หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
koschy
Joined: จันทร์ ก.ค. 16, 2012 3:41 pm
426
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - koschy
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ฟรี ! แบ่งปันสรุปหุ้นรายตัว ย้อนหลัง 15 ปี ง่าย
ขอรบกวนด้วยค่ะ
[email protected]
ขอบคุณมากค่ะ
โดย
koschy
จันทร์ มิ.ย. 30, 2014 11:00 am
0
0
Re: ฟรี ! แบ่งปันสรุปหุ้นรายตัว ย้อนหลัง 15 ปี ง่าย
รบกวนด้วยนะคะ....ขอบคุณมากค่ะ
[email protected]
โดย
koschy
พฤหัสฯ. ส.ค. 29, 2013 10:58 am
0
0
Re: ดีทรอยต์แห่งรัฐมิชิแกนล้มละลาย บทเรียนของดีทรอยต์แห่งเอเ
25 Facts About The Fall Of Detroit That Will Leave You Shaking Your Head By Michael Snyder, on July 20th, 2013 http://theeconomiccollapseblog.com/archives/25-facts-about-the-fall-of-detroit-that-will-leave-you-shaking-your-head
โดย
koschy
พฤหัสฯ. ส.ค. 01, 2013 11:23 am
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ครม.ไฟเขียว ตั้งเอสพีวี ลงทุนทวาย โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 21 พฤษภาคม 2556 16:11 ครม.ไฟเขียว ตั้งเอสพีวีร่วมกับเมียนมาร์บริหาร โครงการทวาย ถือหุ้นฝ่ายละ 50% วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท นาย ชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงว่าที่ประชุมครม.เห็นชอบ ผลการประชุมคณะทำงานฝ่ายไทย-เมียนมาร์ เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงิน โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ตามที่ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการประสานงานร่วมฯ ฝ่ายไทย เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องเสนอ โดยอนุมัติให้สำนักงานพัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) เป็นผู้ร่วมจัดตั้งและร่วมลงทุนในบริษัท ทวาย เอส อี แซด ดีเวลล๊อปเมนท์ จำกัด กับหน่วยงานของเมียนมาร์ไม่เกิน 50% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท และให้ สพพ. ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ ( Special Purpose Vehicle : SPV) ร่วมกับ Foreign Economic Relation Department (FERD) ของเมียนม่าร์ สัดส่วน 50% วงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามขั้นตอนของกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ที่ประชุมยังรับทราบผลการศึกษาของคณะผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น ที่ศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการทวายในภาพรวม โดยเสนอให้รัฐบาลเมียนมาร์พิจารณารูปแบบการลงทุนแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ สำหรับโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน คือ ท่าเรือและถนน เพื่อให้โครงการมีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์และสามารถหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนได้ ทั้งนี้ รูปแบบการลงทุนดังกล่าว ควรคำนึงถึงสถานะการคลังของรัฐบาลเมียนมาร์และการลงทุนควรแบ่งออกเป็นระยะ ๆ ซึ่งฝ่ายไทยและเมียนมาร์ได้ชักชวนให้ภาครัฐและเอกชนญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้การสนับสนุนต่อโครงการ อาทิ การให้ความช่วยเหลือการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistant: ODA) แก่รัฐบาลเมียนมาร์ ขณะเดียวกันก็ตกลงเรื่อง Relocation ว่า รัฐบาลเมียนมาร์จะเป็นผู้วางแผนและดำเนินการโยกย้ายคน โดยที่ SPC จะเป็นผู้จ่ายเงินผ่าน SPV และแผนการเคลื่อนย้ายคนจะต้องได้รับความเห็นชอบโดย SPV และเป็นไปตามมาตรฐานสากล http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20130521/506805/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1.%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html
โดย
koschy
อังคาร พ.ค. 21, 2013 5:03 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
'เมติ'จ่อแจงผลศึกษาทวาย ก่อนร่วมทุน วันอังคารที่ 09 เมษายน 2013 เวลา 23:37 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าว เมกะโปรเจ็กต์ทวายเดินหน้าล่าสุด "เมติ" ญี่ปุ่นเตรียมพรีเซนต์ผลศึกษาวันที่ 11 เมษายนนี้ก่อนตัดสินใจร่วมทุน ขณะที่กระทรวงการคลังมอบเนด้าร่วมทุนตั้ง"เอสพีวี" ด้วยงบ 100 ล้านบาท พร้อมแบ่งผลประโยชน์แบบโพรฟิตแชริง เปิด 2 โมเดลบริหารทั้งระดมทุนและคุมนโยบายบริหารพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ ส่วนสศช.ย้ำนโยบายค่าบริการ-ค่าเช่าที่ดินต้องถูกกว่าไทยดึงดูดนักลงทุนช่วงแรก ด้านบมจ.อิตาเลียนไทย รอได้สิทธิ์ใช้ที่ดินจ่อเซ็นสัญญาสร้างโรงงานไตรมาส 4 ขณะนี้ครม.รับทราบ เชิญญี่ปุ่นร่วมทุน แหล่งข่าวระดับสูงจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ในวันที่ 11 เมษายน 2556 ทางที่ปรึกษาของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (เมติ) จะนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นของแผนแม่บทพัฒนาโครงการทวายฉบับที่ญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาเอาไว้ต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อขอความเห็นจากฝ่ายไทยถึงแนวทางในการร่วมทุนในโครงการดังกล่าวซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจ ผ่านรัฐบาลไทยเมื่อครั้งที่นายกรัฐมนตรี ชินโซะ อาเบะ เดินทางมาเยือนไทยและพบกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ++ญี่ปุ่นแนะสร้าง 2 ท่าเรือ แต่ญี่ปุ่นต้องการศึกษารายละเอียดต่างๆให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจจึงว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษารายละเอียดต่างๆ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาโดยมีการนำผลศึกษามาเปรียบเทียบกับแผนแม่บทที่บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือไอทีดี ได้ทำการศึกษาเอาไว้และพบว่ามีข้อคิดเห็นที่ตรงกันหลายประการ อาทิ ในเรื่องของท่าเรือซึ่งญี่ปุ่นเห็นว่าจะสร้าง 2 แห่งคือท่าเรือน้ำลึกเพื่อการพาณิชย์และท่าเรือน้ำลึกเพื่ออุตสาหกรรมโดยเสนอให้แยกแยะการบริหารออกจากกันอย่างเด็ดขาดโดยญี่ปุ่นมีความเห็นว่าในกรณีที่เป็นอุตสาหกรรมหนักอย่างโรงงานถลุงเหล็กที่นำมาผลิตรถยนต์เมื่อต้องส่งรถยนต์ออกไปต่างประเทศควรจะให้ท่าเรือเพื่อ การพาณิชย์ เพื่อป้องกัน ผลกระทบจากสี ถ้าหากใช้ท่าเรือเดียวกับท่าเรืออุตสาหกรรมที่ขนส่ง สารเคมีบางอย่างเพราะจะทำให้เกิดปัญหาสีรถเพี้ยนได้เป็นต้น ++เร่งตั้งเอสพีวีรับสัมปทาน แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า "การนำเสนอผลการศึกษาในครั้งนี้ยังถือเป็นการต่อเนื่องจากครั้งที่ผ่านมา ซึ่งทีมที่ปรึกษาญี่ปุ่นได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ Joint Coorinating Committee : JCC เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม 2556 ที่พัทยามาแล้ว และต่อมาไทยกับเมียนมาร์ได้ตัดสินใจเดินหน้าจัดตั้ง นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ซึ่งเป็นโฮลดิ้งคัมปะนี ในการบริหารจัดการโครงการทวาย โดยจะจดทะเบียนฝ่ายละ 50: 50 ล่วงหน้าไปก่อนและได้ทำหนังสือเชิญรัฐบาลญี่ปุ่นร่วมทุนในภายหลังโดยเห็นว่าจะเกิดความล่าช้าเพราะหากรัฐบาลญี่ปุ่นมีข้อมูลไม่พร้อมก็ยังไม่กล้าตัดสินใจ " อย่างไรก็ดีการเดินทางจัดตั้งเอสพีวีถือเป็นส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งตัดสินใจในการร่วมทุนและลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาทจึงต้องการระดมทุนจากประเทศที่ 3 ที่ 4 และต้องการสร้างความน่าเชื่อถือในโครงการ ซึ่งความคืบหน้าของการจดทะเบียนตั้งโฮลดิ้งคัมปะนีนั้น นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า "สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.) (องค์การมหาชน)หรือเนด้า จะเป็นผู้ร่วมทุนในนามของรัฐบาลไทยซึ่งคงจะใช้เงินลงทุนไม่มากนัก" ++ดันเนด้าร่วมทุนแทนรัฐบาล ขณะที่แหล่งข่าวจาก เนด้าให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "กำลังเตรียมศึกษารูปแบบการจดทะเบียนร่วมทุนตั้งเอสพีวี ถึงการลงทุนโครงการทวายสืบเนื่องจากกระทรวงการคลังในฐานะที่เป็นคณะอนุกรรมการศึกษา เรื่องรูปแบบการลงทุนจึงมีแนวคิดที่จะให้เนด้าซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดเป็นผู้ลงทุนและกฎหมายเปิดช่องให้ร่วมทุนได้เพราะรัฐบาลไม่สามารถลงทุนได้เบื้องต้นคาดจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่า ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมถือหุ้นเมื่อไรและถือหุ้นมากน้อยแค่ไหน แหล่งข่าวระบุว่าว่าเนด้าต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆ ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนสถานะของโครงการมาเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือ จีทูจี และส่วนของ บมจ. อิตาเลียนไทยจากเดิมที่ได้รับสิทธิ์บริหารโครงการจากรัฐบาลเมียนมาร์ ก็จะเปลี่ยนสถานะมาเป็นผู้ลงทุน ในโครงการแทน ฉะนั้นจึงต้องดูสัญญาต่างๆ ทั้งข้อกฎหมายแต่ละประเทศ รูปแบบการบริหารจัดการจดทะเบียน ซึ่งต้องศึกษาอย่างรอบคอบ ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 3-4 เดือนน่าจะแล้วเสร็จ" แหล่งข่าวกล่าวและระบุว่า ทั้งนี้หลังได้ข้อสรุปขั้นตอนต่อไปจะต้องนำเสนอขอมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีด้วย เหตุเพราะเนด้าเป็นองค์กรที่ถือเป็นกลไกของรัฐบาลเพื่อการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน หรือเท่ากับเป็นตรายางให้รัฐบาลเข้าไปมีส่วนรวมในการลงทุน ซึ่งถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของรัฐบาล เพราะถ้าเป็นธนาคารของรัฐบาลเข้าไปลงทุนภาระหน้าที่จะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง ++แบ่งผลประโยชน์เป็นธรรม ส่วนแหล่งข่าวจาก สศช. เผย ถึงการบริหารจัดการและรูปแบบในการลงทุน ของเอสพีวี ล่าสุดว่าจากการเดินทางมาเยือนไทยของ นายเซ็ต อ่อง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของเมียนมาร์ เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้มีแนวคิดที่จะแบ่งผลประโยชน์ เป็นลักษณะของ Profit sharing เพื่อความเป็นธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย อีกทั้งจะมีอำนาจในการบริหาร จัดการเบ็ดเสร็จ และกำกับนโยบาย ในการบริหารพื้นที่ทั้งโครงการ เพื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากเห็นว่าในอนาคตอาจมีการลงทุนอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาอีกนอกเหนือจาก ( Special Purpose Companies :SPCs ) 8 เอสพีซี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่ตั้งขึ้น และในแต่ละบริษัท บมจ.อิตาเลียนไทย จะเข้าไปลงทุนในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 25 % ซึ่งการดำเนินการต้องไปในทิศทางเดียวกันโครงการถึงจะเดินหน้าต่อไปได้ รวมถึงรับสัมปทานมาจัดสรรให้เอสพีซี และการระดมทุนอีกด้วย ++ค่าเช่าที่ดินต้องถูก "ทั้งยังต้องทำความเข้าใจกับรัฐบาลเมียนมาร์ว่า ถ้าหากเบื้องต้นคิดค่าบริการหรือค่าเช่าที่ดินในราคาแพงก็จะทำให้ไม่จูงใจให้นักลงทุนเข้าไปลงทุน ฉะนั้นต้องคิดถูกกว่าประเทศไทยในช่วงแรกเพื่อดึงดูดใจนักลงทุน ซึ่งเรื่องนี้เขาไม่มีประสบการณ์มาก่อน จำเป็นต้องทำความเข้าใจ และใช้ข้อมูลของนิคมอุตสาหกรรมของต่างประเทศหลายแห่งนำมาเปรียบเทียบให้เมียนมาร์เห็น เพราะสิ่งที่เขามาเห็นที่แหลมฉบังหรือมาบตาพุดในปัจจุบันนั้นแตกต่างจากเมื่อ 20 ปีที่เริ่มต้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งกว่าไทยจะผ่านมาได้ก็ต้องใช้เวลา อีกทั้งต้องชี้ให้เห็นถึงผลตอบแทนจากการลงทุนคงไม่ใช่รายได้จากค่าบริการ แต่ต้องดูถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เช่นภาษี ธุรกิจที่ต่อเนื่อง อื่นๆ ตามมาอย่างครบวงจรด้วย" ++จ่อสร้างโรงงานปลายปี ด้าน นายประวีร์ โกมลกาญจน ผู้จัดการด้านการตลาดและขาย บริษัท ทวาย ดีเวล็อปเม้นต์ จำกัด บริษัทผู้บริหารจัดการพื้นที่โครงการทวาย เผยว่า ช่วงที่อยู่ระหว่างขบวนการจัดตั้งเอสพีวี บริษัทพัฒนาพื้นที่ในโครงการอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่วางเอาไว้ รอจนกว่าขบวนการจดทะเบียนจัดตั้ง เอสพีวีจะแล้วเสร็จ ก็จะเดินตามรูปแบบขององค์กรใหม่ "จะขายพื้นที่ 7 โซนก่อน โดยโซน 1 และ 2 เสร็จ 100%แล้วเป็นพวกโซนแฟชั่น รองเท้าและมีการเซ็นเอ็มโอยูกับสมาคมยางพารา สมาคมผลิตถุงมือยาง ซึ่งจะตั้งอยู่ในโซนที่ 3ใช้เนื้อที่ 1,250 ไร่ ซึ่ง ตามเป้าหมายจะเริ่มขายพื้นที่อย่างจริงจังในไตรมาสที่ 4 นี้ใช้เวลาสร้างโรงงาน 8-10 เดือน ซึ่งภาพชัดขึ้นแต่รอรัฐบาลเมียนมาร์ให้สิทธิ์ในเรื่องการใช้ที่ดินเท่านั้นก็จะเซ็นสัญญากับผู้ประกอบการตั้งโรงงานในทันที" อนึ่ง (วันที่ 9 เมษายน 2556) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำหนังสือถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ถึงผลการประชุม เจซีซี ที่พัทยา ซึ่งมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เป็นประธาน ถึงกรอบข้อตกลงในการร่วมทุนระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ซึ่งมีการจัดตั้งเอสพีวี และเอสพีซี อันเป็นกลไกในการระดมทุนพัฒนาโครงการทวาย การว่าจ้างที่ปรึกษาอิสระเพื่อตรวจสอบสถานะการเงินการลงทุนของโครงการต่างๆ ที่ บมจ.อิตาเลียนไทย ได้ดำเนินการไปแล้ว จะได้รับเงินคืน และผลการประชุมดังกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ (Joint High-LeveL Committee :JHC ) ช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ที่ เมียนมาร์ รวมทั้งการเชิญรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าร่วมทุน จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,834 วันที่ 11 - 13 เมษายน พ.ศ. 2556 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=178287:2013-04-09-16-40-10&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
โดย
koschy
พฤหัสฯ. เม.ย. 11, 2013 1:33 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ตั้ง เอสพีวี พลิกสัมปทานทวาย 10 เมษายน 2556 เวลา 16:37 น. | ทวายพลิกโฉม ไทยจับมือพม่า ตั้ง เอสพีวี เชิญญี่ปุ่นร่วมทุน คืนเงินอิตาเลียนไทยฯ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 เม.ย. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-พม่า เพื่อการพัฒนาที่ครอบคลุมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจซีซี) ว่า รัฐบาลไทยและพม่าจะร่วมกันจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ขึ้น เพื่อเข้าไปถือสัญญาทวายแทนบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ นายนิวัฒน์ธำรง ระบุว่า ผู้ถือหุ้นเอสพีวีจะไม่ใช่รัฐบาลไทย แต่เป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจ ส่วนการลงทุนโครงการต่างๆ เช่น ท่าเรือ โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม จะลงทุนผ่านบริษัทร่วมทุน โดยบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ร่วมถือหุ้นได้ทุกบริษัท “รัฐบาลทำเช่นนี้ เพราะทวายเป็นทางออกสู่ทะเลด้านตะวันตก อีกทั้งเกรงว่าเอกชนจะเสียเปรียบ ขณะตกลงบริษัทก็อยู่ในที่ประชุมและยินยอมตามที่ทั้งสองประเทศเสนอ” นายนิวัฒน์ธำรง กล่าว นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า เอสพีวีดังกล่าวจะจัดตั้งขึ้นในไทย โดยรัฐบาลสองประเทศจะถือหุ้นเท่ากัน อย่างไรก็ตามทั้งสองชาติจะทำหนังสือเชิญญี่ปุ่นเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนการลงทุนในโครงการทวายอย่างเป็นทางการด้วย ทั้งนี้ เอสพีวีจะจ้างที่ปรึกษาอิสระตรวจสอบสถานะการเงินการลงทุนที่บริษัทได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อชำระคืนให้แก่บริษัท จากนั้นจะตั้งคณะทำงานร่วมแล้วนำรายละเอียดมาตกลงกันในปลายเดือนนี้ นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรม การผู้จัดการ บริษัท ทวาย ดีเวล๊อปเมนต์ กล่าวว่า รูปแบบนี้ดี เพราะเท่ากับจะได้เงินลงทุนที่ลงไปแล้วคืนทั้งหมดและยังได้ร่วมลงทุนและได้งานใหม่อีก “เงื่อนไขแบบนี้เราชอบ เพราะยังเป็นผู้พัฒนาโครงการเหมือนเดิม เงินเก่าที่ลงไปก็ได้คืน แถมได้งานใหม่อีก ไม่มีใครมาบีบเราเหมือนที่พูดๆ กัน” นายสมเจตน์ กล่าว http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94/215451/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2
โดย
koschy
พฤหัสฯ. เม.ย. 11, 2013 1:07 pm
0
1
Re: รวม "พม่า"
พม่าส่งออกข้าวให้ญี่ปุ่นอีกครั้งในรอบ 45 ปี โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 มีนาคม 2556 12:56 น. นายเต็งหล่าย (Thein Hlaing) ชาวนาวัย 62 ปี กับนาข้าวของเขาในเขตรอบนอกของกรุงย่างกุ้ง ในภาพวันที่ 24 ต.ค.2554 ไม่กี่ปีมานี้พม่าผลิตข้าวได้มากขึ้นจนเหลือบริโภคภายในและกลายมาเป็นประเทศส่งออกอีกครั้งหนึ่ง ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ปีที่แล้วเป็นปีแรกที่พม่าขายข้าวได้ทะลุ 1 ล้านตัน แต่หากย้อนกลับไปเมื่อกว่า 40 ก่อนที่บ้านเมืองสงบ ประเทศนี้เคยเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์ 1 ของโลก. ไฟแนนเชียลไทม์ส - พม่าจะกลับมาส่งออกข้าวให้แก่ญี่ปุ่นอีกครั้งหลังระงับไปนาน 45 ปี ที่จะกลายเป็นเครื่องหมายสำคัญในความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างพม่าและญี่ปุ่น มิตซุย บริษัทการค้าที่เป็นผู้ควบคุมการจัดส่งข้าวครั้งแรกระหว่าง 2 ประเทศนับตั้งแต่ปี 2511 ระบุว่า การขนส่งข้าวจำนวน 5,000 ตัน จะมีขึ้นในเดือน พ.ค. นี้ โดยจะขนส่งออกจากท่าเรือนครย่างกุ้ง ไปยังเมืองนาโกยา ของญี่ปุ่น โดยคำสั่งซื้อข้าวครั้งนี้เป็นของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นที่อาจขายข้าวให้แก่ผู้ผลิตสินค้าในท้องถิ่น เช่นเบียร์ ขนมปังกรอบ เป็นต้น ข้อตกลงซื้อขายข้าวครั้งนี้ เป็นตัวอย่างของความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้นระหว่างญี่ปุ่นและพม่า นับตั้งแต่รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็งเส่งขึ้นบริหารประเทศเมื่อ 2 ปีก่อน และผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจ และประชาธิปไตย หลังอยู่ภายใต้การปกครองของทหารหลายทศวรรษ หลังจากญี่ปุ่นยกเลิกหนี้ค้างชำระ จำนวน 3,200 ล้านดอลลาร์ ให้แก่พม่าในเดือน มี.ค. ปีก่อน ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วรายแรกที่จัดการกับหนี้ค้างชำระของพม่า เพื่อเปิดทางให้บริษัทเอกชนของญี่ปุ่นกลับมาดำเนินกิจการในพม่าได้อีกครั้ง ภาคการเกษตรของพม่า ถูกมองว่าเป็นโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจ แต่การผลิตยังมีอุปสรรคหลายประการ เช่น การขาดแคลนปุ๋ย ระบบชลประทานที่ย่ำแย่ และเครือข่ายการขายสินค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ มิตซุย เป็นบริษัทค้าขายรายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น หากวัดจากผลประกอบการ ได้เริ่มซื้อข้าวเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมาจากบริษัทเอกชนที่ตั้งขึ้นใหม่ คือบริษัท Myanmar Agribusiness Public Corporation (Mapco) และในเป้าหมายที่จะสร้างความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นกับบริษัท Mapco บริษัทมิตซุยยังวางแผนที่จะสร้างโรงสีข้าว 3 แห่ง ที่สามารถรองรับข้าวได้ 300,000 ตันต่อปี ด้วยมูลค่าลงทุนประมาณ 15,000 ล้านเยน การส่งออกข้าวทั้งหมดของพม่าเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 600,000 ตัน ตามการรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ทำให้พม่าเป็นผู้ผลิตข้าวรายใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลก และภายใน 5 ปี รัฐบาลพม่าหวังที่จะเพิ่มปริมาณส่งออกข้าวให้ได้ 5 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้พม่าเป็นรองเวียดนาม (7.4) อินเดีย (7.6) และไทย (8) พม่าเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับต้นของโลกเมื่อครั้งยังอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เคยส่งออกข้าวมากถึง 3.4 ล้านตัน ในปี 2477 แต่ภาคส่วนนี้ต้องสูญเสียทิศทางไปในช่วงการปกครองของรัฐบาลทหารที่ยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ ที่เพิ่งสิ้นสุดลงในปี 2554. http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000037695
โดย
koschy
พฤหัสฯ. มี.ค. 28, 2013 4:56 pm
0
1
Re: มองอนาคตเศรษฐกิจเอเชีย อาเซียน ไทย สไตล์เจ้าสัวซีพี
หากต้องการอรรถรส และบรรยากาศในการปาฐกถาแบบครบถ้วนเต็มอิ่ม ก็สามารถติดตามรับชมได้จากเทปนี้ เทปบันทึกปาฐกถาพิเศษ ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ - มองอนาคต ศก.เอเชีย อาเซี่ยน และไทย http://www.youtube.com/watch?v=Zk9_u_WuDoQ&feature=youtu.be
โดย
koschy
พุธ มี.ค. 27, 2013 11:44 am
0
3
Re: รวม "พม่า"
พม่าสั่งเลิกแบนสินค้าจากไทย 166 รายการ คาดค้าชายแดนอนาคตทะลุแสนล้าน 26 มีนาคม 2556 เวลา 12:13 น. | นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผวจ.ตาก เปิดเผยว่า เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า แจ้งว่า รัฐบาลพม่าเห็นชอบเปิดด่านเมียวดี ตรงข้ามด่านแม่สอด จ.ตาก เป็นด่านพรมแดนถาวร ทำให้ผู้ได้วีซ่าเดินทางเข้าประเทศพม่าได้ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.เป็นต้นไป จากเดิมจะต้องขอวีซ่าและเดินทางเข้าพม่าที่กรุงย่างกุ้งเท่านั้น การเปิดด่านพรมแดนเมียวดีจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการไปนมัสการพระธาตุอินทร์แขวน นอกจากนี้ ขณะนี้พม่าได้ประกาศยกเลิกคำสั่งไม่ให้นำเข้าสินค้าจากไทย 166 รายการ และสินค้าส่งออก 152 รายการ รวมสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกที่พม่ายกเลิกคำสั่งห้าม 318 รายการ เพื่อให้การค้าชายแดนเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น และเป็นการเตรียมรองรับการเป็นประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในปี 2558 ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวคณะผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีชายแดนติดต่อกับพม่า 10 จังหวัด รับทราบภายหลังการเข้าพบและร่วมประชุมกับเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง เพื่อติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและพม่า สำหรับการค้าชายแดนด่านแม่สอดเมียวดี เมื่อปี 2555 มีมูลค่าเกือบ 4 หมื่นล้านบาท และคาดว่าการยกเลิกคำสั่งห้ามดังกล่าว จะทำให้มูลค่าการค้าชายแดนปี 2556 ทะลุนับแสนล้านบาท เพราะพม่ามีความต้องการสินค้าจากไทยสูงมาก นอกจากนี้ รัฐบาลจะนำส่วนหนึ่งของเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท มาพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด เพื่อให้เกิด “นครแม่สอด” เป็นประตูเปิดเข้าสู่เออีซี โดยจะเชื่อมต่อกับอินเดียที่กำลังสร้างทางจากมณีปุระ รัฐอัสสัม มายังชายแดนพม่าด้านแม่สอด ระยะทางกว่า 300 กม. ทำให้มีเส้นทางเชื่อมแม่สอดกอกาเรกผันอัน เข้าพม่า เชื่อมไปอินเดียได้ http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94/212430/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
โดย
koschy
อังคาร มี.ค. 26, 2013 12:44 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
'อมตะ'เล็งตั้งนิคมฯในทวาย วันพุธที่ 20 มีนาคม 2013 เวลา 12:33 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าวหน้า1 "อมตะ"ชงรัฐบาลเสนอตัวพัฒนานิคมฯทวาย พื้นที่กว่า 1 แสนไร่แล้ว รอความชัดเจนจัดตั้งเอสพีวีระหว่างไทย-เมียนมาร์เดือนเม.ย.นี้ ถือเป็นโอกาสขยายธุรกิจออกต่างประเทศมากขึ้น หวังเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก กรุยทางสู่นิคมในกัมพูชา ยันไม่เกี่ยงหากรัฐบาลดึงกนอ.เข้าร่วมทุน ชี้เป็นจุดดีอาศัยความชำนาญของแต่ละฝ่ายบริหาร ยันหากขั้นตอนไม่สะดุดเริ่มพัฒนาได้ปี 58 นางสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด(มหาชน) ในเครือบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ทวาย ประเทศเมียนมาร์ว่า ขณะนี้กลุ่มอมตะ ได้แสดงความจำนงกับนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องหรือเจซีซีฝ่ายไทย ที่จะเข้าร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายในพื้นที่กว่า 1 แสนไร่ โดยกลุ่มบริษัทอยู่ระหว่างติดตามการลงนามจัดตั้งกลไกร่วมมาบริหารจัดการโครงการในรูปนิติบุคคลเฉพาะกิจหรือเอสพีวี ระหว่างรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ ที่จะดำเนินการในช่วงเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ซึ่งถือเป็นการคิกออฟโครงการที่จะเชิญประเทศที่ 3 อย่างญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆที่สนใจเข้าร่วมด้วย เพื่อนำไปสู่การคัดเลือกนักลงทุนของแต่ละประเทศเข้าร่วมลงทุนต่อไป สำหรับการคัดเลือกนักลงทุนของไทย นอกจากกลุ่มอมตะได้เสนอตัวที่จะเข้าร่วมลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายแล้ว ยังมีการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กอน.) แสดงความจำนงที่จะเข้าไปพัฒนานิคมฯทวายด้วยเช่นกัน โดยการจัดตั้งบริษัท กนอ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ขึ้นมาเพื่อออกไปลงทุนต่างประเทศ ซึ่งทางกลุ่มบริษัทอมตะฯก็พร้อมที่จะจับมือกับกนอ.ในซีกของฝั่งไทยออกไปลงทุน เพราะเป็นโครงการที่ใหญ่ และกนอ.ก็เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลจะมอบหมายให้ไปดำเนินการ ซึ่งสามารถนำจุดแข็งของแต่ละบริษัทที่มีความชำนาญแต่ละด้านมาผนวกในการบริหารงานร่วมกันได้ และมองว่าเม็ดเงินลงทุนไม่ได้สำคัญ 100 % แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นกับหน่วยงานที่จะมาผลักดันด้วย "หลังจากมีการลงนามเอสพีวีกันได้ในเดือนเมษายนนี้ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาในการหาประเทศที่ 3 หรือ 4 เข้ามาร่วมลงทุน และหลังจากนั้นแต่ละประเทศ จะไปพิจารณาให้หน่วยงานใดเข้าไปร่วมลงทุนโดยการกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของแต่ละประเทศออกมา นำไปสู่การจัดตั้งบริษัท ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลา 1-2 ปี หากเป็นไปตามขั้นตอนนี้ คาดว่าการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมจะเป็นรูปร่างและเริ่มพัฒนาได้ในช่วงปี 2558" ส่วนจะมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)หรือไอทีดี จะเข้าร่วมการลงทุนด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาลฝ่ายไทย ที่จะมอบหมายให้บริษัทใดเข้าไปดำเนินการ เนื่องจากสัญญาเดิมที่กลุ่มบริษัทอมตะฯเคยตกลงจะร่วมกันพัฒนาสัญญาได้หมดอายุลงไปแล้ว อย่างไรก็ตาม มองว่าหากรัฐบาลจะมอบให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือแยกให้แต่ละบริษัทหรือแต่ละประเทศไปลงทุนกันเอง โดยแบ่งพื้นที่ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมนั้น คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก เพราะหากมองในแง่ของธุรกิจแล้ว จะเป็นการแย่งพื้นที่กันขาย และสุดท้ายผู้ที่เข้าไปลงทุนจะเจ็บตัวกันทั้งหมด นางสมหะทัย กล่าวอีกว่า สำหรับการสนใจลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นโอกาสขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศมากขึ้น จากปัจจุบันที่กลุ่มบริษัทอมตะฯ ได้พัฒนานิคมเบียนหัว ประเทศเวียดนามมาร่วม 19 ปี และยังเป็นการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 ด้วย เนื่องจากขณะนี้นักลงทุนต่างชาติมองประเทศในแถบภูมิภาคนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบการเข้าไปลงทุนในทวายจะเป็นการเชื่อมต่อระเบียงเศรษฐกิจฝั่งตะวันตก ของกลุ่มบริษัทอมตะฯที่ขณะนี้ยังขาดพื้นที่ในฝั่งตะวันตกหรือในเมียนมาร์อยู่ ที่จะเชื่อมออกไปสู่มหาสมุทรอินเดียต่อไปถึงสหภาพยุโรป ในขณะที่ฝั่งตะวันออก บริษัทก็มีพื้นที่อยู่ในเวียดนาม ติดมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งขณะนี้เตรียมที่จะพัฒนาพื้นที่เฟส 2 อีกประมาณ 8 พันไร่ใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ในการรองรับลูกค้าประมาณปลายปี 2558 หากมีการเชื่อมต่อกันได้สำเร็จแล้ว จะเป็นอีกลู่ทางหนึ่งที่จะทำให้กลุ่มบริษัทอมตะฯขยายการลงทุนไปพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ประเทศกัมพูชาได้ด้วย สำหรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมทวายนั้น รูปแบบคร่าวๆ จะต้องมีการแบ่งโซนนิ่งประเภทของอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น ปิโตรเคมี ไฟฟ้า เหล็ก และอุตสาหกรรมเบา ไม่ให้มีการปะปนกัน และต้องทำพื้นที่กันชนระหว่างอุตสาหกรรมกับพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อไม่ให้ผู้อยู่อาศัยเกิดผลกระทบ โดยในเนื้อที่นิคมฯดังกล่าวจะต้องมีการแบ่งชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ของอุตสาหกรรมกี่เปอร์เซ็นต์และที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ กี่เปอร์เซ็นต์ โดยจะเริ่มพัฒนาโครงการในส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยก่อน ขณะที่เม็ดเงินลงทุนทั้งโครงการนั้น คงยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องใช้ในสัดส่วนเท่าใด เพราะจะต้องศึกษาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง และต้องมีการออกแบบ แต่เชื่อว่าเงินลงทุนเฉลี่ยต่อการพัฒนาในพื้นที่ 1 ไร่ จะถูกกว่าเงินลงทุนในประเทศไทย อนึ่ง เมื่อปี 2553 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ได้กรรมสิทธิ์ในการเช่าพื้นที่ในเมืองทวายประเทศเมียนมาร์โดยได้สัมปทาน4 เรื่อง คือ 1.โครงการท่าเรือน้ำลึก 2.นิคมอุตสาหกรรม 3.เส้นทางคมนาคมทั้งทางรถไฟและรถยนต์ 4. เมืองที่อยู่อาศัย ในพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1.7 แสนไร่ โดยรัฐบาลเมียนมาร์ให้สัมปทาน 60 ปีและขยายต่อได้อีก 15 ปี รวมระยะเวลา 75 ปี ก่อนหน้านั้นบมจ.อิตาเลียนไทย ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงกับ กระทรวงคมนาคม ของประเทศเมียนมาร์ไปแล้ว โดยในส่วนของการตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่เมืองทวาย บริษัท อมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ได้แสดงความสนใจที่จะเข้าไปในฐานะผู้พัฒนาและบริการ โดยมีแผนจะลงทุนเฟสแรกพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ทวายนำร่องก่อน โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท พัฒนาที่ดินก่อนจำนวนหนึ่ง จากที่มีที่ดินเฉพาะส่วนที่ทำเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่เมืองทวายทั้งหมดประมาณ 1 แสน ไร่ โดยจะเป็นที่ดินที่พัฒนาอุตสาหกรรมอัพสตรีม หรืออุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น ปิโตรเคมี เหล็ก ก่อนที่แผนเดิมจะหมดอายุการร่วมทุนไปแล้ว และเกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่หลังจากที่เมียนมาร์ออกมาประกาศเปิดประเทศมากขึ้นโดยระบบโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่งให้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลไทยในขณะนี้ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,828 วันที่ 21- 23 มีนาคม พ.ศ. 2556 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=174965:2013-03-20-05-35-20&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
โดย
koschy
พฤหัสฯ. มี.ค. 21, 2013 11:03 pm
0
0
Re: รวม "พม่า"
+++ เมียนมาร์จะสร้างศูนย์สินค้าโภคภัณฑ์นานาชาติ วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2013 เวลา 20:18 น. เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลเมียนมาร์อนุมัติสร้าง "ศูนย์กลางการค้าและแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์" แห่งใหม่ใกล้กับสำนักงาน Republic of the Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry (UMFCCI) เป็นความร่วมมือกันระหว่าง UMFCCI กับองค์กรพันธมิตร และตัวแทนขายส่งต่างๆ โดยในปัจจุบันเมียนมาร์มีศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหมด 44 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีศูนย์ใหญ่ที่สุดคือ "ศูนย์บุเรงนอง" (Bayintnaung center) http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=174439:2013-03-17-13-18-50&catid=231:aec-news&Itemid=621 +++คาร์ลสเบิร์ก เข้าเมียนมาร์ วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2013 เวลา 20:21 น. คาร์ลสเบิร์กประกาศร่วมลงทุนกับบริษัทเมียนมาร์ โกลเด้น สตาร์ เปิดโรงงานผลิตเบียร์ภายใต้ชื่อ “เมียนมาร์คาร์ลสเบิร์ก” ในเมืองพะโค (หงสาวดี) มีกำลังการผลิตขนาด 100 ล้านลิตรต่อปี คาดว่าจะสามารถสร้างเสร็จภายในเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม 2557 โดยการร่วมทุนครั้งนี้คาร์ลสเบิร์กถือสัดส่วนร้อยละ 51 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ปริมาณการบริโภคเบียร์ต่อหัวของเมียนมาร์อยู่ที่ 4 ลิตร และมีโอกาสเติบโตเพิ่มขึ้น 6-7 % ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยอัตราการบริโภคเบียร์ทั้งหมดในพม่าอยู่ที่ 350 ล้านลิตรต่อปี http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=174440:2013-03-17-13-22-14&catid=231:aec-news&Itemid=621 +++ต่างชาติรุมตอมภาคเกษตรเมียนมาร์ วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2013 เวลา 20:23 น บริษัทมิตซุย แอนด์ โค จำกัด จากญี่ปุ่น และบริษัทวิน่า แคปปิตอล จากเวียดนามได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับทาง Myanmar Agribusiness Public Corporation Limited (MAPCO) เพื่อร่วมลงทุนโรงงานแปรรูปอาหารและพลังงานขนาดใหญ่ในเมืองย่างกุ้ง อิรวดี พะโค (หงสาวดี) และเนย์ปิตอว์ ส่วนทางด้านบริษัทแดวู จากเกาหลีใต้วางแผนจะเข้าลงทุนภายในปี 2556 นี้ http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=174441:2013-03-17-13-24-39&catid=231:aec-news&Itemid=621
โดย
koschy
อาทิตย์ มี.ค. 17, 2013 11:28 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
เดินหน้าเมกะทวาย สภาเมียนมาร์จ่อผ่านกฎหมาย SEZ/ทะลวงปัญหาอุ้มอิตาเลียนไทย วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม 2013 เวลา 10:10 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : Big เมียนมาร์เร่งแก้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษโละของเก่าที่แยกเป็นเขตทิ้ง รวมเป็นฉบับเดียวใช้ทั่วประเทศเอื้อนักลงทุนต่างชาติ จ่อผ่านสภาเมษาฯนี้ ประชุมเจซีซี เคาะรูปแบบลงทุนตั้งเอสพีวี อุ้มอิตาเลียนไทย "นิวัฒน์ธำรง" ย้ำต้องได้เงินคืนเปิดทางร่วมทุนโครงสร้างพื้นฐาน "เปรมชัย " โล่งอกเกลี่ยทุน 2หมื่นล้านถือหุ้นบริษัทใหม่โดยมี 4 แบงก์ใหญ่ นายอู เอ มินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจซีซี) ครั้งที่ 3 ซึ่งมีขึ้นที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคมที่ผ่านมา ที่โรงแรมรอยัลคลิฟ บีช พัทยาได้ผลลัพธ์น่าพึงพอใจ โดยมีความคืบหน้าในการขับเคลื่อนโครงการโดยเฉพาะในเรื่องที่คณะกรรมการทั้งสองฝ่ายเห็นพ้อง ในการจัดตั้งกลไกร่วมมาบริหารจัดการโครงการในรูปนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ซึ่งมีเมียนมาร์และไทยเป็นหลัก จากนั้นจะเชิญประเทศที่สามเช่น ญี่ปุ่นและอื่นๆที่สนใจมาร่วมด้วย ++เตรียมผ่านก.ม.SEZ "ผมเชื่อมั่นว่าหลังจากนี้กระบวนการต่างๆจะเดินหน้าด้วยความเร่งที่เร็วมากขึ้น และสร้างความมั่นใจให้บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ไอทีดี) เดินหน้าสิ่งที่ทำอยู่ต่อไป ส่วนอีกปัจจัยที่จะสร้างความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องคือกฎหมายใหม่ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ (New Myanmar SEZ Law) ที่กำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขของรัฐสภา และจะมีผลบังคับใช้ในเร็ว ๆ นี้ รวมถึงการที่ญี่ปุ่นเข้ามาเป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์" รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเมียนมาร์กล่าว ในส่วนของตัวแทนฝ่ายหน่วยงานภาครัฐของญี่ปุ่นที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ได้แก่ ผู้แทนจากฝ่ายเศรษฐกิจสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ในการประชุมเจซีซีครั้งนี้ตัวแทนฝ่ายเมียนมาร์ได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับร่างกฎหมายใหม่ว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษที่คาดว่าจะมีผลบังคับใช้อีกไม่กี่สัปดาห์ แต่ที่ประชุมยังไม่เปิดเผยรายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าวให้กับสื่อ โดยอ้างว่ายังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของรัฐสภาเมียนมาร์ ++ กำหนดราคาที่ดินสากล อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้สื่อของเมียนมาร์ได้เคยนำเสนอข่าวเกี่ยวกับร่างกฎหมายฉบับนี้ว่า การพิจารณารายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าวมีการปรับปรุงแก้ไขไปแล้วราว 80 % เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลทั้งสำหรับผู้ลงทุนของเมียนมาร์เองและผู้ลงทุนที่เป็นต่างชาติ เนื้อหาของกฎหมายจะครอบคลุมการใช้พื้นที่ การบริหารจัดการทางการเงิน การประกัน การค้า การจ้างงาน และสิทธิประโยชน์ที่ผู้ลงทุนจะได้รับ ทั้งนี้ นายเซ็ต อ่อง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของเมียนมาร์ ระบุว่า กฎหมายใหม่นี้จะใช้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษทุกแห่งทั่วประเทศ ทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ติละวา และเจ้าผิว แทนกฎหมายเดิมที่มีแยกใช้เฉพาะเขต "ทางกระทรวงมีแผนจะยกระดับเขตเศรษฐกิจพิเศษในเมียนมาร์ให้อยู่ในระดับที่เรียกได้ว่าดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่วนหนึ่งทำได้ด้วยการกำหนดราคาที่ดินในเขตอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามอัตราสากล" ด้านนายอู ฮัน เสียน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของเมียนมาร์ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้างของเจซีซี กล่าวเสริมว่า การหารือครอบคลุมถึงการพัฒนาท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม โทรคมนาคม รถไฟ และงานประปา ซึ่งคณะกรรมการ2ประเทศ เห็นพ้องกันว่าจะตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจขึ้นมาร่วมกันบริหารจัดการโครงการ สิ่งที่ต้องการในเวลานี้คือการลงทุน และพร้อมที่จะเชิญชวนผู้สนใจไม่ว่าจะเป็นไทย- เมียนมาร์ หรือประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น ให้เข้ามาลงทุน รวมทั้งไอทีดีที่เป็นผู้ลงทุนเริ่มต้นอยู่แล้ว ก็อยากให้เดินหน้าการลงทุนต่อไป "เบื้องต้นว่าน่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 2.55 แสนล้านบาท และอาจจะสูงกว่านั้น หลังประชุมเจซีซีครั้งนี้ คณะทำงานจะไปดำเนินการในแง่รายละเอียดและจัดทำร่างข้อตกลงขึ้นมาเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลของทั้งสองฝ่ายต่อไป" ++ เร่งตั้งเออร์ลี่อินดัสตรี ในส่วนของความคืบหน้าการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนั้น ณ ปัจจุบัน นายอู ฮัน เสียน กล่าวว่า การก่อสร้างท่าเรือและถนน มีการดำเนินการควบคู่กันไป เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้งานด้านการลำเลียงขนส่งสินค้า ซึ่งเมื่อท่าเรือก่อสร้างเสร็จ ถนนก็ต้องเสร็จเพื่อการขนส่งสินค้ามายังท่าเรือ ทั้งนี้ในระยะเบื้องต้น จะมีการเปิดใช้ท่าเรือขนาดเล็กไปก่อน ซึ่งเวลานี้การก่อสร้างโดย(ไอทีดี) ได้ใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ใน 2-3 เดือนนี้ ส่วนท่าเรือน้ำลึก โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า และส่วนอื่นๆ ก็จะมีการดำเนินการเป็นลำดับไป แต่กล่าวได้ว่าทุกส่วนจะต้องมีการก่อสร้างคู่ขนานกันไปเพราะไม่เช่นนั้น ส่วนหนึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่อีกส่วนไม่เสร็จ ก็อาจทำให้ส่วนที่เสร็จแล้วไม่สามารถใช้งานได้ "เฟสแรก เราคาดหวังว่าจะมีท่าเรือขนาดเล็ก ถนน และนิคมอุตสาหกรรมสำหรับ Early Industries ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างไม่นานและส่วนใหญ่จะใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร อาหารทะเล เป็นต้น เมื่ออุตสาหกรรมขั้นต้นเหล่านี้เกิดขึ้น ก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งนักลงทุนในประเทศและจากต่างประเทศ" นายอู ฮัน เสียนกล่าว ++2ประเทศอุ้มไอทีดี นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะประธานเจซีซีฝ่ายไทยกาวถึงรูปแบบของการลงทุนที่จะจัดตั้งเป็น นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือ เอสพีวี เพื่อบริหารจัดการโครงการ มี 4 ประเทศเข้ามาร่วมทุนเบื้องต้นมีไทยกับเมียนมาร์ลงทุนมากกว่า 50 % ที่เหลือจะเป็น ญี่ปุ่น จีนหรือ เกาหลี ภายใต้สัดส่วนที่เหมาะสม "เอสพีวีจะไม่ใช่รัฐบาลแต่ละประเทศแต่เป็นหน่วยงานของรัฐเข้าไปลงทุนเพื่อรับสัมปทานจาก คณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่เป็นผู้ให้สัมปทานในนามรัฐบาลเมียนมาร์ เป็นบริษัทที่บริหารโครงการทั้งหมดเพื่อให้เกิดการบูรณาการ ใช้เงินทุนไม่มาก จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย เพื่อนำมาแจกจ่ายให้แก่ เอสพีซี (Special Purpose Companies) บริษัทเอกชน ที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ 6 สาขา โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมทุน ในเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและจดทะเบียนจัดตั้งในเมียนมาร์ ถ้าอนาคตอยากเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯก็เข้าไปได้ทั้งสองประเทศ " รมต.ประจำสำนักนายกฯ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับในส่วนของไอดีทีนั้น "นโยบายของรัฐบาลไทยและเมียนมาร์มีความเห็นว่าต้องดูแลเขา โดยมองว่าเงินที่ลงทุนไปแล้วกับที่ต้องลงทุนเพิ่มเติม เขาต้องได้เงินคือคุณเปรมชัยน่าจะแฮปปี้เงินที่ลงไปไม่เสียหาย นอกจากนี้ยังได้สิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่สามารถลงทุนใน 6 บริษัทที่ตั้งขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นผลดีต่อภาคเอกชนไทยจากเดิมที่คลุมเครือเพราะมีความชัดเจนและเกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้น" ทั้งนี้เอสพีซีที่ตื้งขึ้นมานั้นเหมือนเป็นบริษัทลูก เปิดกว้างให้เอกชนจากทุกประเทศที่สนใจร่วมลงทุนเพราะใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก เอสพีทั้ง 6 ประกอบด้วย โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ ประปา โทรคมนาคม และ ถนน ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องเร่งดำเนินการเป็นการด่วนภายใน 5-7 ปี เริ่มตั้งแต่ปีนี้ " ส่วนบางคณะอนุกรรมการที่ยังไม่เรียบร้อยก็ต้องต่อกันให้จบภายใต้คอนเซ็ปต์คือทุกโครงการ ทำแล้วมีกำไร ไม่แพง โดยข้อสรุปทั้งหมดจะนำเข้าที่ประชุมระดับสูงหรือเจเอชซี ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นประธานเพื่อเห็นชอบก่อนซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ และจะมีการประชุมครั้งหน้าในเดือนเมษายนที่เมืองเนย์ปิตอว์ " ++ เจซีซีให้ความมั่นใจเอกชน นายเปรมชัย กรรณสูต กรรมการผู้จัดการ ไอทีดี เผย ถึงการประชุมเจซีซี ว่าผลสรุปเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะรูปแบบการลงทุนที่ถือว่าจะทำให้โครงการขับเคลื่อนไปข้างหน้าและนักลงทุนมีความมั่นใจในโครงการนี้มากยิ่งขึ้นหลังจากที่ ไอทีดี มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเบื้องต้นกับผู้แทนฝ่ายเมียนมาร์ โดยมีปลัดคลัง นายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม เป็นสักขพยาน หลังเสร็จสิ้นการประชุม "อันจะส่งผลให้ไอทีดีเข้าไปลงทุนใน เอสพีซี โครงสร้างพื้นฐานทั้ง 6 สาขาส่วนที่เหลือจะเป็นนักลงทุนที่สนใจเข้าร่วม โดยจะคิดจากสัดส่วนเม็ดเงินลงทุนที่ไอทีดีตั้งไว้ 2 หมื่นล้านบาททั้งโครงการมาเฉลี่ยแต่ละโครงการ ซี่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความมั่นใจเมื่อรัฐเข้ามาสนับสนุนในรูปแบบ เอสพีวี " นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า การแก้กฎหมาย SEZ ของเมียนมาร์นั้นส่งผลดีต่อการลงทุนสำหรับต่างชาติมาก เพราะมีความชัดเจนมากกว่าเดิม เหมือนบีโอไอ บ้านเรา แม้ขบวนการยังไม่แล้วเสร็จ แต่ก็มีการผ่อนปรน กฎระเบียบต่าง ๆ การให้สิทธิพิเศษ ที่จูงใจในการลงทุนที่ทำเป็นแพ็กเกจ เช่นมีการแบ่งพื้นที่ เป็นฟรีโซน ได้รับการยกเว้นภาษี มีโปรโมชัน การเช่าที่ดิน 75 ปี เป็นต้น โดยขณะนี้เมียนมาร์ได้อนุมัติให้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ ที่ไอทีดีขอไปเร็วขึ้น โดยเฉพาะ ประเภทที่เป็นอุตสาหกรรมเร่งด่วน (เออร์ลี่อินดันตรี) เดิมจะลงทุนในปี 2559 แต่ขณะนี้ได้อนุมัติให้เริ่มได้ในปี 2557 หรือเร็วขึ้น 2 ปี โดยจะเป็นอุตสาหกรรมส่งออก การ์เมนต์และอื่น ๆ ที่เมียนมาร์ยังได้สิทธิจีเอสพีในการส่งออก ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของนักลงทุนไทยและต่างชาติมาก เนื่องจากเมียนมาร์เห็นความสำคัญของการลงทุนและต้องการให้เกิดการจ้างงานโดยเร็วที่สุด จึงอนุมัติให้ดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยไอทีดีได้ขอพื้นที่ไป 7 พันไร่ เบื้องต้นใช้เงินลงทุน 7 พันล้านบาท ไม่รวมโรงไฟฟ้าขนาด 250-33 เมกะวัตน์ ลงทุนประมาณ 9 พันล้านบาท ต้องตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมามีผู้ถือหุ้นเวลานี้มีผู้สนใจจนล้นไม่ว่าจะเป็นไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ยุโรป จีน โดยเฉพาะ ญี่ปุ่น สนใจทุกโครงการ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,825 วันที่ 10 - 13 มีนาคม พ.ศ. 2556 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=173100:-5630-&catid=89:2009-02-08-11-24-05&Itemid=417
โดย
koschy
พุธ มี.ค. 13, 2013 3:37 pm
0
1
Re: รวม "พม่า"
ภาคผลิต หอบแสนล. จ่อลงทุนใหม่'พม่า' วันพุธที่ 06 มีนาคม 2013 เวลา 10:10 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าวหน้า1 16 กลุ่มทุนใหญ่ แห่ยึดเมียนมาร์เป็นฐานผลิต และฐานตลาดแห่งใหม่ เผยเม็ดเงินลงทุนใหม่กว่า 1.1 แสนล้านบาท ปูพรมอุตสาหกรรมพื้นฐานทั้งปูนซีเมนต์ น้ำมันครบวงจร โรงไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม วัสดุก่อสร้าง โรงบำบัดน้ำเสีย น้ำประปา การ์เมนต์ โรงงานน้ำตาล ยันห้าง-โรงเบียร์ขณะพบหลากหลายปัญหาอุปสรรคสกัดดาวรุ่ง ทั้งกฎหมายยังไม่เอื้ออำนวย ค่าเช่าที่ดินแพงเว่อร์ จากที่รัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือพม่าเดิมได้นำพาประเทศสู่ความเป็นประชาธิปไตย และเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้ถนนการค้า-การลงทุนทุกสายจากทุกภูมิภาคทั่วโลกได้หลั่งไหล เข้าไปศึกษา รวมถึงส่วนหนึ่งได้ตัดสินใจที่จะลงหลักปักฐานในการใช้เมียนมาร์เป็นฐานการผลิต และฐานการตลาดแห่งใหม่เป็นจำนวนมาก ไม่เว้นแม้แต่ภาคธุรกิจของไทยที่ขณะนี้ได้ปรากฏความชัดเจนของรูปธรรมการลงทุนมากขึ้นตามลำดับ -16 กลุ่มทุนแห่ปักฐาน นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาธุรกิจไทย-เมียนมาร์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้มีธุรกิจภาคเอกชนของไทยทั้งรายใหญ่ และระดับกลางได้ให้ความสนใจเข้าไปลงทุนในเมียนมาร์เป็นจำนวนมาก ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลล่าสุดของสภาธุรกิจฯ พบว่ามีกลุ่มบริษัทที่มีการเปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินการลงทุนที่เป็นรูปธรรมแล้ว และยังไม่ทราบเม็ดเงินการลงทุนรวม 16 กลุ่มบริษัท เบื้องต้นมีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 1.18 แสนล้านบาท (ไม่รวมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวาย) สำหรับ 16 กลุ่มบริษัทประกอบด้วย 1............................................... http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=172497:2013-03-06-03-17-54&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
โดย
koschy
เสาร์ มี.ค. 09, 2013 11:13 pm
0
2
Re: รวม "พม่า"
อียูให้สัญญาช่วยพม่าเรื่องเศรษฐกิจ-ชนกลุ่มน้อย วันที่ 6 มีนาคม 2556 11:57 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ เต็ง เส่ง ประสบความสำเร็จในการเยือนสหภาพยุโรปเป็นครั้งแรกในฐานะประธานาธิบดีพม่า หลังผู้นำอียูให้คำมั่นช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ของพม่า ประสบความสำเร็จในการเยือนยุโรปครั้งประวัติศาสตร์เป็นเวลา 10 วัน และมีโอกาสเข้าพบนายโฮเซ่ มานูเอล บาร์รอสโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นาย เฮอร์มาน ฟาน รอมปุย ประธานอียู และนางแคเธอรีน แอชตัน หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของอียู นายฟาน รอมปุย เผยว่า สหภาพยุโรปเป็นพันธมิตรในระยะยาวที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้การช่วยเหลือพม่าอย่างเต็มที่ หลังพม่ามีการปฎิรูปในประเทศอย่างชัดเจน ขณะที่นายบาร์รอสโซ่ กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอียูและพม่ากำลังคืบหน้าไปในทางที่ดี มีการเจรจา ช่วยเหลือ ทำการค้า และการลงทุนมากขึ้น สหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ตอนนี้ทางสหภาพพร้อมที่จะพิจารณาความเป็นไปได้ในการทำข้อตกลงการลงทุนทวิภาคี โดยนางแอชตัน จะเยือนพม่าปลายปีนี้เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่พม่าต่อไป ก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรปเพิ่มการช่วยเหลือพม่าขึ้นกว่า 2 เท่าในปี 2555-2556 เป็นประมาณ 150 ล้านยูโร นอกจากนี้ สหภาพยุโรปยังได้เสนอให้กลับไปใช้ข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่รัฐบาลพม่าอีกด้วย อย่างไรก็ดี ผู้นำพม่าได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปยกเลิกการคว่ำบาตรพม่าทั้งหมดในทันที โดยระบุว่า พม่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก โดยปธน.เต็ง เส่ง กล่าวหลังประชุมร่วมกับนาย มาร์ติน ชูลซ์ ประธานรัฐสภายุโรป ว่า แม้พม่าออกกฎหมายการลงทุนของต่างชาติฉบับใหม่เพื่อดึงดูดให้บริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนในทรัพยากรแร่ที่มีอยู่อย่างมหาศาล แต่อุปสรรคใหญ่ คือ มาตรการคว่ำบาตร ทั้งนี้ เมื่อเดือนเม.ย. ปีที่แล้ว อียูได้ระงับมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแก่พม่าในเกือบทุกด้าน ยกเว้นมาตรการคว่ำบาตรทางอาวุธยุทโธปกรณ์ เป็นการชั่วคราวนาน 1 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้ประเมินสถานการณ์การปฏิรูประบอบประชาธิปไตยในพม่าอีกครั้ง ก่อนที่จะมีการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรในระยะยาว หรือเป็นการถาวรต่อไป http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20130306/493589/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2.html
โดย
koschy
พุธ มี.ค. 06, 2013 5:13 pm
0
1
Re: รวม "พม่า"
พม่าจะเริ่มสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่เดือน ก.ค. นี้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 มีนาคม 2556 14:50 น. สนามบินนานาชาตินครย่างกุ้งอาจไม่สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพียงพอกับความต้องการหลังนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจหลั่งไหลเดินทางมาเยือนพม่ามากขึ้น กรมการบินพลเรือนพม่าระบุว่า สนามบินนานาชาติหงสาวดีที่จะมีขนาดใหญ่เป็น 9 เท่า ของสนามบินปัจจุบัน จะเริ่มลงมือก่อสร้างในเดือนก.ค. นี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปีข้างหน้า . --(ภาพ : wikipedia.org). ซินหัว - พม่าจะเริ่มสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ คือ สนามบินนานาชาติหงสาวดี ในเดือน ก.ค. นี้ สื่อท้องถิ่นของพม่ารายงาน สนามบินนานาชาติแห่งใหม่นี้คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปีจึงจะแล้วเสร็จ โดยสนามบินตั้งอยู่ในเขตพะโค ครอบคลุมพื้นที่กว่า 22,781 ไร่ หนังสือพิมพ์นิวส์วีค รายงาน รายงานของกรมการบินพลเรือน (DCA) ระบุว่า มี 7 บริษัทที่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นในแง่ของความแข็งแกร่งทางการเงิน ประสบการณ์การก่อสร้าง บุคลากรมีทักษะ และทรัพยากรเครื่องมือในการก่อสร้าง เพื่อเข้าร่วมประมูลโครงการก่อสร้างสนามบินนานาชาติหงสาวดี บริษัทที่ผ่านเกณฑ์เหล่านี้จะต้องเสนอราคาอย่างเป็นทางการเพื่อประมูลโครงการที่จะดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การร่วมทุน หรือในระบบ BOT (ก่อสร้าง-ดำเนินการ-โอน) โดยต้องสอดคล้องกับกฎหมายลงทุนต่างชาติของพม่า สนามบินแห่งใหม่นี้ถูกออกแบบให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปี และสนามบินนานาชาติหงสาวดี จะเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 4 ในพม่า ถัดจาก ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปีดอ พม่ายังมีแผนที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจสนามบินภายในประเทศทุกแห่งเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการบินพลเรือน ปัจจุบัน พม่ามีสนามบินให้บริการในประเทศทั้งหมด 29 แห่ง. http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000027893
โดย
koschy
พุธ มี.ค. 06, 2013 5:05 pm
0
1
Re: รวม "พม่า"
ซีพีเอส จับมือรัฐบาลเมียนมาร์ รุกธุรกิจนำร่อง หนุนปลูกยางพารา –ปาล์ม 500 ไร่ เ ปิดแผน"ซีพีเอส"รุกธุรกิจนำร่อง จับมือรัฐบาลเมียนมาร์ หนุนปลูกยางพารา –ปาล์ม 500 ไร่ ควบคู่หาลู่ทางในประเทศ พร้อมกางแผนธุรกิจ 10 ปีของกลุ่มเตรียมตั้งโรงสกัดน้ำมันปาล์ม โรงงานยางแท่ง 28 จุด ครอบคลุมอีสาน/เหนือตอนล่าง หวังอำนวยความสะดวกแก่เกษตรกร โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง นายจิระศักดิ์ เสงี่ยมกิตติกุล ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพีเอส เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ในปีนี้ทางซีพีเอส ร่วมกับรัฐบาลเมียนมาร์ จะส่งเสริมปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน จำนวนพื้นที่ 500 ไร่ โดยแบ่งเป็นยางพารา 300 ไร่ และ ปาล์มน้ำมัน 200 ไร่ พร้อมระบบสปริงเกอร์ ทั้งนี้ในการคัดเลือกพันธุ์กล้ายาง และปาล์มชนิดใดไปปลูกจะได้ส่งทีมงานไปศึกษาคุณภาพของดินก่อนว่าจะใช้พันธุ์ใดจึงจะเหมาะสม และจะให้องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้ชาวเมียนมาร์บริหารจัดการได้ "เป็นลักษณะการลงทุนแบบให้เปล่า แต่จะควบคู่กับการดูลู่ทางธุรกิจในประเทศไปด้วย แต่ยังไม่คิดที่จะไปตั้งสำนักงาน อาจจะต้องใช้พื้นที่ว่างของสำนักงานสาขาที่เป็นธุรกิจในเครือข้าวโพดไปพลางก่อน เพราะมองว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุน และคาดว่าจะปลูกได้ดี เพราะภูมิประเทศใกล้เคียงกับไทย และบางพื้นที่อาจจะอุดมสมบูรณ์กว่าในเมืองไทยด้วยซ้ำไป" นายจิระศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ทางซีพีเอสยังมีแผนระยะยาว 10 ปี ทั้งแผนธุรกิจยางพารา ปาล์มน้ำมัน และเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยการจะลงทุนโรงงานเพื่อรองรับธุรกิจต้นน้ำ โดยในส่วนของยางพารา ได้เตรียมวางแผนลงทุน 10 ปี สร้างโรงงานยางแท่ง 28 จุด เน้นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งในปีนี้จะเริ่มตั้งโรงงานที่จังหวัดเลย มีกำลังการผลิต 5-10 ตันต่อวัน ปัจจุบันทางกลุ่มมีพื้นที่ปลูกเองกว่า 2 พันไร่ที่จังหวัดกำแพงเพชร และได้รวมพื้นที่ของเกษตรกรที่เป็นคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งรวมกว่า 7 หมื่นไร่ ซึ่งมีแผนจะตั้งโรงงานผลิตยางแท่งขึ้นมารองรับ 1 แห่ง อนาคตจะขยายพื้นที่ปลูกต่อเนื่อง เพราะเป็นสินค้าที่มีอนาคต มีการบริโภคสูง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ และสาเหตุที่ตั้งโรงงานยางแท่งครอบคลุม เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกษตรกรโดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และที่สำคัญยังเป็นการช่วยลดค่าโลจิสติกซ์ของบริษัทได้อีกด้วย ส่วนธุรกิจปาล์มน้ำมันก็เช่นเดียวกับยางพารา ที่ในอนาคตจะต้องมีโรงสกัดน้ำมันปาล์ม และจะต้องทำให้ครอบคลุมครบวงจร ไม่ใช่เพียงแต่สนับสนุนอุตสาหกรรมต้นน้ำเพียงอย่างเดียว ปัจจุบันได้มีการทำคอนแทร็กต์กับเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันแล้วเกือบ 4 หมื่นไร่ในภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งแผนงานในช่วง 2-3 ปีนี้จะได้เห็นโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มอย่างแน่นอน ส่วนทำเลนั้นยังไม่ขอเปิดเผยว่าจะตั้งอยู่ที่จังหวัดใด ด้านธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าว นายวิชัย พูนพิริยะทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจข้าวครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในปีนี้ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวตั้งเป้ายอดขาย 1 หมื่นตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มียอดขาย 4 พันตัน โดยแบ่งกำลังการผลิต เป็นโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท 7 พันตัน และส่วนที่เหลือผลิตที่โรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกำแพงเพชร "ล่าสุดเราได้การบ้านจากชาวนา ที่อยากให้ซีพีทำเมล็ดพันธุ์อายุสั้น ผลผลิตดี กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา เพื่อวางแผนผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวขาว 5% ที่เป็นสายพันธุ์แท้ เพราะมองว่าตลาดกำลังไปได้ดี เพราะดูจากความต้องการของชาวนา จะเห็นว่า ข้าวเมล็ดสายพันธุ์แท้ซีพี 111 จะมียอดขายดีกว่าพันธุ์ลูกผสม ซีพี 304 " จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,823 วันที่ 3 - 6 มีนาคม พ.ศ. 2556 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171741:2013-03-01-10-57-50&catid=87:2009-02-08-11-23-26&Itemid=423
โดย
koschy
จันทร์ มี.ค. 04, 2013 3:51 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
จีนเข้าเส้นชัย/ท่าเรือน้ำลึกพม่าเชื่อมคุนหมิง /‘ท่าเรือทวาย’ รัฐบาล ‘ปู’ งานหนัก ‘ยุ่น’ ยังเฉย วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 00:07 น. ■ โต๊ะข่าวเออีซี AEC - AEC พลันที่กลุ่มทหารที่ผูกขาดการบริหารประเทศเมียนมาร์ มาเป็นเวลานาน ทำการปฏิรูประบบการเมืองภายในประเทศและเปิดโอกาสให้นางอองซาน ซูจี เข้าร่วมการเมือง ทำให้โครงการทางด้านเศรษฐกิจของประเทศนี้กลายเป็นที่จับตาของนักลงทุนนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการท่าเรือน้ำลึกจ้าวผิ่ว และท่าเรือที่ทวาย และเป็นที่รู้ ๆ กันว่า ท่าเรือทวายได้กลายมาเป็นนโยบายลำดับต้น ๆ ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของไทยไปแล้ว ประเทศเมียนมาร์ ต้องเร่งพัฒนาท่าเรือน้ำลึก เนื่องจากท่าเรือที่มีอยู่ล้วนเป็นท่าเรือในแม่น้ำเช่นเดียวกับท่าเรือคลองเตยของไทย เศรษฐกิจของพม่าจะก้าวหน้าไปกว่านี้ได้ต้องมีท่าเรือน้ำลึก โดยการท่าเรือของประเทศเมียนมาร์เอง มีแผนที่จะสร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้น 4 แห่ง คือท่าเรือ จ้าวผิ่ว (Kyaukpyu) อยู่อ่าวเบงกอล ท่าเรือ กะเลก๊วก (Kalegauk) อยู่ทะเลอันดามัน ท่าเรือ ทวาย (Dawei) และท่าเรือ ปกเปี้ยน (Bokpyin) ในเขตตะนาวศรี ริมฝั่งทะเลอันดามัน ท่าเรือจ้าวผิ่ว (แปลว่าหินขาวในภาษาเมียนมาร์) หรือ เจียวเพียว ในภาษาจีนกลาง อยู่อ่าวเบงกอล ระยะ 400 กิโลเมตร ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงย่างกุ้งใกล้เมืองชิตตะเว่ ในศตวรรษที่ 17 เป็นเพียงหมู่บ้านประมงธรรมดา แต่เมื่อกองกำลังอังกฤษรบกับทหารเมียนมาร์ ได้มาสร้างเมืองนี้ขึ้น ซึ่งต่อมาได้เป็นเมืองท่าค้าข้าวไปเมืองโกลกาตา (กัลกัตตา) ของอินเดีย ท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะกลายเป็นจุดขนถ่ายน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสำคัญของทั้งประเทศเมียนมาร์และจีน เป็นนโยบายทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของจีนแผ่นดินใหญ่ ท่าเรือกะเลก๊วก อยู่เกาะกะเลก๊วก เมืองเย จังหวัดมะละแหม่ง ชายฝั่งทะเลอันดามัน เป็นเมืองมอญ ห่างจากอำเภอแม่สอดของประเทศไทยประมาณ 150 กิโลเมตร กลุ่มบริษัทพาวเวอร์พีฯ ของไทยสมัยที่พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีเคยแสดงความสนใจร่วมลงทุนกับเมียนมาร์ ท่าเรือทวาย อยู่ใกล้เมืองทวาย ตอนเหนือของอ่าวเมีองมะกัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพม่า ในเขตตะนาวศรีเป็นรัฐมอญ อยู่ห่างจากอำเภอไทรโยค กาญจนบุรี ระยะทาง 80 กิโลเมตรอยู่ห่างจากย่างกุ้ง 614 กิโลเมตร บริษัทอิตาเลียน-ไทยฯแสดงความสนใจเข้าไปลงทุนกว่า 15 ปีแล้วท่าเรือปกเปี้ยนอยู่เขตตะนาวศรีริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่คนละฝั่งกับอำเภอบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ของไทย กลุ่มสหวิริยา ขาใหญ่ธุรกิจเหล็กของไทย เคยแสดงความจำนงจะไปลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อเชื่อมกับทะเลฝั่งอ่าวไทยโดยตั้งชื่อโครงการว่า Golden Gateway สมัยที่พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ท่าเรือน้ำลึกทั้ง 4 แห่ง นี้รัฐบาลเมียนมาร์ไม่สามารถลงทุนสร้างเองได้เนื่องจากโดนปิดประเทศทางเศรษฐกิจจากประเทศตะวันตกอย่างยาวนาน ทำให้เจ้ามือหลักในการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในประเทศเมียนมาร์มักเป็นนักลงทุนหรือรัฐบาลต่างชาติ โดยมีนักลงทุนจากสองประเทศคือจีน และ ไทย ที่อาสาเข้าไปร่วมลงทุนในช่วงที่โดนปิดประเทศ มีผลประโยชน์ของประเทศเจ้าภาพเป็นเป้าหมายสำคัญ นักลงทุนไทยแสดงความจำนงร่วมสร้างถึง 3 ท่าเรือในช่วงปี 2540 คือทวาย กะเลก๊วก และ ปกเปี้ยน ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลทหารเมียนมาร์โดนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอย่างหนักจากประเทศตะวันตก หลังสิ้นยุครัฐบาลพล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ โครงการที่นักลงทุนไทยจะเข้าไปลงทุนสร้างท่าเรือน้ำลึกในเมียนมาร์ได้เงียบหายไป ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการคว่ำบาตรของรัฐบาลประเทศตะวันตก ความพยายามเข้าไปเป็นเจ้าภาพสร้างท่าเรือน้ำลึกของไทย เริ่มมาคึกคักอีกครั้งในสมัยของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยฝ่ายไทยเร่งผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายอีกรอบหนึ่งท่ามกลางปัญหาและอุปสรรคอีกมากมาย ในขณะเดียวกันประเทศจีนที่ไม่ต้องจำเป็นต้องฟังเสียงฝรั่งตะวันตกตั้งแต่แรก เดินหน้าเป็นเจ้าภาพร่วมกับรัฐบาลและเอกชนเมียนมาร์สร้างท่าเรือ จ้าวผิ่ว และท่อน้ำมันและก๊าซ ต่อเชื่อมกับคุนหมิงของจีนจนสำเร็จเสร็จสิ้นลงเมื่อต้นปี 2556 นี้เอง ยังมีรายละเอียดอีกมาก ติดตามได้ที่ http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171095:2013-02-26-17-08-56&catid=231:aec-news&Itemid=621
โดย
koschy
ศุกร์ มี.ค. 01, 2013 5:03 pm
0
0
Re: รวม "พม่า"
ขุมทองมัณฑะเลย์ แห่งเมียนมาร์ พุธที่ 27 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 00:14 น. ■ THAN AEC AEC - AEC news เมียนมาร์ ดึงต่างชาติ ชวนท้องถิ่น ลงทุนโรงแรมรวม 292 แห่ง รับท่องเที่ยวบูม เตรียมพื้นที่กว่าหมื่นไร่ สร้างเขตอุตสาหกรรมและย่านธุรกิจใหม่ ตั้งเป้าดูดเม็ดเงินเข้าประเทศ 16,740 ล้านบาท สื่อท้องถิ่นของเมียนมาร์ระบุว่า ขณะนี้ทางรัฐบาลเมียนมาร์ได้จัดสรรพื้นที่ในโซนทาดาอู (Tada-U) ใกล้กับเขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) ให้นักลงทุนต่างชาติสร้างโรงแรม 100 แห่ง และนักลงทุนในประเทศ 192 แห่ง โดยต้องการให้เป็นโซนการท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศ การสร้างโรงแรมจะอยู่บนพื้นที่เปล่าที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของเขตธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นใหม่ โดยนักลงทุนต่างชาติจะได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐให้สร้างโรงงานเพื่อเป็นการรองรับแรงงานของเมียนมาร์ ซึ่งจะทำให้นักธุรกิจต่างชาติเดินทางเข้ามาจำนวนมากและต้องการโรงแรมเพื่อการพักอาศัย นอกจากนี้เขตมัณฑะเลย์เป็นประตูสู่นครพุกาม (Bagan) ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณสถานที่มีชื่อ เช่น วัดและเจดีย์เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังสหพันธ์การท่องเที่ยวแห่งเมียนมาร์แถลงว่า พื้นที่จัดสรรในการสร้างโรงแรมสำหรับนักลงทุนต่างชาติจะครอบคลุม 236.5 เฮกเตอร์ (2.365 ตารางกิโลเมตร) และ 410 เฮกเตอร์ (4.1 ตารางกิโลเมตร) สำหรับนักลงทุนท้องถิ่น ทั้งนี้โซนการท่องเที่ยวทาดาอูแห่งใหม่ จะครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 2,221 เฮกเตอร์ หรือประมาณ 1 หมื่นไร่เศษ) โดยคาดหวังว่าจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนเข้ามาได้ถึง 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 16,740 ล้านบาท) "การพัฒนาโซนโรงแรม จะอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทเมียนมาร์ ทัวริสซึ่ม เดเวลลอปเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของสหพันธ์" เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเมียนมาร์กล่าว นอกจากนี้ยังได้มีการวางแผนที่จะสร้างช็อปปิ้งมอลล์บนพื้นที่ 24.6 เฮกเตอร์ พร้อมกับจัดสรรพื้นที่ขนาด 13 เฮกเตอร์ เพื่อสร้างธนาคารและสำนักงานที่ให้บริการด้านการเงินต่างๆ อีกด้วย โครงสร้างด้านสาธารณูปโภคอื่นๆ เช่น สถานีรถไฟและรถโดยสารประจำทาง ท่าเรือ สนามกอล์ฟ โรงเรียนสำหรับช่วงพักร้อน ตลาดกลางคืน หมู่บ้านงานฝีมือท้องถิ่น โซนสันทนาการ และโรงงานกำจัดของเสีย ก็รวมอยู่ในโครงการครั้งนี้ด้วย การส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเมียนมาร์ เนื่องจากขณะนี้เมียนมาร์กลายมาเป็นขุมทองของนักธุรกิจต่างชาติไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การขนส่ง การธนาคาร การท่องเที่ยว แต่ประเทศยัง ขาดแคลนโรงแรมเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจอย่างมากโดยราคาห้องพักในกรุงย่างกุ้ง ขณะนี้มีราคาสูงกว่าปกติถึง 3 เท่า เนื่องจากจำนวนห้องพักที่ยังมีไม่มากพอ ขณะนี้ประเทศที่ลงทุนอุตสาหกรรมโรงแรมในเมียนมาร์ใหญ่สุดคือสิงคโปร์ด้วยเม็ดเงินจำนวนทั้งหมด 597 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามติดมาด้วยไทย ญี่ปุ่น ฮ่องกง มาเลเซีย และสหราชอาณาจักร โรงแรมจากประเทศไทยได้เข้าลงทุนในเมียนมาร์แล้วคิดเป็นเม็ดเงินจำนวน 263.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (8.3 พันล้านบาท) เพื่อสร้างที่พักจำนวน 1,896 ห้อง ภายใต้ 11 แบรนด์ ประกอบด้วย อันดามันคลับ กันดอจี พาเลสนิกโก้ (ชาเทรียม) มัณฑะเลย์ฮิลล์ แอนด์ เพิร์ล ลากูน่า ปัจจุบันเมียนมาร์มี 6 สายการบิน ซึ่งเชื่อมโยงจากกรุงย่างกุ้งไปยัง กรุงเนย์ปิตอว์ เมืองบากัน และเขตมัณฑะเลย์และบริษัททัวร์ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องจำนวน 759 บริษัท โดยเป็นบริษัทที่มีเจ้าของเป็นต่างชาติทั้งหมดจำนวน 1 บริษัท เป็นบริษัทต่างชาติร่วมกับท้องถิ่นจำนวน 15 บริษัท และเป็นบริษัทท้องถิ่นจำนวน 743 บริษัท ในรายงานยังระบุว่า นายโซ ตินต์(Soe Tint) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการ ได้กล่าวถึงเรื่องที่ทางรัฐบาลเมียนมาร์มีความยินดีให้นักลง ทุนต่างชาติเข้ามาร่วมในการสร้างบ้านราคาถูก ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐบาลได้เริ่มไว้ประกอบด้วยโครงการบ้านราคาถูก“อิระ วุน” (Ayeyar Wun) และ “ยาดานา” (Yadana) โดยทั้งสองโครงการนี้เปิดรับทั้งนักลงทุนท้องถิ่นและต่างชาติที่สนใจ http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171096:2013-02-26-17-16-26&catid=231:aec-news&Itemid=621
โดย
koschy
ศุกร์ มี.ค. 01, 2013 4:53 pm
0
1
Re: รวม "พม่า"
เมียนมาร์ลุยปฏิรูปการสื่อสาร กรุยทางสู่ AEC วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 20:53 น. ■ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเมียนมาร์ได้เชิญชวนนักลงทุนต่างชาติยื่นประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม และปิดรับเอกสารแสดงความสนใจไปเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 คาดว่าจะสามารถเริ่มประมูลได้ภายในกลางปี ทั้งนี้ ทางการพม่าได้วางแผนที่จะแปรรูปกิจการให้แก่ผู้ให้บริการเอกชน 4 ราย แบ่งเป็นนักลงทุนภายในประเทศ 2 ราย และต่างประเทศ 2 ราย มีเงื่อนไขว่าต้องให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 80% ภายใน 3 ปี อายุสัญญา 20 ปี http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=171072:-aec&catid=231:aec-news&Itemid=621
โดย
koschy
ศุกร์ มี.ค. 01, 2013 4:48 pm
0
1
Re: รวม "พม่า"
พม่าหวังขึ้นเบอร์ 1 ส่งออกพลังงานโลก บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ต่างประเทศพุ่งเป้าไปที่พม่าเพื่อขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ หลังจากที่รัฐบาลประธานาธิบดีเต็ง เส่งของพม่า ได้ปฏิรูปการปกครอง และนานาชาติได้ยกเลิกการคว่ำบาตร พม่าก็กลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของบริษัทพลังงานทั่วโลก ในการเข้ามาลงทุน เนื่องจากแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์ ปัจจุบันนอกจากจะมีปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.)ที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ยังมี อีพีไอ โฮลดิ้งส์ จาก ฮ่องกง บริษัท จีโอเปโทร อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้งส์" สัญชาติสวิสเซอร์แลนด์ และ ปิโตรนาส จากมาเลเซีย ทั้งในเดือนกันยายนที่ผ่านมา โทเทล บริษัทน้ำมันจากฝรั่งเศส ยังได้ร่วมหุ้น 40% เพื่อลงทุนในโครงการสรรหาน้ำมันนอกชายฝั่ง และตามติดมาด้วยบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลีย "วู้ดไซด์" รวมถึงบริษัทพลังงานรายใหญ่จากอเมริกาและยุโรป แนวโน้มการลงทุนในแหล่งพลังงานมีที่ท่าจะมากขึ้นหลังจากที่รัฐบาลพม่าได้เชื้อเชิญบริษัทต่างๆให้เข้าร่วมประมูลแหล่งน้ำมันในชายฝั่ง 18 แห่งเมื่อเดือนที่แล้วและจะเปิดให้ประมูลแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่งอีก 50 แห่งเร็วๆนี้ นอกจากนี้ ย่างกุ้งยังจะจัดงานสัมมนานานาชาติในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ถึงแม้ว่าบริษัทต่างๆและรัฐบาลจะไม่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแหล่งพลังงานอยู่ในมือเลยก็ตาม ราจีฟ บิสวอส หัวหน้านักเศรษฐศาตร์ จากไอเอชเอส โกลบอล อินไซท์ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า ยังไม่เคยมีการนำเทคโนโลยีคลื่นไหวสะเทือนที่ทันสมัย เข้ามาใช้าสำรวจแหล่งสำรองน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติของพม่า เพราะฉะนั้นพม่าจีงเป็นสถานที่น่าดึงดูดสำหรับบริษัทพลังงานต่างชาติที่มีเทคโนโลยีพร้อมสรรพในการสำรวจ ทางด้านหน่วยข่าวกรองกลาง หรือซีไอเอ ของสหรัฐ คาดการณ์ว่า ขณะนี้พม่ามีน้ำมันสำรองอยู่ประมาณ 50 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีกประมาณ 2.832 แสนล้านลูกบาศก์เมตร แต่เว็บไซต์ของเมียนมาร์ ออยล์ แอนด์ ก๊าซ เอนเตอร์ไพรซ์ รัฐวิสาหกิจด้านน้ำมันของพม่า อ้างอิงเมื่อปี 2549 ว่า พม่ามีน้ำมันอยู่ 226 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติที่ 4.57 แสนล้านลูกบาศก์เมตร http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/asean-plus/20130225/491967/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-1-%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81.html
โดย
koschy
พฤหัสฯ. ก.พ. 28, 2013 11:55 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
คมนาคม เตรียมเสนอแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโครงการทวายในการประชุมร่วม มี.ค.นี้ นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สนข.ได้ ส่งรายงานสรุปสาระสำคัญในการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ในสาขาโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง เสนอต่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณา ก่อนการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจซีซี)ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 6-8 มี.ค.นี้ ที่พัทยา จ.ชลบุรี สรุปประเด็นสำคัญ คือ ปัจจุบันยังไม่มีความจำเป็นที่จะก่อสร้างขยายมอเตอร์เวย์ ฝั่งไทยให้เป็น 8 ช่องจราจร สาเหตุที่ไม่มีความจำเป็นต้องขยายมอร์เตอร์เวย์ เนื่องจากการวิเคราะห์พบว่า ประมาณการปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือทวายน่าจะสูงเกินจริง ขณะที่ปริมาณการเดินทางจากการท่องเที่ยวยังไม่มีความชัดเจน ส่วนปริมาณขนส่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมของโครงการทวาย และสินค้าจากเขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรีและจังหวัดอื่นๆด้านฝั่งตะวันตกของไทย ส่วนการลงทุนก่อสร้างโครงการพัฒนาถนนเชื่อมโครงการทวายไปยังเมืองหลักและพื้นที่เศรษฐิจในเมียนมาร์นั้น พบว่ามีความเสี่ยงสูง เพราะปริมาณการจราจรและรายได้จากการจัดเก็บค่าผ่านทางอาจต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความสามารถในการชำระหนี้ จึงเห็นควรนำไปรวมกับการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆที่สามารถสร้างรายได้ดีกว่า ขณะเดียวกันได้เสนอให้เมียนมาร์ ทบทวนการเลือกใช้ขนาดรางรถไฟของโครงการทวายเป็นขนาด 1 เมตร เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายในไทยและส่วนอื่นของเมียนมาร์โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายสินค้า นอกจากนั้น ยังขอให้ร่วมกับไทยในการพัฒนาสถานีตรวจปล่อยทางรถไฟร่วมกัน รวมทั้งการกำหนดค่ามาตรฐานของน้ำหนักบรรทุกรถสินค้า การเปลี่ยนถ่ายสินค้า และค่าดำเนินการ เพื่ออำนวยความสะดวก โดยให้มีการลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรสำหรับสินค้าผ่านแดน และจัดให้มีโครงข่ายทางรถไฟเชื่อมต่อระหว่างโครงการทวายอื่นๆของเมียนมาร์ สำหรับท่าเรือน้ำลึกนั้น ในข้อเสนอให้มีการออกแบบท่าเรือระยะที่ 1 เป็นท่าเรืออุตสาหกรรมและพัฒนาท่าเทียบเรือตู้คอนเทนเนอร์ในระยะต่อไป เพราะสิ่งสำคัญของท่าเรือน้ำลึกทวาย จะต้องมีกิจกรรมการผลิตในนิคมอุตสาหกรรม จากการวิเคราะห์ร่วมกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) พบว่า ความต้องการใช้บริการในระยะแรกส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในรูปสินค้าเทกอง สินค้าบรรจุหีบห่อทั่วไป ทำให้ช่วงแรกคาดว่าจะมีสินค้าผ่านแดนปริมาณน้อย ขณะที่ตู้สินค้าจะเพิ่มมากขึ้นในระยะที่ 2 ของการพัฒนาท่าเรือ เนื่องจากมีกระบวนการผลิตขั้นกลางและขั้นสุดท้าย นายจุฬา กล่าวอีกว่า เมียนมาร์ ต้องให้อิสระแก่ผู้ประกอบการในการบริหารท่าเรือทวายและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารท่าเรือเพื่อให้สอดคล้องกับการให้เอกชนเข้ามาบริหารท่าเรือ โดยรูปแบบบริหารงานควรแยกผู้บริหารท่าเรือกับผู้ให้บริการยกสินค้าออกจากกัน (Landlord port) รวมทั้งการปรับเปลี่ยนหรือปรับลดวิธีและสัดส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์ในการให้บริการท่าเรือ อีกทั้งยังต้องให้ความสะดวกและลดขั้นตอนพิธีการศุลกากรและงดเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับสินค้าผ่านแดน “หวังว่าสิ่งที่เสนอไป ทางเมียนมาร์จะเปิดใจยอมรับข้อเสนอและร่วมกันหารือเพื่อปฏิบัติงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะเรื่องแหล่งน้ำ ต้องมีน้ำรองรับความต้องการของโครงการ และควรนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่นการผลิตไฟฟ้า เพื่อให้โครงการมีผลตอบแทนทางการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งฝ่ายไทย และเมียนมาร์ และทำให้นักลงทุนที่สนใจเข้ามาทำกิจกรรมในท่าเรือน้ำลึกทวายได้ ” นายจุฬา กล่าว ส่วนระบบโทรคมนาคมนั้น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้วิเคราะห์การใช้บริการโทรคมนาคม โดยบริษัท มีแผนจัดให้บริการ โทรศัพท์พื้นฐานรวม 1 แสนเลขหมาย โดยให้บริการผ่านเคเบิลใยแก้วนำแสงสู่ทุกอาคาร และจัดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จีหรือ 4 จี โดยมีสิทธิในการให้บริการ 25 ปี และสามารถขยายเวลาได้ โดยเมียนมาร์จะต้องเตรียมร่างกฎหมายโทรคมนาคมฉบับใหม่เพื่อรองรับกับข้อตกลงการให้บริการโทรคมนาคมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายไว้ล่วงหน้าด้วย http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20130225/491978/%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B5.%E0%B8%84.%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.html
โดย
koschy
จันทร์ ก.พ. 25, 2013 11:49 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ไฟเขียว! เวนคืนที่ดินสร้างทางหลวงฝั่งตะวันตก รองรับเขตเศรษฐกิจทวาย เขตเศรษฐกิจทวาย ครม.ไฟเขียว! เวนคืนที่ดินสร้างทางหลวงฝั่งตะวันตก รองรับ เขตเศรษฐกิจทวาย พร้อมเว้นภาษีดีเซลอีก 1เดือน สิ้นสุด 31 มี.ค.56 การประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (19 ก.พ.) ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา การเวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี เพื่อรองรองรับการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และเชื่อมต่อประเทศในภูมิภาคระหว่างฝั่งตะวันออก และตะวันตกในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC ) ซึ่งการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการเวนคือที่ดิน ประกอบด้วย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี, อำเภอพุทธมณฑล อำเภอนครชัยศรี อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม, อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี, อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี โดยแบ่งเป็น ค่าที่ดิน 3,628 แปลง เป็นเงิน 3,948,700,000บาท สิ่งปลูกสร้าง 791 ราย เป็นเงิน 1,428,800,00 บาท และพืชผล 703 ราย เป็นเงิน 34,500,000 บาท รวมทั้งสิ้น 5,412,000,000 บาท ทั้งนี้กรมทางหลวงได้จัดทางหลวงสายนี้เข้าแผนงานก่อสร้างปีงบประมาณ พ.ศ.2556-2559 วงเงิน 40,495 ล้านบาท นอกจากนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรียังมีมติให้ขยายเวลาการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเหลือ 0.005 บาท/ลิตร ออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 มี.ค.56 จากปัจจุบันที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 ก.พ.56 เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน http://news.mthai.com/politics-news/219139.html
โดย
koschy
จันทร์ ก.พ. 25, 2013 3:57 pm
0
0
Re: รวม "พม่า"
ความคืบหน้าเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2013 เวลา 07:29 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก - คอลัมน์ : เศรษฐกิจโลก โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 2 พันเฮกตาร์ (ประมาณ 1.25 หมื่นไร่) ตั้งอยู่ระหว่างเขตอำเภอ Thanlyin และ Kyauktan ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้ง ได้เริ่มเดินหน้าและมีความคืบหน้าของโครงการมากขึ้นเป็นลำดับ คนงานท่าเรือติละวากำลังขนท่อนซุงขึ้นฝั่ง หลังจากที่รัฐบาลเมียนมาร์และรัฐบาลญี่ปุ่น ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจจะร่วมกันพัฒนาโครงการเมื่อเดือนธันวาคม 2555 โครงการนี้นับเป็นโครงการนำร่องขนาดใหญ่ด้านการลงทุนของญี่ปุ่นที่กำลังเร่งสปีดกลับเข้ามามีบทบาทในเมียนมาร์อีกครั้ง ญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับ 12 ในเมียนมาร์ มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ระดับ 217 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับจากปี 2531 เป็นต้นมา แต่ก็มีแนวโน้มว่าสถานภาพดังกล่าวกำลังจะเปลี่ยนไป โดยญี่ปุ่นทั้งภาครัฐและเอกชนได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะเข้ามาหาลู่ทางทำการค้าและลงทุนในเมียนมาร์ที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานที่เป็นคนหนุ่มสาว สัญญาณการเดินหน้าเต็มสูบของญี่ปุ่นนั้นเริ่มจากการเดินทางเยือนของนายทาโร อาโซะ รัฐมนตรีคลังซึ่งรับปากยินดีให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 576 ล้านดอลลาร์แก่เมียนมาร์ซึ่งจะเริ่มมีผลในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ โดยวงเงินกู้ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ญี่ปุ่นตัดสินใจยอมยกหนี้ค้างชำระมูลค่าราว 5.8 พันล้านดอลลาร์ให้กับเมียนมาร์ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมาอีกด้วย นายอาโซะเดินทางเยือนพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาด้วยตนเอง ก่อนหน้านั้นในช่วงต้นปี นายอิชิโร มารุยามะ รองหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่รัฐบาลญี่ปุ่นที่เดินทางเยือนเมียนมาร์ เปิดเผยว่า โครงการท่าเรือและเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนนั้น จำเป็นต้องได้รับความสนับสนุนทั้งจากรัฐบาลและประชาชนเมียนมาร์ ทั้งนี้ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์ที่ถือหุ้น 51 % และที่เหลือเป็นของฝ่ายญี่ปุ่น เขตเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าวตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้งที่เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของเมียนมาร์และเป็นเมืองหลวงเก่า โดยอยู่ห่างออกไปประมาณ 25 กิโลเมตร นายเซ็ต ออง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของเมียนมาร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรักษาการคณะกรรมาธิการบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ Management Committee) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา คณะของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ขอให้รัฐบาลเมียนมาร์จัดตั้งบริษัทเอกชนขึ้นเพื่อเข้ามาดำเนินการโครงการนี้ และเพื่อให้เป็นก้าวแรกของการดึงผู้ลงทุนเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ นอกจากนี้ยังขอให้รัฐบาลเมียนมาร์เข้ามาซื้อหุ้นบริษัทเพื่อเป็นหลักประกันการให้ความสนับสนุนโครงการดังกล่าว "ถ้ารัฐบาล (เมียนมาร์) ซื้อหุ้นบริษัทเมื่อไหร่ ฝ่ายญี่ปุ่นก็จะมั่นใจมากขึ้นในการเข้ามาร่วมโครงการ" นายเซ็ต ออง กล่าว ซึ่งสอดคล้องกับทรรศนะของนายมารุยามะที่ว่า โครงการนี้เกิดขึ้นในเมียนมาร์ ดังนั้นรัฐบาลและเอกชนเมียนมาร์ควรจะต้องเป็นผู้ผลักดันโครงการนี้ให้เกิดขึ้น แต่อุปสรรคก็ยังมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการขาดแคลนกระแสไฟฟ้าที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน อีกทั้งกฎหมายการลงทุนของต่างชาติในเมียนมาร์ก็ยังไม่มีความแน่นอน นอกจากนี้ การเวนคืนที่ดินรายรอบโครงการยังส่อเค้ามีปัญหากับชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ กระนั้นก็ตาม ญี่ปุ่นเองแสดงความมุ่งมั่นที่จะเข้ามาผลักดันให้โครงการนี้เริ่มเดินหน้า ไม่เพียงการรับปากให้ความสนับสนุนด้านการเงินและจัดหาแหล่งทุนเพื่อให้โครงการนี้เกิดให้ได้ แต่ยังรับปากจัดตั้งสถาบันเทคนิคเพื่อเป็นช่องทางนำผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคนานาชาติเข้ามาถ่ายทอดความรู้ความชำนาญในเมียนมาร์อีกด้วย ท่าทีตอบสนองจากฝ่ายเมียนมาร์นั้นก็เป็นไปในทางบวกสำหรับญี่ปุ่น ล่าสุด คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของเมียนมาร์ (เอ็มไอซี) ก็เพิ่งอนุมัติโครงการผลิตรถยนต์ของบริษัท ซูซูกิ (เมียนมาร์)มอเตอร์ฯ ที่กำลังจะเข้าไปตั้งฐานผลิตในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา นอกเหนือไปจากโรงงานเดิมที่มีอยู่แล้วหนึ่งแห่ง ซูซูกิคาดหมายก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งถึงตอนนั้น การก่อสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาเฟสแรกก็คงคืบหน้าไปมากแล้ว จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,819 วันที่ 17 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=169217:2013-02-16-00-31-08&catid=90:2009-02-08-11-24-34&Itemid=425
โดย
koschy
ศุกร์ ก.พ. 22, 2013 12:20 am
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
เทแสนล้านดันสร้างถนนรับทวาย เศรษฐกิจ 27 December 2555 - 00:00 คมนาคม สั่งกรมทางหลวงเดินหน้ามอเตอร์เวย์ 2 เส้น บางปะอิน-โคราช และบางใหญ่-กาญจนบุรี มูลค่ากว่าแสนล้าน รองรับนิคมทวาย พร้อมจี้เบิกจ่ายงบประมาณหวั่นล่าช้า ด้านกฟภ.เตรียมเปิดประมูลเปลี่ยนหลอดไฟประหยัดพลังงานถนนของกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท เทศบาลและ อบต.ทั่วประเทศ ภายใน 4 ปี มูลค่ากว่า 12,000-13,000 ล้านบาท พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมทางหลวงปฏิบัติตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภา เพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกรมและสอดคล้องกับโครงการที่ดำเนินการอยู่ พร้อมเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อให้ได้ผลงานตามเป้า เนื่องจากการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้าก็จะทำให้โครงการสะดุด ไม่สามารถก่อสร้างโครงการต่างๆ ได้ เช่นปีที่ผ่านมามีการเบิกจ่ายงบล่าช้า เนื่องจากเกิดปัญหาอุทกภัย “ได้สั่งการเร่งรัดการเบิกจ่ายในปี 56 มีความรวดเร็วและทุกโครงการต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน รวมถึงกำชับให้กรมฯ เตรียมพร้อมพัฒนาถนนทางหลวงรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 58 ป้ายบอกทางให้มีความเป็นสากล” นายพฤณท์ กล่าว นายพฤณท์ กล่าวว่า ยังได้เร่งรัดให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของกรมฯ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงินประมาณ 68,780 ล้านบาท และเส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงินประมาณ 45,506 ล้านบาท ซึ่งเส้นดังกล่าวเป็นสายทางที่เชื่อมไปยังพม่า เพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมทวาย และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การก่อสร้างต้องใช้เวลานานกว่าเส้นทางอื่น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเรื่องเวนคืนเข้าไปยังกระทรวงคมนาคม และพิจารณารูปแบบการลงทุน คาดว่าจะประกวดราคาได้ภายในปี 56 สำหรับแผนพัฒนามอเตอร์เวย์ 5 เส้นทางของกรมทางหลวง ระยะทางรวม 705 กม. วงเงินโดยประมาณ 2 แสนล้านบาท จะทยอยดำเนินการในปี 57 แล้วเสร็จในปี ประกอบด้วย 1. สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 6.91 หมื่นล้านบาท 2. สายชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 89 กม. วงเงิน 1.48 หมื่นล้านบาท 3. สายบางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน 4.58 หมื่นล้านบาท 4. สายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ระยะทาง 118 กิโลเมตร วงเงิน 3.82 หมื่นล้านบาท 5. สายบางปะอิน-นครสวรรค์ ระยะทาง 206 กม. วงเงิน 3.23 หมื่นล้านบาท ที่มา http://www.thaipost.net/news/271212/67234
โดย
koschy
พุธ ธ.ค. 26, 2012 10:46 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ญี่ปุ่นไม่คอย"โครงการทวาย" ผุด"โครงการติวาลา"แทน พม่า-ญี่ปุ่น พร้อมสร้างเขตอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ปี 56 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 23 ธันวาคม 2555 15:28 น. เอเอฟพี - พม่า และญี่ปุ่น เห็นชอบที่จะเริ่มดำเนินงานโครงการเขตอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ใกล้กับนครย่างกุ้ง ในปี 2556 เจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศระบุเมื่อวันศุกร์ (21 ธ.ค.) นายโนบุฮิโกะ ซาซากิ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และการค้า แลกเปลี่ยนเอกสารข้อตกลงที่ลงนาม กับนายเซ็ต อ่อง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ซึ่งนายซาซากิ และนายเซ็ต อ่อง ได้เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ระหว่างพม่าและญี่ปุ่น. กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI) ระบุว่า โครงการติลาวา (Thilawa) ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 15,000 ไร่ จะรวมทั้งท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม มีกำหนดเริ่มใช้งานในปี 2558 “โครงการนี้ไม่ใช่งานง่าย แต่เราจะไม่ให้เกิดความผิดพลาด ทั้งสองประเทศต่างมีเป้าหมายเดียวกันในการจัดตั้งการร่วมทุนในปี 2556 และเริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์ในปี 2558” นายโนบุฮิโกะ ซาซากิ รัฐมนตรีช่วยกระทรวง METI กล่าว หลังลงนามข้อตกลงความเข้าใจในนครย่างกุ้ง อดีตรัฐบาลทหารพม่า ต้องการการลงทุนเพื่อกระตุ้นการเติบโต และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ทรุดโทรม ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกก็ต้องการโอกาสในประเทศที่อุดมด้วยทรัพยากร เพื่อฟื้นฟูการเติบโตภายในประเทศที่ซบเซา โตเกียวได้ตัดหนี้จำนวนมากที่พม่าติดค้างอยู่ และสื่อของญี่ปุ่นระบุเมื่อเดือนก่อนว่า รัฐบาลจะจัดสรรเงินกู้ยืมก้อนใหม่ จำนวน 615 ล้านดอลลาร์ ให้แก่พม่า ซึ่งส่วนหนึ่งของทุนมีไว้สำหรับใช้ในโครงการติลาวา แม้ว่ามูลค่าลงทุนทั้งหมดจะยังไม่เปิดเผยก็ตาม เซ็ต อ่อง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติของพม่า กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจแห่งนี้จะช่วยให้พม่าก้าวกระโดดเข้าใกล้กับประเทศเพื่อนบ้านที่ร่ำรวย “โอกาสในการจ้างงานจะมีเป็นจำนวนมหาศาล” เซ็ต อ่อง กล่าวและว่า ญี่ปุ่นให้คำมั่นที่จะอัดฉีดเงินทุน และแบ่งปันเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนำมาใช้ในโครงการเพื่อให้บรรลุผล ความคืบหน้าของโครงการติลาวา มีขึ้นหลังจากพม่าพยายามที่จะเริ่มการลงทุนในโครงการท่าเรือน้ำลึกมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในเมืองทวาย ทางชายฝั่งภาคใต้ของประเทศ ซึ่งยังคงชะงักงันอยู่ และรัฐบาลพม่าหวังที่จะให้ญี่ปุ่นช่วยสนับสนุน หนังสือพิมพ์นิคเคอิ ระบุเมื่อเดือนก่อนว่า โครงการติลาวาจะดำเนินการโดยกลุ่มบริษัทหุ้นส่วนของญี่ปุ่นที่ประกอบด้วย บริษัทมิตซูบิชิ ซูมิโตโม และบริษัทมารุเบนิ เจ้าหน้าที่จากกระทรวง METI ในกรุงโตเกียว กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุว่า โครงการติลาวาเป็นโครงการที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญอันดับแรก แต่ไม่ระบุชัดเจนว่าญี่ปุ่นจะร่วมลงทุนในโครงการทวายหรือไม่อย่างไร “เราตระหนักดีว่าโครงการทวายนั้นมีความสำคัญ และค่อนข้างสำคัญต่อญี่ปุ่น แต่เกรงว่าจะต้องใช้เวลามากสำหรับญี่ปุ่นในการเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการนั้น” เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น ระบุ ที่มา http://manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000155432
โดย
koschy
อาทิตย์ ธ.ค. 23, 2012 7:20 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
เมียนมาร์จ่อปรับแผนลงทุนทวายหวังดึงไจก้าลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2012 เวลา 22:34 น. คเณ มหายศ ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ เมียนมาร์จ่อปรับแผนลงทุนทวาย พร้อมเล็งลดขนาดพื้นที่ลง 50 ตร.กม. เร่งดึงแหล่งทุนญี่ปุ่นร่วมกับอิตาเลียนไทย ยังหวังเงินกู้ไจก้าดอกเบี้ยต่ำหนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเร่งพัฒนาให้เร็วขึ้น “ชัชชาติ” เผยหลายรายการยังล่าช้าโดยเฉพาะการรื้อย้ายหมู่บ้าน 4 พันหลังคาเรือน ส่วนการเชื่อมมอเตอร์เวย์และทางรถไฟเข้าทวายวงเงิน 3 หมื่นลบ. ยังไม่ตัดสินใจ ยันต้องประเมินความคุ้มค่าก่อน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินทางเยือนเมียนมาร์ร่วมนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะนักธุรกิจไทยเพื่อหารือร่วมกับนายพลเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์เกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและท่าเรือน้ำลึกทวายระหว่างวันที่ 14-17 ธันวาคมที่ผ่านมานั้นว่าเมียนมาร์ต้องการนักลงทุนจากประเทศที่ 3 เข้ามาช่วยร่วมลงทุนกับทางบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) หรือ ITD ที่ได้รับสัมปทานโครงการดังกล่าวจากเมียนมาร์ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นทั้ง 100% เพื่อให้โครงการดำเนินไปได้รวดเร็วมากขึ้น เช่น นักลงทุนญี่ปุ่นที่มีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า) และเจบิก ซึ่งจะทำให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีความเป็นไปได้และต้นทุนถูกกว่าแหล่งเงินกู้อื่นที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 7% ที่จะมีผลกระทบต่อค่าผ่านทางและค่าบริการท่าเรือ ล่าสุดผลการหารือยังพบอีกว่าเมียนมาร์ต้องการปรับลดพื้นที่โครงการลงประมาณ 50 ตารางกม.จากทั้งหมด 204.5 ตารางกม. แต่ยังไม่ได้ระบุว่าจะนำพื้นที่ดังกล่าวไปทำประโยชน์อะไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นข้อตกลงระหว่างเมียนมาร์กับอิตาเลียนไทย โดยจะต้องมีการศึกษาข้อดี-ข้อเสีย ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเพิ่มเติมให้ชัดเจนก่อน โดยเบื้องต้นเอกชนมองว่าการลดขนาดพื้นที่อาจทำให้โครงการมีปัญหาได้ ดังนั้นจะต้องมีการประชุมในระดับคณะกรรมการประสานงานร่วม(JCC)อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า นายชัชชาติกล่าวว่าโครงการดังกล่าวต้องใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 2.7 แสนล้านบาท เป็นการลงทุนในเขตประเทศเมียนมาร์ 1.9 แสนล้านบาทซึ่งเมียนมาร์จะลงทุนประมาณ 9.6 หมื่นล้านบาท ส่วนอิตาเลียนไทยลงทุน 1 แสนล้านบาทซึ่งทางอิตาเลียนไทยอาจรับภาระไม่ไหวจึงต้องการหานักลงทุนมาช่วย และอาจจะต้องปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโครงการใหม่ด้วย ส่วนการลงทุนขณะนี้มี 2 รูปแบบที่เป็นไปได้ คือ 1. ตั้งโฮลดิ้งถือหุ้นในบริษัทย่อยด้านถนน,ท่าเรือ,นิคมอุตสาหกรรม ฯลฯ มีข้อดีเพราะจะนำรายได้จากบริษัทย่อยที่มีกำไรมาสนับสนุนบริษัทที่ไม่มีกำไร และ 2. ตั้งบริษัทแยกดำเนินการในแต่ละธุรกิจ “ตอนนี้ที่ต้องใช้เงินมากคือการเวนคืนย้ายหมู่บ้านที่มีประมาณ 4,000 หลังคาเรือน โดยรื้อย้ายไปได้เพียง 400 หลังคาเรือนเท่านั้น คาดว่าจะใช้ประมาณ 7,500 ล้านบาท และหากดำเนินการล่าช้าก็จะยิ่งใช้งบประมาณสูงขึ้น เพราะราคาที่ดินในพื้นที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับในฝั่งไทยนั้นจะมีการลงทุนประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาทประกอบด้วย โครงการทางพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. งบประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท โดยอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะเชื่อมต่อไปยังด่านชายแดนบ้านพุน้ำร้อนอีกประมาณ 70 กม. วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาทหรือไม่ โดยดูจากโครงการทวายว่าจะประสบความสำเร็จจริงหรือไม่ และการเชื่อมต่อทางรถไฟนั้นภาคเอกชนมองว่าหากมีเส้นทางรถไฟจะทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือทวายต่ำกว่าทางรถยนต์ ดังนั้นอาจจะขอให้ปรับแผนโดยเร่งรัดการลงทุนทางรถไฟจากเดิมที่อยู่ในเฟสสุดท้ายปี 2563 มาดำเนินการในเฟสแรกก่อนเพื่อให้พร้อมรองรับการขนส่งสินค้า” นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ประเด็นทางรถไฟนั้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่จะต้องหาข้อสรุปว่าจะก่อสร้างตามแบบที่เมียนมาร์ต้องการคือรางความกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) เพื่อสะดวกในการเชื่อมต่อกับรถไฟประเทศจีน ขณะที่ไทยมองว่ารางขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) เหมาะสมกว่า เพราะรถไฟในประเทศเมียนมาร์และของไทยเป็นราง 1 เมตร สามารถก่อสร้างเชื่อมต่อกันได้เลย แต่หากเป็น 1.435 เมตร อาจจะต้องเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงซึ่งเส้นทางของไทยจะต้องขยายจากเส้นทางสายใต้ไปเชื่อมต่อ โดยเชื่อว่าการดำเนินโครงการภาพรวมในเฟสแรกน่าจะเสร็จทันตามแผนในปี 2558 ซึ่งงานก่อสร้างเฉพาะท่าเรือขนาดเล็กมีความคืบหน้าแล้ว 40% แต่ยังมีหลายโครงการยังไม่มีการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก,ปิโตรเคมี ในเรื่องไม่มีวัตถุดิบต้นน้ำ ซึ่งได้มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรม(กนอ.) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ศึกษารายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามโครงการทวายจะเกิดตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับนักลงทุน ซึ่งหลังจากนี้จะต้องมองในแง่การตลาดให้มากขึ้นจากที่ผ่านมาจะให้ความสนใจแต่เรื่องวิศวกรรมโดยเฉพาะผู้ลงทุนที่เข้มแข็งและลูกค้าที่จะใช้บริการ ส่วนไทยถือเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในด้านเทคนิคเพราะมีประสบการณ์มากกว่า และเป็นการมองประโยชน์ของภูมิภาคมากกว่าของเมียนมาร์หรือของไทย โดยหากโครงการทวายไม่เป็นไปตามแผนการลงทุนโครงการต่างๆในส่วนของไทยเพื่อเชื่อมต่อก็คงไม่ดำเนินการ ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=159911&catid=176&Itemid=524
โดย
koschy
อังคาร ธ.ค. 18, 2012 11:11 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
นายกฯคาดภายในปี58 ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ระยะที่ 1 จะแล้วเสร็จ วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2012 เวลา 16:38 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ วันนี้ (18 ธ.ค.55) เวลา 13.50 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเป็นประธานฯ นายทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงว่า นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการเดินทางไปเยือนเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับเมียนมาร์ ทั้งนี้การทำงานของคณะกรรมการในชุดต่าง ๆ มีความคืบหน้าโดยลำดับ รวมทั้งจะมีการเชิญชวนนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ซึ่งคาดว่าในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2556 จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยในปี 2557 จะมีการดำเนินการให้มีท่าเรือน้ำลึกขนาดเล็กก่อนเพื่อใช้เบื้องต้นในการขนส่งวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ ทั้งนี้คาดว่าภายในปี 2558 การดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ระยะที่1 จะแล้วเสร็จ รวมทั้งถนน 4 ช่องจราจร และในปี 2562 การดำเนินการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ระยะที่ 2 และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนถนน 8 ช่องจราจร จะแล้วเสร็จสมบูรณ์เช่นกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ ไปดำเนินการร่วมกันในเรื่องการสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนชาวเมียนมาร์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=159855&catid=176&Itemid=524
โดย
koschy
อังคาร ธ.ค. 18, 2012 5:00 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
นายกฯพอใจผลการตรวจทวาย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นจากการไปเยือนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทวาย ว่า ตนได้เดินทางไปชมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่าที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทยกับเมียนมาร์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจนี้ เพราะถือว่าเป็นโครงการท่าเรือน้ำลึกที่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และเมืองใหม่เกิดขึ้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมต่อจากเมียนมาร์ในส่วนของท่าเรือน้ำลึกทวาย และเชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบังและอิสเทินซีบอร์ดของไทย จุดนี้จะเป็นจุดในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่สำคัญรวมถึงการเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นด้วยซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญ โดยได้มีการตั้งคณะทำงานเป็นคณะกรรมการร่วม ตั้งแต่เดือนพ.ย.ขณะนี้ได้นำเจ้าหน้าที่บริษัทเอกชนไปชมสถานที่จริง เพื่อให้เห็นในเรื่องบรรยากาศ ศักยภาพและความก้าวหน้า รวมถึงการหารือกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ นายกฯ กล่าวอีกว่า โดยสรุปมีความคืบหน้าในเรื่องของแผนงานคร่าวๆ และลำดับถัดไปทางเมียนมาร์คงจะไปสรุปในเรื่องรายละเอียดและความชัดเจนในเรื่องการจัดเขตเศรษฐกิจพิเศษว่าจะมีข้อเสนออย่างไร เพื่อเชิญชวนนักลงทุน และรวมถึงสรุปภาพรวมและแผนการลงทุนทั้งหมด เชื่อว่าคงจะมีความคืบหน้าในเดือนก.พ.และคาดว่าเดือนเม.ย.ปี56 คงจะเห็นความชัดเจนที่จะพร้อมในการเชิญชวนนักลงทุนมาลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย และอาจจะมีการก่อสร้างบ้าง ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทำงานของคณะทำงานทั้งสองฝ่าย ถือว่าเป็นความคืบหน้า นอกจากนี้ไทยได้แจ้งกับทางเมียนมาร์ว่าฝ่ายไทยได้มีแผนที่จะเปิดสถานกงสุลใหญ่ที่ทวาย เพื่ออำนวยความสะดวกในส่วนของการให้ข้อมูลและการติดต่อประสานงานของเจ้าหน้าที่ด้วย โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางเมียนมาร์ได้ให้ความคาดหวัง จากข้อตกลงที่ทางภาคเอกชนได้ตกลงกับเมียนมาร์มาตั้งแต่ปี53 แต่ในส่วนของไทย รัฐบาลนี้ได้หารือกันในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์นี้และการร่วมกันในระดับความร่วมมือระดับประเทศ โดยได้เริ่มตกลงในรูปแบบเอ็มโอยูและมีการตั้งคณะทำงานในการทำงานร่วมกัน และได้เริ่มตั้งพ.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าคืบหน้าและเป็นที่พอใจของรัฐบาลเมียนมาร์ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่เราเห็นความสำคัญเพราะจุดนี้ไม่เพียงแค่นักลงทุนไทยที่จะลงที่ทวาย แต่เป็นจุดเชื่อมต่อของทางทวายไปยังท่าเรือแหลมฉบังและอิสเทิรนซีบอร์ด ซึ่งเป็นจุดอุตสาหกรรมของไทยด้วย ทั้งนี้ นอกจากการเชื่อมโยงระหว่างไทยกับเมียนมาร์แล้ว ยังมีโอกาสเชื่อมต่อไปยังอินเดียและภูมิภาคอื่นๆ ตรงนี้จะเป็นสิ่งสำคัญในการลดต้นทุนการขนส่งในระยะยาว ที่มา http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=662826 "ยิ่งลักษณ์"พอใจ"ทวาย"คืบหน้า เชื่อ เม.ย. 56 ชัดเจน พร้อมเชิญชวนนักลงทุน วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เวลา 18:35:10 น. เมื่อเวลา 16.45 น. วันที่ 17 ธ.ค. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นจากการไปเยือนเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทวาย ว่า ตนได้เดินทางไปชมโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่าที่ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทยกับเมียนมาร์ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจนี้เพราะถือว่าเป็นโครงการท่าเรือน้ำลึกที่มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และเมืองใหม่เกิดขึ้น ซึ่งตรงนี้จะเป็นจุดสำคัญในการเชื่อมต่อจากเมียนมาร์ในส่วนของท่าเรือน้ำลึกทวาย และเชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบังและอิสเทินซีบอร์ดของไทย จุดนี้จะเป็นจุดในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจที่สำคัญรวมถึงการเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่นด้วยซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญ โดยได้มีการตั้งคณะทำงานเป็นคณะกรรมการร่วม ตั้งแต่เดือนพ.ย.ขณะนี้ได้นำเจ้าหน้าที่บริษัทเอกชนไปชมสถานที่จริง เพื่อให้เห็นในเรื่องบรรยากาศ ศักยภาพและความก้าวหน้ารวมถึงการหารือกับประธานาธิบดีเมียนมาร์ นายกฯ กล่าวอีกวว่า โดยสรุปมีความคืบหน้าในเรื่องของแผนงานคร่าวๆ และลำดับถัดไปทางเมียนมาร์คงจะไปสรุปในเรื่องรายละเอียดและความชัดเจนในเรื่องการจัดเขตเศรษฐกิจพิเศษว่าจะมีข้อเสนออย่างไรเพื่อเชิญชวนนักลงทุน และรวมถึงสรุปภาพรวมและแผนการลงทุนทั้งหมด เชื่อว่าคงจะมีความคืบหน้าในเดือนก.พ.และคาดว่าเดือนเม.ย.ปี56คงจะเห็นความชัดเจนที่จะพร้อมในการเชิญชวนนักลงทุนมาลงทุนที่ท่าเรือน้ำลึกทวาย และอาจจะมีการก่อสร้างบ้าง ขณะนี้อยู่ในช่วงของการทำงานของคณะทำงานทั้งสองฝ่าย ถือว่าเป็นความคืบหน้า นอกจากนี้ไทยได้แจ้งกับทางเมียนมาร์ว่าฝ่ายไทยได้มีแผนที่จะเปิดสถานกงสุลใหญ่ที่ทวาย เพื่ออำนวยความสะดวกในส่วนของการให้ข้อมูลและการติดต่อประสานงานของเจ้าหน้าที่ด้วย นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่ทางเมียนมาร์ได้ให้ความคาดหวัง จากข้อตกลงที่ทางภาคเอกชนได้ตกลงกับเมียนมาร์มาตั้งแต่ปี53 แต่ในส่วนของไทย รัฐบาลนี้ได้หารือกันในการรื้อฟื้นความสัมพันธ์นี้และเข้ามาในการที่จะร่วมกันในระดับความร่วมมือระดับประเทศ ได้เริ่มตกลงในรูปแบบเอ็มโอยูและมีการตั้งคณะทำงานในการทำงานร่วมกัน และได้เริ่มตั้งพ.ย.นี้ถือว่าคืบหน้าและเป็นที่พอใจของรัฐบาลเมียนมาร์ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนี้จะต้องเป็นโครงการที่ทำต่อเนื่องถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ ที่เราเห็นความสำคัญเพราะจุดนี้ไม่เพียงแค่นักลงทุนไทยที่จะลงที่ทวายแต่เป็นจุดเชื่อมต่อของทางทวายไปยังท่าเรือแหลมฉบังและอิสเทิรนซีบอร์ด ซึ่งเป็นจุดอุตสาหกรรมของไทยด้วย และการเชื่อมโยงระหว่างไทยกับเมียนมาร์และยังมีโอกาสเชื่อมต่อไปยังอินเดียและภูมิภาคอื่นๆตรงนี้จะเป็นสิ่งสำคัญในการลดต้นทุนการขนส่งในระยะยาว ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355743629
โดย
koschy
อังคาร ธ.ค. 18, 2012 10:31 am
0
0
Re: รวม "พม่า"
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดรุกตลาดเมียนมาร์เตรียมเปิดทำการต้นปีหน้า วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2012 เวลา 12:11 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ พิมพ์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้รับใบอนุญาตจากธนาคารกลางแห่ง เมียนมาร์ให้สามารถเปิดสำนักงานตัวแทนในกรุงย่างกุ้งแล้ว และการกลับเข้าไปเปิดทำการในเมียนมาร์ในครั้งนี้ทำให้สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเป็นธนาคารระหว่างประเทศเพียงธนาคารเดียวที่เปิดดำเนินการครบทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน การเปิดทำการอีกครั้งในเมียนมาร์ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเป็นการสนับสนุนให้เมียนมาร์ได้กลับมารวมตัวเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนานาชาติอีกครั้ง โดยธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดสามารถให้บริการ และมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินทั้งในส่วนบุคคลธนกิจและสถาบันธนกิจอย่างทั่วถึงทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และด้วยสาขาต่างๆ กว่า 1,700 แห่งใน 70 ประเทศทั่วโลก สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดจึงมีความพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าได้ด้วยความสะดวกและรวดเร็ว “สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมีประวัติศาสตร์ในย่างกุ้งมาแล้วกว่า 150 ปี และเรายินดีอย่างยิ่งที่ธนาคารกลางแห่งเมียนมาร์อนุมัติใบอนุญาตแก่เราด้วยความรวดเร็ว” มร.จัสปาล บินดรา กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภาคพื้นเอเชีย กลุ่มสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดกล่าว “และเรายังคาดหวังที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในเมียนมาร์ และช่วยสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจแก่เมียนมาร์อีกด้วย” สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดเปิดทำการครั้งแรกในเมียนมาร์ในปี พ.ศ. 2401 ณ กรุงย่างกุ้ง จนถูกแปรสภาพเป็นธนาคารของพม่าในปี พ.ศ. 2506 และได้เปิดดำเนินการโดยสำนักงานตัวแทนอีกครั้งใน พ.ศ. 2538 จนถึง พ.ศ. 2547 สำนักงานตัวแทนของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดใหม่จะเปิดทำการในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 โดยมุ่งเน้นกิจกรรมในส่วนสถาบันธนกิจ และสนับสนุนลูกค้าในการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคต่างๆ ที่ธนาคารดำเนินธุรกิจ ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=159567&catid=176&Itemid=524
โดย
koschy
จันทร์ ธ.ค. 17, 2012 1:04 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
นายกฯถึงเมียนมาร์แล้ว-พบ'เต็ง เส่ง'พร้อมเยี่ยมชมพื้นที่เขตศก.พิเศษทวาย วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2012 เวลา 11:00 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพบหารือกับประธานาธิบดี เต็ง เส่ง แห่งเมียนมาร์ ระหว่างการเยือนสหภาพเมียนมาร์ เพื่อเยี่ยมชมพื้นที่ และความก้าวหน้าในโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย พร้อมย้ำถึงความตั้งใจของไทยต่อการสนับสนุนเมียนมาร์ในการพัฒนาร่วมกัน วันนี้ เวลา 8.00 น. (เวลาที่ทวายช้ากว่าประเทศไทย 30 นาที) นายกรัฐมนตรีและคณะ ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญ คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เดินทางถึงสนามบินทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางต่อไปยังเรือนรับรองเพื่อพบหารือกับประธานาธิบดี เต็ง เส่ง แห่งเมียนมาร์โดยในการหารือนายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณประธานาธิบดีเมียนมาร์ที่นำคณะส่วนราชการและภาคเอกชนที่มีศักยภาพของไทยเข้ามาเยี่ยมชมพื้นที่และความก้าวหน้าในโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายด้วยตนเอง และย้ำว่าไทยมีความตั้งใจและพร้อมสนับสนุนเมียนมาร์อย่างเต็มที่ในการพัฒนา ซึ่งการเยี่ยมชมพื้นที่โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและนักลงทุนไทยเพื่อทำความเข้าใจกับโครงการดังกล่าว ขณะนี้คณะกรรมการประสานงานร่วมฯ (JCC) มีการทำงานที่มีความคืบหน้าทั้งในส่วนของการทบทวนข้อมูลเชิงเทคนิค และประเด็นต่างๆ ที่ยังต้องหาข้อสรุป เช่น รูปแบบทางการเงินเพื่อการระดมทุน การออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ และเงื่อนไขบางประการที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ทั้งนี้คาดว่าคณะอนุกรรมการร่วมเมียนมาร์-ไทย จะจัดทำรายละเอียดทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 เพื่อเสนอให้คณะกรรมการร่วมระดับสูงฯ (JHC) พิจารณาเพื่อลงนามในข้อตกลง Framework Agreement ฉบับใหม่ และ Sectorial Agreement ทั้งหมดภายในเดือน มีนาคม 2556 โดยคาดว่าจะเริ่มระดมทุนและดำเนินการก่อสร้างภายในเดือนเมษายน 2556 ตามที่ทั้งสองฝ่ายได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้นำทั้งสองฝ่ายเชื่อมั่นว่าการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทั้งสองฝ่ายจะทำให้โครงการดังกล่าวเดินหน้าบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ โดยคำนึงถึงการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาโครงการดังกล่าวด้วย ในโอกาสนี้เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ที่แนบแน่น ประธานาธิบดีเมียนมาร์ได้แสดงความยินดีที่จะยกระดับด่านสิงขร เป็นด่านถาวรตามที่ไทยได้เสนอมานานแล้ว และนายกรัฐมนตรีจะพิจารณาการก่อสร้างถนนต่อจาก เมียวดี-กอกะเระ และจะเชื่อมต่อไปยังมะระแหม่ง เพื่อการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามที่เมียนมาร์เสนอ รวมถึงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเก่าบริเวณด่านเจดีย์สามองค์ด้วย สำหรับเรื่องการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวที่สิ้นสุดวันที่ 14 ธ.ค. 55 ไทยได้ผ่อนผันระยะเวลาให้อีก 3 เดือน โดยจะอำนวยความสะดวกในการปรับสถานภาพให้เป็นแรงงานถูกต้องตามกฎหมาย ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=159547:2012-12-17-04-00-46&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
โดย
koschy
จันทร์ ธ.ค. 17, 2012 12:44 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ข่าวเรื่องนี้คงไม่กลับไปกลับมาอีกแล้วนะ นายกฯเยือนเมียนมาร์ 17ธ.ค.ติดตามความคืบหน้าพัฒนาเขตศก.พิเศษทวาย วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2012 เวลา 16:11 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ใน วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม2555 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ ประกอบไปด้วยบุคคลสำคัญ คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีกำหนดการเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ใน วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ในโอกาสการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการพบหารือกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และร่วมรับฟังบรรยายสรุปความคืบหน้าโครงการเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเมียนมาร์จะได้ร่วมกันผลักดันและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ที่ยังคั่งค้าง รวมทั้งประเด็นรายละเอียดการลงทุนในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ และการเชิญชวนนักลงทุนในการร่วมพัฒนาโครงการดังกล่าว โดยนายกรัฐมนตรีมีกำหนดการสำคัญ ดังนี้ วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555 08.30 น. นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางโดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ ไปยังทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (เวลาที่ทวายช้ากว่าที่กรุงเทพฯ 30 นาที) 09.30 น. นายกรัฐมนตรีหารือทวิภาคีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (รอยืนยัน) 10.00 น. นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเมียนมาร์ เดินทางไปยังโครงการทวาย (Visitor Center) โดยเฮลิคอปเตอร์ 10.20 น. นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเมียนมาร์รับฟังบรรยายสรุป 10.40 น. การหารือเต็มคณะ 11.30 น. นายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมบ้านตัวอย่างและแปลงสาธิตการเกษตร 12.00 น. รองประธานาธิบดีเมียนมาร์เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่นายกรัฐมนตรี บ่าย - นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนในพื้นที่และมอบอุปกรณ์การเรียนและเครื่องกีฬา - นายกรัฐมนตรีเยี่ยมสถานีอนามัยในพื้นที่และมอบอุปกรณ์การแพทย์ขั้นพื้นฐาน - นายกรัฐมนตรีเดินทางไปยัง Small Port และท่าเรือน้ำลึก (Deep Sea Port) รอยืนยัน นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางกลับประเทศไทย ที่มา http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=159276&catid=176&Itemid=524
โดย
koschy
ศุกร์ ธ.ค. 14, 2012 5:57 pm
0
0
Re: รวม "พม่า"
เมียนมาร์ผ่อนคลายการห้ามนำเข้าสินค้า ๑๕ รายการ คต. — 14 ธันวาคม 2555 16:24 นางปราณี ศิริพันธ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมียนมาร์ได้ผ่อนคลายมาตรการห้ามนำเข้าสินค้า ๑๕ รายการจากไทย หลังจากที่มีการห้ามนำเข้ามาตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ จนถึงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นระยะเวลานานกว่า ๑๐ ปีแล้ว สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย – เมียนมาร์ (Joint Trade Committee: JTC) ครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๑ – ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ โรงแรม รอยัล ออร์คิด เชอราตัน กรุงเทพฯ โดยมีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กับนายอู วิน มิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ฝ่ายเมียนมาร์ เป็นประธานร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน พร้อมทั้งหารือถึงประเด็นปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่ยังคั่งค้างอยู่จากการประชุมครั้งที่แล้ว ผลจากการประชุมดังกล่าว เมียนมาร์ได้แจ้งให้ทราบว่า ได้ผ่อนคลายมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าจำนวน ๑๕ รายการ ในรูปการค้าปกติผ่านทางชายแดน โดยได้ยกเลิกมาตรการห้ามนำเข้าสำหรับสินค้าจำนวน ๗ รายการจาก ๑๕ รายการดังกล่าวแล้ว ได้แก่ ผงชูรส น้ำหวานและเครื่องดื่ม อาหารกระป๋อง(เนื้อสัตว์และผลไม้) เส้นหมี่และบะหมี่สำเร็จรูปทุกชนิด ผลไม้สดทุกชนิด ผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับใช้ในครัวเรือนและใช้ส่วนตัวทุกชนิด และขนมปังกรอบทุกชนิด แต่สำหรับสินค้าจำนวน ๘ รายการที่เหลือ ได้แก่ หมากฝรั่ง ขนมเค้ก ขนมเวเฟอร์ ช็อกโกแลต เหล้า เบียร์ บุหรี่ และสินค้าควบคุมการนำเข้าโดยกฎหมายที่มีอยู่แล้ว เมียนมาร์ยังคงห้ามนำเข้าต่อไป อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวต่อไปว่า ทั้งสองฝ่ายยังเห็นควรให้มีการตั้งเป้าหมายการค้าเพิ่มขึ้นเป็น ๓ เท่าในปี ๒๕๕๘ จากมูลค่าการค้าสองฝ่ายในปี ๒๕๕๒ ปัจจุบันไทยเป็นประเทศคู่ค้าอันดับ ๑ ของเมียนมาร์ โดยในปี ๒๕๕๕ (ม.ค.- ต.ค.) มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเมียนมาร์ มีมูลค่า ๑๗๐,๓๔๓.๘๐ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ ๑๑.๔๙ แยกเป็นการส่งออกจากไทยไปเมียนมาร์ มีมูลค่า ๗๘,๘๑๒.๓ ล้านบาท และการนำเข้าจากเมียนมาร์มาไทย มีมูลค่า ๙๑,๕๓๑.๕ ล้านบาท โดยสินค้าส่งออกจากไทยไปเมียนมาร์ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เครื่องจักรกล ปูนซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ และเหล็ก เป็นต้น และสำหรับสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเมียนมาร์ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่โลหะ เศษโลหะ เนื้อสัตว์ และอุปกรณ์การถ่ายภาพ เป็นต้น ทั้งนี้การค้าส่วนใหญ่ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ เป็นการค้าชายแดนซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ ๘๐ คาดว่าหลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการการห้ามนำเข้าสินค้าจากไทยครั้งนี้แล้ว อาจจะมีการผ่อนคลายการห้ามนำเข้าสินค้าในรายการอื่น ๆ ที่เหลือต่อไป ซึ่งจะทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยและเมียนมาร์เพิ่มขึ้น ข่าวชิ้นนี้เผยแพร่โดย Thai PR http://www.thaipr.net/government/448940
โดย
koschy
ศุกร์ ธ.ค. 14, 2012 5:34 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ที่ผ่านมา มีแต่ข่าวท่าเรือน้ำลึกทวายในมิติด้านเศรษฐกิจเพียงแง่มุมเดียว ลองมาฟังนักวิชาการพูดคุยในมิติอื่นๆ เป็นต้นว่า การเมือง ความมั่นคง สังคม-วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อธรรมชาติ หวั่นทวาย ซ้ำรอยมาบตาพุด เสี่ยงทำ AEC ล่ม แนะพม่าถอยเพื่อความยั่งยืน วันพุธที่ 12 ธันวาคม 2012 เวลา 22:53 น. เขียนโดย เสกสรร โรจนเมธากุล หมวด isranews, ม.มหิดล จัดเวทีเสวนาวิชาการ “โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย : มองให้ไกลกว่าผลประโยชน์” ปธ.มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตฯ เชื่อเกิดปัญหาระยะยาว หลังให้น้ำหนักเฉพาะเรื่องศก. ขาดมิติสังคม วัฒนธรรม วันที่ 12 ธันวาคม สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “โครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย : มองให้ไกลกว่าผลประโยชน์” โดยนายวีรวัธน์ ธีรประสาธน์ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ นายวีรวัธน์ กล่าวถึงโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย เป็นแค่ส่วนเดียวของทวาย โปรเจ็คต์ แต่เพียงเท่านี้ก็มีขนาดใหญ่กว่ามาบตาพุดราว 10 เท่า โดยคนไทยรับรู้เรื่องมาบตาพุดดีจากการเคลื่อนไหวของสื่อมวลชนและองค์กรอนุรักษ์ต่าง ๆ ว่า โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดล้มเหลวอย่างไร ซึ่งโครงการทวายเอาแบบอย่างจากมาบตาพุดไปทำ รวมทั้งรัฐบาลไทยเองก็ยอบรับว่า ปัญหามาบตาพุดนี้ยากจะแก้ไข ทำได้เพียงประกาศเขตควบคุมมลพิษ มีกฎหมายควบคุมเข้มงวดแต่ก็ยังมีปัญหา “โครงการทวายน่าจะมีปัญหาในระยะยาว ในขณะที่ความรับรู้ของคนไทยส่วนใหญ่ต่อโครงการทวายยังมีประปราย โดยมากรับรู้จากข่าวหน้าเศรษฐกิจ การลงทุน ซึ่งมักเป็นข่าวว่า ประเทศไทยได้ประโยชน์ โดยขาดการนำเสนอในมิติอื่น ๆ ที่มากกว่าเศรษฐกิจ” ส่วนความคืบหน้าของโครงการนี้นั้น ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงระยะที่ 1 ของโครงการ มีความคืบหน้าไปแล้วเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของโครงการทั้งหมดที่จะกำหนดแล้วเสร็จในปี 2563 ปี'58 วัดทวายสำเร็จหรือล้มเหลว ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ กล่าวถึงโครงการทวายกับความสำเร็จของประชาคมอาเซียนอีกว่า ในปี 2558 จะมีสองเหตุการณ์ที่น่าสนใจมาบรรจบกัน คือพม่าจะเป็นประธานอาเซียน ในขณะเดียวกันบริษัทอิตาเลี่ยนไทยได้ประกาศไว้ว่าท่าเรือน้ำลึกส่วนที่ 1 จะเสร็จ โครงการทวายจึงจะเป็นกรณีศึกษาว่าอาเซียนจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในอนาคต “ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก สิ่งใดที่จะมั่นคงต้องประกอบด้วยสามเสา แต่กรณีทวายเรากำลังให้น้ำหนักเฉพาะเสาเศรษฐกิจ โดยไม่มีการพูดถึงเสาการเมืองและความมั่นคง และเสาสังคมและวัฒนธรรมเลย ในที่สุดเสาเศรษฐกิจก็จะพาสองเสาที่เหลือล้ม สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าโครงการแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ อาเซียนจะล้ม เพราะสามเสาไม่สมดุลกัน” นายวีรวัธน์ กล่าวด้วยว่า งานศึกษาวิจัยของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ระบุว่า ประชาชนในประเทศที่พัฒนามากกว่าและมีเศรษฐกิจดีกว่า เห็นว่าการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนมีประโยชน์โดยเฉพาะการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ประชาชนของประเทศที่เรียกตัวเองว่า CLMV คือกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม มีความกังวลต่อการรวมตัวของประชาคมอาเซียนว่า จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในประเทศของตนถูกกอบโกยโดยประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาเติบโตกว่า สะท้อนว่า อาเซียนก็ไม่ไว้วางใจกันเองเหมือนกัน เปิดแผล ผลกระทบสร้างท่าเรือทวาย ทั้งนี้ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ได้นำเสนอรายงานที่น่าสนใจในหัวข้อผลกระทบจากโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย โดยแบ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่ได้รับผลกระทบดังนี้ 1.พื้นที่ก่อสร้างท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งน่ากลัวที่สุดเพราะจะเกิดมลภาวะทางอากาศสูงมาก ทั้งสารก่อมะเร็งจากปิโตรเคมี คาร์บอนไดออกไซด์กว่า 30 ล้านตันต่อปี ซึ่งมากกว่าพม่าทั้งประเทศ จากโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4,000 เมกกะวัตต์ ซึ่ง หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 4 แสนตันต่อปีที่จะก่อฝนกรด - ผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ จากโลหะหนักของปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมหนัก ที่จะสะสมและปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ แม่น้ำทวายและแม่น้ำเล็ก ๆ - ทำลายทรัพยากรทางทะเลและการประมง เนื่องจากโลหะหนักจะเข้าไปในห่วงโซ่อาหาร และอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากน้ำที่ใช้หล่อเย็นในโรงไฟฟ้า ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง - สวนผลไม้ พืชพันธุ์ดั้งเดิมที่มีอยู่จำนวนมากจะหมดโอกาสในการนำมาปรับปรุงพันธุ์ต่อไป มีผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต - วิถีชีวิตของชาวบ้านถูกทำลาย เปลี่ยนจากวิถีเกษตรสู่วิถีแรงงาน เมื่อใกล้ชิดกับโรงงานมากจะเกิดปัญหาสุขภาพ เช่น โรคปอด โรคมะเร็ง ผิวหนัง รวมถึงการทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่จะก่อความเครียดแก่ชีวิตมากกว่าภาคเกษตร 2.พื้นที่อ่างเก็บน้ำ ป่าต้นน้ำที่สมบูรณ์ของแม่น้ำทวายจะถูกทำลายจากการสร้างเขื่อน 3.พื้นที่ตัวเมืองทวาย ซึ่งคนทวายเองส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่า ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ คล้าย ๆ กรณีมาบตาพุดของไทย ที่เมืองระยองซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างมากนักจากนิคมอุตสาหกรรมก็ประสบมลภาวะสารปนเปื้อนเช่นเดียวกัน 4.พื้นที่ถนนจากทวายมาพุน้ำร้อน จะกระทบต่อทรัพยากรป่าไม้ในเขตเทือกเขาตะนาวศรีที่มีความอุดมสมบูรณ์ ป่าที่เคยต่อกันเป็นผืนใหญ่จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ถือเป็นการทำลายระบบนิเวศ 5.พื้นที่ จ.กาญจนบุรี สืบเนื่องจากมลภาวะทางอากาศที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย เมื่อใดที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้รุนแรงก็จะพัดเอามลภาวะดังกล่าวมายังเมืองกาญจนบุรีทันที ซึ่งทิศทางลมจะพัดผ่านจากทวายเข้ามา อ.ทองผาภูมิ ผ่านไปสังขละบุรี เข้าทุ่งใหญ่นเรศวรและไปยัง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ต่อไป “มลภาวะดังกล่าวอาจก่อให้เกิดฝนกรดที่ทองผาภูมิ ซึ่งเป็นแหล่งผลไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองกาญจน์ก็จะได้รับผลกระทบ และที่สำคัญกว่านั้นถ้าเกิดปัญหานี้กับทุ่งใหญ่นเรศวร ยูเนสโกอาจขึ้นบัญชีอยู่ในภาวะอันตราย ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็อาจถูกถอดออกจากการเป็นมรดกโลก” และ 6.พื้นที่มอเตอร์เวย์สาย 81 ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายเอาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสองเส้นคือช่วงบางใหญ่-บ้านโป่ง และจากบ้านโป่ง-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร กว้าง 200 เมตร เดิมถูกกำหนดให้ใช้เพื่อเดินทางระหว่างเมือง แต่ตอนนี้มีแนวโน้มจะเชื่อมต่อกับโครงการทวาย ปัญหาที่จะเกิดคือชาวบ้านอาจถูกเวนคืนที่ดินและโยกย้ายออกไปอยู่ที่อื่น คาดว่าประชาชน 50,000 คนจะได้รับผลกระทบ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลไทย 1.ยอมรับความล้มเหลวในการพัฒนาโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยเฉพาะด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพของประชาชน เพราะการนำรูปแบบอีสเทิร์นซีบอร์ดของมาบตาพุดไปใช้กับโครงการทวายย่อมจะเกิดปัญหาเดียวกันซึ่งรัฐบาลไทยต้องร่วมรับผิดชอบ 2.เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ประชาชนทวายที่ติดตามข่าวสารเรื่องมาบตาพุดมาตลอด รัฐบาลไทยต้องเร่งรีบแก้ปัญหามาบตาพุดให้ได้ก่อนเข้าไปดำเนินการในทวาย 3.เพื่อแสดงถึงความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี รัฐบาลไทยควรนำปัญหาที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาประเทศ ถ่ายทอดให้แก่พม่าเพื่อใช้เป็นบทเรียนและวางแนวทางการพัฒนาพม่าที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต การแสดงตนเช่นนี้ย่อมได้รับความชมเชยและศรัทธามากกว่ามุ่งเข้าไปกอบโกยผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ข้อเสนอต่อรัฐบาลพม่า 1.ควรชะลอโครงการทวายเอาไว้ก่อนเพื่อถอยกลับมาทบทวนรูปแบบการพัฒนาทวายที่ยั่งยืนที่สุด ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชน ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ตามที่ประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้แถลงไว้ 2.เร่งออกกฎหมายสิ่งแวดล้อม ออกกฎระเบียบว่าด้วยการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (HEA) รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานผลกระทบต่อสุขภาวะ (HIA) 3.ใช้โครงการพัฒนาทวายอย่างยั่งยืน สร้างศรัทธาและความเชื่อมั่นให้ประเทศพม่าในฐานะที่จะเป็นประธานอาเซียนในปี 2558 ว่า รัฐบาลพม่ายึดมั่นในกฎบัตรอาเซียน และจะเป็นแบบอย่างที่ดีในการพัฒนาอาเซียนต่อไป ข้อเสนอต่อคนเมืองกาญจน์ เนื่องจากเป็นเมืองที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการทวายค่อนข้างมากที่สุดในประเทศไทย 1.คนเมืองกาญจน์ต้องติดตามโครงการทวายอย่างใกล้ชิดในฐานะเมืองผ่าน โดยร่วมมือกับสถาบันการศึกษา นักวิชาการ ศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ อย่างรอบด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม 2.ศึกษารูปแบบการพัฒนาเมืองคู่แฝดระหว่างกาญจนบุรีและทวาย ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนบนศักยภาพของเมืองทั้งสอง เพื่อให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนเมืองกาญจน์และคนทวายอย่างแท้จริง 3.ดำเนินการให้เกิดการประชุมร่วมระหว่างคนเมืองกาญจน์และประชาชนทวายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน เป็นเวทีเพื่อการปรึกษาหารือในการพัฒนาร่วมกันที่ยั่งยืนและเกิดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองเมืองอย่างเท่าเทียมกัน เป็นเวทีประชุมระหว่างประชาชนกับประชาชนอย่างแท้จริง ที่มา http://www.isranews.org/site_content/278-2011-02-24-04-31-20/18201-%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%94-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3-AEC-%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1-%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99.html#.UMlHb2dv-G8.facebook
โดย
koschy
พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 3:21 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
'ชัชชาติ' ย้ำรัฐไม่ลงทุนทวาย แข่งภาคเอกชน วันที่ 13 ธันวาคม 2555 10:32 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ "ชัชชาติ"ยืนยันผ่านรายการตรงประเด็นข่าวค่ำ "กรุงเทพธุรกิจทีวี" ย้ำรัฐบาลไม่ลงทุนทวายแข่งภาคเอกชน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในช่วงตรงประเด็นข่าวค่ำ "กรุงเทพธุรกิจทีวี" วานนี้ (12 ธ.ค.) ย้ำรัฐบาลไม่มีนโยบายใช้งบประมาณลงทุนโครงการ "ทวาย" แข่งกับภาคเอกชน...(คำต่อคำ) ถาม: การเดินทาง 17 ธ.ค. นี้ มีแผนอย่างไรบ้างครับ ตอบ: จริงๆ 17 ธ.ค.จะมี 2 เที่ยว เที่ยวแรกวันที่ 14 ก่อน วันศุกร์นี้นะครับ จะมีอนุกรรมการที่เป็นเหมือนคณะทำงาน 6 คณะ จะบินไปเนย์ปิดอว์ก่อน ตัวที่ทำงานจริงๆ ในรายละเอียดต่างๆ ซึ่ง 6 คณะ ผมว่าให้รายละเอียดหน่อยว่า 6 คณะ มีอะไรบ้างด้านโครงสร้างพื้นฐาน กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ ด้านเกี่ยวกับเรื่องสังคม การเคลื่อนย้ายคนออกจากพื้นที่ อันนี้ก็คือกระทรวงต่างประเทศ ด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องก็กระทรวงการ คลัง ด้านไฟแนนซ์ก็กระทรวงการคลัง ด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ก็คือกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม เรื่องสุดท้ายการพัฒนาพลังงานในพื้นที่ ก็คือกระทรวงพลังงานรับผิดชอบ 6 อนุกรรมการซึ่ง เราตั้งขึ้นมาภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างไทยกับเมียนมาร์ แล้วจะมีอนุกรรมการทั้งฝ่ายไทย และเมียนมาร์ร่วมกัน อนุกรรมการฝ่ายไทยได้เวิร์ครายละเอียดมาระดับหนึ่งแล้ว ก็จะไปหารือทางเมียนมาร์ถึงข้อสงสัยหรือปัญหาต่างๆ หลังจากที่เราไปศึกษา 6 ด้านนี้มา ฉะนั้นวันศุกร์คณะอนุกรรมการจะบินไปเนย์ปิดอว์ก่อน ทำงานร่วมกัน แล้วสรุปผลออกมา เอาการโหวตมากราบเรียนท่านนายกฯ เอาข้อมูลวันที่ 17 แล้วจะบินไปที่ทวาย ไป พลท่านประธานาธิบดีเต็งเส็งครับ กำหนดการที่ผมทราบนะ ก็จะเอาข้อสรุปทั้งหมด มีต้องไหนที่จะปรับปรุงพัฒนาอย่างไร แล้วก็จะหาแนวทางร่วมกันในการดำเนินการกันต่อไป ถาม: ท่านรัฐมนตรีคะ ความร่วมมือที่ว่านี้ เราพูดถึงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล อันนี้พูดถึงการลงทุนด้วยไหมคะ ตอบ: คือการลงทุนก็นเป็นอนุกรรมการชุดหนึ่ง แต่ว่าเราพูดถึงในแง่ของวิธีการลงทุน ปัจจุบันเราร่วมมือในแง่เทคนิเคิล ไม่มีแนวทาง เอาเงินของรัฐบาลไปลง แต่เรามองอย่างนี้ โครงการนี้มีประโยชน์กับภูมิภาค ประเทศไทย แล้วเราก็มองว่าเป็นโครงการที่เป็นไปได้ ถ้ารัฐบาลทั้งสองฝ่ายร่วมมือกัน การลงทุนมีหลายรูปแบบ เช่น เงินในทั่วโลกมีหลายหน่วยงาน หรือเอกชนหลายกลุ่มหลายประเทศที่อยากจะลง ทางญี่ปุ่น ทางจีน หรือ ทางเมียนมาร์เอง เอกชนไทยบางส่วนทั้งในรูปของวิธีการลงทุน กระทรวงการคลังต้องไปคิดรูปแบบมาว่าทำรูปแบบไหน ในทางอิตาเลียนไทยฯ ที่เป็นผู้รับสัมปทานเดิม เขาจะอยู่ในส่วนไหน มีรูปแบบเป็นอย่างไร ต้องเป็นรูป แบบที่คิดในอนาคตว่าทางกระทรวงการคลังจะแนะนำรูปแบบการลงทุนอย่างไร ถาม: ท่านรัฐมนตรีคะ ขอสรุปง่ายๆ ว่าก็คือรัฐบาลไทยเนี่ย ร่วมลงทุนด้วยถูกไหมคะ แต่ว่าอยู่ระหว่างหารูปแบบการร่วมลงทุนถูกไหมคะ ตอบ: ผมคิดว่าเราไม่ร่วมลงทุนครับ เพราะว่าเรามองว่าคนที่จะลงทุนควรเป็นเอกชนมากกว่า ซึ่งอาจเป็นเอกชนไทยหรืออย่างรัฐวิสาหกิจเนี่ย ถ้ารัฐวิสาหกิจไทยเขาเห็นประโยชน์โครงการนี้ ว่าจะมาเกื้อหนุนกิจการ ของเขาได้ เช่น ปตท.เอง ถ้าเขาสนใจว่ามันมีกิจการบางอย่าง การลงทุนก็จะลงทุนร่วมกัน แต่ในแง่ของรัฐบาลเอง ผมว่าเท่าที่ผมทราบข้อมูลปัจจุบันหร่อว่าในความเห็นส่วนตัว ผมว่าไม่มีแนวคิดเอาเงินของรัฐบาลไปลงทุนร่วม เพราะคิดว่าควรเป็นโครงการของเอกชน หรือว่ารัฐวิสาหกิจไปลงทุนมากกว่า เป็นเรื่องของธุรกิจมากกว่าครับ ถาม:โดยสรุปท่านรัฐมนตรีพูดอย่างนี้แปลว่าไม่ใช่รูปของรัฐบาลแต่มีโอกาสรัฐวิสาหกิจไปร่วมกับเอกชนถูกไหมคะ ตอบ:ใช่ครับ รัฐวิสาหกิจอย่างปตท. เขาก็ลงทุนทั่วโลกอยู่แล้ว ถ้าเขามองว่าโครงการนี้มีประโยชน์กับธุรกิจเขาไปเกื้อหนุนกันได้ เช่น ปิโตรเคมีหรือว่าธุรกิจกลั่นน้ำมัน ถ้าเขามองว่ามันเป็นประโยชน์ ก็อาจไปลงทุน ในแง่ของธุรกิจ ก็ตัดสินใจ เพราะฉะนั้่นเป็นเรื่องอิสระ ตอนนี้ถามว่าโครงการนี้จะไปได้อย่างไร มันต้องมีความร่วมมือกันในระดับรัฐบาลก่อน โอเค เราเห็นว่าโครงการนี้มีประโยชน์ เราทำในส่วนของเราที่อยู่ในเขต ขอบเขต ของชายแดนไทย เช่น พัฒนามอเตอร์เวย์ไปถึงพุน้ำร้อน อันนี้คือที่เราต้องทำ แต่พออยู่เหนือนอกเขตแดนไทยไปเนี่ย คิดว่าต้องดูให้ดี เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ดูทางเมียนมาร์ด้วยว่าเป็นการลงทุนแบบไหน แล้วผมคิดว่าจะมี อย่างที่เรียน ถ้าโครงการมันดีจริง มีผลตอบแทนที่ดี มีเงินทุนทั่วโลกที่จะมาลงทุนจุดนี้ ในการเชื่อมต่อสัมพันธ์ภูมิภาค ผมว่าในแง่ของรัฐบาลเองคงไม่ได้จะเอาส่วนตัว เราไม่ได้เอางบประมาณไปลงตรงนี้ เพราะว่าอย่างที่เรียน เป็นเรื่องของธุรกิจมากกว่า เอกชนที่เขาเก่งด้านนี้ก็มีทั่วโลกเยอะแยะ ทางญี่ปุ่นก็มีหลายกลุ่มที่สนใจ เราควรสนับสนุนในแง่นโยบาย ในแง่การเชื่อมโยงของประเทศไทยออกไป แต่ที่อยู่ด้านนอกเนี่ย ผมว่ารูปแบบการลงทุนก็คงให้กระทรวงการคลังพิจารณา คำถามสุดท้าย ในส่วนของอิตาเลียนไทย พอจะบอกตรงๆ ได้ไหมกับอิตาเลียนไทย ก็คือ เราจะปล่อยให้เป็นเรื่องของเขาเอง โดยที่เรื่องของการลงทุน โดยที่รัฐบาลก็ไม่เข้าไปเกี่ยว ตอบ คือรัฐบาลไม่ได้เกี่ยวตรงนี้ เราดูระดับรัฐบาลกับรัฐบาล เราไม่ได้มีอิตาเลียนไทยในที่เราคุยกัน ไทยอาจมาในฐานะผู้ลงทุนในตั้งบริษัทใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของเอกชน อันนี้ก็แล้วแต่ทางรับบาลเมียนมาร์เขาเป็น ผู้พิจารณา เขาก็ข้อสัญญากับอิตาเลียนไทยอยู่ รัฐบาลไทยไม่ได้เกี่ยวข้องตรงนั้น ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20121213/481950/%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99.html
โดย
koschy
พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 12:32 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
รัฐคาดเปิดโรดแม็พลงทุนทวาย เดือนมี.ค.56 วันที่ 13 ธันวาคม 2555 11:20 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ "ดร.จุฬา"คาดรัฐบาลเปิดโรดแม็พลงทุน"ทวาย" ภายในเดือนมี.ค.56 ย้ำสัญญารัฐต่อรัฐ ไม่เกี่ยว"อิตาเลี่ยนไทย" ดร.จุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการจราจร ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการMorning News "กรุงเทพธุรกิจทีวี" ในช่วงเช้าของวันนี้ (13 ธ.ค.) ถึงการเดินทางไปยังพม่า เพื่อเจรจาการลงทุนในโครงการ "ทวาย"...(คำต่อคำ) ถาม คณะทำงานของไทยที่จะมีการหารือกับพม่าในวันที่ 14 ธ.ค.นี้ จะมีการพูดคุยและเตรียมการอะไรบ้างเพื่อเตรียมความพร้อมการรับมือการไปเยือนพม่าของนายกฯ ครับ ตอบ จริงๆ คณะทำงานของฝ่ายไทยมีหลายคณะ มีทั้งเรื่องนิคมอุตสาหกรรม เรื่องการเงิน เรื่องพัฒนาชุมชน แต่ส่วนของผมเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก ผมขออนุญาตคุยในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานในทวาย ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเรามีการมองในเรื่องการขนส่งในเขตทวายหลักๆ มีท่าเรือ มีถนน นอกจากท่าเรือ ถนน มีโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบคมนาคม เรื่องระบบน้ำ อันนี้จะคุยร่วมไปด้วย ถาม ดร.จุฬา ครับ ตรงนี้เป็นของไทยลงทุนทั้งหมด หรือเป็นระหว่างไทยกับพม่าครับ ตอบ ตอนนี้ยังคุยในหลักการในกรอบไปก่อน คือที่เราจะคุยเนื่องจากเป็นการคุยเจอกันครั้งแรกในลักษณะระหว่างผู้แทน ในลักษณะชุดย่อยก่อน อย่างของกระทรวงคมนาคมไปก็คุยกับส่วนของกระทรวงคมนาคมของพม่า ที่จะคุยขอแนะนำว่า ในฝ่ายเห็นของฝ่ายไทยเราจะแนะนำแบบได้ เช่น ถ้าจะเอาท่าเรือในเชิงที่รองรับอุตสาหกรรมหนักๆ ก่อน ก็เสนอว่าทำถนน 4 เลนเชื่อมโยงกัน เก็บค่าผ่านทาง เชื่อมโยงทวาย มะริด พรมแดนไทย ก็มีการวางแหล่งน้ำไทยมีอะไรบ้าง คมนาคมจะทำอะไรบ้าง พวกนี้จะมีการคุยคร่าวๆ ก่อน ถ้าตกลงกันตามนั้นเงินจะใช้สักเท่าไหร่ หลังจากนั้นจะใช้สักเท่าไหร่แล้ว ใครจะทำ จะลงทุน เอาประเทศที่สามมาลงทุน ก็จะคุยกันอีกรอบ ถาม ซึ่งตรงนี้เองงบประมาณมีการวางกรอบกันคร่าวๆ กันไหมครับ ประมาณเท่าไหร่ครับ ตอบ ประมาณจริงๆ แล้วในส่วนเป็นเศษของการพัฒนาจริงๆ ของทวายประมาณ ในส่วนของพม่าจะทำ ในส่วนของคอนกรีต ประมาณ 190,000 ล้านนะครับ ถาม ตรงนี้เองได้มีการพูดคุยในฝั่งไทยไหมครับว่าที่จะนำไปเสนอ จะเป็นลงในรูปแบบไหน จะเป็นทางการไป จะรัฐวิสาหกิจ หรือว่าจะเป็นการร่วมมือกัน ตอบ ยังไม่คุยไปถึง รอก่อน เราต้องดูก่อนอะไรที่จะต้องทำ เห็นต้นกันไหม เห็นต้นกันแล้วจะทำอะไร ใช้เงินเท่าไหร่ แล้วใครจะทำ โดยรัฐวิสาหกิจจะเป็นบริษัทไปไทยไปลงทุน จากประเทศที่สามมาลงทุน จะต้องไปคุยกันอีกที ในเรื่องเงินจริงๆ แล้วกระทรวงการคลังจะช่วยดูให้ในภาคของประเทศ ถาม แล้วตรงนี้ในการร่วมมือกับทางพม่า มีการกำหนดขอบเขตไหมครับ ว่าใครดูแลในเรื่องไหน ยกเว้นเรื่องเงินทุน ตอบ คือตรงนี้มันเป็นความร่วมมือระหว่างฝ่ายไทย หรือว่าเราจะให้ข้อแนะนำนะครับ ถ้ามองว่าเรามีประสบการณ์ในเรื่องการลงทุนเยอะๆ หรือขนาดใหญ่มากกว่า ให้ไทยช่วยดูโครงการ ดูระบบว่าขั้นตอนลำดับอะไรทำก่อน ทำหลัง จะทำขนาดไหน ยังไง ให้ใครช่วยแนะนำให้ก่อน ครั้งนี้เราจะไปแนะนำ จะเอาการบ้านมา เราเลยทำการบ้านก่อนว่าเราจะทำอะไรกันดี เสร็จค่อยเดินกันต่อไป ถาม ที่จะไปคุยวันที่ 17 ธ.ค.นี้ใช่ไหมครับ ตอบ เดี๋ยวพวกเราจะไปคณะเล็กก่อน วันที่ 17 ท่านนายกฯ จะตามไปคุยอีกทีครับ ถาม แล้วหลังจากนั้นเราจะได้เป็นแผนภาพ รายละเอียดชัดเจนมากขึ้น ตอบ ครับ น่าจะจริง เพราะหลังจากที่คณะย่อยคุยกันแล้ว ก็มีการตกลง โอเค เราทำกันแบบนี้ก่อน หลังทำแบบนี้นะ เดี๋ยวจะมีฝ่ายดูเรื่องเงิน ในส่วนที่จะลำบากที่เป็นคนรับผิดชอบ อย่างที่ถามนะครับว่าจะเอาเงินที่มาลงกันดี ถาม ดร.จุฬา เราจะเป็นแผนภาพที่ชัดเจนจริงๆ เป็นโรดแม็พ สามารถทำปฏิบัติการได้ อย่างช้าน่าจะประมาณ ตอบ น่าจะประมาณเดือนมีนา นะครับ น่าจะทราบแล้วนะครับ เพราะว่าหลังจากนั้นที่นายกฯ พบครั้งแรกคงรู้ฝ่ายพม่าเขาคิดอย่างไรในการพัฒนา เสร็จแล้วเราจะมาเตรียมในส่วนของเรา เตรียมแล้วจะจัดกันอย่างไร ใครจะทำ สักประมาณเดือนมีนา กำหนดที่เราตั้งไว้ เดือนมีนาน่าเห็นรูปเห็นร่าง จะลงทุนอย่างไร ขนาดไหน ยังไง ถาม ซึ่งตอนนี้เอง อิตาเลียนดีเวลลอปเมนต์ คอยมาบอกว่าจริงๆ ควรจะต้องมีการเซ็นสัญญาเดินหน้าไปตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ถ้าล่าช้าไปจนถึงเดือนมีนาคม ตรงนี้จะกระทบความคืบหน้าของโครงการ รวมถึงททางฝ่ายพม่าเขามีข้อติติงอะไรออกมาบ้างไหมครับ ตอบ คือตัวการเซ็นสัญญาผมว่าต้องดูเหมือนกันครับ ว่าจริงแล้วอิตาเลียนไทยเซ็นสัญญากับรัฐบาลพม่า ในเรื่องของการพัฒนาโครงการ แต่ครั้งนี้รัฐบาลเข้าไปมีส่วนร่วมก็คงต้องมาดูแล เป็นอย่างไร รัฐบาลจะลงข้อเท็จจริง คงต้องมีว่ากลไกภาครัฐที่จะเข้าไปลงเป็นอย่างไร อาจจะมีสัญญา มีข้อตกลง ระหว่างรัฐบาลกับระหว่างรัฐบาล ว่าจะทำกันอย่างไร ซึ้งตรงนี้น่าจะเป็นสัญญาคนละตัวกันที่จะทำ ถาม ดร.จุฬา ครับ แล้วการลงทุนตรงนี้จะเป็นการพูดคุยระหว่างไทย-พม่าเอง จะมีการพูดถึงประเทศที่สาม ในแง่ของด้านเงินทุนบ้างไหมครับ ตอบ น่าจะมีด้วย เพราะว่าในหลักๆ คือตัวโครงการที่สำคัญที่สุด ในเรื่องของนิคมอุตสาหกรรมที่ไปลงในเขตพม่า นิคมอุตสาหกรรมซึ่งมีการมองกันมาก เช่น การลงเหล็กลำ ลงเหล็กต้นน้ำ การลงทุนเหล็กต้นน้ำนี่การลงทุนส่วนใหญ่น่าจะเป็นจากประเทศที่สาม เช่น ญี่ปุ่น น่าจะไม่ใช่ของไทยเท่าไหร่ ไทยเราอาจเข้าไปมีส่วนร่วมเรื่องอื่นๆ ที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเหล็กมากกว่าครับ ถาม แล้วจะมีการพูดคุยกับประเทศที่สามในครั้งนี้เลยไหมครับ หรือจะเป็นการ ตอบ ยังครับ ยังครับ เหมือนกับว่าคราวนี้มันเป็นเรื่องของเรากับพม่า เดี๋ยวเราคุยกันต่อไป เสร็จแล้วสองฝ่ายจะมีการคุยกัน แต่ว่าประเทศที่สามจะเข้ามาหาเรา เราจูงมือเขาเข้ามาอย่างไรกันดีครับ ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20121213/481978/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B5.%E0%B8%84.56.html
โดย
koschy
พฤหัสฯ. ธ.ค. 13, 2012 12:28 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
สศช.แนะเอกชนปรับตัวเส้นทางท่าเรือทวาย วันที่ 12 ธันวาคม 2555 21:13 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ "สศช."ชี้ท่าเรือทวายทำเส้นทางซัพพลายวัตถุดิบต้นน้ำเปลื่ยน เชื่อเป็นแหล่งนำเข้า-ส่งออกสินค้าที่สำคัญแห่งใหม่ แนะเอกชนทำความเข้าใจปรับธุรกิจ นางสาวพจณี อรรภโรจน์ภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาพื้นที่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวในการสัมนา “ค้าชายแดน ดาวรุ่งส่งออกไทยสู่ AEC” ว่า ประเมินว่าหลังจากท่าเรือน้ำลึกทวายเสร็จสิ้นและเปิดให้บริการจะทำให้แหล่งนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าของไทยเปลี่ยนจากเดิมที่เคยมาจากฝั่งตะวันออกคือท่าเรือแหลมฉบังมาเป็นฝั่งตะวันตกคือจากท่าเรือทวาย ซึ่งความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะมีผลต่อทั้งการผลิตและจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการในไทย ซึ่งจะต้องเร่งปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับภาครัฐที่ได้กำหนดการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) กำหนด 8 ข้อ แบ่งให้หน่วยงานต่างๆไปทำรายละเอียด เช่น กระทรวงพาณิชย์ดูเรื่องการค้า โครงสร้างพื้นฐานให้กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบ จากนั้นให้นำแผนทั้งหมดมาให้สศช.ดำเนินการรวบรวมและนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาก่อนนำส่งสำนักงานประมาณเพื่อพิจารณาการจัดสรรงบประมาณสำหรับปี 2557 ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเป็น AEC ในปี 2558 สำหรับแผนยุทธศาสตร์ 8 ข้อประกอบด้วย การส่งเสริมขีดความสามารถการแข่งขันของสินค้าและบริการไทย การคุมครองชีวิตและสังคม การพัฒนาโลจิสติกส์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเตรียมความพร้อมข้อกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ การเตรียมความพร้อมด้านการรับรู้และตระหนักการเป็นAEC การดูแลด้านความมั่นคง และการพัฒนาศักยภาพของเมืองรอบนอกที่จะได้รับผลจากAEC ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20121212/481866/%E0%B8%AA%E0%B8%A8%E0%B8%8A.%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html
โดย
koschy
พุธ ธ.ค. 12, 2012 10:40 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ข่าวด่วน ข่าวด่วนธุรกิจ นายกฯ ยกเลิกแผนเยือนเมียนมาร์หารือทวายกลางเดือนนี้แล้ว โฆษกประจำสำนักนายกฯ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ออกมาให้สัมภาษณ์หลังการประชุมเตรียมความพร้อมโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ที่นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า สำหรับกำหนดการเดิมที่นายกฯจะเดินทางไปเยือนประเทศเมียนมาร์ วันที่ 15 ธค. เพื่อไปติดตามความคืบหน้าของโครงการดังกล่าวนั้น เนื่องจากยังมีความคลาดเคลื่อนเรื่องการนัดหมาย ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดี เต็งเส่ง มีภาระกิจเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย นายกฯจึงเลื่อนการเดินทางดังกล่าวออกไปก่อน และมอบหมายให้ นาย กิตติรัตน์ ณ.ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง และคณะกรรมการชุดต่างๆเดินทางไปร่วมประชุมในวันที่ 16 -17 ธค.ซึ่งเป็นไปตามกำหนดการเดิม และมอบหมายให้คณะที่เดินทาง ไปติดตามความคืบหน้าในการนัดหมายของผู้นำทั้ง 2 ประเทศ สำหรับการประชุมเรื่องโครงการทวายที่ทำเนียบช่วงบ่ายนี้ เป็นการประชุมที่สืบเนื่องมาจากการพบปะและหารือกันอย่างเป็นทางการระหว่างผู้นำทั้งสองประเทศ เมื่อต้นเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งบรรลุข้อตกลงในการพัฒนาโครงการร่วมกันด้วยการตั้งคณะกรรมการร่วม 3 ระดับ ในที่ประชุม นายกฯ ได้รับการรายงานความคืบหน้าของคณะกรรมการทั้ง 3 ชุด โดยนายก ได้มอบหมายให้คณะกรรมการและอนุกรรมการแต่ละชุดเร่งรัดดำเนินการให้มีความคืบหน้ามากกว่านี้ รมว.คมนาคม ชัชชาติ สิทธิพันธ์ บอกภายหลังการประชุมด้วยว่า รับบาลไทยจะเสนอแนวแนวทางการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์กลางเดือนนี้ ส่วนการลงทุนตัดถนนในโครงการทวายมูลค่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบองบ.อิตาเลียนไทย จะเป็นแบบเก็บเงินค่าผ่านทางหรือเอกชนรายอื่นมาร่วมลงทุน ยังไม่ได้ข้อสรุป ที่มา http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=662153
โดย
koschy
พุธ ธ.ค. 12, 2012 10:35 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
'เต็ง เส่ง'ยันนัดนายกฯ ถกทวาย17ธ.ค. วันที่ 12 ธันวาคม 2555 18:05 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ "เต็ง เส่ง"คอนเฟริม์ นัด"ยิ่งลักษณ์" หารือคืบหน้าโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย 17 ธ.ค.นี้ มีรายงานว่าสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้รับการประสานงานจาก ทางรัฐบาลเมียนมาร์ แจ้งว่า ทางพล.อ.เต็งเส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ พร้อมให้การต้อนรับ นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนนตรี ในวันทื่ 17 ธค. ซึ่งเป็นไปตามกำหนดการเดิมที่ เคยประสานงานก่อนหน้านี้ ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลเมียนมาร์ เคยแจ้งมายังสำนักเลขาธิการนายกฯ ว่า เกิดเหตุไม่สงบในพม่า จึงขอเลื่อนออกไปก่อน และนายกฯจึงมอบหมายให้ นาย กิตติรัตน์ ณ.ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ไปร่วมประชุมแทน ในวันที่ 16 -17 ธค.แต่เนื่องจากนายกฯยิ่งลักษณ์ ต้องการให้โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย มีความคืบหน้ามากยิ่งขึ้น หลังจากมี นายกรัฐมนตรีไทย และ พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่า ได้ใช้เวทีการประชุมอาเซียนประกาศความชัดเจนการเดินหน้าโครงการดังกล่าว เมื่อช่วงปลายเดือนตค.ที่ผ่านมา จึงมีการติดต่อประสานงานการนัดหารือกับทาง ปธน. เต็งเส่ง อีกครั้ง สำหรับกำหนดการเดินทางไปเมียนมาร์ ของนายก ครั้งนี้เบื้องต้น มีทีมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ.เป็นหลัก ประกอบด้วยนาย กิตติรัตน์ ณ.ระนอง รองนายกฯฝ่ายศก.และรมว.คลัง ,นาย ชัชชาติ สิทธิพันธ์ รมว.คมนาคม ,นาย ประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม นาย พงศ์ศักดิ์ รักตไพศาล รมว.พลังงานและนาย นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกฯ รวมถึงเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ เป็นต้น ทั้งนี้ กำหนดการในวันที่ 17 ธค. ของนายกฯคือพบปะหารือ กับประธานาธิบดี.เต็งเส่ง และร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และลงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย อย่างไรก็ตาม การเดินทางไปในครั้งนี้ เบื้องต้นทางสำนักเลขาธิการนายกฯได้ จัดเครื่องบินลำเลียง C 130 นำสื่อไทยและสื่อต่างประเทศเดินทางไปพร้อมคณะของนายกฯในครั้งนี้จำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากทางรัฐบาลต้องการพาสือไปลงในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ด้วย ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20121212/481864/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%AF-%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A217%E0%B8%98.%E0%B8%84..html
โดย
koschy
พุธ ธ.ค. 12, 2012 10:29 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
'ดีดีซี'เปิดจองพื้นที่เช่าในนิคมฯทวาย ธุรกิจ : Marketing วันที่ 12 ธันวาคม 2555 20:39 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ นายประวีร์ โกมลกาญจน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัททวาย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด หรือดีดีซี เปิดเผยว่า บริษัททวาย ดีเวล๊อปเมนต์ได้ทำการตลาดตั้งแต่เดือน ต.ค.2555 เพื่อดึงนักธุรกิจเข้ามาเช่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า โดยบริษัทเปิดให้เช่าที่ดินในเฟส 1 บนพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร สำหรับอุตสาหกรรม 5 กลุ่ม คือ อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้างและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเปิดพื้นที่ให้ผู้ประกอบการมาลงทุนในอุตสาหกรรมเบาก่อนเพราะใช้โครงสร้างพื้นฐานไม่มากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมหนัก เช่น ปิโตรเคมี โรงถลุงเหล็ก รวมทั้งเอสเอ็มอีสามารถเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเบาได้เพราะใช้เงินลงทุนไม่มาก นายประวีร์ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีนักธุรกิจไทยและต่างชาติมากกว่า 100 ราย ที่เข้ามาติดต่อและมีนักธุรกิจที่ตกลงจองพื้นที่ลงทุนแล้ว 3 ราย เป็นผู้ผลิตท่อไฟเบอร์กลาสจากสหรัฐอาหรับเอมิเรต ผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นและผู้ผลิตยางพาราแปรรูปจากไทย ซึ่งบริษัทจะให้นักลงทุนเช่าระยะเวลา 75 ปี ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลพม่ากำหนด และกำลังพิจารณาค่าเช่าแต่คาดว่าจะต่ำกว่าค่าเช่าที่กรุงย่างกุ้งเพราะทวายเป็นพื้นที่ใหม่ที่กำลังบุกเบิก โดยปัจจุบันค่าเช่าในกรุงย่างกุ้งในช่วง 60 ปี อยู่ที่เอเคอร์ละ 5-6 ล้านบาท และถ้ารัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าลงนามความร่วมมือกันได้ก็จะเริ่มให้นักลงทุนที่จองพื้นที่ไว้มาทำสัญญาเช่าที่ดินกับบริษัท ซึ่งรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศ กำลังหารือกันและกลางเดือน ธ.ค.นี้จะมีการประชุมร่วมกันอีกรอบ ทั้งนี้ ตามแผนคาดว่าจะขายพื้นที่ในเฟส 1 ได้หมดภายในเวลา 2 ปี นับจากเดือน ต.ค.2555 และหลังจากนั้นจะเริ่มทำการตลาดเฟส 2 ซึ่งในช่วงนี้บริษัทวางแผนทำการตลาดด้วยการติดต่อผ่านหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น สมาคมการค้า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) รวมทั้งจัดกิจกรรมโรดโชว์สัมมนาร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และพาผู้ประกอบการไปดูพื้นที่จริงที่จะใช้ลงทุนตั้งโรงงาน ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/marketing/20121212/481895/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AF%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html
โดย
koschy
พุธ ธ.ค. 12, 2012 10:23 pm
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ข่าว สศค. (เพิ่มเติม) คลังส่งทีม"สศค."นำร่องเจรจาทวาย ดันเมียนมาร์ใช้BOIไทยเป็นแนวทางส่งเสริมลงทุน updated: 11 ธ.ค. 2555 เวลา 12:06:36 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ คลัง ส่ง สศค. นำร่องเตรียมการเจรจา "ทวาย" แจงเปิดกว้างนานาชาติร่วมลงขันใน "เอสพีวี" ยอมรับรัฐอาจต้องเป็นตัวหลักลงทุนท่าเรือ-ถนน ผ่านกลไกรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพ เผยให้ กนอ.ตั้งบริษัทลูกรองรับ พร้อมเจรจาเมียนมาร์ปรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนใช้บีโอไอไทยเป็นเบนช์มาร์ก นาย สมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สศค.ได้เดินทางไปยังกรุงเนย์ปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ ในวันที่ 7 ธ.ค.นี้ เพื่อประชุมเตรียมการล่วงหน้าก่อนที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง จะเดินทางไปประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในวันที่ 16-17 ธ.ค. ที่เมียนมาร์ ทั้ง นี้ คลังรับผิดชอบในอนุกรรมการ 2 ชุด คือ อนุกรรมการด้านการเงิน การระดมทุน และอนุกรรมการด้านการแก้ไขกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค โดยเรื่องการระดมทุนนั้นจะเป็นการเสนอรูปแบบการลงทุนเบื้องต้น ที่จะมีการตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นจะต้องเจรจาตกลงกัน ซึ่งยอมรับว่าการถือหุ้นในเอสพีวี จะต้องมีรัฐบาลไทย เมียนมาร์ และผู้ลงทุนทั่วไป โดยจะเปิดกว้างให้ผู้สนใจ ไม่ว่าจะญี่ปุ่น เกาหลี อาเซียน รวมถึงตะวันออกกลาง ไม่เฉพาะญี่ปุ่นกับจีนเท่านั้น สำหรับ การลงทุนในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ท่าเรือ และถนน ซึ่งอาจจะไม่ได้สร้างผลกำไร เอกชนไม่อยากลงทุน ส่วนนี้อาจต้องให้ภาครัฐลงทุนสัดส่วนที่มากขึ้น นอกจากนี้บางรัฐวิสาหกิจที่ไม่สามารถไปลงทุนต่างประเทศได้ ก็จะมีการพิจารณาให้ตั้งบริษัทลูก เพื่อไปลงทุนในโครงการทวาย เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น "รัฐบาลลงทุนผ่านรัฐ วิสาหกิจจะดีที่สุด รัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพ บางที่มีศักยภาพมากแต่ไม่มีเงิน เราก็อาจเพิ่มทุนให้ก่อน หรือกู้เงินโดยคลังค้ำประกันเพื่อนำมาลงทุน ก็แล้วแต่คือรัฐค้ำก็ได้ แต่ไม่ค้ำดีที่สุด โจทย์คือรัฐบาลจะลงทุนผ่านรัฐวิสาหกิจ แต่คงไม่เอางบประมาณไปใส่เอง" นายสมชัยกล่าว อย่างไรก็ดี การลงทุนจะไม่ใช่การใส่เงินทีเดียว 1 แสนล้านบาท แต่จะขึ้นกับความต้องการใช้เงินลงทุนในแต่ละเฟส ซึ่งทางอนุกรรมการด้านโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นผู้ระบุถึงปริมาณการลงทุน และความต้องการใช้เงินลงทุนให้ชัดเจนก่อน จึงจะกำหนดว่าเอสพีวีจะต้องระดมทุนเท่าไหร่ "ช่วงแรกคงยังไม่ต้องใช้ โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ๆ หรือนิคมอุตสาหกรรมใหญ่โตมโหฬาร ก็ทำเล็ก ๆ ก่อน ซึ่งช่วงแรกอาจต้องใช้เงินเวนคืน และอีกหลาย ๆ เรื่อง" นายสมชัยกล่าว สำหรับ สถานะของบริษัทอิตาเลียนไทยนั้น นายสมชัยกล่าวว่า บริษัทคงไม่มีเงิน แต่มีสิทธิในการใช้พื้นที่ โดยจะเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นในเอสพีวี แต่การบริหารโครงการจะเป็นเอสพีวี นายสมชัยกล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องการแก้ไขกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายโทรคมนาคม กฎหมายแรงงาน รวมถึงกฎระเบียบด้านการลงทุนของเมียนมาร์ ซึ่งทางคลังได้ศึกษาเปรียบเทียบกับของไทยเพื่อนำไปเสนอว่า เมียนมาร์ควรปรับปรุงให้จูงใจนักลงทุนมากขึ้นอย่างไรบ้าง เช่น การขออนุญาตตั้งโรงงาน ซึ่งทางเมียนมาร์ยังยุ่งยาก ขณะที่ไทยมีแค่การนิคมอุตสาหกรรมฯที่เดียวก็จบ หรือมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ยังไม่จูงใจ เป็นต้น "เรื่องกฎ ระเบียบ เราจะดูว่าจะช่วยทางเมียนมาร์อย่างไร ในลักษณะช่วยศึกษาในฐานะที่เราเป็นนักลงทุนต่างชาติ เห็นกฎหมายมีจุดอ่อนอย่างไร ต้องการให้มีมาตรการจูงใจเพิ่มขึ้น เพราะถ้าเทียบกับไทยแล้วเขาให้ต่ำกว่า นักลงทุนก็มาลงทุนในไทยดีกว่า หรืออย่างน้อยคือต้องให้เท่ากับของไทย เช่น มาตรการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่เราให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี 8 ปี เขาให้ 3 ปี แล้วใครจะไปเพราะเสี่ยงด้วย ก็เอาของเราเป็นเบนช์มาร์ก" นายสมชัยกล่าว ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1355202425&grpid=10&catid=09&subcatid=0900
โดย
koschy
อังคาร ธ.ค. 11, 2012 5:34 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
"เต็ง เส่ง"เลื่อนหารือ"ยิ่งลักษณ์" เกี่ยวกับความคืบหน้า"ทวาย" อ้างเกิดเหตุไม่สงบในพม่า วันที่ 7 ธันวาคม 2555 12:06 โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า เมื่อวานนี้ ( 6 ธค.) ในช่วงเย็น ทางรัฐบาลเมียนมาร์ ได้แจ้งมายังสำนักเลขาธิการนายกฯให้ทราบว่า พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ เดินทางกลับจากต่างประเทศและพร้อมที่จะหารือกับนายกยิ่งลักษณ์ เกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ในวันที่ 17 ธค.นี้ เดิมทางรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ มีการนัดประชุมคณะกรรมการ ทั้ง 3 คณะในระหว่าง 16 -17 ธค. และนายกฯมีกำหนดการจะเดินทางไปพบปธน.เต็งเส่งในวันที่ 15 ธค. แต่ต้องเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจาก ปธน. เต็งเส่งเดินทางไปประเทศออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม เมื่อได้รับการประสานกับมาจากเมียนมาร์ ทางสำนักเลขาธิการนายกฯ ได้จัด กำหนดการที่จะให้นายกฯพบกับปธน.เต็งเส่ง และร่วมรับประทานอาหารกลางวัน และลงพื้นที่ที่ ทวาย ในวันที่ 17 ธค. ทั้งนี้มีการจัดเตรียมนำสื่อไทยและสื่อต่างประเทศเดินทางไปพร้อมคณะของนายกฯในครั้งนี้ ด้วยแต่ล่าสุดเมื่อ เช้าวันนี้ (7 ธค.) ทางรัฐบาลพม่าได้ประสานกลับมายังสำนักเลขาธิการนายกฯ ให้เลื่อนกำหนดการที่นายกฯไทยจะพบปธน.เต็งเส่ง ออกไปก่อน เนื่องจากเกิดความไม่สงบภายในประเทศพม่า ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20121207/481255/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%9A.html
โดย
koschy
ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 1:56 pm
0
0
Re: รวม "พม่า"
ไทยตั้งเป้าส่งออกพม่าปี 56โต 30%ส่งทัพเอกชนกว่า 220 ราย ปูทางขยายลู่ทางการค้าย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ วันศุกร์ที่ 07 ธันวาคม 2012 เวลา 11:01 น. ณัฐญา เนตรหิน ข่าวรายวัน นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ พร้อมคณะผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ร่วมงานแสดงสินค้าไทยแลนด์ เทรด เอ็กซิบิชั่น ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 6 - 9 ธันวาคม 2555 และที่เมืองมัณฑะเลห์ ระหว่างวันที่ 13-16 ธันวาคม 2555 เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าและแสดงศักยภาพสินค้าและบริการไทยให้เป็นที่รู้จักและนิยมอย่างกว้างขวางในตลาดพม่า คาดว่าจะมีมูลค่าการซื้อขายภายในงานทันทีและภายหลังการจัดงานตลอด 1 ปีกว่า 41 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกในอาเซียนขยายตัวในปี 2556 ไม่น้อยกว่า 10% สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานมีจำนวน 220 ราย รวม 259 คูหา โดยเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค ได้แก่ สินค้าอาหารและเครื่องดื่มเข้าร่วมงานมากที่สุด คือ 62 ราย รองลงมาเป็นกลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม 52 ราย ส่วนสินค้ากลุ่มอื่นๆ ได้แก่ สินค้าชิ้นส่วนและวัสดุก่อสร้าง สินค้าของใช้ภายในบ้าน สินค้าเครื่องหนังและรองเท้า สินค้าอะไหล่และชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น “การจัดงานในครั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสทางการค้าให้ผู้ประกอบการในหลายอุตสาหกรรมได้พบกับคู่ค้าในตลาดพม่า เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก สร้างทัศนคติที่ดีต่อสินค้าและบริการไทยทั้งด้านรูปแบบ คุณภาพและความหลากหลายของสินค้า”นายสมเด็จ กล่าวและว่า สำหรับการค้าระหว่างไทยกับพม่า ในช่วง 10 เดือนแรก(ม.ค.-ต.ค.)ของปี 2555 คิดเป็นมูลค่ารวม 5,465 ล้านเหรียญสหรัฐฯ( 170,344 ล้านบาท) โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 2,546 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้น10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 2,919 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ เพิ่มขึ้น 7% “นายสมเด็จ กล่าว นายประจวบ สุภินี ผอ.สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ กรุงย่างกุ้ง พม่า กล่าวว่า ปีหน้าตลาดพม่ายังคงคึกคักมากเช่นเดียวกับปีนี้ ดูได้จากกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุนทั้งในส่วนของสำนักงาน กำหนดจัดเทรดโปรโมชั่น และกิจกรรมจากภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) คาดว่าจะมีการจัดคณะธุรกิจไปพม่ารวมกว่า 40 – 50 คณะ ซึ่งวัตถุประสงค์ คือ การเข้าไปศึกษาลู่ทางธุรกิจ และการหาโอกาสจับคู่ค้าทางธุรกิจท้องถิ่น “ในปี 2556 สำนักงานฯจะจัดคาราวานไปยังเมืองสำคัญ 7 เมือง เช่น ยะไข่ ตองจี เมาะลำไย เป็นต้น รวมถึงร่วมกับตัวแทนภาคเอกชนของพม่า ที่มีสมาชิกกว่า 20,000 ราย การตั้งสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศพม่า เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและแสวงหาลู่ทางการค้าการลงทุนในทุกมิติ รวมถึงการพัฒนาบุคลากรระหว่างสองประเทศ เพื่อสร้างพันธมิตรและเครือข่าย โดยเน้นเมืองรองสำคัญ ซึ่งจะทำให้การค้าการลงทุนของไทยขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกไทยไปพม่าขยายตัวในปี 2556 ไม่น้อยกว่า 30%”นายประจวบ กล่าว ทั้งนี้สินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง ปูนซิเมนต์ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ผ้าผืน เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค กล้อง เลนส์และอุปกรณ์การถ่ายรูป ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ สัตว์มีชีวิตไม่ได้ทำพันธุ์ สัตว์น้ำสด แช่เย็นแช่แข็ง แปรรูป ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เป็นต้น ตลาดพม่าเป็นตลาดใหม่ขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่นราว 60 ล้านคน ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางกลุ่มประเทศอาเซียน และเอเซียใต้ มีอาณาเขตติดกับจีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาว และไทย ทำให้มีความได้เปรียบในการติดต่อทางการค้า การส่งออกและนำเข้า รวมทั้งการส่งสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศต่างๆ นอกจากนี้พม่ายังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เหมาะแก่การเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม การพัฒนาตลาดของพม่าในอนาคตจะพัฒนามากขึ้น จากการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน และขนาดตลาดพม่ามีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับตลาดของไทย ซึ่งไทยสามารถใช้พม่าเป็นประตูระบายสินค้าของไทยสู่ประเทศที่สาม รวมทั้งใช้พม่าเป็นฐานในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในอนาคต อย่างไรก็ตามแรงงานของพม่าส่วนใหญ่ยังขาดผู้ที่มีความรู้ในด้านการทำธุรกิจต่างประเทศ ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ประกอบกับกฎระเบียบทางการค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย และพม่ายังมีอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศสูง อุปสรรคของการพัฒนาตลาดพม่าคือ พม่ายังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย ทำให้ขาดข้อมูลด้านการตลาด รวมทั้งข้อมูลด้านการเงินของพม่าที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ที่มา http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=158173&catid=176&Itemid=524
โดย
koschy
ศุกร์ ธ.ค. 07, 2012 12:09 pm
0
1
Re: รวม "พม่า"
ยักษ์ธุรกิจลุยพม่าย้ายฐานหนีค่าจ้าง หอการค้านำทัพ 20 บิ๊กธุรกิจไทยลุยพม่า หนีค่าจ้าง 300 บาท 05 ธันวาคม 2555 เวลา 09:20 น. นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าจะจัดคณะผู้นำทางธุรกิจรายใหญ่ 20 ราย เช่น เครือสหพัฒนพิบูล กลุ่มบริษัท น้ำตาลมิตรผล บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ธนาคารกสิกรไทย ไปเยือนพม่าวันที่ 16-18 ธ.ค.นี้ เพื่อพบกับประธานและผู้แทนระดับสูงของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งพม่า และขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน ทั้งนี้ เอกชนไทยจะไปศึกษาลู่ทางย้ายฐานการลงทุนไปยังพม่า เพื่อลดผลกระทบค่าจ้างวันละ 300 บาท โดยขณะนี้พม่าน่าลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ เพราะมีค่าจ้างถูกมาก โดยค่าจ้างขั้นต่ำเพียง 75-120 บาทต่อวัน ระดับปริญญาตรีเดือนละ 3,000-6,000 บาท และยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อยู่ สำหรับภาคธุรกิจที่เดินทางไปเจรจา ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ข้าว ประมงและอาหารสำเร็จรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เทคโนโลยี และการขนส่งโลจิสติกส์ เป็นต้น ที่มา http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94/191778/%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87
โดย
koschy
พุธ ธ.ค. 05, 2012 10:47 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
ไทย-พม่า เตรียมถกแผนลงทุนโครงการพัฒนาเขต ศก.พิเศษทวาย 16-17 ธ.ค.นี้ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ธันวาคม 2555 19:05 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมเตรียมความพร้อมโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องว่า ได้มีการพูดคุยความพร้อมของคณะอนุกรรมการทวายทั้ง 6 ชุด เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในการดูความเป็นไปได้ในแผนการลงทุน เตรียมประชุมกับรัฐบาลพม่าในวันที่ 16 - 17 ธันวาคมนี้ โดยสัปดาห์หน้าจะออกเป็นรูปเล่มรายงานแผนชัดเจนออกมา ภายในรายงานดังกล่าวประกอบไปด้วยโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น ถนน ท่าเรือ รถไฟ น้ำ โทรคมนาคม ที่จะมีการแบ่งการดำเนินการออกเป็นระยะต่างๆ ตั้งแต่ระยะ 0 – 3 งบประมาณการลงทุนในแต่ระยะเวลาการดำเนินงาน ซึ่งต้องพิจารณาผลประโยชน์หลักที่ประเทศจะได้รับเป็นสำคัญ เชื่อว่าเมื่อเกิดความชัดเจนจะดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกมาลงทุน โดยต้องดูควบคู่ในภาพรวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานและนิคมอุตสาหกรรม ต้องมีการจัดรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมและชัดเจนเช่น งบประมาณการลงทุน ระยะเวลาดำเนินการ และการสนับสนุนในส่วนของไทย ทั้งนี้ มองว่าโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย-ไทย จะเสนอการเพิ่มสิทธิพิเศษการลงทุนในสหภาพพม่า เพื่อสร้างความมั่นใจ และดึงดูดนักลงทุนเช่น สิทธิพิเศษการนำเข้าสินค้ามาไทยอยู่ระหว่างให้บีโอไอพิจารณาเพิ่มเติม ซึ่งไทยจะไม่ลงทุนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเป็นตัวเงิน แต่จะเป็นการสนับสนุนในด้านเทคนิค และใช้ประสบการณ์ในการช่วยเหลือสหภาพพม่าเช่น การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อเส้นทางต่างๆ ที่ใช้เงินลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท ส่วนภาคเอกชนการตัดสินใจขึ้นอยู่กับความคุ้มค่าในการลงทุน นายชัชชาติ กล่าวต่อไปว่า จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย และอีกหลายประเทศ สนใจมาลงทุนในโครงการโลจิสต์ติกของไทยมูลค่ารวม 2 ล้านล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี เช่น มาเลเซียสนใจเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟมายัง จ.สงขลา รถไฟรางคู่สงขลา-หาดใหญ่-มาเลเซีย, กัมพูชาสนใจพัฒนาเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์-คุนหมิง และเปิดด่านแนวชายแดนให้มากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณ จ.สุรินทร์, ลาวสนใจก่อสร้างคอริดอร์เพิ่มสาย 8 และสาย 12 สร้างการเติบโตด้านการท่องเที่ยว ที่มา http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000147303
โดย
koschy
พุธ ธ.ค. 05, 2012 12:50 am
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
“วิสแพค” รุกพม่ารับทวาย-เช่าที่ดินยาว 75 ปี ผุด รง.เคมีฯ-บ้านน็อกดาวน์ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 ธันวาคม 2555 13:50 น. บริษัททำธุรกิจเคมีภัณฑ์ “วิสแพค” เล็งขยายตลาดสู่ประเทศพม่า รับโครงการทวาย-เออีซี เล็งเช่าที่ดินยาว 75 ปี สร้างโรงงานเคมีภัณฑ์ และโรงงานประกอบบ้านน็อกดาวน์ คาดรูปแบบบ้านเดี่ยวราคา 6 แสนบาท ลุ้นบีโอไอพม่าผ่อนเกณฑ์นำเข้าเงิน และออกได้มากขึ้น พร้อมงัดที่ดินกว่า 100 ไร่ในกาญจนาบุรี ผุดรีสอร์ตรับการท่องเที่ยวบูม นายจรัล เดชประทุม ประธานกรรมการบริหาร บริษัท วิสแพค จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจในการผลิต และจัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง รวมถึงการให้บริการตกแต่งทั้งภายใน และภายนอกอาคารกล่าวว่า ทางบริษัทมองหาลู่ทางขยายการลงทุนไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่ 2 ภายหลังจากเข้าไปบุกเบิกตลาดนอกประเทศที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มากว่า 10 ปีแล้ว โดยปัจจุบัน ธุรกิจที่กัมพูชายังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเข้าสู่ประเทศพม่าเพื่อรองรับกับโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่นักลงทุนในหลายประเทศให้ความสำคัญที่จะเข้ามาลงทุน ในส่วนของบริษัทกำลังเจรจาที่จะจัดซื้อที่ดินในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมของโครงการ ในเบื้องต้น จะมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ระยะเวลาการเช่า 75 ปี ลงทุนสร้างโรงงานเคมี หรือวัตถุดิบเพื่อสนับสนุนธุรกิจหลักของบริษัทในประเทศไทย รวมถึงโอกาสรุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยจะมีการสร้างโรงงานที่เกี่ยวกับการผลิตบ้านสำเร็จรูป หรือบ้านน็อกดาวน์ขึ้น รองรับบุคลากรในหลายประเทศที่เข้ามาทำงาน ทำให้เรื่องการอยู่อาศัยมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรูปแบบจะเป็นบ้านเดี่ยวชั้นเดี่ยว ราคาประมาณ 6 แสนบาท ใช้เวลาก่อสร้างตกแต่งให้เรียบร้อยเสร็จภายใน 1 เดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับผู้เชี่ยวชาญในไทยในการนำระบบดังกล่าวไปดำเนินการ “เรากำลังมองโอกาสขยายธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีที่ใช้ในงานก่อสร้าง รวมถึงวัสดุก่อสร้างในประเทศพม่า บริษัทฯ เคยมีประสบการณ์ลงทุนในต่างประเทศมาก่อนจึงมองเห็นโอกาสว่า อสังหาริมทรัพย์ในพม่า โดยเฉพาะกรุงย่างกุ้งจะมีโอกาสขยายตัวเหมือนกรุงพนมเปญ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะโรงแรมตอนนี้มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างเยอะมาก จึงถือเป็นโอกาสอันสำคัญของเราที่จะนำเทคโนโลยี และความชำนาญที่มีอยู่ในประเทศไทยไปขยายธุรกิจในต่างแดน ซึ่งในการลงทุนในโครงการทวาย คาดว่าจะใช้เงินลงทุน 40-50 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงงาน แต่สิ่งที่เรากังวล คงเป็นเรื่องเงินไหล และเข้าออกในพม่า ซึ่งต้องดูว่าหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน หรือ MIC ที่มีรูปแบบคล้ายบีโอไอของไทย จะให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนอย่างไรบ้าง” นายจรัลกล่าว อนึ่ง บริษัท วิสแพคฯ ดำเนินธุรกิจหลักคือ ผู้ผลิต และจำหน่ายเคมีภัณฑ์สำหรับงานก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 รวมถึงการผลิต และจัดจำหน่ายสินค้าวัสดุก่อสร้าง และให้บริการตกแต่งทั้งภายใน และภายนอกอาคาร นอกจากนี้ บริษัท วิสแพคฯ ยังมีการลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อรองรับการเติบโตของที่อยู่อาศัยที่จะเติบโตมากยิ่งขึ้น ทั้งจากโครงการทวาย มีโครงการก่อสร้างถนนกาญจนบุรี-ทวาย และการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งเปิดบริการภายใต้ชื่อ “บานาน่า รีสอร์ท แอนด์ สปา” เนื้อที่กว่า 10 ไร่ นอกจากนี้ ยังเตรียมนำที่ดินกว่า 100 ไร่ ที่อยู่ติดกับรีสอร์ตมาพัฒนาภายใต้ชื่อโครงการ “ทวาย ริเวอร์แคว วัลเลย์” ในรูปแบบรีสอร์ต จำนวน 50-60 หลัง ราคาขายประมาณ 2-3 ล้านบาทต่อหลัง คาดใช้เวลาดำเนินการปีกว่าจะแล้วเสร็จ “ในอนาคต รายได้จากธุรกิจอสังหาฯ คงมีสัดส่วนรายได้ที่มากกว่าธุรกิจเคมีภัณฑ์ ซึ่งเราวางเป้าไว้ บริษัทวิสแพคภายในสิ้นปี 2560 รายได้รวม 1,000 ล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 400-500 ล้านบาท” ที่มา http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000147080
โดย
koschy
พุธ ธ.ค. 05, 2012 12:47 am
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
กทท.ยันพร้อมรับมือทวาย-เออีซี วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2012 เวลา 12:43 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา Real Estate - คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม การท่าเรือฯยันพร้อมรับมือเออีซีและท่าเรือน้ำลึกทวาย ชี้ผลดีช่วยลดผลกระทบปัญหาการขยายท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 เผยทวายมีร่องน้ำลึกและชัยภูมิเหมาะสมกว่า "ทองอยู่" เกาะติดปากบาราไม่เลิกจวกกรมเจ้าท่าตะแบงดันทั้งๆที่ควรจะพัฒนาเพื่อรับการท่องเที่ยวภาคใต้ แนะคมนาคมมองภาพกว้างและควรเร่งเปลี่ยนโหมดการขนส่งรองรับทวายโดยเร็ว ส่วนทล.เร่งมอเตอร์เวย์รับมือเต็มที่ ร.ต.วิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) เปิดเผยในการสัมมนาเรื่อง "ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย ประตูสู่ตะวันตก" ที่หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจและสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน(องค์การมหาชน) หรือสพพ.จัดขึ้นว่าขณะนี้การท่าเรือฯมีความพร้อมรับมือการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 และการเกิดขึ้นของท่าเรือน้ำลึกทวายของพม่า โดยเห็นว่าทวายเป็นทำเลที่เหมาะสมเพราะมีความลึกในทะเลช่วงอ่าวเมาะตะมะมากกว่าท่าเรือกรุงเทพ-ท่าเรือแหลมฉบังของไทย โดยเฉพาะอ่าวยังมีเกาะโอบล้อมพื้นที่ดังกล่าวซึ่งกันคลื่นได้เป็นอย่างดี อีกทั้งท่าเรือทวายใช้วิธีขุดมากกว่าการถมที่เช่นในประเทศไทย มีพื้นที่รวมกว่า 1.4 แสนไร่ ซึ่งมากกว่ามาบตาพุดถึง 10 เท่า แม้ว่าพม่าจะมีประชากรราว 51 ล้านคน แต่หากมองข้ามไปถึงอินเดียหรือประเทศในแถบตะวันออกกลาง และอเมริกาจึงน่าจะเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจของไทย โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าทางทะเลนั้นจะใช้ต้นทุนที่ถูกกว่า ขนได้จำนวนมากกว่า แต่ต้องบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้กทท.มองเป็นโอกาสที่พม่าไว้วางใจให้เป็นฐานสู่อินเดียและยังเชื่อมโยงโลกตะวันออกสู่ตะวันตก ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งขจัดปัญหาอุปสรรคต่างๆทั้งเรื่องบุคลากร กฎระเบียบ พิธีการต่างๆให้สอดคล้องกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยเร็ว โดยเฉพาะช่วงเวลาการตรวจสินค้าด่านชายแดนต้องรวดเร็ว และเร่งเชื่อมโยงด้วยระบบโครงข่ายคมนาคม ซึ่งเห็นว่าช่วง 3-5 ปีแรกน่าจะยังใช้ระบบถนน หลังจากนั้นจะหันมาใช้ระบบรางมากขึ้น ส่วนการบริหารจัดการปัจจุบันกทท.ใช้ระบบอินเตอร์เนชั่นแนลรองรับไว้แล้ว ดังนั้นโอกาสในการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจจึงมีสูง แต่ก็ไม่ได้มองข้ามปัจจัยความเสี่ยงหลายๆด้าน อาทิ เรื่องภาษี และอัตราแลกเปลี่ยนยังน่าเป็นห่วง นอกจากนั้นทวายยังมีเป้าหมายลูกค้าต่างกับแหลมฉบัง แต่คงต้องบูรณาการร่วมกันให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะประตูเพื่อการส่งออกไปเวียดนาม กัมพูชาและอีกหลายๆประเทศในโซนดังกล่าว โดยมุ่งลดต้นทุนโลจิสติกส์ แต่ที่น่าสนใจให้ผู้บริหารประเทศต้องคิดคือการพัฒนาแหลมฉบังในอดีตใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะเติบโต ดังนั้นหากมีทวายแล้วไทยจะรับมือได้มากน้อยแค่ไหน เพราะขณะนี้แหลมฉบังเริ่มมีข้อจำกัดแล้ว ดังนั้นทุกหน่วยจึงควรเร่งเตรียมความพร้อมเอาไว้ตั้งแต่วันนี้ นายทองอยู่ คงขันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.เค.โลจิสติกส์ แอนด์ ซัพพลายเชน (ประเทศไทย)จำกัด จนถึงขณะนี้กรมเจ้าท่าและกระทรวงคมนาคมไม่ได้ปฏิบัติตามทิศทางนโยบายของรัฐบาลที่ไปผลักดันท่าเรือน้ำลึกทวายให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย โดยยังพยายามผลักดันท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และท่าเรือน้ำลึกปากบารา ทั้งๆที่ไม่มีนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้อนสินค้าให้ภาคการขนส่งรองรับไว้ในพื้นที่ แต่อยากเสนอแนะว่าควรแสดงความชัดเจนออกมาโดยเร็วและควรเร่งพัฒนาเพื่อรองรับหรือส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้มากกว่า "รัฐบาลควรมองการพัฒนาในภาพกว้างโดยเฉพาะต้นทุนการขนส่งโดยรัฐควรเร่งเปลี่ยนโหมดการขนส่งทางถนนมาสู่ระบบรางและทางน้ำให้มากขึ้นสำหรับการขนส่งสินค้าจากทวายและภูมิภาคต่างๆ มากกว่ามองการเชื่อมโยงทางถนนที่เชื่อว่าต่อไปจะมีความหนาแน่นมากขึ้น และเร่งแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพ.ร.บ.การขนส่งทางถนนข้ามประเทศ แนะรัฐควรสร้างประเทศไทยให้เป็นฮับหลายๆทาง" นายทองอยู่กล่าวและว่า รู้สึกเสียดายเวลาที่กระทรวงคมนาคมโดยกรมเจ้าท่าพยายามผลักดันปากบารามานานถึง 4 ปี ส่วนแหลมฉบังเฟส 3 ยังมีปัญหาผลกระทบทิศทางน้ำทะเล ซึ่งต่อจากนี้ไปสหพันธ์การขนส่งทางบกคงจะนำการพัฒนาภาครัฐเน้นเชิงรุกมากกว่าการตั้งรับเออีซี แนะรัฐไม่ควรมองว่าจะรับรายได้เฉพาะภาษีหรือค่าธรรมเนียมค่าผ่านทางเท่านั้น ซึ่งควรจัดเก็บตามน้ำหนัก สิ่งสำคัญไทยจะได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่แน่ๆจึงควรมีระเบียบด้านนี้กำหนดเอาไว้ด้วยหากรถแต่ละคันจะผ่านพื้นที่ประเทศไทย จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,796 วันที่ 2- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555
โดย
koschy
จันทร์ ธ.ค. 03, 2012 10:48 pm
0
0
Re: รวม "พม่า"
มาทำความรู้จักกับอดีตผู้ส่งออกข้าวอันดับ ๑ ของโลก ที่ประกาศจะทวงตำแหน่งคืน ยักษ์ธุรกิจ AEC : อีเดนกรุ๊ป เมียนมาร์ วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน 2012 เวลา 14:47 น. วิชัย สุวรรณบรรณ ฐ.Blogger ผู้ก่อตั้งและเจ้าของกลุ่มบริษัท อีเดนกรุ๊ปของประเทศเมียนมาร์ คือนายชิต ไค (Chit Khine) เป็นนักธุรกิจแถวหน้าของประเทศเมียนมาร์ ที่กำลังมีบทบาทสำคัญเรื่องการค้าข้าวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในฐานะประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์ เมียนมาร์เคยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกแต่เสียแชมป์ให้กับประเทศไทยหลังจากที่เมียนมาร์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่ปกครองประเทศตั้งแต่ปี 2505 บัดนี้รัฐบาลของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง มีนโยบายฟื้นฟูการส่งออกข้าว และนักธุรกิจที่รับหน้าที่ช่วยรัฐบาลในเรื่องนี้คือนายชิต ไค โดยในเดือนมกราคม 2553 รัฐบาลเมียนมาร์ ผลักดันให้มีการรวมสมาคมผู้ค้าข้าวสารและข้าวเปลือก สมาคมโรงสีข้าวเมียนมาร์และสมาคมผู้ผลิตข้าวเปลือกเมียนมาร์ เป็นสมาคมเดียวคือ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์ เพื่อให้มีการพัฒนาวงการค้าข้าวของเมียนมาร์ทั้งระบบทั้งเรื่องการปรับปรุงดิน การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ ปุ๋ย การยกระดับการผลิตโดยการใช้เครื่องจักรและการสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านถนน ท่าเรือและโรงสี ในปี 2553 นายชิต ไค ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ เมียนมาร์ไทม์ส ว่า สมาคมอุตสาหกรรมข้าวแห่งเมียนมาร์ กำลังทำงานเพื่อสนับสนุนชาวนาในการซื้อปุ๋ยและเทคนิคใหม่ ๆ ในการปลูกข้าวซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมาคมนี้เป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการพัฒนาการปลูกข้าวในประเทศ หลังจากที่ก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมข้าวแล้วรัฐบาลเริ่มให้การสนับสนุนการส่งออกด้วยการลดภาษีข้าวส่งออกจาก 10 % เป็น 7 % ในปี 2554 นายชิต ไค มีบริษัทค้าข้าวของตัวเองด้วยชื่อ บริษัท คิตซานา คยุน ทาร์ฯ ซึ่งกำลังเป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการค้าข้าวในประเทศและต่างประเทศ ก่อนที่นายชิต ไค จะเข้ามาโลดแล่นอยู่วงการธุรกิจค้าข้าว นั้นเขาทำธุรกิจภัตตาคาร ก่อสร้างและโรงแรมมาก่อน และแน่นอนว่า ต้องสานสัมพันธ์กับนายพลที่มีอำนาจในรัฐบาลทหารมาอย่างต่อเนื่องจนโดนสหรัฐอเมริกาและยุโรปบรรจุอยู่ในกลุ่มพ่อค้าต้องห้าม เช่นเดียวกับนักธุรกิจแถวหน้าของเมียนมาร์คนอื่น ๆ ปัจจุบัน นอกจากบริษัทค้าข้าวแล้ว นายชิต ไค ยังเป็นเจ้าของธุรกิจก่อสร้างในนามของบริษัทอีเดน กรุ๊ปฯ ซึ่งได้งานก่อสร้างสถานที่ราชการและบ้านพักข้าราชการบางส่วนในเมืองเนย์ปิตอว์ ภัตตาคารอีเดนบีบีบีเรสเตอรองต์ที่พุกาม ภัตตาคารซิกเนเจอเรสเตอรองต์ที่ย่างกุ้ง สนามกอล์ฟอิรทะยากอล์ฟ รีสอร์ตที่ตองยี โรงแรมทิงกาฮาโฮเต็ล ที่เนย์ปิตอว์ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์มารีน่าเรสิเดนซ์ที่ย่างกุ้ง โรงแรมอีเดนการ์เดนรีสอร์ตโฮเต็ลที่ตองยี อีเดนการ์เดนรีสอร์ตที่พุกาม อีเดนการ์เดนรีสอร์ตที่หาดงาปาลี ธนาคารเมียนมาร์ลีดดิ้งแบงก์ (เอ็มแอลบี) และสนามกอล์ฟโรยัลเมียนมาร์กอล์ฟแอนด์คันทรี่คลับที่เมืองเนย์ปิตอว์ บริษัทของเขามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการค้าของเมียร์มาร์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สื่อต่างชาติระบุว่า ไม่ค่อยมีคนรู้ว่านายชิต ไค มีสินทรัพย์เท่าไหร่เนื่องจากเป็นคนที่เก็บตัว แต่มีรายงานว่าตอนที่เขาซื้อมารีน่าเรซิเดนซ์ ซึ่งเป็นอพาร์ตเมนต์หรูหราให้ชาวต่างชาติเช่าในปี 2547 นั้นเขาจ่ายเงิน 4.8 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 144 ล้านบาทในอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) เป็นเงินสด ข้อมูลจากวิกิลีกส์ ระบุว่านายชิต ไค เกิดในปี 2491 ที่เขตอิรวดี เริ่มเข้าสู่ธุรกิจครั้งแรกเมื่อมีอายุกว่า 30 ปี โดยเปิดภัตตาคารชื่อ อีเดนเรสเตอต์รอง ที่ย่างกุ้ง และชอบเคลื่อนไหวทางการเมืองจนโดนจับติดคุกช่วงปลายทศวรรษ 1980 เนื่องจากไปร่วมกับกลุ่ม 888 ที่ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลแต่ติดคุกได้ไม่นานก็ได้รับการปล่อยตัวด้วยความช่วยเหลือจากบิดาซึ่งเป็นข้าราชการระดับกลาง จากนั้นจึงมุ่งทำธุรกิจอย่างเดียว นายชิต ไค ทำธุรกิจภัตตาคารได้ไม่นานก็พบว่าเขาสามารถทำเงินจากธุรกิจก่อสร้างได้มากกว่าภัตตาคารเยอะถ้ามีสายสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจ ทำให้เริ่มวิ่งเต้นเส้นสายจนได้ใกล้ชิดกับผู้นำรัฐบาลทหาร และในที่สุดบริษัทอีเดนฯก็ได้งานก่อสร้างมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศ โดยเป็นที่รู้กันว่าอีเดนกรุ๊ป เป็นบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ในเขตย่างกุ้งและพุกาม เมื่อรัฐบาลทหาร มีโครงการสร้างเมืองเนย์ปิตอว์ขึ้น บริษัทอีเดนฯก็เสนอตัวเข้าร่วมในการก่อสร้างเมืองใหม่ ร่วมกับนักธุรกิจชั้นนำที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลอีกหลายรายที่เสนอตัวร่วมสร้างเมืองใหม่ให้กับรัฐบาลทหารเช่นกัน วิกิลีกส์ระบุว่า งานก่อสร้างหลายงานที่นายชิต ไค ทำให้กับรัฐบาลนั้นไม่ได้เงินค่าจ้าง แต่รัฐบาลจะมอบสิทธิประโยชน์เป็นทรัพย์สินที่ดินให้ไปทำประโยชน์รวมทั้งสิทธิ์ในการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศเป็นการตอบแทนโดยมีรายงานว่าเขาได้รับสิทธิ์ในการนำเข้ารถเบนซ์และฮัมเมอร์ และนำไปขายต่อได้ราคาสูง ในปี 2551 มีรายงานว่านายชิต ไค ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัท เอเชีย เจเนอรัล อิเล็คทริคฯ (เอจีอี) ซึ่งเป็นบริษัทที่ผลิตหม้อแปลงและสวิตช์ไฟโดยในช่วงนี้เองกลุ่มอีเดน ขยายกิจการออกไปค่อนข้างหลากหลายทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและเข้าร่วมกับบริษัทของเวียดนามในการสำรวจและขุดเจาะหาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวเมาะตะมะ สื่อต่างประเทศรายงานว่า การทำธุรกิจของนายชิต ไค มีความหลากหลายเนื่องจากนักธุรกิจแถวหน้าของเมียนมาร์คนนี้ไม่ชอบทำธุรกิจที่แข่งขันโดยตรงกับนักธุรกิจชั้นนำอื่น ๆ โดยกลุ่มอีเดน มักจะทำธุรกิจที่กลุ่มอื่นไม่ทำ หรือในพื้นที่ที่กลุ่มอื่นไม่สนใจ และมีรายงานว่า เขามีธุรกิจค้าขายผ่านชายแดนจีนที่ทำเงินเป็นกอบเป็นกำอยู่ด้วยเช่นกัน นายชิต ไค แต่งงานแล้วกับนางคิน โซ วิน มีลูก 5 คน เป็นนักธุรกิจแถวหน้าคนหนึ่งของเมียนมาร์ที่เชื่อว่าในไม่ช้าจะก้าวขึ้นมาเป็นยักษ์ธุรกิจแห่งเออีซีอีกรายหนึ่ง จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,796 วันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
โดย
koschy
อาทิตย์ ธ.ค. 02, 2012 7:26 pm
0
1
Re: รวม "พม่า"
เปิดข้อกฎหมายลงทุนพม่า ก้าวแรกบนเส้นทางสู่ "ทุนนิยม" updated: 29 พ.ย. 2555 เวลา 10:57:34 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ ย่างกุ้ง ได้รายงาน กฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment Law หรือ FIL) กลับมายังกระทรวงพาณิชย์ โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากกฎหมายการลงทุนฉบับเดิม ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2531 เริ่มแก้ไขในคราว การประชุมรัฐสภาวาระที่ 4 ในเดือนกรกฎาคม 2555 โดยประธานาธิบดีเต็ง เส่ง ได้ให้ความเห็นชอบกฎหมายฉบับนี้ในวันที่ 7 ตุลาคม 2555 สาระสำคัญของกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ประกอบไปด้วย รูปแบบการลงทุน แบ่งเป็น 1) การลงทุน โดยต่างชาติ ถือหุ้น 100% กับการร่วมทุนโดยนักลงทุนต่างชาติต้องมีสัดส่วนการลงทุนร่วมไม่น้อยกว่า 35% ของมูลค่าการลงทุนรวม สามารถร่วมทุนได้ทั้งกับรัฐบาลเมียนมาร์ หรือร่วมทุนกับเอกชนเมียนมาร์ 2) สิทธิประโยชน์ ได้รับการ "ยกเว้น" ภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปีแรกนับจากปีที่เริ่มดำเนินการ แต่อาจขยายต่อไปได้เป็น 8 ปีแล้วแต่ประเภทกิจการ 3) สิทธิ์ในการเช่าที่ดิน ระยะเวลาการเช่าที่ดิน 30 ปี แต่สามารถต่อสัญญาได้อีก 1 ครั้ง รวมระยะเวลาการเช่าที่ดินต้องไม่เกิน 60 ปี นักลงทุนสามารถเช่าที่ดินได้จากทั้งรัฐบาล และเช่าที่ดินโดยตรงจากภาคเอกชนที่รัฐบาลสนับสนุน 4) การจ้างงาน ต้องจ้างชาวพม่าในตำแหน่งที่ไม่ต้องใช้ทักษะเป็นหลัก กำหนดสัดส่วนการจ้างงาน 5 ปีแรก 25%, ภายใน 10 ปี 50%, ภายใน 15 ปี 75% การจ้างงานคนพม่าจะต้องดำเนินการผ่านหน่วยงานของรัฐบาลหรือบริษัทจัดหางาน ท้องถิ่น 5) การให้หลักประกันนักลงทุน กม.ฉบับใหม่เพิ่มเติมข้อความว่า "กรณีที่มีการยึดกิจการกลับมาเป็นของรัฐบาล รัฐบาลจะพิจารณาจ่ายค่าชดเชยให้กับนักลงทุนตามมูลค่าราคาตลาดในขณะนั้น" และ 6) เงินตราต่างชาติ นักลงทุนสามารถใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วไป ปัจจุบันธนาคารกลางเมียนมาร์ได้ประกาศใช้ "อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ" มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 โดยมีการประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นประจำทุกวัน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือกฎหมายการลงทุนจากต่างประเทศ (FIL) ฉบับนี้แล้ว เมียนมาร์ยังมีระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนที่ผู้ประกอบการสามารถเข้าไป ประกอบธุรกิจในเมียนมาร์ ได้อีก 4 วิธีการ คือ -การยื่นขอ อนุมัติโครงการลงทุนต่อคณะกรรมการการลงทุนเมียนมาร์ (Myanmar Investment Commission หรือ MIC) ภายใต้กฎหมายการลงทุนฉบับเดิม มีเขตอุตสาหกรรม 23 แห่ง กับเขตอุตสาหกรรมบริเวณชายแดนอีก 3 แห่งไว้รองรับโครงการลงทุนของ MIC, -การยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัทจำกัด ภายใต้กฎหมายบริษัท (Myanmar Company Act of 1914) เพื่อดำเนินธุรกิจในลักษณะแต่งตั้งบุคคลหรือผู้ประกอบการเป็นตัวแทนธุรกิจ การจัดตั้งสำนักงานสาขาของบริษัทในเมียนมาร์ -การดำเนินกิจการเจ้าของ คนเดียวไม่ต้องยื่นขอจดทะเบียน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก อาทิ การเปิดร้านอาหาร -และการยื่นขออนุมัติโครงการลงทุนต่อคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก ปัจจุบันเมียนมาร์มีเขตเศษฐกิจพิเศษไว้รองรับการลงทุนประเภทนี้ 3 แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย, เขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะรัมรี และเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาลา สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาร์ในระหว่างปี 2531-เมษายน 2555 คิดเป็นมูลค่า 40,699 ล้านเหรียญ โดยจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาร์มากที่สุดถึง 20,268 ล้านเหรียญ (49.8%) รองลงมาได้แก่ ไทย 9,564 ล้านเหรียญ (23.5%) และเกาหลีใต้ 2,930 ล้านเหรียญ (7.2%) ตามลำดับ ด้านนายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และรองประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมาร์ กล่าวว่า แม้จะมีกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ออกมาบังคับใช้ แต่การลงทุนในเมียนมาร์ยังมีอุปสรรค เรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐานโดย เฉพาะไฟฟ้า, ระบบธนาคาร, การขาดแคลนแรงงานทักษะ, ข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมและธุรกิจสนับสนุน ตลอดจนตัวกฎหมายใหม่เองก็ยังไม่ชัดเจน ที่มา http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1354160150&grpid=no&catid=02&subcatid=0200
โดย
koschy
พฤหัสฯ. พ.ย. 29, 2012 4:34 pm
0
1
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
“หม่อมอุ๋ย” ชี้ 2 อุปสรรคใหญ่ขวางลงทุน ค้านท่าเรือ “ทวาย” ยืมจมูกคนอื่นหายใจ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 พฤศจิกายน 2555 13:51 น. “ปรีดิยาธร” ชี้แรงงานขาด-สิ่งแวดล้อม ถือเป็น 2 อุปสรรคใหญ่ขวางลงทุน “เมกะโปรเจกต์” แนะผ่าทางตัน “จีดีพี” หากต้องการให้โตเกิน 5% ต่อปี ต้องส่งเสริมให้เอกชนไทยสร้างฐานลงทุนนอกประเทศ แล้วปรับตัวเป็นผู้ค้าที่แท้จริง ค้านโครงการท่าเรือ “ทวาย” ถามรัฐทำไมต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงปาฐกถาหัวข้อ “เศรษฐกิจกับความมั่นคง” โดยมองว่า สภาพเศรษฐกิจไทยในขณะนี้กำลังเผชิญกับสองปัญหาสำคัญ คือ การขาดแคลนแรงงาน และปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้การลงทุนขนาดใหญ่ในประเทศไม่สามารถเกิดขึ้นได้เหมือนเช่นอดีต ซึ่งปัญหานี้ถือเป็นตัวบั่นทอนศักยภาพเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว “ถ้าไทยยังอยู่แบบนี้ อย่างเก่งเศรษฐกิจไทยจะได้แค่ 3-5% ต่อปี ซึ่งจริงๆ แล้วเรามีศักยภาพจะโตได้ถึง 6-7% ต่อปี แต่การจะไปถึงจุดนั้นเราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นประเทศที่ค้าขายให้ได้” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า การแปลงตัวเองให้เป็นประเทศที่เชี่ยวชาญการค้าโลกนั้น (เทรดดิงเนชัน) ไทยต้องเริ่มปรับตัวเองให้เป็นผู้ค้าที่แท้จริง เมื่อผลิตในประเทศไม่ได้แล้ว ค่าแรงแพง โดนประท้วง ก็ต้องออกไปตั้งฐานการผลิตในประเทศอื่นเพื่อสร้างฐานการค้า ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศจะต้องปรับตัวเองให้อยู่ในรูปซื้อมาขายไป หรือเน้นธุรกิจบริการ ต้องใช้ข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ “เรามีปัจจัยที่เอื้อมากในการเป็นเทรดดิงเนชัน ทั้งภูมิศาสตร์ที่อยู่กึ่งกลาง มีสินค้าระดับชั้นนำของโลกหลายอย่าง ข้าว น้ำตาล อาหารทะเล รถยนต์ และเรากำลังจะมีเส้นทางคมนาคมทางบก และรางที่เชื่อมโยงกับเพื่อนบ้าน ถ้าทำให้ดีเราจะก้าวกระโดดขึ้นมาได้อีกครั้ง” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวว่า นอกจากการพัฒนาระบบการขนส่งทางบก และรางแล้ว ไทยควรเร่งพัฒนาท่าเรือน้ำลึกโดยเฉพาะในฝั่งทะเลอันดามันเพื่อเป็นประตูตะวันตก เพื่อแบ่งเบาภาระท่าเรือแหลมฉบังที่ปัจจุบันใกล้เต็มความจุแล้ว ทั้งนี้ เชื่อว่าหากไทยมีท่าเรือทั้งสองฝั่งทะเล จะทำให้ปริมาณการค้าไทยเติบโตขึ้นอย่างมาก “มีคนถามว่าทำไมไม่รอท่าเรือทวาย แต่ผมกลับมองว่าทำไมเราไม่ขยายปากบารา ทำไมเราต้องไปยืมจมูกคนอื่นหายใจ ท่าเรือทวายตอนนี้ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง แต่ถ้าพัฒนาปากบาราภายใน 2-3 ปี เราจะได้ใช้ ถ้าปากบาราเกิด ผมเชื่อว่าเราโตได้เหมือนเมื่อครั้งเกิดอีสเทิร์นซีบอร์ด” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวทิ้งท้าย ที่มา http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000140721
โดย
koschy
พฤหัสฯ. พ.ย. 29, 2012 12:20 am
0
0
Re: รวมข่าวท่าเรือน้ำลึกทวาย
“โกร่ง” ฟันธงลงทุนภาครัฐ 2.27 ล้านล้านทำได้จริง ยันเงินออมมีเพียบ-ไม่ต้องกู้นอก โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 พฤศจิกายน 2555 09:10 น. “วีระพงษ์” ลั่นโครงการลงทุนภาครัฐ 2.27 ล้านล้านบาทต้องเกิดได้แน่นอน ยันไม่ต้องกู้นอกเพราะในประเทศมีเงินออมเพียงพอ เผยนักลงทุนญี่ปุ่นกำลังแห่กลับไทยเพราะกระทบจากเหตุการณ์สึนามิทำให้ประชาชนต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ส่งผลให้ญี่ปุ่นขาดแคลนพลังงานในการผลิต ขณะที่การย้ายฐานไปจีนทำได้ยาก พร้อมระบุโครงการทวายไทยได้ประโยชน์มหาศาล นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า มีแนวโน้มว่าญี่ปุ่นจะกลับมาลงทุนในไทยครั้งใหญ่อีกครั้ง เนื่องจากตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่นครั้งที่ผ่านมาทำให้เกิดกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ครั้งนั้นเกิดเหตุระเบิดขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นจะถูกปิด ส่งผลให้พลังงานในญี่ปุ่นอาจจะขาดแคลน ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งในญี่ปุ่นอาจจะย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ตอนนี้ในประเทศญี่ปุ่นกำลังมีกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกิดขึ้น คาดว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นอาจถูกปิด ทำให้การผลิตพลังงานในญี่ปุ่นไม่พอใช้ โรงงานอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นอาจย้ายฐานการผลิตมาไทย เพราะคงไม่ไปจีนเนื่องจากข้อพิพาทในการช่วงชิงกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะเตียวหยูระหว่างญี่ปุ่นกับจีนรุนแรงขึ้น พนักงานชาวจีนในบริษัทเอกชนญี่ปุ่นที่ตั้งในจีนก่อเหตุทำร้ายผู้บริหารชาวญี่ปุ่น และกระแสต่อต้านบริษัทญี่ปุ่นในจีนก็รุนแรงขึ้น ทั้งนี้ ในส่วนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 2.27 ล้านล้านบาท และโครงการปรับปรุงระบบน้ำมูลค่า 350,000 ล้านบาทของรัฐบาลยังไงก็คงต้องเกิดขึ้น โดยเม็ดเงินการลงทุนจริงอาจออกมาในปีหน้า และปี 2557 ซึ่งประเทศไทยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ เพราะในประเทศมีการออมมากกว่าการลงทุนมานานมากกว่า 15 ปี ทำให้มีเงินลงทุนเพียงพอ นอกจากนี้ ยังมองว่านิคมอุตสาหกรรมทวายของพม่าที่กำลังจะเกิดประเทศไทยจะได้ประโยชน์ เพราะจีนต้องหาทางเชื่อมต่อเพื่อออกมาสู่ทะเลอ่าวไทย หลังจากที่สามารถเชื่อมต่อหาทางออกมาทะเลอันดามันได้ผ่านทางเมืองคุนหมิง ทะลุถึงเมืองย่างกุ้งของพม่า ถ้าทวายเกิดจะเกิดการเชื่อมต่อมาจากเมืองคุนหมิงเข้าสู่ทวาย ทะลุหลวงน้ำทาในหนองคาย เข้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและแหลมฉบัง ไทยจะได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อครั้งนี้มากที่สุด แต่ต้องขึ้นอยู่กับการผสานผลประโยชน์ร่วมกับรัฐบาลพม่า ไม่ใช่การทะเลาะกัน ที่มา http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000139985
โดย
koschy
พฤหัสฯ. พ.ย. 29, 2012 12:16 am
0
0
102 โพสต์
of 3
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
koschy
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
จันทร์ ก.ค. 16, 2012 3:41 pm
ใช้งานล่าสุด:
อังคาร ต.ค. 03, 2017 3:50 pm
โพสต์ทั้งหมด:
426 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.02% จากโพสทั้งหมด / 0.09 ข้อความต่อวัน)
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว