จับฉ่าย
-
- Verified User
- โพสต์: 463
- ผู้ติดตาม: 0
จับฉ่าย
โพสต์ที่ 1
“ชีวิต เปรียบประหนึ่งสายธารแห่งสรรพสิ่ง
ภายใต้ความเรียบง่ายนั้น ล้วนมีที่มาซับซ้อนยิ่งนัก”
ทำเป็นสำนวนกำลังภายในไปงั้นแหละครับ อันที่จริงผมกำลังจะพูดถึง
“จับฉ่าย” อะไรง่ายๆที่เราๆท่านๆรู้จักกันเป็นอย่างดี
ผมรู้จักเฮีย “จับฉ่าย”มาตั้งแต่เด็ก แม่เป็นคนแนะนำให้รู้จัก และก็ได้เจอ
หน้ากันมาเป็นระยะๆตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นบางช่วงที่ผมไปอยู่ต่างประเทศก็จะห่างหายกันไปบ้าง แต่กระนั้นก็ตามผมก็ยังชวนแกไปเยี่ยมด้วยความคิดถึงเป็นบางคราว
บอกตามตรงถึงผมจะค่อนข้างสนิทกับเฮียเขาพอสมควร แต่ผมก็ไม่เคยรู้เรื่องราวของเฮียแกเลย ด้วยมองว่าเฮียจับก็เป็นเฮียจับ เรื่อยๆเรียบๆจืดๆงั้นๆ
วันนี้ไม่รู้นึกยังไง ผมเข้าไปคุยกับเฮียจับฉ่าย
ถามคำถามแรกว่าชื่อเฮียแปลว่าอะไร?
“แหมนึกยังไงกั๊น ไม่ค่อยมีคนถามเฮียแบบนี้มาก่อนเลยนะเนี่ย”
“จับ หรือ จั๊บ นี่แปลว่า ๑๐ อีกความหมายแปลว่า เปียกหรือแฉะ ก็ได้ ส่วน ฉ่าย แปลว่า ผัก รวมแล้วก็จับฉ่ายอย่างที่เห็นนี่แหละ”
ผมร้องอ๋อ พาลนึกไปถึง จับเลี้ยง คงเป็นอะไรๆหลายอย่างเย็นๆ ส่วนโอเลี้ยงก็คง อะไรดำๆเย็นๆ
แล้วเฮียมาจากไหนล่ะ ผมถามต่อ
“เฮียมาอยู่เมืองไทยก็นมนานกาเลมาแล้ว เท่าที่จำความได้มีผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า เฮียมาจากมณฑลอันฮุย ประเทศจีนโน่น”
ผมถามไปว่า แล้วมณฑลอันฮุยนี่มันอยู่ตรงไหนของจีนล่ะ
“ก็อยู่ตรงกลางๆประเทศค่อนมาทางทิศตะวันออก ใกล้กับเมืองเซี่ยงไฮ้”
“เขาว่ากันว่า เฮียเกิดที่นั่น”
ยังไม่ทันที่ผมจะถามต่อ เฮียแกก็ทำท่าทางครุ่นคิด แล้วพูดขึ้นแบบเอาจริงเอาจังว่า
“แต่บางคนเล่าลือกันว่า เฮียเกิดจากคนๆนึง!!!”
“เขาคนนั้นชื่อ...หลี่ หง จาง”
“ใครกันเฮีย เกิดมาไม่เคยได้ยินชื่อเลย” ผมถาม
เฮียจับจึงเล่าให้ผมฟังว่า หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับจับฉ่ายแล้ว ผู้คนมักนึกถึง หลี่ หง จาง อยากรู้จักว่า หลี่ หง จาง เป็นใคร ก็ต้องย้อนไปสมัยพระนางซูสีไทเฮา
หากเปรียบเทียบกับไทยก็ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕
พระนางซูสีไทเฮานั้นอยู่ในช่วงสุดท้ายราชวงศ์ชิง เป็นยุคที่นานาชาติ ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐ รัสเซีย แม้กระทั่งญี่ปุ่น เข้ามารุมทึ้งหาผลประโยชน์จากจีน อีกทั้งเป็นช่วงที่ภายในประเทศก็อ่อนแอ มีการกบฏ มีคอร์รัปชั่น มากมาย
หลี่ หง จาง (พ.ศ.๒๓๖๖-พ.ศ.๒๔๔๔)เกิดที่มณฑลอันฮุย สอบเข้ารับราชการ ได้รับชื่อเสียงนำกองทัพปราบกบฏต่างๆ จนได้เป็นผู้ว่าราชการมณฑล และต่อมาก็มีบทบาทสำคัญสูงสุดในเรื่องการต่างประเทศที่ต้องรับมือกับนานาชาติ รวมทั้งการปฏิรูปอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของประเทศจีน
“แต่ชีวิตของ หลี่ หง จาง ไม่ได้มีแค่นั้น” เฮียจับทำเสียงเศร้า
จากการที่ท่านหลี่ หง จาง ต้องเผชิญคือศึก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งคือศึกกับต่างชาติที่เข้ามารุกราน กับ ศึกภายในที่มาจากระบบการปกครองจากส่วนกลางและศึกจากกลุ่มกบฎต่างๆ บางครั้งท่านหลี่ต้องเป็นมิตรกับฝ่ายต่างชาติเพื่อมาปราบกลุ่มกบฏ บางครั้งต้องเป็นมิตรกับกลุ่มกบฏเพื่อป้องกันอำนาจจากส่วนกลาง
บางมุมมอง บางผู้คน จึงเรียกท่านหลี่ หง จาง ว่า “ผู้ทรยศ”
อืม ! ชีวิตท่านหลี่นี่ก็ออกแนว “จับฉ่าย” นะเนี่ย ผมนึกในใจแต่ไม่ได้พูดออกไป แต่ถามเฮียจับไปว่า “แล้วท่านหลี่มาเป็นผู้ให้กำเนิดเฮีย ได้ยังไงกัน”
เฮียจับเล่าให้ผมฟังต่อว่า ด้วยความที่เป็นขุนนางด้านต่างประเทศ ทางราชสำนักได้ส่งท่านหลี่ หง จางไปเยือนยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา ครั้งหนึ่งท่านจัดงานเลี้ยงอาหารจีนให้แขกชาวอเมริกัน เมื่อทานเสร็จแล้วแขกยังติดใจอยากทานอะไรอีก ท่านหลี่จึงสั่งพ่อครัวให้ทำเพิ่ม แต่เผอิญว่าอาหารที่เตรียมไว้หมดแล้วพ่อครัวจึงเอาของเหลือๆเช่น ผักต่างๆ เห็ด ไก่ ลูกชิ้นปลา ปลิงทะเล มารวมกันทำอาหาร
พอได้รับประทานแขกชาวอเมริกันชื่นชมไม่ขาดปากว่าอร่อยมาก แขกอเมริกันถามท่านหลี่ว่า อาหารนี้ชื่ออะไร ท่านหลี่ หง จาง เองก็ไม่ทราบแต่ก็ตอบอย่างชาญฉลาดไปว่า .... “จับฉ่าย”
ตั้งแต่นั้นมา “จับฉ่าย” ก็ขึ้นชื่อเป็นของดังร้านอาหารจีนในอเมริกา!!!
“นี่ละ ประวัติความเป็นมาของเฮีย ฟังแล้วก็คิดเอาเองนะว่า เฮียเกิดที่อันฮุย หรือ กำเนิดจากท่านหลี่ หง จาง” เฮียจับแกสรุปตบท้าย
โอ้ โฮ เฮะ เห็นเรียบๆเรื่อยๆแบบเฮียจับนี่ เบื้องหลังซับซ้อนไม่เบา ท่านขุนนางหลี่นั้นเทียบสมัยนี้ก็คงระดับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดชีวิตเป็นทั้งนักรบ นักปกครอง นักการทูต นักอุตสาหกรรมสมัยใหม่ และผู้ทรยศ อะไรมันจะ จับฉ่าย ปานฉะนี้ !!!
“อีกคำถามนึง เฮีย” ผมถามคำถามสุดท้าย “อยู่อเมริกาขึ้นเหลา แต่ทำไมพอเฮียมาอยู่เมืองไทยแล้วไหงกลายเป็น อะไรๆที่....เอ ? อธิบายไงดี? มั่วๆเอ๊ย ไม่ใช่ อ้อ อะไรที่ตั้งแต่ สากกะเบือยันเรือรบ เขาถึงได้เรียกว่า “จับฉ่าย” ล่ะเฮีย”
เฮียจับหันมาค้อนแล้วตอบผมเรียบๆว่า
“ เข้าเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตามแหล่ะ เอาง่ายๆดูที่น้องเขียนก็ได้ ออกแนวจับฉ่ายเหมือนกันนะ”
แหมเฮีย เห็นราบๆเรียบๆอย่างนี้ แสบเหมือนกันนะนี่
มาอยู่เมืองไทย สงสัยได้พริกไปเยอะนะเฮีย !
:lol:
ภายใต้ความเรียบง่ายนั้น ล้วนมีที่มาซับซ้อนยิ่งนัก”
ทำเป็นสำนวนกำลังภายในไปงั้นแหละครับ อันที่จริงผมกำลังจะพูดถึง
“จับฉ่าย” อะไรง่ายๆที่เราๆท่านๆรู้จักกันเป็นอย่างดี
ผมรู้จักเฮีย “จับฉ่าย”มาตั้งแต่เด็ก แม่เป็นคนแนะนำให้รู้จัก และก็ได้เจอ
หน้ากันมาเป็นระยะๆตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นบางช่วงที่ผมไปอยู่ต่างประเทศก็จะห่างหายกันไปบ้าง แต่กระนั้นก็ตามผมก็ยังชวนแกไปเยี่ยมด้วยความคิดถึงเป็นบางคราว
บอกตามตรงถึงผมจะค่อนข้างสนิทกับเฮียเขาพอสมควร แต่ผมก็ไม่เคยรู้เรื่องราวของเฮียแกเลย ด้วยมองว่าเฮียจับก็เป็นเฮียจับ เรื่อยๆเรียบๆจืดๆงั้นๆ
วันนี้ไม่รู้นึกยังไง ผมเข้าไปคุยกับเฮียจับฉ่าย
ถามคำถามแรกว่าชื่อเฮียแปลว่าอะไร?
“แหมนึกยังไงกั๊น ไม่ค่อยมีคนถามเฮียแบบนี้มาก่อนเลยนะเนี่ย”
“จับ หรือ จั๊บ นี่แปลว่า ๑๐ อีกความหมายแปลว่า เปียกหรือแฉะ ก็ได้ ส่วน ฉ่าย แปลว่า ผัก รวมแล้วก็จับฉ่ายอย่างที่เห็นนี่แหละ”
ผมร้องอ๋อ พาลนึกไปถึง จับเลี้ยง คงเป็นอะไรๆหลายอย่างเย็นๆ ส่วนโอเลี้ยงก็คง อะไรดำๆเย็นๆ
แล้วเฮียมาจากไหนล่ะ ผมถามต่อ
“เฮียมาอยู่เมืองไทยก็นมนานกาเลมาแล้ว เท่าที่จำความได้มีผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า เฮียมาจากมณฑลอันฮุย ประเทศจีนโน่น”
ผมถามไปว่า แล้วมณฑลอันฮุยนี่มันอยู่ตรงไหนของจีนล่ะ
“ก็อยู่ตรงกลางๆประเทศค่อนมาทางทิศตะวันออก ใกล้กับเมืองเซี่ยงไฮ้”
“เขาว่ากันว่า เฮียเกิดที่นั่น”
ยังไม่ทันที่ผมจะถามต่อ เฮียแกก็ทำท่าทางครุ่นคิด แล้วพูดขึ้นแบบเอาจริงเอาจังว่า
“แต่บางคนเล่าลือกันว่า เฮียเกิดจากคนๆนึง!!!”
“เขาคนนั้นชื่อ...หลี่ หง จาง”
“ใครกันเฮีย เกิดมาไม่เคยได้ยินชื่อเลย” ผมถาม
เฮียจับจึงเล่าให้ผมฟังว่า หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับจับฉ่ายแล้ว ผู้คนมักนึกถึง หลี่ หง จาง อยากรู้จักว่า หลี่ หง จาง เป็นใคร ก็ต้องย้อนไปสมัยพระนางซูสีไทเฮา
หากเปรียบเทียบกับไทยก็ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๕
พระนางซูสีไทเฮานั้นอยู่ในช่วงสุดท้ายราชวงศ์ชิง เป็นยุคที่นานาชาติ ทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐ รัสเซีย แม้กระทั่งญี่ปุ่น เข้ามารุมทึ้งหาผลประโยชน์จากจีน อีกทั้งเป็นช่วงที่ภายในประเทศก็อ่อนแอ มีการกบฏ มีคอร์รัปชั่น มากมาย
หลี่ หง จาง (พ.ศ.๒๓๖๖-พ.ศ.๒๔๔๔)เกิดที่มณฑลอันฮุย สอบเข้ารับราชการ ได้รับชื่อเสียงนำกองทัพปราบกบฏต่างๆ จนได้เป็นผู้ว่าราชการมณฑล และต่อมาก็มีบทบาทสำคัญสูงสุดในเรื่องการต่างประเทศที่ต้องรับมือกับนานาชาติ รวมทั้งการปฏิรูปอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของประเทศจีน
“แต่ชีวิตของ หลี่ หง จาง ไม่ได้มีแค่นั้น” เฮียจับทำเสียงเศร้า
จากการที่ท่านหลี่ หง จาง ต้องเผชิญคือศึก ๓ ด้าน ด้านหนึ่งคือศึกกับต่างชาติที่เข้ามารุกราน กับ ศึกภายในที่มาจากระบบการปกครองจากส่วนกลางและศึกจากกลุ่มกบฎต่างๆ บางครั้งท่านหลี่ต้องเป็นมิตรกับฝ่ายต่างชาติเพื่อมาปราบกลุ่มกบฏ บางครั้งต้องเป็นมิตรกับกลุ่มกบฏเพื่อป้องกันอำนาจจากส่วนกลาง
บางมุมมอง บางผู้คน จึงเรียกท่านหลี่ หง จาง ว่า “ผู้ทรยศ”
อืม ! ชีวิตท่านหลี่นี่ก็ออกแนว “จับฉ่าย” นะเนี่ย ผมนึกในใจแต่ไม่ได้พูดออกไป แต่ถามเฮียจับไปว่า “แล้วท่านหลี่มาเป็นผู้ให้กำเนิดเฮีย ได้ยังไงกัน”
เฮียจับเล่าให้ผมฟังต่อว่า ด้วยความที่เป็นขุนนางด้านต่างประเทศ ทางราชสำนักได้ส่งท่านหลี่ หง จางไปเยือนยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา ครั้งหนึ่งท่านจัดงานเลี้ยงอาหารจีนให้แขกชาวอเมริกัน เมื่อทานเสร็จแล้วแขกยังติดใจอยากทานอะไรอีก ท่านหลี่จึงสั่งพ่อครัวให้ทำเพิ่ม แต่เผอิญว่าอาหารที่เตรียมไว้หมดแล้วพ่อครัวจึงเอาของเหลือๆเช่น ผักต่างๆ เห็ด ไก่ ลูกชิ้นปลา ปลิงทะเล มารวมกันทำอาหาร
พอได้รับประทานแขกชาวอเมริกันชื่นชมไม่ขาดปากว่าอร่อยมาก แขกอเมริกันถามท่านหลี่ว่า อาหารนี้ชื่ออะไร ท่านหลี่ หง จาง เองก็ไม่ทราบแต่ก็ตอบอย่างชาญฉลาดไปว่า .... “จับฉ่าย”
ตั้งแต่นั้นมา “จับฉ่าย” ก็ขึ้นชื่อเป็นของดังร้านอาหารจีนในอเมริกา!!!
“นี่ละ ประวัติความเป็นมาของเฮีย ฟังแล้วก็คิดเอาเองนะว่า เฮียเกิดที่อันฮุย หรือ กำเนิดจากท่านหลี่ หง จาง” เฮียจับแกสรุปตบท้าย
โอ้ โฮ เฮะ เห็นเรียบๆเรื่อยๆแบบเฮียจับนี่ เบื้องหลังซับซ้อนไม่เบา ท่านขุนนางหลี่นั้นเทียบสมัยนี้ก็คงระดับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดชีวิตเป็นทั้งนักรบ นักปกครอง นักการทูต นักอุตสาหกรรมสมัยใหม่ และผู้ทรยศ อะไรมันจะ จับฉ่าย ปานฉะนี้ !!!
“อีกคำถามนึง เฮีย” ผมถามคำถามสุดท้าย “อยู่อเมริกาขึ้นเหลา แต่ทำไมพอเฮียมาอยู่เมืองไทยแล้วไหงกลายเป็น อะไรๆที่....เอ ? อธิบายไงดี? มั่วๆเอ๊ย ไม่ใช่ อ้อ อะไรที่ตั้งแต่ สากกะเบือยันเรือรบ เขาถึงได้เรียกว่า “จับฉ่าย” ล่ะเฮีย”
เฮียจับหันมาค้อนแล้วตอบผมเรียบๆว่า
“ เข้าเมืองตาหลิ่วก็ต้องหลิ่วตาตามแหล่ะ เอาง่ายๆดูที่น้องเขียนก็ได้ ออกแนวจับฉ่ายเหมือนกันนะ”
แหมเฮีย เห็นราบๆเรียบๆอย่างนี้ แสบเหมือนกันนะนี่
มาอยู่เมืองไทย สงสัยได้พริกไปเยอะนะเฮีย !
:lol:
ลงทุนแบบ อาร์ตๆ
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จับฉ่าย
โพสต์ที่ 6
ติดตามงานเขียนพี่ตลอดเลยครับ สนุกมาก