-
-
investor2011
Joined: พุธ พ.ย. 16, 2011 9:46 am - ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - investor2011
-
- โพสต์ที่ตอบ
- คอมเมนต์
- ไลค์
-
-
Re: EA market cap ณ ipo 2 หมื่นกว่าล้าน? ตัวนี้ผมได้หุ้นจองด้วยครับ :shock: มาร์ฯ โทรมาหาครั้งแรก ผมปฏิเสธไม่รับสิทธิ ปกติถ้าผมไม่รับสิทธิจองหุ้น มาร์ฯ จะไม่เคยโทรมารอบสอง แต่หุ้น EA มาร์ฯ โทรมาถามรอบสอง แต่ผมก็ยังยืนยันคำตอบเดิม คือไม่รับสิทธิครับ ถ้าจำไม่ผิด กำไร 3 ไตรมาสของปี 2555 ประมาณแค่ 70 ล้านบาทเท่านั้น แต่ที่ราคา IPO มูลค่าตลาดปาไป 2 หมื่นล้านบาท เห็นอย่างนี้แล้ว ผมไม่ไปเป็นหนึ่งในนั่งร้านให้เจ้าของบริษัทไตร่ขึ้นไปยอดเขาเอเวอร์เรสหรอกครับ โดย investor2011 อังคาร ม.ค. 22, 2013 7:29 pm
- 0
- 3
-
-
- 0
- 0
-
-
Re: หุ้นขึ้นแบบไม่สะท้อนพื้นฐานแล้วจริงหรือ แล้วเราควรทำอย่า ทำไมถึงคิดว่า SET Index ที่ 1,400 จุดจึงไม่สมเหตุสมผลละครับ EPS ของ SET ปี 2556 ที่นักวิเคราะห์หลายๆ โบรกฯ คาดกันว่าน่าจะอยู่ประมาณ 101 บาท SET Index ที่ 1,434 จุด Forward PE ก็ประมาณ 14.19 เท่า สำหรับเงินทุนนอกที่ไหลเข้า ถ้าไม่สนใจพื้นฐานเลย ผมว่าหุ้นขนาดใหญ่อย่าง PTT ราคาคง 1,000 บาท (เทียบกับตอนก่อนวิกฤตซับไพรม์ ราคา PTT ตอนนี้ยังไม่กลับไปที่เก่าเลยครับ) TOP 200 บาท PTTEP 400 บาท PTTGC 250 บาทหรือ BANPU 1,500 บาท (ไม่สนใจราคาถ่านหิน และคดี) ที่เห็นวิ่งกันฝุ่นตลบ ราคาขึ้นหลายเท่าตัว บางตัวเป็นสิบเท่าตัว โดยใช้เวลาไม่นาน และพื้นฐานไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนใหญ่เป็นหุ้นเศษสตางค์ และหุ้นต่ำบาท ซึ่งคงไม่ใช่เพราะเม็ดเงินจากต่างชาติหรอกมั้ง น่าจะเป็นเพราะเงินนักลงทุนไทยซะมากกว่า ซึ่งบางส่วนก็ขึ้นแบบดื้อๆ บางส่วนขึ้นเพราะข่าวลือ หรือบางส่วนก็ขึ้นเพราะข่าวดีที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างราคาหุ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเป็นดังข่าวที่ถูกสร้างขึ้นครับ ส่วนจะทำยังไงในภาวะตลาดที่มีการเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็กกันอย่างคึกคัก ถ้าคุณทนไม่ไหว ก็โดดเข้าไปรวมวงกับเค้า แต่วงแตกเมื่อไหร่ คนที่เคยลงทุนในลักษณะนี้คงจะพอทราบ ว่ากำไรที่เคยได้ยามคึกคักนั้น ช่างหาง่ายเสียนี่กระไร แต่พอง่านเลี้ยงจบ คนที่ออกไม่ทัน กำไรที่เคยได้กับมัน หายหมด หรือบางทีมันมากกว่ากำไรที่เคยได้เสียอีก แต่ถ้าคุณคือ VI จริงๆ ไม่ใช่ปากบอกว่าเป็น VI แต่การลงทุนเป็นแบบอื่น คุณก็ไม่ต้องไปสนใจตลาด และหุ้นที่คุณวิเคราะห์แล้วไม่น่าลงทุน นักลงทุนที่มีหลักการลงทุนที่ถูกต้อง และยึดปฏิบัติตามอย่างมีวินัย และอดทน คือผู้ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ในระดับที่น่าพอใจ อย่างต่อเนื่องยาวนานครับ โดย investor2011 เสาร์ ม.ค. 19, 2013 7:42 am
- 0
- 26
-
-
- 0
- 2
-
-
Re: สถานะการณ์ตลาดหุ้นบ้านเราตอนนี้ มีวิธีการจัดการเงินสดอย่ ผมเห็นกระทู้ทำนองนี้หลายกระทู้มากตามเว็บบอร์ด ซึ่งรวมถึง thaivi กระทู้ทำนองนี้ก็มีไม่น้อยเช่นกัน เมื่อใดที่รายย่อยส่วนใหญ่คิดว่าตลาดหุ้นขึ้นมาสูงเกินไปแล้ว หรือคิดว่าตลาดหุ้นจะกลับตัวเป็นขาลง ตลาดมักทำตรงกันข้ามกับรายย่อย หรือคนส่วนใหญ่เสมอครับ ดังคำกล่าวที่ว่าผลตอบแทนมักไหลหนีคนส่วนใหญ่ ซึ่งมันมักจะเป็นอย่างนี้เสมอครับ ความหวาดกลัวของรายย่อยส่วนใหญ่เริ่มตั้งแต่ตอน set ขึ้นจาก 380 จุด มาแถวๆ 700 - 800 จุด ซึ่งมีรายย่อยส่วนใหญ่ออกมาตั้งกระทู้เตือน หรือทำนายว่าตลาดหุ้นจะกลับเป็นขาลง นอกจากนี้ยังมีการแนะนำให้ขายทิ้งหุ้นทิ้งให้หมด ยืมหุ้นมาชอร์ต หรือให้ชอร์ตทีเฟค แต่ตลาดหุ้นมันก็ขึ้นต่อไปเรื่อยๆ เมื่อขึ้นผ่านจุดใหญ่ๆ ก็จะกระทู้ทำนายกันอีก ซึ่งเป็นอย่างนี้มาตลอดทางจนถึง 1,350 จุด จุดเปลี่ยนเทรนของตลาด ผมมองว่าต้องเป็นช่วงที่รายย่อยส่วนใหญ่มั่นใจสุดๆ ว่าตลาดหุ้นจะขึ้นต่อไป ไม่ใช่ช่วงที่รายย่อยส่วนใหญ่หวาดกลัวว่าตลาดหุ้นจะกลับตัวเป็นขาลงแรงๆ โดย investor2011 ศุกร์ ธ.ค. 14, 2012 10:10 am
- 0
- 3
-
-
-
Re: ตลาดบ้าคลั่งแบบนี้ ทำอะไรดีครับ ยังขึ้นน้อยอยู่เลยครับรอบนู้นอินโดดูน่าสนใจขึ้นจาก 300กว่าจุดมา 2,800จุด รอบนี้ไทยดูน่าสนใจกว่าแต่ พึ่งขึ้นจาก400จุด มา 1,300จุดเอง เปรียบเทียบแบบนี้คงไม่ถูกต้องนะครับ เหมือนกับเอา MK กับ SPALI มาเปรียบเทียบ เมื่อประมาณ 10 ปีก่อน เคยอยู่แถวๆ 2 บาทกว่าๆ เหมือนกัน เดี๋ยวนี้ SPALI 19.40 บาท แต่ MK เพิ่งจะ 3.62 บาทเอง... โดย investor2011 อังคาร ต.ค. 09, 2012 10:42 am
- 0
- 0
-
-
-
Re: พวกท่านมีวิธีอย่างไรในถือหุ้นหลายเด้ง ตอบคำถามในกระทู้ครับ ทำอย่างไรให้ถือหุ้นได้หลายเด้ง ? ผมว่าคงไม่มีใครสามารถตอบแทนคำตั้งคำถามได้ นอกจากตัวผู้ตั้งคำถามเอง ว่าทำไมคุณถึงถือหุ้นไม่ได้หลายเด้ง ? คุณต้องหาสาเหตุว่าทำไม คุณจึงขายหุ้นเร็วไป หรือขายออกไปก่อนที่คุณจะได้ผลตอบแทนหลายเด้ง ? ถ้าคุณรู้ว่าเพราะอะไรคุณจึงขายเร็วไป คุณก็จะได้คำตอบว่าคุณจะต้องทำอย่างไรจึงจะถือหุ้นให้ได้หลายเด้งครับ ******************************************************************** ส่วนตรงนี้นอกเรื่องจากคำถามครับ มนุษย์เรานั้นส่วนใหญ่จะมองแต่เปลือกนอก โดยไม่สนใจแก่นแท้ว่าเป็นอย่างไร คือส่วนใหญ่จะไม่สนใจความเห็นว่าถูก / ผิด เพียงเพราะไปยึดคนๆ นั้นว่าเป็นบิ๊กเนม มีผลตอบแทนสูงๆ หรือมีพอร์ตร้อยล้าน พันล้านบาท ผมอยากให้คนเล่นเวบบอร์ดมองที่เนื้อหา มากกว่าจะมายึดในสิ่งที่เป็นรูปลักษณ์ภายนอกอย่างเดียว ตรงนี้ผมเห็นบ่อยๆ ถ้าคนที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก หรือไม่รู้ที่มาที่ไป เข้ามาแสดงความเห็น แล้วเกิดไม่ถูกใจหลายๆ คน จะโดนโพสต์อัดกลับแรงๆ ซึ่งมีทั้งที่มีเหตุผล และไร้เหตุผลมาโต้แย้ง แต่ถ้าเป็นบิ๊กเนมที่พวกเขานับถือ ถึงแม้ความเห็นนั้นอาจจะไม่ถูกต้อง แต่พวกเขากลับไม่แย้ง หรือทำอะไรนอกจากพิมพ์ว่า "ขอบคุณครับ / ขอบคุณค่ะ" เท่านั้น หลายคนสนใจแต่ผลลัพธ์ หรือความสำเร็จที่เขาทำได้ โดยละเลยหลักการ และวิธีการในการที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้น ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่จะมีการแห่ตาม เพราะมีบิ๊กเนมถือหุ้นตัวนั้นๆ อยู่ ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเป็นวงจรไปเรื่อยๆ ซึ่งก็มีนักลงทุนตกเป็นเหยื่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นคนเก่าที่อยู่มานาน หรือคนใหม่ที่เพิ่งเข้ามา คนที่หลุดพ้นจากวงจรนี้ ไม่ใช่มีแต่ความรู้ในการลงทุนอย่างเดียว แต่ต้องมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์โลภ คนที่เป็นเซียน บิ๊กเนม มีผลตอบแทนสูงๆ หรือมีพอร์ตเป็นร้อย เป็นพันล้านบาท ก็ผิดพลาดกันได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะวิเคราะห์ผิด หรือตัดสินใจผิด ความแตกต่างกับของคนเหล่านี้ กับคนส่วนใหญ่ คือพวกเขาผิดพลาดน้อยกว่าเท่านั้น หากทุกคนคิดแบบนี้ คือพยายามทำให้ผิดพลาดน้อยที่สุด คุณก็จะมีผลตอบแทนสูงๆ ได้เช่นกันเมื่อผิดพลาดแล้ว รู้จักหาสาเหตุ และประเมินความผิดพลาด แล้วนำไปปรับปรุงแก้ใข เพื่ออนาคตจะได้ไปลดข้อผิดพลาดนั้น ต่อไปก็ความผิดพลาดก็จะลดลงไปเองโดยอัตโนมัติ คนที่ไม่รู้จัก และยอมรับความผิดพลาด ได้แต่โทษโน้นโทษนี้ไปเรื่อย เช่น เจ้ามือ ตลาด ข่าวต่างๆ เซียน เม่าในตลาด และอื่นๆ คนประเภทนี้จะทำผิดพลาดซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ สุดท้าย ขอแปะพอร์ตไว้ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้กับความเห็นของผมก่อนหน้า ที่ว่าถ้าใครถือตั้งแต่ต้นปีมาโอกาสจะมีตัวแดงในพอร์ตน้อยมากๆ ตัวที่ 1 ผมเข้ามาซื้อเมื่อ 1 - 2 เดือนก่อน ตัวที่ 2 ผมซื้อไว้เมื่อปลายปีก่อน และตัวที่ 3 ผมซื้อประมาณกลางปีนี้ อนึ่ง ตอนเริ่มต้นปี ผมถือหุ้นไว้ 5 ตัว ซึ่งถ้ายังอยู่ก็เขียวทุกตัวเช่นกันครับ อ้อ...อีกอยาก หากใครจะซักถามอะไรผม สามารถซักถามได้ แต่ผมคงไม่กลับมาตอบนะครับ โดย investor2011 อาทิตย์ ต.ค. 07, 2012 5:55 pm
- 0
- 12
-
-
-
Re: พวกท่านมีวิธีอย่างไรในถือหุ้นหลายเด้ง มีอะไรอยากทิ้งท้ายไว้นิดหน่อยครับ ไม่ว่าท่านที่กำลังอ่านอยู่จะลงทุนแนวไหนหรือตามมาจากที่ไหนก็ตาม ในโลกที่เราอยู่นี้มันเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนครับ คนที่คุณเห็นว่าประสบความสำเร็จเป็นเซียนเป็นเสี่ยนั้น บางคนอาจจะไม่ได้มาจากฝีมือก็ได้นะครับ ถ้าให้เขาเริ่มใหม่จาก 0 อีกรอบ เขาจะกลับมาได้หรือเปล่า เป็นเรื่องที่น่าคิด ดังนั้น หากจะดูใครจากผลตอบแทนแค่ชั่วครั้งชั่วคราว หรือมานั่งหาดูว่าใครเซียนไม่เซียนจากผลตอบแทน ผมว่าคุณยังสอบไม่ผ่านครับ ผมอยู่เงียบ ๆ ของผมมาตั้งนานไม่ยักกะมีใครมาสนใจ อะไรอีกกะแค่โชว์พอร์ตร้อยเปอร์เซนต์พันเปอร์เซนต์ ถึงต้องมาขุดโน่นคุ้ยนี่ทำอะไรกันให้มันวุ่นวาย อย่างนั้นถ้าผมเอาพอร์ตมาโชว์เปลี่ยนประวัติตัวเองใหม่ บอกคุณว่าผมได้ผลตอบแทนเป็น 100 % เป็น 1000 % ทุกปี ดังนั้นผมพูดอะไรคุณก็เชื่อใช่ไหม งั้นผมบอกหุ้นตัวนี้ดีคุณก็ซื้อตาม ผมก็ทำกำไรสบาย เพราะซื้อดักเอาไว้ก่อนแล้ว แบบนี้ดีแล้วหรือครับ 555 คิดมากไปหรือเปล่า แค่อยากรู้ว่า โชวร์พอร์ทกำไรเยอะ แต่ไม่ยักโชวร์ขาดทุน ทำไปเพื่ออะไร ถ้าใครซื้อหุ้น แล้วถือมาตั้งแต่ต้นปี 2555 เป็นต้นมา ผมว่าโอกาสที่จะมีตัวแดงในพอร์ตน้อยมากๆ คุณ peacedev ถือมาตั้งหลายปี แล้วจะเอาตัวที่ขาดทุนในพอร์ตที่ไหนมาโชว์ละครับ ผมว่าเป็นการตั้งขอสังเกตที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผลสักเท่าไหร่นะครับ :roll: บางทีคุณ Jeng อาจจะเจตนาดี ที่ค่อยคิดจะปกป้องนักลงทุนรุ่นน้องๆ คนอื่น ซึ่งรวมถึงผม แต่มองอีกด้าน ดูเหมือนเป็นจับผิดจนเกินพอดีไปนะครับ โดย investor2011 อาทิตย์ ต.ค. 07, 2012 5:20 pm
- 0
- 1
-
-
- 0
- 1
-
-
Re: มาแชร์ประสบการณ์"เสียค่ายกครู"ครั้งแรกกัน แก้ไข SATTLE เป็น SATTEL ครับ โดย investor2011 ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 12:36 pm
- 0
- 0
-
-
-
Re: มาแชร์ประสบการณ์"เสียค่ายกครู"ครั้งแรกกัน หนังสุดของผมคือ SATTLE (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น THCOM) ตอนนั้นยังเป็นมือใหม่ ซื้อต่อ 25.50 บาท ถือไปไม่ถึงปี ราคาลงไปเหลือ 10 บาท ทนถือจนราคากลับขึ้นมา 26 บาท เลยขายทิ้งไป และสาบานกลับตัวเองว่าจะไม่ซื้อหุ้นตัวนี้อีกต่อไป ตัวนี้หนักสุดตั้งแต่เข้ามาลงทุนในหุ้น ไม่ว่าจะเจอวิกฤต หรือเหตุการณ์หนักแค่ไหนก็ไม่เคยถือแล้วขาดทุนทางบัญชีถึง 60 % มาก่อน ไม่ว่าจะเหตุกาณ์ 911 สหรัฐบุกอิรัก หม่อมอุ๋ย 30 หรือ Sub-prime โดย investor2011 ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 12:35 pm
- 0
- 0
-
-
-
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว ผมก็ไม่แปลกใจแล้วว่านักลงทุนรุ่นพี่ๆที่เก่งที่ดีใน WEB VI ค่อยๆ ลดการแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนอนุชนคนรุ่นหลัง แล้วก็หายไปในที่สุด (สงสัยรวยแล้วทิ้งน้องๆ 555) ที่หายไปเพราะอะไร ? คงไม่ใช่จากการถกกันด้วยเหตุด้วยผลหรอกมั้งครับ แต่เพราะเจอเกรียนตามด่าแบบไม่ใช่เหตุผลมากกว่า... อีกอย่างล็อกอินเก่าหายไป คุณแน่ใจนะว่าตัวเขาจะหายไปจากเว็บบอร์ด TVI จริง ผมเห็นหลายคนมาในชื่อใหม่ เพราะอะไร ? คิดว่าคุณคงจะเข้าใจเหตุผลนะครับ (ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าใช้ล็อกอินใหม่ เพราะล็อกอินไปทำเสียไว้นะครับ) และอีกอย่างอย่าไปยึดติดล็อกอินเก่า หรือใหม่ แต่ให้ดูกันที่เนื้อหาดีกว่าครับ ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม ผม และคิดว่าอีกหลายคนคงอ่านแล้วไม่เก็ท (บางคนอาจจะเข้าใจ นั่นก็อีกพวกหนึ่ง) เลยอยากทราบว่า D/E ไม่ควรมองข้ามเพราะอะไร ช่วยอธิบายเหตุผลให้เข้าใจหน่อย แต่กลับเจอไล่ให้ไปอ่านความเห็นของคุณ Invisible Hand มีคนถามหา link ก็บอกไม่มีอีก เพราะนานมากแล้ว และพอถกด้วยเหตุผล ก็แสดงอาการไม่พอใจ หาว่าทำอย่างนี้แล้วคนเก่าๆ (น่าจะรวมถึงคุณ) จึงหายหน้าหายตาไปจากเว็บ TVI แล้วอย่างนี้มันอยู่ในประเด็นที่คุยกันมั้ยครับ ? อย่าว่าแต่คนเก่าๆ เซ็งเลย ขนาดผม (ล็อกอินปี 2011) ยังเซ็ง สรุปเสียเวลาพิมพ์ไปตั้งนาน แต่ไม่ได้อะไรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเลย นอกจากคำประชดประชัน... โดย investor2011 ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 11:56 am
- 0
- 6
-
-
-
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม หุ้นสถาบันการเงิน D/E สูง เพราะเงินฝากของลูกค้า ธนาคารลงเป็นเจ้าหนี้ครับ ถ้าธนาคาร D/E ต่ำๆ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธนาคารกำลังมีปัญหากะมังครับ คือคนไม่กล้าเอาเงินไปฝาก หรือไม่ก็ลูกค้าแห่ถอนเงิน ลองกลับไปดูบทความเก่าๆ ของคุณ Invisible Hand เรื่องหุ้นสถาบันการเงินนะครับ แล้วจะเข้าใจความหมาย D/E Ratio กลุ่มนี้มากขึ้นครับ ไหนๆ คุณกล่าวขึ้นมาแล้ว ก็ช่วยขยายความคิดของคุณเรื่อง D/E Ratio ของธนาคาร ว่ามันส่งผลอย่างไรกับธนาคาร ผมอย่างดูความเข้าใจของคุณ... ตามความเข้าใจของผม... โดยธรรมชาติของธุรกิจธนาคาร D/E สูงอยู่แล้ว เพราะต้องระดมเงินฝาก (อยู่ฝั่งเจ้าหนี้ในงบดุล) บวกกับเงินทุนของธนาคารส่วนหนึ่ง เพื่อมาปล่อยกู้ สำหรับกินส่วนต่างดอกเบี้ยอีกที เงินที่ธนาคารนำมาปล่อยกู้ส่วนหนึ่งเป็นของธนาคาร และส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของลูกค้า เมื่อเกิดหนี้สูญ หรือ NPL จำนวนมากขึ้นมา ผลนั้นอาจจะส่งผลทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างที่เห็นเพราะค่า D/E มันสูง เช่น 8 เท่า เท่ากับว่าเงินที่ปล่อยกู้ไปเป็นเงินทุนของธนาคาร 1 บาท และเป็นของผู้ฝากเงินอีกอาจจะ 7 บาท หรือน้อยกว่า หากเกิดหนี้สูญ 16 บาท ส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะหายไป 2 บาท ซึ่งเท่ากับว่าส่วนทุนติดลบ ธนาคารก็ต้องเพิ่มทุนเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวก อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ วิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤตการเงิน ถ้าสิ้นเชื่อที่ธนาคารปล่อยด้อยคุณภาพ ธนาคารก็มีโอกาสเจ๊งกันทั้งนั้น โดยไม่เกี่ยงว่า D/E Ratio ของแต่ละธนาคารจะเป็น 5 เท่า 6 เท่า 7 เท่า หรือ 10 เท่า ตามความคิดผม D/E Ratio เป็นตัวอธิบายว่าทำไมเมื่อเกิดปัญหาหนี้สูญจำนวนมหาศาล แล้วธนาคารถึงจะล้ม และต้องเพิ่มทุนเพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่เอา D/E Ratio มาวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของธนาคารว่าฐานะแข็งแกร่งหรือไม่ ? ซึ่งมันควรพิจารณาในปัจจัยอื่นมากกว่า อีกอย่างเมื่อยามเกิดวิกฤต ความเชื่อมันต่อธนาคารลดลง คนก็จะพากันแห่ถอนเงิน ตรงนี้ก็ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่อง เป็นตัวเร่งให้ธนาคารวิกฤตเร็วขึ้นอีก การที่ภาคธนาคารไทยจะประสบปัญหาอย่างที่ว่านั้น มันขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจว่าอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรเศรษฐกิจ แล้วคุณคิดว่าปัญหาหนี้สินยุโรป มันจะส่งผลทำให้ไทยเกิดภาวะวิกฤตการเงิน วิกฤตหนี้สิน เศรษฐกิจตกต่ำ หรืออะไรก็แล้วแต่ตามไปด้วยหรือ ? จึงคิดว่าธนาคารจะล้ม (ตีความจากความเห็นของคุณ) โดย investor2011 พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 10:05 pm
- 0
- 4
-
-
-
Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม หุ้นสถาบันการเงิน D/E สูง เพราะเงินฝากของลูกค้า ธนาคารลงเป็นเจ้าหนี้ครับ ถ้าธนาคาร D/E ต่ำๆ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธนาคารกำลังมีปัญหากะมังครับ คือคนไม่กล้าเอาเงินไปฝาก หรือไม่ก็ลูกค้าแห่ถอนเงิน โดย investor2011 พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 12:33 pm
- 0
- 4
-
-
-
Re: ผังเมืองใหม่ ใครได้ใครเสีย กทม.ยอมถอยให้ผุดคอนโดฯในซอย วันศุกร์ที่ 06 เมษายน 2012 เวลา 01:46 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา Real Estate - อสังหาฯ Real Estate ธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ธำรง ปัญญาสกุลวงศ์3สมาคมบ้านเฮ กทม.ถอย ยอมให้ผุดคอนโดฯในซอยตามผังเมืองปี 49 เหตุหวั่นทำผังขาดอายุเดือนกรกฎาคม ปี 2556 หลังอนุกรรมการผังเมืองกรมโยธาฯมีมติ ผังใหม่เข้มเกินไป ห้ามพัฒนา เน้นอุ้มผู้บริโภค-ผู้ประกอบการ โยนบอร์ดใหญ่ชี้ขาดหลังสงกรานต์ ม.ร.ว. เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ถึงร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) พ.ศ. ... กรณีการพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอย คณะอนุกรรมการผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมืองมีความเห็นต่างกับกทม. โดยให้นำข้อบังคับผังเมืองรวมกทม. ปี 2549 มาใช้ ซึ่งบอร์ดอนุกรรมการฯอ้างว่า มีความเข้มงวดมากอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี กทม.มองว่า หากยึด ผังเมืองกทม.ปี 2549 มา บังคับใช้ เฉพาะกรณีดังกล่าวก็ยอมรับได้ เพราะ ความเข้มของข้อกำหนดยังควบคุมอยู่ โดยผังเมืองฉบับเก่าที่หมดอายุ กำหนด ความกว้างของขนาดถนน ตั้งแต่ 10 เมตร 12 เมตร 16 เมตร 30 เมตร สามารถขึ้นอาคารสูงอาคารใหญ่ได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน หากเป็นพื้นที่ที่สร้างอาคารสูงอาคารใหญ่ได้ ก็สามารถพัฒนาได้เลย โดยไม่ต้องพิจารณาขนาดถนน เช่น ทำเลใจกลางเมือง อย่างสุขุมวิทฯลฯ "แม้ประชาชนจำนวนมากมีกระแสไม่ชอบอาคารสูงในเมืองก็ตาม แต่ขึ้นกับบอร์ดใหญ่ผังเมืองจะพิจารณา ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร ที่สำคัญ กทม. กลัวว่า ผังจะถูกปล่อยให้ขาดอายุ ซึ่งจะต้องประกาศผังใหม่ ภายในเดือนกรกฎาคม 2556 ไม่เช่นนั้น จะมีปัญหา อสังหาฯ อุตสาหกรรมเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้ตามใจชอบใน พื้นที่หวงห้ามในเขตเมืองหลวง ซึ่งเป็น เขตเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ และอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมา เพราะปัจจุบัน จังหวัดใหญ่ๆ อย่างเชียงใหม่ สมุทรปราการ นนทบุรี ฯลฯ ล้วนแต่ ผังขาดอายุจนเกิดการลักไก่ในพื้นที่ห้ามสร้างซึ่งจะเป็นปัญหาตามมาในอนาคต" ด้านแหล่งข่าวจากกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวว่า คณะอนุกรรมการผังเมือง มีมติให้ ที่ดินประเภท รหัส ย.1-ย.10 หรือ ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นน้อยถึงหนาแน่นมาก (เหลือง ส้ม น้ำตาล ) และ ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม พื้นที่สีแดง พ.1-พ.5 ให้ ปฏิบัติตาม ผังเมืองรวมกทม.ปี 2549 ที่หมดอายุลง ซึ่งสามารถพัฒนาคอนโดมิเนียมในซอยได้ โดยจะนำเสนอบอร์ดใหญ่อีกครั้งในเดือนเมษายนนี้ นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณคณะอนุกรรมการผังเมือง ที่เห็นด้วยกับข้อเสนอของ 3 สมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเรียกร้องให้ ใช้หลักเกณฑ์เดิม แทนที่จะกำหนดความกว้างของถนน 16 เมตร จึงจะก่อสร้างอาคารสูงได้ เนื่องจากเห็นว่าหลักเกณฑ์เดิมจะส่งผลดีต่อธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง มีโอกาสซื้อคอนโดมิเนียมในเมืองใกล้ที่ทำงานระดับราคาเฉลี่ย 1 ล้านบาทได้ และจะส่งผลดีต่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตด้วย นอกจากนี้หาก ผังเมืองใหม่ยึดข้อกำหนดปี 2549 หรือ ผังเมืองเก่า สามารถพัฒนาคอนโดมิเนียม อาคารอยู่อาศัยอื่นๆ ขนาดถนนซอยตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป สามารถสร้างสูงได้ไม่เกิน 23 เมตรหรือ 8 ชั้นตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินตามข้อบังคับผังเมือง ก็สามารถ ช่วยให้ ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยในเมืองใกล้แหล่งงาน ส่วนผลกระทบจาก ไฟไหม้ รถติด ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะมีระบบขนส่งมวลชน อย่างรถไฟฟ้า รวมถึง ทุกอาคารมีระบบป้องกันไฟไหม้ สอดคล้องกับ นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ประเด็นที่ 3 สมาคมได้ทำหนังสือให้คณะอนุกรรมการทบทวนมีเพียงเรื่องเดียว คือ ขนาดของถนน ที่เห็นว่าตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 นั้นออกมาควบคุมการก่อสร้างอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว ซึ่งหากบังคับใช้ขนาดถนน 16 เมตรเป็นเกณฑ์ในการก่อสร้างอาคารสูง ก็จะก่อให้เกิดข้อจำกัดด้านการก่อสร้าง ทำให้พื้นที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่ทางหลักเศรษฐศาสตร์ ขณะเดียวกันก็จะทำให้คนที่มีรายได้น้อยและปานกลาง ต้องถูกผลักให้ออกไปอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมืองหรือนอกเมืองแทน ส่วนประเด็นอื่นๆ ของผังเมืองฉบับใหม่นั้น ทาง 3 สมาคมก็เห็นด้วย นายเลิศมงคล วราเวณุชย์ เลขาธิการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยกล่าวว่า เป็นเรื่องดีที่มีการผ่อนปรนเพราะที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกว้านซื้อที่ดินไว้หมดแล้วและเร่งขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อ พัฒนาก่อนที่ผังใหม่ประกาศ ซึ่ง ไม่มีปัญหาอะไรแต่ ระยะยาว หากห้าม สร้างคอนโดมิเนียมในซอย จะทำให้ผู้มีรายได้น้อย ไม่มีที่อยู่อาศัยในเมือง ซึ่งแน่นอนว่า หาก คณะกรรมการผังเมืองหรือ บอร์ดใหญ่ ออกมา ห้ามพัฒนาในซอย 3 สมาคมจะทำทุกวิถีทางไม่ให้ผังเมืองรวมกทม.ใหม่ประกาศใช้ โดย investor2011 เสาร์ เม.ย. 14, 2012 2:11 pm
- 0
- 0
-
-
-
Re: ผังเมืองใหม่ ใครได้ใครเสีย บอร์ดตีกลับผังเมืองกทม. ส่อปลดล็อก”ขนาดถนน” อนุกรรมการผังเมืองฯ ตีกลับร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ ส่งสัญญาณปลดล็อกห้ามสร้างอาคารสูงในถนนแคบ ส่อยึดแนวถนนตามผังเมืองฯ ปี 2549 เหตุมีการร้องเรียนมากหวั่นยื้อเวลาจนหมดเวลาต่ออายุ แนะทำผังเมืองเฉพาะพื้นที่เข้มงวดแทน ด้าน กทม. ยืนยันทำเพื่อประชาชน เตรียมเวนคืน 86 ถนนรอง เพิ่มความกว้างตามกรอบกฎหมาย ขณะที่ เอกชน เฮชี้ 5 ข้อดีใช้กฎเกณฑ์ถนนตามผังเมืองฯ เดิม จากกรณีที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (กทม.) พ.ศ. 2549 หมดอายุบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพ.ค. ปี 2554 ที่ผ่านมา อยู่ในช่วงต่ออายุบังคับใช้ 1 ปีครั้งที่ 1 ถึงวันที่ 17 พ.ค. นี้ ซึ่งในระหว่างนี้ สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (สำนักผังเมือง กทม.) ได้ออกร่างผังเมืองรวม กทม.ฉบับใหม่ตามขั้นตอน จนถึงร่างผังเมืองรวมกทม.(ปรับปรุงครั้งที่ 3) มีสาระสำคัญส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงจากผังเมืองฉบับเดิม คือ เรื่องเกณฑ์ความกว้างถนน ที่จะใช้ประกอบการสร้างอาคารสูง เช่น เกณฑ์ความกว้างถนนในการสร้างอาคารอยู่อาศัยรวมขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ก่อสร้างรวมเกิน 10,000 ตร.ม. จากเดิมที่พื้นที่สีน้ำตาล (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก) ย.8-ย.10 และพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) พ.4, พ.5 ตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฉบับ พ.ศ. 2549 กำหนดให้ถนนและซอย ที่มีขนาดความกว้างถนนเกิน 10 เมตร สามารถสร้างได้ แต่ร่างผังเมืองฉบับใหม่ เพิ่มเกณฑ์ความกว้างถนนเป็น 16 เมตร จึงจะสร้างได้ นอกจากนี้ เกณฑ์การสร้างอาคารพักอาศัยขนาดใหญ่ พื้นที่ก่อสร้างไม่เกิน 5,000-9,999 ตร.ม. จากเดิมที่พื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) ย.5, ย.6 และพื้นที่สีแดง พ.2, พ.3 ตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินฉบับ พ.ศ. 2549 กำหนดให้ถนนและซอยที่มีขนาดความกว้างถนนเกิน 6 เมตรสามารถสร้างได้ แต่ร่างใหม่เพิ่มเกณฑ์ความกว้างถนนเป็น 16 เมตรจึงจะสร้างได้ โดยให้เหตุผล เพื่อป้องกันการเกิดความแออัดภายในซอย และเพื่อให้สามารถเข้าไปดับไฟในซอยแคบได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ความกว้างถนนดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมาก รวมถึงตัวแทนจาก 3 สมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร สมาคมอาคารชุดไทย และ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ออกมาเรียกร้องผ่านช่องทางต่างๆ โดยอ้างถึงข้อกฎหมายใหม่ที่จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาคอนโดมิเนียมราคาย่อมเยาในเขตเมือง เนื่องจากหาที่ดินเปล่าที่ติดถนนความกว้าง 16 เมตรได้ลำบาก จนอาจทำให้ผู้มีรายได้น้อยต้องออกไปอยู่ชานเมืองมากขึ้น อนุผังเมืองฯ ส่อปลดล็อกขนาดถนน นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย (มท.) เปิดเผยกับ กรุงเทพธุรกิจ ว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการผังเมือง ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีความเห็นว่า ต้องการให้ทางสำนักผังเมืองกทม. กลับไปทบทวนเรื่องการแก้ไขเกณฑ์ความกว้างถนนใหม่ เนื่องจากผังเมืองรวมกทม. 2 ฉบับที่บังคับใช้ 13-14 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้มีลักษณะเข้มงวดเช่นเดียวกับร่างฉบับใหม่ หากฉบับใหม่ออกมาเข้มงวดเลย จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง และทำให้ประชาชนปรับตัวไม่ทัน พอปรับตัวไม่ทัน ก็จะมีเรื่องร้องเรียนเข้ามามาก เมื่อมีเรื่องร้องเรียนเราก็ต้องพิจารณาทุกเรื่อง ต้องใช้เวลานาน ท้ายที่สุดอาจพิจารณาไม่ทันขั้นตอน จนผังเมืองขาดอายุ ซึ่งเมื่อผังเมืองขาดอายุจะยิ่งก่อให้เกิดความวุ่นวายเป็นอย่างมาก ปัจจุบันผังเมืองนนทบุรีและเชียงใหม่ ก็กำลังขาดอายุ ไม่มีกฎหมายควบคุมหรือบังคับใช้กับใครได้ ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า มีกฎหมายก็ยังดีกว่าไม่มีกฎหมาย จึงต้องการให้ กทม.ค่อยๆ เพิ่มความเข้มงวด ไม่อยากให้เข้มงวดในทันที นายเชตวัน กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมเสนอทางแก้ไขเพิ่มเติมว่า หากบริเวณใดที่ทางสำนักผังเมืองเห็นว่าน่ากังวล ก็ให้จัดทำผังเมืองเฉพาะขึ้นในบริเวณนั้น เพื่อควบคุมเป็นการเฉพาะ แต่สำหรับครั้งนี้ขอให้เริ่มทบทวนจากผังเมืองรวมกทม. พ.ศ. 2549 อีกครั้ง เพื่อเสนอเข้าสู่คณะกรรมการผังเมือง มท.ให้ทันในปลายเดือนเม.ย. กทม.ยันแก้เกณฑ์เพื่อประชาชน ด้าน ม.ร.ว.เปรมศิริ เกษมสันต์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม. กล่าวว่า ทางสำนักยินดีรับข้อเสนอของที่ประชุม เนื่องจากเห็นความสำคัญของระยะเวลาการดำเนินงานเพื่อไม่ให้ผังเมืองขาดอายุ อย่างไรก็ดี สำนักยืนยันว่าการแก้ไขเกณฑ์ความกว้างถนน เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน เพราะปัจจุบันความหนาแน่นของกรุงเทพฯ เกินความสามารถที่ระบบสาธารณูปโภคจะรองรับไหวแล้ว หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปประชาชนจะไม่ได้รับความสะดวก เราต้องการทำความกว้างถนนให้ตรงตามหลักวิชาการ เราทำงานกันค่อนข้างละเอียด เพราะไม่ได้ใช้แค่ความเห็นของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เราใช้อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองจากหลายมหาวิทยาลัย พร้อมกันนี้ ยังเตรียมแผนจะเวนคืนถนนสายรอง 86 เส้นทั่วกรุงเทพฯ ไว้รองรับ โดยให้ผู้ประกอบการในแต่ละพื้นที่ ยื่นเข้ามาแจ้งว่ามีที่ดินจะพัฒนาในบริเวณนั้น เกณฑ์ความกว้างถนนถูกปรับเป็นเท่าใด ทาง กทม.จะเข้าไปเวนคืนให้ เราจะมองประเด็นเรื่องการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ ม.ร.ว.เปรมศิริ กล่าวด้วยว่าการจัดทำผังเมืองเฉพาะจุดตามที่ที่ประชุมเสนอ โดยปกติใช้สำหรับบริเวณที่มีวัด สถานที่ราชการ เพื่อควบคุมความสูงของอาคารบางพื้นที่เป็นพิเศษ แต่การทำผังเมืองเฉพาะเพื่อควบคุมเกณฑ์ความกว้างถนนเป็นไปได้ยาก เพราะยังต้องคำนึงถึงเกณฑ์ความกว้างถนนที่กำหนดในผังเมืองฉบับใหม่เป็นเพดานด้วย เมื่อจะควบคุมเฉพาะจุดก็จะต้องมีการคัดค้านกันอีก เอกชน เฮ หนุนผังเมืองฟังทุกฝ่าย ด้าน นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่คณะอนุกรรมการผังเมือง เปิดรับความคิดเห็นของทุกฝ่าย และพิจารณาถึงผลประโยชน์ในภาพรวม เพราะการเลือกยึดเกณฑ์ความกว้างถนนเดิม ตามผังเมืองรวม กทม. พ.ศ. 2549 ช่วยให้เกิดผลดี 5 ข้อ คือ 1.เป็นโอกาสของประชาชนระดับกลาง ที่ยังมีโอกาสจะหาซื้อคอนโดในซอยเขตเมืองได้ 2.ประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการขยายระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคเกินจำเป็น หากเมืองไปโตบริเวณรอบนอก ภาครัฐก็ต้องขยายทั้งรถไฟฟ้า เพื่อให้คนที่อยู่ชานเมืองกลับมาทำงานในเมืองได้ง่าย ภาคเอกชนก็ต้องขยาย 3จี เพื่อตามให้ทันการเติบโตของคน 3.คุณภาพชีวิตของประชาชนยังดีดังเดิม หากเมืองไปเติบโตรอบนอกแต่แหล่งงานยังอยู่ในเมือง ผู้คนจะต้องใช้เวลาในการเดินทางมากขึ้น 4.คงไว้ซึ่งแหล่งทุนของประเทศ เนื่องจากที่ดินเป็นแหล่งทุนอย่างหนึ่ง หากขยายเกณฑ์ความกว้างถนน จะทำให้ที่ดินหลายแปลงเสื่อมมูลค่าลง 5.ทำให้หลักประกันของสถาบันการเงิน คือที่ดินที่นำมาจำนองไว้ไม่เสื่อมค่าไปมาก อย่างไรก็ดี การสร้างอาคารสูงภายในซอยมีกฎหมายอื่นๆ ควบคุมอยู่แล้ว ทั้ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ที่มีข้อกำหนดระยะถอยร่น อัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม (โอเอสอาร์) ซึ่งหากมองว่าเป็นปัญหาก็สามารถไปเพิ่มความเข้มข้น ที่กฎหมายเหล่านี้ได้ ไม่จำเป็นต้องมาแก้ที่ผังเมือง เรื่องดับเพลิงก็เช่นกัน มีกฎหมายอื่นๆ ควบคุมอยู่แล้ว เช่น พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2535 กำหนดให้อาคารใหม่ทุกอาคารต้องมีสปริงเกอร์ แม้กระทั่งในที่จอดรถก็ยังมี คอนโดใหม่ๆ ในปัจจุบันไม่ได้รอพึ่งรถดับเพลิงอยู่แล้ว และที่จริงเกณฑ์ความกว้างถนนก็ช่วยอาคารสูงไม่ได้ ต่อให้ถนนกว้าง 50 เมตร แต่รถดับเพลิงก็เข้าไปก็ช่วยดับไฟให้ตึก 40 ชั้นไม่ได้อยู่ดี นายประเสริฐ กล่าว ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 3 เมษายน 2555 โดย investor2011 อังคาร เม.ย. 03, 2012 2:06 pm
- 0
- 1
-
-
-
Re: ผังเมืองใหม่ ใครได้ใครเสีย สมาคมอาคารชุดวอนบอร์ดผังเมือง วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2012 เวลา 12:15 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา Real Estate - อสังหาฯ Real Estate สมาคมอาคารชุดไทย วอนบอร์ดผังเมือง เห็นใจผู้มีรายได้น้อยจะได้มีบ้านเป็นของตัวเองในเมือง ยันถูกคุมกำเนิดจนพัฒนาไม่ได้ ทั้งกรุงเทพฯชั้นใน -ชั้นกลาง ส่วนชานเมือง สร้างได้ต้องมีถนนกว้าง 30 เมตรขึ้นไป พร้อมโต้กลับ กทม. ยันคอนโดฯในซอยไม่กระทบไฟไหม้-รถติด นายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากกรณีที่สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร ยืนยัน ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร(ปรับปรุงครั้งที่ 3) จะไม่ผ่อนปรนให้พัฒนาคอนโดมิเนียมสูง 8 ชั้น หรือ ไม่เกิน 23 เมตร ในซอยกว้างตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไป ตามพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ ตามหลักเกณฑ์เดิมของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปี 2549 นั้น สมาคมขอชี้แจงว่า การเข้มงวดในข้อห้ามดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถซื้อคอนโดฯราคาถูกในเมืองได้ และต้องกระจายออกไปอยู่ชานเมือง ขณะที่แหล่งงานอยู่ใจกลางเมือง ผังเมืองใหม่ หากมีผลบังคับใช้ จะกระทบในวงกว้าง ผู้ประกอบการเองไม่มีปัญหาสามารถหากำไร หรือพัฒนาในราคาแพงได้ แต่ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบ เพราะมีข้อห้าม ไม่ให้พัฒนาอาคารสูงในเขตกรุงเทพฯชั้นใน และกรุงเทพฯชั้นกลาง แต่อนุญาตให้พัฒนาอาคารสูงในกรุงเทพฯชั้นนอกแทน แต่ปรากฏว่า ขนาดถนน กลับกำหนดกว้างมากถึง 30 เมตร ทั้งนี้หากเป็นอย่างนี้ เท่ากับห้ามพัฒนาคอนโดฯในเมืองและเมื่อไม่สามารถพัฒนาให้สอดคล้องกับราคาที่ดินได้ เชื่อว่าราคาที่ดินในกทม.จะทรุดต่ำลง แต่กทม.กลับอ้างว่า หากปล่อยให้พัฒนาในซอยแคบจะทำให้เกิดไฟไหม้ รถดับเพลิงเข้าไม่ได้ อย่างไรก็ดี ขอชี้แจงต่อคณะกรรมการผังเมือง(บอร์ดผังเมือง) ว่า ปัญหาการก่อสร้างคอนโดมิเนียมสูง 8 ชั้น ในซอยกว้างไม่เกิน 6 เมตรนั้น ไม่ใช่ถนนที่คับแคบ เพราะซอยในกทม. มีตั้งแต่ 6 เมตร 8 เมตร 10 เมตร ส่วนใหญ่เป็นซอยตัน 90% ห้ามรถหน้าออกอยู่แล้ว เว้นแต่ กทม.เวนคืน เชื่อมทะลุซอย ขณะเดียวกัน ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อการเกิดเพลิงไหม้ และหากเกิดเพลิงไหม้ รถดับเพลิงสามารถเข้าถึงได้เพราะขนาดของรถดับเพลิงกว้างไม่เกิน 2 เมตร และยังสามารถสวนกับรถอื่นๆได้ "กทม. อ้างว่ารถดับเพลิงไม่สามารถเข้าได้ไม่จริง เพราะรถดับเพลิงสามารถเข้าได้ทุกซอย เพราะความกว้างของตัวรถ 1 เมตรกว่า ไม่เกิน 2 เมตร และรถอื่นยังเข้าได้" นอกจากนี้ กรณีเพลิงไหม้ตึกสูง หากเป็นที่พักอาศัย หรือ คอนโดมิเนียมที่ผ่านมาได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในห้อง ซึ่งไฟจะเผาเฉพาะเชื้อเพลิงที่ติดไฟง่าย เช่น ที่นอน ตู้เสื้อผ้า จะสงบลงภายในห้องๆนั้น จะไม่ลุกลามรุนแรงข้ามห้องข้ามชั้นไปยังบริเวณอื่น เพราะทุกห้องมีกำแพงผนังเป็นฉนวนกันไฟอยู่แล้ว ตามกฎหมายควบคุมอาคาร ยกตัวอย่างซอยสุขุมวิท 24 โครงการคอนโดเลอฟิเน่ ไฟเผา 2 ชั่วโมง ไม่ลุกลาม ส่วนใหญ่จะมีระบบป้องอัคคีภัย มีระบบตรวจจับความร้อน ตรวจจับควัน สปริงเกลอร์ และตามชั้นของอาคารจะมีหัวฉีดดับเพลิงทุกชั้น เพราะฉะนั้น ตัวอาคารจะมีอุปกรณ์ช่วยดับเพลิง ดังนั้นเรื่องเพลิงไหม้ไม่กระทบ และ กทม.ไม่ควรนำประเด็นนี้ มาจำกัดที่อยู่อาศัยในซอย ขณะเดียวกัน ในมุมที่มองว่าคอนโดฯเกิดขึ้นในเมือง ในซอย เกรงว่าจะจอดรถกีดขวางทาง ทำให้รถติด และรถดับเพลิงเข้าไม่ได้ หากเกิดเพลิงไหม้ เรื่องนี้มองว่าไม่ถูกต้อง เพราะแต่ละอาคารได้จัด ให้มีที่จอดรถตามกฎหมายควบคุมอาคาร ส่วนเรื่องที่กทม. ยังวิตกว่า สาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา ท่อระบายน้ำ โทรศัพท์ จะรองรับไม่เพียงพอนั้น มุมกลับกันสมาคมยืนยันว่า ผู้ว่าการการประปานครหลวง รับรองว่า น้ำประปามีความแรงถึงชั้น 2 ของตัวอาคารโดยไม่ต้องใช้ปั๊มน้ำซึ่งมีความเพียงพอจ่ายน้ำได้ ท่อระบายน้ำกทม. ก็รองรับเพียงพอ และไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง อย่างไรก็ดี ทุกวันนี้หากมองลงมาจากที่สูง กลางกรุง เทพฯ มองว่า แออัดเพราะอาคารบ้านเรือนเก่า ทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ ตึกสูง เต็มพื้นที่ หากเป็นเช่นนี้ สมาคมเสนอว่า ควรใช้ที่ดินในเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด คือ ทุบทิ้งบ้านเดี่ยว แนวราบออก แล้วพัฒนาเป็นตึกสูง โดยเว้นระยะถอยร่นรอบๆอาคาร ให้มีที่โล่ง ทำให้น่าอยู่ขึ้น และคนสามารถอยู่ได้ จำนวนมากก็สามารถทำได้ ที่ผ่านมา ผังเมืองกทม.ปี 2549 จะควบคุมเรื่องความแออัดอยู่แล้ว เพราะกำหนดให้สร้างคอนโดฯในซอย สูงไม่เกิน 8 ชั้น และยังกำหนดเอฟเออาร์ หรือ สัดส่วนพื้นที่ว่าต่อพื้นที่อาคาร เฉลี่ยอยู่ที่ 3 ต่อ 1 - 4ต่อ 1 อยู่แล้ว ดังนั้นไม่ควรเข้มงวดอีก เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องอพยพไปจังหวัดในปริมณฑล ขณะนี้ ร่างผังเมืองรวมกทม.ใหม่ อยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่ที่คณะอนุกรรมการผังเมือง กรมโยธาธิการ และเข้าสู่คณะกรรมการผังเมืองชุดใหญ่ ภายในวันที่ 5 เมษายน 2555 นี้ จะทราบว่า ผลการพิจารณาของบอร์ดใหญ่จะออกมาอย่างไร จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,726 29-31 มีนาคม พ.ศ. 2555 โดย investor2011 จันทร์ เม.ย. 02, 2012 2:07 pm
- 0
- 1
-