แนวโน้ม.... เอาพลังงานคืนมา! ... ทวงคืนปตท.?

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

แนวโน้ม.... เอาพลังงานคืนมา! ... ทวงคืนปตท.?

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ข้างล่าง .... ลองอ่านใจหน. คสช.

ถ้าผมตีความว่า มีนักวิชาการให้ข้อมูลกับคสช. แล้วหลายด้าน
ไม่ใช่มีแต่ด้านมั่วข้อมูล พวกนักบิด(เบือน) หลับหูหลับตา เอะอะก็ทวงคืน
ผมว่าคสช. เอง ก็หวัjนๆ ว่าถ้าไปตามเกมพวกเอาการเมืองมายำมั่วใส่เต็มไปหมด อาจเสียคนได้ง่ายๆ

ถ้าเช่นนั้น ผมคิดว่าเป็นแนวโน้มที่ดี ต่อการที่ตลาดถูกกดดัน เพราะสูญเสียความเชื่อมั่น big cap ใหญ่สุดอย่างปตท.

เพื่อนๆ คิดว่าผมตีความถูกหรือไม่ครับ?
ขอความเห็น ขอคำชี้แนะ เผื่อผมเข้าใจผิดอะไรไป



(เขาขึ้นหัวข้อการเมืองการตั้งรัฐบาลนะครับ ขอตัดออกเอามาเฉพาะด้านพลังงาน ที่เป็นประเด็นใหญ่มาตลอดยาวนานมาก)

http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B9%88.html

วันที่ 14 มิถุนายน 2557 00:16


"พล.อ.ประยุทธ์" หน.คสช.ย้ำเดือนก.ย.มีรัฐบาลแน่ เข้าใจปัญหาข้อเรียกร้องปชช.เรื่องพลังงาน ฟุ้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้น



เมื่อเวลา20.30น.วันที่ 13 มิ.ย.2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ“คืนความสุขให้คนในชาติ” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยความว่า เดือนกันยายนจะมีรัฐบาลอย่างแน่นอน หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีก็จะบริหารขับเคลื่อนประเทศอย่างเต็มที่ ส่วนที่มีบางประเทศต่อต้านนั้นทางคสช.ก็จะไม่มีการตอบโต้ อย่างไรก็ตามขณะนี้ต่างประเทศเริ่มเข้าใจประเทศไทยมากขึ้น ส่วนการยกเลิกเคอร์ฟิวทั้งหมดนั้นขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ ขณะที่ข้อเสนอให้มีการยุบกองทุนน้ำมันนั้นขอเวลาศึกษาผลกระทบทั้งระบบก่อนเพราะปัจจุบันนี้เงินกองทุนติดลบ 7.4 พันล้านบาท




........




เข้าใจปัญหาข้อเรียกร้องปชช.เรื่องปมพลังงาน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงการจัดโครงสร้างพลังงาน ว่า เรื่องนี้อยากจะชี้แจงว่าบางครั้งจากคำถามของพี่น้องประชาชน ตนเข้าใจว่า ท่านก็เดือดร้อน ท่านมีความเป็นห่วงในเรื่องของความโปร่งใส ผลประโยชน์ของชาติอะไรก็แล้วแต่ วันนี้ตนคิดว่าข้อมูลค่อยไม่ตรงกัน อาจจะเป็นคำอธิบายที่ยากเกินไป วันนี้ตนได้กำหนดแนวทางไปแล้วว่าทุกคนจะต้องสื่อสารไปถึงประชาชนโดยรวมให้ได้ โดยการใช้ภาษาที่ไม่ใช่ภาษาราชการมากนัก เอาคำถามของที่ประชาชนสงสัยมาเป็นโจทย์ แล้วข้าราชการทุกส่วนทุกภาคต้องตอบเป็นภาษาง่ายๆ คือไม่ใช่ภาษาราชการโดยฟังไม่รู้เรื่อง ฉะนั้นประชาชนก็ขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี ข้อมูลก็ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วนขบวนความ ก็เลยเกิดเรื่องความขัดแย้งมาโดยตลอด เพราะว่าการพิจารณาด้านพลังงานคงไม่ใช่เรื่องราคา อะไรทั้งนั้น คงต้องไปคิดต่อว่าเราจะสามารถจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการที่ใช้เพิ่มในอนาคต พลังงานสำรองการจัดหาพลังงานภายในประเทศ อาทิ การบริหารจัดการพลังงานของเราขณะนี้เราต้องมองว่า เรายังไม่ก้าวไปถึงสู่การ เช่น เรื่องน้ำมันเราคงไม่ถึงการเจาะและนำมาผลิตเองทั้งหมด ซึ่งถ้าแบบนั้นเราสามารถกำหนดราคาได้เองบ้างทำนองนั้น แต่อันนี้เราจะได้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานในประเทศ ตนคิดว่ามันมาจาก 2 อย่าง ด้วยกันก็คือค่าสัมปทาน อันที่ 2 ก็เรื่องภาษีต่าง ๆ ตามขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ ก็แล้วแต่

"โดยสรุปแล้วเป็นเหมือนกับเราเป็นการนำเข้าพลังงานเกือบทั้งหมด ทั้งแก๊ส ทั้งน้ำมัน อันนี้ต้องเข้าใจตรงนี้ก่อน แต่ถ้ามันไม่ใช่เดี๋ยวให้กรรมการพิจารณาขึ้นมาอีกที ผมกราบเรียนชั้นต้นในขณะนี้ก่อน เรายังไม่มีความสามารถที่จะเป็นประเทศที่ผลิตเอง ส่งออกและใช้ในประเทศอย่างครบถ้วน อย่างที่หลาย ๆ ฝ่ายอาจจะคิดกันมันเป็นเรื่องของรายได้ที่กลับมาบางส่วน ส่วนหนึ่งเป็นส่วนของรัฐวิสาหกิจ ส่วนหนึ่งเป็นของภาคธุรกิจ บริษัทมหาชน ต้องแยกให้ออกว่ากำไรที่มาทั้งหมดที่ว่าเป็นจำนวนมาก ๆ มายังไง ซึ่งผมคิดว่ามีแนวคิดพอสมควรได้มอบหมายไปแล้ว ทำยังไงประชาชนจะเข้าใจ ซึ่งผมคิดว่าคงต้องขอข้อมูลจาก ปตท. (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีทั้ง 2 อย่าง ในการทำงานทั้งในการเป็นรัฐวิสาหกิจ และการเป็นบริษัทมหาชน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่ออีกว่า ส่วนในเรื่องของพลังงานทดแทน ตนคิดว่า เราคงมุ่งหวังจะใช้จากแก๊ส จากไฟฟ้า จากน้ำมัน อย่างเดียวไม่ได้แล้ว เราคงต้องสร้างเสริมพลังงานทดแทน และใช้ผลผลิตภายในประเทศ เพื่อลดภาระการนำเข้าของพลังงานเดิม รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรปิโตรเลียมที่มีอยู่จำกัด ตนเรียนว่าข้อมูลที่ตนได้มาในวันนี้นั้น เราไม่ได้มีมากมายเท่าไหร่นัก เพราะฉะนั้นอยู่ที่เราจะวางแผนการใช้อย่างไร เพื่อจะมีพลังงานสำรองในอนาคตไว้ด้วย ถ้าเราขุดเจาะมาและเอามาใช้ทั้งหมดก็หมดเร็ว วันหน้าเราก็ไม่มีพลังงานเหลืออยู่ให้เป็นพลังงานสำรอง ฉะนั้นเราต้องใช้พลังงานทดแทนในทุก ๆ ด้าน อย่างทั่วถึง ในทุกพื้นที่ต้องแก้ไข ต้องเร่งดำเนินการ ส่วนราคาต่าง ๆ นั้น เรื่องพลังงานนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ต้องนำไปพิจารณา โดยรวมทั้งระบบต้นทุนมาจากไหน การกำหนดราคากำหนดไว้อย่างไร จากผู้ผลิต ผู้บริโภค สอดคล้องกับตลาดในประทศ นอกประเทศ มีเหตุผลไหม ที่จะตอบคำถามได้ ทั้งนี้เราต้องการไม่ให้เป็นภาระต่อค่าครองชีพของประชาชน และไม่กระทบต่อโครงสร้างรายได้ของประเทศด้วย เพราะมีผลกระทบด้วยกันทั้งสิ้น มันจากเรื่องหนึ่งไปเรื่องหนึ่งมีการยึดโยงมากมาย

"ในเรื่องกองทุนน้ำมันเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ทุกคนให้ความสนใจ วันนี้นี้เรามีข้อมูลมากพอสมควร คือเรื่องนี้ คือ การจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2516 และได้แก้ปัญหาทางด้านพลังงานและเรื่องน้ำมัน จากก๊าซมาโดยตลอด วันนี้ยังต้องศึกษาและสร้างความเข้าใจกับประชาชนว่า ถ้าลดตรงนี้ ตรงนั้นต้องเพิ่ม ไปตามกลไกของท้องตลาดจะรับได้ไหม ถ้ารับไม่ได้เราจะทำยังไง วันนี้น้ำมันติดลบประมาณ 7,400 ล้าน ฉะนั้นถ้าเราไม่เก็บจะได้ไหม ไม่เก็บแล้วทำยังไง ต้องหาคำตอบอยู่ตอนนี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่แต่งตั้งขึ้นมาเร็ว ๆ นี้ ก็จะไปแก้ไข รวมความไปถึงคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (กอ.) อันนี้กลไก ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่ใช่ว่าสั่งปุ๊บได้ปั๊บเหมือนเปิดไฟปิดไฟไม่ได้หรอก เดี๋ยวก็ไฟดับทั้งหมดทั้งประเทศ " พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

หัวหน้าคสช. กล่าวต่อว่า ฉะนั้นเราจะต้องพิจารณาข้อมูล กำกับการดำเนินงานทั้งหมดให้เป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อย เป็นหลักต้องฟังเสียงข้างน้อยบ้าง ที่ผ่านมาบางครั้งบางทีการสื่อสารไม่เข้าใจกัน การสื่อสารต้องมีทั้งสองทางจากบนลงล่าง ล่างขึ้นบน และฟังเสียงข้าง ๆ เขาไว้ด้วยไม่อย่างนั้นปัญหาก็แก้ไม่ได้ ก็เกิดปัญหาต่อไปในอนาคต ​ในส่วนของการขับเคลื่อนอื่นๆนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องพลังงานนั้น เราต้องคำนึงถึงความมั่นคงด้วย วันนี้ถ้าเราพึ่งพาอาศัยจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเดียว พอมีปัญหาเรื่องการส่งก๊าซส่งไฟฟ้าอะไรต่าง ๆ ซึ่งใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เรื่องการแลกเปลี่ยนการค้าอะไรต่าง ๆ มันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่ต้องคำนึงถึงว่าประเทศเรานั้นต้องการพลังงานเท่าไหร่ ที่จะอยู่ได้ด้วยตนเอง วันนี้เราต้องเตรียมการเหล่านี้ไม่ใช่เราต้องพึ่งทั้งหมด ถ้าพึ่งทั้งหมดไม่ได้ เราต้องทำเอง ถ้าเราใช้พลังงานจากใต้ดินมันไม่พอ เราก็ต้องส่งเสริมความเข้มแข็งโดยการสร้างพลังงานทดแทนให้ได้โดยเร็ว

ตั้งBOIขับเคลื่อนการลงทุนเน้นประหยัดพลังงาน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ​ในเรื่องของการส่งเสริมการลงทุนวันนี้ คสช. ได้ออกประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชื่อว่า BOI เรียบร้อยไปแล้ว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมาก็ได้รวบรวมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาเป็นคณะกรรมการเพิ่มเติมด้วย เดิมจะไม่มีอยู่หลายส่วนด้วยกัน วันนี้จะเพิ่มเติมส่วนที่ขาดๆ อยู่ ในเรื่องของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม วันนี้ก็จัดท่านนายกสมาคมฯ เข้าไปร่วมด้วย (นายกสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) สำหรับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่จะรีบประชุมโดยเร็ว มีโครงการต่างๆ ที่ขอรับการสนับสนุนส่งเสริม ขนาดการลงทุนเกิน 200 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ประมาณสัก 400 กว่าโครงการ วงเงินลงทุนประมาณ 7.6 แสนล้านบาท ให้แล้วเสร็จภายในเวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้โดยเร็ว ความเชื่อมั่น มีความไว้วางใจกับนักลงทุนจะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ​​

นอกจากนั้น คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะพิจารณาถึงยุทธศาสตร์ในอนาคต ซึ่งตนได้มอบนโยบายไปแล้วว่าจะต้องมุ่งเน้นอุตสาหกรรมทั้งที่ใช้เทคโนโลยีสูง ควบคู่ไปกับเรื่องของการกิจการที่ใช้แรงงานด้วย เพราะเราจะต้องสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนระดับรายได้น้อยด้วย ซึ่งที่ผ่านมาเราจะมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้แรงงานเป็นหลัก วันนี้เราต้องส่งเสริมเรื่องของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง และต้องการให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับคนไทยได้อย่างแท้จริง เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มในการใช้วัถุดิบในประเทศให้ได้มากที่สุด มีการประหยัดพลังงงาน ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น เอทานอล ไบโอดีเซล ก๊าซชีวภาพ เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ จะต้องเป็นอุตสาหกรรมที่สะอาดไม่เพิ่มมลภาวะ เพิ่มมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น อุตสาหกรรมต่างๆ จะได้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต ส่วนผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตในการจัดตั้งโรงงานไปแล้ว เช่น โรงงานสี่ (การขอใบอนุญาต ร.ง 4) ที่อนุมัติอยู่แล้วเราจะพิจารณาให้จัดตั้งให้ได้แล้วเสร็จโดยเร็วตามข้อพิจารณา เพื่อกำหนดเพิ่มเติมให้อยู่ในกฎเกณฑ์ที่ทำให้เราเข้มแข็งขึ้น เท่ากับได้รับลำดับความเร่งด่วนในระยะแรกก่อน



"สิ่งที่เป็นปัญหาวันนี้เราจะต้องมาดูกันว่าปัญหาอยู่ตรงไหน วันนี้เราก็มาดูว่าถ้านับไปแล้วภายใน 1 ปียังไม่ได้มีการสร้าง ไม่มีการเริ่มต้นก็อาจจะพิจารณายกเลิกใบอนุญาตที่อนุมัติไปแล้ว ที่เรากำลังจะทำต่อไปนี้ และห้ามเปลี่ยนสิทธิ์ที่ใบอนุญาตภายในระยะ 2 ปี โดยประมาณ ที่คิดๆ ไว้แล้วเพื่อป้องกันการทุจริตโดยการนำใบอนุญาตดังกล่าวไปขายต่อ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

สั่งชะลอปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือน

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงปัญหาปากท้อง ว่า ปัญหาปากท้องเป็นเรื่องเร่งด่วนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ที่ผ่านมาได้ชะลอการปรับขึ้นราคาก๊าซหุ้งต้มภาคครัวเรือนโดยราคาจากเดิมต้องปรับขึ้น ก่อนหน้านั้นมีคำสั่งมาแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมาจะต้องปรับขึ้น วันนี้เราก็พยายามที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบมีการชะลอ มีการพิจารณามาตรการอื่นๆ คงต้องรอการปรับโครงสร้างราคาพลังงานในภาครวมให้ได้โดยเร็ว ส่วน?การพิจารณาความมีประสิทธิภาพ ความโปร่งใสของบอร์ดรัฐวิสาหกิจจะต้องนำหลักเกณฑ์ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาเป็นตัวกำหนดด้วย นอกจากกฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่างๆ แล้ว หรือโดยผู้ถือหุ้นแล้วคงต้องกำหนดกติกาให้ชัดเจนขึ้น

"ปัจจุบันอยากจะเรียนว่าก็คงไม่ใช่ทั้งหมดที่เขาจะใช้อำนาจโดยไม่มีการควบคุม ผมคิดว่าเป็นการควบคุมโดยกฎกติกาของตลาดหลักทรัพย์ด้วย และมีการควบคุมอยู่แล้ว แต่ตรงนี้เป็นปัญหาซึ่งทำให้ประชาชนเกิดความไม่ไว้วางใจคงต้องหามาตรการอื่นเพิ่มเติม ก็ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ มีคุณภาพ มีคุณธรรม ธรรมาภิบาลเข้ามาเป็นกรรมการ ลดสิทธิผลประโยชน์ตอบแทนที่เกินความจำเป็นให้เหมาะสม ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับกฎหมายและข้อบังคับอื่นๆ เป็นจำนวนมาก และประเด็นสำคัญคือบางท่านอาจจะมองว่า มีข้าราชการมากอยู่ตามบอร์ดต่างๆ ซึ่งเป็นกฎหมายว่าถ้าเป็นบอร์ดใดที่รัฐวิสาหกิจจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ วันนี้บริษัทเหล่านั้น เนื่องจากรัฐเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เพราะฉะนั้นอาจจะต้องมีปลัดกระทรวง รองปลัดต่างๆ ไปดูแลตามความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวง แต่ละงานรัฐวิสาหกิจที่รับผิดชอบ อันนั้นมันเป็นกฎหมาย เราถือหุ้นรายใหญ่ และเรื่องอื่นๆ ที่ต้องจัดการให้ได้โดยเร็วว่าใครที่มีความรู้ มีคุณภาพ มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ไม่ใช่นึกจะตั้งใคร ปลดใคร ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะว่ามีกฎหมายคุ้มครองกันอยู่ เราก็พยายามที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้ ก็พยายามทำความเข้าใจกับบอร์ดทุกบอร์ดอยู่ในขณะนี้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

........
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 423
ผู้ติดตาม: 0

Re: แนวโน้ม.... เอาพลังงานคืนมา! ... ทวงคืนปตท.?

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมเชื่อข้อมูลของ ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี และ คุณรสนา โตสิตระกูล
เพราะ คนกลุ่มนี้ ท้า คน ของ ปตท เพื่อ ดีเบตในสื่อสาธารณะ แต่ คน ของ ปตท ไม่กล้าดีเบตด้วย
คุณ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เคยตำหนิว่า มล.กร ไม่รู้เรื่องพลังงาน แต่ พอ มล. กร ขอให้ข้อมูล
ในสื่อสาธารณะ พร้อมๆกัน คุณ ปิยสวัสดิ์ก็ปฏิเสธ ที่จะพูดเรื่องพลังงานพร้อมๆกับมล.กร
มีเรื่องนึงที่ ปตท อธิบายแล้วผมไม่เข้าใจ คือ ราคาอ้างอิงที่สิงคโปร
ราคาที่หน้าโรงกลั่นเมืองไทย=ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน
ราคาที่หน้าโรงกลั่นเมืองไทย=ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร+2บาท
ทั้งที่น้ำมันกลั่นในเมืองไทย ไม่มีการขนส่งจริง แต่ โรงกลั่นได้ราคาดีกว่า กลั่นที่สิงคโปร 2 บาท
ประเทสไทยใช้น้ำมันสำเร็จรูปประมาณวันละ 800,000บาเรลx159=127ล้านลิตร
เงินที่โรงกลั่นเมืองไทยเอาเปรียบคนไทยวัน 254ล้านบาท ปีละ 9.2หมื่นล้านบาท
เงินจำนวนนี้ กลุ่ม ปตท เอา ไป ทำ CSR และ โฆษณา ชวนเชื่อได้สะบายๆ
สื่อหลักในเมืองไทย ไม่มีใครพูดเรื่องพวกนี้ เพราะเงินมันมหาศาล
และ ถ้า รวมเรื่องอื่นๆเข้าไป อีก ผลประโยชน์ มันมาก จน คนไทยคิดไม่ถึง
luz666
Verified User
โพสต์: 845
ผู้ติดตาม: 0

Re: แนวโน้ม.... เอาพลังงานคืนมา! ... ทวงคืนปตท.?

โพสต์ที่ 3

โพสต์

CARPENTER เขียน:ผมเชื่อข้อมูลของ ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี และ คุณรสนา โตสิตระกูล
เพราะ คนกลุ่มนี้ ท้า คน ของ ปตท เพื่อ ดีเบตในสื่อสาธารณะ แต่ คน ของ ปตท ไม่กล้าดีเบตด้วย
คุณ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เคยตำหนิว่า มล.กร ไม่รู้เรื่องพลังงาน แต่ พอ มล. กร ขอให้ข้อมูล
ในสื่อสาธารณะ พร้อมๆกัน คุณ ปิยสวัสดิ์ก็ปฏิเสธ ที่จะพูดเรื่องพลังงานพร้อมๆกับมล.กร
มีเรื่องนึงที่ ปตท อธิบายแล้วผมไม่เข้าใจ คือ ราคาอ้างอิงที่สิงคโปร
ราคาที่หน้าโรงกลั่นเมืองไทย=ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน
ราคาที่หน้าโรงกลั่นเมืองไทย=ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร+2บาท
ทั้งที่น้ำมันกลั่นในเมืองไทย ไม่มีการขนส่งจริง แต่ โรงกลั่นได้ราคาดีกว่า กลั่นที่สิงคโปร 2 บาท
ประเทสไทยใช้น้ำมันสำเร็จรูปประมาณวันละ 800,000บาเรลx159=127ล้านลิตร
เงินที่โรงกลั่นเมืองไทยเอาเปรียบคนไทยวัน 254ล้านบาท ปีละ 9.2หมื่นล้านบาท
เงินจำนวนนี้ กลุ่ม ปตท เอา ไป ทำ CSR และ โฆษณา ชวนเชื่อได้สะบายๆ
สื่อหลักในเมืองไทย ไม่มีใครพูดเรื่องพวกนี้ เพราะเงินมันมหาศาล
และ ถ้า รวมเรื่องอื่นๆเข้าไป อีก ผลประโยชน์ มันมาก จน คนไทยคิดไม่ถึง
ถ้าขายในประเทศถูกกว่าราคา sg + ค่าขนส่ง จะมีคนทำ arbitrage โดยซื้อน้ำมัน sg มาขายในไทยป่าวครับ โรงกลั่นในไทยก็จะขายไม่ได้ (import export parity price)
all i need is Zero
chaitorn
Verified User
โพสต์: 2545
ผู้ติดตาม: 0

Re: แนวโน้ม.... เอาพลังงานคืนมา! ... ทวงคืนปตท.?

โพสต์ที่ 4

โพสต์

CARPENTER เขียน:ผมเชื่อข้อมูลของ ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี และ คุณรสนา โตสิตระกูล
เพราะ คนกลุ่มนี้ ท้า คน ของ ปตท เพื่อ ดีเบตในสื่อสาธารณะ แต่ คน ของ ปตท ไม่กล้าดีเบตด้วย
คุณ ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เคยตำหนิว่า มล.กร ไม่รู้เรื่องพลังงาน แต่ พอ มล. กร ขอให้ข้อมูล
ในสื่อสาธารณะ พร้อมๆกัน คุณ ปิยสวัสดิ์ก็ปฏิเสธ ที่จะพูดเรื่องพลังงานพร้อมๆกับมล.กร
มีเรื่องนึงที่ ปตท อธิบายแล้วผมไม่เข้าใจ คือ ราคาอ้างอิงที่สิงคโปร
ราคาที่หน้าโรงกลั่นเมืองไทย=ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร+ค่าขนส่ง+ค่าประกัน
ราคาที่หน้าโรงกลั่นเมืองไทย=ราคาหน้าโรงกลั่นสิงคโปร+2บาท
ทั้งที่น้ำมันกลั่นในเมืองไทย ไม่มีการขนส่งจริง แต่ โรงกลั่นได้ราคาดีกว่า กลั่นที่สิงคโปร 2 บาท
ประเทสไทยใช้น้ำมันสำเร็จรูปประมาณวันละ 800,000บาเรลx159=127ล้านลิตร
เงินที่โรงกลั่นเมืองไทยเอาเปรียบคนไทยวัน 254ล้านบาท ปีละ 9.2หมื่นล้านบาท
เงินจำนวนนี้ กลุ่ม ปตท เอา ไป ทำ CSR และ โฆษณา ชวนเชื่อได้สะบายๆ
สื่อหลักในเมืองไทย ไม่มีใครพูดเรื่องพวกนี้ เพราะเงินมันมหาศาล
และ ถ้า รวมเรื่องอื่นๆเข้าไป อีก ผลประโยชน์ มันมาก จน คนไทยคิดไม่ถึง
ลองอ่านข้อมูลใน้วปไซต์นี้ มีคำตอบให้ครับ
http://www.รู้จริงพลังงานไทย.com/ทำไมรา ... นสำเร็จรู/

น้ำมันเป็น commodity มีตลาดอ้างอิง 3 ตลาดในโลก
น้ำมัน ก็เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดหนึ่ง (Commodities) ซี่งมีการแข่งขันสูง การเปลี่ยนราคาหรือนโยบายการผลิตและการขายของผู้ค้าน้ำมันรายหนึ่งจะส่งผล กระทบโดยตรงต่อตลาดน้ำมัน จึงทำให้ผู้ค้าน้ำมันต้องปรับราคาให้สามารถแข่งขันกันได้ ดังนั้น ราคาน้ำมันที่เหมาะสมเพื่อใช้ “อ้างอิง” จึงควรจะกำหนดมาจากความต้องการและความสามารถในการผลิต ภายใต้กลไกระบบการค้าเสรีของกลุ่มตลาดซื้อขายน้ำมันที่อยู่ใกล้เคียง กัน ศูนย์กลางการซื้อขายน้ำมันของโลกกระจายอยู่ใน 3 ภูมิภาค ก็คือ

1. ทวีปอเมริกา โดยตลาด NYMEX (New York Mercantile Exchange) ตั้งอยู่ที่ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา
2. ทวีปยุโรป โดยตลาด ICE (InterContinental Exchange) ตั้งอยู่ที่ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

3. ทวีปเอเชีย โดยตลาดสิงคโปร์ หรือ SIMEX (Singapore International Monetary Exchange) ตั้งอยู่ที่ ประเทศสิงคโปร์
แล้วทำไมต้องอ้างอิงตลาดที่สิงคโปร์
“ตลาดสิงคโปร์” (The Singapore International Monetary Exchange หรือ SIMEX) 

ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งคำว่า “ราคาสิงคโปร์” นั้นไม่ใช่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ประกาศโดยรัฐบาลหรือโรงกลั่นของประเทศสิงคโปร์ หรือราคาขายปลีกในประเทศสิงคโปร์ แต่ เป็นราคาซื้อขายน้ำมันระหว่างผู้ค้าน้ำมันมากกว่า 300 รายในภูมิภาคเอเชียที่ตกลงกันผ่านตลาดกลางฯที่ประเทศสิงคโปร์เป็นปริมาณ มหาศาล ประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและตั้งอยู่ใกล้กับประเทศสิงคโปร์ จึงเลือกที่จะอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดสิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนระดับราคาที่สมดุลกับกลไกระบบการค้าเสรีของตลาดในภูมิภาคนี้ ซึ่งยากต่อการปั่นราคา อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงของราคาก็สอดคล้องอย่างเป็นสากลกับตลาดซื้อขายน้ำมัน อื่นๆทั่วโลก 
ผลกระทบที่เกิดจากการอ้างอิงตลาดนี้ ถ้าไปใช้ราคาอื่นเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ทำไมต้องอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปของตลาดกลางสิงคโปร์ (SIMEX)


ถ้าราคาขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “แพงกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> ผู้ประกอบการขายปลีกน้ำมัน ก็จะนำเข้าน้ำมันจากตลาดกลางสิงคโปร์ที่มีราคาถูกกว่าแทนการซื้อน้ำมันจาก โรงกลั่นในประเทศ และก็จะมีผู้ค้าน้ำมันนำน้ำมันสำเร็จรูปเข้ามาขายแข่งเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันภายในประเทศและการจ้าง งาน

 

ถ้าราคาขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “ถูกกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่

เปิดตลาดเสรี ผู้ประกอบการโรงกลั่นก็จะสามารถนำน้ำมันส่งออกไปขายต่างประเทศที่ได้ราคาดี กว่าทันที ทำให้ในประเทศขาดแคลนน้ำมัน ผู้บริโภคในประเทศก็จะไม่ได้ใช้น้ำมัน ยิ่งทำให้ราคาขายปลีกในประเทศเพิ่มสูงขึ้นหนักเพราะ อุปทาน (Supply) น้อยกว่า อุปสงค์ (Demand) หรืออาจจะทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกน้ำมันก็จะประสบภาวะขาดทุน ถึงขั้นเจ๊งได้ (เพราะปริมาณการขายน้อย กำไรน้อยลง) และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างวงกว้าง เพราะขาดแคลนพลังงานถ้าบังคับให้โรงกลั่นขายน้ำมันหน้าโรงกลั่น “ถูกกว่า” ในตลาดกลางสิงคโปร์ >>> ผู้ประกอบการโรงกลั่นจะขาดแรงจูงใจในการลงทุนเพราะลงทุนสร้างโรงกลั่นหรือค่าซ่อมบำรุงค่าดำเนินการโรงกลั่นในประเทศไทยมีต้นทุนสูงกว่า สาเหตุดังต่อไปนี้
1. ต้นทุนขนส่งการนำเข้าน้ำมันดิบสูงกว่า เพราะประเทศไทยอยู่ห่างจากแหล่งน้ำมันดิบตะวันออกกลางไกลกว่าประเทศสิงคโปร์ รวมถึงประเทศสิงคโปร์เป็นเมืองท่า มีระบบการขนส่งและท่าเรือขนาดใหญ่และครบวงจร ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยของประเทศสิงคโปร์มีต้นทุนต่ำกว่าของประเทศไทย
2. ต้นทุนการกลั่นต่อหน่วยของประเทศไทยสูงกว่า เพราะกำลังการกลั่นของประเทศไทยมีขนาดน้อยกว่า (Economies of Scale)
3. ต้นทุนการผลิตน้ำมันสูงกว่า เพราะโรงกลั่นในประเทศไทยผลิตน้ำมันคุณภาพสูงกว่าหรือยูโร 4-5 เพื่อมีความสามารถในการแข่งขันกับการนำเข้าน้ำมันจากโรงกลั่นสิงคโปร์

พอ ต้นทุนโรงกลั่นในประเทศไทยสูงกว่าแต่กลับขายได้ราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันจากโรง กลั่นสิงคโปร์หรือราคาที่ควรจะเป็น อาจจะถึงขั้นขาดทุน ผู้ประกอบการจะย้ายเงินลงทุนไปลงทุนที่ต่างประเทศแทน ทำให้โรงกลั่นในประเทศต้องปิดตัวลง ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปแทน ส่งผลกระทบต่อการการ จ้างงานสร้างรายได้และกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างวงกว้าง และขาดความมั่นคงทางพลังงาน !!!
การอ้างอิงตลาดเสรีแบบนี้ ทำให้โรงกลั่นปรับตัวอย่างไรบ้างในอนาคตเพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขัน
 ดังนั้นการอ้างอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูปจากตลาดสิงคโปร์ จะทำ ให้โรงกลั่นภายในประเทศต้องพัฒนาศักยภาพและปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อลด ต้นทุนการกลั่นน้ำมันให้สามารถแข่งขันกับโรงกลั่นอื่นๆ ในภูมิภาคหรือของโลกอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ซึ่ง ปัจจุบัน โรงกลั่นในประเทศไทยสามารถกลั่นได้นำ้มันที่มีคุณภาพสูงกว่าประเทศสิงคโปร์ ในมาตราฐาน Euro 4 (E20 เป็น Euro 5 แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว) โรงกลั่นไทยจึงสามารถแข่งขันกับโรงกลั่นสิงคโปร์ที่กลั่นน้ำมันมาตราฐาน Euro 2 ได้  อย่างไรก็ตามจากข่าว โรงกลั่นในสิงคโปร์ของบริษัท Singapore Refining Co. (SRC) เตรียมลงทุนกว่า $500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯเพื่ออัพเกรดโรงกลั่นให้กลั่นน้ำมันตามมาตารฐานยูโร 4

ใน ปัจจุบันนี้เหล่าโรงกลั่นในไทยจะมีค่าการกลั่นโดยเฉลี่ยอยู่ราวๆลิตรละ 2 บาท ค่าการกลั่นนี้ไม่ใช่ผลกำไรแต่เป็นส่วนต่างระหว่างน้ำมันสำเร็จรูปหน้าโรง กลั่นกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบที่นำเข้ามา ถ้าหักต้นทุนและภาษีเงินได้เข้ารัฐแล้วกำไรน่าจะไม่ถึงลิตรละบาท เต็มที่ก็บาทนึง ดังนั้นการตั้งราคาที่ต่ำกว่าราคาอ้างอิงตลาดกลางสิงคโปร์จะมีความเสี่ยงการ ขาดทุนสูง ค่าการกลั่นนั้นขึ้นอยู่กับบางช่วงเวลาเรียกว่า Gross Refinery Margin ดูข้อมูลได้จาก http://www.eppo.go.th/petro/price/index.html
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
CARPENTER
Verified User
โพสต์: 423
ผู้ติดตาม: 0

Re: แนวโน้ม.... เอาพลังงานคืนมา! ... ทวงคืนปตท.?

โพสต์ที่ 5

โพสต์

คุณ nameisnothing สำหรับ คำถามที่ว่า
"ถ้าขายในประเทศถูกกว่าราคา sg + ค่าขนส่ง จะมีคนทำ arbitrage โดยซื้อน้ำมัน sg มาขายในไทยป่าวครับ โรงกลั่นในไทยก็จะขายไม่ได้ (import export parity price)"
ถ้าโรงกลั่นขายน้ำมันถูกกว่า sg+ค่าขนส่ง ก็ไม่มีใครนำน้ำมันจากสิงคโปรเข้ามาขายในไทยครับ
แต่ถ้าขายแพงกว่า sg+ค่าขนส่ง แบบนี้ ก็จะเริ่มมีคนเอาน้ำมันเข้ามาขายแข่ง
กลุ่ม ptt จึงขาย น้ำมันในราคา sg+ค่าขนส่ง เป็นราคาที่แพงที่สุดเท่าที่จะแพงได้
ถ้าแพงกว่านี้ จะมีคนเอาน้ำมันจาก ที่อื่นเข้ามาแข่ง เป็นราคาที่ทำกำไรสูงสุดให้กลุ่ม ptt ครับ
จริงๆแล้ว ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไทย=ราคา SG ก็ยังไม่มีการทำ arbitrage ครับ

ส่วนความเห็นของ คุณchaitorn เป็น ความเห็นที่เข้าทาง ptt ptt ลงทุนให้นักวิชาการต่างๆ
เขียนความเห็นพวกนี้ และกระจายไปตามสื่อต่างๆ สื่อทุกระดับ กลุ่ม ptt ใช้งบโฆษณา
และงบ csr ปีละหลายพันล้าน ดังนั้นสื่อหลัก จึงไม่มีใครอยาก เป็นศัตรูกับ ptt
เมื่อไรก็แล้วแต่ ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ได้ออกฟรีทีวี พร้อมๆกับ คนของ ptt
วันนั้น ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปพลังงานที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยทั้งประเทศ
การที่ ptt ไม่กล้าออก ฟรีทีวี พร้อมกับ ม.ล. กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ก็เพราะ ptt พูดความจริงไม่หมด
pullmeunder
Verified User
โพสต์: 332
ผู้ติดตาม: 0

Re: แนวโน้ม.... เอาพลังงานคืนมา! ... ทวงคืนปตท.?

โพสต์ที่ 6

โพสต์

echelon
Verified User
โพสต์: 158
ผู้ติดตาม: 0

Re: แนวโน้ม.... เอาพลังงานคืนมา! ... ทวงคืนปตท.?

โพสต์ที่ 7

โพสต์

pullmeunder เขียน:http://clip.thaipbs.or.th/file-12258
ดูจากในรายการ ม.ล. กรกสิวัฒน์ บอกว่า
ราคาที่หน้าโรงกลั่นประเทศไทย (CIF) = FOB + ค่าประกัน+ค่าขนส่ง+ค่าใช้จ่ายอื่นๆ >>> เรียกว่า Import Parity Price (IPP)
ค่าประกัน+ค่าขนส่ง+ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่บวกเพิ่มจาก FOB เป็นค่าใช้จ่ายเทียม เพราะบวกเพิ่มไปในต้นทุนน้ำมันดิบแล้ว
ผมก็เลยลองคิดดูว่า
ถ้าเป็นโรงกลั่นที่สิงคโปร์ ส่วนต่างที่ได้ก็ = FOB-ราคาน้ำมันดิบ
ส่วนไทยก็เป็น = FOB + ค่าประกัน+ค่าขนส่ง+ค่าใช้จ่ายอื่นๆ-(ราคาน้ำมันดิบ+ค่าประกัน+ค่าขนส่ง+ค่าใช้จ่ายอื่นๆ)
ส่วนต่างที่ได้ระหว่างทั้งคู่จะเท่ากัน มันก็ดูสมเหตุสมผลอยู่นะคับ นึกไม่ออกว่าทำไม ม.ล. กรกสิวัฒน์ บอกว่าเป็นค่าใช้จ่ายเทียม ผมไม่เข้าใจ :|
ทั้งเรื่องสัมปทานอีก เคยตามไปอ่านที่นี้มา
http://goo.gl/g7fXSA
เหมือนหนังคนละเรื่องเลย :?:
ล็อคหัวข้อ