"ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
"ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 1
ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ
สำหรับคนที่เพิ่งก่อตั้งบริษัท หลายคนอาจจะงงๆ ว่าทุนจดทะเบียนคืออะไร? ต้องจดเยอะๆ หรือจดน้อยๆ? แล้วจดเท่าไรดี? แล้วมันสำคัญอย่างไร? วันนี้เราจะช่วยตอบคำถามให้คุณเอง และอยากจะบอกคุณว่า เรื่องนี้ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ
ทุนจดทะเบียน (Authorized Capital) คือ ทุนที่เจ้าของกิจการแจ้งจดทะเบียนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของบริษัท ซึ่งหมายความว่า ทุนจดทะเบียนจะมีจำนวนเท่ากับ จำนวนหุ้นทุนที่จดทะเบียนไว้คูณด้วยราคาพาร์ของหุ้นแต่ละหุ้น ทุนจดทะเบียนจะมากหรือน้อยมักขึ้นอยู่กับความเล็กหรือใหญ่ของธุรกิจ ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทขนาดใหญ่อย่าง ปตท. มีทุนจดทะเบียนถึง 20,000 ล้านบาท ในขณะที่ SC Assets มีทุนประมาณ 3,500 ล้านบาท
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่รับจดทะเบียนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับทุนจดทะเบียนไว้ว่า ถ้าทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท บริษัทจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเท่ากับ 1,000 บาท และสำหรับทุนจดทะเบียนทุกๆ 1 ล้านบาทถัดมา บริษัทต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 1,000 บาท แต่ถ้าบริษัทมีทุนเกิน 250 ล้านบาทขึ้นไป บริษัทจะเสียเงินเพียงจำนวนเดียวคือ 250,000 บาท เท่านั้นค่ะ
แล้วบริษัทควรเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียนจำนวนเท่าไร?
ก่อนอื่น เจ้าของกิจการควรทำการประมาณการเงินสดรับ-จ่าย (Cashflow Forecast) สำหรับระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือน แล้วดูว่า เงินสดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนมีจำนวนเท่าไร บวก เงินสดสำรองเผื่อฉุกเฉิน ลบ เงินสดที่คาดว่าจะได้สำหรับงานแต่ละงาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ จำนวนเงินสดที่เจ้าของกิจการต้องจัดหามาให้ได้ในแต่ละเดือน ซึ่งก็คือจำนวนที่ควรใช้จดทะเบียนค่ะ
ที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ
หวังว่าตอนนี้ทุกคนคงจะเข้าใจเรื่องทุนจดทะเบียนมากขึ้นนะคะ?
สงสัยประเด็นไหน ก็ทิ้งคำถามไว้ได้เลยค่ะ แล้วจะรีบมาตอบนะคะ
สำหรับคนที่เพิ่งก่อตั้งบริษัท หลายคนอาจจะงงๆ ว่าทุนจดทะเบียนคืออะไร? ต้องจดเยอะๆ หรือจดน้อยๆ? แล้วจดเท่าไรดี? แล้วมันสำคัญอย่างไร? วันนี้เราจะช่วยตอบคำถามให้คุณเอง และอยากจะบอกคุณว่า เรื่องนี้ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ
ทุนจดทะเบียน (Authorized Capital) คือ ทุนที่เจ้าของกิจการแจ้งจดทะเบียนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของบริษัท ซึ่งหมายความว่า ทุนจดทะเบียนจะมีจำนวนเท่ากับ จำนวนหุ้นทุนที่จดทะเบียนไว้คูณด้วยราคาพาร์ของหุ้นแต่ละหุ้น ทุนจดทะเบียนจะมากหรือน้อยมักขึ้นอยู่กับความเล็กหรือใหญ่ของธุรกิจ ยกตัวอย่าง เช่น บริษัทขนาดใหญ่อย่าง ปตท. มีทุนจดทะเบียนถึง 20,000 ล้านบาท ในขณะที่ SC Assets มีทุนประมาณ 3,500 ล้านบาท
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานที่รับจดทะเบียนบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับทุนจดทะเบียนไว้ว่า ถ้าทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท บริษัทจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเท่ากับ 1,000 บาท และสำหรับทุนจดทะเบียนทุกๆ 1 ล้านบาทถัดมา บริษัทต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 1,000 บาท แต่ถ้าบริษัทมีทุนเกิน 250 ล้านบาทขึ้นไป บริษัทจะเสียเงินเพียงจำนวนเดียวคือ 250,000 บาท เท่านั้นค่ะ
แล้วบริษัทควรเริ่มต้นด้วยทุนจดทะเบียนจำนวนเท่าไร?
ก่อนอื่น เจ้าของกิจการควรทำการประมาณการเงินสดรับ-จ่าย (Cashflow Forecast) สำหรับระยะเวลาไม่น้อยกว่า 24 เดือน แล้วดูว่า เงินสดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนมีจำนวนเท่าไร บวก เงินสดสำรองเผื่อฉุกเฉิน ลบ เงินสดที่คาดว่าจะได้สำหรับงานแต่ละงาน ผลลัพธ์ที่ได้คือ จำนวนเงินสดที่เจ้าของกิจการต้องจัดหามาให้ได้ในแต่ละเดือน ซึ่งก็คือจำนวนที่ควรใช้จดทะเบียนค่ะ
ที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ
หวังว่าตอนนี้ทุกคนคงจะเข้าใจเรื่องทุนจดทะเบียนมากขึ้นนะคะ?
สงสัยประเด็นไหน ก็ทิ้งคำถามไว้ได้เลยค่ะ แล้วจะรีบมาตอบนะคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 3
เอ อันนี้ก็ไม่ค่อยแน่ใจนะคะ เพราะจริงๆแล้วทุนจดทะเบียนเป็นเรื่องของบริษัทมากกว่าค่ะว่าจะจดเท่าไร รวมทั้งทุนจดทะเบียนต้องมีขั้นต่ำเท่าไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆด้วยค่ะ แต่เท่าที่ทราบมา ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ระบุนะคะ อย่างของไทยเรา บริษัทที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็ไม่ได้ระบุทุนจดทะเบียนค่ะ มีแต่กำหนดขั้นต่ำสำหรับทุนชำระแล้วเฉพาะหุ้นสามัญ (หลังการเสนอขายหุ้น) ว่าต้องมากกว่า 300 ล้านบาทค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 127
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 4
งั้นหากบริษัทต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ก็ไปเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,000 หรือ 10,000 ล้าน ตั้งทุนจดทะเบียนไว้สูงก่อนเลยก็ได้ใช่มั้ยครับ หรือ สมมุติผมอยากตั้งบริษัทกับเพื่อน ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน แต่เงินที่ใช้มาลงทุนจริง 10 ล้านแบบนี้ถือว่ามีอะไรเสียหายหรือเปล่าครับที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ
หรือว่ายิ่งมีทุนจดทะเบียนสูง ก็ยิ่งต้องรับผิดชอบสูงตามหากเกิดกรณีมีค่าเสียหายใช่อย่างนั้นมั้ยครับ
Great businesses selling at a discount to their intrinsic value may also define as "Value Investment"
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 5
ถามเพิ่มครับ
ส่วนของผู้ถือหุ้นหลักๆก็จะมี ทุนจดทะเบียน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม
ทั้งสามรายการมีความแตกต่างและมีความสำคัญต่างกันอย่างไรบ้างครับ
ส่วนของผู้ถือหุ้นหลักๆก็จะมี ทุนจดทะเบียน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม
ทั้งสามรายการมีความแตกต่างและมีความสำคัญต่างกันอย่างไรบ้างครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 7
ใช่ค่ะ ทุนจดทะเบียนยิ่งมาก ความน่าเชื่อถือยิ่งสูงค่ะ ในทางกลับกันความรับผิดชอบของบริษัทก็ต้องสูงตามมาค่ะ เช่นกรณีเกิดการฟ้องร้อง ผู้จ้างงานหรือคนที่ฟ้องร้องบริษัทสามารถฟ้องร้องบริษัทได้ถึงจำนวนที่บริษัทจดทะเบียนค่ะ แล้วถ้าบริษัทไม่สามารถชดใช้หนี้ได้ กรรมการก็จะถูกฟ้องร้องตามมาค่ะchild_temple เขียน:งั้นหากบริษัทต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ก็ไปเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,000 หรือ 10,000 ล้าน ตั้งทุนจดทะเบียนไว้สูงก่อนเลยก็ได้ใช่มั้ยครับ หรือ สมมุติผมอยากตั้งบริษัทกับเพื่อน ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน แต่เงินที่ใช้มาลงทุนจริง 10 ล้านแบบนี้ถือว่ามีอะไรเสียหายหรือเปล่าครับที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ
หรือว่ายิ่งมีทุนจดทะเบียนสูง ก็ยิ่งต้องรับผิดชอบสูงตามหากเกิดกรณีมีค่าเสียหายใช่อย่างนั้นมั้ยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 8
การที่บริษัทจดทะเบียน 100 ล้านบาทแต่เงินที่มาลงทุนจริงๆมีเพียง 10 ล้านบาท มีผลให้กรรมการต้องปวดหัวแน่นอนค่ะ แต่ตามปกติแล้วตามกฎหมายบริษัทต้องรับชำระขั้นต่ำ 25% ค่ะ แปลว่า ถ้าคุณจดทะเบียน 100 ล้านบาท คุณต้องชำระ 25 ล้านบาทค่ะchild_temple เขียน:งั้นหากบริษัทต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือ ก็ไปเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,000 หรือ 10,000 ล้าน ตั้งทุนจดทะเบียนไว้สูงก่อนเลยก็ได้ใช่มั้ยครับ หรือ สมมุติผมอยากตั้งบริษัทกับเพื่อน ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน แต่เงินที่ใช้มาลงทุนจริง 10 ล้านแบบนี้ถือว่ามีอะไรเสียหายหรือเปล่าครับที่นี้เรามาดูกันว่า เอ....ทุนจดทะเบียนนี่ มีผลอะไรกับบริษัทบ้างนะ? จริงๆ แล้วมันเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือค่ะ เช่น ถ้าบริษัทของเราจะไปรับงานมูลค่า 5 พันล้านบาท ผู้จ้างงานอาจจะดูว่าบริษัทมีทุนจดทะเบียนอยู่เท่าไร ยิ่งถ้าผู้จ้างงานไม่เคยทำธุรกิจกับเรา หรือไม่รู้จักเรามาก่อน ถ้าบริษัทมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ 1 พันล้านบาท ผู้จ้างงานของเราก็อาจจะเริ่มหวั่นๆ เพราะถ้าหากเกิดอะไรเสียหายขึ้นมา แล้วผู้จ้างงานคิดจะฟ้องบริษัท บริษัทก็จะสามารถรับผิดชอบความเสียหายได้แค่ 1 พันล้านบาท ถ้าเป็นอย่างนั้น ผู้จ้างงานก็คงไม่ยอมจ้างงานบริษัทของเราแน่นอนค่ะ
หรือว่ายิ่งมีทุนจดทะเบียนสูง ก็ยิ่งต้องรับผิดชอบสูงตามหากเกิดกรณีมีค่าเสียหายใช่อย่างนั้นมั้ยครับ
ทีนี้เรามาดูกันว่า ถ้าหากบริษัทจะจดทะเบียน 100 ล้านบาท สมมติรับชำระเต็มจำนวน 100 ล้านบาทเช่นกัน แต่ความเป็นจริงแล้วบริษัทไม่ได้มีเงิน 100 ล้านบาทอย่างที่ว่า จะมีเรื่องอะไรที่ทำให้บริษัทปวดตับได้บ้าง
กรณีแรกบริษัทรับงานใหญ่ๆมา แต่บริษัทไม่มีเงินทุนตั้งแต่แรกใช่ไหมค่ะ แล้วบริษัทจะเอาเงินมาจากไหนในการดำเนินงาน? บริษัทอาจสามารถดำเนินงานไปได้ในระยะแรก แต่พอทำๆไปอาจเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง เงินหมุนไม่ทัน หรือ ไม่มีเงินจ่ายเจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้สภาบันการเงิน ซึ่งถ้าบริษัทไม่สามารถจ่ายเงินได้ อาจกลายเป็นหนี้เสียจนถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ค่ะ
กรณีที่สอง เจ้าของบริษัทแกล้งทำเป็นจ่ายเงินเข้ามาเพื่อจดทะเบียน แต่ภายหลังก็นำเงินออกไปใช้ส่วนตัว ในทางกฏหมายแล้วเงินที่นำมาชำระค่าหุ้นถือว่าเป็นของบริษัทและจะต้องใช้ในการดำเนินงานบริษัท ถ้านำไปใช้ส่วนตัว เช่น ซื้อบ้านหรือรถยนต์ รายการเหล่านี้จะถูกบันทึกว่าเป็นเงินที่บริษัทให้กรรมการยืม นอกจากกรรมการจะเป็นหนี้บริษัทแล้ว ยังต้องจ่ายดอกเบี้ยให้บริษัทด้วยค่ะ
ดังนั้นการจ่ายค่าหุ้นแบบหลอกๆนี้ ไม่เกิดผลดีต่อบริษัทแน่นอนค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 270
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 9
ผมเรียนถามอย่างนี้ครับ เรื่องทุนจดทะเบียนนั้น เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าในบ้านเรา สมมุติทุนจด
ทะเบียน10ล้าน เงินจริงๆไม่ได้มีตามนั้นครับ แถมในบริคณฑ์สนธิยังบอกว่าชำระเต็มอีก
ถึงเวลาออกงบการเงินก็ทำเป็นว่ากรรมการกู้ยืม
ทีนี้เวลาโดนฟ้อง บริษัทฯก็จะรับผิดชอบแค่ทุนจดทะเบียนและบอกว่าชำระเต็มอีกเงินที่จะ
ชำระหนี้ก็ไม่มีอยู่จริง ก็ต้องไปไล่บี้เอากะกรรมที่กู้ยืมไป ทีนี้กรรมการก็ทำตัวซะกระจอกงอก
ง่อยไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย
ประเด็นคือ ถ้าขำระเต็มจริงๆตามบริคนฑ์สนธิ แล้วบริหารจนเจ๊งหมด แบบนี้กรรมการต้องรับ
ผิดชอบใหมครับ ทั้งแพ่งและอาญา เพราะเป็นหนี้สินของบริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ซึ่งเป็น
นิติบุคคล
ประเด็นที่2 ถ้าชำระเต็มจริงๆตามบริคณฑ์สนธิ แต่กรรมการกู้ยืมไปจริงๆ แล้วเอาไปใช้จน
หมดเนื้อหมดตัว อย่างนี้ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญาใหมครับ ถ้าแพ่งอย่างเดียวไม่มีใคร
กลัวหรอกครับ
ประเด็น3 คือเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไงว่าแต่ละบริษัทมีเงินสดอยู่จริง ไม่ใช่โชว์แต่ตัวเลข
ที่สวยหรู
ทะเบียน10ล้าน เงินจริงๆไม่ได้มีตามนั้นครับ แถมในบริคณฑ์สนธิยังบอกว่าชำระเต็มอีก
ถึงเวลาออกงบการเงินก็ทำเป็นว่ากรรมการกู้ยืม
ทีนี้เวลาโดนฟ้อง บริษัทฯก็จะรับผิดชอบแค่ทุนจดทะเบียนและบอกว่าชำระเต็มอีกเงินที่จะ
ชำระหนี้ก็ไม่มีอยู่จริง ก็ต้องไปไล่บี้เอากะกรรมที่กู้ยืมไป ทีนี้กรรมการก็ทำตัวซะกระจอกงอก
ง่อยไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย
ประเด็นคือ ถ้าขำระเต็มจริงๆตามบริคนฑ์สนธิ แล้วบริหารจนเจ๊งหมด แบบนี้กรรมการต้องรับ
ผิดชอบใหมครับ ทั้งแพ่งและอาญา เพราะเป็นหนี้สินของบริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ซึ่งเป็น
นิติบุคคล
ประเด็นที่2 ถ้าชำระเต็มจริงๆตามบริคณฑ์สนธิ แต่กรรมการกู้ยืมไปจริงๆ แล้วเอาไปใช้จน
หมดเนื้อหมดตัว อย่างนี้ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญาใหมครับ ถ้าแพ่งอย่างเดียวไม่มีใคร
กลัวหรอกครับ
ประเด็น3 คือเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไงว่าแต่ละบริษัทมีเงินสดอยู่จริง ไม่ใช่โชว์แต่ตัวเลข
ที่สวยหรู
-
- Verified User
- โพสต์: 270
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 10
ต่อคำถามครับ
การที่บริษัทฯ ไม่นำส่งงบการเงิน3ปีติดต่อกัน กรมทะเบียนการค้าจะ delete ชื่อออก ว่าเป็น
บริษัทร้าง การที่เป็นบริษัทร้างแล้วภาระรับผิดชอบตามกฎหมายยังคงอยู่ใหมครับหรือว่าสิ้น
สุด เพราะเป็นหนี้บริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ในกรณีของกรมสรพพากรเท่าที่ผมพบเห็นมา
พอเป็นบริษัทร้างเขาก็เลิกตามเรื่องภาษีแล้วครับ
การที่บริษัทฯ ไม่นำส่งงบการเงิน3ปีติดต่อกัน กรมทะเบียนการค้าจะ delete ชื่อออก ว่าเป็น
บริษัทร้าง การที่เป็นบริษัทร้างแล้วภาระรับผิดชอบตามกฎหมายยังคงอยู่ใหมครับหรือว่าสิ้น
สุด เพราะเป็นหนี้บริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ในกรณีของกรมสรพพากรเท่าที่ผมพบเห็นมา
พอเป็นบริษัทร้างเขาก็เลิกตามเรื่องภาษีแล้วครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1822
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 11
เคยเจอว่า กรรมการกู้บริษัทตัวเองหรือบริษัทในเครือกู้กันเอง บางที่ก็ไม่คิดดอกเบี้ย บางที่ก็คิดต่ำกว่าอัตราตลาด บางที่ก็เท่ากับอัตราตลาด
เลยอยากถามว่าจริงๆแล้วแบบไหนทำได้ไม่ผิดกฎหมายครับ เพราะเหมือนว่าเคยอ่านเจอว่ายังงัยก็ต้องคิดดอกเบี้ย ห้ามให้กู้แบบไม่คิดดอกเบี้ย
เลยอยากถามว่าจริงๆแล้วแบบไหนทำได้ไม่ผิดกฎหมายครับ เพราะเหมือนว่าเคยอ่านเจอว่ายังงัยก็ต้องคิดดอกเบี้ย ห้ามให้กู้แบบไม่คิดดอกเบี้ย
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 12
น่าสงสารนิสิตเราจังค่ะ ตอบคำถามบัญชีแล้ว ยังต้องตอบคำถามกฎหมายอีกLikhit เขียน:ผมเรียนถามอย่างนี้ครับ เรื่องทุนจดทะเบียนนั้น เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าในบ้านเรา สมมุติทุนจด
ทะเบียน10ล้าน เงินจริงๆไม่ได้มีตามนั้นครับ แถมในบริคณฑ์สนธิยังบอกว่าชำระเต็มอีก
ถึงเวลาออกงบการเงินก็ทำเป็นว่ากรรมการกู้ยืม
ทีนี้เวลาโดนฟ้อง บริษัทฯก็จะรับผิดชอบแค่ทุนจดทะเบียนและบอกว่าชำระเต็มอีกเงินที่จะ
ชำระหนี้ก็ไม่มีอยู่จริง ก็ต้องไปไล่บี้เอากะกรรมที่กู้ยืมไป ทีนี้กรรมการก็ทำตัวซะกระจอกงอก
ง่อยไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย
ประเด็นคือ ถ้าขำระเต็มจริงๆตามบริคนฑ์สนธิ แล้วบริหารจนเจ๊งหมด แบบนี้กรรมการต้องรับ
ผิดชอบใหมครับ ทั้งแพ่งและอาญา เพราะเป็นหนี้สินของบริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ซึ่งเป็น
นิติบุคคล
ประเด็นที่2 ถ้าชำระเต็มจริงๆตามบริคณฑ์สนธิ แต่กรรมการกู้ยืมไปจริงๆ แล้วเอาไปใช้จน
หมดเนื้อหมดตัว อย่างนี้ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญาใหมครับ ถ้าแพ่งอย่างเดียวไม่มีใคร
กลัวหรอกครับ
ประเด็น3 คือเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไงว่าแต่ละบริษัทมีเงินสดอยู่จริง ไม่ใช่โชว์แต่ตัวเลข
ที่สวยหรู
ทุนจดทะเบียนคือ หุ้นที่บริษัทจดทะเบียนไว้เพื่อบอกว่าบริษัทจะระดมทุนประมาณเท่าไรในช่วงนั้น (บริษัทอาจไปจดทะเบียนเพิ่มได้ในภายหลัง อยากทราบให้อ่านบทความเรื่อง "เพิ่มทุน ลดทุน" ค่ะ) แต่ตอนที่ออกหุ้นจริง บริษัทอาจออกเท่าไรก็ได้ (ไม่เกินทุนที่จดทะเบียนไว้) เพราะฉะนั้น ในตอนแรกบริษัทมักออกหุ้นตามจำนวนทุนที่ต้องการระดม
หากบริษัทออกขายหุ้นที่จดทะเบียนไว้ทั้งหมด แต่เรียกชำระค่าหุ้นแค่ 25% ต่อมาบริษัทล้มละลาย บริษัทต้องเรียกชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเพิ่มเติมให้ครบ 100% เพื่อมาจ่ายหนี้ ถ้าจ่ายครบร้อยแล้ว บริษัทล้มละลายจริง เจ้าหนี้ก็เอาอะไรจากบริษัทเกินหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วไม่ได้ (แม้จะยังออกหุ้นไม่ครบทุนจดทะเบียนก็ตาม)
บริษัทจำกัดได้รับการคุ้มครองไม่ต้องจ่ายหนี้เกินทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว ถ้าบริษัทล้มละลายเนื่องจากการบริหารงานตามปกติ (ไม่มีการโกงที่จับได้) กรรมการก็ไม่ต้องชดใช้อะไร ไม่มีโทษอาญา ส่วนเรื่องทางแพ่งนั้น ถ้าผู้ถือหุ้นฟ้องก็ต้องมีมูลว่ากรรมการทำอะไรผิด แต่ถ้าจับได้ว่ากรรมการโกง ก็อาญาค่ะ ส่วนกรรมการที่ให้บริษัทกู้เงินนั้นถือเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเงินจากบริษัทในฐานะเจ้าหนี้ แต่บริษัทล้มละลายแล้วจะต้องจ่ายใครก่อนใครหลังก็เป็นเรื่องการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้
คำถามอีกข้อหนึ่ง มีวิธีตรวจสอบอย่างไรว่าบริษัทมีเงินจริงไม่ใช่มีแต่ตัวเลข เรื่องการตรวจสอบเป็นของผู้สอบบัุญชีค่ะ ถ้าบริษัทมีรายการที่เรียกว่า "เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด" ในงบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุล ผู้สอบบัญชีต้องทำการยืนยันกับธนาคารหรือตรวจนับเงินสดว่าบริษัทมีเงินจำนวนนั้นจริง เราคนอ่านงบการเงิน เข้าไปตรวจสอบไม่ได้ค่ะ
อธิบายเท่านี้พอไหมคะ
ถ้าอยากทราบเรื่องบัญชี ถามนิสิตค่ะ แต่ถ้าเป็นเรื่องการเงินหรือกฎหมาย นิสิตบัญชีเราหน้าซีดไปหมดแล้ว สงสารด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 13
ทำทุกอย่างได้ ไม่ผิดกฎหมายค่ะ เพราะใครจะให้ใครกู้เงินโดยเสน่หา กฎหมายไม่ได้ห้ามอะไรไว้BHT เขียน:เคยเจอว่า กรรมการกู้บริษัทตัวเองหรือบริษัทในเครือกู้กันเอง บางที่ก็ไม่คิดดอกเบี้ย บางที่ก็คิดต่ำกว่าอัตราตลาด บางที่ก็เท่ากับอัตราตลาด
เลยอยากถามว่าจริงๆแล้วแบบไหนทำได้ไม่ผิดกฎหมายครับ เพราะเหมือนว่าเคยอ่านเจอว่ายังงัยก็ต้องคิดดอกเบี้ย ห้ามให้กู้แบบไม่คิดดอกเบี้ย
หน่วยงานที่มักเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องการยืมเงินกันไม่มีดอกเบี้ยคือ สรรพากรค่ะ สรรพากรชอบดูงบการเงิน สมมุติว่าเจอกรรมการให้เงินบริษัทกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรบอกหวานหมูค่ะ สรรพากรจะประเมินรายได้ดอกเบี้ยตามที่ควรเป็นแล้วคิดภาษีกับกรรมการค่ะ แต่ถ้าเป็นตรงข้าม สรรพากรก็ประเมินดอกเบี้ยรับให้กับบริษัท บริษัทก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น (ถ้าสรรพากรจะทำ)
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 14
คำถามนี้ ออกห่างจากเรื่องทุนจดทะเบียนไปไกลเลยค่ะparporn เขียน:ทำทุกอย่างได้ ไม่ผิดกฎหมายค่ะ เพราะใครจะให้ใครกู้เงินโดยเสน่หา กฎหมายไม่ได้ห้ามอะไรไว้BHT เขียน:เคยเจอว่า กรรมการกู้บริษัทตัวเองหรือบริษัทในเครือกู้กันเอง บางที่ก็ไม่คิดดอกเบี้ย บางที่ก็คิดต่ำกว่าอัตราตลาด บางที่ก็เท่ากับอัตราตลาด
เลยอยากถามว่าจริงๆแล้วแบบไหนทำได้ไม่ผิดกฎหมายครับ เพราะเหมือนว่าเคยอ่านเจอว่ายังงัยก็ต้องคิดดอกเบี้ย ห้ามให้กู้แบบไม่คิดดอกเบี้ย
หน่วยงานที่มักเข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องการยืมเงินกันไม่มีดอกเบี้ยคือ สรรพากรค่ะ สรรพากรชอบดูงบการเงิน สมมุติว่าเจอกรรมการให้เงินบริษัทกู้โดยไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรบอกหวานหมูค่ะ สรรพากรจะประเมินรายได้ดอกเบี้ยตามที่ควรเป็นแล้วคิดภาษีกับกรรมการค่ะ แต่ถ้าเป็นตรงข้าม สรรพากรก็ประเมินดอกเบี้ยรับให้กับบริษัท บริษัทก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น (ถ้าสรรพากรจะทำ)
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 15
Likhit เขียน:ต่อคำถามครับ
การที่บริษัทฯ ไม่นำส่งงบการเงิน3ปีติดต่อกัน กรมทะเบียนการค้าจะ delete ชื่อออก ว่าเป็น
บริษัทร้าง การที่เป็นบริษัทร้างแล้วภาระรับผิดชอบตามกฎหมายยังคงอยู่ใหมครับหรือว่าสิ้น
สุด เพราะเป็นหนี้บริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ในกรณีของกรมสรพพากรเท่าที่ผมพบเห็นมา
พอเป็นบริษัทร้างเขาก็เลิกตามเรื่องภาษีแล้วครับ
เรื่องบริษัทร้างต้องรับผิดชอบตามกฎหมายนั้น ข้อนี้ไม่แน่ใจค่ะ เป็นเรื่องที่ต้องถามนักกฎหมาย
แต่กรมสรรพากรมีระยะเวลาในการตรวจสอบภาษี 5 ปีค่ะ เลยจากนั้น เขาทำอะไรไม่ได้แล้ว ถ้ากรมสรรพากรเห็นว่าตรวจแล้วไม่คุ้ม เขาอาจไม่สนใจจะตรวจก็ได้ เสียเวลาเขา
-
- Verified User
- โพสต์: 270
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 16
เรียนอ.ภาพร ด้วยความเคารพ เรื่องมันเกี่ยวโยงกัน เพราะทางกฎหมายมีช่องโหว่ ที่ทำให้
เลี่ยงกฎหมายได้ผู้ปฏิบัติก็มักจะอาศัยช่องโหว่ตรงนี้ ซิกแซ๊กเอาประโยชน์เข้าตัว
ตรงใหนไม่สามารถตอบได้ก็ไม่เป็นไรครับ
เลี่ยงกฎหมายได้ผู้ปฏิบัติก็มักจะอาศัยช่องโหว่ตรงนี้ ซิกแซ๊กเอาประโยชน์เข้าตัว
ตรงใหนไม่สามารถตอบได้ก็ไม่เป็นไรครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 18
parporn เขียน:น่าสงสารนิสิตเราจังค่ะ ตอบคำถามบัญชีแล้ว ยังต้องตอบคำถามกฎหมายอีกLikhit เขียน:ผมเรียนถามอย่างนี้ครับ เรื่องทุนจดทะเบียนนั้น เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าในบ้านเรา สมมุติทุนจด
ทะเบียน10ล้าน เงินจริงๆไม่ได้มีตามนั้นครับ แถมในบริคณฑ์สนธิยังบอกว่าชำระเต็มอีก
ถึงเวลาออกงบการเงินก็ทำเป็นว่ากรรมการกู้ยืม
ทีนี้เวลาโดนฟ้อง บริษัทฯก็จะรับผิดชอบแค่ทุนจดทะเบียนและบอกว่าชำระเต็มอีกเงินที่จะ
ชำระหนี้ก็ไม่มีอยู่จริง ก็ต้องไปไล่บี้เอากะกรรมที่กู้ยืมไป ทีนี้กรรมการก็ทำตัวซะกระจอกงอก
ง่อยไม่มีทรัพย์สินอะไรเลย
ประเด็นคือ ถ้าขำระเต็มจริงๆตามบริคนฑ์สนธิ แล้วบริหารจนเจ๊งหมด แบบนี้กรรมการต้องรับ
ผิดชอบใหมครับ ทั้งแพ่งและอาญา เพราะเป็นหนี้สินของบริษัทไม่ใช่หนี้ส่วนตัว ซึ่งเป็น
นิติบุคคล
ประเด็นที่2 ถ้าชำระเต็มจริงๆตามบริคณฑ์สนธิ แต่กรรมการกู้ยืมไปจริงๆ แล้วเอาไปใช้จน
หมดเนื้อหมดตัว อย่างนี้ต้องรับผิดทั้งแพ่งและอาญาใหมครับ ถ้าแพ่งอย่างเดียวไม่มีใคร
กลัวหรอกครับ
ประเด็น3 คือเราจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไงว่าแต่ละบริษัทมีเงินสดอยู่จริง ไม่ใช่โชว์แต่ตัวเลข
ที่สวยหรู
ทุนจดทะเบียนคือ หุ้นที่บริษัทจดทะเบียนไว้เพื่อบอกว่าบริษัทจะระดมทุนประมาณเท่าไรในช่วงนั้น (บริษัทอาจไปจดทะเบียนเพิ่มได้ในภายหลัง อยากทราบให้อ่านบทความเรื่อง "เพิ่มทุน ลดทุน" ค่ะ) แต่ตอนที่ออกหุ้นจริง บริษัทอาจออกเท่าไรก็ได้ (ไม่เกินทุนที่จดทะเบียนไว้) เพราะฉะนั้น ในตอนแรกบริษัทมักออกหุ้นตามจำนวนทุนที่ต้องการระดม
หากบริษัทออกขายหุ้นที่จดทะเบียนไว้ทั้งหมด แต่เรียกชำระค่าหุ้นแค่ 25% ต่อมาบริษัทล้มละลาย บริษัทต้องเรียกชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมเพิ่มเติมให้ครบ 100% เพื่อมาจ่ายหนี้ ถ้าจ่ายครบร้อยแล้ว บริษัทล้มละลายจริง เจ้าหนี้ก็เอาอะไรจากบริษัทเกินหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วไม่ได้ (แม้จะยังออกหุ้นไม่ครบทุนจดทะเบียนก็ตาม)
บริษัทจำกัดได้รับการคุ้มครองไม่ต้องจ่ายหนี้เกินทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว ถ้าบริษัทล้มละลายเนื่องจากการบริหารงานตามปกติ (ไม่มีการโกงที่จับได้) กรรมการก็ไม่ต้องชดใช้อะไร ไม่มีโทษอาญา ส่วนเรื่องทางแพ่งนั้น ถ้าผู้ถือหุ้นฟ้องก็ต้องมีมูลว่ากรรมการทำอะไรผิด แต่ถ้าจับได้ว่ากรรมการโกง ก็อาญาค่ะ ส่วนกรรมการที่ให้บริษัทกู้เงินนั้นถือเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเงินจากบริษัทในฐานะเจ้าหนี้ แต่บริษัทล้มละลายแล้วจะต้องจ่ายใครก่อนใครหลังก็เป็นเรื่องการเจรจาระหว่างเจ้าหนี้
คำถามอีกข้อหนึ่ง มีวิธีตรวจสอบอย่างไรว่าบริษัทมีเงินจริงไม่ใช่มีแต่ตัวเลข เรื่องการตรวจสอบเป็นของผู้สอบบัุญชีค่ะ ถ้าบริษัทมีรายการที่เรียกว่า "เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด" ในงบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุล ผู้สอบบัญชีต้องทำการยืนยันกับธนาคารหรือตรวจนับเงินสดว่าบริษัทมีเงินจำนวนนั้นจริง เราคนอ่านงบการเงิน เข้าไปตรวจสอบไม่ได้ค่ะ
อธิบายเท่านี้พอไหมคะ
ถ้าอยากทราบเรื่องบัญชี ถามนิสิตค่ะ แต่ถ้าเป็นเรื่องการเงินหรือกฎหมาย นิสิตบัญชีเราหน้าซีดไปหมดแล้ว สงสารด้วย
ขอบคุณมากๆนะค่ะ อาจารย์ ซีดจริงค่ะ ฮ่าๆๆๆ แต่พวกหนูจะพยายามเต็มที่สุดๆเลยค่ะ
^-^
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 19
ทุนจดทะเบียน คือ หุ้นที่นำไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อเริ่มแรกchikojung เขียน:อยากสอบถามเรื่องทุนจดทะเบียน
กับทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วครับ
ปกติที่พูดกันคือตัวไหนครับ
แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
มีขั้นตอนอย่างไรในการไปชำระทุนจดทะเบียนครับ
ขอบคุณครับ
ทุนที่ออกและชำระแล้ว คือ หุ้นจดทะเบียนที่บริษัทนำออกขายและรับเงินมาเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือลงทุนในบริษัท
ขั้นตอนการชำระทุนจดทะเบียนเป็นอย่างไร?
ก็น่าจะเป็นเมื่อบริษัทนำหุ้นที่จดทะเบียนไว้ออกขายให้ผู้ลงทุน แล้วรับเงินสดเข้ามาบริษัท นั่นถือว่าผู้ลงทุนได้ชำระค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ (จะชำระบางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นกับว่าบริษัทนำหุ้นจดทะเบียนทั้งหมดออกขายหรือเปล่า และเรียกชำระค่าหุ้นด้วยจำนวนเท่าไร) "ทุนจดทะเบียน" ที่แสดงในงบการเงินกับ "ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว" จึงอาจมีจำนวนเท่ากันหรือไม่เท่ากันค่ะ แต่ถ้าดูเฉพาะราคาพาร์ "ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว" จะไม่มีวันสูงกว่า "ทุนจดทะเบียน" ค่ะ
ส่วนบริษัทเองต้องชำระค่าจดทะเบียนให้กระทรวงพาณิชย์ตามอัตราที่บอกไว้ค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 20
Likhit เขียน:เรียนอ.ภาพร ด้วยความเคารพ เรื่องมันเกี่ยวโยงกัน เพราะทางกฎหมายมีช่องโหว่ ที่ทำให้
เลี่ยงกฎหมายได้ผู้ปฏิบัติก็มักจะอาศัยช่องโหว่ตรงนี้ ซิกแซ๊กเอาประโยชน์เข้าตัว
ตรงใหนไม่สามารถตอบได้ก็ไม่เป็นไรครับ
ยังไงต้องขอโทษไว้ล่วงหน้านะค่ะ อาจมีตอบช้าไปบ้าง
แต่พวกเราจะพยายามเต็มที่ในการตอบคำถามเรื่องนี้นะค่ะ
^0^ ^-^
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 21
เพิ่มเติมจากอาจารย์ค่ะparporn เขียน:ทุนจดทะเบียน คือ หุ้นที่นำไปจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อเริ่มแรกchikojung เขียน:อยากสอบถามเรื่องทุนจดทะเบียน
กับทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วครับ
ปกติที่พูดกันคือตัวไหนครับ
แล้วมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างครับ
มีขั้นตอนอย่างไรในการไปชำระทุนจดทะเบียนครับ
ขอบคุณครับ
ทุนที่ออกและชำระแล้ว คือ หุ้นจดทะเบียนที่บริษัทนำออกขายและรับเงินมาเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือลงทุนในบริษัท
ขั้นตอนการชำระทุนจดทะเบียนเป็นอย่างไร?
ก็น่าจะเป็นเมื่อบริษัทนำหุ้นที่จดทะเบียนไว้ออกขายให้ผู้ลงทุน แล้วรับเงินสดเข้ามาบริษัท นั่นถือว่าผู้ลงทุนได้ชำระค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ (จะชำระบางส่วนหรือทั้งหมด ขึ้นกับว่าบริษัทนำหุ้นจดทะเบียนทั้งหมดออกขายหรือเปล่า และเรียกชำระค่าหุ้นด้วยจำนวนเท่าไร) "ทุนจดทะเบียน" ที่แสดงในงบการเงินกับ "ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว" จึงอาจมีจำนวนเท่ากันหรือไม่เท่ากันค่ะ แต่ถ้าดูเฉพาะราคาพาร์ "ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว" จะไม่มีวันสูงกว่า "ทุนจดทะเบียน" ค่ะ
ส่วนบริษัทเองต้องชำระค่าจดทะเบียนให้กระทรวงพาณิชย์ตามอัตราที่บอกไว้ค่ะ
การที่จะจัดตั้งบริษัท ก้ต้องมีผู้ลงทุนหรือผู้ถือหุ้นก่อนใช่มั้ยค่ะ เพราะฉะนั้น จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นทั้งหมดตกลงกันว่าจะลงทุนในบริษัทใดบริษัทหนึ่ง คือทุนจดทะเบียนบริษัทค่ะ เช่น มีคนที่ร่วมกันก่อตั้งบริษัท 5 คน โดยแต่ละคนลงทุน 20 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทนี้มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ค่ะ
แต่บริษัทอาจยังไม่ต้องเรียกชำระเงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นทั้ง 100 ล้านที่ระบุไว้ก็ได้ค่ะ ตามกฏหมายกำหนดทุนที่เรียกชำระขั้นต่ำไว้ที่ 25 % ของทุนจดทะเบียนค่ะ ดังนั้นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท อาจชำระ 25 ล้านบาทก่อนก็ได้ค่ะ แล้วค่อยชำระส่วนที่เหลือในภายหลัง หรือชำระเต็มจำนวน 100 ล้านบาทเลยก็ได้ค่ะจะได้ไม่ต้องมีภาระในภายหลังค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 227
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 22
สอบถามเพิ่มครับ
ตามความเข้าใจของผม
ถ้าเป็นบริษัทธรรมดา
จำนวนทุนจดทะเบียน กับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วต้องเท่ากัน
แต่เรื่องเงินอาจจะทยอยชำระเป็นงวดๆ แต่เริ่มแรกต้องมี 25% ใช่หรือไม่ครับ
แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชน
จำนวนทุนจดทะเบียน กับ จำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต้องเท่ากันก็ได้
เพราะให้ผู้ลงทุนมาซื้อ
แต่ทุนจดทะเบียนต้องชำระเต็ม 100 % เสมอ
ดังนั้นถ้าบริษัทเจ๊ง
บริษัทมหาชนก็รับผิดชอบเท่ากับมูลค่าที่ชำระแล้วเท่านั้น
ถูกหรือเปล่าครับ??
แล้วหุ้นบุริมสิทธิ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนจดทะเบียนหรือไม่ครับ ??
ขอบคุณครับ
ตามความเข้าใจของผม
ถ้าเป็นบริษัทธรรมดา
จำนวนทุนจดทะเบียน กับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วต้องเท่ากัน
แต่เรื่องเงินอาจจะทยอยชำระเป็นงวดๆ แต่เริ่มแรกต้องมี 25% ใช่หรือไม่ครับ
แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชน
จำนวนทุนจดทะเบียน กับ จำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต้องเท่ากันก็ได้
เพราะให้ผู้ลงทุนมาซื้อ
แต่ทุนจดทะเบียนต้องชำระเต็ม 100 % เสมอ
ดังนั้นถ้าบริษัทเจ๊ง
บริษัทมหาชนก็รับผิดชอบเท่ากับมูลค่าที่ชำระแล้วเท่านั้น
ถูกหรือเปล่าครับ??
แล้วหุ้นบุริมสิทธิ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนจดทะเบียนหรือไม่ครับ ??
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 24
chatchai เขียน:ถามเพิ่มครับ
ส่วนของผู้ถือหุ้นหลักๆก็จะมี ทุนจดทะเบียน ส่วนเกินมูลค่าหุ้น กำไรสะสม
ทั้งสามรายการมีความแตกต่างและมีความสำคัญต่างกันอย่างไรบ้างครับ
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น คือเงินที่ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์ค่ะ
กำไรสะสม คือ กำไรที่สะสมมาตลอดตั้งแต่เริ่มบริษัท
ส่วนรายละเอียดเรื่องนี้ สามารถติดตามได้ในกระทู้
"กำไรสะสม กำไรสะสมจัดสรร และกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร" นะค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 25
ตามปกติ หุ้นที่ออกไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนน่าจะมีหลักเหมือนกันคือchikojung เขียน:สอบถามเพิ่มครับ
ตามความเข้าใจของผม
ถ้าเป็นบริษัทธรรมดา
จำนวนทุนจดทะเบียน กับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วต้องเท่ากัน
แต่เรื่องเงินอาจจะทยอยชำระเป็นงวดๆ แต่เริ่มแรกต้องมี 25% ใช่หรือไม่ครับ
แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชน
จำนวนทุนจดทะเบียน กับ จำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต้องเท่ากันก็ได้
เพราะให้ผู้ลงทุนมาซื้อ
แต่ทุนจดทะเบียนต้องชำระเต็ม 100 % เสมอ
ดังนั้นถ้าบริษัทเจ๊ง
บริษัทมหาชนก็รับผิดชอบเท่ากับมูลค่าที่ชำระแล้วเท่านั้น
ถูกหรือเปล่าครับ??
แล้วหุ้นบุริมสิทธิ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนจดทะเบียนหรือไม่ครับ ??
ขอบคุณครับ
1. เมื่อออกหุ้นแล้วทยอยเก็บเงินค่าหุ้นได้ (เข้าใจว่า บมจ. จะมีกำหนดเวลาเรียกชำระสั้นๆ ไม่ให้ค้างนาน)
2. เมื่อบริษัทเจ็ง ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อ ถ้าชำระไม่เต็มต้องชำระให้เต็ม (ไม่ใช่รับผิดชอบแค่จำนวนที่ชำระไปแล้ว)
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริษัท 2 ประเภท น่าจะเป็นที่ บริษัทมหาชนเหมือนมีเวลาจำกัดในการจ่ายเงิน เขาไม่ให้ค้างนาน นอกจากนั้น ถ้าหุ้นที่เรียกชำระไม่เต็มจะไม่สามารถนำมา trade ในตลาดได้ ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยเจอหุ้นในตลาดที่จ่ายไม่เต็ม
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 26
เพิ่มเติมจากอาจารย์นะค่ะparporn เขียน:ตามปกติ หุ้นที่ออกไม่ว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนน่าจะมีหลักเหมือนกันคือchikojung เขียน:สอบถามเพิ่มครับ
ตามความเข้าใจของผม
ถ้าเป็นบริษัทธรรมดา
จำนวนทุนจดทะเบียน กับจำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วต้องเท่ากัน
แต่เรื่องเงินอาจจะทยอยชำระเป็นงวดๆ แต่เริ่มแรกต้องมี 25% ใช่หรือไม่ครับ
แต่ถ้าเป็นบริษัทมหาชน
จำนวนทุนจดทะเบียน กับ จำนวนทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต้องเท่ากันก็ได้
เพราะให้ผู้ลงทุนมาซื้อ
แต่ทุนจดทะเบียนต้องชำระเต็ม 100 % เสมอ
ดังนั้นถ้าบริษัทเจ๊ง
บริษัทมหาชนก็รับผิดชอบเท่ากับมูลค่าที่ชำระแล้วเท่านั้น
ถูกหรือเปล่าครับ??
แล้วหุ้นบุริมสิทธิ ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุนจดทะเบียนหรือไม่ครับ ??
ขอบคุณครับ
1. เมื่อออกหุ้นแล้วทยอยเก็บเงินค่าหุ้นได้ (เข้าใจว่า บมจ. จะมีกำหนดเวลาเรียกชำระสั้นๆ ไม่ให้ค้างนาน)
2. เมื่อบริษัทเจ็ง ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเท่ากับราคาหุ้นที่ซื้อ ถ้าชำระไม่เต็มต้องชำระให้เต็ม (ไม่ใช่รับผิดชอบแค่จำนวนที่ชำระไปแล้ว)
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างบริษัท 2 ประเภท น่าจะเป็นที่ บริษัทมหาชนเหมือนมีเวลาจำกัดในการจ่ายเงิน เขาไม่ให้ค้างนาน นอกจากนั้น ถ้าหุ้นที่เรียกชำระไม่เต็มจะไม่สามารถนำมา trade ในตลาดได้ ดังนั้นเราจึงไม่ค่อยเจอหุ้นในตลาดที่จ่ายไม่เต็ม
ถ้าบริษัทจดทะเบียน 100 ล้าน แต่ชำระเพียง 30 ล้านบาท ความรับผิดชอบของบริษัทไม่ได้ขึ้นอยู่กับทุนที่เรียกชำระแล้วค่ะ แต่ขึ้นอยู่กับทุนจดทะเบียนของกิจการค่ะ ดังนั้นในกรณีนี้หากเกิดความเสียหายหรือเกิดการฟ้องร้อง บริษัทจึงมีภาระต้องชำระหนี้สินในมูลค่า
100 ล้านบาท ไม่ใช่ 30 ล้านบาท ตามที่ได้ชำระไว้ค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 27
ดูเหมือนเว็ปตอบปัญหาธุรกิจมากกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น แต่อย่างไรก็ตาม การรู้เข้าใจพื้นฐานก็นับว่าดีต่อการตัดสินใจลงทุน ขอให้ความรู้ในการลงทุนเกี่ยวกับหุ้นทุน และส่วนผู้ถือหุ้นในการวิเคราะห์เพื่อการลงทุน
ทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วมีความสำคัญในการวิเคราะห์มากกว่าทุนจดทะเบียน
ทุนจดทะเบียนอย่างเดียวก็ให้ความหมายเหมือนที่กล่าวข้างต้น คือบอกเพียงเจตจำนงว่าความรับผิดชอบที่จะเกิดกับเงินลงทุนในเบื้องต้นเป็นเท่าไร มีหุ้นที่จะสามารถหมุนเวียนเปลี่ยนมือได้เท่าไร นักลงทุนเสียหายเท่าที่เงินลงไปเท่านั้น ซื้อในตลาด 100,000 หุ้นๆละ 12 บาทรวมลงไป 1.2 ล้าน ถ้าบริษัทล้ม เราก็เสียเท่านี้ ปิดกิจการล้มละลาย ถ้าขายสินทรัพย์เหลือเงินถึงเราหรือไม่ก็อยู่ที่ ขายได้มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ในบริษัทจดทะเบียนอาจจดทะเบรยนมากกว่าที่เรียกชำระเนื่องจากส่วนที่มากกว่าจะจดเพื่อรองรับหุนที่อาจเกิดจากการใช้สิทธิจาก warrant ไม่ว่าจะออกให้นักลงทุนทั่วไปหรือให้พนักงาน ผู้บริหาร หรือจากหุ้นกู้แปลงสภาพ บริษัทมหาชนจะเรียกชำระเต็มร้อย เพราะถ้าขำระไม่เต็มจะซื้อขายอย่างไร นาย ก เอาหุ้น ชำระเต็มกับไม่เต็มไปขายในตลาด คนซื้อจะรู้ได้อย่างไร ดังน้นหุ้นชำระไม่เต็มจะจดทะเบียนซื้อขายไม่ได้ เพราะหุ้นในตลาดไม่ได้แยกว่า หุ้นสามัญ abc มีแบบชำระ เต็ม 50% 25% แล้วแยกราคา
การลงทุนในตลาดหุ้นจึงตัดประเด็นนี้ไปได้ บางคนอาจขี้สงสัยอีกถามว่า แล้วที่ซื้อมามั่นใจได้อย่างไร ตอบว่า ไม่ต้องกังวล ถ้าชำระไม่เต็มตลาดหลักทรัพย์จะตรวจสอบให้ก่อนนำมาซื้อขา มีหน่วยงานกำกับให้ครับ
ทีนี้ทุนจดทะเบียน (ต่อไปถือว่าเรียกเต็มร้อยแล้ว) เท่าไรดี ในแง่การลงทุนในหุ้นแบบ VI ให้ดู DE Ratio ในด้าน asset คือ investment desicion making (uses of fund) ส่วน debt & equty คือ financing decision making (sources fo fund) บริษัทที่ดีต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสมตามลักษณะอุตสาหกรรม หลักง่ายๆ คือเปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันโดยเฉพาะ blue chip ในกลุ่ม เกณฑ์เบื้องต้นง่ายๆ ที่ใช้ประเมินเบื้องต้นคือ อุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนใน fixed assets (PPE) อาจมี D/E มากหน่อย เกิน 1 ได้แต่ไม่ควรมากไป เช่น ใกล้ 2 หรือเกิน 2 ส่วนธุรกิจทีต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์มากๆ เช่น Adverting Agency, Software developememt, IT service ควรมี D/E ต่ำๆ มาก เพราะการอยู่รอดขึ้นกับคนเป็นหลัก เพราะไม่มีสินทรัพย์จับต้องได้
และที่สำคัญการจดทะเบียนมากๆ (เกินไป) เราไม่รู้หรอก ควรสนใจ ROE ประกอบด้วย จะจดมากจดน้อย ถ้าความเสี่ยง ok และ ROE ดี ก็นับว่าโครงสร้างและความสามารถทำกำไรเหมาะสม ถ้า D/E ต่ำ แต่ ROE ก็ต่ำ แปลว่าเอาเงินเราไปแต่สร้างผลตอบแทนไม่คุ้ม ส่วน D/E สูงๆ ROE ก็สูง ดูเหมือนดี แต่กิจการเสี่ยงมากด้วยที่อาจ เกิด finance failure ง่าย ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจในและนอกประเทศที่ผันผวน จึงอย่าดูแต่ขนาด แต่ควรดู ratio ประกอบด้วย
ทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วมีความสำคัญในการวิเคราะห์มากกว่าทุนจดทะเบียน
ทุนจดทะเบียนอย่างเดียวก็ให้ความหมายเหมือนที่กล่าวข้างต้น คือบอกเพียงเจตจำนงว่าความรับผิดชอบที่จะเกิดกับเงินลงทุนในเบื้องต้นเป็นเท่าไร มีหุ้นที่จะสามารถหมุนเวียนเปลี่ยนมือได้เท่าไร นักลงทุนเสียหายเท่าที่เงินลงไปเท่านั้น ซื้อในตลาด 100,000 หุ้นๆละ 12 บาทรวมลงไป 1.2 ล้าน ถ้าบริษัทล้ม เราก็เสียเท่านี้ ปิดกิจการล้มละลาย ถ้าขายสินทรัพย์เหลือเงินถึงเราหรือไม่ก็อยู่ที่ ขายได้มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ในบริษัทจดทะเบียนอาจจดทะเบรยนมากกว่าที่เรียกชำระเนื่องจากส่วนที่มากกว่าจะจดเพื่อรองรับหุนที่อาจเกิดจากการใช้สิทธิจาก warrant ไม่ว่าจะออกให้นักลงทุนทั่วไปหรือให้พนักงาน ผู้บริหาร หรือจากหุ้นกู้แปลงสภาพ บริษัทมหาชนจะเรียกชำระเต็มร้อย เพราะถ้าขำระไม่เต็มจะซื้อขายอย่างไร นาย ก เอาหุ้น ชำระเต็มกับไม่เต็มไปขายในตลาด คนซื้อจะรู้ได้อย่างไร ดังน้นหุ้นชำระไม่เต็มจะจดทะเบียนซื้อขายไม่ได้ เพราะหุ้นในตลาดไม่ได้แยกว่า หุ้นสามัญ abc มีแบบชำระ เต็ม 50% 25% แล้วแยกราคา
การลงทุนในตลาดหุ้นจึงตัดประเด็นนี้ไปได้ บางคนอาจขี้สงสัยอีกถามว่า แล้วที่ซื้อมามั่นใจได้อย่างไร ตอบว่า ไม่ต้องกังวล ถ้าชำระไม่เต็มตลาดหลักทรัพย์จะตรวจสอบให้ก่อนนำมาซื้อขา มีหน่วยงานกำกับให้ครับ
ทีนี้ทุนจดทะเบียน (ต่อไปถือว่าเรียกเต็มร้อยแล้ว) เท่าไรดี ในแง่การลงทุนในหุ้นแบบ VI ให้ดู DE Ratio ในด้าน asset คือ investment desicion making (uses of fund) ส่วน debt & equty คือ financing decision making (sources fo fund) บริษัทที่ดีต้องมีโครงสร้างที่เหมาะสมตามลักษณะอุตสาหกรรม หลักง่ายๆ คือเปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันโดยเฉพาะ blue chip ในกลุ่ม เกณฑ์เบื้องต้นง่ายๆ ที่ใช้ประเมินเบื้องต้นคือ อุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนใน fixed assets (PPE) อาจมี D/E มากหน่อย เกิน 1 ได้แต่ไม่ควรมากไป เช่น ใกล้ 2 หรือเกิน 2 ส่วนธุรกิจทีต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์มากๆ เช่น Adverting Agency, Software developememt, IT service ควรมี D/E ต่ำๆ มาก เพราะการอยู่รอดขึ้นกับคนเป็นหลัก เพราะไม่มีสินทรัพย์จับต้องได้
และที่สำคัญการจดทะเบียนมากๆ (เกินไป) เราไม่รู้หรอก ควรสนใจ ROE ประกอบด้วย จะจดมากจดน้อย ถ้าความเสี่ยง ok และ ROE ดี ก็นับว่าโครงสร้างและความสามารถทำกำไรเหมาะสม ถ้า D/E ต่ำ แต่ ROE ก็ต่ำ แปลว่าเอาเงินเราไปแต่สร้างผลตอบแทนไม่คุ้ม ส่วน D/E สูงๆ ROE ก็สูง ดูเหมือนดี แต่กิจการเสี่ยงมากด้วยที่อาจ เกิด finance failure ง่าย ยิ่งในสภาพเศรษฐกิจในและนอกประเทศที่ผันผวน จึงอย่าดูแต่ขนาด แต่ควรดู ratio ประกอบด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 28
ทุนจดทะเบียน หมายถึงจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนคูณด้วยราคาพาร์ของหุ้นใช่ไหมครับ
บรรทัดนี้มันเขียนเส้นใต้ทีึบหรือเส้นใต้สองเส้นแสดงว่ามันจบครบถ้วนขบวนความ
แต่ประเด็นที่ผมสนใจคือ
1. ถ้าขายหุ้นมากกว่าราคาพาร์หรือน้อยกว่าราคาพาร์ มันจะไปบันทึกบัญชีที่ส่วนเกินมูลค่าหรือส่วนด้อยมูลค่าใช่ไหมครับ
ซึ่งส่วนนนี้หากบริษัทขาดทุนสามารถใช้ส่วนนี้ล้างขาดทุนสะสมได้ใช่ไหมครับ
2. ถ้าหากทุนจดทะเบียนจดไว้ 200 หุ้น แต่ขายจริง 100 หุ้น เหลือหุ้นที่ยังไม่ขาย มันจะไประบุที่ไหนละครับ ว่าขายไม่หมด
3. การจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือลดทุนนั้น จดได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์่ใช่ไหมครับ โดยที่ต้องมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นประกอบการจดทะเบียนดังกล่าว หากมีข้อโต้แย้งจากเจ้าหนี้ของบริษัทก็ไม่สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ
บรรทัดนี้มันเขียนเส้นใต้ทีึบหรือเส้นใต้สองเส้นแสดงว่ามันจบครบถ้วนขบวนความ
แต่ประเด็นที่ผมสนใจคือ
1. ถ้าขายหุ้นมากกว่าราคาพาร์หรือน้อยกว่าราคาพาร์ มันจะไปบันทึกบัญชีที่ส่วนเกินมูลค่าหรือส่วนด้อยมูลค่าใช่ไหมครับ
ซึ่งส่วนนนี้หากบริษัทขาดทุนสามารถใช้ส่วนนี้ล้างขาดทุนสะสมได้ใช่ไหมครับ
2. ถ้าหากทุนจดทะเบียนจดไว้ 200 หุ้น แต่ขายจริง 100 หุ้น เหลือหุ้นที่ยังไม่ขาย มันจะไประบุที่ไหนละครับ ว่าขายไม่หมด
3. การจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือลดทุนนั้น จดได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์่ใช่ไหมครับ โดยที่ต้องมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นประกอบการจดทะเบียนดังกล่าว หากมีข้อโต้แย้งจากเจ้าหนี้ของบริษัทก็ไม่สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 29
ตอบ ข้อ 1. หากออกจำหน่ายหุ้นมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาพาร์ ผลต่างระหว่างราคาพาร์กับราคาที่จำหน่ายได้ จะบันทึกเป็นส่วนเกินมูลค่าหุ้น หรือ ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น แล้วแต่กรณี หากบริษัทมีส่วนเกินกว่ามูลค่าหุ้น สามารถนำขาดทุนสะสมมาล้างได้ครับ แต่ทั้งนี้ต้องได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อนmiracle เขียน:ทุนจดทะเบียน หมายถึงจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนคูณด้วยราคาพาร์ของหุ้นใช่ไหมครับ
บรรทัดนี้มันเขียนเส้นใต้ทีึบหรือเส้นใต้สองเส้นแสดงว่ามันจบครบถ้วนขบวนความ
แต่ประเด็นที่ผมสนใจคือ
1. ถ้าขายหุ้นมากกว่าราคาพาร์หรือน้อยกว่าราคาพาร์ มันจะไปบันทึกบัญชีที่ส่วนเกินมูลค่าหรือส่วนด้อยมูลค่าใช่ไหมครับ
ซึ่งส่วนนนี้หากบริษัทขาดทุนสามารถใช้ส่วนนี้ล้างขาดทุนสะสมได้ใช่ไหมครับ
2. ถ้าหากทุนจดทะเบียนจดไว้ 200 หุ้น แต่ขายจริง 100 หุ้น เหลือหุ้นที่ยังไม่ขาย มันจะไประบุที่ไหนละครับ ว่าขายไม่หมด
3. การจดทะเบียนเพิ่มทุนหรือลดทุนนั้น จดได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์่ใช่ไหมครับ โดยที่ต้องมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นประกอบการจดทะเบียนดังกล่าว หากมีข้อโต้แย้งจากเจ้าหนี้ของบริษัทก็ไม่สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงใช่หรือไม่ครับ
ข้อ 2 ต้องอ่านที่หน้างบแสดงฐานะการเงิน ในส่วนของผู้ถือหุ้น จะอธิบายว่าบริษัทมีหุ้นจดทะเบียนจำนวนกี่หุ้น ออกจำหน่ายแล้วกี่หุ้น ส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายก็คือจำนวนผลต่างระหว่างจำนวนหุ้นจดทะเบียนกับจำนวนหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้ว
ข้อ 3 การเพิ่มทุนหรือลดทุน ต้องได้ขอมติพิเศษจากผู้ถือหุ้นก่อนและให้นำมติไปจดที่กระทรวงพาณิชย์ กรณีลดทุนนั้น หากเจ้าหนี้ยื่นคำคัดค้าน บริษัทไม่สามารถจดทะเบียนได้ การเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้ยื่นคำคัดค้านเนื่องจากการลดทุนทำให้ฐานะและความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทด้อยลง กฎหมายจึงต้องปกป้องเจ้าหนี้โดยเปิดโอกาสให้ยื่นคำคัดค้านครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "ทุนจดทะเบียน…เรื่องง่ายๆที่หลายคนยังไม่เข้าใจ"
โพสต์ที่ 30
อยากสอบถามเพิ่มเติมครับ บริษัทที่มีกำไร หรือกำไรสะสมอยู่แล้วสามารถลดทุนจดทะเบียนได้รึเปล่า มีคนเขาทำกันรึเปล่าครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก