การจ่ายปันผลเป็นหุ้น ถ้าทำบ่อย ๆ จะมีผลดีและผลเสียกับผู้ถือหุ้นรายย่อยอย่างไร และเหตุผลที่จ่ายเป็นหุ้นปันผล คืออะไร
ท่านผู้รู้ช่วยอธิบายด้วยคะ
เหตุใดบางบริษัทจึงนิยมจ่ายหุ้นปันผล บ่อย ๆ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุใดบางบริษัทจึงนิยมจ่ายหุ้นปันผล บ่อย ๆ
โพสต์ที่ 2
เป็นการเพิ่มทุน win-win โดยผถห. ไม่ต้องรับภาระ ไม่ต้องบังคับผถห.รายย่อยต้องรีบไปหาเงินมาซื้อหุ้น เพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท
บริษัทเอาเงินสดและกำไรสะสม ไปขยายกิจการต่อได้ ย้ายตัวเลขออกจากกำไรสะสมออกไปเพิ่มในทุน (แต่ยังถือเป็นส่วนของผถห. ตามเดิม) โดยไม่ต้องควักเงินสดออกจาก Asset (จ่ายเงินสดเล็กน้อยออกไปรัฐเป็นภาษีแต่แค่ตามราคาพาร์ คิดเผื่อเป็นตัวเลขให้หักแล้วจำนวนปันผลลงตัว)
การเพิ่มทุน = มีจำนวนหุ้น(ส่วน)บริษัทเพิ่ม ไม่ว่ากรณีใด ราคาจะลดเพราะตลาดรับรู้ผลที่ต่อเนื่องตามมา... "dilute" จำง่ายๆ ก็ได้ ว่าราคารูด-หลุด ก็คล้ายคำในภาษาอังกฤษ
เพราะหุ้นเพิ่ม => ตัวหารเพิ่ม => ทั้งราคาทั้งกำไรต่อหุ้น ลดลงตามอัตราส่วนเพราะจับหารกันตรงๆ
หรือด้วยคำพูดง่ายๆ ง่ายๆ เพราะถูกแบ่งความมั่งคั่งออกไปมากขึ้นกับหุ้นส่วนคนใหม่ๆ ที่เพิ่งเข้ามา ราคาเลยตอบสนองไปตามที่ควรจะเป็น
มีกำไร 10 ล้าน มีผถห. 10 คน เคยมีส่วนแบ่งในกำไรคนละ 1 ล.
เพิ่มเจ้าของเป็น 20 คนที่จำนวนหุ้นเท่ากัน ก็จะเหลือคนละ 10ล./20คน = 0.5 ล.
มีวิธีเพิ่มทุนแบบอื่น ถ้าเพิ่มทุนแบบ PP private placement ขายหุ้นจำเพาะเจาะจงระบุชื่อคน/กลุ่มคน คือเพิ่มทุนบริษัทโดยขายให้เฉพาะนักลงทุนใหม่ที่เตรียมกันไว้ แต่ผถห.อื่นเสียเปรียบอย่างเดียว เพราะ dilute ลูกเดียว
(ยิ่งขายหุ้น PP ให้ถูกๆ ที่ราคาต่ำกว่าตลาด ยิ่งทำให้เห็นชัดมากขึ้นเท่านั้น)
มีบางกิจการ เพิ่มทุนด้วยการเปิด IPO ถ้าผถห.รายย่อย ไม่ตามข่าว ประเภทซื้อไปงั้นๆ คอยนั่งดูแต่ราคาหรือเปิดดูแต่พอร์ตว่าแดงหรือเขียวไม่ดูอย่างอื่นอะไรเลย ก็จะได้รับผลทางลบ เพราะราคาหุ้นจะลดลง โดยไม่ใช่มูลค่ากิจการลดลง
และแม้แต่คนที่รู้ข่าว ก็ต้องไปหาเงินมาซื้อ มิฉะนั้น ก็จะได้รับผลกระทบจากราคาที่จะลดฮวบลงไป
การปันผลเป็นหุ้น ถือว่าผถห.เก่า ได้รับหุ้นเพิ่มทุนโดยอัตโนมัติไม่ว่ารายเล็กรายใหญ่โดยทั่วหน้ากัน หุ้นราคาลด แต่ได้หุ้นที่เราได้เพิ่มก็จะทำให้ภาพรวมไม่ได้รับผลกระทบ
ข้อดี ก็อาจเป็นการเพิ่มสภาพคล่องในตลาด เพราะหุ้นราคาต่ำลงดูดึงดูดขึ้น ผลทางจิตวิทยาทางบวก จำนวนหุ้นเพิ่มที่กระจายในตลาด ทำให้การซื้อง่ายขายคล่องเปลี่ยนมือได้ง่าย
ถ้ากิจการเติบโต และดีจริง ราคาก็จะค่อยๆ เพิ่มกลับมาเอง เพราะเอาเงินไปขยายสาขา ลงทุนใหม่ reinvestment
แต่ถ้าอยากเปลี่ยนเป็นเงิน...ก็ขายออก แถมเสียภาษีให้กรมสรรพากรนิดเดียวแค่ราคาพาร์ด้วย ปีใหม่ถัดไปเอามาเครดิตภาษีได้
แต่..... นี่ก็หมายถึง % ความเป็นเจ้าของในอัตราที่ลดลง ซึ่งจะกระทบรายใหญ่ที่รู้สึกมีความเป็นเจ้าของในบริษัท ที่ก็อยากได้ปันผลออกมาเป็นตัวเงินด้วย เพราะต้องการเอาเงินสดมาใช้ คอยปันผลเนื่องด้วยเป็นนักลงทุนอย่างเดียว จะใช้ส่วนตัวบ้าง หรืออยาก reinvest ไปในลักษณะอื่นเองไม่อยากถูกบังคับ ต้องการกระจายความเสี่ยงไปที่กิจการอื่น ลงทุนสินทรัพย์แบบอื่นอย่างทอง อสังหาฯ บ้าง
สมมติถือหุ้นในกิจการ ABCD ถือหุ้นที่บริษัทนี้ 10% มีปันผล 1:1
พอได้ปันผลมา อยากได้เป็นเงิน... ขายหุ้นออกเท่าปันผลที่ได้ทั้งหมด ความเป็นเจ้าของก็เหลือแค่ 5% เพราะเพิ่งขายความเป็นเจ้าของออกไป 5% หมาดๆ
ผลเสียอีกอย่าง ก็น่าจะผลทางจิตวิทยาด้านลบ และเกิดความสับสน ... คนที่ไม่ตามอาจตกใจ ว่าทำไมราคาหุ้นมันร่วงไปได้ เกิดอะไรไม่ดีกับกิจการรึเปล่า
และบางคนที่กำลังจะซื้อโดยไม่ได้คิดดูถึงมูลค่า (ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการเป็น VI) อาจเข้าใจผิดรีบซื้อ คิดว่าราคาลง = มูลค่าหุ้นถูกลง .... ตัวอย่างจริงเลย... CPALL ปีที่ปันผล 1:1 ราคาหุ้นลดมาครึ่งนึง = หุ้นถูกลง 50%?
แต่เรื่อง "ราคา" ตัวอย่างที่เกิดกับ HMPRO ที่มีคำถามกันบ่อย ว่าหุ้นอะไรฟะ ราคาไม่ขยับไปไหนเลย กิจการมันไม่ดีจริงๆ แน่เลย ... ผลร้ายของการปันผลเป็นหุ้นบ่อยๆ ทุกปีแน่ๆ เลย แต่...งงว่ากี่ปีๆ แล้วที่เห็นปันผลเป็นเงินแทบไม่มีราคาไม่ไปไหน ทำไมยังมีคนเข้าไปซื้อ? แล้วเขาหวังอะไรจากไหนกัน?
นี่เป็นของจริง... ช่วยให้เราทำความรู้จักชัดเจนว่า price vs value เป็นคนละเรื่องกัน ที่อาจารย์ของปู่บัฟฟ์สอนไว้ ไม่ใช่แค่สำนวนพูดให้ดูขลัง หรือดูเท่ๆ
*Long ago, Ben Graham taught me that “Price is what you pay; value is what you get.” Whether we’re talking about socks or stocks, I like buying quality merchandise when it is marked down.
2008 Chairman's Letter
บริษัทเอาเงินสดและกำไรสะสม ไปขยายกิจการต่อได้ ย้ายตัวเลขออกจากกำไรสะสมออกไปเพิ่มในทุน (แต่ยังถือเป็นส่วนของผถห. ตามเดิม) โดยไม่ต้องควักเงินสดออกจาก Asset (จ่ายเงินสดเล็กน้อยออกไปรัฐเป็นภาษีแต่แค่ตามราคาพาร์ คิดเผื่อเป็นตัวเลขให้หักแล้วจำนวนปันผลลงตัว)
การเพิ่มทุน = มีจำนวนหุ้น(ส่วน)บริษัทเพิ่ม ไม่ว่ากรณีใด ราคาจะลดเพราะตลาดรับรู้ผลที่ต่อเนื่องตามมา... "dilute" จำง่ายๆ ก็ได้ ว่าราคารูด-หลุด ก็คล้ายคำในภาษาอังกฤษ
เพราะหุ้นเพิ่ม => ตัวหารเพิ่ม => ทั้งราคาทั้งกำไรต่อหุ้น ลดลงตามอัตราส่วนเพราะจับหารกันตรงๆ
หรือด้วยคำพูดง่ายๆ ง่ายๆ เพราะถูกแบ่งความมั่งคั่งออกไปมากขึ้นกับหุ้นส่วนคนใหม่ๆ ที่เพิ่งเข้ามา ราคาเลยตอบสนองไปตามที่ควรจะเป็น
มีกำไร 10 ล้าน มีผถห. 10 คน เคยมีส่วนแบ่งในกำไรคนละ 1 ล.
เพิ่มเจ้าของเป็น 20 คนที่จำนวนหุ้นเท่ากัน ก็จะเหลือคนละ 10ล./20คน = 0.5 ล.
มีวิธีเพิ่มทุนแบบอื่น ถ้าเพิ่มทุนแบบ PP private placement ขายหุ้นจำเพาะเจาะจงระบุชื่อคน/กลุ่มคน คือเพิ่มทุนบริษัทโดยขายให้เฉพาะนักลงทุนใหม่ที่เตรียมกันไว้ แต่ผถห.อื่นเสียเปรียบอย่างเดียว เพราะ dilute ลูกเดียว
(ยิ่งขายหุ้น PP ให้ถูกๆ ที่ราคาต่ำกว่าตลาด ยิ่งทำให้เห็นชัดมากขึ้นเท่านั้น)
มีบางกิจการ เพิ่มทุนด้วยการเปิด IPO ถ้าผถห.รายย่อย ไม่ตามข่าว ประเภทซื้อไปงั้นๆ คอยนั่งดูแต่ราคาหรือเปิดดูแต่พอร์ตว่าแดงหรือเขียวไม่ดูอย่างอื่นอะไรเลย ก็จะได้รับผลทางลบ เพราะราคาหุ้นจะลดลง โดยไม่ใช่มูลค่ากิจการลดลง
และแม้แต่คนที่รู้ข่าว ก็ต้องไปหาเงินมาซื้อ มิฉะนั้น ก็จะได้รับผลกระทบจากราคาที่จะลดฮวบลงไป
การปันผลเป็นหุ้น ถือว่าผถห.เก่า ได้รับหุ้นเพิ่มทุนโดยอัตโนมัติไม่ว่ารายเล็กรายใหญ่โดยทั่วหน้ากัน หุ้นราคาลด แต่ได้หุ้นที่เราได้เพิ่มก็จะทำให้ภาพรวมไม่ได้รับผลกระทบ
ข้อดี ก็อาจเป็นการเพิ่มสภาพคล่องในตลาด เพราะหุ้นราคาต่ำลงดูดึงดูดขึ้น ผลทางจิตวิทยาทางบวก จำนวนหุ้นเพิ่มที่กระจายในตลาด ทำให้การซื้อง่ายขายคล่องเปลี่ยนมือได้ง่าย
ถ้ากิจการเติบโต และดีจริง ราคาก็จะค่อยๆ เพิ่มกลับมาเอง เพราะเอาเงินไปขยายสาขา ลงทุนใหม่ reinvestment
แต่ถ้าอยากเปลี่ยนเป็นเงิน...ก็ขายออก แถมเสียภาษีให้กรมสรรพากรนิดเดียวแค่ราคาพาร์ด้วย ปีใหม่ถัดไปเอามาเครดิตภาษีได้
แต่..... นี่ก็หมายถึง % ความเป็นเจ้าของในอัตราที่ลดลง ซึ่งจะกระทบรายใหญ่ที่รู้สึกมีความเป็นเจ้าของในบริษัท ที่ก็อยากได้ปันผลออกมาเป็นตัวเงินด้วย เพราะต้องการเอาเงินสดมาใช้ คอยปันผลเนื่องด้วยเป็นนักลงทุนอย่างเดียว จะใช้ส่วนตัวบ้าง หรืออยาก reinvest ไปในลักษณะอื่นเองไม่อยากถูกบังคับ ต้องการกระจายความเสี่ยงไปที่กิจการอื่น ลงทุนสินทรัพย์แบบอื่นอย่างทอง อสังหาฯ บ้าง
สมมติถือหุ้นในกิจการ ABCD ถือหุ้นที่บริษัทนี้ 10% มีปันผล 1:1
พอได้ปันผลมา อยากได้เป็นเงิน... ขายหุ้นออกเท่าปันผลที่ได้ทั้งหมด ความเป็นเจ้าของก็เหลือแค่ 5% เพราะเพิ่งขายความเป็นเจ้าของออกไป 5% หมาดๆ
ผลเสียอีกอย่าง ก็น่าจะผลทางจิตวิทยาด้านลบ และเกิดความสับสน ... คนที่ไม่ตามอาจตกใจ ว่าทำไมราคาหุ้นมันร่วงไปได้ เกิดอะไรไม่ดีกับกิจการรึเปล่า
และบางคนที่กำลังจะซื้อโดยไม่ได้คิดดูถึงมูลค่า (ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับการเป็น VI) อาจเข้าใจผิดรีบซื้อ คิดว่าราคาลง = มูลค่าหุ้นถูกลง .... ตัวอย่างจริงเลย... CPALL ปีที่ปันผล 1:1 ราคาหุ้นลดมาครึ่งนึง = หุ้นถูกลง 50%?
แต่เรื่อง "ราคา" ตัวอย่างที่เกิดกับ HMPRO ที่มีคำถามกันบ่อย ว่าหุ้นอะไรฟะ ราคาไม่ขยับไปไหนเลย กิจการมันไม่ดีจริงๆ แน่เลย ... ผลร้ายของการปันผลเป็นหุ้นบ่อยๆ ทุกปีแน่ๆ เลย แต่...งงว่ากี่ปีๆ แล้วที่เห็นปันผลเป็นเงินแทบไม่มีราคาไม่ไปไหน ทำไมยังมีคนเข้าไปซื้อ? แล้วเขาหวังอะไรจากไหนกัน?
นี่เป็นของจริง... ช่วยให้เราทำความรู้จักชัดเจนว่า price vs value เป็นคนละเรื่องกัน ที่อาจารย์ของปู่บัฟฟ์สอนไว้ ไม่ใช่แค่สำนวนพูดให้ดูขลัง หรือดูเท่ๆ
*Long ago, Ben Graham taught me that “Price is what you pay; value is what you get.” Whether we’re talking about socks or stocks, I like buying quality merchandise when it is marked down.
2008 Chairman's Letter
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุใดบางบริษัทจึงนิยมจ่ายหุ้นปันผล บ่อย ๆ
โพสต์ที่ 3
ลองศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ "ขอความรู้เพื่อนๆพี่ๆเรื่องการปันผลเป็นหุ้นค่ะ"
เจ้าของกระทู้คือคุณpinky blade
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=57380
จงอย่าเชื่อ จนกว่าคุณได้ทดลอง
เจ้าของกระทู้คือคุณpinky blade
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=57380
จงอย่าเชื่อ จนกว่าคุณได้ทดลอง
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เหตุใดบางบริษัทจึงนิยมจ่ายหุ้นปันผล บ่อย ๆ
โพสต์ที่ 4
เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ชอบ "ปันผล" แต่หุ้นปันผลเป็นเสมือนการบังคับให้ผู้ถือหุ้นเดิมเอาเงินสดปันผลมาลงทุนเพิ่มทุนในบริษัทเดิมแทนการที่ควรจะได้เงินสดจำนวนเดียวกันมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนอย่างอิสระ โดยที่ผู้ถือหุ้นเองอาจไม่รู้ตัว เพราะยึดติดกับคำว่า "ปันผล"
Invincible MOS is knowing what you're doing