หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
sun_cisa2
Joined: จันทร์ มี.ค. 26, 2012 10:59 pm
121
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - sun_cisa2
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
มีอะไรก็ถามเข้ามาได้ ถ้าชอบแนววิชาการจะตอบให้ อาจยาวสักหน่อย เพราะหาก concept ดี เมื่อเจอเหตุปัจจัยต่างๆ จะได้คิดต่ออย่างถูกต้อง การตอบสั้นๆ ตรงๆ ที่เห็นมา มักจะไปคิดต่อแบบออกหลักการไป เมื่อเริ่มต้นผิดอาจจะไปต่อแบบผิด แต่งกรณีฟลุ๊คถูก แต่ด้วยเหตุผลที่ใช้จะไม่ถูกตลอด ทำให้บางสถานการณตอบเหตุผลตนเองไม่ได้ว่า ตลาดหุ้นเป็นเช่นนั้นเพราะอะไร แม้การตอบในที่นี้จะมีพื้นที่จำกัด และผมก็พิมพ์ช้าแต่จะพยายามเท่าที่โอกาสและเวลาพออำนวย
โดย
sun_cisa2
อาทิตย์ ก.ย. 16, 2012 2:21 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ลองมาดูตัวอย่างสภาวการณ์ต่างไ ที่ชักนำแนวโน้มการตกแต่งตัวเลข (บางเรื่องไม่ได้ผดทางถฎหมายหรือเอาผิดไม่ได้ก็มี) เช่น -กิจการกำลังเตรียมตัวทำ IPO หุ้น แรงจูงใจ ที่จะนำเสนอภาพผลประกอบการที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุดเพื่อที่จะทำให้ระดับของราคาหุ้นที่ออกขายสูงที่สุด -กิจการตกเป็นเป้าหมาย ที่เป็นไปได้สำหรับการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองในทางลบอันเป็นผลมาจากขนาดหรือการเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมหรือทั้งสองอย่าง แรงจูงใจที่จะลดต้นทุนทางการเมืองอันเกิดจากขนาดหรือการเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมโดยหลีกเลี่ยงการแสดงระดับกำไรที่สูงเกินไป พากนี้มักเชื่อมโยงหรือหากินกับนักการเมืองหรือนโยบายการเมือง -ผลประกอบการค่อนข้างที่จะสูงหรือต่ำกว่าแนวโน้มผลประกอบการในระยะยาวที่ฝ่ายบริหารมุ่งหวังที่จะให้เกิดขึ้นเป็นประจำ แรงจูงใจที่จะหลีกเลี่ยงการตอบสนองของตลาดในทางลบต่อผลประกอบการที่หลุดออกนอกแนวโน้มชั่วคราว ตอนนี้ต้องระวังกิจการที่ส่งออก เพราะปีนี้น่าจะเลวร้ายมากๆ หลายบริษัทอาจต้องพยายามทำให้ดูลดลงไมมาก คิดว่าไม่มำให้โตเพราะจะผิกปกติเกินไป แต่ทำให้ดูแย่ไม่มากกว่าที่ควรเป็น การเปลี่ยนแปลงในฝ่ายบริหารระดับสูงเกิดขึ้น แรงจูงใจที่จะตัดจำหน่ายรายการเป็นปริมาณมหาศาลทันทีที่ฝ่ายบริหารชุดใหม่เริ่มเข้าบริหารงานเพื่อบรรเทาผลกระทบในอนาคตที่จะเกิดจากรายการตัดจำหน่ายดังกล่าว และโยนความผิดให้กับฝ่ายบริหารชุดเดิมที่ออกไป ผมกำลังเพ่งเล็งหุ้นการบินที่มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารอันมาจากการเมือง เอาพอหอมปากหอมคอครับ มีอีกเยอะมาก เรียนกันจริงๆ แล้ว 2-3 วันก็ไม่พอเอาตัวอย่างทั้งในและนอก คงต้องทั้งสัปดาห์
โดย
sun_cisa2
ศุกร์ ก.ย. 14, 2012 6:37 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
การตรวจจับกลโกงนั้น สามรถทำได้โดยการใช้อัตราส่วนทางการเงิน และสิ่งแวดล้อนที่จูงใจประกอบ โดยหลักการนั้นที่แรงจูงใจอันเป็นเหตุให้บริษัทตบแตงตัวเลขคือ -อัตราส่วนหนี้ต่อทุนสูงหรือมีแนวโน้มสูงขึ้น -มีผลขาดทุนสะสมต่อเนื่องหลายงวดบัญชีติดต่อกัน -มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบต่อเนื่องหลายงวดบัญชี -อัตรากำไรขั้นต้นมีแนวโน้มลดต่ำลง -อุตสาหกรรมมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น หรือรายได้ของอุตสาหกรรมเริ่มผันผวน ซึ่งมาจากทั้งด้าน demand, price or foreign exchange -มีรายการ Contingent liabilities (หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น) -มีข้อบ่งชี้ว่าน่าจะเกิดการด้อยค่าในสินทรัพย์ -งบการเงินมีรายการที่เข้าใจยากในการทำธุรกรรม (ซับซ้อนเกินจำเป็น) ในทางทฤษฎีของการทำ creative accounting มีอยู่ 5 สมมติฐาน 1. Agency Theory ทฤษฎีตัวแทน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์หรือผลประโยชน์ทับซ้อน ระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหาร ผู้ที่เป็นผู้บริหาร (และอาจถือหุ้นด้วย) ต้องการผลตอบแทนมากๆ ทั้งเงินเดือนสวัสดิการ โบนัส ขณะที่ผู้ถือหุ้นอยากเห็นกำไรมากๆ ราคาหุ้นจะได้ขึ้นมากๆ 2. The political cost hypothesis ต้นทุนทางการเมือง บางธุรกิจดำรงอยู่ได้เพราะการจ่ายเงินใต้โต๊ะ เงินดังกล่าวไม่สามารถเปิดเผย ดังนั้นจะสร้างภาพให้งบการเงินดูดีและสามารถชดเชยต้นทุนที่จ่ายไป ผ่านราคาหุ้น 3. The bonus plan hypothesis ผู้บริหารสร้างภาพกำไรเพราะหวังประโยชน์จากโบนัสที่จะได้ตามผลงาน 4. The debt covenant hypothesisแ กิจการสร้างภาพให้ดูดีเพราะต้องการรักษาสถานะภาพให้ดูดีต่อเจ้าหนี้หุ้นกู้หรือเงินกู้จากสถาบันการเงิน พยายามให้ไม่ผิดเงื่อนไขการกู้ หรือสามารถรักษาอำนาจการกู้ต่อไป 5. Poor management กิจการที่มีการบริหารงานที่แย่ต้องการกลบความไม่สามารถตนเองโดยการสร้างกำไร เป้าหมายการตกแต่งบัญชีดังกล่าวอาจกำหนดจาก -ฝ่ายบริหารที่กำหนดเป้าหมายไว้สูง จะพยายามทำให้ได้ตามเป้าหมาย เวลาไป company visit มักให้เป้าดูดีไว้ล่วงหน้า -ตัวเลขพยากรณ์ที่นักวิเคราะห์จัดทำขึ้น บางครั้งตลาดคาดหวังว่าจะมีกำไรมาก ส่วนมากมาจากนักวิเคราะห์ที่คาดการณณ์ดูดีจากตัวเลขอดีต ฝ่ายบริหารพยายามทำให้ตัวเลขใกล้เคียงเป้าหมายเพื่อจะได้รับคำแนะนำจากนักวิเคราะห์ว่าให้ซื้อหรือถือต่อ -จำนวนที่สะท้อนกระแสกำไรที่เกิดขึ้นเป็นประจำและราบเรียบ ( ไม่ขึ้นไม่ลง ) ยิ่งขึ้น วิธีนี้บางครั้งเรียกว่าเป็นการทำ earning management กิจการที่กำไรโตแบบมั่นคงไม่กระโดดหวือหวา ในทางทฤษฎีแล้วถือว่ามี risk ต่ำ และคาดการณ์ได้ดี นักวิเคราะห์ นักลงทุนชอบ ทำ DCF ง่าย จึงพยามยามปั้นแต่งตัวเลขโยกไปมาระหว่างงวดให้ดูมีกำไรที่โตดูราบเรียบ นี่คือส่วนหนึ่งของสถานการณ์ที่นำไปสู่การตกแต่งข้อมูลรายงานการเงิน เจออะไรที่คล้ายๆอย่างนี้ก็ต้องระวังมากขึ้นในการอ่าตัวเลข แต่อย่าลืมนะครับที่เราสงสัยนั้นอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ รู้ 100% ทันทียากครับ เพราะต้องไปดูเชิงลึก ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้สอบบัญชี และฝ่ายกำกับฯ แต่ถ้ารอเขาตรวจชัดๆ เราก็อาจเจ็บไปแล้วเต็มๆ เวลาผมวิเคราะห์ถ้าเจอสถานะการณ์ที่น่าเชื่อว่าอาจนำไปสู่การตกแต่งตัวเลขจะระวัง เช่นกิจการหนึ่งดูดีมาก แต่สถานการณ์บางอย่างบ่งชี้ว่าอาจนำไปสู่การตกแต่งตัวเลข ถ้ามีความเป็นไปได้แต่น้อยอาจลงทุนน้อยลงจากที่ตั้งใจและใช้วิธีทะยอยเก็บแบบระวังมากกว่า ตั้งเป้าเก็บ 100 หุ้นอาจซื้อแค่ 50% มีเหตุการณ์ที่บ่งชี้ว่า อาจจะเกิดได้มากกว่า 25% แต่ไม่มากกว่า 50% เป็นต้น แต่ถ้าเราเชื่อว่าไม่น่าเกิดก็ลงทุนตามที่ตั้งใจ จึงะเห็นได้ว่า ขึ้นกับวิจารณญาณแต่ละคนถึงบอกว่ามันคือศิลปะ ต้องอาศัยประสบการณ์ด้วย
โดย
sun_cisa2
ศุกร์ ก.ย. 14, 2012 6:16 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
มาต่อกันนะครับ ในแบบที่สามที่บอกว่าบริษัทในตลาดไม่คอยทำ ไม่ใช่ว่าไม่มีเลยแต่วิธีนี้ใช้กัยรายการประเภทรายจ่ายที่มักเกิดจากการประมาณการ ประเภทจ่ายจริง ลงจริงเสมอเพราะเงินมันจ่ายออกไปแล้วก็ต้องเครดิตครับ แต่ถ้าลงตรงลงถูกก็ปกติถ้าลงผิดกลุ่มผิดประเภทก็เข้าข้ายแบบสอง ส่วนประมาณการนี่เกิดจาบริษัทตั้งเองลงจ่ายเองในงบ ซึ่งมักไม่อยากลงเพราะกระทบกำไรพวกนี้เป็นแบบ under-reported expenses, Shifting or Moving expenses วิธีการนี้เจอเยอะมากเพราะแต่กำไรโดยตรง เจ้าของยอมเสียภาษีแต่หุ้นขึ้น หักลบแล้วคุ้มครับ กำไรเพิ่มจากรายจ่ายลดลงเสียภาษีไป 30% (เดี๋ยวนี้เหลือ23%) แต่หุ้นขึ้นมากกว่านั้นคุ้ม ถ้าเป็นรายได้แล้วไม่ลงบัญชีบิลดึงออกจากระบบตรวจโดยการวิเคราะห์งบยาก ทางสรรพกรเลยต้องลงมุยทำระบบจับคู่ VAT ไงครับแต่ก็ยังมีเล็ดรอดโกงภาษีอยู่ เทคนิคพวกนี้ขอไม่เล่าครับ หังมันยาว แต่ในการวิเคราะห์หา under-reported expenses, Shifting or Moving expenses ใช้อ่านจากงบเจอยากคับ แต่ถ้าเอามาทำอัตราส่วน จะเห็นง่าย รายการใดบ้างที่มีคู่บัญชีปรับมูลค่าก็มักจะพบเจอบ่อย เช่น ลูกหนี้ (ค่าเผื่อหนี้สงสัยฯ) สินค้า (ค่าเผื่อมูลค่าราคาหรือล้าสมัย) เงินลงทุนเผื่อขายทั้งยาว-สั้น (ราคาตลาดต่ำกว่าทุน) หรือเงินลงทุนทั่วไป (ค่าเผื่อการด้อยค่า) ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ (ค่าเผื่อการด้อยค่า) ค่านิยม (ไม่หักด้อยค่าลง) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น ค่า R&D ค่าลิขสิทธิ์ สิธิบัตรต่างๆ ไม่ตั้งหักค่าเผื่อการด้อยค่า รายการเหล่านี้มักจะถูกฟ้องในอัตราส่วนทางการเงิน ในทางบัญชีเจ้าของจะพยายามแถไปเรื่อย ลูกหนี้ยังเก็บตังได้อยู่ สินค้ายังขายได้ เดี๋ยวนี้ผู้สอบบัญชีเขี้ยวขึ้นมาก ไม่ตั้งออกงบมีเงื่อนไข ส่วนใหญ่ก็จะยอมตั้งแต่ต่องรองให้ตั้งน้อยที่สุดเท่าที่ผู้สอบฯยอมรับได้ที่จะไม่ถูกเอาผิดจาก กลต แต่เราในฐานะนักลงทุนถ้าวิเคราะห็แล้วเห็นว่ารอบเก็บเงินมันยังยาวกว่าอุตสาหกรรม สินค้าหมุนนนานเกินไป เราก็ปรับเองได้อีก รายการในสินทรัพย์หมุนเวียนใช้อัตราส่วน turnover ครวจสอบก็จะพบได้ไม่ยาก พวกนี้ขายหลอกๆก้เห็นชัดครับ ลองไปดู รอยเน็ต ปิคนิค ยานภัณฑ์ เอ็นรอน ชัดครับ ส่วนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ดูอัตราส่วนภาพรวม สองค่าคือ asset turnover กับ ROA หรือ FAT-fixed asset turnover, ROFA-return on fixed asset และแนวโน้มกับ common size ถ้าถาพรวม AT (FAT) และ ROA (ROFA) ลดลงอย่างเร็วและสัดส่วน (C-size) สูงกว่าอดีต แนวโน้มก็พุ่งขึ้น สงสัยไว้ก่อนเลยว่ามูลค่าสินทรัพย์สูงเกินจริงไม่ตั้งด้อยค่า ตามไปดูลึกๆหมายเหตุประกอบงบการเงินบอกที่มาที่ไปอย่างไร make sense ไหม เข้าใจไหม ถ้าไม่รู้เรื่องก็อย่ายุ่งปลอดภัยดี เพราะคนทำอะไรไม่รู้เรื่องแสดงว่าเรื่องนั้นมันยากจริงๆ หรืออาจมีอะไรปกปิดได้ ของดีควรโปร่งใสบอกได้ เข้าใจได้ นี่คือแนวทางหลักๆที่นำไปประยุกต์ใช้ได้ครับ
โดย
sun_cisa2
พฤหัสฯ. ก.ย. 13, 2012 3:58 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
เรื่องการตกแต่งบัญชีเป็นเรื่องที่นักบัญชีถึงกับใช้คำว่า Creative accounting คำๆนี้เป็นได้ทั้งบวกและลบ ท้งถูกและผิดตามหลักบัญชี (หรือมาตรฐานบัญชี) หนังสือต่างประเทศในเรื่องนี้ก็มี Financial Shenanigans กับ Creative accounting-DetectingFinShenanigans ซึ่งสามารถ download จาก internet ได้ ความรู้เรื่องเหล่านี้ลองไป search ดูใช้ key words Financial Shenanigans หรือ Creative accounting จะมีให้เลือกอ่านมากมายครับ ในส่วนตัวผมทั้งจากประสบการณ์จริง ไม่ว่าเป็นที่ปรึกษาหรือในการวิเคราะห์บริษัทและหุ้น ตลอดจนการบรรยายด้านนี้ มันมีการวิวัฒน์ตามตลาดทุน ยิ่งตลาดมีการสร้างนวัตกรรมทงการเงินหรือ financial engineering มากเท่าใด การทำ Creative accounting ก็ยิ่งมากขึ้น มาตรฐานการบัญชีตามหลังตลอด แต่พบว่าการวิเคราะห์การเงิน ไม่ว่าจะเป็น trend analysis Common size หรือ financial ratios หากเข้าใจอย่างแท้จริง (ซึ่งไม่ใช่แค่เอาค่ามาใส่ตามสูตรดังที่เรียนกันมา) สามารถหาความไม่ชอบมาพากลได้ การวิเคราะห์ทางการเงินที่บอกมานั้นไม่ได้อ่านกันพื้นๆอย่างที่เข้าใจ มันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ดูเหมือนยา แต่ก็ไม่ยากเกินกว่าที่คิด โดยปกติการตกแต่งบถ้าตามตำราของนักบัญชี มีหลากหลายวิธี เช่น แต่งรายได้ แต่งค่าใช้จ่าย แต่งสินทรัพย์ เป็นต้น ถ้าในหลักของ Shenanigans ก็มีทั้งเรื่อง overstated revenue, under-reported expenses, Shifting or Moving expenses and revenue to futures or current perriod เป็นต้น แต่ม่ว่าจะมองแบบใด เรื่องแรกคือ ให้ยึดสมการบัญชีไว้ให้แม่นเสมอ เรื่องนี้ง่าย แต่คนทั่วไปและนักบัญชีมักมองข้ามไป มักสนใจแต่วิธีการลงบัญชี ซึ่งไม่จำเป็นเท่าไรเลย การแต่งข้อมูลหลักๆแล้ว มีอยู่ 3 ทางคือ 1 ข้อมูลบันทึก แต่จงใจจัดผิดประเภท หรือ ทำ Clssification พวกนี้รายการเกิดจริง แต่ลงไม่เป็นไปตามเหตุการณ์ที่เกิด เช่นจ่ายเงินจริง แต่ลงรายการจากการจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นสินทรัพย์ พวกนี้ก็จะเป็นการแต่งค่าใช้จ่าย แต่งสินทรัพย์ under-reported expenses, Shifting or Moving expenses ถ้าสังเกตให้ดี จากสมการบัญชี สทหมุนเวียน+สทไม่หมุนเวียน = นสหมุนเวียน+นสไม่หมุนเวียน+ หุ้นทุน+กำไรสะสม(ต้นงวด)+(รายได้-คชจ) อาจเขียนเป็น สทหมุนเวียน+สทไม่หมุนเวียน+คชจ = นสหมุนเวียน+นสไม่หมุนเวียน+ หุ้นทุน+กำไรสะสม(ต้นงวด)+รายได้ CA +NCA = CL + NCL + CS + RE +(Rev-EXP) CA +NCA+EXP = CL + NCL + CS + RE +Rev ในโลกการบัญชีมีประเภทกลุ่มรายการอยู่ 5 ประเภทเท่านั้น สท นส ทุน รายได้ คชจ สองตัวหลังคือส่วนหนึ่งของทุน ในการวางระบบบัญชีถ้าจะจัดรหัสบัญชีเป็น 5 กลุ่ม พวกรายการปรับมูลค่า เช่น ค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ฯลฯ โดยนัยมันก็อยู่คู่ไปกับรายการ สท นั้น ผมก็จะจัดมันอยู่ในกลุ่มนั้น คราวนี้มาสังเกตสมการบัญชี มันถูกบังคับให้สมดุลซ้ายขวาตลอด ถ้าลงรายการเมื่อเกิดรายการแล้วลงก็อยู่ที่จะจัดยัดตัวเลขเป็นอะไรเท่านั้น เงินสดออก แต่อาจไปงอกเป็นสินทรัพย์อื่นแทนที่จะเป็น คชจ หรือร้ายกว่านั้นเอาไปลดหนี้เลยก็ได้ เป็นต้น พวกนี้เกิดบ่อยมีทั้งตั้งใจ (เพื่อบิดเบือนข้อมูล) และไม่ตั้งใจเพราะนักบัญชีลงผิด พวกกลุ่มนี้หากเชี่ยวชาญการอ่านบัญชีและวิเคราะฆ์ตัวเลขมักเจอไม่ยาก เพราะมักจะมีความแปร่งๆ ในอัตราส่วนของการวิเคราะห์ เช่น มีหนี้เก็บเงินไม่ได้แต่ไม่ยอมตัด พวกนี้อัตราส่วนหมุนเวียนลูดหนีจะลดลงผิกปกติ เป็นต้น 2 ไม่มีรายการเกิดขึ้นแต่สร้างเหตุการณ์หรือเอกสารเท็จ ว่ามีเหตุการณ์เกิด พวกนี้มักจะเป็นรายได้เกิดมากสุดเมื่อฝั่งสมการรายได้บวก ก็ต้องบวกฝั่งซ้ายด้วยก็คือลูกหนี้ และถ้าทำให้เนียนมักจะทำปลายปี เพราะเมื่อวิเคราะห์อัตราส่วนจะไม่ค่อยเจอเพราะระยะเวลาเป็นหนี้สั้น พวกที่แต่แต่ต้นปีจะเจอง่ายเพราะลูกหนี้จะค้างนานหลายเดือน ถ้าชั้นเซียนมาหน่อยก็จะทำเป็นมีการรับเงินโดยเจ้าของจ่ายเข้ามาเมือนกับเก็บเงินได้ แล้วสร้างรายการหลอกต่อไปโดยเอาเงินออกจากรายจ่ายเทียม หรือหนี้เทียม บริษัทในตลาดทำน้อยเพราะกระทบกำไร แต่อาจทำได้โดยการขายสินทรัพย์ไม่ดีจากบริษัทในเครือให้ แล้วเจ้าของไปดึงเงินออกจากบริษัทในเครือแทน นักลงทุนทั่วไปเริ่มจับยากขึ้นแม้แต่ผู้สอบบัญชียังถูกหลอกได้ ต้องใช้เซียนจับเซียน พวกนี้ต้องดูภาพรวมๆถึงโครงสร้างบริษัท ขนาดธรุกิจ พวกเล็กๆ พ่อประธาน ลูก CEO ตระกูลถือหุ้นใหญ่ นั่งตำแน่งสูงทั้งตระกูล ถือหุ้นไขว้จนดูแล้วงง งบรวมอ่านยาก เพราะไว้กันมั่ว บริษัทเหล่านี้หุ้นขึ้นเร็วค้างบนดอยนาน หลอกล่อให้เข้าไปถือได้ไม่ยากในตลาดมีเยอะครับ บางทีหุ้นขึ้นต่อเนื่องได้เกือบทั้งปี 3 มีรายการเกิดขึ้นแต่ไม่ลงรายการเอาดื้อๆ พวกนี้เป็นพวกหลบหนีภาษีตัวจริง จับยากมากเพราะพี่แกไม่ เดบิต เครดิดเลย ไม่งอกทั้งซ้ายทั้งขวา บริษัมในตลาดมีน้อยเพราะส่วนใหญ่อยากโชว์ รายได้ กำไร สินทรัพย์ จึงชอบทำแบบหนึ่งกับสองที่สุด เดี๋ยวเขียนต่อครับขอพักเบรคสักครู่
โดย
sun_cisa2
พฤหัสฯ. ก.ย. 13, 2012 2:34 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="charonp"]ขอถามหน่อยครับ ว่าต้นทุนการเงินคืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับ WACC แล้วทำไมในงบกระแสเงินสด ถึงลงเป็นบวก ครับ ขอบคุณครับ[/quote] ต้นทุนทางการเงินในทางบัญชีกับการเงินไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ในทางบัญชีรับรู้เฉพาะสิ่งที่เป็น explicit item คือเกิดรายการที่เห็นจริง เช่น ดอกเบี้ยจ่าย ส่วนทางการเงินคิดทั้ง explicit (เห็นชัดเจน คาดการณ์ได้) และ implicit (เห็นไม่ชัดเจน แต่รู้ว่าเกิดขึ้น มีอยู่) เช่นต้นทุนของเงินลงทุนของเจ้าของ เวลาเจ้าของหุ้นให้เงินมาลงทุนแน่นอนว่าตองมีต้นทุน แต่ต้นทุนนี่ที่จริงก็คือผลตอบแทน กำไรคือผลลัพธ์ แต่สิ่งที่นักลงทุนคาดหวังอาจมากหรือต่ำกว่าได้ ซึ่งต้นทุนนี้อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า opportunity cost of capital ที่มีที่ไป ต้องไปหาอ่านเพิ่มใน เรื่อง finance ครับ สรุปแล้วทางบัญชี ง่ายๆ คือ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมนั่นเอง อาจบวกต้นทุนการกู้ยืมอื่นบ้างถ้ามี ในงบกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานที่เอามาบวกเพราะ ถือว่าดอกเบี้ยจ่ายถือเอาว่าเป็นกิจกรรมจากการจัดหาเงิน เนื่องจากในการจัดทำกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานนั้น เริ่มต้นด่วยกำไนสุทธิ ซึ่งในกำไรสุทธินี้ในงบกำไรขาดทุนได้รวม (หัก) ดอกเบี้ยจ่ายไว้ เมื่อจะกระทบเพื่อหากิจกรรมดำเนินงานจึงบวกกลับรายจ่ายที่หักจากกำไรกลับ แล้วรายจ่ายดอกเยี้ยที่เป็นเงินสดนี้นำไปหักที่ กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน (หากสังเกตจะเห็นว่าต้นทุนการเงินหรือดอกเบี้ยจะบวกในกิจกรรมดำเนินงาน และนำมาลบในกิจกรรมจัดหาเงิน) ส่วน WACC (weighted average cost of capital) หรือถัวเฉลี่ยต้นทุนของเงินทุน จะเห็นในทางการเงิน ต้นทุนเงินทุน บ่างตัวอาจจะหาทางบัญชีได้ บางตัวอาจไม่ได้ ที่ใช้ถัวเฉลี่ยเพราะ ทุนของกิจการ (capital) มีสัดส่วนต่างกันไป บางธุรกิจ ใช้ทุนเจ้าของหุ้นสามัญ 60% หนี้เงินกู้ธนาคารระยะยาว 20% หนี้ระยะสั้น (OD) 20% บางแห่งอาจใช้ทุนเจ้าของหุ้นสามัญ 45% หุ้นบุริมสิทธิ 10% หนี้ระยะยาว 10% หุ้นกู้ 10% หนี้ระยะสั้น 15% ต้นทุนของทุนแต่ละประเภทแตกต่างไป แต่ทั้งหมดคือทุนทึ่จัดหามา (sources of fund) ที่ถูกใช้ในการลงทุนในสินทรัพย์ (uses of fund) สินทรัพย์ที่มีจึงควรทะกำไรเกินกว่าต้นทุนการเงินทั้งหมดที่ต้องแจกจ่ายคืนเจ้าของแหล่งทุน ปกติ เงินกู้ยืมทุกประเภท กิจการต้องจ่ายเต็มตามสัญญาการกู้ยืม กำไรทีสินทรัพย์กิจการลงทุนไปทำได้เท่าไรก็เอาต้นทุนเงินกู้หักออกไปก่อน ที่เหลือจึงจะเอาไปจ่ายคืนผู้ถือหุ้น (ถ้ามีบุริมสิทธิก็ต้องเอากำไรจ่ายคืนก่อนจ่ายปันผล) ดังนั้นหุ้นสามัญจึงถือว่ามีความเสี่ยงมากกว่า เงินกู้ยืม เพราะได้ทีหลังสุด ตราบใดที่มีกำไรพอจ่ายดอกเบี้ยเจ้าหนี้เขาก็คุ้ม (ถ้าไม่เบี้ยวหนี้เอาดื้อๆ) แจ้ของได้เท่าไรนี่แล้วแต่ทำกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายมากแค่ไหน ทำพอดีดอกเบี้ยก็อดปันผล ทำได้นิดเดียวก็ปันผลน้อย ทำได้มากๆ ก็ได้ปันผลมาก จึงไม่แน่นอน นี่เรียกว่า risk ส่วนเจ้าหนี้มีเพียง default risk คือได้กำไรไม่พอจ่ายดอกเบี้ย ถ้าขาดทุนเจ๊งทั้งคู่ แต่ถ้าขายทอดตลาด เจ้าหนี้ก็เอาคืนก่อนเจ้าอีกอยู่ดี
โดย
sun_cisa2
อังคาร ก.ย. 11, 2012 12:24 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
(ต่อ) ส่วน ROA นั้นในตำราการเงินเดิมๆหลายๆ เล่มยังใช้ NI/TA กำไรสุทธิ/สินทรัพย์รวมเฉลี่ย แต่ในยุคการลงทุนไร้พรมแดน ประเทศต่างๆ มีอัตราภาษีนิติบุคลต่างกันไป ในเชิงการวัดผลผู้บริหาร (ไม่ใช่การลงทุน) จะตัดปัญหาเรื่องภาษีออก และผลกำไรของบริษัทยังขึ้นกับโครงส้างทุนด้วย ถ้าวัดเรื่องบริหารงานล้วนๆ ไม่เกี่ยวโครงสร้างทุนที่กระทบกำไรอันเนื่องมาจากดอกเบี้ย EBIT นับเป็น KPI ที่ดีในการวัด ROA มากกว่าการใช้ NI ต่ในแง่นักลงทุนยังคงมองที่ NI ได้ เช่น โครงการหนึ่งใช้เงินลงทุนราว $100 M สมมติบริษัท ส่งนายA ไปบริหารโครงการนี้ที่ประเทศ A และส่งนาย B บริหารโครงการนี้ที่ประเทศ B โดยให้ทั้งคู่กำหนดนโยบายการบริหารทุกอย่างและการเงินได้เต็มที่ นาย A ได้จัดสรรเงินทุนในโครงการใช้หนี้ต่อทุน 20:80 ส่วน นาย B ได้จัดสรรเงินทุนในโครงการใช้หนี้ต่อทุน 30:70 โดยเบื้องต้นแม่จัหาแหล่งทุนตามที่ขอซึ่งทั้งโครงการใช้ทุนเท่ากันคือ 100 M ถ้าทั้งคู่บริหารได้ EBIT และมี อัตราดอกเบี้ยเท่ากันคือ 10% tax rate A 20% และ B 25% ผ่านไป 1 ปีงบการเงินเป็นดังนี้ A B EBIT 120 120 Int Exp 2 3 EBT 118 117 Tax 23.6 29.25 NI 88.5 87.75 Eq 80 70 ROE 110.6% 125.4% จะเห็นว่าถ้าวัด ROA แบบเดิม A ดีกว่า B แต่ในแง่ ROE แย่กว่า จะสรุปว่าอย่างไรดีในแง่ของการบริหาร แต่ถ้าตัดเรื่องอัตรภาษีออกและผลกระทบจากโครงสร้างทุน (ดอกเบี้ย) ออก ใช้ EBIT แทน จะบอกได้ว่าการตลาดเก่งพอกันแต่ในการบริหารจัดการด่านการเงิน B เด่นกว่า ถ้าโครงสร้างดังกล่าวยังอยูในระดับที่จัดการได้ทั้งคู่ อันนี้มองแง่บริหาร แต่ถ้าการลงทุนก็น่าจะเลือก B เพราะท้ายที่สุด B ทำให้จ่ายปันผลคืนได้มากกว่า แต่ในแง่โครงสร้างทุนตราบใดถ้าระดับหยี้ยังไม่กระทบการอยู่รอด B ก็ยังดีกว่า แต่ถ้าทำให้ต้ทุนสูงมากและโครงสร้างทุนเสี่ยงต่อการอยู่รอด B ก็ไม่ดีแล้ว EBITDA ก็แนวคิดเดียวกัน ในเบื้องต้นคือการใช้ EBITDA เมื่อเราต้องการวัดโดยตัดผลกระทบจากการกำหนดอัตรค่าเสื่อม (อายุการใช้งาน) หรือวิธีการคิดต่าเสื่อมหรือการตัดจำหน่ายที่ต่างกันออก อีกนัยหนึ่ง EBITDA คือตัวแทนที่ใกล้เคียงเงินสดจากการดำเนินงานอย่างหยาบๆ เป็นความเข้าใจผิดขอลนักลงทุนจพนวนมากและนักวิเคราะที่ร็บัญชีน้อยก็จะเอา EBITDA มาใช้ ที่คุณเข้าใจถูกครับ เมื่อก่อนยังไม่นิยมหรือบังคับทำงบกระแสเงินสด จึงนิยมคิดคร่าวโดยใช้ EBITDA แทน และเอาจำนวนนี้มาแทน free cash flow เพื่อหามูลค่ากิจการแบบคร่าวๆ ง่ายๆ แต่การใช้ EBITDA แบคร่าวๆนี้อาจพอได้ แต่ต้องคำนึงว่า ในระยะยาวทุนหมุนเวียนจะไม่เปลี่ยนแปลง และไม่มีการลงทุนเพิ่ม (CAPEX) ซึ่งในควาจริงคงยากถ้าอุตสาหกรรมนั้นยังเป็น growth stage อยู่ จะเห็นว่าทุกเรื่องที่ถามนั้นมีประเด็นทั้งการเงิน บัญชีและการบริหารจัดการมากมาย ผมอาจตอบ 4-5 บรรทัดจบก็ได้ แต่ก็จะมีถามต่ออีกเป็นร้อยคำถาม แต่บางครั้งอธิบายมาก คำถามก็อาจมอีกมากตามเช่นกัน แต่อย่างไรก็ดีไหนๆ จะรู้ก็รู้มากๆดีกว่ารู้งูๆปลาๆ ใช้แบบจำเอาเพียงอย่างเดียว อย่างนี้ก็ไม่ใช่ VI ที่แท้จริงสักที
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ก.ย. 10, 2012 4:49 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
(ต่อ) ในด้านนักลงทุน เราไม่รู้หรอกว่าเขาจะไปทำอะไรอย่างใดเพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการ แต่เรามองดูจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและคาดก่รณืสิ่งที่คิดว่าน่าจะเกิด ในประเด็นหลังนี่แหละยากสุดขี้นกับว่านักลงทุนคนนั้นๆ เชื่ออะไรในบริษัทและผู้บริหาร เด็กนักเรียนสองคนอยากเป็นหมอ ใครจะสอบคิด พ่อแม่ก็ย่อมมั่นใจในลูกตัวเองมากกว่าลูกคนอื่น แต่ถ้าเราเป็นคนนอกล่ะ จะเอาอะไรมาวัด ก็อาจดูผลการเรียนในอดีต พฤติกรรมการเรียนหรืออื่นๆ เช่นเดียวกัน เรากะลังเอาเงินให้คนอื่นบริหารควรจะดูอะไร มีตัวที่สามรถดได้เยอะ แต่ในมุมการลงทุนตัวที่สรุปในภาพที่กว้างคือ ROE ซึ่งเป็นตัวเลือกหนึ่งในการคัดกรอง ใช้ร่วมกับ P/E คุณภาพกำไรเป็นต้น ย้ำหนักๆครับว่าเป็นตัวกรองไม่ได้บอกว่าซื้อได้ครับ เพราะเมื่อกรองหรือร่อนตะแกรงมารอบหนึ่งแล้วต้องเอามาร่อนต่ออีก เช่นที่คุณบอกว่าดูเรื่องหนี้ อันนี้ก็ใช่ ROE ดี แต่เรื่องหนี้ไม่ดีก็ร่อนออกอีก ที่ถามว่า ROE แต่งได้ไหม ตอบว่าได้ครับ แต่ถึงจะติดกลุ่มมา เมื่อผ่านขั้นแรกก็ต้องมาวิเคราะห์ลงลึกอีก ต้องอ่านงบการเงินอีกว่มีการทำกลบัญชีหรือทำ Creative accounting หรือไม่ถ้าเห็นว่าไม่ชอบมาพากล สร้างตัวเลขหลอกก็คัดออก อย่าลืมนะครับที่บอกมาคือการคัดหุ้นเพื่อเลือกวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป หุ้นไทยมีเกือบ 500 ตัว จะเลือกย่างไร จับฉลาก ปาเป้า เดาสุ่ม ฟังต่อๆมา หรือเลือกเองได้ทั้งนั้น เพียงแต่จะชอบวิธีที่ป็นระบบ มีหลักวิชาการ หรือใช้ sense ความรู้สึก ประสบการณ์ หรือแม้แต่ใข้ technical analysis ช่วยกได้ทั้งนั้น ต่อไปที่เกอด AEC ขึ้น ลงทุนได้กว้างขี้น มีทั้งหุ้นสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดฯ เวียดนาม ลาว ฟิลิปปินส์ รวมๆ มากกว่า 1000 หุ้นจะเลือกอย่างไร ROE ผมเห็นว่าเป็นหนึ่งในตัวคัดกรองที่น่าสนใจเพราะในตัวมันมีองค์ประกอบมาจากหลายตัวร่วมกัน และในทางทฤษฎีเป็นตัววัดหนึ่งที่บ่งช้ในเรื่อง เป้าหมายการเงิน maximize shareholders’ value ได้ใกล้เคียง อย่างไรก็ตามมีหลายครั้งที่หุ้นผ่านการคัดกรองมาได้เกือบสิบตัว (ROE, P/E, PBV, QE ผ่านหมด) พอคัดวิเคราะห์รอบถัดไป สอบตกหมดก็ได้ คือเมื่อเอางบมาวิคราะห์เชิงลึกต่อ อาจไม่ผ่านในการเข้าลงทุนช่าวงนั้นก็ได้ ครั้งหน้าก็ทำใหม่อาจติดเข้ามาอีก (หุ้นเดิมรอบที่แล้วก็อาจคัดทิ้งไปเลย ถ้าวิเคราะห์แล้วใส้ในไม่ดีจริงๆ หรือผ่านภาพใหญ่แต่ภาพย่อยไม่ผ่านก็มาดูประเด็นเดิมว่า improve ขึ้นหรือยัง เป็นต้น) ปกติถ้าลงทุนเน้นยาวจริงๆ งานวิเคราะห์ไม่ใช่สามวันจบสรุปหรอกครับ มันต้องเก็บข้อมูลมหภาคที่เกี่ยวข้อง ต้องทำมากกว่า วิเคราะห์งบการเงิน เพียงแต่ขั้นตอนเก็บข้อมูลมหภาค ข้อมูลเชิง Qualitative เช่นตลาด สินค้า และอื่นๆ เราจะเลือกหรือเริ่มจากอะไร ก็น่าจะเป็นหุ้นที่ผ่านเกณฑ์ก่อน ดังนั้นเรื่องการตั้งเกณฑ์แล้วแต่สะดวก จะเอาแต่ข้อ 5 ก็ได้ครับ ความเพียงพอในภาพกว้างมีหลากหลาย เมือนกับความเสี่ยงแค่ไหนพอดีแล้วต่นักลงทุน ยางคนเลอกเสี่ยงน้อยมาก ก็ลงตราสารหนี้ บางคนรับความเสี่ยงได้มากขึ้นอีกก็ลงทุนในหุ้น บางคนบอกชอบลุ้นมากๆ เพราะอยากได้พอร์ตโต้เร็วๆ (อาจตรงข้ามก็ได้) ก็ถือสั้น ถือเร็วหน่อย บ้างก็เล่นฟิวเจอร์ทอง เล่นอนุพันธ์ไปเลย แต่ละตัวทีใช้คัดกรอง วิเคราะห์ในทางทฤษฎีการเงินมีที่มาที่ไปทั้งหมด ทุกตัวผมเสนอแนวคิดทางการเงินที่มีคำตอบทุกคำตอบทางทฤษฎีให้ ทุกประเด็นมี empirical evident หมด ทั้งในตลาดทุนไทย และต่างประเทศ บางเรื่องของไทยอาจไม่ชัดแต่ในสากลเกิดชัดเจน แต่เชื่อว่า AEC จะ force ให้เข้าสู่ความเป็นสากล เรื่อง EBIT, EBITDA นั้นในการวิเคราะห์นั้นจะดีกว่าการดูเพียง NI การวิเคราะห์ ROE ใช้ NI เพราะสุดท้ายการจ่ายปันผลได้จะจ่ายจากกำไรสุทธิเท่านั้น เพราะฉนั้นจะมีนโยบายบัญชีอย่างไร โดนภาษีเท่าไร ที่เหลือในทางบัญชีก็คือกำไรสุทธิที่จะสามารถจ่ายปันผลถึงผู้ถือหุ้น ดังนั้น ROE จึงใช้วัดการสร้างมูลค่ากับผู้ถือหุ้นที่ตรงที่สุด
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ก.ย. 10, 2012 4:47 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ถามยาวก็ตอบยาวครับ มีหลายท่อนเลยครับ ขอบคุณที่ติดตามและถามครับ ขอบตอบรวมๆกันไปเลยนะครับ การดู ROE โดยการวิเคราะห์ด้วย Du Pont analysis นั้น จุดเริ่มใช้สำหรับผู้บริหารที่ต้องการวิเคราะห์ตนเองเพื่อเป้าหมายทางการเงินในการสร้าง Maximize shareholders’ value โดยดูว่าการเพิ่มผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นนั้นควรทำตรงไหนอย่างไร เป็นการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อการกำหนดกลยุทธืในภาพรวมวิธีหนึ่ง ผู้บริหารจะดูว่า ROE จะเพิ่มทางใดได้บ้าง การวิเคราะห์ด้วย Du Pont analysis จะแยกองค์ประกอบออกมา จะเป็นกี่ท่อนกแล้วแต่สะดวกในมุมของผู้บริหาร แต่หลักๆ ก็มีสามส่วนคือ อัตรากำไร ประสิธิภาพการบริหารสินทรัพย์ และความเสี่ยง ผู้บริการที่กำหนดว่าจะเพิ่มอัตรากำไร ก็ต้องดูว่าทำอย่างไรกำไรถึงเพิ่มขึ้น ลดต้นทุน หรือเพิ่มราคาขาย หรือทำทั้งสองอย่าง แต่อะไรทำได้ไม่ได้ก็ต้องไปวิเคราะห์เพิ่มอีก เช่นลดต้นทุน จะลดอะไร ราคาซื้อวัตถุดิบ ได้ไหม ง่ายไหม บริษัมอยู่ในอุตสาหกรรมที่มี bargaining power กับ supplier หรือไม่ หรือลดการใช้วัตถุดิบ เพราะปัญหาต้นทุนอาจเกิดเจากกระบวนการผลิตที่ไม่ม่ประสิทธิภาพ เกิด variance มาก (price variance or quantity variance) หรือมีค่าใช้จ่ายด้าขายบริหารสูง บางครั้งการไปลดค่าใช้จ่ายกลุ่มที่อาจทำให้ต้องปรับบางอย่าง ต้องใช้เรื่อง change management และหรือ knowledge management หรือผู้บริหารจะไปเพิ่ม asset turnover ก็ต้องเพิ่มรายได้/ขาย ก็ไปเกี่ยวกับเรื่อง marketing management ต้องดูเรื่อง market positioning, market target, marketing mix (4Ps) เป็นต้น ทุกเรื่องในการบริหารมันโยงกันหมด การเงิน การตลาด การผลิต กลยุทธ์ระดับองค์กรและระดับหน่วยงาน โยงไปถึง Balance scorecard, KPI และถึง Risk management KRI ทั้งหมดผูกกับ ROE และ มูลค่ากิจการ
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ก.ย. 10, 2012 4:46 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
การที่ D/E มากนั้น ไม่ได้หมายความว่ามาก 3 -4 เท่าแล้ว ROE จะสูงนะครับ อ่านให้ดีผมบอกว่า ต้องสุงใหพอเหมาะครับซึ่งอาจจะเป็น 0.8-1.1 ก็มากแล้ว แต่กิจการที่ไร้หนี้เงินกู้เลย D/E= 0 นี้ กับกิจการที่มีราว 0.5 ฑฯฎ ต่างกันแน่และมีเท่านี้ถ้าไม่มากใกล้ bankrupcy area ถือว่าก่อหนี้บ้างได้ RO สูงขึ้นครับ แต่ถ้าเมื่อใด ระดับหนี้เกินจุดเหมาะสม ต้นทุนการกู้ยืมจะขึ้นเร็วกว่า ROE จะลดลง นั่นคืออัตราดำไรจะแย่ลงครับ ในที่บอกมามีบอกไว้แล้ว ดังนั้นมี debt บ้างดีกว่าไม่มี แต่มีเกินพอดีจะไม่ดีแน่นอน แต่อย่างที่บอกไป ดู ROE ก่อนเลย ถ้าดีเท่ากันหุ้น D/E ต่ำกว่าก็ดีกว่า เพราะความเสี่ยงต่ำกว่าและยังแปลว่า ถ้ากิจการจะขยายธุรกิจโดยเพิ่มหนีบ้างแบบไม่เสี่ยงเกินไปก็มีโอกาสดีกว่า ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์มากขึ้น ผิดกับบริษัทที่ก่อหนี้เกินจุดพอดี ยิ่งก่อหนี้ อัตรากำไรยิ่งลด ROE จะตก ซึ่งได้บอกแล้วว่า ภาระกับหนี้กับอัตรากำไรสุดท้ายธรรมชาติตลาดการเงินมัน adjusted ตัวเอง ให้ดู ROE ก่อน เมื่อกรองหุ้นได้ก็ดูตัวอื่นถัดไป ไม่ได้ให้ดู D/E ก่อนนะครับ แต่ d/e มันเป็นองค์ประกอบในสูตร ที่ต้องเป็นเช่นนั้น ลบออกสูตรการเงินล้มทั้งกระดาน คือใช้ไม่ได้เลย ย้ำว่าการมีหนี้บ้างไม่เป็นไรแต่ต้องไม่มากเกินพอดี ตรงไหนพอดี รู้ยากสำหรับนักลงทุน แต่ดูจาก ROE ตราบใดการมีหนี้แล้วอัตรากำไรยังสูง ROE ดีก็แสดงว่ายังโอเค เพราะว่า อัตรากำไร คือ กำไรสุทธิ/รายได้ = [(revenue - cost of good sold) - S&A expenses - interest expense -tax]/revenue = [Gross profit - S&A exp -Int exp -tax] / revenue = GM - %S&A exp -%Int exp -%tax GM - %S&A exp = OM = EBIT/Revenue ถ้าดูจากสูตร กู้ยิ่งมาก %Int exp ยิ่งสูงถ้ายิ่งมากเกิน อาจจะมากกว่า EBIT รายได้โตไม่ทันต้นทุเงินกู้นั่นคือ ICR น้อยกว่า 1 เลยก็ได้ กู้พอเหมาะธุรกิจขยายทันหรือมากกว่าทุนต้นทุน กำไรผู้ถือหุ้นก็รับไป ดังนันจงมีหนี้แต่พอเหมาะ ธุรกิจก็เช่นกัน
โดย
sun_cisa2
เสาร์ ก.ย. 08, 2012 5:07 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
3) ขอถามเรื่อง ROE ตามสูตรของอาจารย์ที่แตกออกมา ผมสงสัยในเรื่องที่ 3 ครับเกี่ยวกับ เกี่ยวการที่ D/E มากทำให้ ROE สูง ซึ่งส่วนใหญ่ตามที่ผมเข้าใจ หุ้นลักษณะนี้คงเป็นพวกหุ้นกลุ่มแบงค์ หุ้นแบงค์จะมีลักษณะต่างจากอุตสาหกรรมอื่น งบการเงินก็มีโครงสร้างรายงานต่างไปแล้วครับ ข้างบนยึดจากโครงสร้าวงบการเงินบริทษัททั่วไปที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (ผลิต ซื้อมาขายไป พลังงาน เทคโนโลยี เป็นต้น) ถ้าจะประยุกต์เข้ากับแบงค์ต้องมองว่าแบงค์ค้าขายเงิน ซื้อเงินมาขายต่อ (รับฝากคือซื้อ ขายต่อคือปล่อยกู้) โดยปกติเรามักมอง debt กับ liability ว่าคือตัวเดียวกัน บังเอิญในอุตสาหกรรมทั่วไป (ผลิต) มักใช้ได้เพราะใกล้เคียงกัน แต่ในโลกการเงินตามทฤษฎีจริงๆ debt ไม่ใช่ liablity จะเอา D/E โดยใช้ หนี้สินรวม/ส่วนผู้ถือหุ้นรวมไม่ถูกต้อง debt จะหมายถึงเงินกู้ยืมที่มีดอกเบี้ย พวกที่เป็นเจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หนี้สินภาษีเงินได้รอตัด ภาระผลประโยชน์พนักงาน หนี้สินหมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียนอื่นจะไม่คิดรวมใน debt เพราะ debt ตัวนี้เกี้ยวโยงไปถึง เรื่อง WACC (Weighted averagr cost of capital) แต่ในการคำนวณที้รียนๆกัน ถ้าสอนยุ่วยากมาก เรียนไม่จบ ไม่รู้เรื่อง จึงเอาแบบพอๆ ใช้งานได้ แต่ในตัวมันเลยมีข่อจำกัด ต้องยกเว้นกลุ่มสถาบันการเงิน ซึ่งกลุ่มนี้เขาจะดู CAMEL คือ C Capital adequacy ความเพียงพอของทุน BIS Tier I, BIS Tier II A Aseset Quality คุณภาพสินทรัพย์ คุณภาพสินเชื่อ (มีสัดส่วนมากสุดในงบ) เป็น NPL กี่ % M Management ผู้บริหาร ทีมบริหาร การบริหารงาน ดีหรือไม่ ความน่าเชื่อถือ ความรู้ความสามารถ ธรรมาภิบาล E Efficiency ประสิทธิภาพ การทำกำไร เช่น Intrest spread, Interest margin, AU (Asset Utilization) เป็นต้น L Liquidity สภาพคล่องของธนาคาร วัดภาระการจ่ายคืนหนี้กับสินทรัพย์สภาพคล่องในมือ นี่คือหลักเกณฑ์เบื้องต้นครับ แต่รวมๆ เลือกจาก roe roa ก่อนจะดีสุด แบงค์ที่ roe น้อยๆ ก็เลี่ยงไปก่อน หุ้นแบงค์มักขึ้นลงตามรอบเศรษฐกิจ อาจจะ lagged เล็กน้อยสักไม่เกิน 3-6 เดือน
โดย
sun_cisa2
เสาร์ ก.ย. 08, 2012 4:08 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
2) ตามสูตรของอาจารย์ ผมสรุปได้ดังนี้คือ ถ้า b สูง PE ก็ควรจะสูง และ เช่นกัน ถ้า g สูง PE ก็ควรจะสูงด้วย คำถามคือ เท่าที่ผมสังเกตุในตลาดหุ้นไทย รู้สึกมันจะไม่ได้เป็นเช่นนั้นครับ คือ หุ้นที่ให้ b สูงสม่ำเสมอ แต่ g ไม่สูง (เนื่องจากการคาดเดาที่ยากของผลกำไร) ตลาดมักจะให้ PE ที่ต่ำกว่า หุ้นที่ b ต่ำแต่ g สูง ถึงแม้ว่าหุ้นนั้นจะมี ROE ที่สูงกว่าหุ้นbต่ำแต่gสูง สรุปง่ายๆคือดูเหมือนตลาดหุ้นไทยจะให้ความสำคัญกับค่า g มากกว่า b เป็นเพราะอะไรครับ อาจจะเป็นอย่างที่คุณว่าครับ แต่ g นี้อย่าลืมว่าคือ g = ROE*(1-b) เรียกว่า sustainable growth หรือบางตำราเก่าหน่อยเรียก oeganic growth การเติบโตนี้ทฤษฎีถือว่าธุรกิจโตได้โดยใช้แล่งทุนภายในจากกำไรไท่นั้นขยายตัว ถ้ากู้ต้อไม่เลี้ยนโครงสร้างทุน (D/E) และกู้ด้วยต้นทุนหนี้คงเดิม เป็นคนละตัวกับ EPS Growth หรือ ptofit growth ครับ และหุ้นที่มี b อัตราจ่ายปันผลมากๆ g (sustainable growth) จะยิ่งต่ำ P/E ฏ้มีโอกาสต่ำครับ ไม่ใช่ b สูง P/E สูงครับเว้นแต่ roe สูงจึงจะมี p/e สุงขึ้นได้ อย่าแต่ b ครับ ต้องมี roe ด้วย ส่งนที่ตลาดหุ้นดู growth นั้นใช่ครับแต่คือคนละ g ที่อธิบาย g ที่ตลาดดูคือ expected growth ไม่ใช่ sustainable growth ครับ มีหลักง่ายๆแต่ไม่พิสูจน์ได้โดยสมการ คือ เอาP/E ปัจจุบัน หารด้วย expected EPS growth ถ้า > 1 p/e นั้นแพง เช่นปัจจุบันหุ้น p/e = 24 ถ้าคาดว่าปีหน้า eps โตมากกว่า 24% ตอนนี้ก็ซื้อได้ แต่ถ้าจะซื้อ discount สัก 30% ก็รอ p/e เหลือสัก 17 เท่าค่อยเข้าซื้อเป็นต้น ดังนั้นอย่าสับสน เรื่อง g และ b ครับ แถมอีกหน่อย ไหนๆว่ากันมาในเรื่องนี้บ้างแล้ว เวลาผมนำมาใช้ประโยชน์ คือ ถ้าหุ้นนั้นมี expected growth สูงๆในระยะยาว แต่ทำ roe ไม่มากนัก ไม่ควรจ่ายสัดส่วนมาก เพราะถ้าจ่ายมากจะโตด้วยตัวเองไม่ทัน สุดท้ายเพื่อรักษา position ตนเองในอุตสาหกรรมอาจต้องเพิ่มทุนหรือกกู้มากขึ้น บริษัทส่นมากเลือ สร้างหนี้ ซึ่งอาจดีระยะสั้น แต่นานไประยะยาวอันตราย สุดท้ายก็ต้องเพิ่มทุน และมักเพิ่มทุนตอมโครงสร้างทุนไม่ค่อยดีแล้ว บริษัทส่วนมากเพิ่มทุนแล้วราคาตก จนกว่าจะพิสูจน์ได้วากำไรเติบโตชดเชยการเพิ่มทุนได้ ราคาจึงฟื้น ในอดีตก่อน 2540 หุ้น finance ชื่อ tiscoป็นหุ้นๆไม่เคยจ่ายปันผลและแทบจะไม่ค่อยเพิ่มทุน ราคาก่อนวิกฤติเป็นพันบาทต่อหุ้น เทียบกับหุ้นไฟแนนซ์อื่นที่เพิ่มทุนบ่อย จ่ายปันผลมาก (แล้วสุดท้ายก็ปิดลง) อุตสาหกรรมนี้ volumn trade โตเฉลี่ยราว 30-35% ในยุคนั้น บรษัทมี roe ราว 30-37% tisco รักษา market share ได้ดีมาตลอด ไม่เพิ่มทุน ไม่จ่ายปันผล p/e สูง มากกว่า27 เท่า บางทีเกือบ 40 ในยุคนั้นคือหุ้น finance ชั้นดี ทำ roe เท่า growth อุตสาหกรรม เลือก b =0% ; g = roe*(1-0) = roe ดังนั้นโตโดยรักษา competitive adventage ได้โดยไม่เพิ่มทุน เทียบกับ finance อื่นทำ ทำ roe เพียง 24-28% โตไม่ทันอุตสาหกรรม ซ้ำยังจ่ายปันผลสูงๆล่อนักลงทุน เพิ่มทุนมหาศาล สุดท้ายก็เจ๊ง ปิดตัวไป เรื่อง g (sustanable growth) g อุตสาหกรรม และ g กำไรบริษัท เป็นเรื่องที่มีอีกมาก แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้แม้แต่กูรูบ้านเรา นักบริหารบริษัทจดทะเบียในตลาดยังละเลย ผมตามศึกษามานานในหลายตัว ทั้งที่ ดี รอด แย่ เจ๊ง ตั้วแต่ปี 2530 มาจนปัจจุบัน จนแน่ใจระดับหนึ่งบางบริษัท ดูแค่เรื่องนี้ก็มองอนาคตได้ลางๆ
โดย
sun_cisa2
เสาร์ ก.ย. 08, 2012 3:15 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ขอตอบทีละข้อครับ 1 ค่า k นี่หาได้จากไหนเหรอครับ เป็นความคาดหวังส่วนตัวของนักลงทุน หรือว่าค่าเฉลี่ยในโลกการลงทุนครับ และค่าเท่าไหร่ถึงดี ค่านี้ในทางทฤษฎีหามาจาก CAPM คือ Rk = Rf + Beta*(Rm-Rf) เมื่อ Rk = ผลตอบแทนของหุ้น kล Rf = risk free rate ปกติมักใช้ Treasury Bills หรือตั๋วเงินคงคลัง อสยุ 1 ปีที่รัฐเป็นผู้ออก บางมีสทมารถใช้พันธบัตรรัฐบาลได้ ปัจจุบันผมใช้ราว 3% ความจริงไปดูผฝตอบแทนจากการซื้อขายพันธบัตรใน bond dealer club แลดู yield curve ของ bond ที่ 1 ปี ก็ได้ ที่ผ่านมาราว 2.99% Rm = ผลตอบแทนเฉลี่ยตลาด ควรหาผลตอบแทนยาวๆไม่น้อยกว่า 10 ปี อย่าใช้ปีที่แล้วเพราะค่ามันแกว่ง บางปีมันก็กว่า 40-50% บางปีมันก็ติดลบ กความจริงดั้งเดิมสูตรมันคือผลตอบแทนที่ (คาดหวังได้) ลงทุนระยะยาวจากตลาด ของไทย ผมทำหลายๆช่วงทั้งก่อนวิกฤติ 2535 หลังวิกฤติ 2535 - 2540 และหลังวิกฤติ 2540-ปัจจุบัน 2554 ผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในตลาดหุ้น จะอยูราว 17-19% ผมมักใช้ค่ากลางๆราว 18% ครับ ผมหาแบบ compouded rate ต้นปี 2002-ปลายปี 2011 ได้ 17.72% Beta = ตัววัดค่าความเสี่ยงของหุ้นที่เกิดจากระบบ (systematic risk) โดยอิงกับหลักทฤษฎีว่านักลงทุนสามารถลดความเสี่ยงเฉพาะลงได้ด้วยการกระจายความเสี่ยง แต่ลดได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น แต่ยังต้องรับความเสี่ยงจากระบบอยู่ ความเสี่ยงจากระบบคือความเสี่ยงระดับมหภาคที่เมื่อเกิดขึ้นทุกคน (บริษัท) ได้รับผลกระทบ แต่อาจมากน้อยต่างกัน เช่น อัตราแลกเปลี่ยน เงินเฟ้อ เป็นต้น สูตรการคำนวณเบต้านี้ = covariance(Rm,Rk) = Variance(Rk)/Variance(Rm)^2 ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีประกาศรายวันต้องหาเอง ทำได้โดยโหลดข้อมูลมาใรรูป excel แล้วใช้สูตรคำนวณจะทำไม่นาน ที่นานคือ หาข้อมูลครับ จำไว้ครับว่า เบต้าเองก็ไม่นิ่ง ดังนั้นควรใช้ข้อมูลยาวๆ 10 ปีจะดีมากครับปี สองปี ไม่นิ่ง เดือนนี้ค่าหนึ่ง เดือนหน้าเปลี่ยนแล้ว ต้องหายาวๆ จะนิ่งกว่าครับ และระลึกไว้เสมอว่า การลงทุนนั้นทฤษฎีถือยาวครับไม่ใช่ เก็งกำไร ปีครึ่งปี ถือแค่นี้เรียกว่าสั้นเก็งกำไร (แต่บางคนบอกว่าถือเกิน 6 เดือนยาวแล้ว) ค่าเบต้านี้อาจบอกเราคร่าวๆว่า กรณีที่ตลาดมีผลตอบแทนเพิ่ม ขึ้น 10% หุ้นตัวนั้นควรมีผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยเป็น Beta เท่าของตลาด เช่น beta 1.1 หมายความว่าตลาดเพิ่ม 10% หุ้นนี้ควรให้ผลตอบแทน 1.1x10% = 11% เป็นต้น ดังนั้น Rk หรือ k = 3% + Beta* (18%-3%) ตลาดไทยมี risk premium (Rm-Rf) = 15% ถือว่าสูงมาก ใน US เขาใช้ risk premium ราว 7-9% เท่านั้น ทำไมเป็นเช่นนั้น เพราะประเทศไทยมี inherent risk (บางทีจะเรียก country risk ก็ได้) สูงกว่าเขา แค่การเมืองเขาก็บวกเพิ่มแล้ว ดังนั้น ถ้าอุตสาหกรรมหารเงิน เช่นกลุ่มธนาคาร มีเบต้า 1.05 เท่า ถ้าสมมติให้ BBL มี beta ที่ 1.1 ด้วย Rk bbl = 3% + 1.05*(18%-3%) = 3% + 1.05*15% = 3% + 15.7% = 18.7%
โดย
sun_cisa2
เสาร์ ก.ย. 08, 2012 2:04 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
(ต่อ) สมมติว่าลดทุนหรือซื้อหุ้นคืนล่ะ Equity ลดลงแน่ เพราะทั้งสองรายการส่วนทุนลดลง การลดทุนเพราะมีขาดทุนสะสมไม่กระทบเพราะมักลดทุนลงโดยตัดขาดทุนสะสมกับทุนหุ้นสามัญที่ออก แล้ว ROE ไม่ดีหรือ คำตอบคือไม่ เพราะการที่บริษัทมีขาดทุนสะสมมาแสดงว่า อัตรากำไรที่ผ่านมาติดลบจึงขาดทุนดังนั้น ROE ย่อยไม่ดีคือต่ำหรือติดลบ ดังนั้น แม้จะลดทุนก็ไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้าง D/E จึงไม่มีอะไรดีขึ้นจากเดิม ดังนั้นการดู ROE ก็ยังคัดกรองได้ ส่วนการซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) เงินสดลด ทุนลด (เอาหุ้นซื้อคืนมาลบส่วนทุน) ดูแล้วน่าจะดีเพราะสินทรัพย์ก็ลด ทุนก็ลด บริษัทกยังมีกำไรดีอยู่เหมือนเดิม โดยคร่าวๆ วิธีนี้จะทำให้มูลค่าหุ้นส่วนมากเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาให้ดีทางตรรกะ ก็ยังพบว่า ROE ยังใช้คัดกรองได้เช่นกัน การซื้อหุ้นคืนนี้บริษัทต้องเอาเงินสดบริษัทไปซื้อหุ้นบริษัมกลับ และอาจนำออกไปขายใหม่ (คล้ายกับระดมทุน แต่ใช้หุ้นเดิม) วิธีการบัญชีจะอย่างไรก็เถอะ ในแง่ที่ไม่ได้เป็นนักบัญชีอาจรู้สึกงงว่า มันจะไปมาอย่างไร ผมนักบัญชีรู้ครับแต่นักลงทุนรู้แล้วอาจยิ่งมีคำถามยิ่งมาก และอาจไม่เกิเประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนในสิ่งที่อยากจะรู้นัก มาดูผลภาพกว้างจาก ROE ว่าสะท้อนอย่างไร โดยปรกติ บริษัทควรนำสินทรัพย์ไปลงทุนต่อเพื่อให้เดิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น หากบริษัทมีเงินเหลือ และถ้าสามารถเอาเงินไปลงทุนให้เกิดกำไรในอัตราที่มากกว่าเดิม (ROA) ก็ไม่ควรเอามาซื้อคืน เช่น ทุกสินทรัพย์ 100 บาท บริษัททำให้เกิดรายได้ขึ้น 120 บาท และมีกำไร 10% = 12 บาท ถ้าสมมติขณะนั้นมีสินทรัพย์ 1,000 บาท มี หนี้ 200 ส่วนทุน 800 เดิมมีกำไร 120 บาท บริษัทจะเอาเงิน 200 ไปซื้อหุ้นคืน จะเหลือสิทรัพย์ 800 หนี้ 200 ทุน 600 การเอาเงินสดออกไปซื้อหุ้นคืนทำให้บริษัทเสียโอกาสหารายได้ เช่นซื้อสินค้ามาขาย จ่ายค่าโฆษณาและอื่นๆ กระตุ้นยอดขาย แต่ยังคงอัตราการสร้างรายได้ที่ AT 1.2 เท่า และอัตรากำไรที่ 10% การซื้อหุ้นคืนนี้ทำให้บริษัมยังมีกำไร 9.6 บาท ROE (คิดง่ายๆไม่ถัวเฌฉลี่ย) ก่อนซื้อ 15% (120/800) หลังซื้อ 15% (9.6/600) ดังนั้นถ้าบริษัทคงความสามารถทำกำไร (อัตรากำไร) และประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ (AT) คงเดิม ราคาก็จะคงเดิม แต่ถ้าการเอาเงินมาซื้อหุ้นคืนแล้วบริษัทสูญเสียโอกาสจากการใช้สินทรัพย์ในการสร้างรายได้ ROE จะลดลง โดย AT ลดลงหรือ อัตรากำไรลด หรืดลดทั้งคู๋ EPS จะลดลง หุ้นจะลง ดังนั้นบริษัทจะทำอะไรก็ตามสุดท้ายวัดที่ ROE และการดู ROE นี้ต้องดูยาวๆครับใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่นที่วัดสัก 5 ปีขึ้นไปจะเห็นแนวโน้มชัดเจนมากกว่าดูแบบปี ต่อปี บางครั้งแม้จะไม่รู้บัญชีลึกซึ้งมากมาย มาตรฐานการบัญชีจะเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี่ แต่หลักการดู ROE เป็นเกณฑ์เบื้องต้นก็ยังใช้คัดกรองเบื้องต้นได้ ย้ำครับว่าคัดกรองเบื้องต้นได้ ที่เหลือก็ต้องดูเรื่องอื่นๆ ประกอบ เช่น P/E, P/BV, Expectation Earning growth เป็นต้น บางใช้แค่ 3-4 ตัว ก็ได้หุ้นมาวิเคราะห์ต่อได้แล้วจากหุ้นที่มีหลายร้อยตัวในตลาด เช่นภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ในด้านนักบัญชีอาจดูน่าตื่นเต้นเพราะมีผลกระทบต่อกำไร เช่นบริษัทที่มีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัด เมื่อลดภาษีลงก็จะทำให้ภาษีทางบัญชีต้องบันทึกค่าใช้จ่ายภาษีมากขึ้น ในแง่นักลงทุนเราจะลงทุนบริษัทที่มี ROE ดีๆ สูงๆ ดังนั้นในแง่การคัดกรองหุ้น พวกนี้ตกรอบแรกแล้วถ้ากระทบต่อกำไรอย่างมีสาระสำคัญ แล้วก่อนหน้าล่ะ ถ้าบรษัทมีสินทรัพย์ภาษีรอตัดมากๆ AT จะมีดีอยู่แล้วเพราะสินทรัพย์จะไม่ได้ generate รายได้ พวกนี้ก็มักตกรอบคัดเลือกด้วยหลักคัดกรอง จึงไม่น่าพลาดมาลงทุนในบริษัทที่มีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีมาๆ เล็ดรอดก็มีสัดส่วนน้อยจนไม่น่ากังวล ส่วนหนี้สินผลประโยชน์พนักงานก็เช่นกัน พวกนี้มักมีสัดส่วนไม่มากจนกระทบโครงสร้างทุน ถ้ามากส่วนทุนก็จะลดเยอะ แต่ละปีก็อาจจะตั้งค่าใช้จ่ายมาก อัตรากำไรก็กระทบ ROE ก็แย่ พวกที่มีรายการนี้มากๆ อย่างมีสาระสำคัญก็มักตกรอบการคัดกรอง ที่ผ่านได้ ก็แสดงว่าจะไม่มีผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญ โดยสรุป ROE, จะสามารถใช้เป็นตัวคัดกรองได้ดีโดยดูร่วมกับ P/E และหรือ P/BV ว่าจะไม่ซื้อหุ้นราคาแพงไป และอาจดู Gross margin, Net margin, Asset turnover, D/E ประกอบด้วย แต่ผมจะเพิ่มเรื่องคุณภาพกำไรประกอบด้วย QE (Quality of Earning) = CFO/NI ควรมากกว่า > 1 อย่าลืมที่ว่ามาคือการคัดกรอง เลือกหุ้นต้องเอาพวกผ่านเข้าประกวดรอบตัดสินอีกทีนะครับ
โดย
sun_cisa2
ศุกร์ ก.ย. 07, 2012 6:20 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ทำไม ROE จึงเป็นเครื่องมือหลักในการเลือกหุ้น สำหรับคนที่เรียนวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินมาจะทราบว่า มีอัตราส่วนหลายตัว เช่นอัตรส่วนที่ใช้ดูสภาพคล่องมี Current ratio, Quick ratio อัตราส่วนที่ดูประสิทธิภาพหรือ อัตราส่วน turnover ต่างๆ เช่น A/R turnover, Inventory turnover, Asset turnover หรืออัตราส่วนที่ใช้ดูความสามารถในการทำกำไร เช่น Gross margin, Net margin, ROA, ROE อัตราส่วนการอยู่รอด เช่น D/E ratio, ICR เป็นต้น ที่กล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในอีกหลายๆอัตราส่วนที่มีอีกหลายสูตร ในบรรดาสูตรอัตราส่วนทางการเงินตัวที่ถือว่าเด่นที่สุด เป็นสูตรที่สะท้อนค่าอัตราส่วนต่างๆหลายค่ารวมๆกันในตัวมันมากที่สุด คือ ROE (Return on Equity) = Net Income / Average Equity และถ้วใครที่ติดตามนักลงทุนแนว VI ทั้งไทยและต่างประเทศ หลายๆท่านจะใช้ ROE เป็นตัวหนึ่งในหลายๆเครื่องมือในการเลือกหุ้น เช่นดู P/E, PBV อัตราการเติบโตกำไรและ ROE เป็นต้น การจะใช้กี่ตัวคัดกรองก็แล้วแต่เทคนิคเฉพาะตัวของ VI แต่ละคน แต่สิ่งหนึ่งที่มักจะคล้ายกันคือ ROE มักจะเป็นตัวหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ ทำไม ROE จึงถูกเลือกมาใช้ในบรรดาอัตราส่วนที่มีอยู่มากมายหลายตัว ให้เหตุผลง่ายๆ อยู่ 2 ข้อหลักๆคือ หนึ่ง ROE ตอบหลักการทางการเงินเรื่อง Maximize shareholders’ wealth ซึ่งเป็นเป้าหมายทางการเงินได้ดีกว่าการวัดด้วยอัตราส่วนการเงินอื่น สอง ตัวมันเองมีองค์ประกอบอื่นหรือแยกเป็นอัตราส่วนการเงินอื่นๆ ได้ ตามหลักของ Du Pont Analysis ในแนวความคิดของการบริหารการเงินสำหรับเศรษฐกิจทุนนิยมคือ Maximize shareholders’ wealth ซึ่งมีเป้าหมายคือ สร้างมูลค่าราคาหุ้นให้ดีทีสุดในการบริหารการเงิน ไม่ว่าจะเป็น short-term หรือ long-term ซึ่งแนวคิดนี้สำหรับคนที่เรียนทางการเงินมาจะทราบดี ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎี CAPM (Capital Asset Pricing Model), APT (Arbitrage Pricing theory), Capital Budgeting, Capital structure หรือ การหามูลค่าของเรื่องมือทางการเงินต่างๆ เช่า Futures, Options, Swaps เป็นต้นทุกเรื่องทางการเงินล้วนตอบหรือนำไปสู่ Maximize shareholders’ wealth ทั้งสิ้น แม้ว่าปัจจุบัน จะขยายแนวคิดไปสู่ Shareholders’ value Creation เช่น VBM (Vale Based Management) ก็ตามแต่ก็ยังแฝงแนวคิด Maximize shareholders’ wealth อยู่ หากการบริหารกิจการได้ดีจริงแล้วสุดท้าย ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นต้องเพิ่มขึ้นในระยะยาว (ทั้งนี้ต้องถือเรื่องความโปร่งใสและการเปิดเผยรายงานทางการเงินถูกต้องเป็นพื้นฐาน) ดังนั้นทำไมเราจึงไม่ลงทุนในหุ้นที่มีความไม่ชอบมาพากลในการรายงานงบก่รเงิน เพราะผิดหลักการข้อแรกนี้แล้ว ย่อมเชื่อได้ว่ากิจการนั้นไม่ได้มุ่งสร้าง Maximize shareholders’ wealth ให้กับนักลงทุนทั่วไป การมี Good Governance (หลักธรรมาภิบาล) จึงเป็นจุดเริ่มที่ดี ส่วนข้อสอง หลักของ Du Pont Analysis คือการพยายามแตกสูตรออก เมื่อพิจารณาจากสูตร ROE สามารถแยกออกได้หลายแนวทางคือ ROE = NI / Equity = (NI/Sales) x (Sales/Asset) x (Asset/Equity) ถ้าAsset/Equity = (Debt + Equity) / Equity = 1+D/E เรียกว่า Leverage Multiplier หรือตัวคูณความเสี่ยง ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น คือผลของ อัตรากำไรสุทธิ x อัตราการหมุนเวียนสินทรัพย์ x ตัวคูณความเสี่ยง ROE = NI / Equity = (NI /Asset) x (Asset/Equity) ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น คือผลของ อัตรากำไรของสินทรัพย์ (ROA) x ตัวคูณความเสี่ยง ROE = NI/ Equity = (NI/EBIT) x (EBIT/Sales) x (Sales/Asset) x (Asset/Equity) or ROE = (Gross profit – S&A Expense – Interest&Tax)/Sales x (Sales/Asset) x (Asset/Equity) ROE = (GM -%S&A-%I&T) x Asset turnover x Leverage Multiplier ผลตอบแทนผู้ถือหุ้น คือผลของอัตรากำไร x อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ x ตัวคูณความเสี่ยง จากการแตก ROE พบว่าการเพิ่มผลตอบแทนหรือนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ขึ้นกับ 3 เรื่องหลักๆคือ 1. อัตรากำไร (ในทุกๆขั้น) ถ้าสูง ROE จะสูง 2. อัตราการหมุนเวียนสินทรัพย์ ถ้าสูง ROE จะสูง นั่นคือสินทรัพย์มีระดับที่เหมาะสม หรือส่วนใหญ่เป็น Performing Asset เช่นลูกหนี้หมุนเวียนดี สินค้าหมุนเวียนดี มีการลงทุนในบริษัทร่วมที่ทำกำไร ลงทุนใน PPE ที่เหมาะสม ไม่ลงทุนในสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น GW, R&D ที่มากไป สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนทำให้ ROE สูงขึ้ง การมีลูกหนี้เก็บเงินช้า ลูกหนี้ก็จะหมุนช้า มึจำนวนมาก เทียบกับขายก็มีดี ก็มีผลรวมต่ออัตราการหมุนเวียนสินทรัพย์รวมด้วย เป็นต้น สินทรัพย์อื่นก็อยู่บนตรรกะเดียวกัน 3. โครงสร้างหนี้ต่อทุน อันนี้บางคนอาจรู้สึกจะขัดแย้งว่าโครงสร้างหนี้มากๆ ทำROE สูง จะดีอย่างไร ลองม่าดูเหตุผลทางการเงินประกอบจะรู้ว่า มัน Balance ตัวเองได้โดยไม่ต้องห่วง Leverage Multiplier หรือตัวคูณความเสี่ยงนี้คือ 1+D/E เช่น บริษัทมี D/E = 1.2 ตัวคูณความเสี่ยงจะเท่ากับ 2.2 การที่บริษัทใช้เงินกู้มาบางส่วนถ้าอยู่ในระดับที่เหมาะสม ต้นทุนการเงิน (ดอกเบี้ยจ่าย) จะไม่มากเกินอัตราตลาดที่ควรได้รับ ผลคือ อัตรากำไรในข้อ 1 จะสูงอยู่ ถ้าระดับหนี้มากขึ้นต้นทุนจะยิ่งสูงขึ้นจะทำให้อัตรากำไรลดลง เพราะดอกเบี้ยจ่ายสูง ในเรื่องCapital structure อัตราการเพิ่มต้นทุนเงินกู้จะเป็นอัตราเร่ง ดังนั้นเมื่อหนี้มากเท่าไรอัตากำไรยิ่งลงเร็วมากขึ้น ซึ่ง ผลของการมี Leverage Multiplier หรือตัวคูณความเสี่ยง สูงๆ จะถูก offset ด้วยอัตรากำไรโดยอัติโนมัติ ดังนั้นใครที่คิดจะก่อหนี้มากๆ เพื่อสร้าง ROE เมิ่อถึงระดับดับหนึ่งจะทำลาย ROE เองโดยหลักทั่วไปของตลาดการเงิน บางบริษัทใช้วิธีการตีสินทรัพย์เพิ่มในส่วนทุนเพื่อดึง D/E ลง ถ้าจะลงมากๆ ต้องตีเพิ่มสูงๆ สินทรัพย์ยิ่งเพิ่มมาก E ยิ่งมาก แต่ Asset turnover ยิ่งลด ROE ก็ยิ่งลดเช่นกัน ดังนั้น D/E ดี แต่ ROE ไม่ดี ดังนั้นถ้ายึดหลักโดยเอา ROE เป็นตัวหลักจะช่วยกรองเอาความพยายาม ตกแต่งงบโดยมาตาฐานการบัญชีด้ระดับหนึ่งพอควร พวกที่ไม่ตัดหนี้สงสัยสูญกลัวกำไรลด ไม่ตีการด้อยค่าสินทรัพย์ Asset turnover ก็ฉุด ROE ทางอ้อมเอง ถ้าตีด้อยค่า ตั้งหนี้สงสัย หรือลดมูลค่าสินค้าลง สินทรัพย์ลด asset turnover เพิ่ม แต่อัตรากำไรก็ลดลง offset กันเอง กิจการที่ทำอะไรตรงไปตรงมาและถูกต้องมันจะไปได้เองโดยธรรมชาติ บริษัทที่ทำกลบัญชีมักจะมีจุดอ่อนหนึ่งคือ ROE
โดย
sun_cisa2
ศุกร์ ก.ย. 07, 2012 6:19 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ที่คุณบอกมาก็ช่ครับ ตราบใดที่แม่ดีย่อมมีโอกาสมากกว่า อย่าง CPALL ขายลูกทิ้งปั๊บกำไรดีเลย หุ้นก็ขึ้ย สังเกตให้ดีหุ้นขึ้นเพราะกำไรงบรวมดีใช่ไหม ไม่ใช่แค่ตัวแม่ดี ไม่อย่างนั้นมันขึ้นไปนานแล้ว ไม่รอให้ต้องขายลูกหรอกครับ โลกตลาดทุนซับซ้อน แต่บางทีก็ง่ายๆตรงๆ ดังนั้นวิเคราะห์อย่างมีกลักการจะดีที่สุด อย่างที่ผมเคยบอกไว้เสมอครับว่า อย่าเสียดายโอกาสที่พลาดไป เพราะตลาดหุ้นมีโอกาสทุกวันถ้าเรามีทุนที่จะลงทุนกับมัน เหมือนกับนักลงทุนชั้นนำบอกว่าจงอย่าขาดทุนจะดีที่สุด ดังนั้นอะไรที่ดูไม่เข้าท่าเลี่ยงดีกว่า บริษัทที่มีลูกขาดทุนฉุดกำไรรวมลงมาๆ อย่ารอโดยซื้อแล้วหวังว่าเดี๋ยวเขาขายได้ก็จะดีขึ้น คุณไม่ได้เป็น CEO หรือประธานกรรมการ แล้วรู้หรือว่าเขาจะขายหรือไม่ ขายได้ไม่ได้ หรือขายเมื่อไร ซื้อเมื่อชัดเจนดีกว่า ซื้อช้าแต่อย่าซื้อแพงเกินไป ถ้าราคาไปเร็วเกินก็ช่างมัน หาหุ้นตัวใหม่ที่น่าลงทุนต่อดีกว่า ดีกว่าซื้อแล้วมาลุ้นว่าจะขายไม่ขายลูก เว้นแต่ซื้อจนถือหุ้นเสียงข้างมากแล้วยกมือบังคับขายด้วยมติผู้ถือหุ้นก็ไม่ว่ากัน เจอมาเยอะครับบางคนถือมา 3-4 ปีไม่ไปไหนเลย คนอื่นเขาได้กำไรตัวอื่นถ้วนหน้า สุดท้ายตัดใจขายเข้าซื้อตัวอื่น ขายปั๊บรุ่งขึ้นหุ้นขึ้นเลย จนอยากเอาหัวโขกเสา อย่าลืมนะครับว่าสุดท้ายโลกนี้เป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization) กองทุน บริษัทข้ามชาติ นักลงทุนรายใหญ่ๆระหว่างประเทศ เป็นผู้มีอิทธิพลต่อตลาด และแนวความคิด ยิ่งไทยเปิดหรือมีขนาดการค้าระหว่างประเทศมากเท่าใด ต่างชาติยิ่งสนใจเรามากเท่าใด วิถีการเงินยิ่งต้องคิดแบบโลกตะวันตกหรือผู้นำทางเศรษฐกิจโลกเท่านั้น สถาบัน กองทุน เขาดูงบการเงินรวม สุดท้ายก็ต้องอิงงบรวม เว้นแต่เลือกหุ้นเล็กๆ ที่ฝรั่งเขาไม่สนใจนั่นแหละ พอจะไม่เป็นไปตามกฎที่บอกมา
โดย
sun_cisa2
อังคาร ก.ย. 04, 2012 12:46 am
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ในการวิเคราะห์ตามหลักสากล จะวิเคราะห์งบการเงินรวมเป็นหลัก ถ้าอัตราส่วนการเงินงบการรวมใดดีก็เลือกหุ้นนั้นมาก่อน กรณีที่ถามว่าถ้าลูกทำธุรกิจอุตสาหกรรมแตกต่างจากแม่มาก ตรงนี้เราต้องมาวิเคราะห์ธุรกิจว่าเหมาะหรือจำเป็น หรือ คาดเดาว่าเขาคิดอะไร make sense ไหม ในทฤษฎี corporate strategy กิจการต้องกำหนดว่าจะเลือกใช้ growth strategy, productivity or stability strategy หรือ retrenchment เอาเฉพาะ Growth strategy มี 2 แบบ คือ Concentrate - แบบ Horizon or Vertical และ Divercification - แบบ Concentric or Conglomerate ถ้าลงทุนในลูกทีทำอุตสาหกรรมแตกต่างเลย ก็ต้องมองว่าบริษัทเลือกที่จะโตแบบ Divercification คงต้องตั้งคำถามว่า อุตสาหกรรมที่แม่ทำนั้นมี Value chain สั้นหรือแม่ได้ทำครบตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ (Upstream to Downstream) หมดแล้วหรือ มีความไดเเปรียบในอุตสาหกรรมหลักแล้วหรือ ถ้าไม่กำลังจะทิ้งธุรกิจแม่เข้าสู่ธุรกิจลูกหรือไม่......คำถามมีอีกมากเลยครับ ในแง่การลงทุนสไตล์ Graham & Buffett ถือว่าไม่ค่อยดีนักครับ จะไม่ลงทุน
โดย
sun_cisa2
อาทิตย์ ก.ย. 02, 2012 3:53 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="firewalker"]สวัสดีครับอาจารย์สรรพงศ์ อยากรบกวนสอบถามอาจารย์หน่อยครับ เกี่ยวกับงบกำไรขาดทุน ระหว่าง งบการเงินรวม VS งบกำไรเฉพาะกิจการ 1. งบการเงินรวมดีกำไรเยอะมาก แต่งบกำไรเฉพาะกิจการไม่เคยดีเลย หรือติดลบ (ลูกดีแต่แม่ฉุด) 2. งบการเงินรวมแย่ตลอด(ไม่ดีหรือติดลบ) แต่งบกำไรเฉพาะกิจการดีมากตลอด (แม่ดี แต่ลูกฉุด) ถ้าเจองบแบบนี้ แบบไหนน่าสนใจ หรือควรให้ความสำคัญมากกว่าครับ และถ้าบริษัทย่อยทำธุรกิจที่แตกต่างบริษัทแม่ ยังควรให้สำคัญเช่นเดียวกับคำถามแรกรึปล่าวครับ ขอบคุณครับ[/quote] สมมติว่ามีแค่สองกิจการข้างต้นให้เลือก และเราเป็นนักลงทุน ในกิจการทั้งสองแบบนี้จะให้ภาพต่างกันสองแบบคือ 1 ราคาหุ้น แบบที่ 1 ราคาหุ้นจะดูดีกว่า เพราะ กำไรต่อหุ้นมากกว่า แม้แม่จะกำไรน้อยแต่ลูกมีกำไรในแง่ตลาดจะมีค่าพีอีดีกว่า ถ้าถือเเน้นราคาหุ้น แบบที่ 1 น่าลุ้นกว่าเยอะครับ 2 ในมุมเงินปันผล ตามกฎหมายเงินปันผลกิจการที่มีกำไรจึงจะจ่ายปันผลได้ งบการเงินรวมเป็นการรวมหน่วยงานในทางบัญชี ไม่ใช่นิติบุคคล ถ้าแม่กำไรน้อยหรือขาดทุน ก็จ่ายปันผลได้น้อย กำไรลูกเยอะแต่จ่ายปันผลน้อยแม่ก็จ่ายจากกำไรลูกไม่ได้ถ้าแม่ไม่ยกมือให้ลูกจ่ายแม่ แต่เก็บกำไรที่ลูกไว้เฉยๆ ในแง่งบรวม กำไรงบรวมทางบัญชีเอามารวมกันแต่อาจมีปันผลต่ำก็ได้ ในมุมกลับกันถ้าแม่กำไรมากแต่ลูกแย่ แม่ก็ยังจ่ายปันผลได้ ดังนั้นถ้าเล่นหุ้นแบบลุ้นราคาแล้วแบบแรกดีกว่าครับ ถ้าแบบสองราคาไม่ค่อยวิ่งแต่ลุ้นปันผล (ซึ่งอาจจ่ายไม่มากก็ได้) ในอีกมุมหนึ่งซึ่งมีมากที่ชอบทำกัน ถ้าในแบบแรก แม่ไม่ดี แต่ลูกดี มักจะเป็นช่องทางที่เจ้าของผ่องถ่าย (ไซฟ่อนเงิน) จากแม่ไปลูก รอวันตีจากแม่ เช่นแม่ทำตัวให้ใกล้เจ๊งแล้วขายลูกออกราคาถูกๆ เพื่ออ้างว่าเอาเงินมาใช้หนี้ กลุ่มเจ้าของจะซื้อราคาต่ำกว่าความจริงไป เรียกว่าได้ของถูกมีกำไรสะสมไว้แล้ว พอขายเสร็จค่อยมาจ่ายทีหลัง ตอนนี้ก็ไม่มีใครรู้ โดยปรกติถ้าบริษัทดีๆนั้นเมื่อลูกกำไรดีมาก และแม่ดูไม่ดี แม่ในฐานะที่ถือหุ้น>50% จะยกมือให้ลูกจ่ายปันผลให้แม่ งบเดี่ยวแม่จะมีกำไรดีขึ้นจากกรายได้เงินปันผล เมื่อทำงบรวมส่วนนี้จะเป็นรายการระหว่างกันตัดออกไป แต่ถ้าลูกมีกำไรแล้วไม่ยอมจ่ายปันผลอันนี้ผมมองว่าแปลก งบแม่ก็ไม่ดี ทำไมไม่โอนกำไรลูกมาให้แม่เพื่อจะได้จ่ายปันผลให้คนซื้อหุ้นแม่ ยิ่งเป็นติดๆกันหลายปี ตอบได้เลยว่า กำลังไซฟ่อนเงินแบบถูกกฎหมายอยู่ แค่รอวันดีดตัวออกงามๆเท่านั้น ส่วนกรณีที่แม่ดีแต่ลูกไม่ดี ผมมักมองว่าบริหารเงินไม่เก่งมากกว่า ลูกไม่ดีไปซื้อมาถือไว้ทำไม พูดอีกด้านหนึ่งก็คือแม่มี non-performing asset (NPA) แม้จะมีลุ้นปันผล แต่ราคาหุ้นไม่ work ผลตอบแทนโดยรวมในการลงทุนอาจไม่คุ้มกับความเสี่ยง พอจะได้มุมมองบ้างนะครับ ความจริงเทคนิคแปลกๆ ที่เจ้าของหุ้นชอบเอามาหลอกนักลงทุนก็มีอีกมาก ปรากฎการณ์ที่บอกมีจริงที่เกิดแล้วทั้งนั้น
โดย
sun_cisa2
อาทิตย์ ก.ย. 02, 2012 3:23 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="mcthanyawat17"]ในกรณีที่ บริษัทเพิ่มทุน จะทำให้ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เพิ่มขึ้นใช่มั้ยคับในงบดุล แล้วส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงคับ และถ้าต่อมา บริษัทมีการนำเงินที่เพิ่มทุนไปลงทุน ส่วนไหนของงบดุลจะต้องหายไปคับ[/quote] ทุนจดทะออกและเรียกชำระแล้วจะเพิ่มขึ้น ส่วนเกินมูลค่าหุ้นอาจจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็ได้ ขึ้นอยู่ว่าบริษัทเพิ่มทุนที่ราคาพาร์หรือไม่ ถ้าเพิ่มทุนที่ราคาพาร์ (เช่นหุ้นมีราคาพาร์ 1 บาท เพิ่มทุนใหม่ที่ราคา 1.6 บาท ส่วนเกินจะเพิ่มขึน 0.6 บาทต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้น) การเพิ่มทุนทำให้เงินสดเพิ่มและทุนเพิ่ม ส่วนหลังจากเพิ่มทุนถ้านำเงินที่เพิ่มไปลงทุน ถ้าไปซื้อหุ้นบริษัทอื่น เงินลงทุนกะเพิ่มขึ้น เงินสดก็ลดไปในจำนวนเดียวกัน กรณีทีเอาไปซื้อที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง โรงงาน เครื่องจักร รายการในหมวดที่ดิน อคารและอุปกรณ์ก็จเพิ่มและเงินสดก็จะลดในจำนวนที่เท่กับเงินที่เอาไปลงทุน แต่ถ้าเพิ่มทุนนำไปจ่ายหนี้ หนี้ก็จะลด เงินสดก็จะลด ถ้านักลงทุนใช้หลักสมการบัญชี ไม่ว่าจะเกิดรายการอะไร ตรงไหนเพิ่มตรงไหนลด จะเข้าใจง่ายขึ้น สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน ส/ทหมุนเวียน + ส/ทไม่หมุนเวียน = น/สหมุนเวียน + น/สไม่หมุนเวียน+ทุนที่ออก+ส่วนเกินทุน+กำไรสะสม กำไรสะสม = กำไรสะสมต้นงวด + กำไรขาดทุนสุทธิของงวด + กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของงวด กำไรสะสม = กำไรสะสมต้นงวด+(รายได้-ต้นทุนขาย-คชจขายและบริหาร-ต้นทุนการเงิน-ภาษี)+กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของงวด จะเห็นว่าที่จริงก้คือการขยายรายละเอียดแยกออกไปเท่านั้น จากสมการเดิมคือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้ว่ารายการที่พูดถึงเป็นรายการในกลุ่มใด ความจริงแค่กระทบชิ่งกันไปมาในสมการบัญชี
โดย
sun_cisa2
ศุกร์ ส.ค. 31, 2012 1:36 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
วิเคราห์สั้นๆ จากข้อมูลข้างต้นอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในระยะเวลา 10 ปีมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยทั่วไป (arithematic mean) 5.8% หรือ geomatric mean เติบโตคิดแบบทบต้น 5.7% ใกล้เคียงกัน ปกติในมุมผมนั้นถ้าสองค่าใกล้เคียงกัน บอกได้ว่าอุตสาหกรรมนี้ได้มาถึงระดับ saturation or maturity stage ในระยะยาวใช้ 10% เป็นอัตราการเติบโตอุตสาหกรรมได้ดีระดับหนึ่ง และเมื่อหา standard deviation ของ growth ได้ 5.1% มีวงจรขึ้นลงราว 5-6 ปี (0-10%) ดังนั้นหากใครลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ก็จับจังหวะให้ดีถือยาวสัก 4-5 ปี ได้ผลตอบแทนที่ดีพอควร ลองกลับไปศึกษาราคาหุ้น scc ดูได้ครับ บางช่วงหุ้นนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า 100% ในระยะเวลาเพียง 2 ปี โดบมีความเสี่ยงจากความผันผวนในการคาดการณ์การเติบโตเพียง 5% เมื่อเทียบกับบางอุตสาหกรรม ควมผันผวนจากการประมาณการณ์ (ผิดจากที่คาด) อาจมากกว่า 30% ทีเดียว และด้วยการเติบโตระยะยาวที่อิ่มตัวในระดับ 5% ตามแนวโน้ม GDP เป็นเหตุให้ scc ขยายการลงทุนไปหลาย sector เช่นกระดาษ ปิโตเคมี การวิเคราะห์อุตสาหกรรมอื่นๆเชิงปริมาณก็ทำลักษณะคล้ายกัน แต่ตัว GM อาจต้องดูบริษัทในกลุ่ม ปตท.แทน เอาแนวโน้มนั้นมาวิเคราะห์กับโครงสร้างรายได้ของ scc ก็จะเห็นภาพแนวโน้มกำไรของ scc ได้ดีขึ้น ด้วยแนวคิดนี้นำไปใช้ได้กับหลายบริษัท เห็นไดทั้งแนวโน้มอุตสาหกรรม และวิเคราะฆงบบรษัท ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่าหุ้นตัวนั้นแกร่ง มีความได้เปรียบทางธุรกิจหรอไม่ เพราะบางบริษัท อุตสาหกรรมดี แต่ตัวบริษัทไม่แกร่ง (งบการเงิน) บ่งชี้ว่าบริษัทจะไม่สามารถใช้โอกาสจากอุตสาหกรรมได้ในระยะยาว ถือยาวอาจไม่ดี ถ้าอุตสาหกรรมไม่ดีแนวโน้มย่อมลำบากเว้นแต่บรษัทต้องมีกลยุทธที่ชัดเจนที่จะหารายได้จากอุตสาหกรรมใหม่เป็นต้น
โดย
sun_cisa2
พฤหัสฯ. ส.ค. 23, 2012 12:48 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
การวิเคราะห์แนวโน้มกำไรอุตสาหกรรมและการเติบโต ในบางครั้งอาจใช้ข้อมูลทางการเงิน (งบการเงิน) ช่วยได้ แต่ควรจะใช้ 1 งบการเงินควรใช้งบของบริษัทขนาดใหญ่หรือเป็นผู้นำอุตสาหรรม ถ้าไม่แน่ใจว่าใครเป็นผู้นำก็ใช้บริษัทชั้นนำใหญ่ๆสัก 2-3บริษัท ส่วนบริษัทที่เราวิเคราะห์อาจอยู่หรือไม่อยู่ก็ได้ และควรใช้ข้อมูลไม่น้อยกว่า 5 ปี (งบมาเรียงเป็น time series) และใช้เฉพาะยอดขาย ต้นทุนขาย และกำไรขั้นต้นก็พอไม่ต้องเอาทุกรายการ เพราะเรากำลังวิเครราะห์แนวโน้มอัตรากำไรเท่านั้น 2 ข้อมูลมหภาคที่เกี่ยวข้องใล้เคียงหรือค่อนข้างตรงที่สุดในช่วงเวลาเท่าๆกัน เช่น ปริมาณการจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศสินค้าก่อสร้างข้อมุลมหภาคหาได้จาดหล้ายแหล่ง เช่น ธปท สศอ สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นต้น Construction M Bh YoY Growth 2001 154,645 2002 165,691 7.1% 2003 174,365 5.2% 2004 194,744 11.7% 2005 214,163 10.0% 2006 234,304 9.4% 2007 249,589 6.5% 2008 258,688 3.6% 2009p 245,819 -5.0% 2010p1 269,376 9.6% 2011p1 270,027 0.2% 2012-Hp 145,239 ในอุตสาหกรรมก่อสร้างก็อาจนำเอา SCC มาพิจารณา sales growth, GM ก็จะได้ภาพของอุตสาหกรรมระดับหนึ่ง เป็นต้น การวิเคราะห์หุ้นเพื่อลงทุนนั้นไม่ใช่แค่เพียงอ่านงบได้เท่านั้น แต่การมองและอ่านได้และเชื่อมโยงข้อมูลงบกับสภาพเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมได้ยิ่งมีประโยชน์มาก รู้ด้านเดียวเช่นวิเคราะห์เศรษฐกิจได้ วิเคราะห์อุตสาหกรรมได้ มาตกม้าตายเพราะซื้อหุ้นที่แต่งตัวเลขหรือมีงบน่าสงสัย เช่น ตปท เอนรอน เจพีมอร์แกน หรือดูงบแตกฉานแต่มองทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไม่ออกก็แย่เช่นกัน นักลงทุน นักวิเคราะห์จึงควรมีความรู้รอบด้านและหลักการดี จึงมีเกราะคุ้มกันที่ดี
โดย
sun_cisa2
พฤหัสฯ. ส.ค. 23, 2012 11:47 am
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
Econom of scale และ Cost disadvantage independent of size ทั้งสองเรื่องคล้ายแต่ต่างกันที่ ขนาดของธุรกิจทำให้ได้เปรียบในเรื่องการประหยัดต่อขนาด (economy of scale) ในเรื่องต้นทุนการผลิต กล่าวง่ายๆ คือต้นทุนการผลิตมีอยู่ 2 กลุ่มคือ ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ ต้นทุนผันแปรโดยปกติจะคงที่ต่อหน่วยเสมอและเพิ่มตามปริมาณการผลิตโดยตรง ในธุรกิจที่แข่งขันเสรี ถ้าคู่แข่งจะผลิตสินค้าเดียวกันเข้ามาแข่งในอุตสาหกรรม ต้มทุนคงที่ไม่น่าจะแตกต่างเพราะผลิตเหมือนกันในตลาดเดียวกัน แต่ขนาดที่ใหญ่กว่า ผลิตในหน่วยปริมาณที่มากกว่า ต้นทุนผลิตสำหรับค่าใช้จ่ายคงที่จะลดลง นั่นคือ ต้นทุนคงที่จะไม่เปลี่ยนแปลง (รวม) แต่ต้นทุนต่อหน่วยจะลดลงเมื่อหน่วยผลิตมากขึ้น ดังั้นต้นทุนต่อหน่วยรวมจะต่ำลง ทำให้สามารถกำหนดราคาขายที่ต่ำลงได้โดยยังคง margin เท่าเดิม ส่วน Cost disadvantage independent of size เป็นต้นทุนซึ่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ธุรกิจเดิมที่อยู่ในอุตสาหกรรมจะมีความได้เปรียบเนื่องจากต้นทุนซึ่งคู่แข่งขันที่จะเข้ามาใหม่ไม่สามารถลอกเลียนแบบหรือทดแทนได้โดยง่าย ซึ่งการได้เปรียบในลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องเกิดจากการมีต้นทุนต่ำจากการประหยัดต่อขนาดในการผลิต (economy of scale) เท่านั้น แต่การได้เปรียบเหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ของการอยู่ในอุตสาหกรรมมานาน ความลับทางการค้า ได้เปรียบในด้านการควบคุมแหล่งวัตถุดิบหรือแรงงานหรือช่องทางในการจัดหาเงินที่มีต้นทุนที่ต่ำ เทคโนโลยีที่ได้รับการปกป้องทางลิขสิทธิ์และทำเลที่ตั้งที่ดี หรือการได้รับการสนับสนุนการภาครัฐ คู่แข่งที่จะเข้ามาแม้ดูเหมือนง่ายแต่อาจเสียเปรียบในเรื่องต้นทุนการจัดหาปัจัยการผลิตได้ กลับกันถ้าคู่แข่งมีสิ่งที่กล่าวมามากกว่าคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมก็จะกลายเป็นคนได้เปรียบ
โดย
sun_cisa2
พฤหัสฯ. ส.ค. 23, 2012 10:30 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="cyber-shot"]อาจารย์ครับ ไม่ทราบว่าเรามีวิธี ศึกษาอุตสาหกรรมยังไง ว่าจะเติบโต ในอีก หลายปีข้างหน้า หรือ อุตสาหกรรมตกดิน และ อุตสาหกรรมอยู่ช่วงไหนของวัฏจักร และศึกษาว่าบริษัทมี ข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัทได้ยังไงครับ เพราะในหนังสือ ที่อาจารย์แนะนำ เขาบอกว่า replacement cost ใช้กับอุตหกรรมที่วัฏจักร หรือ ไม่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง แต่เป็นอุสหากรรม เติบโต มีdemand เพิ่มขึ้นในระยะยาว ส่วนที่อุตสหกรรมที่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งชัดเจน ก็EPV DCF[/quote ตอบเพิ่มเติม ข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัท ต้องเข้าใจก่อนว่าการวิเคราะห์ 5 forces เน้มมองภาพกว้างเข้ามาหาบริษัท ไม่ใช่การมองจากข้างในสู่ด้านนอก 5 forces เป็นแนวมางดารวิเคราห์อุตสาหกรรม industrial analysis ดังนั้นถ้าจะวิเคราะห์เพื่อหาข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัท คงตอบได้ยากหรือไม่ตรงประเด็นเพระง่ายๆ ว่าสมมติ บง.เงินทุน A จะเข้าส่ธุรกิจธนาคาร ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง บง. อื่นหรือไม่ ขึ้นกับปัจจัยภายนอก เช่น ธปท. มีนโยบายให้ใบอนุญาตตั้งธนาคารมากน้อยเพียงใด A มีความต้องการมากน้อยแค่ไหน เช่น บง.ธนชาตจะตั้งธนาคา บง.จะตั้งธนาคาร บง.ทิสโก้จะตั้งธนาคาร บง.ภัทรจะตั้งธนาคาร บง.สินอุตสาหกรรมจะตั้งธนาคาร ธนาคารตปท.จะตั้งธนาคาร (ไม่ใช่สาขาธนาคารต่างประเทศ) ทุกที่เข้าสู่อุตสาหกรรมธนาคารได้เท่าๆกัน ปัญหาที่ยากมีอยู่ไม่กี่เรื่องคือ ขนาดเงินทุนที่จะใช้ และข้อกำหนดจาก ธปท. บางบง. ไม่มีปัญหาเรื่องเงินทุนแต่ติดที่กฎระเบียบของ ธปท. บางประเทศตั้งง่ายมาก ยื่นขอปุ๊บไม่เกินเดือนได้ใบอนุญาตแล้ว ดังนั้นการวิเคราะห์ barrier to entry/exit จึงใช้ดูว่าอุตสาหกรรมที่บริษัททำอยู่จะเกิดคู่แข่งใหม่ๆง่ายหรือไม่ ถ้าเข้าง่าย แสดงว่าอุตสาหกรรมที่ทำอยู่มีการแข่งขันสูง การเกิด extra margin ย่อมยากหลักๆ จะดูอยู่ 6 ด้านคือ 1. ขนาดเศรษฐกิจ/อุตสาหกรรมหรือตลาด -Economy of scale: ขนาดเล็กเข้าง่ายแต่อาจไม่น่าจูงใจเท่าขนาดตลาดที่ใหญ่ 2. สินค้าบริการมีความหลากหลายมากน้อยเพียงใด -Product Differentiation: อุตสาหกรรมที่มีความหลากหลายมากจะได้เปรียบกว่าอุตสาหกรรมที่มีลักษณะสินค้า/บริการ ที่จำกัด 3. ทุนที่ต้องใช้ -Capital Requirements: อันนี้แหละที่อาจใช้ APV มาช่วยดูได้ (Asset reproduction value) ถ้าน้อยแสดงว่าหากใครจะมาแข่งขันทะแบบเดียวกัน ขนาดยอดขายเท่ากันใช้เงินมากหรือน้อย 4. ความเสียบเปรียบจากขนาด -Cost disadvantage independent of size ขนาดของธุรกิจอาจมีผลต่อต้นทุน ที่เราจะรู้จักในอีกด้านคือ ecomomy of scale 5. การเข้าถึงช่องทางการจำหน่ายหรือกระจายสินค้า -Access to distribution channel เช่นธุรกิจค้าก๊าซน้ำมันต้องอาศัย บริษัทขนส่งท่อก๊าซน้ำมันที่มีจำกัด หรือโรงผลิตไฟฟ้า ต้องอาศัยสายไฟฟ้า ซึ่งอาจมีผู้ให้บริการจำกัด ถ้าจะทำเองต้อลงทุนเพิ่มอีกธุรกิจ ซึ่งอาจไม่คุ้มเพราะมีคนใช้รายเดียวคือบริษัท 6. นโยบายรัฐหรือหน่วยงานกำกับดูแล -Government policy นี่คือหลักใหย๋ๆที่ต้องศึกษาหาข้อมูลในการวิเคราะห์ barrier to entry การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน บางเรื่องกไม่ใช่เอาตัวเลขมาหารกันแล้วตอบค่ากันเป๊ะเหมือนงบการเงินครบ จึงบอกมาตลอดว่า การวิเคราะห์คือ ศาสตร์และศิลป์
โดย
sun_cisa2
พุธ ส.ค. 22, 2012 9:42 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
บางข้อมูลจะเห็นว่าดูได้จากงบการเงิน
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ส.ค. 20, 2012 3:48 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ว่าแล้ว่าต้องเพี้ยนๆ อีกเช่นเคย
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ส.ค. 20, 2012 3:46 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ตัวอย่างเบื้องต้นในการใช้ข้อมูลธุรกิจ่พื่อวิเคราะห์วงจร (ความจริงมีอีกมากหลายมิติแต่เอามาให้ดูพอสังเขป) การวิเคราะห์แนวโน้มกับวงจรธุรกิจ-วงจรธุรกิจกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ วงจร หรือ วัฏจักรธุรกิจ ช่วงของวัฏจักร ลักษณะธุรกิจ สภาพของการตลาด 1. Start or - การลงทุนสูง - สินค้าอยู่ในช่วงบุกตลาด Development - ยอดขายเติบโตสูงมาก Margin ต่ำ - ค่าใช้จ่ายการตลาดสูง เริ่มต้นหรือพัฒนา - กระแสเงินสดติดลบ ไม่มีการจ่ายเงินปันผล - กลยุทธการตลาดเชิงรุก 2. Growth or Star - ยอดขายเติบโตสูง ต้นทุนต่อหน่วยลดลง - ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น เติบโตหรือดาวเด่น - Margin เพิ่มสูงขึ้น - ตลาดขยายตัวเร็ว แข่งขันสูง - CAPEX > Depreciation - ผู้แข่งขันเข้ามากขึ้น 3. Mature - อัตราการเติบโตเริ่มคงที่ - ผู้แข่งขันมาก เติบโตเต็มที่ - ยอดขายอยู่ในระดับสูง - ตลาดเริ่มขยายตัวช้า - อัตราเงินปันผลสูง - เกิดการแข่งขันด้านราคา 4. Saturation or - กระแสเงินสดสูง และ อัตราเงินปันผลสูง - ส่วนแบ่งการตลาดคงที่ Cash Cow - Margin เริ่มลดลง - การแข่งขันด้านราคาสูง อิ่มตัวหรือวัวนม - CAPEX = Depreciation - ตลาดอิ่มตัว 5. Decline/Sunset - ยอดขายลดลง - สินค้าเริ่มหมดความนิยม or Dog - Margin ลดลงต่อเนื่อง - ลูกค้าหันไปใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ลดลง ถดถอย - กำไรลดลง / ขาดทุน ต้นทุนการผลิตสูง อยาก copy เป็นภาพมาลงจะชัดเจนกว่า ถ้ว space เบี้ยวไปมาก็เดาๆ เอาหน่อยละกัน
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ส.ค. 20, 2012 3:45 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="cyber-shot"]อาจารย์ครับ ไม่ทราบว่าเรามีวิธี ศึกษาอุตสาหกรรมยังไง ว่าจะเติบโต ในอีก หลายปีข้างหน้า หรือ อุตสาหกรรมตกดิน และ อุตสาหกรรมอยู่ช่วงไหนของวัฏจักร และศึกษาว่าบริษัทมี ข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง หรือ barrier to entry ของแต่ละบริษัทได้ยังไงครับ เพราะในหนังสือ ที่อาจารย์แนะนำ เขาบอกว่า replacement cost ใช้กับอุตหกรรมที่วัฏจักร หรือ ไม่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่ง แต่เป็นอุสหากรรม เติบโต มีdemand เพิ่มขึ้นในระยะยาว ส่วนที่อุตสหกรรมที่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งชัดเจน ก็EPV DCF[/quote] ในการศึกษาอุตสาหกรรมว่าจะเป็นอย่างไรนั้น ต้องบอกไว้ก่อนว่าเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย แม้แต่คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมก็ยังไม่มีใครที่รู้ได้ถูกต้องจริงๆ แต่ถ้าเมื่อไรคาดการณ์ (หรือจะเรียกว่าเดาก็ได้ถ้าจะมองกันตรงๆ) ถูกก็ประสบความสำเร็จ ฉะนั้นเมื่อมองไปอนาคตต้องเผื่อใจไว้ตลอด สิ่งที่จะทำให้เราลดความไม่แน่นอนลงได้บ้าง (ตามที่เชื่อว่ามีเหตุผลเพียงพอ) คือข้อมูลที่นำมาประกอบการตัดสินใจ ในหนังสือที่แนะนำ investing value : from Graham to Buffett นั้นอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ (ซึ่งเป็นไปตามตามหลักทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์) จะไม่ควรมีบริษัทใดที่มี margin เหนือกว่าปกติมากๆได้ในโลกการค้าเสรี เพราะถ้าคุณได้กำไรคนะดียวมากๆในขรธหนึ่ง ก็จะมีคนใหม่กระโดดเข้ามาทันทีและเสนอขายราคาที่ต่ำกว่าเพื่อแย่ง market share เพราะด้วยต้นทุนการลงทุนที่เหมือนกันของมูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุนในงบดุล (ปรับปรุงเป็น replacement or reproductive cost) เขาสามารถได้ผลตอบแทนทีน่าพอใจ หากราคานั้นยังมีmargin มากกว่าทีคุ้มอยู่ก็จะมีคนเข้ามเรื่อยๆ และขายราคาแข่งขันจนสุดท้ายตลาดขายลงไปกว่านี้ก็จะไม่คุมการลงทุนตลาดก็จะนิ่ง นั่นคือเข้าสู่จุดสมดุล นั่นคือเหตุผลที่ตลาดที่ไม่มีข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งทำไมจึงหา replacement cost ได้จากการพิจารณาการปรับมูลค่าเล็กน้อยจากงบการเงิน ดังที่ผมได้บอกมาตลอด (ในหลายๆที่) ว่า ในทุกตำรามีหลักพื้นฐานทั้งการเงิน เศรษฐศาสตร์ บัญชี การบริหารซ่อนอยู่ทั้งหมด ทุกๆนัก VI ไม่มีใครออกนอกหลักการที่เป็นจริงในโลก capitalism ได้สักราย ที่เราคิดว่า เขามีวิธีที่พิเศษเพราะเรามักไม่ได้รู้หลักการที่แท้จริงต่างหาก ที่นี้การจะเข้าใจอุตสาหกรรมมีอยู่สองสามเรื่องที่ต้องรับรู้ไว้ 1 การคาดการณ์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ คือ มีหลักการในตัวขณะเดียวกันก็ต้องมีประสบการณ์ด้วย 2 ทุกอุตสาหกรรมหากจะเข้าใจควรต้องมีความรู้และประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนั้น ซึ่งมาได้สองทางคือ ทำงานในอุตสาหกรรมนั้นหรือไปสัมผัสกับตลาดหรือสินค้าของบริษัทและอุตสาหกรรมนั้น ดังเช่นที่ วอร์เร็น บัฟฟเฟต, ฟิชเชอร์ หรือ ปีเตอร์ลินท์ หรืออีกหลายๆคนทำ คือเดินเข้าไปร้านค้า ห้าง หรือซื้อสินค้ามาใช้ สอบถามโดยตรงกับคู่ค้า เป็นต้น จะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร 3 ใช้ข้อมูลมหภาคยาวๆ หรือบริษัทยาวๆและของ คู่แข่งสำคัญ (รายใหญ่-leader) ในช่วงเวลาเดียวกัน ได้ข้อมูลมากว่า 10 ปียิ่งดี ข้อมูลเหล่านี้ ทั้งมหภาคและจุลภาค นำมาวิเคราะห์เพื่อดูแนวโน้ม บางครั้งข้อมูลมหภาคอาจจะสัมพันธ์กับข้อมูลทางประชากรศาสตร์ในบางอุตสาหกรรมก็ได้ ซึ่งตรงนี้จะต้องใช้อะไรแค่ไหนขึ้นกับข้อ 2 ว่าเราเข้าในมันมากไหมบางเรื่องอาจำฃไม่จำเป็น บางเรื่องอาจจำเป็นวำหรับอุตสาหกรรมต่างกัน เรื่องวัฏจักรอุตสาหกรรม หรือวงจรอุตสาหกรรม มีวิธีการมากมายหลายวิธี แต่เชื่อไหม งบการเงินก็พอช่วยได้ทางหนึ่ง ในหนังสือ The Analysis and Use of Financial Statements; Gerald I. White, Ashwinpual C. Sondhi, Dov Fried ไบอกว่ารายการแต่ละรายการในงบการเงินควรมีลัษณะอย่างไรในแต่ละช่วงวงจรธุรกิจ เรื่องนี้นักบัญชีโดยมากไม่รู้เท่าใด
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ส.ค. 20, 2012 3:30 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ขอเพิ่มเติมต่อจากเรื่องการดู P/E ข้อควรระวังในการใช้ P/E มี่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ แม้แต่ของตลาดเองก็ตามคือ EPS ที่นำมาใช้คำนวณป็น EPS ที่ใช้หุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักไม่ใช่ EPS ที่เป็น Fully Diluted EPS หรือเรียกว่า กำไรต่อหุ้นปรับลด หลายคนสงสัยว่าต่างกันอย่างไรและมีผลต่อการพิจารณาราคาหุ้นอย่างไร EPS หรือกำไรต่อหุ้นหรือเรียกให้ตรงตามมาตรฐานการบัญขี คือกำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน เป็นการคำนวณหาโดยการนำกำไรสุทธิ (ที่เป็นของบริษัทใหญ่) หารด้วยจำนวณหุ้นสามัญถัวเฉลี่ย (ที่เป็นของบริษัทใหญ่) ผมเคยเจอบางบริษัทบางงวดบัญชีนำกำไรสุทธิในงบรวมมาเป็นตัวตั้ง แต่งวดอื่นถูกต้อง ก็ระวังกันหน่อยบ้างถ้าบางงวดกำไรงบเที่แบ่งให้ส่วนที่กิจการไม่มีอำนาจควบคุมมีมากกว่าปกติ โดยเฉพาะสัดส่วน (ดูได้จากรายการต่อลงไปอีกของบกำไรขาดทุน จะแสดง กำไรสุทธิของงวด ที่ประกอบไปด้วยกำไรที่เป็นของบริษัทใหญ่ และกำไรที่เป็นส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม (เดิมเรียกว่าส่วนได้เสียของผูถือหุ้นส่วนน้อย) EPS ต้องคำนวณโดยใช้ กำไรหรือขาดทุนที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทใหญ่ คราวนี้มาดูว่า ทำไมควรใช้ กำไรต่อหุ้นปรับลดพิจารณา ในทางบัญชีแสดงเพียงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์เพื่อวัดมูลค่าของส่วนได้เสียของหุ้นสามัญแต่ละหุ้นของบริษัทใหญ่จากผลการดำเนินงานของกิจการในรอบระยะเวลาที่รายงานว่ากำไรที่เกิดแล้วในงวดนั้นๆ ควรเป็นของผู้ที่ถือหุ้นอย่างยุติธรรมเท่าใดโดยคิดตามระยะเวลาที่ผู้ถือหุ้นเข้ามาลงทุน เช่น ABC มีกำไร 1,000 บาท โดย A ถือหุ้นมาตั้งแต่ต้นปี 800 หุ้น ส่วน B เข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุนีหลังระหว่างปีนั้น 400 หุ้นเมื่อตอนกลางปี กำไร 1,000 บาทนี้ เงินจาก A ทำมาหากินมา 1 ปีเต็ม ส่วนเงิน B เอามาใช้หากินแค่ครึ่งปี ถ้าถือว่าตลอดปีทำมาหากินสม่ำเสมอ 500 บาทแรก A ควรได้เต็มๆ ส่วน 500 บาทหลังถึงจะเอามาแบ่งระหว่า A กับ B ตามสัดส่วนที่ลงทุน 2:1 A ได้ไป 500x2/3 = 333.33 ส่วน B ได้ไป 500/3 = 166.67 รวมทั้งปี A ได้ส่วนแบ่งกำไรไป =500+333.33 = 833.33 A ถ้าเทียบแล้วลงทุน 1ปี ได้ผลตอบแทนต่อหุ้น = 0.3125+0.2083 =0.5208 รวมทั้งปี B ได้ส่วนแบ่งกำไรไป = 166.67 0.2083 แต่ในทางบัญชีจะแสดง EPS ขั้นพื้นฐานที่ 1000/(800x12/12 + 400x6/12) = 1.00 ดูแล้วเหมือนกับว่าได้คนละ 1 บาท ความจริงไม่ใช่เลย แค่บอกว่าถ้ามาคิดผลตอบแทนตามระยะเวลาลงทุนแล้ว โดยเปรียบเทียบให้หุ้นทั้งหมดเทียบเท่ากันได้บนฐานเวลาที่ปรับสัดส่วนให้เท่ากัน จะเหมือนว่าได้คนละ 1 บาท คราวนี้ถ้าจากการเพิ่มทุนแล้ว ปีหน้ามีกำไร เป็น 1,050 หรือเพิ่ม 5% EPS ปีที่สอง = 1.05 บาท ราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง? ถ้าใครดูกราฟอาจจะงงตอนเพิ่มทุน ราคาหุ้นในกระดานจะปรับตัวลงด้วย diluted ratio หรือบางครั้งในวงการหุ้นเรียกว่าเกิด dilution effect นั่นเอง สมมติว่าราคาหุ้นก่อนเพิ่มทุนอยู่ที่ 1 บาท เมื่อประกาศเพิ่มทุนที่หุ้นละ 1 บาทที่ราคาตลาด dilution deffect ดูเหมือนจะไม่เกิด (หาต้นทุนหุ้นใหม่หลังเพิ่มทุน= (ราคาเดิมxจำนวนหุ้นเดิม+ราคาหุ้นเพิ่มทุนxจำนวนหุ้นเพิ่มทุน)/(xจำนวนหุ้นเดิม+จำนวนหุ้นเพิ่มทุน) dilution effect = ต้นทุนหุ้นใหม่หลังเพิ่มทุน /ราคาเดิมก่อนเพิ่มทุน ถ้า พิจารณาด้วย P/E แล้วเอาค่าปีที่แล้ว (คิดว่าเป็น 10 เท่าเหมาะสมแล้ว) เลยเอา 10 คูณ EPS ราคาปีนี้จึงคิดว่า เป็น 10.5 แต่หากใช้ diluted EPS P/E ปีที่แล้วคือ 10/(1000/1200)= 10/0.833= 12 เท่า หากเราซื้อหุ้นนี้ไว้เมื่อีที่แล้ว ถือว่าซื้อราคางแม้หุ้นขึ้นมาก็จริงแต่ผลตอบแทนการลงทุนจะได้น้อยกว่าที่คาดหวัง คือ 10% หุ้นอาจจัราคาตกลงในเวลาถัดมาเพราะนักลงทุนสถาบันอาจจะปรับพอร์ตโดย switch ออกไปถือหุ้นอื่นแทน ปรากฎการณ์นี้ปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่ เช่นหุ้นในกลุ่มค้าปลีก พอจ่ายหุ้นปันผลปั๊บราคากลับดิ่งตลอดทั้งทีก่อนหน้าก็ดูดี ความจริงก็มีปัจัยอื่นด้วย แต่เรื่องนี้ก็เป็นเหตุผลทางทฤษฎีประกอบด้วยเช่นกัน จากตัวอย่างเดิม EPS ใหม่ = 10.5 เช่นเดิม แต่ P/E ใหม่จะไม่ใช่ 10 แล้ว ถ้า k = 20% g ที่คาด = 10% 1/PE เดิมที่ตลาดคาดหวัง = 1/10 = 10% = k%-g% = 20%-10% = 10% แต่เนื่องจาก g เหลือเพียง 5% ถ้าตลาดปรับ g คาดหวังเหลือเพียง 5% P/E ที่เหมาะสมใหม่เป็น ==> 20% - 5% = 15% = 1/PE => P/E ใหม่ = 6.67 ราคาที่ควรเป็นใหม่ตาม P/E ใหม่ = 1.05x6.67 = 7 บาท ราคาจึงลงทั้งที่ EPS โตขึ้น????
โดย
sun_cisa2
พุธ ส.ค. 15, 2012 4:37 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="greenman"]ไม่รู้จะขอบพระคุณอาจารย์อย่างไร ขอบคุณมากมายจริงๆ ขอคุยต่อจริงๆที่แกะงบตัวนี้ต้องการตอบคำถามตัวเองดังนี้ 1. บริษัทดังกล่าวมีบริษัทย่อยที่อยู่ในธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงจึงต้องการตอบโจทย์ให้ได้ว่า 1.1 บริษัทย่อยดังกล่าว Gross margin ตำกว่า yoy มากไหม 1.2 หากบริษัทย่อยจัดการ stock คงเหลือได้ GP ของบริษัทจะเป็นอย่างไรหรือบริษัทเองก็เสียความสามารถในการแข่งขันด้วย ขอบคุณอาจารย์ที่มอบวิทยาทานให้ครับ[/quote] 1.1 ใช้วิธีตามที่บอกไว้น่าจะช่วยตอบคำถามได้ และเพิ่มเติมในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (ความจริงสามารถเอาตัวเลขเชิงปริมาณมาดูปนะกอบได้เหมือนกัน แต่ในขณะนี้ยังไม่ต้องกล่าวถึง) คือวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่บริษัมย่อยนั้นประกอบธุรกิจอยู่ด้วย 5 forces ของ Michale E. Porterคือ 1 Rival competition การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม ง่ายๆ คือดูว่าอุตสาหกรรมที่ บ.ย่อยอยู่ เป็นอุตสาหกรรมแบบใด ผูกขาด แข่งขันน้อยราย แข่งขันมากราย หรือแข่งขันเสรี รูปแบบการแข่งขันทำให้เราวิเคราะห์การคงระดับ GM ว่าจะทำได้ยากง่ายเพียง 2 Entry/Exit การเข้า/ออก อุตสาหกรรม ยากง่ายเพียงใด มี 4 แบบ เข้ายากออกยาก เข้ายากออกง่าย เข้าง่ายออกยาก เข้าง่ายออกง่าย ทั้ง 4 รูปแบบทำให้มองเห็นโยงไปข้อแรกได้ว่าโอกาสมีคู่แข่งเพิ่มได้ง่ายไหมถ้าเข้าง่ายการมี GM สูง จะมีรายใหม่ๆ เกิดง่าย การออกง่ายก็ทำใหเผ้ประกอบการที่จะตัดสินใจเข้าไม่ยุ่งยากนัก เพราะไม่ดีก็ถอนตัวได้ง่าย การออกยากนี่ก็ทำให้คิดหนักเหมือนกันแม้จะเข้าง่าย 3 Buyer การต่อรองกับผู้ซื้อ ถ้าผู้ซื้อมีอิทธิพลมากกว่า ราคาจะถูกกำหนดโดยผู้บริโภค แสดงว่าแนวโน้มราคาต่ำลงมากกว่าขึ้น ผู้ผลิตขึ้นราคาได้ยาก ถ้ากลับกันผู้ผลิตสามารถผลักภาระที่เกิดขึ้นไปยังผู้บริโภคได้ เช่น ค่าแรงขึ้นเป็น 300 ผู้ขายก็ขึ้นราคาได้เต็นที่เพื่อรักษา GM แต่ถ้าไม่มีอำนาจต่อรองมาก ผู้ผลิตก็รับไปเอง อย่างนี้ GM dH]f]' 4 Supplier การต่อรองกับผู้เป็นปัจจัยการผลิต ค่าแรง คนงาน แหล่งวัตถุดิบ knowhow ทีต้องพึ่งพิง ลิขสิทธิที่ต้องใช้เพื่อดำเนินธุรกิจ เป็นต้น บางอุตสาหกรรมขาดแคลนแรงงานบางประเภทจึงจ้างแพงต้นทุนสูง (fixed cost) วัตถุดิบหายากมีข้อจำกัดการเข้าถึง หรือบางอุตสาหกรรมแรงงานหาง่าย เทคโนโลยีหามาง่าย วัตถุดิบหาง่ายราคาไม่แพง เป็นต้น 5 Substitute สินค้าทดแทนหรือใช้แทนกันไก้ มีหรือไม่ หาง่ายหรือไม่ เช่นในอดีตกล้องใช้ฟิล์มก็ถูกทดแทนด้วยกล้องดิจิตอล เป็นต้น การใช้แนวทาง 5 forces แม้บางคนว่าตายแล้วแต่ผมยังถือว่า classic ในงานวิเคราะห์ แต่ถ้าเป็นเรื่องารยริหารเดี๋ยวนี้พูดกันเรื่อง Blue Ocean Strategy นั่นไม่ใช่เรื่องของนักวิเคราะห์ครับ 5 forces อาจล้าสมัยในเรื่องกลยุทธ์การบริหาร แต่ยังขลังอยู่ในงานด้านการวิเคราะห์ กการวิเคราะห์ด้วย 5 frces นี้จะช่วยตอบคำถาม 1.2 ได้ดีกว่าการสนใจว่าจะจัดการ stock คงเหลืออย่างไร
โดย
sun_cisa2
พุธ ส.ค. 15, 2012 12:56 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
(ต่อ)P/E เท่าไรถึงดี รู้ได้อย่างไรว่าแพงหรือถูก หุ้นบริษัท ABC จ่ายเงินปันผลเฉี่ย 50%ที่ผ่านมา มี g = 10% มี average stock return = 18% หุ้น ABC ควรจะมีระดับ P/E ประมาณ = 0.5 / (0.18-0.10) = 0.5/(0.08) = 50/8 = 6.25 เท่า ถ้า g เป็น 15% หุ้น ABCจะมีระดับ P/E ประมาณ = 0.5 / (0.18-0.15) = 0.5/(0.03) = 50/3 = 16.67 เท่า จะสังเกตเห็นว่า ยิ่ง g มากขึ้น P/E จะยิ่งมากขึ้น นั่นคือที่มาของหุ้นที่คาดว่ามีอัตราการเติบโตสูงจะซื้อขายที่ P/E ที่สูง คราวนี้ถ้า g > k จะเกิดอะไรขึ้น P/E ติดลบหรือ? ไม่ใช่ หากเมื่อใดที่ g > k จะเกิดปรากฏการณ์ทางทฤษฎีได้คือ การเพิ่มทุนจะเกิดขึ้นได้และการเพิ่มทุนเพราะกรณีเช่นนี้เป็น win-win บริษษัทก็ได้ ผู้ถือหุ้นก็ได้ ถ้าสังเกตให้ดีในตลาดหุ้นหลายบริษัทเพิ่มทุนแล้วหุ้นตก ผู้ถือหุ้นไม่มั่งคั่งเพิ่มขึ้นแม้จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ต้นทุนต่ำ at par แล้วก็ตาม เป็นเพราะเพิ่มทุนในจังหวะที่ g ไม่ได้มากกว่า k โดยแท้จริง หุ้นที่มีความเสี่ยง (โครงสร้างทางธุรกิจ) มาก ราคาหุ้นผันผวนมาก (standard deviation สูง) k ย่อมมากตามด้วย (high risk high return) –เรื่องที่ผมให้ความเห้นในหัวข้อดันโด มีที่มาและเกี่ยวพันกัน นี่คือเรื่องที่ต้องเข้าใจ- เมื่อ k ตามการคาดหวังของตลาด (ไม่ใช่ของคุณคิดหวัง) สูง หุ้นนั้นย่อมคาดหวังต้องมี g สูงโดย P/E จะไม่สูงขึ้น การเพิ่มทุนจึงทำให้แนวดน้มราคาหุ้นตกลง การจ่ายหุ้นปันผล การซื้อคืน เอาหุ้นซื้อคืนขายกลับในตลาดก็อยู่ในหลักการนี้ การพิจารณาโดยประยุกต์หลักการนี้คือ หุ้นปัจจุบันมี P/E แพงไหม ถ้าเราถือว่ากำไรทั้งก้อนคือเงินที่ผู้ลงทุนจะได้รับ 1/PE = k-g เช่นหุ้น A มี P/E = 15 1/PE = 1/15 = 6.7% = k-g ถ้า average stock return = 16% แสดงว่า ณ ระดับราคาปัจจุบัน หาก P/E เหมาะสมไม่แพง บริษัท A ต้องมี g = 9.3% ถ้ามองย้อนถอยไปอีก g = ROE*(1-b) บริษัทนี้จ่ายปันผลxประมาณ 50% ของกำไรสุทธิ บรษัทนี้ควรมี ROE มากกว่า 18.6% จึงจะถือว่าดี จะจบแค่ g หรือไปถึง ROE ก็แล้วแต่ว่า style ลงทุน prudent หรือ conservative แค่ไหน จบตอน
โดย
sun_cisa2
อังคาร ส.ค. 14, 2012 12:59 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
P/E เท่าไรถึงดี รู้ได้อย่างไรว่าแพงหรือถูก P/E 25 เท่าใช่ว่าแพงเสมอ หรือ P/E 5 เท่าใช่ว่าถูกเสมอ แล้วจะดูอย่างไร หุ้นที่ทีอัตราการเติบโตสูง P/E ปัจจุบันจะสูง พราะการเติบโตกำไรในปีหน้า จะทำให้ P/E ที่ราคาปัจจุบัน ลดลงต่ำ ตามทฤษฎี Gordon Model P = D/(k-g) ถ้า D คือเงินปันผลจ่ายต่อหุ้น k คือผลตอบแทนที่คาดหวัง (ตาม CAPM) และ g คืออัตราการเติบโตของกำไร (เงินปันผล) และให้บริษัทมีอัราการจ่ายปันผลที่คงที่คือ b D = E*b กำไรต่อหุ้นคูณอัตราการจ่ายปันผล เช่นกำไรต่อหุ้น 10 บาท จ่ายปันผลหุ้นละ 6 บาท อัราจ่ายปันผบ b = 60% จาก P = D/(k-g) P = E*b / (k-g) P/E = b / (k-g) ……(1) ให้ g = ROE*(1-b) ROE คือผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น = กำไรสุทธิ / ส่วนของผู้ถือหุ้นเฉลี่ย; g นี้เรียกว่า Sustainable growth หรือบางตำรา (เก่า) เรียก Organic growth 1-b = อัตรากำไรที่บริษัทเก็บไว้ดำเนินงานไม่จ่ายคืนผู้ถือหุ้น (ไว้จะพูดถึงทีหลัง) ถ้าจ่ายหมดแสดงว่าหากกิจการต้องการเงินทุนก็ต้องกู้ยืมหรือเพิ่มทุน ดังนั้น P/E = b/(k-ROE*(1-b)) .........(2) ในทางทฤฎี เบื้องต้นจึงสรุปได้ว่า P/E หุนแต่ละตัวจึงขึ้นกับ 1.อัตราการจ่ายปันผล b 2.ความสามารถในการทำกำไรคือ ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น ROE 3.อัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง (CAPM) stock return ตาม CAPM ไม่ใช่ที่เราหวังเอาเอง บางคนจะเอา 10 เด้ง เอา 50% อันนี้เป็น abnormal market return ตย.การคำนวณ หุ้นบริษัท ABC จ่ายเงินปันผลเฉี่ย 50%ที่ผ่านมา (ราว 5 ปี) มี ROE= 20% และอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังราว (average stock return) = 18% หุ้น ABC ควรมีระดับ P/E ประมาณ = 0.5 / (0.18-0.20*(1-0.5)) = 0.5/(0.18-0.10) = 0.5/0.08 = 6.25 เท่า ROE*(1-b) = g 10% อันนี้เป็น growth ที่เกิดจากการนำกำไรสะสมมาลงทุนกลับในบรษัท สมมติใหม่ว่า g เป็นอัตราการเติบโตโดยไม่ได้อิงกับ ROE และ b ข้างบนข้อสองจาก ความสามารถในการทำกำไรเป็น g แทน
โดย
sun_cisa2
อังคาร ส.ค. 14, 2012 12:57 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
วอร์เร็น บัฟเฟตต์ และนักลงทุนที่ประสพความสำเร็จมักกล่าวไว้เสมอว่า ลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจ ปกติบริษัทใดที่ผมอ่นงบแล้วร็สึกว่า ทำอะไรที่ไม่ธรรมดา ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ขนาดเราอ่านบัญชีเป็นยังงงๆ ผมจะไม่สนใจเลย ต่อให้กำไรปีนั้นโตเกิน 100% ถ้าดูแล้วไม่ make sense ไม่สนใจเลย พลาดโอกาสยังไม่เป็นไร เพราะมีโอกาสมากมายในตลาดรออยู่ ไม่อย่างนั้นจะมีคนสำเณ้มาตลอดได้อย่างไร แต่ถ้าพลาดเพราะถูกตัวเลขงบหลอกนี่เจ็บถึงกระดองใจจริงๆ
โดย
sun_cisa2
อังคาร ส.ค. 14, 2012 10:21 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
เพิ่มแนวคิดอีกวิธีให้ครับ บางครั้งตัวเลขที่เห็นในงบการเงินบางตัว บางครั้งอาจมีรายการซับซ้อนกว่าจะสรุปผลออกมาได้ตัวเลขที่แสดงในงบการเงิน การไปแกะจนได้ข้อมูลเดิมๆ อาจไม่มีสามารถทำได้ แต่เพียงแค่เราสามารถได้ข้อมูลที่ประเมินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ (economic decision making) ตามวัตุประสงค์การนำเสนองบการเงิน วิธีคิดอีกแบบหนึ่งในการวิเคราะห์ GM คือ 1 หา GM จากงบรวมว่าได้เท่าไร สมมติว่าได้ 28% 2 หา GM จากงบเดี่ยวว่าได้เท่าไร สมมติว่าได้ 30% 3 พิจารณาว่าสัดส่วนยอดขายที่เกิดจากงบเดี่ยวเท่าไร สมมติว่า ได้ x ยอดขายจากงบย่อยที่ขายโดยรวมรายการระหว่างกันเท่าใด (ใช้วิธีหายอดขายดังที่กล่าวใน comment ที่ผ่านมา) สมมติว่าได้ y 4 หาสัดส่วนยอดขาย x/(x+y) = a%, y/(x+y) = b% ; สมมติว่าได้ a = 70% b = 30% 5 GMใหญ่*a + GMย่อย*b = GMรวม ==> 0.3*0.7 +GMย่อย*0.3 = 0.28 6 แก้สการหา GMย่อย ได้ = (0.28-0.21)/0.3 = 0.07/0.3 = 0.2333 = 23.3% แนวคิดนี้ตัดปัญหาเรื่องการหาต้นทุนออก เพราะการหาต้นทุนระหว่างกันที่ตัดออกยุ่งยากเกินไป แต่ถ้าผมหรือนักบัญชีทำอาจพอได้แต่กระทบหลายบัญชี คือ ซอนอยู่ในรายการสินค้าคงเหลือ กระจายในวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และ สินค้าสำเร็จรูป การมาแกะรายการที่เกี่ยวข้องมากมายมีโอกาสผิดพลาดสูง แต่การหาตามขางต้นใกล้เคียงสูงกว่า ง่ายและรวดเร็วกว่า ถ้บบริษัทย่อยมีมากกว่า 1 บริษัท จะทำอย่างไร? ตัวแปรคงมากมาย หาขายเหมือนเดิม แต่ y ต้องเอาย่อยๆ มารวมกัน แล้วถ้าย่อยมีการซื้อขายระหว่างกันอีกเล่า พันเป็นใยแมงมุม จะเห็นว่ายุ่งยากมาก นั่นคือบทสรุปที่บอกแต่แรกว่า ให้ดูงบรวมไปเลย การแกะรายละเอียดอาจไม่ได้ประโยชน์เท่าใด เพราะทุกวิธีก็ล้วนแต่คาดๆเอาเท่านั้น หาใช่ของจริงไม่ เหมือนค่าเสื่อมราคา อัตรารายปีที่เราคิดกลับไม่เคยคงที่จริงเลยสักปี บางปี 17% บ้าง 19% บ้าง หรือลงมาเหลือ 15% บ้าง แม้จะเปิดเผยรายละเอียดในกลุ่มของรายการที่ดินและอุปกรณ์ มันก็ไม่คงที่ เพราะในรายละเอียดมีซื้อมีขาย ต่างวันเลลา อายุใช้งานอาจต่างกัน ดังนั้นเรื่องนี่ให้เครดิตผู้สอบบัญชีกับนักบัญชีเขาไป ว่าน่าจะคิดมาถูกตมระบบ ถ้าไม่ถูกและกระทบวบมากผู้สอบบัญขีเขาจะรายงานเอง ไม่รายงานถือว่าถูกแล้ว การหา GM บริษัทย่อยก็เช่นกัน พยายามหาไป แต่สุดท้ายผลการตัดสินใจก็อยู่ที่งบรวมอยู่ดี
โดย
sun_cisa2
อังคาร ส.ค. 14, 2012 10:09 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="greenman"]ขอบคุณมากๆครับจริงๆจะพยายามถอดงบเพื่อหา GM ของบริษัทย่อยพอดีมาพบประเด็นที่งบรวมต่ำกว่างบเดี่ยว มีอะไรช่วยชี้แนะด้วยนะครับ[/quote] ผมไม่ทราบหรอกครับว่าจะถอดงบเพื่อหา GM ของบริษัทย่อยเพื่อวัตถุประสงค์ใด เพื่อการตัดสินใจลงทุนหรือไม่ แต่ขอตอบให้ทั้งสองประเด็น 1 ในด้านการลงทุน เราจะดู GM บ.ย่อย เมื่อหนึ่ง บ.ย่อยมีขนาดเงินลงทุนมาก (สัดส่วนเงินลงทุนในบ.ย่อย ในงบเดี่ยวค่อนข้างมาก) สอง รายได้งบการเงินรวมมาจากบ.ย่อยเป็นส่วนใหญ่ สาม กำไรงบรวม มาจากบริษัทย่อยเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเข้าสามเงื่อนไขอันใดอันหนึ่งก็พอจะมีคุณค่าพอที่จะมาแกะตัวเลขของบ.ย่อย 2 การวิเคราะห์นั้นถามว่าหากกำไรของงบการเงินรวมมีกำไรอันเนื่องมาจากงบการเงินบ.ย่อย (บ.ใหญ่ขาดทุน) และ บ.ใหญ่มีสัดส่วนใน บ.ย่อยเกือบทั้งหมด การมุ่งดูที่งบรวมก็น่าจะได้ผลการตัดสินใจที่ดีกว่า การดูงบเดี่ยวของบ.ใดบ.หนึ่ง เพราะโดยมาก การแยก บ.ย่อย ออกจาก บ.ใหญ่ มักจะมีเหตุผลด้านภาษีเสียส่วนมากและ ป้องกันตัวกรณีที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งพลาดท่า เจ๊งึ้นมา จะสามารถ spin off ได้ง่าย 3 หากจะแตกตัวเลขงบใหญ่และย่อยเพื่อดูเฉพาะ GM จริงๆ ให้เอารายการขายในงบรวมหักงบเดี่ยวออกในขั้นแรก จะได้รายได้เฉพาะส่วนที่ย่อยขายให้ภายนอก (ไม่มีรายการระหว่างกัน) จากนั้นไปดูหมายเหตุประกอบงบการเงินจะเปิดเผยรายการดังนี้ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2554 2553 2554 2553 (ล้านบาท) บริษัทย่อย ขายสินค้าหรือการให้บริการ - - 6,673 4,311 ซื้อสินค้าหรือบริการ - - 2,406 1,298 ลักษณะข้างต้นจะเปิดเผยในหมายเหตุภายใต้หัวข้อเงินลงทุนระหว่างกัน หรือรายการระหว่างกัน อาจแตกต่างกันบ้างแต่ต้องเปิดเผย จะเห็นว่ารายการที่บ.ย่อยขายให้ บ.ใหญ่คือ 2554 เท่ากับ 6,673 เอาตรงนี้ไปรวมกับส่วนที่ทำในขั้นแรกก็จะได้รายได้ขายของบ.ย่อย ส่วนต้นทุนขายก็ลักษณะทำแบบเดียวกัน ต้นทุนระหว่างกันอาจจะะยากหน่อยแต่อนุโลมคร่าวๆคือคือที่ย่อยซื้อจากใหญ่ถือว่าที่ซื้อมาเอาไปผลิตทั้งหมด (ความจริงไม่ใช่เพราะต้องเอาไปกระทบกับสินค้าคงเหลือ แต่ผมว่าเดี๋ยวจะงงกันไปใหญ่เลยเอาแบบง่ายๆ) ก็พอไปประยุกต์หา GM ได้บ้างแล้ว แต่ดีที่สุดคือดูจากงบรวมดีที่สุด เพราะถึงบ.ย่อยจะมีกำไรสูงแต่การขายให้แม่แล้วแม่เอาไปขายต่อ ถ้าแม่ขายขาดทุน ถึงย่อยมีกำไรก็ถูกขาดทุนจากแม่ knock ออก อยู่ดีหรือกลับกันลูกขายต่ำแม่ขายมีกำไรมากก็เหมือนกัน เน้นดูตรงที่งบรวมเลยจะดีกว่าไม่ misslead จากการโยนเล่นตัวเลขระหว่างกัน
โดย
sun_cisa2
อังคาร ส.ค. 14, 2012 12:52 am
0
0
Re: การลงทุนแบบดันโด
ในตำราพิชัยสงคราม ทั้ง 13 บทของซุนวู คือ บทที่ ๑ แผนศึก บทที่ ๒ เตรียมศึก บทที่ ๓ นโยบายศึก บทที่ ๔ ศักย์สงคราม บทที่ ๕ จลน์สงคราม บทที่ ๖ หลอกล่อ บทที่ ๗ การแข่งขัน บทที่ ๘ เก้าเหตุการณ์ บทที่ ๙ เคลื่อนกำลัง บทที่ ๑๐ ภูมิประเทศ บทที่ ๑๑ เก้าสนามรบ บทที่ ๑๒ ไฟ บทที่ ๑๓ สายลับ ทั้ง 13 บทนั้น มีบางเรื่องคือหลักการที่แม่ทัพต้องเข้าใจไม่ว่าอยู่ในสถานการณ์ใด บางบทคือกลยุทธ์ศึกโดยแท้จริง ดังนั้นบางบทต้องใช้ทุกครั้ง บางบทใช้ตามสถานการณ์ที่แตกต่างไป หลักการลงทุนก็เช่นกัน หลักการต้องแม่น คือพื้นฐานการเงินต้องดี การบัญชีต้องเข้าใจในระดับหนึ่งแต่ไม่ต้องรู้ลึกเหมือนนักบัญชีก็ได้ สมการบัญชีต้องลึกซึ้งจริงๆ (บางคน) คิดว่าง่ายๆ แต่ความจริงง่ายแต่หมือนไม่ง่าย) หลักพื้นฐานเศรษศาสตร์ต้องแม่น ก็ช่วยให้ตัดสินใจได้ระดับหนึ่ง จะอ่าน Graham, Buffet หรือ ดันโด หรือของอีกหลายคนก็จะเข้าใจได้ถูกต้อง
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ส.ค. 13, 2012 8:36 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
เพิ่มเติมในเรื่องวิธีวิเคราะห์แบบนักการเงินจริงๆ ไม่ใช่แบบนักบัญชี - การวิเคราะห์งบนั้นดูงบรวมเป็นหลัก เอาล่ะบางทีอาจสงสัยบ้างแต่อย่างที่อาจารย์ภาพรบอก งบรวมกับงบเดี่ยวมีการตัดรายการระหว่างกันออก อย่าสนใจงบเดี่ยวมาก ในการวิเคราะห์จริงๆ โดยเฉพาะตามแนวทางวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจริง ให้ดูงบรวมเป็นหลัก งบเดี่ยวใช้ประกอบแค่บางเรื่องเท่านั้น เช่น เปรียบเทียบเพื่อประเมินแน้วโน้มว่าเงินลงทุนในบริษัทย่อยดีจริงไหม น่าจะด้อยค่าไหม ซื้อมาแพงหรือคุ้มหมป็นต้น เอาไว้ดูเชิงนโยบายเป็นเรื่องๆไปครับ - หลักการวิเคราะห์การลงทุนนั้น ให้สนใจประเด็นใหญ่มากกว่าประเด็นย่อยหรือเล็กๆ การดูประเด็นใหญ่เล็กนั้น common sise ช่วยกรองได้มากครับ เช่านบริษัท A มีลูกหนี้การค้าสัดส่วน 25% ของสินทรัพย์รวม หากหนี้เสีย 1% ของลูกหนี้รวม จะเกิดค่าใช้จ่าย 0.25% ของสินทรัพย์รวม ถ้าบริษัทมีอัตราส่วน asset turnover เฉลี่ย 1.2 เท่า แสดงว่าค่าใช้จ่ายนี้จะกระทบต่อรายได้ 1.2x.25% = 0.3% ดังน้นถ้าอัตรากำไรสุทธิ (Net margin) = 7.2% จะเหลือกำไร 6.9% กำไรจะลดลง 4.3% - บริษัทที่มีสัดส่วนใดสูง แสดงว่าผลกระทบต่อมูลค่าจะมีผลโยงไปถึงกำไรสุทธิมาก บริษัทที่มีรายได้อื่นสูงมากๆ เช่น 15% รายได้ส่วนนี้ย่อมกระทบต่อการดำเนินงานสูง ถ้ามีน้อย เช่น 1-2% ของรายได้รวม รายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้น 200% ก็มีผลต่อกำไร 2-4% แต่การที่รายำด้ส่วนนี้จะโตผิดปกติขนาดนี้ต้องไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยบ่งชี้อะไร -กรใช้ common size เป็นจะช่วยประหยัดเวลาดูงบได้มาก
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ส.ค. 13, 2012 8:11 pm
0
0
Re: การลงทุนแบบดันโด
เห้นด้วยอย่างยิ่งครับ ทั้ง 9 แบบ ไม่สามารถนำมาใช้ร่วมกัน ทั้ง 9 แบบตัวอย่างอยู่จริงทั้งนั้น ในโลกตลาดทุนนั้นซับซ้อนมากขึ้น ยิ่งวันเวลาผ่านไปยิ่งซับซ้อน ถ้ายิ่งได้อ่านแนวคิดหลายๆคน จะพบว่ามีเทคนิคหลายร้อยวิธี แต่สุดท้ายการใช้วิธีใดนั้น ขึ้นกับความรู้ ความเข้าใจ สถานะการณ์เฉพาะเรื่อง หุ้นบางตัวอาจน่าลงทุนเพราะความเรียบง่าย บางตัวเพราะว่าบริษัทนั้นเกิดวิกฤต ประสบปัญหา บางตัวน่าลงทุนเพราะความมีนวัตกรรม แต่ในสิ่งเหล่านั้นหาได้นำไปใช้ได้กับทุกตัวทุกสถานการณ์ หลักของดันโดนั้นใช้ได้กับบางกิจการบางสถานการณ์ ที่เปิดประเด็นหัวข้อนี้เพราะมีหลายคนที่สอบถามและกล่าวถึงหลักของดันโด และนำไปใช้กันโดยที่บางคนผมเห็นว่า หลักการพื้นฐานบางอย่างยังขัดกับหลักคิดทางวิชาการ จึงอธิบายให้เข้าใจว่าตามหลักการคืออะไร เพราะถ้าหลักการแน่นดีพอ ก็จะเป็นเกราะคุ้มกันที่ดี เมื่ออ่านประสบการณ์การลงทุนของคนลงทุนหลายๆ คน จะได้สามารถเลือกใช้ได้ถูกที่ถูกเวลา ชอบครับที่เปรียบเทียบกับ 36 กลยุทธ์ กลยุทธ์การทำศึกไม่สามารถใช้ทั้งหมด แต่ในแต่ละกลยุทธ์มีความพอเหมาะพดีตามสถานการณ์ กลยุทธ์ที่เขาว่าคือสุดยอดกลยุธ์ คือหนี แต่การทำศึกถ้าเร่มต้นแล้วเอาแต่หนี ก็ไม่รู้จะจัดทัพออกศึกไปทำไม แต่ต้องรู้ว่าถ้าจะหนี ต้องเมื่อไร สถานการณ์คืออะไร คนทำศึกต้องรู้หลักการทำศึก หลักการต่อสู้ หลักการจัดทัพ หลักการนำทัพ และอีกหลายข้อ การใช้ 36 กลยุทธ์ ต้องเข้าใจ 13 บรรพของซุนวู หรืกถ้าได้ศึกษาหลักพิชัยสงครามของขงเบ้ง ก็จะยิ่งแจ่มชัดในแต่ละข้อของ 36 กลยุทธ์ นั่นละคือการอ่านเล็คเช่อร์ย่อของคนเก่งห้อง ดีไม่ดีสอบได้คะแนนดีกว่าคนเก่งซะอีก......
โดย
sun_cisa2
ศุกร์ ส.ค. 10, 2012 10:25 am
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ถ้ารู้ว่าซื้อหรือไม่ซื้อเพราะอะไรก็นับว่าดีมากครับ ที่เกริ่นถามเพราะว่าอยากให้คิดอย่างรอบครอบทุกครั้งก่อนการลงทุน เพราะผมเห็นว่ามีหลายคน (นักวิเคราะห์และนักลงทุนหลายคน) ชอบแนะหุ้นที่มีปัญหา ซึ่งหุ้นที่เห็นแนะกันผ่านสื่อ ผ่านโบรกเกอร์รีเสิร์ชต่างๆ ผมจะเข้าไปติดตามแทบทุกตัว ดูและวิเคราะห์งบการเงิน กับอุตสาหกรรมนั้นๆ บางทียังไม่เห็นว่าจะมีอะไรบอกที่โดดเด่นดังกล่าวเลย จึงเขียนบอกให้หยุดคิดวิเคราะห์เท่านั้น ถ้ารู้ว่าเพราะอะไรและตอบคำถามได้ก็ถือว่าโอเคครับ ส่วนถูกผิดก็อีกเรื่อง ต้องเป็นเหตุผลที่ตอบตัวเองได้ อย่าเพียงเชื่อเอาตามที่เขาว่ามา (กาลามสูตร) บางคนอาจได้ข้อมูลเชิงลึกจากการทำ company visit การสัมภาษณ์ตรงกับผู้บริหาร ผมบอกในฐานะที่เคยทำงานในวงการหุ้นทา ทั้ง primmary market (เอาหุ้นเข้าตลาด investment banker , underwriter) และ secondary market (analyst) เวลาผู้บริหารบอกอะไรมา หารสองหรือมากกว่าเสมอ อาจบอกดูเหมือนดี แต่ระยะยาวไม่ใช่เช่นนั้น สิ่งที่ได้จากการบอกมามีทั้งเรื่องจริงเท็จปะปนกันไป อย่าลืมว่าเดี๋ยวนี่ผู้บริหารเรียนสูงกันทุกคน (เช่น MBA) จึงมีวิธีโน้มน้าวและตอบได้ดูมีเหตุมีผลกัน อย่าลืมนักบัญชีที่เก่งยิ่งทำกลบัญชีเก่ง กว่าจะรู้ก็โดนซะแล้ว บริษัทดีๆหลายแห่งสุดท้ายก็อาจปั้นตัวเลขได้ ผมจึงมักเชื่อแต่สิ่งที่เห็นแล้ว วิเคราะห์แล้วเท่านั้น ผู้บริหารอาจบอกว่าปีหน้าจะดี ถ้าอดีตที่ผ่านมา (และดูงบแล้วว่าไม่น่าแต่ง) ไม่ดี ผมจะยังไม่เชื่อว่าจะดี เว้นแต่มีสัญญาณที่บ่งชี้จริงจากสิ่งแวดล้อมเช่นภาวะเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม (จะใช้ 5 forces วิเคราะห์ก่อนเบื้องต้น) จึงจะนำมาพิจารณาประกอบ ผมเป็นคนที่วิเคราะห์แล้วซื้อยากคนหนึ่ง ไม่เคยหวังว่ารวยจากการเล่นหุ้น ไม่รวยจากหุ้นแต่ก็ไม่เคยเจ็บตัวหนักๆ จากหุ้น หลายคนร่ำรวย หลายคนเจ๊ง หลายรวยๆ เจ๊งๆ แต่ผมเรื่อยๆ สบายใจดี
โดย
sun_cisa2
พฤหัสฯ. ส.ค. 09, 2012 1:27 pm
0
1
Re: การลงทุนแบบดันโด
แนวคิดดันโดดีครับ แต่การนำไปใช้ต้องรู้ความหมายใต้ตัวอักษร (ความรู้ทางการเงิน เศรษฐศาสตร์ บัญชี) ก็จะมีประสิทธิผลชัดเจนมากขึ้น เพราะที่ดันโขยนนั้นคือข้อสรุปของประสบการณ์การลงทุน เหมือนเราอ่านเล็คเชอร์ย่อของคนสอบได้ที่ 1 ถ้าเราไม่รู้เรื่องเลย เข้าสอบยังไงก็ตก เพราะเขียนตอบไม่ได้อยู่ดี แต่ถ้าพอรู้เรื่องมาบ้าง การอ่านเล็คเชอร์ย่อจะมีประโยชน์มาก
โดย
sun_cisa2
พุธ ส.ค. 08, 2012 5:15 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
คำถามที่อยากถามกลับคือ หุ้นแบบที่คุณว่านั้น (ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม) ถ้าดำเนินการแล้วเสร็จ ตัดขาดทุนสะสมหมดเเรยบร้อย น่าซื้อหรือไม่ เพราะอะไรและทำไมคุณจึงเชื่อว่าบริษัทนี้จะฟื้นคืนและดีกว่าหุ้นอื่นในตลาดที่มีอยู่อีกมากมาย อะไรคือจุดที่คุณคิดว่าน่าเสี่ยงในการลงทุนหุ้นนี้ ที่ถามไม่ใช่ว่าห้ามซื้อ แต่ถ้าเป็น VI ตัวจริงต้องตอบให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับการเล่นพนัน เล่นดัมมี่ หรือตองเก้า จะจั่วจะทิ้งก็ใช้การเดาความน่าจะเป็นไพ่ในมือเจ้ากับคนข้างๆ ต้นฉบับแห่ง value investing เกรแฮมหรือศิษย์เอกอย่างบัพเฟต แทบจะไม่แตะเลย เว้นแต่มีการเปลี่ยนกรรมการและผู้บริหารใหม่หมด และกลุ่มทีมบริหารใหม่ต้องสุดเจ๋งจริงๆ ไม่เช่นนั้นเมื่อวิเคราะห์ ARP หรือ EPV อาจจะไม่คุ้มค่าในการซื้อลงทุน ดังนั้นหุ้นที่ลดทุน ลดพาร์ ตัดขาดทุนสะสม ก่อนซื้อต้องดูให้มากกว่าปกติและหามูลค่าให้ได้ และมี safety มากๆ
โดย
sun_cisa2
พุธ ส.ค. 08, 2012 4:57 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="SawScofield"]ขอบคุณสำหรับความรู้เพิ่มเติมนะครับอาจารย์ ... ทีนี้ขออนุญาตถามต่อเลยนะครับ จุดเด่นหนึ่งที่พูดถึงกันมากในธุรกิจที่มองกันว่าสุดแกร่ง ณ ชั่วโมงนี้ คือการ "ซื้อเชื่อขายสด" ของกลุ่มค้าปลีก อันมีจุดสังเกตหลัก คือ Working Capital (หรือที่ถูกคือ Net Working Capital ใช่หรือไม่ครับ ?) มีค่าติดลบ จากการที่สินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน หากผมสังเกตเจอจุดนี้ในบริษัทอื่นๆผมสามารถถือว่ามันเป็นจุดแข็งได้หรือไม่ครับ ถ้าไม่ใช่ ต้องระวังกรณีใดบ้างครับ (ส่วนตัวรู้สึกว่าถ้าหมุนเงินไม่ทันต้องแย่แน่ แต่ยังรู้แค่หางอึ่งครับ กลั่นออกมาเป็นข้อไม่ไหวครับ แหะๆ ^^") ขอบคุณล่วงหน้าเช่นเดิมครับอาจารย์ ^^[/quote] Working Capital มีความหมายกว้างคืออาจหมายถึง gross working capital ซึ่งจะหมายถึงเพียงสินทรัพย์หมุนเวียน แต่โดยมากจะมีความหมายเดียวกับ Net Working Capital ซึ่งก็คือ สินทรัพย์หมุนเวียนลบหนี้สินหมุนเวียน หรือถ้าทำเป็นอัตราส่วนเรียกว่า current ratio (อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน ความหมายโดยทั่วไปคือกิจการมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดใน 1 ปี เพียงพอที่จะชำระหนี้สินที่ต้องชำระใน 1 ปีหรือไม่ โดยปกติ Net Working Capital ควรเป็นบวก หรือ current ratio (CR อัตราส่วนทุนหมุนเวียน) มากกว่า 1 แต่ไม่เสมอไปในกิจการแต่ละประเภท (อุตสาหกรรม) บางกิจการอาจต้องการมากกว่า 1 มาก บางกิจการอาจน้อยใกล้ 1 หรือบางกิจการอาจน้อยกว่า 1 (ติดลบ) ก็ได้ การมีมากกว่า 1 มากๆ อาจหมายถึงมีเงินจมในสินค้ามากไป หรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ค่อนข้างช้า เช่นลูกหนี้ที่ค้างชำระนานๆแต่กิจการยังไม่ตัดเป็นหนี้สงสัยจะสูญเป็นต้น ทีนี้ปัญหาของนักลงทุนคือแล้วจะดูหรือรู้ได้อย่างไรว่ากิจการแบบไหนต้องบวกมาก หรือติดลบได้ (CR<1) ความจริงมีวิธีหาค่าที่เหมาะสมกับธุรกิจ และนโยบายการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน (เช่น ลูกหนี้ สินค้า เจ้าหนี้การค้า เป็นต้น) กิจการแบบเดียวกันแต่นโยบายต่างกันก็มีค่า CR ที่ควรเป็นต่างกันได้ แต่ต้องใช้เวลามาก เอาง่ายๆที่พอเอาไปใช้พิจารณาประกอบ ผมแนะให้ไปดูงบกระแสเงินสด ดูว่ากระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกหรือไม่ ถ้าบวกเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานมากกว่าหรือไม่ แวงจรเงินสดสั้นหรือยาว ถ้า CFO + และ CFO/NOPAT >1, cash cycle สั้น (<60 วัน) อย่างนี้ CR ต่ำๆ หรืออาจน้อยกว่า 1 ได้ ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น CR ควรต้องมากว่า 1 หรือ Net working capital ควรบวก ในกิจการค้าปลีกบางบริษัทเข้าเงื่อนไขแรก จึงเห็นว่ามี Net working capital เป็นลบ แต่บางกิจการที่เข้าเงื่อนไขแรก และมี Net working capital บวก งบทั้งสองบริษัทมีจุดต่างคือ บริษัทแรก มีหนี้ระยะสั้นสูง บริษัทหลังมีหนี้ระยะสั้นต่ำหรือแทบไม่มีเลย performance ราคาหุ้นระยะยาวบริษัทหลังดูดีกว่า และหุ้นผันผวนน้อยกว่า กองทุนชอบถือมากกว่า ลองไปหาดุเอานะครับ บอกตรงๆ จะไม่ดี
โดย
sun_cisa2
เสาร์ ส.ค. 04, 2012 1:04 am
0
0
Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ
การประเมินมูลค่าขอลค่านิยม ในฐานะนักลงทุนทำได้ยากครับ เขาลงในบัญชีเท่าไรก็เท่านั้น เป็นเรื่องที่ทางบริษัทต้องประเมินมูลค่า ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากการหาค่า PV ของกระแสเงินสดในอนาคต (future cash flow) ซึ่งผู้บริหารมักจะมองในด้านดีไว้ก่อน เขาก็จะต้องไปต่อรองกับผู้สอบบัญชีเองว่า ที่เขาใช้ตัวเลขแบบนี้มีเหตุผลพอเชื่อได้แค่ไหน เจอผู้สอบบัญชีที่มีความรอบรู้ทางการเงินก็เหนื่อยหน่อย แต่ส่วนมากผู้สอบบัญชีมักจะเถียงไม่ได้ เว้นแต่บางตัวเลขมี่ดูเว่อร์ๆมากเท่านั้น ในทางการเงินแค่บางที่ค่าคิดลดหายไปสัก 0.5% มูลค่าปัจจุบันก็เพิ่มขึ้นมามากแล้ว หลายคนจึงอาจว่าอย่างนี้เราใช้ข้อมูลการเงินทำอย่างไรล่ะ ถูกหลอกได้อย่างนี้ ในด้านการวิเคราะห์เพื่อลดความเสี่ยงในการซื้อหุ้นในราคาที่ไม่ถูกหลอกก็คือ ผมจะวิเคราะห์จากภาพรวม โดยวิเคราะห์อัตราส่วน ROA = EBIT/TA จากงบรวมครับ ROA ใช้ EBIT ไม่ใช้ NI (กำไรสุทธิ) ส่วน TA คือสินทรัพย์รวมเฉลี่ย เปรียบเทียบกับ ROA จากงบเดี่ยวโดยปรับเอาเงินลงทุนจากบริษัทย่อยออก การไม่เอากำไรสุทธิเพราะตัดเรื่องอัตราผลตอบแทนจากโครงสร้างทุนออก (capital structure) หาก ROA ในงบรวมสูงกว่า ROA งบเดี่ยว แสดงว่า บริษัทย่อยมีความสามารถในการทำกำไรสุงกว่า แสดงว่าการซื้อเข้ามาเกิดประโยชน์ต่อบริษัท เรียกได้ว่ามี synergy ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ถ้าเป็นไปได้ควรวิเคราะห์อีก คือวิเคราะห์เทียบย้อนหลังเอาแค่ไม่เกินสองปี ทำแบบเดียวกันเพื่อดูว่าแนวโน้ม ROA จากงบรวมดีขึ้นไหม งบเดี่ยวอาจ drop ลงมาก แต่งบรวม drop น้อยกว่า แสดงว่าบริษัทย่อยยังดี ถ้าตรงข้ามแสดงว่าย่อยน่าจะเริ่มมีความสามารถลดลง ถ้อย่างนี้เมื่อเห็นว่ายังไม่มีการรับรู้การด้อยค่าก็ต้องระวังไว้มากๆ จะซื้อก็คิดดีๆ ต้อผื่ส่วนลดมูลค่าตามแนวทางบัพเฟตต์ไว้มากๆ
โดย
sun_cisa2
พุธ ส.ค. 01, 2012 10:13 am
0
0
Re: “อย่าลืมกฎข้อที่ 1” /ประภาคาร ภราดรภิบาล
นักลงทุนส่วนมาก (โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆ) มักอยากรวยกันเร็วๆ ง่ายๆ และมักคิดว่าตลาดหุ้นเป็นแหล่งทำเงินให้รวยได้แบบไมรู้ตัว ซึ่งก็จริงบางส่วน คนจำนวนไม่น้อย (มาก) ขาดทุนจากการลงทุนเพราะมักจะมองข้ามความเสี่ยง โดนความโลภเข้าครอบงำ ในตลาดหุ้นมักชอบพูดกันถึงเรื่อง"ตกรถ""ตกขบวน" หลายคนจึงรีบกระโจนเข้าซื้อหุ้นกันโดยบางครั้งลืมนึกถึงการขาดทุน เพราะว่ากลัวไม่ได้กำไรตามเขา นักลงทุนที่ดีมักตกขบวน มักเป็นนักรอคอย ตลาดหุ้นไม่เคยมีคำว่าช้าเกินไป ไม่เช่นนั้นวันข้างหน้า วันพรุ่งนี้ก็ไม่มีโอกาสลงทุนแล้ว มีอยู่ตลอด แต่อย่าคิดว่าต้องรวยเพราะคนหวังรวยจากตลาดหุ้นมีเป็นแสนเป็นล้านคน แต่มีกี่คนที่ประสบความสำเร็จเช่นนั้น คนที่มองตลาดหุ้นเป็นแหล่งการออม มักจะอยู่รอดได้ยาวนาน คนที่เคยรวย ภายในสิบปีเป็นร้อยเป็นพันล้าน ล้มภายในวันเดียวก็ไม่น้อย ตลาดหุ้นอย่างอเมริกาก็มีตัวอย่างมากมาย ที่เหลือรอดๆ มาได้ก็เห็นจะมีบัพเฟต ที่ลงทุนแบบสไตล์ conservative วันนี้เขายังกินอยู่ง่ายๆ รถเก่าๆ บ้านหลังเล็กๆ ต่างจากบิลเกตมาก ใครจะรับรองว่าบิลเกตจะคงชีวิตหรูหรากว่าบัพเฟตได้ตลอดจนสิ้นลมหายใจ แนวคิด การลงทุนแบบห้ามขาดทุนนี้ลึกซึ้งมาก ต้องวิเคราะห์ให้ลึกและอย่ามองโลกในแง่ดีตามเขาว่าอย่างเดียว เพราะการมองดีเกิน ก็ได้มูลค่าหุ้นสูงเกินจริง ขึ้นรถไฟไม่ทัน ดีกว่าขึ้นไปแล้วนั่งรถไฟตกราง
โดย
sun_cisa2
อังคาร ก.ค. 31, 2012 1:04 pm
0
3
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="cyber-shot"]แล้วมันมีเล่มไหนให้อ่านอีกเหรออาจารย์ หรือที่อาจารย์เคยแนะนำผมไปแล้ว[/quote] ถ้าจะอ่านเอาจนเข้าใจแบบคนจบด้านการเงินคงแนะนำให้อ่านหนังสือ text book เช่น corporate finance และ financial management ของสำนักพิมพ์ดังๆ เช่น McGraw Hills, Prnces Halls เป็นต้น มีมากครับ ลองไปหาที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ แนกหนังสือต่างประเทศมีเยอะครับ ได้แทบทุกเล่มเพราะอาจารย์ที่นั่นใช้อ้างอิงหลายเล่มครับ อย่างที่บอกครับว่าถ้าจะเรียนเอารู้จริงๆจังๆ ต้องใช้เวลากับมันเยอะสักหน่อย แต่ทั้งนี้การจะเข้าใจเรื่องทางบัญชีก็ดี การเงินก็ดี หากมี sense การมองและเข้าใจโลกธุรกิจอย่างสากลดีจริงๆ ซึ่งมักจะได้จากการอ่านหนังสือ pocket book (จะเป็นหนังสือแปลก็ได้) ที่หลากหลาย ผมอ่นมาตั้งแต่สมัย ป.ตรี มาจนถึงทุกวันนี้ ทุกสาขา ยอดนักขายมือทอง แฟงค์เบทเจอร์ ลีไอเอคอคคาร์ ช้างเต้นระบำได้ ซีฮีโอแบบ วอร์เรนบัฟเฟต คิดและทำอย่างผู้จัดการใหญ๋ ฯลฯ ที่บ้านมีหนังสือแบบนี้หลายร้อยเล่ม text book ด้านบัญชีการเงิน เศรษฐศาสตร์ การตลาด ก็เป็นร้อยเหมือนกัน แต่ไม่ต้องอ่านมากเท่าผมหรอกครับ (ตังแต่เริ่มเรียนตรีจนปัจจุบันก็อ่านมาตลอดมากว่า 25 ปี มันก็เลยดูมากโข) ที่อยากสื่อคือ การเข้าใจโลกการเงินนั้น ต้องรู้ว่าโลก (ทนนิยม) คิดและพัฒนาไปอย่างไร ในบ้านเรายังคิดและมองไม่ทันเขา อย่างเช่นประเทศไทยยังเพิ่งสนใจ CSR (Corporate Social Responsibility) อเมริกาเขาบอกว่า CSV (Create Share Value) เป็นแนวโน้มใหม่ที่น่าจะเป็นมากกว่า CSR เป็นต้น โลกตะวันตกพูดกันมากกว่า IFRS ไปถึง GRI (Global Reporting Initiative) หรือ มีแนวคิดเรื่อง Value Added Statement Report ประเทศไทยยังแค่เอามาตรฐานบัญชีสากล หรือเรื่อง CG ยังไม่จะเท่าไรกันเลย ดังนั้นหากจะเอาจริง ให้รู้จริง บอกได้ว่าไม่มีตำราเล่มเดียวได้ทั้งหมด คนอ่านพระไตรปิฎกหมด ก็ใช่ว่าจะบรรลุอรหันต์ทันที ไม่อ่านก็อาจบรรลุได้ แต่การอ่านและเข้าใจธรรมะได้ก็เป็นเรื่องที่ดีใช่ไหม การเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จอาจไม่ได้อ่านตำราการเงินมากมาย หรือเดินตามหลักการทางการเงินทุกเรื่อง ตำราทีดีที่สุดอยู่ที่ตลาดหุ้นนั่นเอง เพียงแต่ทุกขณะ ทุกวัน ข่าวสารที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อความเคลื่อนไหวตลาด หากเข้าใจแง่มุมของผลที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุมีผลที่ถูกต้องจริงๆ ก็จะเข้าใจมากขึ้น (ตลาดหุ้นมีทั้งเรื่องสมเหตุสมผล และไร้เหตุผลได้) สังเกตและศึกษาอดีตของตลาด ปรากฎการณ์ที่เกิด ทั้งภาพรวม รายบริษัทต่างๆ จะเข้าใจมากขึ้น เจอเรื่องไหนทีไม่รู้ก็ศึกษาไป เดี๋ยวความรู้ก็สะสมมากขึ้น บางเรื่องรู้แล้ว อาจมีมุมใหม่ทำความเข้าใจก็จะยิ่งเข้าใจ ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ
โดย
sun_cisa2
จันทร์ ก.ค. 30, 2012 11:53 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="cyber-shot"]อาจารย์ครับ ในหนังสือ value investing from Graham to Buffett and beyond หลังบทที่ 7 ขึ้นไปมันไม่มีเรื่องการvaluation แล้วใช่มั้ยครับ ผมคิดว่าผมคงต้องอ่านใหม่ ตั้งแต่บทที่ 1 -7 อีกรอบ เนื่องจากเนื้อหาเข้าใจยากมากครับ[/quote] ใช่ครับเมื่อจบบทที่ 7 ก็จะไม่ได้กลาวถึงเรื่อง valuation แต่ก่อนอื่นอยากจะบอกว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านประกอบสำหรับนักศึกษาที่เรียนด้านการเงิน การลงทุนที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ไม่ใช่ตำราเรียนเล่มเดียวในวิชาการลงทุน ดังนั้นหลายเรื่องที่เกี่ยวโยงในทฤษฎีการเงิน การลงทุน อนุมานว่าคนอ่านควรต้องรู้หรือไปศึกษามาแล้วพอเข้าใจ เช่น EPV (Earning Power Value) ตัวหาร adjusted earning ด้วย cost of capital นั้น ต้องเข้าใจเรือง WACC, เรื่อง CPAM เรื่อง Capital structure ด้วยจะดีมากและเข้าใจหลักคิดที่แท้จริง ของ graham
โดย
sun_cisa2
อาทิตย์ ก.ค. 29, 2012 1:24 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ขอแก้ไขเพิ่มเติมกระทู้ที่ตอบให้คุณ SawScofield ครับ เรื่องค่านิยม ที่บอกก่อนหน้าว่าเพิ่มได้ ลดได้ นั้น ไปสับสนเอาเรื่องสินทรัพย์ทั่วไปที่มีการด้อยค่ามาใช้ มาตรฐานการบัญชี บอกไว้ว่าสินทรัพย์ทั่วไปที่ด้อยค่าไปสามารถกลับรายการได้ในภายหลัง ยกเว้นค่านิยมจะไม่ให้กลับบัญชี ดังนั้นค่านิยม ลดแล้วลดเลย (ต่างกับสินทรัพย์อื่นที่ลดแล้วเพิ่มได้) ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2552) ในข้อ 124. กิจการต้องไม่กลับรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าของค่าความนิยมที่ได้รับรู้ในงวดก่อนๆ เหตุผลคือมาตรฐานการบัญชีไม่ให้มีการบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือไม่ให้มีการรับรู้ค่าความนิยมที่เกิดขึ้นภายในกิจการ การบันทึกค่าความนิยมจึงเกิดเพียงเมื่อมีการซื้อกิจครั้งแรกเท่านั้น (หากมีการซื้ออีกก็เกิดได้อีกจากการซื้อครั้งใหม่ที่เพิ่มขึ้น) จึงขออภัยและแก้ไขใหม่ครับ ส่นกรณีถ้าการซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามบัญชี จะมีการบันทึกรับรู้เป็นรายได้เข้ามาในกำไรขาดทุนงวดนั้นทันทีคือ กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ ปกติรายได้เหล่านี้ผมไม่ได้ให้ค่ามากมาย เพราะเป็นลักษณะ one time gain/loss อาจทำให้อัตราการเติบโงวดนั้น/ปีนั้น พุ่งสูงขึ้นมาก P/E ดูเหมือนต่ำลงทันทีแต่เมื่อผ่านไป P/E ก็จะกลับเข้ามาปกติ ดังนั้นหากบริษัทใดรายงานกำไรมากผิดปกติ ควรต้องดูก่อนว่า มาจากการดำเนินงานปกติ เช่น ขาย หรือไม่ กำไรที่ได้จาก one time gain/loss ไม่ควรจะรวมเข้าในการพิจารณาราคาของหุ้นนั้นๆ และกำไรจากการต่อรองราคาซื้อยังมีประเด็นที่ต้องดูมากกกว่าการบันทึกค่านิยมด้วยซ้ำ
โดย
sun_cisa2
อาทิตย์ ก.ค. 29, 2012 1:08 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="SawScofield"]รบกวนถามอาจารย์เกี่ยวกับ "การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการ" ครับ คือผมเห็นรายการดังกล่าวจากสินทรัพย์ของบริษัทหนึ่งที่มีการซื้อและเข้าถือหุ้นของบริษัทอื่นอะครับ เลยอยากทราบว่ารายการดังกล่าวแสดงถึงการซื้อของที่แพงกว่าความเป็นจริงใช่หรือไม่ครับ แล้วรายการดังกล่าวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้หรือไม่จากสาเหตุใดบ้างครับ ทั้งนี้มีมุมมองหรือข้อสังเกตอื่นๆเกี่ยวกับรายการนี้ที่ต้องคำนึงถึงอีกหรือไม่ครับ รบกวนด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับอาจารย์ >/\<[/quote] การบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าซื้อกิจการเกิดขึ้นได้เมื่อราคาที่กิจการนั้นเข้าไปซื้อกิจการอื่นสูงกว่ามูลค่าทางบัญชี เช่นกิจการ Aเข้าซื้อ B 80% เมื่อราคา B มีมูลค่าหุ้นตามบัญชี 20 บาทต่อหุ้น A เข้าซื้อที่ราคา 32 บาท เมื่อ A จัดทำและเสนองบการเงินรวม จะเกิดค่านิยมขึ้นในงบการเงินรวม.....นี่คือด้านบัญชีอย่างคร่าวๆ ในแง่ของการเงินการเข้าซื้อราคาที่สูงกว่าอาจจะแพงหรือไม่แพงกว่าความเป็นจริงก็ได้ ขึ้นกับว่ามูลค่าที่แท้จริงของ B จรืงๆแล้วเป็นเท่าไร สมมติว่า (จากตัวอย่างเดิม) B มีราคาที่ควรเป็น 38 บาทต่อหุ้น ถือว่า A ไม่ได้ซื้อที่ราคาแพง แต่ในงบการเงินรวม A ก็ยังแสดงการบันทึกค่าความนิยมจากการเข้าร่วมกิจการอยู่ครับ ดังนั้นอาจมีคำถามว่าแล้วจะรูได้อย่างไรว่ามูลค่าที่แสดงอยู่นั้นถูกหรือแพงกว่าความเป็นจริง ในทางบัญชีมูลค่าความนิยมนี้จะต้องประเมินการด้อยค่าทุกปี เช่นการที่ A ซื้อราคาที่สูงกว่าอาจเป็นเพราะ B มีจุดแข็งด้านชื่อเสียงแบรนด์ หรือกลุ่มตลาดที่เติบโตสูง หรืออาจเพราะมีราคาที่ดินที่สูงกว่าราคาตามบัญชีก็ได้ ส่วนที่จ่ายสูงกว่าราคาบัญชีเพราะเหตุผลต่างๆข้างต้น นั่นคือการคาดการณ์กระแสเงินสดในอนาคตของ B ประเมินได้ราคาสูงกว่าบัญชี ต่อมาปรากฏว่ายอดขาย ลุฏค้าของกลุ่ม B หรือราคาที่ดินต่ำกว่าที่คาดมากและต่ำกว่าจนราคาจากการประมาณกระแสเงนสดคิดลดต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เหลือมูลค่าเพียง 29 บาท ส่วนเกินที่บันทึกค่านิยมก็จะลดลง จากตัวอย่างเคยบันทึกไว้ตอนซื้อไว้ 32-20 = 12 บาทค่านิยมประเมินใหม่เหลือเพียง 9 บาท ก็จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่า 3 บาทในงบกำไรขาดทุนงบการเงินรวม ดังนั้นมูลค่านี้อาจลดลงได้ครับหากประเมินแล้วพบว่ามูลค่า B ต่ำกว่าราคาที่ซื้อมาหากภายหลังประเมินใหม่มีราคาเพิ่มขึ้น การด้อยค่านั้นจะบันทักกลับรายการ (ค่าใช้จ่ายติดลบหรือเป็นรายได้แต่เรียกว่าการด้อยค่ากลับบัญชี) แต่การบันทึกกลับนี้ต้องไม่ทำให้ราคาเงินลงทุน B สูงกว่าครั้งแรกที่ซื้อมา ดังนั้นสรุปได้ว่า ในทางบัญชีค่าความนิยมลดลงได้และเพิ่มได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าราคาทุนที่ซื้อมาครั้งแรก ดังนั้นลดลงได้เพราะเกิดการด้อยค่า ซึ่งมาจากความสามารถในการทำกำไรหรือกระแสเงินสดในอนาคตของเงินลงทุนนั้นลดลง มูลค่าสินทรัพย์ B ลดลงจนด้อยค่า ส่วนเพิ่มขึ้นมาจากกรณีเดียวคือเกิดจากการกลับรายการด้อยค่าเนื่องจากงวดก่อนรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแล้ว งวดปัจจุบันมูลค่า B เพิ่มขึ้น แต่ลดแล้วอาจลดต่ออีกได้ถาพบว่ามูลค่า B แย่ลงกว่าเดิมอีก การประเมินมูลค่าดังกล่าว A ในฐานะบริษัทที่ต้องจัดทำงบการเงินรวม (บริษัทแม่) ต้องประเมินมูลค่า B ทุกครั้งที่นำเสนองบการเงินรวมการด้อยค่าในเงินลงทุนหรือค่าความนิยมนี้บ่งชี้ว่าบริษัท B มีความสามารถในการทำกำไรแย่ลง (กว่าที่คาดไว้) แต่อย่าลืมว่าในทางบัญชีบางครั้งผู้บริหารอาจประเมินในเชิงบวกเกินจริง ผู้สอบบัญชีก็ยากที่จะรู้ได้เพราะในความเป็นจริงถ้าไม่มีอะไรที่ชัดๆก็ยังไม่ด้อยค่า กว่าจะรับรู้จริง B อาจจะมีฐานะการเงินย่ำแย่แล้วก็ได้ ในการวิเคราะห์นั้นอาจประเมินเองคร่าวๆได้ ผมจะเน้นดูความสามารถในการทำกำไร เช่น ถ้าเป็นบริษัทร่วม (20%<ถือหุ้น<50%) ส่วนแบ่งกำไรที่รับรู้หารด้วยเงินลงทุนตามราคาทุน ทำได้มากน้อย ดีไหม ถ้าต่ำเช่น 4% ขณะที่เราพอทราบว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าจะได้สักราว 15% แสดงว่าเงินลงทุน B มีแนวโน้มน่าจะด้อยค่าได้ แต่กิจการอาจยังไม่รับรู้ แต่ในฐานะคนซื้อหุ้นต้องประเมินเผื่อความเสี่ยงให้ราคาตามบัญชีลดลงหรือ PBV ที่ระดับต่ำกว่าปัจจุบันไว้ก่อน แต่ถ้าเป็นบริษัทย่อยจะไม่มีส่วนแบ่งกำไรฯ รายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร จะเป็นยอดรวมของแม่+ย่อย ปรับรายการระหว่างกันออกแล้ว ผมจะวิเคราะจากงบเดี่ยวดูว่า บริษัทแม่เดี่ยวๆ ทำกำไร(ROA,ROE)ได้สักกี่% งบรวมซึ่งรวมกันทำกำไรได้กี่% ถ้างบรวมดีกว่างบเดี่ยว แสดงว่าบริษัทย่อยทำได้ดี ถ้าต่ำกว่าแสดงว่าไม่ดี หลักการนี้ใช้ตรวจสอบคร่าวๆได้ว่า A ไปซื้อB แพงหรือไม่ เพราะผู้บริหารที่ดีไม่น่าจะเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีควมสามารถต่ำกว่าที่กิจการทำอยู่เดิม เอาย่อๆพอประยุกต์ได้บ้างนะครับ
โดย
sun_cisa2
เสาร์ ก.ค. 28, 2012 1:00 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="cyber-shot"]วันนี้รบกวนถามอาจารย์เรื่อง EPV= adjusted earning *1/R จากหนังสือ value investing from grahman to buffet.................. หน้า 97 อ่ะครับ ที่เขาทำกับหุ้น wd 40 เขาจะหาไปเพื่อไรเหรอครับ เหมือน เอา กำไรสุทธิลบหนี้ แล้วดูว่าราคาไหนเท่ากับ ปันผลของกำไรสุทธิ ลบหนี้ เท่ากับ ต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้น[/quote] องค์ประกอบค่าหุ้นตามแนวคิดของ Grahman มีสวมส่วนคือ Reproduction value, Franchise value, Growth value ซึ่ง Grahaman จะให้ราคาที่ต้องจ่ายซื้อลงทุนจาก Growth value น้อยที่สุด และให้ความสำคัญกับ Reproduction value มากที่สุด ส่วน Franchise value คือ EVP ที่มากกว่า Reproduction value การหา EVP นี้เพื่อดูว่ามูลค่าทดแทน (reproduction value) นี้มากกว่าหรือน้อยกว่า EVP ถ้ามากกว่าก็แสดงว่าบริษัทไม่มี Franchise value และยังแสดงถึงบรษัทไม่ได้เปรียบในการแข่งขัน ระยะยาว reproduction value จะทำลายมูลค่าในตลาดของตัวเองลง ในทางบัญชีคือจะเกิดการด้อยค่าในอนาคตได้ เพราะตลาดให้มูลต่าทดแทนไว่ สมมติ 1 พัน ลบ. แต่ความสามารถในการทำกำไร (EVP) ทำได้เพียง 0.8 น ลบ. เนื่องจากผู้บริหารอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกันสามารถบรการสินทรัพย์แบบเดียวกันนี้ได้ 1 พัน ลบ. ตลาดจึงให้ราคานี้ไว้ แต่ผู้บริหารทำกำไรไว้ให้มีมูลค่าธุรกิจนี้เพียง 0.8 พัน ลบ. ดังนั้น EVP จึงนำมาใช้ประเมินเปรียบเทียบอีกชั้นหนึ่งว่า mraket capital มูลค่าตลาด (ราคาหุ้น) วันนี้สะท้อนราคาอะไรอยู่ มากเกินไปหรือไม่ แต่ Grahman ก็มักจะเผื่อส่วนปลอดภัยไว้ อย่างน้อย 30-40% EVP ลงไปอีก (หรืออาจลดจากมูลค่าทดแทนก็ได้ Reproduction value คือตัวปัญหาแรก เพราะในโลกความเป็นจริงการหาราคานี้ด้อย่างใกล้เคียงสุด ต้องสามารถเข้าไปทำ due diligence ซึ่งต้องเข้าไปดูรายละเอียดทางบัญชีทุกรายการ นักลงทุนทั่วไปทำไม่ได้แน่ กำเงินแสนเดินเข้าไปบอกบริษัทจะขอมาประเมินราคาสินทรัพ์หนี้สินคงถูกไล่ตะเพิดออกมา แต่เราสามารถประเมินจากรายการในงบดุลได้ครับ มันมีเทคนิคที่ต้องไช้ เพียงแค่อ่านงบเป็นอย่างเดียวเท่านั้นไม่พอ เรื่องนี้ยาวต้องเรียนกันเฉพาะจริงๆ แต่ก็อาศัยพื้นฐานด้านบัญชี การวิเคราะห์งบการเงิน ความรู้ทางการเงิน สถิติเบื้องต้น เศรษฐศาสตร์ และการเข้าใจทางธุรกิจเป็นพื้นฐานมาประกอบพร้อมกัน ส่วน EVP ก็ทำนองเดียวกันครับ บางคนอาจคิดว่าทำไมมันยากอย่างนี้ ความจริงถ้าพื้นฐานดีจริงๆ เรื่องเหล่านี้ดูงบการเงินแล้วนั่งทำงานกับมันจนิงๆก็ไม่นานครับ งบออกปั๊บไม่เกินสัปดาห์หาได้หมดทุกแง่มุมแล้ว บางทีบางห้นไม่ข้ามวันก็รู้ได้แล้ว ยิ่งมีข้อมูลบางรายการเก็บต่อเนื่องไว้สัก 4-5 ปี อย่างต่ำแล้วสบายเลย ที่เห็นๆ VI (ที่ประกาศตัวตนกัน) ตามแนวทาง Gragman กันจริงๆ เพียงแต่วิเคราห์ปัจจัยพื้นฐานในแนวทาง Fundamental analysis เท่านั้น เพราะแนวทางที่ถามและหากได้อ่านต้นตำรับแนวทาง Grahman ที่เขาใช้บรรยายใน มหาวิทยาลัยโคลัมเบียจริงๆ Grahman จะบอกว่า Fundamental analysis เป็นเพียงส่วนหนึ่งในแนวทาง VI แต่การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน Fundamental analysis ไม่ใช่ VI
โดย
sun_cisa2
ศุกร์ ก.ค. 20, 2012 2:37 pm
0
0
Re: การลงทุนแบบดันโด
มีคำอยู่ 3 คำในโลกการเงิน การลงทุน ที่ด้านวิชาการ คนทำงานด้านการเงิน นักลงทุนทั่วไป return หรือ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด) cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) หลายๆครั้ง คือสิ่งเดียวกัน เพียแต่มองคนละมุม return โดยทั่วไปมักจะหมายถึงอัราผลตอบแทนที่ได้รับ ในแง่นี้คือ history record คือเกิดผลแล้วจึงวัด ต่างกับ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด) ที่กล่าวมานักการเงินจะหมายถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียงแต่คาดหวังเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ คืออนาคต ดังนั้นที่พูดเรื่อง high risk high return นั้น ในโลกการเงินจึงหมายถึงการลงทุนในสิ่งใดก็ตามหากสิ่ง (สินทรัพย์) ที่ลงทุนพิจารณาแล้วมีความเสี่ยง (ดู/อ่าน บทความคุณธันวา เลาหศิริวงศ์) ยิ่งมากนักลงทุนยิ่งคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนยิ่งมากตามไปด้วย หุ้นที่เด้งแรงๆ (ปรับราคาขึ้นมากๆ) ไม่ใช่เพราะราคาต่ำจนคิดว่าน่าจะเสียงต่ำ เมื่อลงทุนโอกาสขาดทุนน้อย แต่เวลาเด้งขึ้มแรงแล้วได้กไรมากๆ หมายถึง retun สูงๆ นั่นไม่ใช่ความหมายทางทฤษฎีการเงินของคำว่า high risk high return แต่การหาหุ้นที่ราคาปรับตัวลงมามากๆ จากราคาปัจจัยพื้นฐานที่ควรเป็น คือสิ่งที่ VI ควรแสวงหา แต่อย่าหลงประเด็นว่านั่นคือบริษัท low risk ความเสี่ยงบริษัทนั้นอาจยังสูงอยู่เนื่องมาจากลักษณะธุรกิจ เพียงแต่ราคาของหุ้นนั้นปรับตัวลงมามากเกินกว่าราคาพื้นฐานที่ควรเป็น คราวนี้หากหุ้นที่ลักษณะการประกอบธุรกิจมีความเสี่ยงสูง เมื่อเราประเมินกำไร หรือกระแสเงินสดในอนาคตออกมาแล้ว การประเมินหามูลค่ากิจการต้องหารด้วยอัตาคิดลด ตรงนี้ครับที่ถ้ากิจการนั้นมีความเสี่ยงมาก discount rate (อัตราคิดลด) หรือrequired rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) ก็ต้องสูงด้วยจะใช้ตัวคิดลดหรือ expected return เพียง 12% อาจไม่พอเพราะจะได้มูลค่าพื้นฐานที่ควรเป็นสูงเกินไป อาจต้องคิดลดด้วยอัตราผลตอบแทน 18-20% ดังนั้นคำว่า high risk high return จึงมีความหมายดังที่กล่าวมานี้ ส่วนอีกคำหนึ่ง cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) และ opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) ในโลกทางวิชาการคือสิ่งเดียวกันในหนังสือด้าน VI หลายๆตำรามีการพูดถึง EPV (Earning Power Value) ทีหารด้วยการนำเอารายได้ที่ปรับปรุง Adjusted Earning หารด้วย ต้นทุนเงินลงทุน ต้นทุนนี้ไม่ใช่ว่าไปกู้มา 6% แล้ว ต้นทุนคือ 6% แต่ในโลกการเงินจะดูว่า เงินก้อนเดียวกันนี้ถ้ามีโอกาสเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใดๆก็ได้ ที่มีความเสี่ยงเหมือนๆกัน ผลตอบแทนที่จะได้รับคือเท่าไร นั่นคือต้นทุนเงินทุนนั้น เช่น การลงทุนในหุ้น A ต้นทุนที่จะใช้คำนวณ EPV ควรใช้เท่าไร ถ้าเงินก้อนเดียวกันสามารถลงทุนในสินทรัพย์ B ที่มีความเสี่ยงพอๆกัน และได้ผลตอบแทนการลงทุน 15% ต้นทุนเงินลงทุนของ A ที่นำมาใช้คำนวณจะเท่ากับ 15% คงจะทำให้หลายๆคนได้เข้าใจหลักการมากขึ้น การหาหุ้นราคาต่ำโอกาสลงต่อมีน้อย โอกาสขึ้นทากมีสูง คือสิ่งที่เป็นหัวใจของนักลงทุน แต่นั่ไม่ม่ใช่เรื่องขัดแย้งกับหลัก high risk high return คำว่า low risk คือลงทุนแล้วโอกาสขาดทุนน้อย แต่ไม่ใช่ว่าบริทนั้นๆ มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจน้อย
โดย
sun_cisa2
พฤหัสฯ. ก.ค. 19, 2012 7:47 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
มีคำอยู่ 3 คำในโลกการเงิน การลงทุน ที่ด้านวิชาการ คนทำงานด้านการเงิน นักลงทุนทั่วไป return หรือ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด) cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) หลายๆครั้ง คือสิ่งเดียวกัน เพียแต่มองคนละมุม return โดยทั่วไปมักจะหมายถึงอัราผลตอบแทนที่ได้รับ ในแง่นี้คือ history record คือเกิดผลแล้วจึงวัด ต่างกับ required rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) หรือ discount rate (อัตราคิดลด) ที่กล่าวมานักการเงินจะหมายถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพียงแต่คาดหวังเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ คืออนาคต ดังนั้นที่พูดเรื่อง high risk high return นั้น ในโลกการเงินจึงหมายถึงการลงทุนในสิ่งใดก็ตามหากสิ่ง (สินทรัพย์) ที่ลงทุนพิจารณาแล้วมีความเสี่ยง (ดู/อ่าน บทความคุณธันวา เลาหศิริวงศ์) ยิ่งมากนักลงทุนยิ่งคาดหวังผลตอบแทนการลงทุนยิ่งมากตามไปด้วย หุ้นที่เด้งแรงๆ (ปรับราคาขึ้นมากๆ) ไม่ใช่เพราะราคาต่ำจนคิดว่าน่าจะเสียงต่ำ เมื่อลงทุนโอกาสขาดทุนน้อย แต่เวลาเด้งขึ้มแรงแล้วได้กไรมากๆ หมายถึง retun สูงๆ นั่นไม่ใช่ความหมายทางทฤษฎีการเงินของคำว่า high risk high return แต่การหาหุ้นที่ราคาปรับตัวลงมามากๆ จากราคาปัจจัยพื้นฐานที่ควรเป็น คือสิ่งที่ VI ควรแสวงหา แต่อย่าหลงประเด็นว่านั่นคือบริษัท low risk ความเสี่ยงบริษัทนั้นอาจยังสูงอยู่เนื่องมาจากลักษณะธุรกิจ เพียงแต่ราคาของหุ้นนั้นปรับตัวลงมามากเกินกว่าราคาพื้นฐานที่ควรเป็น คราวนี้หากหุ้นที่ลักษณะการประกอบธุรกิจมีความเสี่ยงสูง เมื่อเราประเมินกำไร หรือกระแสเงินสดในอนาคตออกมาแล้ว การประเมินหามูลค่ากิจการต้องหารด้วยอัตาคิดลด ตรงนี้ครับที่ถ้ากิจการนั้นมีความเสี่ยงมาก discount rate (อัตราคิดลด) หรือrequired rate of return (ผลตอบแทนที่ต้องการ) หรือ expected return (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) ก็ต้องสูงด้วยจะใช้ตัวคิดลดหรือ expected return เพียง 12% อาจไม่พอเพราะจะได้มูลค่าพื้นฐานที่ควรเป็นสูงเกินไป อาจต้องคิดลดด้วยอัตราผลตอบแทน 18-20% ดังนั้นคำว่า high risk high return จึงมีความหมายดังที่กล่าวมานี้ ส่วนอีกคำหนึ่ง cost of capital (ต้นทุนเงินลงทุน) และ opportunity cost of capital (ต้นทุนเสียโอกาสของทุน) ในโลกทางวิชาการคือสิ่งเดียวกันในหนังสือด้าน VI หลายๆตำรามีการพูดถึง EPV (Earning Power Value) ทีหารด้วยการนำเอารายได้ที่ปรับปรุง Adjusted Earning หารด้วย ต้นทุนเงินลงทุน ต้นทุนนี้ไม่ใช่ว่าไปกู้มา 6% แล้ว ต้นทุนคือ 6% แต่ในโลกการเงินจะดูว่า เงินก้อนเดียวกันนี้ถ้ามีโอกาสเลือกลงทุนในสินทรัพย์ใดๆก็ได้ ที่มีความเสี่ยงเหมือนๆกัน ผลตอบแทนที่จะได้รับคือเท่าไร นั่นคือต้นทุนเงินทุนนั้น เช่น การลงทุนในหุ้น A ต้นทุนที่จะใช้คำนวณ EPV ควรใช้เท่าไร ถ้าเงินก้อนเดียวกันสามารถลงทุนในสินทรัพย์ B ที่มีความเสี่ยงพอๆกัน และได้ผลตอบแทนการลงทุน 15% ต้นทุนเงินลงทุนของ A ที่นำมาใช้คำนวณจะเท่ากับ 15% คงจะทำให้หลายๆคนได้เข้าใจหลักการมากขึ้น การหาหุ้นราคาต่ำโอกาสลงต่อมีน้อย โอกาสขึ้นทากมีสูง คือสิ่งที่เป็นหัวใจของนักลงทุน แต่นั่ไม่ม่ใช่เรื่องขัดแย้งกับหลัก high risk high return คำว่า low risk คือลงทุนแล้วโอกาสขาดทุนน้อย แต่ไม่ใช่ว่าบริทนั้นๆ มีความเสี่ยงในการทำธุรกิจน้อย
โดย
sun_cisa2
พฤหัสฯ. ก.ค. 19, 2012 7:45 pm
0
0
163 โพสต์
of 4
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
sun_cisa2
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
จันทร์ มี.ค. 26, 2012 10:59 pm
ใช้งานล่าสุด:
จันทร์ ก.ย. 17, 2012 11:01 am
โพสต์ทั้งหมด:
121 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.03 ข้อความต่อวัน)
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว