ดูที่ "ภาษีเงินได้" ในงบกำไรขาดทุน ถ้าขึ้นมากผิดปกติวิสัย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เกิดจากการที่ deferred tax ด้อยค่าลงJeng เขียน:อืม แล้วบริษัทที่ผมถือหุ้นอยู่ ผมจะไปดู defer tax ตรงไหน
เพื่อจะได้รู้ว่า จะมีขาดทุน จาก defer tax มากน้อยแค่ไหน
ขอบคุณครับ
หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 91
-
- Verified User
- โพสต์: 809
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 93
ขอบคุณอาจารย์มากๆ ครับ ได้ความกระจ่างเรื่อง DTA กะ DTL อีกเยอะทีเดียว แต่ผมมีข้อสงสัยเรื่องการด้อยค่า DTA ตามอัตราภาษีที่ลดลงดังนี้้ครับ
1. กรณีหนี้สูญ:
บริษัทตั้งสำรองหนี้สูญ 100 บาท แต่สรรพากรยังไม่ยอม ทำให้บริษัทต้องจ่ายภาษีออกไป 30 บาท บริษัทจึงตั้ง DTA 30 บาท ตามที่จ่ายไปจริง คราวนี้ในปี 2556 สรรพากรยอมให้หนี้สูญนั้นเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทจริง ดังนั้น บริษัทจึงเปรียบเหมือนได้คืนภาษีกลับมา 20 บาท จึงต้องด้อยค่า DTA ที่เคยบันทึกไว้ 10 บาท
คำถามคือ 10 บาทที่ด้อยค่าไปสามารถบันทึกในปี 2556 ได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องบันทึกเลยในปี 2554 นี้ เนื่องจากอัตราภาษีที่ลดลงมีความชัดเจนแล้วในปี 2554
ถ้าจำเป็นต้องด้อยค่า DTA ในปี 2554 เลย บริษัทสามารถด้อยค่าก่อน 7 บาทในปี 2554 ก่อนโดยประเมินว่าสรรพากรจะยอมให้รับรู้หนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในปี 2555 จากนั้น ในปี 2555 ถ้าสรรพากรยังไม่ยอมให้รับรู้หนี้สูญเป็นค่าใช้จ่าย ค่อยด้อยค่า DTA เพิ่มอีก 3 บาท บริษัทสามารถทำได้มั้ยครับ
2. กรณีหักค่าเสื่อมเร็วกว่าสรรพากรกำหนด:
กรณีนี้น่าจะเหมือนกับกรณีหนี้สูญ แต่ที่ผมสงสัยคือการด้อยค่าจะด้อยยังไงครับ ประเมิน DTA ใหม่จากอัตราภาษี 23% ในปี 2555 และ 20% ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไปจนครบอายุ แล้วด้อยค่าทีเดียวในปี 2554 หรือว่าสามารถทยอยด้อยค่าเป็นปีๆ ได้ครับ
3. กรณีมี loss carried forward:
อันนี้ก็คงคล้ายๆ กับ 2 กรณีข้างบน คือ ถ้าบริษัทขาดทุนแล้วตั้ง DTA ไว้ ก็น่าจะตั้งไว้ที่อัตราภาษี 30% แต่พอใช้จริงกลับใช้ได้แค่ 23% และ 20% กรณีนี้ต้องประเมิน DTA ใหม่แล้วด้อยค่าทีเดียว หรือทยอยด้อยค่าได้ครับ
คำถามสุดท้ายคือ รายการด้อยค่า DTA จะลงในงบกำไรขาดทุนในช่องไหนครับ ช่องภาษีเงินได้ หรือแยกออกมาเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ขาดทุนจากการปรับอัตราภาษี ครับ
สุดท้ายต้องขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงที่กรุณามาช่วยอธิบายจนกระจ่าง และก็ขอบคุณ จขก ด้วยครับที่ตีแตกด้านภาษีแล้วมาเปิดกระทู้ครับ
1. กรณีหนี้สูญ:
บริษัทตั้งสำรองหนี้สูญ 100 บาท แต่สรรพากรยังไม่ยอม ทำให้บริษัทต้องจ่ายภาษีออกไป 30 บาท บริษัทจึงตั้ง DTA 30 บาท ตามที่จ่ายไปจริง คราวนี้ในปี 2556 สรรพากรยอมให้หนี้สูญนั้นเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทจริง ดังนั้น บริษัทจึงเปรียบเหมือนได้คืนภาษีกลับมา 20 บาท จึงต้องด้อยค่า DTA ที่เคยบันทึกไว้ 10 บาท
คำถามคือ 10 บาทที่ด้อยค่าไปสามารถบันทึกในปี 2556 ได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องบันทึกเลยในปี 2554 นี้ เนื่องจากอัตราภาษีที่ลดลงมีความชัดเจนแล้วในปี 2554
ถ้าจำเป็นต้องด้อยค่า DTA ในปี 2554 เลย บริษัทสามารถด้อยค่าก่อน 7 บาทในปี 2554 ก่อนโดยประเมินว่าสรรพากรจะยอมให้รับรู้หนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในปี 2555 จากนั้น ในปี 2555 ถ้าสรรพากรยังไม่ยอมให้รับรู้หนี้สูญเป็นค่าใช้จ่าย ค่อยด้อยค่า DTA เพิ่มอีก 3 บาท บริษัทสามารถทำได้มั้ยครับ
2. กรณีหักค่าเสื่อมเร็วกว่าสรรพากรกำหนด:
กรณีนี้น่าจะเหมือนกับกรณีหนี้สูญ แต่ที่ผมสงสัยคือการด้อยค่าจะด้อยยังไงครับ ประเมิน DTA ใหม่จากอัตราภาษี 23% ในปี 2555 และ 20% ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไปจนครบอายุ แล้วด้อยค่าทีเดียวในปี 2554 หรือว่าสามารถทยอยด้อยค่าเป็นปีๆ ได้ครับ
3. กรณีมี loss carried forward:
อันนี้ก็คงคล้ายๆ กับ 2 กรณีข้างบน คือ ถ้าบริษัทขาดทุนแล้วตั้ง DTA ไว้ ก็น่าจะตั้งไว้ที่อัตราภาษี 30% แต่พอใช้จริงกลับใช้ได้แค่ 23% และ 20% กรณีนี้ต้องประเมิน DTA ใหม่แล้วด้อยค่าทีเดียว หรือทยอยด้อยค่าได้ครับ
คำถามสุดท้ายคือ รายการด้อยค่า DTA จะลงในงบกำไรขาดทุนในช่องไหนครับ ช่องภาษีเงินได้ หรือแยกออกมาเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ขาดทุนจากการปรับอัตราภาษี ครับ
สุดท้ายต้องขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงที่กรุณามาช่วยอธิบายจนกระจ่าง และก็ขอบคุณ จขก ด้วยครับที่ตีแตกด้านภาษีแล้วมาเปิดกระทู้ครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 94
ขอบคุณอาจารย์ paporn ครับparporn เขียน:ดูที่ "ภาษีเงินได้" ในงบกำไรขาดทุน ถ้าขึ้นมากผิดปกติวิสัย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เกิดจากการที่ deferred tax ด้อยค่าลงJeng เขียน:อืม แล้วบริษัทที่ผมถือหุ้นอยู่ ผมจะไปดู defer tax ตรงไหน
เพื่อจะได้รู้ว่า จะมีขาดทุน จาก defer tax มากน้อยแค่ไหน
ขอบคุณครับ
เรื่องที่อยากทราบจริงๆ คือ การคาดการณ์ในอนาคตครับ
เพราะการลงทุนในหุ้น ถ้ารู้ว่า อนาคตจะออกมาเป็นอย่างไร
ในอดีตมีอะไรซ่อนไว้ ก็จะดีครับ
ถ้ามาดูตอนปิดงบการเงินแล้ว อาจจะช้าเกินไป
เพื่อนๆ ใน tvi
พอจะมีวิธีดูได้อย่างไร ว่า ใน Q1 จะมีโอกาส ขาดทุน จาก defer tax ใน Q4 ครับ
ตามหัวข้อกระทู้ครับ
หรือยกตัวอย่างหุ้นตัวไหนก็ได้ครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 95
ทันทีที่รัฐบาลประกาศลดอัตราภาษี บริษัทต้องตัด DTA และ DTL ทันทีในงวดนั้น หมายความว่า ผลกระทบกับค่าใช้จ่่ายจะเกิดทันทีในปี 2554 บริษัทจะรอหรือทะยอยตัด DTA และ DTL ไม่ได้ (เพราะทันทีที่อัตราภาษีเปลี่ยน สินทรัพย์ก็ถือว่าด้อยค่่าทันที ดังนั้น บริษัทจึงต้องบันทึกปรับค่าใช้จ่ายภาษีหรือรายการอื่นทันที)Nanotube เขียน:ขอบคุณอาจารย์มากๆ ครับ ได้ความกระจ่างเรื่อง DTA กะ DTL อีกเยอะทีเดียว แต่ผมมีข้อสงสัยเรื่องการด้อยค่า DTA ตามอัตราภาษีที่ลดลงดังนี้้ครับ
1. กรณีหนี้สูญ:
บริษัทตั้งสำรองหนี้สูญ 100 บาท แต่สรรพากรยังไม่ยอม ทำให้บริษัทต้องจ่ายภาษีออกไป 30 บาท บริษัทจึงตั้ง DTA 30 บาท ตามที่จ่ายไปจริง คราวนี้ในปี 2556 สรรพากรยอมให้หนี้สูญนั้นเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทจริง ดังนั้น บริษัทจึงเปรียบเหมือนได้คืนภาษีกลับมา 20 บาท จึงต้องด้อยค่า DTA ที่เคยบันทึกไว้ 10 บาท
คำถามคือ 10 บาทที่ด้อยค่าไปสามารถบันทึกในปี 2556 ได้หรือไม่ หรือจำเป็นต้องบันทึกเลยในปี 2554 นี้ เนื่องจากอัตราภาษีที่ลดลงมีความชัดเจนแล้วในปี 2554
ถ้าจำเป็นต้องด้อยค่า DTA ในปี 2554 เลย บริษัทสามารถด้อยค่าก่อน 7 บาทในปี 2554 ก่อนโดยประเมินว่าสรรพากรจะยอมให้รับรู้หนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายในปี 2555 จากนั้น ในปี 2555 ถ้าสรรพากรยังไม่ยอมให้รับรู้หนี้สูญเป็นค่าใช้จ่าย ค่อยด้อยค่า DTA เพิ่มอีก 3 บาท บริษัทสามารถทำได้มั้ยครับ
ทั้งนี้ DTA และ DTL จะลดลงทันที 7 บาท สำหรับรายการที่บริษัทคาดว่าจะสามารถนำมาหักภาษีปี 54 และ 10 บาทสำหรับรายการที่คาดว่าจะสามารถนำมาหักภาษีปี 55
นั่นเป็นทฤษฎี
แต่ในทางปฎิบัติ
ความเบี่ยงเบนของการตัด DTA และ DTL อยู่ที่การคากการณ์ของบริษัท เช่น บริษัทบอก บริษัทคาดว่าหนี้สูญทั้งหมดจะสามารถนำมาใช้ในปี 54 บริษัทก็จะกลับบัญชี DTA มาเป็นค่าใช้จ่ายภาษีเพียง 7% แต่ปรากฎว่า ในปี 54 บริษัทไม่สามารถนำหนี้สูญมาหักภาษีได้ทั้งหมดเนื่องจากกระบวนการทวงหนี้ยังไม่เสร็จสิ้นตามความเห็นของสรรพากร ในปี 55 บริษัทก็จะสามารถตัด DTA เพิ่มอีก 3% สำหรับจำนวนหนี้สูญที่เหลือ อย่างไรก็ตาม การปรับค่าใช้จ่่ายเพิ่มอีก 3% สำหรับหนี้สูญที่เหลือนี้ ไม่ควรเกิดขึ้นหลังปี 55 เพราะถึงตอนนั้น ทุกอย่างต้องชัดเจนแล้วว่า DTA ด้อยค่า
คำตอบให้คุณคือ บริษัทแต่งตัวเลขได้บ้าง แต่คงไม่ทั้งจำนวน เพราะ (หวังว่า) ผู้สอบบัญชีจะไม่ยอมค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 96
ทุกอย่างปฎิบัติเหมือนกันค่ะ ปัญหาของสินทรัพย์ที่มีค่าเสื่อมราคาคือ บริษัทต้องคาดการณ์ว่า บริษัทจะใช้สินทรัพย์ไปจนสินทรัพย์หมดอายุแล้วขาย หรือขายก่อนหมดอายุ และอัตราภาษีที่ต้องจ่ายตอนขายนั้นเป็นเท่าไร สมมุติว่าบริษัทคาดว่าจะขายสินทรัพย์ในปี 55 DTA จะด้อยค่่าทันที 7% แต่ถ้าบริษัทคาดว่าจะขายปี 56 หรือหลังจากนั้น DTA จะด้อยค่า 10% ค่ะNanotube เขียน:
2. กรณีหักค่าเสื่อมเร็วกว่าสรรพากรกำหนด:
กรณีนี้น่าจะเหมือนกับกรณีหนี้สูญ แต่ที่ผมสงสัยคือการด้อยค่าจะด้อยยังไงครับ ประเมิน DTA ใหม่จากอัตราภาษี 23% ในปี 2555 และ 20% ตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไปจนครบอายุ แล้วด้อยค่าทีเดียวในปี 2554 หรือว่าสามารถทยอยด้อยค่าเป็นปีๆ ได้ครับ
นี่เป็นเรื่องของการคาดการณ์ จะจริงเท็จปานใด ผู้สอบบัญชีจะเป็นผู้ดู
ถามว่าบริษัทจะสามารถทะยอยตัดการด้อยค่า 7% ก่อนในปี 54 และตัดอีก 3% ในปี 55 เป็นไปได้ไหม คำตอบคือเป็นไปได้ในบางรายการ แต่ไม่น่าจะได้ทั้งหมด เพราะผู้สอบบัญชีเขาดูอยู่ แต่หลังจากปี 55 ไปแล้ว ไม่ควรมีการตัด DTA เนื่องจากการด้อยค่าอีก เพราะการขายหลังปี 55 อัตราภาษีจะเป็น 20% ดังนั้น DTA ของทุกรายการที่เคยบันทึกต้องค่าหมดแน่นอน (ปัญหาที่เราจะเจอในคราวหน้าคือเมื่อตอนอัตราภาษีเด้งกลับขึ้นไปเป็น 30% เพราะผลทางภาษีจะกลับตาลปัตรกัน แต่ก็หวังว่าจะไม่เกิดขึ้น เพราะจนป่านนี้ vat 7% ก็ยังไม่ได้เด้งกลับไปเป็น 10% เลย)
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 97
ถ้าบริษัทบันทึก DTA เนื่องจากขาดทุนที่จะนำไปหักภาษีได้ในอนาคต ต้องพิจารณา 2 ประเด็นNanotube เขียน:
3. กรณีมี loss carried forward:
อันนี้ก็คงคล้ายๆ กับ 2 กรณีข้างบน คือ ถ้าบริษัทขาดทุนแล้วตั้ง DTA ไว้ ก็น่าจะตั้งไว้ที่อัตราภาษี 30% แต่พอใช้จริงกลับใช้ได้แค่ 23% และ 20% กรณีนี้ต้องประเมิน DTA ใหม่แล้วด้อยค่าทีเดียว หรือทยอยด้อยค่าได้ครับ
คำถามสุดท้ายคือ รายการด้อยค่า DTA จะลงในงบกำไรขาดทุนในช่องไหนครับ ช่องภาษีเงินได้ หรือแยกออกมาเป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ เช่น ขาดทุนจากการปรับอัตราภาษี ครับ
สุดท้ายต้องขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงที่กรุณามาช่วยอธิบายจนกระจ่าง และก็ขอบคุณ จขก ด้วยครับที่ตีแตกด้านภาษีแล้วมาเปิดกระทู้ครับ
1. บริษัทควรบันทึกรายการนี้เป็นสินทรัพย์แต่เริ่มต้นหรือไม่ ถ้าขาดทุนเกิดขึ้นจากความโชคร้ายในปีนั้น แต่ในปีต่อไปบริษัทน่่าจะมีกำไร บริษัทก็อาจมีเหตุผลที่จะตั้ง DTA แทนที่จะบันทึกจำนวนทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในปีนั้น แต่ถ้าบริษัทมีแนวโน้มจะขาดทุนต่อไปและเป็นการยากที่บริษัทจะนำขาดทุนนั้นมาใช้หรือใช้ให้หมด บริษัทไม่ควรตั้ง DTA ตั้งแต่เริ่มต้น และทันทีที่เห็น trend ในปัถัดไปว่าบริษัทจะไม่ได้ใช้ขาดทุนนั้น ผู้สอบบัญชีควรบังคับให้บริษัทตัด DTA เป็นค่าใช้จ่ายภาษีให้หมดทันทีที่เห็น trend ลง แต่บริษัทก็สามารถตั้ง DTA กลับมาได้เมื่อเห็น trend ขึ้น
2. ถ้าบริษัทบันทึก DTA อย่างถูกต้อง การกลับบัญชี DTA ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์ซึ่งอาจเบี่ยงเบนได้ไม่มาก เพราะการด้อยค่าส่วนใหญ่ต้องอิงกับอัตราภาษี 20% ยกเว้นแต่บริษัทคาดว่าจะสามารถใช้ขาดทุนทั้งหมดในปี 55 ที่อัตรา 23%
การด้อยค่าของ DTA บางรายการจะทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น (อยู่ที่บรรทัดที่เรียกว่่า "ภาษีเงินได้" ก่อน "กำไรสุทธิ" ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายพิเศษหรืออะไรอย่างอื่น) แต่บางรายการจะทำให้รายการในงบดุล เช่น ส่วนทุน หรือค่าความนิยมเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับว่า DTA นั้นเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร (เรื่องนี้ อธิบายไปเยอะแล้ว)
หวังว่าจะกระจ่างนะคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 101
มานั่งอ่านคำถามของคุณใหม่ ก็มาให้เข้าใจว่า คุณถามไม่ตรงคำตอบ (หมายความว่า อาจารย์ตอบไม่ตรงคำถาม)wj เขียน:ขอบคุณอาจารย์มากครับ
ส่วนเรื่องเดบิตเครดิต ผมหมายถึงว่า ผมไม่สามารถอ่านหนังสือบัญชีได้ เพราะไม่เข้าใจ 2 คำนี้ครับ จำเป็นต้องเรียนในวิธีที่ตนเองถนัด
ที่คุณทำตัวเลขให้ดูในตาราง คล้ายๆ กับว่าคุณพยายามสร้างระบบความเข้าใจให้ตัวคุณเอง ซึ่งก็โอเคค่ะ แต่ภาษาที่ึคุณใช้ก็เป็นภาษาที่คุณสร้างขึ้นเองซึ่งบางทีก็ยากที่จะเข้าใจหรือยากที่นักบัญชีจะทำใจ เช่น คำว่า "ภาษีตามงบการเงินปลอมๆ" จำไว้นะคะว่าไม่มีอะไรปลอมในงบการเงิน (ถ้าทำตามระบบกันจริงๆ) สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย จริงทั้งนั้น
แต่ถ้ามีใครหลอกคุณว่า ภาษีหรือขาดทุนนู่นนี่มันไม่จริง มันเป็นเพียงแต่ตัวเลข ให้คุณอย่าเชื่อมากเกินไป เพราะคนที่พูดอย่่างนั้นเขาอาจต้องการให้คุณเข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของเขา บัญชีที่แสดงในงบการเงินเป็นไปตามเกณฑ์คงค้างซึ่งมีความหมายในตัวมันเอง และไม่มีอะไรปลอม ที่คุณคิดว่าปลอมก็เพราะคุณคิดถึงเกณฑ์เงินสด แต่ถ้าคุณคิดถึงแต่เกณฑ์เงินสด ระวังตัวคุณเองจะโดนหลอก
อีกอย่างหนึ่ง ระบบบัญชีเขาพัฒนากันมาหลายร้อยปีแล้ว นั่นหมายความว่าระบบมันตกผลึกจนกลายเป็นภาษาสากลสำหรับโลกธุรกิจไปแล้ว การที่คุณบอกว่าไม่เข้าใจมัน และพยายามสร้างระบบของคุณขึ้นมาเอง มันเท่ากับว่าคุณกำลังย้อนหลังกลับไปเมื่อหลายร้อยปีก่อนตอนที่ีระบบบัญชียังไม่ตกผลึก คุณอาจคิดว่าคุณเข้าใจมันเพราะมันเป็นระบบคิดของคุณเอง และมันเป็นภาษาที่คุณเข้่าใจ อย่าลืมนะคะ ถ้าคุณคิดภาษาขึ้นมาใหม่ คุณต้องนั่งคุยคนเดียว ไปคุยกับคนอื่นไม่ได้ เพราะเขาไม่เข้าใจภาษาของคุณ (ยอมรับว่าอาจารย์ไม่ได้พยายามทำความเข้าใจกับตารางที่คุณสร้างขึ้น เพราะอาจารย์ไม่อยากเรียนภาษาใหม่ เหมือนๆ กับที่คุณไม่อยากเรียนภาษาบัญชี)
กลับไปคิดใหม่ก็ยังไม่สายนะคะ เดบิต เครดิต มันง่่ายกว่าระบบที่คุณคิดขึ้นมาอีก เพียงแต่คุณต้องยอมลงไปศึกษาภาษาที่คนอื่นคิดขึ้นมา ไม่ใช่สร้างขึ้นมาเอง แล้วคุณจะเห็นว่า บัญชีนั้นง่ายมั่กๆ ค่ะ
เดบิต แปลว่า ซ้าย
เครดิต แปลว่า ขวา
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนทุน
เดบิต = สินทรัพย์
เครดิต = หนี้สิน และ ส่วนทุน
บัญชีสินทรัพย์โดยทั่วไปเพิ่มขึ้นทางด้านเดบิต (ซ้าย) ลดลงทางด้านเครดิต (ขวา)
บัญชีหนี้สินและส่วนทุนโดยทั่วไป ก็กลับกันกับสินทรัพย์ คือเพิ่มขึ้นทางด้านเครดิต (ขวา) และลดลงทางด้านเดบิต (ซ้าย)
แค่นี้ ไม่เห็นจะยากเลย... ลองเข้่าใจดูสิคะ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 102
ขอบคุณครับ กำลังมรึนๆ แต่จะพยายามครับ อาจารย์ parpornparporn เขียน:คุณ jeng กรุณาอ่านคำตอบที่เขียนให้คุณ nanotube ค่ะ
ทั้งสวย ทั้งเก่ง ทั้งขยัน และแบ่งปันอีกตะหาก
อาจารย์อย่าท้อนะครับ หากมีใครมากวนๆ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 103
อ่านไปอ่านมาหลายเที่ยว อยากถามว่า
dtl ที่ด้อยค่าลง ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีสูงขึ้น ทำให้กำไรลดลง
แต่เงินไม่ได้หายไปไหน ใช่หรือไม่ครับ
ถ้าใช่ ก็ดีซิครับ
เพราะปี 2555 จะมีการด้อยค่าในอัตราที่น้อยลง คือ ปีนี้ 23 % ปีหน้า 20 %
ก็จะทำให้กำไรปีนี้ 2555 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถ้ากิจการทำได้เหมือนเดิม
คำถามคือ dtl ที่ลดลงในปี 54 ทำให้การจ่ายภาษีจริงๆลดลง หรือไม่ลด หรือไม่เกี่ยวกับการจ่าย
ภาษีในปี 54
dtl ที่ด้อยค่าลง ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีสูงขึ้น ทำให้กำไรลดลง
แต่เงินไม่ได้หายไปไหน ใช่หรือไม่ครับ
ถ้าใช่ ก็ดีซิครับ
เพราะปี 2555 จะมีการด้อยค่าในอัตราที่น้อยลง คือ ปีนี้ 23 % ปีหน้า 20 %
ก็จะทำให้กำไรปีนี้ 2555 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถ้ากิจการทำได้เหมือนเดิม
คำถามคือ dtl ที่ลดลงในปี 54 ทำให้การจ่ายภาษีจริงๆลดลง หรือไม่ลด หรือไม่เกี่ยวกับการจ่าย
ภาษีในปี 54
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 104
และถ้าเปิดงบการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด
เราจะเห็น dtl ตรงค่าใช้จ่ายภาษีที่สูงขึ้น ให้สงสัยว่า dtl ด้อยค่าลง
แสดงว่า นักลงทุนก็ไม่มีทางรู้เลย จนกว่าจะปิดงบการเงิน
แล้วก็รับสภาพไปว่า บริษัทที่ลงทุนอยู่ จะมี dtl ด้อยค่าลงมาก หรือน้อย หรือไม่มี
ใช่หรือไม่ครับ
คำถาม มีหนทางรู้ก่อนหรือไม่ ประมาณการได้หรือไม่ว่า บริษัทที่ลงทุน จะมี dtl มาก น้อย
หรือไม่มี
เราจะเห็น dtl ตรงค่าใช้จ่ายภาษีที่สูงขึ้น ให้สงสัยว่า dtl ด้อยค่าลง
แสดงว่า นักลงทุนก็ไม่มีทางรู้เลย จนกว่าจะปิดงบการเงิน
แล้วก็รับสภาพไปว่า บริษัทที่ลงทุนอยู่ จะมี dtl ด้อยค่าลงมาก หรือน้อย หรือไม่มี
ใช่หรือไม่ครับ
คำถาม มีหนทางรู้ก่อนหรือไม่ ประมาณการได้หรือไม่ว่า บริษัทที่ลงทุน จะมี dtl มาก น้อย
หรือไม่มี
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 105
เงินมันไปหมดแล้วค่ะ แถมบริษัทยังจะไม่สามารถประหยัดภาษีอีก 7-10% ไม่ทราบว่าคุณเรียกสถานการณ์นี้ว่าดีหรือไม่ดี?Jeng เขียน:อ่านไปอ่านมาหลายเที่ยว อยากถามว่า
dtl ที่ด้อยค่าลง ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีสูงขึ้น ทำให้กำไรลดลง
แต่เงินไม่ได้หายไปไหน ใช่หรือไม่ครับ
ถ้าใช่ ก็ดีซิครับ
เปรียบเหมือนที่เคยเปรียบค่ะ DTA คล้ายกับคูปองที่คุณจ่ายเงินซื้อไปล่วงหน้า สมมุติคุณโดนบังคับให้ซื้อคูปองที่ 30 บาท คุณก็ได้แต่หวังว่าวันหน้าคุณก็จะได้นำคูปองมาแลกซื้อของเพื่อให้ได้ส่วนลด 30 บาท แต่ต่อมาภายหลัง เขาลดส่วนลดของคุณ ทำให้คูปอง 30 บาท แลกส่วนลดได้แค่ 20 บาท
คุณว่าดีหรือไม่ดี?
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 106
ขอบคุณอาจารย์ครับ ที่สละเวลา
ขอตอบว่า ก็ต้องไม่ดีอย่างอาจารย์ว่าไว้
แต่อยากถามโดยการยกตัวอย่างหุ้น csl
เพิ่มอีกนิดครับ
งบกำไรขาดทุน ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 203.789 ทำให้ดูกำไรลดลง
งบกระแสเงินสด ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (ทำให้เงินสดเพิ่ม)
งบกระแสเงินสด จ่ายภาษีเงินได้ 104.352 ซึ่งน้อยกว่าปีก่อน ที่ 137.579
ผมดูแบบดูงบไม่เก่ง
ก็เห็นว่า กำไรลดลง จากมี ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้มาตัด แต่เงินสดยังอยู่ครับ
เงินสดในงวดปัจจุบันยังอยู่
ใช่หรือไม่ครับ อาจารย์ paporn
แต่ในแง่บัญชี เงินจ่ายไปแล้ว อะไรทำนองนี้
ขอตอบว่า ก็ต้องไม่ดีอย่างอาจารย์ว่าไว้
แต่อยากถามโดยการยกตัวอย่างหุ้น csl
เพิ่มอีกนิดครับ
งบกำไรขาดทุน ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 203.789 ทำให้ดูกำไรลดลง
งบกระแสเงินสด ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (ทำให้เงินสดเพิ่ม)
งบกระแสเงินสด จ่ายภาษีเงินได้ 104.352 ซึ่งน้อยกว่าปีก่อน ที่ 137.579
ผมดูแบบดูงบไม่เก่ง
ก็เห็นว่า กำไรลดลง จากมี ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้มาตัด แต่เงินสดยังอยู่ครับ
เงินสดในงวดปัจจุบันยังอยู่
ใช่หรือไม่ครับ อาจารย์ paporn
แต่ในแง่บัญชี เงินจ่ายไปแล้ว อะไรทำนองนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 107
เรื่องที่คุยมาทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ DTA และ DTL ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเงินสดในงวดที่ DTA ด้อยค่า เนือ่งจากเงินสดได้จ่่ายออกไปแล้วJeng เขียน: เพราะปี 2555 จะมีการด้อยค่าในอัตราที่น้อยลง คือ ปีนี้ 23 % ปีหน้า 20 %
ก็จะทำให้กำไรปีนี้ 2555 เพิ่มขึ้นจากปี 2554 ถ้ากิจการทำได้เหมือนเดิม
คำถามคือ dtl ที่ลดลงในปี 54 ทำให้การจ่ายภาษีจริงๆลดลง หรือไม่ลด หรือไม่เกี่ยวกับการจ่าย
ภาษีในปี 54
ถ้าจะให้เปรียบ DTA ก็เหมือนกับสินทรัพย์ทั่วไป เช่น อุปกรณ์ ซึ่งบริษัทมักจ่ายเงินออกไปหมดแล้ว แต่ถ้าอุปกรณ์ด้อยค่า บริษัทต้องตัดการด้อยค่าไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที ซึ่งทำให้กำไรลดลง แต่การด้อยค่่าของอุปกรณ์เป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
อาจารย์ถามคุณ.... อุปกรณ์ด้อยค่่า บริษัทตัดเป็นค่่าใช้จ่าย กำไรต่ำลง แต่บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินสดออกไปอีก เพราะได้จ่ายไปหมดแล้วตอนซื้ออุปกรณ์... ดีหรือไม่ดี?
หวังว่าถึงจุดนี้ เราจะเข้าใจกลไกการบันทึก DTA แล้ว ทีนี้เรามองเปลาะต่อไป
การลดอัตราภาษีทำให้บริษัทสามารถประหยัดภาษีได้ในปีนี้ 7% และปีหน้าเป็นต้นไป 10% อะไรจะเกิดขึ้น
ก่อนที่จะทราบว่าอะไรจะเกิดขึ้น คุณต้องกลับไปทบทวนสูตรการคำนวณค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุน (อาจารย์ใจดีเขียนใหม่ให้ดู)
ค่าใช้จ่ายภาษี = ภาษีคำนวณตามประมวล + DTA ลด หรือ DTL เพิ่ม - DTA เพิ่ม หรือ DTL ลด
ดูตัวแปรในสมการ เราก็จะเข้าใจว่า ในปี 54 อัตราภาษีคือ 30% การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเกิดขึ้นในปี 54 แต่กำหนดให้ ปี 55 มีอัตราภาษี 27% และปี 56 เป็นต้นไป มีอัตรา 20%
ก่อนอื่น มาดูผลกระทบของตัวแปรแต่ละตัวในปี 54
-ภาษีตามประมวล บริษัทยังคงจ่ายที่อัตรา 30% (กระทบเงินสดเกือบจะทันที แต่ดูผลกระทบกับงบกำไรขาดทุนไม่ได้เพราะต้องดูยอดสุทธิที่แสดงในค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้)
-DTA ที่เคยบันทึกไว้เดิมก่อนปี 54 ที่อัตรา 30% ลดลง 7-10% (ไม่กระทบเงินสดเพราะเงินสดจ่ายไปแล้ว แต่กระทบงบกำไรขาดทุนทันที)
-DTL ที่เคยบันทึกไว้ก่อนปี 54 ที่อัตรา 30% ลดลง 7-10% (ไม่กระทบเงินสดจ่าย บางรายการกระทบงบกำไรขาดทุนทันที) (รายการส่วนใหญ่กระทบส่วนทุน แต่ไม่รวมอยู่ในสมการนี้)
-DTA ที่เกิดขึ้นใหม่ในปี 54 มักเพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 20 หรือ 23% (กระทบเงินสดที่จ่ายภาษีตามประมวล DTA ตัวนี้แสดงให้เห็นว่าเงินสดไหลออกจากบริษัทมากกว่าที่ควรเป็นเพราะสรรพากรเรียกเก็บภาษีล่วงหน้า)
-DTL ที่เกิดใหม่ในปี 54 ผลก็คล้ายกับ DTA ที่เกิดใหม่ในปี 54 ส่วนหนึ่งมีผลกระทบค่าใช้จ่ายภาษีในงบกำไรขาดทุน
ทีนี้มาดูในปี 55
-ภาษีตามประมวล บริษัทจ่ายที่อัตรา 23% อันนี้ดีแน่ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลลดภาษีเพื่อช่วยบริษัท มีผลกระทบกับกระแสเงินสดตรงๆ
-DTA, DTL ที่บันทึกไว้เดิม ลดลงตามปกติ 23% ไม่มีการด้อยค่าอีกแล้ว เว้นแต่บริษัทคาดการณ์ผิด อาจเกิดการด้อยค่าเพ่ิม 3% (ไม่มีผลต่อเงินสด เพราะจ่ายไปแล้วเมื่อปี 54 หรือก่อนปี 54 มีผลกับค่าใช้จ่ายภาษีตามปกติ)
-DTA, DTL ที่เกิดใหม่ จะเพิ่มขึ้นด้วยอัตรา 20% มีผลต่อกระแสเงินสด ทำให้รู้ว่าจ่ายเงินมากไปหรือน้อยไปให้กับสรรพากรเท่าไร
รู้กลไกอย่างนี้แล้ว เราต้องมาดูแต่ละบริษัทว่าผลกระทบโดยรวมเป็นอย่างไร
แต่ที่แน่ๆ ภาษีเงินได้ที่บริษัทต้องควักกระเป๋าจ่ายกรมสรรพากรจะน้อยลง นั่นคือที่มาของการลดภาษี ถือเป็นการประหยัดกระแสเงินสดและน่าจะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตัวแปรอื่นในสมการ)
เหตุผลที่ต้องแจงให้คุณเห็นอย่างละเอียด เพราะกลัวเรื่องการหลับตาคลำช้างค่ะ
วันนี้เอาแค่นี้ก่อน พรุ่งนี้กับมะรืนนี้ต้องสอน "กลบัญชี" นอนดึก เดี๋ยวจะไม่มีแรงพูด
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 108
ขอบคุณมากครับ ผมคิดแบบนี้ จะผิดมากหรือไม่ครับ
คือขอเพิ่มโลกที่ 3 อาจารย์บอกมีสองโลก คือโลกบัญชี โลกสรรพากร
ขอเพิ่มโลกที่ 3 คือโลกนักลงทุน กรณี DTL ถ้าใช้คำว่า ด้อยค่า ดูเหมือนค่าจะลดลง น่ากลัว
และหัวข้อกระทู้ก็บอกว่า บริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน Q4
แต่มาดูเนื้อในจริงๆ กลับกลายเป็นว่า ไม่ได้ด้อยค่าอะไร (โลกการลงทุน)
เพราะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทันที
ถ้าหักเป็นค่าใช้จ่ายไม่ได้นี่ซิ ถึงเรียกว่าด้อยค่า
ผมยกตัวอย่างเช่น ตึก 10 ล้าน ค่าเช่า ปีละ 6 แสนบาท
ต่อมาตึกนี้ ราคาลดลง เหลือ 8 ล้าน แต่ค่าเช่าก็ 6 แสนบาท
แบบนี้ การด้อยค่าของสินทรัพย์ คือตัวตึก น่าจะกระทบ งบดุล มากกว่า งบกำไรขาดทุน
dtl ด้อยค่า กระทบงบกำไรขาดทุน ผมก็เลยคิดว่า มันไม่ได้ด้อยค่าอะไร
(ภาษานักลงทุน)
อืม ไม่ได้เถียงอาจารย์นะ เข้าใจตามอาจารย์อธิบายครับ
แต่เนื่องจาก เงินสดไม่ได้ลดลง แค่นี้ก็พอใจแล้วครับ
เพราะถ้าอยู่ๆมีรายจ่ายภาษีเงินได้ ที่ต้องจ่ายออกไปจริงๆมากๆ อย่างนั้นแหละ ถึงจะเรียกว่า ด้อยค่า
สำหรับนักลงทุนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 109
คุณ jeng
เวลาคุณลงทุนคุณลงสั้นหรือยาว?
สมมุติอาจารย์มีเงินฝากในบัญชี 3,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ปีที่ 1 มีรายได้ 6,000 บาท มีค่าใช้จ่่าย 2,000 บาท อาจารย์จ่ายภาษีที่ 30% ภาษีที่อาจารย์ต้องจ่ายสรรพากรคือ 4,000 * .3 = 1,200 บาท สรรพากรบอกว่าค่าใช้จ่ายที่นำมาคำนวณภาษีมากไปให้ลดลง 1,500 บาท ดังนั้น อาจารย์จึงต้องจ่ายภาษี 5,500* 0.3= 1,650 บาท แต่สรรพากรบอกว่าในปีถัดไปอาจารย์สามารถนำค่าใช้จ่าย 1,500 บาทมาหักภาษีได้ ดังนั้นอาจารย์ก็คาดว่าภาษีของอาจารย์จะลดลง 450 บาท
เมื่อจ่ายเงินสรรพากรเสร็จ อาจารย์มีเงินสดเหลือ 1,350 บาท มีคูปอง 450 บาทจากสรรพากรเพื่อนำมาหักภาษี
ปีที่ 2 อัตราภาษียังเป็น 30% แต่รัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีเป็น 20% สำหรับปีที่ 3 เป็นต้นไป
อาจารย์มีรายได้และค่าใช้จ่ายเท่าเดิม
ปีที่ 2 อาจารย์จ่ายภาษีเพิ่มอีก 1,200 บาท (สมมุติสรรพากรขี้เกียจเก็บภาษีเพิ่ม)
แต่คูปองของอาจารย์ด้อยค่าไป 150 บาท (1500 *.10) ซึ่งอาจารย์ไม่ต้องจ่ายเงินสดออกไป
ปีที่ 3 อัตราภาษีลดเหลือ 20% บริษัทก็ยังมีภาษีเท่่าเดิม แต่ในปีนี้บริษัทสามารถนำคูปองภาษีที่เหลืออยู่ 450 บาทมาใช้ ถ้าบริษัทมีรายได้ 6,000 บาทเท่าเดิม ค่าใช้จ่ายปีนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 2,000 บาท มาเป็น 3,500 บาท จากค่าใช้จ่่ยเดิมที่สามารถนำมาหักภาษีในปีนี้ บริษัทก็จะมีภาษี 2,500 * 0.20 = 500 บาท ซึ่งในจำนวนนี้มีภาษีจริง 800 บาท แต่เรามีึคูปอง 300 บาทมาหักภาษี
( สมมุติอัตราภาษีไม่ลดลงเลย
กรณีไม่มี DTA เราจะมีเงินสดเหลือ 5,000-1,200-1,200-1,200= 1,400 บาท
กรณีมี DTA เราจะมีเงินเหลือ 5,000-1,650-1,200-750=1,400 บาท)
ในกรณีที่อัตราภาษีลดลง รวม 3 ปี เรามีเงินสดเหลือ 5,000 -1,650-1,200-500= 1,650 บาท
สมมุติเราไม่มีเรื่องการหักภาษีล่วงหน้า เราจะมีเงินเหลือ 5,000-1,200-1,200-800=1,800 บาท
เงินสด 150 บาท หายไปไหน?
ตอบอาจารย์ได้ไหมคะ?
แล้วที่คุณว่า DTA ที่ด้อยค่าไม่มีผลกระทบกับเงินสด แล้วไม่น่าตกใจ จริงหรือเปล่า?
นี่แค่ 3 ปี เงินสดก็หายไป 150 บาทแล้ว
ถ้าบริษัทสะสม DTA เป็นก่ายเป็นกองในอดีต คุณคิดว่าเงินสดของบริษัทจะหายไป้ท่าไร?
แต่บังเอิญอัตราภาษีจากนี้ไปจะลดลง เหลือ 20% เท่ากับว่า บริษัทจะค่อยๆ ได้ cash flow คืน ผลจะเป็นอย่างไร ก็ต้องดูต่อไป
เวลาคุณลงทุนคุณลงสั้นหรือยาว?
สมมุติอาจารย์มีเงินฝากในบัญชี 3,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ปีที่ 1 มีรายได้ 6,000 บาท มีค่าใช้จ่่าย 2,000 บาท อาจารย์จ่ายภาษีที่ 30% ภาษีที่อาจารย์ต้องจ่ายสรรพากรคือ 4,000 * .3 = 1,200 บาท สรรพากรบอกว่าค่าใช้จ่ายที่นำมาคำนวณภาษีมากไปให้ลดลง 1,500 บาท ดังนั้น อาจารย์จึงต้องจ่ายภาษี 5,500* 0.3= 1,650 บาท แต่สรรพากรบอกว่าในปีถัดไปอาจารย์สามารถนำค่าใช้จ่าย 1,500 บาทมาหักภาษีได้ ดังนั้นอาจารย์ก็คาดว่าภาษีของอาจารย์จะลดลง 450 บาท
เมื่อจ่ายเงินสรรพากรเสร็จ อาจารย์มีเงินสดเหลือ 1,350 บาท มีคูปอง 450 บาทจากสรรพากรเพื่อนำมาหักภาษี
ปีที่ 2 อัตราภาษียังเป็น 30% แต่รัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีเป็น 20% สำหรับปีที่ 3 เป็นต้นไป
อาจารย์มีรายได้และค่าใช้จ่ายเท่าเดิม
ปีที่ 2 อาจารย์จ่ายภาษีเพิ่มอีก 1,200 บาท (สมมุติสรรพากรขี้เกียจเก็บภาษีเพิ่ม)
แต่คูปองของอาจารย์ด้อยค่าไป 150 บาท (1500 *.10) ซึ่งอาจารย์ไม่ต้องจ่ายเงินสดออกไป
ปีที่ 3 อัตราภาษีลดเหลือ 20% บริษัทก็ยังมีภาษีเท่่าเดิม แต่ในปีนี้บริษัทสามารถนำคูปองภาษีที่เหลืออยู่ 450 บาทมาใช้ ถ้าบริษัทมีรายได้ 6,000 บาทเท่าเดิม ค่าใช้จ่ายปีนี้จะเพิ่มขึ้นจาก 2,000 บาท มาเป็น 3,500 บาท จากค่าใช้จ่่ยเดิมที่สามารถนำมาหักภาษีในปีนี้ บริษัทก็จะมีภาษี 2,500 * 0.20 = 500 บาท ซึ่งในจำนวนนี้มีภาษีจริง 800 บาท แต่เรามีึคูปอง 300 บาทมาหักภาษี
( สมมุติอัตราภาษีไม่ลดลงเลย
กรณีไม่มี DTA เราจะมีเงินสดเหลือ 5,000-1,200-1,200-1,200= 1,400 บาท
กรณีมี DTA เราจะมีเงินเหลือ 5,000-1,650-1,200-750=1,400 บาท)
ในกรณีที่อัตราภาษีลดลง รวม 3 ปี เรามีเงินสดเหลือ 5,000 -1,650-1,200-500= 1,650 บาท
สมมุติเราไม่มีเรื่องการหักภาษีล่วงหน้า เราจะมีเงินเหลือ 5,000-1,200-1,200-800=1,800 บาท
เงินสด 150 บาท หายไปไหน?
ตอบอาจารย์ได้ไหมคะ?
แล้วที่คุณว่า DTA ที่ด้อยค่าไม่มีผลกระทบกับเงินสด แล้วไม่น่าตกใจ จริงหรือเปล่า?
นี่แค่ 3 ปี เงินสดก็หายไป 150 บาทแล้ว
ถ้าบริษัทสะสม DTA เป็นก่ายเป็นกองในอดีต คุณคิดว่าเงินสดของบริษัทจะหายไป้ท่าไร?
แต่บังเอิญอัตราภาษีจากนี้ไปจะลดลง เหลือ 20% เท่ากับว่า บริษัทจะค่อยๆ ได้ cash flow คืน ผลจะเป็นอย่างไร ก็ต้องดูต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 111
ถาม อาจารย์ครับ บริษัทที่ปีนี้ต้องปรับการเสียภาษีแล้วทำให้มีกำไรลดลง ถ้าตามมาตราฐานบัญชี เค้าจะทำการปรับให้จบในปีนี้ครั้งเดียวเลยหรือว่ายังจะทยอยปรับตามการรับรู้สิทธิ์ทางภาษีที่เปลี่ยนไปปีต่อปี ซึ่งจะทำให้ปีหน้ายังจะเจอเหตุการณ์แบบนี้อีก
มันจะเป็นแบบไหนหรอครับ???
มันจะเป็นแบบไหนหรอครับ???
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 112
เพิ่งตอบไปหยกๆ เลยค่ะ ตามหาอ่านเอานะคะpy เขียน:ถาม อาจารย์ครับ บริษัทที่ปีนี้ต้องปรับการเสียภาษีแล้วทำให้มีกำไรลดลง ถ้าตามมาตราฐานบัญชี เค้าจะทำการปรับให้จบในปีนี้ครั้งเดียวเลยหรือว่ายังจะทยอยปรับตามการรับรู้สิทธิ์ทางภาษีที่เปลี่ยนไปปีต่อปี ซึ่งจะทำให้ปีหน้ายังจะเจอเหตุการณ์แบบนี้อีก
มันจะเป็นแบบไหนหรอครับ???
-
- Verified User
- โพสต์: 11
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 113
parporn เขียน:เพิ่งตอบไปหยกๆ เลยค่ะ ตามหาอ่านเอานะคะpy เขียน:ถาม อาจารย์ครับ บริษัทที่ปีนี้ต้องปรับการเสียภาษีแล้วทำให้มีกำไรลดลง ถ้าตามมาตราฐานบัญชี เค้าจะทำการปรับให้จบในปีนี้ครั้งเดียวเลยหรือว่ายังจะทยอยปรับตามการรับรู้สิทธิ์ทางภาษีที่เปลี่ยนไปปีต่อปี ซึ่งจะทำให้ปีหน้ายังจะเจอเหตุการณ์แบบนี้อีก
มันจะเป็นแบบไหนหรอครับ???
เจอแล้วครับค่อยๆ ไล่อ่านขึ้นไป ขอบคุณอาจารย์มากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 136
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 114
ขออนุญาตอาจารย์ครับ ที่ตอบคุณ Jeng
ตกลงเงินสดตั้งต้น 5,000 หรือ 3,000 หรือครับ
งงๆ นิดนึง
แต่มองในแง่นักลงทุน
ยังไง ประโยชน์จากภาษีลด
ก็น่าจะมากกว่า การด้อยค่าของ DTA
รึป่าวครับ จากตัวอย่าง 1,650
เทียบกับ 1,400(กรณีไม่ลดภาษี)
คงต้องยกเว้นดูว่า บ.ไหน มี DTA ที่มากมาย
จนด้อยค่ามากกว่า ประโยชน์ที่ได้จากภาษีลด
ใช่ไหมครับ
ตกลงเงินสดตั้งต้น 5,000 หรือ 3,000 หรือครับ
งงๆ นิดนึง
แต่มองในแง่นักลงทุน
ยังไง ประโยชน์จากภาษีลด
ก็น่าจะมากกว่า การด้อยค่าของ DTA
รึป่าวครับ จากตัวอย่าง 1,650
เทียบกับ 1,400(กรณีไม่ลดภาษี)
คงต้องยกเว้นดูว่า บ.ไหน มี DTA ที่มากมาย
จนด้อยค่ามากกว่า ประโยชน์ที่ได้จากภาษีลด
ใช่ไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 115
5,000 หรือ 3,000 ก็ได้ค่ะ ผลออกมาเท่ากันshikop เขียน:ขออนุญาตอาจารย์ครับ ที่ตอบคุณ Jeng
ตกลงเงินสดตั้งต้น 5,000 หรือ 3,000 หรือครับ
งงๆ นิดนึง
แต่มองในแง่นักลงทุน
ยังไง ประโยชน์จากภาษีลด
ก็น่าจะมากกว่า การด้อยค่าของ DTA
รึป่าวครับ จากตัวอย่าง 1,650
เทียบกับ 1,400(กรณีไม่ลดภาษี)
คงต้องยกเว้นดูว่า บ.ไหน มี DTA ที่มากมาย
จนด้อยค่ามากกว่า ประโยชน์ที่ได้จากภาษีลด
ใช่ไหมครับ
เรื่องจริงก็คือ การลดภาษีในระยะยาวนั้นดีกับบริษัทแน่นอน
แต่ในระยะสั้น บริษัทจะสูญเงินจำนวนหนึ่งให้สรรพากรแบบไม่ได้คืน ยิ่ง DTA มีมากเท่าไร บริษัทยิ่งสูญเงินมากเท่านั้น (แต่ถ้าดูปีเดียว เราจะคิดว่า การที่ DTA ด้อยค่่านั้นเป็นการขาดทุนตัวเลข ไม่มีผลกับเงินสด)
เหตุผลที่อธิบายยืดยาวพร้อมยกตัวเลขให้ดู ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า การด้อยค่่ของ DTA ไม่ใช่การขาดทุน "ตัวเลข" อย่างที่บริษัทอยากให้นักลงทุนเชื่อ
ไม่ใช่แต่ DTA นะคะ แต่มีอีกหลายรายการที่บริษัทชอบบอกว่าเป็นขาดทุนทางบัญชี ไม่มีผลกับเงินสด ถ้าดูปีเดียวก็อาจจะใช่ แต่ถ้าดูต่อเนื่องอาจไม่เป็นอย่างนั้น รายการที่แสดงในงบการเงินทุกรายการมีความหมาย ไม่ใช่รายการ "หลอก" เหมือนกับที่นักลงทุนอยากจะเชื่อ หรือที่บริษัทอยากให้นักลงทุนเชื่อ
ก็เท่านั้น:)
-
- Verified User
- โพสต์: 1049
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 116
ขอบคุณอาจารย์อย่างสูงครับ
ที่สละเวลามาตอบ.
Mod ครับถ้ากระทู้นี้ถามตอบจนกระจ่างช่วยแปะกระทู้ให้อ่านได้นานนะครับ.
น่าจะมีคนติดตามกันเป็นเดือน. อิอิ. อย่างน้อยก็ผมหนึ่งคนแน่ๆครับ
ที่สละเวลามาตอบ.
Mod ครับถ้ากระทู้นี้ถามตอบจนกระจ่างช่วยแปะกระทู้ให้อ่านได้นานนะครับ.
น่าจะมีคนติดตามกันเป็นเดือน. อิอิ. อย่างน้อยก็ผมหนึ่งคนแน่ๆครับ
อย่าหลุดแนวที่ตัวเองถนัด สู้สู้
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 117
ผมสรุปใหม่นะครับ อาจารย์parporn เขียน:5,000 หรือ 3,000 ก็ได้ค่ะ ผลออกมาเท่ากันshikop เขียน:ขออนุญาตอาจารย์ครับ ที่ตอบคุณ Jeng
ตกลงเงินสดตั้งต้น 5,000 หรือ 3,000 หรือครับ
งงๆ นิดนึง
แต่มองในแง่นักลงทุน
ยังไง ประโยชน์จากภาษีลด
ก็น่าจะมากกว่า การด้อยค่าของ DTA
รึป่าวครับ จากตัวอย่าง 1,650
เทียบกับ 1,400(กรณีไม่ลดภาษี)
คงต้องยกเว้นดูว่า บ.ไหน มี DTA ที่มากมาย
จนด้อยค่ามากกว่า ประโยชน์ที่ได้จากภาษีลด
ใช่ไหมครับ
เรื่องจริงก็คือ การลดภาษีในระยะยาวนั้นดีกับบริษัทแน่นอน
แต่ในระยะสั้น บริษัทจะสูญเงินจำนวนหนึ่งให้สรรพากรแบบไม่ได้คืน ยิ่ง DTA มีมากเท่าไร บริษัทยิ่งสูญเงินมากเท่านั้น (แต่ถ้าดูปีเดียว เราจะคิดว่า การที่ DTA ด้อยค่่านั้นเป็นการขาดทุนตัวเลข ไม่มีผลกับเงินสด)
เหตุผลที่อธิบายยืดยาวพร้อมยกตัวเลขให้ดู ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า การด้อยค่่ของ DTA ไม่ใช่การขาดทุน "ตัวเลข" อย่างที่บริษัทอยากให้นักลงทุนเชื่อ
ไม่ใช่แต่ DTA นะคะ แต่มีอีกหลายรายการที่บริษัทชอบบอกว่าเป็นขาดทุนทางบัญชี ไม่มีผลกับเงินสด ถ้าดูปีเดียวก็อาจจะใช่ แต่ถ้าดูต่อเนื่องอาจไม่เป็นอย่างนั้น รายการที่แสดงในงบการเงินทุกรายการมีความหมาย ไม่ใช่รายการ "หลอก" เหมือนกับที่นักลงทุนอยากจะเชื่อ หรือที่บริษัทอยากให้นักลงทุนเชื่อ
ก็เท่านั้น:)
1.DTA ด้อยค่า ซึ่งเป็นการจ่ายเงินในอดีตไปแล้ว และได้สิทธิ์ ในการนำมาหักค่าใช้จ่ายในอนาคต เพื่อจะได้เหลือเงินสดมากขึ้น แต่เนื่องจากการด้อยค่า ก็จะทำให้กระแสเงินสดของปีปัจจุบัน หรืออนาคต ลดลง
2.ปี 2555 ภาษี 23 % ทำให้ DTA ในปี 2554 ด้อยค่าไปเยอะ
เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2556 ซึ่งภาษีจะเหลือ 20 %
ประมาณการหยาบๆ ปี 2555 อาจจะมีรายการแบบนี้เกิดขึ้นอีกในบางบริษัท แต่ไม่ทำให้เกิดผลกระทบหนักเท่า
ปี 2554
ขอบคุณครับ
สรุปของสรุป สิทธิ์ในการนำ DTA มาหักเป็นค่าใช้จ่าย ลดลงไป เมื่อ DTA ด้อยค่า
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1111
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 118
เอ...ตามความเข้าใจของผมเนี่ย ในส่วนข้อ 1 ที่คุณjengบอกว่าการด้อยค่าของDTAจะทำให้กระแสเงินสดในปัจจุบันหรืออนาคตลดลง นี่ คงไม่ใช่ยังงั้นนะครับ แต่ความจริงน่าจะเป็นประมาณว่า เราเสียประโยชน์จากการที่จ่ายเงินเกินไปแล้วในอดีตมากกว่าJeng เขียน:ผมสรุปใหม่นะครับ อาจารย์parporn เขียน:5,000 หรือ 3,000 ก็ได้ค่ะ ผลออกมาเท่ากันshikop เขียน:ขออนุญาตอาจารย์ครับ ที่ตอบคุณ Jeng
ตกลงเงินสดตั้งต้น 5,000 หรือ 3,000 หรือครับ
งงๆ นิดนึง
แต่มองในแง่นักลงทุน
ยังไง ประโยชน์จากภาษีลด
ก็น่าจะมากกว่า การด้อยค่าของ DTA
รึป่าวครับ จากตัวอย่าง 1,650
เทียบกับ 1,400(กรณีไม่ลดภาษี)
คงต้องยกเว้นดูว่า บ.ไหน มี DTA ที่มากมาย
จนด้อยค่ามากกว่า ประโยชน์ที่ได้จากภาษีลด
ใช่ไหมครับ
เรื่องจริงก็คือ การลดภาษีในระยะยาวนั้นดีกับบริษัทแน่นอน
แต่ในระยะสั้น บริษัทจะสูญเงินจำนวนหนึ่งให้สรรพากรแบบไม่ได้คืน ยิ่ง DTA มีมากเท่าไร บริษัทยิ่งสูญเงินมากเท่านั้น (แต่ถ้าดูปีเดียว เราจะคิดว่า การที่ DTA ด้อยค่่านั้นเป็นการขาดทุนตัวเลข ไม่มีผลกับเงินสด)
เหตุผลที่อธิบายยืดยาวพร้อมยกตัวเลขให้ดู ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า การด้อยค่่ของ DTA ไม่ใช่การขาดทุน "ตัวเลข" อย่างที่บริษัทอยากให้นักลงทุนเชื่อ
ไม่ใช่แต่ DTA นะคะ แต่มีอีกหลายรายการที่บริษัทชอบบอกว่าเป็นขาดทุนทางบัญชี ไม่มีผลกับเงินสด ถ้าดูปีเดียวก็อาจจะใช่ แต่ถ้าดูต่อเนื่องอาจไม่เป็นอย่างนั้น รายการที่แสดงในงบการเงินทุกรายการมีความหมาย ไม่ใช่รายการ "หลอก" เหมือนกับที่นักลงทุนอยากจะเชื่อ หรือที่บริษัทอยากให้นักลงทุนเชื่อ
ก็เท่านั้น:)
1.DTA ด้อยค่า ซึ่งเป็นการจ่ายเงินในอดีตไปแล้ว และได้สิทธิ์ ในการนำมาหักค่าใช้จ่ายในอนาคต เพื่อจะได้เหลือเงินสดมากขึ้น แต่เนื่องจากการด้อยค่า ก็จะทำให้กระแสเงินสดของปีปัจจุบัน หรืออนาคต ลดลง
2.ปี 2555 ภาษี 23 % ทำให้ DTA ในปี 2554 ด้อยค่าไปเยอะ
เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2556 ซึ่งภาษีจะเหลือ 20 %
ประมาณการหยาบๆ ปี 2555 อาจจะมีรายการแบบนี้เกิดขึ้นอีกในบางบริษัท แต่ไม่ทำให้เกิดผลกระทบหนักเท่า
ปี 2554
ขอบคุณครับ
สรุปของสรุป สิทธิ์ในการนำ DTA มาหักเป็นค่าใช้จ่าย ลดลงไป เมื่อ DTA ด้อยค่า
คือที่ผมเข้าใจเนี่ย ตอนแรกสมมติเรามีDTA90บาท หรือก็คือ จ่ายเกินไปก่อนล่วงหน้า90บาท ซึ่งไอคูปอง90บาทเนี่ย จะนำมาหักลดภาษีได้ในอนาคต แต่พอประกาศลดภาษีปุ๊ป ไอคูปอง90 กลายเป็นด้อยค่าลงไปเหลือกลายเป็นคูปอง69 บาท ก็คือเราจ่ายเกินไปในอดีต21บาท แล้วเอากลับคืนไม่ได้แล้วด้วย คือเสียผลประโยชน์จากการจ่ายเกินในอดีต ไม่น่าจะกระทบกับกระแสเงินสดปัจจุบันหรืออนาคตนะครับ
ในทำนองเดียวกัน บริษัทที่มี DTL เยอะ คือ ยังไม่จ่ายสรรพากร90 พออัตราภาษีลด ก็คิดDTLที่ฐานภาษีใหม่ คือ69บาท กลายเป็นว่าอยู่ๆก็ได้ประโยชน์ไม่ต้องเสียภาษีตั้ง21บาท
ผมเข้าใจของผมยังงี้นะครับ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ คงต้องรบกวนอาจารย์ภาพรอีกครั้งละครับ
ปล. ผมพึ่งเข้ามาอ่านกระทู้นี้ เข้าใจเรื่องdefer tax ขึ้นเยอะมากๆ ขอบคุณอาจารย์มากครับ
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 119
ตอบคุณ Sakkaphan และคุณ Jeng
เราอย่ามานั่งชี้นิ้วว่าใครผิดใครถูกจะดีกว่าไหมคะ ไม่มีประโยชน์อะไร
เรามาช่วยกันเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการลงทุนให้ได้มากที่สุดจะดีกว่า
ตามตัวอย่างที่ให้ไปแล้ว ลองเปรียบเทียบกระแสเงินสด 3 ปี ภายใต้สถานการณ์ 3 กรณี อัตราภาษีเริ่มต้น 30%
1. โลกบัญชี (ค่าใช้จ่าย) กับโลกภาษี (เงินสด) ใช้กฎเดียวกัน
2. โลกบัญชีและโลกภาษีใช้คนละกฎ เราใช้สินทรัพย์ภาษีเงินได้ (DTA) ช่วยในการบันทึกบัญชี อัตราภาษีคงที่ 30%
3. เหมือนข้อ 2 แต่รัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีเป็น 20% ในปีที่ 2 แต่นำมาใช้จริงในปีที่ 3
ทบทวนกรณี บริษัทมีรายได้ 6,000 บาท ค่าใช้จ่าย 2,000 บาท ใน 2,000 บาทนี้ ปีที่ 1 มีหนี้สูญ 1,500 บาท ที่โลกบัญชีกำหนดให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่ 1 แต่โลกภาษีกำหนดให้หักภาษีในปีที่ 3 ส่วนปีที่ 2,3 ไม่มีหนี้สูญ
กระแสเงินสดที่ต้องจ่ายให้สรรพากรใน 3 ปี เป็นดังนี้
กรณีที่ 1 บัญชีกับภาษีใช้กฎเดียวกัน
ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 รวม 3 ปี
ค่าใช้จ่ายทางบัญชี 1,200 1,200 1,200 3,600
DTA -0- -0- -0- -0-
กระแสเงินสดที่ต้องจ่าย 1,200 1,200 1,200 3,600
กรณีที่ 2 บัญชีกับภาษีใช้คนละกฎ อัตราภาษีไม่เปลี่ยนที่ 30% ตลอด 3 ปี
ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 รวม 3 ปี
ค่าใช้จ่ายทางบัญชี 1,200 1,200 1,200 3,600
DTA 450 -0- (450) -0-
กระแสเงินสดที่ต้องจ่าย 1,650 1,200 750 3,600
กรณีที่ 3 บัญชีกับภาษีใช้คนละกฎ อัตราภาษีเปลี่ยนเป็น 20% ปีที่ 2 แต่นำอัตราใหม่มาใช้จริงปีที่ 3
ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 รวม 3 ปี
ค่าใช้จ่ายทางบัญชี 1,200 1,200 800 3,200
DTA 450 -0- (300) 150
กระแสเงินสดที่ต้องจ่าย 1,650 1,200 500 3,350
ดูกรณีที่ 3
ปีที่ 1 จะเห็นว่าเราจ่ายเงินภาษี 1,650 บ. จำนวนที่สูงกว่าค่าใช้จ่าย 450 บ. เกิดจากการจ่ายเงินล่วงหน้า (DTA)
ปีที่ 2 ไม่มีหนี้สูญ ไม่มีภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้า แต่อัตราภาษีลดลง แม้ว่าเราจะนำ DTA มาใช้ยังไม่ได้ เรายังคงต้องตัด DTA ลง 150 บาท เพราะ DTA ด้อยค่า เมื่อเรานำ DTA มาใช้ในปีที่ 3 เราจะใช้ได้เพียง 300 บ.
ปีที่ 3 ไม่มีหนี้สูญ อัตราภาษีที่ใช้คือ 20% เรามีค่าใช้จ่ายภาษี 6,000 - 2,000 = 4,000*0.2 = 800 บาท
ภาษีที่ต้องจ่าย 6,000-2,000-1,500=2,500*.2=500 บาท (รวม DTA แล้ว เพราะ DTA คือ 1,500*.2=300 ที่เหลืออยู่)
จากข้อเท็จจริงตรงนี้ เราจ่ายเงินล่วงหน้าปีที่ 1 จำนวน 450 บ. หวังว่าจะได้เงินคืนในปีที่ 3 จำนวน 450 บ. แต่เราได้เงินคืนในปีที่ 3 แค่ 300 บ. เท่ากับเราเสียเงินให้สรรพากรแบบไม่มีวันได้คืน 150 บาท
แม้จะเสียหายจากการด้อยค่าของ DTA แต่ผลดีของการลดภาษีก็คือ นับจากปีที่ 3 เป็นต้นไป เราจะเริ่มลดกระแสเงินสดของเราจากการจ่ายภาษี ยิ่งระยะยาวยิ่งดี
แต่สำหรับการด้อยค่าของรายการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการลดอัตราภาษี เงินสดจ่ายแล้วจ่ายเลยค่ะ ยากที่จะมีวันได้กลับคืนมา ดังนั้นจึงต้องระวังมากๆ
คุณ Sakkaphan และคุณ Jeng คะ หาคำพูดอธิบายกันเอาเองนะคะว่าปีไหนกระแสเงินสดเพิ่มลดอย่างไร
แล้วอาจารย์จะขอร้องให้เก็บคำอธิบายของคุณไว้ในใจนะคะ เพราะถึงจุดนี้อาจารย์ทราบว่าคุณเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจตรงกันทุกประการ
ขอบคุณค่ะ
เราอย่ามานั่งชี้นิ้วว่าใครผิดใครถูกจะดีกว่าไหมคะ ไม่มีประโยชน์อะไร
เรามาช่วยกันเข้าใจให้ถูกต้องตรงกัน เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการลงทุนให้ได้มากที่สุดจะดีกว่า
ตามตัวอย่างที่ให้ไปแล้ว ลองเปรียบเทียบกระแสเงินสด 3 ปี ภายใต้สถานการณ์ 3 กรณี อัตราภาษีเริ่มต้น 30%
1. โลกบัญชี (ค่าใช้จ่าย) กับโลกภาษี (เงินสด) ใช้กฎเดียวกัน
2. โลกบัญชีและโลกภาษีใช้คนละกฎ เราใช้สินทรัพย์ภาษีเงินได้ (DTA) ช่วยในการบันทึกบัญชี อัตราภาษีคงที่ 30%
3. เหมือนข้อ 2 แต่รัฐบาลประกาศลดอัตราภาษีเป็น 20% ในปีที่ 2 แต่นำมาใช้จริงในปีที่ 3
ทบทวนกรณี บริษัทมีรายได้ 6,000 บาท ค่าใช้จ่าย 2,000 บาท ใน 2,000 บาทนี้ ปีที่ 1 มีหนี้สูญ 1,500 บาท ที่โลกบัญชีกำหนดให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่ 1 แต่โลกภาษีกำหนดให้หักภาษีในปีที่ 3 ส่วนปีที่ 2,3 ไม่มีหนี้สูญ
กระแสเงินสดที่ต้องจ่ายให้สรรพากรใน 3 ปี เป็นดังนี้
กรณีที่ 1 บัญชีกับภาษีใช้กฎเดียวกัน
ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 รวม 3 ปี
ค่าใช้จ่ายทางบัญชี 1,200 1,200 1,200 3,600
DTA -0- -0- -0- -0-
กระแสเงินสดที่ต้องจ่าย 1,200 1,200 1,200 3,600
กรณีที่ 2 บัญชีกับภาษีใช้คนละกฎ อัตราภาษีไม่เปลี่ยนที่ 30% ตลอด 3 ปี
ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 รวม 3 ปี
ค่าใช้จ่ายทางบัญชี 1,200 1,200 1,200 3,600
DTA 450 -0- (450) -0-
กระแสเงินสดที่ต้องจ่าย 1,650 1,200 750 3,600
กรณีที่ 3 บัญชีกับภาษีใช้คนละกฎ อัตราภาษีเปลี่ยนเป็น 20% ปีที่ 2 แต่นำอัตราใหม่มาใช้จริงปีที่ 3
ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 รวม 3 ปี
ค่าใช้จ่ายทางบัญชี 1,200 1,200 800 3,200
DTA 450 -0- (300) 150
กระแสเงินสดที่ต้องจ่าย 1,650 1,200 500 3,350
ดูกรณีที่ 3
ปีที่ 1 จะเห็นว่าเราจ่ายเงินภาษี 1,650 บ. จำนวนที่สูงกว่าค่าใช้จ่าย 450 บ. เกิดจากการจ่ายเงินล่วงหน้า (DTA)
ปีที่ 2 ไม่มีหนี้สูญ ไม่มีภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้า แต่อัตราภาษีลดลง แม้ว่าเราจะนำ DTA มาใช้ยังไม่ได้ เรายังคงต้องตัด DTA ลง 150 บาท เพราะ DTA ด้อยค่า เมื่อเรานำ DTA มาใช้ในปีที่ 3 เราจะใช้ได้เพียง 300 บ.
ปีที่ 3 ไม่มีหนี้สูญ อัตราภาษีที่ใช้คือ 20% เรามีค่าใช้จ่ายภาษี 6,000 - 2,000 = 4,000*0.2 = 800 บาท
ภาษีที่ต้องจ่าย 6,000-2,000-1,500=2,500*.2=500 บาท (รวม DTA แล้ว เพราะ DTA คือ 1,500*.2=300 ที่เหลืออยู่)
จากข้อเท็จจริงตรงนี้ เราจ่ายเงินล่วงหน้าปีที่ 1 จำนวน 450 บ. หวังว่าจะได้เงินคืนในปีที่ 3 จำนวน 450 บ. แต่เราได้เงินคืนในปีที่ 3 แค่ 300 บ. เท่ากับเราเสียเงินให้สรรพากรแบบไม่มีวันได้คืน 150 บาท
แม้จะเสียหายจากการด้อยค่าของ DTA แต่ผลดีของการลดภาษีก็คือ นับจากปีที่ 3 เป็นต้นไป เราจะเริ่มลดกระแสเงินสดของเราจากการจ่ายภาษี ยิ่งระยะยาวยิ่งดี
แต่สำหรับการด้อยค่าของรายการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการลดอัตราภาษี เงินสดจ่ายแล้วจ่ายเลยค่ะ ยากที่จะมีวันได้กลับคืนมา ดังนั้นจึงต้องระวังมากๆ
คุณ Sakkaphan และคุณ Jeng คะ หาคำพูดอธิบายกันเอาเองนะคะว่าปีไหนกระแสเงินสดเพิ่มลดอย่างไร
แล้วอาจารย์จะขอร้องให้เก็บคำอธิบายของคุณไว้ในใจนะคะ เพราะถึงจุดนี้อาจารย์ทราบว่าคุณเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจตรงกันทุกประการ
ขอบคุณค่ะ