หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
owen
ราคาคือสิ่งที่เราจ่าย แต่มูลค่าคือสิ่งที่เราได้รับ
Joined: พฤหัสฯ. พ.ค. 05, 2005 8:35 pm
89
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - owen
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: EPS16YEAR งบดุล Q3 2011 ที่ประกาศ อับเดท
รบกวนพี่ครรชิต ขอ file ด้วยคนครับ
[email protected]
พอดีซื้อคอมใหม่ ขอบคุณครับ :P
โดย
owen
เสาร์ พ.ย. 19, 2011 10:50 pm
0
0
เคยมีคนในบอร์ดนี้ส่งไฟล์ชื่อว่า Stock port เป็นแบบ excel
ขอด้วยคนครับ
[email protected]
:D ขอบคุณครับ
โดย
owen
พฤหัสฯ. ก.ค. 29, 2010 9:15 am
0
0
ขอบคุณครับ
รบกวนขอด้วยครับ
[email protected]
ขอบคุณล่วงหน้าครับ :)
โดย
owen
พฤหัสฯ. ก.ค. 08, 2010 11:03 pm
0
0
ขอบคุณครับ
ขอนำมาศึกษาด้วยนะครับ
[email protected]
:D
โดย
owen
พุธ ก.ค. 07, 2010 6:27 pm
0
0
ขอด้วยคนครับ
รบกวนขอด้วยคนนะครับ พี่ครรชิต ขอบคุณมากครับ (version 2007) :D
[email protected]
โดย
owen
อังคาร พ.ค. 25, 2010 10:26 pm
0
0
10 คนใน 100 คน ประสบความสำเร็จในตลาดหุ้น แต่ 90 คนที่เหลือ..
คิดไปคิดมา จริงๆแล้วตลาดมันมีโอกาสออกเป็น 3 ทาง คือ หุ้นขึ้น หุ้นอยู่กับที่ หุ้นลง ดังนั้นจริงๆแล้วโอกาสที่จะขาดทุน มีสัดส่วนแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น แต่คนส่วนใหญ่ในตลาดกลับขาดทุนกัน ทำไมถึงออกเป็นแบบนั้นกันไม่รู้ :shock:
โดย
owen
จันทร์ มี.ค. 01, 2010 9:50 pm
0
0
ใครได้บัตรเติมน้ำมันของ ปตท. ที่แจกวันประชุมผู้ถือหุ้นบ้าง
ผมก็ได้ มา 1 ใบ แต่พอดีผมเอาไปใช้ที่ปั้ม ปตท.แล้ว ปรากฎว่าไม่มีหัวจ่าย เบ็นซิน 91กับ95 มีแต่โซฮอล์ เลยโทรไปถามที่ ir เค้า เลยแจ้งว่าต้องไปเติมต่างจังหวัดในกรุงเทพไม่มีแล้ว :shock: ก็เลยยังไม่ได้เติมซักที :cry:
โดย
owen
จันทร์ พ.ค. 05, 2008 10:14 pm
0
0
ผมมี Powerpoint แจกเรื่องค่าการกลั่น
ขอบคุณครับ
[email protected]
โดย
owen
พฤหัสฯ. เม.ย. 17, 2008 10:29 am
0
0
หนังสือดีๆจากงานหนังสือ
ไปวันเสาร์มาคนเยอะมากเหมือนกันและ ซิว หนังสือลงทุนแบบ จอห์น เนฟฟ์มา 1 เล่ม ที่ บูท SE-ED เหมือนกันครับ
โดย
owen
จันทร์ มี.ค. 31, 2008 11:05 am
0
0
Behavioural Finance กรุณาตอบแบบสอบถามเพื่อทำวิทยานิพนธ์ค่ะ
DONE :D
โดย
owen
ศุกร์ มี.ค. 21, 2008 11:19 am
0
0
ขอด้วยคนครับ
ขออัพเดทด้วยครับ v.2007 และ v.2003 กับ
[email protected]
ขอบคุณคับ
โดย
owen
พุธ มี.ค. 19, 2008 2:41 pm
0
0
Buffett Makes Offer To Bond Insurers -- On Safe Muni Debt
'วอร์เรน บัฟเฟตต์' คิดการใหญ่ เสนอรับช่วงค้ำประกันตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำมูลค่า 800 พันล้านดอลล์ 'วอร์เรน บัฟเฟตต์' คิดการใหญ่ ยื่นข้อเสนอเอ็มเบีย แอมแบค และเอฟกิครับช่วงค้ำ ประกันตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำมูลค่า 800 พันล้านดอลลาร์ หวังช่วยดับความผันผวนตลาดเงิน โลก หลังฐานะการเงินผู้ค้ำประกันตราสารหนี้เริ่มสั่นคลอนจากวิกฤตซับไพร์ม ด้านตลาดหุ้น สหรัฐฯและเอเซียตอบรับในเชิงบวกทันควัน รายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า 'วอร์เรน บัฟเฟตต์' มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งเบิร์คไชร์แฮธา เวย์ เสนอรับช่วงค้ำประกันความเสี่ยงตราสารหนี้ในประเทศความเสี่ยงต่ำที่ค้ำประกันโดยเอ็ม เบีย (MBIA) แอมแบค (Ambac) และเอฟกิค (FGIC) ซึ่งกำลังประสบปัญหาทางการเงินอันสืบ เนื่องจากวิกฤตซับไพร์ม โดยรายงานข่าวบนเว็บไซท์บลูมเบิร์กดอทคอมระบุว่า นาย บัฟเฟตต์ เสนอให้เบิร์คไชร์ แฮธาเวย์รับประกันความเสี่ยงตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าราว 800 พันล้านดอลลาร์ เพื่อแลกกับค่าธรรมเนียม4.5พันล้านดอลลาร์จากบริษัทค้ำประกันแต่ละราย ข้อเสนอดังกล่าวของนาย บัฟเฟตต์ ส่งผลดีต่อจิตวิทยาการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ สหรัฐฯ และตลาดหุ้นเอเซียวันนี้ เนื่องจากทำให้ความหวั่นเกรงว่า การประสบปัญหาทางการเงิน ของบริษัทค้ำประกันตราสารหนี้ยักษ์ใหญ่ของโลกจะสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดเงินทั่วโลกอีก ครั้ง หลังเผชิญกับวิกฤตซับไพร์มไปก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ระบุว่า หากบริษัทค้ำประกันตราสารหนี้ยอมรับข้อเสนอดังกล่าวจะทำ ให้เบิร์คไชร์แฮธาเวย์ครองส่วนแบ่งตลาดค้ำประกันตราสารหนี้ 33% ทันที อย่างไรก็ดี ขณะนี้มีรายงานข่าวจากสำนักข่าวเอพีว่า บริษัทค้ำประกันตราสารหนี้บาง รายได้ปฏิเสธข้อเสนอของนาย บัฟเฟตต์แล้ว เนื่องจากการค้ำประกันตราสารหนี้ความเสี่ยงต่ำเป็น แหล่งรายได้ที่สำคัญในขณะนี้ หลังประสบปัญหาจากการค้ำประกันตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับตลาด ซับไพร์ม ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย
โดย
owen
พุธ ก.พ. 13, 2008 10:54 am
0
0
DVD งานสัมนาเรื่อง ยุทธศาตร์ลงทุนหุ้นคุณค่า
รบกวนขอด้วย 1 แผ่นครับ ไม่ทราบว่าต้องทำยังงัยครับ ขอบคุณครับ
โดย
owen
พุธ ก.พ. 06, 2008 3:33 pm
0
0
สัมภาษณ์ MBA ที่ nida
พอดีผลสอบพึ่งออก แต่งงมากคือ เพื่อนผม สัมภาษณ์ กับอาจารย์ผู้หญิง 2ท่าน โดยอาจารย์ถามเรีองเกี่ยวกับเศรษฐกิจแต่เพื่อนผมตอบว่าพอดีไม่ได้ดู เพื่อนผมเสนอว่าถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับดาราหรือละครจะดีกว่า อาจารย์ก็เลยคุยเรื่องละครแทน โดยผลสอบออกมากลับสอบติด ส่วนผมสัมภาษณ์ กับอาจารย์ผู้ชาย 2ท่าน โดยอาจารย์ถามเรีองเกี่ยวกับเศรษฐกิจและงานที่ทำ ตอนสอบเสร็จอาจารย์ก็ดูเหมือนว่าจะok. ด้วยกับคำตอบ แต่ผลสอบออกมากลับสอบไม่ได้ เลยไม่เข้าใจว่าการสอบสัมภาษณ์ที่ nida มันเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์วัดผล :shock:
โดย
owen
พุธ ก.พ. 06, 2008 2:13 am
0
0
พบคุณฉัตรชัยในรายการ Money talk
รบกวนช่วยบอกด้วย พอดีไม่ทันได้ดู ไม่ทราบว่าจะมีฉายซ้ำอีกครั้งตอนกี่โมงและวันไหน :P
โดย
owen
ศุกร์ ม.ค. 18, 2008 9:09 am
0
0
พี่ๆน้องๆ ชอบทานไอศกรีมรสอะไรกันบ้างครับ
ชอบรส 1.ช็อคโกแลต 2.ส้ม
โดย
owen
จันทร์ ม.ค. 07, 2008 2:52 pm
0
0
มีใคร เรียน MBA chula บ้างครับ
อยากถามหน่อยว่าเวลาสัมภาษณ์ เค้าถามอะไรกันบ้างครับแล้วต้องทำยังไงบ้างเวลาไปสัมภาษณ์ :P
โดย
owen
พฤหัสฯ. ม.ค. 03, 2008 10:37 am
0
0
Pabrai's Perfect Portfolio
ขอบคุณมากครับ :cheers:
โดย
owen
อาทิตย์ ธ.ค. 16, 2007 12:58 pm
0
0
มีใคร เรียน MBA chula บ้างครับ
ผมขอถามเพิ่ม เห็นบางมหาลัยจะต้องเขียน Statement of Purpose ด้วยเวลาสมัคร อยากขอคำแนะนำว่าต้องเขียนยังไงบ้าง(เห็นบอกว่าเขียนประมาณ1 หน้าa4) มีตัวอย่างบ้างมั้ยครับ ขอบคุณครับ :P
โดย
owen
อาทิตย์ ธ.ค. 02, 2007 10:12 pm
0
0
มีีสมาชิกท่านใดเป็น"ผู้ติดต่อนักลงทุนประเภท ก."บ้า
พอดีมีใบอนุญาติผู้ติดต่อนักลงทุนประเภท ก อยู่ครับ พึ่งได้มาไม่นาน :oops:
โดย
owen
ศุกร์ พ.ย. 23, 2007 9:38 am
0
0
เคยเปิดสอนฟรีไป 10 รุ่น รุ่นละ 5 คน แบบเอามันส์
ลงชื่อ เป็นตัวสำรองด้วยคนครับพี่ :D
โดย
owen
จันทร์ พ.ย. 19, 2007 3:12 pm
0
0
ไม่รู้มาปล่อยไก่หรือเปล่า
ขอบคุณครับ 8)
โดย
owen
จันทร์ ต.ค. 22, 2007 10:24 am
0
0
The Snowball
One vote
โดย
owen
พฤหัสฯ. ต.ค. 18, 2007 2:37 pm
0
0
company visit Stanly จ้า
ขอสละสิทธิ์ครับ เนื่องจากมีงานด่วนเข้ามาในช่วงนั้นพอดี :shock: รบกวนคนที่ไปแล้วช่วยกลับมาเล่าให้ฟังด้วย ขอบคุณครับ
โดย
owen
จันทร์ ต.ค. 08, 2007 2:21 pm
0
0
เลคเชอร์ สัมมนาหัวข้อ "คาถาลงทุนสำหรับผู้ถือหุ้นรายย่อย
ขอบคุณที่แบ่งปันครับ :lol: :lol:
โดย
owen
จันทร์ ต.ค. 08, 2007 2:10 pm
0
0
company visit Stanly จ้า
ไปด้วยครับ 1 ที่ owen
โดย
owen
พฤหัสฯ. ก.ย. 27, 2007 5:34 pm
0
0
company visit Stanly จ้า
ถ้าสนใจไปด้วย จะเดินทางยังไงครับ เช่นขับรถไปเองหรือไปขึ้นรถรวมกันหรือว่าแบบอื่นครับ พอดีไม่เคยไป company visit ช่วยบอกด้วยครับ
โดย
owen
พฤหัสฯ. ก.ย. 27, 2007 2:42 pm
0
0
สัมมนา : วิเคราะห์งบการเงิน
ผมก็โหลดไฟล์อาจารย์มนไม่ได้คับใครโหลดได้ช่วยส่งให้ที่
[email protected]
โดย
owen
ศุกร์ ก.ย. 21, 2007 5:22 pm
0
0
แจก EPS16YEAR (งบดุล ย้อน 19 ปี,ราคา,Ratio,แบบเครดิตภาษี)
ขอด้วยคน ขอบคุณครับ
[email protected]
โดย
owen
พุธ ก.ย. 19, 2007 10:26 am
0
0
แจก work sheet excel สำหรับ คำนวณเครดิตภาษีปันผล
ขอด้วยคน ขอบคุณครับ
[email protected]
โดย
owen
พุธ ก.ย. 19, 2007 10:20 am
0
0
แนะนำเว็บไซด์อีบุ๊คค่ะ
สนใจหนังสือ 6เล่มนี้ รบกวนด้วยคนครับ 6. Comfort zone investing 8. how to read a financial statement 12. Financial statement analysis 13.The 5 rules for succesful investing 18. Value investing today 20. Pick stocks like Warren Buffet ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ
[email protected]
โดย
owen
อาทิตย์ ก.ย. 16, 2007 6:04 pm
0
0
สัมมนา : วิเคราะห์งบการเงิน
ขอถามเพิ่มเกี่ยวกับการเดินทางครับ ว่ามี่รถไฟฟ้าบนดินหรือใต้ดินผ่านมั้ยครับ
โดย
owen
พฤหัสฯ. ส.ค. 23, 2007 5:02 pm
0
0
สัมมนา : วิเคราะห์งบการเงิน
จอง 1ที่ครับ
โดย
owen
พฤหัสฯ. ส.ค. 23, 2007 4:59 pm
0
0
แก้ไขให้ดูง่ายขึ้น
วิกฤตตลาดซับไพร์ม...ความปั่นป่วนในตลาดการเงินโลก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ปัญหาในตลาดปล่อยกู้จำนองแก่ลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ของสหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินอื่นๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่นักวิเคราะห์เคยคาดการณ์ไว้ผ่านทางนวัตกรรมของการเปลี่ยนสินเชื่อของลูกหนี้ซับไพร์มเป็นตราสารทางการเงินชนิดอื่น (Securitization) ซึ่งถูกขายให้กับนักลงทุนสถาบัน และกองทุนเฮดจ์ฟันด์ทั่วโลก ความเสี่ยงทางการเงินเกิดขึ้นเมื่อการเพิ่มขึ้นของอัตราการผิดนัดชำระหนี้และการบังคับจำนองของลูกหนี้ซับไพร์มส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ฐานะทางการเงินของบริษัทปล่อยกู้จำนอง และกองทุนเฮดจ์ฟันด์ซึ่งได้ลงทุนในตราสารหนี้ที่หนุนหลังด้วยสินเชื่อด้อยคุณภาพดังกล่าว และผลที่ตามมาก็คือ ตลาดสินเชื่อทั่วโลกต้องเผชิญกับภาวะตึงตัวอย่างหนัก จนทำให้ ธนาคารกลางประเทศต่างๆ ต้องเข้ามาช่วยอัดฉีดสภาพคล่องสู่ระบบการเงิน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ทำการวิเคราะห์ภาวะตลาดสินเชื่อซับไพร์ม ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดการเงินทั่วโลกและตลาดการเงินไทยดังนี้ ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ เป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงกว่า 60% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมาตามภาวะความเฟื่องฟูในตลาดอสังหาริมทรัพย์ (2544-2548) โดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามคุณสมบัติของลูกหนี้ ดังนี้ 1. สินเชื่อที่ปล่อยกู้ให้แก่ลูกหนี้ชั้นดี (Prime Mortgages) เป็นการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่ผ่านข้อกำหนดต่างๆ ของการเป็นลูกหนี้ชั้นดีตามมาตรฐานของสถาบันการเงิน เช่น มีเครดิตสกอร์สูงกว่าระดับที่กำหนด สามารถยื่นเอกสารแสดงรายได้และทรัพย์สินในปัจจุบันได้อย่างครบถ้วน จะต้องมีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ในระดับที่ไม่เกินกำหนด และต้องไม่มีประวัติของการผิดนัดชำระหนี้ 2. สินเชื่อที่ปล่อยกู้ให้แก่ลูกหนี้ดี แต่ไม่จัดอยู่ในขั้นลูกหนี้ชั้นดี (Alt-A Mortgages) เป็นการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่ผ่านคุณสมบัติของการเป็นลูกหนี้ชั้นดี แต่มีเอกสารประกอบการทำสัญญาสินเชื่อที่ไม่ครบถ้วน 3. สินเชื่อที่ปล่อยกู้ให้แก่ลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำหรือซับไพร์ม (Subprime Mortgages) เป็นการให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ผ่านคุณสมบัติของการเป็นลูกหนี้ชั้นดี เช่น มีเครดิตสกอร์อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า ระดับที่กำหนด และอาจมีประวัติในการผิดนัดชำระหนี้หรือล้มละลายในอดีต พฤติกรรมการปล่อยกู้ซับไพร์มเป็นพฤติกรรมที่มีอันตรายหลายประการ เนื่องจากลูกหนี้บางรายได้รับอนุมัติเงินกู้จากสถาบันการเงินถึงแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานยืนยันรายได้หรือสินทรัพย์ในปัจจุบัน ในขณะที่ เจ้าหนี้จำนองหลายรายได้ทำการอนุมัติเงินกู้โดยไม่มีการพิจารณาถึงความสามารถในการชำระคืนหนี้ ของลูกหนี้ ในช่วงก่อนปี 2546 สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของสินเชื่อชั้นดี (Prime Conforming Mortgages) ที่ผ่านเงื่อนไขของ Government-Sponsored Housing Enterprises (GSEs) ได้แก่ Fannie Mae และ Freddie Mac อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขที่เข้มงวดของ Fannie Mae และ Freddie Mac เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงไป จากข้อมูลในปี 2549 ที่ผ่านมาพบว่า สัดส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภท Conforming มีขนาดลดลงเหลือเพียง 36% ของยอดรวมของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ในปี 2549 จากที่มีสัดส่วนมากกว่า 65% ของยอดรวมของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ในปี 2546 ขณะที่ สัดส่วนของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภท Nonprime ซึ่งประกอบด้วย สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยประเภท Alt-A และประเภทซับไพร์มพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีสัดส่วนถึง 46% ของยอดรวมของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ในปี 2549 จากที่มีสัดส่วนรวมกันไม่ถึง 15% ของยอดรวมของสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ ในปี 2546 ตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ จากภาวะเฟื่องฟู...สู่ภาวะตกต่ำ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะฟองสบู่ในช่วงปี 2544-2548 โดยมีอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวอยู่เบื้องหลัง และเมื่อประกอบกับการขาดความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันปล่อยกู้จำนอง และการเก็งกำไรว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำให้ภาวะฟองสบู่ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ มีช่วงเวลายาวนานถึง 5 ปี อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ เริ่มเดินเข้าสู่ช่วงตกต่ำในปี 2549 ขณะที่ยอดขายบ้านเริ่มเข้าสู่ช่วงหดตัวตั้งแต่เดือนธันวาคม 2548 สถานการณ์ภาวะตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ การชะลอตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเข้าสู่ช่วงของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสัญญาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยกู้ให้กับลูกหนี้ซับไพร์ม ซึ่งเป็นไปตามวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) โดยสินเชื่อของลูกหนี้ซับไพร์มกว่า 90% จะเป็นสินเชื่อที่ผูกอยู่กับอัตราดอกเบี้ยแบบปรับได้ (Adjustable-rate mortgages: ARMs) โดยอาจมีลักษณะที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ในระดับที่ต่ำมาก ในช่วงปีแรกๆ และแปรสภาพเป็นสินเชื่อที่สามารถปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้ในช่วงท้ายของอายุสัญญา ดังนั้น ท่ามกลางภาวะที่อัตราดอกเบี้ยถูกปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าอสังหาริมทรัพย์กำลังปรับตัวลง ความสามารถในการผ่อนชำระหนี้เงินกู้ของลูกหนี้จึงลดน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะลูกหนี้ซับไพร์มซึ่งเป็นกลุ่มลูกหนี้ที่อ่อนแอและมีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้มากที่สุด เนื่องจากลูกหนี้ซับไพร์มที่เคยใช้ประโยชน์จากช่วงขาขึ้นของตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ด้วยการขายบ้านเพื่อนำเงินไปจ่ายชำระหนี้เงินกู้ ไม่สามารถกระทำแบบเดิมได้อีก เพราะมูลค่าบ้านได้ปรับตัวลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และผลที่ตามมาก็คือ การเพิ่มขึ้นของการผิดนัดชำระหนี้เงินกู้และการบังคับจำนอง และเมื่อบริษัทปล่อยกู้จำนองเพิ่มความเข้มงวดให้กับมาตรฐานการปล่อยเงินกู้มากขึ้น ก็ยิ่งทำให้สถานะการเงินของลูกหนี้ซับไพร์ม ตลอดจนลูกหนี้ประเภทอื่นๆ ย่ำแย่ลงไปอีกเป็นลูกโซ่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจขยายวงออกไป นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้กล่าวเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ว่า การขาดทุนที่มีความเกี่ยวข้องกับการปล่อยกู้จำนองให้แก่ลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) อาจจะมีกรอบวงเงินประมาณ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยการผิดนัดชำระเงินกู้ และการบังคับจำนองที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลทำให้สถานการณ์มีแนวโน้มจะแย่ลงก่อนที่จะ ฟื้นตัวขึ้นในช่วงถัดไป ทั้งนี้ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยกู้ให้แก่ลูกหนี้ซับไพร์มประเมินโดยMoodys มียอดคงค้างทั้งสิ้นประมาณ 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ ไตรมาส1/2550 ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่ากับความเสียหายทางการเงินที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์สถาบันเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย Savings and Loan Associations (S&L Crisis) ในช่วงทศวรรษ 1980 ที่มีมูลค่าปัจจุบันประมาณ 1.2 - 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ความเสียหายจากวิกฤตตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ อาจไม่ยุติแค่เพียงความเสียหายทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยกู้ให้แก่ลูกหนี้ซับไพร์มเท่านั้น สินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงในระดับรองลงไป ได้แก่ ลูกหนี้ กลุ่ม Alt-A ลูกหนี้กลุ่ม Jumbo IO (ผ่อนเฉพาะดอกเบี้ยในช่วงปีแรกๆ ของสัญญา) และลูกหนี้กลุ่ม Option ARMs (เพิ่มทางเลือกให้ลูกหนี้สามารถผ่อนชำระต่อเดือนในระดับที่ต่ำมากในช่วงแรก ซึ่งรายจ่ายดอกเบี้ยจะถูกสะสมและนำไปรวมกับเงินต้นในปีท้ายๆ ของสัญญา) อาจเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบตามไปด้วย และหากนับรวมมูลค่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยกู้ให้แก่ ลูกหนี้ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นดี (ประกอบด้วย ลูกหนี้ซับไพร์ม กลุ่ม Alt-A กลุ่ม Jumbo IO และกลุ่มOption ARMs) แล้วพบว่า มียอดคงค้างทั้งสิ้นประมาณ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั้งหมด ซึ่งทาง Moodys ได้ประเมินว่าประมาณ 52% ของยอดคงค้างสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ปล่อยกู้ให้แก่ลูกหนี้ที่ไม่ใช่ลูกหนี้ชั้นดี (ประมาณ 1.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) เป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่ได้ทำสัญญาไว้ในช่วงระหว่างปลายปี 2547 ถึงต้นปี 2550 ตลาดการเงินทั่วโลกปั่นป่วน ปัญหาตลาดสินเชื่อซับไพร์มในสหรัฐฯ ได้ลุกลามเป็นวงกว้างออกไปสู่ตลาดการเงินทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา ผ่านนวัตกรรมตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CDOs (Collateralized Debt Obligations) ซึ่งเป็นตราสารหนี้ที่หนุนด้วยสินทรัพย์ที่มีการตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยหลักการของ CDOs ก็คือ การนำเอาสินทรัพย์ พันธบัตร หรือสินเชื่อประเภทต่างๆ มาผูกรวมกันเพื่อค้ำประกัน (หนุนหลัง) ตราสารหนี้ CDOs หรือ หน่วยลงทุนของ กองทุนที่จะขายให้กับนักลงทุน ซึ่งผลตอบแทนที่นักลงทุนได้รับจะขึ้นอยู่กับส่วนผสมของสินทรัพย์ที่นำมาใช้เป็นหลักประกันในการออกตราสารทางการเงินดังกล่าว และในช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ซับไพร์ม (ซึ่งกำลังกลายเป็นปัญหาในปัจจุบัน) เป็นสินทรัพย์ที่ถูกผนวกเข้า เป็นส่วนประกอบหนึ่งของสินทรัพย์ที่ใช้หนุนหลังการออกตราสาร CDOs ในช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนส่วนใหญ่ทั่วโลกมีกลยุทธ์การลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต และสามารถสร้างผลตอบแทนในอัตราที่สูงตามไปด้วย ดังนั้น CDOs จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในกระจายความเสี่ยงทางการลงทุนของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ บริษัทประกัน หรือสถาบันการเงินอื่นๆ ทั่วโลก ดังนั้น กองทุนเฮดจ์ฟันด์และกลุ่มนักลงทุนสถาบันจำนวนมากตั้งแต่ในสหรัฐฯ แคนาดา ยุโรป ไปจนถึงออสเตรเลีย ต้องประสบกับการลดลงของมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ หรือประกาศระงับการไถ่ถอนกองทุนเพื่อหลีกเลี่ยงการเทขายสินทรัพย์ เมื่อตลาดซับไพร์มประสบปัญหาและลามไปสู่ภาวะตึงตัวของตลาดสินเชื่อทั่วโลก ตลาดการเงินโลกยิ่งปั่นปวนหนักขึ้นไปอีก หลังจากธนาคาร BNP Paribas ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส ประกาศระงับการไถ่ถอนกองทุน 3 แห่งเป็นการชั่วคราวมูลค่า1.6 พันล้านยูโร และเป็นชนวนให้ตลาดสินเชื่อทั่วโลกเข้าสู่ภาวะสภาพคล่องตึงตัวมากขึ้น (Credit Crunch) ซึ่งในท้ายที่สุดธนาคารกลางทั่วโลก ได้แก่ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์ ธนาคารกลางนอร์เวย์ และธนาคารกลางออสเตรเลีย ต้องเข้ามาอัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมากให้กับตลาด เงินเป็นครั้งแรกหลังจากที่ธนาคารกลางเหล่านี้ได้เข้ามาช่วยเพิ่มเม็ดเงินให้กับตลาดการเงินเมื่อเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน 2544 ขณะที่ ธนาคารกลางของประเทศในแถบเอเชียต้องเข้ามาแทรกแซงเพื่อพยุงค่าเงินในประเทศไม่ให้อ่อนค่าและผันผวนมากเกินไป ตลาดหุ้นทั่วโลก พร้อมใจกันปรับตัวลงตามการหลีกเลี่ยงการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงของนักลงทุน ขณะที่ กองทุนเฮดฟันด์หลายแห่งต้องทำการเทขายหุ้นและสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนสภาพคล่อง ทั้งนี้ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2550 ก่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของเฟด 1 วัน ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวน์โจนส์ร่วงลง 8.4% ขณะที่ ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 9.3% หลังจากที่พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยหุ้นกลุ่มการเงินและกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นหุ้นที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากความผันผวนครั้งนี้ ตลาดเงิน อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนในตลาดเงินในสหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ปรับตัวขึ้นเหนือระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง เนื่องจากเงินสดเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนในตลาดต้องการท่ามกลางสภาพคล่องในตลาดการเงินทั่วโลกที่เริ่มจางหายไป ขณะที่ ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทปล่อยกู้จำนองและกองทุนเฮดจ์ฟันด์ไม่กล้าปล่อยสภาพคล่องเพิ่มเติมให้กับบริษัทดังกล่าว ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ภาวะขาดแคลนสภาพคล่องของตลาดสินเชื่อทั่วโลกเป็นชนวนสำคัญที่ทำให้นักลงทุนสหรัฐฯ พากันปรับลดการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมๆ กับโอนย้ายผลกำไรกลับประเทศ และปัจจัยนี้เองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้นกว่า 3% สู่ระดับประมาณ 1.3423 ดอลลาร์ฯ ต่อยูโร (ณ 16 สิงหาคม 2550 ก่อนเฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลง 1 วัน) หลังจากที่ได้ร่วงลงไปทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เทียบกับเงินยูโรที่ระดับ1.3852 ดอลลาร์ฯ ต่อยูโร เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 ในขณะที่ สกุลเงินที่มีผลตอบแทนสูง เช่น เงินยูโร เงินปอนด์ เงินดอลลาร์ออสเตรเลีย และเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ ร่วงลงอย่างหนักจาก การระบายความเสี่ยงจากการทำ Carry Trades ของนักลงทุน ตลาดสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ย ได้สะท้อนถึงการคาดการณ์ว่า เฟดอาจจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 18 กันยายน 2550 และในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านตลาดสัญญาล่วงหน้าอัตราดอกเบี้ยได้บ่งชี้ว่ามีโอกาสมากขึ้นที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยถึง 0.50 % ในการประชุมดังกล่าว ขณะที่ ความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยของธนาคารกลางยุโรปในเดือนกันยายน 2550 จากระดับ 4% ในปัจจุบัน และความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นจากระดับ 0.5% ในปัจจุบัน กำลังปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับภาวะสินเชื่อที่หดตัวลงอย่างรวดเร็วทำให้นักลงทุนหนีออกจากตลาดหุ้นเข้าสู่ตลาดพันธบัตรที่มีความปลอดภัยมากกว่า และจากการคาดการณ์ที่มากขึ้นว่า เฟดจะปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภท2 ปีของสหรัฐฯ ร่วงลงต่ำกว่า 4.10% ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นซึ่งอยู่ที่5.25% อยู่กว่า 1%1 นอกจากนี้ ค่าความแตกต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 2 ปี และ 10 ปีขยายออกกว้างที่สุดในรอบกว่า 2 ปี ขณะที่ Swap spreads อายุ 2 ปี ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2550 กว้างถึง 79 bps ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 ขณะที่ Swap spreads อายุ 10 ปี ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2550 กว้างขึ้นถึง 83.50 bps ซึ่งมากสุดนับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2544 ผลกระทบต่อไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาชี้แจงว่า ธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง มีการลงทุนในตราสาร CDOs ประมาณ 715 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 0.6% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของ 4 ธนาคาร ขณะที่การลงทุนใน CDOs ที่อ้างอิงกับตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ซับไพรม์มีไม่ถึง 0.1% ดังนั้น ผลกระทบต่อระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยน่าจะมีอย่างจำกัด อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงความปั่นป่วนของตลาดการเงินโลกได้ และกำลังตกอยู่ในภาวะผันผวนเช่นกัน โดยการเทขายของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ต้องการสภาพคล่องได้ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยร่วงลงตามตลาดหุ้นทั่วโลกแล้วประมาณ 14% จากระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี 7 เดือนที่ได้ทำไว้เมื่อ 26 กรกฎาคม 2550 ขณะที่ นักลงทุนต่างชาติเริ่มเทขายสุทธิตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2550 มูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 44,762 ล้านบาท (ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2550) ซึ่งแรงเทขายสุทธิหุ้นไทยของนักลงทุนต่างชาตินี่เองที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มขึ้นในความต้องการเงินดอลลาร์ฯ และทำให้เงินบาทปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลง อย่างต่อเนื่อง ความไม่แน่นอนยังรออยู่เบื้องหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การเข้ามาช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องด้วยวิธีการอัดฉีดเม็ดเงินให้กับสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาของธนาคารกลางประเทศต่างๆ อาจเป็นเพียงแค่มาตรการเฉพาะหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้ปัญหาตลาดสินเชื่อที่ตึงตัวในปัจจุบันลุกลามไปมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะรอให้ปัญหาต่างๆ ปรับตัวเองไปตามกลไกธรรมชาติ อาจต้องใช้เวลาในการเยียวยารักษาอีกนาน และเมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานของต้นตอปัญหา ซึ่งก็คือ ตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ซับไพร์ม พบว่า ยังมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบลามไปถึงตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ประเภทอื่นๆ ที่มีคุณภาพสูงกว่าอีกด้วย ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความกังวลมากขึ้นว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังเผชิญกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินหลายแห่งเริ่มพูดกันถึงขนาดความเสียหาย โดยมีการประเมินกันว่าขนาดความสูญเสียอาจเทียบเท่ากับหรือมากกว่าการล่มสลายของกองทุน LTCM (Long-TermCapital Management) ในปีค.ศ.1998 และเมื่อมองภาพไปยังช่วงถัดไป จะเห็นว่าเสถียรภาพของตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ รอที่จะถูกทดสอบอีกครั้ง เนื่องจากมีสัญญาสินเชื่อที่อยู่อาศัยมูลค่ามากกว่า 3.5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ จะถูกกำหนดระดับอัตราดอกเบี้ยใหม่ในปีหน้า (ซึ่งมากกว่าสัญญาสินเชื่อที่อยู่อาศัยมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ถูกปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปีนี้) ขณะที่ลูกหนี้บางรายอาจต้องเริ่มทำการจ่ายคืนเงินต้น ซึ่งจะทำให้ภาระในการคืนหนี้ของลูกหนี้เพิ่มขึ้นกว่า30% และเมื่อผนวกกับภาวะตึงตัวของตลาดสินเชื่อทั่วโลก แนวโน้มการร่วงลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ และมาตรฐานที่เข้มงวดมากขึ้นของบริษัทปล่อยกู้จำนอง น่าจะทำให้ภาวะไร้เสถียรภาพของตลาดสินเชื่อซับไพร์มยังคงเป็นจุดอ่อนของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทั้งนี้ Fannie Mae คาดการณ์ว่า ราคาที่อยู่อาศัยสหรัฐฯ จะปรับตัวลงอีก 4% ในปี 2551 ต่อเนื่องจากการปรับตัวลง 2% ในปีนี้ ดังนั้น ข่าวร้ายเกี่ยวกับการล้มละลายของบริษัทปล่อยกู้จำนอง ตลอดจนการปิดกิจการและความสูญเสียของกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังฐานะการเงินของประชาชนสหรัฐฯ ยังน่าจะทยอยเปิดเผยออกมาอย่างต่อเนื่อง นั่นหมายความว่าการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางต่างๆ ไม่สามารถใช้เป็นมาตรการในการแก้ปัญหานี้อย่าง ยั่งยืนได้ และล่าสุดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2550 เฟดได้สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดการเงินด้วยการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Discount Rate) ซึ่งเป็นช่องทางในการปล่อยกู้ให้กับสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาขาดแคลนสภาพคล่องได้โดยตรง ลง 0.50% สู่ระดับ5.75% พร้อมกับระบุในแถลงการณ์ว่า สภาวะในตลาดการเงินได้ถดถอยลง ภาวะตึงตัวด้านสิน เชื่อและความไร้เสถียรภาพทางการเงินได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต ประเด็นสำคัญของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในครั้งนี้ก็คือ เพราะเหตุใดเฟดจึงเลือกทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเพียงอย่างเดียว และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ไว้ที่ระดับเดิมที่ 5.25% ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองว่า การกระทำดังกล่าวอาจ สะท้อนถึงมุมมองของเฟดที่เชื่อมั่นว่า วิกฤตซับไพร์มจะมีผลกระทบอยู่ในวงจำกัดและสามารถควบคุมได้ และนั่นหมายความว่า เฟดยังคงให้น้ำหนักกับการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และไม่ต้องการให้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานส่งกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยอื่นๆ ในตลาดการเงิน อย่างไรก็ตาม ความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของวิกฤตซับไพร์มซึ่งได้สะท้อนออกมาในแถลงการณ์ของเฟด น่าจะบ่งชี้ให้เห็นว่า เฟดพร้อมที่จะดำเนินมาตรการอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ และหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้น ตลาดการเงินจะต้องจับตาดูผลการแก้ไขปัญหาสินเชื่อตึงตัวด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของเฟดในครั้งนี้ เพื่อหาสัญญาณที่บ่งชี้ว่า เฟดอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมุมมองในการดำเนินนโยบายการเงินใหม่อีกครั้งในอนาคต ขณะนี้ ดูเหมือนว่าตลาดการเงินทั่วโลกจะปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น (ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวขึ้นหลังจากถูกเทขายอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา) เพื่อตอบรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานของเฟดในครั้งนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อประกอบภาพของการชะลอลงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในระยะถัดไป เข้ากับปัจจัยพื้นฐานที่ยังคงอ่อนแอของตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ จะพบว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ และตลาดการเงินยังคงมีความเสี่ยงที่จะเผชิญความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องรอดูว่าเฟดจะเข้าดำเนิน การกับปัญหาที่รออยู่เบื้องหน้าอย่างไร ขณะที่ภาคส่งออกของไทยอาจได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญต้องประสบกับการชะลอตัว & 61522; ที่มา efinance
โดย
owen
อังคาร ส.ค. 21, 2007 4:07 pm
0
0
มาชวนตั้งชมรมบาสกันครับ
ขอแจมด้วยคนครับแต่ว่าเล่นไม่ค่อยเก่งนะ :oops: ว่างเสาร์อาทิตย์ครับ แล้วสนามที่คุณก้อนหินเล่นอยู่ใช่สนามที่อยู่ใกล้ๆกับสนามจุ๊บหรือเปล่าครับ
โดย
owen
อังคาร ส.ค. 21, 2007 1:53 pm
0
0
link ตารางสัมนา;yomuj25-26/8/07
ตารางสัมนา http://www.tsd.co.th/images/event/due20070826/seminar.html
โดย
owen
จันทร์ ส.ค. 20, 2007 11:21 am
0
0
อีกครั้งกับ Blue Ocean Strategy
ขอบคุณครับ
โดย
owen
ศุกร์ ก.ค. 27, 2007 10:33 am
0
0
คอร์สบัญชีพื้นฐาน วันที่ 4-5 ส.ค นี้ ใครจะไปยกมือขึ้น
จอง 1 ที่ครับ และอยากถามว่าเนื้อหาที่สอนนี้เหมาะสำหรับคนที่มีความรู้ขนาดไหนครับ ขอบคุณ
โดย
owen
ศุกร์ ก.ค. 06, 2007 1:35 pm
0
0
visit company SE-ED ครับ
ไปด้วยครับ แต่ขอให้ไม่ไปตรงกับวันที่พี่มนจะเปิดอบรมนะครับ
โดย
owen
พุธ ก.ค. 04, 2007 4:19 pm
0
0
ลงชื่ออบรมหลักสูตรบัญชีพื้นฐาน
ขอด้วยคนครับ
โดย
owen
ศุกร์ มิ.ย. 29, 2007 9:38 am
0
0
compny visit BROCK ครับ
ผมขอเสนอ วันเสาร์ครับท่านประธาน
โดย
owen
พฤหัสฯ. มิ.ย. 28, 2007 4:26 pm
0
0
แนะนำสถานที่อ่านหนังสือกันมั่ง
ส่วนผมส่วนใหญ่อ่านที่บ้านครับ แต่ถ้ามีเวลาก็ไปอ่านที่ร้านกาแฟของ settrade ครับและเห็นด้วยกับพี่พอใจที่ว่าพวกกาแฟอร่อย...
โดย
owen
พฤหัสฯ. มิ.ย. 28, 2007 2:42 pm
0
0
โครงการ visit company
น่าสนใจมากครับ ผมเสนอวันเสาร์ครับ
โดย
owen
จันทร์ มิ.ย. 25, 2007 9:41 am
0
0
มาชวนตั้งชมรมบาสกันครับ
สนับสนุนด้วยครับ
โดย
owen
จันทร์ มิ.ย. 18, 2007 5:10 pm
0
0
แนะนำตัวครับ
ผม owen นั่งอยู่ทางซ้ายมือขอพี่ธันวาครับ เสื้อสีน้ำเงินครับ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยคนครับ :mrgreen: :welcome:
โดย
owen
พฤหัสฯ. มิ.ย. 14, 2007 12:10 pm
0
0
List รายชื่อหนังสือแนวvi ครับ
Value Investing Made Easy(มีแปลเป็นไทย) อยากทราบว่าชื่อที่แปลแล้วชื่ออะไร ใครเป็นผู้แปล ขอบคุณครับ :D
โดย
owen
อังคาร มิ.ย. 12, 2007 10:43 am
0
0
เครือข่ายการลงทุน
1. จบตรีสาขาการเงิน 2. ทำงานเกี่ยวกับหลักทรัพย์ 3. ชอบอ่านหนังสือการลงทุนแนว VI ฝากเนื้อฝากตัวด้วยคนครับ :P
โดย
owen
อังคาร มิ.ย. 12, 2007 9:37 am
0
0
โหวต ประธานด้วยคนครับ
ผมขอโหวตคุณ WEB ด้วยคนครับ
โดย
owen
ศุกร์ มิ.ย. 08, 2007 3:56 pm
0
0
ขอด้วยครับ
ขอด้วยคนครับ พี่ครรชิต
[email protected]
ขอบคุณครับ
โดย
owen
อังคาร มิ.ย. 05, 2007 4:54 pm
0
0
ไปประชุมผู้ถือหุ้นกันมา บริษัทเค้าแจกของที่ระลึกบ้างเปล่า?
PTT แจก กระติกน้ำ Stainless เก็บน้ำร้อนและเย็น + บุฟเฟต์นานาชาติมื้อกลางวันที่ร้าน RETRO รบกวนถามว่าPTT ที่แจกบุฟเฟต์นานาชาติมื้อกลางวันที่ร้าน RETRO ผมไม่เห็นได้เลย ได้แต่ กระติกน้ำ Stainless เก็บน้ำร้อนและเย็น เท่านั้น เค้าแจกตรงไหนหรอครับ :shock:
โดย
owen
อังคาร พ.ค. 01, 2007 2:02 pm
0
0
73 โพสต์
of 2
ต่อไป
Verified User
ชื่อล็อกอิน:
owen
กลุ่ม:
สมาชิก
งานอดิเรก:
vi
ความถนัด:
officer
ที่อยู่:
bangkok
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
พฤหัสฯ. พ.ค. 05, 2005 8:35 pm
ใช้งานล่าสุด:
ศุกร์ เม.ย. 03, 2015 9:10 am
โพสต์ทั้งหมด:
89 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.00% จากโพสทั้งหมด / 0.01 ข้อความต่อวัน)
ลายเซ็นต์
ราคาคือสิ่งที่เราจ่าย แต่มูลค่าคือสิ่งที่เราได้รับ
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว