*** นั่งยาง ***
-
- Verified User
- โพสต์: 185
- ผู้ติดตาม: 0
*** นั่งยาง ***
โพสต์ที่ 1
ผู้ผลิตถุงมือยางอ่วม น้ำยางราคาพุ่งพรวด ลดผลิต-ปิดโรงงาน
ถุงมือยางอ่วม โรงงานผลิตชะลอการผลิต-หยุดการผลิตไปแล้ว 50% หลังราคาน้ำยางข้นปรับตัวสูงขึ้นแตะ 42 บาท/ก.ก. แต่ปรับขึ้นราคาไม่ได้ ส.ผู้ผลิตถุงมือยาง-ส.ยางพาราไทย-ส.น้ำยางข้น จัดประชุมฉุกเฉินหาแนวทางแก้ปัญหา 14 ก.ค.นี้ เตรียมเสนอรัฐบาลนำถุงมือยางเข้าบริษัทร่วมทุน 3 ปท.หวังปรับขึ้นราคาถุงมือยางให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต
นายรัก ปิตาสัย เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์ที่ราคายางในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำยางข้นซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตถุงมือยางปรับตัวสูงขึ้นเป็น 42 บาท/ กิโลกรัม จากเมื่อช่วงต้นปีมีราคาอยู่ที่ 30 บาท/ก.ก. ในขณะที่ราคาส่งออกถุงมือยางกลับไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นได้ ส่งผลให้โรงงานผลิตถุงมือยาง 50% เริ่มชะลอการผลิตและบางส่วนหยุดการผลิตลงแล้ว
ทั้งนี้ ราคาน้ำยางข้นในขณะนี้ถือว่าปรับตัวสูงมาก จากในปี 2547 ที่ราคาอยู่ระหว่าง 30-39 บาท/ก.ก. แต่ในปีนี้กลับสูงถึง 42 บาท นอกจากนี้ยังมีปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตน้ำยางน้อยกว่าที่คาดการณ์กันไว้ สถานการณ์ขณะนี้ถือว่าเข้าสู่ภาวะผิดปกติ ล่าสุดทางโรงงานน้ำยางข้นเองก็ไม่ยอมเสนอราคาขายในเดือนสิงหาคม เนื่องจากไม่มีผลผลิตยาง และปัญหานี้จะส่งผลกระทบมากกับโรงงานผลิตถุงมือยางซึ่งใช้น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบสูงถึง 55-60%
ดังนั้นในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ ทางสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย, สมาคมยางพาราไทย และสมาคมน้ำยางข้นไทย จะประชุมฉุกเฉินร่วมกันเพื่อหาแนว ทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวิกฤตราคายางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก และจะเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาต่อภาครัฐ
"สาเหตุที่เราไม่สามารถปรับราคาให้สูงขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่เราผลิตถุงมือยางเพื่อส่งออก และเรามีคู่แข่งสำคัญคือ มาเลเซีย ซึ่งมีโรงงาน ขนาดใหญ่ ทั้งสองประเทศไม่มีใครกล้าขึ้นราคาเพราะกลัวว่าจะเสียลูกค้า แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำยางข้นในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม" นายรักกล่าว
สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาระยะสั้น ทางสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางฯเสนอว่า รัฐบาลควรจะผลักดันให้สินค้าถุงมือยางเข้าไปอยู่ภายใต้บริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตยางรายใหญ่ 3 ประเทศ คือ ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย ทั้งนี้หากถุงมือยางเข้าไปเป็นสินค้าของบริษัทร่วมทุนแล้วจะทำให้ผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 3 ประเทศสามารถตกลงปรับขึ้นราคาถุงมือยางให้สอดคล้องกับต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ สมาคมขอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาให้กับอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางในหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกระเบียบให้ถุงมือยางแบบบางซึ่งใช้สำหรับทันตแพทย์แต่ส่วนใหญ่แม่ค้าผลไม้นำมาใช้ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ ทำให้ต้องตรวจสอบ แต่ อย.ใช้วิธีสุ่มตรวจจากที่วางขายในตลาดทั่วไป แทนที่จะสุ่มตรวจสินค้าจากโรงงานผลิต และเมื่อตรวจสอบพบว่าถุงมือยางรั่ว ทาง อย.จะลงโทษ ผู้ผลิตทั้งจำคุกและปรับ ทั้งที่หลายครั้งถุงมือรั่วเกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน
ถุงมือยางอ่วม โรงงานผลิตชะลอการผลิต-หยุดการผลิตไปแล้ว 50% หลังราคาน้ำยางข้นปรับตัวสูงขึ้นแตะ 42 บาท/ก.ก. แต่ปรับขึ้นราคาไม่ได้ ส.ผู้ผลิตถุงมือยาง-ส.ยางพาราไทย-ส.น้ำยางข้น จัดประชุมฉุกเฉินหาแนวทางแก้ปัญหา 14 ก.ค.นี้ เตรียมเสนอรัฐบาลนำถุงมือยางเข้าบริษัทร่วมทุน 3 ปท.หวังปรับขึ้นราคาถุงมือยางให้เหมาะสมกับต้นทุนการผลิต
นายรัก ปิตาสัย เลขาธิการสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากสถานการณ์ที่ราคายางในประเทศปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำยางข้นซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตถุงมือยางปรับตัวสูงขึ้นเป็น 42 บาท/ กิโลกรัม จากเมื่อช่วงต้นปีมีราคาอยู่ที่ 30 บาท/ก.ก. ในขณะที่ราคาส่งออกถุงมือยางกลับไม่สามารถปรับตัวสูงขึ้นตามภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นได้ ส่งผลให้โรงงานผลิตถุงมือยาง 50% เริ่มชะลอการผลิตและบางส่วนหยุดการผลิตลงแล้ว
ทั้งนี้ ราคาน้ำยางข้นในขณะนี้ถือว่าปรับตัวสูงมาก จากในปี 2547 ที่ราคาอยู่ระหว่าง 30-39 บาท/ก.ก. แต่ในปีนี้กลับสูงถึง 42 บาท นอกจากนี้ยังมีปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตน้ำยางน้อยกว่าที่คาดการณ์กันไว้ สถานการณ์ขณะนี้ถือว่าเข้าสู่ภาวะผิดปกติ ล่าสุดทางโรงงานน้ำยางข้นเองก็ไม่ยอมเสนอราคาขายในเดือนสิงหาคม เนื่องจากไม่มีผลผลิตยาง และปัญหานี้จะส่งผลกระทบมากกับโรงงานผลิตถุงมือยางซึ่งใช้น้ำยางข้นเป็นวัตถุดิบสูงถึง 55-60%
ดังนั้นในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ ทางสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย, สมาคมยางพาราไทย และสมาคมน้ำยางข้นไทย จะประชุมฉุกเฉินร่วมกันเพื่อหาแนว ทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับวิกฤตราคายางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก และจะเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาต่อภาครัฐ
"สาเหตุที่เราไม่สามารถปรับราคาให้สูงขึ้น เนื่องจากส่วนใหญ่เราผลิตถุงมือยางเพื่อส่งออก และเรามีคู่แข่งสำคัญคือ มาเลเซีย ซึ่งมีโรงงาน ขนาดใหญ่ ทั้งสองประเทศไม่มีใครกล้าขึ้นราคาเพราะกลัวว่าจะเสียลูกค้า แม้ว่าสถานการณ์ราคาน้ำยางข้นในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม" นายรักกล่าว
สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหาระยะสั้น ทางสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางฯเสนอว่า รัฐบาลควรจะผลักดันให้สินค้าถุงมือยางเข้าไปอยู่ภายใต้บริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตยางรายใหญ่ 3 ประเทศ คือ ไทย-มาเลเซีย-อินโดนีเซีย ทั้งนี้หากถุงมือยางเข้าไปเป็นสินค้าของบริษัทร่วมทุนแล้วจะทำให้ผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 3 ประเทศสามารถตกลงปรับขึ้นราคาถุงมือยางให้สอดคล้องกับต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ สมาคมขอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาให้กับอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางในหลายเรื่อง โดยเฉพาะกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกระเบียบให้ถุงมือยางแบบบางซึ่งใช้สำหรับทันตแพทย์แต่ส่วนใหญ่แม่ค้าผลไม้นำมาใช้ ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ ทำให้ต้องตรวจสอบ แต่ อย.ใช้วิธีสุ่มตรวจจากที่วางขายในตลาดทั่วไป แทนที่จะสุ่มตรวจสินค้าจากโรงงานผลิต และเมื่อตรวจสอบพบว่าถุงมือยางรั่ว ทาง อย.จะลงโทษ ผู้ผลิตทั้งจำคุกและปรับ ทั้งที่หลายครั้งถุงมือรั่วเกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน
- Tao Investor
- Verified User
- โพสต์: 200
- ผู้ติดตาม: 0
*** นั่งยาง ***
โพสต์ที่ 4
ให้เดา
บ.ขายปุ๋ย
บ.นำเขาสารเคมีที่เกี่ยวกับยาง
บ.ที่ใช้ยางน้อยกว่าคู่แข่ง ในการผลิตสินค้า
บ.ที่ไม่ต้องใช้ยางในการผลิตสินค้า
บ.ขายถุงพลาสติกบรรจุยาง+กล่องบรรจุ
บางทีอาจเกิดจากการใช้ไม่ถูกวิธีก็ได้นะครับ
บ.ขายปุ๋ย
บ.นำเขาสารเคมีที่เกี่ยวกับยาง
บ.ที่ใช้ยางน้อยกว่าคู่แข่ง ในการผลิตสินค้า
บ.ที่ไม่ต้องใช้ยางในการผลิตสินค้า
บ.ขายถุงพลาสติกบรรจุยาง+กล่องบรรจุ
ทั้งที่หลายครั้งถุงมือรั่วเกิดจากการเก็บรักษาที่ไม่ได้มาตรฐาน
บางทีอาจเกิดจากการใช้ไม่ถูกวิธีก็ได้นะครับ
Inmagination is more importan than knowledge
-
- Verified User
- โพสต์: 185
- ผู้ติดตาม: 0
*** นั่งยาง ***
โพสต์ที่ 5
บริษัทไหนทําถุงมือยางเยอะหนอ อิอิ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 0
*** นั่งยาง ***
โพสต์ที่ 7
รู้สึกว่า STA ก็มีบริษัทลูกทำถุงมือยางนะครับ (ไม่แน่ใจนะครับ)