การเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 115
- ผู้ติดตาม: 0
การเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
โพสต์ที่ 1
คือว่าผมได้ไปอ่านในกระทู้ของโต๊ะสินธร ว่า SSC จะมีการเทนเดอร์ที่ยี่สิบเก้าบาท
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 43553.html
ไม่ทราบว่าการเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 43553.html
ไม่ทราบว่าการเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
- doodeemak
- Verified User
- โพสต์: 411
- ผู้ติดตาม: 0
การเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
โพสต์ที่ 2
น่าจะเป็นการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยนะครับ
เพื่อออกจากตลาด แต่สถานะที่ชื่อว่า มหาชน ต่อท้ายชื่อบริษัท
ก็ยังคงอยู่นะครับไม่สามารถลบออกได้
ทำเทนเดอร์ ผมคิดว่าค่อนข้างแฟร์นะครับ แทนที่จะค่อยๆตอดทีละนิด
หรือทุบก่อนแล้วค่อยทยอยซื้อคืน
เพื่อออกจากตลาด แต่สถานะที่ชื่อว่า มหาชน ต่อท้ายชื่อบริษัท
ก็ยังคงอยู่นะครับไม่สามารถลบออกได้
ทำเทนเดอร์ ผมคิดว่าค่อนข้างแฟร์นะครับ แทนที่จะค่อยๆตอดทีละนิด
หรือทุบก่อนแล้วค่อยทยอยซื้อคืน
Inactive investor
-
- Verified User
- โพสต์: 115
- ผู้ติดตาม: 0
การเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
โพสต์ที่ 3
ขอบพระคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 33
- ผู้ติดตาม: 0
การเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
โพสต์ที่ 4
ซื้อหุ้นจากรายย่อยทั้งหมดเลยหรือเปล่า และออกจากตลาดเพื่ออะไรครับ ไม่ค่อยเข้าใจครับ ขอบคุณdoodeemak เขียน:น่าจะเป็นการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นรายย่อยนะครับ
เพื่อออกจากตลาด แต่สถานะที่ชื่อว่า มหาชน ต่อท้ายชื่อบริษัท
ก็ยังคงอยู่นะครับไม่สามารถลบออกได้
ทำเทนเดอร์ ผมคิดว่าค่อนข้างแฟร์นะครับ แทนที่จะค่อยๆตอดทีละนิด
หรือทุบก่อนแล้วค่อยทยอยซื้อคืน
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
การเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
โพสต์ที่ 5
:8) :8)ข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำคำเสนอซื้อ(กจ. 53/2545)
หลักการ
เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการคุ้มครองผู้ถือหุ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอำนาจในการควบคุมกิจการ โดยให้ผู้ที่ได้อำนาจดังกล่าวจะต้องทำคำเสนอซื้อเพื่อเป็น fair exit ให้กับผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นทุกรายจะต้องได้รับการปฎิบัติที่เท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้การครอบงำกิจการเป็น market force ให้ผู้บริหารดำเนินกิจการเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เพราะการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจควบคุมใหม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารก็ได้ โดยหลักเกณฑ์จะกำหนดให้
1. เมื่อบุคคลใดได้หุ้นมาจนถึงสัดส่วนที่มีอำนาจในการควบคุมกิจการ จะต้องทำคำเสนอซื้อให้ผู้ถือหุ้นอื่นมีโอกาสขายอย่างเท่าเทียมกัน
2. ในการทำคำเสนอซื้อ
ผู้ถือหลักทรัพย์ทุกรายต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน
มีการเปิดเผยข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน
ผู้ถือหลักทรัพย์มีเวลาเพียงพอในการตัดสินใจ
ประเภทของคำเสนอซื้อ(ข้อ 4 ของประกาศ กจ. 53/2545)
กิจการที่ต้องทำคำเสนอซื้อต้องเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเท่านั้น
1. การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์กรณีเกิดหน้าที่ตามกฎหมาย (mandatory tender offer )
2. การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์กรณีสมัครใจ (voluntary tender offer)
3. การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ออกจากตลาดหลักทรัพย์ (delisted)
4. การทำคำเสนอซื้อหุ้นบางส่วน (partial tender offer)
จุดที่ต้องทำคำเสนอซื้อ (trigger point)
1. กรณีทั่วไป
(1) 25 % ของสิทธิออกเสียง
(2) 50 % ของสิทธิออกเสียง
(3) 75 % ของสิทธิออกเสียง
หมายเหตุ : จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของกิจการที่ใช้ในการคำนวณอัตราส่วนการถือหุ้นจะต้องหักจำนวนหุ้นที่กิจการซื้อคืน
(treasury stock) ด้วย
2. กรณีที่กิจการซื้อหุ้นคืน
กรณีที่กิจการซื้อหุ้นคืน (treasury stock)แล้วทำให้บุคคลใดถือหุ้นถึง trigger point บุคคลนั้นยังไม่ต้องทำคำเสนอซื้อจนกว่าบุคคลนั้น จะได้หุ้นมาเพิ่มไม่ว่าจะกี่หุ้นก็ตาม จึงจะมีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อ
หลักทรัพย์ที่ต้องเสนอซื้อ(ข้อ 9 ของประกาศ กจ. 53/2545)
หลักทรัพย์ที่ต้องเสนอซื้อได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ warrant และ CD ทั้งหมด
ยกเว้น
1. Treasury stock
2. Warrant หรือ CD ที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
- exercise price มากกว่าหรือเท่ากับ ราคาเสนอซื้อหุ้น โดยต้องไม่ได้ WARRANT / CD นั้น โดยมีค่าตอบแทนมาก่อนภายใน 90 วัน ก่อนยื่นคำเสนอซื้อ
- ผู้เสนอซื้อใช้สิทธิไม่ได้ เพราะหมดอายุการใช้สิทธิก่อนวันสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ หรือมีข้อจำกัดเรื่องผู้ใช้สิทธิ
- CD ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ (ECD)
ระยะเวลารับซื้อ และข้อเสนอในคำเสนอซื้อ(หมวด 4 การทำคำเสนอซื้อ ของประกาศ กจ. 53/2545)
- ระยะเวลารับซื้อต้องอยู่ระหว่าง 25 - 45 วันทำการ
- ผู้ทำคำเสนอซื้อสามารถแก้ไขข้อเสนอซื้อได้ แต่ต้องเป็นการแก้ไขให้ดีขึ้น ผู้ที่เสนอขายไปแล้วจะต้องได้รับราคาที่ดีขึ้นด้วย
- ผู้ทำคำเสนอซื้อมีหน้าที่ต้องประกาศข้อเสนอซื้อสุดท้ายและระยะเวลาสุดท้าย (final day / final offer) โดยต้องมีเวลาเหลือไม่น้อยกว่า
15 วันทำการ
การยกเลิกเจตนาขาย (withdraw)(ข้อ 32 ของประกาศ กจ. 53/2545)
- ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องยินยอมให้ผู้ที่แสดงเจตนาขายสามารถยกเลิกการแสดงเจตนาได้โดยต้องให้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 วันทำการ
- ถ้ามีการแก้ไขข้อเสนอซื้อหรือขยายระยะเวลารับซื้อ ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องขยายระยะเวลาการยกเลิกเจตนาขายออกไปอีกไม่น้อยกว่า 10 วันทำการนับต่อจากวันสุดท้ายที่ผู้ทำคำนำเสนอซื้อยินยอมให้ผู้แสดงเจตนาขายยกเลิกการแสดงเจตนาหรือวันที่ผู้ทำคำเสนอซื้อประกาศขยายระยะเวลารับซื้อหรือประกาศแก้ไขข้อเสนอแล้วแต่วันใดจะถึงภายหลังแต่ต้องไม่เกินระยะเวลารับซื้อ
ราคาเสนอซื้อ(ส่วนที่ 3 (ราคาซื้อหลักทรัพย์) ของประกาศ กจ. 53/2545)
การกำหนดราคาเสนอซื้อจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศ โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้
- รูปแบบราคาเสนอซื้อต้องเหมือนกันสำหรับหลักทรัพย์ประเภทเดียวกัน
- รูปแบบเสนอซื้อมีมากกว่า 1 ทางเลือกได้ แต่ต้องมีทางเลือกหนึ่งเป็นเงินสด
- ถ้าราคาเสนอซื้อเป็นสิ่งตอบแทนอื่นที่มิใช่ตัวเงิน ต้องประเมินมูลค่าโดยที่ปรึกษาทางการเงิน
- ราคาเสนอซื้อต้องไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่ผู้ทำคำเสนอซื้อ และบุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทำคำเสนอซื้อได้มาในช่วง 90 วัน
การปรับเงื่อนไขและระยะเวลารับซื้อกรณีมีผู้ทำคำเสนอซื้อแข่ง(ข้อ 31 ของประกาศ กจ. 53/2545)
กรณีที่ระหว่างการทำคำเสนอซื้ออยู่มีผู้อื่นทำคำเสนอซื้อแข่ง เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์จากการทำคำเสนอซื้อแข่งและให้ความเป็นธรรมกับผู้ทำคำเสนอซื้อคนแรก จึงกำหนดให้สิทธิผู้ทำคำเสนอซื้อคนแรกสามารถ
- ขยายเวลารับซื้อได้ จนถึงวันสิ้นระยะเวลารับซื้อของคู่แข่ง
- ประกาศ final day / final offer ได้ภายในวันเดียวกับคู่แข่ง
ทั้งนี้ ผู้ทำคำเสนอซื้อคนแรก ต้องระบุสิทธิข้างต้นไว้ในคำเสนอซื้อ และประกาศขยายเวลา/แก้ไขข้อเสนอซื้อภายใน 5 วันนับจากมีคู่แข่ง
กรณีมีผู้ทำคำเสนอซื้อแข่ง(ข้อ 31 ของประกาศ กจ. 53/2545)
กรณีที่ระหว่างการทำคำเสนอซื้ออยู่มีบุคคลอื่นทำคำเสนอซื้อแข่ง เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้ประโยชน์จากการทำคำเสนอซื้อแข่งและให้ความเป็นธรรมกับผู้ทำคำเสนอซื้อแรก จึงกำหนดให้สิทธิผู้ทำคำเสนอซื้อแรกสามารถ
- ขยายเวลารับซื้อได้ จนถึงวันสิ้นระยะเวลารับซื้อของคู่แข่ง
- ประกาศ final day / final offer ได้ภายในวันเดียวกับคู่แข่ง
ทั้งนี้ ผู้ทำคำเสนอซื้อคนแรก ต้องระบุสิทธิข้างต้นไว้ในคำเสนอซื้อ และประกาศขยายเวลา/แก้ไขข้อเสนอซื้อ ภายใน 5 วันนับจากมีคู่แข่ง นอกจากนี้ การแก้ไขข้อเสนอซื้อและระยะเวลารับซื้อจะกระทำได้ต่อเมื่อคู่แข่งไม่ใช่บุคคลตามมาตรา 258 ของผู้ทำคำเสนอซื้อแรก
รายงานผลการรับซื้อ(ข้อ 34-35 ของประกาศ กจ. 53/2545)
รายงานผลการรับซื้อเบื้องต้น
ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องรายงานผลการรับซื้อเบื้องต้นตามแบบ 247-6 ข ภายในวันทำการถัดจากวันสิ้นสุด withdraw ในกรณีที่ผู้ทำคำเสนอซื้อให้สิทธิ withdraw ได้ตลอดระยะเวลารับซื้อ ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องรายงานผลการรับซื้อเบื้องต้นตามแบบ 247-6 ข ก่อนสิ้นสุดเวลารับซื้อ 3 วันทำการ
รายงานผลการรับซื้อภายหลังสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ
ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องรายงานผลการรับซื้อตามแบบ 256-2 ภายใน 5 วันทำการหลังสิ้นสุดระยะเวลารับซื้อ
การยกเลิกคำเสนอซื้อ(ส่วนที่ 4 การยกเลิกคำเสนอซื้อ ของประกาศ กจ. 53/2545)
ผู้ทำคำเสนอซื้ออาจยกเลิกคำเสนอซื้อได้ หากเกิดกรณีต่อไปนี้
1. เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อกิจการ
2. กิจการทำให้มูลค่าหุ้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
3. มีผู้มาแสดงเจตนาขายน้อยกว่าจำนวนขั้นต่ำที่จะรับซื้อ (เฉพาะกรณีทำคำเสนอซื้อโดยสมัครใจ)
ผู้ทำคำเสนอซื้อจะต้องระบุเหตุดังกล่าวให้ชัดเจนในคำเสนอซื้อ และหากเป็นเหตุตาม 1 และ 2 ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องแจ้งต่อสำนักงานโดยสำนักงานไม่ทักท้วงภายใน 3 วันทำการ จึงจะยกเลิกได้
ข้อบังคับหลังการทำคำเสนอซื้อ(ส่วนที่ 5 ข้อบังคับหลังคำเสนอซื้อ ของประกาศ กจ. 53/2545)
- ภายใน 6 เดือนหลังการทำคำเสนอซื้อ ห้ามผู้ทำคำเสนอซื้อได้หลักทรัพย์ของกิจการในราคาที่สูงกว่า หรือด้วยเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์กว่า ราคาหรือเงื่อนไขในคำเสนอซื้อ
- ภายใน 1 ปีหลังการทำคำเสนอซื้อ ห้ามผู้ทำคำเสนอซื้อดำเนินการในส่วนที่เป็นสาระสำคัญแตกต่างจากที่ระบุไว้ในคำเสนอซื้อ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4
กรณีการครอบงำกิจการผ่านนิติบุคคลอื่น(chain principle)(ข้อ 8 ของประกาศ กจ. 53/2545)
กรณีที่ถือว่าเป็นการเข้าครอบงำกิจการผ่านนิติบุคคลอื่นซึ่งทำให้มีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อด้วย ได้แก่ กรณีต่อไปนี้
1. เป็นการได้หุ้นหรือมีอำนาจควบคุม > 50 % ในนิติบุคคลอื่น การมีอำนาจควบคุมในนิติบุคคลอื่น รวมถึงการส่งบุคคลหรือมีพฤติกรรมในการส่งบุคคลเข้าเป็นกรรมการ ในจำนวนที่มีนัยสำคัญด้วย และ
2. นิติบุคคลอื่นในทุกทอดจนถึงทอดสุดท้ายที่ถือหุ้นในกิจการรวมกับบุคคลตามมาตรา 258 ของนิติบุคคลดังกล่าว ถือหุ้นในกิจการ > 25 %
การทำคำเสนอซื้อหุ้นบางส่วน (partial offer) (หมวด 5 การทำคำเสนอซื้อหุ้นบางส่วน ของประกาศ กจ. 53/2545)
ในทางปฏิบัติอาจมีกรณีที่กิจการต้องการหาผู้ร่วมทุนใหม่เข้ามาช่วยกิจการ (strategic partner) โดยมิได้มุ่งหวังจะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือมิได้ต้องการอำนาจควบคุมกิจการแบบเบ็ดเสร็จ ดังนั้น เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการหาผู้ร่วมทุนในกิจการ จึงได้เปิดโอกาสให้สามารถทำคำเสนอซื้อเพียงบางส่วน (partial tender offer) ได้ โดยต้องได้รับการผ่อนผันจากสำนักงานก่อน ซึ่งสำนักงานจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่ประกาศกำหนดไว้
การทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ (delist) (หมวด 6 การทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ ของประกาศ กจ. 53/2545)
เนื่องจากการทำคำเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ จะ มีผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น อย่างมากจากการที่ผู้ถือหุ้นจะขาดสภาพคล่อง จึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับราคาเสนอซื้อหลักทรัพย์ ให้คำนึงถึงการขาดสภาพคล่องในหุ้นนั้น ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองผู้ลงทุนที่ถือหุ้นในกิจการดังกล่าว
http://www.sec.or.th/takeover/Content_0 ... CAT0000069
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
การเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
โพสต์ที่ 7
เป็นไปได้ครับtradtrae เขียน:อย่างกรณีของ SSC จะขอซื้อในราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ผมว่าไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่
แต่กรณีของ IHL ที่ขอซื้อในราคา 3.80 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาตลาด 5.70 บาท แบบนี้ ในระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ เป็นไปได้เหรอครับ
คนซื้อก็ต้องการซื้อราคาต่ำๆ
คนขายก็ต้องการราคาสูงๆ
แล้วใช้อะไรในการวัดว่า คนที่ตั้งโต๊ะควรให้ราคาเท่ากับเท่านี้ล่ะ
ถ้าผู้ซื้อไม่บอกว่าถอนออกจากตลาดก็ถือไปก่อนก็ได้ แต่มันจะไม่มีสภาพคล่องเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
การเทนเดอร์ คืออะไรเหรอครับ
โพสต์ที่ 8
ผมถือ SSC ไว้ครับ ผมควรทำอย่างไรดีครับ
1. รอให้ XD แล้วขาย หรือขายตอนนี้เลยครับ
2. ถ้าเขาซื้อคืนเยอะๆ แล้วจะทำให้สภาพคล่องหายไปหรือเปล่าครับ กลัวเขาดิ่งราคาลงมาแล้วขายไม่ออก
1. รอให้ XD แล้วขาย หรือขายตอนนี้เลยครับ
2. ถ้าเขาซื้อคืนเยอะๆ แล้วจะทำให้สภาพคล่องหายไปหรือเปล่าครับ กลัวเขาดิ่งราคาลงมาแล้วขายไม่ออก