หน้าแรก
เว็บบอร์ด
หลักสูตรออนไลน์
Marketplace
สินค้าสมาคม
ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
เข้าสู่ระบบ
เมนูลัด
แสดงกระทู้ที่ยังไม่มีการตอบ
แสดงกระทู้ที่เปิดดูแล้ว
ค้นหา
รายชื่อสมาชิก
ทีมงาน
FAQ
ไอเดียหุ้นเด้ง
โพสต์ยอดนิยม
หุ้นที่ติดตาม
ผู้เขียนที่ติดตาม
tingun
Joined: อาทิตย์ พ.ย. 04, 2007 1:27 am
99
โพสต์
|
0
กำลังติดตาม
|
0
ผู้ติดตาม
ส่งข้อความ
ดูประวัติส่วนตัว - tingun
กระทู้ที่ตั้ง
โพสต์ที่ตอบ
โพสต์ที่ตอบ
คอมเมนต์
ไลค์
Re: ขอเชิญร่วมแสดงมุทิตาจิต แด่ ดร.นิเวศน์ 60 ปี ผ่านช่องทาง
ดร นิเวศน์ เป็นอาจาร์ยที่ผมเคารพทั้งในด้านการลงทุนและการใช้ชีวิต รวมถึงเป็นผู้ให้อย่างจริงใจในวงการหุ้น ซึ่งจะว่ากันจริงๆก็เป็นวงการที่เต็มไปด้วย ผลประโยชน์แอบแฝงทั้งนั้น แต่อาจาร์ยก็ยังเป็นผู้ให้อย่างจริงใจเสมอมาเป็นเวลากว่า 10ปี ความรู้ที่อาจาร์ยถ่ายทอด ทั้งในการสัมมนา เขียนบทความทุกสัปดาห์ (สุดยอดมาก) เขียนหนังสือ แปลหนังสือ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อนักลงทุนทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ที่ได้ความรู้การลงทุนแบบ VI ที่ถูกต้องและนำไปใช้ได้จริง รวมทั้งยังได้ปรัชญาดีๆในการใช้ชีวิตอีกด้วย อาจาร์ยเป็นผู้จุดประกายมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่ไม่มีมรดกจากพ่อแม่ ให้มีความหวังว่า สักวันจะเป็นคนที่มีฐานะที่ดีขึ้นได้ หรือ พูดง่ายๆว่าจะกลายเป็นคนรวยได้ โดยใช้หลักการลงทุนแบบ VI ที่มีหัวใจสำคัญคือ ซื้อหุ้นคือการลงทุนทำธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันก็มีคนจำนวนมากเปลี่ยนฐานะ ของตนเองให้ดีขึ้นได้แล้ว บนเส้นทาง VI ที่อาจาร์ยได้วางรากฐานไว้ สุดท้ายผมขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อาจาร์ยเคารพ คุ้มครองให้อาจาร์ยสุขภาพแข็งแรง ครอบครัวมีความสุข จิตใจแจ่มใส อยู่คู่กับนักลงทุนไปนานๆนะครับ
โดย
tingun
เสาร์ ส.ค. 17, 2013 5:27 pm
0
1
Re: แจ้งข่าว มารดา ของ ดร.นิเวศน์ เสียชีวิต ครับ
ขอแสดงความเสียใจกับอาจาร์ยด้วยครับ
โดย
tingun
เสาร์ มี.ค. 24, 2012 11:33 pm
0
0
Re: moneytalk@set เสาร์17มีค MegaTrend กับหุ้นไทย
ผมถอดเทปให้อ่านเพิ่มเติมครับ แต่เป็นส่วนของ ดร.นิเวศน์ เท่านั้นนะครับ ผมคิดว่าเรื่อง Mega trend ที่ได้ฟังมีประโยชน์มาก เลยเผื่อสำหรับคนไม่ได้ไป ตามนี้เลยครับ ดร ไพบูลย์ : Mega trend กับหุ้นไทยเป็นยังไง ดร นิเวศน์ : สรุปให้เห็นภาพใหญ่ เรื่องแรก เรื่องของเทคโนโลยี ที่ผมเห็นเป็น trend ใหญ่ คือ IT กับ ชีวภาพ การแพทย์ต่างๆ วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ความงามอะไรพวกนี้ก็จะมา ในเรื่องเทคโนโลยี trend ใหญ่ คือ mobile อะไรต่างๆ จะเป็น mobile หมด fixed Line นี่แทบจะจบ อีกหน่อยเด็กก็มีแค่ tablet อะไรต่างๆอยู่ในนี้หมด ในเรื่องเทคโนฯในเรื่องอื่นๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน ผมว่าไม่ค่อยพัฒนามากแต่ในเรื่อง IT ผมว่า mobility ถือว่ามาแรงมาก อันที่สอง ความมั่นคั่ง ความจริงอันนี้เป็น Mega trend มาเป็นสิบๆปีแล้ว ตั้งแต่จีนมีการเปิดประเทศ โลกโตเร็วมาก เมื่องไทยเองคนก็รวยมากขึ้นๆ ดังนั้น ธุรกิจการเงิน การลงทุน ตลาดหุ้น ผมว่าเม็ดเงินเข้ามาตลอดเวลาไม่มีทางลง เดี๋ยวนี้คนไทยซื้อหุ้นเยอะมาก เรียกว่าตลาดหุ้นตกเมื่อไหร่คนไทยพร้อมเพราะฉะนั้นฝรั่งจะขายก็ไม่ต้องไปสนใจเพราะคนไทยมีเงินเยอะ ในจีนความมั่นคั่งเพิ่มขึ้นมหาศาล อินเดียก็เพิ่ม อินโด แม้กระทั่งเวียดนาม พม่า พวกนี้เพิ่มหมด ก็ต้องไปดูว่าธุรกิจอะไรจะได้ประโยชน์ ถ้าในประเทศก็คือการใช้จ่าย ถ้าเกี่ยวกับต่างประเทศก็คือ การท่องเที่ยวการเดินทาง อันที่สาม คือ เรื่อง demography คือเรื่องของคนที่แก่ตัวลง คนจำนวนมากแก่ตัวลง คนไทยเองก็แก่ตัวลงและอีกสักพักจะแก่ลงแบบไม่น่าเชื่อ เพราะคนรุ่นใหม่เกิดน้อย คนอายุมากจะเพิ่มขึ้นทุกปีๆ สมัยผมเด็กเกิดปีละล้าน เดี๋ยวนี้เกิดปีละไม่กี่แสน ธุรกิจที่จะได้ประโยชน์คือ การรักษาพยาบาล สุขภาพ อะไรที่เกี่ยวกับคนแก่ อันที่สี่คือเรื่อง โลกร้อน แต่อันนี้ก็ดูยาก เช่น ความเสี่ยงเรื่องน้ำท่วม อันที่ห้า เรื่อง อาเซียน พาวเวอร์ สมัยก่อนเรารู้สึกว่าฝรั่งใหญ่โตมาก มันต้องเก่ง มันต้องรวย แต่เดี๋ยวนี้เค้าหงอไปเยอะเพราะเค้าไม่ค่อยมีสตางค์ สมัยก่อนฝรั่งมาทำงานบ้านเราก็ต้องเป็นผู้จัดการ สมัยนี้มีแต่นามสกุลคนจีน คนอินเดีย คนอาเซียน มีเยอะไปหมด สมัยก่อนไม่มีหรอก อยู่ที่สิงค์โปรแต่มาเป็นผู้จัดการแบงค์ เช่นเดียวกับเรื่องของการชอปปิ้งต่างๆก็เป็นคนเอเชีย ฝรั่งเองก็เริ่มมองว่าคนเอเชียไม่ใช่เป็นคนกะเหรี่ยง ลูกผมไปเรียนที่อังกฤษ เฉพาะคนไทยที่ไปเรียนป.โทที่มหาลัยชั้นนำ โปรแกรมเดียวกันก็ 10 คน และก็มีคนหลากหลายมาก คนอังกฤษเองมีน้อยเท่าๆกับคนไทย ดังนั้นคนเอเชียนั้นมาเพราะความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเยอะ อีกหน่อยคนที่มาเที่ยวในเมืองไทยจะกลายเป็นคนเอเชียเป็นส่วนใหญ่เพราะการท่องเที่ยวไทย พวกจีน อินเดีย เติบโตหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ขณะที่อเมริกัน อังกฤษเติบโตปีละสิบเปอร์เซนต์ก็เก่งแล้ว นานๆเข้าก็จะกลายเป็นเอเชียหรือเอเซียนไปหมดทั้งผู้บริหาร นักทิองเที่ยว เพราะฉะนั้นจะเป็นศตวรรษของเอเชีย สุดท้าย เรื่อง Globalization ซึ่งเรื่องนี้ตัวมันเองเป็น trend ในขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลส่งมายัง trend ต่างๆอีกทั้ง เทคโนโลยี ความมั่งคั่ง อะไรต่างๆ มันก็มีผลจากGlobalization ถ้าเราอยากรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับเมืองไทยก็ไปดู Global ไปดูต่างชาติว่าเป็นยังไงมันก็เป็นแนวแบบเดียวกัน อันนี้ก็เป็นแนวมองหาว่าหุ้นตัวไหนหรือเซกเตอร์ไหนหรือกลุ่มไหนกำลังจะมาเพราะว่าเราเห็นเมืองที่เค้าเจริญกว่าเค้าเริ่มแล้ว ทบทวนอีกทีนะ เทคโนโลยีmobile IT ชีวภาพ ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก ธุรกิจเกี่ยวกับการเงิน การท่องเที่ยว ธุรกิจอะไรที่คนมีเงินใช้ เรื่องของอายุแก่ตัวลง การพยาบาล การรักษาสุขภาพ โลกร้อน อันนี้ต้องไปศึกษาผลกระทบเยอะ เกี่ยวกับ property เกี่ยวกับอะไรก็ว่าไป อาเซียนพาวเวอร์ ต้องดูว่าเราเกี่ยวอะไรกับเมืองจีนถ้าจะไปทำธุรกิจต่างๆเพราะจีนมาแน่และก็มีพลังมหาศาล และผลกระทบอีกอย่างที่ผมมองคือเมื่อเปิดอาเซียนเป็นหนึ่งเดียวหรืออาจจะขยายไปถึงเมืองจีนด้วย ผมมองว่าในอนาคตบริษัทที่เก่ง บริษัทที่เยี่ยมจะยิ่งมี value มากขึ้นเพราะว่ามันสามารถขยายไปหลายประเทศได้ ไปโตในเมืองจีน ไปโตในอาเซียนได้ บริษัทที่กลางๆหรือแย่ๆจะลำบากเพราะคู่แข่งก็จะเข้ามาแย่งตลาด คุณอาจจะเก่งในเมืองไทยแต่ไม่เก่งในระดับ region คุณก็จะเจอการแข่งขันที่หนักมากเพราะฉะนั้นอันนี้ลำบาก อีกกลุ่มหนึ่งที่อาจจะได้ประโยชน์หรือยังได้ประโยชน์อยู่ก็คือ พวกที่เป็น Localจริงๆ เพราะตัวธุรกิจของมัน มันไม่สามารถที่จะใช้กับ Global ได้ เช่น พวกที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก เกี่ยวข้องกับ Logistic ที่มันไกลไม่ได้ คุณจะขนของหนักๆหรือของที่ราคาถูกๆ เช่น ก๋วยเตี๋ยวห่อหนึ่ง คุณจะส่งมาจากสิงคโปร์นี่มันทำไม่ได้ มันก็จะเป็นลักษณะว่าบริษัทที่เป็น dealer เก่งๆ ก็จะมี value มากขึ้น อีกหน่อยเวลาเปิดตลาดอาเซียนก็จะมีบริษัทเด่นๆของสิงคโปร์ มาเลเซีย มาให้เรา trade เราก็จะ trade บริษัทที่เก่งๆ ดังๆ และมันขายได้ทั่วอาเซียน เราก็จะเห็นว่ามันดีอย่างนั้นอย่างนี้เพราะเราได้สัมผัสมันดังนั้นก็จะมีแรงซื้อมากขึ้น บริษัทที่อ่อนๆไม่ค่อยดีเท่าไหร่อาจจะสู้ไม่ได้ สักพักเวลาเปิดอาเซียนแล้วมันก็จะด้อยลงไป ก็จะมีบริษัทที่ Local โดยธรรมชาติ ซึ่งเราก็ต้องไปหา คือไม่สามารถเอาจากที่อื่นมาแข่งได้ มันเป็นบริการที่ serve ใน area จำนวนหนึ่งหรือของกินของใช้ที่ราคาไม่แพงมากแต่ว่าคุณต้อง serve Local ให้ได้ ก็จะมีสองกลุ่มนี้ที่ผมว่าอาจจะได้ประโยชน์ที่เราพอจะลงทุนได้ ดร ไพบูลย์ : ให้ช่วยวิจาร์ณกลุ่ม health care กลุ่มโรงพยาบาล ดร นิเวศน์ : โรงพยาบาลผมคิดว่ามันมี Local อยู่ คุณเก่งที่อื่นแต่เข้ามาเปิดในประเทศไทยมันเข้ามาไม่ง่าย เพราะว่ามันมี record มันมีหมอ นี่คือกลุ่มที่อาจจะได้ประโยชน์เพราะมันสามารถป้องกันเรื่องคู่แข่งเข้ามาได้ แต่การจะไปขยายไปที่อื่นก็ต้องคิดว่ามันต้องเก่งมากและก็ไปหาจุดที่อ่อนแอกว่า ปรากฏการร์ณนี้ผมคิดว่ามันจะต่อเนื่องคือคนที่เก่งก็จะได้ PE สูงลิ่วเลยเพราะว่าคุณมีศักยภาพที่จะไป อันนี้ก็เป็นได้ทั้งคู่ก็คือเค้าสู้คนอื่นได้อยู่แล้ว เค้าเป็นระดับโลกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเค้าจะไปอินโด ไปฟิลิปปินส์ อันนี้หมูเลยเพราะในสองประเทศนั้นมันอาจจะไม่ดี นี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมบริษัทที่เด่นๆดีๆ PE มันเพิ่มขึ้นทุกวัน แม้กระทั่งของพวก brand name ต่างๆ เช่น พวกหลุยส์วิกตอง ได้ PE สูงลิ่วเพราะทุกคนต้องไปหาเค้า เค้าเด่นมาก ทุกคนต้องไปซื้อเค้า มันก็จะเริ่มมากขึ้นๆเรื่อยๆจนบางทีเราก็ลืมไปแล้วว่ามันเป็นไปได้ยังไงเพราะเราไม่ชิน วันหนึ่งพวกนี้มันก็ไปแบบนี้แหละ บางบริษัทก็เริ่มไปแล้ว เริ่มมองว่าจะไปจีน ไปมาเลเซีย และถ้าเค้าเปิดอาเซียนเมื่อไหร่มันก็จะเห็นภาพชัดขึ้นเพราะว่าเมื่อเปิดแล้วคุณสามารถเข้าไป take เค้าได้เลย การขออนุญาตไม่เป็นปัญหาเพราะฉะนั้นจะเข้าไปเมื่อไหร่ก็ได้boundary มันไม่มี ถ้าไม่มีแล้วเมืองไทยก็เป็น 1/5 ของตลาดเท่านั้นเองยังมีตลาดใหญ่กว่านั้นอีกเยอะที่ไปได้ หรือไม่คุณก็ต้องเล่นหุ้นที่เล็กลงมาหน่อยและก็มีอะไรที่สามารถ control อยู่ในท้องถิ่นซึ่งยังไงคนก็เข้ามาไม่ได้ด้วยเหตุผลบางอย่าง
โดย
tingun
จันทร์ มี.ค. 19, 2012 6:50 pm
0
15
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
ขอบคุณอาจารย์อย่างสูงครับที่สละเวลามาตอบ :bow:
โดย
tingun
อังคาร มี.ค. 06, 2012 11:22 pm
0
0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
อันนี้เป็นหมายเหตุในส่วนภาษีเงินได้ 54 Q3 ของบริษัท KTC ครับ ซึ่งบริษัทมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ การตั้งหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก http://image.ohozaa.com/i/7d4/FeBNvg.png อยากรบกวนถามอาจาร์ยครับว่า 1. ผลกระทบทางภาษีของรายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชีแต่มิได้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษี จำนวน -18,896 นี่มันเกิดจากอะไรเหรอครับ มันเอาไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชีด้วยเหรอครับ ซึ่งทำให้บริษัทเสียภาษีทางบัญชีสูงถึง 52% ไม่ใช่ 30% 2. ภาษีที่บริษัทจ่ายจริงให้สรรพากรคือยอด -116,779 ใช่ไหมครับ แล้วค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับผลต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นและที่กลับรายการจำนวน -72,321 มันคืออะไรเหรอครับ
โดย
tingun
จันทร์ มี.ค. 05, 2012 3:04 pm
0
0
Re: เวลาดูงบกระแสเงินสด ควรเน้นดูตรงไหน
ผมคิดว่า ในส่วนการดูแต่ เงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำเนินงาน เลย อาจจะหยาบเกินไป เราควรจะวิเคราะห์ก่อนว่า เงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำเนินงานเป็นบวก บวกจากอะไร มาจากการดำเนินงานหรือเปล่า หรือว่าเป็นเพราะมีการยืดหนี้เจ้าหนี้การค้า และถ้าเงินสดสุทธิจากกิจกรรมการดำเนินงานเป็นลบ ก็ควรจะดูว่า ลบจากอะไร จากการดำเนินงาน หรือว่ามีการลงทุนในสินค้าคงคลังและลูกหนี้การค้ามากขึ้นเพราะมีการขยายธุรกิจ รวมทั้งพิจารณาว่า ปัจจัยหลักๆที่ทำให้ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทเป็นบวกหรือลบนั้น เป็นเรื่องถาวรที่จะเกิดเป็นประจำ หรือว่าเป็นเหตุการณ์ชั่วคราว แน่นอนว่า การดำเนินธุรกิจจริงๆแล้ว สินทรัพย์หมุนเวียนพวก ลูกหนี้การค้า สินค้าคงคลัง และเจ้าหนี้การค้า คงไม่สม่ำเสมอ ย่อมมีบางไตรมาสที่กระโดดขึ้น หรือ กระโดดลง บ้างเป็นธรรมดา เราก็ต้องพยายามคำนวณหาตัวเลขที่เป็นกลางๆไว้ ช่วงนี้งบการเงินของบริษัทต่างๆ เริ่มออกมาแล้ว อยากถามพี่ฉัตรเกี่ยวกับการดูงบกระแสเงินสดหน่อยครับ 1 .ในการดูกระแสเงินสดที่บริษัททำได้จริงๆ พี่ฉัตรจะดูที่ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินและหนี้สินหมุนเวียน หรือ ดูที่บรรทัดกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสุทธิ มันขึ้นกับเงื่อนไขอะไรบ้างครับ 2.ปกติพวก การเปลี่ยนแปลงของ ลูกหนี้การค้า สินค้าคงคลัง เจ้าหนี้การค้า แต่ละงวดนั้น มันไม่แน่นอน บางทีบริษัทมีกระแสเงินสดก่อนการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินและหนี้สินหมุนเวียนดีมาก แต่พอลงมาบรรทัด กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสุทธิ กลับเหลือน้อยหรือติดลบไปเลย ซึ่งก็เกิดจากมีการเพิ่มขึ้นของ ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือมาก หรือ เจ้าหนี้การค้าลดลง ถ้าเจอแบบนี้พี่ฉัตรจะดูไปที่อะไรต่อในการดูว่า มันเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวหรือถาวร อย่างกรณี Roynet ถ้าดูงบกระแสเงินสดลูกหนี้การค้าเพิ่มเยอะมากทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานสุทธิติดลบหรือเหลือน้อยมากและก็แย่ไปเลย แต่อีกหลายๆบริษัทก็ไม่ใช่แบบนี้ คือ กระแสเงินสดจากกการดำเนินงานสุทธิติดลบแค่ชั่วคราว แล้วก็ฟื้นได้ อย่างเช่น SINGER 3. ที่พี่ฉัตรบอกว่า สินทรัพย์หมุนเวียนพวก ลูกหนี้การค้า สินค้าคงคลัง และเจ้าหนี้การค้า คงไม่สม่ำเสมอ ย่อมมีบางไตรมาสที่กระโดดขึ้น หรือ กระโดดลง บ้างเป็นธรรมดา เราก็ต้องพยายามคำนวณหาตัวเลขที่เป็นกลางๆไว้ ตัวเลขกลางๆที่ว่ามันคำนวณยังไงเหรอครับ
โดย
tingun
พฤหัสฯ. ก.พ. 23, 2012 12:30 pm
0
1
Re: สรุปความรู้ที่ได้จากงานเดินหมากลงทุนในหุ้นกับสุมาอี้ 25
ขอบคุณครับผมที่มาแบ่งปัน :D
โดย
tingun
อาทิตย์ ม.ค. 29, 2012 1:05 am
0
0
Re: มีไหมครับคนที่เริ่มลงทุนในหุ้นจากเงินหลักหมื่นงอกเงยเป็น
มีแน่นอนครับ มาเป็นกำลังใจให้ครับ ขยันๆ เข้าไว้ อ่าน อ่าน แล้วก็อ่าน หนังสือเยอะๆ ครับ รวมถึงติดตามบริษัทที่เราลงทุนอยู่เสมอ ลงทุนอย่างมุ่งมั่น ไม่ใช่ลงทุนเอาค่าขนม ถ้าลงทุนแล้วขาดทุนก็อย่าเพิ่งท้อครับ แต่เรียนรู้ว่าเราผิดพลาดตรงไหนแทน แล้วลุกขึ้นสู้ใหม่ แล้วอย่าทำพลาดอีก ที่สำคัญ อย่าเสี่ยงเกินไป คือ อย่าโลภเกินความรู้ที่เรามี สักวันถึงล้านแน่ครับ
โดย
tingun
พฤหัสฯ. ธ.ค. 15, 2011 9:52 am
0
0
Re: บทสัมภาษณ์บัฟเฟตต์สดๆ ร้อนๆ (21 พ.ย.) จากญี่ปุ่น น่าสนใจ
ขอบคุณครับที่ช่วยแปลให้อ่าน :D
โดย
tingun
พุธ พ.ย. 23, 2011 10:51 am
0
0
Re: Next station : Italy
ถามพี่วรัศน์เป็นความรู้หน่อยครับว่า การที่ bond yield ใน france Italy สูงๆ นี่มันเป็นสัญญาณเตือนเรื่องอะไรครับ
โดย
tingun
ศุกร์ พ.ย. 11, 2011 10:45 am
0
0
Re: เวลาดูงบกระแสเงินสด ควรเน้นดูตรงไหน
อันนี้ พี่สุมาอี้เขียนไว้ครับ Tuesday, 16 November 2010 งบการเงินสำหรับนักลงทุน (4/5): งบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดเป็นบัญชีที่แสดงการไหลเข้าออกของเงินสดที่เกิดขึ้นสะสมในกิจการระหว่างรอบบัญชีนั้น ในทางบัญชีเราแบ่งกระแสเงินสดออกเป็นสามจำพวกคือ กระแสเงินสดที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน กระแสเงินสดที่เกี่ยวกับการลงทุน และกระแสเงินสดด้านการเงิน โดยที่เมื่อนำกระแสเงินสดทั้งสามจำพวกมารวมกันจะต้องเท่ากับเงินสดที่เปลี่ยนแปลงไปในรอบบัญชีนั้นพอดี เพราะกระแสเงินสดมีแค่สามอย่าง ถ้านำมาบวกกันก็ต้องเท่ากับเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัทระหว่างงวดนั้นนั่นเอง ในงบกระแสเงินสด จะแสดงกระแสเงินสดทั้งสามประเภทให้ดูทีละประเภท ถ้าลองนำกระแสเงินสดทั้งสามประเภทมาบวกกันจะพบว่าต้องเท่ากับผลต่างระหว่างเงินสดตอนปลายงวดกับต้นงวดที่โชว์อยู่ในงบดุลของบริษัทนั้นพอดีด้วย ในหมวดกระแสเงินสดเกี่ยวกับการดำเนินงานนั้นจะดูแล้วงงๆ นิดหน่อย เพราะปกติแล้วการทำบัญชีเพื่อโชว์กระแสเงินสดรับหรือจ่ายของกิจกรรมที่เกี่ยวกับการดำเนินงานให้ดูเป็นอย่างๆ (เช่น เงินสดรับจ่ายจากลูกค้า เงินสดรับจ่ายจากซัพพลายเออร์) นั้นค่อนข้างจะยุ่งยาก หลักบัญชีจึงยอมให้บริษัทแสดงกระแสเงินสดเกี่ยวกับการดำเนินงานทางอ้อม (INDIRECT METHOD) โดยเริ่มต้นจากกำไรสุทธิ แล้ว reconcile กลับด้วยรายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดต่างๆ จนกระทั้งกลายเป็นกระแสเงินสดเกี่ยวกับดำเนินงาน คนที่ไม่ใช่นักบัญชีเวลาอ่านรายการในกระแสเงินสดเกี่ยวกับการดำเนินงานแล้วพยายามจะนึกภาพตามว่าจริงๆ แล้วแต่ละบรรทัดมันเกิดขึ้นอย่างไรเลยมักจะงง เพราะจริงๆ แล้ว รายการพวกนี้เป็นเพียงแค่ item ที่มา reconcile ทางบัญชีให้กำไรสุทธิถอยกลับมาเป็นกระแสเงินสดเท่านั้น สรุปก็คือเห็นแล้วก็ไม่ต้องไปคิดอะไรมาก เหลือบไปดูบรรทัดสุดท้ายที่เขียนว่า เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน เลยดีกว่า ตัวนี้เป็นเสมือนตัวเลขที่บอกว่า ธุรกิจนี้ผลิตเงินสดไปได้เท่าไรตลอดรอบบัญชีนั้น ซึ่งควรจะเป็นบวก (ถ้าเป็นลบแสดงว่ายิ่งขยันยิ่งขาดทุน) และจะให้ดีควรมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากงวดที่แล้วไปในทิศทางเดียวกันกับกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนของบริษัทด้วย ถ้าหากกำไรวิ่งไปทาง กระแสเงินสดวิ่งไปอีกทาง อาจเป็นไปได้ว่าบริษัทอาจกำลังสร้างภาพอะไรบางอย่างอยู่รึเปล่า บางบริษัทชอบ capitalize ค่าใช้จ่ายต่างๆ เอาไว้ในงบดุลแทนที่จะตัดจ่ายออกมาเพื่อทำให้กำไรที่โชว์ออกมาดูสูง (ค่าใช้จ่ายน้อย) เช่น พวกค่าสิทธิ์ต่างๆ ค่าพัฒนาซอฟต์แวร์ ค่าซื้อกิจการ หรือแม้แต่ค่าโฆษณา บริษัทชอบอ้างว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเหล่านี้ที่มี future benefit เลยขอตั้งเป็นสินทรัพย์เอาไว้ก่อนแล้วค่อยทยอยตัดจ่ายออกมาทีหลัง เพื่อให้กำไรในระยะสั้นดูดี พอนานๆ ไปก็ค่อยตัดด้อยค่าเป็นรายการใหญ่ๆ ออกมา แล้วบอกว่านักลงทุนไม่ต้องไปสนใจ เพราะเป็นรายการพิเศษเกิดขึ้นครั้งเดียว แต่ทำเช่นนี้อยู่เนื่องๆ ทำให้กำไรในยามปกติดูสูงกว่าที่ควรจะเป็น ถ้าหากเราดูแต่งบกำไรขาดทุนอย่างเดียว ไม่ตรวจกระแสเงินสดด้วยว่าไปในทิศทางเดียวกันหรือเปล่าก็จะถูกบริษัทตบตาด้วยวิธีการแบบนี้ได้ กระแสเงินสดกลุ่มถัดมาคือกระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน อันนี้หมายถึงบริษัทได้จ่ายเงินออกไปเพื่อสร้างอนาคตอะไรบ้างระหว่างงวด เช่น ลงทุนซื้อที่ดิน เครื่องจักร อาคาร หรือกิจการต่างๆ กระแสเงินสดในกลุ่มนี้เราแยกออกมาจากกระแสเงินสดเกี่ยวกับการดำเนินงาน เพราะเป็นรายการที่จ่ายไปเพื่ออนาคต รายได้ยังไม่ได้เข้ามาจริงในงวดปัจจุบัน ถ้านำมารวมกันจะทำให้ดูเหมือนธุรกิจมีรายจ่ายสูงเกินจริง เพราะที่จริงแล้วพวกนี้เป็นรายจ่ายเพื่อสร้างอนาคต โดยปกติแล้วเงินสดสุทธิในกิจกรรมการลงทุนมักเป็นเลขติดลบ เพราะเป็นการจ่ายเงินออกไปเพื่อลงทุนซื้อสิ่งของต่างๆ กลุ่มสุดท้ายในงบกระแสเงินสดคือกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ได้แก่ รายรับรายจ่ายทั้งหลายที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นของบริษัท เช่น เงินกู้รับ เงินจ่ายคืนหนี้ เงินปันผล เงินเพิ่มทุนรับ เป็นต้น รายการเหล่านี้ถูกแยกออกมาอีกหมวดหนึ่งต่างหากก็เพราะไม่ได้เกิดจากการทำธุรกิจ บางบริษัทอาจมีกระแสเงินสดดีเยี่ยม เพราะว่ากู้แหลก หรือเจ้าของรวยใส่เงินอุดตัวแดงเข้ามาเรื่อยๆ แต่ที่จริงแล้วตัวธุรกิจเองขาดทุนย่อยยับไม่ทำเงิน โดยมากแล้วเวลาดูงบกระแสเงินสดผมก็เพียงแต่ดูกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานว่าเป็นบวกและไปในทิศทางเดียวกันกับกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุนหรือไม่ บางคนบอกว่า กระแสเงินสดดำเนินงานบวกกระแสเงินสดลงทุนจะต้องเป็นบวกด้วย แต่สำหรับผมคิดว่าไม่จำเป็น เพราะถ้าหากธุรกิจมีโอกาสในการเติบโตสูง บริษัทอาจลงทุนมากกว่ากระแสเงินสดที่ผลิตได้เอง ทำให้กระแสเงินสดติดลบ (ต้องอาศัยกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินช่วย) แต่ไม่น่าห่วง เพราะเป็นการลงทุนเพิ่มการเติบโตในอนาคต (รายได้ของบริษัทควรเติบโตสูงด้วยจึงจะน่าเชื่อถือ) เว้นแต่ว่า เราไม่เชื่อว่าธุรกิจนี้จะเติบโตได้อีกและควรที่จะจ่ายเงินสดออกมาตอบแทนผู้ถือหุ้น (ปันผล) มากกว่าที่จะนำเงินกลับไปลงทุนเพิ่มในธุรกิจอีก ตัวเลขอีกตัวหนึ่งที่มีประโยชน์กับเราในงบกระแสเงินสดคือ "ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่าย" เพราะเป็นตัวเลขที่ทำให้เรารู้ว่าในรอบบัญชีนั้นบริษัทได้ตัดจ่ายค่าเสื่อมไปเป็นค่าใช้จ่ายเท่าไร ส่วนใหญ่แล้วตัวเลขนี้มักอยู่ในบรรทัดต่อจากกำไรสุทธิในกลุ่มกระแสเงินสดดำเนินงาน ถ้าเราเอา EBIT ในงบกำไรขาดทุนมาบวกกลับด้วยตัวเลขนี้จะได้เป็นสิ่งที่เรียกว่า EBITDA ซึ่งนักวิเคราะห์นิยมนำมาใช้เป็นตัวแทนของ "กำไรที่เป็นเงินสด" ของบริษัท บางคนนิยมมอง EBITDA มากกว่า EBIT เพราะค่าเสื่อมเป็นอะไรที่เกี่ยวกับนโยบายทางบัญชีมากอาจเป็นช่องโหว่ของการตบตานักลงทุนได้ ทำให้ได้ภาพที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับผลประกอบการในงวดปัจจุบัน การเอาค่าเสื่อมออกไปแล้วดูเฉพาะ EBITDA แทนอาจได้ภาพที่ดูสะอาดกว่า บางคนเรียก EBITDA ว่า Earnings before I tricked dumb analysts (แต่จริงๆ EBITDA ก็มีข้อเสียในแง่อื่นด้วย ดูประกอบไปทั้งสองอย่างนั้นแหละชัวร์กว่า) นี่อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งด้วยที่ทำให้ผมสนใจตัวเลขรายได้ในงบการเงินมากกว่าตัวเลขอื่นเพราะมันเป็นตัวเลขในบรรทัดเริ่มต้น (topline) ที่ยังไม่ได้ผ่านการถูกบิดเบือนโดยนโยบายบัญชีมากนัก ยิ่งตัวเลขที่อยู่ต่ำลงมาในงบการเงินเท่าไรมันก็ยิ่งถูกบิดเบือนได้ง่ายด้วยนโยบายทางบัญชีต่างๆ กำไรสุทธิที่เราสนใจกันมากที่สุดนั้นอยู่ในบรรทัดสุดท้าย (bottom line) ของงบการเงินเลย จึงไม่รู้ว่าตลอดทางที่ผ่านมาในแต่ละบรรทัดมันถูกบิดเบือนโดยตัวเลขในบรรทัดบนๆ ไปมากขนาดไหนแล้ว
โดย
tingun
พุธ ก.ย. 21, 2011 9:52 am
0
12
Re: วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยขาดทุนมากๆไหม
ข้อผิดพลาดของบัฟเฟตต์ วิบูลย์ พึงประเสริฐ Value Way 1/3/2553 ทุกคนอาจคิดว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นนักลงทุนระดับ "เทพ" ที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาด ในความเป็นจริงนักลงทุนระดับตำนานรายนี้ เคยลงทุนผิดพลาดหลายครั้งและทุกครั้งเขามักบอกผู้ถือหุ้นเบิร์กไชน์ของเขาเสมอในรายงานประจำปีว่าเขาทำอะไรโง่ๆ ลงไปบ้าง เรามาดูกันว่าเขาทำอะไรผิดพลาดบ้าง อันดับแรก การลงทุนในบริษัท โคโนโค ฟิลิปส์ (Conoco Phillips) ในปี 2008 บัฟเฟตต์ซื้อหุ้นบริษัทนี้เป็นจำนวนมาก เขาคาดว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวสูงขึ้น ในขณะนั้นราคาน้ำมันขึ้นไปสูงกว่า 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่เวลาได้พิสูจน์ว่าบัฟเฟตต์คิดผิด หลังเกิดวิกฤติซับไพร์มราคาน้ำมันลดลงจาก 150 เหรียญ เหลือเพียง 30 เหรียญราคาหุ้นบริษัทน้ำมันทั่วโลกลดลงอย่างมาก โคโนโค ฟิลิปส์ก็เช่นเดียวกัน ในช่วงเวลานั้นบัฟเฟตต์ต้องขายหุ้นบริษัทนี้ออกไปเพื่อนำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินอื่น เช่น การซื้อหุ้นกู้ของจีอี การลงทุนครั้งนั้นทำให้เบิร์กไชน์ขาดทุนไปถึง 3 พันล้านเหรียญ (กว่า 1 แสนล้านบาท) ข้อผิดพลาดของบัฟเฟตต์ครั้งนี้ ชี้ว่าการเห็นราคาหุ้นหรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์เพิ่มสูงขึ้นมากๆ อย่างรวดเร็ว อาจทำให้นักลงทุนอดใจไม่ได้เพราะกลัว "ตกรถ" โดยหารู้ไม่ว่ารถคันนั้นอาจถอยหลังมาทับคนที่ตามขึ้นไปทีหลังเมื่อไหร่ก็ได้ นักลงทุนที่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนให้อยู่เหนือฝูงชนได้จะมีความได้เปรียบในสถานการณ์เช่นนี้ อันดับสอง การลงทุนในสายการบินยูเอสแอร์ (U.S. Air) บัฟเฟตต์เข้าซื้อหุ้นบุริมสิทธิในปี 1989 เนื่องจากผลตอบแทนของเงินปันผลที่สูงรวมทั้งการเติบโตที่ดีของรายได้และกำไรของสายการบินในช่วงที่ผ่านมา แต่ท้ายที่สุดการลงทุนในยูเอสแอร์กลายเป็นฝันร้าย เมื่อบริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้แม้กระทั่งหุ้นบุริมสิทธิที่บัฟเฟตต์ถืออยู่ สุดท้ายแม้จะขายหุ้นที่มีอยู่ออกไปได้หลังจากพยายามขายอยู่นาน แต่ก็ทำให้เขาขยาดหุ้นสายการบินไปอีกนาน ประสบการณ์ครั้งนั้นทำให้เขารู้ว่าการลงทุนกับบริษัทที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงอย่างสายการบินซึ่งต้องใช้เงินซื้อเครื่องบินใหม่ๆ มาเพื่อขยายเส้นทางบิน เมื่อเงินสดไม่พอต้องกู้เงินมาลงทุน สุดท้ายผู้ถือหุ้นจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการขยายตัวของรายได้และกำไรเลย อันดับสาม การลงทุนในบริษัท เดกเตอร์ ชูวร์ (Dexter Shoes) ในปี 1993 ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรองเท้ารายใหญ่ในอเมริกาโดยการแลกหุ้นกับบริษัทเบิร์กไชน์ในเวลานั้น หลังจากเวลาผ่านไปไม่กี่ปี ธุรกิจรองเท้าของบริษัทเดกเตอร์ ชูวร์ถูกสินค้าที่ผลิตจากจีนและประเทศอื่นๆ เข้ามาแย่งตลาดเนื่องจากสินค้าของบริษัทไม่มีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน (Competitive Advantage) ทำให้ถูกแย่งลูกค้าไปได้อย่างง่ายดาย สำหรับการลงทุนในบริษัทนี้ บัฟเฟตต์ประเมินความเสียหายจากราคาหุ้นของเบิร์กไชน์ที่ใช้ในการเข้าซื้อหุ้นของเดกเตอร์ชูวร์ไว้ที่ $3.5 พันล้านเหรียญ (กว่า 1 แสนล้านบาท) สิ่งที่เขาเรียนรู้จากข้อผิดพลาดครั้งนั้นคือการซื้อธุรกิจที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ถึงแม้บริษัทจะไปได้ดีในระยะสั้น แต่ระยะยาวแล้วธุรกิจจะไม่สามารถรักษาอัตรากำไรที่สูงเช่นเดิมได้ คู่แข่งจะค่อยๆ เข้ามาในตลาดเนื่องจากความน่าดึงดูดในการเติบโตของรายได้และกำไรของอุตสาหกรรมนั้นๆ ในช่วงหลังๆ บัฟเฟตต์จะเลือกซื้อหุ้นในธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทโคคา-โคลา วอลมาร์ท หรือยิลเลตต์ เป็นต้น สำหรับนักลงทุนทั่วไปจะเห็นว่าแม้แต่นักลงทุนระดับ "เทพ" อย่างบัฟเฟตต์ยังลงทุนผิดพลาดได้ ดังนั้นไม่มีใครที่ไม่เคยทำผิดพลาดในตลาดหุ้น เพียงแต่ข้อแตกต่างระหว่างนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จกับล้มเหลวอยู่ที่การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดนั้นแล้วเริ่มต้นใหม่แทนที่จะถอดใจโทษตัวเองแล้วออกจากตลาดหุ้นไป หรือไม่ก็ทำผิดพลาดเช่นเดิมซ้ำๆ อยู่ตลอดเวลา
โดย
tingun
เสาร์ ส.ค. 27, 2011 4:37 pm
0
0
Re: การคำนวณD/E ครับปกติ ค่าD นี้เราควรเอาเฉพาะหนี้ที่มีดอกเ
ผมว่าก็ควรดูทั้ง 2 ตัวประกอบกันที้ง D/E ratio จาก D ที่มีดอกเบี้ย และ D/E ratio จาก D ทั้งหมด เพราะ เจ้าหนี้การค้าก็เป็นหนี้ที่ต้องจ่ายอยู่ดี แต่ก็ต้องดู business model ประกอบด้วยครับ อย่างเช่น CPALL ก็ไม่ต้องไปสนใจในส่วนเจ้าหนี้ก็ได้เพราะ เงินสดแข็งแกร่งมาก แถมขายเงินสด ซื้อของเงินเชื่อ แบบนี้ไม่มีปัญหาจ่ายเจ้าหนี้การค้าแน่นอน แต่ถ้าธุรกิจแบบ ขายเงินเชื่อ ซื้อของเงินเชื่อ ก็ต้องดู D/E ทั้งหมดประกอบหน่อยก็ดีครับ เพราะเวลาบริษัท มีปัญหา เจ้าพวกนี้ก็มาทวงเงินอยู่ดี แต่เท่าที่ผมศึกษาเรื่องการดูภาระหนี้สินของบริษัทว่ามากหรือน้อยนั้น ตัวที่สำคัญกว่าคือ หนี้ที่มีดอกเบี้ยเทียบกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานครับ ถ้าไม่เกิน 5-6 เท่าก็ OK ครับ อันนี้เป็นข้อความบางส่วนที่ ดร.นิเวศน์เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการ investor station ครับ ไม่ดูอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน ในการลงทุนโดยปกติผมไม่ดูอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) เลย แต่จะไปดูที่ยอดหนี้เลยว่ามีกี่ล้าน แล้วมาดูเปรียบเทียบว่าหนี้ตรงนั้นมันสูงเกินฐานะทางธุรกิจหรือเปล่า มันจะมีความเสี่ยงที่จะล้มละลายมากน้อยแค่ไหน อย่างเช่น ธุรกิจโรงไฟฟ้าพวกนี้ถึงจะมีหนี้แต่ก็ไม่ใช่ปัญหามาก เพราะมีกระแสเงินสดแน่นอนเข้ามาหล่อเลี้ยง แต่บางบริษัทรายได้ไม่แน่นอนถึงจะมี D/E แค่ 1 เท่า แต่ถ้าเกิดพลาดขึ้นมามันหมายความว่าอาจจะเป็นอะไรไป หรือมีปัญหาก็ได้ เพราะฉะนั้นหนี้ของแต่ละบริษัทมีผลกระทบไม่เท่ากัน ดังนั้นการมองจึงต้องเทียบหนี้กับความมั่นคงของกระแสเงินสด
โดย
tingun
ศุกร์ ส.ค. 26, 2011 5:25 pm
0
2
Re: อยากเล่า ! บทเรียนการผ่าน Subprime
เท่าที่ผมอ่านกระทู้เรื่องบทเรียนจากวิกฤตต่างๆ ส่วนใหญ่จะมีคนมาบอกว่า รู้งี้ขายออกไปก่อนดีกว่า , วันหลังต้องมีจุด cut Loss ให้ชัดเจน VI อย่างเดียวไม่รอดแน่ ,ว่าแล้วว่าต้องมีวิกฤตเกิดขึ้นเห็นไหม , อะไรต่างๆนาๆ แต่อย่าลืมครับว่าวิกฤตนั้นคาดการ์ณยากครับ กว่าจะรู้มันก็เกิดขึ้นแล้ว และมันก็ยากครับที่จะรู้ว่าเป็นวิกฤตรอบเล็กหรือรอบใหญ่ พอเจอเข้าจะขายตอนนั้นก็ไม่กล้า จะซื้อก็ไม่มีเงิน มันจะสับสน งงๆ ถ้าเราไม่มีหลักยึด ผมขอ share ประสบการณ์ผมมั่ง (บอกชื่อหุ้นเลยแล้วกันเพราะมันนานแล้ว) ตอนปี 51 ผมถือหุ้น CPALL IT HMPRO TPC ผมก็นั่งคิด นอนคิดอยู่นานว่าจะทำยังไง แรกๆก็นั่งมองมันลงมา พอคิดไปคิดมาก็เลย switch หุ้นที่ได้รับผลกระทบมากไปซื้อหุ้นที่ได้รับผลกระทบน้อยดีกว่าก็เลยขาย TPC HMPRO IT ออกไปซื้อพวก MAKRO BIGC KH มั้ง แล้วก็อยู่เฉยๆ (จริงๆ คิดผิดด้วยซ้ำเพราะแท้จริง HMPRO IT ไม่ได้รับผลระทบ) โชคดีที่ตอนนั้น CPALL มีข่าวเรื่องขาย LOTUS ที่เมืองจีนได้ก็เลยทำให้หุ้นมันบวกทั้งๆที่มีวิกฤต ผมเคยนั่งมอง CPALL มันลงไปเหลือ 7 บาทด้วยซ้ำแต่ก็ไม่คิดจะขายออกไป จะซื้อเพิ่มเงินก็ไม่มีแล้ว ถ้าขายออกไปตอนนั้นละก็ ช้ำใจมากครับ ผลสรุปคือพอร์ตติดลบอยู่ดี แต่น้อยกว่าตลาดพอควร สรุปคือ การที่เราบอกว่าบทเรียนที่ได้จากวิกฤตคือการขายออกไปก่อนนั้นบางทีอาจจะไม่ใช่บทเรียนที่แท้จริงก็ได้นะครับ บทเรียนที่แท้จริงอาจจะคือการที่เราควรถือหุ้นที่มีผลประกอบการมั่นคง ปลอดภัย กำไรดีสม่ำเสมอ ในขณะที่ตอนซื้อก็ซื้อที่ราคาไม่แพง แทนรึเปล่าครับ อันนี้คือพูดแนวพื้นฐานล้วนๆนะครับ ถ้าแนวเทคนิคนั้นมันต้องมีจุด CUT LOSS แน่นอนอยู่แล้ว เพียงแต่คุณก็ต้องเลือกว่าจะเป็นอะไร VI ล้วนๆ เทคนิคคอลล้วนๆ หรือ แนวผสมกัน และที่สำคัญก็คือคุณมีความรู้ในแนวต่างๆ มากน้อยแค่ไหนครับ ถ้าเอามาผสมกันโดยที่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างดีละก็ ต้องระวังธาตุไฟเข้าแทรกด้วยครับ ไม่งั้นเวลาเจอเหตุการณ์สำคัญๆมันจะงงๆ ไปหมด ทำอะไรไม่ถูก ปล ไม่ได้บอกว่าการถืออึด จะดีกว่าการขายออกไปก่อนนะครับ (การ cut Loss นั้นผมก็ทำถ้าหุ้นนั้นเป็นหุ้นเก็งกำไรเยอะๆ หรือเราคิดผิดจริงๆ) เพียงแต่อยากแชร์ มุมมองอีกด้านมั่ง และที่สำคัญจะทำแบบไหน ก็ต้องอย่าทำเกินความรู้ที่เรามี เพียงเท่านี้ผมว่าก็น่าจะรอดจากวิกฤตได้นะครับ
โดย
tingun
อังคาร ส.ค. 09, 2011 2:35 pm
0
12
Re: หุ้นเมกา ตกเพราะผลประกอบการณ์ออกมาไม่ดีละเปล่า
ถามผู้รู้หน่อยครับว่าเวลาพูดถึง PE ตลาด ปกติแล้วใช้กำไรโดยรวมของปีที่แล้ว หรือ 4 ไตรมาสย้อนหลังเหรอครับ เวลาอ่านข้อมูลจะได้เข้าใจตรงกัน
โดย
tingun
ศุกร์ ส.ค. 05, 2011 10:51 pm
0
0
Re: โห ดาวโจนตกมากจริงๆ
ขอบคุณพี่เจ๋งที่ช่วยเล่าประสบการณ์ให้ฟัง ผมสรุปประสบการ์ณของพี่ในช่วง subprime แบบนี้ได้ไหมครับ คือก่อน subprime พี่ก็ลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนไม่มาก ซื้อๆ ขายๆ ไม่สนใจดาวโจนหรือ SET INDEX มองหุ้นเป็นตัวๆไป จนถึงกลางปีก็ได้กำไรมา 60% จากนั้นก็เกิดวิกฤต subprime หุ้นที่พี่ถืออยู่ก็ตกลงมาด้วย ทำให้กำไรเหลือ 20% ซึ่งตอนนั้น PTTEP ก็ลงมาจนถึง 102 บาท พี่ก็เลยขายหุ้นที่ถืออยู่มาซื้อ PTTEP ตัวเดียว เพราะคิดว่า PTTEP ไม่น่าจะเจ๊ง ตอนนั้นคนไม่สนใจหุ้นตัวนี้ และน้ำมันตอน 35 ไม่ลงไปมากกว่านี้แล้ว แต่จากนั้นหุ้นมันก็ตกลงไปเหลือ 80 กว่าบาท แต่ก็ไม่ได้ขาย มาขายอีกที 125-150 บาท จากนั้นก็ออกจากตลาดไป 3 ปี แต่ตอนนี้พี่กลับมาแล้ว :D
โดย
tingun
พฤหัสฯ. ส.ค. 04, 2011 1:05 am
0
0
Re: โห ดาวโจนตกมากจริงๆ
ใครไม่สนใจก็ไม่เป็นไรนะครับ แต่สำหรับคนที่สนใจ ลองมาช่วยกันรื้อฟื้นอดีต สมัย subprime กันดีหรือไม่ เพราะตอนนั้น ผมเองก็ไม่สนใจเลย ไม่ดูเลย อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้ขาดทุนนะครับ กำไร 20 % แต่ว่า กำไรลดจาก 60 % มาเหลือ 20 % พร้อมๆกับ เพื่อนๆเลิกเล่นกันหมด ไม่มีเพื่อนเลย จะพูดจะคุยอะไรนี่ เกร็งไปหมด เพราะหุ้นตกทุกวัน ตกอย่างรวดเร็ว ซึ่งผมเองไม่เคยสนใจดาวโจน อะไรเลย ตอนนี้อยากรู้ คร่าวๆ เพราะโลกมันเชื่อมกัน อยากทราบว่า มันมีสัมพันธ์ กันอย่างไร กับประเทศไทย ไม่รู้ว่าจะนอกเรื่องรึเปล่านะครับ รบกวนพี่ Jeng ช่วยเล่าประสบการ์ณหน่อยครับว่าตอน subprime พี่ทำไงถึงยังได้ return 20% (ถ้าบอกได้ว่าถือหุ้นอะไรในตอนนั้นด้วยก็ดีนะครับ) มีการ Cut Loss หรือไม่ครับ ถ้ามีคิดยังไงถึง Cut หรือว่านั่งมองมันร่วงเรื่อยๆ แล้วรอมันฟื้นใหม่
โดย
tingun
พุธ ส.ค. 03, 2011 11:19 am
0
0
Re: 34 ปีผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยเทียบกับพันธบัตร ทอง และเพื่อนบ้
ขอบคุณพี่ skyforever มากครับ ไม่ทราบว่าพี่พอจะทราบไหมครับว่าถ้าจะหาข้อมูลการซื้อขายต่างชาติย้อนหลัง (ในช่วงก่อน subprime)จะดูได้จากที่ไหนครับ ผมลองหาใน web set เจอแต่การซื้อขายของต่างชาติช่วง 1 มค 54 - 29 กค 54 เท่านั้น
โดย
tingun
อาทิตย์ ก.ค. 31, 2011 12:03 am
0
0
Re: เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวิกฤติกำลังจะเกิด ???
วิกฤตก็มีหลายรูปแบบ แต่ที่กำลังพูดถึงก็น่าจะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจ วิกฤตขนาดใหญ่ เกือบทั้งหมดก็จะเป็นระดับมหภาค ดังนั้นเราก็ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เศรษฐศาสตร์มหภาค และก็ต้องหมั่นติดตามข่าวสาร ตัวเลขต่างๆทางเศรษฐกิจทั่วทั้งโลก อยากถามพี่ฉัตรชัยครับว่า indicator หลักๆ ที่พี่ดูระดับมหภาค จนทำให้รอดจากวิกฤตปี 40 ได้คืออะไรครับ และปัจจุบันพี่ดู indicator อะไรบ้าง และเป็นระดับโลก หรือ ระดับประเทศครับ
โดย
tingun
อังคาร มิ.ย. 14, 2011 3:56 pm
0
0
Re: สรุปสัมนา 17/4/2554
ขอบคุณครับ :D
โดย
tingun
จันทร์ เม.ย. 18, 2011 12:41 am
0
0
Re: สรุปงานสัมนา 28/3/11 สัมนาพิเศษของ thaiVI ครับ
ขอบคุณ คุณแชมป์แบะทีมงาน thaivi ทุกคนครับ
โดย
tingun
จันทร์ มี.ค. 28, 2011 7:35 pm
0
0
Re: จะทำตามที่ ดร.นิเวศน์ แนะนำดี หรือ ทำตาม ที่ดร.นิเวศน์ทำ
เท่าที่ติดตามดู ผมเห็นว่าท่านบอกให้ระวังเท่านั้นนะครับ ไม่ถึงกับจะตีความว่าให้ขาย และถ้าจะซื้อก็ควรหาหุ้นที่มั่นคงปลอดภัย มีกำไรอยู่ได้ทุกสภาวะ ผมเอามา 4 บทความละกันนะ เล่นหุ้นหลังปีทอง 25/1/2010 ด้วยเหตุผลทั้งหลายที่กล่าวมาทำให้ผมไม่มองโลกในแง่ดีนักสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นในปีนี้ และ ถ้าจะซื้อหุ้น ผมก็จะเปลี่ยน “โหมด” การลงทุนจากที่เคยเน้นหุ้นที่อาจจะ “หวือหวา” ที่ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นลงรวดเร็วในปี 2552 มาเป็นหุ้นที่ค่อนข้างมั่นคงและสามารถรักษาระดับการจ่ายปันผลในอัตราที่ดีอย่างต่อเนื่องแทน เป้าหมายสำคัญสำหรับการลงทุนในปี 2553 ของผมก็คือ พยายามรักษาความมั่งคั่งที่ได้มาอย่างรวดเร็วในปี 2552 ไว้ และไม่หวังผลเลิศในปี 2553 แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะขายหุ้นทิ้งแล้วถือเป็นเงินสดไว้ เพราะเงินสดนั้นให้ผลตอบแทนน้อยมากเพียง 1-2 % ในขณะที่การลงทุนในหุ้นนั้น เฉพาะปันผลก็ 3-4% เข้าไปแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด ผมก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ผมคิดไว้นั้นถูกจริงหรือเปล่า มันอาจจะมีปัจจัยอย่างอื่นที่เราคิดไม่ถึงเข้ามากระทบและกลบสิ่งที่เราคิดไว้ทั้งหมดได้ ดังนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ Stay Calm, Stay Invest ใจเย็นและลงทุนต่อไป เพียงแต่ต้องระมัดระวังมากขึ้นและไม่หวังผลเลิศ เล่นกับฟองสบู่ 6/11/2010 ข้อสรุปของผมก็คือ มีปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดฟองสบู่อยู่ประมาณครึ่งหนึ่ง ดังนั้น มีโอกาสที่หุ้นจะขึ้นต่อไปเป็น “กระทิงที่ยาวนาน” ทำให้คนที่ไม่อยู่ในตลาดหุ้นหรือรีบออกจากตลาดเสียโอกาสไปมาก เช่นเดียวกัน มีโอกาสที่มันจะกลายเป็นฟองสบู่ที่ทำให้คนที่มีหุ้นอยู่เสียหายหนักเมื่อพบว่า “ฟองสบู่แตก” และตนเองหนีไม่ทัน คำแนะนำของผมก็คือ ในภาวะแบบนี้ ควรถือหุ้นที่มีธุรกิจที่มั่นคงปลอดภัยมีกำไรดีเสมอแม้ว่าฟองสบู่จะแตก หุ้นเหล่านี้แม้ว่าในช่วงที่ตลาดขึ้นแรงต่อไปจะไม่ให้ผลตอบแทนที่ดีสุดยอด แต่ถ้าเกิดฟองสบู่แตก มันจะฝ่าอุปสรรคไปได้ ความเสียหายจะไม่ถึงกับเป็นหายนะ ความคาดหวังเฟ้อ 26/12/2010 ข้อสรุปทั้งหมดของผมก็คือ ความเฟ้อของความคาดหวังที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ระยะสั้นในระยะนี้ที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตเร็วและมาจากฐานที่ต่ำซึ่งเป็นผลจากปี 2008 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในสหรัฐ ส่งผลให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนดูดีมากและมีแนวโน้มที่จะดูดีต่อไป แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ดัชนีตลาดหุ้นและราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมา “ยืนยัน” ความเชื่อหรือความคาดหวังนั้นส่งผลให้ความคาดหวังในรอบต่อไป “เฟ้อ” เขาคิดว่า อนาคตก็จะเป็นแบบนั้นต่อไปอีกนาน แต่สถิติที่ผ่านมายาวนานบอกว่าสิ่งที่หวังไว้นั้น “ไม่น่าเป็นไปได้” อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะมีคำถามตามมาว่า มีอะไรเสียหายถ้าจะ “ฝันให้ไกล” เพราะถ้าฝันให้ไกลแล้ว ถึงแม้ไปได้แค่ครึ่งทางก็ยังน่าจะดีกว่าตั้งเป้าหมายไว้ต่ำ ๆ คำตอบของผมก็คือ การฝันไกลเกินไปอาจจะทำให้เราพยายาม “เร่ง” ผลตอบแทนเกินตัว เช่น การใช้มาร์จิน การไม่กระจายความเสี่ยงเพียงพอ และนั่นคืออันตราย การลงทุนนั้น เหมือนการแข่งขันวิ่งมาราธอน การวิ่งเร็วมาก ๆ ไม่ใช่หนทางที่จะชนะ เพราะฉะนั้น อย่าตั้งความคาดหวังสูงเกิน และไม่ต้องดูว่าใครจะทำผลตอบแทนเท่าไร กำหนดเส้นทางของตนเองที่เหมาะสมที่สุดแล้วเดินตามทางนั้น ไม่ต้องรีบ มองตลาดหุ้นแบบ VI 6/3/2011 คำถามสุดท้ายก็คือ ถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะทำอย่างไร? จะขายหุ้นถือเงินสดหรือ? และถ้ามีเงินสดเหลืออยู่จะไม่ลงทุนซื้อหุ้นหรือ? คำตอบของผมก็คือ ในสภาวะที่ตลาดหุ้นไม่ได้เอื้ออำนวยแต่ก็ไม่ถึงกับเป็นภัยหรืออันตรายต่อการลงทุนอย่างชัดเจนเช่นในปัจจุบัน ผมจะลงทุนอย่างระมัดระวังขึ้น การเลือกหุ้นอาจจะต้องเน้นกิจการที่มีความปลอดภัยของผลประกอบการสูงกว่าปกติและไม่หวังผลเลิศ เหนือสิ่งอื่นใดการลงทุนในสถานการณ์แบบนี้ผมจะไม่รีบร้อน บางทีผมอาจจะรอแบบใจเย็น ๆ และแน่นอน ผมจะไม่ “ไล่หุ้น” หรือ เล่นหุ้นที่กำลังร้อนแรง ผมคิดว่าหุ้นที่มีคนเล่นหรือซื้อขายกันมาก ๆ โดยเฉพาะที่คนซื้อขายเป็น VI ด้วยนั้น ราคาของมันคงไม่ถูกอีกต่อไป โอกาสที่มันจะกลายเป็นหุ้นที่มีราคาสูงกว่าพื้นฐานน่าจะมีมากกว่า และทั้งหมดนี้ก็คือคำตอบของคำถามที่ว่า VI สนใจภาวะตลาดหุ้นหรือเปล่า ทั้งหมดนี้ผมตีความ ณ ดัชนีประมาณนี้นะ ถ้ามันขึ้นไปเป็น 1200-1400 มุมมอง ดร.ก็อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ครับ
โดย
tingun
พฤหัสฯ. มี.ค. 24, 2011 2:07 am
0
0
Re: ขอชื่นชมทีมงาน tvi สำหรับงานเฮฮา
ขอเป็นกำลังใจให้ทีมงานทุกคนครับ ผมเชื่อว่าถ้าทำดีแล้วในที่สุดก็ต้องได้ดีเองครับ คล้ายๆกับกำไรมาหุ้นต้องขึ้น แม้ว่าวันนี้มันยังไม่ขึ้น แต่ในที่สุดมันก็จะสะท้อนมูลค่าเอง
โดย
tingun
อาทิตย์ มี.ค. 13, 2011 2:51 am
0
0
Re: เผย เทคนิคการหาหุ้น 10 เด้ง!!!
ขอบคุณครับ VI หลักการไม่ได้เปลี่ยนเลย ใจคนเท่านั้นที่เปลี่ยนไป
โดย
tingun
อังคาร ก.พ. 22, 2011 9:40 am
0
1
Re: >>>ข่าวด่วนครับ รายการ Money Talk สัมภาษณ์ ดร. ไพบูลย์<<
ขอบคุณ คุณ sorawut ด้วยครับผม
โดย
tingun
ศุกร์ ก.พ. 18, 2011 1:15 am
0
0
Re: MONEY TALK Videos
ขอบคุณครับ
โดย
tingun
อาทิตย์ ก.พ. 13, 2011 3:00 pm
0
0
Re: งานเฮฮาประสาวีไอ Q1/54 ตอน แพ้ศึก อย่าแพ้สงคราม (12มีค)
จอง 3 ที่ครับผม
โดย
tingun
อาทิตย์ ก.พ. 13, 2011 12:18 am
0
0
Re: สรุปงานสัมนา 18 ธันวาคม 2553 ครับ
ขอบคุณครับ
โดย
tingun
จันทร์ ธ.ค. 20, 2010 9:22 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
จันทร์ พ.ย. 15, 2010 10:56 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
พฤหัสฯ. ต.ค. 28, 2010 10:03 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
จันทร์ ก.ย. 13, 2010 9:17 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
ศุกร์ ก.ย. 03, 2010 4:43 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
จันทร์ ส.ค. 23, 2010 3:15 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
จันทร์ ส.ค. 23, 2010 2:49 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
อังคาร ส.ค. 03, 2010 9:34 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
จันทร์ ก.ค. 05, 2010 12:40 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
จันทร์ พ.ค. 17, 2010 3:41 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
จันทร์ พ.ค. 10, 2010 6:09 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
จันทร์ พ.ค. 03, 2010 10:41 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
อังคาร มี.ค. 23, 2010 1:44 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
อังคาร ส.ค. 26, 2008 3:58 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
พุธ ก.ค. 30, 2008 5:23 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
ศุกร์ ก.ค. 18, 2008 9:58 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
อาทิตย์ พ.ค. 18, 2008 4:18 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
ศุกร์ พ.ค. 16, 2008 6:28 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
พฤหัสฯ. พ.ค. 08, 2008 7:04 pm
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
ศุกร์ เม.ย. 25, 2008 2:35 am
0
0
ไม่มีหัวข้อ
โดย
tingun
พุธ เม.ย. 16, 2008 2:01 am
0
0
บัญชีพื้นฐาน สุดท้าย!!!
ติดตามในกระทู้หัวข้อ Value Investing ใช่ไหมครับ หรือจะประกาศไว้ในหน้าไหนครับ ช่วยบอกด้วยครับจะได้ติดตามถูก
โดย
tingun
พุธ พ.ย. 07, 2007 1:12 am
0
0
บัญชีพื้นฐาน สุดท้าย!!!
อยากทราบว่าหลักสูตร วิเคราะห์งบการเงิน กับ Business model พี่มนจะเปิดอีกทีประมาณเมื่อไหร่ครับ แล้วต้องคอยติดตาม announce ในกระทู้นี้ใช่ไหมครับ หรือ ต้องติดตามในกระทู้อื่นครับ
โดย
tingun
จันทร์ พ.ย. 05, 2007 1:28 am
0
0
หน้า
1
จากทั้งหมด
1
ชื่อล็อกอิน:
tingun
ระดับ:
Verified User
กลุ่ม:
สมาชิก
ติดต่อสมาชิก
PM:
ส่งข้อความส่วนตัว
สถิติสมาชิก
ลงทะเบียนเมื่อ:
อาทิตย์ พ.ย. 04, 2007 1:27 am
ใช้งานล่าสุด:
เสาร์ ส.ค. 17, 2013 5:27 pm
โพสต์ทั้งหมด:
99 |
ค้นหาเจ้าของโพสต์
(0.01% จากโพสทั้งหมด / 0.02 ข้อความต่อวัน)
GO_TO_SEARCH_ADV
ไปที่
การลงทุนแบบเน้นคุณค่า
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้น
↳ ห้องร้อยคนร้อยหุ้นต่างประเทศ
↳ ไอเดียหุ้นเด้ง
↳ หลักสูตรการลงทุนออนไลน์
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์ [กระทู้รับชมออนไลน์]
↳ ศาสตร์ของหุ้นเติบโต โดยอ.เบส ลงทุนศาสตร์
↳ ThaiVI GO Series
↳ คลังกระทู้คุณค่า
↳ Value Investing
↳ บทความ
↳ ความรู้งบการเงิน
↳ ร้อยคนร้อยเล่ม / Multimedia Forum
↳ mai Corner
↳ Alternative Investing
เรื่องทั่วไป
↳ นั่งเล่น / กีฬา / สุขภาพ
↳ Asking Staff
↳ CSR
×
บันทึกไม่สำเร็จ
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง
×
บันทึกสำเร็จแล้ว