-
-
usa.s
Joined: จันทร์ มี.ค. 26, 2012 11:11 pm
-
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - usa.s
-
-
Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด
ขอสรุปตามความเข้าใจของผมล่ะ
ถ้าเป็นกรณีของการรวมพาร์และแตกพาร์ ให้คิดเสมือนกิจกรรมดังกล่าวดำเนินการ ณ ต้นปีของงบการเงินนั้นๆเลย (ไม่มีผลของด้านเวลามาคำนวณ)
แต่ถ้าเป็นกรณีของการปันผลด้วยหุ้น หรือ เพิ่มทุน ในระหว่างงบการเงิน อันนี้คิดตามสัดส่วนของเวลาที่หุ้นเพิ่มทุน หรือ หุ้นปันผลนั้นคงเหลือในปีของงบการเงินนั้น (มีผลไม่เต็มปี) จึงเอามารวมกับปริมาณหุ้นเดิมที่มีอยู่แล้วนำมาคิดเป็นตัวส่วนของ กำไรต่อหุ้นพื้นฐาน ต่อไป ใช่หรือไม่ครับ
:)
การรวมพาร์ การแตกพาร์ และการปันผลด้วยหุ้นนั้น ให้คิดเสมือนทำตั้งแต่วันแรกของปีทั้งหมดค่ะ แต่ในกรณีที่เพิ่มทุน หรือซื้อหุ้นคืนนั้นที่เราจะคิดตามสัดส่วนเวลาจริงคือมีผลไม่เต็มปีค่ะ
ทั้งนี้จะยกตัวอย่างในกรณีของการปันผลหุ้นให้ดูค่ะ สมมติใน 1 ปีบริษัทมีกิจกรรมเกี่ยวกับทุนดังนี้
1 มกราคม: จำนวนหุ้นที่ถือเริ่ม เป็น 150,000 หุ้น
1 พฤษภาคม: ซื้อหุ้นคืน 30,000 หุ้น กลายเป็น 150,000 – 30,000 = 120,000 หุ้น
1 กรกฎาคม: ปันผลหุ้น 50% ต้องออกหุ้นเพิ่ม = (150,000-30,000) *50% = 60,000 หุ้น
กลายเป็น = 120,000 + 60,000 = 180,000 หุ้น
1 พฤศจิกายน: ออกทุนเพิ่ม 30,000 หุ้น กลายเป็น 180,000 + 30,000 = 210,000 หุ้น
1 ธันวาคม: จำนวนหุ้น ณ วันสิ้นปี กลายเป็น 210,000 หุ้น
การคิดจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วในกรณีนี้จะเป็นไปตามนี้ค่า
1 มกราคม : (จำนวนหุ้น: 150,000) * (factor ส่วนของหุ้นปันผล: 1.5) * (อัตราส่วนเวลา: 2/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = 25,000
1 พฤษภาคม: (จำนวนหุ้น: 120,000) * (factor ส่วนของหุ้นปันผล: 1.5) * (อัตราส่วนเวลา: 3/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = 45,000
1 กรกฎาคม: (จำนวนหุ้น: 180,000) * (อัตราส่วนเวลา: 5/12 )
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = (A *B*C)= 75,000
1 พฤศจิกายน: (จำนวนหุ้น: 210,000) * (อัตราส่วนเวลา: 2/12)
จำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก = (A *B*C)= 35,000
ดังนั้นจำนวนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้ว สำหรับปี คือผลรวมของทั้งหมด 25,000+45,000+75,000+35,000 = 180,000 หุ้น
สังเกตว่า เราต้องคูณจำนวนหุ้นที่เรามีก่อนหน้าวันออกปันผล คือออกวันที่ 1 มกราคม และ1 พฤษภาคม ด้วยเลข 1.5 เพื่อทำให้เป็นเสมือนว่าหุ้นที่ออกปันผลได้มีมมาตั้งแต่ต้นปีค่ะ
โดย usa.s อังคาร เม.ย. 03, 2012 10:50 pm
- 0
- 5
-
-
Re: สาระน่ารู้: กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลด
เนื่องจากกำไรต่อหุ้นปรับลดนั้นมีผลกระทบจากการที่บริษัทออก Warrant ,ออก ESOP หรือออก หุ้นกู้แปลงสิทธิ ,หุ้นบุริมสิทธิ์แปลงสภาพ ซึ่งกระทบโดยตรง
แต่คำถามของผมคือ
หากบริษัทมีการแตกพาร์ หรือรวมพาร์ มันหารคือจำนวนหุ้นที่นำมาใช้เป็นตัวหารกำไรต่อหุ้นเปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นมีผลกระทบต่อ กำไรต่อหุ้นพื้นฐาน และ กำไรต่อหุ้นปรับลด อย่างไง
ในสว่นของการแตกพาร์ ทำให้กำไรต่อหุ้นพื้นฐานดูเหมือนลดลงแต่จริงๆมันเท่าเดิม เพราะสัดส่วนของหุ้นมันเพิ่มขึ้น
แต่ในส่วนของการรวมพาร์ เช่น พาร์ 0.1 บาท เป็น พาร์ 1 บาท รวมจาก 10 หุ้นเดิมเป็น 1 หุ้นใหญ่ ส่วนนี้มีผลกระทบอย่างไงละครับ
:)
ขอบคุณสำหรับคำถามนะคะ :D
ก่อนอื่นขออนุญาตตอบเฉพาะผลกระทบจากการคำนวณทางบัญชีนะคะ สำหรับการวิเคราะห์ เพื่อการลงทุนอื่นๆ ขออ้างอิงไปที่กระทู้ของอาจารย์ sun_cisa2 นะคะ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=46&t=51694
ในการรวมพาร์(reverse stock split)นั้น ผู้ถือหุ้นจะมีจำนวนหุ้นลดลงตามสัดส่วนเดิม เช่นตัวอย่างจากที่คุณ miracle ยกมาคือ จากเดิม 1 หุ้นพาร์ 0.1 บาท เมื่อมีการรวมหุ้น 1 ต่อ 10 จะทำให้ทุกๆหุ้นสามัญจำนวน 10 หุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีกลายเป็นหุ้นใหญ่หุ้นเดียว พาร์ 1 บาท นั่นหมายถึงจำนวนหุ้นสามัญของบริษัทที่ปรากฎในงบการเงินหลังการรวมพาร์ จะน้อยลง 10 เท่า (หาร 10 ของจำนวนเดิม) กำไรเฉลี่ยต่อหุ้นก็จะมากขึ้น 10 เท่าด้วย ถ้าตัวเลขอื่นๆไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เช่นถ้าบริษัทมีกำไรส่วนของหุ้นสามัญ 10 ล้านบาท จำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว มี 10 ล้านหุ้น กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานก็จะเป็น 1 บาทต่อหุ้นสามัญ
หากบริษัทมีการรวมพาร์ 1 ต่อ 10 ในระหว่างปี จำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว ก็จะมีค่าเป็น 1 ล้านหุ้นแทน กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานก็จะกลายเป็น 10 บาทต่อหุ้น (เวลาคิด weighted average ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้ว ให้ทำเสมือนว่าการรวมพาร์ทำมาตั้งแต่วันแรกของปีเสมอ แม้ว่าการรวมจริงๆเกิดขึ้นเมื่อไหร่ในปีก็ตาม)
กำไรต่อหุ้นนั้นเปรียบเสมือนเป็นค่าที่บ่งบอกว่าบริษัทได้กำไรเท่าไหร่เมื่อเฉลี่ยต่อหุ้นสามัญหนึ่งหุ้น เมื่อกำไรต่อหุ้นมากขึ้นเพราะการรวมพาร์ ก็เหมือนว่าหุ้นที่เราถือตัวใหญ่ขึ้น มีค่า ทั้งราคาพาร์ ราคาซื้อขายหุ้น รวมถึงกำไรต่อหุ้น มากขึ้น แต่ถ้าเราไม่ได้ซื้อหรือขายเพิ่มจากเดิม มูลค่าพาร์ของหุ้นทั้งหมดที่เราถือของบริษัท ทั้งก่อนและหลังการรวมพาร์ก็ยังมีค่าเท่าเดิมอยู่ดีค่ะ
การคิดกำไรต่อหุ้นปรับลดก็จะใช้วิธีคิดในลักษณะเดิมค่ะ เพียงแค่ใช้การปรับปรุงจาก จำนวน weighted average ที่ได้ใหม่จากการรวมพาร์ และใช้การคำนวณจำนวนหุ้นสามัญที่คาดว่าจะต้องออกในอนาคตตามจำนวนสัดส่วนที่เราได้รวมพาร์ไปค่ะ
สมมติว่ามีหุ้นกู้แปลงสิทธิ 1,000,000 หุ้น ซึ่งสามารถแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ 1 ต่อ 1 ก่อนการรวมพาร์ ถ้าดูตัวอย่างที่เพิ่งยกไป จำนวนหุ้นสามัญที่จะนำมาคิดกำไรต่อหุ้นปรับลดหลังรวมพาร์ จะใช้ตัวเลข 1,000,000/10 = 100,000 หุ้น
ซึ่งนำไปปรับได้เป็น 1,000,000+100,000 หรือ 1,100,000 หุ้น นำไปหารออกจากกำไรสุทธิส่วนของหุ้นสามัญ 10 ล้านบาทที่ต้องปรับผลกระทบของหุ้นกู้แปลงสิทธิ์นี้ออกไป จะได้กำไรต่อหุ้นปรับลดหลังรวมพาร์ค่ะ
โดยการคำนวณ weighted average สำหรับคำนวณกำไรต่อหุ้นใหม่ สำหรับหุ้นปันผล(stock dividend) หรือการแตกพาร์(stock split) ก็คิดในลักษณะเดียวกันค่า
โดย usa.s อาทิตย์ เม.ย. 01, 2012 12:30 am
- 0
- 3
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว