรกผมมักจะตอบว่า “ไม่กิน” จะดีกว่า (เพราะคนส่วนใหญ่จะอยากลดความอ้วนมากกว่าเพิ่มน้ำหนักตัวเอง) แต่ก็รู้สึกว่าควรตอบคำถามที่แท้จริงว่า “กินอะไรจะเป็นประโยชน์ในการรักษาสุขภาพ” ซึ่งดูเสมือนว่าชาคือเครื่องดื่มที่มีประโยชน์กับร่างกายและไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มเพราะไม่มีแคลอรี่ ทั้งนี้ไม่ควรเหมารวมว่าชานมหรือชาไข่มุกมีประโยชน์ เพราะงานวิจัยชี้ชัดว่าการดื่มชาที่ผสมนมสดในปริมาณที่สูงนั้นจะสูญเสียประโยชน์ของสารสำคัญ เช่น Catechin และ EGCG เนื่องจากนมจะไปเคลือบสารดังกล่าวไม่ให้ออกฤทธิ์ได้ ผมเองก็เพิ่งอ่านพบเรื่องนี้ ดังนั้นจึงได้ 'หลงผิด' ดื่มชาแบบฝรั่งคือดื่มชาดำผสมนมสดมากว่า 50 ปีแล้ว และหวังว่าท่านผู้อ่านจะหลีกเลี่ยงดื่มชาแบบผิดพลาดเช่นที่ผมได้เคยทำมาโดยตลอด หากดื่มชาแล้วจะได้ประโยชน์อะไร งานวิจัยประเภทหนึ่งคือการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนหลายหมื่นคนที่ดื่มและไม่ดื่มชา และติดตามการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มดังกล่าวเป็นเวลาหลายปีเพื่อดูผลว่าคนที่ดื่มกับไม่ดื่มชานั้นมีพัฒนาการทางสุขภาพแตกต่างกันหรือไม่และอย่างไร ซึ่งในส่วนของงานวิจัยประเภทนี้ผมจะเสนองานวิจัย 2 ชิ้นคือ 1. ดื่มชาอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์อายุยืนขึ้นอีก 1.26 ปี งานวิจัยนี้จัดทำโดยนักวิจัยของจีน อาศัยข้อมูลประชาชน 100,902 คน โดยติดตามเก็บข้อมูล 7.3 ปีและตีพิมพ์ในวารสาร European Society of Cardiology เมื่อ 9 มกราคม 2020 ข้อสรุปสำคัญอื่นๆ คือ คนที่ดื่มชาเป็นประจำ (3 ครั้งหรือมากกว่าต่อสัปดาห์) ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอลง 20% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ดื่มชาเป็นครั้งคราว (น้อยกว่า 3 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์) หรือไม่ดื่มชาเลย คนที่ดื่มชามีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเพราะโรคดังกล่าวลดลง 22% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ดื่มชาเป็นครั้งคราวหรือไม่ดื่มเลย คนที่ดื่มชาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอลงไป 39% และลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวถึง 56% นอกจากนั้นยังได้มีการแบ่งกลุ่มคนเป็นกลุ่มย่อยที่ติดตามพฤติกรรมยาวนานต่อไปอีกและพบว่า คนที่ดื่มชาเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจและเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอลงไป 39% และลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวถึง 56% (นักวิจัยเชื่อว่าเป็นเพราะสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่มีอยู่ในชาคือ โพลีฟีนอล และคาเทชินนั้น ร่างกายไม่สามารถเก็บเอาไว้ได้จึงต้องบริโภคชาเป็นเวลาหลายปีอย่างสม่ำเสมอ) ชาเขียวให้ประโยชน์มากกว่าชาดำ ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าอาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ 49% ดื่มชาเขียว แต่มีเพียง 8% เท่านั้นที่ดื่มชาดำ นอกจากนั้นชาดำเป็นชาที่ผ่านกระบวกการผลิตมากกว่าชาเขียว โดยเฉพาะการ oxidation ซึ่งทำให้มีโพลีฟีนอลหลงเหลือในชาดำน้อยกว่าชาเขียวและอาจเป็นไปได้ว่าการดื่มชาดำนั้นมักจะดื่มผสมกับนมทำให้ประโยชน์ที่ได้รับจากชาเจือจางลง การดื่มชาให้ประโยชน์กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าอาจเป็นเพราะผู้ชายนิยมดื่มชามากกว่าผู้หญิง โดยในกลุ่มที่ถูกวิจัยนั้นผู้ชาย 48% ดื่มชา แต่มีผู้หญิงดื่มชาเพียง 20% 2. ดื่มชาอย่างน้อย 4 ถ้วยต่อวัน ลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้ 16% (EPIC-Interact Case-Cohort Study 30 May 2012) งานนี้เป็นงานวิจัยติดตามคนในทวีปยุโรป 26,039 คนใน 8 ประเทศ โดยงานวิจัยพบว่า - คนที่ดื่มชาวันละ 1-3 ถ้วย ลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลง 7% - คนที่ดื่มชาวันละ 4 ถ้วยหรือมากกว่า ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานลง 16% อย่างไรก็ดีงานวิจัยดังกล่าวข้างต้นนั้นไม่สามารถสรุปได้ว่า การดื่มชาทำให้ความเสี่ยงของการป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งลดลง เพราะเป็นเพียงการแสดงข้อมูลให้เห็นความสัมพันธ์ (association) ระหว่างการดื่มชากับสุขภาพ จึงอาจถกเถียงได้ว่าคนที่ดื่มชาอาจมีพฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นผลดีต่อสุขภาพก็ได้แม้ว่าจะมีความพยายามตัดประเด็นดังกล่าวออกไปบ้าง เช่น ตัดเอาคนอ้วนหรือคนที่สูบบุหรี่ออกไป เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังไม่เคยมีการพิสูจน์อย่างชัดเจนหรืออธิบายได้ว่าสารเช่น EGCG นั้นทำให้เกิดประโยชน์ในร่างกายด้วยกลไกอะไร แม้ว่าจะมีงานวิจัยมากมายที่นำเอาสารนี้ไปใช้ฆ่าเซลล์มะเร็งในห้องทดลอง (in vitro) แต่การทดลองดังกล่าวแตกต่างจากการให้มนุษย์ที่มีชีวิตกินชาเข้าไปในร่างกาย (in vivo) ดื่มชาอย่างน้อย 4 ถ้วยต่อวัน ลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานได้ 16% ดังนั้นงานวิจัยอีกประเภทหนึ่งที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคืองานที่เรียกว่า double-blinded randomized controlled trials กล่าวคือเป็นงานทดลองเสมือนกับการพิสูจน์ศักยภาพของยา โดยแบ่งคนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้ยาจริง อีกกลุ่มหนึ่งได้ยาเทียม โดยทั้งผู้กินยาและผู้แจกยาต่างไม่ทราบว่ายาใดเป็นยาจริงและยาใดเป็นยาปลอม ซึ่งได้มีการทำงานวิจัยดังกล่าวเกี่ยวกับชาเป็นจำนวนหลายพันชิ้น จึงทำให้นักวิจัยกลุ่มหนึ่งสามารถรวบรวมเอางานวิจัยดังกล่าวมาประมวลหาข้อสรุปได้ซึ่งเรียกว่า meta-study โดยผมขอนำเอา meta-study 2 ชิ้นมาสรุปผลดังต่อไปนี้ 1. ดื่มชาเขียวช่วยลดความดันโลหิต (ลงในวารสาร Nutrition Journal 20 May 2020) งานนี้รวบรวมงานวิจัยประเภท randomized controlled trials จนถึงเดือนกันยายน 2019 และพบงานวิจัย 1,736 ชิ้นที่เข้าข่ายจึงนำไปกลั่นกรองและในที่สุดก็คัดเอางานวิจัยที่มีคุณสมบัติครบถ้วนที่สุด 31 ชิ้นมาประเมินสรุปซึ่งครอบคลุมคนทั้งหมด 3,321 คนและมีข้อสรุปดังนี้ การดื่มชาเขียวทำให้คอเรสเตอรอล (total cholesterol) ลงไป 4.66 mg/dL และไขมันเลว (LDL) ลดลง 4.55 mg/dL เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ดื่มชาเทียม การดื่มชาเขียวไม่ได้ทำให้ระดับของไขมันดี (HDL) ลดลง แต่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ลดลง 3.77 mg/dL เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ดื่มชาเทียม 2. ดื่มชาเขียวทำให้ความดันโลหิตลดลง (ลงในสารสาร European Journal of Nutrition, September 2014) งานวิจัยนี้เป็น meta-study เช่นกัน กล่าวคือคัดเลือกงานวิจัยประเภท randomized controlled trials ในช่วง 1995-2013 ที่เข้าเกณฑ์จำนวน 13 ชิ้นและสามารถสรุปผลดังนี้ - การดื่มชาเขียวทำให้ความดันโลหิตลดลง กล่าวคือ systolic blood pressure ลดลง 2.08 mmHg และ diastolic blood pressure ลดลง 1.71 mmHg เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ดื่มชา - มีผลคอเรสเตอรอลลดลง 0.15 mmol/L (เท่ากับ 5.80 mg/dL และ LDL ลดลง 0.16 mmol/L (6.19 mg/dL) - เมื่อแยกเป็นกลุ่มย่อยพบว่ากลุ่มคนที่ความดันโลหิตสูง (เท่ากับหรือมากกว่า 130 mmHg) จะสามารถลดความดันโลหิตลงได้มากกว่าจากการดื่มชาเขียว ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงตัวอย่างงานวิจัยบางชิ้นที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าการดื่มชาเป็นประจำน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการดื่มชาที่มีความเข้มข้นโดยไม่ผสมนมและน้ำตาลครับ ■ - http://optimise.kiatnakinphatra.com/economic_review_21.php?fbclid=IwAR392vhh69TvrII86CGBhZVRtng0fay1JB5ST-aOkp6igb9an8BpfDKIA6s - Optimise Magazine
โดย
pookii
เสาร์ ก.ค. 25, 2020 12:32 pm
0
2
Re: หุ้นTechต่างประเทศ เลือกแบบวีไอ อย่างไรให้โดน
อยากมีพอร์ตหุ้นเทคเมกะเทรนด์ พลาดไม่ได้! 3 ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและเทคโนโลยี จะมาแชร์ความรู้และประสบการณ์จริงของการลงทุนหุ้นเทคต่างประเทศ พร้อมให้คุณนำไปปรับใช้ ปั้นพอร์ตหุ้นเทคที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง พบกับ 1️⃣ คุณโต กิตติศักดิ์ โควินท์ทวีวัฒน์ - เจ้าของเพจ Billionaire VI และนักลงทุนหุ้นต่างประเทศ ที่มาพร้อมประสบการณ์ทำงานในวงการ cloud computing และ AI 2️⃣ คุณหลิน วีระพงษ์ ธัม - เลขาธิการสมาคม Thai VI และนักลงทุนเน้นคุณค่า ผู้เขียนหนังสือดัง ‘30 กลยุทธ์หุ้นเปลี่ยนชีวิต’ 3️⃣ คุณเผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ - ผู้ร่วมก่อตั้ง Fintech เพื่อการลงทุน Jitta และ Jitta Wealth และมีประสบการณ์ลงทุนหุ้นสหรัฐฯ มากว่า 10 ปี https://www.youtube.com/watch?v=Qse5R9C-Lwo
โดย
pookii
เสาร์ ก.ค. 25, 2020 11:21 am
0
2
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เรื่อง CDC สหรัฐเผย "8 ข้อดี" ที่ได้จากการออกกำลังกาย https://www.youtube.com/watch?v=jL2Yr58V8Iw
โดย
pookii
เสาร์ ก.ค. 25, 2020 9:12 am
0
1
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เรื่อง วิตามินบีรวม โอเมก้า 3 กับการป้องกัน "ภาวะสมองเสื่อม" https://www.youtube.com/watch?v=HzTv49dA938
โดย
pookii
เสาร์ ก.ค. 25, 2020 9:11 am
0
1
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
"งานวิจัยพบคุณประโยชน์ของชา ช่วยชะลอสมองเสื่อม ทำให้มีสมาธิที่ดีขึ้น" https://www.youtube.com/watch?v=Wc_cFVRBJb8
โดย
pookii
เสาร์ ก.ค. 25, 2020 9:09 am
0
1
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
งานวิจัยพบ ดื่มชาทุกวันลดความเสี่ยง เบาหวาน ความดัน ป้องกันไวรัส https://www.youtube.com/watch?v=K6V1amB4NUw
โดย
pookii
เสาร์ ก.ค. 25, 2020 9:08 am
0
1
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
คุณจะได้ประโยชน์อะไร "เมื่อคุณออกวิ่ง" https://www.youtube.com/watch?v=rwDde-ElIw0
โดย
pookii
เสาร์ ก.ค. 25, 2020 9:05 am
0
1
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
COVID-19 อันตรายมากน้อยเพียงใด https://www.prachachat.net/columns/news-495976 คอลัมน์ Healthy Aging ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรณีของทหารอียิปต์และลูกนักการทูตซูดานติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ แสดงให้เห็นว่าเกิดการตื่นตระหนกกันไปอย่างกว้างขวาง กระทบกับเศรษฐกิจและความมั่นใจในหลายจังหวัด ตรงนี้ทำให้สรุปได้ว่าในความกลัวของคนไทยนั้นยังคงไม่คิดที่จะปรับตัวที่จะ “อยู่กับโควิด-19” แต่คิดว่าจะต้อง “ปิดประเทศ” เพื่อให้ประเทศไทยปราศจากโควิด-19 จนกว่าจะมีวัคซีนที่ป้องกันโรคนี้ได้จริง ซึ่งอาจต้องรอนานอีกเป็นเวลา 1 ถึง 2 ปี ความกลัวโควิด-19 จนเหนืออื่นใดนั้นเป็นเพราะมีข่าวคราวที่ทำให้ตกใจเกี่ยวกับโรคนี้มากมายไม่เว้นแต่ละวัน เช่น 1.โควิด-19 กำลังระบาดหนักมาก ๆ ในสหรัฐอเมริกา 2.แม้แต่ประธานาธิบดีบราซิล (และก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีอังกฤษ) ก็ติดเชื้อได้ 3.บางคนมีเชื้อและแพร่เชื้อได้ แต่ไม่แสดงอาการ 4.ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ปรับเปลี่ยนตัวอย่างรวดเร็ว ขณะนี้พบสายพันธุ์ใหม่ 4-5 ชนิดแล้ว และอาจพัฒนาไปในลักษณะที่มีจำนวน spike protein เพิ่มขึ้น ทำให้ไวรัสสามารถแพร่เชื้อไปสู่มนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 5.บางคนป่วยหนักมากเกิดลิ่มเลือด (blood clot) อุดตัน หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง (cytokine storm) เป็นผลให้อวัยวะสำคัญ ๆ ของร่างกาย รวมทั้งปอด หัวใจ เส้นเลือด ถูกทำลาย 6.มีการกล่าวถึงการระบาดรอบ 2 ที่รุนแรงมากกว่าว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมคิดว่าหลายคนคงจะรู้สึกว่ารับความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ไม่ได้เลย เพราะแม้ว่าตัวเองอาจจะไม่ป่วยหนักหรือเสียชีวิต แต่ก็ไม่คุ้มที่จะเสี่ยง ทำให้คนอื่น ๆ (โดยเฉพาะญาติผู้ใหญ่) ติดเชื้อ นอกจากนั้นก็ยังถูกภาครัฐข่มขู่ด้วยว่า การติดเชื้อจะเป็นความผิด ทำให้เกิดการต้องปิดสถานบริการและส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่ตั้งของสถานบริการดังกล่าวอย่างกว้างขวาง เช่น กรณีของการยกเลิกห้องพักที่จังหวัดระยองทั้งหมด เพราะคนคนเดียว ซึ่งผมเชื่อว่าส่วนหนึ่งคือความกลัวว่าคนที่อยู่จังหวัดอื่นจะมาท่องเที่ยวที่ระยอง แม้จะรู้ว่าความเสี่ยงไม่มาก แต่ก็อาจถูกกักกันไม่ให้กลับไปที่บ้าน หรือจะต้องถูกกักตัว 14 วัน ในบ้านของตัวเอง ที่ตั้งอยู่นอกจังหวัดระยอง นอกจากนั้นก็เห็นการออกมาตรการต่าง ๆ เช่น การปิดโรงเรียนใน กทม. เพราะโรงเรียนดังกล่าวมีนักเรียนบางคนได้เดินทางไปที่จังหวัดระยอง หรืออาศัยอยู่ที่คอนโดฯที่ลูกของนักการทูตซูดานได้อาศัยอยู่ หากการดำเนินชีวิตของคนไทยกระทบกระเทือนอย่างมากเพราะความกลัวโควิด-19 ในลักษณะเช่นนี้ก็คงจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเกินกว่าการล่มสลายของภาคการท่องเที่ยว(ทั้งโดยคนไทยและคนต่างประเทศ) ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 18-20% ของจีดีพี เพราะกรณีของทหารอียิปต์ และลูกเจ้าหน้าที่การทูตซูดานนั้น ทำให้ ศบค.ยกเลิกการเตรียมการอนุมัติให้นักธุรกิจต่างชาติเข้ามาเยี่ยมเยียนและดูแลกิจการของเขาเองที่ประเทศไทยอีกด้วย ดังนั้นการลงทุนของประเทศไทยก็น่าจะต้องชะงักงันลงไปอีกด้วย การลงทุนนั้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 25% ของจีดีพี นอกจากนั้น เราคงจะยังจำได้ว่ายุทธศาสตร์หลักของรัฐบาลไทยในการขับเคลื่อนการขยายตัวและปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย คือโครงการต่าง ๆ ในอีอีซี ซึ่งต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหัวหอกในการทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการบิน มี smart city เหมือนกันกับ Silicon Valley มีโครงการขยายการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สัตหีบ จึงจะต้องสร้างเมืองใหม่ที่อู่ตะเภา และขยายสนามบินอู่ตะเภา ตลอดจนสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา แนวคิดดังกล่าวเคยตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า ประเทศไทยจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาจากต่างประเทศ 40 ล้านคนต่อปี ในปี 2019 และเพิ่มขึ้น 5% ต่อปี (เพิ่มขึ้น 2 ล้านคนต่อปี) มาบัดนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่า ครึ่งหลังของปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทย 1.5 ล้านคน (ซึ่งอาจสูงเกินไป) และอีก 16 ล้านคนในปี 2021 ดังนั้น โครงการต่าง ๆ ของอีอีซีก็อาจต้องมีการทบทวนกันทั้งหมด โดยเฉพาะเมื่อนักลงทุนต่างประเทศที่เราเคยไปชวนเขาเข้ามาลงทุน จะไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ ดังนั้นจึงต้องถามกันอย่างจริงจังว่า โควิด-19 น่ากลัวมากน้อยเพียงใด ซึ่งคำตอบจากผมคือน่ากลัวน้อยกว่าที่คนไทยกำลังกลัวกันอย่างมาก ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1.ประเทศอื่น ๆ เขากำลังปรับตัวเพื่ออยู่กับโควิด-19 (ดูตารางที่ 1) https://www.prachachat.net/columns/news-495976 ตารางข้างต้นนำเอาสถิติการติดเชื้อรายใหม่และการเสียชีวิตรายวันจากโควิด-19 ของประเทศสำคัญที่มีขนาดประชากรใกล้เคียงกับไทย รวมถึงประเทศจีนที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศดังกล่าวมีการติดเชื้อรายใหม่อย่างต่อเนื่อง และยังมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทุกวัน แต่ก็ไม่ได้เห็นเป็นข่าวให้ตื่นตระหนกเหมือนประเทศไทย และประเทศยุโรปก็เปิดให้มีการเดินทางระหว่างกันแล้ว โดยที่สำคัญคือจะต้องมีกระบวนการควบคุมให้ลดความเสี่ยงให้มากที่สุด แต่ก็คงจะไม่ได้บอกว่าจะต้องลดความเสี่ยงลงเหลือศูนย์ หรือกล่าวโทษคนที่ติดเชื้อหรือเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อ (เพราะเศรษฐกิจต้องเดินหน้าต่อไป) 2.ที่สหรัฐอเมริกาผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ยังคุมจำนวนผู้เสียชีวิตที่ระดับต่ำได้ (ดูตารางที่ 2) https://www.prachachat.net/columns/news-495976 ในกรณีของสหรัฐนั้นถือว่าควบคุมการระบาดได้ย่ำแย่ที่สุด และในหลายมลรัฐก็ต้องจำกัดกิจกรรมทางการค้าและบริการลงอย่างมาก แต่ผู้ที่ติดตามข้อมูลของสหรัฐก็จะทราบดีว่า ตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี และราคาหุ้นก็สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนโยบายการเงินการคลังที่ทุ่มเทให้กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมาก แต่อีกส่วนหนึ่งก็น่าจะเป็นเพราะอัตราการเสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกา ยังสามารถคุมเอาไว้ที่ระดับต่ำได้ 3.Infection Mortality Rate กับ Case Mortality Rate (ดูตารางที่ 3) https://www.prachachat.net/columns/news-495976 ตัวเลขข้างต้นคือการนำเอาจำนวนผู้ติดเชื้อที่ค้นพบมาเป็นตัวหาร โดยตัวตั้งคือจำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อดังกล่าว จึงเรียกว่า case fatality rate (CFR) สำหรับโควิด-19 ทั้งนี้ โคโรน่าไวรัสที่ “กระโดด” จากสัตว์มาสู่มนุษย์นั้น มีทั้งหมด 7 สายพันธุ์ 3 สายพันธุ์ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ คือ SARS MERS และ COVID-19 แต่อีก 4 สายพันธุ์ทำให้มีอาการไข้หวัดธรรมดา ดังนั้นประเด็นสำคัญคือทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตมากน้อยเพียงใด ซึ่งหากพิจารณาจากข้อมูลข้างต้นก็จะทำให้ “ตกใจ” เพราะโควิด-19 นั้นมี CFR สูงถึง 7.7% ในกรณีของอิตาลี แต่ความน่ากลัวที่แท้จริงของโรคนั้น ควรจะดูจาก infection fatality rate (IFR) ซึ่งแตกต่างจาก CFR ที่ตัวหาร คือ จำนวนผู้ที่ติดเชื้อจริง ไม่ใช่จำนวนผู้ที่ติดเชื้อที่ค้นพบได้จากการคัดกรอง กล่าวคือจะมีคนอีกจำนวนมากที่ติดเชื้อ แต่ไม่ได้รับการทดสอบเชื้อ และ/หรือมีอาการป่วยน้อยมาก จนไม่ได้เข้ามาขอรับการรักษา ซึ่งได้มีการถกเถียงกันและแสวงหาข้อมูลมายืนยัน จนน่าที่จะมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า IFR หรือสัดส่วนของผู้ที่เสียชีวิตจากการป่วยเป็นโควิด-19 เมื่อเทียบกับคนที่เป็นโรคดังกล่าวนั้น อยู่ที่ประมาณ 0.6-1.0% (ดังที่ปรากฏในภาพข้างบน) จากบทความ “How Deadly is the Coronavirus Scientists are close to an answer” (วารสาร Nature 16 June 2020) ซึ่งจะเห็นได้ว่า “ข่าวร้าย” คือ ที่จริงแล้วอาจมีคนที่ติดเชื้อเป็นโควิด-19 แล้ว ไม่ใช่เพียง 13 ล้านคนทั่วโลก แต่อาจมีจำนวนสูงถึง 50-90 ล้านคน แต่ข่าวดี คือ จริง ๆ แล้วอัตราการเสียชีวิตจากการเป็นโควิด-19 ไม่ได้สูงถึง 4-5% ดังปรากฏจากการคำนวณ CFR และแม้จะมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วถึง (สมมุติว่า) 90 ล้านคน ก็ยังเป็นสัดส่วนที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประชากรของโลกทั้งหมด 7,800 ล้านคน คือ 1.15% เท่านั้น ดังนั้นระบบทดสอบและคัดกรองที่มีประสิทธิภาพย่อมจะทำให้สามารถคัดเลือกเอาเฉพาะบุคคลในโลกที่ปลอดเชื้อโควิด-19 เข้ามาประเทศไทยได้ แต่ก็ยังมีประเด็นอื่น ๆ อีก เช่น ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโควิด-19 นั้นขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย ตลอดจนการมีโรคประจำตัวของผู้ที่ติดเชื้อ ซึ่งผมขอเขียนถึงในครั้งต่อไปครับ
โดย
pookii
เสาร์ ก.ค. 25, 2020 9:04 am
0
2
Re: ดร.นิเวศน์ มองตลาดหุ้นไทยคือภาพลวงตา? วิธีดูหุ้นถูก-หุ้นแพง | Executive Espresso EP.96
ดร.นิเวศน์ วิเคราะห์หุ้นอุตสาหกรรมตัวไหนร่วง-รุ่งครึ่งปีหลัง หลังเปิดประเทศ Executive Espresso EP.97 https://www.youtube.com/watch?v=oGeWY10UGsQ
โดย
pookii
ศุกร์ ก.ค. 03, 2020 1:12 pm
0
2
Re: คุณฮง สถาพร งามเรืองพงศ์ เค้าทำยังไงให้มีพอรต์ 6,000 ล้าน
Hongvalue's Blog https://hongvalue.wordpress.com/
โดย
pookii
จันทร์ มิ.ย. 29, 2020 11:18 pm
0
3
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โรคอ้วน (3) ครั้งที่แล้วผมเกริ่นถึงการนำเอาความรู้เกี่ยวกับพันธุกรรมมาใช้รักษาการเป็นโรคอ้วน ซึ่งผมมีความเชื่อว่าในอนาคตการรักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลสุขภาพของเราให้ดีอยู่ตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่นั้น จะทำโดยการดูแลพันธุกรรมหรือ Genome ของเรา ครั้งนี้ผมจะขอสรุปข้อมูลที่ได้ไปค้นคว้ามาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวยังเป็นเพียงขั้นของการทดลอง ยังไม่ใช่สิ่งที่นำไปใช้ได้อย่างแพร่หลาย ดังนั้นปัจจุบันการควบคุมน้ำหนักตัวของเราให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเริ่มต้นจากการจำกัดการกินอาหาร ซึ่งผมอาศัยการจำกัดช่วงเวลาการกินเวลาในแต่ละวันให้อยู่ในช่วงเวลา 8-10 ชั่วโมงเพื่อให้ท้องว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการงดกินอาหารค่ำหรือจำกัดการกินในช่วงนั้นให้น้อยที่สุด ส่วนการอออกกำลังกายนั้นก็เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำให้ร่างกายแข็งแรงแต่จะมีบทบาทที่จำกัดในการควบคุมน้ำหนักตัวเพราะร่างกายของเราจะเผาผลาญพลังงานไม่มากจากการออกกำลังกาย เช่น การวิ่งมาราธอน (42 กิโลเมตร) จะใช้พลังงานเพียง 2,000 แคลอรี่ ซึ่งบางครั้งเรากินอาหารและของหวานมากๆ ในหนึ่งมื้อก็เกือบจะเท่ากับ 1,500 แคลอรี่ แต่ก็ต้องยอมรับว่า การอ่านพันธุกรรมของมนุษย์ที่สหรัฐทำสำเร็จมาแล้วตั้งแต่ปี 2003 ทำให้สามารถค้นคว้าและศึกษาได้ว่ายีนส์ใดมีหน้าที่อะไรและ ณ ปัจจุบันมีข้อสรุปว่าในยีนส์ของมนุษย์ที่มีอยู่มากกว่า 20,000 ยีนส์นั้นได้ค้นพบว่ามียีนส์ประมาณ 50 ชนิดที่น่าจะมีส่วนทำให้มนุษย์เรามีความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนและงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับโรคอ้วนมีข้อสรุปว่าการเป็นโรคดังกล่าวนั้นอาจเป็นเพราะยีนส์ประมาณ 40-70% ซึ่งค่อนข้างสูงมาก ทำให้ผมเข้าใจดีขึ้นว่าเรื่องของการควบคุมน้ำหนักนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการยับยั้งชั่งใจในการกินอาหารและความต้องการที่จะควบคุมอาหารแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นเมื่อน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนแล้วการจะเป็นโรคอื่นตามมา เช่น เป็นโรคเบาหวานนั้น ยีนส์ก็จะมีส่วนในการเพิ่มหรือลดความเสี่ยงได้ ปัจจุบันพบยีนส์ 4 ตัวคือ TCF7L2 ABCC8 GLUT2 และ GCGR ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและอาจมียีนส์อีก 67 ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคหัวใจและเส้นเลือดตีบตัน เป็นต้น เมื่อเดือน ก.ย.2015 วารสาร The New England Journal of Medicine ตีพิมพ์ผลงานวิจัยของทีมจากมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT ชื่อว่า “FTO Obesity Variant Circuitry and Adipocyte Browing in Human” (ชื่ออ่านแล้วเข้าใจยากมาก) ที่สรุปได้ว่านักวิจัยค้นพบยีนส์ 2 ตัวคือ IRX3 และ IRX5 ซึ่งหากกระตุ้นให้ยีนต์ทั้ง 2 ทำงานมากๆ (elevate expression) แล้วผลที่ตามมาคือจะแปลงไขมัน น้ำตาล (Brown Fat) ซึ่งเผาผลาญพลังงานได้ดีทำให้ไม่อ้วน มาเป็นไขมันขาว (White Fat) ที่จัดเก็บไขมันเอาไว้ กล่าวคือผลที่ตามมาคือจะทำให้อ้วนและน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเผาผลาญพลังงานจะลดลงและร่างกายจะเก็บรักษาไขมันเอาไว้แทน (from energy burning to energy storage) ที่สำคัญคือนักวิจัยได้ใช้เครื่องมือในการตัดแต่ง (edit) ยีนส์ที่เรียกว่า CrisperCas9 ซึ่งสามารถปิดการทำงานของยีนส์ทั้งสอง (IRX3 และ IRX5) ได้สำเร็จและได้ทำการทดลองกับหนูที่กินอาหารที่มีไขมันสูงและพบว่าหนูที่ได้ทำการตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อปิดการทำงานของ IRX3 และ IRX5 จะผอมกว่าหนูที่ไม่ได้ผ่านการตัดแต่งพันธุกรรม 50% กล่าวคือน้ำหนักตัวไม่ได้เพิ่มขึ้นเลยจากการกินอาหารที่มีปริมาณไขมันสูงเพราะร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานได้มากกว่า เมื่อวันที่ 21 พ.ค.2020 วารสาร Cell ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยของทีมจากมหาวิทยาลัย University of British Columbia (ประเทศแคนาดา) ที่พบว่ายีนส์ ALK นั้นเป็นยีนส์ที่ทำให้ร่างกายผอม (the skinny gene) ทั้งนี้จากการวิจัยฐานข้อมูลของประชาชนประเทศ Estonia กว่า 47,000 คนและพบว่ามีประชาชนที่โชคดีมียีนส์ดังกล่าวไม่ถึง 2% ของประชากรทั้งหมด กล่าวคือคนที่ผอมโดยธรรมชาติจะมียีนส์ ALK 2 ประเภทที่แตกต่างจากยีนส์ ALK ที่มีอยู่ในคนส่วนใหญ่และเป็นยีนส์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการนำเอาอินซูลินมาใช้ (insulin receptor) แต่ที่สำคัญคือยีนส์ ALK นี้หากมีการกลายพันธ์ (mutation) ก็จะนำไปสู่การเป็นโรคมะเร็งที่ปอดได้ ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนายาออกมาหลายตำรับเพื่อรักษาโรคดังกล่าว เช่น ยาของบริษัท Pfizer (Xalkori และ Lorbrena) ยาของ Novartis (Zykadia) ยาของ Roche (Alecensa) และ ยาของ Takeda (Alunbrig) ดังนั้นก้าวต่อไปคือการออกแบบงานวิจัยเพื่อนำเอายาดังกล่าวมาทดลองใช้ในการควบคุมน้ำหนักและรักษาโรคอ้วน ทั้งนี้เพราะการทดลองกับหนูพบว่าเมื่อปิดการทำงานของ ALK หนูกลุ่มดังกล่าวน้ำหนักตัวไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย แม้จะได้รับอาหารที่มีไขมันสูงนานถึง 16 สัปดาห์ ในขณะที่หนูอีกกลุ่มหนึ่งที่กินอาหารเหมือนกัน แต่ปล่อยให้ ALK ทำงานโดยปกติมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจนเป็นโรคอ้วนทั้งหมด ซึ่งนักวิจัยมีข้อสรุปเบื้องต้นว่าการควบคุมการทำงานของ ALK นั้นน่าจะมีผลในการสั่งการผ่านสมองให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเร่งการเผาผลาญไขมันที่สะสมอยู่ (instructing the fat tissues to burn more energy)
โดย
pookii
จันทร์ มิ.ย. 15, 2020 8:59 am
0
2
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โรคอ้วน (2) ครั้งที่แล้วผมกล่าวถึงภัยอันตรายของโรคอ้วนไปแล้วว่าทำให้อายุสั้นลงได้ 3-4 ปี สำหรับคนที่ปัจจุบันอายุ 40 ปี จากผลงานวิจัยขนาดใหญ่ของอังกฤษที่อาศัยข้อมูลจากประชากรกว่า 3.6 ล้านคน ถามว่าทำอย่างไรไม่ให้เป็นโรคอ้วน คำตอบตรงไปตรงมาคือจะต้องจำกัดการกิน โดยผมอาศัยการไม่กินอาหารมื้อเย็น (หรือกินให้น้อยที่สุด) แล้วเอาเวลาดังกล่าวไปออกกำลังกาย ซึ่งหากออกกำลังกายโดยการเดินเร็วได้วันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ก็จะทำให้เผาผลาญแคลอรีไปประมาณ 750 แคลอรีต่อ 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงจะทำให้น้ำหนักตัวลดลงไปประมาณ 1 กิโลกรัม ภายใน 10 สัปดาห์ หรือ 5 กิโลกรัมภายใน 1 ปี เป็นต้น แต่หากสามารถวิ่งครั้งละ 1 ชั่วโมงที่ความเร็วประมาณ 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง ก็จะทำให้สามารถเผาผลาญประมาณ 1,750 แคลอรีต่อ 1 สัปดาห์ ทำให้น้ำหนักลดลงได้ถึง 12 กิโลกรัมต่อการวิ่ง 1 ปี (วิ่งจะเผาผลาญประมาณ 50 แคลอรีต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร แต่การเดินจะเผาผลาญเพียง 30 แคลอรีต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร) ดังนั้น การลดอาหารจึงจะมีประสิทธิผลมากกว่าการออกกำลังกาย หากวัตถุประสงค์หลักคือการลดน้ำหนัก ซึ่งแนวทางในการลดอาหารที่สำคัญแนวทางหนึ่งคือ การนอนหลับให้เพียงพอทุกๆ คืน คือหากนอนหลับไม่เพียงพอคือคืนละ 5 ชั่วโมงจะมีความเสี่ยงที่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นปีละ 4.5-7 กิโลกรัม (จากหนังสือของ Dr.Matthew Walker “Why We Sleep”) ทั้งนี้เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอจะกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า Ghrelin ในกระเพาะให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าท้องว่างและหิวมากๆ และแม้จะกินอาหารเข้าไปแล้วปริมาณ Ghrelin ก็จะไม่ค่อยลดลง (ซึ่งเป็นผลจากการนอนน้อย) ทำให้ยังส่งสัญญาณบอกสมองว่ายังไม่อิ่มต้องกินต่อไป และกระตุ้นให้เลือกกินอาหารที่มีแคลอรีสูงอีกด้วย ในขณะเดียวกันปริมาณของฮอร์โมนที่เรียกว่า Leptin ในเซลล์ก็จะลดลงอย่างมากเมื่ออดนอน ทำให้เซลล์ส่งสัญญาณว่ายังได้รับอาหารไม่เพียงพอต้องกินเข้าไปอีกและแม้จะกินอาหารเข้าไปมากแล้วปริมาณ Leptin ก็จะไม่ค่อยเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์ยังส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าเซลล์ยังขาดอาหารอยู่ จึงต้องกินอาหารเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้นจึงควรทำ 3 อย่างไปพร้อมๆ กันคือเพิ่มการออกกำลังกาย ลดการกินอาหาร (โดยเฉพาะการลดการกินมื้อเย็นเป็นมื้อหลัก) และการนอนหลับให้เพียงพอ คือคืนละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อควบคุมความอยากกินอาหารในวันต่อไป มีงานวิจัยที่น่าสนใจจากทีมนักวิเคราะห์ที่ National Taiwan University เผยแพร่ใน Public Library of Science เมื่อ 9 ส.ค.2019 เพื่อประเมินว่าการออกกำลังกายประเภทใดจะช่วย “กด” ยีนที่ทำให้คนน้ำหนักเกินและเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วน (งานวิจัยชื่อ “Performing Different Kinds of Physical Exercise Differentially Attenuates the Genetic Effects on Obesity Measures”) โดยอาศัยผู้ใหญ่ชาวไต้หวัน 18,424 คน ที่ผ่านการอ่านพันธุกรรมและมีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลของ Taiwan Biobank (TWB) นักวิจัยจึงนำเอาข้อมูลทางพันธุกรรมดังกล่าวไปประเมินว่ายีนตัวไหนมีผลต่อตัวชี้วัดเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน 5 ตัวชี้วัด เช่น BMI ปริมาณของไขมันในร่างกาย ขนาดของเอว ความกว้างของสะโพกและสัดส่วนของเอวต่อสะโพกและประเมินความสำคัญของยีนต่างๆ ในการนำมาซึ่งความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนที่เรียกว่า Genetic Risk Scores (GRSs) นักวิจัยนำเอา GRSs ไปเปรียบเทียบกับกิจกรรมการออกกำลังกายของคน 18,424 คนดังกล่าวและมีข้อสรุปว่า 1.การออกกำลังกาย 6 ประเภท (จากทั้งหมด 19 ประเภท) มีประโยชน์ในการลดการทำงานของยีนที่ทำให้ความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วน เพราะการออกกำลังกายประเภทใดประเภทหนึ่งดังกล่าวจะช่วยลดตัวชี้วัดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน 2.การวิ่ง (jogging) เป็นประจำให้ประโยชน์สูงสุดเพราะช่วยควบคุมยีนที่ทำให้เสี่ยงกับการเป็นโรคอ้วนให้เจือจางลง (attenuate) ทำให้ตัวชี้วัดความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนลดลงถึง 3 ตัว ได้แก่ BMI ปริมาณไขมันในร่างกายและขนาดของสะโพก 3.การปีนเขา เดิน เต้นรำบางท่า (เช่น Waltz และ Foxtrot) และการบำบัดโยคะช่วยควบคุมยีนที่กระตุ้น BMI 4.ไม่พบว่าการถีบจักรยาน การยืดตัวหรือการว่ายน้ำมีผลต่อการควบคุมยีนที่กระตุ้นความเสี่ยงให้เป็นโรคอ้วน (แต่ก็ยังมีประโยชน์เพราะช่วยลดน้ำหนัก ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและทำให้หัวใจและระบบหายใจแข็งแรง) นอกจากนั้นแล้วก็ยังจะต้อง “ฟังหูไว้หู” เพราะการประเมินว่ามียีนใดบ้างที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนนั้นย่อมเป็นการประเมินของนักวิจัยกลุ่มนี้ การอ่านพันธุกรรมอย่างละเอียดถี่ถ้วนและการค้นพบว่ายีนตัวใดมีผลอย่างไรต่อร่างกายนั้นยังเป็นเพียงการเริ่มต้น เพราะการอ่านพันธุกรรมมนุษย์ (genome mapping) ครั้งแรกสำเร็จนั้นเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2003 และแม้ว่าจะการพัฒนาการไปอย่างมากในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา แต่น่าจะยังมีอะไรที่จะต้องเรียนรู้อีกมากเกี่ยวกับพันธุกรรมของมนุษย์ว่ามีผลต่อการเป็นโรคต่างๆ อย่างไรบ้าง แต่ที่สำคัญในความเห็นของผมคือการอาศัย genomics และ epigenome (การอ่านคำสั่งของยีนโดยเซลล์ที่จะผิดเพี้ยนไปได้เมื่ออายุมากขึ้น) จะเป็นแนวทางใหม่ในการรักษาโรคและรักษาสุขภาพในอนาคต และผมเชื่อว่าจะ disrupt ระบบการแพทย์ปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งผมจะขอนำเอาเรื่องของการแสวงหายีนที่ควบคุมความอ้วนและความผอมมานำเสนอในตอนต่อไปครับ
โดย
pookii
พุธ มิ.ย. 10, 2020 8:37 am
0
1
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
โรคอ้วน (1) เมื่อปี 1997 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่าโรคอ้วนเป็นโรคระบาด และล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2020 WHO แถลงว่า ปัจจุบันมีประชากรผู้ใหญ่ที่น้ำหนักเกิน (overweight) อยู่ 1,900 ล้านคนและในจำนวนดังกล่าวมีคนเป็นโรคอ้วน (obesity) มากถึง650 ล้านคน แต่ผมเชื่อว่าไม่มีใครทราบเรื่องนี้มากนักเพราะตรงกับปีที่เผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ต่อจากนั้นโรคระบาดนี้ก็มีแต่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งข้อมูลล่าสุด (2015-2016) มีคนเป็นโรคอ้วนในสหรัฐมากถึง 39.8% ซึ่งผมความเห็นว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากจาก COVID-19 ในสหรัฐก็เพราะหลายคนเป็นโรคอ้วน ทำให้มีการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ซึ่งทำให้ร่างกายแก่เกินไวและนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคมะเร็งที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับ COVID-19 ได้ ในประเทศไทยนั้นปรากฏจากข้อมูลของรัฐบาลไทยว่าในช่วง 18 ปีระหว่างปี 1991-2009 มีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 3.2% ของประชากรทั้งหมดในปี 1991 มาเป็น 5.4% ในปี 1997 และ 7.1% ในปี 2004 และ 9.1% ในปี 2009 หากเรามีสมมุติฐานว่าอัตราการเพิ่มของคมที่เป็นโรคอ้วนเท่าเดิม ก็สามารถคำนวณได้ว่าจำนวนคนที่เป็นโรคอ้วนในปัจจุบันน่าจะเป็นประมาณ 11.5-12.5% ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 7.8-8.5 ล้านคน ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนคือคนที่น้ำหนักตัวคำนวณจากดัชนีมวล รวมของร่างกายหรือ BMI เท่ากับหรือเกินกว่า 30 BMI คำนวณได้จากการนำเอาน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง เช่น คนที่สูง 1.67 เมตรและน้ำหนักเท่ากับ 67 กิโลกรัม จะมี BMI เท่ากับ 67÷2.7889 หรือ 24 เป็นต้น ดังนั้นคนที่สูง 1.67 เมตร หากน้ำหนักตัวเกินกว่า 83 กิโลกรัม ก็ถือว่าเป็นโรคอ้วน เป็นต้น รูปภาพ https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650315 การมีน้ำหนักตัวที่ประเมินว่าอยู่ในระดับปกติและมีสุขภาพดีนั้น BMI จะต้องอยู่ที่ระดับ 18.5 ถึง 24.9 เช่น คนที่สูง 1.67 เมตร น้ำหนักก็ไม่ควรต่ำกว่า 52 กิโลกรัม เป็นต้น มิฉะนั้นจะถือว่าผอมเกินและขาดอาหาร สำหรับคนที่ BMI เท่ากับ 25 ถึง 29.9 นั้นถือว่าเป็นคนที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน) แต่ไม่ได้เป็นโรคอ้วน ซึ่งจากสถิติของประเทศไทยนั้นพบว่าคนที่น้ำหนักเกิน (อ้วนและเป็นโรคอ้วน) เพิ่มขึ้นจาก 17.2% ของประชากรทั้งหมดในปี 1991 มาเป็น 22.6% ในปี 1997 และ 29.5% ในปี 2004 และ 34.7% ในปี 2009 ซึ่งมาถึงวันนี้ก็น่าจะมีความเป็นไปได้สูงว่าจำนวนคนที่น้ำหนักเกินในประเทศไทยน่าจะมีสัดส่วนใกล้ 40% ของประชากรทั้งหมดแล้ว ในขณะที่ในสหรัฐนั้นสัดส่วนนี้จะเท่ากับ 68% ถามว่าการเป็นโรคอ้วนนั้นเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด ก็สามารถตอบได้อย่างค่อนข้างมั่นใจว่าจะทำให้อายุสั้นลงไป 3-4 ปี สำหรับคนที่ปัจจุบันอายุ 40 ปี ซึ่งเป็นข้อสรุปของงานวิจัยที่ผมคิดว่าน่าเชื่อถือเพราะเป็นงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจากคนอังกฤษจำนวนมากถึง 3,632,674 คน นักวิจัยติดตามดูคนกลุ่มนี้ในช่วง 1998 ถึง 2016 และพบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 188,057 คน งานวิจัยนี้ได้นำไปตีพิมพ์ในวารสารททางวิชาการชั้นนำของโลกคือ The Lancet เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2018 งานวิจัยนี้พบว่าคนที่น้ำหนักขาด (ผอมเกินไป) และน้ำหนักเกินมากๆ (เป็นโรคอ้วน) ล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าคนที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติและมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตทั้งจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable disease) และจากโรคติดต่อ (communicable disease) มากกว่าคนที่น้ำหนักอยู่เกณฑ์ปกติ นักวิจัยจึงได้คำนวณออกมาให้เห็นว่าหากคุณอายุ 40 ปีและปัจจุบันคุณน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือน้ำหนักเกินกว่าหรือต่ำกว่าปกติ คุณจะอายุสั้นลงมากน้อยเพียงใด โดยสรุปจากตารางข้างล่าง
โดย
pookii
พุธ มิ.ย. 10, 2020 8:36 am
0
0
Re: มองผ่านเลนส์ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ลงทุนอย่างไรหลังโควิด
Exclusive Interview The Standard | มองผ่านเลนส์ ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ลงทุนอย่างไรหลังโควิด (แก้ไข) https://www.youtube.com/watch?v=PMk0yLLD2LU
โดย
pookii
ศุกร์ มิ.ย. 05, 2020 1:05 pm
0
6
Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
เกิด แก่ (ไม่) เจ็บ ตาย: สูงวัยอย่างมีคุณภาพได้ แค่ออกกำลังกาย กินให้น้อย นอนให้พอ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สัจธรรมที่ได้ยินมาแต่ไหนแต่ไรว่าสุดท้ายเราล้วนต้องเผชิญ แต่คงไม่เกินไปเท่าไหร่ หากจะบอกว่าความคิดนั้นได้เปลี่ยนไป หลังจากได้พูดคุยกับ ดอกเตอร์ศุภวุฒิ สายเชื้อ และอ่านหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า Healthy Aging ว่าด้วยการสูงวัยอย่างมีคุณภาพ ที่เขาได้รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยด้านสุขภาพในหลายสิบปีมาไว้ในหนังสือสองร้อยหน้านี้ หนังสือที่ดอกเตอร์ศุภวุฒิใช้ประสบการณ์ความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ เปลี่ยนจากคิดเรื่องการเงินระดับประเทศ มาสำรวจสุขภาพร่างกายระดับบุคคลแทน การศึกษายาวนานที่เผยให้เห็นหนทางใหม่ว่า แม้สุดท้ายเราจะแก่ แต่อาจไม่ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยก่อนตายก็ได้ หากเพียงแค่เรากลับไปใช้ชีวิตตามที่ร่างกายมนุษย์นั้นถูกดีไซน์ – เคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อย กินให้น้อย และนอนให้พอ – สามข้อสรุปจากการศึกษาค้นคว้าด้านสุขภาพมายาวนานของ ดอกเตอร์ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่เชื่อว่า เกิด แก่ (ไม่) เจ็บ แล้วค่อยตาย นั้นทำได้จริง จากความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์เศรษฐกิจ เปลี่ยนมาเป็นเรื่องสุขภาพได้อย่างไร ความสนใจผมมีสองส่วน ส่วนหนึ่งคือเรื่อง practical guide ทำอย่างไรให้สุขภาพดีจนวันตาย ซึ่งก็คือวิธีการกิน นอน ออกกำลังกาย และความสนใจอีกส่วนคือเทคโนโลยีการแพทย์ที่ปัจจุบันไปไกลมากแล้ว ยกตัวอย่างเทคโนโลยีล่าสุด มีงานวิจัยออกมาว่า เราสามารถกระตุ้นให้เซลล์ร่างกายอายุน้อยลงได้ เป็นงานวิจัยจาก ดอกเตอร์เกรกอรี ฟาฮี (Dr. Gregory M. Fahy) ที่พบว่าเราสามารถกระตุ้น Thymus Gland ซึ่งเป็นต่อมที่คุมเรื่อง immunity ต่อมนี้จะเริ่มฝ่อตอนอายุยี่สิบกว่า และจะหายไปเลยตอนอายุหกสิบ อย่างผมนี่ไม่มีต่อมนี้แล้ว มันกลายเป็นก้อนไขมัน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนแก่ถึงตาย เป็นไข้หวัดใหญ่ ติดโควิด-19 ก็ตายง่ายกว่า เพราะภูมิคุ้มกันมันไม่มีต่อม Thymus ซึ่งเป็นเสมือนแคมป์ฝึกภูมิคุ้มกันมาช่วย เลยไม่แข็งแรง งานวิจัยนี้เขาก็เลยใช้การกระตุ้น Thymus Gland ให้ฟื้น ปรากฏว่าได้ผล แต่ผลข้างเคียงที่ตามมาคือร่างกายหนุ่มขึ้นไปด้วยเลย ฉะนั้น ในเชิงคอนเซ็ปต์เรื่อง Reverse Aging นั้นเป็นไปได้แล้วนะ แต่เราไม่รู้กัน เพราะมัวแต่กลัวเรื่องโควิด-19 จนไม่ได้สนใจเรื่องอื่นเลย หรืออีกงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนมีนาคม โดย ดอกเตอร์ชินยะ ยามานากะ (Dr. Shinya Yamanaka) ที่คิดค้น Induced Pluripotent Stem Cells (iPCSs) จากที่เราพยายามหาสเต็มเซลล์จากรกเด็ก ฉีดกันเข็มละแสนกว่าบาทเพื่อรักษาร่างกายทีละจุด แต่งานวิจัยเรื่อง Induced Pluripotent Stem Cells นี้มันหมายความว่าเราสามารถหมุนเวลาเซลล์ปกติให้กลับเป็นสเต็มเซลล์ได้ งานวิจัยนี้ก็ทำให้ดอกเตอร์ยามานากะได้รางวัลโนเบลไปแล้วในปี 2012 ในช่วงที่ผ่านมาก็มีบริษัทต่างๆ ตั้งขึ้นมาเพื่อทำเรื่องนี้เยอะมาก รัฐบาลสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และกลุ่มอียู ก็ร่วมสนับสนุนด้วย พูดง่ายๆ คือ ตอนนี้เราสามารถทำให้เซลล์ย้อนวัยได้แล้ว ถ้าเราทำได้ก็จะแก้ปัญหาได้เยอะมาก และที่น่าสนใจคือ งานวิจัยนี้เขาบอกว่าเวลาคุณ induce ให้เซลล์มันอ่อนวัยลง ไม่ต้องทำให้มันถึงขั้นกลับไปเป็นสเต็มเซลล์ก็ได้ แค่ย้อนเวลาให้มันหนุ่มขึ้นก็ได้ อันนี้พิสูจน์แล้วกับเซลล์กระดูก เซลล์กล้ามเนื้อ ลองคิดดูว่าถ้าเวลาผ่านไป เรื่องนี้มีพัฒนาการมากขึ้น ในไม่ถึง 20 ปี คนเราจะเลือกอายุตัวเองได้เลย เพราะสามารถย้อนวัยคนได้ ผมเล่าเบื้องต้นเท่านี้ก่อน ทุกอย่างที่ผมพูดมันถูกตีพิมพ์ในงานวารสารทางวิชาการ ผ่าน peer review แล้ว ไม่ได้มั่ว ยืนยันได้ หรือรางวัลโนเบลที่ดอกเตอร์ยามานากะได้รับก็เป็นการยืนยันอย่างดีว่าทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจริง ความสนใจผมเลยมีอยู่สองเรื่อง เรื่องแรกคือทำให้ตัวเองสุขภาพดี เรื่องสองคือพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้มีแรงบันดาลใจให้ดูแลตัวเองไปจนกว่าเทคโนโลยีพวกนี้จะมาถึง เทคโนโลยีทางการแพทย์พวกนี้จะเปลี่ยนชีวิตเราไปอย่างไร เทคโนโลยีสามารถดิสรัปต์โลก ทั้งโทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล ฯลฯ วงการเดียวที่ยังไม่ถูกดิสรัปต์คือการรักษาโรคปัจจุบัน เรายังทำเหมือนร้อยปีที่แล้ว ต้องไปโรงพยาบาล นัดหมอ เพื่อรักษาแต่ละโรค โดยที่หมอจะวินิจฉัย เน้นการตรวจโรคและอวัยวะ แล้วสั่งยาให้สามสี่อย่าง ให้คุณไปลองดูว่าอันไหนมันเหมาะกับคุณ อันไหนแพ้ไม่แพ้ มันเป็นการวินิจฉัยในระดับบน ดูจากอวัยวะและโรคที่ปรากฏ แต่นักวิจัยด้าน aging เป็น pioneer สังเกตว่างานวิจัยพวกนี้เป็นเรื่องระดับเซลล์ จะเปลี่ยนแนวคิดไปเลย เช่น Prulipoten Stem Cells นั้นสามารถย้อนอายุเซลล์ในร่างกาย สามารถรักษาได้ทุกโรค คือกลับไปเป็นหนุ่มอีกครั้งเลย นอกจากสเต็มเซลล์เปลี่ยนโรค มีเทคโนโลยีอะไรที่จะเปลี่ยนโลกอีกบ้าง มีอีกเทคโนโลยีที่น่าจะได้รางวัลโนเบลในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ที่เรียกว่า CRISPR-Cas9 (คริสเปอร์แคสไนน์) หรือการอีดิตยีน เช่น ถ้าคุณมียีน APOE4 คุณมีความเสี่ยงจะเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งตอนนี้ Broad Institute ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับ MIT สามารถอีดิตยีนนี้ออกไปได้เลย หรือตัวอย่างที่มีข่าวนักวิทยาศาสตร์จีนคนหนึ่งเขาโคลนเด็กแฝดให้เกิดมาเมื่อปี 2018 แล้วเขาอีดิตยีนตัวหนึ่งออกไปเพื่อให้เด็กแฝดหญิง ชื่อนานากับลูลู ไม่มีทางเป็นโรคเอดส์ CRISPR-Cas9 นี่อีดิตยีนทุกอันได้เลย ถ้าคุณเป็นธาลัสซีเมีย อีดิตยีนนี้ไปได้ก็ไม่เป็นแล้ว เทคโนโลยีการแพทย์มันไปทางนี้ ซึ่งอาจจะดิสรัปต์การแพทย์ไปอย่างสิ้นเชิง เราจะไม่มีหมอ มีแต่ Genome Engineer คุณจะมี engineer ที่ไปดูว่ายีนอันไหนมันบกพร่องแล้วไปจัดการตรงนั้น หรือถ้าจัดการไม่ได้ก็จะไปจัดการสเต็มเซลล์ แล้ว Reverse Aging แทน แต่ทุกอย่างทำในระดับเซลล์หมด เทคโนโลยีพวกนี้คือสิ่งที่ทำให้ผมตื่นเต้น ผมอาจอยู่ไม่ทัน แต่พวกคุณนี่แหละ ดูแลตัวเองให้ดีกันต่อไป คุณเลือกได้ว่าคุณจะตายเมื่อไหร่ หรือไม่ตาย เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าการควบคุมยีนของมนุษย์จะทำให้ควบคุมอายุขัยได้ ยีนนี่คือ Instruction Set สำหรับร่างกาย ถ้าคุณทำ Map Genome ของตัวเอง ต่อไปคุณรู้ก่อนเป็นโรคด้วยซ้ำว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคอะไร แล้วค่อยไปคุยกันว่าจะอีดิตยีนนี้ออกเลยไหม หรือจริงๆ ไม่ต้องไปพบที่โรงพยาบาล สามารถคุยอยู่บ้านนี่แหละ เขาแค่ใส่ชิปแทร็กยีนคุณ วันไหนยีนคุณมีปัญหา หรือมีเซลล์ที่อาจกำลังกลายเป็นเนื้องอก ศูนย์ข้อมูลจะรู้ก่อนตัวคุณอีก ซึ่งจะดิสรัปต์การแพทย์แบบปัจจุบัน เพราะคุณไม่ต้องมาโรงพยาบาล เมื่อเขาได้ข้อมูล ก็แค่ส่งยาไปให้ที่บ้านเลย Future of Medicine น่าจะเป็นแบบนี้ และจะไม่ใช่การรักษาด้วยยารักษาโรค และเป็น Genomic Therapy คือการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงยีนของคุณ อีกนานเท่าไหร่กว่าเราจะเห็นการดิสรัปชันใหญ่ในการรักษาสุขภาพแบบนี้ ผมไม่รู้ว่าผมจะอยู่ทันเห็นหรือไม่ แต่ผมรู้ว่าสหรัฐอเมริกาลงทุน Map Genome เมื่อปี 1998 เสร็จตอนปี 2003 ตอนแรกใช้เงินไปสองพันกว่าล้านเหรียญฯ ตอนนี้มีบริษัท Genome Mapping ทำให้คุณได้ในราคาสี่ร้อยเหรียญฯ ต่อไปเมื่อราคาลดลงไปอีก อาจมีการ Map for Free หรือเป็นของแถมไปเลย จากที่เขาเริ่มต้นจากศูนย์ มาจนถึงขั้นนี้ได้เขาใช้เวลาเพียง 17 ปี ฉะนั้น ในอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า เราน่าจะรู้ได้หมดเลยว่ายีน 20,000 ยีนในร่างกายเรา ตัวไหนรับผิดชอบเรื่องอะไรบ้าง เทคโนโลยีสามารถทำให้เขาสามารถค้นคว้า ไล่ดูได้ เขาไล่ดูได้ว่ายีนตัวไหนทำให้เป็นโรคอะไร ยีนตัวไหนทำให้ตาบอด เป็นโรคปอด เป็นเบาหวาน ความดัน ก็บอกได้ เพราะหลายโรคที่เราเป็นกันอยู่ในขณะนี้ก็มีต้นตอมาจากยีน ขอแค่เวลาแทร็กเท่านั้นแหละว่าเป็นยีนตัวไหน แล้วค่อยใช้ CRISPR-Cas9 ไปอีดิตได้ ข้อดีของเทคโนโลยีคือให้ความหวัง แต่ในขณะเดียวกันมันจะทำให้เรานิ่งนอนใจ ปล่อยร่างกายให้อยู่ในความดูแลของเทคโนโลยีหรือไม่ ผมไม่ได้บอกให้นิ่งนอนใจ แต่กลุ่มเป้าหมายของหนังสือผมคือพวกคุณในวัยสามสิบ ที่ร่างกายแก่ลงเพียงเล็กน้อย แต่ยังทำงานได้ดีอยู่ แต่ผมรับรองเลยว่าหลังจาก 40 ร่างกายจะเริ่มแก่ตัวอย่างรวดเร็วแบบทวีคูณ เจตนาของการเขียนหนังสือเล่มนี้เลยคืออยากให้คนอายุสัก 30 อ่านว่าคุณจะ maintain peak ของคุณไปได้นานอีก 30-40 ปีได้อย่างไร ตัวของผมเองเริ่มสายเกินไป เพราะมัวแต่สนใจเรื่องเศรษฐกิจ มาเริ่มเอาตอน 50 กว่า สายไปตั้ง 15 ปี เสียดายโอกาสมาก แต่พอทดลองกับตัวเองแล้วเห็นว่าได้ผลดีค่อนข้างมาก ตอนผม 56 ผมหนัก 80 กว่ากิโล ตอนนั้นนี่เจ็บไหล่ เจ็บหลัง เจ็บเข่า ตอนนี้ไม่เจ็บเลย แล้วมันไม่ยาก ไม่เสียเงินเพิ่มด้วย เพราะกินน้อยลง นอนมากขึ้น ออกกำลังกายด้วยการวิ่งที่ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร มันไม่มีข้อเสียอะไรเลยที่จะทำให้ตัวเองแข็งแรงขึ้น มีแต่ข้อดี จุดเปลี่ยนที่ทำให้หันมาดูแลรักษาสุขภาพในวัยเกือบหกสิบปี โชคดีที่เพื่อนร่วมงานเขาเห็นผมสุขภาพแย่ เพื่อนร่วมงานเห็น แต่ผมไม่เห็นนะ เขาบอกให้ไปตรวจสุขภาพ ผมก็ไม่ไป ผมต้องเดินทางไปต่างประเทศเยอะ ทุกครั้งหลังเดินทางกลับมาไม่สบายตลอด ปีหนึ่งไม่สบาย 5-6 ครั้ง จนคิดว่าเป็นปกติของคนอายุห้าสิบกว่า เพราะผมไม่เคยสนใจสุขภาพเลย มัวแต่สนใจเรื่องเศรษฐกิจ เหมือนคุณ sub-contract การรักษาสุขภาพตัวเองไปให้คนอื่น เพื่อนเลยแอบนัดหมอ anti-aging แล้วให้ผมไปตรวจ หมออ่านฮอร์โมนแล้วบอกว่าอายุเท่าคนวัย 70 กว่า แต่ตอนนั้นผมอายุ 56 นะ คือแย่มากเลย ผลตรวจวันนั้นมันเป็น wake up call ทำให้ต้องถามตัวเองว่าจะเอายังไงต่อ จะเฉื่อยแฉะไปเรื่อยๆ หรือจะใช้ความเป็นนักวิเคราะห์มาดูข้อมูลแล้วหาทางเลือกให้ตัวเอง การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ และข้อมูลสุขภาพ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เวลาผมทำวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ผมจะเอาข้อมูลเยอะๆ มาแยกแยะว่าอันไหนสำคัญ ไม่สำคัญ แล้วผมก็ต้องหาข้อสรุปมาบอกนักลงทุนว่าเขาควรจะ take action อะไร งานวิจัยของผมไม่ใช่เอาไว้ขึ้นหิ้ง แต่ต้องเป็น Actionable Ideas จะตัดสินใจอย่างไร จะ buy sell หรือ hold ก็เอาเรื่องข้อมูลมาใช้กับสุขภาพตัวเอง คือแสวงหาข้อมูลอย่างกว้างไกล เริ่มจากข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูงคือรางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์ เชื่อถือได้แน่นอน มันถูกกลั่นกรองมาเยอะมากแล้ว แล้วมาเลือกว่าจะ take action ไหนที่ดีที่สุดหลังจากได้ข้อมูลมา ข้อมูลที่ได้มา ทำให้เราตาสว่างอย่างไรบ้าง ก็หลายอย่าง เช่น ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ชื่อเดิมดีกว่า คือ ‘สามสิบบาทรักษาทุกโรค’ กล่าวคือ ระบบปัจจุบันคือรอให้เป็นโรคแล้วค่อยไปรักษา เหมือนรอให้รถชนแล้วเอารถไปซ่อม แต่คุณไม่อยากให้รถชน ดังนั้น เราจึงควรจะ proactive มากกว่า reactive ละ แต่มนุษย์เราส่วนใหญ่จะ reactive ไม่อย่างนั้นบริษัทประกันส่วนใหญ่ขายประกันสุขภาพไม่ได้หรอก ทั้งที่เขาไม่ได้ประกันสุขภาพเลยนะ แต่เวลาเราฟังเขาขาย เราก็ซักถามว่าครอบคลุมโรคนั้นโรคนี้ไหม กลายเป็นว่าเราอยากเป็นทุกโรคเลย จะได้คุ้ม ผมว่ามันไม่ใช่ อย่างผมเองนี่ช่วงหนึ่งก็ซื้อประกันตรึมเลย แล้วก็จี้ถามราวกับว่าอยากเป็นทุกโรคเลย แต่เราคิดผิด เรามัวแต่รอให้โรคมาเยือนแล้วหวังว่าประกันจะมารักษาโรคได้อย่างไร วันนั้นที่ไปตรวจสุขภาพมันถึงมีแรงกดดันกึ่งบันดาลใจว่าต้องคิดใหม่แล้ว เพราะคิดแบบนี้มันผิดหมดเลย ทั้ง attitude หรือเรื่องประกันสุขภาพ ทำไมเราต้องรอให้เป็นโรคจะได้ใช้ประกัน ใช้สิทธิสามสิบบาท ทั้งที่ปกติแค่ไปหาหมอยังไม่อยากไปเลย คนเราบางคนนี่รู้ว่าตัวเองจะเป็นโรคยังไม่ยอมไปตรวจร่างกายเลย อาศัยทำบุญเอา หรือไปรอรักษาโรคตอนป่วย จะเลือกเดินทางนั้นก็ได้ หรือจะเลือกอีกทาง คือเลือกรักษาสุขภาพ ซึ่งไม่ใช่ทางที่คนส่วนใหญ่เลือก คนส่วนใหญ่ by default เลือกรักษาโรค ที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าเราไม่มีข้อมูล เรามีข้อมูลมากมาย แต่ข้อมูลไหนที่พบแล้วเปลี่ยนความรู้ เป็นการลงมือทำได้ จากการอ่านบทความทางวิชาการหลายปีที่ผ่านมา ไม่มีบทความไหนเลยที่บอกให้กินเยอะๆ นอนน้อยๆ ไม่ต้องออกกำลังกาย แล้วจะสุขภาพดี ไม่มีเลย มันตรงกันข้ามหมด สุดท้ายแล้ว การรักษาสุขภาพคือ กินน้อย นอนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ สุขภาพถึงจะดี มีแค่นั้นเองจริงๆ ผมอ่านมาเยอะมากแล้ว เพราะว่าร่างกายมนุษย์เราถูกดีไซน์มาแบบนี้ ให้อดอยากบ้าง แล้วก็ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ตอนกลางคืนไม่มีไฟฟ้าก็ต้องนอน มนุษย์เราเกิดมาหกล้านปีที่แล้ว วิวัฒนาการของร่างกายเกิดขึ้นช้าๆ ใช้เวลาเป็นแสนเป็นล้านปี แต่ในช่วงเพียง 50-100 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ประดิษฐ์อาหารฟาสต์ฟู้ด ไฟฟ้า ร่างกายของเรา evolve ไม่ทัน ร่างกายมันถูกสร้างมาให้ล่าสัตว์ ต้องอดมื้อกินมื้อ กลางคืนต้องรีบไปนอนในถ้ำ ไม่อย่างนั้นสัตว์จะมาคาบไปกิน ถ้าคุณใช้ชีวิตตามที่ถูกดีไซน์มา ร่างกายมันถึงจะอยู่ได้นาน ในหนังสือเล่มนี้ก็จะลงรายละเอียดว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ Dr. Daniel Lieberman แกไปดูสรีระของร่างกายคนเรา และกล้ามที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายคือกล้ามที่ก้น (Gluteus Maximus) กล้ามอันนี้เวลาเดินไม่ต้องใช้ ใช้เฉพาะตอนวิ่ง มันต้องวิ่งเพื่อล่าสัตว์ (หรือวิ่งหนี) สูงสุดสู่สามัญ ถ้าสุดท้ายสิ่งสำคัญคือกลับไปใช้ชีวิตตามพื้นฐานร่างกาย แล้วทำไมเราต้องพึ่งเทคโนโลยี เราใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวเสริมศักยภาพของเรา แต่อย่าลืมว่า basic design ของร่างกายมนุษย์มันดีไซน์ให้กินน้อย นอนเยอะ และเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ เราก็ต้องใช้ร่างกายแบบนั้น ในหนังสือผมบอกว่าให้วิ่งอาทิตย์ละ 20 กิโล กิน 2 มื้อ นอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง แค่นี้ก็พอ เบสิกต้องเป็นแบบนี้ อย่างอื่นคุณทำอะไรผมไม่สน แต่ผมขอพื้นฐานเท่านี้ ดอกเตอร์โอซูมิ (Yoshinori Ohsumi) ได้รางวัลโนเบลเมื่อปี 2016 บอกว่าเซลล์มัน rejunevate ตัวเอง เซลล์มันมี autophagy คือการฟื้นฟูตัวเองโดยการกลืนกินของเสียภายในเซลล์เมื่อมีการอดอาหาร ฉะนั้น คุณควรกิน 2 มื้อ หรือบางวันผมกิน 1 มื้อหรือ 2 มื้อกับอีกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้คุณรู้สึกหิวนิดๆ ทุกวัน และนอนให้พอ ข้อมูลทำให้เริ่มลงมือทำ แต่กุญแจสำคัญคืออะไรที่จะทำให้คนเราลงมือทำได้อย่างต่อเนื่อง ปีแรกก็เหนื่อยนะครับ ยอมรับว่าหิว ช่วงเวลาอาหารเย็นเคยเป็นไฮไลต์ของวัน กลับมาหิวก็ต้องรีวอร์ดตัวเอง แต่กลายเป็นต้องไปวิ่ง ช่วงแรกยากมาก แต่ข้อดีของการเป็นนักวิจัยคือเราจะมีวินัยในระดับหนึ่ง เวลาเราต้องวิเคราะห์อะไร สมาธิและความมุ่งมั่นจะต้องมีจึงจะวิเคราะห์ได้ สงสัยว่าสมาธินี่มันทำให้มีความแน่วแน่ในการที่จะทำสิ่งยากให้ลุล่วงไปได้ คนที่มีสมาธิจะมีความแน่วแน่ จิตใจไม่ว่อกแว่ก แต่ในอีกส่วนหนึ่งคือ ข้อมูลที่ได้มา ยิ่งอ่านยิ่งเถียงตัวเองไม่ได้ว่าทำไมเราต้องไม่กลับไปใช้ชีวิตอย่างเดิมอีก ถ้ากลับไปแบบเดิม สุขภาพจะไม่ดีอย่างแน่นอน ผมจนด้วยปัญญา ผมพยายามไปหาข้อมูลอื่นมาแย้งว่าเรากินเยอะได้ ไม่ต้องออกกำลังกาย แต่ผมหาไม่ได้ มันไม่มี ข้อมูลมันฝังอยู่ในหัวแล้ว รู้แล้วจะไปทำแบบอื่นไม่ถูกต้อง เหมือนถ้าคุณได้ข้อมูลหุ้นอย่างหนึ่งมา แต่คุณไป take action ในทางตรงกันข้ามกับข้อมูลก็จะไม่ใช่สิ่งที่พึงกระทำ ขอให้คุณออกกำลังกายได้สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง ฟังดูว่ามากและยาก แต่คุณใช้เวลากินมากกว่านั้นเยอะ เวลาคุณกินอาหาร โดยเฉพาะแป้ง น้ำตาล มันสร้างโดพามีนซึ่งจะทำให้คุณแฮปปี้สุดๆ เลย แต่หากวิ่งจนถึงระดับหนึ่งก็จะได้สารอีกอันหนึ่งที่ทำให้รู้สึกดีเหมือนกัน คือเอ็นดอร์ฟิน แทนที่จะได้โดพามีนจากการกิน ผมก็วิ่งเอาเอ็นดอร์ฟินมาทดแทน แต่ทั้งสองล้วนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกดีเหมือนกัน ปัญหาคือ กว่าเอ็นดอร์ฟินจะออก คุณต้องวิ่งจนเหนื่อยก่อน ซึ่งคนมักจะหยุดวิ่งก่อนถึงจุดที่เอ็นดอร์ฟินเริ่มหลัง คุณต้องวิ่งจนเลยจุดเหนื่อยก่อน เอ็นดอร์ฟินมันจึงจะหลั่งออกมาแล้วทำให้รู้สึกดี ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากวิ่งไปแล้วประมาณ 3 กิโลเมตร ยอมรับว่าช่วงแรกมันไม่ง่าย มันฝืนมาก แต่ผมอ่านงานวิจัยจนรู้ว่าวิ่งไปเท่านี้แล้วเอ็นดอร์ฟินมันจะมา ข้อดีคือเรารู้ข้อมูล เราสามารถอ่านงานวิจัยจนรู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น และคาดการณ์ได้ ทุกอย่างที่ผมเขียนลงหนังสือเล่มนี้ ผมเอาตัวเองเป็นหนูทดลองหมดทุกเรื่อง ทุกอย่างที่ผมเขียนลงไป ผมลองหมดแล้ว พิสูจน์แล้วทั้งในเชิงงานวิชาการและการปฏิบัติว่ามันทำได้จริง เรามีเทคโนโลยีรักษาโรคมากมาย เรามี easy pill ที่รักษาสุขภาพได้โดยไม่ต้องออกแรงบ้างไหม จริงๆ มีทฤษฎีใหม่ที่พูดถึงระบบที่ทำให้เป็นโรค เรียกว่า epigenome เอพิ แปลว่าอยู่เหนือ อันนี้หนังสือที่ผมพูดถึงเป็นหนังสือของ ดอกเตอร์เดวิด ซินแคลร์ (Dr. David Sinclair) ชื่อ Lifespan: Why We Age – and Why We Don’t Have To เขียนลึกมาก อ่านยาก เป็นทฤษฎีใหม่ที่บอกว่า Aging is a disease. (ความแก่ตัวคือโรคชนิดหนึ่ง) เป็นเรื่องของ epigenome ก็เป็น Paradigm Shift ที่ไม่ใช่เรื่องของการกินแอนติออกซิแดนต์ แต่การพูดถึงสารต้านอนุมูลอิสระนั้นทำให้ขายของได้ คนก็เลยพูดกันเยอะ เวลาคนขอคำแนะนำ ดอกเตอร์ซินแคลร์จะตอบว่า พยายามกินให้น้อยจะดีที่สุด แต่ผมพบว่าอาหารที่มีประโยชน์จริงๆ คือน้ำชา ซึ่งผมเขียนลงในหนังสืออีกเล่ม คือ Beating COVID-19 นักวิจัยไต้หวันพบว่า สาร Theaflavin ในชาดำมีสรรพคุณในการต่อต้านการแบ่งตัวของไวรัสซาร์ส ซึ่งต้องยอมรับว่าชามันมีอะไรในกอไผ่จริงๆ คนดื่มกันมาสองพันปีและเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงๆ แต่มันได้ผลอย่างไรในรายละเอียดก็ยังถกเถียงกันอยู่ คือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ตกผลึกเต็มที่ แต่มีงานวิจัยล่าสุดของออกซฟอร์ดที่เขียนแนะนำให้ชาเป็นส่วนหนึ่งของการโภชนาการ เป็น part of daily nutrition เลย คือถ้าจะให้มี easy pill ที่กินได้เลยก็น่าจะเป็นชานี่แหละ แล้วมันเป็นพืชธรรมชาติ ไม่ได้สกัดออกมาเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอะไร เชื่อตามชื่อหนังสือจริงๆ เลยไหมว่าสุดท้ายแล้ว ‘We don’t have to age’ เพราะว่าเมื่อคุณสามารถคุมยีนได้แล้ว ยีนเป็นตำราทุกอย่างของร่างกาย เหมือนที่บอกไปตอนต้นว่าคุณอีดิตยีนได้แล้ว หรือที่ ดอกเตอร์เกรกอรี ฟาฮี Reverse Aging ได้แล้ว ในเชิงคอนเซ็ปต์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถย้อนเวลาได้ เราพยายามที่จะทำให้เราสุขภาพดีจนวันสุดท้าย ส่วนตายไปเมื่อไหร่มันก็แล้วแต่ เรายังไม่สามารถกำหนดได้ ยังเป็น uncertainty อยู่ แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ เราต้องการใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขจนวันสุดท้ายของชีวิต และตายไปเลย ไม่เป็นภาระใคร ไม่ทรมานด้วย ตอนนี้มันได้เท่านี้ก่อน แต่ในระยะยาว ไม่มีอะไรมาบังคับว่าเราจะอายุแค่ 80-100 ปีนะ โดยเฉพาะถ้าต่อไปเราทำ Engineer Genome ได้ นอกจากประโยชน์ส่วนตัวแล้ว การรักษาตนเองให้มีสุขภาพดีจนวันสุดท้ายจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมอย่างไรบ้าง ปัญหาตอนนี้ของทุกประเทศคือ กลัวว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุจะสูงมาก ปัจจุบันคนไทยอายุเกิน 60 ปี มีอยู่ 11-12 ล้านคน ในปี 2040 จะเพิ่มมาเป็น 20 ล้าน คนที่อยู่ในวัยทำงานเขาต้องแบกภาระจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าคนกลุ่มนี้สุขภาพดีจนวันสุดท้าย ก็จะไม่เป็นภาระ ตอนนี้งบประมาณที่เราใช้กับประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถ้าจำไม่ผิดอยู่ที่ 2 แสนล้านบาทในปีนี้ แล้วถ้าคนสูงอายุมากขึ้น คนสุขภาพไม่ดีอีก งบจะเป็นเท่าไหร่ TDRI เคยบอกว่าจะต้องใช้งบถึง 1 ล้านล้านบาท แต่ถ้าทุกคนแก่ แต่ไม่เจ็บ ถึงเวลาตายก็ตายไปเลย ไม่ต้องเป็นโรคอะไรเลย สามารถประหยัดเงินไปได้ล้านล้านบาท จะไม่ดีกว่าหรือ ร่วมรับฟัง ดอกเตอร์ศุภวุฒิ สายเชื้อ และผู้ร่วมเสวนาท่านอื่นๆ ได้จากงาน ‘Lifefulness ‘ชีวิตมีชีวา’ : ให้ชีวิตทุกวันมีคุณภาพ ไปจนถึงวันสุดท้าย’ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ ‘On the Path to Wellness’ วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00-15.00 น. ผ่านทางเพจ ชีวามิตร Cheevamitr Social Enterprise
โดย
pookii
พุธ พ.ค. 27, 2020 12:11 pm
0
1
170 โพสต์
of 4
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
pookii
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พฤหัสฯ. เม.ย. 04, 2013 9:53 am
ใช้งานล่าสุด:
อาทิตย์ มิ.ย. 20, 2021 2:41 pm
โพสต์ทั้งหมด:
1414 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.08% จากโพสทั้งหมด / 0.33 ข้อความต่อวัน)
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว