หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
parporn
Joined: พุธ ก.ย. 28, 2011 11:41 am
231
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - parporn
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="TissueThiti"]เรียนถามอาจารย์ทุกท่านนะครับ 1) จำนวนหุ้นที่มีผลต่อส่วนแบ่งผลประโยชน์ เช่น ปันผล หรือกำไรสุทธิ โดยปกติเราสามารถดูได้จากส่วนไหนของงบครับ อย่างเช่นของ SKR ผมดูในส่วนของงบดุล ทุนที่ออกและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 100,000,000 หุ้น แต่พอไปดูในงบกำไรขาดทุน กำไรสุทธิต่อหุ้น1.28บาท ทั้งๆที่กำไรสุทธิ 120,507,993 จึงเหมือนมีจำนวนหุ้นน้อยกว่า 100,000,000 หุ้น 2) กำไรต่อหุ้นปรับลด หมายถึงกำไรต่อหุ้นเมื่อคำนวณจำนวนหุ้นที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมดจากการแปลงสภาพหุ้นกู้และหุ้นบุริมสิทธิมาเป็นหุ้นสามัญใช่ไหมครับ 3) นโยบายการจ่ายปันผลของบริษัท "ถ้าปีใดผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิได้รับแจกเงินปันผลถึงร้อยละ 15 ของทุนของบริษัทที่เป็นหุ้นบุริมสิทธิแล้ว กำไรส่วนที่เหลือจะแจกให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ตามมติที่ประชุมใหญ่ ถ้าปีใดบริษัทสามารถแจกเงินปันผลได้เกินกว่าร้อยละ 15 ของทุนของบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นทั้งสองชนิดได้รับแจกเงินปันผลเท่ากัน" ในทีนี้ คำว่าทุนของบริษัทคือส่วนของเจ้าของหรือทุนเรือนหุ้นส่วนของหุ้นสามัญครับ 4) กรณีการจ่ายปันผลหรือดอกเบี้ยตามเงื่อนไขของหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นกู้ จะถือเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทก่อนคิดอัตราภาษีหรือไม่ครับ และถ้าใช่อยู่ในส่วนใดของรายจ่ายครับ 5) ผมได้อ่านของอาจารย์ sun_cisa2 ในกระทู้นี้ตอนหนึ่งว่า เช่น ABC มีกำไร 1,000 บาท โดย A ถือหุ้นมาตั้งแต่ต้นปี 800 หุ้น ส่วน B เข้ามาถือหุ้นเพิ่มทุนีหลังระหว่างปีนั้น 400 หุ้นเมื่อตอนกลางปี เงินจาก A ทำมาหากินมา 1 ปีเต็ม ส่วนเงิน B เอามาใช้หากินแค่ครึ่งปี ถ้าถือว่าตลอดปีทำมาหากินสม่ำเสมอ 500 บาทแรก A ควรได้เต็มๆ ส่วน 500 บาทหลังถึงจะเอามาแบ่งระหว่า A กับ B ตามสัดส่วนที่ลงทุน 2:1 A ได้ไป 500x2/3 = 333.33 ส่วน B ได้ไป 500/3 = 166.67 รวมทั้งปี A ได้ส่วนแบ่งกำไรไป =500+333.33 = 833.33 A ถ้าเทียบแล้วลงทุน 1ปี ได้ผลตอบแทนต่อหุ้น = 0.3125+0.2083 =0.5208 รวมทั้งปี B ได้ส่วนแบ่งกำไรไป = 166.67 0.2083 . แต่ในทางบัญชีจะแสดง EPS ขั้นพื้นฐานที่ 1000/(800x12/12 + 400x6/12) = 1.00 ดูแล้วเหมือนกับว่าได้คนละ 1 บาท ความจริงไม่ใช่เลย แค่บอกว่าถ้ามาคิดผลตอบแทนตามระยะเวลาลงทุนแล้ว โดยเปรียบเทียบให้หุ้นทั้งหมดเทียบเท่ากันได้บนฐานเวลาที่ปรับสัดส่วนให้เท่ากัน จะเหมือนว่าได้คนละ 1 บาท . ผมสงสัยครับ ปกติ EPS ไม่ได้เกิดจากกำไรสุทธิทั้งปีหารด้วยจำนวนหุ้นสามัญหรือครับ แล้วข้อความข้างต้นผมอ่านแล้วไม่เข้าใจ อยากรบกวนให้อาจารย์ช่วยอธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ ขอโทษนะครับที่คำถามอาจยาวนิดนึง ขอบคุณมากครับผม[/quote] 1. ถ้าหุ้นออกครบปี จำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วจะเท่ากับจำนวนหุ้นที่นำมาคำนวณ EPS แต่ถ้าหุ้นออกไม่ครบปีหรือเรียกชำระไม่เต็มราคาหุ้น จำนวนหุ้นที่นำมาคำนวณ EPS จะเป็นจำนวนหุ้นถัวเฉลี่ย ถ้าบริษัทมีหุ้นบุริมสืธิ์ กำไรสุทธิที่นำมาคำนวณต้องหักปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์ก่อน 2. โดยหลักการเป็นเช่นนั้น แต่ต้องรวมรายการทุกรายการที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญทั้งหมด เช่น วอร์แรนด์ ไม่ใช่เฉพาะหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิเท่านั้น 3. ไม่ทราบค่ะ ต้องถามคนอื่นที่ทราบ 4. ถ้าเข้าข่ายเป็นปันผล ต้องหักออกจากกำไรสะสม ไม่เข้างบกำไรขาดทุน แต่ถ้าถือเป็นดอกเบี้ยต้องหักรวมกับดอกเบี้ยจ่าย แสดงก่อนภาษีเงินได้ 5. อาจารย์ sun_cisa2 ไม่สามารถ login เข้าใน web ของ thaivi นานมาแล้วค่ะ เลยมาตอบให้คุณไม่ได้ แต่ EPS มีสูตรการคำนวณคือ EPE หุ้นสามัญ = กำไรที่เป็นของหุ้นสามัญ (หักกำไรที่เป็นส่วนของหุ้นบุริมสิทธิออก หรือบวกกำไรของหุ้นเทียบเท่าถ้าสมมุติว่ามีการแปลงหุ้นเกิดขึ้น) /จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ตามเวลาในการออกหุ้น รวมไปถึงหุ้นสามัญที่เกิดจากการแปลงถ้าคำนวณ EPS ปรับลด) ดังนั้น การหยิบตัวเลขที่เห็นมาหารกัน อาจไม่ได้เท่ากับจำนวน EPS ที่บริษัทคำนวณได้ โดยเฉพาะเมื่อมีเงื่อนไขเพิ่มเติมที่ทำให้การคำนวณตัวเลขเบี่ยงเบนจากที่แสดงในงบการเงินค่ะ
โดย
parporn
อังคาร เม.ย. 09, 2013 2:30 pm
0
3
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"]สอบถามอาจารย์ภาพร ต่อนะครับ เนื่องจากผมสนใจการทำ Financial Projection แบบนักวิเคราะห์หุ้น ที่มีการนำข่าว และแผนของ ผู้บริหารมาประเมินศักยภาพที่เป็นไปได้ โดยมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 งบ คือ Balance Sheet, Income Statement, Cash Flow Statement เลยอยากสอบถามอาจารย์ภาพรครับว่า พอมีหนังสือสอนไหมครับ เกี่ยวกับการนำมาประยุคใช้กับ Excel เลย ในแง่ของพื้นฐานการประเมินนั้น ผมมีพื้นฐานแล้วระดับหนึ่งจากการสอบ CFA level 2 แต่การทำ Financial Model ที่มีการเชื่อมโยงงบที่นำมาประยุคใช้กับ Excel ยังไม่มีทักษะเลย หนังสือภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก้ได้นะครับ ขอบคุณนะครับ[/quote] อ.สรรพงศ์ เข้า site นี้มาตอบไม่ได้ค่ะ เพราะยังไม่ได้สมัครสมาชิก (อ.ภาพรสมัครไว้ 1 ปี พอหมดสมาชิก ก็อาจไม่สมัครต่อ) นี่คือคำตอบของ อ.สรรพงศ์ค่ะ หนังสือโดยตรงไม่มี ถ้าจะทำ Model ต้องมีความรู้ด้าน Excel มากพอ ถ้ามีความรู้ Excel ก็ทำได้เองครับตามหลักการที่มีอยู่ ถ้า Excel ไม่แข็งอันนี้ยากครับ ต้องไปเรียนการใช้ขั้น advance ถ้าจะลอง load model excel จาก web ต่างประเทศ มีเยอะครับ เคยเห็นครับ แต่เวลานำมาใช้ต้องระวัง ต้องปรับบ้าง เพราะเขาทำแบบโครงสร้างไม่ยาก input ทุกอย่างหมด ตัวอย่าง Website ที่จะเข้าไปหาความรู้ได้ เช่น http://www.ustyleit.com/Excel_Based_Financial_Models.htm http://www.exinfm.com/free_spreadsheets.html
โดย
parporn
เสาร์ ก.พ. 16, 2013 6:54 am
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"]สอบถามอาจารย์ภาพร ต่อนะครับ เนื่องจากผมสนใจการทำ Financial Projection แบบนักวิเคราะห์หุ้น ที่มีการนำข่าว และแผนของ ผู้บริหารมาประเมินศักยภาพที่เป็นไปได้ โดยมีการเชื่อมโยงทั้ง 3 งบ คือ Balance Sheet, Income Statement, Cash Flow Statement เลยอยากสอบถามอาจารย์ภาพรครับว่า พอมีหนังสือสอนไหมครับ เกี่ยวกับการนำมาประยุคใช้กับ Excel เลย ในแง่ของพื้นฐานการประเมินนั้น ผมมีพื้นฐานแล้วระดับหนึ่งจากการสอบ CFA level 2 แต่การทำ Financial Model ที่มีการเชื่อมโยงงบที่นำมาประยุคใช้กับ Excel ยังไม่มีทักษะเลย หนังสือภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษก้ได้นะครับ ขอบคุณนะครับ[/quote] เดี๋ยวถามอาจารย์สรรพงศ์ให้นะคะ เขาเป็นนักวิเคราะห์เหมือนกัน ไม่น่าแปลกใจเลยเลยที่คุณเป็นนักวิเคราะห์ เพราะคำถามของคุณลึกกว่าปกติ :)
โดย
parporn
พฤหัสฯ. ก.พ. 14, 2013 10:06 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"]ขอสอบถามอาจารย์ภาพรนะครับ ถ้าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง โยกย้ายสินทรัพย์บางอย่างจากเดิมเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน มาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (สินค้าคงเหลือ) ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นสัญญาณว่ากำลังจจะจำหน้าสินทรัพย์ดังกล่าวออกภายใน 1 ปี ผมสัยสัยว่า ภายใน 1 ปีนี้ เราสามารถประเมินกรอบเวลาได้ไหมครับ ว่าอย่างช้าสุดคือเมื่อไร่ ระหว่างสิ้นไตรมาส 4 ปีดังกล่าว หรือภายในสิ้นไตรมาส 2 ของปีถัดไป[/quote] โดย concept แล้ว งบไตรมาสคือ งบประกอบของงบปี ดังนั้น วันสิ้นสุด 1 ปี ที่ชี้ว่าเป็นระยะสั้น ควรต้องจบตามงบปีค่ะ แต่อาจารย์ไม่ทราบจริงๆ ว่าในทางปฏิบัติ บริษัทตีความกันว่าอย่างไร
โดย
parporn
พฤหัสฯ. ก.พ. 14, 2013 10:04 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="mr_chai"]ผมน่าจะเขียนผิดนะครับ [quote/ " เพราะยอดรวมของภาษีค่าใช้จ่ายทางภาษีจำนวน 172 ล้านบาท" >> ต้องเป็น "เพราะยอดรวมภาษีของค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี"[/quote] จำนวน 172 บาท น่าจะเป็น "ผลแตกต่างชั่วคราว Temporary Difference" หรือรายการที่ถือเป็นรายได้/ค่าใช้จ่ายทางบัญชีในงวดหนึ่ง แต่สามารถนำไปคำนวณภาษีในงวดอื่น
โดย
parporn
จันทร์ ก.พ. 04, 2013 2:24 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="mr_chai"]เพิ่งนึกคำถามอีกข้อออกครับ ขอเพิ่งเป็นข้อที่ 2 นะครับ 2. รบกวนอธิบายรายการ "ปรับปรุงลูกหนี้กรมสรรพากร" หน่อยครับว่ามันปรับปรุงยังไง[/quote] น่าจะเกิดจากการคำนวณผิดพลาดหรือเกิดจากข้อเท็จจริงใหม่ที่พบว่า ภาษีที่จ่ายเกินไปให้กรมสรรพากรนั้นสูงกว่าที่เคยบันทึกบัญชีไว้ บริษัทจึงทำการปรับปรุงให้น้อยลง
โดย
parporn
จันทร์ ก.พ. 04, 2013 2:19 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="mr_chai"]สวัสดีครับ อาจารย์ภาพร , พี่sun_cisa2 ,และเพื่อนๆพี่ๆนักลงทุนครับ ผมมีคำถามที่ยังสงสัยเกี่ยวกัว deferred tax ครับ (ผมศึกษาในห้อง "หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4" มา 3 รอบแล้วครับ แต่ยังคงมีบางจุดที่ยังสงสัยครับ) จีงอยากขอคำชี้แนะหน่อยครับ คำถามดังนี้ครับ 1. รูปที่ 2 จุด B เป็นภาษีจากรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษีอะไรได้บ้างครับ ? ตามความเข้าใจของผม น่าจะไม่ใช่รายการค่าใช้จ่ายในรูปที่ 1 เพราะยอดรวมของภาษีค่าใช้จ่ายทางภาษีจำนวน 172 ล้านบาท(จุด A)ที่บริษัทจ่ายภาษีเพิ่มให้สรรพากร ซึ่งจะไปลงอยู่ในรูปที่ 2 จุด C หรือผมเข้าใจผิดตรงไหนรบกวนชี้แนะหน่อยครับ เอาข้อเดียวก่อนครับ รอคำตอบถ้ายังสงสัยเดี๋ยวจะถามต่อเนื่องครับ ขอบคุณมากครับ[/quote] น่าจะเป็นรายการที่นักบัญชีเรียกว่า "ผลแตกต่างถาวร Permanant Difference" เช่น รายได้ที่ไม่ต้องจ่ายภาษี หรือค่าใช้จ่ายที่หักภาษีไม่ได้ ตัวอย่างของผลแตกต่างถาวร เช่น กำไรจากการขายหุ้นที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรืออาจเป็นค่าใช้จ่ายการกุศลหรือ entertain ที่สูงกว่าจำนวนที่สรรพากรยอมให้นำมาหักลดหย่อน
โดย
parporn
จันทร์ ก.พ. 04, 2013 2:17 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"]ขอถามต่อนะครับ สมมุติ บริษัท ก. กำลังจะทำคอนโดขายประชาชน แต่ บริษัท ก. ไม่ได้สร้างเอง โดยว่าจ้างให้บริษัท ข. ทำการสร้างให้ กรณีนี้ รายได้จากการสร้างคอนโดของ บริษัท ข. จัดเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไว้เพื่อขาย หรือเปล่าครับ[/quote] ไม่ใช่ค่ะ บริษัท ข เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จค่ะ
โดย
parporn
พฤหัสฯ. ม.ค. 31, 2013 7:47 am
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"]มีคำถามมาถาม อ.ภาพร อีกแล้วครับ (ถามบ่อยๆ หวังว่าจะเชี่ยวชาญกะเข้าบ้างครับ 555+) บ.ที่ทำรับเหมาก่อสร้างพวกอาคาร คอนโด นั้น ปกติเขามีการรับรู้รายได้อย่างไรครับ รับรู้ตอนสร้างเสร็จแล้วส่งมอบงาน หรือรับรู้รายได้เป็นงวดๆ ขณะการก่อสร้างกำลังดำเนินไปตามแผน ขอบคุณล่วงหน้าครับ[/quote] ตั้งแต่ปี 54 เป็นต้นมา บริษัทต้องรับรู้อสังหาริมทรัพย์ที่สร้างไว้เพื่อขาย เมื่อขายเท่านั้น แต่ก่อนปี 54 รับรู้ตามอัต ราส่วนของงานที่ทำเสร็จค่ะ
โดย
parporn
พุธ ม.ค. 30, 2013 8:47 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"]ขอถามต่อนะครับ 1. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง ได้ทำการปรับราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Assets) ที่อยู่ในบริษัทลูกที่ถือหุ้นอยู่ 99.99% ขึ้นจากเดิม 10,000 ล้านบาท เป็น 20,000 ล้านบาท มูลค่าที่เพิ่มขึ้น 10,000 ล้านนั้น จะไปโชว์เป็นกำไร ในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?? 2. สมมุติว่าบริษัทอสังหาแห่งหนึ่ง มีที่ดินอยู่ 2,000 ไร่ มีราคาทางบัญชีไร่ละ 10 ล้าน ต่อมาบริษัทได้แบ่งขายที่ดินแปลงดังกล่าวไป 500 ไร่ ในราคาตลาดขณะนั้น คือ 20 ล้าน 2.1 กำไรที่เกิดจากการขายที่ดิน 5,000 ล้านบาท จะไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ? 2.2 ที่ดินส่วนที่เหลืออีก 1,500 ไร่ บริษัทจำเป็นต้องปรับราคาทางบัญชีใหม่ตามราคาตลาดที่แบ่งขายไปหรือไม่ครับ ? และถ้าใช่ กำไรที่เกิดจากการปรับราคาทางบัญชีของที่ดินก็ต้องไปบันทึกเป็นกำไรในงบกำไรขาดทุนใช่ไหมครับ ?[/quote] 1. ถ้าสินทรัพย์จัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และบริษัทลูกคือบริษัทย่อย ในงบการเงินรวมกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์เพิ่มจะแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จโดยจัดประเภทเป็นกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น (แสดงต่อจากกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน) 2. ถ้าที่ดินจัดเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 2.1 กำไรจากการขายที่ดินจัดเป็นกำไรจากการดำเนินงาน (กำไรขาดทุนท่อนบน) 2.2 บริษัทไม่จำเป็นต้องตีราคาที่ดินที่เหลืออยู่ หากบริษัทเลือกใช้วิธีราคาทุนเดิม ทั้งนี้ คำตอบอาจเปลี่ยนแปลงไปหากสินทรัพย์นั้นไม่ได้จัดประเภทเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
โดย
parporn
อาทิตย์ ม.ค. 27, 2013 9:46 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
การบัญชีในลักษณะนี้ ไม่เป็นไปตามหลักการทั่วไปของนักบัญชีค่ะ ดูอย่างไรก็ขัดกันไปหมด แต่ที่บริษัททำอย่างที่คุณบอก ก็เป็นไปได้ที่บริษัทมีเหตุผลพิเศษ หรืออ้างเหตุเพื่อให้งบการเงินสวยเกินจริง (อาจารย์ตอบเลี่ยงอยู่นานเพราะไม่อยากใช้คำนี้ ไม่อยากกล่าวหาใคร) คืออย่างนี้ค่ะ... โดยหลักการแล้ว ต้นทุนโครงการควรเป็นสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่ใช่แสดงในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (ซึ่งน่าจะเข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เรียกว่า "สินทรัพย์รอการขาย") ถ้าให้เดานะคะ... เมื่อบริษัทประสบปัญหา บริษัทก็จัดประเภทต้นทุนโครงการเสียใหม่ เป็นสินทรัพย์รอการขาย โดยย้ายจากสินทรัพย์หมุนเวียนไปเป็นไม่หมุนเวียน ซึ่งมีการตีมูลค่าไม่ต่างสินค้าคงเหลือ คือไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา แต่ต้องวัดมูลค่าด้วยราคาขายหักต้นทุนในการจำหน่าย ข้อแตกต่างระหว่างการจัดประเภทต้นทุนโครงการเป็นสินค้าคงเหลือหรือสินทรัพย์รอการขายต่างกันที่การจัดประเภทรายการ (ซึ่งมีผลต่อการวิเคราะห์งบการเงิน) การบันทึกรายได้ (ซึ่งมีผลต่อยอดขาย และการวิเคราะห์งบการเงิน) และการบันทึกต้นทุนขาย (ซึ่งมีผลต่อการวิเคราะห์งบการเงิน) ถ้าสินทรัพย์ที่มีอยู่เป็นสินค้าคงเหลือ เมื่อบริษัทขายสินทรัพย์ บริษัทจะ เดบิต ลูกหนี้หรือเงินสด เครดิต รายได้จากการขาย (เข้างบกำไรขาดทุนไปเพิ่มยอดขาย) และ เดบิต ต้นทุนขาย (เพิ่มค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน) เครดิต สินค้าคงเหลือ (ลดสินทรัพย์) แต่ถ้าสินทรัพย์นั้นจัดประเภทเป็นสินทรัพย์รอการขาย เมื่อบริษัทขายสินทรัพย์ บริษัทจะ เดบิต ลูกหนี้หรือเงินสด เครดิต สินทรัพย์รอการขาย (ลดสินทรัพย์โดยตรง ไม่บันทึกอ้อมไปเป็นรายได้) และเดบิต ขาดทุนจากการขาย หรือเครดิต กำไรจากการขาย (เข้างบกำไรขาดทุนเฉพาะส่วนต่าง ไม่มีผลต่อรายได้จากการขายในงบกำไรขาดทุน) สังเกตนะคะว่า ถ้าบริษัทจัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินทรัพย์รอการขาย นั่นหมายความว่า รายการนี้เป็น one-time gain /loss ไม่ใช่การขายสินค้าคงเหลือตามปกติธุรกิจ การวิเคราะห์งบการเงินระหว่างรายได้ 2 ประเภทนี้ ให้อารมณ์ที่ต่างกันมาก รายได้จากการขายถือเป็นปกติธุรกิจและเป็นเรื่องดี ยิ่งมากยิ่งดี แต่กำไรจากการขายสินทรัพย์รอการขายเป็นรายการที่ไม่เกิดตามปกติ เวลาวิเคราะห์ บางครั้งเราจะตัดกำไรจาก one-time gain ออก เพื่อ normalize earnings ดังนั้น การจัดประเภทรายการจึงมีผลต่อการวิเคราะห์มาก นั่นไม่รวมถึงการวิเคราะห์ efficiency ratios ต่างๆ เช่น การหมุนของสินค้าคงเหลือ ซึ่งยอดสินค้าคงเหลือยิ่งมากยิ่งไม่ดี (ดังนั้น เวลาที่ขายสินทรัพย์ไม่ได้ บริษัทจึงไม่อยากนำสินทรัพย์ไปแสดงเป็นสินค้าคงเหลือ แต่นำไปจัดประเภทเป็นสินทรัพย์รอการขาย แต่เวลาที่ขายได้ บริษัทชอบที่จะจัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินค้าคงเหลือเพื่อเพิ่มรายได้จากการขาย) ตอบแค่นี้พอได้อารมณ์ไหมคะ ผลกระทบต่อการวิเคราะห์งบการเงิน ถ้าจะแจงให้ละเอียดก็มีอีก แต่ถ้าเขียนหมดก็จะยาวมาก เอาแค่นี้นะคะ ที่เหลือคุณลองไปนั่งพิจารณาจากข้อมูลที่อาจารย์ให้คุณ :)
โดย
parporn
อังคาร ม.ค. 15, 2013 9:50 am
0
3
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
ขอบคุณมากครับ หลังจากไปแกะงบมาเพิ่ม พอจะรู้แล้วว่าสินทรัพย์นั้น คือ ที่ดิน เดิมทีบริษัทมีแผนจะพัฒนาที่ดินแปลงดังกล่าว ต่อมาเจอวิกฤติปี 40 ทำให้ โครงการล้มไปจนทุกวันนี้ นั่นอาจเป็นเหตุให้ถูกจัดอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ปัจจุบัน บริษัทมีแผนจะขายที่ดินแปลงนี้ในเร็วๆ นี้ จึงย้ายไปอยู่สินค้าคงเหลือ ไม่ค่อย make sense ถ้าเป็นที่ดินอย่างเดียว เพราะชื่อบัญชีควรเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ "ต้นทุน..." เพราะปกติบัญชีที่ขึ้นว่า "ต้นทุน.." ต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการก่อสร้างค่ะ
โดย
parporn
อาทิตย์ ม.ค. 13, 2013 10:25 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="parporn"][quote="deerfreedom"][quote="parporn"][quote="deerfreedom"]ถามหน่อยครับ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote] ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า[/quote] กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้แต่เดิมเป็น Asset ของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการให้เช่ามายาวนาน โดยไม่มีแนวคิดจะขายออก เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น จึงจัดให้ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ต่อมาทางบริษัทมีนโยบายจะขาย Asset ตัวนี้ เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าระดมทุนขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ย้ายต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มาอยู่ในสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แทน ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ ^^[/quote][/quote] ที่คุณพูดมาว่าต้นทุนโครงการมีไว้ให้เช่านั้น ไม่มีหลักการบัญชีอะไรรองรับค่ะ เพราะคำว่าต้นทุนโครงการฯ หมายถึงงานก่อสร้างที่ยังทำไม่เสร็จ ถ้าไม่เสร็จแล้วจะให้เช่าได้อย่างไร แต่อาจเป็นไปได้ที่แต่ก่อนตั้งใจสร้างไว้ใช้งานเอง แต่ภายหลังเปลี่ยนใจตั้งใจจะนำสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างนั้นออกมาขาย เลยจัดประเภทใหม่ให้เป็นสินค้าคงเหลือ (ตามปกติ ต้นทุนการก่อสร้างของบริษัทอสังหาริมทรัพย์คือ สินค้าคงเหลือประเภทงานระหว่างทำของบริษัท คำว่าสินค้าคงเหลือโดยธรรมชาติคือสินทรัพย์หมุนเวียน จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ การจัดต้นทุนโครงการไปไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน หมายความว่าบริษัทไม่ได้จัดประเภทสินทรัพย์นั้นเป็นสินค้าคงเหลือ ซึ่งก็ไม่ make sense หากสร้างไว้เพื่อขาย จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อบริษัทสร้างสินทรัพย์ไว้เพื่อใช้งานจึงจัดประเภทไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ก็ไม่ make sense อีก เพราะถ้าสินทรัพย์มีไว้ใช้งานจริง ทำไมจึงจัดประเภทไปเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอีก) อาจารย์ตอบคุณไม่ได้ว่าเหตุใดบริษัทปฏิบัติอย่างนั้น ขั้นต่อไป คุณต้องพยายามอ่านหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะบริษัทควรเปิดเผยไว้ว่าทำไมบริษัทจึงปฏิบัติอย่างนั้น บริษัทอาจมีเหตุผลที่ make sense ซึ่งอาจเป็นไปตามข้อสันนิษฐานที่ว่า ตอนเริ่มสร้าง ตั้งใจสร้างไว้ใช้เอง ต่อมาเปลี่ยนใจจึงจัดประเภทใหม่เพื่อนำออกขาย แต่เหตุการณ์อย่างนี้ไม่ควรเกิดบ่อยๆ ถ้าเกิดเป็นประจำก็ไม่ make sense อีกเหมือนกันค่ะ เปลี่ยนใจอะไรกันทุกปี :) เตือนนิดนึงค่ะ... จำนวนสินค้าคงเหลือมีผลกระทบกับการวิเคราะห์งบการเงิน ตามปกติ บริษัทไม่อยากแสดงสินค้าคงเหลือมากไป เพราะทำให้ ratios ไม่สวย
โดย
parporn
เสาร์ ม.ค. 12, 2013 1:02 am
0
2
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"][quote="parporn"][quote="deerfreedom"]ถามหน่อยครับ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote] ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า[/quote] กรณีนี้เป็นไปได้ไหมครับ ที่ว่าต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้แต่เดิมเป็น Asset ของบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการให้เช่ามายาวนาน โดยไม่มีแนวคิดจะขายออก เช่น ศูนย์ประชุม เป็นต้น จึงจัดให้ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ต่อมาทางบริษัทมีนโยบายจะขาย Asset ตัวนี้ เข้ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าระดมทุนขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ จึงได้ย้ายต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มาอยู่ในสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แทน ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะครับ ^^[/quote]
โดย
parporn
เสาร์ ม.ค. 12, 2013 12:38 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"][quote="parporn"]แต่ในเรื่องของสัญญาเช่าระยะยาว รายได้รอรับรู้เป็นรายการที่บริษัทยังไม่ได้เงินเข้ามาจริง (เป็นการบันทึกเตือนความจำตามระบบบัญชีมากกว่ารายการจริง) ดังนั้น เมื่อแสดงในงบดุล บริษัทจึงต้องนำรายได้รอรับรู้มาหักจากลูกหนี้ แทนที่จะแสดงเป็นหนี้สิน[/quote] 1. ผมยังไม่เข้าใจประเด็นนี้นะครับ "การบันทึกเตือนความจำตามระบบบัญชี" รบกวนช่วยอธิบายเพิ่มเติมได้ไหมครับ 2. "แต่ในเรื่องของสัญญาเช่าระยะยาว รายได้รอรับรู้เป็นรายการที่บริษัทยังไม่ได้เงินเข้ามาจริง" ดังนั้น กรณีนี้ก็จะไม่ไปโผล่ใน งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานใช่ไหมครับ แต่จะส่งผลให้ยอดสินเชื่อรวมในงบดุลลดลง ใช่ไหมครับ[/quote] 1. สัญญาเช่าระยะยาว คือ สัญญาที่ผู้ให้เช่าส่งมอบสินทรัพย์ให้ผู้เช่าไปก่อน แล้วทยอยรับเงินทีหลังเป็นงวดๆ ดังนั้น ณ วันเริ่มสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าจึงบันทึกลูกหนี้ไว้ทั้งจำนวน (ด้านขวาหรือเดบิต) ในขณะที่บันทึกด้านขวามือ (เครดิต) ด้วยการตัดสินทรัพย์ (หรือตั้งหนี้สิน) ด้วยจำนวนเท่ากับสินทรัพย์ที่ส่งมอบ (ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าลูกหนี้) จำนวนที่เขย่งกันระหว่างซ้ายกับขวา (เดบิตกับเครดิต) ทำให้บริษัทต้องบันทึกรายได้รอรับรู้ไว้ทางด้านขวามือ (เครดิต) แต่เนื่องจากเงินยังไม่ได้รับมาจริง รายได้รอรับรู้จึงมีลักษณะเป็นหนี้สินรอการตัดเป็นรายได้เมื่อรับเงิน จะเห็นว่าการบันทึกบัญชีข้างต้น มีลักษณะเป็นการเตือนความจำเกี่ยวกับสัญญาเช่าระยะยาว โดยการตั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ในเวลาเดียวกัน (ภาษาบัญชีที่ถูกต้องน่าจะเรียกว่า "รายการที่ไม่ใช่เงินสด") ซึ่งทำให้งบดุลบวมขึ้นทั้ง 2 ข้าง เวลาแสดงรายการบริษัทจึงต้องนำรายได้รอรับรู้ไปลบจากลูกหนี้เพื่อไม่ให้การบันทึกบัญชีมีลักษณะเหมือนเป็นการอุปโลกสินทรัพย์และหนี้สินขึ้นมาลอยๆ อาจารย์เรียกการบันทึกบัญชีลักษณะนี้ว่า "การบันทึกบัญชีเตือนความจำ" 2. การบันทึกบัญชีสัญญาเช่าระยะยาวถือเป็น "รายการที่ไม่ใช่เงินสด" หรือ "รายการที่ไม่เป็นเงินสด" รายการเหล่านี้จะไม่ปรากฎในเนื้อในของงบกระแสเงินสด แต่จะเป็นรายการเปิดเผยข้อมูลต่อท้ายงบกระแสเงินสดค่ะ
โดย
parporn
เสาร์ ม.ค. 12, 2013 12:36 am
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"]ถามหน่อยครับ ต้นทุนโครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในงบดุลปกติอยู่ในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ปีนี้มันย้ายมาอยู่ในสินค้าคงเหลือในสินทรัพย์หมุนเวียน แสดงว่า โครงการอสังหาดังกล่าว เตรียมจะดอนหรือขายในปีนี้ใช่ไหม ???[/quote] ต้นทุนโครงการพัฒนาน่าจะถือเป็นสินค้าคงเหลือซึ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าที่จะถือเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่อาจมีต้นทุนโครงการพัฒนาบางรายการที่บริษัทเห็นว่ามีประโยชน์ระยะยาวจึงจัดไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และเมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะมีประโยชน์ในระยะใกล้จึงจัดประเภทใหม่กลายมาเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน แต่ไม่ใช่เหตุการณ์ที่น่าจะปกติเท่าไร การจัดเป็นสินค้าคงเหลือน่าจะปกติกว่า
โดย
parporn
อังคาร ม.ค. 08, 2013 9:35 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="deerfreedom"]พอทราบไหมครับว่า "รายได้ทางการเงินรอรับรู้" ในหมายเหตุประกอบงบ คืออะไร อันนี้เป็นงบของบริษัท Leasing ครับ[/quote] การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสัญญาเช่าระยะยาว leases มันยุ่งๆ เอาง่ายๆ แล้วกัน ตามปกติ รายได้รอรับรู้คือหนี้สินรายการหนึ่ง บริษัทมักรับเงินเข้ามาก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่สามารถรับรู้รายได้ในงบกำไรขาดทุน บริษัทจึงบันทึกพักเงินที่รับมาก่อนนี้เป็นหนี้สิน (เดบิตเงินสด เครดิตรายได้รอรับรู้) ขณะที่รอเวลาให้เงื่อนไขการรับรู้รายได้เกิดขึ้นครบถ้วน แล้วจึงบันทึกลดหนี้สินและเพิ่มรายได้ แต่ในเรื่องของสัญญาเช่าระยะยาว รายได้รอรับรู้เป็นรายการที่บริษัทยังไม่ได้เงินเข้ามาจริง (เป็นการบันทึกเตือนความจำตามระบบบัญชีมากกว่ารายการจริง) ดังนั้น เมื่อแสดงในงบดุล บริษัทจึงต้องนำรายได้รอรับรู้มาหักจากลูกหนี้ แทนที่จะแสดงเป็นหนี้สิน
โดย
parporn
อังคาร ม.ค. 08, 2013 9:27 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
สวัสดีปีใหม่ 2556 ทุกคนค่ะ
โดย
parporn
อังคาร ม.ค. 01, 2013 6:45 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="Zolaa"]ถามต่อครับภาษีหรือดอกเบี้ยที่คำนวณตามเกณฑ์คงค้างนี่แสดงว่าเป็นจำนวนเงินที่ต้องจ่ายจริงใช่ไหมครับเวลาเราจะดูว่าบริษัทต้องจ่ายภาษีหรือจ่ายดอกเบี้ยก็ให้ดูค่านี้ใช่ไหมครับถึงแม้ว่าที่แสดงในกระแสเงินสดจะดูน้อยกว่า(จากหน้า184ที่ตัวอย่าง610แล้วในหน้า185เป็น444)ผมเข้าใจว่าในที่สุดบริษัทก็ต้องจ่าย610แม้ว่างวดนี้จะจ่ายเงินไปจริง444ไม่รู้ผมเข้าใจถูกไหมครับ ปล.อย่าเพิ่งรำคาญนะคร๊าบเจอลูกศิษย์โง่ก็แบบนี้ละครับ0.0[/quote] ถูกต้องค่ะ (ถูกต้องที่ความเข้าใจนะคะ ไม่ใช่ถูกต้องที่คุณเป็นลูกศิษย์โง่ อธิบายครั้งเดียวเข้าใจ... ฉลาดออก :) )
โดย
parporn
พฤหัสฯ. ธ.ค. 27, 2012 7:18 am
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="Zolaa"]มีข้อสงสัยอีกแล้วครับอาจารย์ในหนังสืออ่านงบการเงินให้เป็นหน้า184-185ในส่วนของงบกระแสเงินสด 1.ดอกเบี้ยจ่ายในหน้า184เขียนไว้เป็น610พอส่วนในหน้า185จ่ายดอกเบี้ย444มันคือยังไงครับทำไมไม่เท่ากันครับช่วยอธิบายหน่อยครับ 2.ในส่วนภาษีเงินได้กับการจ่ายภาษีเงินได้ก็เหมือนกันมันทำไมไม่เท่ากันครับมือใหม่งงมากครับอิอิ 3.เราจะรู้ได้อย่างไรว่าบริษัทเอาเงินจากไหนมาลงทุนให้สังเกตุตรงไหนของงบการเงินครับ[/quote] 1. ดอกเบี้ยจ่ายทั้งสองรายการปกติไม่เท่ากันค่ะ เพราะดอกเบี้ยจ่ายที่แสดงภายใต้กิจกรรมดำเนินงาน (เป็นรายการบวกกลับ) เป็นดอกเบี้ยจ่ายที่คำนวณตามเกณฑ์คงค้าง ปกติจะเป็นจำนวนเดียวกับดอกเบี้ยจ่ายที่แสดงในงบกำไรขาดทุน แต่ดอกเบี้ยจ่ายหรือจ่ายดอกเบียที่แสดงในกิจกรรมจัดหาเงิน เป็นดอกเบี้ยจ่ายที่คำนวณตามเกณฑ์เงินสด (ดอกเบี้ยที่ควักกระเป๋าจ่ายเงินสดออกไป) เหตุผลที่ดอกเบี้ยจ่ายเป็นบวกในกิจกรรมดำเนินงานก็เนื่องจากบริษัทต้องการนำจำนวนดังกล่าวมาจัดประเภทใหม่ภายใต้กิจกรรมจัดหาเงิน บริษัทจึงต้องบวกกลับรายการในกิจกรรมดำเนินงาน และนำมาลบให้ถูกที่ในกิจกรรมจัดหาเงินค่ะ 2. การแสดงภาษีเงินได้ใช้หลักการเดียวกับดอกเบี้ยจ่าย หากแต่การจัดประเภทรายการถูกต้องอยู่แล้วคือ ถือเป็นกิจกรรมดำเนินงาน ดังนัน เราจึงเห็นบริษัทบวกกลับรายการตามเกณฑ์คงค้างในกิจกรรมดำเนินงาน และนำมาลบออกจากกิจกรรมดำเนินงานเช่นกัน 3. ต้องสังเกตทุกกิจกรรม กิจกรรมใดเป็นบวก แสดงว่าเงินสดได้มาจากกิจกรรมนั้น (ถ้าดูรายละเอียดจะทราบว่ามาจากรายการอะไร) กิจกรรมใดที่เป็นลบแสดงว่าบริษัทจ่ายเงินไปเพื่อกิจกรรมนั้น (ดูรายละเอียดจะทราบ)
โดย
parporn
พุธ ธ.ค. 26, 2012 7:36 pm
0
2
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="Zolaa"]ขอสักหลายคำถามครับมือใหม่กำลังศึกษางบการเงิน 1.ในงบกระแสเงินสดในส่วนของ เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงานคือเงินสดทั้งหมดของบริษัทที่มีอยู่ในขณะนั้นใช่ไหมครับ 2. เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุนหมายถึงเงินสดที่ดึงมาจากเงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน ใช่ไหมครับ 3. เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงินหมายถึงเงินที่เหลือจากการลงทุนแล้วเอามาจ่ายปันผลจ่ายดอกเบี้ยใช่ไหมครับถ้าไม่พอก็กู้มาเพิ่มอย่างนี้ใช่ไหมครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ[/quote] 1. ไม่ใช่ค่ะ งบกระแสเงินสดทั้งงบคือ การแสดงการเปลี่ยนแปลงของเงินสดในระหว่างงวด (เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด - เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นงวด) โดยแจงออกเป็นกิจกรรมใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน 2. ไม่ใช่ค่ะ การเปลี่ยนแปลงของเงินสดที่แสดงแต่ละกิจกรรมเป็นของใครของของมัน การแสดงรายการแค่เพียงบอกว่ามีเงินเข้าเท่าไร ออกเท่าไร แต่ไม่ได้บอกว่าเงินที่เข้านั้นมากไหน เรื่องนั้นเราต้องพยายามวิเคราะห์เองค่ะ ว่าเงินสดที่นำมาใช้ในกิจกรรมลงทุนนั้นมาจากการดำเนินงานหรือจัดหาเงิน 3. ไม่เชิงค่ะ คำตอบคล้ายกับที่ตอบในข้อ 2 ค่ะ เงินสดที่นำมาจ่ายดอกเบี้ยและปันผล หรือแม้แต่จ่ายคืนหนี้สิน อาจมาจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน หรือแม้แต่กิจกรรมจัดหาเงินเอง งบกระแสเงินสดไม่ได้บอกว่าเงินมาจากไหน เราต้องวิเคราะห์เองจากตัวเลขที่แสดงค่ะ
โดย
parporn
อาทิตย์ ธ.ค. 09, 2012 5:23 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="ckung"]อยากขอสอบถามซัก 2 คำถามนะครับว่า 1. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นใช้หนี้สินส่วนไหนมาคำนวนครับ เช่น (เจ้าหนี้การค้า + หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน)/ส่วนของผู้ถือหุ้น = D/E ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นการที่บอกว่าบริษัทอย่าง CPALL ไม่มีหนี้ก็น่าจะไม่จริง 100% แต่เป็นมุมมองว่าไม่มีหนี้ระยะยาวมากกว่าใช่ไหมครับ 2. หนี้ที่เป็นเงินกู้ระยะยาวเช่นกู้แบงค์หรือออกหุ้นกู้เพื่อลงทุนจะอยู่ที่ส่วนไหนในงบการเงินครับ ขอบคุณมากๆล่วงหน้านะครับ[/quote] 1. หนี้สินทั้งสิ้นค่ะ รวมหนี้สินทุกรายการทุกประเภท 2. บางส่วนจะแสดงอยู่ในหนี้สินไม่หมุนเวียน แต่ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี จะแสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียน
โดย
parporn
อาทิตย์ พ.ย. 25, 2012 8:55 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="AleAle"]สอบถามเรื่องการทำงบรวมครับ ว่ารายการในกรอบสีแดงนี้ ตอนทำงบรวมมันเดินรายการสำหรับบริษัทใหญ่ และบริษัทย่อยยังไงครับ [attachment=0]คชจ.บริหาร.JPG[/attachment][/quote] ตอบให้แล้วในหน้า fanpage ของอาจารย์ค่ะ
โดย
parporn
ศุกร์ พ.ย. 16, 2012 9:02 am
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="kkbns"]ได้ลองอ่านหนังสือ อาจารย์ภาพร จนจบ แล้วครับ ขอบคุณมากครับที่ได้เขียนหนังสือดีๆอย่างนี้ขึ้นมาครับ แต่พอดีผมมีปัญหาติดใจ อยู่ นิดนึงอ่ะครับ ในงบกระแสเงินสดอ่ะครับในส่วนของ เงินได้มา(ใช้ไป)ในกิจกรรมดำเนินงานอ่ะครับ เนื่องจากพยายามแกะงบในบริษัท จดทะเบียนดูแล้วเจอปัญหาดังนี้ครับ 1.หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) หากค่าเป็น บวก หมายถึงว่า บริษัทตั้งหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้ในงวดนั้นแต่ไม่ได้เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงเลยบวกกลับใช่ไหมครับ หากค่าเป็นลบ หมายถึงว่า หนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญที่เคยตั้งเป็นค่าใช้จ่ายในงวดก่อน สามารถเก็บเงินได้ จึงนำมาบันทึกเป็นรายได้แล้วในงบเฉพาะกำไรขาดทุนซึ่งได้รวมอยู่ในกำไรสุทธิสำหรับงวดนั้นอยู่แล้ว เพื่อเป็นการไม่ให้บวกซ้ำสองรอบเลยน้ำมาหักออก ใช่ไหมครับ 2.ขาด(กำไร)ที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากอัตราแลกเปลี่ยน อันนี้อยู่ในส่วนของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นหรือเปล่า ผมก็หาไม่เจออ่ะครับ ส่วนที่ว่าอยู่ในงบเฉพาะกำไรขาดทุนก็ไม่เห็นจะมีตั้งเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เลยอ่ะครับ หากตั้งมันจะอยู่ในส่วนไหนหรอครับ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร หรือแยกต่างหากเลย อยากทราบว่า มันมาจากไหนหรอครับ เนื่องจากบริษัทนี้ มีการส่งออกไปต่างประเทศ แล้วเกี่ยวข้องกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วย แล้วที่จริงงบในไตรมาสนั้น พร้อมทั้งงวดเก้าเดือน ก็มีรายการกำไรจากการปริวรรตค่าเงินในงบเฉพาะกำไรขาดทุนด้วยซ้ำ แต่ในขณะเดียวกันกลับมีรายการนี้ที่แสดงค่าเป็น บวก ในงบกระแสเงิดสดในจำนวนที่ค่อนข้างมีนัยสำคัญเลยครับ เลยอยากจะขอคำชี้แนะในเรื่องของที่มาของรายการนี้ พร้อมทั้งความหมายหากค่าเป็นบวก และค่าเป็นลบ ด้วยอ่ะครับ ผมเป็นมือใหม่น่ะครับ หากผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยนะครับ[/quote] ข้อ 1 หลักการง่ายๆ ในการดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในงบกำไรขาดทุนคือ เมื่อกำไรสุทธิที่นำมาเป็นตัวตั้งนำมาจากงบกำไรขาดทุน ซึ่งบันทึกตามเกณฑ์คงค้าง เราต้องทำการปรับกำไรตามเกณฑ์คงค้างให้เป็นกำไรตามเกณฑ์เงินสด โดยนำรายการใดๆ ที่บันทึกตามเกณฑ์คงค้าง (โดยไม่มีเงินสดเกี่ยวข้อง) ในงบกำไรขาดทุนมาปรับเข้าหรือออกในงบกระแสเงินสด ดังนั้น รายการที่ลบในงบกำไรขาดทุน ต้องนำมาบวกในงบกระแสเงินสด เช่น หนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเสื่อมราคา ส่วนรายการอะไรที่เป็นบวกในงบกำไรขาดทุนต้องนำมาลบในงบกระแสเงินสด เช่น หนี้สูญกลับบัญชี ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ข้อ 2 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ใช่กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารรายการหนึ่ง บางครั้งเวลาบริษัทแสดงรายการนี้ เขาจะนำไปแสดงรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ทำให้เราไม่เห็นรายการนี้แยกแสดงต่างหากในงบกำไรขาดทุน แต่จะสามารถเห็นได้ในงบกระแสเงินสด ระวังนิดนึงนะคะ กฎบัญชียุ่งยากหยุมหยิม สิ่งที่บอกไปครอบคลุมรายการส่วนใหญ่ แต่บางครั้งข้อยกเว้นอาจทำให้รายการบันทึกบัญชีต่างไปจากที่บอกไว้ กำไรจากการปริวรรตเงินตราเป็นบวกในงบกำไรขาดทุนต้องนำมาลบออกจากงบกระแสเงินสด
โดย
parporn
ศุกร์ พ.ย. 16, 2012 9:02 am
0
2
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="Zolaa"]มือใหม่นะครับตอนนี้กำลังศึกษาการดูงบการเงินอยู่ครับมีคำถามดังนี้ครับ 1.กรณีการดูงบกระแสเงินสดนี่ระหว่างบริษัทที่เงินสดสุทธิติดลบนี่ถ้าเทียบในอุตสาหกรรมเดียวกันกับบริษัทที่มีค่าบวก แสดงว่าบริษัทที่มีค่าบวกนี่ควรจะดีกว่าใช่ไหมครับ(ดูจากข้อสรุปสนเทศของบริษัท) 2.ในกรณีที่เงินสดสุทธิจากกิจกรรมหาเงินเป็นลบแต่ต้องกู้มาจ่ายปันผลนี่แสดงว่าบริษัทเริ่มไม่ดีแล้วใช่ไหมครับ 3.เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสิ้นงวดหมายถึงเงินสดที่บริษัทมีในมือล่าสุดใช่ไหมครับควรมีค่าเป็นบวกใช่ไหมครับ(ผมคิดว่างั้น) 4.เงินสดควรจะมีสัดส่วนเป็นอย่างไรถ้าเทียบกับหนี้สิน(จะเทียบกับหนี้อะไรระหว่างหนี้สินหมุุนเวียนกับไม่หมุนเวียน)ถึงจะดี ขอบคุณล่วงหน้าครับ[/quote] 1. อาจเป็นอย่างนั้นค่ะ แต่ถ้าเราดูที่ค่าสุทธิเพียงตัวเดียว เรื่องจริงอาจไม่เป็นอย่างนั้น เพราะบางบริษัทอาจได้เงินสดจากการดำเนินงานมาก แต่จ่ายลงทุนและจ่ายหนี้สินมากกว่า เงินสดสุทธิจึงเป็นลบ เทียบกับบริษัทที่มีเงินสดจากการดำเนินงานเป็นลบ แต่กู้เงินและขายสินทรัพย์ลงทุนจนได้กระแสเงินสดเป็นบวก บริษัทแรกที่เงินสดติดลบจะดีกว่าบริษัทที่สองที่เงินสดเป็นบวกค่ะ ทางที่ดี ควรแยกดูกระแสเงินสดตามหมวด คือ หมวดดำเนินงาน หมวดลงทุน และหมวดจัดหาเงิน แล้วดูไส้ในแต่ละหมวดว่าเงินสดเกิดจากอะไร เช่น หมวดดำเนินงาน ถ้าเกิดจากการดำเนินงานก็ดี แต่ถ้าเกิดจากการก่อหนี้ระยะสั้นก็ไม่ดี 2. ถ้ารู้ชัดๆ ว่ากู้เงินมาจ่ายปันผลก็ไม่ดีค่ะ แต่บางทีเราบอกไม่ได้ขนาดนั้น อาจต้องลงไปดูอัตราความเพียงพอของเงินสด คือดูว่าบริษัทหาเงินจากการดำเนินงานเพียงพอที่จ่ายหนี้ ดอกเบี้ย ปันผล และสินทรัพย์หลักหรือไม่ 3. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดสิ้นงวด เป็นสินทรัพย์รายการแรกในงบดุล ดังนั้น ต้องไม่ติดลบค่ะ 4. เวลาวิเคราะห์สภาพคล่อง อัตราส่วนที่ใช้มาจากสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์หมุนเวียนเร็วที่มีเงินสดเป็นส่วนประกอบ ไม่เคยเห็นสูตรสำเร็จที่บอกว่าเงินสดควรมีสัดส่วนเท่าไร แต่ที่แน่ๆ คือ บริษัทควรถือเงินสดเท่าที่จำเป็นตามลักษณะธุรกิจ และมากพอที่จะทำให้ไม่เกิดปัญหาสภาพคล่อง แต่บริษัทไม่ควรถือเงินสดมากเกินไป เพราะจะทำให้เสียโอกาสในการลงทุนค่ะ
โดย
parporn
อาทิตย์ พ.ย. 04, 2012 9:18 pm
0
2
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="jverakul"]ขอบคุณครับอาจารย์ parpon สงสัยผมตั้งคำถามผิด ทำให้อาจารย์เข้าใจคลาดเคลื่อนครับ ที่ผมจะถามคือ Mr.john ไปเทคโอเวอร์ บมจ. ลิเวอร์พูล ที่มูลค่าประมาณ600 ล้านปอนด์ จนสำเร็จ ซึ่งเงินจำนวนนี้ Mr.john กู้ยืมจากธนาคาร ไปๆมาๆ หนี้จำนวนนี้ก็กลายมาเป็นหนี้ บมจ.ลิเวอร์พูล ผมเลยสงสัยว่าเขามีวิธีการอย่างไรที่จะโอนหนี้ของตัวเองให้เป็นหนี้ของบริษัทที่่ตัวเองเทคโอเวอร์ เพราะที่ติดตามข่าวดู ในตปท.จะเป็นแบบนี้เยอะมาก[/quote] ลองใหม่อีกที เข้าไปนั่งอ่านเรื่องหนี้สินของสโมสรฟุตบอล ไม่มีตรงไหนเลยที่บอกว่าเจ้าของได้โอนหนี้ไปให้สโมสรตรงๆ แต่ในทางอ้อมคือ เมื่อเจ้าของเข้าถือหุ้นบริษัทจนสามารถควบคุมบริษัทได้ เจ้าของก็จะสั่งให้บริษัทกู้ยืมเงิน (กรณีแมนยูมีการออกหุ้นกู้โดยเอาสินทรัพย์ของสโมสรเป็นประกัน แถมเงินกู้ส่วนตัวของ Glazers ก็มีสินทรัพย์ของสโมสรเป็นประกันด้วย) เงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้นำไปใช้ทำอะไรเขาไม่ได้บอก แต่ถ้าจะให้เดาก็คือ แมนยูต้องจ่ายเงินกลับไปให้กับ Glazers ในลักษณะค่าใช้จ่ายหรือเงินปันผลหรือซื้อสินทรัพย์จาก Glazers (อาจจะทำทุกข้อข้างต้น) ทำให้เงินไหลออกจากบริษัทไปที่ Glazers ส่วน Glazers ก็นำเงินนั้นไปจ่ายหนี้สินของตัวเอง เท่านั้นหนี้สินของ Glazers ก็จะกลายเป็นหนี้สินของสโมสร ในกรณีของแมนยู Glazers เข้าถือหุ้นจนบริษัทต้องออกจากตลาดเพราะ Glazers ถือหุ้นคนเดียวเกือบ 100% หรือ 100% ดังนั้น การจะกำหนดให้สโมสรจ่ายเงินให้ตัวเองจึงทำได้ในเกือบทุกลักษณะ ที่พูดมาก็เป็นเรื่องเดา เพราะไม่มีใครเขายอมเปิดเผยว่าเขาทำอย่างไรกันจริงๆ แต่ในทางบัญชี มีทางเป็นไปได้ไม่กี่รูปแบบคือ 1. เงินสดต้องไหลออกจากบริษัทไปหาผู้ถือหุ้น 2. บริษัทต้องเดบิตรายการอะไรสักอย่าง หรือทุกอย่างต่อไปนี้ 2.1 ค่าใช้จ่าย เช่น เงินเดือนผู้บริหารที่จ่ายให้ Glazers ค่าบริหาร ค่าสิทธิบัตร ค่าอะไรต่อมิอะไร ฯลฯ 2.2 สินทรัพย์ เช่น ที่ดิน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ลูกหนี้ ฯลฯ ในกรณีของลูกหนี้ ถ้า Glazers เป็นลูกหนี้สโมสร Glazers ก็ทยอยเอาเงินออกจากสโมสรมาจ่ายหนี้ให้สโมสรเองแบบอัฐยายซื้อขนมยาย เพราะตอนแรกเมื่อลูกหนี้เกิด เงินไหลออกจากสโมสรไปหา Glazers แล้ว ต่อมาเมื่อ Glazers ต้องการชำระหนี้ให้บริษัท Glazers ก็เอาเงินปันผลมาจ่ายให้บริษัทได้ 2.3 บันทึกเป็นเงินปันผลจ่าย ในทางบัญชีที่เป็นไปได้มีแค่นี้ค่ะ เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ หรือจะกลับไปโครงสร้างเดิมที่ตอบไปแล้วคุณบอกว่าตอบไม่ตรงคำถาม แต่ก็นำมาใช้ไซฟอนเงินออกจากบริษัทได้เหมือนกัน นั่นคือ Buyer ซื้อบริษัท A แล้วให้ A ไปกู้ยืมเงินเพื่อมาซื้อหุ้นบริษัท B (ซึ่งเป็นของ Buyer) เงินก็จะไหลออกไปหา Buyer ผ่านทางบริษัท B แต่จะอย่างไรก็ตาม รายการระหว่างเจ้าของกับบริษัท B หนีไม่พ้นที่จะต้องออกมารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามที่พูดมาแล้วข้างต้นค่ะ หวังว่าคำตอบนี้คงไม่ "หลุด" อย่างคำตอบแรกนะคะ ถ้าอาจารย์สรรพงศ์หายป่วย อาจกลับมาให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วย
โดย
parporn
อาทิตย์ พ.ย. 04, 2012 8:47 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="jverakul"]เรียนถามอาจารย์ครับ ผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเทคโอเวอร์ครับ ยกกรณี การซื้อหุ้นทีมฟุตบอลแมนยู กับ ลิเวอร์พูล โดยมีชาวอเมริกันเป็นคนเทคโอเวอร์ ปกติคนเทคโอเวอร์จะเป็นคนจ่ายเงินในการซื้อหุ้น ถ้าไม่พอ ก็จะไปยืมธนาคาร ซึ่งคนเทคฯ ก็จะเป็นหนี้ แต่เท่าที่ผมอ่านตามข่าว เวลาเขาเทคฯ เสร็จ กลายเป็นว่าทั้งสองทีมกลับมีหนี้เพิ่มขึ้นจากการซื้อหุ้นของนักเทคฯ ผมเลยไม่เข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน และวิธีการเทคฯ และทำไมหนี้ของนักเทคฯ กลายมาเป็นของบริษัทได้ครับ รบกวนอาจารย์ช่วยอธิบายให้หน่อยนะครับ[/quote] อาจารย์สรรพงศ์ไม่ค่อยสบายค่ะ เลยเข้ามาช่วยตอบ อาจารย์ภาพรไม่ทราบเรื่องการ takeover ของทีมฟุตบอลพวกนี้ แต่ถ้าจะให้เดาคือ คนที่ takeover เข้าเทคทีมฟุตบอลแรกด้วยเงินตัวเอง พอบริษัทเป็นของตัวแล้ว การบริหารก็เป็นเรื่องง่าย จากนั้น คนที่เทคโอเวอร์จะสั่งให้ทีมฟุตบอลแรกกู้ยืมเงินเพื่อมาซื้อทีมฟุตบอลที่สอง หนี้สินที่นำมา takeover ทีมฟุตบอลที่สองก็เป็นของทีมฟุตบอลที่ 1 (เข้าใจว่าอยู่ในรูปบริษัท) ไม่ใช่หนี้ส่วนตัว พอทีม 2 ถูกควบคุมแล้ว ผู้บริหารก็สั่งให้ทีม 2 กู้ยืมเงินแล้วมาซื้อหุ้นบางส่วนคืนจากผู้ takeover หรือซื้อหุ้นเพิ่มทุนของทีมที่ 1 เท่านี้ทีมฟุตบอลทั้ง 2 ก็เป็นหนี้ด้วยกันทั้งคู่และอาจมีการถือหุ้นไขว้กัน โดยผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังคือ คน takeover ข้อสำคัญกรณีนี้คือ คน takeover ต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีอำนาจควบคุมตลอดค่ะ
โดย
parporn
อาทิตย์ พ.ย. 04, 2012 8:36 am
0
0
Re: อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน Investment Property
[quote="Kaiser"]เรียนถามอาจารย์ภาพรครับ หลายปีก่อน บริษัทหนึ่งได้ซื้อที่ดินเปล่าแปลงหนึ่งไว้ เพื่อตั้งใจจะเพิ่มกำลังการผลิตและสร้างโรงงานที่ 2 ในที่ดินที่ซื้อมาใหม่ โดยบันทึกที่ดินนั้นในรายการ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ในราคาทุน แต่ต่อมาคณะกรรมการบริษัทได้มีมติที่จะยกเลิกแผนการสร้างโรงงานที่ 2 แล้ว และมีมติให้ดำเนินการขายที่ดินเปล่าแปลงนั้นไป กรณีนี้เท่ากับว่าที่ดินเปล่านั้นไม่ได้มีไว้เพื่อประกอบธุรกิจปรกติของบริษัทแล้ว แต่ปัจจุบันบริษัทก็ยังคงบันทึกที่ดินแปลงนี้ในรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เหมือนเดิม อยากถามว่า ตามมาตรฐานบัญชี จะต้องย้ายรายการที่ดินแปลงนี้ในงบดุลเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนหรือไม่ครับ แล้วจำเป็นต้องเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมในหมายเหตุประกอบงบหรือไม่ครับ ขอบคุณครับ[/quote] ขอโทษค่ะที่ตอบช้า เพราะบทความลงไปอยู่ท้ายๆ มองไม่เห็น ถ้าให้ตีความตามจุดประสงค์ ที่ดินนั้นน่าจะแยกออกมาเป็น สินทรัพย์รอการขาย แล้วต้องตีราคาตามราคาที่ต่ำกว่าระหว่างราคาทุนหรือราคาที่คาดว่าจะขายได้หักต้นทุนการจำหน่าย เพราะโดยจุดประสงค์ ที่ดินนี้ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม หากบริษัทบอกว่าจะเก็บที่ดินเพื่อเก็งกำไรหรือเพื่อให้เช่า ถ้าเป็นอย่างนั้นที่ดินก็เป็นอสังหาเพื่อการลงทุน และบริษัทจะเลือกแสดงด้วยวิธีราคาทุนหรือมูลค่ายุติธรรมก็ได้
โดย
parporn
อาทิตย์ พ.ย. 04, 2012 8:20 am
0
0
Re: ต้นทุนขาย
[quote="i-salmon"]Re : A.Parporn ขอบคุณครับ ลองไปโหลดอ่านดูแล้ว เนื้อหาเยอะมากเลยครับ ทีแรกผมคิดว่าน่าจะพออยู่บันไดกลางๆได้ ตอนนี้คิดว่าผมต้องเข้าคอร์สบันไดชั้นใต้ดินแล้วครับ T^T สรุปว่า ต้นทุนผลิตของสินค้าที่ยังไม่ได้ขาย ต้องเครดิต ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการผลิตทุกรายการ แต่เก็บมูลค่าไว้ในรูปของ สินค้าคงเหลือ(WIP) ในงบดุล โดยถ้าหากมีการแปรรูปเป็นก็บวกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง แล้วเก็บมูลค่อยู่ใน สินค้าคงเหลือ(FG) และเมื่อมีรายการขายสินค้าสำเร็จรูป จึงค่อยดึงค่าใช้จ่ายตรงนั้นมารับรู้เป็นต้นทุนขาย ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือเปล่าครับ ><[/quote] ค่่อนข้างถูกนะคะ เพียงแต่ระวังคำศัพท์ที่ใช้นิดนึง สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์ แต่ต้นทุนขายเป็นค่าใช้จ่ายค่ะ คำศัพท์พวกนี้ล้อเล่นไม่ได้เพราะแสดงอยู่คนละงบการเงิน และมีผลต่อการวิเคราะห์มากค่ะ
โดย
parporn
พุธ ต.ค. 31, 2012 12:16 pm
0
1
Re: สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
[quote="i-salmon"]รบกวนถาม 2 ข้อครับ 1) เครื่องหมายการค้าบริษัทดังๆ เช่น โออิชิ บริษัทสามารถเลือกไม่บันทึกเป็น intangible asset ได้ไหมครับ ? 2) ความสามารถที่โดดเด่นขององค์กร เช่น ความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ วัฒนธรรมองค์กร จะไม่มีทางรับรู้เป็น intangilbe assets ได้เลยใช่หรือไม่ ? หากไม่มีการซื้อกิจการมากกว่าราคาทุนเดิมและบันทึกเป็น goodwill[/quote] 1. เครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นภายในบริษัท (ไม่ได้ซื้อมา) และไม่มีราคาซื้อขายในตลาด ไม่สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ถ้าให้เดาจะเดาว่า เครื่องหมายการค้า โออิชิ ได้มีการบันทึบัญชีเฉพาะรายจ่ายที่เกิดจริงที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและรายจ่ายจริงอื่นๆ แต่ตัว brandname โออิชิไม่น่าจะบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน 2. ถูกส่วนใหญ่ค่ะ นิดเดียวตรงสุดท้าย ถ้าบริษัทใหญ่ซื้อบริษัทย่อยในราคาที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม (คุณพูดเป็น "ราคาทุนเดิม" ซึ่งไม่ถูกต้อง) และบริษัทใหญ่เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเข้าเงื่อนไขที่จะบันทึกบัญชีได้ (เช่น ระบุ เป็นอิสระจากสินทรัพย์อื่น ประเมินมูลค่าได้ ประมาณนั้น) บริษัทใหญ่ต้องบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแยกจาก goodwill รายละเอียดมีอยู่ในเอกสารการสอนบันไดขั้นที่ 1 เช่นกันค่ะ
โดย
parporn
อาทิตย์ ต.ค. 21, 2012 9:01 am
0
1
Re: ต้นทุนขาย
[quote="i-salmon"]การรับรู้ค่าใช้จ่ายการผลิตเป็นตามเกณฑ์คงค้าง ถูกไหมครับ ดังนั้น เมื่อมีการผลิตสินค้าขึ้น ต่อให้ผลิตมากมายเพียงใด ถ้าไม่มีการจำหน่ายสินค้า จะไม่ถูกรับรู้ เป็น ต้นทุนขาย ทั้งนี้ อยากรบกวน ถามเรื่อง เดบิต เครดิต หน่อย ปกติแล้วเมื่อ ขายสินค้า ออกไป บัญชีจะ บันทึก เดบิต ค่าใช้จ่าย เครดิต สินค้าคงเหลือ แล้วถ้าหาก ผลิตสินค้า เข้ามา บัญชีจะบันทึกอย่างไร ? เดบิต สินค้าคงเหลือ เครดิต เงินสด/เจ้าหนี้การค้า ???? (สงสัยประมาณว่า ต้นทุนผลิต มีทั้งต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรงทางตรง,ทางอ้อม, ค่าเสื่อมราคา ฯลฯ ต้อง เดบิต เครดิต รายการที่เกี่ยวข้องทุกรายการใช่หรือเปล่า)[/quote] ผลิตมาก แต่ไม่ขาย ต้นทุนขายจะไม่เกิด ในการรับรู้ต้นทุนขาย นักบัญชีมีเทคนิคการบันทึกบัญชีที่ยุ่งนิดหน่อย โดยเฉพาะการบันทึกต้นทุนผลิตเป็นต้นทุนขาย คุณเข้าไปที่ ดร.ภาพร เอกอรรถพร (fanpage) ในนั้นจะมีเอกสารบรรยายบันไดขั้นที่ 1-3 เรื่องการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับต้นทุนผลิตและต้นทุนขายจะแสดงอยู่ในนั้น มีการเดบิตเครดิตในรายละเอียด ช่วยอ่านตรงนั้นก่อน ถ้าติดตรงไหน ค่อยถามกลับมานะคะ
โดย
parporn
อาทิตย์ ต.ค. 21, 2012 8:50 am
0
0
Re: บทความความรู้ด้านบัญชี
[quote="nirawal.thu"]ขอบคุณมากเลยค่ะ ตอนนี้เปิดจาก skydrive ได้แล้วค่ะ ขอให้สุขภาพแข็งแรง หายจากหวัดไวๆนะคะ นอกจากออกกำลังกายแล้ว พักผ่อนให้มากๆด้วยนะคะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ [quote="Ii'8N"]ต้องขอโทษครับ มาดึกไปหน่อย เพราะต้องออกไปออกกำลัง เนื่องจากเป็นหวัดไอไม่หยุด (หวัดมันดื้อมา 3 อาทิตย์แล้ว หาหมอขนาดกินยา antibiotics ก็ยังไม่หาย เจออากาศเปลี่ยนแปลง แล้วทำงานแต่อยู่ office สุขภาพเลยอ่อนแอไม่มีภูมิต้านทานเหมือนตอนเด็กๆ ที่ทำงานลุยตาม site งาน) ต้องแก้ด้วยวิธีดังเดิมธรรมชาติ ด้วยการไปวิ่งให้ร่างกายร้อนๆ ตั้งแต่เลิกงาน ใช้เวลาออกกำลังนานหน่อยเลยกว่าจะมาทำให้จนจบได้ เพิ่งส่งไปให้แล้วนะครับ และมีบทความที่อ.ภาพร เขียนลงในวารสารวิชาชีพบัญชี อีก 5-6 บทความ เผื่อท่านอื่นจะใช้ด้วย ทั้งหมดก็เลย up ลง skydrive ด้วย[/quote][/quote] อย่าลืมเข้าไปที่ ดร.ภาพร เอกอรรถพร (fanpage) ด้วยนะคะ มีบทความอยู่บ้าง เผื่อได้ประโยชน์ค่ะ
โดย
parporn
ศุกร์ ต.ค. 05, 2012 8:45 am
0
1
Re: บทความความรู้ด้านบัญชี
[quote="young_5432"]ตกลงบทความของนิสิต ยังมีไหมครับ รึว่าไป post ที่อื่นแล้ว ขอบคุณครับ[/quote] ไม่มีแล้วค่ะ ได้คะแนนแล้วแจวอ้าว จบไปทำงานหมดแล้วค่ะ
โดย
parporn
พุธ ต.ค. 03, 2012 7:04 pm
0
0
Re: บทความความรู้ด้านบัญชี
[quote="Ii'8N"][quote="parporn"][quote="nirawal.thu"]อาจารย์คะ หนูไปหาซื้อหนังสือแกะเงื่อนงบการเงินที่ซีเอ็ดหลายสาขา แต่ก็ไม่พบค่ะ ขอเรียนถามอาจารย์ว่าจะหาซื้อได้ที่ไหนบ้างคะ[/quote] หนังสือไม่มีแล้วค่ะ ที่อาจารย์ก็หมดเหมือนกัน คงต้องขอถ่ายเอกสารจากเพื่อนๆ ค่ะ[/quote] ถ้าอาจารย์อนุญาตให้ copy ได้ เพราะไม่ทำขายแล้ว ขออนุญาตบอก link ที่อยู่ใน ThaiVI Multimedia Forum ที่มีคน scan ไว้ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=15&t=43979&p=697219#p697219 (แต่ของผมมีฉบับพิมพ์ปี 49 ซื้อมาตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก ThaiVI)[/quote] ตามสบายค่ะ อาจารย์ไม่หวง :)
โดย
parporn
อังคาร ต.ค. 02, 2012 7:49 pm
0
3
Re: บทความความรู้ด้านบัญชี
[quote="nirawal.thu"]อาจารย์คะ หนูไปหาซื้อหนังสือแกะเงื่อนงบการเงินที่ซีเอ็ดหลายสาขา แต่ก็ไม่พบค่ะ ขอเรียนถามอาจารย์ว่าจะหาซื้อได้ที่ไหนบ้างคะ[/quote] หนังสือไม่มีแล้วค่ะ ที่อาจารย์ก็หมดเหมือนกัน คงต้องขอถ่ายเอกสารจากเพื่อนๆ ค่ะ
โดย
parporn
เสาร์ ก.ย. 29, 2012 9:25 am
0
0
Re: บทความความรู้ด้านบัญชี
[quote="CHAI_YO"][quote="parporn"][quote="wann"]เรียน อ.ภาพร ดิฉันเป็นมือใหม่จริงๆ อยากขอให้อาจารย์แนะนำตั้งแต่การหาข้อมูลเรื่องการเงิน บางครั้งเห็นงบที่ออกมาแล้วยังงงๆว่าอ่านยังไง และจะหาข้อมูลเหล่านี้ได้ที่ไหน อยากขอให้ปูพื้นตั้งแต่ง่ายๆได้ไหมคะ เพราะบทความที่โพสต์บางครั้งก็ยังยากเกินไปสำหรับมือใหม่อย่างดิฉัน คิดว่าคงจะมีหลายคนที่เป็นแบบนี้ แต่ถ้าเป็นคำถามที่แย่มาก ดิฉันก็ขออภัยมาณ.ที่นี้ ขอบคุณค่ะ[/quote] มีคำถามเรื่องอื่นที่ไม่ใช่คำถามบัญชี เข้า fb ของอาจารย์ดีไหมคะ ดร.ภาพร เอกอรรถพร พูดในนี้เดี๋ยวพาดพิงไปถึงหนังสือ เดี๋ยวจะกลายเป็นโฆษณา ผิดวัตถุประสงค์ของทาง thaivi เขา[/quote] ขออนุญาติโฆษณาให้อาจารย์เองครับ หนังสือ "อ่านงบการเงินให้เป็น" เป็นหนังสือบัญชีที่คนธรรมดาอ่านแล้วรู้เรื่อง เป็นหนังสือบัญชีที่เรียบเรียงได้ดี เข้าใจง่าย ปล. อาจารย์น่าจะเขียนหนังสือแนว การแกะงบกับการเล่นหุ้น อีกซักเล่ม เพราะจะได้ดูว่าราคาหุ้น สัมพันธ์กับงบบัญชี อย่างไร [attachment=0]9786160803712L.gif[/attachment][/quote] ขอบคุณค่ะ ถ้ามีโอกาสจะพิจารณาเขียนให้ค่ะ
โดย
parporn
จันทร์ ก.ย. 17, 2012 8:08 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="mcthanyawat17"]ในกรณีที่ บริษัทเพิ่มทุน จะทำให้ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เพิ่มขึ้นใช่มั้ยคับในงบดุล แล้วส่วนเกิน (ต่ำกว่า) มูลค่าหุ้น จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงคับ และถ้าต่อมา บริษัทมีการนำเงินที่เพิ่มทุนไปลงทุน ส่วนไหนของงบดุลจะต้องหายไปคับ[/quote] การเพิ่มทุนด้วยเงินสด 1. เงินสดจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทรับเงินสดมา เกิดได้ 2 กรณีคือ รับเงินสดมาเกินจากราคาพาร์ หรือรับเงินสดต่ำกว่าราคาพาร์ 2. ทุนเรือนหุ้นเพิ่มขึ้นเท่่ากับราคาพาร์ 3. ส่วนเกินทุนเพิ่มขึ้น หากรับเงินมาสูงกว่าราคาพาร์ หรือส่วนต่ำกว่าทุน (รายการหักจากทุนเรือนหุ้น) เพิ่มขึ้นถ้ารับเงินต่ำกว่าราคาพาร์ ต่อมาถ้่าบริษัทนำเงินำปลงทุน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เงินสดลดลง และเงินลงทุนเพิ่มขึ้นค่ะ
โดย
parporn
ศุกร์ ส.ค. 31, 2012 7:36 am
0
0
Re: ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
[quote="itnas"][quote="aai_aai"][quote="miracle"]มีประเด็นต่อเนื่องไปอ่านเจอมาแล้วงงอยู่ เป็นเรื่องของนักบัญชีคิดกับนักการเงินคิด ว่าดอกเบี้ยที่เกิดระหว่างการซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์. คิดเป็นค่าใช้จ่ายทันทีหรือเป็นดอกเบี้ยดำเนินการ ประเด็นนี้อ่านแล้วงงอยากยิ่งยวด:)[/quote] เรื่องเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้ยืมเงินมา "สร้าง" อาคารและอุปกรณ์ อาจบันทึกรวมในอาคารและอุปกรณ์ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กฎบัญชีกำหนด แทนที่จะบันทึกเป็นดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที แต่ถ้าบริษัทกู้ยืมเงินมา "ซื้อ" ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดอกเบี้ยนั้นต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทันทีไม่มีข้อแม้ ดอกเบี้ยจ่ายต้องแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบกำไรขาดทุน ไม่นำไปรวมกับค่าใช้จ่ายในการขายหรือบริหาร โดยแสดงก่อนภาษีเงินได้ ถ้าสนใจอยากหาความรู้ต่อ ให้อ่านเรื่อง "ต้นทุนการกู้ยืม" และ "ต้นทุนขาย" ดูได้นะคะ เพราะใน 2 เรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยจ่ายและค่าเสื่อมราคา (ที่อาจมีดอกเบี้ยจ่ายรวมอยู่) ที่เกิดกับอาคารและอุปกรณ์ที่บริษัทสร้างใช้เองค่ะ[/quote] ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ กรณีที่เรากู้เงินมาสร้างอาคาร ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างการสร้างอาคารสามารถนำมาบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารในงบดุลได้ แต่ถ้ากรณีที่อาคารนั้นสร้างเสร็จแล้วพร้อมเข้าใช้งาน ดอกเบี้ยที่ยังคงเกิดขึ้นจากการเงินกู้มาสร้างอาคารนั้นจะไม่สามารถบันทึกเป็น ต้นทุนอาคารได้อีก แต่จะเปลี่ยนเป็นต้นทุนทางการเงิน หรือ ดอกเบี้ยจ่ายในงบกำไรขาดทุนเลยใช่หรือเปล่าครับ[/quote] ถ้าพูดแบบสรุปในภาพรวม ความเข้าใจของคุณถูกต้องค่ะ
โดย
parporn
อังคาร ส.ค. 21, 2012 6:51 pm
0
1
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="greenman"]สำหรับแต่ละงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2555 และ 2554 (ไม่ได้ตรวจสอบ) งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายเหตุ 2555 2554 2555 2554 (พันบาท) รายได้ รายได้จากการขาย 3 6,095,853 5,810,191 4,677,802 4,193,371 รายได้จากการให้บริการ 5,383 7,196 2,774 6,590 กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ 9,782 - 10,331 - รายได้อื่น 3 36,039 49,775 71,974 57,367 รวมรายได้ 6,147,057 5,867,162 - 4,762,881 4,257,328 -ขอสอบถามว่าเหตุใดรายได้อื่นในงบการงินรวม จึงตำกว่างบการเงินเฉพาะกิจการมีความหมายว่าอย่างไร ขอบคุณครับ[/quote] รายการของงบเดี่ยวที่สูงกว่างบรวมอาจมีผลมาจากการตัดรายการระหว่างกัน กรณีนี้อาจหมายความว่า บ.ใหญ่ได้รับรายได้จาก บ.ย่อยมาก เมื่อตัดรายการระหว่างกันออก รายได้และลูกหนี้ของ บ.ใหญ่ จะถูกตัดกับค่่าใช้จ่ายและเจ้าหนี้ในบริษัทย่อย รายได้ในงบการเงินรวมจึงเท่ากับรายได้ที่ บ.ใหญ่ขายให้บริษัทอื่นที่ไม่ใช่บริษัทย่อย ในขณะที่ในงบเดี่ยวจะรวมรายได้ที่รับจากบริษัทย่อยด้วย รายได้ในงบรวมจึงต่ำกว่าในงบเดี่ยว พูดแล้วงงไหมเอ่ย ลองดูตัวอย่าง สมมุติใหญ่รับรายได้จากย่อย 1,000 บาท และรับรายได้จากบริษัทอื่น 500 บาท ในการทำงบการเงินรวม รายได้และลูกหนี้บริษัทย่อยที่บันทึกในงบการเงินของบริษัทใหญ่ จะถูกตัดรายการระหว่างกันกับค่าใช้จ่่ายและเจ้าหนี้บริษัทใหญ่ที่บันทึกในงบการเงินของบริษัทย่อย ทำให้รายได้ที่แสดงในงบการเงินรวมมีเหลือเพียง 500 บาท ในขณะที่งบเดี่ยวมีรายได้ 1,500 บาท
โดย
parporn
จันทร์ ส.ค. 13, 2012 3:07 pm
0
0
Re: กระทู้ถามตอบวิเคราะห์เชิงบัญชี ผสมผสานการเงิน การลงทุน
[quote="SawScofield"]มีคำถามอีกแล้วครับอาจารย์ แหะๆ ^^" คืองี้ครับ ถ้าบริษัทนึง มียอดขาดทุนสะสมแบบมหาศาล แล้วสิ่งที่เค้าดำเนินการ คือ "ลดทุนจดทะเบียน" ด้วยการลดมูลค่าหุ้น(ลดพาร์) ผลที่จะเกิดขึ้นกับ บริษัทนี้/ผู้ถือหุ้นรายเดิม/ผู้ที่จะเข้ามาซื้อหุ้นรายใหม่และเจ้าหนี้ มีอะไรบ้างครับ ลึกๆนัยยะของการดำเนินการเช่นนี้ คือ การตั้งใจล้างขาดทุนสะสมใช่หรือไม่ครับ แล้วกลไกของการหายไปของยอดขาดทุนสะสมเป็นอย่างไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งครับ ^/\^[/quote] การลดทุนในลักษณะนี้เป็นการลดขาดทุนสะสมในอดีตเพื่อเริ่มต้นใหม่ หลังจากที่ลดทุนแล้ว ขาดทุนสะสมเป็น -0- บริษัทจะเริ่มจ่ายปันผลได้เมื่อมีกำไร ถ้าบริษัทมีอนาคตดี บริษัทจะสามารถดึงดูดนักลงทุนใหม่ให้เข้ามาซื้อหุ้นด้วยเหตุผลที่ว่า นักลงทุนใหม่ไม่ต้องแชร์ขาดทุนที่เคยเกิดขึ้น (ผู้ถือหุ้นเก่ารับไป) และอาจได้รับปันผลในอนาคตเมื่อบริษัทมีกำไร (กำไรไม่ต้องนำไปลดขาดทุนสะสมที่เกิดในอดีต) ผลที่เกิดกับบริษัท: ถ้ากำไรสะสมเป็นบวก บริษัทจะสามารถจ่่ายเงินปันผลได้ (บริษัทต้องการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสม เพื่อการจ่ายปันผลในอนาคต) ผลที่เกิดกับผู้ถือหุ้นรายเดิม: รับขาดทุนสะสมที่เกิดขึ้นในอดีตโดยยอมให้นำมาลดทุนของตัวเอง หมดสิทธิเรียกร้องในทุนที่โดนลดไป หลังจากที่ลดทุนแล้ว กำไรที่บริษัทหาได้จะเข้ากองกลางเพื่อจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นทั้งเก่าและใหม่ โดยไม่สามารถนำกำไรมาชดเชยขาดทุนสะสมที่โดนลดทุนล้างไปแล้ว (ผู้ถือหุ้นเก่ารับขาดทุนไปโดยไม่เรียกร้องคืนเมื่อบริษัทมีกำไรในอนาคต) ผู้ซื้อหุ้นรายใหม่: ซื้อหุ้นเมื่อขาดทุนสะสมเป็น -0- ไม่ต้องมาร่วมแชร์ขาดทุนเก่่า เริ่มแชร์กำไรขาดทุนที่จะเกิดใหม่และรับปันผลได้ เจ้าหนี้: ความเสี่ยงอาจน้อยลงเพราะบริษัทอาจมีความสามารถในการระดมทุนเพิ่ม โอกาสผิดนัดชำระหนี้อาจน้อยลง
โดย
parporn
อังคาร ส.ค. 07, 2012 11:47 am
0
0
Re: Login เข้าไปแล้วหาห้อง " สารพันความรู้ ตอบปัญหาบัญชี" ไม
parporn ล็อกอินเข้าไปแล้วหาห้องบัญชีไม่เจอค่ะ ถ้าใครถามคำถามมา ตอบเขาไม่ได้เลย Mod ช่วยหน่อยนะคะ ขอบคุณค่ะ ภาพร ขอโทษค่ะ ดูไม่ดีเอง เปลี่ยนชื่อเลยไม่ทันเห็น
โดย
parporn
พฤหัสฯ. ก.ค. 19, 2012 3:01 pm
0
0
Re: ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อ
ผมสงสัยว่า Goodwill จากการซื้อธนาคารนครหลวงไทยกว่า 14,000 ล้านบาท มันจะคงอยู่ในงบไปตลอดกาลหรือไม่ หากวันหนึ่งธนชาติเกิดจะขายส่วนนี้ขึ้นมา แล้วได้กำไรส่วนเกินจาก BV มาไม่ถึง 14,000 ล้านบาท เช่นได้กำไรมาแค่ 8,000 ล้านบาท ดังนั้นธนชาติจะต้องบันทึก Loss ทันที 6,000 ล้านเลยใช่ไหม แล้วทำไมไม่มีการตัดจ่าย ค่าความนิยมนี้ออกไป และปล่อยให้ราคาตลาดของ ธนชาติ สะท้อนความเป็นจริงออกมาเอง มากกว่าจะปล่อยให้มี ค่าความนิยมมโหฬารถึง 14,000 ล้านบาท ค่านิยมปัจจุบันไม่ตัดจำหน่ายแต่ต้องประเมินการด้อยค่าแทน ถ้ามูลค่าเงินลงทุนลดลง (ค่านิยมลดลง) ก็จะมีการตัดจำหน่ายค่านิยมเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน สมมติว่าการประเมินมูลค่าเป็นไปอย่างเหมาะสม การลดลงของค่าความนิยมย่อมแสดงว่ารายได้หรือกระแสเงินสดในอนาคตของธนาคารนครหลวงไทยลดลงกว่าวันที่ซื้อ เงินลงทุนกำลังไม่คุ้มค่าต่อการลงทุนกว่า 14,000 ล้านบาท PBV ย่อมควรจะประเมินลดลง (แม้จะคิดค่าใช้จ่ายจากการด้อยค่าเงินลงทุนรายงวดแล้วก็ตาม) ขอทราบวิธีการประเมินมูลค่า Goodwill ด้วยครับ ทำอย่างไรเรา(ผู้ถือหุ้น/นักลงทุน) จะทราบได้ว่าการประเมินมีความเหมาะสมถูกต้องเป็นธรรม และไม่เป็นการสมยอมกันระหว่างผู้บริหารกับผู้สอบบัญชี เรื่องนี้ตอบยากเพราะเป็นเรื่องซับซ้อนและเป็นแดนสนธยาที่ต้องอาศัยความเชื่อใจบริษัท ผู้ประเมิน ผู้สอบบัญชี และผู้กำกับดูแล แต่จะพยายามอธิบายคร่าวๆ ให้ฟังเพื่อให้เห็นภาพว่ามันซับซ้อนอย่างไร การประเมินค่าความนิยม Goodwill ทำขึ้น 2 ลักษณะ ลักษณะแรกทำเพื่อบันทึก GW ในงบรวมวันที่ บ.ใหญ่เข้า take บ.ย่อย จำนวน GW ที่คำนวณได้จะถูกบันทึกในงบรวมและจะแสดงด้วยจำนวนนี้ไปจนกว่าจะด้อยค่า ลักษณะที่ 2 คือการประเมินการด้อยค่าที่ต้องทำทุกปี ถ้าพบว่ามีการด้อยค่าก็ต้องบันทึกลด GW และการขาดทุนจากการด้อยค่าในงบกำไรขาดทุนทันที (การด้อยค่าของ GW จะไม่มีการกลับบัญชี) ต่อไปนี้เป็นข้อกำหนดในการประเมิน GW การประเมินค่าความนิยม GW ณ วันที่ซื้อกิจการ (เป็น GW ที่แสดงในงบการเงินรวมก่อนพิจารณาการด้อยค่า) 1. ทำวันที่เกิดการซื้อกิจการ เป็นวันที่บริษัทบันทึก GW เริ่มแรก 2. ตามปกติวัดตามสูตรนี้ (ถ้าใหญ่ซื้อหุ้น 100% ของย่อย) GW = ราคาที่จ่ายซื้อ - (มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่ระบุได้ - มูลค่ายุติธรรมของหนี้สินที่ีะบุได้) 3. ถ้าใหญ่ไม่ได้ซื้อหุ้นย่อยทั้ง 100% เรื่องจะยุ่งขึ้นอีก เพราะต้องนำ "ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม (NCI)" เข้่ามาเกี่ยวด้วย แถมวิธีวัดมูลค่า NCI ก็ยังทำได้ 2 วิธี โดยวิธีทั้ง 2 ทำให้ค่าความนิยมที่บันทึกมีจำนวนแตกต่างกัน (วิธีคิด NCI จะคิดจากสินทรัพย์สุทธิของย่อยก็ได้ หรือคิดจากมูลค่ายุติธรรมของหุ้นที่ NCI ถืออยู่ก็ได้) ถ้าใหญ่ไม่ได้ซื้อย่อย 100% สูตรการคำนวณค่าความนิยมเป็นดังนี้ GW = ราคาจ่ายซื้อ + NCI - มูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิที่ระบุได้ของย่อย โปรดสังเกตว่า การวัดค่า NCI ต่างวิธีทำให้ GW ที่บันทึกในงบรวมมีจำนวนต่างกัน การประเมิน GW หลังการซื้อกิจการ (ประเมินการด้อยค่่า) บริษัทใหญ่ต้อง 1. กระจาย GW ให้กับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด (Business Unit ที่ก่อให้เกิดรายได้) 2. วัดว่า กระแสเงินสดคิดลด DCF ที่จะได้รับในอนาคตของ BU แต่ละหน่วย ต่ำกว่ามูลค่าที่บันทึกในงบรวมหรือไม่ ถ้าต่ำก็แสดงว่า GW เกิดการด้อยค่า (ถ้าจำนวนที่ด้อยค่าสูงกว่า GW บริษัทต้องลดจำนวนสินทรัพย์ของ BU นั้นลงโดยวิธีปันส่วน) นี่เป็นวิธีคร่าวๆ ในการประเมินการด้อยค่าของค่าความนิยม การประเมินโดยละเอียดอยู่ในมาตรฐานการบัญชีเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ (ม.36) เอาแค่นี้ก่อนแล้วกัน
โดย
parporn
พฤหัสฯ. ก.ค. 12, 2012 11:14 am
0
2
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
ขอถามครับ อย่าหาว่าผมโง่เลย แต่ไม่รู้จริง ๆ :D มีข้อสงสัย กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อครับ 1. ในงบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท (ตัวเลขสมมุติ) ยอดลูกหนี้ที่ว่านี้จะมีผลให้กิจการได้รับเงินสด 1,000 บาท ในงบกระแสเงินสดด้วยหรือป่าวครับ ความคาดหวังในการบันทึกคนที่ติดเงินบริษัทเป็น "ลูกหนี้" ก็เพราะคิดว่าจะช้าเร็วลูกหนี้ก็นำเงินสดมาจ่ายบริษัท แต่ตราบใดที่บัญชีลูกหนี้เป็นลูกหนี้อยู่ (ไม่ลดลง) ก็แสดงว่าเงินสดยังไม่เข้ามาในบริษัท เพราะถ้าเงินสดเพิ่ม ลูกหนี้จะลด อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้อาจลดลงเนื่องจากลูกหนี้นั้นเบี้ยวหนี้จนกลายเป็นหนี้สูญ ในกรณีนี้ เงินสดไม่เข้าบริษัท แถมมีค่าใช้จ่่ยเพิ่มขึ้นจนทำให้กำไรลดลง สรุปคือ ลูกหนี้อาจทำให้เกิดเงินสดหรือค่าใช้จ่ายขึ้นิยู่กับว่าลูกหนี้ใช้เงินบริษัทหรือเปล่าค่ะ กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อคงยากที่จะดูจากงบแสดงฐานะทางการเงินเพราะยอดลูกหนี้มีแต่เพิ่ม หากผมต้องการทราบยอดการชำระหนี้สามารถดูได้ในงบกระแสเงินสดได้เลยใช่หรือไม่ อย่างเช่น งบกระแสเงินสด แสดงลูกหนี้ผ่อนชำระเป็น (200) แสดงว่ากิจการได้รับเงินจากลูกหนี้มา 200 บาท แล้วอีก 800 บาท คือเป็นหนี้สูญหรือ เพราะจากที่สมมุติข้างต้นได้ให้งบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท ผมเข้าใจถูกหรือป่าวครับ คำตอบคือ อาจจะใช่หรืออาจไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของรายการ ในงบกระแสเงินสด ลูกหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปคือยอดลูกหนี้สุทธิ (ลูกหนี้ - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ลูกหนี้สุทธิที่เปลี่ยนแปลงไปคำนวณจาก ลูกหนี้สุทธิปลายงวด - ลูกหนี้สุทธิต้นงวด งบกระแสเงินสดไม่ได้คำนวณให้เราเห็นเป๊ะๆ ว่าบริษัทได้รับชำระเงินจากลูกหนี้เท่าไร แม้จะทำให้เราพอเห็นภาพคร่าวๆ ได้ ถ้าต้องการรู้แน่ๆ ว่าบริษัทรับชำระเงินจากลูกหนี้เท่าไร เราต้องหาข้อมูลจากงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อเข้าสูตร ต่อไปนี้ ลูกหนี้ที่ชำระเงิน = ลูกหนี้ต้นงวด + ขาย - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพิ่มขึ้นในระหว่างงวด + ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงในระหว่างงวด - หนี้สูญตัดบัญชีในระหว่างวด + หนี้สูญกลับบัญชีในระหว่างงวด - ลูกหนี้ปลายงวด บริษัทอาจเปิดเผย ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ รวมถึงหนี้สูญกลับบัญชีในกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (รายการปรับปรุงกำไร ถ้าบริษัทเปิดเผยรายละเอียดไว้) หรือดูในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ยอดขายสุทธิและลูกหนี้ปลายงวดจะแสดงในงบกำไรขาดทุน งบดุล และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ถ้าหาข้อมูลที่เข้าสูตรได้ทุกตัวจากงบการเงิน เราก็สามารถกระทบยอดการชำระเงินจากลูกหนี้ได้ ถ้าหาไม่ได้ทุกตัวก็ได้ภาพคร่าวๆ แต่ไม่เป๊ะ การดูเฉพาะยอดลูกหนี้สุทธิที่เปลี่ยนแปลงไปในงบกระแสเงินสดให้ภาพคร่าวๆ เกี่ยวกับกระแสเงินสดเท่านั้น
โดย
parporn
เสาร์ มิ.ย. 30, 2012 10:29 am
0
2
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
ขอถามครับ อย่าหาว่าผมโง่เลย แต่ไม่รู้จริง ๆ :D มีข้อสงสัย กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อครับ 1. ในงบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท (ตัวเลขสมมุติ) ยอดลูกหนี้ที่ว่านี้จะมีผลให้กิจการได้รับเงินสด 1,000 บาท ในงบกระแสเงินสดด้วยหรือป่าวครับ ความคาดหวังในการบันทึกคนที่ติดเงินบริษัทเป็น "ลูกหนี้" ก็เพราะคิดว่าจะช้าเร็วลูกหนี้ก็นำเงินสดมาจ่ายบริษัท แต่ตราบใดที่บัญชีลูกหนี้เป็นลูกหนี้อยู่ (ไม่ลดลง) ก็แสดงว่าเงินสดยังไม่เข้ามาในบริษัท เพราะถ้าเงินสดเพิ่ม ลูกหนี้จะลด อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้อาจลดลงเนื่องจากลูกหนี้นั้นเบี้ยวหนี้จนกลายเป็นหนี้สูญ ในกรณีนี้ เงินสดไม่เข้าบริษัท แถมมีค่าใช้จ่่ยเพิ่มขึ้นจนทำให้กำไรลดลง สรุปคือ ลูกหนี้อาจทำให้เกิดเงินสดหรือค่าใช้จ่ายขึ้นิยู่กับว่าลูกหนี้ใช้เงินบริษัทหรือเปล่าค่ะ
โดย
parporn
พฤหัสฯ. มิ.ย. 28, 2012 1:25 pm
0
1
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ (PAR) เรื่อง : การรวมมูลค่าที่ตราไว้ (รวม par) วันที่คณะกรรมการมีมติ : 13 มิ.ย. 2555 มูลค่าที่ตราไว้(Par) เดิม(บาท/หุ้น) : 0.64 มูลค่าที่ตราไว้(Par) ใหม่(บาท/หุ้น) : 4.00 หมายเหตุ : ในการคำนวณเพื่อเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของบริษัทฯ ตามอัตราการคำนวณดังกล่าว (6.25 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่) ให้แก่ผู้ถือหุ้นแต่ละราย หากมีเศษหุ้นเดิมเหลือจากการคำนวณ ซึ่งจำนวนเศษหุ้นเดิมดังกล่าวไม่เพียงพอที่จะแปลงเป็นหุ้นใหม่ บริษัทฯ จะตัดเศษหุ้นเดิมนั้นทิ้งทั้งจำนวน โดยผู้ถือหุ้นแต่ละรายที่ถูกตัดเศษหุ้นเดิมทิ้ง จะได้รับชดใช้ค่าเศษหุ้นเดิมที่ถูกตัดทิ้งในราคาเท่ากับราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญของบริษัทฯ ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ย้อนหลัง 7 วันทำการติดต่อกันก่อนวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2555 ตามสัดส่วนเศษหุ้นเดิมที่ถูกตัดทิ้ง ผ่านทางบริการของบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายในกำหนด 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของบริษัทฯ แล้วเสร็จ คำถาม 1. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ข้างบนเพื่ออะไรและมีผลดี หรือผลเสียหรือไม่กับใครยังไงหรือป่าวครับ ช่วยอ่านกระทู้เรื่อง "การเพิ่มทุน การลดทุน" ก่อนดีไหมคะ (หรืออาจมีกระทู้อื่นที่ใกล้เคียงกัน) เพราะจำได้ว่าเรื่องนี้ได้ตอบคำถามไปหลายแง่ หลายมุมมาก ทั้งผลดี ผลเสียต่อผู้ถือหุ้น และเพิ่งตอบไปอีกใน fb ดร.ภาพร เอกอรรถพร เมื่อวานหรือวันนี้เอง มีคำถามเพิ่มเติมก็เขียนถามมาใหม่ได้ค่ะ
โดย
parporn
อาทิตย์ มิ.ย. 24, 2012 4:24 pm
0
0
Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน
เรียนสอบถามครับ ถ้ามีทุนจดทะเบียน 100 บาท แต่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 50 บาท ต่อมาบริษัทประกาศลดทุนทะเบียนเหลือ 50 บาทเท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้จำหน่ายออก ไม่ทราบว่ามีผลต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร ทำให้จำนวนหุ้นลดลงหรือไม่ครับ แล้วมีผลในงบต่างๆอย่างไรครับ งงมานาน ขอบคุณมากครับ การลดทุนทำได้ 2 แบบค่ะ ไม่ลดจำนวนหุ้น ก็ลดจำนวนเงิน คุณต้องหาข้อมูลมาให้ชัดเจนว่า บริษัททำการลดราคาพาร์ หรือลดจำนวนหุ้น และในกระบวนการลดทุนนั้น บริษัทได้ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสมด้วยหรือไม่ ข้อมูลที่คุณให้ไม่ชัดเจนและฟังขัดแย้งกัน ตกลงบริษัทลด "ทุนจดทะเบียน" หรือ "ทุนเรือนหุ้น (ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว) ถ้าบริษัทลดทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว บริษัทต้องซื้อคืนหุ้นที่ออกไปแล้ว เพื่อนำมาลดทุน ส่วนผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ได้ขายหุ้นคืนต้องจ่ายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวน ทุนเรือนหุ้นจึงจะมีจำนวนกับ 50 บาทตามที่ต้องการ แต่ถ้าบริษัทลดราคาพาร์ บริษัทก็คงไม่ได้ลดจำนวนหุ้น ทุนเรือนหุ้นในงบการเงินจะเท่าเดิมคือ 50 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าบริษัทลดราคาพาร์โดยไม่ทำอย่างอื่น เช่น ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสม งบการเงินจะไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นราคาพาร์ที่ระบุไว้จะลดเหลือเพียงครึ่งเดียวเทียบกับที่เคยแสดงไว้เดิม อย่าลืมนะคะ.... คำตอบขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ให้มา ถ้าข้อมูลเป็นอย่างอื่น คำตอบอาจเปลี่ยนไปได้ค่ะ อาจารย์ครับในกรณีที่บริษัทจะลดทุนโดยวิธีการลดราคาพาร์ นอกจากบริษัทต้องได้รับอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 แล้ว ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยหรือเปล่าครับ และต้องมีเงื่อนไขอื่นใดไหมครับ ที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้การลดพาร์ได้สำเร็จครับ ขอบพระคุณครับ เรื่องกฎระเบียบต้องอาจารย์วิเชษฐ์ winnermax ค่ะ เดี๋ยวคงเข้่มาตอบให้
โดย
parporn
ศุกร์ มิ.ย. 22, 2012 2:30 pm
0
0
Re: เก็บมาจาก หนังสือพิมพ์
07:10 22/06/2012 สรุปข่าว หนังสือพิมพ์ทันหุ้น 22 มิ.ย.--ทันหุ้น Distributor - Bisnews AFE S...N ความเสี่ยงต่ำเป้ากระชากใจ...บาท เปิดข้อมูล S...N ตะลึง! พบกำไรมีแนวโน้มจะโตเฉลี่ยปีละ 43% ไปอีก 5 ปี ขณะที่ไตรมาส 2 มีบันทึกกำไรพิเศษ จากการปรับมูลค่าราคาที่ดินส่วนเกินอีก 100 ล้านบาท นักวิเคราะห์ชี้ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐานปีนี้ที่ ... บาท ขณะที่ไตรมาส 2 มีบันทึกกำไรพิเศษ จากการปรับมูลค่าราคาที่ดินส่วนเกินอีก 100 ล้านบาท นักวิเคราะห์ชี้ราคาหุ้นยังไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐาน ขอถาม...การปรับมูลค่าที่ดินช่วยให้บันทึกเป็นการกำไรพิเศษอย่างไร จะทำให้มูลค่าหุ้นทางบ/ชสูงขึ้นใช่ไหม แล้วจะบันทึกเป็นกำไรพิเศษเพื่ออะไร อ่านแล้วงง เหมือนเล่นกลทางบ/ช ขอคำอธิบายด้วยครับ เข้ามาช่วยอาจารย์สรรพงศ์ อย่างที่อาจารย์ว่า การปรับมูลค่าที่ดินเพิ่ม หมายถึงบริษัทตีราคาที่ดินที่อยู่ในงบดุลตามราคาตลาด ตัวอย่างเช่น บริษัทซื้อที่ดินมาแปลงหนึ่งนานมาแล้ว ราคาที่บันทึกอาจเป็นราคาทุนที่ซื้อมา หากบริษัทต้องการให้งบดุลสะท้อนราคาตลาด บริษัทสามารถตีราคาที่ดินใหม่ แล้วบันทึกไว้ในงบดุล ถ้าบริษัทบันทึกเพิ่มราคาที่ดิน บริษัทจะเกิดกำไรจากการตีราคาเพิ่ม กำไรนี้จะจัดประเภทเป็น "กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น" ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (นักบัญชีไม่เรียกรายการนี้ว่า รายการพิเศษค่ะ เพราะมีความความหมายไม่เหมือนกัน) ในแง่ของการวิเคราะห์ การตีราคาที่ดินเพิ่มทำให้สินทรัพย์ในงบดุลมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งอาจสะท้อนสถานะปัจจุบันของบริษัทได้ชัดเจนกว่าบริษัทที่ไม่ได้ตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม แต่บริษัทที่ไม่ได้ตีราคาสินทรัพย์เพิ่มอาจมี hidden value ซ่อนอยู่ เรื่องนี้ไม่น่ามีกลบัญชีเกี่ยวข้อง แต่เป็นเรื่องของทางเลือกในการนำเสนองบการเงินที่นักลงทุนต้องพยายามทำความเข้าใจค่ะ
โดย
parporn
ศุกร์ มิ.ย. 22, 2012 2:28 pm
0
2
Re: งบกระแสเงินสด
อยากเรียนถามอีกหน่อยครับ วันนั้นดูรายการ Money Talk เห็น บ. SIS ที่บอกว่าพอโตประมาณ 10% Cash ติดลบ คือรายได้จากการดำเนินงานติดลบเหรอครับ แล้วงั้นก็ทำงานแทบตายไม่ได้เงินจริงมาใช้ ได้แต่ตัวเลขเงินจริงใช่ปะครับ มูลค่าที่เพิ่มในกำไร ไปโผ่ในสินค้าคงเหลือ หรือส่วนลูกหนี้ ผมเข้าใจถูกไหมครับ ขอความรู้เพิ่มหน่อยครับ อ.ครับ ข้อมูลน้อยเกินไปที่จะตอบอย่างเจาะจงได้ การที่บอกว่า cash ติดลบ นั่นหมายความว่ากระแสเงินสดเป็นลบ แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นลบเพราะอะไร อาจเป็นอย่างที่คุณบอกหรืออย่างอื่นก็เป็นได้ การที่กระแสเงินสดติดลบอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ถ้ากำไรจากการดำเนินงานเป็นบวก แต่กระแสเงินสดติดลบ ในภาพรวมหมายถึง บริษัทมีการดำเนินงานที่ใช้ได้ แต่อาจมีเหตุต้องนำเงินที่ได้จากกำไรไปใช้จ่ายในแง่ต่างๆ เช่น จ่ายลูกหนี้ ซื้อสินค้าคงเหลือ แต่ที่แย่หน่อยคือ กำไรอาจเป็นบวก แต่บริษัทขายเป็นเงินเชื่อแล้วเก็บเงินยังไม่ได้ ฯลฯ นั่นก็ทำให้กระแสเงินสดติดลบได้ ตอบชัดเจนไม่ได้ค่ะ ไม่มีข้อมูล
โดย
parporn
พุธ มิ.ย. 13, 2012 3:12 pm
0
0
Re: จะทำงบการเงินส่วนบุคคล แต่สงสัยเรื่องค่าเสื่อมราคา
ถ้าผมอยากซื้อ Notebook สัก 1 เครื่อง สมมุติซื้อวันนี้(13 มิ.ย.)โดยจ่ายเป็นเงินสด ผมมองว่ากิจกรรมซื้อ Notebook เป็นกิจการนำเงินมาลงทุน(CAPEX) เมื่อผมจะทำงบการเงินประจำปี 2555 ในปีนี้จะยังไม่มีค่าเสื่อมราคาจาก NoteBook ใช่ไหมครับ จะมีแค่ CAPEX ค่าเสื่อมราคาจะปรากฎในปีบัญชีหน้าใช่ไหมครับ ปกติค่าเสื่อมราคาของ Notebook จะตัดเป็นเวลากี่ปีครับ ในกรณีตัดแบบเส้นตรง แล้วมูลค่าซากของ Notebook เป็นเท่าไรครับ ถามกรณีของรถปิ๊กอัพด้วยครับ จะตัดค่าเสื่อมราคากี่ปี มูลค่าซากของรถยนต์เป็นเท่าไรครับ การซื้อสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี ต้องตัดค่าเสื่อมราคาทันทีที่เริ่มใช้งาน และตัดต่อเนื่องโดยไม่ละเว้น แม้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจะไม่ได้นำสินทรัพย์มาใช้ อายุการตัดค่าเสื่อมราคาขึ้นกับอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ในสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ เช่น NB ถ้าใช้3 ปีก็ตัด 3 ปี ถ้าคิดว่าจะใช้ 5 ปี ก็ตัด 5 ส่วนรถปิคอัพก็ตัดค่าเสื่อมตามที่เราคาดว่าจะใช้ 5 ปี 8 ปี ก็ว่าไป วิธีตัดค่าเสื่อมราคาขึ้นกับลักษณะการใช้งาน ถ้าเฉลี่ยแล้วใช้สม่ำเสมอก็ตัดแบบเส้นตรง ถ้าไม่สม่ำเสมอจะตัดตามกิโลเมตรที่ใช้ก็ได้ ส่วนใหญ่เขาจะตัดแบบเส้นตรง ค่าซากคือ ราคาขายของสินทรัพย์ที่เราคาดไว้ว่าจะขายได้เมื่อเลิกใช้งาน เช่น ปิคอัพอาจมีราคาซาก 250,000 เมื่อเลิกใช้งานหลัง 5 ปี ค่าเสื่อมราคาจะคำนวณดังนี้คือ สมุติราคารถ 800,000 อายุการใช้งาน 5 ปี ราคาซาก 250,000 บาท ค่าเสื่อมราคาแต่ละปี = (800,000 - 250,000)/5 หลังจากตัดค่าเสื่อมราคา 5 ปี รถปิคอัพจะเหลือในบัญชีที่ 250,000 บาท รอให้เราขายนั่นเอง ส่วน NB อาจไม่มีค่าซาก เพราะใช้เสร็จอาจต้องบริจาคอย่างเดียว ขายไม่ได้ นั่นเป็นทฤษฎี ส่วนภาคปฎิบัติ ธุรกิจขนาดเล็กมักอิงกับประมวลรัษฎากรในการตัดค่าเสื่อมราคา ไม่อย่างนั้นต้องทำการปรับกำไรเวลาไปเสียภาษี
โดย
parporn
พุธ มิ.ย. 13, 2012 3:04 pm
0
0
Re: Long-term Operating Asset คืออะไรคะ
ถ้าจะหา Long-term Operating Asset Turnover เราจะต้องเอาค่า Long-term Operating Asset มาจากตรงไหนบ้างคะ ขอบคุณค่ะ Long-term ก็คือ ระยะยาว นั่นหมายถึงสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบดุล Operating assets คือ สินทรัพย์ที่มีไว้ใช้ในการดำเนินงานหรือในการดำเนินกิจการทั่วไป สินทรัพย์เหล่านี้ไม่รวม สินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ เช่น พวกเงินลงทุน อนุพันธ์ เงินให้กู้ยืม ฯลฯ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน และต้องไม่รวมสินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขายหรือรอจำหน่าย ส่วนใหญ่ long-term operating assets จะประกอบด้วยรายการ 1. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ 2. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน บางครั้ง นักวิเคราะห์จะไม่รวมสินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือใช้แต่ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของบริษัทที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่ สรุปว่่า ต้องดูสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบดุล แล้วปรับรายการที่ไม่ใช่ operating assets ออก อย่าลืมถัวเฉลี่ยต้นงวด ปลายงวด ด้วยนะคะ
โดย
parporn
จันทร์ มิ.ย. 11, 2012 7:40 pm
0
1
216 โพสต์
of 5
ต่อไป
ชื่อล็อกอิน:
parporn
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พุธ ก.ย. 28, 2011 11:41 am
ใช้งานล่าสุด:
อังคาร เม.ย. 09, 2013 2:31 pm
โพสต์ทั้งหมด:
231 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.05 ข้อความต่อวัน)
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว