Stock Valuation EP1
-
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 1
ก่อนจะเข้าเนื้อหาผมขอเกริ่นก่อนว่า ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มากนัก เพียงแต่เคยเรียนในเชิงทฤษฎีมาเท่านั้น แต่เนื่องจากมีคนขอผมเขียนเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ รวมทั้งคิดว่าคงเป็นเรื่องที่หลายคนๆสนใจ ดังนั้นผมจึงได้ตัดสินใจที่จะเขียน
การเรียบเรียงเนื้อหา ผมจะพยายามเน้นภาษาที่เรียบง่ายและจัดเรียงเนื้อหาให้ดูไม่สับสน นอกจากนี้จะพยายามเขียนตามทฤษฎี ส่วนไหนที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวจะพยายามแบ่งไว้อย่างชัดเจน
หากมีเนื้อหาส่วนใดที่ผิดพลาด ผมคงต้องขออภัยจริงๆ และหวังว่าคงจะมีหลายๆคนที่เก่งๆมาช่วยตรวจสอบและแก้ไขให้
Stock Valuation นั้นเป็นการคำนวณหาราคาที่แท้จริงของหุ้นสามัญ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ Absolute Valuation และ Relative Valuation
Absolute Valuation เป็นการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญ โดยจะใช้การ คิดลดกระแสเงินสดประเภทต่างๆเช่น เงินปันผล (Dividend), กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow) และกำไรคงเหลือ (Residual Income)
Relative Valuation เป็นการหามูลค่าที่เหมาะสม โดยนำทฤษฎีทางเศรษศาสตร์ที่เรียกว่า “กฎของสินค้าราคาเดียว (Law of one price)” ซึ่งกล่าวว่า สิ่งของหรือสินทรัพย์ที่เหมือนกัน ควรจะมีราคาที่เท่ากันด้วย หลักการหามูลค่าเหมาะสมโดยวิธีการนี้จึงเป็นการเปรียบที่ Price Multiple เช่น P/E, P/B, P/S, EV/EBITDA เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน
ทั้งนี้ผมได้ทำภาพประกอบหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้อกับการทำ Stock Valuation ไว้ ซึ่งจะพยายามอธิบายทุกหัวข้อภายหลังครับ
การเรียบเรียงเนื้อหา ผมจะพยายามเน้นภาษาที่เรียบง่ายและจัดเรียงเนื้อหาให้ดูไม่สับสน นอกจากนี้จะพยายามเขียนตามทฤษฎี ส่วนไหนที่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวจะพยายามแบ่งไว้อย่างชัดเจน
หากมีเนื้อหาส่วนใดที่ผิดพลาด ผมคงต้องขออภัยจริงๆ และหวังว่าคงจะมีหลายๆคนที่เก่งๆมาช่วยตรวจสอบและแก้ไขให้
Stock Valuation นั้นเป็นการคำนวณหาราคาที่แท้จริงของหุ้นสามัญ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆคือ Absolute Valuation และ Relative Valuation
Absolute Valuation เป็นการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้นสามัญ โดยจะใช้การ คิดลดกระแสเงินสดประเภทต่างๆเช่น เงินปันผล (Dividend), กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow) และกำไรคงเหลือ (Residual Income)
Relative Valuation เป็นการหามูลค่าที่เหมาะสม โดยนำทฤษฎีทางเศรษศาสตร์ที่เรียกว่า “กฎของสินค้าราคาเดียว (Law of one price)” ซึ่งกล่าวว่า สิ่งของหรือสินทรัพย์ที่เหมือนกัน ควรจะมีราคาที่เท่ากันด้วย หลักการหามูลค่าเหมาะสมโดยวิธีการนี้จึงเป็นการเปรียบที่ Price Multiple เช่น P/E, P/B, P/S, EV/EBITDA เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน
ทั้งนี้ผมได้ทำภาพประกอบหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้อกับการทำ Stock Valuation ไว้ ซึ่งจะพยายามอธิบายทุกหัวข้อภายหลังครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
- koh
- Verified User
- โพสต์: 273
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 5
น่าจะเป็นอีกกระทู้ที่เข้าคลังกระทู้คุณค่า รอฟังครับ
- murder_doll
- Verified User
- โพสต์: 1608
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 6
รอฟังด้วยคนครับ
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ข้าวปลาคือของจริง
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 9
ต่อเลยครับ รออ่านอยู่ครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- Verified User
- โพสต์: 210
- ผู้ติดตาม: 0
-
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 21
งั้นผมขอเริ่มที่ Absolute Valuation ครับ
ซึ่งจะใช้หลักการคิดลดกระแสเงินสด โดย absolute valuation แต่ละประเภทก็จะใช้กระแสเงินสดและdiscount rate ที่ต่างกันไป
เรามาเริ่มกันที่ตัวเเรก Dividend Discount Model (DDM)
DDM เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของหุ้นโดยวิธีการคิดลดเงินปันผล ดังนั้นวิธีการนี้ต้องเริ่มจากการคาดการณ์เงินปันผลในอนาคตจากนั้นเราก็จะคิดลด(Discount)ด้วยต้นทุนส่วนของเจ้าของ(require of return on equity)
โดยเริ่มจากสูตรอย่างง่ายคือ สูตรของ Gordon
P0=D0(1+g)/(Re-g)
โดย P0 คือราคาหุ้นที่เหมาะ
D0 คือเงินปันผลงวดล่าสุดที่เพิ่งจ่ายออกไปแล้ว
g คืออัตราการเติบโตของเงินปันผล
Re คือต้นทุนส่วนของเจ้าของ
คิดว่าตอนนี้บางคนอาจเริ่มสงสัยว่าตัวแปรบางตัวเช่น g หรือ Re หายังไง เอาเป็นว่าผมจะต่อในคราวหน้านะครับ
ซึ่งจะใช้หลักการคิดลดกระแสเงินสด โดย absolute valuation แต่ละประเภทก็จะใช้กระแสเงินสดและdiscount rate ที่ต่างกันไป
เรามาเริ่มกันที่ตัวเเรก Dividend Discount Model (DDM)
DDM เป็นการหามูลค่าปัจจุบันของหุ้นโดยวิธีการคิดลดเงินปันผล ดังนั้นวิธีการนี้ต้องเริ่มจากการคาดการณ์เงินปันผลในอนาคตจากนั้นเราก็จะคิดลด(Discount)ด้วยต้นทุนส่วนของเจ้าของ(require of return on equity)
โดยเริ่มจากสูตรอย่างง่ายคือ สูตรของ Gordon
P0=D0(1+g)/(Re-g)
โดย P0 คือราคาหุ้นที่เหมาะ
D0 คือเงินปันผลงวดล่าสุดที่เพิ่งจ่ายออกไปแล้ว
g คืออัตราการเติบโตของเงินปันผล
Re คือต้นทุนส่วนของเจ้าของ
คิดว่าตอนนี้บางคนอาจเริ่มสงสัยว่าตัวแปรบางตัวเช่น g หรือ Re หายังไง เอาเป็นว่าผมจะต่อในคราวหน้านะครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
-
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 25
Stock Valuation EP2 DDM Part2 (ถือว่าข้างบนเป็น Part1 นะครับ)
การหา g
g นั้นคืออัตราการเติบโตในอนาคต ซึ่งมีสูตรในการหาคือ
b*ROE
โดยที่ b คือ อัตราการนำกำไรไปลงทุนต่อ(Retention Ratio)
ตัวอย่างเช่น บริษัทมีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 10 บาท ปันผลไป 4 บาท ดังนั้น
บริษัทจะมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้น 6 บาท ทั้งนี้เราจะได้ b = 6/10 หรือ 60% นั่นเอง
ซึ่งหากเราคาดการณ์ว่าในอนาคต ROE จะคงที่ที่ 20% ดังนั้นเราจะไำ้ด้ g เท่ากับ
0.60*0.20=0.12 ซึ่งจะได้ g เท่ากับ 12% นั่นเอง
อย่างไรก็ตามในเชิงปฎิบัติ นั้นผมคิดว่าในการหา b และ ROE นั้นเราควรดูย้อนหลังหลายๆปี
แล้วใช้ค่าเฉลี่ยของ b และ ROE มากกว่าที่จะใช้ของปีล่าสุด ส่วนจะใช้ย้อนหลังกี่ปีนั้นอาจขึ้น
อยู่กับบริษัทที่ลงทุนและมุมมองของแต่ละบุคคล สำหรับผมคิดว่าช่วงที่เหมาะคือ 3-5 ปี
Part ต่อไปจะเป็นเรื่องการหา Re นะครับ อันนี้ค่อนข้างยาวหน่อย
การหา g
g นั้นคืออัตราการเติบโตในอนาคต ซึ่งมีสูตรในการหาคือ
b*ROE
โดยที่ b คือ อัตราการนำกำไรไปลงทุนต่อ(Retention Ratio)
ตัวอย่างเช่น บริษัทมีกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 10 บาท ปันผลไป 4 บาท ดังนั้น
บริษัทจะมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้น 6 บาท ทั้งนี้เราจะได้ b = 6/10 หรือ 60% นั่นเอง
ซึ่งหากเราคาดการณ์ว่าในอนาคต ROE จะคงที่ที่ 20% ดังนั้นเราจะไำ้ด้ g เท่ากับ
0.60*0.20=0.12 ซึ่งจะได้ g เท่ากับ 12% นั่นเอง
อย่างไรก็ตามในเชิงปฎิบัติ นั้นผมคิดว่าในการหา b และ ROE นั้นเราควรดูย้อนหลังหลายๆปี
แล้วใช้ค่าเฉลี่ยของ b และ ROE มากกว่าที่จะใช้ของปีล่าสุด ส่วนจะใช้ย้อนหลังกี่ปีนั้นอาจขึ้น
อยู่กับบริษัทที่ลงทุนและมุมมองของแต่ละบุคคล สำหรับผมคิดว่าช่วงที่เหมาะคือ 3-5 ปี
Part ต่อไปจะเป็นเรื่องการหา Re นะครับ อันนี้ค่อนข้างยาวหน่อย
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
-
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 26
ช่วงนี้จริงๆผมค่อนข้างว่าง เอาเป็นว่าจะเปลี่ยนแผนเร่งเขียนให้เร็วขึ้น
(แต่ไม่อยากรับปากว่าจะเร็วขึ้นแค่ไหนเดี๋ยวทำไม่ได้) แต่ถ้าช่วงไหน
ผมงานยุ่งก็อาจหายๆไปเลย ดูจากเนื้อหาแล้วอาจใช้เวลาประมาณ
ซักเืดือนนึงจึงจะเขียนหมด
(แต่ไม่อยากรับปากว่าจะเร็วขึ้นแค่ไหนเดี๋ยวทำไม่ได้) แต่ถ้าช่วงไหน
ผมงานยุ่งก็อาจหายๆไปเลย ดูจากเนื้อหาแล้วอาจใช้เวลาประมาณ
ซักเืดือนนึงจึงจะเขียนหมด
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
-
- Verified User
- โพสต์: 322
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 28
เนื่องจากมีคนถามผมมาใน Facebook ว่า g ข้อมูลในอดีตได้หรือไม่
ซึ่งคำตอบจากความเห็นของผมคือ
g มักจะใช้แนวโน้มข้อมูลในอดีตในการช่วยคาดการณ์ แต่อย่างไรก็ตามเราควรศึกษาข้อมูลในเชิงคุณภาพในปัจจุบัน เพื่อช่วยในการคาดการณือนาคตด้วย เช่นปัจจุบันอาจมีการทำวิจัยสินค้าตัวใหม่ ซึ่งหากสำเร็จ ก็จะสร้างอัตราการเติบโตให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากก็ได้
จริงๆแล้วประสบการณ์เชิงปฎิบัติผมค่อนข้างน้อย(ความรู้เชิงทฤษฎีก็ไม่ได้เยอะ)ถ้าเป็นไปได้ก็อยากฟังความคิดเห็นคนอื่นเช่นกันครับ
ซึ่งคำตอบจากความเห็นของผมคือ
g มักจะใช้แนวโน้มข้อมูลในอดีตในการช่วยคาดการณ์ แต่อย่างไรก็ตามเราควรศึกษาข้อมูลในเชิงคุณภาพในปัจจุบัน เพื่อช่วยในการคาดการณือนาคตด้วย เช่นปัจจุบันอาจมีการทำวิจัยสินค้าตัวใหม่ ซึ่งหากสำเร็จ ก็จะสร้างอัตราการเติบโตให้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากก็ได้
จริงๆแล้วประสบการณ์เชิงปฎิบัติผมค่อนข้างน้อย(ความรู้เชิงทฤษฎีก็ไม่ได้เยอะ)ถ้าเป็นไปได้ก็อยากฟังความคิดเห็นคนอื่นเช่นกันครับ
การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นจากการยอมรับ
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Stock Valuation EP1
โพสต์ที่ 30
ขอ some of the part ด้วยครับ
อยากรู้ว่าคิดอย่างไร
อยากรู้ว่าคิดอย่างไร