ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 1
ตัวอย่าง
CPF ปัจจุบัน รายได้ 180,000 ล้านบาท ราคาหุ้นปัจจุบัน 32 บาท/หุ้น > อีก 5 ปี บริัษัทตั้งเป้าหมาย รายได้ 600,000 ล้านบาท ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 5 ปี ประมาณ 96 บาท/หุ้น
MINT ปัจจุบัน โรงแรม 77 แห่ง ร้านอาหาร 1,274 แห่ง ราคาหุ้นปัจจุบัน 16 บาท/หุ้น > อีก 4 ปี บริษัทตั้งเป้าหมาย โรงแรม 140 แห่ง ร้านอาหาร 2,700 แห่ง ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 4 ปี ประมาณ 32 บาท/หุ้น
โดยมีสมมติฐาน ดังนี้
1. บริษัททำได้ตามเป้าหมาย
2. ราคาหุ้น แปรตาม กำไร ซึ่งแปรตาม ยอดขาย/การขยายสาขา
3. เป็นการประเมินเพียงคร่าวๆ หยาบๆ เท่านั้นครับ
ยินดีรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากเพื่อนๆ พี่ๆ ครับ
ขอบคุณมากครับ
CPF ปัจจุบัน รายได้ 180,000 ล้านบาท ราคาหุ้นปัจจุบัน 32 บาท/หุ้น > อีก 5 ปี บริัษัทตั้งเป้าหมาย รายได้ 600,000 ล้านบาท ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 5 ปี ประมาณ 96 บาท/หุ้น
MINT ปัจจุบัน โรงแรม 77 แห่ง ร้านอาหาร 1,274 แห่ง ราคาหุ้นปัจจุบัน 16 บาท/หุ้น > อีก 4 ปี บริษัทตั้งเป้าหมาย โรงแรม 140 แห่ง ร้านอาหาร 2,700 แห่ง ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 4 ปี ประมาณ 32 บาท/หุ้น
โดยมีสมมติฐาน ดังนี้
1. บริษัททำได้ตามเป้าหมาย
2. ราคาหุ้น แปรตาม กำไร ซึ่งแปรตาม ยอดขาย/การขยายสาขา
3. เป็นการประเมินเพียงคร่าวๆ หยาบๆ เท่านั้นครับ
ยินดีรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากเพื่อนๆ พี่ๆ ครับ
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 132
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 2
ผมยังเป็นมือใหม่มีความเห็นว่า
จากตัวอย่าง ยอดขายเอามาเทียบตรงๆกับราคา
น่าจะเพิ่มการวิเคราะห์ %Magin ในแต่ละส่วนงาน เนื่องจากกำไรที่เติบโตจากยอดขายยังมีเรื่อง Economies of Scale,Same store sales growth,ค่าของเงินตามเวลา และอื่นๆ
รอผู้รู้มาตอบอีกทีครับ
จากตัวอย่าง ยอดขายเอามาเทียบตรงๆกับราคา
น่าจะเพิ่มการวิเคราะห์ %Magin ในแต่ละส่วนงาน เนื่องจากกำไรที่เติบโตจากยอดขายยังมีเรื่อง Economies of Scale,Same store sales growth,ค่าของเงินตามเวลา และอื่นๆ
รอผู้รู้มาตอบอีกทีครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 4
ก็คุณตั้งสมมติฐานแบบนั้น ก็คงจะจริงTLSS เขียน:ตัวอย่าง
CPF ปัจจุบัน รายได้ 180,000 ล้านบาท ราคาหุ้นปัจจุบัน 32 บาท/หุ้น > อีก 5 ปี บริัษัทตั้งเป้าหมาย รายได้ 600,000 ล้านบาท ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 5 ปี ประมาณ 96 บาท/หุ้น
MINT ปัจจุบัน โรงแรม 77 แห่ง ร้านอาหาร 1,274 แห่ง ราคาหุ้นปัจจุบัน 16 บาท/หุ้น > อีก 4 ปี บริษัทตั้งเป้าหมาย โรงแรม 140 แห่ง ร้านอาหาร 2,700 แห่ง ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 4 ปี ประมาณ 32 บาท/หุ้น
โดยมีสมมติฐาน ดังนี้
1. บริษัททำได้ตามเป้าหมาย
2. ราคาหุ้น แปรตาม กำไร ซึ่งแปรตาม ยอดขาย/การขยายสาขา
3. เป็นการประเมินเพียงคร่าวๆ หยาบๆ เท่านั้นครับ
ยินดีรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากเพื่อนๆ พี่ๆ ครับ
ขอบคุณมากครับ
เพียงแต่สมมติฐานที่คุณตั้งไว้ มีเหตุผล แนวคิด อะไรสนับสนุนว่าจะเป็นจริงดังที่ตั้งไว้
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 1219
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 6
ผมเห็นด้วยกับพี่ฉัตรชัยครับ
การคาดการอนาคตเราต้องแน่ใจว่าเป็นอย่างที่เราหรือผู้บริหารคาดการจริงๆ
เราจึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จจากการลงทุนครับ
ส่วนคำถามเรื่องการประเมินมูลค่าของพี่จขกท.นั้น...
ถ้าเป็นผม ผมจะเอา pe ที่เหมาะสมของกิจการมาใช้เพิ่มอีกตัวครับ
เช่นหุ้น c ผมให้peเหมาะสม 10 เท่า
อีก5ปี ถ้าเรื่องที่เราคาดการเป็นจริง บริษัทนั้นจะมีกำไร/หุ้นเท่าไหร่
จากนั้นผมจะเอามาคูณ pe ที่ผมเห็นว่าเหมาะสม ออกมาเป็นมูลค่า(ราคา)ที่ผมคำนวนได้ครับ
แฮ่...ของผมก็คร่าวๆเหมือนกันครับ
การคาดการอนาคตเราต้องแน่ใจว่าเป็นอย่างที่เราหรือผู้บริหารคาดการจริงๆ
เราจึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จจากการลงทุนครับ
ส่วนคำถามเรื่องการประเมินมูลค่าของพี่จขกท.นั้น...
ถ้าเป็นผม ผมจะเอา pe ที่เหมาะสมของกิจการมาใช้เพิ่มอีกตัวครับ
เช่นหุ้น c ผมให้peเหมาะสม 10 เท่า
อีก5ปี ถ้าเรื่องที่เราคาดการเป็นจริง บริษัทนั้นจะมีกำไร/หุ้นเท่าไหร่
จากนั้นผมจะเอามาคูณ pe ที่ผมเห็นว่าเหมาะสม ออกมาเป็นมูลค่า(ราคา)ที่ผมคำนวนได้ครับ
แฮ่...ของผมก็คร่าวๆเหมือนกันครับ
ซื้อหุ้นตัวที่เมื่อมองไปในอนาคตแล้ว ที่ปัจจุบันราคายัง undervalue ที่สุด
- newbie_12
- Verified User
- โพสต์: 2904
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 8
ตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่สำคัญมาก ที่คุณไม่ได้ fix มันเอาไว้ก็คือ ราคาปัจจุบันถือเป็นราคา แฟร์แวลู หรือไม่
ถ้าเหมาเอาว่า ราคาปัจจุบันนี่แหละ น่าจะเหมาะสมแล้ว ก็พอจะคิดคร่าวๆแบบนี้ได้ แต่ถ้าโจทย์ตั้งต้น มัน under value หรือ overvalue มันก็จะกลายเป็นคนละเรื่อง
อีกอย่าง อัตรากำไรขั้นต้น โดยทั่วไปแล้วมันจะไม่ค่อยคงเดิม ถ้าเป็นธุรกิจเทพๆ ยอดขายเพิ่มขึ้น gpm น่าจะต้องเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเกิดการประหยัดต่อขนาด ในทางเดียวกัน ถ้าเป็นธุรกิจที่กากๆ gpm อาจจะลดลง เพราะเกิดค่าโสหุ้ยในการผลิตขึ้นเยอะ
ถ้าเหมาเอาว่า ราคาปัจจุบันนี่แหละ น่าจะเหมาะสมแล้ว ก็พอจะคิดคร่าวๆแบบนี้ได้ แต่ถ้าโจทย์ตั้งต้น มัน under value หรือ overvalue มันก็จะกลายเป็นคนละเรื่อง
อีกอย่าง อัตรากำไรขั้นต้น โดยทั่วไปแล้วมันจะไม่ค่อยคงเดิม ถ้าเป็นธุรกิจเทพๆ ยอดขายเพิ่มขึ้น gpm น่าจะต้องเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเกิดการประหยัดต่อขนาด ในทางเดียวกัน ถ้าเป็นธุรกิจที่กากๆ gpm อาจจะลดลง เพราะเกิดค่าโสหุ้ยในการผลิตขึ้นเยอะ
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณคุณ newbie_12 สำหรับมุมมองเรื่อง profit magin และ Economy of scale ครับ เห็นด้วยมากๆ ครับ
ส่วนเรื่องราคาปัจจุบัน เป็นราคา fair value ผมค่อนข้างเห็นด้วยว่า
ราคาตลาดปัจจุบัน = ราคาหุ้นที่เหมาะสม ณ เวลานั้นๆ (ในสภาวะที่ตลาดปกติ ไม่โลภ กลัว มากจนเกินไป) = ราคาหรือมูลค่า ที่ทุกๆ คนที่ถือหุ้นนั้นอยู่ (กองทุน ต่างชาิติ รายย่อย โบรค นักเก็งกำไร นักลงทุน) ให้ราคาไว้ ณ เวลานั้นๆ ครับ
ตามมุมมองจากบทความนี้ครับ
ราคาหุ้นที่เหมาะสม
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 7 เมษายน 2011
เวลาที่เราพิจารณาหรือวิเคราะห์ว่าราคาของหุ้นตัวหนึ่งเหมาะสมหรือไม่? มันแพงเกินไปหรือถูกเกินไป เราทำอย่างไร? เรารู้ได้อย่างไร? Value Investor โดยเฉพาะที่ “เชี่ยวชาญ” เกี่ยวกับตัวเลขและการคำนวณ รวมถึงการวิเคราะห์อนาคตของกิจการ ก็จะบอกว่าเรา “รู้” เพราะว่าเราสามารถคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงหรือ Intrinsic Value ของกิจการได้ มูลค่าที่แท้จริงนั้น มีวิธีการหาได้หลายแบบ ตัวที่ง่ายที่สุดก็คือการใช้ค่า PE ของหุ้น อาจจะเป็นค่า PE ในอดีตย้อนหลังไปหนึ่งปี หรืออาจจะเป็นค่า PE ที่มองไปในอนาคตหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า E หรือกำไรต่อหุ้นของปีที่ผ่านมาของบริษัทเท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น และบริษัทเป็นกิจการที่ “โตเร็ว” คาดว่ากำไรจะโตถึงปีละ 20% ต่อปีและจะโตไปอีกหลายปี หุ้นแบบนี้น่าจะสามารถมีค่า PE สูงถึงประมาณ 20 เท่า ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมควรที่จะเท่ากับ 1 คูณด้วย 20 หรือ 20 บาทต่อหุ้น หลังจากนั้นเราก็มาดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาท เราก็บอกว่านี่คือหุ้นที่มีราคา “ถูก” ควรที่เราจะซื้อไว้ ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทต่อหุ้น เราก็บอกว่าราคา “ยุติธรรม” และถ้าราคาหุ้นในขณะนั้นเท่ากับ 30 บาท เราก็บอกว่าหุ้นมีราคา “แพง” กว่าพื้นฐาน
ในหุ้นตัวเดียวกันนั้นเอง แต่วิเคราะห์โดย VI อีกคนหนึ่งอาจจะมองว่า บริษัทอาจจะโตขึ้น 20% ก็จริง แต่เป็นการโตแค่ปีเดียวเนื่องจากเป็นเรื่องของภาวะอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวยไม่ได้เป็นการเติบโตที่ยั่งยืน หลังจากนั้นแล้วการเติบโตก็เป็นปกติประมาณปีละ 10% ดังนั้นค่า PE ของหุ้นจึงควรที่จะเป็น 10 เท่า ดังนั้น สำหรับ VI รายนี้ก็จะบอกว่า ถ้าหุ้นราคา 10 บาท ก็เป็นราคาที่ยุติธรรม ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทก็ถือว่าแพงมาก และถ้าราคาเท่ากับ 30 บาทก็ถือว่าแพงสุด ๆ ต้องรีบขายทิ้ง
VI อีกคนหนึ่งอาจมองว่าการใช้ PE ในอดีตสำหรับหุ้นตัวนี้ไม่เหมาะสมเพราะบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงใน “พื้นฐาน” อย่างสำคัญ กำไรที่เห็นยังไม่สะท้อน “พื้นฐานใหม่” ดังนั้นเขาจึงใช้ PE ในอนาคต นั่นก็คือ เขาจะคาดการณ์กำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งเขาคาดว่าจะทำได้ถึง 2 บาทต่อหุ้น และเขาคิดว่าบริษัทจะโตเร็วมากหลังจากนั้นคือโตได้ถึง 20% ต่อปีไปอีกหลายปี ดังนั้น ค่า PE ของหุ้นก็ควรจะเป็น 20 เท่า ซึ่งก็ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นเท่ากับ 2 คูณด้วย 20 เท่ากับ 40 บาทต่อหุ้น ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นในปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น หุ้นตัวนี้ก็ถูกสุด ๆ เช่นเดียวกันที่ราคา 20 บาทก็ยังถูกมาก มี Margin of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยถึง 50% และแม้ว่าหุ้นจะราคา 30 บาทต่อหุ้น หุ้นก็ยังถูกอยู่ดีมีโอกาสกำไรได้อีก 33%
ถ้าจะถามว่าใครวิเคราะห์หรือ “ทาย” ถูก? คำตอบก็คือ ในวันที่วิเคราะห์และตัดสินใจซื้อขายหุ้นนั้น ไม่มีใครรู้ คำตอบที่แท้จริงคงจะต้องรอเวลาอีกหลายปี และเมื่อถึงวันนั้น สถานการณ์ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอีก อย่างไรก็ตาม เราก็คงจะพอมองออกเมื่อถึงวันนั้นว่าบริษัทเป็นอย่างไร มีกำไรเติบโตแบบไหน และใครน่าจะเป็นคนที่ “ทาย” ถูก และ แน่นอน ราคาหุ้นหลังจากที่ผ่านไปอาจจะ 2-3 ปีหรือ 3-4 ปีจะเป็นเครื่องยืนยันว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้อง แต่ประเด็นก็คือ คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไม่อยากรู้ว่าอีก 3 ปีราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร เขาอยากรู้ว่าราคาหุ้นตอนนี้ถูกหรือแพงและมันจะวิ่งขึ้นหรือลงไปหา “มูลค่าที่แท้จริง” และมูลค่าที่แท้จริงคือเท่าไร?
และนี่จึงนำมาสู่ทฤษฎีว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้องที่สุด? VI คนที่หนึ่ง VI คนที่สองหรือคนที่สาม? หรือนักเล่นหุ้นทั่ว ๆ ไปที่เน้นเก็งกำไรเป็นหลักที่บังเอิญเข้ามาเล่นหุ้นตัวเดียวกัน? คำตอบจากการศึกษาโดยการทดลองภายใต้สมมุติฐานหนึ่งเช่น สมมุติว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นเป็นคนที่มีเหตุผลพอสมควรและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ในระดับปกติ เป็นคนที่ซีเรียสในการตัดสินใจลงทุนเพราะเป็นเรื่องที่มีผลประโยชน์ของตัวเองเป็นเดิมพัน เป็นต้น คำตอบที่ได้ก็คือ ไม่ใช่ VI ที่ “อนุรักษ์นิยม” ไม่ใช่ VI ที่ “กล้าหาญชาญชัย” ไม่ใช่ VI “ระดับเทพ” และก็ไม่ใช่ “นักเก็งกำไรตัวยง” หรือ “นักเก็งกำไรสมัครเล่น” แต่เป็น “ค่าเฉลี่ย” ของนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นทุกคน และค่าเฉลี่ยที่ว่านี้ก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” เพราะราคาหุ้นในตลาดนั้น เป็นตัวสะท้อน “ความเห็น” ของทุกคน และโดยนัยนี้ มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของหุ้นก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” ดังนั้น หุ้นในตลาดจึงไม่มีคำว่าถูกหรือแพงกว่าพื้นฐาน หุ้นในตลาดนั้น ตามทฤษฎีและภายใต้การทดลองที่มีข้อสมมุติฐานที่มีเหตุผลนั้น มีราคาที่ยุติธรรมเหมาะสมตามพื้นฐานของมัน ไม่มี “เซียน” คนไหนคำนวณมูลค่าหุ้นได้แม่นยำเท่า “ตลาด” และนี่ก็คือ ทฤษฎีที่เรียกว่า “ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพ” ซึ่ง “ทรงพลัง” มาก
ทำไม “ค่าเฉลี่ย” จึงแม่นหรือเก่งกว่า “เซียน” ในการคาดการณ์มูลค่าหุ้นหรืออีกหลาย ๆ เรื่อง คำตอบคงยาวมาก แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่า ค่าเฉลี่ยนั้นเกิดจากการนำข้อมูล ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และอื่น ๆ ของแต่ละคนมารวมกัน เปรียบคล้าย ๆ กับการต่อพ่วงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันแล้วช่วยกันทำงาน ผลที่ออกมาจึงเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ตัวเดียวที่แม้จะเก่งและมีพลังมาก แต่ก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นี่ฟังดูหลายคนอาจจะไม่ค่อยเชื่อว่าคนหลายคนที่ไม่ได้มานั่ง “สุมหัว” กัน แต่ต่างคนต่างทำจะสามารถนำข้อมูลมารวมกันได้ แต่นี่เป็นเรื่องจริง มีการทดลองแล้วพบว่ามันจริง ผมจำไม่ได้ชัดว่าเป็นเรื่องอะไร แต่จะเป็นแนวต่อไปนี้
สมมุติว่าเราต้องการทำนาย น้ำหนักตัวของคน ๆ หนึ่ง วิธีการก็คือ เราหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหนัก อาจจะเป็นหมอหรือช่างตัดเสื้อก็ได้มาทำนายคนหนึ่ง นอกจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เราก็ยังมีคนที่จะมาทำนายอีกเป็นหลายสิบคน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คือคนธรรมดาที่มีน้ำหนักตัวมากบ้างน้อยบ้าง และทำงานอาชีพที่หลากหลายแต่ไม่มีใครเชี่ยวชาญในการคิดประมาณการน้ำหนักตัว พวกเขาแต่ละคนก็จะมีความคิดหรือความรู้บางอย่างเช่นเขาอาจจะรู้ว่าน้ำหนักของตัวเองเป็นเท่าไรและถ้านำมาเปรียบเทียบกับคนที่เขาเห็น น้ำหนักตัวของคนที่เขาเห็นจะเป็นเท่าไรอย่างนี้เป็นต้น ประเด็นสำคัญก็คือ เขาจะต้องตั้งใจที่จะทายให้ถูกจริง ๆ เพราะการทายถูกหรือใกล้เคียงจะมีรางวัลตอบแทนให้ ผลของการประมาณการน้ำหนักตัวที่กล่าวนี้ ปรากฏว่า คนที่ทายได้ใกล้เคียงที่สุดนั้น ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือเซียนเรื่องน้ำหนักตัวครับ แต่เป็นอย่างที่พูดแล้ว นั่นคือ น้ำหนักตัวของคนที่ถูกทายใกล้เคียงกับ “ค่าเฉลี่ย” ของการทายหรือประมาณการของทุกคน เซอร์ไพร้ส์ไหมครับ
ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับทฤษฎีตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพนะครับ เพราะถ้าผมเชื่อก็คงไม่มาเป็น VI เลือกหุ้นลงทุนอยู่ทุกวันนี้ ว่าที่จริง ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เชื่อว่าพฤติกรรมของคนนั้นไม่ใช่ว่าจะมีเหตุผลเสมอไป ดังนั้น ราคาหุ้นในตลาดก็อาจจะเพี้ยนไปจากมูลค่าที่แท้จริงได้ และผมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไปครับ
ส่วนเรื่องราคาปัจจุบัน เป็นราคา fair value ผมค่อนข้างเห็นด้วยว่า
ราคาตลาดปัจจุบัน = ราคาหุ้นที่เหมาะสม ณ เวลานั้นๆ (ในสภาวะที่ตลาดปกติ ไม่โลภ กลัว มากจนเกินไป) = ราคาหรือมูลค่า ที่ทุกๆ คนที่ถือหุ้นนั้นอยู่ (กองทุน ต่างชาิติ รายย่อย โบรค นักเก็งกำไร นักลงทุน) ให้ราคาไว้ ณ เวลานั้นๆ ครับ
ตามมุมมองจากบทความนี้ครับ
ราคาหุ้นที่เหมาะสม
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 7 เมษายน 2011
เวลาที่เราพิจารณาหรือวิเคราะห์ว่าราคาของหุ้นตัวหนึ่งเหมาะสมหรือไม่? มันแพงเกินไปหรือถูกเกินไป เราทำอย่างไร? เรารู้ได้อย่างไร? Value Investor โดยเฉพาะที่ “เชี่ยวชาญ” เกี่ยวกับตัวเลขและการคำนวณ รวมถึงการวิเคราะห์อนาคตของกิจการ ก็จะบอกว่าเรา “รู้” เพราะว่าเราสามารถคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงหรือ Intrinsic Value ของกิจการได้ มูลค่าที่แท้จริงนั้น มีวิธีการหาได้หลายแบบ ตัวที่ง่ายที่สุดก็คือการใช้ค่า PE ของหุ้น อาจจะเป็นค่า PE ในอดีตย้อนหลังไปหนึ่งปี หรืออาจจะเป็นค่า PE ที่มองไปในอนาคตหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า E หรือกำไรต่อหุ้นของปีที่ผ่านมาของบริษัทเท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น และบริษัทเป็นกิจการที่ “โตเร็ว” คาดว่ากำไรจะโตถึงปีละ 20% ต่อปีและจะโตไปอีกหลายปี หุ้นแบบนี้น่าจะสามารถมีค่า PE สูงถึงประมาณ 20 เท่า ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมควรที่จะเท่ากับ 1 คูณด้วย 20 หรือ 20 บาทต่อหุ้น หลังจากนั้นเราก็มาดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาท เราก็บอกว่านี่คือหุ้นที่มีราคา “ถูก” ควรที่เราจะซื้อไว้ ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทต่อหุ้น เราก็บอกว่าราคา “ยุติธรรม” และถ้าราคาหุ้นในขณะนั้นเท่ากับ 30 บาท เราก็บอกว่าหุ้นมีราคา “แพง” กว่าพื้นฐาน
ในหุ้นตัวเดียวกันนั้นเอง แต่วิเคราะห์โดย VI อีกคนหนึ่งอาจจะมองว่า บริษัทอาจจะโตขึ้น 20% ก็จริง แต่เป็นการโตแค่ปีเดียวเนื่องจากเป็นเรื่องของภาวะอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวยไม่ได้เป็นการเติบโตที่ยั่งยืน หลังจากนั้นแล้วการเติบโตก็เป็นปกติประมาณปีละ 10% ดังนั้นค่า PE ของหุ้นจึงควรที่จะเป็น 10 เท่า ดังนั้น สำหรับ VI รายนี้ก็จะบอกว่า ถ้าหุ้นราคา 10 บาท ก็เป็นราคาที่ยุติธรรม ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทก็ถือว่าแพงมาก และถ้าราคาเท่ากับ 30 บาทก็ถือว่าแพงสุด ๆ ต้องรีบขายทิ้ง
VI อีกคนหนึ่งอาจมองว่าการใช้ PE ในอดีตสำหรับหุ้นตัวนี้ไม่เหมาะสมเพราะบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงใน “พื้นฐาน” อย่างสำคัญ กำไรที่เห็นยังไม่สะท้อน “พื้นฐานใหม่” ดังนั้นเขาจึงใช้ PE ในอนาคต นั่นก็คือ เขาจะคาดการณ์กำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งเขาคาดว่าจะทำได้ถึง 2 บาทต่อหุ้น และเขาคิดว่าบริษัทจะโตเร็วมากหลังจากนั้นคือโตได้ถึง 20% ต่อปีไปอีกหลายปี ดังนั้น ค่า PE ของหุ้นก็ควรจะเป็น 20 เท่า ซึ่งก็ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นเท่ากับ 2 คูณด้วย 20 เท่ากับ 40 บาทต่อหุ้น ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นในปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น หุ้นตัวนี้ก็ถูกสุด ๆ เช่นเดียวกันที่ราคา 20 บาทก็ยังถูกมาก มี Margin of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยถึง 50% และแม้ว่าหุ้นจะราคา 30 บาทต่อหุ้น หุ้นก็ยังถูกอยู่ดีมีโอกาสกำไรได้อีก 33%
ถ้าจะถามว่าใครวิเคราะห์หรือ “ทาย” ถูก? คำตอบก็คือ ในวันที่วิเคราะห์และตัดสินใจซื้อขายหุ้นนั้น ไม่มีใครรู้ คำตอบที่แท้จริงคงจะต้องรอเวลาอีกหลายปี และเมื่อถึงวันนั้น สถานการณ์ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอีก อย่างไรก็ตาม เราก็คงจะพอมองออกเมื่อถึงวันนั้นว่าบริษัทเป็นอย่างไร มีกำไรเติบโตแบบไหน และใครน่าจะเป็นคนที่ “ทาย” ถูก และ แน่นอน ราคาหุ้นหลังจากที่ผ่านไปอาจจะ 2-3 ปีหรือ 3-4 ปีจะเป็นเครื่องยืนยันว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้อง แต่ประเด็นก็คือ คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไม่อยากรู้ว่าอีก 3 ปีราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร เขาอยากรู้ว่าราคาหุ้นตอนนี้ถูกหรือแพงและมันจะวิ่งขึ้นหรือลงไปหา “มูลค่าที่แท้จริง” และมูลค่าที่แท้จริงคือเท่าไร?
และนี่จึงนำมาสู่ทฤษฎีว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้องที่สุด? VI คนที่หนึ่ง VI คนที่สองหรือคนที่สาม? หรือนักเล่นหุ้นทั่ว ๆ ไปที่เน้นเก็งกำไรเป็นหลักที่บังเอิญเข้ามาเล่นหุ้นตัวเดียวกัน? คำตอบจากการศึกษาโดยการทดลองภายใต้สมมุติฐานหนึ่งเช่น สมมุติว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นเป็นคนที่มีเหตุผลพอสมควรและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ในระดับปกติ เป็นคนที่ซีเรียสในการตัดสินใจลงทุนเพราะเป็นเรื่องที่มีผลประโยชน์ของตัวเองเป็นเดิมพัน เป็นต้น คำตอบที่ได้ก็คือ ไม่ใช่ VI ที่ “อนุรักษ์นิยม” ไม่ใช่ VI ที่ “กล้าหาญชาญชัย” ไม่ใช่ VI “ระดับเทพ” และก็ไม่ใช่ “นักเก็งกำไรตัวยง” หรือ “นักเก็งกำไรสมัครเล่น” แต่เป็น “ค่าเฉลี่ย” ของนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นทุกคน และค่าเฉลี่ยที่ว่านี้ก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” เพราะราคาหุ้นในตลาดนั้น เป็นตัวสะท้อน “ความเห็น” ของทุกคน และโดยนัยนี้ มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของหุ้นก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” ดังนั้น หุ้นในตลาดจึงไม่มีคำว่าถูกหรือแพงกว่าพื้นฐาน หุ้นในตลาดนั้น ตามทฤษฎีและภายใต้การทดลองที่มีข้อสมมุติฐานที่มีเหตุผลนั้น มีราคาที่ยุติธรรมเหมาะสมตามพื้นฐานของมัน ไม่มี “เซียน” คนไหนคำนวณมูลค่าหุ้นได้แม่นยำเท่า “ตลาด” และนี่ก็คือ ทฤษฎีที่เรียกว่า “ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพ” ซึ่ง “ทรงพลัง” มาก
ทำไม “ค่าเฉลี่ย” จึงแม่นหรือเก่งกว่า “เซียน” ในการคาดการณ์มูลค่าหุ้นหรืออีกหลาย ๆ เรื่อง คำตอบคงยาวมาก แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่า ค่าเฉลี่ยนั้นเกิดจากการนำข้อมูล ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และอื่น ๆ ของแต่ละคนมารวมกัน เปรียบคล้าย ๆ กับการต่อพ่วงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันแล้วช่วยกันทำงาน ผลที่ออกมาจึงเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ตัวเดียวที่แม้จะเก่งและมีพลังมาก แต่ก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นี่ฟังดูหลายคนอาจจะไม่ค่อยเชื่อว่าคนหลายคนที่ไม่ได้มานั่ง “สุมหัว” กัน แต่ต่างคนต่างทำจะสามารถนำข้อมูลมารวมกันได้ แต่นี่เป็นเรื่องจริง มีการทดลองแล้วพบว่ามันจริง ผมจำไม่ได้ชัดว่าเป็นเรื่องอะไร แต่จะเป็นแนวต่อไปนี้
สมมุติว่าเราต้องการทำนาย น้ำหนักตัวของคน ๆ หนึ่ง วิธีการก็คือ เราหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหนัก อาจจะเป็นหมอหรือช่างตัดเสื้อก็ได้มาทำนายคนหนึ่ง นอกจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เราก็ยังมีคนที่จะมาทำนายอีกเป็นหลายสิบคน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คือคนธรรมดาที่มีน้ำหนักตัวมากบ้างน้อยบ้าง และทำงานอาชีพที่หลากหลายแต่ไม่มีใครเชี่ยวชาญในการคิดประมาณการน้ำหนักตัว พวกเขาแต่ละคนก็จะมีความคิดหรือความรู้บางอย่างเช่นเขาอาจจะรู้ว่าน้ำหนักของตัวเองเป็นเท่าไรและถ้านำมาเปรียบเทียบกับคนที่เขาเห็น น้ำหนักตัวของคนที่เขาเห็นจะเป็นเท่าไรอย่างนี้เป็นต้น ประเด็นสำคัญก็คือ เขาจะต้องตั้งใจที่จะทายให้ถูกจริง ๆ เพราะการทายถูกหรือใกล้เคียงจะมีรางวัลตอบแทนให้ ผลของการประมาณการน้ำหนักตัวที่กล่าวนี้ ปรากฏว่า คนที่ทายได้ใกล้เคียงที่สุดนั้น ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือเซียนเรื่องน้ำหนักตัวครับ แต่เป็นอย่างที่พูดแล้ว นั่นคือ น้ำหนักตัวของคนที่ถูกทายใกล้เคียงกับ “ค่าเฉลี่ย” ของการทายหรือประมาณการของทุกคน เซอร์ไพร้ส์ไหมครับ
ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับทฤษฎีตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพนะครับ เพราะถ้าผมเชื่อก็คงไม่มาเป็น VI เลือกหุ้นลงทุนอยู่ทุกวันนี้ ว่าที่จริง ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เชื่อว่าพฤติกรรมของคนนั้นไม่ใช่ว่าจะมีเหตุผลเสมอไป ดังนั้น ราคาหุ้นในตลาดก็อาจจะเพี้ยนไปจากมูลค่าที่แท้จริงได้ และผมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไปครับ
- picklife
- Verified User
- โพสต์: 2565
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 10
ผมว่าคร่าวๆพอได้ครับแต่แค่คร่าวๆเพื่อfillterหุ้นออกมาก600ตัวในตลาดนะครับ
แต่ถ้าดูละเอียดอาจจะต้องระวังคือ
1.เรื่องFairValueอย่างที่พี่Newbie12บอก คือถ้าวันนี้ราคานี้เทรดได้peที่สูงเพราะนักลงทุนคาดหวังการโตอีก5ปี แต่ถ้าหลังจาก5ปีไม่สามารถโตได้ในอัตราเดิมในอีก5ปีต่อไป ผมไม่เชื่อว่าตอนนั้นตลาดจะให้peเท่าเดิม ดังนั้นถ้าเกิดในเคสแบบนี้อีก5ปีราคาอาจจะต่ำกว่าที่มองไว้พอสมควร
2.ปกติถ้าgpmเท่าเดิม แล้วFixcostสูงมากๆ อาจจะเห็นรายได้โต10%แต่กำไรโต40% แบบนี้คุณอาจจะประเมินบ.แบบนี้ต่ำไป หรือบางบ.Fixcostต่ำมากๆรายได้โต25%แต่กำไรคุณอาจจะโตแค่28% กลายเป็นว่าคุณปิดโอกาสเจอหุ้นแบบแรกเพียงเพราะคุณมองแต่รายได้ไม่ได้มองกำไร
ปล.ในเคสที่gpmเปลี่ยน คุณอาจจะสังเกตุเห็น แต่มือใหม่อาจจะไม่เห็น อาจจะเป็นกับดักหากเราไปฝึกให้เขามองอะไรง่ายๆ
สรุปผมว่าก็ใช้ได้ครับคร่าวๆ ใช้เพื่อคัดหุ้นคร่าวๆ ให้เหลือแค่ไม่กี่ตัว แต่พอมาพิจารณาจริงๆมองไปที่กำไรน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าปะครับ
แต่ถ้าดูละเอียดอาจจะต้องระวังคือ
1.เรื่องFairValueอย่างที่พี่Newbie12บอก คือถ้าวันนี้ราคานี้เทรดได้peที่สูงเพราะนักลงทุนคาดหวังการโตอีก5ปี แต่ถ้าหลังจาก5ปีไม่สามารถโตได้ในอัตราเดิมในอีก5ปีต่อไป ผมไม่เชื่อว่าตอนนั้นตลาดจะให้peเท่าเดิม ดังนั้นถ้าเกิดในเคสแบบนี้อีก5ปีราคาอาจจะต่ำกว่าที่มองไว้พอสมควร
2.ปกติถ้าgpmเท่าเดิม แล้วFixcostสูงมากๆ อาจจะเห็นรายได้โต10%แต่กำไรโต40% แบบนี้คุณอาจจะประเมินบ.แบบนี้ต่ำไป หรือบางบ.Fixcostต่ำมากๆรายได้โต25%แต่กำไรคุณอาจจะโตแค่28% กลายเป็นว่าคุณปิดโอกาสเจอหุ้นแบบแรกเพียงเพราะคุณมองแต่รายได้ไม่ได้มองกำไร
ปล.ในเคสที่gpmเปลี่ยน คุณอาจจะสังเกตุเห็น แต่มือใหม่อาจจะไม่เห็น อาจจะเป็นกับดักหากเราไปฝึกให้เขามองอะไรง่ายๆ
สรุปผมว่าก็ใช้ได้ครับคร่าวๆ ใช้เพื่อคัดหุ้นคร่าวๆ ให้เหลือแค่ไม่กี่ตัว แต่พอมาพิจารณาจริงๆมองไปที่กำไรน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าปะครับ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 430
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 11
TLSS เขียน:ตัวอย่าง
CPF ปัจจุบัน รายได้ 180,000 ล้านบาท ราคาหุ้นปัจจุบัน 32 บาท/หุ้น > อีก 5 ปี บริัษัทตั้งเป้าหมาย รายได้ 600,000 ล้านบาท ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 5 ปี ประมาณ 96 บาท/หุ้น
ต้องดูว่า รายได้มาจากส่วนไหนบ้าง แล้วสัดส่วนรายได้เท่าไรบ้าง เพราะถ้าเขาคิดว่าจะเพิ่มรายได้ โดยเพิ่มจากกลุ่มfeed กำไรก็จะขึ้นน้อย แต่ถ้ามาจาก food ก็เหนื่อย ราคาขึ้นๆลงๆ แต่ถ้ามาจาก food กำไรจะพุ่งกระฉูดเลย โดยรวมเป็นการประมาณที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ อย่าลืม คนชอบกำไรต่อหุ้น
MINT ปัจจุบัน โรงแรม 77 แห่ง ร้านอาหาร 1,274 แห่ง ราคาหุ้นปัจจุบัน 16 บาท/หุ้น > อีก 4 ปี บริษัทตั้งเป้าหมาย โรงแรม 140 แห่ง ร้านอาหาร 2,700 แห่ง ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 4 ปี ประมาณ 32 บาท/หุ้น
เป็นการคิดว่า เพิ่ม โรงแรม ร้านอาหาร 2 เท่า ราคาหุ้นก็จะเพิ่ม 2 เท่าไปด้วย ซึ่งเป็นไปได้ แต่ที่ผมคาดไว้นะ
น่าจะทำให้ รายได้เพิ่ม แต่ไม่ถึง2เท่า (เพราะร้านแรกๆที่เปิด ย่อมเปิดที่ทำเล คนเยอะ กว่าร้านหลังๆ) ทำให้รายได้ 1274ร้านแรก มากกว่า 2700-1274 ร้านที่เปิดตามมา
แต่ กำไรอาจจะมากกว่า 2 เท่า เพราะถ้ามีการบริหารที่ดี จะทำให้มาร์จิ้นสูงได้ง่ายขึ้น ประหยัดต้นทุนทางเงินได้เยอะ เช่น ค่าขนส่ง ค่าความประหยัดขนาด
ปล ความเห็นส่วนตัว
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 12
picklife เขียน:ผมว่าคร่าวๆพอได้ครับแต่แค่คร่าวๆเพื่อfillterหุ้นออกมาก600ตัวในตลาดนะครับ
แต่ถ้าดูละเอียดอาจจะต้องระวังคือ
1.เรื่องFairValueอย่างที่พี่Newbie12บอก คือถ้าวันนี้ราคานี้เทรดได้peที่สูงเพราะนักลงทุนคาดหวังการโตอีก5ปี แต่ถ้าหลังจาก5ปีไม่สามารถโตได้ในอัตราเดิมในอีก5ปีต่อไป ผมไม่เชื่อว่าตอนนั้นตลาดจะให้peเท่าเดิม ดังนั้นถ้าเกิดในเคสแบบนี้อีก5ปีราคาอาจจะต่ำกว่าที่มองไว้พอสมควร
2.ปกติถ้าgpmเท่าเดิม แล้วFixcostสูงมากๆ อาจจะเห็นรายได้โต10%แต่กำไรโต40% แบบนี้คุณอาจจะประเมินบ.แบบนี้ต่ำไป หรือบางบ.Fixcostต่ำมากๆรายได้โต25%แต่กำไรคุณอาจจะโตแค่28% กลายเป็นว่าคุณปิดโอกาสเจอหุ้นแบบแรกเพียงเพราะคุณมองแต่รายได้ไม่ได้มองกำไร
ปล.ในเคสที่gpmเปลี่ยน คุณอาจจะสังเกตุเห็น แต่มือใหม่อาจจะไม่เห็น อาจจะเป็นกับดักหากเราไปฝึกให้เขามองอะไรง่ายๆ
สรุปผมว่าก็ใช้ได้ครับคร่าวๆ ใช้เพื่อคัดหุ้นคร่าวๆ ให้เหลือแค่ไม่กี่ตัว แต่พอมาพิจารณาจริงๆมองไปที่กำไรน่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าปะครับ
ขอบคุณมากๆ ครับ คุณ picklife
1. เรื่อง Fair Value นี่แหละครับ คือประเด็นที่ผมสับสนอยู่ในตอนนี้ ว่าจริงๆ มันเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว หรือเป็นราคาที่ + ความคาดหวัง ไปแล้ว ... แต่ผมขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ จาก "ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ" นักลงทุนมีหลายกลุ่ม นักลงทุนระยะยาว นักเก็งกำไร กองทุน ต่างชาติ ทุกๆ คน มี Time Frame ในการซื้อ ขาย หุ้นต่างกัน มีความคาดหวังต่างกัน ... ทำให้การประเมินมูลค่าหุ้นต่างกัน แต่ท้ายสุดพอมาเฉลี่ยแล้ว จึงแสดงมาเป็นราคาตลาด ณ ปัจจุบัน (ในสภาวะตลาดปกติ ที่ไม่โลภ หรือ กลัว จนเกินไป) ... Point นี้ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจจริงๆ ครับ ว่า ราคาตลาดปัจจุบัน คือ ราคา Fair Value หรือ ราคา + ความคาดหวังในอนาคตไปแล้ว
2. เรื่อง profit margin คงต้องไปวิเคราะห์ละเอียดต่อครับ
- pongo
- Verified User
- โพสต์: 1075
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 14
การประเมินมูลค่าหุ้นแบบนี้ มันหยาบเกินไปครับ (หยาบมากเกินไป คหสต. นะครับ)
แล้วก็ยังเป็นการดูแต่ข้อมูลเชิงปริมาณ ยังขาดการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
แนะนำว่าให้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเยอะๆ ครับ
(ในความคิดผม บัฟเฟต์และลินซ์ คือสุดยอดนักลงทุนในดวงใจแล้ว)
ลองดูว่า 2 คนนี้ เขาเลือกหุ้นกันยังไง แล้วลองมาถกประเด็นกันใหม่ครับ
แล้วก็ยังเป็นการดูแต่ข้อมูลเชิงปริมาณ ยังขาดการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ
แนะนำว่าให้อ่านหนังสือเกี่ยวกับการลงทุนเยอะๆ ครับ
(ในความคิดผม บัฟเฟต์และลินซ์ คือสุดยอดนักลงทุนในดวงใจแล้ว)
ลองดูว่า 2 คนนี้ เขาเลือกหุ้นกันยังไง แล้วลองมาถกประเด็นกันใหม่ครับ
- picklife
- Verified User
- โพสต์: 2565
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 16
บางกลุ่มบ้านเราpeสูงกว่าเพื่อนบ้านมากๆ...มากจนคิดว่าover valueมากๆ...แต่มันก็overไปเรื่อยๆTLSS เขียน: 1. เรื่อง Fair Value นี่แหละครับ คือประเด็นที่ผมสับสนอยู่ในตอนนี้ ว่าจริงๆ มันเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว หรือเป็นราคาที่ + ความคาดหวัง ไปแล้ว ... แต่ผมขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ครับ จาก "ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ" นักลงทุนมีหลายกลุ่ม นักลงทุนระยะยาว นักเก็งกำไร กองทุน ต่างชาติ ทุกๆ คน มี Time Frame ในการซื้อ ขาย หุ้นต่างกัน มีความคาดหวังต่างกัน ... ทำให้การประเมินมูลค่าหุ้นต่างกัน แต่ท้ายสุดพอมาเฉลี่ยแล้ว จึงแสดงมาเป็นราคาตลาด ณ ปัจจุบัน (ในสภาวะตลาดปกติ ที่ไม่โลภ หรือ กลัว จนเกินไป) ... Point นี้ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจจริงๆ ครับ ว่า ราคาตลาดปัจจุบัน คือ ราคา Fair Value หรือ ราคา + ความคาดหวังในอนาคตไปแล้ว
บางกลุ่มบ้านเราpeต่ำกว่าเพื่อนบ้านมากๆ...ต่ำจนคิดว่าunder valueมากๆ...แต่มันก็underไปเรื่อยๆ
โดนส่วนตัวสุดๆ ผมคิดว่าอย่างเรามองไป5ปีแล้วไปตัดสินว่าปีที่5ตลาดจะเล่นกันpeแบบนี้ไหม?
ผมว่ามันเป็นการคาดการณ์มากจนเกินไป แต่ถ้าเรามองสั้นลงเช่น1-2ปี และมองต่อไปอีก1-2ปียังโตได้ในอัตราการโตแบบนี้ ผมเชื่อว่าpeไม่น่าจะเปลี่ยน ดังนั้นผมว่าที่คุณTLSSมอง5ปีแล้วเป็นจริงแล้วโตในอัตราเดิม
ผมว่าช่วง1-3ปีpeไม่น่าเปลี่ยน แต่หลังจากนั้นไม่แน่!!! ดังนั้นผมว่ามองยาว3-5ปีเพื่อลงทุน1-2ปีน่าจะโอเคที่สุด แล้วพอครบ1-2ปีก็ทำแบบเดิมเรื่อยๆ น่าจะโอเค แต่ไม่ใช่มอง5ปีเพื่อลงทุน5ปีแบบนี้อาจจะมีโอกาสพลาดสูงครับ
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
-
- Verified User
- โพสต์: 469
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 18
ด้วยความเคารพและห่วงใยนะครับ
คิดว่า คุณอาจจะรีบร้อนที่จะลงทุนมากเกินไป
กระตือรือล้นมากเกินไป และไม่แน่อาจจะโลภมากเกินไปด้วย
แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากทำกำไรด้วยวิธีแบบไหนนะครับ
ถ้าเป็นอย่างที่คุณว่า การที่ฟังผู้บริหาร ว่าเป้าหมายเป็นเท่านั้นเท่านี้
แล้วเอาราคาปัจจุบัน ไปหามูลค่าได้เลย ผมคิดว่ามันง่ายไปหน่อย
ซึ่งก็ไม่แน่ คุณอาจเป็นคนที่โชคดี เทพเจ้าแห่งการลงทุนอยู่ข้างคุณ
ทุกอย่างเป็นจริงดังที่ว่ามา คุณก็กำไรเป็นเด้งๆ ถ้าอย่างนั้นผมก็ยินดีด้วย
แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ เงินที่คุณอุตส่าเอามาลงทุนก็อาจหายวับไปกับตาได้
นักลงทุนที่ดี ผมเชื่อว่าจะเป็นคนที่ควบคุมโชคชะตาตัวเองเอาไว้กับตัวมากกว่า
ถ้าโชคดีด้วยก็เป็นของแถม ดังนั้น คุณต้องเรียนรู้หลักการ และวิธีการที่ถูกต้องก่อน
คุณต้องรู้ตัวเองก่อนว่า ลงทุนไปทำไม ต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ และจะทำได้ยังไง
การที่ไปเห็นคนอื่น ไม่ว่าจะใครก็ตาม ได้กำไรเท่านั้นเท่านี้ โดยวิธีนั้นวิธีนี้
อาจทำให้ไขว้เขวได้ เพราะการลงทุนมันยากกว่าที่ตาเห็นนะครับ
คุณไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ทบทวนหลักการให้แม่นๆ ซื้อหุ้นคือการซื้อธุรกิจ
คุณคงไม่ไปลงทุนเปิดร้านกาแฟกับเพื่อนคุณ (หรือใครก็ไม่รู้ ถ้าเป็นในตลาดหุ้น)
เพียงแค่เพราะเขาบอกว่า อีกสามปี ห้าปี จะขยายสาขา จะโตเป็นกี่เท่าๆ ใช่ไหมครับ
สิ่งที่ต้องทำคือ พยายามเข้าใจธุรกิจให้มากกว่านี้ เข้าใจที่มาของ กำไร และการเติบโต ให้มากกว่านี้
ได้เห็นมุมมอง กลยุทธ์ และความซื่อสัตย์ของผู้บริหารก่อน แล้วคุณจะพอรู้ว่ามันเป็นธุรกิจที่ดีหรือไม่ดียังไง
แล้วตอบตัวเองให้ได้ว่า มันดียังไง มันจะโตหรือได้กำไรจากไหน แล้วทำไมมันถึงต้องเป็นอย่างนั้น
แล้วคุณค่อยถามตัวเองว่ามันควรจะราคาเท่าไหร่ ราคานี้ปลอดภัยแค่ไหนถ้าทุกอย่างไม่เป็นดังคาด
ถ้ามันยังไม่ใช่โอกาสที่ดี(หรือดีที่สุด) "รอ" รอก่อนก็ได้ครับ ไม่ต้องกลัวตกรถหรอกครับ ตลาดหุ้นมีโอกาสเสมอ
สุดท้ายนี้ นอกจากหลักการ 3 ข้อ ของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าแล้ว (หุ้น=ธุรกิจ ,mr market ,MOS)
คุณก็ค่อยๆเรียนรู้วิธีการไป จากการอ่านหนังสือ การพูดคุย การคิดวิเคราะห์ และการทำการบ้านหนักๆ
ค่อยๆทำความเข้าใจตัวเอง วิธีการลงทุนของตัวเอง เรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดต่างๆ
แล้ววันนึง ผมจะไปขอหุ้นจากคุณ ฮา
หนุกหนานในการลงทุนนะคร้าบบบบบ
คิดว่า คุณอาจจะรีบร้อนที่จะลงทุนมากเกินไป
กระตือรือล้นมากเกินไป และไม่แน่อาจจะโลภมากเกินไปด้วย
แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยากทำกำไรด้วยวิธีแบบไหนนะครับ
ถ้าเป็นอย่างที่คุณว่า การที่ฟังผู้บริหาร ว่าเป้าหมายเป็นเท่านั้นเท่านี้
แล้วเอาราคาปัจจุบัน ไปหามูลค่าได้เลย ผมคิดว่ามันง่ายไปหน่อย
ซึ่งก็ไม่แน่ คุณอาจเป็นคนที่โชคดี เทพเจ้าแห่งการลงทุนอยู่ข้างคุณ
ทุกอย่างเป็นจริงดังที่ว่ามา คุณก็กำไรเป็นเด้งๆ ถ้าอย่างนั้นผมก็ยินดีด้วย
แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ เงินที่คุณอุตส่าเอามาลงทุนก็อาจหายวับไปกับตาได้
นักลงทุนที่ดี ผมเชื่อว่าจะเป็นคนที่ควบคุมโชคชะตาตัวเองเอาไว้กับตัวมากกว่า
ถ้าโชคดีด้วยก็เป็นของแถม ดังนั้น คุณต้องเรียนรู้หลักการ และวิธีการที่ถูกต้องก่อน
คุณต้องรู้ตัวเองก่อนว่า ลงทุนไปทำไม ต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่ และจะทำได้ยังไง
การที่ไปเห็นคนอื่น ไม่ว่าจะใครก็ตาม ได้กำไรเท่านั้นเท่านี้ โดยวิธีนั้นวิธีนี้
อาจทำให้ไขว้เขวได้ เพราะการลงทุนมันยากกว่าที่ตาเห็นนะครับ
คุณไม่จำเป็นต้องรีบร้อน ทบทวนหลักการให้แม่นๆ ซื้อหุ้นคือการซื้อธุรกิจ
คุณคงไม่ไปลงทุนเปิดร้านกาแฟกับเพื่อนคุณ (หรือใครก็ไม่รู้ ถ้าเป็นในตลาดหุ้น)
เพียงแค่เพราะเขาบอกว่า อีกสามปี ห้าปี จะขยายสาขา จะโตเป็นกี่เท่าๆ ใช่ไหมครับ
สิ่งที่ต้องทำคือ พยายามเข้าใจธุรกิจให้มากกว่านี้ เข้าใจที่มาของ กำไร และการเติบโต ให้มากกว่านี้
ได้เห็นมุมมอง กลยุทธ์ และความซื่อสัตย์ของผู้บริหารก่อน แล้วคุณจะพอรู้ว่ามันเป็นธุรกิจที่ดีหรือไม่ดียังไง
แล้วตอบตัวเองให้ได้ว่า มันดียังไง มันจะโตหรือได้กำไรจากไหน แล้วทำไมมันถึงต้องเป็นอย่างนั้น
แล้วคุณค่อยถามตัวเองว่ามันควรจะราคาเท่าไหร่ ราคานี้ปลอดภัยแค่ไหนถ้าทุกอย่างไม่เป็นดังคาด
ถ้ามันยังไม่ใช่โอกาสที่ดี(หรือดีที่สุด) "รอ" รอก่อนก็ได้ครับ ไม่ต้องกลัวตกรถหรอกครับ ตลาดหุ้นมีโอกาสเสมอ
สุดท้ายนี้ นอกจากหลักการ 3 ข้อ ของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าแล้ว (หุ้น=ธุรกิจ ,mr market ,MOS)
คุณก็ค่อยๆเรียนรู้วิธีการไป จากการอ่านหนังสือ การพูดคุย การคิดวิเคราะห์ และการทำการบ้านหนักๆ
ค่อยๆทำความเข้าใจตัวเอง วิธีการลงทุนของตัวเอง เรียนรู้จากประสบการณ์และความผิดพลาดต่างๆ
แล้ววันนึง ผมจะไปขอหุ้นจากคุณ ฮา
หนุกหนานในการลงทุนนะคร้าบบบบบ
Sixth Sense Investor
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 19
การเปรียบเทียบระหว่างราคากับยอดขายก็เป็นการประเมินมูลค่าวิธีนึงครับ ดร.นิเวศน์ ก็ใ้ช้ แต่จะมีรายละเอียดเิ่พิ่มเติมหน่อย
โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR : PSR
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตัวเลขที่บ่งบอกถึงความ "ถูก-แพง" ของราคาหุ้น ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะบอกว่าหุ้นตัวนั้นเป็นหุ้นคุณค่าหรือไม่นั้น ที่สำคัญมีประมาณ 4 ตัวด้วยกัน ตัวแรกและโดดเด่นที่สุด แน่นอนก็คือ PER หรือค่า PE หรือราคาต่อกำไรต่อหุ้นที่เราพูดถึงกันตลอด นี่คือตัวที่ตรงและเข้าใจง่ายที่สุด มันบอกว่าราคาเป็นเท่าไร ต่ำหรือสูง เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรที่บริษัททำได้ ตัวต่อมาก็คือ ค่า PB หรือราคาต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี ตัวนี้บอกว่าราคาเป็นเท่าไร ต่ำหรือสูง เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์สุทธิของบริษัท นี่เป็นแนวที่มองถึงทรัพย์สินมากกว่าการทำกำไร ตัวที่สามก็คือ Dividend Yield หรือค่าปันผลต่อราคาหุ้น ซึ่งมองว่า ถ้าปันผลสูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นก็แปลว่าหุ้นถูก และตัวสุดท้ายก็คือ PSR หรือ PRICE PER SALE RATIO หรือราคาหุ้นต่อยอดขายต่อหุ้นของบริษัท นี่เป็นอัตราส่วนที่ Value Investor ในตลาดหุ้นไทยยังไม่ค่อยใช้กัน บางคนก็ยังไม่รู้ว่านี่เป็นตัวเลขที่สำคัญ ว่าที่จริง อาจจะสำคัญกว่าค่า PE ด้วยซ้ำ
จากการศึกษาในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งมีการทำกันมากมาย ต่างกรรมต่างวาระ ทั้งในหุ้นตัวใหญ่และตัวเล็ก สิ่งที่พอจะพูดได้หยาบๆ ในความเห็นของผมก็คือ ตัวเลขที่บ่งบอกถึงความเป็น "Value" หรือหุ้นที่มีคุณค่าและทำให้คนที่ลงทุนได้กำไรสูงที่สุดนั้น ตัวที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดก็คือ Dividend Yield หรือผลตอบแทนจากปันผล ตัวเลขตัวนี้ ถ้าเราจะใช้ในการเลือกลงทุนที่จะได้ผลดี ก็คือ การลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงสูงเป็นหลัก การซื้อหุ้นทั่วๆ ไปโดยอาศัยจากการดูปันผลจ่ายนั้น ไม่ใคร่จะได้ผล ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าบริษัทแต่ละแห่งมีนโยบายต่างกันในเรื่องการจ่ายปันผล
ตัวเลขที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันก็คือ ค่า PE กับค่า PB โดยที่ค่า PB อาจจะได้เปรียบกว่าเล็กน้อยในหุ้นบางกลุ่ม และนี่ก็เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐานของ Value Investor ที่นักวิชาการนำมาใช้ในการทดสอบดูว่า เป็นหุ้นที่สามารถเอาชนะตลาดได้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม Value Investor ในภาคปฏิบัติส่วนใหญ่ก็มักจะอิงกับค่า PE ในการเลือกลงทุนในหุ้นมากกว่าค่า PB มาก เหตุผลก็คงเป็นว่า การใช้ค่า PB นั้น นักลงทุนอาจจะต้อง "รอ" ว่าเมื่อไรจะมีคนมาเห็นทรัพย์สมบัติที่อาจจะไม่สร้างรายได้ของบริษัท และมาซื้อหุ้นทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปได้ ในขณะที่การใช้ค่า PE นั้น ทุกๆ ไตรมาสที่มีการประกาศงบกำไรขาดทุน ราคาหุ้นมีโอกาสวิ่งขึ้นไปได้ง่ายๆ
ตัวเลขที่ดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ในการที่จะทำกำไรจากการลงทุน ก็คือ ค่า PSR นี่คือตัวเลขที่ไม่มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวัน แต่การที่จะหาค่า PSR ก็ทำได้ไม่ยาก วิธีก็คือ เปิดดูยอดขายรวมของบริษัทในงบการเงินปีที่ผ่านมา หารตัวเลขยอดขายด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทก็จะได้ยอดขายต่อหุ้น เอาตัวเลขนี้ไปหารราคาหุ้นในปัจจุบันก็จะได้ค่า PSR จากการศึกษาข้อมูลในระยะเวลาประมาณ 50 ปี ในตลาดหุ้นสหรัฐ ปรากฏว่า การลงทุนในหุ้นที่มีค่า PSR ต่ำที่สุดนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในหุ้น PE หรือ PB ต่ำที่สุด
ปัญหาของ PSR ก็คือ มันเป็นตัวเลขที่เข้าใจยากและการหาข้อมูลก็ยุ่งยากกว่า รวมทั้งมันยังไม่มีตัวเลขตัวเดียวที่จะบอกได้อย่างคร่าวๆ ว่ามันถูกหรือแพงที่ใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมเหมือนกับตัวเลข PE หรือ PB ในเรื่องของ PE เราอาจจะเปรียบเทียบกับ PE ของตลาดได้ หรือบางคนอาจจะตั้งไว้เลยว่า ค่า PE ที่เกิน 10 เท่า แปลว่าหุ้นแพง หรือค่า PB ที่เกิน 2 เท่า เป็นหุ้นแพง แต่ในเรื่องของ PSR นั้น อุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต อาจจะมียอดขายมาก แต่มีมาร์จิน หรือกำไรต่อยอดขายต่ำ ดังนั้น ค่า PSR อาจจะต่ำกว่าอุตสาหกรรมที่ให้เช่าสำนักงาน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ต่ำแต่มีมาร์จินสูง แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าหุ้นซูเปอร์มาร์เก็ตดีกว่าหุ้นให้เช่าสำนักงาน
ข้อดีของ PSR ที่เหนือกว่าค่า PE ก็คือ มันเป็นตัวเลขที่มีความอ่อนไหวน้อย เนื่องจากยอดขายมักจะมีความมั่นคงและสม่ำเสมอกว่ากำไรมาก ดังนั้น ค่า PSR มักจะเปลี่ยนแปลงช้าถ้าราคาหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ในขณะที่ถ้าเราใช้ค่า PE พอปีต่อไป ตัวเลขกำไรของบริษัทเปลี่ยนแปลงไป ก็ทำให้ค่า PE เปลี่ยนแปลงไปได้มากจนอาจจะไม่เหลือสภาพของหุ้น PE ต่ำ ทั้งที่ราคาหุ้นไม่เพิ่มขึ้นเลย
บางคนอาจจะบอกว่าค่า PSR นั้น ไม่ได้สะท้อนพื้นฐานที่สำคัญ นั่นคือ กำไรของบริษัท เขาอาจจะบอกว่ายอดขายนั้นไม่มีประโยชน์ถ้าขายมากแต่ไม่มีกำไร ดังนั้น ค่า PSR ไม่น่าจะเป็นตัวที่ดูคุณค่าของบริษัทได้ ข้อนี้ผมกลับคิดว่า ค่า PSR อาจจะดีกว่าค่า PE ในแง่ที่ว่า มันน่าจะสะท้อนกำไรของบริษัทในระยะยาวได้ดีกว่า เหตุผลก็คือ กำไรที่จะยั่งยืนนั้นจะต้องมาจากยอดขาย ในหลายๆ บริษัทนั้น เขาถึงกับยอมกำไรน้อยหรือขาดทุนเพื่อเพิ่มยอดขาย เพื่อยึดส่วนแบ่งทางการตลาด เพื่อที่ว่าในอนาคตเขาจะได้เปรียบคู่แข่งและทำกำไรมากขึ้นในภายหลัง ส่วนบริษัทที่กำไรดีในวันนี้แต่ยอดขายต่ำ เขาอาจจะประสบกับอุปสรรคหรือสภาวะทางการตลาดเปลี่ยนแปลง ทำให้กำไรในปีต่อๆ ไปตกต่ำลง
ข้อดีข้อเสียของ PSR เทียบกับ PE หรือ PB ยังมีอีกหลายข้อ การถกเถียงคงไม่จบลงง่ายและคงไม่มีใครถูกหรือใครผิด ประเด็นก็คือ เรารู้ว่าจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละตัวอยู่ที่ไหนและใช้มันประกอบกัน ส่วนตัวผมเองนั้น ทุกครั้งที่พิจารณาเลือกหุ้นลงทุน แน่นอน PE เป็นตัวเลขที่สำคัญมาก แต่ PSR ก็สำคัญพอๆ กัน แต่ผมจะใช้เป็นตัว "ตรวจสอบ" นั่นก็คือ เมื่อดูแล้วว่าหุ้นน่าสนใจ ดูจากค่า PE ก่อนจะตัดสินใจสุดท้าย ผมจะดูว่าค่า PSR เป็นเท่าไร ถ้าค่า PSR สูง เช่นเกิน 1 เท่า ผมก็จะต้องระวังหรือถ้า PSR สูงถึง 2 เท่า ผมอาจจะต้องถอยถ้ากิจการไม่โดดเด่นจริงๆ เป็นต้น และก็เช่นเดียวกัน การใช้ตัวเลข "คุณค่า" เหล่านี้ เป็นเรื่องของศิลปะอยู่ไม่น้อย ดังนั้น ความคิดและวิธีการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผู้ชนะก็คือคนที่สามารถใช้มันได้ดีกว่า
โลกในมุมมองของ VALUE INVESTOR : PSR
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตัวเลขที่บ่งบอกถึงความ "ถูก-แพง" ของราคาหุ้น ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะบอกว่าหุ้นตัวนั้นเป็นหุ้นคุณค่าหรือไม่นั้น ที่สำคัญมีประมาณ 4 ตัวด้วยกัน ตัวแรกและโดดเด่นที่สุด แน่นอนก็คือ PER หรือค่า PE หรือราคาต่อกำไรต่อหุ้นที่เราพูดถึงกันตลอด นี่คือตัวที่ตรงและเข้าใจง่ายที่สุด มันบอกว่าราคาเป็นเท่าไร ต่ำหรือสูง เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรที่บริษัททำได้ ตัวต่อมาก็คือ ค่า PB หรือราคาต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี ตัวนี้บอกว่าราคาเป็นเท่าไร ต่ำหรือสูง เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์สุทธิของบริษัท นี่เป็นแนวที่มองถึงทรัพย์สินมากกว่าการทำกำไร ตัวที่สามก็คือ Dividend Yield หรือค่าปันผลต่อราคาหุ้น ซึ่งมองว่า ถ้าปันผลสูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้นก็แปลว่าหุ้นถูก และตัวสุดท้ายก็คือ PSR หรือ PRICE PER SALE RATIO หรือราคาหุ้นต่อยอดขายต่อหุ้นของบริษัท นี่เป็นอัตราส่วนที่ Value Investor ในตลาดหุ้นไทยยังไม่ค่อยใช้กัน บางคนก็ยังไม่รู้ว่านี่เป็นตัวเลขที่สำคัญ ว่าที่จริง อาจจะสำคัญกว่าค่า PE ด้วยซ้ำ
จากการศึกษาในตลาดหุ้นสหรัฐ ซึ่งมีการทำกันมากมาย ต่างกรรมต่างวาระ ทั้งในหุ้นตัวใหญ่และตัวเล็ก สิ่งที่พอจะพูดได้หยาบๆ ในความเห็นของผมก็คือ ตัวเลขที่บ่งบอกถึงความเป็น "Value" หรือหุ้นที่มีคุณค่าและทำให้คนที่ลงทุนได้กำไรสูงที่สุดนั้น ตัวที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดก็คือ Dividend Yield หรือผลตอบแทนจากปันผล ตัวเลขตัวนี้ ถ้าเราจะใช้ในการเลือกลงทุนที่จะได้ผลดี ก็คือ การลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงสูงเป็นหลัก การซื้อหุ้นทั่วๆ ไปโดยอาศัยจากการดูปันผลจ่ายนั้น ไม่ใคร่จะได้ผล ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าบริษัทแต่ละแห่งมีนโยบายต่างกันในเรื่องการจ่ายปันผล
ตัวเลขที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันก็คือ ค่า PE กับค่า PB โดยที่ค่า PB อาจจะได้เปรียบกว่าเล็กน้อยในหุ้นบางกลุ่ม และนี่ก็เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างเป็นมาตรฐานของ Value Investor ที่นักวิชาการนำมาใช้ในการทดสอบดูว่า เป็นหุ้นที่สามารถเอาชนะตลาดได้จริงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม Value Investor ในภาคปฏิบัติส่วนใหญ่ก็มักจะอิงกับค่า PE ในการเลือกลงทุนในหุ้นมากกว่าค่า PB มาก เหตุผลก็คงเป็นว่า การใช้ค่า PB นั้น นักลงทุนอาจจะต้อง "รอ" ว่าเมื่อไรจะมีคนมาเห็นทรัพย์สมบัติที่อาจจะไม่สร้างรายได้ของบริษัท และมาซื้อหุ้นทำให้หุ้นวิ่งขึ้นไปได้ ในขณะที่การใช้ค่า PE นั้น ทุกๆ ไตรมาสที่มีการประกาศงบกำไรขาดทุน ราคาหุ้นมีโอกาสวิ่งขึ้นไปได้ง่ายๆ
ตัวเลขที่ดูเหมือนว่าจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุด ในการที่จะทำกำไรจากการลงทุน ก็คือ ค่า PSR นี่คือตัวเลขที่ไม่มีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายวัน แต่การที่จะหาค่า PSR ก็ทำได้ไม่ยาก วิธีก็คือ เปิดดูยอดขายรวมของบริษัทในงบการเงินปีที่ผ่านมา หารตัวเลขยอดขายด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทก็จะได้ยอดขายต่อหุ้น เอาตัวเลขนี้ไปหารราคาหุ้นในปัจจุบันก็จะได้ค่า PSR จากการศึกษาข้อมูลในระยะเวลาประมาณ 50 ปี ในตลาดหุ้นสหรัฐ ปรากฏว่า การลงทุนในหุ้นที่มีค่า PSR ต่ำที่สุดนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในหุ้น PE หรือ PB ต่ำที่สุด
ปัญหาของ PSR ก็คือ มันเป็นตัวเลขที่เข้าใจยากและการหาข้อมูลก็ยุ่งยากกว่า รวมทั้งมันยังไม่มีตัวเลขตัวเดียวที่จะบอกได้อย่างคร่าวๆ ว่ามันถูกหรือแพงที่ใช้ได้กับทุกอุตสาหกรรมเหมือนกับตัวเลข PE หรือ PB ในเรื่องของ PE เราอาจจะเปรียบเทียบกับ PE ของตลาดได้ หรือบางคนอาจจะตั้งไว้เลยว่า ค่า PE ที่เกิน 10 เท่า แปลว่าหุ้นแพง หรือค่า PB ที่เกิน 2 เท่า เป็นหุ้นแพง แต่ในเรื่องของ PSR นั้น อุตสาหกรรมบางอย่าง เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ต อาจจะมียอดขายมาก แต่มีมาร์จิน หรือกำไรต่อยอดขายต่ำ ดังนั้น ค่า PSR อาจจะต่ำกว่าอุตสาหกรรมที่ให้เช่าสำนักงาน หรืออสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ต่ำแต่มีมาร์จินสูง แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าหุ้นซูเปอร์มาร์เก็ตดีกว่าหุ้นให้เช่าสำนักงาน
ข้อดีของ PSR ที่เหนือกว่าค่า PE ก็คือ มันเป็นตัวเลขที่มีความอ่อนไหวน้อย เนื่องจากยอดขายมักจะมีความมั่นคงและสม่ำเสมอกว่ากำไรมาก ดังนั้น ค่า PSR มักจะเปลี่ยนแปลงช้าถ้าราคาหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ในขณะที่ถ้าเราใช้ค่า PE พอปีต่อไป ตัวเลขกำไรของบริษัทเปลี่ยนแปลงไป ก็ทำให้ค่า PE เปลี่ยนแปลงไปได้มากจนอาจจะไม่เหลือสภาพของหุ้น PE ต่ำ ทั้งที่ราคาหุ้นไม่เพิ่มขึ้นเลย
บางคนอาจจะบอกว่าค่า PSR นั้น ไม่ได้สะท้อนพื้นฐานที่สำคัญ นั่นคือ กำไรของบริษัท เขาอาจจะบอกว่ายอดขายนั้นไม่มีประโยชน์ถ้าขายมากแต่ไม่มีกำไร ดังนั้น ค่า PSR ไม่น่าจะเป็นตัวที่ดูคุณค่าของบริษัทได้ ข้อนี้ผมกลับคิดว่า ค่า PSR อาจจะดีกว่าค่า PE ในแง่ที่ว่า มันน่าจะสะท้อนกำไรของบริษัทในระยะยาวได้ดีกว่า เหตุผลก็คือ กำไรที่จะยั่งยืนนั้นจะต้องมาจากยอดขาย ในหลายๆ บริษัทนั้น เขาถึงกับยอมกำไรน้อยหรือขาดทุนเพื่อเพิ่มยอดขาย เพื่อยึดส่วนแบ่งทางการตลาด เพื่อที่ว่าในอนาคตเขาจะได้เปรียบคู่แข่งและทำกำไรมากขึ้นในภายหลัง ส่วนบริษัทที่กำไรดีในวันนี้แต่ยอดขายต่ำ เขาอาจจะประสบกับอุปสรรคหรือสภาวะทางการตลาดเปลี่ยนแปลง ทำให้กำไรในปีต่อๆ ไปตกต่ำลง
ข้อดีข้อเสียของ PSR เทียบกับ PE หรือ PB ยังมีอีกหลายข้อ การถกเถียงคงไม่จบลงง่ายและคงไม่มีใครถูกหรือใครผิด ประเด็นก็คือ เรารู้ว่าจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละตัวอยู่ที่ไหนและใช้มันประกอบกัน ส่วนตัวผมเองนั้น ทุกครั้งที่พิจารณาเลือกหุ้นลงทุน แน่นอน PE เป็นตัวเลขที่สำคัญมาก แต่ PSR ก็สำคัญพอๆ กัน แต่ผมจะใช้เป็นตัว "ตรวจสอบ" นั่นก็คือ เมื่อดูแล้วว่าหุ้นน่าสนใจ ดูจากค่า PE ก่อนจะตัดสินใจสุดท้าย ผมจะดูว่าค่า PSR เป็นเท่าไร ถ้าค่า PSR สูง เช่นเกิน 1 เท่า ผมก็จะต้องระวังหรือถ้า PSR สูงถึง 2 เท่า ผมอาจจะต้องถอยถ้ากิจการไม่โดดเด่นจริงๆ เป็นต้น และก็เช่นเดียวกัน การใช้ตัวเลข "คุณค่า" เหล่านี้ เป็นเรื่องของศิลปะอยู่ไม่น้อย ดังนั้น ความคิดและวิธีการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผู้ชนะก็คือคนที่สามารถใช้มันได้ดีกว่า
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
- Paul Octopus
- Verified User
- โพสต์: 798
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 22
TLSS เขียน:ตัวอย่าง
CPF ปัจจุบัน รายได้ 180,000 ล้านบาท ราคาหุ้นปัจจุบัน 32 บาท/หุ้น > อีก 5 ปี บริัษัทตั้งเป้าหมาย รายได้ 600,000 ล้านบาท ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 5 ปี ประมาณ 96 บาท/หุ้น
MINT ปัจจุบัน โรงแรม 77 แห่ง ร้านอาหาร 1,274 แห่ง ราคาหุ้นปัจจุบัน 16 บาท/หุ้น > อีก 4 ปี บริษัทตั้งเป้าหมาย โรงแรม 140 แห่ง ร้านอาหาร 2,700 แห่ง ดังนั้น ราคาหุ้นอีก 4 ปี ประมาณ 32 บาท/หุ้น
โดยมีสมมติฐาน ดังนี้
1. บริษัททำได้ตามเป้าหมาย
2. ราคาหุ้น แปรตาม กำไร ซึ่งแปรตาม ยอดขาย/การขยายสาขา
3. เป็นการประเมินเพียงคร่าวๆ หยาบๆ เท่านั้นครับ
ยินดีรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากเพื่อนๆ พี่ๆ ครับ
ขอบคุณมากครับ
ดูแบบนี้เพื่อตัดสินใจไม่ได้ครับน้อง
Industry ของทั้งสองตัวเติบโตได้เท่าไหร่ต่อปี?? .....ในขณะที่การเติบโตของบริษัททั้งสองโตเร็วกว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมมากมาย ถ้าเป็นจริงหมายความว่า....
1. ต้องแย่ง Market Share จากคู่แข่ง และ คู่แข่งไม่อยู่ในฐานะที่จะตอบโต้อย่างเป็นผล
2. สามารถ Create demand ใหม่ที่ยังไม่เคยมี (Hidden Demand)ไม่ว่าจะด้วยการออกสินค้าใหม่ หรือ จับกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่เคยใช้ หรือ ให้คนที่ใช้อยู่แล้วใช้มากขึ้น ....
3. มีพื้นฐานการเงินที่แข็งแกร่งยังคงรักษาอัตรา Debt/Equity ไว้ได้ หรืออีกในหนี่งผลประกอบการในปัจจุบันสร้าง Cash ได้อย่างเพียงพอที่จะกู้เพิ่มเพื่อขยายงานได้ขนาดนั้น เรื่องนี้เป็นการมั่นใจได้ว่า ความเสี่ยงด้านการเงินยังเหมือนเดิม
4. พฤติกรรมผู้บริโภคในกลุ่มเป้าหมายไม่ได้เปลี่ยนแปลง ชอบอะไรยังชอบแบบนั้น หรือ ชอบมากขึ้น
5. การดำเนินงานยังคงประสิทธิภาพได้เช่นเดิม Economy of Scales ไม่ถูกลดทอนด้วย Economy of Scopes
6. ความสามารถในการสร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพเท่าเดิม ในจำนวนที่มากเพียงพอกับการขยายงาน (ดูกรณี คุณตัน Oishi ครับ เมื่อบริษัทฯประสบความสำเร็จมากๆ คนเก่งๆจะยังคงอยู่กับองค์กรหรือไม่)
7. ไม่มีความเสี่ยงอื่นใดเกิดขึ้น เช่น สิ่งแวดล้อม กระแสเรื่องการดูแลสุขภาพ ฯลฯ
ที่น้องกล่าวมานั้นเป็นการ Scan ขั้นที่ 1 เท่านั้นครับซี่งผมก็ยังใช้อยู่ เพียงแต่มันขั้นต้นสำหรับฝันหวานเท่านั้น..../Octopus
Disclaimer & Disclosure: The articles posted only represent my personal view. They are by no means a guarantee to the stock performance. Have no plan to change my position to the stock mentioned over the next 72 hrs.
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 23
ราคาตลาดของหุ้น กับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
มันต่างกันนะครับ
ราคาตลาดของหุ้น กับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น จะแกว่งตัวสอดคล้องกันไป(หรือไม่สอดคล้องก็ได้)
ตามแต่มุมมอง และความเห็นต่างๆของนักลงทุน ตามพื้นฐานของตัวธุรกิจนั้นๆ
อุตสาหกรรมนั้นๆ ตามภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่ตัวธุรกิจนั้นๆเกี่ยวข้อง
และเป็นไปตามกลไกตลาดจากการซื้อขายของผู้เล่นต่างๆอีกด้วย(โดยที่ผู้เล่นต่างๆอาจจะ
ไม่ได้มีความคิดความเห็นเหมือนกันเลยในการซื้อขาย นั่นคือมือที่มองไม่เห็นนั่นเอง)
ในระยะสั้นๆ(1วินาที-1ปี)อาจจะไม่เห็นการสอดคล้องกันนัก แต่ในระยะยาวๆ(3-5ปีขึ้นไป) แล้วราคาจะสะท้อนพื้นฐานให้เห็นเป็นระยะๆ
(ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีการใช้เหตุผล อารมณ์ปกติ ฉลาดเลือก และเห็นแก่ตัว อยากได้ผลประโยชน์เข้าตัวเอง)
สำหรับตลาดที่มีราคาซื้อขายให้เห็นนะครับ จะเห็นได้ง่าย แต่ถ้าตลาดที่ไม่ได้มีการซื้อขาย
และมีราคาให้เห็นตลอด ก็จะยากหน่อย เช่น ตลาดอสังหาฯ ตลาดของเก่า ฯลฯ
บางครั้งภาพต่างๆดี ราคาตลาดของหุ้น ก็วิ่งเกินมูลค่าที่แท้จริงไปได้มาก
บางครั้งภาพต่างๆแย่ ราคาตลาดของหุ้น ก็ตกต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้มาก
นักลงทุนที่ชาญฉลาดเข้าใจตรงจุดนี้ และใช้ให้เป็นประโยชน์ในการลงทุนในตลาดหุ้น
ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนระยะสั้น หรือระยะยาว นักลงทุนเทคนิค พื้นฐาน หรือใช้เครื่องมือแบบไหนก็ตาม
ก็จะได้เปรียบ และทำผลตอบแทนได้ดีกว่าเสมอ
นักลงทุนต้องเข้าใจ สินทรัพย์ที่จะลงทุน มูลค่าเชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์นั้น
ที่มาที่ไปของราคาตลาด ที่มาที่ไปของมูลค่าที่แท้จริง Margin of Safety
อารมณ์และพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวเองด้วย
เรื่องเหล่านี้ ยุคนี้หาศึกษาได้ง่ายมากๆเลยครับ อยู่ที่เราต้องพยายามศึกษาให้มากๆ
อะไรที่ดูเหมือนง่าย เบื้องหลังจะซับซ้อน
อะไรที่ซับซ้อน จะมาจากสิ่งที่ดูว่าง่าย
มันต่างกันนะครับ
ราคาตลาดของหุ้น กับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น จะแกว่งตัวสอดคล้องกันไป(หรือไม่สอดคล้องก็ได้)
ตามแต่มุมมอง และความเห็นต่างๆของนักลงทุน ตามพื้นฐานของตัวธุรกิจนั้นๆ
อุตสาหกรรมนั้นๆ ตามภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่ตัวธุรกิจนั้นๆเกี่ยวข้อง
และเป็นไปตามกลไกตลาดจากการซื้อขายของผู้เล่นต่างๆอีกด้วย(โดยที่ผู้เล่นต่างๆอาจจะ
ไม่ได้มีความคิดความเห็นเหมือนกันเลยในการซื้อขาย นั่นคือมือที่มองไม่เห็นนั่นเอง)
ในระยะสั้นๆ(1วินาที-1ปี)อาจจะไม่เห็นการสอดคล้องกันนัก แต่ในระยะยาวๆ(3-5ปีขึ้นไป) แล้วราคาจะสะท้อนพื้นฐานให้เห็นเป็นระยะๆ
(ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีการใช้เหตุผล อารมณ์ปกติ ฉลาดเลือก และเห็นแก่ตัว อยากได้ผลประโยชน์เข้าตัวเอง)
สำหรับตลาดที่มีราคาซื้อขายให้เห็นนะครับ จะเห็นได้ง่าย แต่ถ้าตลาดที่ไม่ได้มีการซื้อขาย
และมีราคาให้เห็นตลอด ก็จะยากหน่อย เช่น ตลาดอสังหาฯ ตลาดของเก่า ฯลฯ
บางครั้งภาพต่างๆดี ราคาตลาดของหุ้น ก็วิ่งเกินมูลค่าที่แท้จริงไปได้มาก
บางครั้งภาพต่างๆแย่ ราคาตลาดของหุ้น ก็ตกต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้มาก
นักลงทุนที่ชาญฉลาดเข้าใจตรงจุดนี้ และใช้ให้เป็นประโยชน์ในการลงทุนในตลาดหุ้น
ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนระยะสั้น หรือระยะยาว นักลงทุนเทคนิค พื้นฐาน หรือใช้เครื่องมือแบบไหนก็ตาม
ก็จะได้เปรียบ และทำผลตอบแทนได้ดีกว่าเสมอ
นักลงทุนต้องเข้าใจ สินทรัพย์ที่จะลงทุน มูลค่าเชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์นั้น
ที่มาที่ไปของราคาตลาด ที่มาที่ไปของมูลค่าที่แท้จริง Margin of Safety
อารมณ์และพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวเองด้วย
เรื่องเหล่านี้ ยุคนี้หาศึกษาได้ง่ายมากๆเลยครับ อยู่ที่เราต้องพยายามศึกษาให้มากๆ
อะไรที่ดูเหมือนง่าย เบื้องหลังจะซับซ้อน
อะไรที่ซับซ้อน จะมาจากสิ่งที่ดูว่าง่าย
-
- Verified User
- โพสต์: 616
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 25
Tibular เขียน:ราคาตลาดของหุ้น กับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น
มันต่างกันนะครับ
ราคาตลาดของหุ้น กับ มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น จะแกว่งตัวสอดคล้องกันไป(หรือไม่สอดคล้องก็ได้)
ตามแต่มุมมอง และความเห็นต่างๆของนักลงทุน ตามพื้นฐานของตัวธุรกิจนั้นๆ
อุตสาหกรรมนั้นๆ ตามภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่ตัวธุรกิจนั้นๆเกี่ยวข้อง
และเป็นไปตามกลไกตลาดจากการซื้อขายของผู้เล่นต่างๆอีกด้วย(โดยที่ผู้เล่นต่างๆอาจจะ
ไม่ได้มีความคิดความเห็นเหมือนกันเลยในการซื้อขาย นั่นคือมือที่มองไม่เห็นนั่นเอง)
ในระยะสั้นๆ(1วินาที-1ปี)อาจจะไม่เห็นการสอดคล้องกันนัก แต่ในระยะยาวๆ(3-5ปีขึ้นไป) แล้วราคาจะสะท้อนพื้นฐานให้เห็นเป็นระยะๆ
(ตราบเท่าที่มนุษย์ยังมีการใช้เหตุผล อารมณ์ปกติ ฉลาดเลือก และเห็นแก่ตัว อยากได้ผลประโยชน์เข้าตัวเอง)
สำหรับตลาดที่มีราคาซื้อขายให้เห็นนะครับ จะเห็นได้ง่าย แต่ถ้าตลาดที่ไม่ได้มีการซื้อขาย
และมีราคาให้เห็นตลอด ก็จะยากหน่อย เช่น ตลาดอสังหาฯ ตลาดของเก่า ฯลฯ
บางครั้งภาพต่างๆดี ราคาตลาดของหุ้น ก็วิ่งเกินมูลค่าที่แท้จริงไปได้มาก
บางครั้งภาพต่างๆแย่ ราคาตลาดของหุ้น ก็ตกต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงได้มาก
นักลงทุนที่ชาญฉลาดเข้าใจตรงจุดนี้ และใช้ให้เป็นประโยชน์ในการลงทุนในตลาดหุ้น
ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนระยะสั้น หรือระยะยาว นักลงทุนเทคนิค พื้นฐาน หรือใช้เครื่องมือแบบไหนก็ตาม
ก็จะได้เปรียบ และทำผลตอบแทนได้ดีกว่าเสมอ
นักลงทุนต้องเข้าใจ สินทรัพย์ที่จะลงทุน มูลค่าเชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์นั้น
ที่มาที่ไปของราคาตลาด ที่มาที่ไปของมูลค่าที่แท้จริง Margin of Safety
อารมณ์และพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงตัวเองด้วย
เรื่องเหล่านี้ ยุคนี้หาศึกษาได้ง่ายมากๆเลยครับ อยู่ที่เราต้องพยายามศึกษาให้มากๆ
อะไรที่ดูเหมือนง่าย เบื้องหลังจะซับซ้อน
อะไรที่ซับซ้อน จะมาจากสิ่งที่ดูว่าง่าย
ขอบคุณคุณ Tibular มากๆ ครับ
ประเด็นที่ผมสับสนในตอนนี้ คือ เรื่อง ราคาตลาดหุ้น VS มูลค่าที่แท้จริง นี่แหละครับ
ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ บอกว่า ราคาตลาดหุ้น ณ เวลาใดๆ คือ ราคาที่เหมาะสม ณ เวลานั้น เพราะได้สะท้อนทุกสิ่งทุกอย่างหมดแล้ว ... แต่จริงๆ แล้วตลาดไม่ได้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เนื่องจากปัจจัยมีปัจจัยด้านอารมณ์โลภ กลัว
ส่วนการหามูลค่าหุ้น เช่น DCF จะพยายามหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ ณ ปัจจุบัน ให้เป็น Net Present Value (ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้มากเท่าไหร่ อยู่ระหว่างศึกษาครับ)
ดังนั้น หากเราสามารถหามูลค่าที่แท้จริง (ถ้าคิดได้ถูกต้อง หรือใกล้เคียงมากๆ) .. แล้วนำมาเปรียบเทียบกับราคาตลาดอีกที แล้วดู Magin of safety เพื่อดูว่า ควรจะลงทุนให้หุ้นนี้หรือไม่ ... ผมเข้าใจแบบนี้ ถูกต้องหรือไม่ ช่วยชี้แนะด้วยครับ
ขอบคุณมากครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3653
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 26
เวลาเรามองอะไรที่มันอยู่ไกลๆ
เราจะเป็นภาพใหญ่
แต่ไม่ละเอียด
ถ้าเราอยากจะมองให้ชัดเจนขึ้น
เราก็ต้องเคลื่อนตัวเข้าไปให้ใกล้กว่าเดิม
เราจะเห็นรายละเอียดดีขึ้น
แต่...
เราจะมองไม่เห็นภาพใหญ่
เวลาผมได้ยินได้ฟังข่าว หรือใคร
มาให้เป้า บ. ว่าจะโตเท่านั้นเท่านี้
ก็เหมือนมีคนมาแนะนำ
หรือชักชวนให้เราไปดูภาพๆ นึง
เราอาจจะมองเห็นอย่างที่เขาเล่ามา
หรืออาจจะเห็น แต่ไม่ชัด
หรืออาจจะมองไม่เห็นเลยก็ได้
แต่... สิ่งที่เขาบอกมา
จะมีจริง เกิดไม่เกิด หรือไม่ก็ได้้
ประเด็นคือ ถ้าเขาจะขายภาพนี้ให้เรา
เราสนใจหรือเปล่า
ถ้าสนใจ ก็กลับไปที่เรื่องเดิมๆ
back to basic
ภาพนี้เป็นการลงทุนที่ดี แล้วก็ปลอดภัยหรือเปล่า ?
เราจะเป็นภาพใหญ่
แต่ไม่ละเอียด
ถ้าเราอยากจะมองให้ชัดเจนขึ้น
เราก็ต้องเคลื่อนตัวเข้าไปให้ใกล้กว่าเดิม
เราจะเห็นรายละเอียดดีขึ้น
แต่...
เราจะมองไม่เห็นภาพใหญ่
เวลาผมได้ยินได้ฟังข่าว หรือใคร
มาให้เป้า บ. ว่าจะโตเท่านั้นเท่านี้
ก็เหมือนมีคนมาแนะนำ
หรือชักชวนให้เราไปดูภาพๆ นึง
เราอาจจะมองเห็นอย่างที่เขาเล่ามา
หรืออาจจะเห็น แต่ไม่ชัด
หรืออาจจะมองไม่เห็นเลยก็ได้
แต่... สิ่งที่เขาบอกมา
จะมีจริง เกิดไม่เกิด หรือไม่ก็ได้้
ประเด็นคือ ถ้าเขาจะขายภาพนี้ให้เรา
เราสนใจหรือเปล่า
ถ้าสนใจ ก็กลับไปที่เรื่องเดิมๆ
back to basic
ภาพนี้เป็นการลงทุนที่ดี แล้วก็ปลอดภัยหรือเปล่า ?
- Tibular
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 522
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 28
ทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ
ขออธิบายง่ายๆนะคับ หลักๆคือ เรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รับเท่าเทียมกันหรือไม่ แล้วก็นักลงทุนมีเหตุผลในการลงทุนหรือไม่
ถ้ามีสิ่งหล่านี้มาก ราคาหุ้นในตลาดก็จะสะท้อนมูลค่าแล้วราคาจะไม่แกว่งมาก
ถ้าน้อยก็ราคาจะแกว่งมาก ราคาหุ้นไม่สะท้อนมูลค่า อาจมีต่ำ มีสูงเกินไปได้
และสุดท้ายกลไกตลาดจะปรับให้ราคาหุ้นมันเหมาะสมกับมูลค่า ไม่ว่าระยะสั้นหรือยาว
ถ้ารับรู้ข้อมูลข่าวสารได้และย่อยได้ดี ผู้ลงทุนมีเหตุผลในการลงทุน สภาพตลาดดี ราคาจะเข้าใกล้มูลค่าที่แท้จริงได้เร็ว(ของดีใครเห็นก็จ้องตาเป็นมัน)
ถ้ามีการได้รับข้อมูลข่าวสารมีความเหลื่อมล่ำ และผู้ลงทุนตกอยู่ในอารมณ์ต่างๆเหตุผลหาย ราคาหุ้นจะไม่เหมาะสมกับมูลค่า(นักลงทุนตกอยู่ในความไม่แน่นอน มึนงง สับสน กลัว โลภ จากปัจจัยต่างๆ) และอาจใช้เวลายาวนานกว่าจะเข้าใกล้มูลค่าที่แท้จริง(ตัวมูลค่านี่มันไม่เป๊ะๆนะครับ ขึ้นกับเหตุและปัจจัยต่างๆ)
การหามูลค่าหุ้น เช่น DCF จะพยายามหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ ณ ปัจจุบัน ให้เป็น Net Present Value
คร่าวๆนะครับ การหามูลค่าหุ้น มีหลายวิธีครับ แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการหามูลค่าทีแท้จริง
มูลค่าที่แท้จริง ตัวนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตีความ
ถ้าตีความตามด้านการเงิน ก็ว่ามูลค่ารวมของกระแสเงินสดที่ทำได้ตลอดอายุการดำเนินกิจการ
แต่ถ้ามองในมุมองของ VI ก็ว่า ขึ้นกับสินทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไร อนาคตการเติบโตต่อไป
สินทรัพย์ ก็มีทั้งที่ตีมูลค่าได้(เงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง โรงงาน ที่ดิน ฯลฯ) กับตีมูลค่าได้ยาก(แบรนด์ สัญญา ลิขสิทธิ์ ฯลฯ)
ความสามารถในการทำกำไร อันนี้ก็วัดได้จากการบริหารสินทรัพย์ต่างๆทั้งมีตัวตน และไม่มีตัวตน
(การผลิต การบริหารจัดการ การตลาด การขาย คุณภาพพนักงานและผู้บริหาร แบรนด์ ความนิยมของผู้บริโภค ฯลฯ)
อนาคตการเติบโตของกิจการ ก็ต้องมองภาพต่างๆมาเชื่อมโยงกัน ภาพเล็ก ภาพใหญ่ แนวโน้มต่างๆในสังคม ในประเทศ ในโลก
ก็เกี่ยวเนื่องกับตัวปัจจัยมากมาย ฯลฯ
ถ้ารวมๆการตีความต่างๆมันก็มีเหตุผลหมด
เอาง่ายๆกำปั้นทุบดินกินกันไป คือเราพยายามดูว่าสินทรัพย์มันดีไหมในปัจจุบันจนถึงในอนาคต เหมือนที่ ดร.พูดบ่อยๆ มันจะดีไหมอีก 5 ปี 10 ปี
มูลค่าที่แท้จริง จึงจับต้องได้ยากมาก
เราสามารถแค่ตีมูลค่ามันออกมาได้คร่าวๆเท่านั้น
เราได้มูลค่าออกมาเป็นเชิงเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งมันมีคุณประโยชน์ในการอ้างอิงของเรา
เพราะฉะนั้น นักลงทุนแต่ละท่าน ก็จะได้มูลค่าออกมาไม่เท่ากัน แม้บัฟเฟตกับมังเจอร์ก็คิดได้ไม่เท่ากัน
อันนี้แหละครับเป็นสเหน่ห์ของการลงทุน จะว่าการลงทุนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เหมือนพี่ๆนักลงทุนว่ากันนั่นแหละครับ
หากเราสามารถหามูลค่าที่แท้จริง (ถ้าคิดได้ถูกต้อง หรือใกล้เคียงมากๆ) .. แล้วนำมาเปรียบเทียบกับราคาตลาดอีกที แล้วดู Magin of safety เพื่อดูว่า ควรจะลงทุนให้หุ้นนี้หรือไม่
ครับถูกต้อง แต่การกำหนด MoS ก็จะขึ้นกับทั้งด้านปริมาณและคุณภาพด้วยนะคับ
เป็นศาสตร์และศิลป์ของแต่ละท่านว่าจะเน้นด้านไหนกันหรือทั้งสองอย่างประกอบกันไป
บางท่านอาจจะให้ MoS จากราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าว่าต้องถูกมากๆ
บางท่านให้ MoS เรื่องความแข็งแกร่งของกิจการ ต้องเป็นกิจการชั้นยอด แต่ราคาก็ต้องเหมาะสม
บางท่านให้ MoS คือการกระจายความเสี่ยงด้วย ซื้อหุ้นกระจายกันไป
บางท่านให้ MoS ก็ต้องโฟกัสซื้อหุ้นน้อยตัว เพราะทำให้ติดตามง่าย ฯลฯ
แต่สุดท้ายราคาตลาดจะสอดคล้องกับมูลค่าที่แท้จริงได้หรือไม่เป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องตามดู
เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและรักษาเงินทุนไว้ให้ได้
การลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ
แนวคิดแบบ VI ก็เหมือนเข็มทิศให้เรา เปรียบไปก็เหมือน
การเดินเรือ เรืออาจจะดี กัปตันอาจจะเก่ง เดินเรือไปในทิศทางที่อาจจะถูกต้อง แต่สภาพอากาศ ท้องทะเล มันแปรปรวนเสมอตลอดเวลา
ระหว่างทางเราจะจับปลาได้ไหม มีอะไรกินบ้าง เราแวะเกาะไหนบ้างหรือเปล่า ปรับปรุงตัวเรือ ใบเรือไหม ซ่อมแซมมันไหม เข็มทิศอาจหักอาจพังไปบ้าง
ไม่มีการรับประกันว่าเราจะเดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย หรือถึงเมื่อไหร่ และถึงที่หมายด้วยสภาพแบบไหน เหนื่อยแท้ๆน๊า
ขออธิบายง่ายๆนะคับ หลักๆคือ เรื่องของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รับเท่าเทียมกันหรือไม่ แล้วก็นักลงทุนมีเหตุผลในการลงทุนหรือไม่
ถ้ามีสิ่งหล่านี้มาก ราคาหุ้นในตลาดก็จะสะท้อนมูลค่าแล้วราคาจะไม่แกว่งมาก
ถ้าน้อยก็ราคาจะแกว่งมาก ราคาหุ้นไม่สะท้อนมูลค่า อาจมีต่ำ มีสูงเกินไปได้
และสุดท้ายกลไกตลาดจะปรับให้ราคาหุ้นมันเหมาะสมกับมูลค่า ไม่ว่าระยะสั้นหรือยาว
ถ้ารับรู้ข้อมูลข่าวสารได้และย่อยได้ดี ผู้ลงทุนมีเหตุผลในการลงทุน สภาพตลาดดี ราคาจะเข้าใกล้มูลค่าที่แท้จริงได้เร็ว(ของดีใครเห็นก็จ้องตาเป็นมัน)
ถ้ามีการได้รับข้อมูลข่าวสารมีความเหลื่อมล่ำ และผู้ลงทุนตกอยู่ในอารมณ์ต่างๆเหตุผลหาย ราคาหุ้นจะไม่เหมาะสมกับมูลค่า(นักลงทุนตกอยู่ในความไม่แน่นอน มึนงง สับสน กลัว โลภ จากปัจจัยต่างๆ) และอาจใช้เวลายาวนานกว่าจะเข้าใกล้มูลค่าที่แท้จริง(ตัวมูลค่านี่มันไม่เป๊ะๆนะครับ ขึ้นกับเหตุและปัจจัยต่างๆ)
การหามูลค่าหุ้น เช่น DCF จะพยายามหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ ณ ปัจจุบัน ให้เป็น Net Present Value
คร่าวๆนะครับ การหามูลค่าหุ้น มีหลายวิธีครับ แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือการหามูลค่าทีแท้จริง
มูลค่าที่แท้จริง ตัวนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตีความ
ถ้าตีความตามด้านการเงิน ก็ว่ามูลค่ารวมของกระแสเงินสดที่ทำได้ตลอดอายุการดำเนินกิจการ
แต่ถ้ามองในมุมองของ VI ก็ว่า ขึ้นกับสินทรัพย์ ความสามารถในการทำกำไร อนาคตการเติบโตต่อไป
สินทรัพย์ ก็มีทั้งที่ตีมูลค่าได้(เงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง โรงงาน ที่ดิน ฯลฯ) กับตีมูลค่าได้ยาก(แบรนด์ สัญญา ลิขสิทธิ์ ฯลฯ)
ความสามารถในการทำกำไร อันนี้ก็วัดได้จากการบริหารสินทรัพย์ต่างๆทั้งมีตัวตน และไม่มีตัวตน
(การผลิต การบริหารจัดการ การตลาด การขาย คุณภาพพนักงานและผู้บริหาร แบรนด์ ความนิยมของผู้บริโภค ฯลฯ)
อนาคตการเติบโตของกิจการ ก็ต้องมองภาพต่างๆมาเชื่อมโยงกัน ภาพเล็ก ภาพใหญ่ แนวโน้มต่างๆในสังคม ในประเทศ ในโลก
ก็เกี่ยวเนื่องกับตัวปัจจัยมากมาย ฯลฯ
ถ้ารวมๆการตีความต่างๆมันก็มีเหตุผลหมด
เอาง่ายๆกำปั้นทุบดินกินกันไป คือเราพยายามดูว่าสินทรัพย์มันดีไหมในปัจจุบันจนถึงในอนาคต เหมือนที่ ดร.พูดบ่อยๆ มันจะดีไหมอีก 5 ปี 10 ปี
มูลค่าที่แท้จริง จึงจับต้องได้ยากมาก
เราสามารถแค่ตีมูลค่ามันออกมาได้คร่าวๆเท่านั้น
เราได้มูลค่าออกมาเป็นเชิงเปรียบเทียบเท่านั้น ซึ่งมันมีคุณประโยชน์ในการอ้างอิงของเรา
เพราะฉะนั้น นักลงทุนแต่ละท่าน ก็จะได้มูลค่าออกมาไม่เท่ากัน แม้บัฟเฟตกับมังเจอร์ก็คิดได้ไม่เท่ากัน
อันนี้แหละครับเป็นสเหน่ห์ของการลงทุน จะว่าการลงทุนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เหมือนพี่ๆนักลงทุนว่ากันนั่นแหละครับ
หากเราสามารถหามูลค่าที่แท้จริง (ถ้าคิดได้ถูกต้อง หรือใกล้เคียงมากๆ) .. แล้วนำมาเปรียบเทียบกับราคาตลาดอีกที แล้วดู Magin of safety เพื่อดูว่า ควรจะลงทุนให้หุ้นนี้หรือไม่
ครับถูกต้อง แต่การกำหนด MoS ก็จะขึ้นกับทั้งด้านปริมาณและคุณภาพด้วยนะคับ
เป็นศาสตร์และศิลป์ของแต่ละท่านว่าจะเน้นด้านไหนกันหรือทั้งสองอย่างประกอบกันไป
บางท่านอาจจะให้ MoS จากราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าว่าต้องถูกมากๆ
บางท่านให้ MoS เรื่องความแข็งแกร่งของกิจการ ต้องเป็นกิจการชั้นยอด แต่ราคาก็ต้องเหมาะสม
บางท่านให้ MoS คือการกระจายความเสี่ยงด้วย ซื้อหุ้นกระจายกันไป
บางท่านให้ MoS ก็ต้องโฟกัสซื้อหุ้นน้อยตัว เพราะทำให้ติดตามง่าย ฯลฯ
แต่สุดท้ายราคาตลาดจะสอดคล้องกับมูลค่าที่แท้จริงได้หรือไม่เป็นเรื่องที่นักลงทุนต้องตามดู
เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและรักษาเงินทุนไว้ให้ได้
การลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ
แนวคิดแบบ VI ก็เหมือนเข็มทิศให้เรา เปรียบไปก็เหมือน
การเดินเรือ เรืออาจจะดี กัปตันอาจจะเก่ง เดินเรือไปในทิศทางที่อาจจะถูกต้อง แต่สภาพอากาศ ท้องทะเล มันแปรปรวนเสมอตลอดเวลา
ระหว่างทางเราจะจับปลาได้ไหม มีอะไรกินบ้าง เราแวะเกาะไหนบ้างหรือเปล่า ปรับปรุงตัวเรือ ใบเรือไหม ซ่อมแซมมันไหม เข็มทิศอาจหักอาจพังไปบ้าง
ไม่มีการรับประกันว่าเราจะเดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย หรือถึงเมื่อไหร่ และถึงที่หมายด้วยสภาพแบบไหน เหนื่อยแท้ๆน๊า
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นคร่าวๆ แบบนี้ เป็นไปได้ไหมครับ?
โพสต์ที่ 30
ติดตรงข้อ2 ครับ ราคาหุ้นระยะสั้นเป็นแค่การลงความเห็นตรงกันในความคาดหวังหรือผิดหวังของตลาดครับ น่าจะเป็นราคาที่เราประเมินว่ามันเหมาะสมแค่ไหนเมื่อเทียบกับความสามารถในการทำกำไรในขณะนั้นมากกว่าTLSS เขียน:ตัวอย่าง
โดยมีสมมติฐาน ดังนี้
1. บริษัททำได้ตามเป้าหมาย
2. ราคาหุ้น แปรตาม กำไร ซึ่งแปรตาม ยอดขาย/การขยายสาขา
3. เป็นการประเมินเพียงคร่าวๆ หยาบๆ เท่านั้นครับ
ยินดีรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะจากเพื่อนๆ พี่ๆ ครับ
ขอบคุณมากครับ
ส่วนข้อ1นั้นควรคิดเป็นช่วงๆของการทำได้ต่ำกว่าเป้า ทำได้ตามเป้า หรือเกินเป้า ซึ่งตัวแปรข้อนี่ขึ้นอยู่กับความสามารถขิงผู้บริหาร(จากการประเมินของเราโดยใช้ข้อมูลย้อนหลังมาประกอบ)
ส่วนข้อ3นั้น ต้องทำอย่างอนุรักษ์นิยมครับ