คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

กระทู้คุณค่า มีประโยชน์ ความรู้ดีดี เป็นประโยชน์เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แค่ไหนก็ตาม
ภาพประจำตัวสมาชิก
BIG87
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 370
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์ที่ 4771

โพสต์

ผมกลับมาอ่าน ช่วงแถวๆ เดือน10/2008 ช่วงที่เกิด sub-prime
ถือว่าได้ความรู้ และ เตือนตัวเองให้อย่าประมาทดีครับ

(อยู่แถวๆหน้า 80)

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... start=2370
A69722

Re: ขอดันขึ้นมานะครับ

โพสต์ที่ 4772

โพสต์

osama เขียน:
อาทิตย์ พ.ย. 09, 2008 6:04 am
ปรับกระบวนยุทธ์ รับมือตลาดหมี


สมพงค์ เบญจเทพานันท์:ในภาวะที่ตลาดหุ้นดำดิ่งทิ้งตัวเป็นตลาดขาลง (Bear Market) จากวิกฤติการเงินครั้งนี้ อาจจะทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ตั้งตัวไม่ทัน ใครที่ลงทุนในหุ้นมาก่อนหรือมีหุ้นติดพอร์ตมาแต่แรกเชื่อว่าส่วนใหญ่คงจะบาดเจ็บจากการลงทุนอยู่บ้างไม่มากก็น้อย

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : "ความเสี่ยง" และ "ผลตอบแทน" เป็นสิ่งที่จะมาพร้อมๆ กัน การลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงกว่า

โดยเปรียบเทียบกับการลงทุนในตราสารหนี้ และเงินฝาก จึงทำให้มีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นโดยเปรียบเทียบเช่นเดียวกัน การลงทุนในหุ้นจึงเหมาะกับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงหรือมีเงินที่เย็นที่สามารถจะลงทุนระยะยาวในหุ้นได้ เพราะระยะเวลาการลงทุนในหุ้นยิ่งยาวจะช่วยลดความผันผวนจากการลงทุนให้กับคุณได้เช่นเดียวกัน  

วันนี้เราจะนำความผิดพลาดมาเป็นครูและเรียนรู้วิธีการแก้ไขจากผู้มีประสบการณ์ในตลาดหุ้นกัน

@ คิดผิด-ทำผิด

สมพงค์ เบญจเทพานันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ไอร่า บอกว่า การลงทุนหุ้นในไทยมีความเชื่อผิดๆ กันมาก เช่น กรณีของการลงทุนระยะยาวเป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ให้กำไรสูงสุด ซึ่งไม่จริงไม่ว่าจะตลาดหุ้นที่ไหนก็ตามและนั่นคือเหตุผลหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้นักลงทุนไทยต้องบาดเจ็บในปัจจุบัน

ตัวอย่างหุ้น AIG ในอดีตราคา 90 ดอลลาร์ อยู่ๆ ลงมาเหลือ 3 ดอลลาร์ ตลาดหุ้นไทยผ่านมาแล้วประมาณ 10 กว่าปี ยังกลับไปไม่ถึงจุดสูงสุดเดิมที่ 1,700 จุดเลย มาได้ครึ่งทางก็ต้องเจอวิกฤติการเงินปรับตัวลดลงอีกครั้ง  

หลักตรงนี้เหมือนกับการบริหารบริษัทยามใดที่บริษัทเจริญเติบโตดี ผลประกอบการออกมาแข็งแกร่ง มีโกรทดี ราคาก็ทะยานขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริหารก็จะสบาย แต่ถ้าเจอภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ หรือสินค้าเปลี่ยนแนวโน้ม (Trend) ธุรกิจเริ่มชะลอตัวลง ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการในการบริหารสินทรัพย์แบบเดิมของบรรดาเถ้าแก่เขาต้องสู้ ถึงแม้จะกำไรน้อยลงหรือขาดทุนเพื่อรักษาธุรกิจ พนักงานลูกน้องเอาไว้ต้องต่อสู้ยันไปจนกว่าธุรกิจจะฟื้น

  แต่ในแง่ของการลงทุนในหลักทรัพย์เมื่อเห็นว่า เขาเริ่มชะลอเราไม่จำเป็นต้องไปอยู่กับเขา เราสามารถที่ขายออกแล้วไปหากิจการใหม่ที่กำลังโต มันจะสลับกัน ถ้าเราเป็นนักลงทุนที่ชาญฉลาดเรามองเห็นแบบนี้เราก็ต้องออกมาก่อนแล้ว จริงๆ มันไม่ยากแต่ปฏิบัติจริงยากมาก อย่ามองซับซ้อน ราคาหุ้นขึ้นถึงจุดหนึ่งราคาก็จะเริ่มลง โลกสมัยใหม่ ธุรกิจสมัยใหม่ วงจรชีวิต (Cycle) มันเร็ว ราคาหุ้นจะเร็วตามจะขึ้นๆ ลงๆ ตามไซเคิลนั้น นี่คือความจริงจะขัดกับความเชื่อที่ว่าถือยาวแล้วไม่เป็นไร  

สมพงค์ ยังบอกอีกว่า กลยุทธ์ถือยาวใช้ไม่ได้แล้วกับวัฏจักรของโลกที่มันหมุนเร็วขึ้น วัฏจักรของธุรกิจหมุนเร็วขึ้น ถือยาวไม่เป็นไร ไม่ขายไม่ขาดทุน จะมาคู่กัน จากประสบการณ์ที่เจอมาตลอดนัดลงทุนส่วนใหญ่จะจำกัดกำไร (Limit Profit) ไว้ ซื้อหุ้นกำไร 5% ออกแล้ว วันไหนซื้อหุ้นกำไร 10% คุยได้ 3 วัน อย่างมากเต็มที่ 10-15%

นี่คือเราลิมิตโพรฟิตไว้ แต่นักลงทุนกลับไม่จำกัดผลขาดทุน (Unlimit Loss) ของตัวเอง ทุกคนที่เล่นหุ้นจะเข้าใจ นี่คือปัญหาของคนส่วนใหญ่ หุ้นที่ขึ้นแล้วเราขายส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่ดี ซื้อแล้วมันขึ้น ตัวที่ถืออยู่ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่ซื้อแล้วมันลง เพราะเป็นหุ้นค่อนข้างเน่า เพราะฉะนั้นในพอร์ตส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่ไม่ค่อยดี พื้นฐานไม่ดีถึงแย่  

หุ้นดีแต่ไม่วิ่งก็ไม่ได้ นั่นคือเราหลอกตัวเอง มีปันผล หุ้นพื้นฐานดี ช่วงตลาดไม่ดีเอาปันผลไปก่อน ไว้หุ้นดีแล้วก็จะได้อัพไซด์กลับมา นั่นไม่ใช่การลงทุนระยะยาวแต่เป็นการลงทุนที่ผิดพลาด เป็นพอร์ตการลงทุนที่ผิดพลาด เพราะเราเจอหุ้นดีก็จะขายออกเหลือแต่หุ้นที่มันไม่วิ่ง ขึ้นก็ไม่ขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นหัวใจหลักของการลงทุนสมัยใหม่คือวินัยการลงทุน  

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของนักลงทุนส่วนใหญ่เกิดจากเราไม่มีวินัยการลงทุน เพราะเราไป Limit Profit ไว้ แต่กลับ Unlimit Loss สมมติเราได้กำไร 3-4 ครั้ง 30% เราก็ดีใจแล้ว เพอร์ฟอร์มแมนซ์ดี แต่เจอหุ้นขาลงครั้งเดียวหมดเลย แถมยังขาดทุนอีกต่างหาก พอถือยาวไม่เป็นไร นักลงทุนก็จะมาติดกับแบรนด์ ตัวอย่างหุ้นปตท.ขายทำไม ปตท.มันเจ๋งมาก สุดยอดที่สุดในเมืองไทยตอนนี้ จะขายทำไม ปันผลตั้งเยอะ 10% แต่ราคาหุ้นลงมา 50% ไม่ได้ ต้องทำการบ้านและ Active กับการลงทุนของตัวเอง แต่ไม่ถึงกับต้องทำทุกวัน  

 @ Cut Loss

 สมพงค์ ยังแนะนำว่า การลงทุนในหุ้นควรจะเล่นเป็นรอบ ขาขึ้นไปกับเขาด้วย แต่พอเป็นขาลง ต้องตัดขาดทุนให้ไว ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ธุรกิจจะเป็นแบบนี้ การลงทุนสมัยใหม่ที่สำคัญคือต้องมีวินัยการลงทุน ซื้อเป็นซื้อ ขายเป็นขาย เมื่อธุรกิจมันเปลี่ยน ขายก็ต้องขาย ปรับความเชื่อใหม่ว่า หุ้นดีๆ ถูกๆ ไม่มี

ยกตัวอย่างหุ้นปตท.ขึ้นจาก 200 บาท ไป 300 บาท ไม่มีใครกล้าซื้อ ขึ้นจาก 300 บาท ไป 400 บาท ไม่มีใครกล้าซื้อ พอขึ้นไป 440 บาท ทุกคนมองว่าอย่าลงมานะ จะซื้อ คนส่วนใหญ่เวลาหุ้นขึ้นราคาจะกระชากแรง ทุกคนจะยืนมองด้วยความกลัวว่าจะติดหุ้น แต่สิ่งหนึ่งก็คือราคาหุ้นปตท.ขึ้นไป 440 บาท ลงมาเหลือ 300 บาท เข้าซื้อกันใหญ่ ปตท.ซื้อหนาแน่เลยช่วง 300-320 บาท ราคาลงแต่ติดหุ้น แล้วติดเป็นทางเลย คนที่อยากซื้อๆ ได้ทุกคน แต่ราคาไม่ขึ้นแล้ว

  การลงทุนเราต้องตามแนวโน้มขาขึ้น (Follow Trend) หุ้นขึ้นก็ร่วมไปกับเขา พอลงเราต้องเลิกไง แต่นักลงทุนไทยส่วนใหญ่จะทำตรงกันข้าม หุ้นขึ้นกลัวไม่กล้าซื้อ พอหุ้นลงรีบเข้าไปซื้อกันใหญ่ แล้วก็ต้องติดหุ้น ถ้าหุ้นไม่ดีต้องตัดขาดทุน (Cut Loss) ขาดทุนก็ต้องทำ  

 @ Short Against Port

  แต่ถ้าเป็นหุ้นที่ดีนักลงทุนอาจจะใช้กลยุทธ์ Short Against Port ในลักษณะของ Cost Management เพื่อบริหารต้นทุนการลงทุนในหุ้นให้ถูกลง โดยเฉพาะช่วงที่ตลาดหุ้นมีทิศทางขาลงอย่างชัดเจนเราจะเห็นประโยชน์ของกลยุทธ์นี้มากขึ้น

สมมติว่านักลงทุนมีต้นทุนหุ้นอยู่ 240 บาท ถ้าเราไวพอ อยู่ในตลาดพอ เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลงมาที่ 200 บาท เราก็ขาย หุ้นไปที่ 200 บาท แล้วไปซื้อคืนตอนราคาหุ้นอยู่ที่ 180 บาท ส่วนต่าง 20 บาท เราก็ไปลดทุน 240 บาท ลงมา ทุนก็เหลือ 220 บาท เดี๋ยวราคาหุ้นขึ้นมาใหม่เราก็ขาย แล้วค่อยไปซื้อกลับเมื่อราคาปรับตัวลง ต้นทุนเราจะลดลงไปเรื่อยๆ  

การลงทุนในหุ้นห้ามให้ขาตาย ต้องฟุทเวิร์คตลอด ห้ามนิ่ง จึงจะสนุก ผิดแล้วไม่เป็นไร ผิดแล้วต้องแก้ไข จะแก้ยังไงเท่านั้นเอง แล้วให้ Short Against Port ในหุ้นตัวเดิมถ้าเรามั่นใจว่าเป็นหุ้นที่ดีจริง อย่าสลับตัวเล่น สุดท้ายจะหายไปทั้งคู่ แก้ไขในตัวที่ลงทุนเท่านั้น การบริหารต้นทุน ช่วงนี้ใช้เยอะ เพราะราคาหุ้นลงให้เราเห็นๆ จะได้รู้ว่าเขาเล่นหุ้นในตลาดขาลงกันยังไง ไม่ใช่ต้องมานั่งดูหุ้นลงโดยไม่ทำอะไรเลย รู้ว่ามันลงเราก็มาบริหารต้นทุนได้ เราสามารถที่จะเปลี่ยนแผนไปมาได้ พลาดไม่เป็นไร ขอให้แก้ไขได้เป็นพอ  

 @ ใช้ Futures ช่วย  

 สมพงค์ ยังบอกอีกว่า นักลงทุนไทยส่วนใหญ่จะมีลักษณะการลงทุนแบบขาเดียว คือ เราซื้ออย่างเดียว ซึ่งมีสิ่งเดียวคือเราต้องภาวนาให้หุ้นขึ้นเราถึงจะกำไร นั่นคือ ปัญหาของนักลงทุนไทยที่มีเพียงกลยุทธ์การลงทุนเดียว คือ ขา ซื้อ หรือ Long Position เท่านั้น แต่ในโลกการเงินมันมี การลงทุนทั้ง 2 ขา คือ ขา ขาย หรือ Short Position ด้วย ถ้าหุ้นลงเราก็ได้กำไร ในพอร์ตการลงทุนสมัยใหม่ (Modern Portfolio) ในอนาคตจะต้องมีการผสมตรงนี้เข้าไปเพื่อป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ให้กับพอร์ตการลงทุนของตัวเอง

ยกตัวอย่าง ลูกค้าที่มีหุ้นปตท.อยู่ ถ้าเราแนะนำให้ลูกค้าขายหุ้นปตท.ทิ้ง เพราะหุ้นกำลังลง ลูกค้าจะด่าว่าหุ้นดีๆ จะขายทำไม จะเอาปันผล คือทุกคนรู้ว่าหุ้นจะลง แต่ลูกค้าบอกไม่เป็นไร มีปันผลเขาถือได้ ลูกค้าก็รู้ว่าจะลง ปัจจัยในประเทศก็ไม่ดี ปัจจัยต่างประเทศก็ไม่ดี แต่กลับมาหลักเดิมถือยาวไม่เป็นไร ไม่ขายไม่ขาดทุน

  สมมติเรามีหุ้นปตท.อยู่ 500,000 หุ้น พอเห็นหุ้นจะลง เราไม่ต้องขายหุ้นแล้วก็ได้ปันผลด้วย แต่ลูกค้าจะไม่มีความเสี่ยงด้วยการ Short Futures ไปในมูลค่าใกล้เคียงกัน ลูกค้าจะไม่มีความเสี่ยงแล้ว ถ้าหุ้นลง ขาดทุนตัวหุ้นปตท.แต่จะได้กำไรในตัว Futures มาชดเชยกัน ด้วยวิธีการนี้หุ้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง ปันผลได้ด้วย เป็นสุดยอดความปรารถนาของลูกค้าเลย ยังไปโหวตได้ตามสิทธิ เป็นการใช้ Futures เข้ามาช่วยโดยไม่เอากำไร

สิ่งที่เรากำลังเรียนรู้และทำตรงนี้เพื่อคลายความเครียดของนักลงทุน การเล่นหุ้นบางทีก็สนุก แต่ถ้าซื้อแล้วถืออย่างเดียว เวลาหุ้นลงมันก็เครียดนะ การเล่นหุ้นต้องบริหารจิตใจตัวเองด้วย เราก็ต้องมาบริหารความเสี่ยงให้เขา เมื่อรู้ว่าหุ้นจะลงเราไม่ขายหุ้นก็ได้ ก็ไปใช้เครื่องมืออีกอันมาช่วย ทุกคนก็จะมีความสุขกับการลงทุนได้


คัดลอกมาจาก  bangkokbiznews  ครับ
ผมขอไม่แสดงความเห็นนะครับ