10 จุดอ่อนของไทยในสายตานักลงทุนญี่ปุ่น

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
IndyVI
Verified User
โพสต์: 3530
ผู้ติดตาม: 0

10 จุดอ่อนของไทยในสายตานักลงทุนญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 1

โพสต์

10 จุดอ่อนของไทยในสายตานักลงทุนญี่ปุ่น

updated: 07 ส.ค. 2557 เวลา 21:50:50 น.
โดย กฤษณา ไพฑูรย์


เรามักได้ยินวงสนทนาของพรคคพวกเพื่อนฝูง กล่าววิพากษ์วิจารณ์กันทั้งแบบจริงจัง และแบบติดตลกว่า

          "ประเทศไทยมีดีหลายอย่างมากมาย ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" ทำเลที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ศูนย์กลางที่ดี ในการทำมาค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน

          ขณะที่ภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง นาน ๆ จะเกิดขึ้นสักครั้ง แต่ถือว่าไม่รุนแรงมาก หากเปรียบเทียบกับหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก

          แต่"เสียอย่างเดียว"ที่มี"คนไทย"จริงหรือ ??

          ง่าย ๆ สบาย ๆ คือ ไทยแท้ 100% จริงหรือ ??

          และตอกย้ำมากขึ้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ในการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจระดับสูง(พศส.) 2557 หลักสูตรความรู้เศรษฐกิจสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจัดขึ้น

          มีประเด็นหนึ่งที่ฟังแล้วค่อนข้าง"จุก"หัวเราะไม่ออก

         เพราะเหมือนถูก"ชก"ที่"รอยแผลเก่า"ด้วยการออกอาวุธทั้งหมัดศอกเข่า..ซ้ำแล้ว..ซ้ำอีก...อย่างก้มหน้า ยอมรับความเจ็บปวด !!

          เมื่อ"นายฉัตรชัย บุญรัตน์" รองประธานกรรมการหอการค้าไทย หนึ่งในวิทยากรผู้มาบรรยายได้เล่าให้ฟังว่า...

         ก่อนหน้านี้1สัปดาห์"นายเซ็ทซึโอะ อิอุจิ" อดีตประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ “เจโทร(jetro)”ประจำประเทศไทย และภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

          ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และทำการวิจัยด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย และในภูมิภาค

          ได้กล่าววาทะทิ้งท้ายในโอกาสที่ได้พบปะกับภาคเอกชน นักลงทุนของไทย ก่อนที่นายอิอุจิจะเกษียณอายุ และบินกลับไปประเทศญี่ปุ่น เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา

          โดยวาทะเด็ดได้กล่าวถึง "10 จุดอ่อนของไทยในสายตาของนักลงทุน"

          1.คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำ โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม

          2.การศึกษายังไม่ทันสมัยทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติ

          3.มองอนาคตไม่เป็นโดยคนไทยมากกว่า70%ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน

          4.ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชีโรยหน้า หรือทำด้วยความเกรงใจ

          5.การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ โดยประชากรประมาณ 60-70%ที่อยู่ห่างไกล จะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเอง และชุมชน

          6.การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง

          7.อิจฉาตาร้อน สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ

          8.เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็นจีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์

          9.การสร้างความน่าเชื่อถือบนเวทีการค้าโลกยังไม่มี ขาดทีมเวิร์คที่ดี

          10.เลี้ยงลูกไม่เป็น ทำให้เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นเด็กขี้โรคทางจิตใจ


          สิ่งที่นายอิอุจิกล่าวถึงถือว่า"ไม่ใช่ปกตินิสัย"ของนายอิอุจิ หรือคนญี่ปุ่นระดับบริหารที่จะพูดเรื่องอย่างนี้ !!!

          อาจจะเพราะนายอิอุจิเกษียณแล้ว และจะกลับบ้าน เลยขอวิจารณ์คนไทย....ด้วยความผูกพันที่อยู่เมืองไทยมานานหลายปี

         อย่างที่พูดกันว่า "คนเราถ้าไม่รักกัน ก็ไม่เตือนหรอก"..."ถ้าไม่รักกัน แม้แต่หน้า ยังไม่อยากมอง"

          เหตุใดจึงกล้ากล่าวเช่นนี้ เพราะเมื่อไม่นานมานี้นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เปิดเผยถึงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2557 (มกราคม-มิถุนายน 2557) ว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 534 โครงการ เงินลงทุนรวม 337,400 ล้านบาท โดยโครงการปรับลดลง 34.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

          "นักลงทุนจากญี่ปุ่นเป็นกลุ่มที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยสูงสุด"จำนวน 194 โครงการ เงินลงทุน 80,492 ล้านบาท สหรัฐอเมริกามีจำนวน 15 โครงการ เงินลงทุน 36,681 ล้านบาท เกาหลีใต้มีทั้งสิ้น 21 โครงการ เงินลงทุนรวม 13,567 ล้านบาท จีนมีจำนวน 9 โครงการ เงินลงทุน 9,434 ล้านบาท

          จึงเห็นได้ว่า ไม่ว่าบ้านเมืองของไทยจะเป็นอย่างไร การเมืองจะทะเลาะกัน แตกแยกรุนแรงแค่ไหน ความน่าเชื่อถือในด้านการลงทุนสั่นคลอน ฝรั่งหัวแดงอย่างอเมริกา และยุโรปส่ายหน้า และถึงกับออกประกาศไม่คบหา ทำมาค้าขายกับประเทศไทยเมื่อมีการทำ"รัฐประหาร"เกิดขึ้น แต่ญี่ปุ่นยังเชื่อมั่น และมั่นใจที่จะลงทุนในประเทศไทย

          ดังนั้น สิ่งที่นายอิอุจิกล่าว แม้พวกเราจะเจ็บปวด...แต่"ต้องยอมรับความจริง และหาทางแก้ไขทั้ง 10 จุดอ่อน"ก่อนจะสายเกินเยียวยา !!

          เพราะตอกย้ำมากขึ้นไปอีก เมื่อสถาบันการจัดการนานาชาติ (IMD– World Competitiveness Yearbook)ได้ทำการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของไทยปี 2557 เปรียบเทียบปี 2556 พบว่า ประเทศไทยจากที่เคยอยู่อันดับที่ 29 ได้ตกลงจากเดิมมาอยู่ลำดับที่ 27 จากการจัดอันดับทั้งหมด 60 ประเทศ ขณะที่ความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจลดลงจากที่เคยอยู่ในอันดับที่ 12 หล่นลงมาอยู่อันดับที่ 9

การที่บางคนไปกล่าวดูถูกประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านที่มาใช้แรงงานในประเทศไทย ทั้งเมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนามว่า เขาด้อยกว่าเรา...คงไม่ใช่แล้ว เพราะวันนี้เพื่อนบ้านเหล่านี้กำลังพัฒนา...และกำลังจะวิ่งแซงหน้าไทย แบบหายใจลดต้นคอ ในอีกไม่กี่อึดใจข้างหน้านี้     

จึงถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้อง"ทบทวน"ตัวเอง อย่างคำโบราณว่า "ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา" หรือ“ส่องกระจก ดูเงาของตัวเอง"บ้าง

          "ปิดจุดอ่อน"ให้ได้มากที่สุด แม้จะทำไม่ได้ทั้ง 10  ข้อ แต่เริ่มได้ทันที โดยแก้ไขจากตัวเอง ครอบครัว  ก่อนจะขยายไปแก้ไข"บ้าน"ใหญ่ของเรา"ประเทศไทย"

ที่มา:
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 1407422504
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: 10 จุดอ่อนของไทยในสายตานักลงทุนญี่ปุ่น

โพสต์ที่ 2

โพสต์

บทความที่อ่านแล้วดีบทความหนึ่งเลย
นานๆๆจะมีบทความแบบนี้ออกมา
:)
:)
โพสต์โพสต์