หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
ayethebing
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
Joined: จันทร์ ก.ค. 07, 2003 8:30 pm
2125
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - ayethebing
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ค่าปรับนายกอบศักดิ์และทีมงานสมกับกำไรที่ได้จาก makro
ท่านเจ้าสัว สุดยอด รู้จักใช้การ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ซะด้วย จะขำดีหรือร้องไห้ดี ผมขอถือโอกาสนี้แสดงความคิดเห็นในฐานะประธานบริษัทผมเชื่อว่าผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ได้ผิดพลาดไปโดยไม่เจตนาเนื่องจากไม่เข้าใจกฎเกณฑ์อย่างแจ้งชัด พวกเขาเสียใจอย่างยิ่งต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โดย
ayethebing
อังคาร พ.ค. 03, 2016 12:03 pm
0
5
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
เทคนิคถ่ายรูปพลุ คือเปิด Bulb แล้วใช้กระดาษดำปิดไว้ กด shutter รอพลุสวยๆ แล้วเปิดกระดาษดำเพื่อรับแสงพลุ แน่นอนต้องมีขาตั้งกล้อง จะได้รูปพลุที่สวยงามครับ รู้แต่ทฤษฎีไม่เคยทำเหมือนกันครับ
โดย
ayethebing
ศุกร์ ม.ค. 03, 2014 5:15 pm
0
0
ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง (ภาค 2)
รูปเป็นรูปใต้ทะเลของหมู่เกาะสุรินทร์ ปะการังของไทย เสียหายอย่างรุนแรงจากสองเหตุการณ์คือ สึนามิ (ปะการังน้ำตื้นโดนทำลาย) และปะการังฟอกขาว หมู่เกาะสุรินทร์ก็เป็นที่หนึ่งที่โดนเข้าไปเหมือนกัน ปะการังที่เคยสวยงามส่วนใหญ่ตายไป แต่ก็มีร่องรอยของการเกิดใหม่เช่นกัน ช่วยกันอนุรักษ์นะครับ ผมจะได้ไปดูปะการังน้ำตื้นสวยๆ อันดับหนึ่งของประเทศไทยได้กะเค้าซะที คราวนี้ไปไม่ได้เห็น แต่ก็ยังเห็นสัตว์ใต้ทะเลที่ยังมีความสมบูรณ์อยู่ครับ
โดย
ayethebing
จันทร์ ธ.ค. 30, 2013 10:59 pm
0
3
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
สวยมากครับ เห็นแล้วอยากไปเที่ยวญี่ปุ่นอีกจังเลย
โดย
ayethebing
พุธ พ.ย. 06, 2013 10:48 pm
0
0
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
ขอโชว์ห่วยนะครับ ผลงานจาก iphone (เอากล้องนิกรไป แต่ mem card เสียซะเนี่ย เหลือรูปเดียว) เช้ามืด ที่ปราณบุรี นะฮ้าฟฟฟฟ
โดย
ayethebing
อาทิตย์ ต.ค. 27, 2013 1:10 am
0
1
Re: สถานการณ์รถยนต์
น่าเป็นห่วงครับ ผมไม่ค่อยห่วง OEM หรอก ผมห่วงพวกอุตสาหกรรมชิ้นส่วนมากกว่า ถ้าจะแย่
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. ก.ย. 19, 2013 12:37 am
0
0
Re: Liverpool FC, แฟนหงส์ The Kop ทั้งหลายมาทางนี้
นัดเสมอ 2-2 กะหงส์ขาว ผมไม่ชอบแผงหลังเราเลย โดยเฉพาะเจ้า wisdom มันไม่ฉลาดสมชื่อมันเลย
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. ก.ย. 19, 2013 12:26 am
0
1
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
ข่าวดังวงการ mirrorless Olympus ออกรุ่นใหม่ (หรือยัง?) OMD E-M1 เค้าว่าเทพมั๊กๆ แต่ดูไปๆ ใหญ่เหมือน dslr ไปปะ http://www.engadget.com/2013/09/10/olympus-omd-e-m1-flagship-ilc/
โดย
ayethebing
อังคาร ก.ย. 10, 2013 10:24 pm
0
0
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
น๊าน นาน ที่ไม่ได้ post รูป ขอโชว์ห่วยด้วยรูปท้องนาแถว สุพรรณละกัน ใช้ iphone ถ่ายครับ
โดย
ayethebing
อาทิตย์ ส.ค. 18, 2013 10:53 am
0
1
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
สีเตะตาแทบหลุดเลยครับคุณบูรพา 555 ผมว่าถ้าเดินเปลี่ยนมุมหน่อย เลื่อนอาทิตย์ตกไปอยู่ 1/3 ของรูป จะง๊ามงามเลยแหละ คหสต. ครับ
โดย
ayethebing
อาทิตย์ ส.ค. 18, 2013 10:42 am
0
0
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
Adobe Lightroom ทำเป็น batch ได้ครับ ต้องลอง โชว์สวยรูปกันบ้างดิ แก้เหงาที่ไม่ได้ถ่ายเอง ตอนนี้ ขอ wait-and-see เรื่องอุปกรณ์ก่อนนะครับ อาจจะค้นหาตัวเองด้วย mirrorless กะคุณ simplebe บ้าง
โดย
ayethebing
อังคาร ก.ค. 02, 2013 10:09 am
0
0
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
เห็นไปเล่นจักรยาน ชมวิว กินกาแฟ กันหนุกหนาน ผมเองก็ยังไม่ได้ถ่ายรูปใหม่ๆ เลย งานเยอะเกิ้น
โดย
ayethebing
ศุกร์ มิ.ย. 28, 2013 9:42 am
0
0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
ลดตามคาด 25 basis point
โดย
ayethebing
พุธ พ.ค. 29, 2013 10:08 pm
0
0
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
ผมเชื่อว่าในการประชุมกนง.ครั้งต่อไปจะมีการลดดอกเบี้ยนโยบายเนื่องจากแรงกดดันจากทั้งคลังและสอท. แต่จะลดไม่ 1 % ตามที่คลังกับสอท. เสนอ น่าจะลด 0.25% ถามว่ามาตรการอื่นๆ จะมีหรือไม่ ผมไม่คิดว่ารัฐบาลจะทำอะไรทั้งนั้น ดังนั้นจะไม่มีมาตรการใหม่ๆ ทางการคลังออกมาเลย และจะมีเสียงวิพากษ์กันต่อว่าลดดอกเบี้ย น้อยไป และช้าไป ลองมาดูครับ ว่าผมจะทายผิดหรือไม่ http://www.thairath.co.th/content/eco/344428
โดย
ayethebing
จันทร์ พ.ค. 13, 2013 8:22 pm
0
0
Re: ถามความเห็นเกี่ยวกับโรงเรียนอินเตอร์
ที่ผมชอบหลักสูตรอีกอย่างของโรงเรียนอินเตอร์ (โรงเรียนลูกผมเรียนหลักสูตร IB) คือจะเน้นให้เด็กมีโครงการเพื่อช่วยเหลือสังคมด้วยอย่างน้อย 1 โครงการ มีอาจารย์คอยดูแลเรื่องนี้เป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว หลักสูตรไทยก็มีครับ ต้องทำกิจกรรมจิตอาสาเทอมละครั้ง ปีละ 2 ครั้ง ต้องทำรายงานเป็นเรื่องเป็นราวครับ ผมไม่แน่ใจว่าโรงเรียนนานาชาติจะได้เรียนวิชาพุทธศาสนาไหม ไม่มีครับ ประเด็นคืออะไรครับพี่ชาติชาย ถ้าไม่ได้เรียนพุทธศาสนา คือไม่ใช่หลักสูตรที่ดีหรือครับ หรือต้องการสื่อว่า หลักสูตรไทยก็ดีเหมือนกัน ??
โดย
ayethebing
ศุกร์ พ.ค. 10, 2013 2:59 pm
0
1
Re: ทำไมคลังไม่เพิ่มภาษี และ ทำ capital control เพื่อทำบาทอ่
กระทู้นี้ deja vu มากๆ
โดย
ayethebing
ศุกร์ พ.ค. 10, 2013 7:43 am
0
2
Re: ถามความเห็นเกี่ยวกับโรงเรียนอินเตอร์
โรงเรียน อินเตอร์ก็เรียนหนักนะครับ การบ้านเยอะ แต่จะเยอะเมื่อเข้ามัธยมต้น และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมัธยมปลาย ยิ่งปีสุดท้าย มีทั้งสอบ มีทั้งงานโปรเจกต์ มีทั้งการบ้าน หนักทีเดียวครับ (ฟังจากผู้ปกครองท่านอื่นนะครับ ลูกผมยังอยู่แค่ ม.1 กะ ป.5) ที่ผมชอบหลักสูตรอีกอย่างของโรงเรียนอินเตอร์ (โรงเรียนลูกผมเรียนหลักสูตร IB) คือจะเน้นให้เด็กมีโครงการเพื่อช่วยเหลือสังคมด้วยอย่างน้อย 1 โครงการ มีอาจารย์คอยดูแลเรื่องนี้เป็นเรื่องเป็นราวเลยทีเดียว เรื่องความเป็นไทย ต้องบอกว่าอยู่ที่ผู้ปกครองครับ เด็กอยู่บ้าน 60% อยู่ที่โรงเรียน 40% การปลูกฝังวัฒนธรรมทำได้ครับที่บ้านครับ
โดย
ayethebing
พุธ เม.ย. 10, 2013 11:47 pm
0
1
Re: Supply Shock กำลังจะมาอีกรอบ
ลืมแนบการวิเคราะห์ของ SCB http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=177011:---269---scb-eic&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524 Analysis เงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคมชะลอตัวตามการลดลงของราคาสินค้าในหมวดพลังงาน ราคาสินค้าในหมวดพลังงานปรับเพิ่มขึ้น 6.22%YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันในปี 2012) ชะลอลงจาก 9.37%YOY ในเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศปรับลดราว 0.4%MOM (เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า) ซึ่งสอดคล้องกับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงตามการชะลอตัวของความต้องการใช้น้ำมัน และอุปทานที่ขยายตัวมากขึ้นจากผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปค โดยราคาน้ำมันดิบดูไบในเดือนมีนาคมลดลงถึง 5.1%MOM อีกทั้งช่วงเดือนเดียวกันในปีก่อนฐานราคาพลังงานยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูงตามราคาน้ำมันดิบจากภาวะความตึงเครียดในตะวันออกกลาง ราคาอาหารปรุงสำเร็จเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานชะลอตัว ดัชนีราคาสินค้าในหมวดอาหารปรุงสำเร็จซึ่งเป็นปัจจัยองค์ประกอบสำคัญของราคาสินค้าพื้นฐาน (ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดพลังงานและอาหารสด) ในเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 1.56%YOY ชะลอลงจาก 2.72%YOY ในเดือนกุมภาพันธ์ จากฐานราคาอาหารปรุงสำเร็จนอกบ้านที่สูงในช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน
โดย
ayethebing
อังคาร เม.ย. 09, 2013 11:10 pm
0
0
Re: Supply Shock กำลังจะมาอีกรอบ
เงินเฟ้อเดือนมีนาคมครับ อาหารปรับตัวเพิ่ม แต่น้ำมันและพลังงานลง เลยทำให้เงินเฟ้อโดยรวมลดลง เอาแต่ fact มา ไม่ได้เอาความเห็นมาใส่ครับ http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNECO5604010020008 กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยอัตราเงินเฟ้อเดือนมีนาคม 2556 สูงขึ้นร้อยละ 2.69 พร้อมคาดการณ์ทั้งปีจะอยู่ในกรอบร้อยละ 2.80-3.40 นางวัชรี วิมุกตายน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรืออัตราเงินเฟ้อประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ว่า เท่ากับ 104.73 หรือสูงขึ้นร้อยละ 2.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง และจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.66 ทั้งในหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่และสัตว์น้ำ ผัก ผลไม้ ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (กุมภาพันธ์ 56)สูงขึ้นร้อยละ 0.07 ปัจจัยหลักมาจากการเคลื่อนไหวของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.26 โดยเฉพาะหมวดผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 2.80 เนื่องจากหลายพื้นที่ประสบภัยแล้ง ขณะที่เนื้อสุกร ไก่สด และไข่ มีราคาลดลง จากผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น
โดย
ayethebing
อังคาร เม.ย. 09, 2013 11:07 pm
0
0
Re: Peak ???
สหรัฐเค้าถึงได้ปั่น QE กันยิกๆ ไงครับ แต่ดูแล้วก็ไม่น่าจะรอด สงสัยต้องมี iphone แบบ บินได้มาช่วยผลัก GDP สหรัฐ สหรัฐแย่ ยุโรปเดี้ยง ญี่ปุ่นลุ้นไม่ขึ้น จีนชะลอตัว ตอนนี้พึ่งตัวเองได้ทางเดียวครับ
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. เม.ย. 04, 2013 10:45 pm
0
1
Re: download presentation งบ 2 ล้านล้านบาท ณ ศูนย์ประชุมสิริ
เห็นด้วยกับการทำโครงการพื้นฐาน ไม่เห็นด้วยกับการทำโครงการโดยปราศจากการวางแผนและคิดถึงประโยชน์ที่จะได้รับอย่างถี่ถ้วน ไม่เห็นด้วยกับการทำโครงการทั้งหมดพร้อมๆ กัน เพราะจะทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงานและ มีปัญหาที่ต้องแก้ไขรอบด้าน แค่นี้ดีกว่าเดี๋ยวโดนล็อกกระทู้อีก แซวเล่นนะครับน้อง admin จ๋า
โดย
ayethebing
จันทร์ เม.ย. 01, 2013 11:32 pm
0
0
Re: เปิดตำนาน"โครงการโฮปเวลล์"
ทำโครงการมองแต่ผลประโยชน์ที่ได้ตอนจบแต่ขาดการวางแผน การดำเนินโครงการที่ดี และ ทางหนีทีไล่เมื่อมีปัญหา มีแต่จะเสียเงินไปเปล่าๆ ครับ การก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ เป็นไปอย่างล่าช้า เนื่องจากประสบปัญหาในการส่งมอบพื้นที่บริเวณริมทางรถไฟ ประกอบกับเศรษฐกิจของไทยไม่เติบโตเท่าที่ควร เหมือนในช่วงแรกของรัฐบาลชาติชาย ทำให้แนวโน้มการลงทุนธุรกิจในอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง ปัญหาเรื่องจุดตัดกับโครงการถนนยกระดับวิภาวดีรังสิต (ดอนเมืองโทลล์เวย์) และการก่อสร้างล่าช้าจนอัตราคืบหน้าของงานไม่เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับรัฐบาล ในรัฐบาลชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 โครงการโฮปเวลล์ได้รับการผลักดันต่อโดยพันเอกวินัย สมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ยังประสบปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ ปัญหาเรื่องเงินทุน แหล่งเงินกู้ หลักทรัพย์ค้ำประกันสัญญา และปัญหาเรื่องแบบก่อสร้าง ระยะห่างระหว่างรางรถไฟ กับไหล่ทางมีน้อยเกินไปเพราะข้อจำกัดของพื้นที่ และไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัยสากล
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. มี.ค. 28, 2013 5:14 pm
0
2
Re: ถามความเห็นเกี่ยวกับโรงเรียนอินเตอร์
เหตุผลที่เข้าเรียนอินเตอร์ : เพราะเชื่อว่าในรุ่นลูกของเรา ขอบเขตประเทศจะไม่มีความหมาย ภาษาอังกฤษ (และภาษาจีน) สำคัญมาก ไม่ใช่เฉพาะสำเนียงแต่เป็นความคล่องแคล่วในการใช้ อ่าน เขียน ฟัง และพูด การเรียนของไทยเน้นการท่องจำเกินไป ไม่เน้นให้เด็กคิด ต้องการส่งเสริมให้ลูกกล้าแสดงออก ลูกผมสองคนเรียนอยู่ที่ NIST ตรงสุขุมวิท 15 (ตอนเด็กๆ เรียนอยู่ st. andrew แล้วย้ายไปอยู่ที่ nist ตอน ป. 1 สำหรับลูกคนเล็ก และ ป. 3 สำหรับลูกคนโต ปัจจุบัน ลูกคนโตอยู่ม.1 ลูกคนเล็กอยู่ป. 5) ข้อดี แน่นอนก็เรื่องภาษา นอกจากเรื่องภาษาแล้วคือ หลักสูตรที่แตกต่างกับโรงเรียนไทย ตอนประถมจะเน้นกระบวนการคิด มากกว่าท่อง เด็กจะเครียดน้อยกว่าในชั้นประถมและจะค่อยๆ ปรับความเข้มข้นมากขึ้นเรื่องเมื่อเรียนมัธยม อธิบายเพิ่มก่อนว่าโรงเรียน อินเตอร์ในไทยมีหลักสูตรตามแบบ อังกฤษ อเมริกัน IB (International Baccalaureate) Diploma และ อื่นๆ (เช่นสิงคโปร์) ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็ใช้หลักสูตรที่แตกต่างกัน (ISB ใช้ american ในระดับ primary ส่วน secondary เลือกได้ว่าจะเป็น IB หรือ American, NIST ใช้ IB, บางกอกพัฒนาจะเป็น อังกฤษ) ข้อดีข้อเสียลองหาดูครับ ข้อเสีย คือแน่นอนเรื่องเงิน แพงมาก ราวๆ 600-800 k ต่อปี (ผมเถียงกับแฟนเรื่องนี้นานมากก่อนที่จะตกลงใจส่งเรียนอินเตอร์เพราะเรื่องนี้ แต่แฟนบอกว่านี่เป็นการลงทุนที่ดีกว่าลงทุนในหุ้นให้ลูกเสียอีก....) ข้อเสียอีกอย่างคือเรื่องภาษาไทย จะเขียนและอ่านได้ไม่ค่อยดีนัก ลูกผม ปิดเทอมต้องไปเรียนพิเศษภาษาไทยครับ ส่วนเรื่องสังคมไฮโซ วัฒนธรรมไทย ขึ้นอยู่กับเรามากกว่า อย่าลืมว่าเค้าอยู่ที่บ้านมากกว่าโรงเรียนนะครับ เราสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมเรื่องสังคมให้กับเค้าได้ อีกอย่างถ้าจะเลือกโรงเรียน ควรดูสัดส่วนเด็กไทยกับเด็กต่างชาติด้วยบางโรงเรียนมีเด็กไทยมากกว่าเด็กต่างชาติทำให้เรื่องภาษาที่เราหวังไว้อาจจะไม่ได้อย่างที่หวัง (แถมเด็กไทยที่เรียน อินเตอร์จะมีสัดส่วนของความ "ไฮโซ" สูงกว่า เด็กต่างชาติ!!!) ลองพิจารณาดูครับ หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์บ้าง
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. มี.ค. 28, 2013 4:29 pm
0
4
Re: ข้อมูล 2.22 ล้านล้าน แบบ รอบด้านครับ(เพื่อประโยชน์แก่การ
ผมได้มีโอกาสฟังคลิปที่ จขกท ได้ post มาแล้ว เค้าถกเถียงกันประเด็นเดียวคือ อยู่ในงบประมาณหรือพรก. ซึ่งก็ตรงประเด็นอยู่แต่ไม่ได้ทำให้ผมเข้าใจมากขึ้นเลยว่า แผนงานการดำเนินโครงการคืออะไร รายละเอียดของการลงทุนอยู่ที่ไหน ปีไหนจะทำอะไร หรือทำมันทั้งหมดพร้อมๆ กันแล้วให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายใน 7 ปี (เท่าที่ฟังก็พูดซ้ำไปซ้ำมาพูดเหมือนเดิม ฝ่ายเห็นด้วยก็บอกไม่เห็นภาพรวมถ้าเข้าระบบงบประมาณ ฝ่ายประชาธิปปัตย์ก็บอกอยู่ในงบประมาณก็เห็นภาพรวมได้) คุณ syj บอกว่ามาเลย์กับสิงคโปร์กำลังทำรถไฟฟ้าความเร็วสูงเดี๋ยวของเค้าก็เสร็จ จริงๆ แล้วเค้าจะเสร็จปี 2562-2563 อีก 7 ปี และเป็นระยะทางแค่ 315 กม (ประมาณกรุงเทพ-ตราด) ซึ่งเป็นเสี้ยวน้อยมากเมื่อเทียบกับงบลงทุนของเรา มันยังไม่กระจ่างครับ ว่าจะเอาเงินไปทำอะไรบ้าง มีอุปสรรคปัญหามากมายที่นึกออก เรื่องความมั่นคงบริเวณชายแดน (ถ้าต้องข้ามประเทศ) เรื่องการเวนคืนที่ดิน เรื่องการขุดอุโมงค์ทะลุภูเขาและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การสร้างระบบขนส่งจากสถานีไปยังเมือง (สร้างไประยองเสร็จ แต่ไปไหนต่อไม่ได้ ที่ระยองไม่มีแท็กซี่ รถก็ติดเหมือนกรุงเทพ) แต่มันไม่ได้มีใครพูดถึง ทำเหมือนมันเป็นเสื้อผ้าที่พอมีเงินก็ไปซื้อมาสวมแล้วใช้ได้เลย เรื่องพวกนี้ ถ้ามันประดังกันเข้ามาพร้อมๆ กัน การรถไฟ หรือ กระทรวงคมนาคม จะจัดการไหวหรือครับ กับการมีโครงการใหญ่ๆ หลายโครงการพร้อมๆ กัน หรือเราควรเชื่อใจรัฐบาล เขียนเช็คเปล่า 2 ล้านๆ ไป เค้าจะไปทำอะไรก็ได้ (เค้าแย้มมาแล้วว่ารายละเอียดโครงการเป็นแค่เอกสารแนบ ไม่ใช่เป็นมาตราประกอบในพรบ) แค่อยากจะคุยกันด้วยข้อมูลเชิงลึกมากกว่าเท่านั้นเองครับ ทำแล้วมันได้ประโยชน์คุ้มกับสิ่งที่จ่ายหรือไม่ครับ ไม่อยากบอกแค่ทำไปเถอะ เราจำเป็นต้องทำ?? แน่นอนว่าพวกนักธุรกิจรับเหมากะพวกที่ปรึกษาโครงการกำลังจ้องกันตาเป็นมัน แต่อยากมองภาพรวมของประเทศในระยะยาวมากกว่าครับ
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. มี.ค. 28, 2013 4:00 pm
0
2
Re: ข้อมูล 2.22 ล้านล้าน แบบ รอบด้านครับ(เพื่อประโยชน์แก่การ
ผมหาเจอแล้วเรื่องการลงทุนของรถไฟความเร็วสูง สายเหนือ : กรุงเทพ - เชียงใหม่ ระยะทาง 679 กิโลเมตร งบ 387,821 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จ: พ.ศ. 2562 ~ 2563 สายตะวันออก : กรุงเทพ - ระยอง ระยะทาง 221 กิโลเมตร งบ 100,631 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จ: ภายใน พ.ศ. 2561 (เฉพาะระยะที่ 1 ถึงแค่พัทยางบ 59,000 ล้านบาท) สายตะวันออกเฉียงเหนือ : กรุงเทพ - หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร งบ 170,450 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จ: ไม่มีข้อมูล สายใต้ : กรุงเทพ - ปาดังเบซาร์ ระยะทาง: 982 กิโลเมตร งบ 124,327 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จ : พ.ศ. 2562 (เฉพาะระยะที่ 1 ถึงหัวหิน งบ 82,000 ล้านบาท) นี่คือเริ่มก่อสร้างปีสองปีนี่นะครับ ใช้เงินจำนวนมหาศาลจริงๆ แต่เรามีผู้โดยสารเยอะมากขนาดนี้จริงๆ หรือเปล่าครับ?? (จริงๆ อยากได้เส้นไปเชียงใหม่ แต่มันแพงมากๆ จริงๆ นะ)
โดย
ayethebing
พุธ มี.ค. 27, 2013 12:23 am
0
2
Re: ข้อมูล 2.22 ล้านล้าน แบบ รอบด้านครับ(เพื่อประโยชน์แก่การ
@ayethebing หลายคนรวมทั้งผม คิดว่าช้าไปนะครับ 555 อยากให้ รถไฟ เสร็จพรุ่งนี้เบยละ จะกลับบ้านนนนน ส่วนรายละเอียด เนื้องาน มีแจงใน คลิปแล้ว ครับลองชมดู รับประกัน ความสนุก ผมสารภาพว่ายังไม่ได้ดู clip ครับ ถ้ามันมีข้อมูลที่ผมสงสัยอยู่ในนั้นและเป็นแหล่งที่เป็นของรัฐเป็นคนเปิดเผยเองก็โอเค จะลองฟังดู (ฟังที่ทำงานก็ไม่ได้ ฟังที่บ้านลำโพงคอมมันเสียอยู่) ถ้าคุณหมายถึงรถไฟความเร็วสูง ละก็ ผมก็อยากได้เหมือนท่านอื่นๆ ละครับ แต่พอกลับมาดูเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุนกับประสิทธิภาพของการรถไฟ อืม ชักไม่แน่ใจแฮะ ถึงกับต้องลองไปอ่านประวัติของชินคันเซ็นของญี่ปุ่นที่เป็นรถไฟความเร็วสูงเหมือนกันมาเทียบ ปี 1964 รถไฟความเร็วสูงสายแรกสร้างขึ้นจากโตเกียว ไปยังชิน-โอซาก้า (ทางเหนือของโอซาก้า) ก่อนโอลิมปิคที่โตเกียว วิ่งได้เร็ว 210 ก.ม./ชั่วโมง (ไปเชียงใหม่ non-stop ก็ 3 ชม.) ปี 1975 ขยายเส้นทางไปยังฟูกูโอกะ และ ฮิโรชิมา ปี 1980 เริ่มมีการปิดเส้นทางรถไฟที่มีกำไรน้อยลง การรถไฟของญี่ปุ่นเกือบจะอยู่ในภาวะล้มละลายเพราะการลงทุนที่สูงในการสร้างชินคันเซ็น ปี 1987 การรถไฟญี่ปุ่น เปลี่ยนเป็นบริษัทเอกชน (Privatization จาก Japan National Railway เป็น JR อย่างทุกวันนี้) ปัจจุบัน JR เป็นรถไฟที่ตรงเวลาที่สุด เชื่อถือได้มากที่สุด และปลอดภัยมากที่สุด ได้ความเร็ว 320 กม./ชม. ในแง่เศรษฐกิจ มีคนใช้บริการกว่า 300 ล้านคนต่อปี คำนวณเป็นการประหยัดเงินกว่า 500 พันล้านเยน คำถาม ญี่ปุ่น ใช้เวลา 50ปี กว่าจะสร้างระบบได้ดีขนาดนี้ ต้อง privatize การรถไฟ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการขาดทุน เรา (และ/หรือการรถไฟ) พร้อมแล้วหรือไม่ เราจะมีคนใช้บริการจำนวนเท่าไร การลงทุนเป็นเท่าไรภายในเวลากี่ปี คุ้มทุนภายในกี่ปี (ให้รวมการประหยัดพลังงานด้วยก็ได้ นอกจากรายได้ที่จะได้แล้ว)? ใครมีข้อมูลมั้ยครับ (หรือเค้าพูดไว้หมดแล้วในคลิปที่ผมไม่ได้ดู ถ้างั้นขออำภัย)
โดย
ayethebing
พุธ มี.ค. 27, 2013 12:06 am
0
2
Re: ข้อมูล 2.22 ล้านล้าน แบบ รอบด้านครับ(เพื่อประโยชน์แก่การ
เรื่องล๊อกกระทู้ ผมมองว่าเราอยู่บ้านใครก็ต้องทำตามกฎของบ้านนั้น ผู้คุมกฏเค้าตัดสินใจไปในประเด็นที่เค้าเห็นว่าเหมาะสม บางครั้ง mod ก็ไม่ได้มีเวลานั่งลบกระทู้ได้ทุกกระทู้ การล๊อกกระทู้ทำได้ง่ายกว่า (เดาเอา) เหมือนกรรมการฟุตบอลตัดสินอะไรคงไม่ทำให้ทุกคน happy กันหมด แต่คำตัดสินก็คือคำตัดสิน ไม่งั้นกติกาและผู้คุมกติกาก็ไม่มีความหมาย
โดย
ayethebing
อังคาร มี.ค. 26, 2013 1:37 pm
0
4
Re: ข้อมูล 2.22 ล้านล้าน แบบ รอบด้านครับ(เพื่อประโยชน์แก่การ
เรื่องกู้เงิน 2.2 ล้านมาทำโครงการพื้นฐาน โดยหลักแล้วผมก็เห็นด้วยแต่ปัญหาคือผมว่าเราทำเหมือนเร่งรีบจนไม่ได้ดูให้รอบคอบ เร่งทำหลายๆ อย่างพร้อมๆ กัน ผมว่ามันจะล้มเหลวนะสิ เราจะมีหนี้เพิ่มคนละ 30,000 บาททั้งทีน่าจะทำอะไรให้รอบคอบหน่อยนะครับ ใครมีรายละเอียดเชิงลึกบ้างครับว่าเค้าแบ่งเค้กเงินกันยังไง ผมทราบคร่าวๆ ว่า 1. ปรับเปลี่ยนการขนส่งสินค้า 354,360 ล้านบาท - รถไฟรางคู่ - ท่าเรือลำน้ำ (คืออะไรหว่า)/ท่าเรือน้ำลึก (ที่ไหนเหรอ) - พัฒนาสถานที่ขนส่งสินค้า (จะทำที่ไหนเหรอครับ) 2. โครงสร้างพื้นฐานในการเดินทาง-ขนส่งทั่วประเทศและเพื่อนบ้าน 1,042,376 ล้านบาท - ปรับปรุงการค้าพรมแดน (ใช้เงินไปทำอะไรครับ) - สร้างศูนย์ถ่ายเปลี่ยนสินค้า (เรามีดีมานด์ในการขนส่งเพียงพอหรือไม่? ถ้าพอให้เอกชนทำดีกว่าหรือไม่?) - รถไฟความเร็วสูง (เราจำเป็นต้องใช้จริงๆ เหรอ?) - เส้นทางรถไฟเชื่อมประเทศเพื่อนบ้าน (อันนี้เห็นด้วย) - โครงข่ายทางหลวงพิเศษ (คืออะไร? ทำออโต้บาห์นเมืองไทยหรือ??) 3. พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่ง 593,801 ล้านบาท - ขยายโครงข่ายรถไฟฟ้า (เห็นด้วยและควรวางแผนสร้างในเมืองใหญ่อื่นๆ ด้วยนอกจากกรุงเทพ แต่ของเดิมยังทำไม่เสร็จเลย) - โครงข่ายถนนในปริมณฑลและเมืองใหญ่ (ลดจำนวนรถ แล้วสร้างข้อข้างบนดีกว่ามั้ย) ผมมองว่าหลายๆ จุดยังไม่ได้ผ่านกระบวนการคิดอย่างดีพอ เหมือนทางฝ่ายการเมืองบอกจะมีงบให้เท่านี้ ไปคิดโครงการมาก็ไปคิดๆ กันมาปะผุให้ครบวงเงิน มันจะดีหรือครับ??? ความเห็นส่วนตัว ใครมีข้อมูลดีๆ ก็ share กันได้นะครับ
โดย
ayethebing
อังคาร มี.ค. 26, 2013 1:29 pm
0
8
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
แก้ไขนะครับ มูลค่าตราสารหนี้และพันธบัตรเป็นเงิน 3.2 ล้านล้านบาท เป็นหนี้สินที่อายุต่ำกว่า 1 ปี กว่า 70% ยังหาข้อมูลไม่ได้ว่าปี 55 มีหนี้สินที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เท่าไร แต่น่าจะประมาณเดิมครับ
โดย
ayethebing
ศุกร์ มี.ค. 15, 2013 1:30 pm
0
1
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/FinancialReports/Annual/Doclib_FinancialReport_Annual/Statement_2554_TH.pdf ผมไปค้นมาให้เพื่อจะได้ถกกันอย่างรู้ข้อมูลมากขึ้น ในงบปี 54 (งบปี 55 ยังไม่ออก) รายได้ ดอกเบี้ยรับ 52,122 ล้าน ค่าธรรมเนียม 544 ล้าน อื่น 15,992 ล้าน รวม 68,658 ล้าน ค่าใช้จ่าย ดอกเบี้ยจ่าย 126,807 ล้าน ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 66,549 ล้าน พนักงาน 4,208 ล้าน อื่นๆ 1,464 ล้าน รวม 199,030 ล้าน ขาดทุนสุทธิ 130,317 ล้าน มีพันธบัตรของ BOT ค้างอยู่ 3ล้านบาทครับ ดอกเบี้ยตามหน้าตั๋วซึ่งคงที่ไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบายรวมเป็นเงิน 99,138 ล้านบาท ดูในรายสัปดาห์ในส่วนของหนี้สินของ ธปท เพิ่มขึ้นจากปี 54 ไม่มากอย่างที่คิดนะครับ ( http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/FinancialReports/Weekly/Pages/Weekly2013.aspx ) เกี่ยวกับดอกเบี้ยนโยบายอย่างไร? การลดดอกเบี้ยนโยบายไม่มีผลกับดอกเบี้ยจ่ายในพันธบัตร ที่หน้าตั๋วกำหนดไว้แล้ว การลดดอกเบี้ยนโยบายมีผลต่อส่วนของเงินฝากของสถาบันการเงิน (พวกดอกเบี้ย RP) และการออกพันธบัตรเพิ่มเติมในอนาคต การออกดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคตผมมองว่าตอนนี้ BOT ยังไม่น่าจะออก เพราะออกไปก็ไม่สามารถช่วยอัตราแลกเปลี่ยนอะไรได้มาก เงินมันล้นจริงๆ ลองถกกันต่อครับ
โดย
ayethebing
ศุกร์ มี.ค. 15, 2013 9:27 am
0
4
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
ผมว่าเราเอาความรู้สึกมาใช้แทนข้อเท็จจริงมากเกินไปหรือเปล่าครับ เอา fact มากางดูดีกว่าครับว่าที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่คุณ carpenter ว่ามันเท่าไร ลดดอกเบี้ยแล้วจะทำให้คชจ. ของ BOT ลดลงเท่าไร จะได้เป็นตัวเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียได้ชัดเจน ไม่อยากกลายเป็นแก๊งค์ ปอตอทวย ตาม social อะครับ ขอบคุณครับ
โดย
ayethebing
ศุกร์ มี.ค. 15, 2013 8:32 am
0
4
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
เงินบาทแข็งโป๊กเหมือนทานไวอะกร้าไปทั้งแผงเลยจริงๆ ครับ ไม่ใช่เฉพาะกับดอลลาร์ แม้แต่กับเงินสกุลในเอเซียด้วยกันอย่าง สิงคโปร์ หรือ อินโดนีเซีย ก็ทำ new high เหมือนกัน ผมว่าถ้าลดดอกเบี้ยจริงก็ยังทำอะไรไม่ได้มาก สงสัยต้องออกมาตรการอื่นๆ ช่วยซะแล้ว (โดยเฉพาะจากกระทรวงการคลัง) หรือจะช่างมัน ให้ส่งออกเค้าดิ้นรนเองดูบ้างดีครับ ???
โดย
ayethebing
อังคาร มี.ค. 12, 2013 6:26 pm
0
1
Re: การปันผลเป็นหุ้น
ผมมองว่าไม่มีข้อดี มีแต่ข้อเสีย เหมือนเอาส่วนของผู้ถือหุ้น จ่ายเป็นเงินปันผล และเอาเงินปันผลมาเพิ่มเป็นส่วนผู้ถือหุ้น สรุปๆ ไปๆ มาๆ ก็เท่าเดิม มันดีตรงไหน?? ข้อเสียคือต้องเสียภาษีและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ข้อดีสำหรับนักลงทุนอย่างเดียวที่นึกออกคือถ้าบริษัทที่ไม่ได้ลดหย่อนก็อาจจะใช้ไปเครดิตภาษีได้ครับ
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. มี.ค. 07, 2013 10:06 am
0
4
Re: ยื่นภาษีปี 2555
สรรพากรเขาจะดูหลักฐานจากโรงเรียนว่าบุตรเราศึกษาอยู่หรือไม่ครับ (ได้ค่าลดหย่อน 17,000) ขอตอบใหม่ว่าไม่ดูครับ ตอนผมยื่นขอแค่ใบรับรองบุตร ซึ่งต้องไปขอที่เขต ตามที่ได้ post ตอบไปครับ
โดย
ayethebing
จันทร์ มี.ค. 04, 2013 9:48 am
0
0
Re: 100 ล้านบาทแรกในชีวิต
ตั้งเป้าหมายได้และเชื่ออย่างแน่วแน่ว่าจะทำได้ (secret) แต่อย่าไปคิดว่ามีแล้วจะทำโน่นทำนี่ มันจะฟุ้งซ่านนะครับ
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. ก.พ. 28, 2013 11:58 pm
0
3
Re: ยื่นภาษีปี 2555
ดูครับ ดูปีแรกปีเดียว (ยื่นผ่านเวบ) ต้องไปขอใบรับรองบุตรที่เขต ต้องพาลูกไปด้วย ผมไปมาแล้วเมื่อหลายปีที่แล้ว หงุดหงิดหน่อยเพราะใช้เวลานาน และต้องไปวันที่ลูกหยุดและผมหยุดงานพร้อมๆ กันด้วย
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. ก.พ. 28, 2013 4:07 pm
0
0
Re: ถ้าลงทุนแบบนี้ จะได้หุ้นแบบใหน
แบ่งเป็นหลายๆ ก้อนเหมือนพวกผจก กองทุนเลยนะเนี่ย คุณเป็นนักลงทุนเต็มเวลาหรือไม่ ถ้าไม่อย่าทำข้อ 4 เสียเวลาทำมาหากิน หรือถ้ารักจะทำข้อ 4 อาจจะต้องให้มีเงินมากกว่านี้ และศึกษาเทคนิคอลเยอะๆ คัทลอสให้ได้ (เหมือนที่เด็กเทคนิคเค้าชอบพูดกัน) ข้อ 1-2 โอเคครับ ข้อ 3 ถ้าชัวร์ก็ผลตอบแทนดีมาก ถ้าพลาดก็เงินจม ผมว่าคุณข้ามข้อสำคัญไป 1 ข้อ คือ ซื้อหุ้นที่เราเข้าใจในธุรกิจ เข้าใจว่ากิจการได้เงินมาไง เข้าใจในจุดขาย จุดด้อย อย่างลึกซึ้ง ยิ่งถ้ามีสายสืบอยู่ภายในกิจการยิ่งดีครับ ถ้าได้ข้อนี้แล้วเห็นว่ากิจการดี ถือตัวเดียวยังได้ เพราะไม่เสี่ยงเลย
โดย
ayethebing
ศุกร์ ก.พ. 22, 2013 1:03 am
0
0
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
กนง. ประกาศคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.75 % ตามคาด ส่วนข่าวที่ post มาของมติชน นะครับ ผมเห็นแล้ว ผมไม่เคยสนใจจะอ่านเลยครับ
โดย
ayethebing
พุธ ก.พ. 20, 2013 10:30 pm
0
1
Re: ขอคำแนะนำสำหรับคู่แต่งงานที่จะเริ่มลงทุน ว่าควรช่วยกันลง
สำหรับผม โชคดีมากๆ ที่ภรรยาก็เป็นนักลงทุนในแนว VI เหมือนกัน เลยคุยกันรู้เรื่อง เธอจะอ่านตีแตกก่อนผมเสียด้วยซ้ำ ตอนนี้ที่เราทำคือผมจะต้องเอาข้อดีข้อเสียของหุ้นแต่ละตัวมาคุยกัน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าควรจะลงทุนในหุ้นนั้นหรือไม่ คู่คิด ย่อมดีกว่าคิดคนเดียวแน่นอนครับ พอช่วยกันคิด ความคิดที่แคบก็จะกว้างเข้า แต่ละคนก็มีมุมมองดีๆ มาแชร์กันนะครับ เรื่องพื้นฐานของการดูงบ ไม่ยากเท่าไรหรอกครับ ดูคุณภาพของกิจการยากกว่าเยอะ และขอบเขตความรู้ของคู่สามีภรรยาจะช่วยกันขยายมุมมองให้กว้างขึ้น เชียร์เลยให้ทั้งคู่ช่วยกันดูหุ้น!!!
โดย
ayethebing
จันทร์ ก.พ. 18, 2013 10:30 pm
0
1
Re: ยื่นภาษีปี 2555
รอเช็คอยู่นะเนี่ย++!
โดย
ayethebing
ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 11:10 pm
0
0
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
ถ้าผมเลือกได้ ผมจะไม่เอาคนในวงการธนาคารมาเป็น ผู้ว่า BOT ลูบหน้าปะจมูกตลอด คนนั้นก็เจ้านายเก่า คนนี้ก็รู้จักกัน สิ่งที่สังคมไทย ขาดมากที่สุดคือความยุติธรรม คนไทยส่วนมาก มีอคติ เพราะ ความชอบและความเกลียด เป็นหลักใหญ่ เห็นด้วยประโยคสุดท้ายครับ ผมเห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน การโจมตีธปท ให้เป็นเป้าผู้ร้ายของสังคม ของรัฐ และของนักวิชาการหลายๆ สาขา เป็นเรื่องไม่ยุติธรรม ไม่ใช่เพราะผมชอบแบงก์ชาตินะครับ เพราะผมเห็นใจแบงก์ชาติมากกว่า ในช่วงต้มยำกุ้ง ผมเองโดนกระทบบ้างไม่มากเท่าไร เงินเก็บเงินออมที่นำไปลงทุนในกองทุนรวม โดนแช่แข็งแบบไม่มีดอกเบี้ยไปหลายปี ผมก็โกรธ และเกลียด แบงก์ชาติมากๆ เพราะเป็นคนที่ทำให้เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกย่ำแย่ (อย่างที่บอก อดีต ผู้ว่าโดนขึ้นศาล โดนให้จ่ายเงินที่รู้ว่าไม่มีทางจ่ายได้ ตอนนี้เป็นไงแล้วบ้างก็ไม่รู้) ตอนนี้เวลานี้ ทุกอย่างเปลี่ยนไป เรากำลังจะโดน re-turn of ต้มยำกุ้ง เรียกว่า re-turn ได้เพราะครั้งนี้มันกลับขากันกับคราวที่แล้วคือค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นซึ่ง bot ก็พยายามแทรกแซงแต่ไม่ได้ทุ่มเหมือนตอนนั้น สิ่งที่ bot มีแตกต่างจากตอนนั้นคือ เงินตราต่างประเทศจำนวนมาก ที่เอาบาทไปแลกมา เพื่อทำค่าเงินให้อ่อนลง bot ต้องรู้ขอบเขต และไม่ทุ่มจนเกินขอบเขตเหมือนตอนต้มยำกุ้ง ซึ่งผมยังค่อนข้างเชื่อใจในแบงก์ชาติว่าจะทำได้ กลับมาที่รัฐ รัฐบาลต้องไม่ผลักภาระ ให้แบงก์ชาติเป็นคนต่อสู้กับ hot money นี่เพียงลำพัง ต้องออกนโยบายการคลังที่ช่วยกันลดจำนวนเงิน มาตรการ capital control ก็ต้องออกมาขู่บ้างอะไรบ้าง (คลังเกาหลีเริ่มขู่เรื่องนี้แล้ว) ทำจริงได้บางส่วน ดูผลกระทบให้ดี การขาดดุลงบประมาณของรัฐ ก็ต้องขาดแบบไม่น่าเกลียด และต้องไม่เวอร์ในการประมาณรายรับ ต้องลดเงินเฟ้อ โดยการสนับสนุนให้มีการออมบ้าง ส่งเสริมให้ธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศ ต้องสร้างเอกภาพในการทำงานทั้งนโยบายการคลังและการเงิน และทุกอย่างจะไปได้ครับ โอ้วววว อ่านย่อหน้าสุดท้ายใหม่ นี่ผมกำลังฝันอยู่นี่นา
โดย
ayethebing
ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 11:10 pm
0
9
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
สารภาพว่าแรกๆ ฟังคุณ miracle ไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ post ล่าสุดนี้โดนใจมากครับ อีกประเด็นคือมุมมองของ BOT (ผู้ร้ายในสายตาของหลายๆ คน) คือไม่ได้มองกำไรของตัวเอง แต่มองเศรษฐกิจภาพรวมมากกว่า ยอมออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่องและซื้อเงินดอลลาร์ด้วยเงินบาทเพื่อพยุงค่าเงินไม่ให้การส่งออกแย่เพราะ GDP ของไทยขึ้นอยู่กับส่งออกสูง แน่นอนการสู้กับการแข็งค่าของเงินบาท ไม่สามารถทำได้นาน เพราะทำได้นานก็จะเป็นเหมือนต้มยำกุ้ง ดังนั้น แบงก์ชาติได้แต่พยุงไว้ ด้วยแนวคิดอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการบริหารจัดการ ครั้นจะลดดอกเบี้ย ตามตำราของแบงก์ชาติทุกประเทศทั่วโลกไม่ว่าสมัยไหน ก็กลัวเรื่องเงินเฟ้อ ขณะที่กระทรวงการคลังกับรัฐบาล ไม่ทำอะไรในนโยบายการคลังที่เป็นการลดเงินเฟ้อเลย มีแต่จะทำให้เพิ่ม (อันนั้นแรก อันโน้นแรก งบขาดดุลมหาศาล กู้เงินจำนวนมาก) ดร. โกร่งบอกแบงก์ชาติทำงานแบบโบราณ สมัยใหม่ของดร.โกร่งคือลดดอกเบี้ยโลด เงินบาทกำลังมีเสถียรภาพ (เสถียรภาพยังไงเนี่ย!!!!) เพราะฉะนั้นแบงก์ชาติต้องลดขาดทุนสะสม (ซึ่งส่วนนึงมากจากสมัยต้มยำกุ้ง) ซึ่งผมเห็นด้วยกับการลดขาดทุนสะสม แต่แบงก์ชาติก็ไม่อาจละเลยในเรื่องการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมได้เช่นกัน (ยกเว้นถ้าดร.โกร่งจะมีคาถาเสกให้ export ดีขึ้นเมื่อค่าเงินแข็งค่า) ตอนนี้ทางเลือกของประเทศนี้มีอย่างเดียวคือการลดดอกเบี้ยนโยบายจริงๆ หรือ ถ้าเราเพิ่ม transaction tax ในการที่เงินจะเข้ามาลงทุนในตราสารเงิน เพิ่ม capital gain tax สำหรับตลาดหุ้น เข้มงวดกับการซื้ออนุพันธ์อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าที่ไม่ได้ขึ้นรายการจริง จะได้ผลตรงโรคกับ hot money มากกว่ามั้ยครับ กล้ามั้ยครับ รัฐบาล
โดย
ayethebing
ศุกร์ ก.พ. 08, 2013 12:11 am
0
4
Re: คำถามที่สงสัยผมเป็นมือใหม่ครับ
ถ้าเป็นผม ประมาณหุ้นได้ 2 ปี ได้แค่นั้นและไม่คิดว่าธุรกิจของบริษัทจะดีในอนาคต แต่สามารถซื้อได้ในราคาที่ต่ำกว่า value มากๆ แสดงว่าศัพท์ที่เค้าใช้กันคือ หุ้นก้นบุหรี่ ผมว่าผมขายไปตั้งแต่ 80-90 บาทแล้วครับ แต่ถ้าคิดว่าธุรกิจดีต่อเนื่อง ซื้อได้ในราคาต่ำ ผมจะไม่มีวันขายตราบใดที่ธุรกิจยังดีอยู่ (หุ้น super stock!!!) แม้ว่าจะมีปัจจัยการเมือง ปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ได้ทำให้ภาพของธุรกิจเปลี่ยนไป ผมจะอดทนครับ คุณสามารถได้มากกว่า 2 เด้ง 3 เด้ง ได้ด้วยเวลาครับ ขอให้จำไว้ ซื้อเพราะอะไร ก็ขายเพราะอย่างนั้นครับ (ซื้อเพราะธุรกิจดี ขายเพราะธุรกิจไม่ดี ซื้อเพราะถูก ขายเพราะแพง เป็นต้น) ผมไม่มือใหม่ แต่ผมมืออ่อนครับ :mrgreen:
โดย
ayethebing
พฤหัสฯ. ก.พ. 07, 2013 11:38 pm
0
4
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นส่วนที่ทำให้แบงก์ชาติจ่ายเงินเยอะๆ ?? เค้าไม่ได้อธิบายแบบนั้น จะเชื่อหรือไม่ลองอ่านดูครับ (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ) แบงก์ชาติ โดยตัวเลขที่ปรากฏในบรรทัดสุดท้ายของ “งบกำไรขาดทุน” พบว่ามียอด “ขาดทุนสุทธิ” สูงถึง 130,371 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขาดทุนสุทธิ 117,473 ล้านบาท หรือคิดเป็นการขาดทุนเพิ่มขึ้น 10.9% ในจำนวนผลขาดทุนสุทธิที่ 130,371 ล้านบาทนั้น เกินกว่าครึ่งเป็นการขาดทุนที่เกิดจากส่วนต่างระหว่าง “ดอกเบี้ยรับ” กับ “ดอกเบี้ยจ่าย” ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีภาระดอกเบี้ยจ่ายที่สูงกว่าดอกเบี้ยรับ (negative carry) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงวดปี 2554 ที่แบงก์ชาติมีผลขาดทุนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยตรงนี้สูงถึง 74,684 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่มีผลขาดทุนจากส่วนนี้ประมาณ 20,110 ล้านบาท หรือคิดเป็นการขาดทุนที่เพิ่มขึ้นกว่า 271.37% ตัวเลขการขาดทุนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารนี้ แม้ยังไม่มี “คำอธิบาย” อย่างเป็นทางการจากแบงก์ชาติ แต่พออนุมานได้ว่า เกิดจาก “ภาระ” ที่ซ่อนอยู่ในรูปเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อธิบายง่ายๆ คือ ช่วงปลายปี 2553 เป็นช่วงที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้าลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในรูปพอร์ตการลงทุน ซึ่งเป็นการลงทุนระยะสั้น ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วและรุนแรง จนแบงก์ชาติต้องเข้าดูแลเพื่อไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวหวือหวาเกินไป เพราะเกรงว่าผู้ประกอบการทั้งผู้นำเข้าและส่งออกจะปรับตัวไม่ทัน วิธีดูแลของแบงก์ชาติ ทำโดยเข้าแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยการรับซื้อเงินดอลลาร์เข้ามาเก็บไว้และปล่อยเงินบาทออกไปเพื่อให้ปริมาณเงินบาทมีเพียงพอกับความต้องการของนักลงทุนในขณะนั้น การรับซื้อเงินดอลลาร์ของแบงก์ชาติ ทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์ที่อยู่ในรูปเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเงินเหล่านี้แบงก์ชาตินำไปลงทุนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในรูปพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ ที่มีความเสี่ยงต่ำ ส่งผลให้ผลตอบแทนในรูป “ดอกเบี้ยรับ” ต่ำตามไปด้วย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1% เศษ ขณะเดียวกัน การที่แบงก์ชาติต้อง “ปล่อยเงินบาทออกไป” เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของนักลงทุน ทั้งยังช่วยให้เงินบาทไม่แข็งค่าเร็วเกินไปนั้น กรณีนี้ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในระบบเพิ่มสูงขึ้น การที่เงินในระบบเพิ่มขึ้นนำไปสู่ความกังวลว่า จะเป็นต้นเหตุของภาวะ "ฟองสบู่" รวมถึง “เงินเฟ้อ” ที่เร่งตัวขึ้น แบงก์ชาติจึงใช้วิธีดูดซับเงินบาทที่ปล่อยออกไปนั้นกลับมา โดยออก “พันธบัตร ธปท.” ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยช่วงเวลานั้นดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วงขาขึ้น เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.25-3.5% และนี่คือ “ภาระดอกเบี้ยจ่าย” ที่แบงก์ชาติต้องจ่ายออกไป ดังนั้น หากจะสรุปสาเหตุการขาดทุนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นกว่า 271.37% ในปี 2554 นั้น เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. ภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เป็นขาขึ้นในช่วงเวลานั้น สวนทางกับดอกเบี้ยรับที่ยังอยู่ในระดับต่ำ 2. ปริมาณเงินสำรองที่เพิ่มขึ้นทำให้มูลค่าจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับกับดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย สรุปแล้ว การขาดทุนในส่วนนี้ เกิดจากการทำหน้าที่ของ “ธนาคารกลาง” ในการดูแลเสถียรภาพด้าน “อัตราแลกเปลี่ยน” และเสถียรภาพด้าน “ราคา” ..พูดให้ง่าย คือ เป็นการยอม “เจ็บ” เพื่อ “ส่วนรวม” และการมีเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูง ถือเป็นเรื่องดีเพราะสามารถใช้เป็นกันชนในยามที่วิกฤติเศรษฐกิจมาเยือนได้
โดย
ayethebing
พุธ ก.พ. 06, 2013 2:43 am
0
5
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
ตอนนี้คุณ carpenter โต้แย้งอยู่ 2 ประเด็น คือ บาปของ BOT กับการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในส่วนแรก ผมไม่พูดถึงละกัน มันไม่มันส์เท่าประเด็นที่สอง ก่อนอื่น ผมไปถามอากู๋เรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้ความว่ามันคือ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของรายการที่ bot จะทำกับสถาบันการเงินต่างๆ ที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันบัตรระยะเวลา 1 วัน (1-Day Repurchase Rate หรือ 1-Day Repo Rate) ในกรณีที่สถาบันการเงินมีสภาพคล่องเหลือก็จะนำเงินไปให้แบงค์ชาติกู้ยืมเป็นระยะเวลา 1 วัน ซึ่งแบงค์ชาติจะโอนพันธบัตรภาครัฐให้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกัน โดยแบงค์ชาติสัญญาว่าจะ “รับซื้อคืนพันธบัตร” ที่ใช้เป็นหลักประกัน กลับมาจากสถาบันการเงินพร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลา 1 วันให้ โดยดอกเบี้ยนั้นก็คืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยนั่นเอง ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายคือ อัตราดอกเบี้ยที่แบงก์ชาติ ใช้เพิ่มหรือลดสภาพคล่องในระบบและใช้เป็น สัญญาณบอกตลาดเงินว่า ดอกเบี้ยจะไปในทิศทางไหน ส่วนแต่ละแบงก์จะเพิ่มจะลดดอกเบี้ยกู้ ฝาก แบงก์ชาติไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยว กลับมาที่ประเด็นสองประเด็นคือ เงินเฟ้อ และเงินไหลเข้าออก ข้อแรก เงินเฟ้อ เนื่องด้วยอัตราเงินเฟ้อ ปัจจุบัน คงยากที่จะหาธนาคารกลางที่ไหนยอมลดดอกเบี้ยนโยบายและส่งสัญญาณไปยังทิศทางของดอกเบี้ยโดยรวมว่า ทุกท่าน เลิกเก็บเงินและใช้จ่ายกันได้แล้ว ทุกบริษัท กู้เงินกันเถอะ ซึ่ง by the book แล้วจะทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นจากความต้องการที่มากขึ้น ถามว่า ต่อให้ทำ เงินจะไหลเข้าน้อยลงจริงๆ หรือ เราจะลดดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือ 0.25% ให้เท่ากับสหรัฐจริงๆ หรือ ถ้าไม่ แล้วลดเท่าไรจึงจะหยุดการไหลเข้าของเงินได้??? มีใครตอบได้บ้าง มีแค่นโยบายการเงินเท่านั้นหรือที่จะตอบโจทย์เรื่องลดเงินเฟ้อและควบคุมการไหลเข้าของเงินได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมเราไม่มุ่งเน้นนโยบายการคลังที่รัฐบาลผู้ที่รู้ปัญหาเช่นเดียวกัน ควรทำบ้าง ทำไมเราไม่บอกให้มีการเก็บภาษี capital gain ยกเว้นลงทุนนานเกิน 1 ปี ทำไมเราไม่ลดงบประมาณขาดดุลเพื่อค่าใช้จ่ายและเพิ่มการลงทุนแทนเพื่อลดเงินเฟ้อ ทำไมเราไม่มีการสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดต้นทุนพลังงาน ทำไมเราไม่พัฒนาการขนส่งเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง และสินค้าอุปโภคบริโภค อีกหลายทำไม?? แต่เรากลับเลือกเส้นทางทีดูง่ายที่สุด ไม่รับรองผล และอาจมีผลร้ายที่สุดในระยะยาวอย่างการลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นทางออกทางเดียวที่ดูเหมือนจะเหลืออยู่??? แน่นอนการกำหนดนโยบายการคลังเช่น capital gain tax จะทำให้ตลาดที่กำลังกระทิงขวิด กลายเป็นหมีนอนหลับ แต่การเจ็บครั้งเดียวนี้ จะทำให้เราได้ประโยชน์ยาวๆ มากกว่าหรือไม่ การเพิ่มเงินสำรองของธนาคารที่คุณ carpenter ก็เป็นนโยบายการเงินอย่างหนึ่งที่ทำได้เพื่อลดแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อ โดยดูดเอาปริมาณเงินออกจากระบบ แต่ปัญหาคือตอนนี้ เงินมันล้นครับ ธนาคารลดสภาพคล่องไปจำนวนนึงก็คงไม่มีผลอะไร เพราะเงินเฟ้อตอนนี้มันมาจาก demand อยู่ ไม่ได้มาจากการหมุนรอบของเงิน แถมด้วยข้อมูลของ world bank เรื่อง spread ของดอกเบี้ยระหว่างฝากกะกู้ครับ เผื่อเป็นข้อมูลเพื่อการถกเถียงและโต้แย้ง เบลารุส 0.1 % ญี่ปุ่น 1.1 % อาร์เจนติน่า 1.4 % เกาหลีใต้ 1.7 % แคนาดา 2.6 % สวิตเซอร์แลนด์ 2.7 % อิสราเอล 2.9 % ออสเตรเลีย 3.1 % จีน 3.1 % ไทย 4.9 % สิงคโปร์ 5.2 % อินโดนีเซีย 6.2 % ภูฏาน 9.5* % ลาว 19.6 % คองโก 39.7 % ซิมบับเว 457.5* %
โดย
ayethebing
พุธ ก.พ. 06, 2013 2:18 am
0
10
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
จริงๆ มันเริ่มที่ดอกเบี้ยนโยบาย คุยไปคุยมากลายเป็นเรื่อง สปิริตของนักการเมืองกะน้ำท่วมซะเนี่ย :mrgreen: จริงๆ หลายๆ จุดผมก็เห็นด้วยกับคุณ carpenter นะ เรื่องสปิริตของนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูง แต่ทำไงดีละ ผมเห็นว่าประเทศไทยตอนนี้มีแรงฉุดอยู่ 3 แรงทำให้เราเติบโตไม่ได้ คือการศึกษา คอร์รัปชั่นและการผูกขาด เกี่ยวไงกันหรือครับ ไอ้การศึกษาของเราที่เน้นให้ท่อง ให้จำ แต่ไม่ให้เข้าใจ ให้รู้ ให้ฝึก แต่ไม่รู้จะเอาไปใช้เพื่ออะไร ให้เก่ง แต่ไม่ให้ดี ให้ฉลาดแต่ไม่สอนให้ไม่โกง อันนี้มันทำให้ คนส่วนใหญ่ของประเทศยังเลือกนักการเมืองแบบไม่วิเคราะห์ เลือกตามกระแส เลือกตามอารมณ์และความรู้สึก นักการเมืองที่ได้มาบริหารประเทศจึงไม่จำเป็นต้องมีสปิริต เพราะยังไงเค้าก็ได้รับเลือกตั้ง (สโลแกนของบางพรรค เอาเสาไฟฟ้าลงยังชนะ!!!!) คุยต่อได้อีกหลายฉาก แต่เอ มันนอกเรื่องจากประเด็นของกระทู้ไปเยอะแล้ว ไม่เอาดีกว่า กลับมาที่บทบาทของธนาคารกลาง ผมว่าเราคาดหวังกับแบงก์ชาติมากไปหรือเปล่า แน่นอนว่าถ้ามีปัญหาเศรษฐกิจ ใครๆ ก็นึกถึงแบงก์ชาติ แต่อย่าลืมว่า แบงก์ชาติ รับผิดชอบเฉพาะนโยบายด้านการเงิน รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการคลัง กลายเป็นว่ารัฐบาลผลักภาระทั้งหมดมาให้แบงก์ชาติ ซึ่งสิ่งที่แบงก์ชาติทำได้อยู่สองอย่างเท่านั้นคือลดดอกเบี้ยนโยบายซึ่งมีผลกับเงินเฟ้อและภาวะฟองสบู่ (อย่าลืมว่าเงินเฟ้อล่าสุดเดือนม.ค. สูงอยู่ที่ 3.4) กับตั้งเงินสำรองเงินทุนไหลเข้าอย่างที่หม่อมอุ๋ยทำ (ซึ่งธปท ต้องแหยงแน่ๆ) แทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน (อย่านะ!!!!) ในขณะที่รัฐบาลเองก็สามารถสร้างกลไกของการคลังในการควบคุมการไหลเข้าได้เช่นการเก็บภาษี (ซึ่งรองนายกโต้งบอกแล้ว ว่าน้องโต้งชิ่งเคอะ รัฐบาลไม่ทำเคอะ) ซึ่งปัจจุบัน อินโด มาเลย์ ก็เริ่มทำแล้วครับ สรุปเรื่องนี้ ยังอีกยาวครับ
โดย
ayethebing
จันทร์ ก.พ. 04, 2013 12:01 pm
0
9
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
ข้อ 2 เป็นต้นไปเห็นด้วยทั้งสิ้นเพราะมันเป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ในส่วนที่ยังต้องว่าแบงก์ชาติและคนไทยลืมนั้นผมว่าไม่ใช่ จำได้ว่าได้มีการนำเอาผู้ว่าแบงก์ชาติสมัยนั้นมาฟ้องและขึ้นศาลด้วย ส่วนคนของแบงก์ชาติที่เหลือจะให้เอามาขึ้นศาลให้หมดเลยมั้ยครับ? ในส่วนประเด็นแรกผมเห็นด้วยนะครับ แต่การแก้ไขไม่ใช่ลดดอกเบี้ยนโยบายแน่นอนแต่เป็นการปฏิรูประบบธนาคารไทยให้มีการแข่งขันมากขึ้น ถ้าจะตำหนิแบงก์ชาติก็คงได้เพราะทำเรื่องนี้ช้ามากๆครับ (มีแผนแม่บทอยู่แต่ผมไม่รู้ความคืบหน้า) ปัจจุบันแบงก์ไทยยังฟันกำไรนิ่มๆ ต่อไปด้วย spread เกือบ 7%. หลังจากเปิดเสรีธนาคารเมื่อไรใครไม่ปรับตัว เป็นเรื่องแน่ๆคร้าบ
โดย
ayethebing
จันทร์ ก.พ. 04, 2013 8:21 am
0
1
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
ผมเห็นว่าการลดดอกเบี้ยนโยบาย ไม่สามารถหยุดการไหลเข้าของเงินทุนได้ และจะทำให้เกิดไปกระตุ้นการใช้จ่ายลงทุนทำให้เศรษฐกิจเพิ่มความร้อนจากที่ค่อนข้างร้อนอยู่แล้วขึ้นไปอีก ด้วยกระแสเงินไหลเข้าจำนวนมากแบบนี้ ลดซัก 0.25 คงไม่ช่วยอะไรแถมยังสร้างผลเสียมากกว่าผลดีนะผมว่า ผมว่ามันออกจะไม่แฟร์กับคนของแบงก์ชาติถ้าเอาอดีตตอนต้มยำกุ้ง (ซึ่งในขณะนั้นมีการเมืองเข้าแทรกแซงการทำงานของแบงก์ชาติพอสมควร) มาใช้ตราหน้าว่าคนของแบงก์ชาติไม่ฉลาด ไม่มีความสามารถ ขาดคุณธรรมจริยธรรมต่างๆ เหมือนคนเคยตกท่อ พอเค้าเดินมาทีไร อีก 10 ปีให้หลังแล้วคุณก็ยังทำหน้าเหมือนกับว่าเค้าเหม็นซะเต็มประดา ตอนนั้นที่หม่อมอุ๋ยสกัดค่าเงิน ก็โดนด่า คิดว่าเค้าขาดความสามารถ ขาดคุณธรรมจริยธรรมในการทำครั้งนั้นจริงๆ หรือเปล่า ตอนนั้นเราต้องการป้องกันการไหลเข้าแบบไม่มีการควบคุม เราต้องการสร้างกลไกในการควบคุม ถ้าเรามีกลไกควบคุมตั้งแต่ตอนนั้น ปัญหาที่เงินไหลเข้าและทำให้ค่าเงินเราแข็งอยู่ทุกวันนี้จะมีทางแก้ไข แต่ฝรั่งซึ่งกำหนดชะตาชีวิตของพวกเล่นหุ้นในตลาด ถอนเงินออก เพื่อสร้างแรงกดดันกับ bot ท้ายสุดก็ทนกระแสไม่ไหวก็ต้องยกเลิก สรุปว่าเราแพ้เงินของฝรั่งใช่มั้ยครับเนี่ย ตกลงว่าเราเองที่ไร้จริยธรรม เห็นกับประโยชน์ของตัวเองในตลาดหรือ BOT กันแน่ ความเห็นส่วนตัวเหมือนกัน แค่มองมุมต่าง ไม่ได้หาเรื่องใครนะจ๊ะ :P
โดย
ayethebing
จันทร์ ก.พ. 04, 2013 12:16 am
0
20
Re: ในที่สุด ก็พบสุดยอดเคล็ดการเล่นหุ้น
กด like ไม่อยากบอกเลยที่ set ขึ้นแรงๆ อย่างนี้ เพราะพวกเรา ขายหมู ยูไนเต็ด คนนี้นี่เอง เอง เอง เอง :P :P :P :P
โดย
ayethebing
อังคาร ม.ค. 29, 2013 1:37 am
0
0
Re: ชวนคุยเรื่องการถ่ายภาพและกล้อง
แถมด้วยรูปจากกล้อง panasonic ts3 ครับ
โดย
ayethebing
จันทร์ ม.ค. 14, 2013 4:15 pm
0
1
1886 โพสต์
of 38
ต่อไป
ต่อไป
Verified User
ชื่อล็อกอิน:
ayethebing
กลุ่ม:
สมาชิก
งานอดิเรก:
Stock
ความถนัด:
Enterpreneur
ที่อยู่:
Water Airport (สนามบินน้ำ)
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
จันทร์ ก.ค. 07, 2003 8:30 pm
ใช้งานล่าสุด:
-
โพสต์ทั้งหมด:
2125 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.11% จากโพสทั้งหมด / 0.27 ข้อความต่อวัน)
ลายเซ็นต์
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว