หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
Winstein
Joined: พุธ ส.ค. 11, 2010 3:29 pm
51
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - Winstein
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ถือเงินสดกันกี่เปอเซนต์ ในสถานะการแบบนี้
[quote="tritara"]ขอแหวกแนวหน่อยนะครับ ผมเงินสดเกือบ 100% ครับ ส่วนที่ไม่ร้อยคือไปซื้อ put warrant นิดหน่อย :)[/quote] ไม่แหวกแนวเคยครับ เป็นเครื่องมือที่ดีของ Hedge fund ครับ Protective put เสี่ยงน้อยกว่าถือหุ้น 100% มากเลยครับ
โดย
Winstein
อาทิตย์ ม.ค. 12, 2014 2:18 am
0
0
Re: ถือเงินสดกันกี่เปอเซนต์ ในสถานะการแบบนี้
เงินสด 10% กู้ในบัญชี Cash Balance 5% กู้ได้อีกประมาณ 10-20%* *ผมใช้บัญชี Cash Balance ทำให้ซื้อขายได้ตามจังหวะตลาด เวลาเงินหมด เรากู้ซื้อก่อนแล้วค่อยขายได้ !!!!! ผมไม่แนะนำการใช้บัญชี Cash Balance แบบนี้นะครับ เป็นความสามารถเฉพาะตัว ผมใช้วิธีนี้เพราะมีการ diversity คำนวณผลตอบแทนและกระจายความเสี่ยงไว้อย่างดี คนที่บริหารความเสี่ยงไม่เก่งอาจหมดตัวด้วยบัญชี Cash Balance ได้ !!!!!
โดย
Winstein
พุธ ม.ค. 08, 2014 11:18 pm
0
2
Re: POLL สรุปผลตอบแทนชาว Thaivi ประจำปี 2556
ปีที่แล้ว Capital gain 3.15% ปันผล 4.48% ครับ ผมลงทุนค่อนไปทาง Contrarian และต้นปียังไม่เก่งมาก ก็เลย lag ตลาด แต่มาเข้าป้ายตอนกลางปี 1600 --> 1400 จุดครับ ปลายปีคางเหลืองด้วยกันทั้งตลาด ผมไม่ถือเงินสดก็เลยกำไรหดลงหน่อยนึง ปีนี้เริ่มใหม่ครับ
โดย
Winstein
จันทร์ ม.ค. 06, 2014 4:21 pm
0
2
Re: จอง CHG Company Visit
ขอจองเพิ่มวินาทีสุดท้ายครับ ไม่ทราบว่ายังทันอยู่ไหม
โดย
Winstein
พุธ ต.ค. 09, 2013 1:35 pm
0
0
Re: QE
(ii) ผลกระทบต่อพื้นฐานการลงทุน ถ้ามองเศรษฐกิจโลกในภาพรวมก่อน จะเห็นว่า GDP ครึ่งหนึ่งของโลกอยู่ในตลาดเกิดใหม่ (EMEA) แต่ว่าสัดส่วนเงินลงทุนที่อยู่ในตลาดเกิดใหม่มีน้อยมากประมาณ 10% ของเงินลงทุนทั่วโลก เห็นได้ชัดว่า เงินลงทุนจะต้องไหลมายังตลาดเกิดใหม่อย่างล้นหลาม เพราะผลตอบแทนการลงทุนชัดเจนมาก เพราะฉะนั้น ธนาคารอเมริกาย่อมจ้องจะลงทุนนอกอเมริกา ก่อนอื่น ต้องเข้าใจ ว่าผลประโยชน์ของรัฐบาลอเมริกา ธนาคารอเมริกา และประชาชนอเมริกาไม่ได้ตรงกันซะทีเดียว แล้วจะเข้าใจที่เหลือได้ง่ายๆ ครับ FED เป็นตัวแทนของธนาคารอเมริกาครับ ข้อสังเกตที่ผมเห็นตอนนี้คือ 1. เพราะมีการไหลเข้าออกของเงินลงทุนอย่างรวดเร็ว ดอกเบี้ยของประเทศไทยจะต้องไม่ห่างจากของอเมริกา อังกฤษและประเทศพัฒนาแล้วมากนัก เพราะจะทำให้เงินไหลเข้ามากเกินไป กลายเป็นฟองสบู่เหมือนปี 40 2. ดอกเบี้ยต่ำแบบนี้เป็นประโยชน์กับไทยและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย เข้าถึงแหล่งทุนได้ โดยเศรษฐีประเทศอื่น ๆ จะเข้าช่วยลงทุน และดอกเบี้ยจะต่ำต่อไปอีกหลายปี เพราะอเมริกากับญี่ปุ่นจมไม่ลง 3. อเมริกาและญี่ปุ่นใช้ QE กลไกก็คือ ธนาคารกลาง เช่น FED ซื้อสินทรัพย์จากธนาคาร(เอกชน) ผลคือธนาคารเอกชนมีสภาพคล่องสูงขึ้น สามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น 4. แต่ธนาคารเอกชนรู้ว่าปล่อยกู้ในอเมริกามันอาจจะให้ผลตอบแทนไม่ค่อยดีเทียบกับตลาดเกิดใหม่ วินาทีที่ธนาคารกลางอนุมัติ QE ก็เลยมีการโอนเงินมาซื้อหุ้นและสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ เวลาประกาศนโยบาย QE เลยมีผลกระทบรุนแรงกับหุ้นและทองคำในเอเชีย ผลกระทบเห็นชัดเจนภายใน 24 ชั่วโมงแรก ส่วนธนาคารญี่ปุ่นขึ้นชื่ออยู่แล้ว ลงทุนในต่างประเทศเกือบ 100% คนอเมริกาและญี่ปุ่นน่าสงสารมาก เพราะธนาคารเน้นลงทุนในต่างประเทศ แต่ไม่ค่อยยอมปล่อยกู้ภายในประเทศ 5. อเมริกาและญี่ปุ่นกำลังมีปัญหาหนี้สาธารณะ การพิมพ์แบ็งค์กงเต็กเยอะ ๆ ในระยะยาวจะมีผลทำให้เกิด Inflation คือเงินดอลลาร์และเยนอ่อนค่า แต่ให้ผลดีสองเรื่องคือ หนี้สาธารณะ(ของรัฐบาล)ลดลง (เพราะเงินเฟ้อ) และค่าเงินอ่อนลงช่วยกระตุ้นส่งออก ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึ้น แต่กำลังซื้อของประชาชนลดลง คนญี่ปุ่นหลายคนรู้ทันก็เลยแห่กันไปเทรด Forex 6. ทั้งหมดทั้งปวง ภาพรวมเห็นได้ชัดเจนว่าอเมริกาและญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่ยุคอำนาจทางเศรษฐกิจเสื่อมแล้ว ทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจและ demographic ที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่เพราะจมไม่ลง ก็เลยต้องมีนโยบายการเงินแบบนี้ 7. ธนาคารอเมริกาและญุี่ปุ่นกำลังเสพย์ติดกับนโยบาย QE และคงจะไม่สามารถหยุดได้ง่าย ๆ ผลพวงคือ ในระยะยาว รัฐบาลและคนอเมริกา/ญึ่ปุ่นน่าจะถึงหายนะเร็วกว่าที่คิด เพราะ GDP ของประเทศจะโตได้ ต้องโตด้วย real sector คือ อย่างน้อยต้องมีการบริการ การผลิตและขายของ แต่ QE แค่ช่วยให้ธนาคารอเมริกาและญี่ปุ่นคงอำนาจทางการเงินเอาไว้ แต่ก็จะเสื่อมในระยะยาว กรณีคล้าย ๆ กับหลายร้อยปีก่อนที่สเปนล่าอาณานิคมไปเจอเหมืองทองคำ คนสเปนเลยไม่ต้องทำงานทำการ เอาทองคำมาขายนั่งกินนอนกิน อาณาจักรสเปนก็เลยเสื่อมเหลือเท่าปัจจุบัน 8. อาจมีธนาคารเอกชนอเมริกา(และญี่ปุ่น) ที่กลายเป็นมาเฟียทางการเงินเข้าไปครอบงำเศรษฐกิจของประเทศอื่น เพราะไปซื้อหุ้นและ bond ของเขาเอาไว้จำนวนมหาศาล 9. รัฐบาลอเมริกากำลังเจอปัญหา fiscal cliff หยุด QE ไม่ได้เด็ดขาด และไม่มีเงินไปทำสงครามกับซีเรีย ทั้ง ๆ ที่อยากได้ท่อแก๊สจนเนื้อเต้นเพื่อปลกแอกยุโรป (รัสเซียมีอำนาจเหนือยุโรปทั้งหมดเพราะคุมท่อแก๊สจากยูเครน ถ้าไม่พอใจตัดแก๊สเมื่อไหร่ ไฟดับตั้งแต่เบอร์ลินถึงลอนดอน รัสเซียเคยทำมาแล้วตอนที่อเมริกาไปสร้างฐานเรดาร์ที่โปแลนด์ และรัสเซียโกรธ ถ้าใครจำได้ รัสเซียตัดไฟ และรัฐมนตรีโปแลนด์ทั้งคณะเครื่องบินตกตายยกลำในรัสเซีย ข่าวเงียบไปภายในไม่กี่วัน) ขอจบด้วย comment จากในหนัง Wallstreet: Money Never Sleep ครับ ในห้องประชุม FED ตอนเกิด sub-prime crisis 2008: "It's the end of capitalism as we know it"
โดย
Winstein
พุธ ต.ค. 02, 2013 9:18 pm
0
9
Re: QE
หวัดดีขึ้นแล้วครับ ขอตอบละเอียดขึ้นนิดหนึ่ง คือผมเชื่อจริง ๆ ว่า QE มีผลกับปัจจัยพื้นฐานการลงทุนแล้ว เหมือนมันจะกระทบตลาดอย่างเดียวแต่ไม่ใช่ครับ เพราะมันไม่ใช่การอัดฉีดเงินเข้าระบบชั่วคราวแล้วเลิก แต่ผมคิดว่า QE อยู่อีกนาาาานนน แต่ว่าภาพรวมมันค่อนข้างเข้าใจยากและยาวหน่อย ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ใครคิดยังไงแลกเปลี่ยนกันได้เต็มที่ครับ ผมขอเริ่มจาก (i) ภาพรวมนโยบายของ FED โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย และ QE (ii) ผลกระทบต่อพื้นฐานการลงทุน (i) แนวโน้มดอกเบี้ยผมคิดว่าดูได้จากตลาดเงินตลาดทุนของอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งมีขนาดใหญ่มาก (เมื่อเทียบกับ GDP ของเขา) อเมริกามี Financial sector ขนาดประมาณ 50-60% ของ GDP เมื่ออเมริกาเจอปัญหา sub-prime crisis ปี 2007-2008 ทำให้ GDP หดขนาดหนัก ธนาคารและบริษัทประกันล้มไปหลายเจ้า ลามไปถึงยุโรป รัฐบาลอเมริกาก็เลยต้องอุ้มธนาคารและบริษัทประกันเช่น Citibank และ AIG เวลาผ่านมาหลายปี ธนาคารหลายแห่งก็ยังไม่แข็งแรง รัฐบาลอเมริกาก็เลยใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายสุด ๆ เรียกได้ว่าดอกเบี้ย 0% และต่ำกว่า 0% ถ้าทำได้ ดอกเบี้ยที่แท้จริงต่ำกว่า 0% เพราะมีการใช้ Quantitative Easing (QE) [ขอเรียกภาษาชาวบ้านว่าพิมพ์แบงค์กงเต็ก] เพื่อให้มีสภาพคล่องทางการเงิน ผมโหลด Fed Fund Rate มาให้ดูครับ เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ Fed ใช้คุมปริมาณเงินในระบบของอเมริกา (เงิน M2 หรือ M3?? จำไม่ได้) ที่ Fed ให้ธนาคารพาณิชย์กู้อีกต่อหนึ่ง ถ้ามองระยะสั้นอาจมีอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงแคบ ๆ แต่ถ้ามองระยะยาวจะเห็นว่าดอกเบี้ยเหยียบ 0% มาตั้งแต่ 2008 แล้ว ล่าสุดอยู่ที่ 0.09% ครับ ตรงนี้ก็ทำให้เงินไหลมาเก็งกำไรอยู่ในตลาดทั้งหมดเลยครับ (ตลาดเงิน Forex ตลาด Corp/Gov bond และตลาดทุน ทั่วโลก) ธนาคารแห่งประเทศไทยเรารู้ทัน ตอนนี้ธปท. ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเป็น managed float และมีความคิดที่จะเริ่มจำกัด fund flow เข้าออกระยะสั้น ก็ลุ้นกันต่อว่าจะช่วยลดความผันผวนได้ รัฐบาลนี้โชคดีที่มี fund flow ไหลเข้ามาพยุงราคาหุ้น ถ้าเป็นเฉพาะนักลงทุนในประเทศเหมือนแต่ก่อนหุ้นอาจจะเหลือ 800 จุดไปแล้ว เรื่องเงินไหลกลับคงไม่น่าห่วง เพราะเขามาซื้อย่อมไม่ต้องการขายขาดทุนหนัก ๆ (ไม่เหมือนปี 40 ที่ธปท. โดนโจมตีค่าเงิน เขารู้ว่าเงินบาทจะอ่อนเยอะเลยเทขายกระหน่ำ) แต่ปัญหาระยะยาวที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้ามีธนาคารที่อเมริกาล้มอีกรอบ แล้ว Fed ไม่ช่วย (เหมือน Lehman Brothers หรือ LTCM ในปี 90s) คราวนี้จะมีล้ม (default) กันเป็น domino จากอเมริกาไปญี่ปุ่น จากญี่ปุ่นไปลอนดอน ฯลฯ แต่ไม่ต้องกลัวหรอกครับ default กันทุก ๆ 5 ปีอยู่แล้วนี่ ตั้งแต่ Argentina Greece Ireland ฯลฯ
โดย
Winstein
พุธ ต.ค. 02, 2013 9:09 pm
0
9
Re: QE
เรื่อง QE คนที่เข้าใจมีน้อยมากครับ ผมแชร์ให้เพื่อนๆ ทาง fb ไปแล้ว แต่วันนี้เป็นหวัดงอม แล้วจะ copy มาฝากครับ ตอบคำถามว่าเกี่ยวข้องกับหุ้นบ้านเราไหม เกี่ยวข้องครับ เพราะว่า QE ไม่ได้เป็นการพิมพ์เงินธรรมดา เป็นการยื่นเงินฟรีให้ธนาคารใหญ่ ๆ ของอเมริกา พวกนี้ได้เงินฟรีปริมาณมหาศาลก็ลงทุนต่างประเทศเลยครับ เพราะรู้ว่าลงทุนในอเมริกาให้ผลตอบแทนไม่คุ้ม ส่วนที่ออกมาต่างประเทศ เข้าใจว่าพวก corporate finance ฝั่งอเมริกาชอบใช้ Capital Asset Pricing Model (CAPM) ดังนั้น เมื่อได้เงินฟรีมาลงทุนเยอะๆ เมื่อไหร่ ก็คือ ซื้อทั้งตลาดครับ ทั้งตลาดหมายถึง หุ้น พันธบัตรรัฐบาล Corporate bond ทองคำ ETF future ฯลฯ ในทุกตลาดทั่วโลก เพราะฉะนั้น ภายใน 24 ชม. ที่รู้ว่ามีงบลงทุนเพิ่มเท่าไหร่ แรงซื้อก็ถล่มทลายทุกตลาดทั่วโลกครับ ที่ต้องทำความเข้าใจมีหลายเรื่องมาก ๆ คือ 1. การดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ (FED ของอเมริกา) 2. สภาพการของอัตราแลกเปลี่ยนที่กำลังเกิด currency war แต่ละประเทศพยายามดึงให้ค่าเงินตัวเองต่ำ 3. ทฤษฎี CAPM แค่นี้ก่อนครับ [คนที่เข้าใจกลไกทั้งหมดจะเห็นโอกาสทำเงินระยะสั้นโดยไม่เสี่ยงครับ] พรุ่งนี้เพิ่มเติมให้ครับ
โดย
Winstein
อังคาร ต.ค. 01, 2013 1:02 am
0
11
Re: ปีเตอร์ ลินท์ บอกว่า หาหุ้นโตในอุตสาหกรรมที่ไม่โต
ในบรรดากูรูทั้งหลาย ผมชอบ Peter Lynch มากที่สุด (พอๆ กับ John Templeton) แต่คิดว่าการตีความแนวคิดของคุณ Blue Planet คลาดเคลื่อนไปหน่อยครับ หลักสำคัญที่ Peter Lynch ใช้ คือ หาบริษัทที่มีกิจการ (รายได้และกำไร) เติบโต โดยต้องซื้อที่ราคาที่เหมาะสม ซึ่งก็เป็นที่มาของ PEG Ratio เขาแบ่งบริษัทเป็นหลายชนิด เช่น Utility, Financial, Stalwart, Medium Growth, High growth และก็ได้แนะนำวิธีการเลือกหุ้นในแต่ละกลุ่มอย่างค่อนข้างละเอียด ผมเริ่มวิเคราะห์หุ้นธนาคารเป็นก็เพราะหนังสือของ Peter Lynch นี่แหละ เขาอธิบายการหา Growth stock ว่า มีอยู่กลุ่มหนึ่ง ถึงจะไม่โตเร็ว แต่ก็มีราคาเหมาะสม มีโอกาสทำกำไร captial gain 5-10 เท่า (เข้าใช้คำว่า 5-10 baggers) หุ้นกลุ่มนี้จะเป็นหุ้นที่นักวิเคราะห์ Walstreet เมิน ไม่สนใจ ธุรกิจที่น่ารังเกียจ ชื่อทุเรศ ผิดศีลธรรม ฯลฯ เขายกตัวอย่างได้ตลกมากครับ เช่น ธุรกิจรับจัดงานศพ ธุรกิจล้างเชื้อรา ธุรกิจชื่อ "Pep Boys - Manny Moe & Jack" (ชื่อเหมือนหนังตลก) ส่วนเรื่องของหุ้นที่โต ในอุตสาหกรรมที่ไม่โต ไม่ได้เป็นใจความสำคัญครับ เขาแค่ยกตัวอย่าง (ธุรกิจรับจัดงานศพก็เข้าข่ายนี้) ที่จริงแล้ว Peter Lynch เน้นที่สุด คือ การลงทุนจะให้ผลดีได้ก็ต่อเมื่อเป็น 'Business-like' มากที่สุด แล้วตัวเขาก็ทำงานหนักกว่าคนทั่วไปอย่างน้อย 2-3 เท่าครับ แล้วตอนนั้นนักลงทุนอาชีพยังไม่เก่งอย่างวันนี้ (และ Investment back ก็ไม่เลวอย่างวันนี้) ตอนนี้โลกเปลี่ยนไปเยอะแล้วครับ แถมให้ครับ คือ นักลงทุนทุกวันนี้ใช้ตำราพิชัยสงครามเลยครับ รู้เขารู้เรา ร้อยศึกไม่พ่าย เรียนให้หมดเลยครับ Fundamental analysis และ Technical analysis ทุกประเภท + Finance + Macroeconomics + Money market + Forex + Commodities แค่ 3-5 ปีก็เก่งครบแล้วครับ และสำคัญที่สุด คือ เรียนรู้ธุรกิจและตลาดหุ้น (SET) เพราะไม่มีที่ไหนในโลกที่มีธุรกิจแบบเดียวกับเมืองไทย และเราได้เปรียบนักลงทุนต่างชาติที่ไม่มีทางเข้าใจธุรกิจไทยได้มากเท่าคนไทย ผมเชื่อว่าเก่งแค่ไหน Peter Lynch กับ Buffet ก็สู้เจ้าถิ่นอย่างเราไม่ได้หรอกครับ
โดย
Winstein
จันทร์ ก.ย. 16, 2013 11:13 pm
0
12
Re: พอร์ตจากกำไรกลายเป็นขาดทุน vi ยังชิวๆกันรึเปล่าครับ
ช่วงนี้ผมเหนื่อยกับการต้องมาประเมินมูลค่ากิจการ ทำการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ Risk/Reward ในพอร์ตพอสมควร เพราะ การ Switch หุ้นระหว่างตลาดผันผวนนี่ถือว่าเป็นศาสตร์ขั้นสูงในการลงทุน ระดับความยากนี่มากกว่า Stock Selection และ Portfolio Management ตอนที่ตลาด stable คนละเรื่องเลย ตามปกติเวลาเรา Valuation เราจะทำการประเมินมูลค่ากิจการในหลายๆ รูปแบบ มอง P/E บ้าง EV/EBITDA บ้าน มอง Yield บ้าง DCF บ้าง Owner Earnings บ้าง มองในมุมลงทุนระยะยาวบ้าง มองในมุมเก็งกำไรบ้าง ซึ่งแค่ทำตัวเดียวก็เหนื่อยแล้ว ทีนี้พอเรามีหุ้นที่เราติดตามอยู่หลายๆ ตัว คุณภาพกิจการต่างกัน Valuation Model ต่างกัน เวลาจะตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง เราต้องทำการเปรียบเทียบหุ้นในพอร์ตของเรา โดยหุ้นตัวหนึ่งอาจจะมี Valuation Model ที่เราถนัดๆ สัก 3 Model แล้ว ก็เอาคุณภาพกิจการมา Weight เปรียบเทียบ Upside, Downside, Yield, ปันผล ความสบายใจ กำหนดออกมาว่าราคาไหนเราสนใจ อยากจะมี Position สักเท่าไหร่ ถ้าปรับพอร์ตเป็นแบบใหม่แล้ว Expected Yield หรือ Expected Upside เป็นอย่างไร... มันคือการมองกิจการหลายๆ กิจการพร้อมๆ กัน เทียบ Risk/Reward พร้อมๆ กัน โดยที่ราคายังไม่นิ่ง ในมุมมองหลายๆ มุม เลยทำให้ยากมาก ผมว่า รอให้ตลาดนิ่งๆ สะเด็ดน้ำๆ มานั่งวิเคราะห์ เอาจังหวะที่เราเห็นชัดๆ เด็ดๆ แล้วค่อยปรับพอร์ตน่าจะง่ายกว่านะครับ เวลาตลาด Misprice หุ้นตัวหนึ่ง จะ Misprice อยู่นานระดับเป็นเดือนครับ ช่วงนี้รักษาใจตัวเองไม่ให้ซัดส่ายไปตามตลาดได้ก็เก่งแล้วครับ แต่ถ้าเล็งๆ อะไรไว้อยู่แล้ว เห็นอะไรที่ชัดเจนมาก จะหวดเลยก็ไม่ว่ากัน ฮาๆ[/quote] เห็นด้วยกับคุณ picatos มากครับ ผมก็ใช้วิธีเปรียบเทียบ Risk/Reward profile เหมือนกัน แต่มุมมองผมอาจจะแตกต่างจาก vi ส่วนใหญ่ คือ 1. ผมทำนายว่าดัชนีหุ้นจะลงต่อ อาจจะไป 1200 แต่ผมไม่ถือเงินสด เพราะดัชนีไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (และผลประกอบการ) ของบริษัทที่ผมถืออยู่ ดัชนีจะมีผลกับเฉพาะโบรคเกอร์หุ้นเท่านั้นแหละ 2. ผมชอบ Portfolio theory มาก และเน้นการ diversify แต่พอประมาณ (5-10 หุ้น) ปีนี้ผมมีหุ้นถ่านหินที่ลงหนักกว่าตลาด แต่ผลจากการ Diversity ก็ยังช่วยให้ดีกว่าตลาดอยู่ดี 3. ผมปรับพอร์ทหลังประกาศงบ ทุก ๆ 3 เดือน หุ้นแต่ละตัวถือยาวไม่เท่ากัน ตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปีขึ้นไป 4. ตลาดผันผวน เป็นช่วงที่คนฉลาดทำเงิน แต่อาจต้องทำการบ้านหนักเพิ่มขึ้นสักนิด ผมชอบแนวคิดของ Contrarian investor เช่น John Templeton และ David Dreman กล้ารับหุ้นที่ลงมากกว่าตลาดเยอะ ๆ แค่ต้องทำการบ้านหนักหน่อย เพราะหุ้นที่ลงแบบนี้ 9 ใน 10 พื้นฐานแย่จริง สมควรลงแล้ว แต่ต้องหา 1/10 ที่ลงแบบไม่มีเหตุผลให้เจอ เมื่อเจอแล้วก็กล้าซื้อก่อนใคร ติดดอยระยะสั้นแล้วผลตอบแทนเยอะและเร็ว [ไม่แนะนำคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ วิธีนี้ต้องระวังมาก ๆ ผมก็ผิดเป็น บางทีก็เจ็บ] 5. ถึงจะไม่ดูดัชนี แต่ผมดู Macroeconomics trend ตอนนี้นักลงทุนในประเทศส่วนมากยังไม่เข้าใจ ผมติดตาม Exchange rate, ราคา Commodity (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกิจการ - ไม่ดูทองคำ), นโยบายการเงินการคลังของประเทศใหญ่ (QE อเมริกา ญี่ปุ่น, แนวโน้ม Carry trade ฯลฯ) และ business cycle ของแต่ละประเทศ 6. หากิจการที่ความความเสี่ยงน้อย (เปรียบเทียบจาก risk/reward profile) ถ้าคิดว่าเศรษฐกิจประเทศไทยมีความเสี่ยง ก็ซื้อบริษัทที่มีธุรกิจส่งออก หรือ commodity ที่อยู่ในวัฎจักรขาขึ้น ได้ประโยชจ์จากค่าเงินบาทอ่อน หรือ ธุรกิจส่วนใหญ่อยู่ในต่างประเทศ เท่านี้ก็ลดความเสี่ยงไปได้มากแล้วครับ เวลาทำการบ้าน ผมไม่เปิด ticker นะครับ เวลาราคาหุ้นขึ้นลงระหว่างดูงบการเงินมันทำให้ปวดหัวพิลึก ผมดูราคาหุ้นเฉพาะหลังทำการบ้านเสร็จแล้วเท่านั้น
โดย
Winstein
อาทิตย์ ก.ย. 15, 2013 4:55 am
0
7
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
นโยบายใช้เอธานอลแรกเริ่มที่บราซิล ที่มีการปลูกอ้อยและโรงน้ำตาลเยอะ แล้วพอหมักทำเอธานอลก็ได้ yield ดี บริษัทน้ำมันบราซิลก็เลยเอามาผสมน้ำมันขาย กำไรเป็นล่ำเป็นสัน (คุ้นๆ ว่าเป็น Petrobras) อเมริกาก็เอามั่ง ต้องการพึ่ง fossil fuel น้อยลง มีการรณรงค์ใช้พลังงานที่ยั่งยืน (Renewable energy) อเมริกาปลูกข้าวโพดเยอะ เลยใช้ข้าวโพดทำเอธานอล แต่บอกได้เลยว่าขาดทุนยับ บวกต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าหมัก ต้นทุนแพงกว่าเอธานอลของบราซิลหลายเท่าตัว โครงการยังอยู่ได้เพราะรัฐบาลอเมริกาออกเงิน subsidize อยู่ ตอนนี้ผู้ส่งออกเอธานอลหลักก็เป็นบราซิลกับอเมริกา ไทยเราก็เลียนแบบนโยบายอเมริกา BOI ส่งเสริมโรงหมักเอธานอลหลายโรงมาก ๆ แต่เรายังโชคดีที่เอากากน้ำตาลกับมันสำปะหลังมาใช้เป็นวัตถุดิบได้ ต้นทุนเราก็เลยพออยู่ได้ ไม่ต้องคอยพึ่งรัฐบาล ระยะยาวเอธานอลคงพออยู่ได้ครับ แต่มาแบบบิดเบี้ยว เพราะในความเป็นจริง มันไม่มีความจำเป็น สงสารคนที่ขับรถหรือมอเตอร์ไซค์รุ่นเก่าๆ ต้องไปเปลี่ยนเครื่อง ไม่งั้นเอธานอลกัดพังหมด ส่วนตัว ผมคิดว่าพลังงานทางเลือก Biodiesel จากน้ำมันปาล์มเป็นทางออกที่สมเหตุสมผลที่สุด เราดวงดีที่แผ่นดินเรามีน้ำเหลือเฟือ ปาล์มเป็นพืชที่ต้องการน้ำเยอะ (แทบจะปลูกในนาข้าวได้) และให้ yield น้ำมันปาล์มได้ถึง 30% สูงกว่าพืชน้ำมันอื่น ๆ ลิบลับ ต้นทุนที่แท้จริงก็สู้น้ำมันดิบได้ แต่บริษัทน้ำมันใหญ่ๆ มันกลัวกันมาก เพราะมันจะผูกขาดยากขึ้น ผมคาดว่าคงยังเกิดไม่ได้ไปอีกสักพัก [ท่านที่เป็นวิศวกรเครื่องยนต์หลายท่านคงจำได้ว่าเครื่องดีเซลรุ่นแรกเขาพัฒนามาใช้กับน้ำมันพืช ผมอ่านเจอว่ามีวิศวกรเครื่องยนต์ต่างประเทศเอาน้ำมันพืชไปผสมกับน้ำมันธรรมดา คุ้นๆ ว่าประมาณ 8:2 (ต้องไปทดสอบดูอีกที) ไปใช้กับเครื่องดีเซลได้เหมาะเจาะ ไม่มีปัญหา น้ำมันปาล์มก็คงไม่ต่างกันเท่าไหร่] สังเกตได้ง่าย ๆ ว่าบริษัทน้ำมันใหญ่ๆ จะสร้างภาพ ว่าสนับสนุนพลังงานทางเลือก พลังแสงอาทิตย์ พลังลม ฯลฯ แต่จะไม่มีทางสนับสนุนน้ำมันปาล์ม เพราะโรงสกัด โรงกลั่น มันทำง่ายเกินไป ใครๆ ก็ทำได้ บริษัทน้ำมันเสียประโยชน์เขาก็เลยไม่ทำ
โดย
Winstein
พุธ ก.ค. 17, 2013 9:13 pm
0
2
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
โรงที่สองของ Thai Agro เป็น multi-feed ครับ ใช้กากน้ำตาลก็ได้ ใช้มันสำปะหลังก็ได้ อันนี้ได้เปรียบโรงอื่นเยอะมาก
โดย
Winstein
พุธ ก.ค. 17, 2013 1:14 pm
0
2
Re: มีบริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดทำเอทานอลบ้างครับ
บริษัทลูกของ LANNA คือ Thai Agro Industry มีโรงเอธานอลสองโรงแล้วครับ พอเปิดโรงที่สองเต็มสูบช่วงต้นปี 55 ธุรกิจเอธานอลก็พลิกเป็นกำไรต่อเนื่องครับ ตอนนี้เอธานอลล้นตลาดอยู่บ้าง แต่เข้าใจว่า Thai Agro Industry มีสัญญาขายอยู่กับ TOP ก็เลยไม่กระเทือน
โดย
Winstein
พุธ ก.ค. 17, 2013 4:54 am
0
1
Re: ขอความเห็นในการลงทุนหุ้นโรงพยาบาลเพื่อทำHedgeตัวเอง
เข้าใจว่าคุณ Gitz พูดถึง Hedge ป้องกันความเสี่ยงจากรายได้ที่อาจจะลดในอนาคต ก็เลยลองมองเรื่องการลงทุนในหุ้น แล้วก็มองเลือกหุ้นโรงพยาบาลเป็นหลักเพราะทำงานในโรงพยาบาลอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นคุณได้เปรียบเยอะอยู่แล้วครับ นักลงทุน 99% เขาไม่มีข้อมูลที่คุณมี แต่อย่าลืมทำการบ้านเรื่องการเงินของโรงพยาบาล และคำนวณผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นให้ดี เป็นเรื่องสำคัญกว่าธุรกิจประจำวันที่คุณได้เห็นทั่วไป กำไรหรือขาดทุนอยู่ที่คุณซื้อรพ. ที่ดี และราคาเหมาะสม และก็เตรียมใจด้วย ว่าถ้าหุ้นลงจาก 1500 ไปเหลือ 800 คุณจะไม่ตกใจขายโรงพยาบาลดีๆ ของคุณออกไป สำหรับผม ตัวอย่างการ Hedge ที่ผมใช้ คือ 1. บางช่วง ผมมีรายได้เป็นเงินดอลลาร์อเมริกา ผมซื้อหุ้นไทยในช่วงนั้น มันก็เป็นการลดความเสี่ยงรายได้ที่จะลดลงจากค่าเงินบาทแข็งเมื่อเทียบกับดอลลาร์ 2. มีหุ้นสองบริษัทเป็นธุรกิจเดียวกัน เป็นคู่แข่งกัน ได้รับสัมปทานจากรัฐทั้งคู่ บริษัทหนึ่งสัมปทานหมดปีนี้ อีกบริษัทสัมปทานหมดปีหน้า ผมซื้อทั้งสองบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงรายได้ลดจากการไม่ได้ต่อสัมปทาน (ของบริษัทแรกในปีนี้) และอาจมีการปรับสัดส่วนการถือทั้งสองบริษัทในระหว่างช่วงปีนี้ (เพราะนักลงทุนรับรู้การได้หรือไม่ได้ต่อสัมปทานของทั้งสองบริษัท ไม่พร้อมกัน) เมื่อมีความไม่แน่นอน คนที่ hedge อย่างถูกต้องจะไม่มีปัญหาครับ
โดย
Winstein
อังคาร เม.ย. 23, 2013 3:01 pm
0
0
Re: อียูงัดกฎใหม่จ่อเชือดผู้ฝาก
ผมว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นกระแสระยะสั้น ไม่น่าจะเอาจริง ผมคิดว่ามีปัจจัยหลายอย่าง แต่ธนาคารเยอรมัน (ECB ฯลฯ) มีอำนาจสูงสุดในด้านการเงินในยุโรป ก็จะเอาผลประโยชน์ตัวเองไว้ก่อน 1. ตอนที่เกิดวิกฤติที่ไอร์แลนด์ กรีซ สเปน โปรตุเกส (แต่ละประเทศปัญหาไม่เหมือนกันซะทีเดียว) แต่ธนาคารเยอรมันคำนวณได้ว่าต้องช่วยอุ้ม ไม่งั้นก็จะเป็นลูกโซ่ กระทบเศรษฐกิจทั่วยุโรป 2. พอเกิดปัญหาที่ธนาคารไซปรัส ทั้งๆ ที่ปัญหาเกิดจาก haircut ให้กรีซ แต่เยอรมันไม่ยอมช่วย เพราะไซปรัสเป็นเกาะเล็กๆ คนแค่ไม่ถึงล้านคน แล้วเงินฝากของธนาคารไซปรัสส่วนใหญ่ก็เป็นพวกเศรษฐีรัสเซียเอาเงินไปใส่ไว้ คิดจะแก้ปัญหาง่าย ๆ โดยเปลี่ยนเงินฝากในธนาคารที่อยู่ในสถานะล้มละลาย กลายเป็นหุ้นในธนาคารที่เกือบล้มละลาย แล้วก็ฟื้นฟูธนาคารใหม่ เรียกง่าย ๆ ว่าปล้นเศรษฐีรัสเซีย แต่ถ้ามองย้อนกลับไป ธนาคารเยอรมันประกาศให้ไซปรัสหักเงินจากบัญชีเงินฝากก็เท่ากับกระทืบซ้ำ ใครรู้ก็ต้องแห่ไปถอนเงิน ธนาคารไซปรัสที่แย่ๆ ก็เลยตายโหงหมดสิ้นหนทางดิ้น ต้องกู้เงินจากธนาคารเยอรมันเพิ่ม คล้าย ๆ ตอนไทยกู้ไอเอ็มเอฟปี 40 กรณีที่ 2 นี่สหภาพยุโรปคงไม่โง่ตั้งเกณฑ์ขึ้นมาจริง ๆ หรอก เพราะนักลงทุนสถาบันต้องย้ายเงินออกจากยุโรปกันพัลวัน ปั่นป่วนแน่ ๆ ผมว่าเขาประกาศเพื่อช่วยผลักให้ประธานาธิบดีไซปรัสเดินหน้าตามข้อ 2 สำเร็จ ผมว่าเรื่องนี้ยังดรามากันอีกยาว
โดย
Winstein
อังคาร เม.ย. 09, 2013 2:36 am
0
2
Re: บริษัทที่ free cashflow ติดลบเกือบทุกปี ดีไหมครับ
ขอแก้ไขตัวเองครับ DEMCO ตัว Cashflow ติดลบตามที่ จขกท. บอกไว้จริง ๆ สงสัยวันนั้นดูหลายบริษัทไปหน่อยเลยเบลอ มองข้ามบรรทัดที่สำคัญที่สุดไป ที่สำคัญคือ เงินจากการดำเนินงานปกติ (Cash from Operations) ติดลบเกือบตลอด ที่มีเงินเพิ่มในแต่ละปีมาจากการระดมทุน ในตลาดมีบริษัทลักษณะนี้หลายบริษัทมากครับ ส่วนตัวผมเลี่ยงบริษัทที่ Cash from Operations ติดลบ หลายๆ ปี แสดงว่าธุรกิจหลักไม่แข็งแรง
โดย
Winstein
อังคาร มี.ค. 19, 2013 8:18 am
0
0
Re: บริษัทที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่ครบตามเกณฑ์
ส่วนตัวผมมองว่าบริษัทที่เข้าข่ายนี้ ส่วนมากน่าลงทุน (ถ้าราคาหุ้นไม่แพงเกินพื้นฐานมากนัก) ตรรกะง่าย ๆ คือ ถ้าเจ้าของไม่แบ่งใคร ของต้องดีจริง มีใครทราบไหมครับ ว่าค่าธรรมเนียมที่เพิ่มส่วนนี้มันเท่าไหร่ ???
โดย
Winstein
อังคาร มี.ค. 19, 2013 2:11 am
0
0
Re: บริษัทที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่ครบตามเกณฑ์
ขอบคุณมากครับ เข้าไปอ่านแล้ว ผม copy ส่วนที่ผมสนใจมาให้เพื่อน ๆ ด้วย บจ/ร 01-18 แนวทางดำเนินการกรณีบริษัทจดทะเบียนที่มีการกระจายรายย่อยไม่ครบถ้วน เหตุผลในการประกาศใช้ : โดยที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องดำรงคุณสมบัติใน ด้านการกระจายการถือหุ้นรายย่อยให้ครบตามจำนวนที่กำหนด เพื่อให้หุ้นของบริษัทมีจำนวนสูงระดับ หนึ่งที่สามารถหมุนเวียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งสภาพคล่องของหุ้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะ เพิ่มความน่าสนใจในการลงทุนให้แก่บริษัทจดทะเบียน อันจะส่งผลให้บริษัทจดทะเบียนสามารถ ระดมทุนได้ง่ายและประสบผลสำเร็จ ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์จึงเห็นควรนำวิธีการซื้อขายแบบ Call Market หรือการจับคู่การซื้อขายแบบกำหนดเวลาที่แน่นอน มาปรับใช้กับการซื้อขายหุ้นของ บริษัทจดทะเบียนที่ไม่สามารถกระจายการถือหุ้นรายย่อยให้ครบตามจำนวนที่กำหนด บจ/ร 01-07 การดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2544 (06 พ.ย. 2555) ข้อ 7 บริษัทจดทะเบียนต้องดำรงคุณสมบัติเรื่องการกระจายการถือหุ้น โดยต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยไม่น้อยกว่า 150 ราย และผู้ถือหุ้นดังกล่าวต้องถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของทุนชำระแล้วของบริษัทจดทะเบียน หรือมีจำนวนผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยและจำนวนรวมของหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นดังกล่าวตามที่คณะกรรมการอาจผ่อนผันตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย การรับหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วย การรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใน "ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ" แล้วแต่กรณี
โดย
Winstein
อังคาร มี.ค. 19, 2013 2:08 am
0
0
Re: สงสัยเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนกองทุนรวมอสังหาฯ
ขอบคุณบทความของ ดร. นิเวศน์ครับ มองการณ์ไกลจริง ๆ มีตั้งหลายประเด็นที่ผมคาดไม่ถึง ทีนี้ผมนึกขึ้นได้อย่างหนึ่งคือตัวอย่างกองทุนที่มีหมดอายุ 20 ปี เรียกง่าย ๆ ว่าสัญญาเซ้ง 20 ปี ขอถามท่านที่เก่งบัญชีครับ ถ้ามูลค่าของห้างที่ขายไปราคา 4000 ล้าน แล้วประเมินว่าอีก 20 ปี มูลค่าจะอยู่ที่ 4000 ล้านเท่าเดิม (ไม่ต้องจ่ายค่าเสื่อมเพราะกองทุนรวมอสังหาฯจะช่วยบำรุงรักษาให้) ทีนี้เวลาครบปีที่ 20 บริษัทก็ต้องรับโอนห้างนี้คืน กลายเป็นกำไรพิเศษ 4000 ล้านบาท แต่ผมเข้าใจว่าคงจะบันทึกเหมือนค่าเสื่อม แต่กลับข้างกัน กลายเป็นกำไรพิเศษ ปีละ 200 ล้าน 20 ปี น่าจะถูกต้องกว่า อยากทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ ถ้าอย่างนี้ บริษัทที่ขายกองทุน 'เซ้ง' อสังหาริมทรัพย์ก็ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง ถูกหวย 3 ต่อเลยนะนี่ :mrgreen:
โดย
Winstein
อังคาร มี.ค. 12, 2013 11:54 pm
0
1
Re: บริษัทที่ free cashflow ติดลบเกือบทุกปี ดีไหมครับ
ถ้าสนใจบริษัทนั้นมาก ๆ ลองดูอัตราส่วนทางการเงินให้คล่องนะครับ ที่สำคัญคือ cash position และ operating cashflow ถ้าเป็นบริษัทใหญ๋ ๆ ใน SET50 ส่วนมากไม่มีปัญหาเรื่อง Cashflow และถ้าเป็นธนาคาร ประกัน หรือ leasing จะเห็นว่า Cashflow ติดลบตลอดเวลา (โดยเฉพาะเวลาขยายกิจการ) เป็นเรื่องปกติครับ ถ้าดูหุ้นขนาดกลาง-เล็ก ต้องระวัง ใช้ Quick Ratio และ Current ratio ดูแต่ละ Quarter ว่าบริษัทมีเงินหมุนเวียนพอหรือเปล่า สถานะทางการเงินมั่นคงหรือเปล่า เพราะถ้า cashflow ติดลบ ไม่นานก็ต้องงดปันผล หรือปันผลหุ้น (เพิ่มทุน) แล้วก็วิ่งไปกู้ระยะสั้นเพิ่ม ยังไม่พอก็กู้ระยะยาวเพิ่ม แล้วถ้าลบต่ออาจจะวิ่งกลับมาหาผู้ถือหุ้นขอเพิ่มทุนอย่างเป็นทางการ ถ้าไม่สามารถพลิกเป็นกำไรได้ ก็เสียตังค์ไปวัน ๆ ครับ และอาจล้มละลายด้วย ตัวอย่างก็ Cawow เป็นต้น :roll: ลองดูใน http://th.wikipedia.org/wiki/อัตราส่วนทางการเงิน สำหรับผม บริษัทเล็ก cashflow ติดลบเกือบทุกปี บ๊ายบายครับ ปล. สงสัยเรื่อง DEMCO เลยเข้าไปดู Cashflow เป็นบวกติดต่อกันมาหลายปีนะครับ ต้องดู Net Change in Cash บรรทัดสุดท้ายของ Cashflow statement นะ
โดย
Winstein
อังคาร มี.ค. 12, 2013 11:38 pm
0
0
Re: การปันผลเป็นหุ้น
[quote="Plant"]แล้วการปันผลเป็นหุ้น กับการเพิ่มทุนหละครับ แบบไหนมีดีมีเสียมากกว่ากันครับ....*-*??) ....^^)[/quote] ผมว่า คำตอบอยู่ที่คำอธิบายของผู้บริหาร มันมีหลายกรณีมาก ๆ แต่ผมยกตัวอย่างสองอัน 1. บริษัทขาดสภาพคล่อง เงินสดไม่พอปันผล เลยปันผลเป็นหุ้นแทน ตัวอย่างก็บริษัทพัฒนาอสังหาฯ หลาย ๆ บริษัท อันนี้ชัดอยู่แล้วว่าบริษัทพื้นฐานการเงินไม่ดี 2. เอาเป็น SF ละกัน สองปีก่อน มีการออกหุ้นเพิ่มทุน เพื่อไปร่วมทุนกับ IKEA ทำ MEGA Bangna อันนี้คือดี เพราะชัดเจนว่าเอาเงินที่เพิ่มทุนไปทำอะไร ถ้าเพิ่มทุนแบบข้อ 2 เทียบกับปันผลหุ้นแบบข้อ 1 ผมก็ต้องเลือกเพิ่มทุนแน่ ๆ แต่ส่วนตัวผม ผมมองหุ้นที่มีการเพิ่มทุนเข้าข่ายเดียวกับหุ้น IPO คือ เป็น Speculative buy ผู้บริหารที่รอบคอบควรจะเอา Operating cashflow และสินทรัพย์ที่มีไปคำประกันกู้เงินเอามาลงทุนต่อ การวิ่งมาขอเพิ่มทุนกับผู้ถือหุ้นควรเป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ ที่ฉลาดขึ้นไปอีกคือพวกที่ขายสินทรัพย์ออกมาเป็นกองทุน Property Fund ผมว่าบริษัทได้ประโยชน์เต็ม ๆ เพราะยังมีสิทธิในการบริหารสินทรัพย์ แต่โยนความเสี่ยงให้นักลงทุน ส่วนบริษัทพวกนี้เอาเงินที่ได้จากขาย PF ไปลงทุนอย่างอื่นเรียบร้อยแล้ว
โดย
Winstein
ศุกร์ มี.ค. 08, 2013 1:17 pm
0
0
Re: การปันผลเป็นหุ้น
ปันผลหุ้นไม่ค่อยมีประโยชน์กับผู้ถือหุ้นจริงครับ ผมมองว่า ปันผลหุ้นจะมีผลดี มีแค่ 2 ข้อคือ 1. ผู้บริหารอธิบายได้ว่า เงินที่เก็บไว้ในบริษัทเพื่อใช้ทำอะไร 2. หุ้นพื้นฐานดีมากที่ไม่มี Liquid เลย เช่น EPS หุ้นละ 15 บาท แล้วราคาหุ้นละ 350 บาท ซื้อขายกันสัปดาห์ละ 1000-2000 หุ้น อันนี้ปันผลหุ้นน่าจะเป็นผลดี ที่ผมไม่ชอบที่สุด คือการปันผลหุ้น มันดึงให้ trader เข้ามาซื้อขาย โดยเฉพาะพวกที่พยายามทำ Arbritrage อีกอย่างคือ บริษัทที่ปันผลหุ้นหลายบริษัทจะมี IR ที่ค่อนข้าง aggressive ค่อนไปทางขายตรง เหมือนเจ้าของอยากขายยังไงก็ไม่รู้ ผมว่าไม่เป็นผลดีระยะยาวนะ ผู้บริหารน่าจะตั้งหน้าตั้งตาดูธุรกิจหลักมากกว่า IR
โดย
Winstein
ศุกร์ มี.ค. 08, 2013 10:49 am
0
0
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
ขอบคุณ Unstable mind สำหรับ link ของ Peter Lynch ครับ ใจความใกล้เคียงกับหนังสือสองเล่มมาก (Beating the street, One up on Wallstreet) ดูแล้วรู้สึกได้ทบทวน เล่มแรกทำให้ผมกล้าซื้อหุ้นกลุ่ม Leasing กับ ธนาคาร ผมเปิดหนังสือทบทวนเกี่ยวกับ John Neff สังเกตได้ว่า Peter Lynch กับ John Neff ลงทุนคล้ายกันมาก ต่างกันที่ John Neff ดูจะเน้น p/e ต่ำ (value stock) มากกว่า รู้สึกว่าประสบการณ์สองคนนี้สอนสิ่งเดียวกัน แต่มองคนละด้าน แล้วก็คุณ Pedbombam ข่วยแนะนำหนังสือของ Peter Krass เห็นใน amazon แล้วอยากได้มาก ขอตั้งกระทู้ใหม่เรื่องหนังสือ ที่จริงแล้ว กระทู้นี้ผมตั้งหัวข้อพลาดไปนิดนึงครับ น่าจะตั้งว่า 'การเลือกหุ้น' มากกว่า เพราะเนื้อหาเน้นการเลือกหุ้นจริง ๆ ที่จริงการลงทุนมีส่วนอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ข้อแตกต่างของนักลงทุนระดับตำนานแต่ละคนอีกอย่างที่ชัดก็คือ Buffett เป็นคนเดียวที่สามารถถือเงินสดเยอะ (>20%) ในวันที่ไม่มีอะไรจะซื้อ คนอื่น ๆ ถือเงินสดน้อย (เพราะถูกบังคับตามกฎของผู้จัดการกองทุน) ส่วน George Soros ใช้ Leverage เยอะครับ [ถ้ามี NAV = 100 เงินสดเหลือ 10 โซรอสอาจจะเทรดวันละ 50 โดยเป็นเงินกู้ระยะสั้นทั้งหมด อันนี้ผมเดานะครับ ตัวเลขอาจไม่ใกล้ความจริง เพราะไม่ได้ติดตามกลยุทธของ Soros] ผมคิดว่าการถือเงินสดในวันที่ถูกต้อง และกล้าตัดสินใจซื้อธุรกิจที่ถูกต้อง (ถึงจะราคาแพง) ทำให้ Buffett ประสบความสำเร็จสูงกว่าคนอื่น [เรื่องเงินสดนี่ยกเว้น Ben Graham ด้วย ไม่มีใครรู้ เขาไม่ได้เขียนไว้ใน Intelligent Investor]
โดย
Winstein
เสาร์ มี.ค. 02, 2013 11:29 am
0
0
Re: ทำไมเจ้าของถึงยอมขายกิจการให้ วอร์เรน บัฟเฟต ครับ
หนังสือ The Snowball โดย Alice Schroeder บรรยายประวัติการลงทุนของ Buffett ไว้ละเอียดมากครับ และมีอีกหลายเล่มที่เจาะรายบริษัท แต่ละกิจการที่ Buffett ซื้อมีที่มาแตกต่างกัน Geico กับ General Re บัฟเฟตต์เดินเข้าไปที่บริษัท ตั้งแต่หลายสิบปีก่อน ตอนที่เพิ่งเริ่มจัดการกองทุน เข้าไปเจอผู้บริหาร (จำได้ว่าเป็น MD บริษัท) ในวันอาทิตย์ แล้วก็เลยได้นั่งติวกันตัวต่อตัว เขาก็ชอบธุรกิจประกันจากนั้น จนสุดท้ายซื้อธุรกิจประกันอย่างน้อย 3-4 บริษัท Coke อันนี้ถ้าจำไม่ผิดเขาชอบผู้บริหารคนก่อน จำชื่อไม่ได้ ประมาณ Goizueta อะไรประมาณนั้น แล้วก็ชอบเพราะ Branding แข็งแกร่งมาก ประมาณว่าเอาเสาไฟฟ้ามาบริหารก็กำไร Berkshire Hathaway เป็นโรงงานผลิตผ้า ตอนนั้นลงทุนตามบทเรียนของ Ben Graham คือ บริษัทมีทรัพย์สินเยอะ กิจการไม่ดีสุดท้ายเลิกผลิตผ้า เอาทรัพย์สินไปซื้อบริษัทอื่นแทน บัฟเฟตเลิกลงทุนตาม Graham ก็เพราะบทเรียนของ Berkshire Hathaway แล้วยังมี See's Candies, Gillette Costco บริษัทเฟอร์นิเจอร์ ผมจำได้ไม่หมดครับ แต่ที่แน่ ๆ Buffett ไม่เคยมี Microsoft (ทั้งที่สนิทกับ Bill Gates มากกว่าลูกเมียอีก) หรือ Walmart (คุ้นๆ ว่าเพิ่งเริ่มซื้อ Walmart เร็วๆ นี้) สุดท้าย Citibank อันนี้พิเศษมาก เพราะ Buffett ไม่ต้องการซื้อเพราะไม่ชอบธนาคาร แต่ผู้บริหารรู้ว่า Citibank จะล้ม ต้องการเงินด่วนหลักหมื่นล้านเหรียญภายในข้ามคืน รู้ว่าบัฟเฟตเก็บเงินสดเยอะ ก็เลยไปขอเงินลงทุน Buffett ก็เลยต้องเสนอดอกเบี้ยประมาณ 9% ลองหาอ่านดูครับ ผลตอบแทนสูงพอๆ กับซื้อ Junk Bond เลย ขนาดบัฟเฟตลงทุนแล้วยังต้องให้รัฐบาลอเมริกามาอุ้มอีกต่อ เรียกว่าตอนนั้น Citibank เข้าโคม่าเลยทีเดียว ทำให้นึกถึงตอนที่อ่านเจอ ว่าถ้าลงทุนหุ้น ให้ซื้อบริษัทที่ดี ถ้าลงทุน Bond ให้ซื้อบริษัทที่แย่ แต่ไม่ล้มละลาย
โดย
Winstein
ศุกร์ มี.ค. 01, 2013 1:43 pm
0
4
Re: เพื่อน ๆ thaivi ลงทุนกันแบบไหน
ผมไม่ได้ใส่ Warren Buffett เพราะ Buffet เป็นลูกศิษย์ Ben Graham ตอนหนุ่ม ๆ ลงทุนเหมือน Graham ครับ Buffett เริ่มดู Growth stock มากขึ้นหลังจากที่เจอ Charlie Munger และสุดท้ายเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนเป็นเหมือน Phil Fisher ถ้าเข้าไปดูประวัติของ Berkshire Hathaway จะเห็นว่าเป็นไปตามนี้เลยครับ อ่านละเอียด ๆ ได้ใน The Snowball เขียนโดย Alice Schroeder ที่จริงแล้ว ลักษณะเฉพาะตัวของ Buffett เท่าที่ผมทราบมีแค่ 2 ข้อครับ คือ 1 ซื้อเพื่อควบคุมกิจการ ถ้าทำ Tender offer ออกจากตลาดได้ก็จะทำ 2 กิจการถือหุ้นไขว้กัน ซื้อบริษัท A บริษัท A ไปซื้อบริษัท B บริษัท B ไปซื้อบริษัท C และ D และ D ซื้อหุ้น B ฯลฯ กลายเป็นเครือข่ายบริษัทไขว้กัน แต่ปัจจุบันถือหุ้นไขว้กัน ผิดกฎหมายแล้วครับ ตอนนี้ Berkshire Hathaway เป็น Holding Company เรียกว่าเป็นร่มใหญ่ แต่บริษัทลูกเช่น General Re กับ Coke ถือหุ้นไขว้กันไม่ได้ สองข้อนี้คนที่ไม่ได้เกิดมาเงินกองโตเท่าภูเขาทำไม่ได้หรอกครับ Buffett เองก็รวยแต่เด็กเป็นทุนอยู่แล้ว
โดย
Winstein
พฤหัสฯ. ก.พ. 28, 2013 6:19 pm
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
Winstein
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
งานอดิเรก:
Growth stock at a discount price
ความถนัด:
Technical consultant / Scientist
ที่อยู่:
Bangkok
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พุธ ส.ค. 11, 2010 3:29 pm
ใช้งานล่าสุด:
อาทิตย์ มิ.ย. 20, 2021 11:31 pm
โพสต์ทั้งหมด:
51 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.00% จากโพสทั้งหมด / 0.01 ข้อความต่อวัน)
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว