หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
vim
V
i
IM
rovised
Joined: พุธ ธ.ค. 14, 2011 5:10 pm
2750
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - vim
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ประกาศรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่แค่สิบอันดับแรกเท่านั้นครับ
ผมชอบแบบเดิมมากกว่า นักลงทุนรายย่อยควรรู้ว่าบริษัทที่เร่ลงทุนมีใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 0.5% ไม่ใช่ว่าน้อย เพราะหลายบริษัทแค่มีชื่อใครคนมาถือ 0.5% ก็อาจมีนัยยะสำคัญแล้ว เช่นกรณีผู้มีชื่อเสียง ผู้เกี่ยวข้องกับบริษัท หรือนักการเมือง ในทางกลับกัน ผู้บริหารบริษัทยังมีสิทธิ์ "เช็คชื่อ" นักลงทุนรายย่อยได้ โดยมีค่าธรรมเนียมไม่แพง แบบนี้ผมคิดว่าทำให้รายย่อยเสียเปรียบครับ
โดย
vim
จันทร์ มี.ค. 22, 2021 12:20 am
0
11
Re: วิธีเลือกกองทุนรวม/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อไหร่ ดร. จะเลิกเข้าใจผิดว่า Hedge Fund มีความเสี่ยงสูงสักที แน่นอนกองส่วนใหญ่มีความเสี่ยงสูง เพราะอัด Leverage แต่กองทุนที่เป็นระดับโลกไม่ได้มี Leverage สูงขนาดนั้นแล้ว เบื้องหลังเต็มไปด้วย AI และ math มากมาย หลายๆครั้งเราใช้คำว่า AI ไปอธิบายวิธีการคิดที่เราอธิบายไม่ได้ ในความเห็นผม การที่อธิบายไม่ได้ คือความเสี่ยงสูงครับ แน่นอนว่า AI ที่ถูกต้อง สามารถอธิบายได้ แต่ที่ใช้กันเกร่อตอนนี้คงไม่ใช่
โดย
vim
จันทร์ มี.ค. 01, 2021 4:49 pm
0
2
Re: กลยุทธ์วีไอ(7) ในปี64 ทิวา ชินธาดาพงศ์
น่าจะหมายถึง Hikvision ครับ เป็นบริษัทที่รัฐวิสาหกิจถือหุ้น และเป็นหนึ่งในบริษัทที่โดนกีดกันจากอเมริกา โบรคสังกัดอเมริกาไม่สามารถซื้อหุ้นได้ เลยอาจจะมี discount ตรงนี้ ส่วน Hi-Vision เป็นสินค้าอีกตัวนึงของหัวเว่ย ไม่น่าจะใช่ แฟนคลับพี่มี่ครับ พี่มี่เรียนรู้ธุรกิจใหม่ๆได้ไวและเจาะลึกมาก
โดย
vim
พฤหัสฯ. ม.ค. 21, 2021 3:59 pm
0
9
Re: เหมือนปุ่ม reply มันยังไม่ค่อยเสถียรนะครับ
ปุ่มล่างขวา ผมเปิดอ่านไม่ได้หลายรอบเลยครับ โดยเฉพาะทางมือถือ ปกติก็เลยไม่ได้อ่านเลยเพราะช่วงหลังๆไม่ค่อยได้เข้าเว็บบอร์ดผ่านคอม อีกปัญหาที่ผมเจอคือเวลาพิมพ์ตอบในมือถือยาวๆ แล้วไม่มีเว้นวรรค บางทีหน้าเว็บมันจะค้างไปเลย ไม่รู้เป็นที่มือถือผมเม็มโมรีน้อยหรือเปล่า
โดย
vim
อังคาร ม.ค. 12, 2021 5:18 pm
0
1
Re: Next Tesla ?
ผมสนใจเทรนด์นี้เหมือนกันครับ แต่ยังมองไม่เห็นกระแสรายได้ เลยไม่สามารถให้มูลค่าหุ้นได้เลย ตอนนี้ผมเลยมองไปที่ mRNA โดยเฉพาะ BioNTech, Moderna เพราะเริ่มสร้างผลงานที่อิมแพ็คสูงๆได้แล้ว มี backlog ชัดเจนแล้วในปี 2021 นี้ ยกตัวอย่างเช่น BioNTech มี product สองแบบ 1. ตลาด mRNA platform ซึ่งเป็นการสร้างวัคซีนเฉพาะโรค เพื่อขายตลาดทั่วไป อย่างวัคซีน covid19 นั้นทางบริษัทใช้เวลาพัฒนาวัคซีนเพียงแค่สามเดือน นับจากที่เริ่มได้ตัวอย่างรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัส (Jan 20 - Mar 20) โดยระยะเวลาที่เสียไปเยอะไม่ใช่ R&D แต่เป็นระยะเวลาในการทดลอง Phase 1-3 ก่อนจะแจกจ่ายได้จริง หลังจากนั้น BioNTech จึงได้นำเทคโนโลยี mRNA vaccine ที่สร้างมาแล้ว มาพัฒนาเป็น platform ซึ่งแพล็ตฟอร์มนี้สามารถนำรหัสพันธุกรรมของโรคใหม่ๆ เช่น covid19 ที่กลายพันธุ์ มาสร้างเป็นวัคซีนได้ภายในสองสัปดาห์ ซึ่งเร็วกกว่าเดิมเยอะมาก ถ้าจะช้าก็ช้าที่ขี้นตอนทดลอง Phase1-3 เหมือนเดิม 2. ตลาด customized mRNA/vaccines คือเป็นการสร้างวัคซีนสำหรับผู้ป่วยคนหนึ่งๆโดยเฉพาะ โดยเน้นไปทางรักษาโรคมะเร็งเป็นหลัก ตรงนี้มีการพัฒนา platform และมีรายได้ แต่ค่า R&D ยังมากอยู่ ขาดทุนตลอด ตอนนี้บริษัท BioNTech เทรดอยู่ที่ราวๆ PE(2021E) น้อยกว่า 10 เท่า สาเหตุเพราะ Bears มองว่ารายได้จากวัคซีน comirnaty (ที่รักษา corona) จะน้อยลงในปีที่ 2022-2023 และจะหมดไปในปีต่อไป (แน่นอนว่า Bulls ไม่เชื่อแบบนั้น) Moderna ก็สตอรี่คล้ายๆกัน เป็นโลกคู่ขนานฝั่งอเมริกา
โดย
vim
พุธ ม.ค. 06, 2021 11:12 pm
0
8
Re: สอบถามเรื่อง การคุยกับ IR
เป็นหน้าที่ของบริษัทที่ต้องให้ข้อมูลแก่นักลงทุนโดยทั่วถึงกันครับ เราสามารถติดต่อได้โดยไม่ต้องรู้สึกผิดอะไร แต่ในทางปฎิบัติ การให้ข้อมูลของ IR อาจมีการผิดพลาดโดยจงจัยหรือไม่จงใจ ทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่เท่าเทียม เช่น 1. นักลงทุนติดต่อ IR แล้วไม่ได้รบความสนใจ นอกเสียจากว่าจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่หรือสถาบันการเงิน อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่สมควรเกิด 2. นักลงทุนติดต่อ IR แล้วได้รับข้อมูลที่สำคัญที่ไม่เป็นสาธารณะ (ข่าววงใน) อันนี้ IR ผิดเต็มๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดเช่นกัน 3. นักลงทุนติดต่อ IR แล้วได้รับข้อมูลทั่วไป แต่ตัวนักลงทุนพยายามจี้ประเด็นเพื่อให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญที่ไม่ใช่สาธารณะ กรณีนี้เกิดบ่อย และไม่สมควรเกิด IR ที่ดีไม่ควรปล่อยให้ข้อมูลนี้รั่วออกไปเพราะจะก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมครับ ผมเคยโดน IR ตั้งใจให้ข้อมูลดีเวอร์ๆเกินด้วย แล้วจบที่เพิ่มทุนต่ำกว่าราคาตลาด ทำให้เสียหายไปเยอะ ตั้งแต่นั้นมาพอใครให้ข้อมูลบริษัทใดบริษัทหนึ่งในแง่บวกมากๆผมก็อยากให้ฝากคิดแง่ลบเอาไว้ด้วย เพื่อที่จะได้ชั่งใจก่อนลงทุน ด้วยระบบตลาดทุนไทยยังเป็นแบบนี้ มันคงยังไม่มีอะไรถูกตามที่ควรร้อยเปอร์เซนต์ แต่ผมคิดว่าการเปิดให้ถาม-ตอบ บนเวทีสาธารณะ (เช่น OppDay, AGM) หรือตอบคำถามผ่านเว็บไซต์ หรือนำคำตอบที่ได้จากการคุยโทรศัพท์มาเผยแพร่ทางออนไลน์ น่าจะสร้างความแฟร์ได้ระดับหนึ่งครับ
โดย
vim
อังคาร ธ.ค. 22, 2020 11:39 pm
0
7
Re: Baby Boomer VS Gen Y/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผมน่าจะอยู่ประมาณปลายๆ gen x เหมือนกัน (ไม่ทันแบบเรียน มานีมานะ เป็นรุ่นแรกที่ใช้แก้วกับกล้า) แต่คนในรุ่นผมมีทั้งเสรีนิยมสุดๆ จนถึงอนุรักษ์นิยมสุดๆ น่าจะพอๆกัน ผมรู้สึกเหมือนกันว่าคนรุ่นผมเป็นอะไรที่รวมกลุ่มกันไม่ได้ มีทั้งคนชอบอำนาจนิยม เช่นการรับน้อง การเข้าระบบโซตัส หลายคนพยายามดึงรั้งระบบดั้งเดิมเอาไว้ทั้งๆที่อาจไม่ตอบโจทย์ในอนาคต แต่ถ้าระบบหายไปก็เหมือนจะขาดที่ยึดมั่นทางจิตใจเลยต้องรักษาไว้ ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้รวมกลุ่มกันต่อต้าน ใช้แต่พลังเงียบไม่ไปสุงสิงด้วย สุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยอะไรกับสังคมอยู่ดี เป็นแบบนี้อยู่นานหลายปี ตั้งแต่สมัยประถม มัธยม มหาลัย ทำงาน แนวคิดอนุรักษ์นิยม vs เสรีนิยม เป็นสิ่งที่หลอกหลอนชาว gen x มาโดยตลอด ถ้ามองมุมนี้ พวก gen y หรือที่ผมชอบเรียกว่า millenials ตามยุคสมัยที่เกิด นั้นจะชัดกว่าด้านความเป็นเสรีนิยม มีการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนอื่น เหตุการณ์เช่นนี้เกิดทั้งในไทยและต่างประเทศ เป็นเหมือนจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย (Zeitgeist) แสดงออกถึงทั้งชีวิต สังคม การเมือง และการลงทุน จะเห็นว่าชาว millennials นี้จะลงทุนไม่หมือนยุคก่อนๆ สมัยรุ่นผมรับความเสี่ยงได้พอประมาณ การใช้ peg ลงทุนถือว่ามีความเสี่ยงสูง แต่เด็กสมัยนี้มองการลงทุนโดยไม่ดู pe, peg กันแล้ว ดูกันที่ ps, market cap กันเป็นหลัก มองอนาคตกันเป็นหลักสิบปี เรียกได้ว่า moon shot นั้นเป็นมาตรฐาน และ mars shot คืออนาคต
โดย
vim
เสาร์ ธ.ค. 19, 2020 11:54 pm
0
9
Re: อนาคตของประเทศไทย/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เป็นสิ่งพิสูจน์ว่าคนรุ่นใหม่เรามีคุณภาพ เศรษฐกิจยังสามารถดำเนินได้ ประเทศยังมีอนาคต หากโครงสร้างที่ไม่เท่าเทียมได้รับการแก้ไขครับ
โดย
vim
จันทร์ ต.ค. 19, 2020 12:08 am
0
8
Re: Bitcoin
Bitcoin ไม่มี Earnings ครับ ไม่น่าจะคิดเป็น P/E ได้
โดย
vim
จันทร์ พ.ค. 25, 2020 8:11 pm
0
2
Re: ร่วมแสดงความคิดเห็น ติชม เว็บบอร์ดใหม่!!
สวยดีครับ อาจยังไม่ค่อยชินเท่าไหร่ ตอนนี้ยังใช้แบบตะกุกตะกัก มีคอมเมนต์ดังนี้ครับ 1. User Experience ยังใช้ยากอยู่ เช่น เวลาดูปุ่มโพสท์ที่มีการตอบล่าสุด ต้องคลิก Quick Links ครั้งนึงก่อน แล้วจะเจอปุ่มสี่ปุ่ม Your posts New posts Unread Posts Unanswer Topics ซึ่งแต่ละอันใช้ยังไงก็ไม่รู้ ค่อนข้างลำบากสำหรับมือใหม่ อยากให้เอาแยกไว้เป็นลิงค์เหมือนเดิมใกล้ๆกับ Notifications ด้านบน 2. ตัวหนังสือเล็กมาก โดยเฉพาะจอ widescreen ผมต้องเปิดไซส์ใหญ่สุด 3. พื้นที่ด้านข้างเหลือ thaivi-width3.png 4. Attachment อัพรูปได้ไวขั้นสเต็ปนึงแล้ว แต่เสียตรงที่กว่าจะไปอัพรูปได้ต้องคลิกเปิด tab Attachment อีกหนึ่งสเต็ป ทำให้โดยรวมไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ อยากให้เอา tab นี้ออกมาเลยจะดีกว่า 5. เวลาคลิกที่หัวข้อกระทู้ มันไปเข้าหน้าแรก ไม่ไปที่ unread post ล่าสุดอย่างที่ควร 6. Server เข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง บางทีเจอ timeout อยู่บ่อยๆ ถ้าเป็นไปได้อยากให้เพิ่มประสิทธิภาพเบื้องหลังของเซิร์ฟเวอร์ครับ 6.1 Log in หลุดบ่อย ยิ่งเวลาเข้าที่มือถือจะลำบาก โดยจะเลวร้ายมากหาก server timeout นี่จะต้องล็อกอินสามสี่รอบถึงจะได้ ใช้ได้ครึ่งวันก็หลุดอีกแล้ว 7. โดยรวมแล้วผมคิดว่า Layout น่าจะต้องปรับอีกหน่อย โดยลดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไป แล้วจัดวางข้อมูลให้ง่ายต่อการอ่านครับ thaivi-layout1.png
โดย
vim
อาทิตย์ ก.ย. 01, 2019 9:43 pm
0
17
Re: MoneyTalk@MAI 13 กค 2562 เฟ้นหุ้นเด่น 10เด้ง MAI
ขอบคุณครับ
โดย
vim
อาทิตย์ ก.ค. 14, 2019 5:11 pm
0
1
Re: ว่าด้วยเรื่องการตั้งเป้าหมายของผลตอบแทน
ผมคิดว่าถ้าตั้งสูงมากไป จะเป็นการกดดันให้ต้องไปลงทุนเสี่ยงๆ ก่อให้เกิดความเครียด และอาจทำให้ผิดพลาดได้สูง ส่วนตัวผมมองว่าทำให้ได้ดีกว่า SET TRI (รวมปันผลแล้ว) ถ้าทำได้ทุกๆปี ผลตอบแทนก็โอเคแล้วครับ แล้วเอาเวลาไปทำงานอดิเรกบ้าง หาความสุขบ้างอะไรบ้าง พอแก่แล้วมันย้อนเวลาไม่ได้ บางอย่างพอมาทำทีหลังแล้วมันไม่เหมือนทำสมัยเด็กๆ ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าอะไรสำคัญกว่าสำหรับแต่ละคน
โดย
vim
พฤหัสฯ. ก.ค. 04, 2019 1:19 am
0
7
Re: “รถคันใหม่ปีใหม่นี้ ควรเป็นรถแบตเตอรี่ไฟฟ้า?”
รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอร์รี่มีราคาประมาณ 50% ของราคารถ ซึ่งจะเสื่อมในเวลา 3-5 ปี หลังจากนี้จะเปลี่ยนแต่แบตเตอร์รี่ก็ได้ แต่ไม่ค่อยมีคนทำกัน ส่วนใหญ่ก็ขายซากคืนศูนย์แล้วซื้อใหม่ ใครจะซื้อโดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐต้องคิดตรงนี้ด้วยครับ พลังงานไฟฟ้าเราผลิตจากชนบท แล้วส่งเข้ามาใช้งานมาในเมือง ดังนั้นถ้าจะทำที่ชาร์จตามบ้าน โครงสร้างสายส่งไฟฟ้าสำคัญมากเลย ทุกวันนี้สายส่งเมืองไทยไม่พอ ไฟตกไฟดับเป็นเรื่องปกติ ในอเมริกาเขามีสายส่งที่ดีมากแล้วเปิดเสรีการไฟฟ้าให้รายย่อยผลิตไฟฟ้าขายได้ ส่วนสแกนดิเนเวียร์คนเขาน้อยและกระจายออกนอกเมืองอยู่แล้วเลยไม่ใช่ปัญหามาก โจทย์ในไทยค่อนข้างยากและต้องพึ่งพาการนำโดยรัฐที่ฉลาดรอบคอบ ถ้าจะมองเรื่องเทรนด์รถไฟฟ้าในไทย ผมคิดว่าไม่ควรเทียบกับเคสเทสล่าหรือยุโรปเพราะบริบทในไทยมันไม่เหมือนกัน กระแสในไทยน่าจะต้องไปดูจากจีนมากกว่า ในจีนมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นไวมากจากเดิมที่เป็นแค่ฐานการผลิต ตอนนี้กลายเป็นว่ารถรุ่นใหม่ๆทำได้ดีกว่ารถอเมริกาเสียอีก โดยแรงผลักดันก็มาจากภาวะฝุ่นในเมืองทำให้คนหันมาสนใจการลดการปล่อยสารพิษในเมืองกันมากขึ้น อันนี้ใกล้เคียงกับไทยมากเลย ซึ่งหากเรามีรัฐบาลจากการเลือกตั้งที่แข็งแรงเมื่อไหร่ ก็อาจเป็นไปได้ว่าจะมีโครงการลดภาษีรถยนต์ EV จนราคาลงใกล้เคียงกับรถยนต์ทั่วไป (ตามข้อแม้ต่างๆเช่นให้ประกอบในไทย หรืออื่นๆให้อุตสาหกรรมไทยได้ประโยชน์) สรุปคือ ผมมองว่าในไทย ถ้าภาครัฐไม่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงได้ การปรับตัวไป EV ของไทยคงทุลักทุเลครับ คนซื้อก็เละ คนไม่ซื้อก็สูบควันกันไปครับ
โดย
vim
อังคาร ก.พ. 12, 2019 3:27 am
0
5
Re: วิกฤติอากาศ/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ขอบคุณครับ มีเรื่องต้องระวังเรื่องนึง เครื่องวัดอากาศแบบพกพาอาจวัด PM2.5 ได้ไม่แม่นยำ หรือในหลายๆกรณีก็วัดไม่ได้เลย เพราะส่วนใหญ่จะใช้เซ็นเซอร์วัดการหักเหของแสงง่ายๆ ( Particulate matter sensors) วิธีแบบนี้จะไม่สามารถแยกได้ชัดว่าอากาศที่นั้นจะมีฝุ่นขนาดใด หรือเป็นพิษแค่ไหน ต่างกับเครื่องวัดที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ ในต่างประเทศก็มีงานวิจัยถึงความแม่นยำของเครื่องวัดเหล่านี้ เช่น https://www.epa.gov/air-sensor-toolbox/evaluation-emerging-air-pollution-sensor-performance ผลสรุปคือ เครื่องส่วนมากวัดไม่ตรงกันกับเครื่องวัดมาตรฐาน หลายๆเครื่องนั้นวัดได้ไม่ใกล้เคียงเลย ดังนั้นเวลาซื้อเครื่องวัดอากาศแบบพกพาต้องเลือกประเภทและรุ่นที่มีการทดสอบมาด้วยครับ
โดย
vim
เสาร์ ม.ค. 26, 2019 4:02 pm
0
16
Re: MoneyTalk Weekly (ตารางรายการ บริษัทและผู้บริหาร)
รายการยังมีอยู่นะครับ ติดตามอัพเดทข้อมูลได้ทางเฟสบุคครับ https://www.facebook.com/MoneyTalkTV/
โดย
vim
อาทิตย์ ธ.ค. 09, 2018 8:22 pm
0
3
Re: การลงทุนต่อตารางเมตรที่คุ้มค่าที่สุด
ขอบคุณครับ เป็นแรงบัลดาลใจที่ดีครับ
โดย
vim
พุธ มิ.ย. 27, 2018 3:24 am
0
0
Re: ตลท. เตรียมออก DR รองรับบริษัทต่างประเทศสามารถซื้อขายในต
น่าสนใจครับ แบบนี้จะยกเว้นภาษีกำไรจากการซื้อขายด้วยใช่ไหมครับ เพราะซื้อในตลาดหลักทรัพย์ไทย
โดย
vim
จันทร์ มิ.ย. 25, 2018 3:49 am
0
0
Re: ฟุตบอลโลก 2018
อยากให้ญี่ปุ่นเป็นแชมป์ครับ ..ไม่งั้นคนเขียนกับตันซึบาสะคงจะเขียนต่อไปเรื่อยๆไม่จบซะที
โดย
vim
พฤหัสฯ. มิ.ย. 14, 2018 11:40 pm
0
1
Re: Bitcoin
ไม่ค่อยเห็นคนพูดเรื่องเหรียญใหม่ๆกัน พอมีใครมีความเห็นไหมครับว่าคิดอย่างไรกับอนาคตของเหรียญตระกูล Masternode ที่ให้โอกาสผู้ถือเหรียญสามารถสร้างเซอร์เวอร์เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายหลักได้ และได้เหรียญตอบแทนเป็นปันผล (คล้ายๆ DASH) เห็นว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาตระกูลนี้เป็นที่นิยมกันมากกว่า PoW/PoS
โดย
vim
อังคาร ม.ค. 02, 2018 4:23 pm
0
1
Re: มีบริษัทอะไรในตลาดที่รับประกันสุขภาพบ้าง
ถ้าเป็นผม ระหว่างซื้อประกันสุขภาพภายในสิ้นปีเพื่อประโยชน์ทางภาษี กับซื้อประกันชีวิตแล้วพ่วงประกันสุขภาพ หรือไปค้นกรมธรรม์ประกันชีวิตเก่าๆเพื่อมาซื้อสัญญาสุขภาพเพิ่มเติม ผมคิดว่ากรณีแรกมันดูเป็นไปได้ที่สุดนะครับ ไม่รู้คนอื่นเป็นเหมือนกันหรือเปล่า
โดย
vim
เสาร์ ต.ค. 14, 2017 2:56 am
0
2
Re: ทำไมค่าแรงจีนไม่ถูกแล้ว แต่สินค้าผลิตจีนยังครองโลก
supply chain จีนแข็งแกร่งมากครับ นอกจากนั้นเรื่องประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานจีนนั้นไม่น่าจะแพ้ใคร แล้วโดยวัฒนธรรมแล้วพนักงานจีนไม่ค่อยย้ายบริษัท พี่ใหญ่ไม่ย้ายตัวเองก็ไม่ย้าย แตกต่างกับประเทศอย่างอินเดียที่พนักงานส่วนใหญ่มีแนวคิดแบบ Corporate ที่ชอบย้ายงานบ่อยๆเพื่อเพิ่มเงินเดือน พวกหลังนี้ประสิทธิภาพการทำงานไม่สูงเท่าเพราะต้องเสียเวลาไปกับการเรียนรู้งานมากกว่าทำงานจริงๆ
โดย
vim
พฤหัสฯ. ก.ย. 21, 2017 4:57 am
0
8
Re: ภาพรวมอุตสาหกรรมโรงพยาบาลปี 2560
ขอบคุณครับ
โดย
vim
อาทิตย์ มิ.ย. 18, 2017 5:01 am
0
0
Re: MoneyTalk Weekly (ตารางรายการ บริษัทและผู้บริหาร)
รายการตั้งแต่วันที่ 20 พค 2017 สามารถรับชมได้ผ่านช่องทางหลัก บน YouTube ของ Money Channel นะครับ https://www.youtube.com/playlist?list=PL3aRSI_4CPHVr3DLEU0X-9jZvp2piQHmi
โดย
vim
จันทร์ มิ.ย. 12, 2017 8:00 pm
0
2
Re: MoneyTalk Weekly ดูไม่ได้ตั้งแต่วันที่20/5/2017
Money Talk Weekly "BKD" ช่วงที่ 1 / 20 พ.ค. 60 https://www.youtube.com/watch?v=A-BcFHrZ4Cs A-BcFHrZ4Cs Money Talk Weekly "BJCHI" ช่วงที่ 1 / 21 พ.ค. 60 https://www.youtube.com/watch?v=h7mCUkLBvF0 h7mCUkLBvF0 ดูได้ครบแล้วครับ ขอบคุณทีมงาน MoneyTalk ครับ
โดย
vim
อังคาร พ.ค. 30, 2017 11:21 pm
0
2
Re: MoneyTalk Weekly ดูไม่ได้ตั้งแต่วันที่20/5/2017
Money Talk Weekly "BEAUTY" ช่วงที่ 1 / 27 พ.ค. 60 https://www.youtube.com/watch?v=GTKd6M6YZNg GTKd6M6YZNg Money Talk Weekly "BDMS" ช่วงที่ 1 / 28 พ.ค. 60 https://www.youtube.com/watch?v=UthiTMVi30I UthiTMVi30I ของวันที่ 27, 28 ดูได้แล้วครับใน YouTube ขอบคุณครับ ของวันที่ 20, 21 ยังดูไม่ได้ครับ
โดย
vim
อังคาร พ.ค. 30, 2017 12:47 am
0
3
Re: MoneyTalk Weekly ดูไม่ได้ตั้งแต่วันที่20/5/2017
หมายถึงดูย้อนหลังผ่าน DCS หรือช่อง MoneyChannel ใช่ไหมครับ ผมก็ดูผ่านทางนั้นไม่ได้เช่นกัน ผมถามผ่านไปทางอีเมล์ของ DCS แต่ยังไม่ได้คำตอบครับว่าทำไม จะถามบ่อยๆผมก็เกรงใจ
โดย
vim
จันทร์ พ.ค. 29, 2017 6:04 am
0
2
Re: MoneyTalk@SET23/4/60-กลต&การดูแล/หุ้นเด่นQ2/ฝรั่งมองหุ้น
ขอบคุณครับ
โดย
vim
อังคาร เม.ย. 25, 2017 12:30 am
0
0
Re: พูดคุยแลกเปลี่ยนการยื่นภาษี ปีภาษี 2559
มีท่านใดที่ทำงานอยู่ต่างประเทศกับบริษัทต่างชาติและไม่มีรายได้ในเมืองไทยเลย รบกวนบอกหน่อยว่าท่านยื่นแบบกันอย่างไรครับ ผมถามไปที่สรรพากรแต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนเลย ถามไปหลายครั้งแต่ตอบไม่ค่อยจะเหมือนกัน แต่ที่ฟังๆดู เจ้าหน้าที่ส่วนใหญบอกก็ไม่ต้องยื่นเลย ปกติ สมมติก่อน ว่าเราเป็นนาย A นาย B ที่ไหนก็ตาม ไม่ได้ลงทุนหุ้นอะไรเลย เราไม่ต้องยื่น เพราะเรามีรายได้ประเเทศนั้นๆ เสียภาษี ให้รัฐบาลประเทศนั้นๆ แล้ว แต่ตอนนี้เรามีรายได้พึงประเมินในไทยจากหุ้น จึงต้องยื่น ก็ ภงด. 90 แบบฟอร์มนี้แหละ ก็กลายเป็นไปใส่เรื่องจากในรายการเรื่องปันผลหุ้น 40(4) นี้อย่างเดียว ซึ่งก็คือรายได้พึงประเมินจะถูกคำนวณจากข้อนี้ แต่มีพวกลดหย่อนอื่นๆ ของตัวเอง ของภรรยา ของลูก ลดหย่อนประกัน เงินบริจาค ฯลฯ ก็ยื่นใส่เข้าไป แล้วแต่จะใช้สิทธิ์ ในเมื่อมีการยื่น แต่เราจะไม่ยื่นขอเลยก็ได้ ถือว่าที่รัฐหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว เราบริจาคเงินเงินช่วยชาติเข้าคลังไป หรืออย่างเช่น สมมติถือหุ้นที่มีปันผลน้อยตัว หรือแบบ ส่วนใหญ่เป็นหุ้น capital gain หรือใช้วิธีไปซื้อหลัง XD ไปแล้ว เพราะราคาตกช่วงนั้น... พอได้คืนน้อย รู้สึกเสียเสียเวลาทำงาน เสียเวลาไปตาม นอกจากไม่มีความผิดอะไร รัฐได้เงินเราไปใช้อีกต่างหาก ขอเสริมพี่ Ii'8N นะครับ เผื่อเป็นประโยชน์กับหลายๆคน ปกติแล้วก็ต้องทำเรื่องภาษีให้ถูกต้อง ทั้งประเทศที่รายได้เกิดขึ้น และประเทศที่อาศัยอยู่ครับ อย่างกรณีที่เราอยู่ต่างประเทศ แล้วมีรายได้จากปันผลหุ้นในไทย ก่อนอื่นต้องไปเช็คว่าระหว่างไทยกับประเทศที่เราอาศัยอยู่ มีสนธิสัญญาภาษีซ้ำซ้อนหรือเปล่า ถ้ามีก็ต้องไปอ่านละเอียดเป็นกรณีๆไป แต่ละประเทศไม่เหมือนกันในรายละเอียด ในภาพคร่าวๆ โดยรวมๆก็คือ 1. เราก็ทำเรื่องภาษีที่ไทยให้เสร็จก่อน กรอกภงด 90/91 เรียบร้อย จะได้ภาษีคืนหรือต้องจ่ายเพิ่มก็แล้วแต่ ทำตรงนี้ให้จบก่อน 2. หลังจากนั้นก็ไปขอ หนังสือใบรับรองการเสียภาษี จากสรรพากรไทย ว่าในปีภาษีนี้เรามีรายได้ที่ไทย และเสียภาษีไปให้สรรพากรที่ไทยแล้วเท่านี้ๆนะ 3. นำเอกสารตรงนี้ไปแปล แล้วยื่นรายได้จากไทยรวมไปกับรายได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ให้สรรพากรในประเทศที่เราอาศัยอยู่ ว่าเรามีรายได้จากต่างประเทศเท่าไร แล้วเสียภาษีต้นทางไปแล้วเท่าไร จะต้องเสียภาษีอีกเท่าไร? ซึ่งสรรพากรที่ต่างประเทศอาจเรียกเก็บเพิ่ม หรือไม่เก็บเลย หรือเก็บตามสัดส่วน ก็เป็นไปตามสนธิสัญญาภาษีซ้ำซ้อน ข้างบนคือขั้นตอนที่ถูกต้อง ส่วนขั้นตอนที่ "หลายๆคนมักทำกัน" คือขั้นตอนที่ 1. อย่างเดียว !! ส่วนขั้น 2. และ 3. นั้นค่อยมาทำหลังจากโดนสรรพากรต่างประเทศสั่งทีหลัง ส่วนใหญ่สรรพากรต่างประเทศเขาไม่รู้ว่าคนไทยมีตัง และระบบภาษีแต่ละประเทศนั้นไม่เชื่อมโยงกัน คนไทยเลยไม่ค่อยโดนตรวจกัน แต่ในอนาคตระบบภาษีมันอัตโนมัติมากขึ้น อาจมีความเสี่ยงถูกตรวจเพิ่มขึ้น ภาษีระหว่างประเทศ ในทางปฎิบัติมีปัญหาและข้อถกเถียงอยู่มาก ในบางประเทศมีข้อยกเว้นว่าถ้ารายได้จากต่างประเทศนี้ไม่ถึงจำนวนหนึ่ง จะไม่ต้องมาคำนวนเป็นรายได้ในปีนั้น (เช่นมาอยู่ต่างประเทศ แล้วปล่อยบ้านที่ไทยให้เช่า รายได้นี้ถ้าไม่มากสรรพากรก็ขี้เกียจไปยุ่ง เลยเกิดข้อยกเว้นนี้) บางประเทศใช้หลักการดูที่กระแสเงินสดว่ามีเงินเข้าประเทศในปีภาษีนั้นไหม (cash basis) ซึ่งหลักเงินสดนี้ต้องระวัง มีการฟ้องร้องกันเยอะ เมื่อเกิดข้อพิพาท สรรพากรทุกประเทศมักจะพยายามตีความกฎหมายเข้าข้างตัวเอง บางทีสรรพากรก็ตีความว่าหลักการภาษีนั้นจะต้องใช้หลักคงค้าง (accrual basis) หลักเงินสดจะใช้เฉพาะกรณีพิเศษเท่านั้น ต่อให้เงินสดไม่เข้าประเทศก็จริง แต่หากเป็นจำนวนเงินที่สูง ก็จำเป็นต้องจ่ายภาษี ถ้าเราไม่เห็นด้วยก็ต้องสู้กับสรรพากรในศาล เรื่องยาว ถ้าเป็นคดีแพ่งบางประเทศเราฟ้องค่าเสียเวลากลับก็ไม่ได้ ดังนั้นแม้ว่าเรามั่นใจว่าเราถูกก็อย่าประมาท สมัยก่อนคนไทยที่มาอยู่ต่างประเทศนานๆ จะใช้ชื่อพ่อแม่ ลูก พี่น้อง หรือสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนแต่อาศัยอยู่ในไทย ในการถือหุ้น เพื่อกันปัญหาภาษีซ้ำซ้อนตรงนี้ ตรงนี้แม้จะสะดวกดี แต่ก็อาจไม่ถูกต้องเท่าไหร่ในความเห็นผม เป็นข้อมูลจากมุมมองส่วนตัวนะครับ ไม่ได้แนะนำให้ทำ อาจฟังดูน่ากลัวแต่น่าจะเป็นประโยชน์ แม้อาจจะไม่เจอกับตัว แต่รู้ไว้ก็จะได้ป้องกันความเสี่ยงได้ในอนาคต
โดย
vim
ศุกร์ ม.ค. 20, 2017 11:57 pm
0
4
Re: พูดคุยแลกเปลี่ยนการยื่นภาษี ปีภาษี 2559
ยื่นเอกสารออนไลน์วันที่ 10 วันนี้วันที่ 18 ได้รับภาษีคืนผ่านพร้อมเพย์แล้วครับ
โดย
vim
พฤหัสฯ. ม.ค. 19, 2017 3:06 am
0
0
Re: Raw data งบการเงินย้อนหลัง 10 ปี หาได้จากไหนครับ
ปล. ถ้าจะใช้แค่ factscheet ฟรีๆนี่ผมใช้ morningstar ครับ จริงๆข้อมูลส่วนใหญ่ก็อยู่ในนั้นหมดแล้ว ถ้ายอมเสียตังก็จะได้ข้อมูลละเอียดขึ้น
โดย
vim
ศุกร์ ม.ค. 13, 2017 5:13 am
0
0
Re: Raw data งบการเงินย้อนหลัง 10 ปี หาได้จากไหนครับ
Raw data งบการเงินย้อนหลัง 10 ปี ที่เขาเอามาทำโปรแกรมกัน (เช่น Jiita, Siam chart) เขาเอามาจากไหนครับ ต้องการนำมาทำแพลตฟอร์มวิเคราะห์ในรูปแบบเราเอง มีทั้งที่รวบรวมเอาข้อมูล SEC มาบันทึกไว้เอง หรือไม่ก็ซื้อข้อมูลของ Bloomberg / Reuters / อื่นๆ เอาครับ แล้วเขียนโปรแกรมผ่าน API ที่เขาให้มา ถ้าจะนำข้อมูลหุ้นไทยไปเผยแพร่ SET จะติดต่อขอคิดค่าข้อมูลเพิ่มเติม เพราะถือว่าราคาซื้อขายหุ้นในแต่ละวันเป็นสิทธิ์ของ SET (ไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ.. รึเปล่า?) โดยส่วนตัวผมเคยลองทำข้อมูลมาใช้เอง โดยเขียนโปรแกรม parse ตัวเลขจากไฟล์ excel มาเข้าฐานระบบตัวเอง แต่พอทำไประดับนึงแล้วรู้สึกว่า 1. ถ้าเราพยายามจับบริษัทที่แตกต่างกันมาอยู่ในกรอบใดกรอบหนึ่ง มันจะต้องมีการปรับแก้ข้อมูลโดยใช้วิจารณญานโดยคนด้วย (งบพิเศษต้องลบออกเอง manual, มาตรฐานบัญชีเปลี่ยนก็ต้องแก้ข้อมูลย้อนหลัง, งบการเงินบางบริษัทใช้คำศัพท์แตกต่างกัน, หุ้นปันผลกับแตกพาร์ต้องมานั่งเช็คว่าคำนวนถูกไหม, ข้อมูลบางตัวต้องไปแงะมาจากหมายเหตุ, บางทีต้องไปแงะมาจากหน่วยงานอื่น, ข้อมูลของบริษัทเล็กๆบางทีเห็นชัดว่าพิมพ์ผิด แต่ไม่ได้รับการแก้ไข, etc.) สุดท้ายก็ต้องเลือกว่าจะยอมรับความคลาดเคลื่อนของตัวเลข หรือจะยอมมานั่งเช็คตัวเลขแบบ manual ทุกๆครั้งที่งบออกกับทุกๆบริษัท ต้องทำ regression test ด้วย 2. ในแต่ละบริษัทเราไม่ต้องใช้ตัวเลขเหมือนๆกัน เช่นค้าปลีกเราชอบมองที่ SSSG และจำนวนสาขาที่เพิ่ม ซึ่งตัวเลขพวกนี้ไม่จำเป็นหรือไม่สามารถคำนวนได้ในธุรกิจโรงงาน, หรือธุรกิจธนาคารกับอสังหาริมทรัพย์คนอาจสนใจมูลค่าทางบัญชี แต่ตัวเลขราคาทางบัญชีนี้อาจใช้ไม่ได้กับบางบริษัทโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยี ทำไปทำมา special case มันเยอะมาก การใช้ข้อมูลเชิงปริมาณตรงๆ ไม่มีข้อมูลเชิงคุณภาพผสมนี่มันขัดใจตัวผมเองมากๆ ส่วนตัวผมมองว่า หากทำแค่เอามาใช้เองคงไม่คุ้มแรงคอยนั่งอัพเดทระบบครับ เป็นงานที่ใช้แรงและความปรานีตมากกว่าที่คิด และถ้าวางแผนไม่ดีคุณภาพของข้อมูลจะค่อนข้างแย่ technical debt เต็มไปหมด ใช้งานจริงได้ยาก แต่หากเอาไปทำเป็นธุรกิจเรื่องเป็นราวอย่าง morningstar, jitta หรือทำเป็นวิทยทานไปก่อนแล้วค่อยหาทางหารายได้แบบ siamchart อาจจะคุ้มเหนื่อยกว่าทำไว้ดูคนเดียว
โดย
vim
ศุกร์ ม.ค. 13, 2017 5:10 am
0
11
Re: มีใครใช้ Jitta ประกอบการตัดสินใจในการซื้อขายหุ้นบ้างครับ
ผมคิดว่ามันมีปัจจัยหลายๆตัวที่ทำให้ผู้ใช้ไม่มั่นใจว่าดัชนีน่าเชื่อถือแค่ไหน เช่น 1. การทดสอบของ jitta นั้นเป็นการทดสอบข้อมูลในอดีต ( back testing) ว่าสามารถใช้งานกับข้อมูลในอดีตได้แค่ไหน ตรงนี้มีข้อเสียคืออาจทำให้เกิดความอคติ (bias) ของข้อมูลได้ เช่นเราอาจพบว่าในปีๆหนึ่งการลงทุนด้วยดัชนีหนึ่งอาจได้ผลดีเป็นพิเศษทั้งๆที่ไม่มีหลักการอะไรเลยก็ได้ เช่นหากซื้อหุ้นที่ขึ้นต้นด้วยอักษร A ตอนต้นปีเราอาจได้ผลตอบแทนในบางปีดีกว่า SET50 มากๆ แต่วิธีนี้ไม่ได้พิสูจน์ว่าจะสามารถใช้ได้ในปีต่อๆไป 2. สิ่งที่ต้องทำต่อคือการทดสอบดัชนีในกับข้อมูลปัจจุบัน (forward testing, performance testing) ซึ่งนำดัชนีที่ทำไว้ออกมาทดสอบกับข้อมูลจริงในปัจจุบัน ที่ผ่านมา jitta นั้นมีการแก้ไขสูตรคำนวนและ ranking เป็นระยะๆ ทำให้การทำ forward testing นั้นทำไม่ได้ 3. หากทำ forward testing ไม่ได้ ก็ต้องมีการทดสอบสุตรคำนวน (white box testing) แต่เนื่องด้วยการที่ jitta ไม่เปิดเผยสูตรคำนวน การทดสอบนี้เลยทำไม่ได้โดยบุคคลภายนอก จุดอ่อนข้อ 2. และ 3. นี้ต่างกับ screener ทั่วไปในเชิงวิชาการ ที่มีสูตรคำนวนชัดเจน และทำตามได้ สามารถทดสอบโดยบุคคลภายนอกได้ เช่น 1. วิธีกรอง P/E, P/B, ROE ของอาจารย์ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา 2. Ten-Point Checklist ของเบนจามิน เกรแฮม (Benjamin Graham) 3. Magic Formula ของโจเอล กรีนบลัท (Joel Greenblatt)
โดย
vim
จันทร์ ม.ค. 02, 2017 7:25 pm
0
12
Re: คุยกันเล่นๆ - ทำอย่างไร เมื่อหมดยุคทอง วีไอ
เวลาหาหุ้นไม่ได้ ผมชอบถามตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่า 1. เราเชื่อมั่นในหลักการวีไอแค่ไหน 2. เราสามารถหาตัวเลือกในการลงทุนที่ดีกว่าที่มีได้ไหม ผมก็มีคำตอบของผมเอง ซึ่งอาจไม่เหมือนกับใคร สำหรับผมการลงทุนแนววีไอ โดยเฉพาะแนวดั้งเดิมของเบ็นเกรแฮม นั้นสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า "value" หรือมูลค่า มันเป็นหลักการทำให้เราเห็นมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งที่เราลงทุนไป ไม่ไปหลงกับราคาตลาดที่คนอื่นให้ ผมตีความว่าหลักการนี้ไม่ได้บอกว่าเราจะได้ผลตอบแทนดีเลิศกว่าหลักการไหนๆ แต่อย่างน้อยมันเป็นหลักการที่ไม่ทำให้เราจน และทำให้เราอยู่รอดได้นานที่สุด ถ้ายอมรับหลักการตรงนี้ได้ ก็จะทำให้เราไม่ยึดติดกับผลตอบแทนของตลาด หรือผลตอบแทนของเพื่อนๆนักลงทุนคนอื่นมากไปนัก ถ้ารับไม่ได้ก็คงต้องอย่าไปยึดมัน มันอาจไม่เหมาะกับเรา หลักการอื่นอาจถูกจริตกว่า นอกจากหลักการการ VI แล้ว อีกส่วนหนึ่งคือ"ตัวเลือก" โดยเฉพาะตัวเลือกในการลงทุน ซึ่งตัวเลือกเหล่านี้แต่ละคนมีไม่เท่ากัน เช่นในตลาดหุ้นไทยเอง แต่ละคนก็มีความรู้แตกต่างกัน มีความสามารถในการลงทุนแตกต่างกัน ถ้าอยากมีทางเลือกมากขึ้น เราก็ต้องพัฒนาตัวเอง หาความรู้เพื่อสร้างตัวเลือกใหม่ๆ หรือที่เรียกว่าสร้าง circle of competence นอกจากตลาดหุ้นไทยแล้ว บางคนมีโอกาสและความรู้ที่จะไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ หรือแม้แต่นอกตลาดหุ้น บางคนมีโอกาสนำเงินไปลงทุนในธุรกิจตัวเอง บางคนก็เอาไปปล่อยกู้ บางคนก็เอาไปลงทุนกับอสังหาฯ บางคนมีโอกาสไปร่วมลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ ตัวเลือกต่างๆเหล่านี้ล้วนมาจาก circle of competence ของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ส่วนตัวผม ผมคิดว่าผมยังหาหลักการที่ถูกจริตกับผมเองกว่าหลักวีไอไม่ได้ แต่ผมเชื่อว่าตัวเลือกการลงทุนใหม่ๆมันมักจะมาเรื่อยๆตราบใดที่เรายังไม่เลิกพัฒนาตัวเอง
โดย
vim
อาทิตย์ ธ.ค. 25, 2016 6:51 am
0
17
Re: MoneyTalk@SET17Dec59แนวโน้มหุ้นไทย&หุ้นเด่นนักวิเคราะห์ป
ขอบคุณมากครับ
โดย
vim
อาทิตย์ ธ.ค. 18, 2016 2:48 am
0
1
Re: VI หาดใหญ่
อุตสาหกรรมรถ กับอุตสาหกรรมมือถือ ผมคิดว่ามีส่วนหนึ่งที่แตกต่างกันเยอะคือการพี่งพา supply chain ครับ ในอุตสาหกรรมรถยนต์ แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์เป็นคนกำหนดสเป็คของรถยนต์ว่าจะต้องมีลักษณะอย่างไร จากนั้นจึงไปคุยกับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้ผลิตชิ้นส่วนตามที่ตัวเองต้องการ ผู้ผลิตกลุ่มที่ได้รับการติดต่อจากแบรนด์ต่างๆนั้นเราเรียกว่า Tier 1 Supplier และจากนั้น Tier 1 ก็จะไปติดต่อบริษัทผู้ผลิตย่อยๆต่อไปเป็นลำดับๆ เรียกว่า Tier 2 และ Tier 3 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ๆ เช่น VW, Toyota, BMW, Daimler บริษัทเหล่านี้จะมีทีมเทคโนโลยีที่คอยออกแบบ และกำหนดมาตรฐาน เช่นเครื่องยนต์ต้องทำตามมาตรฐานนี้ ออกแบบประมาณนี้ แล้วส่งต่อให้บริษัท Tier 1 หลายๆแห่งเข้ามาพัฒนาชิ้นส่วนให้ตามมาตรฐานที่ตัวเองกำหนด มาตฐานเหล่านี้บางทีเข้าถึงยากมาก ต้องส่งตัวแทนไปเป็นกรรมการร่างมาตรฐานถึงได้ข้อมูลตรงนี้มา เป็นการกีดกันคู่แข่งโดยธรรมชาติ ซึ่งผู้ผลิต Tier 1, 2, 3 นั้นไม่ได้ทำการพัฒนาแค่ Hardware อย่างเดียว แต่ยังเป็นการพัฒนา Software ให้กับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ด้วย ตรงนี้ค่อนข้างแตกต่างกับธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ที่มักนิยมซื้อ Hardware จากบริษํทข้างนอกมาแล้วพัฒนา Software เอง พอเป็นเช่นนี้ เท่าที่ผมทราบ Tesla ไม่ได้ทำการร่างมาตรฐานเหล่านี้มากนัก แต่กลับเป็นการเจรจากับ Tier 1 เป็นเจ้าๆไป ทำให้ Tesla นั้นไม่ได้มีเทคโนโลยีอะไรเป็นของตัวเอง ชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์เทสล่านั้นต่างพึ่งพา Tier 1 สูงมาก เช่นระบบ Autopilot ของบริษัทนั้นก็เป็นระบบที่ซื้อมาจาก Tier 1 ทั้งหมด หรือระบบแบตเตอรี่ก็ใช้ของ Panasonic ทั้งหมด เป็นต้น ซึ่งแต่ละระบบก็มีอุปสรรคทางเทคนิคที่ค่อนข้างใหญ่อยู่เป็นระยะๆ ถ้าติดตามข่าวช่วงนี้จะได้ยินว่าบริษัท Mobileye ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ช่วยเหลือการขับขี่ ให้กับเทสล่านั้นออกมาประกาศชัดเจนว่า Tesla ได้ทำการละเมิดสัญญาระหว่างบริษัท ว่าจะไม่นำระบบช่วยในการขับขี่ไปใช้งานระหว่างที่คนขับไม่ได้จับพวงมาลัยอย่างเด็ดขาด ซึ่ง Tesla ได้ผิดสัญญาและทำการตลาดโดยใช้คำว่า "Autopilot" หรือรถยนต์ที่ขับได้ด้วยตัวเอง ก่อให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดความเสียหายต่อชีวิตอยู่หลายกรณี โดยส่วนตัวผมคิดว่า Autopilot ของเทสล่านั้นเป็นการโฆษณาที่เกินกว่าความสามารถของเทคโนโลยีตัวเอง นอกจากนั้นชิ้นส่วนอื่นๆของ Tesla ก็มีปัญหาไม่แพ้กัน เช่นแบตเตอรี่ที่เดิม Tesla ตั้งใจจะใช้นั้นอยู่ในอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ทาง Panasonic ไม่สามารถทำให้ได้ด้วยเหตุผลทางเทคโนโลยี ราคาแบตเตอร์รี่เลยไม่ได้ลดลงอย่างที่คิด เงินลงทุนกับโรงงานและสายการผลิตส่วนนี้เลยกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ดึงผลประกอบการ หรือถ้าใครตามข่าว Model 3 ที่เปิดให้จองกันไปสักพักแล้ว สเป็คชิ้นส่วนต่างๆที่ส่งมาถึงมือ Tier 1 มีความไม่แน่นอนค่อนข้างมากทั้งๆที่การผลิตควรจะเริ่มต้นได้แล้ว ถ้าบริษัทยังดันทุรังผลิตด้วยสเป็คที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแบบนี้อาจได้รถที่คุณภาพไม่สูง โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับรถต้นแบบที่โฆษณาไว้ตั้งแต่เปิดจอง (Model 3 ของจริงจะแตกต่างจากรถต้นแบบที่ลูกค้าจองค่อนข้างมาก) ในทางบัญชีก็ดูน่าสงสัยในหลายประเด็น เช่นการค่าพัฒนารถยนต์ส่วนหนึ่งไปลงไว้ในค่า Operating Expense (OPEX) แทนที่จะนำไปใส่ไว้เป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนการขายสินค้า (COGS) อย่างที่บริษัทรถยนต์ตัวไปทำ นั้นเหมือนเป็นการทำให้ GPM สูงเกินความเป็นจริง ซึ่งหากนำตรงนี้มาบวกเข้าเป็น COGS อย่างที่น่าจะเป็นจะพบว่า Tesla นั้นอาจเป็นบริษัทที่ GPM ติดลบ และรถยนต์ทุกคันที่ขายทำให้บริษัทขาดทุนคันละหลายหมื่นดอลลาร์ (ตรงนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ คนที่เห็นว่า Tesla ลงบัญชีถูกแล้วก็มี เพราะจริงอยู่ที่ว่าค่า R&D บางอย่างควรเป็น OPEX บางคนเลยเรียกการลงบัญชีแบบนี้ว่าเป็น "creative accounting" แต่ส่วนตัวผมว่ามันแหม่งๆ อาจทำให้งบดูสวยเกินจริงได้) โดยรวมผมไม่ค่อยมั่นใจเรื่องทางเทคนิคหรือการเงินของ Tesla เท่าไหร่ แต่ในทางการตลาดหรือการวิเคราะห์กระแสสังคม ผมคิดว่า Tesla ทำได้ดีมากครับ และที่ผ่านๆมา Elon Musk ก็ไม่มีปัญหาในการระดมทุนใหม่ๆเพิ่ม ใครแทงสวนนี่ก็น่าจะมีเจ็บกันบ้าง แต่ถ้าใครจะลงทุนกับบริษัทนี้ก็ขอให้มองรอบๆด้านนะครับ ไม่เห็นด้วยกับผมไม่เป็นไรเรามาแลกเปลี่ยนกันได้ ผมแค่อยากเสนอข้อมูลอีกด้านเพื่อการตัดสินใจครับ การลงทุนมีความเสี่ยง
โดย
vim
อาทิตย์ ต.ค. 02, 2016 4:04 pm
0
12
Re: MoneyTalk@SET25Sep16หุ้นเด่นQ4&ประสบการณ์เซียนฝ่าวิกฤติ
ขอบคุณมากครับ
โดย
vim
จันทร์ ก.ย. 26, 2016 3:24 am
0
1
Re: Moneytalk@SET27Aug16หุ้นเด่นโค้งหลัง&เจาะMegatrendยุค4.0
ขอบคุณครับ
โดย
vim
จันทร์ ส.ค. 29, 2016 12:56 am
0
0
Re: แนะนำเวบสำหรับใช้ Screen หุ้นครับ
ของเมืองไทย ผมแนะนำอีกตัวครับ อันนี้กรองได้หลายตัวแปร และยังมี magic formula ให้ด้วย http://siamchart.com/stock
โดย
vim
เสาร์ ส.ค. 27, 2016 5:10 pm
0
7
Re: MoneyTalk@MAI Forum 1 กค 2559
ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์มากครับกับคนที่ไม่ได้ไปงาน
โดย
vim
เสาร์ ก.ค. 02, 2016 4:54 pm
0
1
Re: วิธีการบันทึกข้อมูลปัจจัยพื้นฐานหุ้น
ผมมักจดสรุปสั้นๆเป็นข้อๆ ลง spreadsheet ครับ แบ่งเป็นตาราง เช่น จุดที่ต้องจับตามอง หรือ SWOT อะไรแบบนี้ ข้อดีคือถ้ามีข้อมูลตัวเลขก็จะรวบไว้ตรงนั้นได้เลย ข้อมูลเชิงตัวเลขมันจะเห็นชัดเจน อันนี้เอาไว้กันลืมได้ ผมใส่ไว้ใน folder เดียวกับงบการเงิน และเอกสารอื่นๆของบริษัท ข้อเสียคือจดอะไรยาวๆไม่ค่อยดี ข้อมูลเชิงคุณภาพอาจจดได้ไม่ละเอียด แต่เวลาเอาไว้อ่านเองผมคิดว่าไม่ต้อเขียนยาวๆก็ได้ เพราะส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพนี้ผมว่าคนมักไม่ค่อยลืมกัน แต่ถ้าจะไปคุยกับคนอื่นนี่คงต้องใช้วิธีอื่น เพราะโน้ตย่อเกินไปคนอื่นเขาอ่านไม่เข้าใจเหมือนเรา
โดย
vim
เสาร์ เม.ย. 09, 2016 5:10 am
0
2
Re: แนวรบด้านตะวันออก/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ขอบคุณครับ
โดย
vim
จันทร์ เม.ย. 04, 2016 1:36 pm
0
1
Re: แชร์ความรู้งานสังสรรค์ ThaiVI2559_19Mar2016
ขอบคุณมากครับ
โดย
vim
อาทิตย์ มี.ค. 20, 2016 5:40 am
0
1
Re: ไม่อยากขายหุ้นของบริษัทที่อยุ่ USA ตอนจะลาออก ทำยังไงดี?
ผมเคยคุยกับโบรคเกอร์ในไทยไว้ครับ ว่าถ้าจะกลับไทย สามารถโอนหุ้นมาในบัญชีของโบรคเกอร์ในไทย (ที่เปิดพอร์ทนอก) ได้ ส่วนค่าดำเนินการนั้นเท่าที่ทราบคือในไทยไม่เก็บ แต่ต้องคุยกับโบรคต่างประเทศอีกทีว่ามีค่าอะไรไหม บางที่เก็บ สวัสดีคับคุณ vim ตอนนี้ผมจะออกจิงๆแล้ว พอจะแนะนำชื่อ โบรกเกอร์ในไทยที่รับโอนหุ้นจากต่างประเทศมาได้ไหมคับ ? ผมต้องการความช่วยเหลือด่วนมาก เพราะว่าผมใช้ของบัวหลวง แต่ไม่มีบริการนี้คับ ผมใช้ SCBS ครับ แต่คิดว่าเจ้าอื่นๆที่มีบริการเปิดพอร์ทต่างประเทศก็น่าจะมีเหมือนกัน
โดย
vim
พฤหัสฯ. มี.ค. 17, 2016 2:34 pm
0
0
Re: MoneyTalk@SET12Mar16หุ้นเด่นน่าจับตา&กลยุทธ์ยามหุ้นผันผว
ขอบคุณครับ :bow:
โดย
vim
อังคาร มี.ค. 15, 2016 3:23 am
0
0
Re: รบกวนสอบถาม feedback เว็บไซต์หน่อยครับ
ไม่อ้อมค้อมนะครับ ผมเข้าเว็บแล้วยังรู้สึกสับสนครับ ผู้ใช้อย่างผมเข้าเว็บแล้วไม่เข้าใจว่าเว็บเกี่ยวกับอะไร ต้องการอะไร และใช้งานอย่างไร ฟีเจอร์ต่างๆที่พูดถึง ผมมองว่ามันเป็นอะไรที่ไม่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ผมคิดว่าควรจะเรียงลำดับความสำคัญก่อนว่า อะไรเป็น main requirements, อะไรเป็น optional features ถ้าทำตรงนี้น่าจะได้เว็บที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นครับ อีกส่วนหนึ่งคือการพัฒนา CMS เองนั้นใช้ต้นทุนแรงและเวลามาก ถ้ามันไม่ใช่ส่วนสำคัญจริงๆผมคิดว่าน่าจะใช้พวก Opensource แล้วไปพัฒนาต่อจะดีกว่าครับ ยังไงก็ขอชื่นชมความตั้งใจครับ ผมมองว่าความตั้งใจนี้สำคัญที่สุดเลย เพราะถ้ายังตั้งใจทำไปเรื่อยๆยังไงก็ไปถึงจุดหมาย
โดย
vim
พุธ ก.พ. 24, 2016 5:37 am
0
2
Re: ดราม่าในตลาดหุ้น/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ขอบคุณครับ ได้แง่คิดมากครับ
โดย
vim
อังคาร ก.พ. 23, 2016 12:46 am
0
6
Re: MoneyTalk@SET13Feb2016โลกมืออาชีพการเงินและนักลงทุนรุ่นใ
ขอบคุณมากๆครับ
โดย
vim
อาทิตย์ ก.พ. 14, 2016 5:25 am
0
1
Re: สามคำสามปี/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อาจารย์ตกผลึกจริงๆครับ "สามคำสามปี" นี่เป็นอะไรที่ใช่มากๆ
โดย
vim
ศุกร์ ก.พ. 12, 2016 2:10 am
0
0
Re: VI หาดใหญ่
เรื่องทางยุโรป ด๋อยแบงค์ เนี้ยน่ากังวลมากมั้ยครับ เห็นหลายสำนักบอกอาจจะเป็นเลย์แมน2 พอดีผมไม่ทันช่วงซัพไพร์ม เลยมาขอความรู้พี่ๆ สักหน่อย ด๋อยแบงค์จะพาไปดอยมั้ยครับ เราจะรู้ได้ยังไงบ้างครับ Deutsche Bank นี่สถาการณ์ค่อนข้างน่ากังวลครับ ผมมองว่าโมเดลธุรกิจของ DB นั้นเสี่ยงเกินไปหน่อย โดยปกติแล้วธุรกิจธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารท้องถิ่น จะเป็นธุรกิจที่นำเงินฝากของลูกค้ารายย่อย เอามาปล่อยกู้สำหรับคนที่ต้องการเงิน โดยธนาคารก็จะกินส่วนต่างไปนิ่มๆ ทว่าโมเดลธุรกิจของ DB นั้นไม่ได้มีลักษณะนี้ ลูกค้ารายย่อยของ DB นั้นมีปริมาณที่น้อยมาก (ผมไม่ได้ไปดู %CASA แต่เข้าใจว่าน่าจะน้อยสุดๆ) โดยบริษัทเน้นการหารรายได้จากสินค้าทางการเงิน มีความมั่นใจในตัวเองสูงจนไปเล่นท่ายาก เช่น นำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงสูง นี่เป็นจุดอ่อนแรก จุดอ่อนต่อมาคือ โครงสร้างของบริษัทนั้นทรัพย์ซ้อนมาก มี head ด้านนู้นด้านนี้ที่ทำงานเหลื่อมล้ำกันเต็มไปหมด เกิด Diseconomy of scale หรือเรียกเป็นไทยง่ายๆว่า ความ"ประสาท"ทางขนาด :mrgreen: เมื่อบริษัทใหญ่ขึ้นถึงจุดหนึ่ง การบริหารให้ดีนั้นทำได้ยากมาก เรื่องที่ดูเหมือนแก้ง่ายๆแต่โครงสร้างองค์กรมันทำให้แก้ไขลำบาก ด้วยสองจุดอ่อนข้างต้นนี้ ก่อให้เกิดสินค้าตัวปัญหาในตอนนี้ที่เรียกว่า "CoCo" (Contingent Convertible Bond) ซึ่งมีรูปแบบคล้ายๆกับ derivative แบบหนึ่งที่ตั้งใจออกมาเพื่อลดความเสี่ยงของกิจการ แต่จนร้ายจนรอดกลับทำให้เกิดความเสี่ยงสะสม และหาเกิดความผิดพลาดสินทรัพย์ตัวนี้จะกลายมาเป็นความเสี่ยงขนาดใหญ่ให้กับบริษัททันที พอปัญหาเริ่มบานปลายบริษัทก็ไม่สามารถแก้ไขจัดการได้เพราะแก้จุดหนึ่งก็จะไปกระทบกับอีกจุดหนึ่ง ปัญหาถูกทิ้งไว้กลายเป็นดินพอกหางหมูไปเรื่อยๆ ความไม่มั่นใจในมูลค่าทรัพย์สินของ DB ของนักลงทุนในช่วงนี้ อาจเป็นเหตุผลว่า DB ถึงเทรดตอนนี้ที่ราคาต่ำกว่า Book Value มากๆ ตัว CoCo นี้สื่อและนักวิเคราะห์หลายๆคนมองว่ามันคล้ายๆกับกรณีวิกูติ subprime ที่ทำให้เกิดวิกฤติทางการเงินในอเมริกาครั้งที่ผ่านมา DB จึงกำลังเป็นที่จับตามองของสื่อต่างๆ รวมถึงนักเก็งกำไรที่เข้าไป short ในช่วงนี้ โดยส่วนตัวผมมองว่าเรื่องของ DB จะอยู่หรือไป มันยากเกินไปที่จะคาดเดาครับเพราะปัจจัยมันเยอะมาก ที่พอทำได้คือรู้ว่ามันมีความเสี่ยงตรงนี้ ระวังตัวไว้หน่อยก็ดีครับ
โดย
vim
พฤหัสฯ. ก.พ. 11, 2016 2:59 am
0
19
Re: VI หาดใหญ่
ผู้บริหาร PSL ชอบมาให้ความรู้นักลงทุนอยู่เรื่อยๆเลย โดยเฉพาะคุณ Khalid ผมชอบติดตามบริษัทนี้ใน OppDay อยู่เรื่อยๆว่าเค้าม่ีความเห็นยังไงกับเศรษฐกิจโลกตอนนี้ ผมว่าเป็นบริษัทที่คงเส้นคงวาและผู้บริหารน่านับถือครับ ตอนฟังๆก็แอบหวังอยู่นิดๆว่าถ้าวัฐจักรเดินเรือเป็นขาขึ้นรอบหน้า จะขอติดหุ้นไปบ้างนิดหน่อยก็ยังดี อิอิ แต่ก็ยังได้แต่คิดเพราะไม่เคยทันกับเขาเลย
โดย
vim
พฤหัสฯ. ก.พ. 11, 2016 2:26 am
0
4
742 โพสต์
of 15
ต่อไป
ต่อไป
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
ชื่อล็อกอิน:
vim
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พุธ ธ.ค. 14, 2011 5:10 pm
ใช้งานล่าสุด:
-
โพสต์ทั้งหมด:
2748 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.15% จากโพสทั้งหมด / 0.58 ข้อความต่อวัน)
ลายเซ็นต์
V
i
IM
rovised
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว