หุ้นประกันภัย หุ้นหลักทรัพย์ หุ้นแบงค์
- simplelife
- Verified User
- โพสต์: 756
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นประกันภัย หุ้นหลักทรัพย์ หุ้นแบงค์
โพสต์ที่ 3
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด บ. หลักทรัพย์ กับ ธนาคาร ของไทย เข้าใจว่าการลงทุนในหุ้นจำกัดมากๆเนื่องจาก regulations ครับ บ.หลักทรัพย์(รวมถึงกองทุนรวม)อาจจะได้รับผลกระทบของการลดลงของรายได้มากกว่าครับ เนื่องจากมูลค่าของกองทุนลดลงอย่างมาก ค่าใช้จ่ายของการจัดการกองทุน (รายได้) ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คงจะลดลงอย่างมากครับ เอาง่ายๆราคาหุ้นลดลงครึ่งหนึ่ง ซื้อขายเท่าเดิม ค่าคอมหายไป 50% ครับ พวกกองทุนหุ้นต่างๆคนขาดทุน คือกลุ่มผู้ถือหน่วยลงทุนนั้นๆครับ แล้วก็เรื่อง NPL ที่เกิดขึ้นจากบัญชีแบบมาร์จิ้น ในกรณีของบริษัทเกี่ยวข้องกับการซื้อ/ขายหุ้นโดยตรงครับนักดูดาว เขียน:พวกนี้เห็นมีพอร์ตลงทุนทั้งนั้น เจอ SET แบบนี้ จะเจ๊งกันมากน้อยเพียงใดครับ
บ.ประกันภัย เข้าใจว่าน่าจะมีการลงทุนในหุ้น/หุ้นกู้ด้วย แม้จะได้ประโยชน์ตรงลูกค้าอยู่ใน term ที่มีระยะเวลาตายตัว สัวนใหญ่เป็นระยะยาว(ทำให้ไม่ต้องขายในระยะเวลาสั้น) แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม ถ้าหากบริหารไม่ดีในระยะยาวๆอาจจะขาดทุนหนักๆครับ เนื่องจากขนาดของพอร์ตที่น่าจะถืออยู่ น่าจะทำให้ไม่สามารถขาย/ปรับพอร์ตได้ง่ายๆในช่วงก่อนหน้านี้
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัย หุ้นหลักทรัพย์ หุ้นแบงค์
โพสต์ที่ 4
บริษัทประกันภัยลงทุนในหุ้นไม่เกิน 10%
ส่วนใหญ่ ลงทุนในพันธบัตรและหุ้นกู้
ถ้าโดนก็โดนจากการลงทุนในกองทุน ที่ลงทุนในหุ้นด้วย
ซึ่งบริษัทประกันภัย อ่านงบต้องอ่านสองด้าน
คือกำไรขาดทุนจากผลการดำเนินงาน
และกำไรขาดทุนจากการลงทุน
ส่วนธนาคาร มีประเด็นอยู่ว่า ปลายปี ธปท บังคับให้ถือหุ้นของบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องหรือส่งเสริมกิจการธนาคาร ไม่เกิน 10%
ซึ่งหลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ยังคงมีธนาคารถือเกิน 10%
เพิ่งเห็นมี ธนาคารนครหลวงไทย เริ่มขยับให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีวิตของธนาคารนครหลวงไทยถือหุ้นแทน (อันนี้ไปอ่านข่าวได้น่าครับ)
ลดลงต่ำกว่า 10% ก็ ok แล้ว (เป็นการเลี่ยงบาลี)
ส่วนใหญ่ ลงทุนในพันธบัตรและหุ้นกู้
ถ้าโดนก็โดนจากการลงทุนในกองทุน ที่ลงทุนในหุ้นด้วย
ซึ่งบริษัทประกันภัย อ่านงบต้องอ่านสองด้าน
คือกำไรขาดทุนจากผลการดำเนินงาน
และกำไรขาดทุนจากการลงทุน
ส่วนธนาคาร มีประเด็นอยู่ว่า ปลายปี ธปท บังคับให้ถือหุ้นของบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องหรือส่งเสริมกิจการธนาคาร ไม่เกิน 10%
ซึ่งหลายบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ยังคงมีธนาคารถือเกิน 10%
เพิ่งเห็นมี ธนาคารนครหลวงไทย เริ่มขยับให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีวิตของธนาคารนครหลวงไทยถือหุ้นแทน (อันนี้ไปอ่านข่าวได้น่าครับ)
ลดลงต่ำกว่า 10% ก็ ok แล้ว (เป็นการเลี่ยงบาลี)
- simplelife
- Verified User
- โพสต์: 756
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัย หุ้นหลักทรัพย์ หุ้นแบงค์
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ ผมไม่เคยตามกลุ่มประกันเลย นึกว่าจะมีลงทุนมากกว่านี้ซะอีก เพราะคราวที่แล้วที่ดูข่าว AIA จำได้ว่ามีเยอะกว่านั้น สงสัยต้องขอไปดูข่าวเก่าอีกทีmiracle เขียน:บริษัทประกันภัยลงทุนในหุ้นไม่เกิน 10%
ส่วนใหญ่ ลงทุนในพันธบัตรและหุ้นกู้
ถ้าโดนก็โดนจากการลงทุนในกองทุน ที่ลงทุนในหุ้นด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัย หุ้นหลักทรัพย์ หุ้นแบงค์
โพสต์ที่ 6
กฏหมาย พรบ ประกันชีวิต และ พรบ ประกันวินาศภัย ปี 2535 เป็นตัวบังคับsimplelife เขียน: ขอบคุณครับ ผมไม่เคยตามกลุ่มประกันเลย นึกว่าจะมีลงทุนมากกว่านี้ซะอีก เพราะคราวที่แล้วที่ดูข่าว AIA จำได้ว่ามีเยอะกว่านั้น สงสัยต้องขอไปดูข่าวเก่าอีกที
และ พรบ ประกันชีวิตและพรบ ประกันวินาศภัย ปี 2551 (แก้ไขเพิ่มเติม)
ก็ 4 ฉบับ น่าครับ อ่านแล้วก็รู้ซึ้งน่าครับ ว่าอะไรคือะไร
น่าไปเรียนกฏหมายอีกวิชา
- bremner
- Verified User
- โพสต์: 437
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นประกันภัย หุ้นหลักทรัพย์ หุ้นแบงค์
โพสต์ที่ 8
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2369ประกันฯเดี้ยงซึมพิษลงทุนหุ้นทำขาดทุน บ.ยักษ์ปรับแผนลดถือกลุ่มแบงก์-พลังงาน
ธุรกิจประกันฯถูกพิษราคาหุ้นตก ฉุดกำไรพอร์ตลงทุนสิ้นปีวูบ วิริยะฯ ยอมรับมูลค่าพอร์ตลงทุนในหุ้นลดลง 400 ล้านบาท เตรียมเพิ่มทุน 600 ล้านบาทเพื่อรักษาระดับของเงินกองทุน ด้านกรุงเทพประกันภัยและทิพยประกันภัยหันโกยหุ้นสาธารณูปโภคราคาถูก หลังประเมินสิ้นปีพอร์ตลงทุนกำไรลด 10-15% ส่วนเอเอไอ-ไอเอ็นจีปรับลดสัดส่วนพอร์ตลงทุนในหุ้นและพลังงานลง
นายกฤตวิทย์ ศรีพสุธา กรรมการรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด กล่าวว่า บริษัทเตรียมใส่เงินกองทุนเพิ่มอีก 600 ล้านบาท โดยแบ่งชำระภายในสิ้นปีนี้ 300 ล้านบาท และอีก 300 ล้านบาทจะเพิ่มเมื่อมีความจำเป็นในปี 2552 เนื่องจากมูลค่าหลักทรัพย์การลงทุนในตลาดทุนด้อยค่าตามภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโดยเฉพาะหุ้นที่เคยทำกำไรในอดีต ส่งผลกระทบต่อมูลค่าพอร์ตการลงทุนหุ้นของบริษัทลดลงประมาณ 400 ล้านบาท หรือจาก 3,000 ล้านบาท เหลือเพียง 2,600 ล้านบาท จากสินทรัพย์ลงทุนทั้งหมด 12,000 ล้านบาท
ผลจากการเพิ่มทุนจะทำให้บริษัทมีสภาพคล่องมากขึ้นกว่าเดิม มีระดับเงินกองทุนเพิ่มเป็น 200% จากขณะนี้ระดับเงินกองทุนอยู่ที่ 160-170% ถือว่าใกล้เคียงกับเกณฑ์มาตรฐานเงินกองทุนตามกฎหมาย 150% อย่างไรก็ตาม บริษัทยังสามารถรับความเสี่ยงได้สูง จึงยังคงสัดส่วนพอร์ตการลงทุนในตลาดหุ้นไว้เท่าเดิม แต่จะหันมาลงทุนในหุ้นกลุ่มบลูชิพที่ยังไม่ด้อยค่าและหวังเงินปันผลได้มากขึ้น พร้อมกับกระจายพอร์ตการลงทุนส่วนที่เหลือไปฝากสถาบันการเงิน ที่การันตีผลตอบแทนแน่นอน 3-4%
นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) มองว่า ผลกระทบจากความผันผวนของตลาดหุ้น ทำให้คาดว่ากำไรจากการลงทุนในหุ้นสิ้นปีนี้จะลดลงประมาณ 10-15% จากปีที่ผ่านมา หรือปีก่อนที่มีกำไรจากการลงทุนในหุ้น 170 ล้านบาทจากพอร์ตลงทุนในหุ้นทั้งหมด 6,000 ล้านบาท ในปีนี้คาดว่าจะเหลือกำไร 150 ล้านบาท ทำให้บริษัทมีแผนที่จะหันซื้อหุ้นที่ทำกำไร เพราะบริษัทยังสามารถซื้อได้ในราคาต้นทุนที่ถูกกว่าราคาซื้อขายในตลาดปัจจุบัน โดยจะซื้อหุ้นเพิ่มในกลุ่มหุ้นปันผล อาทิ ธุรกิจพลังงาน ไฟฟ้าและประปา ซึ่งปัจจุบันมีผลตอบแทนประมาณ 7-8% ดีกว่าเงินฝากสถาบันการเงินที่ มีผลตอบแทน 3-4%
ทั้งนี้ บริษัทยังไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มเงินกองทุน เนื่องจากปัจจุบันเงินกองทุนอยู่ที่ 10,000 กว่าล้านบาท ถือว่าสูงที่สุดในธุรกิจประกันภัย มีระดับเงินกองทุนถึง 280% สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 150% หรือคิดเป็น 3 เท่าของเบี้ยรับประกันภัยสุทธิ
นายจารึก กังวานพาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า ในช่วงเดือน ม.ค.-ส.ค. 2551 กำไรจากการลงทุนเทียบกับ 2550 ลดลง 4.89% หรือจาก 225.72 ล้านบาทเป็น 214.68 ล้านบาทและปีหน้าอาจพบกับความด้อยค่าในแง่ผลกำไรจากการลงทุนลดลงอีก เนื่องจากการลงทุนในตลาดหุ้นมีความผันผวน โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันการเงิน
ดังนั้น เพื่อให้บริษัทมีผลกำไรเป็นไปตามเป้า ในพอร์ตลงทุนครึ่งปีหลัง 6,000 กว่าล้านบาท บริษัทนำไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ถึง 50% หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท และอีก 50% จะแบ่งเข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นเพียง 30% หรือประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท โดยที่ผลตอบแทนจากการลงทุนเฉลี่ยปัจจุบันอยู่ที่ 4%
ด้านนายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์ รองประธานอาวุโสและรองผู้จัดการทั่วไป บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด (เอไอเอ) กล่าวว่า ปัจจุบันพอร์ตลงทุนของเอไอเอ ประเทศไทย มีสินทรัพย์ลงทุนสูงถึง 300,000 ล้านบาท และยังมีนโยบายการลงทุนระยะยาวเพื่อให้สอดคล้องกับเบี้ยประกันที่รับมาจากลูกค้า ประกอบด้วย 70% ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 10% ลงทุนในหุ้น และอีก 20% ลงทุนต่างประเทศ เพียงแต่ปรับลดสัดส่วนพอร์ตลงทุนหุ้นกลุ่มพลังงานและแบงก์ลงจาก 50% เป็น 30%
นายรอน แวน ออยเยน ประเจ้าหน้าที่บริหารภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ไอเอ็นจี กรุ๊ป กล่าวว่า
ปัจจุบันพอร์ตการลงทุนของไอเอ็นจีรวมทั้งสิ้น 6,700 ล้านบาท ซึ่งจัดแบ่งสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมแล้ว ประกอบด้วย 65% ลงทุนในพันธบัตร 23% ลงทุนในหุ้นกู้เอกชนและรัฐวิสาหกิจ 5% เป็นเงินฝากธนาคาร 5% ลงทุนในหุ้น เป็นต้น โดยภายใต้สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นผันผวน จะพิจารณาลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์และพลังงานลง หันไปถือเงินสดแทน และหุ้นในกลุ่มที่มีกำไร
"What seems too high and risky to the majority generally goes higher and what seems low and cheap generally goes lower."