VI หาดใหญ่
- sathaporne
- Verified User
- โพสต์: 1657
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3121
"ลีสซิ่งคำถาม"
ตอนแรกผมงงอยู่ตั้งนานว่าตัวไหน
จนมาเปิดรายชื่อหุ้นleasing ทั้งหมด ก็ "อ้อ" เลย
ที่จริงมันไม่ใช่หุ้น "คำถาม"
แต่มันคือหุ้น "ถาม"
ตอนแรกผมงงอยู่ตั้งนานว่าตัวไหน
จนมาเปิดรายชื่อหุ้นleasing ทั้งหมด ก็ "อ้อ" เลย
ที่จริงมันไม่ใช่หุ้น "คำถาม"
แต่มันคือหุ้น "ถาม"
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3122
(ต่อ) มีทติ้งภาคใต้ Q1/61
เข้าเนื้อหากันเลยครับ
Q: รัฐบาลถือหุ้นเยอะๆ รีดปันผลเยอะๆ เช่น ปั้มก๊อดจิ ดูยาก และเรื่องธรรมาภิบาล ดูแล้วงงๆ
A: ปั้มก๊อดจิ ไม่น่ามีธรรมภิบาลมานานแล้ว / การประเมิน ก็ดูพื้นฐาน PE ของกิจการประกอบ / ช่วงที่ยุคเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาป ไปเป็นไฟฟ้า ก็อาจมีผลกระทบได้ อย่างไรก็ตาม ปั้มก๊อดจิ ก็มีพวกปิโตรฯ ด้วย / หุ้น ปั้มก๊อดจิ ก็ค่อนข้างปลอดภัย เพียงแต่ว่า ก่อนหน้านี้ มีการลากราคาขึ้นไปเยอะมาก ช่วงนี้ก็เริ่มมีถอยบ้าง และมีผลต่อ SET Index เนื่องจากมาร์เก็ตแคปของ ปั้มก๊อดจิ คิดเป็น 8% ของตลาด / กว่ารถไฟฟ้า (EV) จะมีผลมากๆ ก็น่าจะใช้เวลาเป็น 10 ปี
(ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ความเห็น) บางครั้ง การที่ ผบห มีความเชื่อมั่นมากเกินไป ก็อาจทำให้ นลท ขาดทุนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หุ้นอิท, หุ้นหนังสือ เป็นต้น อจ เสริมว่า ผบห หุ้นอะไหล่รถ ยอมรับว่า กิจการเค้าจบไปแล้ว แต่กว่าจะจบ ก็สามารถรีดกำไรได้อีกเยอะ เพราะผู้ผลิตรายอื่นตายหมดแล้ว คนก็จะมา Order ที่บริษัทของเค้า (ทราบจากการอ่านข้อมูล Forbes Thailand / M&W) บางทีก็มีโอกาสได้กำไรจากหุ้นที่หาได้จาก Forbes Thailand / M&W (ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ความเห็น) ในระยะสั้น รถไฟฟ้า EV ที่ผลิตออกมา มีจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับรถยนต์แบบเดิมที่มีอยู่ ดังนั้น เชื่อว่า ความต้องการน้ำมัน น่ายังมีอยู่อีกระยะหนึ่ง
Q: ทำไม อจ ถึงลงทุน ปั้มปีเตอร์ ที่มี PE สูง (น่าไม่ใช่แนว อจ)
A: อจ ยืดหยุ่น หากหุ้นที่มี Growth ชัวร์ๆ และมี PE สมเหตุผล ก็ลงทุนได้ ขนาดมนุษย์ ก็ยังซื้อเลย
การใช้ PEG คล้ายๆ Peter Lynch คือ ใช้ดู Growth ราว 3 ปีขึ้นไป หากใช้แค่ปีเดียว อาจได้หุ้นวัฏจักรมาเพียบเลยก็ได้ / PEG คำนึงถึง Growth อย่างเดียว แต่ไม่ได้รวมถึงคุณภาพเข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น หุ้นรพ, หุ้น7 ที่มี PEG สูงกว่า 1 แต่ราคาหุ้นยังยืนอยู่ได้ นั่นก็เพราะคุณภาพของกิจการ เช่น ผูกขาด, มี economy of scale เป็นต้น
หุ้น7และลูก มีการโยกย้ายถ่ายเทเงินสดภายในเครือฯ แบบว่า ใช้กระแสเงินสดจาก หุ้นลูก7 ในการชำระหนี้ – หากใช้การโยกย้ายกระแสเงินสด คงผิดกฏหมาย เพราะคนละบริษัทกัน ไม่น่าใช้แบบนี้ แต่อาจเป็นปันผลไปมาหรือหาเงินสดแล้วมีค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ย น่าทำได้ ถ้าหากใช้กระแสเงินสด อาจมีข้อตกลงเงื่อนไขกันไว้ล่วงหน้า คล้ายๆ กลุ่มก๊อดจิ ก็เป็นไปได้ แต่คงมีอัตราดอกเบี้ย รายละเอียดข้อตกลงเงื่อนไขไม่อาจทราบได้
Q: บัตร ผบห ให้ข้อมูลในรายการ Hard Topicว่า โต 15-20% ได้แน่นอน PEG ราว 1 นิดๆ คิดว่า ผบห น่าทำ Growth ได้ตลอด
A: บัตร ค่อนข้างผูกติดกับ ผบห คนปัจจุบัน ส่วนการเติบโต 15-20% ในทางทฤษฏี ก็เป็นไปได้ กำไรที่ได้ ก็เอาไปกู้ต่อ แต่ธุรกิจนี้ ก็ไม่ได้มีความสามารถในการแข่งขันที่ชัดเจน และมีคู่แข่งขันมาก ถามว่า ถ้าซื้อที่ PEG เกิน 1 หรือ PE 24 เกินการเติบโต ก็เสี่ยงไป สู้ซื้อ บัตรม่วง ไม่ดีกว่าหรือ PE ราวๆ 12x ธุรกิจคล้ายๆ กันมาก ปัจจุบัน บัตร มี NPL ราว 1 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ คิดว่า ถ้าจะลดอีก น่าจะยากแล้ว / (ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์) ตอนที่ ธปท ออกกฏฯ คุมบัตรเครดิต และมี ผบห มาบอกประมาณการรายได้ที่สูญเสียไปใน OppDay กลุ่มลูกค้าของ บัตร เป็นกลุ่มกลาง-บน ที่มีการแข่งขันกันสูงมาก แต่เนื่องจาก ผบห มีเป้าที่จะทำกำไรทุกๆ ปี ก็มีแผนที่จะลดการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ และเค้าก็ทำจริงๆ (ผู้ร่วมมีทติ้งอีกท่าน) แชร์ว่า คุณภาพลูกหนี้ดีขึ้น เลยทำให้ตั้งสำรองน้อยลง / ข้อสังเกตุ กลุ่มนี้ มีปัจจัยหลายอย่าง เช่น การตั้งสำรอง ที่สามารถจัดการได้ กำไรก็เพิ่มขึ้นแล้วในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ก็ไม่น่าจัดการได้ สุดท้าย เราก็ต้องดูเหตุผลประกอบ / เมื่อไรก็ตามที่เราเข้าใจการทำมาหากินของกิจการ เข้าใจรายได้ รายจ่าย เราก็สามารถ Forecast กำไรกิจการ และสามารถหา Forecast ราคาหุ้นได้ด้วย
มือสมัครเล่น น่าจะอยู่ในวงการนี้ไม่ได้ ถ้าจะเอาดีทางนี้จริงๆ ต้องมีความรู้ลึก รู้จริง ถึงจะอยู่รอดได้
Q: หุ้นลิฟท์ขาด จุดเปลี่ยนที่คิดจะเข้าซื้อ มีมุมมองอย่างไร
A: อะไรที่เป็นผลกระทบชั่วคราว สุดท้ายมันก็ผ่านไป ตัวอย่างเช่น หุ้นที่โดนดินสไลด์ ทำให้งานล่าช้าออกไป แต่ถ้าเคลียร์ปัญหาได้ ก็โอเค หรือแบบบริษัทยางบางตัว ที่ราคาของ Carbon Black สูงขึ้น หรือพวก Packaging ที่เม็ดพลาสติกราคาขึ้น ก็อาจนานหน่อยจนกว่าทุกอย่างลงตัวหรือเค้าสามารถผลักภาระให้ลูกค้าได้ / หากราคาหุ้นลดลงมามาก ตราบใดที่พื้นฐานยังเหมือนเดิม ก็น่าสนใจแน่นอน แต่ต้องระวังด้วยหากปัจจัยพื้นฐานลงมาด้วย
รอโพสถัดไปครับ
เข้าเนื้อหากันเลยครับ
Q: รัฐบาลถือหุ้นเยอะๆ รีดปันผลเยอะๆ เช่น ปั้มก๊อดจิ ดูยาก และเรื่องธรรมาภิบาล ดูแล้วงงๆ
A: ปั้มก๊อดจิ ไม่น่ามีธรรมภิบาลมานานแล้ว / การประเมิน ก็ดูพื้นฐาน PE ของกิจการประกอบ / ช่วงที่ยุคเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาป ไปเป็นไฟฟ้า ก็อาจมีผลกระทบได้ อย่างไรก็ตาม ปั้มก๊อดจิ ก็มีพวกปิโตรฯ ด้วย / หุ้น ปั้มก๊อดจิ ก็ค่อนข้างปลอดภัย เพียงแต่ว่า ก่อนหน้านี้ มีการลากราคาขึ้นไปเยอะมาก ช่วงนี้ก็เริ่มมีถอยบ้าง และมีผลต่อ SET Index เนื่องจากมาร์เก็ตแคปของ ปั้มก๊อดจิ คิดเป็น 8% ของตลาด / กว่ารถไฟฟ้า (EV) จะมีผลมากๆ ก็น่าจะใช้เวลาเป็น 10 ปี
(ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ความเห็น) บางครั้ง การที่ ผบห มีความเชื่อมั่นมากเกินไป ก็อาจทำให้ นลท ขาดทุนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หุ้นอิท, หุ้นหนังสือ เป็นต้น อจ เสริมว่า ผบห หุ้นอะไหล่รถ ยอมรับว่า กิจการเค้าจบไปแล้ว แต่กว่าจะจบ ก็สามารถรีดกำไรได้อีกเยอะ เพราะผู้ผลิตรายอื่นตายหมดแล้ว คนก็จะมา Order ที่บริษัทของเค้า (ทราบจากการอ่านข้อมูล Forbes Thailand / M&W) บางทีก็มีโอกาสได้กำไรจากหุ้นที่หาได้จาก Forbes Thailand / M&W (ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ความเห็น) ในระยะสั้น รถไฟฟ้า EV ที่ผลิตออกมา มีจำนวนไม่มาก เมื่อเทียบกับรถยนต์แบบเดิมที่มีอยู่ ดังนั้น เชื่อว่า ความต้องการน้ำมัน น่ายังมีอยู่อีกระยะหนึ่ง
Q: ทำไม อจ ถึงลงทุน ปั้มปีเตอร์ ที่มี PE สูง (น่าไม่ใช่แนว อจ)
A: อจ ยืดหยุ่น หากหุ้นที่มี Growth ชัวร์ๆ และมี PE สมเหตุผล ก็ลงทุนได้ ขนาดมนุษย์ ก็ยังซื้อเลย
การใช้ PEG คล้ายๆ Peter Lynch คือ ใช้ดู Growth ราว 3 ปีขึ้นไป หากใช้แค่ปีเดียว อาจได้หุ้นวัฏจักรมาเพียบเลยก็ได้ / PEG คำนึงถึง Growth อย่างเดียว แต่ไม่ได้รวมถึงคุณภาพเข้าไปด้วย ตัวอย่างเช่น หุ้นรพ, หุ้น7 ที่มี PEG สูงกว่า 1 แต่ราคาหุ้นยังยืนอยู่ได้ นั่นก็เพราะคุณภาพของกิจการ เช่น ผูกขาด, มี economy of scale เป็นต้น
หุ้น7และลูก มีการโยกย้ายถ่ายเทเงินสดภายในเครือฯ แบบว่า ใช้กระแสเงินสดจาก หุ้นลูก7 ในการชำระหนี้ – หากใช้การโยกย้ายกระแสเงินสด คงผิดกฏหมาย เพราะคนละบริษัทกัน ไม่น่าใช้แบบนี้ แต่อาจเป็นปันผลไปมาหรือหาเงินสดแล้วมีค่าธรรมเนียมหรือดอกเบี้ย น่าทำได้ ถ้าหากใช้กระแสเงินสด อาจมีข้อตกลงเงื่อนไขกันไว้ล่วงหน้า คล้ายๆ กลุ่มก๊อดจิ ก็เป็นไปได้ แต่คงมีอัตราดอกเบี้ย รายละเอียดข้อตกลงเงื่อนไขไม่อาจทราบได้
Q: บัตร ผบห ให้ข้อมูลในรายการ Hard Topicว่า โต 15-20% ได้แน่นอน PEG ราว 1 นิดๆ คิดว่า ผบห น่าทำ Growth ได้ตลอด
A: บัตร ค่อนข้างผูกติดกับ ผบห คนปัจจุบัน ส่วนการเติบโต 15-20% ในทางทฤษฏี ก็เป็นไปได้ กำไรที่ได้ ก็เอาไปกู้ต่อ แต่ธุรกิจนี้ ก็ไม่ได้มีความสามารถในการแข่งขันที่ชัดเจน และมีคู่แข่งขันมาก ถามว่า ถ้าซื้อที่ PEG เกิน 1 หรือ PE 24 เกินการเติบโต ก็เสี่ยงไป สู้ซื้อ บัตรม่วง ไม่ดีกว่าหรือ PE ราวๆ 12x ธุรกิจคล้ายๆ กันมาก ปัจจุบัน บัตร มี NPL ราว 1 เปอร์เซ็นต์กว่าๆ คิดว่า ถ้าจะลดอีก น่าจะยากแล้ว / (ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์) ตอนที่ ธปท ออกกฏฯ คุมบัตรเครดิต และมี ผบห มาบอกประมาณการรายได้ที่สูญเสียไปใน OppDay กลุ่มลูกค้าของ บัตร เป็นกลุ่มกลาง-บน ที่มีการแข่งขันกันสูงมาก แต่เนื่องจาก ผบห มีเป้าที่จะทำกำไรทุกๆ ปี ก็มีแผนที่จะลดการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ และเค้าก็ทำจริงๆ (ผู้ร่วมมีทติ้งอีกท่าน) แชร์ว่า คุณภาพลูกหนี้ดีขึ้น เลยทำให้ตั้งสำรองน้อยลง / ข้อสังเกตุ กลุ่มนี้ มีปัจจัยหลายอย่าง เช่น การตั้งสำรอง ที่สามารถจัดการได้ กำไรก็เพิ่มขึ้นแล้วในระยะสั้น แต่ในระยะยาว ก็ไม่น่าจัดการได้ สุดท้าย เราก็ต้องดูเหตุผลประกอบ / เมื่อไรก็ตามที่เราเข้าใจการทำมาหากินของกิจการ เข้าใจรายได้ รายจ่าย เราก็สามารถ Forecast กำไรกิจการ และสามารถหา Forecast ราคาหุ้นได้ด้วย
มือสมัครเล่น น่าจะอยู่ในวงการนี้ไม่ได้ ถ้าจะเอาดีทางนี้จริงๆ ต้องมีความรู้ลึก รู้จริง ถึงจะอยู่รอดได้
Q: หุ้นลิฟท์ขาด จุดเปลี่ยนที่คิดจะเข้าซื้อ มีมุมมองอย่างไร
A: อะไรที่เป็นผลกระทบชั่วคราว สุดท้ายมันก็ผ่านไป ตัวอย่างเช่น หุ้นที่โดนดินสไลด์ ทำให้งานล่าช้าออกไป แต่ถ้าเคลียร์ปัญหาได้ ก็โอเค หรือแบบบริษัทยางบางตัว ที่ราคาของ Carbon Black สูงขึ้น หรือพวก Packaging ที่เม็ดพลาสติกราคาขึ้น ก็อาจนานหน่อยจนกว่าทุกอย่างลงตัวหรือเค้าสามารถผลักภาระให้ลูกค้าได้ / หากราคาหุ้นลดลงมามาก ตราบใดที่พื้นฐานยังเหมือนเดิม ก็น่าสนใจแน่นอน แต่ต้องระวังด้วยหากปัจจัยพื้นฐานลงมาด้วย
รอโพสถัดไปครับ
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3123
(ต่อ) มีทติ้งภาคใต้ Q1/61
ต่อเนื้อหามีทติ้งครับ
“หุ้นเหมืองฯ” คาดว่า ให้คำอธิบายได้ไม่ดี สาเหตุที่ราคาค่าขนดินลดลง เพราะเค้าวางแผนที่จะใช้สายพานขนดินที่สามารถขนได้มากๆ พอสายพานพัง ก็ต้องใช้รถบรรทุกมาขนแทน ทำให้มาร์จิ้นหายหมดเลย (ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์) จากที่ไปร่วม AGM มา ผบห ให้ไอเดียว่า แม่เมาะ 8 สามารถหารายได้แน่ๆ 2 หมื่นล้าน รับรู้รายได้ 10 ปี ก็คิดรายได้ปีละ 2 พันล้าน ช่วงแรกๆ รายได้จะน้อยอยู่ เพราะขุดได้น้อย ก็จะคิดราคาค่าดินสูง เพื่อให้ได้มาร์จิ้นดี และหลังๆ ก็จะขุดได้มาก ต่อให้ราคาค่าดินลดลงครึ่งนึงในระยะหลัง เค้าก็ยังมีกำไร ก็น่าชดเชยกัน
ถ้าบริษัทไหน ได้กำไรดีเกินจริง ต้องเข้าไปดูว่า กำไรที่ได้ มาจากอะไร และยังสามารถโตต่อเนื่องได้หรือไม่ ถ้าเป็นกำไรพิเศษ/กำไรครั้งเดียว ต้องระมัดระวัง หากดูข้อมูลผิวเผิน เพียงแค่ตัวเลข/อัตราส่วนต่างๆ ในงบ ก็จะอันตราย (คนถามใช้ตัวเลข/อัตราส่วนของ “หุ้นสร้างก่อน” มาตั้งคำถาม – อจ ก็บอกว่า “หุ้นสร้างก่อน” มีการขายบริษัทลูกออกไป ทำให้มีกำไรพิเศษเข้ามา)
หุ้นโรงแรมที่ไปซื้อกิจการเรื่อยๆ เงินที่ใช้ในการซื้อกิจการ ค่าใช้จ่าย/ค่าเสื่อมฯ จะตัดเข้ามาในต้นทุนขายหรือไม่ – ค่าใช้จ่ายในการทำ M&A มี ค่าใช้จ่ายในการทำ M&A, ดอกเบี้ยเงินกู้ หากกู้เงินมาซื้อ, ค่าความนิยม/สินทรัพย์ไม่มีตัวตน กรณีที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อแพงกว่ามูลค่ามีการทำประเมิน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดตรงนี้ รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ได้ แต่เรามองภาพใหญ่ของกิจการแทน
การใช้ประโยชน์จากเครดิตเงินปันผลในการเสียภาษี หากรายได้สูง ก็จะได้ประโยชน์น้อย แต่ก็สามารถที่จะเลี่ยงได้ เช่น โอนหุ้นไปให้แม่ ให้ลูก ก็จะทำให้เครดิตเงินปันผลได้มากในการยื่นภาษี
เคสโรงพยาบาล ชอบ “หุ้นหาญพาณิชย์” เพราะผู้บริหารค่อนข้างเขี้ยว น่าจะดีต่อผู้ถือหุ้น ในอดีตไปสะดุดเรื่อง World Medical แต่ตอนนี้ ก็ดีขึ้นแล้ว / เทรนด์ปัจจุบัน ก็เป็นโรงพยาบาล เพราะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ก็น่าเข้าโรงพยาบาลกันมากขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลย่อมได้รับประโยชน์อยู่แล้ว แต่ละโรงพยาบาล ก็มีจุดเด่นสำคัญของแต่ละแห่งที่เป็นความสามารถในการแข่งขันอยู่แล้ว เช่น ทำเล หมอ เป็นต้น รายได้ก็ค่อนข้างเสถียรพอสมควร อาจมีความผันผวนเล็กน้อยจากเรื่องโรคระบาด / “หุ้น รพ ย่านบางนา” PE ต่ำสุดในกลุ่ม ตอนนี้เพิ่งปลดล็อคปัญหาที่ดิน มีการต่อสัญญาเช่าใหม่กับกาชาดแล้ว ซึ่งจ่ายค่าเช่าถูกมากๆ ด้วย
การลงทุนของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับนักลงทุนเก่งทุกอย่าง ต้องพยายามหาตัวเองให้เจอ ควรมีสไตส์ของตนเอง มีความคิดเป็นอิสระ
จบช่วงเช้า
รอโพสถัดไปครับ ^ ^
ต่อเนื้อหามีทติ้งครับ
“หุ้นเหมืองฯ” คาดว่า ให้คำอธิบายได้ไม่ดี สาเหตุที่ราคาค่าขนดินลดลง เพราะเค้าวางแผนที่จะใช้สายพานขนดินที่สามารถขนได้มากๆ พอสายพานพัง ก็ต้องใช้รถบรรทุกมาขนแทน ทำให้มาร์จิ้นหายหมดเลย (ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์) จากที่ไปร่วม AGM มา ผบห ให้ไอเดียว่า แม่เมาะ 8 สามารถหารายได้แน่ๆ 2 หมื่นล้าน รับรู้รายได้ 10 ปี ก็คิดรายได้ปีละ 2 พันล้าน ช่วงแรกๆ รายได้จะน้อยอยู่ เพราะขุดได้น้อย ก็จะคิดราคาค่าดินสูง เพื่อให้ได้มาร์จิ้นดี และหลังๆ ก็จะขุดได้มาก ต่อให้ราคาค่าดินลดลงครึ่งนึงในระยะหลัง เค้าก็ยังมีกำไร ก็น่าชดเชยกัน
ถ้าบริษัทไหน ได้กำไรดีเกินจริง ต้องเข้าไปดูว่า กำไรที่ได้ มาจากอะไร และยังสามารถโตต่อเนื่องได้หรือไม่ ถ้าเป็นกำไรพิเศษ/กำไรครั้งเดียว ต้องระมัดระวัง หากดูข้อมูลผิวเผิน เพียงแค่ตัวเลข/อัตราส่วนต่างๆ ในงบ ก็จะอันตราย (คนถามใช้ตัวเลข/อัตราส่วนของ “หุ้นสร้างก่อน” มาตั้งคำถาม – อจ ก็บอกว่า “หุ้นสร้างก่อน” มีการขายบริษัทลูกออกไป ทำให้มีกำไรพิเศษเข้ามา)
หุ้นโรงแรมที่ไปซื้อกิจการเรื่อยๆ เงินที่ใช้ในการซื้อกิจการ ค่าใช้จ่าย/ค่าเสื่อมฯ จะตัดเข้ามาในต้นทุนขายหรือไม่ – ค่าใช้จ่ายในการทำ M&A มี ค่าใช้จ่ายในการทำ M&A, ดอกเบี้ยเงินกู้ หากกู้เงินมาซื้อ, ค่าความนิยม/สินทรัพย์ไม่มีตัวตน กรณีที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อแพงกว่ามูลค่ามีการทำประเมิน อย่างไรก็ตาม รายละเอียดตรงนี้ รู้ก็ดี ไม่รู้ก็ได้ แต่เรามองภาพใหญ่ของกิจการแทน
การใช้ประโยชน์จากเครดิตเงินปันผลในการเสียภาษี หากรายได้สูง ก็จะได้ประโยชน์น้อย แต่ก็สามารถที่จะเลี่ยงได้ เช่น โอนหุ้นไปให้แม่ ให้ลูก ก็จะทำให้เครดิตเงินปันผลได้มากในการยื่นภาษี
เคสโรงพยาบาล ชอบ “หุ้นหาญพาณิชย์” เพราะผู้บริหารค่อนข้างเขี้ยว น่าจะดีต่อผู้ถือหุ้น ในอดีตไปสะดุดเรื่อง World Medical แต่ตอนนี้ ก็ดีขึ้นแล้ว / เทรนด์ปัจจุบัน ก็เป็นโรงพยาบาล เพราะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ก็น่าเข้าโรงพยาบาลกันมากขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลย่อมได้รับประโยชน์อยู่แล้ว แต่ละโรงพยาบาล ก็มีจุดเด่นสำคัญของแต่ละแห่งที่เป็นความสามารถในการแข่งขันอยู่แล้ว เช่น ทำเล หมอ เป็นต้น รายได้ก็ค่อนข้างเสถียรพอสมควร อาจมีความผันผวนเล็กน้อยจากเรื่องโรคระบาด / “หุ้น รพ ย่านบางนา” PE ต่ำสุดในกลุ่ม ตอนนี้เพิ่งปลดล็อคปัญหาที่ดิน มีการต่อสัญญาเช่าใหม่กับกาชาดแล้ว ซึ่งจ่ายค่าเช่าถูกมากๆ ด้วย
การลงทุนของแต่ละคน ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับนักลงทุนเก่งทุกอย่าง ต้องพยายามหาตัวเองให้เจอ ควรมีสไตส์ของตนเอง มีความคิดเป็นอิสระ
จบช่วงเช้า
รอโพสถัดไปครับ ^ ^
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3124
(ต่อ) มีทติ้งภาคใต้ Q1/61
ต่อช่วงบ่าย
“หุ้นอาลก” มีคนถามมา ก็ดูใช้ได้ ไม่รับประกันว่าเป็นหุ้นวัฏจักรไหมที่ช่วงนี้ราคา spread ดีไหมไม่รู้ แต่คิดว่า เป็นหุ้นกึ่งวัฏจักร กึ่งหุ้น Growth ล่าสุดก็มีไปเทคกิจการที่บราซิลมา ตอนนี้ก็น่าเป็นอันดับ 1 ของโลก ตอนนี้ PE ก็ไม่ได้สูงมาก ล่าสุดมีสัมภาษณ์ผู้บริหารจากนิตยสาร Forbes Thailand เขาตั้งเป้า EBITDA โตอีก 1 เท่าตัว ภายใน 3 ปี / ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ว่า spread แบ่งเป็น 3 ภูมิภาค คือ ยุโรป อเมริกาใต้ เอเซีย ส่วนที่ดีตอนนี้ ก็อเมริกาใต้ ยุโรปทรงๆ เอเซียแย่ แต่ตอนนี้ Demand เริ่มเพิ่ม แต่ด้าน Supply ยังไม่ได้เพิ่ม เลยมองว่า น่าสนใจ รายได้มาจาก BOPET ราว 50%
คำถาม: Value Added ของพวก Polymer ใครเก่งกว่า ปูน หรือ ปั้มก๊อดจิ
คำตอบ: คิดว่า เก่งสุดเป็น Dow Chemical ทาง ปูน&ปั้มก๊อดจิ เพิ่งเริ่มทำ R&D ในขณะที่ฝรั่งทำมาตั้งนานแล้ว DOW Chemical มี patent เพียบ / ส่วน นวัตกรรมของ หุ้นฉนวนกันความร้อน ก็เก่งระดับหนึ่ง เพียงแต่ Product ไม่ซับซ้อน และไม่หลากหลาย
คำถาม: หุ้นมือถือเจ้าสัว เริ่มมีกำไรและปันผลแล้ว
คำตอบ: คิดว่า คงปันผลเพื่อเบรคประวัติศาสตร์ แต่น่าทำไม่ได้ยั่งยืน มีกำไรพิเศษด้วย
แชร์โดยผู้ร่วมมีทติ้ง: การถือ “หุ้นแม่มือถือค่ายเขียว” ก็เหมือนถือ “หุ้นมือถือค่ายเขียว” ตอนที่ซื้อ “หุ้นแม่มือถือค่ายเขียว” มองว่าเป็นกิจการที่เป็น Utilities ที่คนเรามีความจำเป็นต้องใช้ทุกวัน แพงกว่าค่าน้ำ แต่น่าถูกว่าค่าไฟ กิจการน่าไปเรื่อยๆ คงไม่หวือหวา / มีปันผลทุกปี
“หุ้นชื่อโรงแรมเป็นอำเภอ” เป็นหุ้นที่เป็นม้ามืดในปี (จำไว้ว่า เมื่อไรที่คุณศุภจี เข้าไปบริหารบริษัทไหน เราก็ซัดเข้าไปเลย กำไรแน่นอน ตอนที่อยู่ ดาวเทียม ก็รุ่ง) ระยะนี้ หุ้นโรงแรม น่าไม่มีอะไรตื่นเต้น น่ารออีกนาน
“หุ้นต่อเรือ” ปีก่อน รายได้ต่อเรือดี แต่รายได้ส่วนนี้ ไม่ได้ Smooth ทุกปี / รายได้ซ่อมเรือ ค่อนข้าง Smooth / ก็ต้องระมัดระวังนิดนึงด้วย
เครื่องดื่มกับภาษีน้ำตาล – เท่าที่เคยอ่านงานวิจัยฯ ในต่างประเทศว่า หากใช้ภาษีตัวนี้ ช่วยลดการบริโภคได้ / แง่โอกาสการลงทุนในหุ้นเครื่องดื่ม บอกยาก เพราะมีหลายปัจจัย ไม่ได้มีแค่เรื่องภาษีอย่างเดียว
หุ้นดี มีประกาศเพิ่มทุน ควรลงทุนหรือไม่ – ถ้าเพิ่มทุน แล้ว กำไรมากขึ้น ก็ยินดีเพิ่มทุน ขึ้นกับบริษัทเอาไปทำ ROE ได้สูงหรือไม่ ถ้าได้มากกว่า 15% ก็น่าสนใจ
คำถาม: หุ้นที่ประกาศงบออกมาดี ก็ราคาตก งบไม่ดี ก็ราคาตก หมายความว่า ตลาดไม่มีประสิทธิภาพหรืออย่างไร
คำตอบ: ราคาหุ้น สุดท้ายจะเป็นไปตามกำไรของกิจการ สาเหตุที่หุ้นประกาศงบมา กำไรโต แล้วราคาหุ้นตกก็มาจากกำไรโตน้อยกว่าคาด ถ้ากำไรโตตามคาด ราคาจะนิ่ง ถ้ากำไรโตมากกว่าคาด ราคาจะขึ้น / อย่าไปดูกำไรผิวเผินว่า กำไรโต ต้องดูด้วยว่า กำไรโตตามคาด สูงกว่าคาด หรือต่ำกว่าคาด ด้วยหรือไม่ / (มีคนถามต่อว่า คำว่า คาด ดูได้จากไหน) ตามทฤษฏี ดูตาม Consensus ที่โบรคฯ คาด แต่ในแง่ของวีไอ ก็ดูตามที่เราวิเคราะห์เอาไว้ / บางที หุ้นที่กำไรเพิ่ม แต่ราคาหุ้นไม่เพิ่ม ก็เพราะราคาหุ้น ได้ price in ไปหมดแล้ว ยกเว้น กำไรโตกว่าคาด ตัวอย่างที่ชัดเจนของงบล่าสุด คือ “หุ้น รพ หมอเสริฐ” ที่กำไรโตเกินคาด ราคาจึงวิ่งไปมาก
“หุ้นค้าปลีกวัสดุฯ” มีการขยายสาขาต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก “หุ้นค้าปลีกวัสดุฯ” เหมือนเสือติดปีกที่มี ปูนใหญ่เข้าไปซื้อหุ้น แต่ในอดีตมีข้อแย่ตรงที่ ผู้บริหารเข้าไปดักซื้อหุ้นก่อนที่ปูนใหญ่จะเข้ามาซื้อ แล้วถูก กลต จับตา ก็เสียชื่อไป / งบไตรมาส 1 ก็กำไร ก็คิดว่า น่าจะโอเค เพียงแต่ว่า มีสาขา ตจว มาก หากเศรษฐกิจ ตจว ไม่ดี ผลงานกิจการ ก็ไม่น่าจะดีมาก
ยังไม่จบครับ รอในโพสถัดไปครับ
ต่อช่วงบ่าย
“หุ้นอาลก” มีคนถามมา ก็ดูใช้ได้ ไม่รับประกันว่าเป็นหุ้นวัฏจักรไหมที่ช่วงนี้ราคา spread ดีไหมไม่รู้ แต่คิดว่า เป็นหุ้นกึ่งวัฏจักร กึ่งหุ้น Growth ล่าสุดก็มีไปเทคกิจการที่บราซิลมา ตอนนี้ก็น่าเป็นอันดับ 1 ของโลก ตอนนี้ PE ก็ไม่ได้สูงมาก ล่าสุดมีสัมภาษณ์ผู้บริหารจากนิตยสาร Forbes Thailand เขาตั้งเป้า EBITDA โตอีก 1 เท่าตัว ภายใน 3 ปี / ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ว่า spread แบ่งเป็น 3 ภูมิภาค คือ ยุโรป อเมริกาใต้ เอเซีย ส่วนที่ดีตอนนี้ ก็อเมริกาใต้ ยุโรปทรงๆ เอเซียแย่ แต่ตอนนี้ Demand เริ่มเพิ่ม แต่ด้าน Supply ยังไม่ได้เพิ่ม เลยมองว่า น่าสนใจ รายได้มาจาก BOPET ราว 50%
คำถาม: Value Added ของพวก Polymer ใครเก่งกว่า ปูน หรือ ปั้มก๊อดจิ
คำตอบ: คิดว่า เก่งสุดเป็น Dow Chemical ทาง ปูน&ปั้มก๊อดจิ เพิ่งเริ่มทำ R&D ในขณะที่ฝรั่งทำมาตั้งนานแล้ว DOW Chemical มี patent เพียบ / ส่วน นวัตกรรมของ หุ้นฉนวนกันความร้อน ก็เก่งระดับหนึ่ง เพียงแต่ Product ไม่ซับซ้อน และไม่หลากหลาย
คำถาม: หุ้นมือถือเจ้าสัว เริ่มมีกำไรและปันผลแล้ว
คำตอบ: คิดว่า คงปันผลเพื่อเบรคประวัติศาสตร์ แต่น่าทำไม่ได้ยั่งยืน มีกำไรพิเศษด้วย
แชร์โดยผู้ร่วมมีทติ้ง: การถือ “หุ้นแม่มือถือค่ายเขียว” ก็เหมือนถือ “หุ้นมือถือค่ายเขียว” ตอนที่ซื้อ “หุ้นแม่มือถือค่ายเขียว” มองว่าเป็นกิจการที่เป็น Utilities ที่คนเรามีความจำเป็นต้องใช้ทุกวัน แพงกว่าค่าน้ำ แต่น่าถูกว่าค่าไฟ กิจการน่าไปเรื่อยๆ คงไม่หวือหวา / มีปันผลทุกปี
“หุ้นชื่อโรงแรมเป็นอำเภอ” เป็นหุ้นที่เป็นม้ามืดในปี (จำไว้ว่า เมื่อไรที่คุณศุภจี เข้าไปบริหารบริษัทไหน เราก็ซัดเข้าไปเลย กำไรแน่นอน ตอนที่อยู่ ดาวเทียม ก็รุ่ง) ระยะนี้ หุ้นโรงแรม น่าไม่มีอะไรตื่นเต้น น่ารออีกนาน
“หุ้นต่อเรือ” ปีก่อน รายได้ต่อเรือดี แต่รายได้ส่วนนี้ ไม่ได้ Smooth ทุกปี / รายได้ซ่อมเรือ ค่อนข้าง Smooth / ก็ต้องระมัดระวังนิดนึงด้วย
เครื่องดื่มกับภาษีน้ำตาล – เท่าที่เคยอ่านงานวิจัยฯ ในต่างประเทศว่า หากใช้ภาษีตัวนี้ ช่วยลดการบริโภคได้ / แง่โอกาสการลงทุนในหุ้นเครื่องดื่ม บอกยาก เพราะมีหลายปัจจัย ไม่ได้มีแค่เรื่องภาษีอย่างเดียว
หุ้นดี มีประกาศเพิ่มทุน ควรลงทุนหรือไม่ – ถ้าเพิ่มทุน แล้ว กำไรมากขึ้น ก็ยินดีเพิ่มทุน ขึ้นกับบริษัทเอาไปทำ ROE ได้สูงหรือไม่ ถ้าได้มากกว่า 15% ก็น่าสนใจ
คำถาม: หุ้นที่ประกาศงบออกมาดี ก็ราคาตก งบไม่ดี ก็ราคาตก หมายความว่า ตลาดไม่มีประสิทธิภาพหรืออย่างไร
คำตอบ: ราคาหุ้น สุดท้ายจะเป็นไปตามกำไรของกิจการ สาเหตุที่หุ้นประกาศงบมา กำไรโต แล้วราคาหุ้นตกก็มาจากกำไรโตน้อยกว่าคาด ถ้ากำไรโตตามคาด ราคาจะนิ่ง ถ้ากำไรโตมากกว่าคาด ราคาจะขึ้น / อย่าไปดูกำไรผิวเผินว่า กำไรโต ต้องดูด้วยว่า กำไรโตตามคาด สูงกว่าคาด หรือต่ำกว่าคาด ด้วยหรือไม่ / (มีคนถามต่อว่า คำว่า คาด ดูได้จากไหน) ตามทฤษฏี ดูตาม Consensus ที่โบรคฯ คาด แต่ในแง่ของวีไอ ก็ดูตามที่เราวิเคราะห์เอาไว้ / บางที หุ้นที่กำไรเพิ่ม แต่ราคาหุ้นไม่เพิ่ม ก็เพราะราคาหุ้น ได้ price in ไปหมดแล้ว ยกเว้น กำไรโตกว่าคาด ตัวอย่างที่ชัดเจนของงบล่าสุด คือ “หุ้น รพ หมอเสริฐ” ที่กำไรโตเกินคาด ราคาจึงวิ่งไปมาก
“หุ้นค้าปลีกวัสดุฯ” มีการขยายสาขาต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก “หุ้นค้าปลีกวัสดุฯ” เหมือนเสือติดปีกที่มี ปูนใหญ่เข้าไปซื้อหุ้น แต่ในอดีตมีข้อแย่ตรงที่ ผู้บริหารเข้าไปดักซื้อหุ้นก่อนที่ปูนใหญ่จะเข้ามาซื้อ แล้วถูก กลต จับตา ก็เสียชื่อไป / งบไตรมาส 1 ก็กำไร ก็คิดว่า น่าจะโอเค เพียงแต่ว่า มีสาขา ตจว มาก หากเศรษฐกิจ ตจว ไม่ดี ผลงานกิจการ ก็ไม่น่าจะดีมาก
ยังไม่จบครับ รอในโพสถัดไปครับ
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3125
(ต่อ) มีทติ้งภาคใต้ Q1/61
ต่อเนื้อหาจากวันก่อนครับ
“หุ้นมือถือค่ายเขียว” – (อ.วรพงศ์) คู่แข่งน้อยราย / การเติบโตไม่ได้มากเหมือนในอดีต แต่ต้นทุนคงที่ เวลารายได้เพิ่ม กำไรก็จะเพิ่มมากกว่า / หุ้นแม่ จ่ายปันผลดีกว่า “หุ้นมือถือค่ายเขียว” / กำไรของ “หุ้นมือถือค่ายเขียว” คาดว่า โตได้ราว 5-10% น่ามาจากธุรกิจโทรศัพท์ที่ลูกค้าใช้ Data เพิ่ม รวมทั้งธุรกิจ Fibre ด้วย แต่ก็มีความไม่แน่นอนในกรณีที่มีการไปประมูลคลื่นใหม่ / ในธุรกิจมือถือนี้ ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ใครมีลูกค้ามากกว่ากัน แง่ต้นทุนของแต่ละราย ก็ไม่แตกต่างกันมาก
(อ.วรพงศ์) ลงทุนในไทย ไม่ถึง 10% ปัจจุบันมองว่า สถานการณ์ลงทุน ไม่แน่นอน หุ้น Growth ก็ราคาสูง หุ้นที่มีสตอรี่ก็ราคาสูง เลยมองว่า หุ้นปันผล น่าสนใจมากกว่า ผลตอบแทนอาจไม่ได้ดีมาก แต่ควรซื้อกระจายๆ หลายตัว
“หุ้นเช่าซื้อรถมือหนึ่ง” ASK yield 6% ให้ปันผลแน่นอน และปันผลเพิ่มเรื่อยๆ
“หุ้นปั้มใบไม้” ทำธุรกิจโรงกลั่นเป็นหลัก ระยะหลัง มีบุกด้านพลังงานทดแทน แง่ปันผล ค่อนข้างสม่ำเสมอ เพราะมีกระแสเงินสดค่อนข้างดี
“หุ้นตู้ส้ม” มีความเสี่ยงด้าน Disruption ดีตรงมีเครือข่ายตู้มากถึง แสนกว่าตู้ เป็น Payment อันดับดีของไทย แต่อนาคตก็ขึ้นกับคนใช้ที่จะใช้ Mobile หรือ Wallet ในการชำระเงิน แต่มองถึงกลุ่มลูกค้า ตจว ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ก็มีมากพอสมควร ในอดีตกิจการโตรวดเร็วพอสมควร ปัจจุบันเริ่มชะลอตัวลง ไตรมาส 1 โตเพียง 10% (พอราคาหุ้นลงมา div yield ก็มากขึ้น yield ราว 4-5%) หากรวมการซื้อหุ้นคืน ก็ได้ราว 10%
“หุ้นแม่ของมือถือค่ายเขียว” ปันผลราวๆ 7%
“หุ้นบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย” โดยทั่วไป อาจรู้จักว่า สร้างบ้านขาย แต่เขามีถือหุ้นในกิจการโรงแรมต่างๆ มีรายได้ที่เป็น recurring income รวมถึงการซื้อ apartment ในต่างประเทศด้วย ในปัจจุบัน ธุรกิจอสังหาฯ เริ่มดีขึ้นแล้ว แต่ถ้าธุรกิจอสังหาฯ กลับมาแย่ คิดว่า ธุรกิจอาจไม่ได้กระทบมาก
“หุ้นเพิ่งเปลี่ยนชื่อคล้ายยี่ห้อเครื่องดื่มแต่ไม่ได้ขายเครื่องดื่ม” ปันผล 5% แต่กำไรไม่ค่อยดีเท่าไร ไม่แน่ใจว่า Turnaround ได้เมื่อไร แต่ ผบห บอกว่า พยายามที่จะทำให้กลับมาดีขึ้น
“หุ้นไอทีโซลูชั่น” ขายอุปกรณ์ไอทีให้พวกธนาคาร ก็มีปันผลดี ล่าสุดประมาณ 7% กว่า / ไม่แน่ใจว่า จะยังดีขนาดไหน ช่วงนี้ ธนาคารพยายามใช้คนน้อยลง ก็ต้องมาลงทุนเพิ่มในเทคโนโลยี พวกธนาคาร ก็ต้องใช้เครื่องที่ใหญ่ ซึ่งรายที่ขายเครื่องใหญ่ๆ ก็ไม่ได้มีหลายราย การแข่งขันก็น่าจะจำกัด
“หุ้นบ้านแต่มีลูกมากในตลาด” ปันผล 6% กว่า ก็คล้ายๆ กับ LH คือ มีรายได้จากอสังหาฯ และ มีค่าเช่า มีกำไรจาก หุ้นค้าปลีกวัสดุฯ / แง่มูลค่าที่ซ่อนไว้ในกิจการค้าปลีกวัสดุฯ โอกาสที่ขาย คงมีไม่เยอะ ในขณะที่ยังสามารถสร้างกำไรออกมาได้ด้วย
“หุ้นรับจ้างผลิตเกี่ยวกับแอร์” ปันผลราว 5% กว่า เป็นโรงงานอุตสาหกรรมรับจ้างผลิต กำไรดีขึ้น เพราะพยายามลดต้นทุนต่างๆ ได้
“หุ้นพลังแสงอาทิตย์เจ้าแรกๆ” เป็น Solar Farm เจ้าแรกของเมืองไทย เริ่มมีโปรเจคที่ญี่ปุ่น กำลังจะมีโครงการใหม่ราว 400 Mw แต่ไม่แน่ใจว่า ทางกิจการจะได้เท่าไร ดูแล้ว มีทิศทางที่จะเริ่มเติบโตขึ้น / อจ โจ เสริมว่า ระวังเรื่อง Adder ที่ใกล้หมดอายุด้วย
“หุ้นชื่อน้ำมันพืชแต่ไม่ได้ขายน้ำมันพืช” ไม่ได้เติบโตหวือหวา เป็นรายใหญ่ด้านประกันใหม่ กำไรดีขึ้น ปันผลดีขึ้น
“หุ้นแบงค์” แบงค์เล็ก ได้ปันผลราว 5% กว่า ช่วงนี้ กำไรเริ่มโต ปลายปีที่แล้ว ได้ซื้อธุรกิจรายย่อยจาก Standard Charter ในส่วนธุรกิจหลัก ผลกระทบจากรถคันแรก น่าหมดไปแล้ว
“หุ้นน้ำมันปาล์มCPO” เป็นกิจการเป็นวัฏจักร เพิ่งผ่านจุดแย่ๆ มาก / ปันผลล่าสุด ราว 6% / กำไรเริ่มดีขึ้น ไตรมาส 1 โตราว 60% แต่เนื่องจากเป็นวัฏจักร กำไรก็ไม่ได้โตเรื่อยๆ ส่วนที่มีผลต่อกิจการ ก็คือ ผลปาล์มที่มีมาก และสามารถใช้กำลังผลิตได้เต็มที่
รอต่อโพสถัดไปครับ ^ ^
Please Enjoy Your Weekend
ต่อเนื้อหาจากวันก่อนครับ
“หุ้นมือถือค่ายเขียว” – (อ.วรพงศ์) คู่แข่งน้อยราย / การเติบโตไม่ได้มากเหมือนในอดีต แต่ต้นทุนคงที่ เวลารายได้เพิ่ม กำไรก็จะเพิ่มมากกว่า / หุ้นแม่ จ่ายปันผลดีกว่า “หุ้นมือถือค่ายเขียว” / กำไรของ “หุ้นมือถือค่ายเขียว” คาดว่า โตได้ราว 5-10% น่ามาจากธุรกิจโทรศัพท์ที่ลูกค้าใช้ Data เพิ่ม รวมทั้งธุรกิจ Fibre ด้วย แต่ก็มีความไม่แน่นอนในกรณีที่มีการไปประมูลคลื่นใหม่ / ในธุรกิจมือถือนี้ ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ใครมีลูกค้ามากกว่ากัน แง่ต้นทุนของแต่ละราย ก็ไม่แตกต่างกันมาก
(อ.วรพงศ์) ลงทุนในไทย ไม่ถึง 10% ปัจจุบันมองว่า สถานการณ์ลงทุน ไม่แน่นอน หุ้น Growth ก็ราคาสูง หุ้นที่มีสตอรี่ก็ราคาสูง เลยมองว่า หุ้นปันผล น่าสนใจมากกว่า ผลตอบแทนอาจไม่ได้ดีมาก แต่ควรซื้อกระจายๆ หลายตัว
“หุ้นเช่าซื้อรถมือหนึ่ง” ASK yield 6% ให้ปันผลแน่นอน และปันผลเพิ่มเรื่อยๆ
“หุ้นปั้มใบไม้” ทำธุรกิจโรงกลั่นเป็นหลัก ระยะหลัง มีบุกด้านพลังงานทดแทน แง่ปันผล ค่อนข้างสม่ำเสมอ เพราะมีกระแสเงินสดค่อนข้างดี
“หุ้นตู้ส้ม” มีความเสี่ยงด้าน Disruption ดีตรงมีเครือข่ายตู้มากถึง แสนกว่าตู้ เป็น Payment อันดับดีของไทย แต่อนาคตก็ขึ้นกับคนใช้ที่จะใช้ Mobile หรือ Wallet ในการชำระเงิน แต่มองถึงกลุ่มลูกค้า ตจว ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร ก็มีมากพอสมควร ในอดีตกิจการโตรวดเร็วพอสมควร ปัจจุบันเริ่มชะลอตัวลง ไตรมาส 1 โตเพียง 10% (พอราคาหุ้นลงมา div yield ก็มากขึ้น yield ราว 4-5%) หากรวมการซื้อหุ้นคืน ก็ได้ราว 10%
“หุ้นแม่ของมือถือค่ายเขียว” ปันผลราวๆ 7%
“หุ้นบ้านสร้างเสร็จก่อนขาย” โดยทั่วไป อาจรู้จักว่า สร้างบ้านขาย แต่เขามีถือหุ้นในกิจการโรงแรมต่างๆ มีรายได้ที่เป็น recurring income รวมถึงการซื้อ apartment ในต่างประเทศด้วย ในปัจจุบัน ธุรกิจอสังหาฯ เริ่มดีขึ้นแล้ว แต่ถ้าธุรกิจอสังหาฯ กลับมาแย่ คิดว่า ธุรกิจอาจไม่ได้กระทบมาก
“หุ้นเพิ่งเปลี่ยนชื่อคล้ายยี่ห้อเครื่องดื่มแต่ไม่ได้ขายเครื่องดื่ม” ปันผล 5% แต่กำไรไม่ค่อยดีเท่าไร ไม่แน่ใจว่า Turnaround ได้เมื่อไร แต่ ผบห บอกว่า พยายามที่จะทำให้กลับมาดีขึ้น
“หุ้นไอทีโซลูชั่น” ขายอุปกรณ์ไอทีให้พวกธนาคาร ก็มีปันผลดี ล่าสุดประมาณ 7% กว่า / ไม่แน่ใจว่า จะยังดีขนาดไหน ช่วงนี้ ธนาคารพยายามใช้คนน้อยลง ก็ต้องมาลงทุนเพิ่มในเทคโนโลยี พวกธนาคาร ก็ต้องใช้เครื่องที่ใหญ่ ซึ่งรายที่ขายเครื่องใหญ่ๆ ก็ไม่ได้มีหลายราย การแข่งขันก็น่าจะจำกัด
“หุ้นบ้านแต่มีลูกมากในตลาด” ปันผล 6% กว่า ก็คล้ายๆ กับ LH คือ มีรายได้จากอสังหาฯ และ มีค่าเช่า มีกำไรจาก หุ้นค้าปลีกวัสดุฯ / แง่มูลค่าที่ซ่อนไว้ในกิจการค้าปลีกวัสดุฯ โอกาสที่ขาย คงมีไม่เยอะ ในขณะที่ยังสามารถสร้างกำไรออกมาได้ด้วย
“หุ้นรับจ้างผลิตเกี่ยวกับแอร์” ปันผลราว 5% กว่า เป็นโรงงานอุตสาหกรรมรับจ้างผลิต กำไรดีขึ้น เพราะพยายามลดต้นทุนต่างๆ ได้
“หุ้นพลังแสงอาทิตย์เจ้าแรกๆ” เป็น Solar Farm เจ้าแรกของเมืองไทย เริ่มมีโปรเจคที่ญี่ปุ่น กำลังจะมีโครงการใหม่ราว 400 Mw แต่ไม่แน่ใจว่า ทางกิจการจะได้เท่าไร ดูแล้ว มีทิศทางที่จะเริ่มเติบโตขึ้น / อจ โจ เสริมว่า ระวังเรื่อง Adder ที่ใกล้หมดอายุด้วย
“หุ้นชื่อน้ำมันพืชแต่ไม่ได้ขายน้ำมันพืช” ไม่ได้เติบโตหวือหวา เป็นรายใหญ่ด้านประกันใหม่ กำไรดีขึ้น ปันผลดีขึ้น
“หุ้นแบงค์” แบงค์เล็ก ได้ปันผลราว 5% กว่า ช่วงนี้ กำไรเริ่มโต ปลายปีที่แล้ว ได้ซื้อธุรกิจรายย่อยจาก Standard Charter ในส่วนธุรกิจหลัก ผลกระทบจากรถคันแรก น่าหมดไปแล้ว
“หุ้นน้ำมันปาล์มCPO” เป็นกิจการเป็นวัฏจักร เพิ่งผ่านจุดแย่ๆ มาก / ปันผลล่าสุด ราว 6% / กำไรเริ่มดีขึ้น ไตรมาส 1 โตราว 60% แต่เนื่องจากเป็นวัฏจักร กำไรก็ไม่ได้โตเรื่อยๆ ส่วนที่มีผลต่อกิจการ ก็คือ ผลปาล์มที่มีมาก และสามารถใช้กำลังผลิตได้เต็มที่
รอต่อโพสถัดไปครับ ^ ^
Please Enjoy Your Weekend
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3126
MoneyTalk@SET ช่วงที่สอง
ทำไมวิกฤตถึงจะมา และ หากวิกฤตมา จะต้องทำอย่างไร
วิทยากร
1. คุณ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ บล CLSA
2. คุณ สมจินต์ ศรไพศาล บลจ ทหารไทย
3. คุณ มนตรี ศรไพศาล บล MBKET
4. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
อ เสน่ห์ เอื้อนกลอนสอดคล้องกับหัวข้อในวันนี้
“เรื่องวิกฤติ คิดรับมือ คือทางออก
ไม่จนตรอก จนใจ ไร้ทางสู้
ทุกสิบปี มีวิกฤติ คิดครวญดู
โลกรับรู้ เกิดครั้งใด เสียหายจริง
แล้วทำไม วิกฤตินั้น มันถึงมา
มีสัญญาณ ไหมหนา อย่าเฉยนิ่ง
ถ้ามันมา ต้องทำไง ไม่ประวิง
จะขายทิ้ง หรือถือไว้ เอาไงดี
ดร.นิเวศน์เกิดมานาน ผ่านมามาก
รู้ลำบาก รู้สบาย หลายวิถี
เปลี่ยนวิกฤติ เป็นโอกาส ฉลาดมี
การันตี วีไอ ไม่เปลี่ยนแปลง
ดร.สมจินต์มือบริหาร ทหารไทย
จัดทัพใหญ่ การลงทุน หนุนความแกร่ง
กองทุนดี มีโอกาส ไม่หวาดระแวง
พร้อมปันแบ่ง แนวทาง มั่งคั่งยาว
คุณมนตรี เมย์แบงค์ แห่งกิมเอ็ง
เป็นมือเก่ง มือบริหาร ผ่านร้อนหนาว
ต้มยำกุ้ง แฮมเบอเกอร์ เจอทุกคราว
ได้สืบสาว เล่าบทเรียน แลกเปลี่ยนกัน
คุณปริญญ์คนขายเป็ด รสเด็ดขาด
เป็ดรสชาติ ไม่ได้โม้ โฟซีซั่น
ซีแอลเอสเอ เป็นนายใหญ่ นายสำคัญ
มุมมองมั่น ทันโลก ทันเหตุการณ์
จะเกิดไหม วิกฤติใหญ่ ไม่ประมาท
รู้ฉลาด รู้รับมือ หรือฝ่าผ่าน
ไม่ละเลย พร้อมขยับ จับสัญญาณ
ทำการบ้าน การลงทุน ช่วยอุ่นใจ
สองคำถาม สำคัญ ของวันนี้
วิกฤติมี ที่มา ท่าไฉน
วิกฤติมา อย่าถลำ ทำอย่างไร
เชิญฟังได้ พร้อมกัน มันนี่ทอล์ค”
เริ่มจากคำถามแรก วิกฤตเกิดจากอะไร
ดร สมจินต์พูดเป็นท่านแรก
ดร สมจินต์ บอกว่า เริ่มจากวงจรเศรษฐกิจ ในหนึ่งวงจรเศรษฐกิจอาจไม่เกิดวิกฤต
หรือเกิดก็ได้ ซึ่งขึ้นปัจจัยสามปัจจัยได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
2. อัตราเงินเฟ้อ
3. อัตราดอกเบี้ย
เปรียบเทียบวงจรเศรษฐกิจกับเข็มนาฬิกา
ตรง12นาฬิกา เงินเฟ้อต่ำ ตรง 6 นาฬิกา เงินเฟ้อสูง
ตรง 3 นาฬิกา เศรษฐกิจขยายตัว
ตรง 9 นาฬิกา เศรษฐกิจหดตัว
ถ้าเริ่มจาก 12 นาฬิกาเริ่มจากเศรษฐกิจที่ไม่ดี แล้วค่อยๆดีขึ้น
สิ่งที่มักจะเกิดขึ้น หุ้นขึ้นมากกว่าหุ้นลง
ถ้าเรามาจากเศรษฐกิจแย่ๆ หลายๆคนอาจมีsurprise ว่าทำไมหุ้นขึ้น
ช่วงเข็มนาฬิกาชี้เลข 3 เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว หุ้นเป็นปัจจัยนำเศรษฐกิจ
(Leading indicator) ขยับจากนั้น มีกิจกรรมทางธุรกิจซื้อของลงทุนเริ่มมีการกู้ยืม
ของเริ่มแพงขึ้นไม่ว่า ที่ดิน ราคาน้ำมัน ทองคำแพงขึ้น
6นาฬิกา ของเริ่มแพงขึ้น ที่ตามมาคืออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
ตามระบบเศรษฐกิจ มีการปล่อยpersonal loan บริษัทเริ่มกล้าขยายกิจการ
กู้ยืมตามการขยายเศรษฐกิจ ของแพงขึ้น ธนาคารกลางอาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เศรษฐกิจช้าลง
จาก 3 นาฬิกาไปที่ 6 นาฬิกา ตอนของแพงขึ้น ทรัพย์สินที่มักได้ประโยชน์ คือ commodity เช่นทองคำ น้ำมันรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ จุดนี้ คนเริ่มชะลอการจับจ่าย ของที่เริ่มแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น
ราคาหุ้นและพันธบัตรเริ่มชะลอขึ้นและมีความผันผวน ถือเงินสดจะนิ่งกว่า
จาก6ไปที่9นาฬิกา ทรัพย์สินเริ่มผันผวน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มหายไป แต่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่ง คือ พันธบัตรหรือตราสารหนี้ เริ่มน่าสนใจ
จากช่วงที่ดอกเบี้ยขึ้นมาสูงๆและเริ่มนิ่ง และค่อยๆลดลง ดูน่าสนใจมากขึ้น
ธนาคารกลางเริ่มมาช่วยหนุนเศรษฐกิจ
ช่วงระหว่าง9-12นาฬิกา เศรษฐกิจชะลอ เงินเฟ้อเริ่มชะลอ ทรัพย์สินเริ่มลดลง Bondดีขึ้นในช่วงนี้
Low inflation คนลงทุนจะกลัว และ หลายบริษัทเริ่มล้มหาย หุ้นเริ่มจะฟื้นขึ้นก่อนเศรษฐกิจฟื้น
วงจรเศรษฐกิจจาก12นาฬิกาไป1,2,3นาฬิกา หุ้นเริ่มดีขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว (expansion)
ส่วนช่วง 3ไป6นาฬิกาเป็นช่วงอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่วนช่วง9นาฬิกาเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว
เป็นวงจรแบบนี้ ทำให้ราคาทรัพย์สินออกดอกผลแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละช่วง
แล้ววิกฤตมาตอนไหน
ตอบว่านี่คือวงจรตามธรรมชาติ แต่บางอย่างเติมเข้ามาในวงจรเศรษฐกิจ
ที่สำคัญ กรณีย้อนไปช่วงต้มยำกุ้ง หรือ Hamberger crisis
ก่อนหน้าที่ ธนาคารกลางมาแก้ไข
อสังหาริมทรัพย์มีราคาสูงมาก คนจำนวนมากแห่ไปลงทุน
คนมีบ้านแล้วก็ไปซื้อบ้านเพิ่มขึ้น เพราะทรัพย์สินราคาเพิ่มขึ้น
มีการทำleverageมากขึ้น ช่วงนั้นFinancial market มีเครื่องมือเช่น
MBS (Mortgage back securities) ทำให้การกู้ยืมไปลงทุนง่ายขึ้นเยอะ
ขณะที่ดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เงินที่ไปซื้อในขณะที่asset เป็นฟองสบู่
ตอนมีปัญหา การปรับตัวของนักลงทุนค่อนข้างยาก เพราะasset priceถูกผลักไปสูงมาก
คนไปกู้ตอนนั้น จะเกิดปัญหามากเวลาเกิดวิกฤตขึ้นมา
ช่วงต้มยำกุ้ง asset price สูงมาก ช่วงปี 1994 ดัชนีประมาณ 1,800 PE 30กว่าเท่า
Bond yield 7-9% เราดูEarning yield หรือส่วนกลับของ PE ที่ 30กว่าเท่า
คือ 1/30 ได้ประมาณ 3-4% เมื่อเทียบกับBond 7-8% คือลักษณะของBubble
คุณมนตรีจะพูดเรื่องนี้ได้ดี
ช่วงต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทเมื่อก่อนผูกกับสกุลเงิน$ เกิดการleverageของหนี้สินขณะนั้น
พอฟองสบู่แตกเลยทำให้การฟื้นตัวใช้เวลานานมาก
อ เสน่ห์ บอกว่า ตอนนั้นมีหลายคนเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
ที่เรียกแบบนั้น เพราะเราเป็นต้นเหตุของวิกฤต และ ต้มยำกุ้งเป็นอาหารขึ้นชื่อของไทย
ดังนั้นจึงเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง
และต่างชาติช่วงนั้นคาดการณ์ว่าเสือตัวที่ห้าของเอเซียน่าจะเป็นประเทศไทย
พอเศรษฐกิจไทยแย่ ก็ดึงเสืออีก4ตัวที่อยู่ในเอเซียลงไปด้วย
ประเทศเกาหลีใต้เป็นลูกหนี้IMFพร้อมเรา แต่ตอนนี้เศรษฐกิจของเขาไปไกลมาก
ธุรกิจเจ๊งมากมายเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่าไปสองเท่า หมายถึงหนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
สกุลเงินอินโดนีเซียคือรูเปี๊ย แย่สุดเพราะเงินรูเปี๊ย เปี๊ยจนใกล้แตก
ส่วนเงินรูเบิ้ล เบิ้ลหมายถึงเจ๊งสองเท่า
เงินรูปีของอินเดีย ไม่ค่อยกระทบเพราะหนึ่งรูปีเท่ากับสิบสองรูเดือน เกิดผลกระทบช้า
สถาบันการเงินของไทยปิดไป56แห่ง โดยเฉพาะธนาคารที่มีคำว่านครไม่ว่าจะเป็น
นครธน ศรีนคร มหานคร ก็ถูกปิดไป
คุณศิริวัฒน์ เซียนหุ้นก็มาขายแซนวิส
มีการเปิดท้ายขายของที่เบนซ์ทองหล่อ
แต่คนจนไม่เดือดร้อน เพราะไม่มีเงิน
คนตกงานก็กลับสู่บ้านเกิด ทำให้เกิดสินค้าโอท๊อป และ SME ก็เกิดขึ้นมาจนถึงวันนี้
ปี2008 Hamberger crisis คนตกงานมากมายลามไปถึงEU
แต่ประเทศไทยไม่มีหนี้สิน เพราะเราเสียเครดิตไปตั้งแต่ปี40 ไม่มีใครไว้ใจให้กู้
ประเทศไทยไม่เดือดร้อน คนไม่ตกงาน (จริงๆแล้ว บริษัทต่างๆหลังจากเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
ได้บทเรียนมาเลยมีการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ทำให้ไม่กระทบต่อบริษัท แต่กระทบต่อ
บริษัทส่งออกเพราะประเทศที่นำเข้าแย่ ทำให้ไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากไทย)
คนไปชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรีช่วงนั้นมีม๊อบสีลม แต่ยังชุมนุมไม่ครบวัน นายกก็ลาออกภายในครึ่งวัน
จริงๆท่านเป็นคนน่ารัก ไม่โกรธใคร เป็นคนใจดี
คุณมนตรี บอกว่า สองปีที่แล้วฝ่ายวิจัยวิเคราะห์ของเมย์แบงค์กิมเอ็ง
ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจย้อนไปในแต่ละช่วงที่เกิดวิกฤต
ปี 1987 เกิดวิกฤต Black Monday
ปี 2007 เกิดวิกฤต Subprime ทำให้ปีต่อมา 2008 เกิด Hamberger crisis
ปี 1997 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง
ปี 2017 จะเป็นอย่างไร จะเกิดวิกฤตหรือไม่
จากตอนวันที่ 5 มค 1994 ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีสูงสุดแล้ว
เราจะไปถึงตรงนั้นและดัชนีจะตกตลอดหรือไม่
สิ่งที่วิเคราะห์และเปรียบเทียบดูในแต่ละช่วง เรามีความประทับใจกับนายกสมัยนั้น
ยุคปี1997 ลูกโป่งแตกในวงการอสังหา และ วงการหุ้น
สภาพลูกโป่งแตกวัดจากสามปัจจัยคือ การกู้เงินเกินตัว เก็งกำไรเกินตัว ใช้จ่ายเกินตัว
ช่วงนั้นราคาที่ดินขึ้นทุกวัน ถ้าไม่ซื้อวันนี้ วันรุ่งขึ้นราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
บริษัทในช่วงนั้น หนี้คิดเป็น%ของสินทรัพย์ บางกรณีเป็น 100%
แต่ช่วง hamburger crisis หนี้เทียบกับทรัพย์สินเฉลี่ยประมาณ 120% ซึ่งสูงมาก
เงินกู้ในตลาดหุ้นที่ไปซื้อหุ้น ลองสอบถามผู้ใหญ่ในสมัยต้มยำกุ้ง
ตัวเลขเงินกู้ 120,000 ล้านบาท
ปัจจุบันเงินกู้ไปซื้อหุ้นอยู่แถว 70,000 ล้านบาท ถ้านึกย้อนกลับไปช่วงพีค
ในปี1997 market cap 3.5 ล้านบาท
ตลาดหุ้นตอนนี้market capใหญ่ขึ้น5เท่าเมื่อเทียบกับช่วงต้มยำกุ้ง
แต่margin loan เล็กกว่าเมื่อก่อน
หนี้อีกกลุ่ม คือ หนี้สินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงต้มยำกุ้ง
D/E ratio 2.1 เท่าตอนนี้ลงมา 1.3 เท่า แสดงว่าหนี้ในระบบน้อยกว่าเมื่อก่อนมาก
ยุคนี้ธนาคารปล่อยอย่างระมัดระวัง บริษัทก็ไม่ยอมมีหนี้ระดับสูง
ส่วนอัตราดอกเบี้ยจ่ายลดลงจาก 13% เหลือ 5-6%
เราได้บทเรียนจากเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ทรงเตือนว่า อย่าใช้จ่ายเกิน กู้เกินตัว
การกู้ซื้อคอนโดทีละ 5-10ห้องในสมัยนั้น ตอนนี้ก็น้อยลง
เงิน$ในกองทุนสำรองระหว่างประเทศสมัยนั้น จากที่ควรมี 40,000 ล้าน$
ลดลงเหลือ 7,000 ล้าน$ ในช่วงปี2540
ตอนนั้นเราก็ไปต่อต้านคอร์รับชั่น สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ทำให้นายกช่วงนั้นลาออกไป
หลังจากนั้นประทับใจรัฐบาลนายกชวน หลีกภัย โดยมีดร ศุภชัย และ คุณธารินทร์มาร่วมรัฐบาล
ดร ศุภชัย บอกว่า เรื่องCyclical , Bubble ,หนี้เกินตัว และเรื่องโครงสร้างการลงทุน
คนจีนช่วงนั้นทำงานได้เหมือนเราแต่ค่าแรงถูกกว่า เราต้องปรับตัวเพื่อแข่งกับจีน
ดังนั้น ปัจจุบันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 215,000 ล้าน$
และ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาตลอดหลายปี
มีคนมาท่องเที่ยวเยอะ เห็นจากคนที่สนามบินดอนเมือง หรือสุวรรณภูมิเยอะ
เศรษฐกิจยังไปได้ วิกฤตมองแล้ว คุณมนตรีฟันธงว่าวิกฤตไม่น่าจะมา
อ เสน่ห์ บอกว่า ช่วงนั้นมาเลเซีย ตรึงเงินไว้ ตามทฤษฏีของคุณครุกแมน
ตอนนี้มาเลเซียเปลี่ยนโฉม หนี้มาเลเซียคิดเป็น 1ล้านล้านริงกิต
รัฐบาลมาเลเซีย รณรงค์ให้ระดมเงินขึ้นมาคนละหนึ่งริงกิต สามารถช่วยประเทศได้
ปรากฏว่าไทยดีกว่า เพราะไม่มีหนี้มากเมื่อเทียบกับมาเลเซีย
ใครจะไปรู้ว่า ดร นิเวศน์ ตอนอายุ92ปีจะมากอบกู้
และ อ เสน่ห์ สงสัยต่อว่ามหาเธร์ บวชวัดไหน เพราะมีคำว่า มหา นำหน้า
คุณปริญญ์ กล่าวเป็นท่านต่อมาว่า
วิกฤตฟังดูเครียด ขอบคุณพี่เปี๊ยก(คุณมนตรี) มาพูดว่าไม่เกิดวิกฤต
ปกติทุกครั้งที่เกิดวิกฤต ไม่มีสัญญาณบอกว่าวิกฤตเกิดขึ้น
ตอนนี้ประเทศทางละตินอเมริกา จนถึงบราซิล เริ่มมีกลิ่นของวิกฤต
เวลาวิกฤตมาค่อนข้างจะคล้ายเดิม รอบนี้ได้เริ่มขึ้นแล้ว
เริ่มในปี2017ต่อเนื่องถึงปีนี้ ToneและTrendของสังคม มีความแตกแยกรุนแรงขึ้น
ระบบทุนนิยมที่ได้ยอมรับมานาน ช่วงสิบปีหลังเริ่มมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง
คุณ โดนัล ทรัมป์ ที่มาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ
ปกติการเมืองของสหรัฐไม่น่าจะเลือกคุณทรัมป์มาเป็นประธานาธิบดี
แต่คนอเมริกาไม่พอใจเรื่องการเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นวิกฤตทางการเงิน
ช่วงแฮมเบอเกอร์ วิธีแก้ต่างกับวิกฤตต้มยำกุ้งอย่างสิ้นเชิง
ลอแรนซ์ ซัมเมอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐในสมัยต้มยำกุ้ง
สั่งให้เราปิดสถาบันการเงิน ลดการใช้จ่ายของภาครัฐ ให้กระทรวงการคลังมีวินัยทางการคลัง
แต่ที่อเมริกาช่วงแฮมเบอเกอร์ทำกลับกัน การแก้ปัญหาโดยขยายbalance sheet 18%
คลังทำการอัดฉีดให้กับ Freddy May, Freddie Mac รวมถึง AIG
วิกฤตรอบที่แล้ว ไม่ได้แก้ แต่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น
เงินไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงในEmerging market ซึ่งFEDควบคุมเงินที่อัดฉีดเข้าไปไม่ได้
ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นใน FED
กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Satoshi Nakamoto มีการสร้างBitcoinช่วงนั้น
เพราะไม่เชื่อถือธนาคารกลางแต่ละประเทศ
ตอนนี้หนี้ครัวเรือนอเมริกาเริ่มกลับมาอยู่ระดับสูง มาจากหนี้สินเชื่อ
ขณะที่หนี้ภาครัฐก็ยังอยู่ในระดับที่สูง
มีการเกิด Government shutdownบ่อยมาก
เวลาเกิดปัญหา พรรคRepublicanก็ด่าพรรคเดโมแครต
อเมริกาต่อให้หนี้ท่วมหัวก็รอดได้ พวกเขาคิดอย่างนั้นจริงๆ
ทรัมป์บอกว่าให้ลดภาษี ซึ่งทำให้รายได้เข้ารัฐน้อยลง ผลประโยชน์ไปอยู่บริษัทเอกชนใหญ่ๆ
แถมรัฐบาลยังสร้างinfrastructure ขณะที่ระดับหนี้ยังอยู่ที่สูง ข้อนี้ไทยก็มีการสร้างinfraแต่ยังดีกว่าอเมริกา
ผมจะแปลกใจ ถ้าFED ขึ้นดอกเบี้ยสี่ครั้งได้ในปีนี้ ถ้าเป็นไปได้ ฟันธงว่าปีหน้าเจอวิกฤตแน่
ธนาคารกลางประเทศอื่นๆเริ่มตึงๆ และจะทยอยถอนQEออก
วิกฤตเบาๆค่อยๆมาแล้ว
หลายผู้นำของแต่ละประเทศ พยายามทำนโยบายแบบกีดกันประเทศอื่น
เช่นนโยบาย America first , Made in India
คนในยุโรปไม่พอใจผู้นำ จะไม่เห็นการร่วมมือกันของประเทศในยุโรป
ดร นิเวศน์ พูดในเชิงวิชาการ
เกี่ยวข้องกับเงินทองของเรา วิกฤตจะมาต่อเมื่อ
เรื่องแรก ราคาหุ้นแพงมากๆ
เรื่องสองมีสองความคิด ขึ้นกับค่าเงินสำรอง Balance of payment ฐานะทางการคลัง
ถ้าปัจจัยทางด้านfundamentalดีก็จะไม่เกิดวิกฤต ถ้าไม่ดีมีโอกาสเกิดวิกฤต
ทำให้เรารู้ได้ว่าวิกฤตจะมา แสดงว่าวิกฤตคาดการณ์ได้ นี่เป็นความคิดแรก
แต่มีอีกความคิด เรื่องแรกเหมือนกัน
แต่เรื่องที่สอง fundamentalไม่ร้ายแรง แต่ราคาหุ้นขึ้นไปสูงมาก ก็เกิดวิกฤตได้
ตัวที่ทำให้เกิดวิกฤต Robert Shiller เขียนไว้ แปลเป็นไทยว่า ความตื่นเต้นที่ไร้ตรรกะ
หุ้นแพง มีคนตื่นเต้นแบบไร้ตรรกะ พอซื้อหุ้นเข้าไป รอบแรกขึ้นนิดหน่อย
อีกกลุ่มเข้าไปซื้อต่อและหุ้นขึ้น คนต่อมาก็เข้าไปซื้อ เกิดการปั่นหุ้นขึ้น จริงๆพื้นฐานพอใช้ได้
มีlook feedback วงจรย้อนกลับ ราคาหุ้นขึ้นคล้ายๆกับแชร์ลูกโซ่
หุ้นขึ้นเพราะคนคิดว่าหุ้นจะขึ้นต่อ ราคาหุ้นขึ้นโดยไม่มีพื้นฐานรองรับ
มีหลายความคิดที่ทำให้หุ้นขึ้น ทุกคนเชียร์หุ้นกันหมด มีการปั่นหุ้นกัน
มีคนซื้อตามกัน หุ้นIPOตอนออกราคาแพง แต่ราคาหุ้นก็ขึ้นไปได้อีก
ในอเมริกา ก่อนปี2000 หุ้นที่มีชื่อด้วย dot com ขึ้นไปหมด
เมื่อรวมกับหุ้นราคาแพง ไม่สนใจเรื่องพื้นฐาน ถึงจุดหนึ่ง ราคาเกินไปเยอะ
พอรายใหญ่เทขาย หุ้นเริ่มลง มีการขายตาม ความตื่นเต้นเปลี่ยนเป็นความกลัว
หุ้นinternetของอเมริกาลงมา 80-90% แม้แต่หุ้นบริษัทAmazon
ตกลงมาเหลือไม่ถึง 10%ทั้งที่เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
ทฤษฏีนี้ไม่มีใครรู้ว่าเกิดวิกฤตเมื่อไหร่ แต่ประเมินว่าคนไร้ตรรกะกันแค่ไหน
สังเกตจากรายการทีวี ข่าวจากนสพ ประเมินว่าคนไร้ตรรกะมากแค่ไหน
กลับมาที่เมืองไทย ราคาถูกแพงใช้PE 17 เท่า ดูไม่ค่อยแพง
แต่เป็นตัวเลขปีเดียว คนมองระยะยาว บอกว่าใช้ได้แต่ไม่ค่อยดี
เบน เกรแฮม บอกว่าให้ใช้เฉลี่ย
E ขึ้นๆลงๆ ใช้ปีเดียวไม่ถูก เอาค่าเฉลี่ยของกำไรย้อนหลัง 10 ปี
ส่วนRobert Shiller มีการปรับค่าเงินเฟ้อ (cyclically adjusted price-to-earnings ratio)
ซึ่งยุ่งยากเกินไป ดร นิเวศน์ เลยเอาแบบง่ายๆโดยเอาตัวเลขกำไร 10ปีย้อนหลัง โดย P เป็นตัวปัจจุบัน
ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ PE 26 เท่า
ส่วน Robert Shiller เคยทำไว้เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วตลาดUS ทำไว้ PE 26 เท่า (เท่ากับไทย)
เขาบอกว่าตอนนั้นราคาหุ้นแพงมาก ไม่เคยเกิดมาก่อน
(ยกเว้นวิกฤตตอน ปี1929 , ปี2008)
Robert Shiller บอกว่า
หุ้นอเมริกาเจ๊งแน่ ปรากฏว่าหลังจากผ่านไปสามปี หุ้นวิ่งขึ้นไปมาก
แต่ดร นิเวศน์ไม่ได้บอกว่าหุ้นไทยจะขึ้นเหมือนกับที่อเมริกา
มันอาจจะขึ้นต่อไปถึง PE 30 แล้วค่อยเกิดวิกฤตก็ได้
เมื่อ2-3ปีที่แล้ว เคยทายไว้หุ้นไทยจะตก ยิ่งทายยิ่งขึ้น แต่ผมไม่ได้บอกว่าจะเจ๊ง
แต่บอกว่ามันอันตราย หุ้นได้เกิดวิกฤตขึ้นจริงในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กและขนาดกลาง
ตลาดหุ้นไทยมีสองตลาดคือหุ้นใหญ่(SET) และ หุ้นขนาดกลาง เล็ก(MAI)
หุ้นกลุ่มหลังตกลงมาเยอะ ฝรั่งขายมา100,000กว่าล้านบาท
แต่สถาบันรับซื้อมา วันไหนถ้าซื้อไม่ไหวก็ต้องระวัง
อาจารย์ก็เริ่มซื้อเพิ่มในหุ้นเต่า เราไม่รู้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด
Alternative investment ถ้าขายหุ้นจะไปซื้ออะไรดี
อสังหาริมทรัพย์ก็แพง ไม่มีทางออก ดอกเบี้ยต่ำมาก
ดู Robert Shillerที่ทำช่วงนั้นดอกเบี้ยสูงมากเทียบกับไทยตอนนี้
ดอกเบี้ยต่ำมาก เงินปันผล3%ก็ยังคุ้มกว่าไปฝากธนาคาร
ตราบใดที่จ่ายปันผล3-4% ก็ยังถือหุ้นต่อได้
คำถามที่2 วิกฤตสมมติว่ามา เราจะทำอย่างไร
ดร สมจินต์ บอกว่าสิ่งสำคัญที่ต้องคิดก่อนคือ ก่อนวิกฤตจะมา เราต้องทำอย่างไร
อย่างที่ดร นิเวศน์เปิดไว้ว่า เราไม่รู้ว่าวิกฤตมาเมื่อไหร่
ในแต่ละวงจรเศรษฐกิจ ก็จะมีทรัพย์สินที่น่าลงทุน
แต่เราไม่เห็นอนาคตว่าทรัพย์สินไหนดี
เราสมมติว่าเป็นเจ้าของสวนผลไม้
แต่ละฤดูจะมีผลไม้ที่ผลัดกันออกดอกออกผล
หลักของการลงทุน เราต้องจัดกองทัพของการลงทุนให้เหมาะสม
มีกองหน้า กองกลาง กองหลัง ให้ครบ
เงินบางส่วนสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ถือเป็นกองหน้า อัตราผลตอบแทนที่สูง
สินทรัพย์ที่ลงทุนในระยะยาว คือ หุ้น หรือ กองทุนหุ้น ซึ่งสามารถก้าวข้ามวงจรเศรษฐกิจ
ประมาณ 10ปี ถ้าเงินของเราเย็นแบบนั้น
จะมาอยู่กองหน้าได้ อาจได้ผลตอบแทน 10-12% ต่อปี แต่ไม่ลงทุนกระจุกแค่หุ้นบางตัว
หรือ บางอุตสาหกรรม
ถ้าเป็นเงินที่จะใช้ในปีหน้า ควรลงทุนอยู่ในส่วนที่คล่องตัวสูง
เช่น กองทุนตลาดเงิน หรือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
เงินที่อยู่ไม่ถึง10ปี ก็ไปอยู่กองกลาง และ สามารถเปลี่ยนเป็นกองหน้า
โดยซื้อสินทรัพย์ที่ราคาลงมาจากวิกฤต บางทีกองกลางไปกองหลังได้
เงินกองกลาง ลงในตราสารหนี้ หรือ property asset, Infrastructure ตัวให้ผลตอบแทน คือ ดอกเบี้ย
ค่าเช่าที่ค่อนข้างเสถียร ผันผวนแต่มีกระแสเงินสดค่อนข้างดี
ลักษณะอย่างนี้อยากให้เน้น
ปัจจัยที่1 ความสอดคล้องในวัตถุประสงค์ เวลาลงทุนต้องดูที่วัตถุประสงค์ก่อน
และหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการลงทุน
ปัจจัยที่2 คือ การกระจายความเสี่ยง กองทุนรวมเป็นเครื่องมือที่ดี
กองหน้า ตัวอย่าง กองทุนหุ้นไทย เช่น กองทุน SET50 หรือ กองทุนที่กระจายไปต่างประเทศ
ช่วงที่วิกฤตที่ภูมิภาคอื่น แต่กระทบหุ้นไทยด้วย การกระจายความเสี่ยงสำคัญมาก
เช่น กองทุนGlobal quality growth ของ Wellington
เศรษฐกิจขาขึ้น คือ ลงทุนในบริษัทGrowth company
เศรษฐกิจขาลง คือ ลงทุนในบริษัทQuality company
ส่วนกองกลาง เสี่ยงกว่ากองหลังโดยอายุตราสารที่ลงเหลืออายุ 4-7 ปี ได้แก่
Global income fund แม้เป็นตราสารหนี้ช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ราคาก็จะผันผวนด้วย
Property fund สามารถลงทุนได้ในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนกองหลัง กองทุนธนไพศาล กองทุนธนพลัส ก็น่าสนใจ
การที่เราเจอวิกฤตมาจะทำอย่างไร เราควรเตรียมตัวก่อนวิกฤต และ สามารถจัดการได้
ดร ไพบูลย์ บอกว่า ต้องตั้งรับไว้ก่อนจะเกิดวิกฤต เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้
ว่าช่วงไหนวิกฤต เมื่อวิกฤตมาเราจะรอดได้อย่างไร แบบดร สมจินต์
อ มนตรี บอกว่าวิกฤตเกิดจากคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร
เราคิดอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤต
หนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มใหม่ๆ บอกว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตมีดังนี้
1.การคาดการณ์ในแต่ละเรื่อง ถ้าคาดว่ามันโต มันก็โตได้
ตัวขับเคลื่อนขาขึ้น คือ ความโลภ ส่วนตัวขับเคลื่อนขาลงคือความกลัว
ไม่ว่าความโลภหรือความกลัว คือ ซาตานทั้งสิ้น
กู้หรือก่อหนี้เกินตัว มีการเก็งกำไร เป็นสัญญาณที่ลูกโป่งแตก
หุ้นลงมา คนจนหมดตัว เกิดความกลัวไม่กล้าใช้จ่าย
ปี 1929-ปี1930 (Great depression) คนกลัวนานมาก หุ้นตกแรงมาก
ประธานาธิบดี รูสเวล บอกว่า สิ่งน่ากลัวมากสุด ก็คือความกลัว
2. ในแง่ความระมัดระวัง ใกล้วิกฤตต้องทำอย่างไร
เราต้องระมัดระวังเรื่องลงทุนเกินตัว เช่น กู้marginในหุ้นที่เสี่ยง
เวลาขาขึ้นดี แต่เวลาขาลงอันตราย
การลงทุนในFuture เวลาลงในแต่ละตัวหุ้น เงินที่ลง 500,000 บาทใช้แค่ 5-10%เอง
เวลาขึ้นมันดี เงินเติบโตขึ้นเท่าตัว แต่เวลาลงก็ลงหนักด้วย
ต้องมีเงินทุนที่พอเพียง หุ้นบางตัวถูกdumpมาแรงจากForce salesจากFuture
สุดท้าย แผ่นดินไหนที่มีธรรม ก็เป็นแผ่นดินทอง ไม่คิดเห็นแก่ตัวมากเกินไป ก็อยู่กันได้
ไม่ว่าจะBrexitที่ชวนให้คิดเห็นแก่ตัว
นโยบายทรัมป์ ที่ชวนให้เห็นแก่ประเทศตัวเอง
บ้านเมืองเราเข้าสู่การเลือกตั้ง เป็นทิศทางที่ดี ถ้าเราอยู่ในเนื้อหา ทำให้บ้านเราไม่เข้าสู่วิกฤต
คุณ ปริญญ์ บอกว่า เวลาวิกฤตจะมา จะมีโอกาส เช่น คุณ Robert Shillerเป็นนักเศรษฐศาสตร์
ปกติจะมีการคาดการณ์เรื่องวิกฤตตลอด เช่น คาดการณ์ 10 ครั้ง แต่เกิดจริง4ครั้ง
ผมเป็นนักศึกษาตอนช่วงวิกฤตไปทำงานร้านอาหาร
เจอเจ้าของร้านอาหารBlue elephantที่ Plaza asthenia
ที่บ้านเจ็บปวดตอนค่าเงินบาทอ่อน ค่าใช้จ่ายที่ส่งไปเรียนขึ้นสองเท่าแต่ผมไม่เดือดร้อนเพราะรายได้จาก
การทำงานพิเศษมากขึ้น ทำให้เราชอบอาหาร
ผมไม่เชื่อในทฤษฏีเรื่องเอาไข่ไว้ในตระกร้าเดียวกัน เพราะเคยเจ็บมาก่อน
ช่วงdot com bubble เสียเกือบหมด รอบที่สอง เจอซาโตชิ แจกชิฟ 4 bitcoin ทุกคนโยนทิ้งไป
ตอนนี้สินทรัพย์เสี่ยงมองไปทางเดียวกัน อาจรอดจากวิกฤต แต่ค่าเงิน$แข็งกว่าที่ควร
ต้องกระจายความเสี่ยง สินทรัพย์ ทอง ใกล้all time low
นักวิเคราะห์มองทองอย่างเหยียดหยาม เพราะชอบBitcoinมากกว่า
เราควรลงแค่1%สำหรับbitcoin และแบ่งเงินลงใน Emerging market โดยเฉพาะเอเชีย
ดร นิเวศน์ บอกว่า หุ้นที่เราถือ อยากถือต่อไหม แต่อย่างไรก็ตามก็มีปันผล
เวลาวิกฤต หุ้นก็ลงแต่ไม่เยอะ เราต้องมีเงินพร้อมจะซื้อเพิ่ม เรากล้าหรือเปล่า
ถ้ากล้า ก็ไม่มีปัญหา ผมเก็บเงินสดมาตั้งนาน ถ้าเกิดเมื่อไหร่จะเข้าไปซื้อ
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เราถือ ยังดี ลงทุนระยะยาว
ประวัติศาสตร์ในการเกิดวิกฤต กว่าจะฟื้นก็ใช้เวลา2-3ปีกว่าจะฟื้น
ยังมีเวลา รอได้ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการลงทุน
ยกเว้น Subprime crisis ที่ฟื้นเร็วกว่าปกติ
กลยุทธ์แบบเชิงรับ ตัวไหนแพงก็ถอยดีกว่า
อ เสน่ห์ กล่าวปิดท้ายว่า
มีหรือไม่มีวิกฤตเราก็มีความทุกข์ เวลาหุ้นขึ้น ก็กลัวหุ้นตก
เวลาหุ้นตก ก็ทุกข์ใจว่าตกจริง ความสุขอยู่ที่ไหนกันแน่
และฝากกลอนสำหรับปิดท้ายรายการดังนี้
ทุกข์หรือสุขอยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส
ถ้าไม่ถือก็เป็นสุขไม่ทุกข์ใจ
เราอยากได้ความทุกข์หรือสุขนา
-พระศาสนโสภณ
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน รวมถึง ดร ไพบูลย์
อ เสน่ห์ ผู้ดำเนินรายการ และ ทีมงานMoneyTalkทุกท่านครับ
ทำไมวิกฤตถึงจะมา และ หากวิกฤตมา จะต้องทำอย่างไร
วิทยากร
1. คุณ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ บล CLSA
2. คุณ สมจินต์ ศรไพศาล บลจ ทหารไทย
3. คุณ มนตรี ศรไพศาล บล MBKET
4. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ดร ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
อ เสน่ห์ เอื้อนกลอนสอดคล้องกับหัวข้อในวันนี้
“เรื่องวิกฤติ คิดรับมือ คือทางออก
ไม่จนตรอก จนใจ ไร้ทางสู้
ทุกสิบปี มีวิกฤติ คิดครวญดู
โลกรับรู้ เกิดครั้งใด เสียหายจริง
แล้วทำไม วิกฤตินั้น มันถึงมา
มีสัญญาณ ไหมหนา อย่าเฉยนิ่ง
ถ้ามันมา ต้องทำไง ไม่ประวิง
จะขายทิ้ง หรือถือไว้ เอาไงดี
ดร.นิเวศน์เกิดมานาน ผ่านมามาก
รู้ลำบาก รู้สบาย หลายวิถี
เปลี่ยนวิกฤติ เป็นโอกาส ฉลาดมี
การันตี วีไอ ไม่เปลี่ยนแปลง
ดร.สมจินต์มือบริหาร ทหารไทย
จัดทัพใหญ่ การลงทุน หนุนความแกร่ง
กองทุนดี มีโอกาส ไม่หวาดระแวง
พร้อมปันแบ่ง แนวทาง มั่งคั่งยาว
คุณมนตรี เมย์แบงค์ แห่งกิมเอ็ง
เป็นมือเก่ง มือบริหาร ผ่านร้อนหนาว
ต้มยำกุ้ง แฮมเบอเกอร์ เจอทุกคราว
ได้สืบสาว เล่าบทเรียน แลกเปลี่ยนกัน
คุณปริญญ์คนขายเป็ด รสเด็ดขาด
เป็ดรสชาติ ไม่ได้โม้ โฟซีซั่น
ซีแอลเอสเอ เป็นนายใหญ่ นายสำคัญ
มุมมองมั่น ทันโลก ทันเหตุการณ์
จะเกิดไหม วิกฤติใหญ่ ไม่ประมาท
รู้ฉลาด รู้รับมือ หรือฝ่าผ่าน
ไม่ละเลย พร้อมขยับ จับสัญญาณ
ทำการบ้าน การลงทุน ช่วยอุ่นใจ
สองคำถาม สำคัญ ของวันนี้
วิกฤติมี ที่มา ท่าไฉน
วิกฤติมา อย่าถลำ ทำอย่างไร
เชิญฟังได้ พร้อมกัน มันนี่ทอล์ค”
เริ่มจากคำถามแรก วิกฤตเกิดจากอะไร
ดร สมจินต์พูดเป็นท่านแรก
ดร สมจินต์ บอกว่า เริ่มจากวงจรเศรษฐกิจ ในหนึ่งวงจรเศรษฐกิจอาจไม่เกิดวิกฤต
หรือเกิดก็ได้ ซึ่งขึ้นปัจจัยสามปัจจัยได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ
2. อัตราเงินเฟ้อ
3. อัตราดอกเบี้ย
เปรียบเทียบวงจรเศรษฐกิจกับเข็มนาฬิกา
ตรง12นาฬิกา เงินเฟ้อต่ำ ตรง 6 นาฬิกา เงินเฟ้อสูง
ตรง 3 นาฬิกา เศรษฐกิจขยายตัว
ตรง 9 นาฬิกา เศรษฐกิจหดตัว
ถ้าเริ่มจาก 12 นาฬิกาเริ่มจากเศรษฐกิจที่ไม่ดี แล้วค่อยๆดีขึ้น
สิ่งที่มักจะเกิดขึ้น หุ้นขึ้นมากกว่าหุ้นลง
ถ้าเรามาจากเศรษฐกิจแย่ๆ หลายๆคนอาจมีsurprise ว่าทำไมหุ้นขึ้น
ช่วงเข็มนาฬิกาชี้เลข 3 เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว หุ้นเป็นปัจจัยนำเศรษฐกิจ
(Leading indicator) ขยับจากนั้น มีกิจกรรมทางธุรกิจซื้อของลงทุนเริ่มมีการกู้ยืม
ของเริ่มแพงขึ้นไม่ว่า ที่ดิน ราคาน้ำมัน ทองคำแพงขึ้น
6นาฬิกา ของเริ่มแพงขึ้น ที่ตามมาคืออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
ตามระบบเศรษฐกิจ มีการปล่อยpersonal loan บริษัทเริ่มกล้าขยายกิจการ
กู้ยืมตามการขยายเศรษฐกิจ ของแพงขึ้น ธนาคารกลางอาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้เศรษฐกิจช้าลง
จาก 3 นาฬิกาไปที่ 6 นาฬิกา ตอนของแพงขึ้น ทรัพย์สินที่มักได้ประโยชน์ คือ commodity เช่นทองคำ น้ำมันรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ จุดนี้ คนเริ่มชะลอการจับจ่าย ของที่เริ่มแพงขึ้น อัตราดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น
ราคาหุ้นและพันธบัตรเริ่มชะลอขึ้นและมีความผันผวน ถือเงินสดจะนิ่งกว่า
จาก6ไปที่9นาฬิกา ทรัพย์สินเริ่มผันผวน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มหายไป แต่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่ง คือ พันธบัตรหรือตราสารหนี้ เริ่มน่าสนใจ
จากช่วงที่ดอกเบี้ยขึ้นมาสูงๆและเริ่มนิ่ง และค่อยๆลดลง ดูน่าสนใจมากขึ้น
ธนาคารกลางเริ่มมาช่วยหนุนเศรษฐกิจ
ช่วงระหว่าง9-12นาฬิกา เศรษฐกิจชะลอ เงินเฟ้อเริ่มชะลอ ทรัพย์สินเริ่มลดลง Bondดีขึ้นในช่วงนี้
Low inflation คนลงทุนจะกลัว และ หลายบริษัทเริ่มล้มหาย หุ้นเริ่มจะฟื้นขึ้นก่อนเศรษฐกิจฟื้น
วงจรเศรษฐกิจจาก12นาฬิกาไป1,2,3นาฬิกา หุ้นเริ่มดีขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว (expansion)
ส่วนช่วง 3ไป6นาฬิกาเป็นช่วงอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ส่วนช่วง9นาฬิกาเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว
เป็นวงจรแบบนี้ ทำให้ราคาทรัพย์สินออกดอกผลแตกต่างกันไป ขึ้นกับแต่ละช่วง
แล้ววิกฤตมาตอนไหน
ตอบว่านี่คือวงจรตามธรรมชาติ แต่บางอย่างเติมเข้ามาในวงจรเศรษฐกิจ
ที่สำคัญ กรณีย้อนไปช่วงต้มยำกุ้ง หรือ Hamberger crisis
ก่อนหน้าที่ ธนาคารกลางมาแก้ไข
อสังหาริมทรัพย์มีราคาสูงมาก คนจำนวนมากแห่ไปลงทุน
คนมีบ้านแล้วก็ไปซื้อบ้านเพิ่มขึ้น เพราะทรัพย์สินราคาเพิ่มขึ้น
มีการทำleverageมากขึ้น ช่วงนั้นFinancial market มีเครื่องมือเช่น
MBS (Mortgage back securities) ทำให้การกู้ยืมไปลงทุนง่ายขึ้นเยอะ
ขณะที่ดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เงินที่ไปซื้อในขณะที่asset เป็นฟองสบู่
ตอนมีปัญหา การปรับตัวของนักลงทุนค่อนข้างยาก เพราะasset priceถูกผลักไปสูงมาก
คนไปกู้ตอนนั้น จะเกิดปัญหามากเวลาเกิดวิกฤตขึ้นมา
ช่วงต้มยำกุ้ง asset price สูงมาก ช่วงปี 1994 ดัชนีประมาณ 1,800 PE 30กว่าเท่า
Bond yield 7-9% เราดูEarning yield หรือส่วนกลับของ PE ที่ 30กว่าเท่า
คือ 1/30 ได้ประมาณ 3-4% เมื่อเทียบกับBond 7-8% คือลักษณะของBubble
คุณมนตรีจะพูดเรื่องนี้ได้ดี
ช่วงต้มยำกุ้ง ค่าเงินบาทเมื่อก่อนผูกกับสกุลเงิน$ เกิดการleverageของหนี้สินขณะนั้น
พอฟองสบู่แตกเลยทำให้การฟื้นตัวใช้เวลานานมาก
อ เสน่ห์ บอกว่า ตอนนั้นมีหลายคนเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
ที่เรียกแบบนั้น เพราะเราเป็นต้นเหตุของวิกฤต และ ต้มยำกุ้งเป็นอาหารขึ้นชื่อของไทย
ดังนั้นจึงเรียกว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง
และต่างชาติช่วงนั้นคาดการณ์ว่าเสือตัวที่ห้าของเอเซียน่าจะเป็นประเทศไทย
พอเศรษฐกิจไทยแย่ ก็ดึงเสืออีก4ตัวที่อยู่ในเอเซียลงไปด้วย
ประเทศเกาหลีใต้เป็นลูกหนี้IMFพร้อมเรา แต่ตอนนี้เศรษฐกิจของเขาไปไกลมาก
ธุรกิจเจ๊งมากมายเพราะค่าเงินบาทอ่อนค่าไปสองเท่า หมายถึงหนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
สกุลเงินอินโดนีเซียคือรูเปี๊ย แย่สุดเพราะเงินรูเปี๊ย เปี๊ยจนใกล้แตก
ส่วนเงินรูเบิ้ล เบิ้ลหมายถึงเจ๊งสองเท่า
เงินรูปีของอินเดีย ไม่ค่อยกระทบเพราะหนึ่งรูปีเท่ากับสิบสองรูเดือน เกิดผลกระทบช้า
สถาบันการเงินของไทยปิดไป56แห่ง โดยเฉพาะธนาคารที่มีคำว่านครไม่ว่าจะเป็น
นครธน ศรีนคร มหานคร ก็ถูกปิดไป
คุณศิริวัฒน์ เซียนหุ้นก็มาขายแซนวิส
มีการเปิดท้ายขายของที่เบนซ์ทองหล่อ
แต่คนจนไม่เดือดร้อน เพราะไม่มีเงิน
คนตกงานก็กลับสู่บ้านเกิด ทำให้เกิดสินค้าโอท๊อป และ SME ก็เกิดขึ้นมาจนถึงวันนี้
ปี2008 Hamberger crisis คนตกงานมากมายลามไปถึงEU
แต่ประเทศไทยไม่มีหนี้สิน เพราะเราเสียเครดิตไปตั้งแต่ปี40 ไม่มีใครไว้ใจให้กู้
ประเทศไทยไม่เดือดร้อน คนไม่ตกงาน (จริงๆแล้ว บริษัทต่างๆหลังจากเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง
ได้บทเรียนมาเลยมีการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ทำให้ไม่กระทบต่อบริษัท แต่กระทบต่อ
บริษัทส่งออกเพราะประเทศที่นำเข้าแย่ ทำให้ไม่มีการสั่งซื้อสินค้าจากไทย)
คนไปชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรีช่วงนั้นมีม๊อบสีลม แต่ยังชุมนุมไม่ครบวัน นายกก็ลาออกภายในครึ่งวัน
จริงๆท่านเป็นคนน่ารัก ไม่โกรธใคร เป็นคนใจดี
คุณมนตรี บอกว่า สองปีที่แล้วฝ่ายวิจัยวิเคราะห์ของเมย์แบงค์กิมเอ็ง
ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจย้อนไปในแต่ละช่วงที่เกิดวิกฤต
ปี 1987 เกิดวิกฤต Black Monday
ปี 2007 เกิดวิกฤต Subprime ทำให้ปีต่อมา 2008 เกิด Hamberger crisis
ปี 1997 เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง
ปี 2017 จะเป็นอย่างไร จะเกิดวิกฤตหรือไม่
จากตอนวันที่ 5 มค 1994 ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีสูงสุดแล้ว
เราจะไปถึงตรงนั้นและดัชนีจะตกตลอดหรือไม่
สิ่งที่วิเคราะห์และเปรียบเทียบดูในแต่ละช่วง เรามีความประทับใจกับนายกสมัยนั้น
ยุคปี1997 ลูกโป่งแตกในวงการอสังหา และ วงการหุ้น
สภาพลูกโป่งแตกวัดจากสามปัจจัยคือ การกู้เงินเกินตัว เก็งกำไรเกินตัว ใช้จ่ายเกินตัว
ช่วงนั้นราคาที่ดินขึ้นทุกวัน ถ้าไม่ซื้อวันนี้ วันรุ่งขึ้นราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
บริษัทในช่วงนั้น หนี้คิดเป็น%ของสินทรัพย์ บางกรณีเป็น 100%
แต่ช่วง hamburger crisis หนี้เทียบกับทรัพย์สินเฉลี่ยประมาณ 120% ซึ่งสูงมาก
เงินกู้ในตลาดหุ้นที่ไปซื้อหุ้น ลองสอบถามผู้ใหญ่ในสมัยต้มยำกุ้ง
ตัวเลขเงินกู้ 120,000 ล้านบาท
ปัจจุบันเงินกู้ไปซื้อหุ้นอยู่แถว 70,000 ล้านบาท ถ้านึกย้อนกลับไปช่วงพีค
ในปี1997 market cap 3.5 ล้านบาท
ตลาดหุ้นตอนนี้market capใหญ่ขึ้น5เท่าเมื่อเทียบกับช่วงต้มยำกุ้ง
แต่margin loan เล็กกว่าเมื่อก่อน
หนี้อีกกลุ่ม คือ หนี้สินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงต้มยำกุ้ง
D/E ratio 2.1 เท่าตอนนี้ลงมา 1.3 เท่า แสดงว่าหนี้ในระบบน้อยกว่าเมื่อก่อนมาก
ยุคนี้ธนาคารปล่อยอย่างระมัดระวัง บริษัทก็ไม่ยอมมีหนี้ระดับสูง
ส่วนอัตราดอกเบี้ยจ่ายลดลงจาก 13% เหลือ 5-6%
เราได้บทเรียนจากเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง พระองค์ทรงเตือนว่า อย่าใช้จ่ายเกิน กู้เกินตัว
การกู้ซื้อคอนโดทีละ 5-10ห้องในสมัยนั้น ตอนนี้ก็น้อยลง
เงิน$ในกองทุนสำรองระหว่างประเทศสมัยนั้น จากที่ควรมี 40,000 ล้าน$
ลดลงเหลือ 7,000 ล้าน$ ในช่วงปี2540
ตอนนั้นเราก็ไปต่อต้านคอร์รับชั่น สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ทำให้นายกช่วงนั้นลาออกไป
หลังจากนั้นประทับใจรัฐบาลนายกชวน หลีกภัย โดยมีดร ศุภชัย และ คุณธารินทร์มาร่วมรัฐบาล
ดร ศุภชัย บอกว่า เรื่องCyclical , Bubble ,หนี้เกินตัว และเรื่องโครงสร้างการลงทุน
คนจีนช่วงนั้นทำงานได้เหมือนเราแต่ค่าแรงถูกกว่า เราต้องปรับตัวเพื่อแข่งกับจีน
ดังนั้น ปัจจุบันเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 215,000 ล้าน$
และ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลมาตลอดหลายปี
มีคนมาท่องเที่ยวเยอะ เห็นจากคนที่สนามบินดอนเมือง หรือสุวรรณภูมิเยอะ
เศรษฐกิจยังไปได้ วิกฤตมองแล้ว คุณมนตรีฟันธงว่าวิกฤตไม่น่าจะมา
อ เสน่ห์ บอกว่า ช่วงนั้นมาเลเซีย ตรึงเงินไว้ ตามทฤษฏีของคุณครุกแมน
ตอนนี้มาเลเซียเปลี่ยนโฉม หนี้มาเลเซียคิดเป็น 1ล้านล้านริงกิต
รัฐบาลมาเลเซีย รณรงค์ให้ระดมเงินขึ้นมาคนละหนึ่งริงกิต สามารถช่วยประเทศได้
ปรากฏว่าไทยดีกว่า เพราะไม่มีหนี้มากเมื่อเทียบกับมาเลเซีย
ใครจะไปรู้ว่า ดร นิเวศน์ ตอนอายุ92ปีจะมากอบกู้
และ อ เสน่ห์ สงสัยต่อว่ามหาเธร์ บวชวัดไหน เพราะมีคำว่า มหา นำหน้า
คุณปริญญ์ กล่าวเป็นท่านต่อมาว่า
วิกฤตฟังดูเครียด ขอบคุณพี่เปี๊ยก(คุณมนตรี) มาพูดว่าไม่เกิดวิกฤต
ปกติทุกครั้งที่เกิดวิกฤต ไม่มีสัญญาณบอกว่าวิกฤตเกิดขึ้น
ตอนนี้ประเทศทางละตินอเมริกา จนถึงบราซิล เริ่มมีกลิ่นของวิกฤต
เวลาวิกฤตมาค่อนข้างจะคล้ายเดิม รอบนี้ได้เริ่มขึ้นแล้ว
เริ่มในปี2017ต่อเนื่องถึงปีนี้ ToneและTrendของสังคม มีความแตกแยกรุนแรงขึ้น
ระบบทุนนิยมที่ได้ยอมรับมานาน ช่วงสิบปีหลังเริ่มมีความขัดแย้งอย่างรุนแรง
คุณ โดนัล ทรัมป์ ที่มาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐ
ปกติการเมืองของสหรัฐไม่น่าจะเลือกคุณทรัมป์มาเป็นประธานาธิบดี
แต่คนอเมริกาไม่พอใจเรื่องการเหลื่อมล้ำในสังคม เป็นวิกฤตทางการเงิน
ช่วงแฮมเบอเกอร์ วิธีแก้ต่างกับวิกฤตต้มยำกุ้งอย่างสิ้นเชิง
ลอแรนซ์ ซัมเมอร์ รัฐมนตรีคลังของสหรัฐในสมัยต้มยำกุ้ง
สั่งให้เราปิดสถาบันการเงิน ลดการใช้จ่ายของภาครัฐ ให้กระทรวงการคลังมีวินัยทางการคลัง
แต่ที่อเมริกาช่วงแฮมเบอเกอร์ทำกลับกัน การแก้ปัญหาโดยขยายbalance sheet 18%
คลังทำการอัดฉีดให้กับ Freddy May, Freddie Mac รวมถึง AIG
วิกฤตรอบที่แล้ว ไม่ได้แก้ แต่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น
เงินไปสู่สินทรัพย์เสี่ยงในEmerging market ซึ่งFEDควบคุมเงินที่อัดฉีดเข้าไปไม่ได้
ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นใน FED
กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Satoshi Nakamoto มีการสร้างBitcoinช่วงนั้น
เพราะไม่เชื่อถือธนาคารกลางแต่ละประเทศ
ตอนนี้หนี้ครัวเรือนอเมริกาเริ่มกลับมาอยู่ระดับสูง มาจากหนี้สินเชื่อ
ขณะที่หนี้ภาครัฐก็ยังอยู่ในระดับที่สูง
มีการเกิด Government shutdownบ่อยมาก
เวลาเกิดปัญหา พรรคRepublicanก็ด่าพรรคเดโมแครต
อเมริกาต่อให้หนี้ท่วมหัวก็รอดได้ พวกเขาคิดอย่างนั้นจริงๆ
ทรัมป์บอกว่าให้ลดภาษี ซึ่งทำให้รายได้เข้ารัฐน้อยลง ผลประโยชน์ไปอยู่บริษัทเอกชนใหญ่ๆ
แถมรัฐบาลยังสร้างinfrastructure ขณะที่ระดับหนี้ยังอยู่ที่สูง ข้อนี้ไทยก็มีการสร้างinfraแต่ยังดีกว่าอเมริกา
ผมจะแปลกใจ ถ้าFED ขึ้นดอกเบี้ยสี่ครั้งได้ในปีนี้ ถ้าเป็นไปได้ ฟันธงว่าปีหน้าเจอวิกฤตแน่
ธนาคารกลางประเทศอื่นๆเริ่มตึงๆ และจะทยอยถอนQEออก
วิกฤตเบาๆค่อยๆมาแล้ว
หลายผู้นำของแต่ละประเทศ พยายามทำนโยบายแบบกีดกันประเทศอื่น
เช่นนโยบาย America first , Made in India
คนในยุโรปไม่พอใจผู้นำ จะไม่เห็นการร่วมมือกันของประเทศในยุโรป
ดร นิเวศน์ พูดในเชิงวิชาการ
เกี่ยวข้องกับเงินทองของเรา วิกฤตจะมาต่อเมื่อ
เรื่องแรก ราคาหุ้นแพงมากๆ
เรื่องสองมีสองความคิด ขึ้นกับค่าเงินสำรอง Balance of payment ฐานะทางการคลัง
ถ้าปัจจัยทางด้านfundamentalดีก็จะไม่เกิดวิกฤต ถ้าไม่ดีมีโอกาสเกิดวิกฤต
ทำให้เรารู้ได้ว่าวิกฤตจะมา แสดงว่าวิกฤตคาดการณ์ได้ นี่เป็นความคิดแรก
แต่มีอีกความคิด เรื่องแรกเหมือนกัน
แต่เรื่องที่สอง fundamentalไม่ร้ายแรง แต่ราคาหุ้นขึ้นไปสูงมาก ก็เกิดวิกฤตได้
ตัวที่ทำให้เกิดวิกฤต Robert Shiller เขียนไว้ แปลเป็นไทยว่า ความตื่นเต้นที่ไร้ตรรกะ
หุ้นแพง มีคนตื่นเต้นแบบไร้ตรรกะ พอซื้อหุ้นเข้าไป รอบแรกขึ้นนิดหน่อย
อีกกลุ่มเข้าไปซื้อต่อและหุ้นขึ้น คนต่อมาก็เข้าไปซื้อ เกิดการปั่นหุ้นขึ้น จริงๆพื้นฐานพอใช้ได้
มีlook feedback วงจรย้อนกลับ ราคาหุ้นขึ้นคล้ายๆกับแชร์ลูกโซ่
หุ้นขึ้นเพราะคนคิดว่าหุ้นจะขึ้นต่อ ราคาหุ้นขึ้นโดยไม่มีพื้นฐานรองรับ
มีหลายความคิดที่ทำให้หุ้นขึ้น ทุกคนเชียร์หุ้นกันหมด มีการปั่นหุ้นกัน
มีคนซื้อตามกัน หุ้นIPOตอนออกราคาแพง แต่ราคาหุ้นก็ขึ้นไปได้อีก
ในอเมริกา ก่อนปี2000 หุ้นที่มีชื่อด้วย dot com ขึ้นไปหมด
เมื่อรวมกับหุ้นราคาแพง ไม่สนใจเรื่องพื้นฐาน ถึงจุดหนึ่ง ราคาเกินไปเยอะ
พอรายใหญ่เทขาย หุ้นเริ่มลง มีการขายตาม ความตื่นเต้นเปลี่ยนเป็นความกลัว
หุ้นinternetของอเมริกาลงมา 80-90% แม้แต่หุ้นบริษัทAmazon
ตกลงมาเหลือไม่ถึง 10%ทั้งที่เป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี
ทฤษฏีนี้ไม่มีใครรู้ว่าเกิดวิกฤตเมื่อไหร่ แต่ประเมินว่าคนไร้ตรรกะกันแค่ไหน
สังเกตจากรายการทีวี ข่าวจากนสพ ประเมินว่าคนไร้ตรรกะมากแค่ไหน
กลับมาที่เมืองไทย ราคาถูกแพงใช้PE 17 เท่า ดูไม่ค่อยแพง
แต่เป็นตัวเลขปีเดียว คนมองระยะยาว บอกว่าใช้ได้แต่ไม่ค่อยดี
เบน เกรแฮม บอกว่าให้ใช้เฉลี่ย
E ขึ้นๆลงๆ ใช้ปีเดียวไม่ถูก เอาค่าเฉลี่ยของกำไรย้อนหลัง 10 ปี
ส่วนRobert Shiller มีการปรับค่าเงินเฟ้อ (cyclically adjusted price-to-earnings ratio)
ซึ่งยุ่งยากเกินไป ดร นิเวศน์ เลยเอาแบบง่ายๆโดยเอาตัวเลขกำไร 10ปีย้อนหลัง โดย P เป็นตัวปัจจุบัน
ปรากฏว่าตลาดหลักทรัพย์ไทยได้ PE 26 เท่า
ส่วน Robert Shiller เคยทำไว้เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วตลาดUS ทำไว้ PE 26 เท่า (เท่ากับไทย)
เขาบอกว่าตอนนั้นราคาหุ้นแพงมาก ไม่เคยเกิดมาก่อน
(ยกเว้นวิกฤตตอน ปี1929 , ปี2008)
Robert Shiller บอกว่า
หุ้นอเมริกาเจ๊งแน่ ปรากฏว่าหลังจากผ่านไปสามปี หุ้นวิ่งขึ้นไปมาก
แต่ดร นิเวศน์ไม่ได้บอกว่าหุ้นไทยจะขึ้นเหมือนกับที่อเมริกา
มันอาจจะขึ้นต่อไปถึง PE 30 แล้วค่อยเกิดวิกฤตก็ได้
เมื่อ2-3ปีที่แล้ว เคยทายไว้หุ้นไทยจะตก ยิ่งทายยิ่งขึ้น แต่ผมไม่ได้บอกว่าจะเจ๊ง
แต่บอกว่ามันอันตราย หุ้นได้เกิดวิกฤตขึ้นจริงในหุ้นกลุ่มขนาดเล็กและขนาดกลาง
ตลาดหุ้นไทยมีสองตลาดคือหุ้นใหญ่(SET) และ หุ้นขนาดกลาง เล็ก(MAI)
หุ้นกลุ่มหลังตกลงมาเยอะ ฝรั่งขายมา100,000กว่าล้านบาท
แต่สถาบันรับซื้อมา วันไหนถ้าซื้อไม่ไหวก็ต้องระวัง
อาจารย์ก็เริ่มซื้อเพิ่มในหุ้นเต่า เราไม่รู้ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด
Alternative investment ถ้าขายหุ้นจะไปซื้ออะไรดี
อสังหาริมทรัพย์ก็แพง ไม่มีทางออก ดอกเบี้ยต่ำมาก
ดู Robert Shillerที่ทำช่วงนั้นดอกเบี้ยสูงมากเทียบกับไทยตอนนี้
ดอกเบี้ยต่ำมาก เงินปันผล3%ก็ยังคุ้มกว่าไปฝากธนาคาร
ตราบใดที่จ่ายปันผล3-4% ก็ยังถือหุ้นต่อได้
คำถามที่2 วิกฤตสมมติว่ามา เราจะทำอย่างไร
ดร สมจินต์ บอกว่าสิ่งสำคัญที่ต้องคิดก่อนคือ ก่อนวิกฤตจะมา เราต้องทำอย่างไร
อย่างที่ดร นิเวศน์เปิดไว้ว่า เราไม่รู้ว่าวิกฤตมาเมื่อไหร่
ในแต่ละวงจรเศรษฐกิจ ก็จะมีทรัพย์สินที่น่าลงทุน
แต่เราไม่เห็นอนาคตว่าทรัพย์สินไหนดี
เราสมมติว่าเป็นเจ้าของสวนผลไม้
แต่ละฤดูจะมีผลไม้ที่ผลัดกันออกดอกออกผล
หลักของการลงทุน เราต้องจัดกองทัพของการลงทุนให้เหมาะสม
มีกองหน้า กองกลาง กองหลัง ให้ครบ
เงินบางส่วนสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ถือเป็นกองหน้า อัตราผลตอบแทนที่สูง
สินทรัพย์ที่ลงทุนในระยะยาว คือ หุ้น หรือ กองทุนหุ้น ซึ่งสามารถก้าวข้ามวงจรเศรษฐกิจ
ประมาณ 10ปี ถ้าเงินของเราเย็นแบบนั้น
จะมาอยู่กองหน้าได้ อาจได้ผลตอบแทน 10-12% ต่อปี แต่ไม่ลงทุนกระจุกแค่หุ้นบางตัว
หรือ บางอุตสาหกรรม
ถ้าเป็นเงินที่จะใช้ในปีหน้า ควรลงทุนอยู่ในส่วนที่คล่องตัวสูง
เช่น กองทุนตลาดเงิน หรือ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
เงินที่อยู่ไม่ถึง10ปี ก็ไปอยู่กองกลาง และ สามารถเปลี่ยนเป็นกองหน้า
โดยซื้อสินทรัพย์ที่ราคาลงมาจากวิกฤต บางทีกองกลางไปกองหลังได้
เงินกองกลาง ลงในตราสารหนี้ หรือ property asset, Infrastructure ตัวให้ผลตอบแทน คือ ดอกเบี้ย
ค่าเช่าที่ค่อนข้างเสถียร ผันผวนแต่มีกระแสเงินสดค่อนข้างดี
ลักษณะอย่างนี้อยากให้เน้น
ปัจจัยที่1 ความสอดคล้องในวัตถุประสงค์ เวลาลงทุนต้องดูที่วัตถุประสงค์ก่อน
และหาเครื่องมือที่เหมาะสมในการลงทุน
ปัจจัยที่2 คือ การกระจายความเสี่ยง กองทุนรวมเป็นเครื่องมือที่ดี
กองหน้า ตัวอย่าง กองทุนหุ้นไทย เช่น กองทุน SET50 หรือ กองทุนที่กระจายไปต่างประเทศ
ช่วงที่วิกฤตที่ภูมิภาคอื่น แต่กระทบหุ้นไทยด้วย การกระจายความเสี่ยงสำคัญมาก
เช่น กองทุนGlobal quality growth ของ Wellington
เศรษฐกิจขาขึ้น คือ ลงทุนในบริษัทGrowth company
เศรษฐกิจขาลง คือ ลงทุนในบริษัทQuality company
ส่วนกองกลาง เสี่ยงกว่ากองหลังโดยอายุตราสารที่ลงเหลืออายุ 4-7 ปี ได้แก่
Global income fund แม้เป็นตราสารหนี้ช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น ราคาก็จะผันผวนด้วย
Property fund สามารถลงทุนได้ในประเทศและต่างประเทศ
ส่วนกองหลัง กองทุนธนไพศาล กองทุนธนพลัส ก็น่าสนใจ
การที่เราเจอวิกฤตมาจะทำอย่างไร เราควรเตรียมตัวก่อนวิกฤต และ สามารถจัดการได้
ดร ไพบูลย์ บอกว่า ต้องตั้งรับไว้ก่อนจะเกิดวิกฤต เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ได้
ว่าช่วงไหนวิกฤต เมื่อวิกฤตมาเราจะรอดได้อย่างไร แบบดร สมจินต์
อ มนตรี บอกว่าวิกฤตเกิดจากคนส่วนใหญ่คิดอย่างไร
เราคิดอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤต
หนังสือเศรษฐศาสตร์เล่มใหม่ๆ บอกว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดวิกฤตมีดังนี้
1.การคาดการณ์ในแต่ละเรื่อง ถ้าคาดว่ามันโต มันก็โตได้
ตัวขับเคลื่อนขาขึ้น คือ ความโลภ ส่วนตัวขับเคลื่อนขาลงคือความกลัว
ไม่ว่าความโลภหรือความกลัว คือ ซาตานทั้งสิ้น
กู้หรือก่อหนี้เกินตัว มีการเก็งกำไร เป็นสัญญาณที่ลูกโป่งแตก
หุ้นลงมา คนจนหมดตัว เกิดความกลัวไม่กล้าใช้จ่าย
ปี 1929-ปี1930 (Great depression) คนกลัวนานมาก หุ้นตกแรงมาก
ประธานาธิบดี รูสเวล บอกว่า สิ่งน่ากลัวมากสุด ก็คือความกลัว
2. ในแง่ความระมัดระวัง ใกล้วิกฤตต้องทำอย่างไร
เราต้องระมัดระวังเรื่องลงทุนเกินตัว เช่น กู้marginในหุ้นที่เสี่ยง
เวลาขาขึ้นดี แต่เวลาขาลงอันตราย
การลงทุนในFuture เวลาลงในแต่ละตัวหุ้น เงินที่ลง 500,000 บาทใช้แค่ 5-10%เอง
เวลาขึ้นมันดี เงินเติบโตขึ้นเท่าตัว แต่เวลาลงก็ลงหนักด้วย
ต้องมีเงินทุนที่พอเพียง หุ้นบางตัวถูกdumpมาแรงจากForce salesจากFuture
สุดท้าย แผ่นดินไหนที่มีธรรม ก็เป็นแผ่นดินทอง ไม่คิดเห็นแก่ตัวมากเกินไป ก็อยู่กันได้
ไม่ว่าจะBrexitที่ชวนให้คิดเห็นแก่ตัว
นโยบายทรัมป์ ที่ชวนให้เห็นแก่ประเทศตัวเอง
บ้านเมืองเราเข้าสู่การเลือกตั้ง เป็นทิศทางที่ดี ถ้าเราอยู่ในเนื้อหา ทำให้บ้านเราไม่เข้าสู่วิกฤต
คุณ ปริญญ์ บอกว่า เวลาวิกฤตจะมา จะมีโอกาส เช่น คุณ Robert Shillerเป็นนักเศรษฐศาสตร์
ปกติจะมีการคาดการณ์เรื่องวิกฤตตลอด เช่น คาดการณ์ 10 ครั้ง แต่เกิดจริง4ครั้ง
ผมเป็นนักศึกษาตอนช่วงวิกฤตไปทำงานร้านอาหาร
เจอเจ้าของร้านอาหารBlue elephantที่ Plaza asthenia
ที่บ้านเจ็บปวดตอนค่าเงินบาทอ่อน ค่าใช้จ่ายที่ส่งไปเรียนขึ้นสองเท่าแต่ผมไม่เดือดร้อนเพราะรายได้จาก
การทำงานพิเศษมากขึ้น ทำให้เราชอบอาหาร
ผมไม่เชื่อในทฤษฏีเรื่องเอาไข่ไว้ในตระกร้าเดียวกัน เพราะเคยเจ็บมาก่อน
ช่วงdot com bubble เสียเกือบหมด รอบที่สอง เจอซาโตชิ แจกชิฟ 4 bitcoin ทุกคนโยนทิ้งไป
ตอนนี้สินทรัพย์เสี่ยงมองไปทางเดียวกัน อาจรอดจากวิกฤต แต่ค่าเงิน$แข็งกว่าที่ควร
ต้องกระจายความเสี่ยง สินทรัพย์ ทอง ใกล้all time low
นักวิเคราะห์มองทองอย่างเหยียดหยาม เพราะชอบBitcoinมากกว่า
เราควรลงแค่1%สำหรับbitcoin และแบ่งเงินลงใน Emerging market โดยเฉพาะเอเชีย
ดร นิเวศน์ บอกว่า หุ้นที่เราถือ อยากถือต่อไหม แต่อย่างไรก็ตามก็มีปันผล
เวลาวิกฤต หุ้นก็ลงแต่ไม่เยอะ เราต้องมีเงินพร้อมจะซื้อเพิ่ม เรากล้าหรือเปล่า
ถ้ากล้า ก็ไม่มีปัญหา ผมเก็บเงินสดมาตั้งนาน ถ้าเกิดเมื่อไหร่จะเข้าไปซื้อ
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่เราถือ ยังดี ลงทุนระยะยาว
ประวัติศาสตร์ในการเกิดวิกฤต กว่าจะฟื้นก็ใช้เวลา2-3ปีกว่าจะฟื้น
ยังมีเวลา รอได้ ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนในการลงทุน
ยกเว้น Subprime crisis ที่ฟื้นเร็วกว่าปกติ
กลยุทธ์แบบเชิงรับ ตัวไหนแพงก็ถอยดีกว่า
อ เสน่ห์ กล่าวปิดท้ายว่า
มีหรือไม่มีวิกฤตเราก็มีความทุกข์ เวลาหุ้นขึ้น ก็กลัวหุ้นตก
เวลาหุ้นตก ก็ทุกข์ใจว่าตกจริง ความสุขอยู่ที่ไหนกันแน่
และฝากกลอนสำหรับปิดท้ายรายการดังนี้
ทุกข์หรือสุขอยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุกใส
ถ้าไม่ถือก็เป็นสุขไม่ทุกข์ใจ
เราอยากได้ความทุกข์หรือสุขนา
-พระศาสนโสภณ
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน รวมถึง ดร ไพบูลย์
อ เสน่ห์ ผู้ดำเนินรายการ และ ทีมงานMoneyTalkทุกท่านครับ
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3127
(ต่อ) มีทติ้งภาคใต้ Q1/61
ต่อเนื้อหามีทติ้งครับ
คำถาม: อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จะวางกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร
คำตอบ: ดอกเบี้ยขึ้น ราคาหุ้น ก็ต้องเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด แต่ที่กระทบก่อน คือ พันธบัตรระยะยาว และถ้าหากว่า เราไม่ลงทุนในหุ้นแล้ว เราจะเอาไปทำอะไร ในเมื่อฝากเงินที่ธนาคาร ก็ได้ดอกเบี้ยน้อยเช่นเดิม จึงมามองหุ้นปันผล ที่ให้ผลตอบแทนราว 5% และถ้าราคามันลงมาอีกในขณะที่พื้นฐานไม่ได้แย่ลง ก็เท่ากับว่า dividend yield เพิ่มขึ้น / อัตราดอกเบี้ยกำลังขึ้นมา ก็เป็นตัวกดราคาหุ้นอยู่แล้ว / อจ โจ มองว่า ดอกเบี้ยขึ้นได้ไม่นาน เพราะเงินท่วมโลก ภาวะดอกเบี้ยต่ำน่าจะเรื้อรังอีกนาน
จากคำถามข้างต้น ทำให้คิดถึงการประชุมเบิรค์ไชร์ของวอเรน ซึ่งเขาพูดถึงหุ้นตัวแรกของเขาที่ลงทุนตอนอายุ 12 ขวบ หุ้น CITY SERVICES จำนวน 3 หุ้นที่ราคา 38 เหรียญ (ได้ชวนพี่สาวซื้อร่วมกันด้วย) หลังจากซื้อ ราคาก็ไหลลงมา 20 กว่าเหรียญ แล้วราคาก็ฟื้นตัวขึ้นมา จนสุดท้าย วอเรนขายไปที่ราคา 40 เหรียญ หลังจากที่ขายไปแล้ว ราคาหุ้น ก็วิ่งมาแถว 200 กว่าเหรียญ จากเหตุการณ์นี้ วอเรนได้รับบทเรียนว่า ต้องมีความอดทนในการถือหุ้น ซื้อแล้ว ก็อย่าเพิ่งรีบไปขายมัน และวอเรนเล่าต่อว่า ถ้าในวันนั้น เอาเงินไปซื้อ S&P500 จำนวน 1 หมื่นเหรียญ จะกลายเป็น 50 ล้านเหรียญ นั่นคือ คนธรรมดาที่ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น เรื่องธุรกิจ เอาเงินไปซื้อดัชนี และไม่ต้องทำอะไร ลงทุนยาวๆ ไป จะได้รับผลตอบแทนเป็นจำนวนมาก
เงื่อนไขในการเลือกหุ้นปันผล ควรเลือกหุ้นที่จ่ายปันผล 50% และ dividend yield 5% จะค่อนข้าง Safe และทำให้เรามีโอกาสได้ทั้งเงินปันผล และ Capital Gain ด้วย แต่ถ้าซัดไปหุ้นที่จ่ายปันผลเยอะ อัตราปันผล 80-90% และให้ yield 5-6% ต้องระวัง เมื่อวันใดกำไรลดลง ปันผลลดลง และราคาหุ้นก็จะลงฮวบฮาบเลย เช่น DCC SE-ED KAMART เป็นต้น
ในสถานการณ์ที่ตลาดไม่แน่นอน Morning Star แนะนำว่า ถ้ามีหุ้นอยู่ 100% ในหุ้น หากตลาดหุ้นตกมาแรง และจำเป็นต้องใช้เงิน ก็ต้องขายหุ้นในราคาถูกออกไป ดังนั้น ควรเก็บเงินสดใช้จ่ายไว้ราว 3 ปี จริงๆ ก็ยังมีอีกหลายทาง เช่น ลงกองทุนหุ้น 60% กองทุนพันธบัตร 40% เป็นต้น
อ.วรพงศ์ มีแผนลงทุน ในไทย 50% และ ในอเมริกา 50% (อเมริกา จะมี Technology ใหม่ๆ คิดอะไรใหม่ๆ ออกมาเสมอ ทำให้คนเก่งๆ ก็อยากเข้าไป อเมริกาก็น่ายังพัฒนาไปได้ต่อ)
อ.โจ เคยลงทุนในฮ่องกง ก็มีกำไรนิดหน่อย แต่โดนค่าเงินไป ก็ขาดทุนไม่เยอะ หลังขายเสร็จ ราคาหุ้นก็ขึ้นเลยตามที่มันควรจะเป็น จากนั้น อจ ก็หันไปซื้อหุ้นที่อเมริกาตัวหนึ่ง มองว่า ความเสี่ยงต่ำมาก และสัมผัสกับสินค้าที่มันชัวร์มาก งบการเงิน Q1 ออกมา ดีมาก ก็เลยซัดไปตัวเดียว ที่ราคา 42 เหรียญ ก็คิดว่า สบายแล้ว ผ่านไปอีกสัปดาห์หนึ่ง ราคาเหลือ 28 เหรียญ (ภายในคืนเดียว) และยังมีตกต่อเนื่องอีก 2-3 วัน สาเหตุที่ราคาหุ้นลงมา เพราะ Outlook ของ Q2 ที่ทาง ผบห ให้ ดูไม่ดีมาก
เล่นหุ้นในเมืองไทย ไม่เคยเจอแบบอเมริกาเลย เราอาจเป็นสิงห์ที่ไทย แต่ไปเป็นหมูที่นั่น ก็ต้องเตรียมตัวนิดนึง
อ.วรพงศ์ ก็เคยไปลงทุนหุ้นรถไฟฟ้าใต้ดินในฮ่องกง คนใช้บริการเยอะ พอซื้อหุ้นไป มีขึ้นไปนิดนึง แล้วราคาหุ้นก็ลงมาเรื่อยๆ เพราะคนมองว่า อสังหาฯ ของฮ่องกร เริ่มไม่ค่อยดี จากนั้น ก็ไปอ่านเจอว่า วอเรน ซื้อ IBM และ PE ก็ไม่แพง ราว 10x ก็เลยขายหุ้นฮ่องกงขาดทุน ไปซื้อหุ้น IBM สุดท้าย หลังซื้อ ราคาหุ้น IBM ก็ลดลงมาตลอด / เวลาคนที่นั่นขาย ขายหุ้นกันแบบหยาบคายมาก ต่างกับเมืองไทยที่ค่อยๆ ไหลลงมา แต่ทางนั้น เค้าขายกันตรูมเดียวเลย เพราะเค้ารู้ข่าวพร้อมกัน ในขณะบ้านเรามันมี Inside ล่วงหน้า
กลยุทธ์การปรับพอร์ต
อ. วรพงศ์ - การอยู่เฉยๆ ก็ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนอย่างหนึ่ง หรือกระจายหุ้นออกไปหลายตัว เช่น หากมีหุ้นอยู่ 3 ตัว ถ้าต้องการกระจายออกไป ก็อาจเป็น 6 ตัว กรณีที่เราไม่ชัดเจน เราก็ควรกระจายให้มาก
อ.โจ - ช่วงที่ตลาดลงๆ ซบเซา และเราขาดทุนแบบนี้ เราจะมาหาหุ้นแบบที่เบต้าต่ำๆ (ก็คือ หุ้นปันผล) อ.โจ ไม่เห็นด้วยที่จะปรับ เวลาลงลิฟท์ เราก็ควรขึ้นลิฟท์หรือขึ้นจรวดเลย ไม่ใช่ลงลิฟท์แล้วมาขึ้นบันได ก็จะเอาคืนไม่ได้ แต่ถ้าเราจะเอาคืน ก็คงใช้วิธีเดิมๆ ไม่ได้ ก็ต้อง Selective หน่อย ภาระตลาดแบบนี้ โอกาสที่จะเลือกผิดพลาดก็น้อยลง เพราะ 1. ราคาหุ้นลงมามาก 2. เราระมัดระวังมากขึ้น
รอต่อโพสถัดไปครับ
ต่อเนื้อหามีทติ้งครับ
คำถาม: อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จะวางกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร
คำตอบ: ดอกเบี้ยขึ้น ราคาหุ้น ก็ต้องเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด แต่ที่กระทบก่อน คือ พันธบัตรระยะยาว และถ้าหากว่า เราไม่ลงทุนในหุ้นแล้ว เราจะเอาไปทำอะไร ในเมื่อฝากเงินที่ธนาคาร ก็ได้ดอกเบี้ยน้อยเช่นเดิม จึงมามองหุ้นปันผล ที่ให้ผลตอบแทนราว 5% และถ้าราคามันลงมาอีกในขณะที่พื้นฐานไม่ได้แย่ลง ก็เท่ากับว่า dividend yield เพิ่มขึ้น / อัตราดอกเบี้ยกำลังขึ้นมา ก็เป็นตัวกดราคาหุ้นอยู่แล้ว / อจ โจ มองว่า ดอกเบี้ยขึ้นได้ไม่นาน เพราะเงินท่วมโลก ภาวะดอกเบี้ยต่ำน่าจะเรื้อรังอีกนาน
จากคำถามข้างต้น ทำให้คิดถึงการประชุมเบิรค์ไชร์ของวอเรน ซึ่งเขาพูดถึงหุ้นตัวแรกของเขาที่ลงทุนตอนอายุ 12 ขวบ หุ้น CITY SERVICES จำนวน 3 หุ้นที่ราคา 38 เหรียญ (ได้ชวนพี่สาวซื้อร่วมกันด้วย) หลังจากซื้อ ราคาก็ไหลลงมา 20 กว่าเหรียญ แล้วราคาก็ฟื้นตัวขึ้นมา จนสุดท้าย วอเรนขายไปที่ราคา 40 เหรียญ หลังจากที่ขายไปแล้ว ราคาหุ้น ก็วิ่งมาแถว 200 กว่าเหรียญ จากเหตุการณ์นี้ วอเรนได้รับบทเรียนว่า ต้องมีความอดทนในการถือหุ้น ซื้อแล้ว ก็อย่าเพิ่งรีบไปขายมัน และวอเรนเล่าต่อว่า ถ้าในวันนั้น เอาเงินไปซื้อ S&P500 จำนวน 1 หมื่นเหรียญ จะกลายเป็น 50 ล้านเหรียญ นั่นคือ คนธรรมดาที่ไม่มีความรู้เรื่องหุ้น เรื่องธุรกิจ เอาเงินไปซื้อดัชนี และไม่ต้องทำอะไร ลงทุนยาวๆ ไป จะได้รับผลตอบแทนเป็นจำนวนมาก
เงื่อนไขในการเลือกหุ้นปันผล ควรเลือกหุ้นที่จ่ายปันผล 50% และ dividend yield 5% จะค่อนข้าง Safe และทำให้เรามีโอกาสได้ทั้งเงินปันผล และ Capital Gain ด้วย แต่ถ้าซัดไปหุ้นที่จ่ายปันผลเยอะ อัตราปันผล 80-90% และให้ yield 5-6% ต้องระวัง เมื่อวันใดกำไรลดลง ปันผลลดลง และราคาหุ้นก็จะลงฮวบฮาบเลย เช่น DCC SE-ED KAMART เป็นต้น
ในสถานการณ์ที่ตลาดไม่แน่นอน Morning Star แนะนำว่า ถ้ามีหุ้นอยู่ 100% ในหุ้น หากตลาดหุ้นตกมาแรง และจำเป็นต้องใช้เงิน ก็ต้องขายหุ้นในราคาถูกออกไป ดังนั้น ควรเก็บเงินสดใช้จ่ายไว้ราว 3 ปี จริงๆ ก็ยังมีอีกหลายทาง เช่น ลงกองทุนหุ้น 60% กองทุนพันธบัตร 40% เป็นต้น
อ.วรพงศ์ มีแผนลงทุน ในไทย 50% และ ในอเมริกา 50% (อเมริกา จะมี Technology ใหม่ๆ คิดอะไรใหม่ๆ ออกมาเสมอ ทำให้คนเก่งๆ ก็อยากเข้าไป อเมริกาก็น่ายังพัฒนาไปได้ต่อ)
อ.โจ เคยลงทุนในฮ่องกง ก็มีกำไรนิดหน่อย แต่โดนค่าเงินไป ก็ขาดทุนไม่เยอะ หลังขายเสร็จ ราคาหุ้นก็ขึ้นเลยตามที่มันควรจะเป็น จากนั้น อจ ก็หันไปซื้อหุ้นที่อเมริกาตัวหนึ่ง มองว่า ความเสี่ยงต่ำมาก และสัมผัสกับสินค้าที่มันชัวร์มาก งบการเงิน Q1 ออกมา ดีมาก ก็เลยซัดไปตัวเดียว ที่ราคา 42 เหรียญ ก็คิดว่า สบายแล้ว ผ่านไปอีกสัปดาห์หนึ่ง ราคาเหลือ 28 เหรียญ (ภายในคืนเดียว) และยังมีตกต่อเนื่องอีก 2-3 วัน สาเหตุที่ราคาหุ้นลงมา เพราะ Outlook ของ Q2 ที่ทาง ผบห ให้ ดูไม่ดีมาก
เล่นหุ้นในเมืองไทย ไม่เคยเจอแบบอเมริกาเลย เราอาจเป็นสิงห์ที่ไทย แต่ไปเป็นหมูที่นั่น ก็ต้องเตรียมตัวนิดนึง
อ.วรพงศ์ ก็เคยไปลงทุนหุ้นรถไฟฟ้าใต้ดินในฮ่องกง คนใช้บริการเยอะ พอซื้อหุ้นไป มีขึ้นไปนิดนึง แล้วราคาหุ้นก็ลงมาเรื่อยๆ เพราะคนมองว่า อสังหาฯ ของฮ่องกร เริ่มไม่ค่อยดี จากนั้น ก็ไปอ่านเจอว่า วอเรน ซื้อ IBM และ PE ก็ไม่แพง ราว 10x ก็เลยขายหุ้นฮ่องกงขาดทุน ไปซื้อหุ้น IBM สุดท้าย หลังซื้อ ราคาหุ้น IBM ก็ลดลงมาตลอด / เวลาคนที่นั่นขาย ขายหุ้นกันแบบหยาบคายมาก ต่างกับเมืองไทยที่ค่อยๆ ไหลลงมา แต่ทางนั้น เค้าขายกันตรูมเดียวเลย เพราะเค้ารู้ข่าวพร้อมกัน ในขณะบ้านเรามันมี Inside ล่วงหน้า
กลยุทธ์การปรับพอร์ต
อ. วรพงศ์ - การอยู่เฉยๆ ก็ถือเป็นทางเลือกในการลงทุนอย่างหนึ่ง หรือกระจายหุ้นออกไปหลายตัว เช่น หากมีหุ้นอยู่ 3 ตัว ถ้าต้องการกระจายออกไป ก็อาจเป็น 6 ตัว กรณีที่เราไม่ชัดเจน เราก็ควรกระจายให้มาก
อ.โจ - ช่วงที่ตลาดลงๆ ซบเซา และเราขาดทุนแบบนี้ เราจะมาหาหุ้นแบบที่เบต้าต่ำๆ (ก็คือ หุ้นปันผล) อ.โจ ไม่เห็นด้วยที่จะปรับ เวลาลงลิฟท์ เราก็ควรขึ้นลิฟท์หรือขึ้นจรวดเลย ไม่ใช่ลงลิฟท์แล้วมาขึ้นบันได ก็จะเอาคืนไม่ได้ แต่ถ้าเราจะเอาคืน ก็คงใช้วิธีเดิมๆ ไม่ได้ ก็ต้อง Selective หน่อย ภาระตลาดแบบนี้ โอกาสที่จะเลือกผิดพลาดก็น้อยลง เพราะ 1. ราคาหุ้นลงมามาก 2. เราระมัดระวังมากขึ้น
รอต่อโพสถัดไปครับ
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3128
(ต่อ) มีทติ้งภาคใต้ Q1/61
ต่อเนื้อหามีทติ้งครับ
“หุ้นท่อน้ำ” – มาร์เกตแคปอาจถูกไป ถ้ามีโครงการใหม่ ก็จะมีการเพิ่มทุน
“หุ้นผู้ชนะ” - โรงงานเครื่องสำอางที่ซื้อมา ผบห หวังมากในธุรกิจเครื่องสำอาง แต่ อจ ไม่ได้หวังมาก ก็รอดู ให้โอกาสหน่อย (ซื้อเพิ่ม)
“หุ้นปั้มสูบส่งน้ำ” - ธุรกิจที่ไปเทคมาซึ่งให้บริการบำบัดน้ำเสีย อุโมงส่งน้ำของ กทม กำไรใช้ได้ เพียงแต่ PE ไม่ได้ต่ำ อย่างไรก็ตาม มองรายไตรมาส ดูยาก ไตรมาสไหนที่ส่งมอบงานเยอะๆ ก็จะโตกระฉูดเลย
“หุ้นชีวะเกตุ” งบออกมา กำไรดีมาก ราคาหุ้นก็ขึ้นมา แต่คำอธิบายทำให้ไม่กล้าซื้อ โดยบอกว่า ยอดขายเพิ่ม 400% จาก Order ใหญ่ (เป็นลักษณะที่ไม่ใช่ Order ประจำ) ก็ทำให้รายได้ก้อนโตมาเป็นรายได้ที่ไม่ประจำ แต่มาร์จิ้นน่าจะต่ำอยู่แล้ว / แบบนี้ ต้องระวัง บางครั้ง ธุรกิจซื้อมา ขายไป จะดูกันเป็นรายไตรมาส อาจจะไม่ได้
“หุ้นเครื่องจักรกล” กำไรค่อนข้างดี แต่ก็สามารถผันผวนรายไตรมาสได้เช่นกัน หากมีการส่งมอบขายเครื่องจักรมากบางไตรมาส / น่าเป็นหุ้นปันผลได้ / เงินสดเพียบ
“หุ้นเครื่องจักร” ซื้อเพราะมองการลงทุนเมกะโปรเจค – สาเหตุที่กำไรลด เพราะรถเครนตัดราคากันมาก มีผู้บริการให้เช่าเครื่องจักรก็เตรียมตัวรอรับงานประมูล ระดมซื้อเครื่องจักรเข้ามารอ เพื่อรองรับงานเมกะโปรเจคของภาครัฐฯ พองานภาครัฐฯ ไม่มา ก็ทำให้มีภาระค่าเสื่อมฯ มีการตัดราคาให้บริการ / ส่วนการขายท่อ ช่วงไหนที่มีการส่งมอบ ก็จะขายดี ช่วงไม่ดี รายได้ขายท่อ ก็หายไป / ช่วงไตรมาสที่ 1 โรงงานน้ำตาลเปิดหีบ ก็ทำให้ขายท่อได้น้อย แต่ถ้าเมื่อไรปิดหีบ โรงงานน้ำตาลก็จะมีการซ่อมแซม ก็จะมีการซื้อท่อเยอะ ปิดหีบประมาณ เดือน 5-6 ดังนั้น รายได้ท่อ น่าจะมาครึ่งปีหลัง
“หุ้นพรม” คาดการกำไรยากมาก หากเราอ่านแล้ว เราไม่เข้าใจ ก็มีความเสี่ยง / มี warrant ด้วย ก็จะมี dilution ด้วย ต้องระวังระเบิดเวลาจากการแปลง warrant ด้วย
“หุ้นคอลเซ็นเตอร์” มองประเด็นว่า ราคาถูก ประเด็นอื่น ไม่มีเลย แต่อาจจะคิดผิดก็ได้ ดูเหมือน Technology เปลี่ยน ทำให้สูญเสียลูกค้าไป เสียรายได้ไปมาก ข้อดีอย่างหนึ่งคือ มีเงินสดอยู่ 400 ล้าน ในขณะที่มาร์เก็ตแคปมี 800 ล้าน แต่จะให้ธุรกิจพลิกกลับมาเร็ว คงยากหน่อย / ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ว่า มีคดีอยู่ระหว่างพิพากษา โดยทาง OTO เป็นคนฟ้องการรถไฟ เรียกเงินชดเชย 75 ล้าน ซึ่งชนะมาแล้ว 2 ศาล เหลือศาลฏีกา คาดว่า ตัดสินจบภายในปีนี้ / อจ กังวลเรื่อง รายได้ลด ถ้าสามารถไปหาช่องทางใหม่ ก็น่าสนใจหน่อย
“หุ้นเครื่องดื่มที่มีผลงานดีรายเดียวใน Q1” ยอดขายในประเทศ คงเอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่สามารถไปขายได้ในต่างประเทศ รายได้ของกิจการค่อนข้างทำนายยาก หาก PE ปัจจุบัน ราว 20 กว่าเท่า กำไรต้องยั่งยืนระดับหนึ่ง ราคาถึงจะยืนได้ ไม่มั่นใจว่า อนาคตกำไรจะยังยั่งยืนต่อหรือไม่
“หุ้นแก๊ส” กำไรไม่ได้ขึ้นกับการขายเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นกับราคาของโพเทรน/บิวเทรน ซึ่งกำหนดโดย ผู้ขายรายใหญ่ที่สุด / ตอนนี้ ราคาโพเทรน/บิวเทรนมีเสถียรภาพ ดังนั้น กำไรที่เกิดขึ้น มาจาก มาร์จิ้น คูณ โวลุ่มการขาย แต่ก็ยากที่จะติดตามโวลุ่มการขายที่ประเทศจีน / ราคาหุ้นลงมามาก แต่ราคาที่ขึ้นไป ก็อาจมาจากกำไรที่ดีเกินจริงก็ได้ / ข้อดีของบริษัทนี้คือ ใจปล้ำในการจ่ายปันผล
“หุ้นธนาคารเล็กไทยผสมไต้หวัน” ได้การอัดฉีดจากกลุ่มทุนไต้หวัน น่าจะเติบโตได้ แต่ต้องใช้เวลาในการปรับจูนหน่อย ได้เงินมา ก็ต้องใช้เวลาในการเอาไปปล่อยกู้ แต่ว่า ไดรูทมาเต็มที่ / กำไรค่อยๆ เพิ่ม
“หุ้นปลวก” กำไรเพิ่มจริง แต่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปไม่รู้เพราะอะไร ก่อนหน้านี้ มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหม่ และมีการปรับโครงสร้างภายในขององค์กรใหม่
รอต่อโพสถัดไปครับ….
ต่อเนื้อหามีทติ้งครับ
“หุ้นท่อน้ำ” – มาร์เกตแคปอาจถูกไป ถ้ามีโครงการใหม่ ก็จะมีการเพิ่มทุน
“หุ้นผู้ชนะ” - โรงงานเครื่องสำอางที่ซื้อมา ผบห หวังมากในธุรกิจเครื่องสำอาง แต่ อจ ไม่ได้หวังมาก ก็รอดู ให้โอกาสหน่อย (ซื้อเพิ่ม)
“หุ้นปั้มสูบส่งน้ำ” - ธุรกิจที่ไปเทคมาซึ่งให้บริการบำบัดน้ำเสีย อุโมงส่งน้ำของ กทม กำไรใช้ได้ เพียงแต่ PE ไม่ได้ต่ำ อย่างไรก็ตาม มองรายไตรมาส ดูยาก ไตรมาสไหนที่ส่งมอบงานเยอะๆ ก็จะโตกระฉูดเลย
“หุ้นชีวะเกตุ” งบออกมา กำไรดีมาก ราคาหุ้นก็ขึ้นมา แต่คำอธิบายทำให้ไม่กล้าซื้อ โดยบอกว่า ยอดขายเพิ่ม 400% จาก Order ใหญ่ (เป็นลักษณะที่ไม่ใช่ Order ประจำ) ก็ทำให้รายได้ก้อนโตมาเป็นรายได้ที่ไม่ประจำ แต่มาร์จิ้นน่าจะต่ำอยู่แล้ว / แบบนี้ ต้องระวัง บางครั้ง ธุรกิจซื้อมา ขายไป จะดูกันเป็นรายไตรมาส อาจจะไม่ได้
“หุ้นเครื่องจักรกล” กำไรค่อนข้างดี แต่ก็สามารถผันผวนรายไตรมาสได้เช่นกัน หากมีการส่งมอบขายเครื่องจักรมากบางไตรมาส / น่าเป็นหุ้นปันผลได้ / เงินสดเพียบ
“หุ้นเครื่องจักร” ซื้อเพราะมองการลงทุนเมกะโปรเจค – สาเหตุที่กำไรลด เพราะรถเครนตัดราคากันมาก มีผู้บริการให้เช่าเครื่องจักรก็เตรียมตัวรอรับงานประมูล ระดมซื้อเครื่องจักรเข้ามารอ เพื่อรองรับงานเมกะโปรเจคของภาครัฐฯ พองานภาครัฐฯ ไม่มา ก็ทำให้มีภาระค่าเสื่อมฯ มีการตัดราคาให้บริการ / ส่วนการขายท่อ ช่วงไหนที่มีการส่งมอบ ก็จะขายดี ช่วงไม่ดี รายได้ขายท่อ ก็หายไป / ช่วงไตรมาสที่ 1 โรงงานน้ำตาลเปิดหีบ ก็ทำให้ขายท่อได้น้อย แต่ถ้าเมื่อไรปิดหีบ โรงงานน้ำตาลก็จะมีการซ่อมแซม ก็จะมีการซื้อท่อเยอะ ปิดหีบประมาณ เดือน 5-6 ดังนั้น รายได้ท่อ น่าจะมาครึ่งปีหลัง
“หุ้นพรม” คาดการกำไรยากมาก หากเราอ่านแล้ว เราไม่เข้าใจ ก็มีความเสี่ยง / มี warrant ด้วย ก็จะมี dilution ด้วย ต้องระวังระเบิดเวลาจากการแปลง warrant ด้วย
“หุ้นคอลเซ็นเตอร์” มองประเด็นว่า ราคาถูก ประเด็นอื่น ไม่มีเลย แต่อาจจะคิดผิดก็ได้ ดูเหมือน Technology เปลี่ยน ทำให้สูญเสียลูกค้าไป เสียรายได้ไปมาก ข้อดีอย่างหนึ่งคือ มีเงินสดอยู่ 400 ล้าน ในขณะที่มาร์เก็ตแคปมี 800 ล้าน แต่จะให้ธุรกิจพลิกกลับมาเร็ว คงยากหน่อย / ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ว่า มีคดีอยู่ระหว่างพิพากษา โดยทาง OTO เป็นคนฟ้องการรถไฟ เรียกเงินชดเชย 75 ล้าน ซึ่งชนะมาแล้ว 2 ศาล เหลือศาลฏีกา คาดว่า ตัดสินจบภายในปีนี้ / อจ กังวลเรื่อง รายได้ลด ถ้าสามารถไปหาช่องทางใหม่ ก็น่าสนใจหน่อย
“หุ้นเครื่องดื่มที่มีผลงานดีรายเดียวใน Q1” ยอดขายในประเทศ คงเอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่สามารถไปขายได้ในต่างประเทศ รายได้ของกิจการค่อนข้างทำนายยาก หาก PE ปัจจุบัน ราว 20 กว่าเท่า กำไรต้องยั่งยืนระดับหนึ่ง ราคาถึงจะยืนได้ ไม่มั่นใจว่า อนาคตกำไรจะยังยั่งยืนต่อหรือไม่
“หุ้นแก๊ส” กำไรไม่ได้ขึ้นกับการขายเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นกับราคาของโพเทรน/บิวเทรน ซึ่งกำหนดโดย ผู้ขายรายใหญ่ที่สุด / ตอนนี้ ราคาโพเทรน/บิวเทรนมีเสถียรภาพ ดังนั้น กำไรที่เกิดขึ้น มาจาก มาร์จิ้น คูณ โวลุ่มการขาย แต่ก็ยากที่จะติดตามโวลุ่มการขายที่ประเทศจีน / ราคาหุ้นลงมามาก แต่ราคาที่ขึ้นไป ก็อาจมาจากกำไรที่ดีเกินจริงก็ได้ / ข้อดีของบริษัทนี้คือ ใจปล้ำในการจ่ายปันผล
“หุ้นธนาคารเล็กไทยผสมไต้หวัน” ได้การอัดฉีดจากกลุ่มทุนไต้หวัน น่าจะเติบโตได้ แต่ต้องใช้เวลาในการปรับจูนหน่อย ได้เงินมา ก็ต้องใช้เวลาในการเอาไปปล่อยกู้ แต่ว่า ไดรูทมาเต็มที่ / กำไรค่อยๆ เพิ่ม
“หุ้นปลวก” กำไรเพิ่มจริง แต่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปไม่รู้เพราะอะไร ก่อนหน้านี้ มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหม่ และมีการปรับโครงสร้างภายในขององค์กรใหม่
รอต่อโพสถัดไปครับ….
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3129
(ต่อ) มีทติ้งภาคใต้ Q1/61
วันนี้ เป็นวันเปิดมหกรรมฟุตบอลโลก ก็ขอโพสเนื้อหาที่เหลือจนจบครับ บวกกับตลาดร่วงกระจายจนเกือบหลุด 1700 จุดเลยทีเดียว
ก็คงต้องดูบอลไปพลางๆ หลังตลาดหุ้นไร้แรงจูงใจ ใครมีเงินสด ก็ช้อนสบายๆ เลยครับ หุหุ / เข้าเนื้อหากันเลยครับ
หุ้นปั้มปีเตอร์ – LPG มาร์จิ้นคงที่ ไม่เหมือนกับน้ำมันที่ไม่คงที่ การขาย LPG ก็ดี Synergy อยู่แล้ว เพราะอยู่ในปั้มเดียวกันกับขายน้ำมัน
หุ้นไฟฟ้าพลังงานน้ำ เขื่อนไชยบุรี (เขื่อนฝายน้ำล้นขนาดใหญ่) กำลังผลิต 1200-1300 MW ถือหุ้นอยู่ราว 37% ก็ประมาณ 400MW อาจคิดว่าไม่เยอะ แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชม. ทั้งปี เพราะมีปริมาณน้ำผ่านตลอดทั้งปี / ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงด้วย
- ปริมาณน้ำ น่ามีมากขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยที่กู้ สมมุติฐานว่า 6% หาก Refinance เป็น 4% ได้ ก็ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง
- Warrant Exercise ที่ 6 บาท
- ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำมาก
- จะซื้อหุ้นที่เกี่ยวข้อง (บริษัทในกลุ่มเดียวกัน) สุดท้าย ก็ได้ผลประโยชน์จากหุ้นไฟฟ้าพลังน้ำเช่นกัน
- ปัจจัยเสี่ยง: เรื่องแผ่นดินไหว / สามารถรับแผ่นดินไหวได้ 7 ริกเตอร์ น่ามีโอกาสน้อยมาก
หุ้นลูกของหุ้นก๊อดจิ ถึงแม้จะมีรายได้จากการถือ หุ้นไฟฟ้าพลังงานน้ำ ก็ตาม ถึงมีนัยยะแต่ก็ไม่มาก เมื่อเทียบกับฐานกำไรของเค้าที่ใหญ่อยู่แล้ว ราคาหุ้นตอนนี้ก็เริ่มสูงแล้ว
คำถามเกี่ยวกับค่าเงินบาทและหุ้นกลุ่มอิเส็คทรอนิค
- หุ้นอิเล็คฯ ยอดขาย เป็น US 100% ต้นทุนก็เป็น US ราว 70-80% ที่เหลือเป็นเงินบาท ดังนั้น Impact จากค่าเงินจะไม่เยอะมาก / ช่วงนี้แย่ คิดว่า ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต
- ต่างกับบริษัทกุ้ง ที่ขาย US แต่ต้นทุน 100% เป็นเงินบาท ก็จะกระทบมากกว่า
คำถาม: หุ้นเสาเข็มใต้ กำลังผลิตเพิ่งใช้ไป 65% และมีการขยายโรงงานที่บ้านบึง กำไร Q1/61 น่าจะโอเค มีความเห็นอย่างไร
คำตอบ: อจ คาดว่า ไม่น่าจะดี แต่งบกลับออกมาดี ผิดคาด แต่เข้าใจว่า รายได้น่าจะมีความผันผวนรายไตรมาส คาดการยากพอสมควร โดยรวมก็ถูก เงินสดเยอะ เมื่อเทียบมาร์เก็ตแคป ปันผลใช้ได้
หุ้นบานาน่า - น่าจะดี แต่ไม่ค่อยมีความรู้เท่าไร ดูแล้วความแน่นอน ค่อนข้างสูง sssg ก็ดี 10% ทุกวันนี้ sssg ขนาดนี้ หายาก และยังมีการเพิ่มสาขาอีก รวมทั้งไปทำธุรกิจกับธนาคารด้วย ดู PE ก็สูง 30x กว่าเท่า / ตราบใดที่โตได้ PE ก็จะค้างอยู่แถวนี้ / สมมุติว่า โต 30% ตลาดไม่ปรับ PE พอปีถัดมา โตอีก 30% ถ้าหากตลาดไม่ปรับ PE ให้ นลท ก็ได้กำไร 30% แต่ถ้าตลาดปรับ PE ให้ ก็จะมีการคูณไปอีก ในทางตรงกันข้าม หากกำไรลด และมีการปรับ PE ลงด้วย ราคาก็ลง
หุ้นกลุ่มนิคมฯ – อจ ไม่ค่อยสนใจเท่าไร EEC อาจมีผลต่อการขายพื้นที่บ้าง แต่น่าจะไม่เท่าไร / อจ ไม่ค่อยได้ตาม อาจจะพลาดไปก็ได้
3D/สาหร่าย/ควาย ราคาลงมามาก แต่ก็ยังสูงมาก หากซื้อตามได้ ก็ควรหนีให้ทัน
หุ้นขวดนม ผบห ขี้โม้ หากเด็กไม่เกิด ก็ไม่รู้ขายใคร ไม่แน่ใจว่า ที่ผ่านมา กำไรอาจมาจากบริษัทลูกหรือไม่ ไม่ได้ติดตามนานแล้ว
หุ้นแอร์ กำไรมาจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง Mitzubishi Consumer Product (ผลิตแอร์) ซึ่งกำไรดีมาก โดย หุ้นแอร์ถือหุ้นอยู่ 10% บันทึกเป็นเงินปันผลที่ได้รับมา ล่าสุด น่าจะได้รับเงินปันผลน้อยลง รอตรวจสอบกับงบของ Mitzubishi ที่จะออกมา
หุ้นอสังหาฯ+พลังงานทดแทนนิดๆ อจ ยังถือหุ้นอยู่ ต้องระวังการขาย Condo ใหม่แถวเอกมัย ที่ไม่ติดรถไฟฟ้า แต่มูลค่าสูงมาก ไม่รู้จะขายได้หรือไม่
หุ้นสื่อนอกบ้าน ซื้อหุ้น BNK48 ได้ประโยชน์อย่างไร
- ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ ระยะสั้น มี synergy ต่อสื่อนอกบ้านอย่างชัดเจน ที่ซื้อเพราะต้องการให้ลูกค้าที่มาซื้อโฆษณาเป็นแพคเกจครบทุก Channel ในระยะยาว ไม่รู้ BNK48 จะอยู่นานขนาดไหน
- อจ : การไปซื้อหุ้น BNK48 35% จ่ายไป 182 ลบ หากเสียหายไป ก็ไม่มีผลมาก เพราะหุ้นสื่อนอกบ้านกำไรค่อนข้างดี / พอมีเหตุมีผล
หุ้นสื่อนอกบ้านอีกตัว ไปซื้อ Kerry จ่ายไปราคา 5 พันล้าน ซื้อแพงไปหรือไม่ มาร์เก็ตแคป Kerry ราว 3 หมื่นล้าน ในขณะที่กำไรเพียง 200-300 ลบ และไม่แน่ใจว่า การไปซื้อ Kerry จะ Synergy กันได้อย่างไร เห็นไม่ชัด
หุ้นอาหารทะเลแช่แข็ง ตอนนี้ มาร์เก็ตแคปราว 3 พัน / ไม่ค่อยแน่ใจในผลประกอบการ / แต่มีการให้ข่าวว่า Q2 จะดี ธุรกิจอาหาร มีตัวแปรเยอะ ก็ไม่ชัวร์เท่าไร / มีการไป Join กับผู้ขายอาหารสุนัขและแมวรายหนึ่ง คล้ายๆ ทำ OEM ให้ ตรงนี้ ก็น่าจะดี
*** จบมีทติ้งภาคใต้ Q1/2561 ***
วันนี้ เป็นวันเปิดมหกรรมฟุตบอลโลก ก็ขอโพสเนื้อหาที่เหลือจนจบครับ บวกกับตลาดร่วงกระจายจนเกือบหลุด 1700 จุดเลยทีเดียว
ก็คงต้องดูบอลไปพลางๆ หลังตลาดหุ้นไร้แรงจูงใจ ใครมีเงินสด ก็ช้อนสบายๆ เลยครับ หุหุ / เข้าเนื้อหากันเลยครับ
หุ้นปั้มปีเตอร์ – LPG มาร์จิ้นคงที่ ไม่เหมือนกับน้ำมันที่ไม่คงที่ การขาย LPG ก็ดี Synergy อยู่แล้ว เพราะอยู่ในปั้มเดียวกันกับขายน้ำมัน
หุ้นไฟฟ้าพลังงานน้ำ เขื่อนไชยบุรี (เขื่อนฝายน้ำล้นขนาดใหญ่) กำลังผลิต 1200-1300 MW ถือหุ้นอยู่ราว 37% ก็ประมาณ 400MW อาจคิดว่าไม่เยอะ แต่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชม. ทั้งปี เพราะมีปริมาณน้ำผ่านตลอดทั้งปี / ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงด้วย
- ปริมาณน้ำ น่ามีมากขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยที่กู้ สมมุติฐานว่า 6% หาก Refinance เป็น 4% ได้ ก็ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยลดลง
- Warrant Exercise ที่ 6 บาท
- ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำมาก
- จะซื้อหุ้นที่เกี่ยวข้อง (บริษัทในกลุ่มเดียวกัน) สุดท้าย ก็ได้ผลประโยชน์จากหุ้นไฟฟ้าพลังน้ำเช่นกัน
- ปัจจัยเสี่ยง: เรื่องแผ่นดินไหว / สามารถรับแผ่นดินไหวได้ 7 ริกเตอร์ น่ามีโอกาสน้อยมาก
หุ้นลูกของหุ้นก๊อดจิ ถึงแม้จะมีรายได้จากการถือ หุ้นไฟฟ้าพลังงานน้ำ ก็ตาม ถึงมีนัยยะแต่ก็ไม่มาก เมื่อเทียบกับฐานกำไรของเค้าที่ใหญ่อยู่แล้ว ราคาหุ้นตอนนี้ก็เริ่มสูงแล้ว
คำถามเกี่ยวกับค่าเงินบาทและหุ้นกลุ่มอิเส็คทรอนิค
- หุ้นอิเล็คฯ ยอดขาย เป็น US 100% ต้นทุนก็เป็น US ราว 70-80% ที่เหลือเป็นเงินบาท ดังนั้น Impact จากค่าเงินจะไม่เยอะมาก / ช่วงนี้แย่ คิดว่า ขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต
- ต่างกับบริษัทกุ้ง ที่ขาย US แต่ต้นทุน 100% เป็นเงินบาท ก็จะกระทบมากกว่า
คำถาม: หุ้นเสาเข็มใต้ กำลังผลิตเพิ่งใช้ไป 65% และมีการขยายโรงงานที่บ้านบึง กำไร Q1/61 น่าจะโอเค มีความเห็นอย่างไร
คำตอบ: อจ คาดว่า ไม่น่าจะดี แต่งบกลับออกมาดี ผิดคาด แต่เข้าใจว่า รายได้น่าจะมีความผันผวนรายไตรมาส คาดการยากพอสมควร โดยรวมก็ถูก เงินสดเยอะ เมื่อเทียบมาร์เก็ตแคป ปันผลใช้ได้
หุ้นบานาน่า - น่าจะดี แต่ไม่ค่อยมีความรู้เท่าไร ดูแล้วความแน่นอน ค่อนข้างสูง sssg ก็ดี 10% ทุกวันนี้ sssg ขนาดนี้ หายาก และยังมีการเพิ่มสาขาอีก รวมทั้งไปทำธุรกิจกับธนาคารด้วย ดู PE ก็สูง 30x กว่าเท่า / ตราบใดที่โตได้ PE ก็จะค้างอยู่แถวนี้ / สมมุติว่า โต 30% ตลาดไม่ปรับ PE พอปีถัดมา โตอีก 30% ถ้าหากตลาดไม่ปรับ PE ให้ นลท ก็ได้กำไร 30% แต่ถ้าตลาดปรับ PE ให้ ก็จะมีการคูณไปอีก ในทางตรงกันข้าม หากกำไรลด และมีการปรับ PE ลงด้วย ราคาก็ลง
หุ้นกลุ่มนิคมฯ – อจ ไม่ค่อยสนใจเท่าไร EEC อาจมีผลต่อการขายพื้นที่บ้าง แต่น่าจะไม่เท่าไร / อจ ไม่ค่อยได้ตาม อาจจะพลาดไปก็ได้
3D/สาหร่าย/ควาย ราคาลงมามาก แต่ก็ยังสูงมาก หากซื้อตามได้ ก็ควรหนีให้ทัน
หุ้นขวดนม ผบห ขี้โม้ หากเด็กไม่เกิด ก็ไม่รู้ขายใคร ไม่แน่ใจว่า ที่ผ่านมา กำไรอาจมาจากบริษัทลูกหรือไม่ ไม่ได้ติดตามนานแล้ว
หุ้นแอร์ กำไรมาจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง Mitzubishi Consumer Product (ผลิตแอร์) ซึ่งกำไรดีมาก โดย หุ้นแอร์ถือหุ้นอยู่ 10% บันทึกเป็นเงินปันผลที่ได้รับมา ล่าสุด น่าจะได้รับเงินปันผลน้อยลง รอตรวจสอบกับงบของ Mitzubishi ที่จะออกมา
หุ้นอสังหาฯ+พลังงานทดแทนนิดๆ อจ ยังถือหุ้นอยู่ ต้องระวังการขาย Condo ใหม่แถวเอกมัย ที่ไม่ติดรถไฟฟ้า แต่มูลค่าสูงมาก ไม่รู้จะขายได้หรือไม่
หุ้นสื่อนอกบ้าน ซื้อหุ้น BNK48 ได้ประโยชน์อย่างไร
- ผู้ร่วมมีทติ้งแชร์ ระยะสั้น มี synergy ต่อสื่อนอกบ้านอย่างชัดเจน ที่ซื้อเพราะต้องการให้ลูกค้าที่มาซื้อโฆษณาเป็นแพคเกจครบทุก Channel ในระยะยาว ไม่รู้ BNK48 จะอยู่นานขนาดไหน
- อจ : การไปซื้อหุ้น BNK48 35% จ่ายไป 182 ลบ หากเสียหายไป ก็ไม่มีผลมาก เพราะหุ้นสื่อนอกบ้านกำไรค่อนข้างดี / พอมีเหตุมีผล
หุ้นสื่อนอกบ้านอีกตัว ไปซื้อ Kerry จ่ายไปราคา 5 พันล้าน ซื้อแพงไปหรือไม่ มาร์เก็ตแคป Kerry ราว 3 หมื่นล้าน ในขณะที่กำไรเพียง 200-300 ลบ และไม่แน่ใจว่า การไปซื้อ Kerry จะ Synergy กันได้อย่างไร เห็นไม่ชัด
หุ้นอาหารทะเลแช่แข็ง ตอนนี้ มาร์เก็ตแคปราว 3 พัน / ไม่ค่อยแน่ใจในผลประกอบการ / แต่มีการให้ข่าวว่า Q2 จะดี ธุรกิจอาหาร มีตัวแปรเยอะ ก็ไม่ชัวร์เท่าไร / มีการไป Join กับผู้ขายอาหารสุนัขและแมวรายหนึ่ง คล้ายๆ ทำ OEM ให้ ตรงนี้ ก็น่าจะดี
*** จบมีทติ้งภาคใต้ Q1/2561 ***
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3130
จบหุ้นไทยของเปี๊ยก มาต่อหุ้นเวียดนาม
บล ฟินันเซีย จัด oppday หุ้นเวียดนามเมื่อเสาร์ที่ผ่านมา
เลยนำมาฝากครับ ข้อมูลจากFB VVInvestor โดย Admin น้องเป้ครับ
เจาะลึกหุ้น VinGroup (VIC) & Vincom Retail (VRE)
.
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาแอดมินได้รับโอกาสร่วมงาน Vietnam Opportunity Day 2018 ที่จัดโดย บล.Finansia Syrus จำกัด ร่วมกับ VN DIRECT
งานครั้งนี้มีบริษัทจดทะเบียมาร่วมหลายบริษัท แต่บริษัทที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยมากอันดับต้นๆ ก็คือ VinGroup (VIC) และ Vincom Retail (VRE) ที่นำเสนอโดย Mr. The Duc Bach (IR Executive)
.
โดยโพสต์นี้ต้องขอบอกว่าแอดมินเป้ และพี่อมร ได้ช่วยกันฟัง แปล สรุปหุ้น 2 ตัวนี้เพื่อมาฝากชาว VVI กันแบบสุดๆ
พร้อมแล้วเชิญอ่านกับสาระดีๆ ของหุ้นยอดฮิต 2 ตัวกันเลยค่ะ
.
Vingroup (VIC)
เป็นบริษัท private holding company ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ดำเนินกิจการใน 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่
1. ที่อยู่อาศัย: Vinhomes (Premium), VinCity (Mid end)
2. เช่าพื้นที่ค้าปลีก: Vincom Retail (VRE) จดทะเบียนในตลาดฯ ปีที่แล้ว ติด 1 ใน 15 บริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม
3. ท่องเที่ยว: VinPearl, สวนสนุก
4. ค้าปลีก: VinMart, VinMart+, Vin Pro, ađâyrồi.com (Vin Eco ส่งสินค้าเข้าไปขายใน Vin Mart และเป็น key tenant ใน Vincom Mall)
5. Social infrastructure: VinSchool, VinMec (6 hospitals เปิดในโครงการ Vinhomes, จะเปิดแห่งที่ 7 เดือนกรกฎา 2018)
- นอกจากนี้กำลังเข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์ Vinfast กำลังสร้างโรงงาน โดยจะออกมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้า (E scooter) ตัวแรก ปี 2018, และจะออกรถยนต์รุ่นแรกปี 2019
- VIC มองตัวเองเป็นตัวแทนของคนเวียดนามรุ่นใหม่ และพยายามจะทำธุรกิจที่ตอบสนองชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อ และเริ่มเติบโต เป็นประเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่สังคมแห่งการบริโภค ดูจากตัวเลข private consumption สูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
- VRE เป็นอีก segment นึงที่พยายามจะพัฒาตัวเองโดยศึกษาต้นแบบจาก Central ของประเทศไทย และจะเดินตามโมเดล ลองดูจากตัวเลข GFA/Capita ของเวียดนาม (0.2) เมื่อเทียบกับของกรุงเทพและมะนิลามองว่ายังมีช่องให้เติบโตอีกมากมาย ตอนนี้มอง VRE เป็นเหมือนกับ Central เมื่อ 10 ปีก่อน แต่ VRE มองว่าตัวเองกำลังอยู่ใน position ที่ดีกว่า Central เนื่องจากมี mkt share ถึง 60% ในขณะที่ไม่มีผู้อันดับสองที่แท้จริง และใน 2 เดือนนี้ เปิดตัวห้างใหม่ไปแล้ว 5 แห่ง และพยายามจะเปิดให้ได้อีก 20 แห่ง ภายใน 2021
- Vinhomes (VHM) เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก VinGroup โครงการในกลุ่มของ Vinhomes มี 2 brands คือ Vinhomes (ขาย Premium) และจะประกาศโครงการ Vin City (ขาย Mid end)ในช่วงหลังของปี จับลูกค้าคนละกลุ่ม โดยราคาขายบ้านของ Vin City จะอยู่ที่ประมาณ 60-70% ของ Vinhomes สาเหตุที่เพิ่ม Vin City เพื่อจับกลุ่ม mid end ซึ่งมีกำลังซื้อสูงมาก เพราะจากข้อมูลที่รวบรวมโดย CBRE, Savills การเข้าถึงที่อยู่ของคนเวียดนามยังต่ำอยู่มากและมีโอกาสในการขยายอีกเยอะ
ที่สำคัญ Vin homes ยังมี land bank มากที่สุด มากกว่าคู่แข่งต่างชาติ รวมทั้งยังเป็นคนสร้าง Ecosystem ครบวงจรใน Community ใส่ทุกอย่างเข้าไปใน Community และในบางโครงการ ก็จะเพิ่มโรงพยาบาลเข้าไปด้วย ทำให้สามารถเพิ่มราคาขายขึ้นไปได้ ตอนนี้มี Vinhomes 36 โครงการที่อยู่อาศัย บนพื้นที่ (ดิน) 160 ล้านตารางเมตร (เป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่ขายได้ 91 ล้านตารางเมตร)
ถ้าดูจากภาพด้านล่าง Segments ที่เป็น drive การเติบโตของประเทศ... Vin group เข้าไปทำธุรกิจ ใน segments เหล่านั้นแล้ว
- VinPearl จะเติบโตล้อไปกับการเติบโตอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเวียดนามเพิ่มสูงสูงขึ้น และเป็นหนึ่งในผู้เล่นอันดับต้นๆในอุตสาหกรรมโรงแรมเช่นกัน ตอนนี้มีประมาณ 7,000 keys (ห้อง) ภายใต้แบรนด์ Vin Pearl 21 แห่งทั่วเวียดนาม (เหนือ กลาง ใต้) และจะเพิ่มจำนวน keys เป็น 2 เท่า ภายใน 3 ปีนี้
- Vincom Retail (VRE) ตอนนี้มี GFA ประมาณ 1.3 ล้านตารางเมตร มี mkt share 60% ในฮานอย และ โฮ จิ มินท์ แต่ถ้ารวมในต่างจังหวัดด้วย mkt share ก็จะเพิ่มขึ้นอีก เพราะไม่มีคู่แข่งรายอื่น VRE มองตัวเองเป็นเหมือนกับ Central เมื่อ 10 ปีก่อน แต่อยู่ใน position ที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นผู้นำตลาด และเป็นแม่เหล็กดึงดูด tenants ต่างชาติมาได้ เช่น Zara, H&M มาเปิดสาขาแรกใน โฮ จิ มินท์ปี 2016 (Zara) และขยายไปเปิดสาขาที่ฮานอย หลังจากนั้น
จบไตรมาสแรก 2018 มี 46 shopping malls, ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เปิดห้างใหม่ 5 แห่ง รวมเป็น 51 แห่ง โดยตั้งใจจะเปิดอีก 20 ห้าง ภายใน 2021
ผบห. Vin group พยายามจะใช้ international standards ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกสินค้าสดเข้า Vin Mart หรือแม้แต่ Vinfast เองก็ดึง Executive President ที่ทำงานให้ GM มา 30 ปี, รวมทั้งให้ Bosch มาช่วยเรื่องงานโรงงาน และรถ
---
Q&A Vingroup (VIC)
Q: The cross holding structure between SDI and VIC why SCI holds, VRE, Vin Commerce, Vin ECO, etc instead of fully owned by VIC?
A: SDI เคยเป็น developer เหมือน Vinhomes และพวก Vin projects และการที่ VIC ให้ SDI ถือหุ้นพวก VRE, Vin Commerce, Vin ECO ก็เป็น strategic อย่างนึง ในการ maximize profit (ทางด้าน Ownership & Capital structure) และใน Q1/2018 ได้ให้ SDI ขาย ownership ใน Vin Commerce กลับคืนมาที่ VIC เพื่อให้ผลประโยชน์สูงสุดแก่ ผถห ของ SDI เนื่องจากว่าในปัจจุบัน Vin Commerce ยังไม่ทำกำไร
Q: แผนการในอนาคตกับการจัดการ business units ภายใต้ SDI ?
A: SDI จะยังคงมี position Ownership ของ VRE ส่วน Vin Eco นั้น ในปัจจุบัน SDI ถือเป็น holding company ของ Vin Eco ซึ่งกำลังขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีแผนการเปลี่ยนแปลง Ownership ของ SDI ใน Vin Eco
Q: SDI และ VHM มีการดำเนินธุรกิจที่ซ้ำซ้อนกัน มีแผนจะรวมกันมั้ย?
A: ไม่มีแผนจะรวม แต่มีแผนจะเปลี่ยน SDI เป็น pure holding หรือ financial development company แต่ไม่มีแผนจะขยายการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ SDI และจะให้ VHM รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการและพัฒนาอสังหาของกลุ่ม Vin Group เท่านั้น
Q: ทำไม retail เจ้าอื่นถึงไม่ประสบความสำเร็จในการเข้ามาทำธุรกิจในเวียดนาม
A: ผมคิดว่าคุณหมายถึง Parkson ที่ปิดกิจการไป ผมมองว่า Business model ของ Parkson ไม่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคนเวียดนาม ซึ่งมันเป็นโมเดลเดียวกับที่ Lotte กำลังใช้อยู่เช่นกัน แต่คนเวียดนามไม่ได้ต้องการห้างเอาไว้เดินช้อปปิ้งอย่างเดียว แต่มองหาสถานที่ ที่ทำกิจการนู่น นี่ ที่สามารถใช้เวลาได้ทั้งวัน นอกจากนี้การเลือกโลเคชั่นของ Parkson ก็ไม่ได้เลือกอย่างระมัดระวัง ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ใน Landmark 72 (เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในโซนตะวันตกของฮานอย) แต่พอโครงการเปิดตัวออกมา ก็ไม่ได้ปังอะไร เงียบเหงา เหมือนกับมันเร็วไปที่จะไปเปิดห้างที่โครงการนั้น เพราะ infrastructure โดยรอบก็ยังไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา
ส่วนของ Vincom Mall เค้าพยายามพัฒนาให้เป็นมากกว่าที่ช้อปปิ้ง จะพยายามให้เป็น aspiration center กับคนรุ่นใหม่ อยากให้เค้ามอง Vincom center เป็น cinema city, อย่างบางแห่งเปิด indoor ice skating ring, หรือมี indoor aquarium ตอนนี้กำลังเลือกอยู่ว่าที่ไหน จะ integrated อะไรเข้าไป โดยสรุปก็พยายามจะ set up Vincom mall ให้เป็น destination ของคนในพื้นที่
Q: มอง Retail sector กับการเข้ามาของ E-Market อย่างไร?
A: ถ้าคุณมองเข้ามาจากประเทศที่พัฒนามากกว่าเวียดนามอย่างเช่น อเมริกา หรือไทย ที่เห็นว่าห้างสรรพสินค้า เริ่มปิดตัวลง เพราะคนหันไปซื้อออนไลน์ แต่สำหรับเวียดนามแล้ว บางอย่างเทียบกันไม่ได้ banking infrastructure ของเวียดนามก็ยังไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ สังคมเวียดนามจึงยังเป็นสังคมที่ใช้เงินสดในการซื้อขาย และการซื้อของออนไลน์นั้น ชาวเวียดนามยังคงกังวลเกี่ยวกับ origin ของสินค้าเช่นกัน และยังคงมีสินค้าหลายรายการที่คุณไม่สามารถซื้อออนไลน์ได้ แต่ต้องออกไปดูของจริงถึงจะตัดสินใจซื้อ ทำให้เค้ามองว่า E-commerce เป็นเพียง complementary marketing channel มากกว่าช่องทางหลัก และทาง Vin group เองก็ทำงานร่วมกับทีม ađâyrồi.com และ tenants เพื่อเก็บข้อมูล และดูว่าควรจะใส่สินค้ารายการไหนเข้าไปขายออนไลน์
Q: Describe current real estate market situation (both premium for Vin Homes and Mid end for Vin City), any sign of saturation in both markets?
A: ผมคิดว่าได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว จากข้อมูลที่รวบรวมโดย CBRE, Savills ในเวียดนามยังมีความต้องการที่อยู่อาศัย อย่างในโฮ จิ มินท์ ฮานอย ตอนนี้มีการบริโภคไปได้ประมาณ 60% ของ home segment แต่ถ้าไม่นับตัวเลขของ luxury units ซึ่งคิดเป็นประมาณ 20% จะพบว่ามีการขายออกไปได้ประมาณ 50,000 units/ปี และถ้าเอาตัวเลขนี้มาเทียบกับความต้องการที่เค้าคาดว่าจะมีถึง 800,000 units/ปี คิดว่ายังมีการเติบโตต่อ คือยังไม่คิดว่าตลาดอสังหาอิ่มตัวในตอนนี้ ที่สำคัญเค้าไม่ได้ขายแค่บ้าน แต่ขาย community
Q: มีแผนที่จะนำ grocery chain หรือ hotel subsidiaries เข้าจดทะเบียนมั้ย?
A: ตอนนี้ยังไม่มีแผน สิ่งที่สำคัญคือต้องให้โปรเจคมันยืนได้ด้วยตัวองก่อนสัก 2 ปี ตอนนี้ยังเป็นช่วงขยายงานและให้ผลการดำเนินงานมันเสถียรก่อน
Q: การเข้ามาของ Alibaba, Lazada ?
A: ตอนนี้มองว่า ađâyrồi.com ที่ทำอยู่เป็น market maker มันก็จริงอยู่ที่คู่แข่งรายใหญ่เข้ามาเวียดนาม มองว่าก็เป็นสิทธิ์ของเค้าที่จะเข้ามา แต่โมเดลการทำธุรกิจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ตอนนี้ Alibaba, Lazada ก็พยายามดำเนินธุรกิจเพื่อที่จะรักษา mkt share ซึ่งไม่ใช่แนวที่ ađâyrồi.com จะทำ เพราะเค้าตั้งเป้าที่จะดึงลูกค้าด้วย royalty program ที่ในปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 4 ล้านคน และจะให้ส่วนลดกับสมาชิก
Q: outlook for margin expansion of property section? % of land, labor and material cost from total?
A: ตอนนี้พยายามรักษาระดับ gross margin 40-50% for low rise, 30-35% for high rise และในอนาคตคิดว่ายังจะสามารถระดับแบบนี้ได้อยู่ Land + construction cost = 20-25% of total cost ส่วนตัวเลขอื่น ไม่มีรายละเอียดตอนนี้
Q: มีแผนในการขยายกิจการ healthcare หรือไม่ ?
A: ตอนนี้มีโรงพยาบาล 6 แห่ง โดยทุกแห่งอยู่ในพื้นที่โครงการ Vinhomes หรือใกล้เคียง และจะเปิดแห่งที่ 7 เดือนหน้า โดยแผนคือ พยายามจะเปิดโรงพยาบาล 10 แห่ง ทั่วประเทศ ภายใน 2020 ก็ยังอยู่ตามแผน
Q: For automobile segment , what is your key competitive advantage to compete with Japanese or Korea brands ? Future of Vinfast? Support from the Government?
A: ในตลาดตลาดเวียดนามตอนนี้คนชอบรถ CBU (complete Built Unit) แต่ Vinfast พยายามจะทำรถเวียดนามด้วยคุณภาพต่างชาติ ในราคาที่เข้าถึงได้ และอนาคตของ Vinfast ค่อนข้างสดใสในตอนนี้ ทุกคนคาดหวังว่าเราจำรถที่มีคุณภาพที่ดี ในราคาถูก ในปีนี้จะเปิดตัว E-scooter ซึ่งตลาดมอเตอร์ไซต์ของเวียดนามค่อนข้างกระจาย ไม่ได้มีผู้ชนะที่โดดเด่น อย่างตัว E-scooter ได้พัฒนาโดยยืดอายุของแบตเตอรี่ให้ใช้ได้ถึง 80 km/charge 1 ครั้ง (จากเฉลี่ย 50 km) และแบตเอตรี่เหล่านี้ก็สามารถซื้อได้ที่ VinMart+
และรัฐบาลก็ออก Decree เกี่ยวกับการนำเข้ารถที่เอื้อต่อการผลิตรถในประเทศ
Q: เป้าหมายในการเปิด VinMart+ ใน ปี 2018-2019?
A: ประมาณ 600-700 สาขา/ปี
Q: VinMart อยู่ในกลุ่มไหน?
A: VinMart อยู่ Vin Commerce (ไม่ได้อยู่ใน Vincom Retail)
-------
มาต่อกันที่หุ้นตัวที่สองที่ฮิตไม่แพ้กันค่ะ
Vincom Retail (VRE)
-ในด้านของ VRE เป็น retail developer ที่ใหญ่ที่สุด และโตเร็วที่สุดในเวียดนาม ศึกษา Business model จาก CPN ของไทย และเดินตาม มองว่า VRE เป็นเหมือน CPN เมื่อ 10-20 ปีก่อน เป็นตัวหลักตัวนึงใน Vingroup Ecosystem รวมทั้งตั้งอยู่ในทำเล prime ไม่เพียงแต่ในโฮ จิ มินท์, ฮานอย แต่ยังในจังหวัดอื่นๆ ทั่วเวียดนาม ทำให้ไม่มีคู่แข่งรายอื่นเข้ามาทำได้
-Vincom retail เป็นแบรนด์ในกลุ่มแรกๆ ที่ทาง Vin Group ได้พัฒนาขึ้นมา ถึงจะดูเหมือนว่า Vincom Retail เริ่มจดทะเบียนกิจการจริงจังในปี 2012 แต่จริงๆแล้วเริ่มเปิด retail mall เป็นแห่งแรกของเวียดนาม ตั้งแต่ปี2004 เรียกว่า Vincom Center Batrieu คือมีประสบการณ์ในการดำเนินการมากว่า 15 ปี แล้ว หลังจากที่ประสบความสำเร็จใน ฮานอย จึงขยายสาขามาที่โฮ จิ มินท์ในปี 2010
-2013 Warburg Pincus – Private investment มาร่วมลงขัน US$ 200 million ที่นอกจากจะได้เงินมาลงทุนเพิ่มแล้ว ยังได้สไตล์การบริหารจัดการแบบ Corporate มาด้วย
-2015 เริ่มทำ Vincom Mega Mall ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดที่กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ ซึ่งจะไปสร้างในทำเลที่เป็น key and large integrated residential areas ซึ่งโดยปกติก็จะมีโครงการของ Vin homes อยู่แถวนั้นด้วย
-นอกจากนี้ยังทำ Vincom plaza ที่ไปสร้างอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่นพื้นที่ prime location จังหวัดที่เป็น tier 2, tier 3 ด้วย
-ปี 2017 พบว่าพร้อมแล้วที่จะ spin off VRE ออกมากจดทะเบียนในตลาด HOSE เมื่อ พย 2017 ตอนนี้น่าจะมี mkt capitalization US$ 4 billion ติดอันดับ 1/15 ของบริษัทที่มี mkt cap สูงในตลาดเวียดนาม
-ในปี 2016-2017 ได้รับข่าวดีจาก Zara, H&M ที่เค้าไปเทสตลาดอยู่หลายแห่งในเวียดนาม และสุดท้ายเลือกที่จะมาเปิดสาขากับเครือของ Vincom Retail หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเปิดสาขาแรกที่ โฮ จิ มินท์ และต่อมาขยายไปที่ฮานอย ตอนนี้ทาง H&M กำลังพิจารณษเปิดสาขาใน Vincom Mega Mall
-CARG 2014-17 Leasing revenue 32.4%, GFA 34.1%
-มองตลาดค้าปลีกของเวียดนามว่ากำลังโตขึ้น แม้แต่ Central group ก็มาเปิด department store เป็น tenants ใน Vincom Mega Mall
Key success factors:
1. เป็น proxy ที่เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจของเวียดนาม
2. การเติบโตการค้าปลีกของเวียดนาม ยังไม่ค่อยเข้าถึง (under penetrated)
3. เวียดนามมี 63 จังหวัด แต่เปิดห้างไปเพียง 30-40 จังหวัด ยังมองว่ามีโอกาสในการเติบโตอีกมาก
Key investment Highlights
1. Vietnam at a Favorable Economic and Consumption inflection point.
คนรายได้ปานกลางของเวียดนามเติบโต 18%มากกว่าประเทศในอาเซียน
2. Huge Potential for Further Expansion in Vietnam’s Retail Space.
Shopping mall และ modern grocery retail/total grocery
ที่เวียดนามยังต่ำเมื่อเทียบกับไทยและฟิลิปปินส์
3. Multi Format Model covers a larger market opportunity.
Vincom มีsegmentที่ครอบคลุมกลุ่มคนที่รายได้แตกต่างกันได้หมด
• Vincom center : รองรับกลุ่มรายได้ Above US $20,000 /ปี
• Vincom Mega mall : รองรับกลุ่มรายได้ระหว่าง US $ 5,000-20,000 /ปี
• Vincom Plaza : รองรับกลุ่มรายได้ระหว่าง US $ 3,000 – 10,000 /ปี
• Vincom+ : รองรับกลุ่มรายได้ไม่เกิน US $ 3,000 /ปี
4. Ability to leverage the Best in Country Vingroup Ecosystem.
Performance 1Q18
• รายรับจากการเช่าพื้นที่ เพิ่มขึ้น 18.9% YoY
• GP เพิ่มขึ้น 7.4% YoY
• Leasing NOI เพิ่มขึ้น 23% YoY
• EBITDA เพิ่มขึ้น 16.1% YoY
อัพเดท ผู้เช่ากันหน่อย สำหรับ 2017 and Q1 2018
• ตอนนี้กำลังรีวิว และ Repositioning , re-tenanting และลองใช้ new concepts สำหรับห้างแต่ละประเภท
o In order to attract footfall from adolescences.
• Applying new technology in counting footfall in order to effectively co-ordinate with
o Tenants during daily operation.
o Tenant Mix Comparison
o Fashion : 24% , Food & Beverage : 27% , Hypermarket / supermarket 16%
o Entertainment : 18%
- มองว่า Infrastructure ต่างๆของเวียดนามยังไม่พร้อมเท่ากับที่ประเทศไทยมี ยกตัวอย่างเช่นรถไฟฟ้าสายแรก ที่คาดว่าจะสร้างเสร็จเร็วๆนี้ ถ้าเกิดว่าสร้างเสร็จแล้วก็สามารถเพิ่ม traffic ของคนที่จะมาเดินห้างได้อีก เพราะห้างก็ตั้งอยู่ใกล้ๆกับสถานีรถไฟฟ้า
---
Q&A Vincom Retail (VRE)
Q: ตอนนี้เร่งขยายห้างเยอะมาก จะมั่นใจได้อย่างไรว่าห้างที่ไปลงในแต่ละจังหวัดจะประสบความสำเร็จ รวมทั้งเลือก tenants อย่างไรในการลงไปในห้างและละแห่ง โดยเฉพาะสาขาต่างจังหวัด ?
A: มี tenants ประมาณ 1,000 ราย และประมาณ 30% เป็น chain tenants ถ้าวางแผนจะเปิดห้างใหม่ที่ไหน จะให้ tenants เลือกก่อนว่าจะลงมั้ย และให้ส่ง proposal มาให้ VRE พิจารณา เนื่องจากมีห้างอยู่ 51 แห่ง ใน 28 จังหวัด จะเริ่มเห็น consumption pattern จากโซนจังหวัดต่างๆ ก่อนเปิดก็ไปศึกษาพฤติกรรม แต่ส่วนใหญ่เป็น standard mall format และถ้ามองแล้วไม่น่าจะประสบความสำเร็จ ก็จะชะลอการเปิดสาขาออกไปก่อน โดยทั่วไปร้านค้าที่จะไปลงในห้างสาขาต่างจังหวัดอย่างให้เป็นแบรนด์ท้องถิ่นก่อน โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า fashion, รองมาเป็น F&B และ entertainment
โดยส่วนมาก จะปล่อยให้ other tenants เช่าพื้นที่ชั้น 1 และ 2 ของ Vincom plaza Vincom Plus ในสาขาต่างจังหวัด
Q: ค่าเช่าพื้นที่โดยเฉลี่ย? และคาดการณ์การเติบโตในอีก 3 ปีข้างหน้าอย่างไร?
A: แตกต่างกันในแต่ละ format
• Vincom center US$ 45-50/sq.m./เดือน
• Vincom Mega mall US$ 20-25/sq.m./เดือน
• Vincom Plaza US$ 15-20/sq.m./เดือน
• Vincom Plus US$ 8-10/sq.m./เดือน
ปกติในแต่ละปี พยายามเพิ่มพื้นที่ GFA ประมาณ 200,000-300,000 sq.m. /ปี ของ Vincom Plaza และ Vincom Plus อยู่แล้ว คือประมาณ 20% ซึ่งก็จะเพิ่มพื้นที่เช่าไปตามนี้
Q: มีแผนจะสู้กับคู่แข่งแบบ Takashiyama (Dict. 1) อย่างไรบ้าง?
A: Takashiyama (Dict. 1) เค้าก็ทำได้ดีอยู่แล้ว และในพื้นที่นี้ ก็ไม่มีการแข่งขันที่รุนแรงอยู่แล้ว โมเดลในการทำธุรกิจก็แตกต่างจาก Takashiyama เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีความคล้ายกับ Vincom Center อยู่บ้างแต่เราเน้น mid end มากกว่า รวมทั้งมีโรงหนังด้วย นอกจากนี้พื้นที่ F&B ของ Takashiyama ดูจะมีความน่าสนใจน้อยกว่า
Q: ทำไม Occupancy rate ตกลงจาก 93%>>88% ใน Q1/2018
A: เพราะเพิ่มพื้นที่จากการขยายสาขา และมีการรีวิว performance Tenants ปกติในการเปิดสาขาจะเวลาประมาณ 1 ปี ถึงจะเริ่มเข้าใกล้จุดคุ้มทุน แต่กว่าจะเสถียรก็ใช้เวลา 3-5 ปี
Q: จากจำนวน 46 กว่าห้าง แบ่งเป็น leasehold, freehold เท่าไรบ้าง?
A: กฎหมายการใช้ที่ดินของเวียดนาม ยอมให้เป็น leasehold title เท่านั้นสำหรับการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ แต่ที่ดินสำหรับการอยู่อาศัยสามารถเป็น freehold title ได้
Q: ระยะเวลาของสัญญากับ แต่ละครั้งยาวแค่ไหน? รีวิวต่อสัญญาบ่อยแค่ไหน?
A: มาตรฐานสัญญาเช่าพื้นที่อยู่ที่ 3 ปี แต่บางรายที่เป็น key tenants ก็เซ็นต์ระยะยาวเป็น 15-20 ปี เช่นกับ Vin Mart ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ
Q: ทำไม Gross margin Q1/2018 ถึงลดลงเมื่อเทียบกับ Q1/2017?
A: ปีที่แล้วมีรายรับจากการขายสินทรัพย์ที่ได้ margin ค่อนข้างสูงประมาณ 50%
Q: SDI มีแนวโน้มที่จะขาย หุ้น VRE คืนให้กลับ Vin group เหมือนกับที่ทำกับ Vin Commerce มั้ย?
A: SDI จัดเป็น special purposes vehicle ที่พร้อมจะถูก restructure เพราะตอนนี้กำลังทำ asset allocation ภายใน vin group
---
ขอขอบคุณ
- บริษัท Finansia Syrus Securities และ VN Direct สำหรับการจัดงานที่น่าประทับใจในครั้งนี้
- Mr. The Duc Bach (IR Executive) สำหรับการนำเสนอและตอบคำถามนักลงทุนเกี่ยวกับบริษัท VinGroup (VIC) และ Vincom Retail (VRE) ที่นำเสนอโดย
- แอดมินเป้ และพี่อมร Seminar knowledge by Amorn สำหรับเลชเชอร์ที่เข้มข้นมาก
บล ฟินันเซีย จัด oppday หุ้นเวียดนามเมื่อเสาร์ที่ผ่านมา
เลยนำมาฝากครับ ข้อมูลจากFB VVInvestor โดย Admin น้องเป้ครับ
เจาะลึกหุ้น VinGroup (VIC) & Vincom Retail (VRE)
.
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาแอดมินได้รับโอกาสร่วมงาน Vietnam Opportunity Day 2018 ที่จัดโดย บล.Finansia Syrus จำกัด ร่วมกับ VN DIRECT
งานครั้งนี้มีบริษัทจดทะเบียมาร่วมหลายบริษัท แต่บริษัทที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยมากอันดับต้นๆ ก็คือ VinGroup (VIC) และ Vincom Retail (VRE) ที่นำเสนอโดย Mr. The Duc Bach (IR Executive)
.
โดยโพสต์นี้ต้องขอบอกว่าแอดมินเป้ และพี่อมร ได้ช่วยกันฟัง แปล สรุปหุ้น 2 ตัวนี้เพื่อมาฝากชาว VVI กันแบบสุดๆ
พร้อมแล้วเชิญอ่านกับสาระดีๆ ของหุ้นยอดฮิต 2 ตัวกันเลยค่ะ
.
Vingroup (VIC)
เป็นบริษัท private holding company ที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ดำเนินกิจการใน 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่
1. ที่อยู่อาศัย: Vinhomes (Premium), VinCity (Mid end)
2. เช่าพื้นที่ค้าปลีก: Vincom Retail (VRE) จดทะเบียนในตลาดฯ ปีที่แล้ว ติด 1 ใน 15 บริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม
3. ท่องเที่ยว: VinPearl, สวนสนุก
4. ค้าปลีก: VinMart, VinMart+, Vin Pro, ađâyrồi.com (Vin Eco ส่งสินค้าเข้าไปขายใน Vin Mart และเป็น key tenant ใน Vincom Mall)
5. Social infrastructure: VinSchool, VinMec (6 hospitals เปิดในโครงการ Vinhomes, จะเปิดแห่งที่ 7 เดือนกรกฎา 2018)
- นอกจากนี้กำลังเข้ามาในอุตสาหกรรมยานยนต์ Vinfast กำลังสร้างโรงงาน โดยจะออกมอเตอร์ไซต์ไฟฟ้า (E scooter) ตัวแรก ปี 2018, และจะออกรถยนต์รุ่นแรกปี 2019
- VIC มองตัวเองเป็นตัวแทนของคนเวียดนามรุ่นใหม่ และพยายามจะทำธุรกิจที่ตอบสนองชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อ และเริ่มเติบโต เป็นประเทศที่กำลังเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่สังคมแห่งการบริโภค ดูจากตัวเลข private consumption สูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
- VRE เป็นอีก segment นึงที่พยายามจะพัฒาตัวเองโดยศึกษาต้นแบบจาก Central ของประเทศไทย และจะเดินตามโมเดล ลองดูจากตัวเลข GFA/Capita ของเวียดนาม (0.2) เมื่อเทียบกับของกรุงเทพและมะนิลามองว่ายังมีช่องให้เติบโตอีกมากมาย ตอนนี้มอง VRE เป็นเหมือนกับ Central เมื่อ 10 ปีก่อน แต่ VRE มองว่าตัวเองกำลังอยู่ใน position ที่ดีกว่า Central เนื่องจากมี mkt share ถึง 60% ในขณะที่ไม่มีผู้อันดับสองที่แท้จริง และใน 2 เดือนนี้ เปิดตัวห้างใหม่ไปแล้ว 5 แห่ง และพยายามจะเปิดให้ได้อีก 20 แห่ง ภายใน 2021
- Vinhomes (VHM) เป็นบริษัทจดทะเบียนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก VinGroup โครงการในกลุ่มของ Vinhomes มี 2 brands คือ Vinhomes (ขาย Premium) และจะประกาศโครงการ Vin City (ขาย Mid end)ในช่วงหลังของปี จับลูกค้าคนละกลุ่ม โดยราคาขายบ้านของ Vin City จะอยู่ที่ประมาณ 60-70% ของ Vinhomes สาเหตุที่เพิ่ม Vin City เพื่อจับกลุ่ม mid end ซึ่งมีกำลังซื้อสูงมาก เพราะจากข้อมูลที่รวบรวมโดย CBRE, Savills การเข้าถึงที่อยู่ของคนเวียดนามยังต่ำอยู่มากและมีโอกาสในการขยายอีกเยอะ
ที่สำคัญ Vin homes ยังมี land bank มากที่สุด มากกว่าคู่แข่งต่างชาติ รวมทั้งยังเป็นคนสร้าง Ecosystem ครบวงจรใน Community ใส่ทุกอย่างเข้าไปใน Community และในบางโครงการ ก็จะเพิ่มโรงพยาบาลเข้าไปด้วย ทำให้สามารถเพิ่มราคาขายขึ้นไปได้ ตอนนี้มี Vinhomes 36 โครงการที่อยู่อาศัย บนพื้นที่ (ดิน) 160 ล้านตารางเมตร (เป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่ขายได้ 91 ล้านตารางเมตร)
ถ้าดูจากภาพด้านล่าง Segments ที่เป็น drive การเติบโตของประเทศ... Vin group เข้าไปทำธุรกิจ ใน segments เหล่านั้นแล้ว
- VinPearl จะเติบโตล้อไปกับการเติบโตอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเวียดนามเพิ่มสูงสูงขึ้น และเป็นหนึ่งในผู้เล่นอันดับต้นๆในอุตสาหกรรมโรงแรมเช่นกัน ตอนนี้มีประมาณ 7,000 keys (ห้อง) ภายใต้แบรนด์ Vin Pearl 21 แห่งทั่วเวียดนาม (เหนือ กลาง ใต้) และจะเพิ่มจำนวน keys เป็น 2 เท่า ภายใน 3 ปีนี้
- Vincom Retail (VRE) ตอนนี้มี GFA ประมาณ 1.3 ล้านตารางเมตร มี mkt share 60% ในฮานอย และ โฮ จิ มินท์ แต่ถ้ารวมในต่างจังหวัดด้วย mkt share ก็จะเพิ่มขึ้นอีก เพราะไม่มีคู่แข่งรายอื่น VRE มองตัวเองเป็นเหมือนกับ Central เมื่อ 10 ปีก่อน แต่อยู่ใน position ที่ดีกว่า เนื่องจากเป็นผู้นำตลาด และเป็นแม่เหล็กดึงดูด tenants ต่างชาติมาได้ เช่น Zara, H&M มาเปิดสาขาแรกใน โฮ จิ มินท์ปี 2016 (Zara) และขยายไปเปิดสาขาที่ฮานอย หลังจากนั้น
จบไตรมาสแรก 2018 มี 46 shopping malls, ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา เปิดห้างใหม่ 5 แห่ง รวมเป็น 51 แห่ง โดยตั้งใจจะเปิดอีก 20 ห้าง ภายใน 2021
ผบห. Vin group พยายามจะใช้ international standards ในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกสินค้าสดเข้า Vin Mart หรือแม้แต่ Vinfast เองก็ดึง Executive President ที่ทำงานให้ GM มา 30 ปี, รวมทั้งให้ Bosch มาช่วยเรื่องงานโรงงาน และรถ
---
Q&A Vingroup (VIC)
Q: The cross holding structure between SDI and VIC why SCI holds, VRE, Vin Commerce, Vin ECO, etc instead of fully owned by VIC?
A: SDI เคยเป็น developer เหมือน Vinhomes และพวก Vin projects และการที่ VIC ให้ SDI ถือหุ้นพวก VRE, Vin Commerce, Vin ECO ก็เป็น strategic อย่างนึง ในการ maximize profit (ทางด้าน Ownership & Capital structure) และใน Q1/2018 ได้ให้ SDI ขาย ownership ใน Vin Commerce กลับคืนมาที่ VIC เพื่อให้ผลประโยชน์สูงสุดแก่ ผถห ของ SDI เนื่องจากว่าในปัจจุบัน Vin Commerce ยังไม่ทำกำไร
Q: แผนการในอนาคตกับการจัดการ business units ภายใต้ SDI ?
A: SDI จะยังคงมี position Ownership ของ VRE ส่วน Vin Eco นั้น ในปัจจุบัน SDI ถือเป็น holding company ของ Vin Eco ซึ่งกำลังขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง ยังไม่มีแผนการเปลี่ยนแปลง Ownership ของ SDI ใน Vin Eco
Q: SDI และ VHM มีการดำเนินธุรกิจที่ซ้ำซ้อนกัน มีแผนจะรวมกันมั้ย?
A: ไม่มีแผนจะรวม แต่มีแผนจะเปลี่ยน SDI เป็น pure holding หรือ financial development company แต่ไม่มีแผนจะขยายการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ SDI และจะให้ VHM รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการและพัฒนาอสังหาของกลุ่ม Vin Group เท่านั้น
Q: ทำไม retail เจ้าอื่นถึงไม่ประสบความสำเร็จในการเข้ามาทำธุรกิจในเวียดนาม
A: ผมคิดว่าคุณหมายถึง Parkson ที่ปิดกิจการไป ผมมองว่า Business model ของ Parkson ไม่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของคนเวียดนาม ซึ่งมันเป็นโมเดลเดียวกับที่ Lotte กำลังใช้อยู่เช่นกัน แต่คนเวียดนามไม่ได้ต้องการห้างเอาไว้เดินช้อปปิ้งอย่างเดียว แต่มองหาสถานที่ ที่ทำกิจการนู่น นี่ ที่สามารถใช้เวลาได้ทั้งวัน นอกจากนี้การเลือกโลเคชั่นของ Parkson ก็ไม่ได้เลือกอย่างระมัดระวัง ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ใน Landmark 72 (เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาในโซนตะวันตกของฮานอย) แต่พอโครงการเปิดตัวออกมา ก็ไม่ได้ปังอะไร เงียบเหงา เหมือนกับมันเร็วไปที่จะไปเปิดห้างที่โครงการนั้น เพราะ infrastructure โดยรอบก็ยังไม่ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา
ส่วนของ Vincom Mall เค้าพยายามพัฒนาให้เป็นมากกว่าที่ช้อปปิ้ง จะพยายามให้เป็น aspiration center กับคนรุ่นใหม่ อยากให้เค้ามอง Vincom center เป็น cinema city, อย่างบางแห่งเปิด indoor ice skating ring, หรือมี indoor aquarium ตอนนี้กำลังเลือกอยู่ว่าที่ไหน จะ integrated อะไรเข้าไป โดยสรุปก็พยายามจะ set up Vincom mall ให้เป็น destination ของคนในพื้นที่
Q: มอง Retail sector กับการเข้ามาของ E-Market อย่างไร?
A: ถ้าคุณมองเข้ามาจากประเทศที่พัฒนามากกว่าเวียดนามอย่างเช่น อเมริกา หรือไทย ที่เห็นว่าห้างสรรพสินค้า เริ่มปิดตัวลง เพราะคนหันไปซื้อออนไลน์ แต่สำหรับเวียดนามแล้ว บางอย่างเทียบกันไม่ได้ banking infrastructure ของเวียดนามก็ยังไม่ได้พัฒนาอย่างเต็มที่ สังคมเวียดนามจึงยังเป็นสังคมที่ใช้เงินสดในการซื้อขาย และการซื้อของออนไลน์นั้น ชาวเวียดนามยังคงกังวลเกี่ยวกับ origin ของสินค้าเช่นกัน และยังคงมีสินค้าหลายรายการที่คุณไม่สามารถซื้อออนไลน์ได้ แต่ต้องออกไปดูของจริงถึงจะตัดสินใจซื้อ ทำให้เค้ามองว่า E-commerce เป็นเพียง complementary marketing channel มากกว่าช่องทางหลัก และทาง Vin group เองก็ทำงานร่วมกับทีม ađâyrồi.com และ tenants เพื่อเก็บข้อมูล และดูว่าควรจะใส่สินค้ารายการไหนเข้าไปขายออนไลน์
Q: Describe current real estate market situation (both premium for Vin Homes and Mid end for Vin City), any sign of saturation in both markets?
A: ผมคิดว่าได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว จากข้อมูลที่รวบรวมโดย CBRE, Savills ในเวียดนามยังมีความต้องการที่อยู่อาศัย อย่างในโฮ จิ มินท์ ฮานอย ตอนนี้มีการบริโภคไปได้ประมาณ 60% ของ home segment แต่ถ้าไม่นับตัวเลขของ luxury units ซึ่งคิดเป็นประมาณ 20% จะพบว่ามีการขายออกไปได้ประมาณ 50,000 units/ปี และถ้าเอาตัวเลขนี้มาเทียบกับความต้องการที่เค้าคาดว่าจะมีถึง 800,000 units/ปี คิดว่ายังมีการเติบโตต่อ คือยังไม่คิดว่าตลาดอสังหาอิ่มตัวในตอนนี้ ที่สำคัญเค้าไม่ได้ขายแค่บ้าน แต่ขาย community
Q: มีแผนที่จะนำ grocery chain หรือ hotel subsidiaries เข้าจดทะเบียนมั้ย?
A: ตอนนี้ยังไม่มีแผน สิ่งที่สำคัญคือต้องให้โปรเจคมันยืนได้ด้วยตัวองก่อนสัก 2 ปี ตอนนี้ยังเป็นช่วงขยายงานและให้ผลการดำเนินงานมันเสถียรก่อน
Q: การเข้ามาของ Alibaba, Lazada ?
A: ตอนนี้มองว่า ađâyrồi.com ที่ทำอยู่เป็น market maker มันก็จริงอยู่ที่คู่แข่งรายใหญ่เข้ามาเวียดนาม มองว่าก็เป็นสิทธิ์ของเค้าที่จะเข้ามา แต่โมเดลการทำธุรกิจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ตอนนี้ Alibaba, Lazada ก็พยายามดำเนินธุรกิจเพื่อที่จะรักษา mkt share ซึ่งไม่ใช่แนวที่ ađâyrồi.com จะทำ เพราะเค้าตั้งเป้าที่จะดึงลูกค้าด้วย royalty program ที่ในปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 4 ล้านคน และจะให้ส่วนลดกับสมาชิก
Q: outlook for margin expansion of property section? % of land, labor and material cost from total?
A: ตอนนี้พยายามรักษาระดับ gross margin 40-50% for low rise, 30-35% for high rise และในอนาคตคิดว่ายังจะสามารถระดับแบบนี้ได้อยู่ Land + construction cost = 20-25% of total cost ส่วนตัวเลขอื่น ไม่มีรายละเอียดตอนนี้
Q: มีแผนในการขยายกิจการ healthcare หรือไม่ ?
A: ตอนนี้มีโรงพยาบาล 6 แห่ง โดยทุกแห่งอยู่ในพื้นที่โครงการ Vinhomes หรือใกล้เคียง และจะเปิดแห่งที่ 7 เดือนหน้า โดยแผนคือ พยายามจะเปิดโรงพยาบาล 10 แห่ง ทั่วประเทศ ภายใน 2020 ก็ยังอยู่ตามแผน
Q: For automobile segment , what is your key competitive advantage to compete with Japanese or Korea brands ? Future of Vinfast? Support from the Government?
A: ในตลาดตลาดเวียดนามตอนนี้คนชอบรถ CBU (complete Built Unit) แต่ Vinfast พยายามจะทำรถเวียดนามด้วยคุณภาพต่างชาติ ในราคาที่เข้าถึงได้ และอนาคตของ Vinfast ค่อนข้างสดใสในตอนนี้ ทุกคนคาดหวังว่าเราจำรถที่มีคุณภาพที่ดี ในราคาถูก ในปีนี้จะเปิดตัว E-scooter ซึ่งตลาดมอเตอร์ไซต์ของเวียดนามค่อนข้างกระจาย ไม่ได้มีผู้ชนะที่โดดเด่น อย่างตัว E-scooter ได้พัฒนาโดยยืดอายุของแบตเตอรี่ให้ใช้ได้ถึง 80 km/charge 1 ครั้ง (จากเฉลี่ย 50 km) และแบตเอตรี่เหล่านี้ก็สามารถซื้อได้ที่ VinMart+
และรัฐบาลก็ออก Decree เกี่ยวกับการนำเข้ารถที่เอื้อต่อการผลิตรถในประเทศ
Q: เป้าหมายในการเปิด VinMart+ ใน ปี 2018-2019?
A: ประมาณ 600-700 สาขา/ปี
Q: VinMart อยู่ในกลุ่มไหน?
A: VinMart อยู่ Vin Commerce (ไม่ได้อยู่ใน Vincom Retail)
-------
มาต่อกันที่หุ้นตัวที่สองที่ฮิตไม่แพ้กันค่ะ
Vincom Retail (VRE)
-ในด้านของ VRE เป็น retail developer ที่ใหญ่ที่สุด และโตเร็วที่สุดในเวียดนาม ศึกษา Business model จาก CPN ของไทย และเดินตาม มองว่า VRE เป็นเหมือน CPN เมื่อ 10-20 ปีก่อน เป็นตัวหลักตัวนึงใน Vingroup Ecosystem รวมทั้งตั้งอยู่ในทำเล prime ไม่เพียงแต่ในโฮ จิ มินท์, ฮานอย แต่ยังในจังหวัดอื่นๆ ทั่วเวียดนาม ทำให้ไม่มีคู่แข่งรายอื่นเข้ามาทำได้
-Vincom retail เป็นแบรนด์ในกลุ่มแรกๆ ที่ทาง Vin Group ได้พัฒนาขึ้นมา ถึงจะดูเหมือนว่า Vincom Retail เริ่มจดทะเบียนกิจการจริงจังในปี 2012 แต่จริงๆแล้วเริ่มเปิด retail mall เป็นแห่งแรกของเวียดนาม ตั้งแต่ปี2004 เรียกว่า Vincom Center Batrieu คือมีประสบการณ์ในการดำเนินการมากว่า 15 ปี แล้ว หลังจากที่ประสบความสำเร็จใน ฮานอย จึงขยายสาขามาที่โฮ จิ มินท์ในปี 2010
-2013 Warburg Pincus – Private investment มาร่วมลงขัน US$ 200 million ที่นอกจากจะได้เงินมาลงทุนเพิ่มแล้ว ยังได้สไตล์การบริหารจัดการแบบ Corporate มาด้วย
-2015 เริ่มทำ Vincom Mega Mall ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดที่กำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ ซึ่งจะไปสร้างในทำเลที่เป็น key and large integrated residential areas ซึ่งโดยปกติก็จะมีโครงการของ Vin homes อยู่แถวนั้นด้วย
-นอกจากนี้ยังทำ Vincom plaza ที่ไปสร้างอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด เช่นพื้นที่ prime location จังหวัดที่เป็น tier 2, tier 3 ด้วย
-ปี 2017 พบว่าพร้อมแล้วที่จะ spin off VRE ออกมากจดทะเบียนในตลาด HOSE เมื่อ พย 2017 ตอนนี้น่าจะมี mkt capitalization US$ 4 billion ติดอันดับ 1/15 ของบริษัทที่มี mkt cap สูงในตลาดเวียดนาม
-ในปี 2016-2017 ได้รับข่าวดีจาก Zara, H&M ที่เค้าไปเทสตลาดอยู่หลายแห่งในเวียดนาม และสุดท้ายเลือกที่จะมาเปิดสาขากับเครือของ Vincom Retail หลังจากที่ประสบความสำเร็จในการเปิดสาขาแรกที่ โฮ จิ มินท์ และต่อมาขยายไปที่ฮานอย ตอนนี้ทาง H&M กำลังพิจารณษเปิดสาขาใน Vincom Mega Mall
-CARG 2014-17 Leasing revenue 32.4%, GFA 34.1%
-มองตลาดค้าปลีกของเวียดนามว่ากำลังโตขึ้น แม้แต่ Central group ก็มาเปิด department store เป็น tenants ใน Vincom Mega Mall
Key success factors:
1. เป็น proxy ที่เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจของเวียดนาม
2. การเติบโตการค้าปลีกของเวียดนาม ยังไม่ค่อยเข้าถึง (under penetrated)
3. เวียดนามมี 63 จังหวัด แต่เปิดห้างไปเพียง 30-40 จังหวัด ยังมองว่ามีโอกาสในการเติบโตอีกมาก
Key investment Highlights
1. Vietnam at a Favorable Economic and Consumption inflection point.
คนรายได้ปานกลางของเวียดนามเติบโต 18%มากกว่าประเทศในอาเซียน
2. Huge Potential for Further Expansion in Vietnam’s Retail Space.
Shopping mall และ modern grocery retail/total grocery
ที่เวียดนามยังต่ำเมื่อเทียบกับไทยและฟิลิปปินส์
3. Multi Format Model covers a larger market opportunity.
Vincom มีsegmentที่ครอบคลุมกลุ่มคนที่รายได้แตกต่างกันได้หมด
• Vincom center : รองรับกลุ่มรายได้ Above US $20,000 /ปี
• Vincom Mega mall : รองรับกลุ่มรายได้ระหว่าง US $ 5,000-20,000 /ปี
• Vincom Plaza : รองรับกลุ่มรายได้ระหว่าง US $ 3,000 – 10,000 /ปี
• Vincom+ : รองรับกลุ่มรายได้ไม่เกิน US $ 3,000 /ปี
4. Ability to leverage the Best in Country Vingroup Ecosystem.
Performance 1Q18
• รายรับจากการเช่าพื้นที่ เพิ่มขึ้น 18.9% YoY
• GP เพิ่มขึ้น 7.4% YoY
• Leasing NOI เพิ่มขึ้น 23% YoY
• EBITDA เพิ่มขึ้น 16.1% YoY
อัพเดท ผู้เช่ากันหน่อย สำหรับ 2017 and Q1 2018
• ตอนนี้กำลังรีวิว และ Repositioning , re-tenanting และลองใช้ new concepts สำหรับห้างแต่ละประเภท
o In order to attract footfall from adolescences.
• Applying new technology in counting footfall in order to effectively co-ordinate with
o Tenants during daily operation.
o Tenant Mix Comparison
o Fashion : 24% , Food & Beverage : 27% , Hypermarket / supermarket 16%
o Entertainment : 18%
- มองว่า Infrastructure ต่างๆของเวียดนามยังไม่พร้อมเท่ากับที่ประเทศไทยมี ยกตัวอย่างเช่นรถไฟฟ้าสายแรก ที่คาดว่าจะสร้างเสร็จเร็วๆนี้ ถ้าเกิดว่าสร้างเสร็จแล้วก็สามารถเพิ่ม traffic ของคนที่จะมาเดินห้างได้อีก เพราะห้างก็ตั้งอยู่ใกล้ๆกับสถานีรถไฟฟ้า
---
Q&A Vincom Retail (VRE)
Q: ตอนนี้เร่งขยายห้างเยอะมาก จะมั่นใจได้อย่างไรว่าห้างที่ไปลงในแต่ละจังหวัดจะประสบความสำเร็จ รวมทั้งเลือก tenants อย่างไรในการลงไปในห้างและละแห่ง โดยเฉพาะสาขาต่างจังหวัด ?
A: มี tenants ประมาณ 1,000 ราย และประมาณ 30% เป็น chain tenants ถ้าวางแผนจะเปิดห้างใหม่ที่ไหน จะให้ tenants เลือกก่อนว่าจะลงมั้ย และให้ส่ง proposal มาให้ VRE พิจารณา เนื่องจากมีห้างอยู่ 51 แห่ง ใน 28 จังหวัด จะเริ่มเห็น consumption pattern จากโซนจังหวัดต่างๆ ก่อนเปิดก็ไปศึกษาพฤติกรรม แต่ส่วนใหญ่เป็น standard mall format และถ้ามองแล้วไม่น่าจะประสบความสำเร็จ ก็จะชะลอการเปิดสาขาออกไปก่อน โดยทั่วไปร้านค้าที่จะไปลงในห้างสาขาต่างจังหวัดอย่างให้เป็นแบรนด์ท้องถิ่นก่อน โดยส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า fashion, รองมาเป็น F&B และ entertainment
โดยส่วนมาก จะปล่อยให้ other tenants เช่าพื้นที่ชั้น 1 และ 2 ของ Vincom plaza Vincom Plus ในสาขาต่างจังหวัด
Q: ค่าเช่าพื้นที่โดยเฉลี่ย? และคาดการณ์การเติบโตในอีก 3 ปีข้างหน้าอย่างไร?
A: แตกต่างกันในแต่ละ format
• Vincom center US$ 45-50/sq.m./เดือน
• Vincom Mega mall US$ 20-25/sq.m./เดือน
• Vincom Plaza US$ 15-20/sq.m./เดือน
• Vincom Plus US$ 8-10/sq.m./เดือน
ปกติในแต่ละปี พยายามเพิ่มพื้นที่ GFA ประมาณ 200,000-300,000 sq.m. /ปี ของ Vincom Plaza และ Vincom Plus อยู่แล้ว คือประมาณ 20% ซึ่งก็จะเพิ่มพื้นที่เช่าไปตามนี้
Q: มีแผนจะสู้กับคู่แข่งแบบ Takashiyama (Dict. 1) อย่างไรบ้าง?
A: Takashiyama (Dict. 1) เค้าก็ทำได้ดีอยู่แล้ว และในพื้นที่นี้ ก็ไม่มีการแข่งขันที่รุนแรงอยู่แล้ว โมเดลในการทำธุรกิจก็แตกต่างจาก Takashiyama เช่นกัน ถึงแม้ว่าจะมีความคล้ายกับ Vincom Center อยู่บ้างแต่เราเน้น mid end มากกว่า รวมทั้งมีโรงหนังด้วย นอกจากนี้พื้นที่ F&B ของ Takashiyama ดูจะมีความน่าสนใจน้อยกว่า
Q: ทำไม Occupancy rate ตกลงจาก 93%>>88% ใน Q1/2018
A: เพราะเพิ่มพื้นที่จากการขยายสาขา และมีการรีวิว performance Tenants ปกติในการเปิดสาขาจะเวลาประมาณ 1 ปี ถึงจะเริ่มเข้าใกล้จุดคุ้มทุน แต่กว่าจะเสถียรก็ใช้เวลา 3-5 ปี
Q: จากจำนวน 46 กว่าห้าง แบ่งเป็น leasehold, freehold เท่าไรบ้าง?
A: กฎหมายการใช้ที่ดินของเวียดนาม ยอมให้เป็น leasehold title เท่านั้นสำหรับการใช้ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ แต่ที่ดินสำหรับการอยู่อาศัยสามารถเป็น freehold title ได้
Q: ระยะเวลาของสัญญากับ แต่ละครั้งยาวแค่ไหน? รีวิวต่อสัญญาบ่อยแค่ไหน?
A: มาตรฐานสัญญาเช่าพื้นที่อยู่ที่ 3 ปี แต่บางรายที่เป็น key tenants ก็เซ็นต์ระยะยาวเป็น 15-20 ปี เช่นกับ Vin Mart ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ
Q: ทำไม Gross margin Q1/2018 ถึงลดลงเมื่อเทียบกับ Q1/2017?
A: ปีที่แล้วมีรายรับจากการขายสินทรัพย์ที่ได้ margin ค่อนข้างสูงประมาณ 50%
Q: SDI มีแนวโน้มที่จะขาย หุ้น VRE คืนให้กลับ Vin group เหมือนกับที่ทำกับ Vin Commerce มั้ย?
A: SDI จัดเป็น special purposes vehicle ที่พร้อมจะถูก restructure เพราะตอนนี้กำลังทำ asset allocation ภายใน vin group
---
ขอขอบคุณ
- บริษัท Finansia Syrus Securities และ VN Direct สำหรับการจัดงานที่น่าประทับใจในครั้งนี้
- Mr. The Duc Bach (IR Executive) สำหรับการนำเสนอและตอบคำถามนักลงทุนเกี่ยวกับบริษัท VinGroup (VIC) และ Vincom Retail (VRE) ที่นำเสนอโดย
- แอดมินเป้ และพี่อมร Seminar knowledge by Amorn สำหรับเลชเชอร์ที่เข้มข้นมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3131
Mobile World JSC (MWG)
หลังจากโพสต์เจาะลึกหุ้น VinGroup (VIC) & Vincom Retail (VRE) เมื่อวานก็มีชาว VVI เรียกร้องให้เจาะลึกหุ้นตัวอื่นที่มา Present ในงาน Vietnam Opportunity Day 2018 ที่จัดโดย บล.Finansia Syrus จำกัด ร่วมกับ VN DIRECT ด้วย
วันนี้แอดมินเป้ และพี่อมร ได้ช่วยกันแปล สรุป หุ้นอีกตัวที่เรียกว่าไม่มีนักลงทุนหุ้นเวียดนามคนไหนไม่รู้จักนั่นก็คือบริษัท Mobile World JSC (หุ้น MWG) นั่นเองค่ะ
Presentation วันงานนำเสนอโดย Ms. Ngyn Thi Lien Nhoc (IR Manager) พร้อมแล้วมาอ่านไปด้วยกันเลยค่ะ
-----
Overview
IR บอกว่าสไลด์นี้อัพเดทมากและเป็นกลุ่มแรกที่ทาง MWG ใช้ presentation ชุดนี้นำเสนอเลยนะคะ
- MWG เป็น เบอร์ 1 ของผู้ค้าปลีกในเวียดนามในแง่ของ revenue, net profit และ จำนวนสาขา มองตัวเองว่าเป็น Expert ในการเปิดสาขา ตอนนี้เฉลี่ยแล้ว เปิดวันละ 1 สาขา
- ตั้งแต่ปี 2015 ที่ MWG เริ่มมองเห็นสัญญาณการอิ่มตัวของตลาดมือถือในเวียดนาม และพยายามแตกไลน์ธุรกิจไปทาง grocery stores
- 2016 พัฒนา vuivui.vom ขึ้นมาให้บริการทางออนไลน์
- 2018 ไปเทค Tran Anh Digital world (เป็นร้าน Consumer electronics) >> จะทำให้ ทาง MWG มีรายรับเพิ่มขึ้นอีก 3% จากโซนทางเหนือ ซึ่งมีร้าน Tran Anh Digital world อยู่ 35 สาขา
o Thế Giới Di Động 1,050 สาขา
o Điện Máy Xanh 700+ สาขา
o Bách hóa xanh 370 สาขา มีแต่ในโฮ จิ มินท์ เท่านั้น และในสิ้นปีนี้จะทำเปิดให้ได้ 500 สาขา
- ไม่มีแผนขยายร้าน Thế Giới Di Động แต่จะเพิ่มสาขาร้าน Điện Máy Xanh อีกประมาณ 100 สาขา เป็นเจ้าเดียวที่มีสาขาร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้ากระจายไปทั่วเวียดนาม
- ผลการดำเนินงาน... ทาง MWG พยายามจะเพิ่มรายได้ปีละ US$ 1 billion ยกตัวอย่างจากตัวเลขจำนวนสาขาในปี 2014 เทียบกับปัจจุบัน ตอนนี้สามารถเพิ่มสาขาขึ้นมาได้ถึง 5 เท่า
- Net profit เพิ่มขึ้น 30% ต่อปี โดยจากตัวเลขรายได้ US$ 3 billion ในปี 2017 แบ่งเป็น ของ
o MWG 52%
o Điện Máy Xanh 46%
o Bách hóa xanh 2%
- YTD revenue ตัวเลขถึงสิ้นเดือน เมษายน 2561 = US$ 1.33 billion (ทำได้ 33% แล้วจากที่ตั้งไว้ US$ 4 billion ปีนี้)
o Net revenue โต 43% YTD
- แนวโน้มในอนาคต
o การขายเครื่องใช้ไฟฟ้า Điện Máy Xanh จะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มขี้นในพอร์ตโฟลิโอของบริษัท ในขณะที่มือถือจะมีสัดส่วนน้อยลง
o ต้นทุนในการเปิดสาขา
MWG US$ 100,000/branch
Điện Máy Xanh US$ 250,000/branch
(นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนร้านมือถือ มาเป็นร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย ในบางสาขา)
Bách hóa xanh US$ 80,000/branch
- Key growth drivers:
o โอกาสในตลาด Grocery และ FMCG
o จะปรับลดแผนการเปิด Bách hóa xanh จาก 1,000 สาขา มาเป็น 500 สาขา เป็นสาขาขนาด 150-200 sq.m. ที่ตั้งบนถนนเส้นรอง เน้นจับกลุ่มแม่บ้าน พนักงานออฟฟิศ เพื่อให้สะดวกในการแวะซื้อก่อนกลับบ้าน สาเหตุที่ลดจำนวนสาขาที่จะเปิดลงเพื่อมาเน้นที่การทำ optimization สาขาที่มีอยู่ในปัจจุบันก่อน
- Online มี 3 webs คิดเป็น 26% mkt share ของ้รานค้าออนไลน์ในเวียดนาม ซึ่งโดยเฉลี่ยมีประมาณ 10,000 transactions/วัน และมีผู้คนกดคลิกเข้ามาดูประมาณ 1.7 ล้าน+/วัน
o Thegioididong.com
o Dienmayxanh.com
o vuivui.vom
- โดยในปีที่ผ่านการค้าผ่านออนไลน์ มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 9% ของทั้งกลุ่ม (ใน Q1 ของปี 2018 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเป็น 12% )
- ปัจจัยที่ทำให้ร้านค้าออนไลน์ประสบความสำเร็จ
o มีระบบ in-house ERS หลังบ้านที่จะคอยดูแล inventory รวมทั้งเชื่อมต่อไปที่ผู้ผลิต เช่น Samsung, LG ทำให้ผู้ผลิตทราบว่าสาขาไหน ขายเครื่องรุ่นไหน
o มีพนักงานที่มีความสุขคอยให้บริการลูกค้าตามสาขาต่างๆ ถ้าพนักงานไม่มีความสุข จะให้การบริการที่ดีได้อย่างไร
o มีความเข้าใจวิถีคนท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง
---
- มาดูเป้าหมายในปี 2022 กันดีกว่า ... ตั้งกันอย่างท้าทายกันเลยทีเดียวเชียว : โดยต้องการที่จะเป็นบริษัทค้าปลีกที่มีรายได้ US$ 10 billion แล้วจะไปให้ถึงได้อย่างไร? ทาง MWG ตั้งเป้าไว้ค่อนข้างชัดเจนเลย คือ
o Grocery store contributes 3% >> จะเพิ่มให้เป็น 40%
o ช่องทางการขายแบบเดิมที่สร้างสัดส่วนรายได้ 90% >> จะลดลงให้เหลือ 45%
o รักษาระดับ mkt share ของ Thế Giới Di Động และ Điện Máy Xanh ให้คงไว้เป็น No. 1 ของตลาด ไว้ที่ 40% (จากขนาดของตลาดประมาณ US$ 15 billion ในอีก 5 ปีข้างหน้า )
o สำหรับ Bách hóa xanh ขอมี mkt share เพียง 5% ของตลาดอาหารสด (ซึ่งมีขนาดใหญ่มากๆ โดยจะมีขนาดประมาณ US$ 80 billion ในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้นการขอแค่ 5% ของตลาด = รายได้ประมาณ US$ 4 billion )
o ส่วน vuivui.vom จะต้องเป็น No. 1 ของ B2C website ในเวียดนาม (ในแง่ของรายได้)
o พยายามมองหาช่องทาง M&A
--------
Q&A-MWG
Q: ช่วยอัพเดทแผนการในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ Pharmaceutical?
A: ตัวนี้เราตั้งใจที่จะไม่พูดถึงใน presentation เนื่องจากเดิมมีแผนที่จะเข้าซื้อกิจการ แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจแล้ว ขอเป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
Q: ช่วยอัพเดทกิจการที่เข้าไปดำเนินงานในกัมพูชา และลาว?
A: ร้านมือถือในกัมพูชา มี 10 สาขา กำลังอยู่ในช่วงทดสอบเท่านั้น เนื่องจากรัฐบาลเปิดประเทศให้เข้าไปดำเนินการ เอาไว้ใช้เรียนรู้การบริการลูกค้าที่ไม่ใช่ชาวเวียดนาม ในปัจจุบันผลประกอบการในประเทศดังกล่าวยังไม่มีกำไร แต่ขาดทุนน้อยลง
Q: ทำไม Sister ของ Mr. Tai ถึงต้องการที่จะขายหุ้น MWG ออกครึ่งนึงของที่เธออยู่?
A: เป็นเรื่องของความต้องการใช้เงินส่วนบุคคล (ESOP เป็นเพียงโบนัสเดียวที่บริษัทจ่ายให้ นอกเหนือจากเงินเดือน)
Q: ช่วยพิจารณาเพิ่ม room การถือหุ้นของต่างชาติ?
A: แหม... เป็นคำถามคลาสสิก ถูกถามตลอดเลยค่ะ ประเด็นคือต้องการรักษาความเป็นบริษัทเวียดนามไว้เพื่อให้ง่ายในการทำเรื่องเปิดสาขา (ใช้เวลา 2-3 วัน) ถ้าเพิ่ม room การถือหุ้นของต่างชาติ MWG จะกลายเป็นบริษัทต่างชาติไป การเปิดสาขาจะยุ่งยากกว่า (ใช้เวลา 2-3 เดือน)
Q: จะแข่งขันกับ Vin Mart+ ได้อย่างไร? (แอดหันไปมองตัวแทน Vin group ด้วยความตั้งใจ .... ยิ้มกว้างๆอย่างเดียว ไม่พูดอะไร)
A: เทียบกับ Vin Mart+ ไม่ได้ มองว่าขายกันคนละ segment และไม่ได้คิดท่จะไปแข่งในตลาดเดียวกับ Vin Mart+ ด้วย อย่างเช่น Bách hóa xanh ก็ไม่ได้มี suppliers เอง แค่ดีลกับ farmers เท่านั้น
Q: Gross profit ของร้านค้าออนไลน์ เป็นอย่างไรบ้าง?
A: ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงกำไรของ vuivui.vom จึงตั้งใจที่จะไม่รายงานกำไรจากส่วนนี้ สำหรับ Omni channel ของ MWG, Điện Máy Xanh สามารถแยกรายรับได้ แต่ไม่สามารถแยกกำไรออกมาได้
---------
ขอขอบคุณ
- บริษัท Finansia Syrus Securities และ VN Direct สำหรับการจัดงานที่น่าประทับใจในครั้งนี้
- Ms. Ngyn Thi Lien Nhoc (IR Manager) สำหรับการนำเสนอและตอบคำถามนักลงทุนเกี่ยวกับบริษัท Mobile World (MWG)
- แอดมินเป้ และพี่อมร Seminar knowledge by Amorn สำหรับสรุปเนื้อหาที่เข้มข้น
—-
หลังจากโพสต์เจาะลึกหุ้น VinGroup (VIC) & Vincom Retail (VRE) เมื่อวานก็มีชาว VVI เรียกร้องให้เจาะลึกหุ้นตัวอื่นที่มา Present ในงาน Vietnam Opportunity Day 2018 ที่จัดโดย บล.Finansia Syrus จำกัด ร่วมกับ VN DIRECT ด้วย
วันนี้แอดมินเป้ และพี่อมร ได้ช่วยกันแปล สรุป หุ้นอีกตัวที่เรียกว่าไม่มีนักลงทุนหุ้นเวียดนามคนไหนไม่รู้จักนั่นก็คือบริษัท Mobile World JSC (หุ้น MWG) นั่นเองค่ะ
Presentation วันงานนำเสนอโดย Ms. Ngyn Thi Lien Nhoc (IR Manager) พร้อมแล้วมาอ่านไปด้วยกันเลยค่ะ
-----
Overview
IR บอกว่าสไลด์นี้อัพเดทมากและเป็นกลุ่มแรกที่ทาง MWG ใช้ presentation ชุดนี้นำเสนอเลยนะคะ
- MWG เป็น เบอร์ 1 ของผู้ค้าปลีกในเวียดนามในแง่ของ revenue, net profit และ จำนวนสาขา มองตัวเองว่าเป็น Expert ในการเปิดสาขา ตอนนี้เฉลี่ยแล้ว เปิดวันละ 1 สาขา
- ตั้งแต่ปี 2015 ที่ MWG เริ่มมองเห็นสัญญาณการอิ่มตัวของตลาดมือถือในเวียดนาม และพยายามแตกไลน์ธุรกิจไปทาง grocery stores
- 2016 พัฒนา vuivui.vom ขึ้นมาให้บริการทางออนไลน์
- 2018 ไปเทค Tran Anh Digital world (เป็นร้าน Consumer electronics) >> จะทำให้ ทาง MWG มีรายรับเพิ่มขึ้นอีก 3% จากโซนทางเหนือ ซึ่งมีร้าน Tran Anh Digital world อยู่ 35 สาขา
o Thế Giới Di Động 1,050 สาขา
o Điện Máy Xanh 700+ สาขา
o Bách hóa xanh 370 สาขา มีแต่ในโฮ จิ มินท์ เท่านั้น และในสิ้นปีนี้จะทำเปิดให้ได้ 500 สาขา
- ไม่มีแผนขยายร้าน Thế Giới Di Động แต่จะเพิ่มสาขาร้าน Điện Máy Xanh อีกประมาณ 100 สาขา เป็นเจ้าเดียวที่มีสาขาร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้ากระจายไปทั่วเวียดนาม
- ผลการดำเนินงาน... ทาง MWG พยายามจะเพิ่มรายได้ปีละ US$ 1 billion ยกตัวอย่างจากตัวเลขจำนวนสาขาในปี 2014 เทียบกับปัจจุบัน ตอนนี้สามารถเพิ่มสาขาขึ้นมาได้ถึง 5 เท่า
- Net profit เพิ่มขึ้น 30% ต่อปี โดยจากตัวเลขรายได้ US$ 3 billion ในปี 2017 แบ่งเป็น ของ
o MWG 52%
o Điện Máy Xanh 46%
o Bách hóa xanh 2%
- YTD revenue ตัวเลขถึงสิ้นเดือน เมษายน 2561 = US$ 1.33 billion (ทำได้ 33% แล้วจากที่ตั้งไว้ US$ 4 billion ปีนี้)
o Net revenue โต 43% YTD
- แนวโน้มในอนาคต
o การขายเครื่องใช้ไฟฟ้า Điện Máy Xanh จะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มขี้นในพอร์ตโฟลิโอของบริษัท ในขณะที่มือถือจะมีสัดส่วนน้อยลง
o ต้นทุนในการเปิดสาขา
MWG US$ 100,000/branch
Điện Máy Xanh US$ 250,000/branch
(นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนร้านมือถือ มาเป็นร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วย ในบางสาขา)
Bách hóa xanh US$ 80,000/branch
- Key growth drivers:
o โอกาสในตลาด Grocery และ FMCG
o จะปรับลดแผนการเปิด Bách hóa xanh จาก 1,000 สาขา มาเป็น 500 สาขา เป็นสาขาขนาด 150-200 sq.m. ที่ตั้งบนถนนเส้นรอง เน้นจับกลุ่มแม่บ้าน พนักงานออฟฟิศ เพื่อให้สะดวกในการแวะซื้อก่อนกลับบ้าน สาเหตุที่ลดจำนวนสาขาที่จะเปิดลงเพื่อมาเน้นที่การทำ optimization สาขาที่มีอยู่ในปัจจุบันก่อน
- Online มี 3 webs คิดเป็น 26% mkt share ของ้รานค้าออนไลน์ในเวียดนาม ซึ่งโดยเฉลี่ยมีประมาณ 10,000 transactions/วัน และมีผู้คนกดคลิกเข้ามาดูประมาณ 1.7 ล้าน+/วัน
o Thegioididong.com
o Dienmayxanh.com
o vuivui.vom
- โดยในปีที่ผ่านการค้าผ่านออนไลน์ มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 9% ของทั้งกลุ่ม (ใน Q1 ของปี 2018 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมาเป็น 12% )
- ปัจจัยที่ทำให้ร้านค้าออนไลน์ประสบความสำเร็จ
o มีระบบ in-house ERS หลังบ้านที่จะคอยดูแล inventory รวมทั้งเชื่อมต่อไปที่ผู้ผลิต เช่น Samsung, LG ทำให้ผู้ผลิตทราบว่าสาขาไหน ขายเครื่องรุ่นไหน
o มีพนักงานที่มีความสุขคอยให้บริการลูกค้าตามสาขาต่างๆ ถ้าพนักงานไม่มีความสุข จะให้การบริการที่ดีได้อย่างไร
o มีความเข้าใจวิถีคนท้องถิ่นอย่างลึกซึ้ง
---
- มาดูเป้าหมายในปี 2022 กันดีกว่า ... ตั้งกันอย่างท้าทายกันเลยทีเดียวเชียว : โดยต้องการที่จะเป็นบริษัทค้าปลีกที่มีรายได้ US$ 10 billion แล้วจะไปให้ถึงได้อย่างไร? ทาง MWG ตั้งเป้าไว้ค่อนข้างชัดเจนเลย คือ
o Grocery store contributes 3% >> จะเพิ่มให้เป็น 40%
o ช่องทางการขายแบบเดิมที่สร้างสัดส่วนรายได้ 90% >> จะลดลงให้เหลือ 45%
o รักษาระดับ mkt share ของ Thế Giới Di Động และ Điện Máy Xanh ให้คงไว้เป็น No. 1 ของตลาด ไว้ที่ 40% (จากขนาดของตลาดประมาณ US$ 15 billion ในอีก 5 ปีข้างหน้า )
o สำหรับ Bách hóa xanh ขอมี mkt share เพียง 5% ของตลาดอาหารสด (ซึ่งมีขนาดใหญ่มากๆ โดยจะมีขนาดประมาณ US$ 80 billion ในอีก 5 ปีข้างหน้า ดังนั้นการขอแค่ 5% ของตลาด = รายได้ประมาณ US$ 4 billion )
o ส่วน vuivui.vom จะต้องเป็น No. 1 ของ B2C website ในเวียดนาม (ในแง่ของรายได้)
o พยายามมองหาช่องทาง M&A
--------
Q&A-MWG
Q: ช่วยอัพเดทแผนการในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ Pharmaceutical?
A: ตัวนี้เราตั้งใจที่จะไม่พูดถึงใน presentation เนื่องจากเดิมมีแผนที่จะเข้าซื้อกิจการ แต่ตอนนี้เปลี่ยนใจแล้ว ขอเป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
Q: ช่วยอัพเดทกิจการที่เข้าไปดำเนินงานในกัมพูชา และลาว?
A: ร้านมือถือในกัมพูชา มี 10 สาขา กำลังอยู่ในช่วงทดสอบเท่านั้น เนื่องจากรัฐบาลเปิดประเทศให้เข้าไปดำเนินการ เอาไว้ใช้เรียนรู้การบริการลูกค้าที่ไม่ใช่ชาวเวียดนาม ในปัจจุบันผลประกอบการในประเทศดังกล่าวยังไม่มีกำไร แต่ขาดทุนน้อยลง
Q: ทำไม Sister ของ Mr. Tai ถึงต้องการที่จะขายหุ้น MWG ออกครึ่งนึงของที่เธออยู่?
A: เป็นเรื่องของความต้องการใช้เงินส่วนบุคคล (ESOP เป็นเพียงโบนัสเดียวที่บริษัทจ่ายให้ นอกเหนือจากเงินเดือน)
Q: ช่วยพิจารณาเพิ่ม room การถือหุ้นของต่างชาติ?
A: แหม... เป็นคำถามคลาสสิก ถูกถามตลอดเลยค่ะ ประเด็นคือต้องการรักษาความเป็นบริษัทเวียดนามไว้เพื่อให้ง่ายในการทำเรื่องเปิดสาขา (ใช้เวลา 2-3 วัน) ถ้าเพิ่ม room การถือหุ้นของต่างชาติ MWG จะกลายเป็นบริษัทต่างชาติไป การเปิดสาขาจะยุ่งยากกว่า (ใช้เวลา 2-3 เดือน)
Q: จะแข่งขันกับ Vin Mart+ ได้อย่างไร? (แอดหันไปมองตัวแทน Vin group ด้วยความตั้งใจ .... ยิ้มกว้างๆอย่างเดียว ไม่พูดอะไร)
A: เทียบกับ Vin Mart+ ไม่ได้ มองว่าขายกันคนละ segment และไม่ได้คิดท่จะไปแข่งในตลาดเดียวกับ Vin Mart+ ด้วย อย่างเช่น Bách hóa xanh ก็ไม่ได้มี suppliers เอง แค่ดีลกับ farmers เท่านั้น
Q: Gross profit ของร้านค้าออนไลน์ เป็นอย่างไรบ้าง?
A: ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึงกำไรของ vuivui.vom จึงตั้งใจที่จะไม่รายงานกำไรจากส่วนนี้ สำหรับ Omni channel ของ MWG, Điện Máy Xanh สามารถแยกรายรับได้ แต่ไม่สามารถแยกกำไรออกมาได้
---------
ขอขอบคุณ
- บริษัท Finansia Syrus Securities และ VN Direct สำหรับการจัดงานที่น่าประทับใจในครั้งนี้
- Ms. Ngyn Thi Lien Nhoc (IR Manager) สำหรับการนำเสนอและตอบคำถามนักลงทุนเกี่ยวกับบริษัท Mobile World (MWG)
- แอดมินเป้ และพี่อมร Seminar knowledge by Amorn สำหรับสรุปเนื้อหาที่เข้มข้น
—-
-
- Verified User
- โพสต์: 842
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3132
กราบขอบคุณพี่amornkowaกับท่านAnieLeeเหมือนทุกครั้งนะฮะ
ขอบคุณท่านsathaporne ที่กรุณามาแก้คำใบ้ให้ด้วยฮะ ผมลืมไปจริงๆเลย มาช่วยอีกบ่อยๆนะฮะ
และก็มาส่งการบ้านท่านjverakulด้วยฮะ ไม่เจอกันตั้งนานตั้งแต่คุยเรื่องเซเลปกับเมืองในสวิส
(ถ้าเจออ.เกษมสันต์ ฝากบอกด้วย ว่าอยากให้อ.จัดทัวร์โอทอป จะขอตามไปด้วยฮะ)
หุ้นผู้ชนะ
ออกเสียงเหมือนวงดนตรีเจ้าของเพลงshalala เพลงนี้ฮะ(รุ่นหลังจะรู้จักแต่ปุ๊กกี้)
https://youtu.be/KBhb54KZ1ck
หุ้นรถเช่าชื่อธนาคาร
ชื่อไทยจะเหมือนธนาคารวายุภักษ์
ชื่อฝรั่งจะเหมือนธนาคารชาวนาฮะ
หุ้นอ้า(A)สิ(SE)ฟะ(FA) เคยอ่านเป็นอ้าสีฟ้า ไม่รู้อ่านงี้ถูกมั้ย..
หุ้นท่อแอร์
ทำพวกท่อ ข้อต่ออลูมิเนียมทองแดงกับเครื่องปรับอากาศ เจ้าของเคยขับสองแถวตอนหลังขับพอร์ช(ปอร์เช่)เอาชื่อลูกสาวสามใบเถามาตั้งชื่อบริษัทฮะ(ยิ่งใบ้ยิ่งยากวุ้ย..)
หุ้นสิ่งพิมพ์พิเศษ
รับพิมพ์พวกเช็ค สแตมป์เซเว่น
ลูกขายไอทีคือsynexฮะ ลูกชื่อช้อนโต๊ะtablespoon (tbsp)
สุดท้ายขอแสดงความยินดีน้ำตาไหล (หลังจากลุ้นกันเหงื่อแตกเปียกง่ามตูด)
ที่เจอเด็กติดถ้ำดอยนางนอนทั้ง13คนแล้วนะฮะ ไชโย..
วีไอเด็กติดถ้ำมองนวลนาง รายงาน
ขอบคุณท่านsathaporne ที่กรุณามาแก้คำใบ้ให้ด้วยฮะ ผมลืมไปจริงๆเลย มาช่วยอีกบ่อยๆนะฮะ
และก็มาส่งการบ้านท่านjverakulด้วยฮะ ไม่เจอกันตั้งนานตั้งแต่คุยเรื่องเซเลปกับเมืองในสวิส
(ถ้าเจออ.เกษมสันต์ ฝากบอกด้วย ว่าอยากให้อ.จัดทัวร์โอทอป จะขอตามไปด้วยฮะ)
หุ้นผู้ชนะ
ออกเสียงเหมือนวงดนตรีเจ้าของเพลงshalala เพลงนี้ฮะ(รุ่นหลังจะรู้จักแต่ปุ๊กกี้)
https://youtu.be/KBhb54KZ1ck
หุ้นรถเช่าชื่อธนาคาร
ชื่อไทยจะเหมือนธนาคารวายุภักษ์
ชื่อฝรั่งจะเหมือนธนาคารชาวนาฮะ
หุ้นอ้า(A)สิ(SE)ฟะ(FA) เคยอ่านเป็นอ้าสีฟ้า ไม่รู้อ่านงี้ถูกมั้ย..
หุ้นท่อแอร์
ทำพวกท่อ ข้อต่ออลูมิเนียมทองแดงกับเครื่องปรับอากาศ เจ้าของเคยขับสองแถวตอนหลังขับพอร์ช(ปอร์เช่)เอาชื่อลูกสาวสามใบเถามาตั้งชื่อบริษัทฮะ(ยิ่งใบ้ยิ่งยากวุ้ย..)
หุ้นสิ่งพิมพ์พิเศษ
รับพิมพ์พวกเช็ค สแตมป์เซเว่น
ลูกขายไอทีคือsynexฮะ ลูกชื่อช้อนโต๊ะtablespoon (tbsp)
สุดท้ายขอแสดงความยินดีน้ำตาไหล (หลังจากลุ้นกันเหงื่อแตกเปียกง่ามตูด)
ที่เจอเด็กติดถ้ำดอยนางนอนทั้ง13คนแล้วนะฮะ ไชโย..
วีไอเด็กติดถ้ำมองนวลนาง รายงาน
samatah
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3133
ได้มีโอกาสไปงาน MAI Forum เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
บูธที่มีคนเข้าไปมุงเยอะ มีอยู่2แบบคือ มีเกมแจกของรางวัล, กับมีคนติดดอย เข้าไปถามผบห.เจ้าของ
หนึ่งในนั้นเป็นบูทหุ้นสินเชื่อเพื่อSME เห็นว่าCEOตอบคำถามจนเจ็บคอ
รวมทั้งบูทหุ้นตู้เติมเงิน, บูทหุ้นรถขนส่งพนักงาน, บูทวางระบบสายส่งสัญญาณสื่อสารทางภาคใต้
และก็มาตกผลึก(ส่วนตัว) หลังจากเดินดู, เดินถามในงานอย่างนึงคือ หุ้นในMAI เยอะเกินครึ่งเป็นกลุ้มที่เกี่ยวข้องกับงานรับเหมา หรือซื้อมาขายไปซะเยอะ
อีกเรื่องคือ พอมาดูคุณภาพแล้ว บวกกับดูอดีตที่ผ่านมา...หุ้นMAIจะหาตัวที่ถือยาวๆแบบ3ปีขึ้นไป แทบไม่เจอเลย -*-
ปล.บางคนก็ว่าบรรยากาศตลาดช่วงนี้คนติดดอย พอร์ตพังกันเยอะ
แต่จากการลงพื้นที่ในงานMAI forumที่ผ่านมาบอกเลยว่า ไม่จริงฮะ ผมเห็นมีคนปอดใหญ่เบิ้มตั้ง4คนแนะ
(ส่วนไอ้เสื้อฟ้าตัวกลาง แก้มตอบ หน้าซีด ตัวแห้งละฮะ )
บูธที่มีคนเข้าไปมุงเยอะ มีอยู่2แบบคือ มีเกมแจกของรางวัล, กับมีคนติดดอย เข้าไปถามผบห.เจ้าของ
หนึ่งในนั้นเป็นบูทหุ้นสินเชื่อเพื่อSME เห็นว่าCEOตอบคำถามจนเจ็บคอ
รวมทั้งบูทหุ้นตู้เติมเงิน, บูทหุ้นรถขนส่งพนักงาน, บูทวางระบบสายส่งสัญญาณสื่อสารทางภาคใต้
และก็มาตกผลึก(ส่วนตัว) หลังจากเดินดู, เดินถามในงานอย่างนึงคือ หุ้นในMAI เยอะเกินครึ่งเป็นกลุ้มที่เกี่ยวข้องกับงานรับเหมา หรือซื้อมาขายไปซะเยอะ
อีกเรื่องคือ พอมาดูคุณภาพแล้ว บวกกับดูอดีตที่ผ่านมา...หุ้นMAIจะหาตัวที่ถือยาวๆแบบ3ปีขึ้นไป แทบไม่เจอเลย -*-
ปล.บางคนก็ว่าบรรยากาศตลาดช่วงนี้คนติดดอย พอร์ตพังกันเยอะ
แต่จากการลงพื้นที่ในงานMAI forumที่ผ่านมาบอกเลยว่า ไม่จริงฮะ ผมเห็นมีคนปอดใหญ่เบิ้มตั้ง4คนแนะ
(ส่วนไอ้เสื้อฟ้าตัวกลาง แก้มตอบ หน้าซีด ตัวแห้งละฮะ )
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
You only live once, but if you do it right, once is enough.
-
- Verified User
- โพสต์: 995
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3134
ทำไมพี่โรมต้องปิดหน้าด้วยละฮะ
romee เขียน:ได้มีโอกาสไปงาน MAI Forum เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
บูธที่มีคนเข้าไปมุงเยอะ มีอยู่2แบบคือ มีเกมแจกของรางวัล, กับมีคนติดดอย เข้าไปถามผบห.เจ้าของ
หนึ่งในนั้นเป็นบูทหุ้นสินเชื่อเพื่อSME เห็นว่าCEOตอบคำถามจนเจ็บคอ
รวมทั้งบูทหุ้นตู้เติมเงิน, บูทหุ้นรถขนส่งพนักงาน, บูทวางระบบสายส่งสัญญาณสื่อสารทางภาคใต้
และก็มาตกผลึก(ส่วนตัว) หลังจากเดินดู, เดินถามในงานอย่างนึงคือ หุ้นในMAI เยอะเกินครึ่งเป็นกลุ้มที่เกี่ยวข้องกับงานรับเหมา หรือซื้อมาขายไปซะเยอะ
อีกเรื่องคือ พอมาดูคุณภาพแล้ว บวกกับดูอดีตที่ผ่านมา...หุ้นMAIจะหาตัวที่ถือยาวๆแบบ3ปีขึ้นไป แทบไม่เจอเลย -*-
ปล.บางคนก็ว่าบรรยากาศตลาดช่วงนี้คนติดดอย พอร์ตพังกันเยอะ
แต่จากการลงพื้นที่ในงานMAI forumที่ผ่านมาบอกเลยว่า ไม่จริงฮะ ผมเห็นมีคนปอดใหญ่เบิ้มตั้ง4คนแนะ
(ส่วนไอ้เสื้อฟ้าตัวกลาง แก้มตอบ หน้าซีด ตัวแห้งละฮะ )
- AnieLee
- Verified User
- โพสต์: 1436
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3135
ณ วันที่ผมโพสปลายเดือน กพ ราคาหุ้นตัวนี้ อยู่แถว 6.40 บาท มา ณ วันนี้ 03/07/61 ราคาหุ้นเหลือเพียง 3.22 บาทครับ
คำถามคือ คุ้มค่าไหมที่จะลงทุนในกิจการตัวนี้ ^ ^ เท่าที่ผมประเมินมูลค่าไว้ ราคาตลาดตอนนี้ น้อยกว่า มูลค่าหุ้นที่ผมทำไว้ (แต่ผมก็ไม่แน่ใจอีกครับว่า ผมยังอาจมองดีเกินไปก็ได้ ถึงได้มูลค่าที่มากกว่าราคาตลาดตอนนี้ ฮ่าๆๆๆๆ) แต่ถ้าพิจารณาความเสี่ยงของกิจการแล้ว น่าหวาดเสียวพอสมควร ถึงแม้ราคาหุ้นอาจไม่ตกไปต่ำกว่านี้ (เรื่องนี้ ผมก็ไม่อาจแน่ใจได้) แต่ผมเชื่อว่า กว่าผลประกอบการจะดีขึ้น/ฟื้นตัว น่าจะยากลำบากพอสมควร ทั้งนี้ ก็เป็นเพราะนโยบายของผู้บริหารเอง หากยังใช้ฐานกิจการไว้ให้กลุ่มบริษัท startup เข้ามาคล้ายๆ backdoor แง่นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนกิจการนี้ ก็มีความเสี่ยงพอสมควร อย่างเคสที่ขาย บ.ย่อย ออกไป หากพิจารณาดูตอนที่ซื้อมา ผบห ก็ไม่ได้มีส่วนเข้าไปบริหารโดยตรง ปล่อยให้เจ้าของเดิมที่ขายให้ บริหารงาน ในขณะที่ ผบห บริษัทแม่ ไม่สามารถควบคุมนโยบายการดำเนินงานของบริษัทย่อยได้เลย
นี่ก็พิสูจน์แล้วว่า ที่ผมเคยกล่าวไว้นานแล้ว นั้น ผมไม่ได้อคติ (bias) ต่อกิจการนี้แต่อย่างใด หลังจากขายคัทลอสไปนานแล้ว ทั้งราคาหุ้นและผลประกอบการ ก็แย่ตามกันมาเรื่อยๆ ก็คงต้องติดตามกิจการกันดูต่อไปครับ ตามห่างๆ แต่ไม่ขอเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยครับ กิกิ ^ ^
หากใครยังถือหุ้นนี้อยู่ ก็เอาใจช่วยครับ
คำถามคือ คุ้มค่าไหมที่จะลงทุนในกิจการตัวนี้ ^ ^ เท่าที่ผมประเมินมูลค่าไว้ ราคาตลาดตอนนี้ น้อยกว่า มูลค่าหุ้นที่ผมทำไว้ (แต่ผมก็ไม่แน่ใจอีกครับว่า ผมยังอาจมองดีเกินไปก็ได้ ถึงได้มูลค่าที่มากกว่าราคาตลาดตอนนี้ ฮ่าๆๆๆๆ) แต่ถ้าพิจารณาความเสี่ยงของกิจการแล้ว น่าหวาดเสียวพอสมควร ถึงแม้ราคาหุ้นอาจไม่ตกไปต่ำกว่านี้ (เรื่องนี้ ผมก็ไม่อาจแน่ใจได้) แต่ผมเชื่อว่า กว่าผลประกอบการจะดีขึ้น/ฟื้นตัว น่าจะยากลำบากพอสมควร ทั้งนี้ ก็เป็นเพราะนโยบายของผู้บริหารเอง หากยังใช้ฐานกิจการไว้ให้กลุ่มบริษัท startup เข้ามาคล้ายๆ backdoor แง่นักลงทุนที่เข้าไปลงทุนกิจการนี้ ก็มีความเสี่ยงพอสมควร อย่างเคสที่ขาย บ.ย่อย ออกไป หากพิจารณาดูตอนที่ซื้อมา ผบห ก็ไม่ได้มีส่วนเข้าไปบริหารโดยตรง ปล่อยให้เจ้าของเดิมที่ขายให้ บริหารงาน ในขณะที่ ผบห บริษัทแม่ ไม่สามารถควบคุมนโยบายการดำเนินงานของบริษัทย่อยได้เลย
นี่ก็พิสูจน์แล้วว่า ที่ผมเคยกล่าวไว้นานแล้ว นั้น ผมไม่ได้อคติ (bias) ต่อกิจการนี้แต่อย่างใด หลังจากขายคัทลอสไปนานแล้ว ทั้งราคาหุ้นและผลประกอบการ ก็แย่ตามกันมาเรื่อยๆ ก็คงต้องติดตามกิจการกันดูต่อไปครับ ตามห่างๆ แต่ไม่ขอเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยครับ กิกิ ^ ^
หากใครยังถือหุ้นนี้อยู่ ก็เอาใจช่วยครับ
AnieLee เขียน:อีกเรื่องหนึ่งครับ เป้าหมายของท่านประธานบริษัทนี้ คือ การนำ startup เข้ามาในพอร์ต ก็คงเปรียบเหมือน Backdoor Startup นั่นเอง หากเป็นแบบนี้ ผถห รายย่อย อาจไม่ได้ประโยชน์ใดมากนัก ดูอย่างบริษัทย่อยที่ซื้อมาตอนแรกในราคาแสนแพง สุดท้ายเจ้าของเดิมซื้อคืนในราคาถูกกว่าอีก ความเสียหายที่เกิดขึ้น ผถห ก็รับกรรมไป โดยเฉพาะ ผถห รายย่อย นั่นเองครับAnieLee เขียน:มีบริษัทหนึ่ง เพิ่งจดทะเบียนเข้าตลาดมา เกือบๆ 1 ปี โดยก่อนหน้า มีการซื้อบริษัทลูกมาก่อนเข้าตลาดเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น มาถึงวันนี้ ก็ประกาศขายบริษัทย่อยนั้นออกมาแล้ว เข้าใจว่า
1. ตอนซื้อ อาจถูกหลอกให้ซื้อบริษัทย่อย เพื่อทำให้ขนาดบริษัทใหญ่พอเอาเข้าตลาด
2. ทำการซื้อมาในราคาแพง และใช้วิธีการแลกหุ้น โดยเอาหุ้นของบริษัทที่จะจดทะเบียนให้กับเจ้าของเดิมของบริษัทย่อย นั่นคือ เจ้าของเดิมบริษัทย่อย จะไม่ได้ถือหุ้นบริษัทของตนเอง แต่ไปถือหุ้นบริษัทที่จะจดทะเบียนเข้าตลาดแทน (บริษัทแม่)
หลังจากเข้าตลาดฯ แล้ว ผลประกอบการโดยรวมของบริษัทนี้ ก็แย่ตลอดมา เพราะบริษัทย่อย เป็นตัวถ่วงผลประกอบการ จากที่สังเกตุ OppDay ของบริษัทนี้ ผบห บริษัทย่อยที่ซื้อมาตอนแรก ไม่เคยมาให้ข้อมูลเลย ในขณะที่ ผบห บริษัทจดทะเบียน ก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทย่อยอะไรไม่ได้มากนัก ต่อมา บริษัทจดทะเบียนแห่งนี้ ไปซื้อกิจการอีกแห่ง พอ OppDay ถัดมา ผบห กิจการที่เพิ่งไปซื้อ ก็มาปรากฏตัวใน OppDay ด้วย แต่ว่า ผบห บริษัทย่อยเดิม ก็ไม่มาเช่นเดิม
และแล้ว ผบห บริษัทย่อยที่ซื้อมาแต่แรก ก็ลาออกจากการเป็นกรรมการ โอ้ว ก็เดานะว่า น่ามีความขัดแย้งกันแล้ว ส่วนหนึ่งคิดว่า การบริหารงานของบริษัทย่อยที่ห่วยแตก ใช้จ่ายเงินสิ้นเปลืองมากๆ เช่าออฟฟิตโคตรหรู จ้างพนักงานเพียบ (กำไรน้อยกว่าบริษัทแม่ แต่ออฟฟิตหรูกว่า แถมพนักงานมากกว่าบริษัทแม่)
สุดท้ายก็มีประกาศจากบริษัทแห่งนี้ว่า ขายบริษัทย่อยนี้ โดยขายหุ้นคืนให้แก่เจ้าของเดิม (ผบห บริษัทย่อย) 555 ที่ผ่านมา เจ้าของเดิมคนนี้ คงจะรวยเลย เพราะได้ถือหุ้นบริษัทจดทะเบียน มีมูลค่าตามราคาตลาด สุดท้าย ก็เอาเงินนั้นละ มาซื้อบริษัทคืน และอาจซื้อคืนได้ในราคาถูกกว่าที่ขายออกไปอีกด้วย เพราะผลประกอบการของบริษัทย่อยนี้ โคตรจะแย่หลังเป็นบริษัทย่อยของบริษัทจดทะเบียน
ผลสรุป นักลงทุนในตลาด คือ ผู้รับกรรม นั่นเอง
####################################################
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
ความสำเร็จจากการลงทุน ไม่ได้เกิดจาก "การซื้อของดี" แต่มาจาก "การซื้อของได้ดี" ต่างหาก
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3136
คล้ายๆหน่วยสืบราชการลับ...ออกหาข่าว เจ้าตัวไม่ควรออกสื่อ ประมาณนี้ครับพี่b4solid เขียน:ทำไมพี่โรมต้องปิดหน้าด้วยละฮะ
รีบเปลี่ยนเรื่องดีกว่า...หุ้นตกแบบนี้ มาหาหุ้นnew low เผื่อไปทำการบ้านกันเถอะ
หุ้นnew lowช่วงweekสิ้นเดือนมิ.ย. แบ่งด้วยช่วง PE ละกัน เพราะมี200กว่าตัว -*- 1/3ของตลาดเลยนะฮะ
หุ้นไม่มีPE (ยังขาดทุนอยู่นั่นเอง)
AFC ALT B BEC BTW CEN CRYSTAL F&D FANCY FC GRAMMY IRCP JSP JUTHA KKC KOOL LDC MM MNIT MNRF MPG NUSA PAF POPF PRECHA QHHR SAM SAMART SBPF SCI SDC SEAOIL SE-ED SIMAT SINGER SRICHA SSC STA TEAM THAI THCOM THRE TKT TLUXE TMC UMI URBNPF VPO ZMICO
หุ้น PE < 10 (เข้าถูกตัว ได้จ๊ะเอ๋กับคนในห้องหาดใหญ่แน่นวล )
GRAND STAR MCS TR INET MDX SVOA PERM TOP RCL SPRC SYNTEC SPCG PSH KSL ACAP FSS TIP KWG KGI PTTGC ASIAN PMTA WHAUP TPOLY UKEM ESTAR LST BCP SIRI SCP PL BIG TCCC SCB BR PAP CPR IRPC ASEFA BROOK PK
หุ้น PE 10 - 20 (เมื่อก่อนหุ้นบางตัว เคยเทรดที่PE > 30 ด้วยนะ )
JWD KCAR HFT TMILL HARN SSSC LIT TIPCO KTB CM UV TK THREL GC AJ CRD MK MFEC BSBM BWG AKP SUN ARROW DRT PDG JAS CSS APURE MTI AAV MBKET PM KAMART TSTH TASCO ALUCON MBKET TSR AIT OISHI PPP SUSCO UNIQ TU MBAX SUPER ECL TFG AMA ETE MC LEE SPG CHO CMO PRAKIT ROJNA DELTA GIFT COMAN NYT YUASA PPS TM SKE RP IHL ALLA L&E TRC ADB TFMAMA SUTHA TPIPP MAJOR WORK SE MAJOR MALEE BRR BPP LPH
หุ้น PE > 20 บางตัวก็แพงตลอดกาล, บางตัวก็กำไรหดเลยทำให้PEสูง, บางตัวก็พึ่งมีกำไรเลยPEยังสูงอยู่
BAFS SNP BIZ TRUBB ICHI SLP MALEE GGC ABM ROBINS OTO FPI TTA SAUCE ITEL SAMTEL III GTB PTG CITY APCO TAKUNI TNP S BA DCON TAPAC TPBI RJH PRM CCET BEAUTY THMUI WICE GCAP DEMCO SCCC QLT INOX SQ CMAN BH TNR TVT VIBHA COLOR EKH ITD FN TKN ILINK JMART GBX RS CBG PYLON UPOIC TAE DDD ASN TRUE CIMBT PSTC FVC CNT TNDT TCJ JTS MONO TGPRO SITHAI
You only live once, but if you do it right, once is enough.
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3137
https://m.facebook.com/story.php?story_ ... 2825085947
แวะนำคลิปผู้บริหารกลุ่มพลังงานมาพูดถึงธุรกิจตัวเอง
bcpg irpc tpipp
แวะนำคลิปผู้บริหารกลุ่มพลังงานมาพูดถึงธุรกิจตัวเอง
bcpg irpc tpipp
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3139
สัมมนา จาก สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เรื่อง จะลงทุนอย่างไรในตลาด Bear Market
ถือเป็นการส่งมองตำแหน่งประธานสภาจาก คุณ ตู่ วรวรรณ มาเป็นคุณ ไพบูลย์ เป็นประธานสมัยที่2
คุณไพบูลย์ให้คำจำกัดความว่า Bull market คือตลาดที่ขึ้นมากกว่า20% และ Bear Marketคือตลาดช่วงที่ลงมากกว่า20% ตลาดที่พัฒนาแล้วจะผันผวนน้อยกว่าตลาดเกิดใหม่
สังเกตจากกราฟหุ้นไทยที่ตีสเกลแบบexponential ตลาดหุ้นไทยเริ่มผันผวนน้อยลงกว่าเมื่อก่อน
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นได้อยู่ในสภาพ Bear market ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ภาวะเศรษฐกิจ ผลประกอบการ
Valuation , Fund Flow , อัตราแลกเปลี่ยน เมื่อวิเคราะห์แต่ละปัจจัยแล้ว
โอกาสที่หุ้นไทยอยู่ช่วงตลาดBear market น่าจะน้อยมาก
คุณตู่สรุปว่า โดยรวมๆตลาดน่าจะเป็นcorrectionมากกว่า ซึ่งที่ตลาดหุ้นตกหนักๆจะมีแค่สองช่วง
คือช่วงราชาเงินทุน และ ต้มยำกุ้งเท่านั้น
คุณ สมบัติ พูดต่อว่า ธรรมชาติของหุ้น คือ ผันผวน คาดการณ์ยาก
- มีความผันผวน ขึ้น ลงกว้างมาก และเป็นกิจวัตร
- มีปัจจัยมากมายมากระทบ
- ปัจจัยใดจะมีน้ำหนักมากขึ้นกับแต่ละสถานการณ์
- ค่าเฉลี่ยระยะยาว 5-10 ปี มักได้ผลตอบแทนสูง
- สถิติ43ปี average 12% plus dividend 4%
ส่วน ดร ภากร ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนใหม่ได้บอกว่า Q1ปีนี้กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ถึงแม้ต่างชาติขายออก แต่เนื่องจากmarket capเพิ่มขึ้น ดังนั้นสัดส่วนต่างชาติถือครองยังเท่าเดิมคือ 30%
คุณภากรได้ให้ข้อสังเกตว่า ตลาดเกิดใหม่ผันผวนกว่าตลาดพัฒนาแล้วเยอะ และ ระยะเวลาก็สั้นกว่าด้วย
Factorที่วัดว่าตลาดBear market วัดได้จากดัชนี3ตัว
1. Investor confident จากสภาตลาดทุนไทย
2. Investor sentiment from SET
3. Survey การทำแบบสอบถาม
ตอนนี้เรามีindex ใหม่คือ CLMV explosure index ที่มีบริษัทไทยที่ไปลงทุนในCLMV 30กว่าบริษัท
รวมถึง High dividend stock ซึ่งแสดงถึงหุ้นปันผลที่ให้เงินปันผลสูงในตลาด
ตอนนี้เฉลี่ยจ่ายอยู่ 3.1% ต่อปี
สุดท้ายเรามีบริษัทระดับโลกเรียกว่า Well being economy index
หมายถึงบริษัทที่น่าสนใจ เช่น AOT,Minor,BDMS,TU,Central Group
ซึ่งทั้งสามกลุ่มที่พูดถึง จะแสดงถึงความแข็งแกร่งของบริษัทในประเทศไทย
คุณไพบูลย์และคุณสมบัติได้เสริมว่าบริษัทที่น่าสนใจลงทุนเสริม ดร ภากร
จะอยู่ในกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับบริโภคภายในประเทศ เช่นค้าปลีก รวมถึง
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้ลงทุนในบริษัทลูกที่ทำFin tech
คุณสมบัติเสริมเพิ่มที่น่าสนใจได้แก่
Defensive stock , property fund / RIETs และแนะrebalancingสม่ำเสมอ
เมื่อตลาดcorrect , cashควรมีไว้ส่วนนึงไม่ว่าวิกฤตเล็ก หรือ ใหญ่
ควรลงทุนในบริษัทมากกว่าหนึ่งบริษัท ให้กระจายหลายธุรกิจสัก5ธุรกิจ และ หลายสินทรัพย์
ช่วงนี้น่าลงหุ้นbluechip เพราะต่างชาติตอนเข้าครั้งหน้า หุ้นกลุ่มนี้จะขึ้นก่อน
ทยอยลงทุน และ ถือยาว
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้ครับ
ถือเป็นการส่งมองตำแหน่งประธานสภาจาก คุณ ตู่ วรวรรณ มาเป็นคุณ ไพบูลย์ เป็นประธานสมัยที่2
คุณไพบูลย์ให้คำจำกัดความว่า Bull market คือตลาดที่ขึ้นมากกว่า20% และ Bear Marketคือตลาดช่วงที่ลงมากกว่า20% ตลาดที่พัฒนาแล้วจะผันผวนน้อยกว่าตลาดเกิดใหม่
สังเกตจากกราฟหุ้นไทยที่ตีสเกลแบบexponential ตลาดหุ้นไทยเริ่มผันผวนน้อยลงกว่าเมื่อก่อน
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นได้อยู่ในสภาพ Bear market ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ภาวะเศรษฐกิจ ผลประกอบการ
Valuation , Fund Flow , อัตราแลกเปลี่ยน เมื่อวิเคราะห์แต่ละปัจจัยแล้ว
โอกาสที่หุ้นไทยอยู่ช่วงตลาดBear market น่าจะน้อยมาก
คุณตู่สรุปว่า โดยรวมๆตลาดน่าจะเป็นcorrectionมากกว่า ซึ่งที่ตลาดหุ้นตกหนักๆจะมีแค่สองช่วง
คือช่วงราชาเงินทุน และ ต้มยำกุ้งเท่านั้น
คุณ สมบัติ พูดต่อว่า ธรรมชาติของหุ้น คือ ผันผวน คาดการณ์ยาก
- มีความผันผวน ขึ้น ลงกว้างมาก และเป็นกิจวัตร
- มีปัจจัยมากมายมากระทบ
- ปัจจัยใดจะมีน้ำหนักมากขึ้นกับแต่ละสถานการณ์
- ค่าเฉลี่ยระยะยาว 5-10 ปี มักได้ผลตอบแทนสูง
- สถิติ43ปี average 12% plus dividend 4%
ส่วน ดร ภากร ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนใหม่ได้บอกว่า Q1ปีนี้กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ถึงแม้ต่างชาติขายออก แต่เนื่องจากmarket capเพิ่มขึ้น ดังนั้นสัดส่วนต่างชาติถือครองยังเท่าเดิมคือ 30%
คุณภากรได้ให้ข้อสังเกตว่า ตลาดเกิดใหม่ผันผวนกว่าตลาดพัฒนาแล้วเยอะ และ ระยะเวลาก็สั้นกว่าด้วย
Factorที่วัดว่าตลาดBear market วัดได้จากดัชนี3ตัว
1. Investor confident จากสภาตลาดทุนไทย
2. Investor sentiment from SET
3. Survey การทำแบบสอบถาม
ตอนนี้เรามีindex ใหม่คือ CLMV explosure index ที่มีบริษัทไทยที่ไปลงทุนในCLMV 30กว่าบริษัท
รวมถึง High dividend stock ซึ่งแสดงถึงหุ้นปันผลที่ให้เงินปันผลสูงในตลาด
ตอนนี้เฉลี่ยจ่ายอยู่ 3.1% ต่อปี
สุดท้ายเรามีบริษัทระดับโลกเรียกว่า Well being economy index
หมายถึงบริษัทที่น่าสนใจ เช่น AOT,Minor,BDMS,TU,Central Group
ซึ่งทั้งสามกลุ่มที่พูดถึง จะแสดงถึงความแข็งแกร่งของบริษัทในประเทศไทย
คุณไพบูลย์และคุณสมบัติได้เสริมว่าบริษัทที่น่าสนใจลงทุนเสริม ดร ภากร
จะอยู่ในกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับบริโภคภายในประเทศ เช่นค้าปลีก รวมถึง
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้ลงทุนในบริษัทลูกที่ทำFin tech
คุณสมบัติเสริมเพิ่มที่น่าสนใจได้แก่
Defensive stock , property fund / RIETs และแนะrebalancingสม่ำเสมอ
เมื่อตลาดcorrect , cashควรมีไว้ส่วนนึงไม่ว่าวิกฤตเล็ก หรือ ใหญ่
ควรลงทุนในบริษัทมากกว่าหนึ่งบริษัท ให้กระจายหลายธุรกิจสัก5ธุรกิจ และ หลายสินทรัพย์
ช่วงนี้น่าลงหุ้นbluechip เพราะต่างชาติตอนเข้าครั้งหน้า หุ้นกลุ่มนี้จะขึ้นก่อน
ทยอยลงทุน และ ถือยาว
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้ครับ
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3140
เมื่อsolarroof ปรับเปลี่ยนโมเดลการทำธุรกิจ
สัก4ปีก่อน ธุรกิจsolarfarm, solarroof มาแรงมาก หุ้นหลายตัวแจ้งเกิดกันเยอะ, แค่บอกว่าจะทำsolar farm หุ้นก็พร้อมวิ่งทันที
แต่ตอนนี้นโยบายรัฐเปลี่ยนไป ใบอนุญาติ, ใบสัญญา ที่เขาเรียกกันว่า PPA ไม่มีออกมาใหม่ๆแล้ว...และถ้าเป็นงี้หลายบริษัทจะทำไงละ
บริษัทเหล่านี้ก็เปลี่ยนโมเดลในการทำธุรกิจครับ จากเดิมต้องรอใบPPA ติดตั้งเสร็จ...ก็รับเงินกับการไฟฟ้า
ก็เลยทำ PPPA หรือ private PPA ขึ้นมากันเอง
หลักๆคือติดตั้งsolar rooftop บนหลังคาของเอกชนให้ฟรี แล้วคำนวนว่าเอกชนเจ้าของหลังคานั้น จะลดค่าไฟได้เดือนละเท่าไร...ก็เก็บเงินกับเอกชนรายนั้นๆสัก 80-90% ของค่าไฟที่ลดได้จริง
เช่นสมมุติว่าติดrooftop สัก1MW (ส่วนใหญ่ขนาดติดตั้งจะเยอะเกือบๆ1M เพื่อความคุ้มค่า) แล้วลดค่าไฟได้เดือนละ3แสน ก็เก็บสัก 2.7แสน
ข้อดีฝั่งลูกค้า คือไม่ต้องลงทุนไรเลย ในระยะสัญญา20-25ปี แล้วแต่สัญญา
ข้อดีของบริษัทที่ลงทุน ได้เม็ดเงินเข้ามาสม่ำเสมอ ถ้าขยายการติดตั้งได้มากขึ้น ต้นทุนการติดตั้งก็จะถูกลง
ความเสี่ยงส่วนใหญ่จะตกอยู่กับบริษัทที่ลงทุนมากกว่า เพราะถ้าเอกชนที่ไปติดตั้งให้ เกิดเจ๊งขึ้นมาก่อนสัญญาจะจบ สัญญานั้นๆอาจจะขาดทุนได้
ความเสี่ยงอีกจุดนึง ก็คือนโยบายภาครัฐ เกิดออกกฎอะไรมาแปลกๆ ก็ต้องแก้ไข หรือหลบเลี่ยงกันไป
ตอนนี้มีเอกชนใหญ่ๆหลายเจ้า ทำโมเดลแบบนี้เยอะแล้วนะครับ
และโมเดลนี้กระทบหลายส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแน่นอน ทั้งกฟผ, รัฐบาล, เอกชน ถือว่ามาแชร์อีกมุมนึงของธุรกิจนี้ให้ฟังครับ
อ้างอิง
http://www.thansettakij.com/content/248213
http://goo.gl/8c41WH
http://www.eri.chula.ac.th/eri-main/wp- ... ion-V1.pdf
http://news1live.com/detail.aspx?NewsID=9600000094515
สัก4ปีก่อน ธุรกิจsolarfarm, solarroof มาแรงมาก หุ้นหลายตัวแจ้งเกิดกันเยอะ, แค่บอกว่าจะทำsolar farm หุ้นก็พร้อมวิ่งทันที
แต่ตอนนี้นโยบายรัฐเปลี่ยนไป ใบอนุญาติ, ใบสัญญา ที่เขาเรียกกันว่า PPA ไม่มีออกมาใหม่ๆแล้ว...และถ้าเป็นงี้หลายบริษัทจะทำไงละ
บริษัทเหล่านี้ก็เปลี่ยนโมเดลในการทำธุรกิจครับ จากเดิมต้องรอใบPPA ติดตั้งเสร็จ...ก็รับเงินกับการไฟฟ้า
ก็เลยทำ PPPA หรือ private PPA ขึ้นมากันเอง
หลักๆคือติดตั้งsolar rooftop บนหลังคาของเอกชนให้ฟรี แล้วคำนวนว่าเอกชนเจ้าของหลังคานั้น จะลดค่าไฟได้เดือนละเท่าไร...ก็เก็บเงินกับเอกชนรายนั้นๆสัก 80-90% ของค่าไฟที่ลดได้จริง
เช่นสมมุติว่าติดrooftop สัก1MW (ส่วนใหญ่ขนาดติดตั้งจะเยอะเกือบๆ1M เพื่อความคุ้มค่า) แล้วลดค่าไฟได้เดือนละ3แสน ก็เก็บสัก 2.7แสน
ข้อดีฝั่งลูกค้า คือไม่ต้องลงทุนไรเลย ในระยะสัญญา20-25ปี แล้วแต่สัญญา
ข้อดีของบริษัทที่ลงทุน ได้เม็ดเงินเข้ามาสม่ำเสมอ ถ้าขยายการติดตั้งได้มากขึ้น ต้นทุนการติดตั้งก็จะถูกลง
ความเสี่ยงส่วนใหญ่จะตกอยู่กับบริษัทที่ลงทุนมากกว่า เพราะถ้าเอกชนที่ไปติดตั้งให้ เกิดเจ๊งขึ้นมาก่อนสัญญาจะจบ สัญญานั้นๆอาจจะขาดทุนได้
ความเสี่ยงอีกจุดนึง ก็คือนโยบายภาครัฐ เกิดออกกฎอะไรมาแปลกๆ ก็ต้องแก้ไข หรือหลบเลี่ยงกันไป
ตอนนี้มีเอกชนใหญ่ๆหลายเจ้า ทำโมเดลแบบนี้เยอะแล้วนะครับ
และโมเดลนี้กระทบหลายส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแน่นอน ทั้งกฟผ, รัฐบาล, เอกชน ถือว่ามาแชร์อีกมุมนึงของธุรกิจนี้ให้ฟังครับ
อ้างอิง
http://www.thansettakij.com/content/248213
http://goo.gl/8c41WH
http://www.eri.chula.ac.th/eri-main/wp- ... ion-V1.pdf
http://news1live.com/detail.aspx?NewsID=9600000094515
You only live once, but if you do it right, once is enough.
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3142
ไปฟังสัมมนามาเมื่อวาน เหมาะกับคนหนุ่มสาวในห้องที่มีเวลาในการเตรียมตัวก่อนเกษียณมากเลยมาฝากครับ
จัดทัพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ โดย ดร สมจินต์ ศรไพศาล CEO บลจ ทหารไทย
มีขึ้นตอนหลักๆอยู่3ข้อคือ
1.การตัดสินใจที่สำคัญ
2.ลงทุนอย่างมีหลัก
3.เครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน
อันแรกสุดคือเป้าหมาย เราจะวัดความสำเร็จเราได้อย่างไร ถ้าจะวัดความสำเร็จ การวางแผน
การเงินก็คือ เราอยากได้อะไรในชีวิต แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว
ระยะสั้น ได้แก่ วัยรุ่นตั้งเป้าอยากได้มือถือ หรือ คนเริ่มทำงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เป็นต้น
ระยะกลาง สำหรับวัยกลางคน มีครอบครัวแล้ว ก็วางแผนเพื่อจ่ายค่าเทอมลูก
ระยะยาว สำหรับคนที่วางแผนเกษียณ ก็วางแผนการเงินเพื่อให้มีเงินเพียงพอที่จับจ่ายหลังเกษียณ หรือ การวางแผนมรดก
จากการสำรวจพบว่า แผนระยะยาว เตรียมเงินให้พอสำหรับใช้ในวัยเกษียณ เป็นเรื่องที่คนคำนึงถึงเยอะสุด
คำถามแรกที่เราต้องตอบคือ ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ให้พอเกษียณ
แบ่งเป็น2คำตอบตามความยากในการคิด
อันแรก คำตอบแบบง่ายคือ เท่ากับ 20เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี โดยเงินหลังเกษียณนำไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ข้อมูลไว้ว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของคนไทยต่อครอบครัวที่ใช้หลังเกษียณ
เป็นปีที่เก็บข้อมูลล่าสุดคือปี57 เท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน
แต่ถ้ามาใช้ในปัจจุบัน เพิ่มในส่วนของเงินเฟ้อ ประมาณว่า 25,000 บาท * 12 เดือน * 20 เท่า = 6 ล้านบาท
แต่ถ้าเราไม่ได้วางแผนแต่งงาน เงินที่มีหลังเกษียณคิดต่อคน คร่าวๆอย่างน้อยก็ต้องมี 3 ล้านบาท
Standard of livingของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น แต่ละคนก็ไปตั้งเป้าเองว่า
จะมีเงินหลังเกษียณเท่าไหร่ดี โดยต้องกำหนดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ และ จำนวนปีที่อยู่หลังเกษียณด้วย
การวางแผนการเกษียณ ต้องสนใจ3เรื่องได้แก่
1. เป้าหมาย
2. การจัดทัพลงทุน หรือ asset allocation
3. อัตราการออม
การวัดผลอย่างง่ายว่าเราจะอยู่ได้หลังเกษียณ ดูจาก Survival ratio หรือ อัตราส่วนความอยู่รอด ต้องมากกว่า1
ซึ่งมาจาก รายได้จากการทำงานหลังหักค่าใช้จ่าย เทียบกับค่าใช้จ่าย ต้องมากกว่า
อันนี้เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่อิสระภาพทางการเงิน เราต้องคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ มีตัวอย่างว่าคนที่มีเงินเดือนสูงขึ้นเรื่อยๆ
แต่ไม่คุมค่าใช้จ่ายปล่อยให้โตตามรายได้ พบว่าอัตราการออมต่ำกว่าคนรายได้น้อยก็มี
ถ้าต้องการเกษียณแล้วเงินใช้ หรือ โชคดีถ้าทำได้ก่อน60ปี ก็ถือว่ามีอิสรภาพทางการเงินต้องดูอัตราตัวใหม่คือ
Wealth Ratio >= 1 หมายถึง รายได้จากทรัพย์สิน มากกว่า รายจ่าย
ความมั่งคั่งมีเพิ่มขึ้นได้ มาจาก2ปัจจัย คือ การหารายได้เพิ่มขึ้น และ ลดรายจ่ายลง
รายได้แบ่งออกเป็น2แบบ
1.Active income ได้แก่ เงินเดือน ค่านายหน้า โบนัส Incentive หรือค่าเขียนหนังสือ สอนหนังสือ ถ่ายแบบ แสดงหนัง เป็นต้น
2.Passive income เป็นรายได้จากทรัพย์สินที่เราลงทุน ได้แก่ ค่าเช่าจากรถtaxi,บ้าน หรือ คอนโด เงินปันผลจากหุ้น หรือ กองทุนรวม
ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้
ค่าใช้จ่ายได้แก่ ค่ากาแฟ บุหรี่ ค่าเหล้า หรือ ค่าอาหารที่ทานนอกบ้าน ยิ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน จะมีส่วนนี้มาก
หลักในการเพิ่มรายได้คือ เปลี่ยนรายจ่ายเล็กน้อยที่เป็นประจำ เป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญ
ค่าใช้จ่ายเรื่องกาแฟ สมมติว่าวันละ 100 บาท ถ้าเราไม่ทาน 10ปีเราประหยัดไป 550,000 บาท 30 ปี ก็ 4,300,000 บาท
จากหนังสือ Happy money ได้บอกไว้ว่า การทานหรือดื่มอะไรประจำ ครั้งแรกจะประทับใจมากสุด แต่ถ้าทำประจำความรู้สึกนี้ก็หายไป
ในหนังสือได้พูดถึง ดัชนี Latte factor คือกำหนดวันที่จะมาทานLatte หรือกาแฟรสชาติอื่น เป็นวันพุธ (เหมาะกับเมืองไทย เพราะเห็นหลายร้าน
มีลดรายวันพุธด้วย) ส่วนวันอื่นๆเราก็ทานกาแฟที่บ้านหรือสำนักงานแทน
ซึ่งการทำแบบนี้เราจะได้ตื่นเต้นและประทับใจกับรสชาติกาแฟเหมือนครั้งแรกที่ทานรวมทั้งได้เงินออมเพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนเรื่องการทานข้าวนอกบ้าน ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง ถ้าเราอยากออมเงินเพิ่ม เราก็ตั้งเป้าต้องออมเงินไว้ที่ภรรยาหรือสามีในอัตราเดียวกันด้วย
ค่าใช้จ่ายอีกอย่างที่ค่อนข้างใหญ่คือรถยนต์ ซึ่งเป็นตัวแทนของหน้าตาของเราในสังคม ถ้าเราเปลี่ยนมันเป็นหน้าที่ ที่คอยรับใช้เรา
เปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกใช้รถให้เหมาะสมกับเรา ไม่ใช้รถขนาดใหญ่เกินไป รวมถึง ระยะเวลาในการเปลี่ยนรถใหม่ จากเดิม 5 ปี เป็น 8 ปี
เราสามารถประหยัดเงินได้ 3.7 ล้านบาทในช่วง30ปี แต่ถ้าเราเอาเงินจำนวนนี้ไปลงทุนก็จะกลายเป็น 17.8 ล้านบาทเมื่อเราเกษียณอายุตอน60ปี
สรุป เป้าหมายคืออันดับแรกที่ต้องมี การเตรียมเงินให้พอใช้เพื่อการเกษียณ การประสบความสำเร็จเริ่มต้นที่วันนี้
ถ้าดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ปฏิบัติอย่างจริงจัง นำกำไรไปสร้างทรัพย์สินก่อน ค่อยเสพสุขในภายหลัง เหมือนกับคำสุภาษิต อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
หรือ คำสอนของคนจีนที่ว่า เสียวลี่ก่อยก่วย จี่งิ้งอ๊อกฉ่วย หมายถึงความขายหน้าไม่นานก็หายไปถ้าเราประหยัด เงินทองหายาก ต้องพยายามออมไว้มากๆ
โปรดติดตามตอนที่2 เร็วๆนี้
จัดทัพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ โดย ดร สมจินต์ ศรไพศาล CEO บลจ ทหารไทย
มีขึ้นตอนหลักๆอยู่3ข้อคือ
1.การตัดสินใจที่สำคัญ
2.ลงทุนอย่างมีหลัก
3.เครื่องมือที่ช่วยในการวางแผน
อันแรกสุดคือเป้าหมาย เราจะวัดความสำเร็จเราได้อย่างไร ถ้าจะวัดความสำเร็จ การวางแผน
การเงินก็คือ เราอยากได้อะไรในชีวิต แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว
ระยะสั้น ได้แก่ วัยรุ่นตั้งเป้าอยากได้มือถือ หรือ คนเริ่มทำงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ เป็นต้น
ระยะกลาง สำหรับวัยกลางคน มีครอบครัวแล้ว ก็วางแผนเพื่อจ่ายค่าเทอมลูก
ระยะยาว สำหรับคนที่วางแผนเกษียณ ก็วางแผนการเงินเพื่อให้มีเงินเพียงพอที่จับจ่ายหลังเกษียณ หรือ การวางแผนมรดก
จากการสำรวจพบว่า แผนระยะยาว เตรียมเงินให้พอสำหรับใช้ในวัยเกษียณ เป็นเรื่องที่คนคำนึงถึงเยอะสุด
คำถามแรกที่เราต้องตอบคือ ต้องเตรียมเงินเท่าไหร่ให้พอเกษียณ
แบ่งเป็น2คำตอบตามความยากในการคิด
อันแรก คำตอบแบบง่ายคือ เท่ากับ 20เท่าของค่าใช้จ่ายต่อปี โดยเงินหลังเกษียณนำไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ข้อมูลไว้ว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของคนไทยต่อครอบครัวที่ใช้หลังเกษียณ
เป็นปีที่เก็บข้อมูลล่าสุดคือปี57 เท่ากับ 20,000 บาทต่อเดือน
แต่ถ้ามาใช้ในปัจจุบัน เพิ่มในส่วนของเงินเฟ้อ ประมาณว่า 25,000 บาท * 12 เดือน * 20 เท่า = 6 ล้านบาท
แต่ถ้าเราไม่ได้วางแผนแต่งงาน เงินที่มีหลังเกษียณคิดต่อคน คร่าวๆอย่างน้อยก็ต้องมี 3 ล้านบาท
Standard of livingของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น แต่ละคนก็ไปตั้งเป้าเองว่า
จะมีเงินหลังเกษียณเท่าไหร่ดี โดยต้องกำหนดค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ และ จำนวนปีที่อยู่หลังเกษียณด้วย
การวางแผนการเกษียณ ต้องสนใจ3เรื่องได้แก่
1. เป้าหมาย
2. การจัดทัพลงทุน หรือ asset allocation
3. อัตราการออม
การวัดผลอย่างง่ายว่าเราจะอยู่ได้หลังเกษียณ ดูจาก Survival ratio หรือ อัตราส่วนความอยู่รอด ต้องมากกว่า1
ซึ่งมาจาก รายได้จากการทำงานหลังหักค่าใช้จ่าย เทียบกับค่าใช้จ่าย ต้องมากกว่า
อันนี้เป็นพื้นฐานที่นำไปสู่อิสระภาพทางการเงิน เราต้องคุมค่าใช้จ่ายให้ได้ มีตัวอย่างว่าคนที่มีเงินเดือนสูงขึ้นเรื่อยๆ
แต่ไม่คุมค่าใช้จ่ายปล่อยให้โตตามรายได้ พบว่าอัตราการออมต่ำกว่าคนรายได้น้อยก็มี
ถ้าต้องการเกษียณแล้วเงินใช้ หรือ โชคดีถ้าทำได้ก่อน60ปี ก็ถือว่ามีอิสรภาพทางการเงินต้องดูอัตราตัวใหม่คือ
Wealth Ratio >= 1 หมายถึง รายได้จากทรัพย์สิน มากกว่า รายจ่าย
ความมั่งคั่งมีเพิ่มขึ้นได้ มาจาก2ปัจจัย คือ การหารายได้เพิ่มขึ้น และ ลดรายจ่ายลง
รายได้แบ่งออกเป็น2แบบ
1.Active income ได้แก่ เงินเดือน ค่านายหน้า โบนัส Incentive หรือค่าเขียนหนังสือ สอนหนังสือ ถ่ายแบบ แสดงหนัง เป็นต้น
2.Passive income เป็นรายได้จากทรัพย์สินที่เราลงทุน ได้แก่ ค่าเช่าจากรถtaxi,บ้าน หรือ คอนโด เงินปันผลจากหุ้น หรือ กองทุนรวม
ดอกเบี้ยจากตราสารหนี้
ค่าใช้จ่ายได้แก่ ค่ากาแฟ บุหรี่ ค่าเหล้า หรือ ค่าอาหารที่ทานนอกบ้าน ยิ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน จะมีส่วนนี้มาก
หลักในการเพิ่มรายได้คือ เปลี่ยนรายจ่ายเล็กน้อยที่เป็นประจำ เป็นแหล่งเงินออมที่สำคัญ
ค่าใช้จ่ายเรื่องกาแฟ สมมติว่าวันละ 100 บาท ถ้าเราไม่ทาน 10ปีเราประหยัดไป 550,000 บาท 30 ปี ก็ 4,300,000 บาท
จากหนังสือ Happy money ได้บอกไว้ว่า การทานหรือดื่มอะไรประจำ ครั้งแรกจะประทับใจมากสุด แต่ถ้าทำประจำความรู้สึกนี้ก็หายไป
ในหนังสือได้พูดถึง ดัชนี Latte factor คือกำหนดวันที่จะมาทานLatte หรือกาแฟรสชาติอื่น เป็นวันพุธ (เหมาะกับเมืองไทย เพราะเห็นหลายร้าน
มีลดรายวันพุธด้วย) ส่วนวันอื่นๆเราก็ทานกาแฟที่บ้านหรือสำนักงานแทน
ซึ่งการทำแบบนี้เราจะได้ตื่นเต้นและประทับใจกับรสชาติกาแฟเหมือนครั้งแรกที่ทานรวมทั้งได้เงินออมเพิ่มขึ้นด้วย
ส่วนเรื่องการทานข้าวนอกบ้าน ค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง ถ้าเราอยากออมเงินเพิ่ม เราก็ตั้งเป้าต้องออมเงินไว้ที่ภรรยาหรือสามีในอัตราเดียวกันด้วย
ค่าใช้จ่ายอีกอย่างที่ค่อนข้างใหญ่คือรถยนต์ ซึ่งเป็นตัวแทนของหน้าตาของเราในสังคม ถ้าเราเปลี่ยนมันเป็นหน้าที่ ที่คอยรับใช้เรา
เปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกใช้รถให้เหมาะสมกับเรา ไม่ใช้รถขนาดใหญ่เกินไป รวมถึง ระยะเวลาในการเปลี่ยนรถใหม่ จากเดิม 5 ปี เป็น 8 ปี
เราสามารถประหยัดเงินได้ 3.7 ล้านบาทในช่วง30ปี แต่ถ้าเราเอาเงินจำนวนนี้ไปลงทุนก็จะกลายเป็น 17.8 ล้านบาทเมื่อเราเกษียณอายุตอน60ปี
สรุป เป้าหมายคืออันดับแรกที่ต้องมี การเตรียมเงินให้พอใช้เพื่อการเกษียณ การประสบความสำเร็จเริ่มต้นที่วันนี้
ถ้าดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ปฏิบัติอย่างจริงจัง นำกำไรไปสร้างทรัพย์สินก่อน ค่อยเสพสุขในภายหลัง เหมือนกับคำสุภาษิต อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
หรือ คำสอนของคนจีนที่ว่า เสียวลี่ก่อยก่วย จี่งิ้งอ๊อกฉ่วย หมายถึงความขายหน้าไม่นานก็หายไปถ้าเราประหยัด เงินทองหายาก ต้องพยายามออมไว้มากๆ
โปรดติดตามตอนที่2 เร็วๆนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3143
จัดทัพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จตอนที่2
เรามาพูดถึงปัจจัยที่สองที่มีผลต่อการจัดทัพคือ
ลงทุนอย่างมีหลัก ซึ่งมีตราสารหลายอย่างที่สามารถลงทุนได้ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ แต่ถ้าเรามีเวลาในการลงทุนที่ยาวพอ
หุ้นขนาดเล็กจะให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ก็จะมีความเสี่ยงสูงสุด ราคาขึ้น ลงตลอดเวลา
แต่ถ้าเราไม่ลงทุนก็มีความเสี่ยงเพราะ เงินเฟ้อจะกัดกร่อนเงินที่เราเก็บให้มีค่าน้อยเวลาจับจ่ายซื้อของ
มาดูผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์โดยเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี 1993-2017
1.Cash return 2.43% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 158 บาท
2.Short term Bond 3.71% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 200 บาท
3.Bond 5.49% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 276 บาท
4.SET 13.05% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 1028 บาท
แต่โดยเฉลี่ยที่คนธรรมดาลงทุนในหุ้นมักจะไม่ได้ผลตอบแทน13.05%โดยเฉลี่ย เพราะแต่ละปีเราพยากรณ์
ว่าหุ้นจะขึ้น หรือ ลงเท่าไหร่ ตลาดหุ้นผันผวนตลอดเวลา บางครั้งเราขายไปปรากฏว่าหุ้นขึ้น
บางครั้งพึ่งซื้อ ก็ติดดอยพอดี หมายถึงซื้อตอนราคาสูงสุด
ผลตอบแทนจากหุ้นแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1. Capital gain ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มจากราคาที่เราซื้อไป อย่าได้สนใจเฉพาะส่วนนี้อย่างเดียว ไม่เก็งกำไรระยะสั้น
2. Dividend เงินปันผลเฉลี่ยของหุ้นทั้งตลาดหลักทรัพย์ในช่วงปี1997-2017คือ 3% แต่ถ้าคิดจากดัชนีตอนปี1997
อยู่ที่ 300จุดพบว่าได้ปันผลถึง 13%ต่อปี ถ้าเรานำเงินปันผลมาลงทุนใหม่หรือ Reinvest จะได้ 10.28 ลบ
จากเงินเริ่มต้น 1 ลบ
สรุปคือ 1. เราควรถือยาวในหุ้นที่ดีหรือกองทุนรวมหุ้นเช่น TMBSET50 ให้เราถือยาวเหมือนเป็นหุ้นส่วนของบริษัท
2.เราต้องเข้าใจถึงระยะเวลาในการถือครองด้วย Horizon effect จะบอกว่าความเสี่ยงในการถือครองมากน้อยขึ้นอยู่
กับระยะเวลาในการลงทุนว่ายาวหรือสั้นด้วย แต่ถ้าถือเป็นเวลายาวมากพอเช่น 15 ปีขึ้น โอกาสการขาดทุนจะน้อยมาก
แต่ถ้าลงทุนแค่1ปี ยังมีโอกาสขาดทุน5%
Impact of 3 Keys Investment Decisions
ปัจจัยที่ทำให้ประสบในการลงทุนมี3ปัจจัย
1. Asset allocation (จัดประเภทสินทรัพย์ในกการลงทุน) มีผล 92%
2. Securities Selection (เลือกหุ้นหรือตราสาร) มีผล 5%
3. Market Timing (จับจังหวะลงทุน) มีผล 2%
ดังนั้น เราควรเน้นเรื่องการจัดสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับเราเป็นอันดับแรก เช่น หุ้นกี่% ตราสารหนี้กี่% ตราสารทางเลือกกี่%
บทความต่อไปจะพูดถึง Purpose-Driven Asset Allocation
เรามาพูดถึงปัจจัยที่สองที่มีผลต่อการจัดทัพคือ
ลงทุนอย่างมีหลัก ซึ่งมีตราสารหลายอย่างที่สามารถลงทุนได้ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ แต่ถ้าเรามีเวลาในการลงทุนที่ยาวพอ
หุ้นขนาดเล็กจะให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ก็จะมีความเสี่ยงสูงสุด ราคาขึ้น ลงตลอดเวลา
แต่ถ้าเราไม่ลงทุนก็มีความเสี่ยงเพราะ เงินเฟ้อจะกัดกร่อนเงินที่เราเก็บให้มีค่าน้อยเวลาจับจ่ายซื้อของ
มาดูผลตอบแทนของแต่ละสินทรัพย์โดยเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี 1993-2017
1.Cash return 2.43% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 158 บาท
2.Short term Bond 3.71% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 200 บาท
3.Bond 5.49% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 276 บาท
4.SET 13.05% ต่อปี ลงทุน 100 บาท จะได้ 1028 บาท
แต่โดยเฉลี่ยที่คนธรรมดาลงทุนในหุ้นมักจะไม่ได้ผลตอบแทน13.05%โดยเฉลี่ย เพราะแต่ละปีเราพยากรณ์
ว่าหุ้นจะขึ้น หรือ ลงเท่าไหร่ ตลาดหุ้นผันผวนตลอดเวลา บางครั้งเราขายไปปรากฏว่าหุ้นขึ้น
บางครั้งพึ่งซื้อ ก็ติดดอยพอดี หมายถึงซื้อตอนราคาสูงสุด
ผลตอบแทนจากหุ้นแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1. Capital gain ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มจากราคาที่เราซื้อไป อย่าได้สนใจเฉพาะส่วนนี้อย่างเดียว ไม่เก็งกำไรระยะสั้น
2. Dividend เงินปันผลเฉลี่ยของหุ้นทั้งตลาดหลักทรัพย์ในช่วงปี1997-2017คือ 3% แต่ถ้าคิดจากดัชนีตอนปี1997
อยู่ที่ 300จุดพบว่าได้ปันผลถึง 13%ต่อปี ถ้าเรานำเงินปันผลมาลงทุนใหม่หรือ Reinvest จะได้ 10.28 ลบ
จากเงินเริ่มต้น 1 ลบ
สรุปคือ 1. เราควรถือยาวในหุ้นที่ดีหรือกองทุนรวมหุ้นเช่น TMBSET50 ให้เราถือยาวเหมือนเป็นหุ้นส่วนของบริษัท
2.เราต้องเข้าใจถึงระยะเวลาในการถือครองด้วย Horizon effect จะบอกว่าความเสี่ยงในการถือครองมากน้อยขึ้นอยู่
กับระยะเวลาในการลงทุนว่ายาวหรือสั้นด้วย แต่ถ้าถือเป็นเวลายาวมากพอเช่น 15 ปีขึ้น โอกาสการขาดทุนจะน้อยมาก
แต่ถ้าลงทุนแค่1ปี ยังมีโอกาสขาดทุน5%
Impact of 3 Keys Investment Decisions
ปัจจัยที่ทำให้ประสบในการลงทุนมี3ปัจจัย
1. Asset allocation (จัดประเภทสินทรัพย์ในกการลงทุน) มีผล 92%
2. Securities Selection (เลือกหุ้นหรือตราสาร) มีผล 5%
3. Market Timing (จับจังหวะลงทุน) มีผล 2%
ดังนั้น เราควรเน้นเรื่องการจัดสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับเราเป็นอันดับแรก เช่น หุ้นกี่% ตราสารหนี้กี่% ตราสารทางเลือกกี่%
บทความต่อไปจะพูดถึง Purpose-Driven Asset Allocation
-
- Verified User
- โพสต์: 842
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3144
ระหว่างรอ propose driven asset allocation (น่าจะแปลว่าจัดผอร์ทตามใจฉัน..)ของท่านพี่amornkowa
มาส่งการบ้านท่านptaseeker เรื่องOD capital (กระทู้นี้หน้า92 เล่าว่าไปไฝว้(fight)กันมา)
https://pantip.com/topic/37854710
น้ำลดตอผุดไปอีกรายล่ะฮะ
มาส่งการบ้านท่านptaseeker เรื่องOD capital (กระทู้นี้หน้า92 เล่าว่าไปไฝว้(fight)กันมา)
https://pantip.com/topic/37854710
น้ำลดตอผุดไปอีกรายล่ะฮะ
samatah
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3145
AGM IMPACT 16 JULY 18 10.00 ณ Impact เมืองทองธานี
ประชุมกองอสังหา Impact Growth REITsปีนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ
1.กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 998 ลบ เป็น 1,203 ลบสำหรับงวด 1เมย 60 ถึง 31 มีค 61
เนื่องจากปีก่อนหน้าเป็นช่วงไว้อาลัยในหลวงรัชกาลที่9 ดังนั้นมีหลายงานขอเลื่อนการจัดงานออกไป
2.ค่าตรวจสอบบัญชีลดลงจาก2.5ลบเหลือ2.41ลบ ขอบคุณผู้บริหารและสำนักงาน EY ด้วยครับ
3.อัตราการใช้พื้นที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 46% เป็น 50% ผู้บริหารแจ้งว่าอัตราการใช้เพิ่มที่เฉลี่ยสูงสุดได้ไม่เกิน
70% โดยพยายามให้หลายงานของภาครัฐใช้ในช่วงวันธรรมดา หรือใช้ต่อเนื่องถึงวันจันทร์ เป็นการเพิ่ม
รายได้อีกทาง
4.การอำนวยความสะดวกของคนที่มาใช้บริการ โดยทางBLANDได้ขอตั้งสถานีย่อยของรถไฟฟ้าสายสีชมพู
เข้ามาในเมืองทองธานีอีก2สถานีคือ ที่วงเวียน โดยImpactจะทำทางเชื่อมเข้าอาคาร
ส่วนอีกสถานีคือลานทะเลสาบ คาดว่าจะเสร็จในปี 2023
5.ประโยชน์จากศูนย์ประชุมสิริกิต์ปิดปรับปรุง ทำให้ได้ลูกค้ามาใช้บริการImpact ตอนนี้ได้มาสามราย
และกำลังเจรจาอีกหลายราย ได้ผลตอบรับดี คาดว่าบางรายอาจมาใช้พื้นที่Impactเพิ่มหลังศูนย์ประชุมสิริกิต์เสร็จ
6.เงินสดที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสอบถามว่าจะไปทำอะไรที่ได้ผลตอบแทนมากกว่านี้ ซึ่งได้แค่0.62%สำหรับจำนวนเงิน
270ลบ ผู้บริหารตอบว่า เงินส่วนนึงเก็บไว้สำหรับจ่ายปันผล อีกส่วนคือสำหรับเสริมสภาพคล่องให้บริษัท
7.ส่วนการจราจรที่ติดขัดตอนนี้รวมไปถึงตอนสร้างรถไฟฟ้าเข้าเมืองทองจะติดมากขึ้น ผู้บริหารรับเรื่องไว้พิจารณา
8.การขึ้นค่าเช่า ปกติเราสามารถขึ้นค่าเช่ากับร้านค้าตามสัญญาทุก2-3ปี ตามอัตราเงินเฟ้อ
9.การเติบโตของรายได้และกำไร ประมาณ 4-5%ต่อปี ถ้าต้องการให้โตมากกว่านี้ต้องเป็นการซื้อเพิ่มจากทางBLAND
โดยการกู้ยืมเงินหรือเพิ่มทุน
ขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่านที่มาให้ข้อมูลครับ
ประชุมกองอสังหา Impact Growth REITsปีนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ
1.กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 998 ลบ เป็น 1,203 ลบสำหรับงวด 1เมย 60 ถึง 31 มีค 61
เนื่องจากปีก่อนหน้าเป็นช่วงไว้อาลัยในหลวงรัชกาลที่9 ดังนั้นมีหลายงานขอเลื่อนการจัดงานออกไป
2.ค่าตรวจสอบบัญชีลดลงจาก2.5ลบเหลือ2.41ลบ ขอบคุณผู้บริหารและสำนักงาน EY ด้วยครับ
3.อัตราการใช้พื้นที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 46% เป็น 50% ผู้บริหารแจ้งว่าอัตราการใช้เพิ่มที่เฉลี่ยสูงสุดได้ไม่เกิน
70% โดยพยายามให้หลายงานของภาครัฐใช้ในช่วงวันธรรมดา หรือใช้ต่อเนื่องถึงวันจันทร์ เป็นการเพิ่ม
รายได้อีกทาง
4.การอำนวยความสะดวกของคนที่มาใช้บริการ โดยทางBLANDได้ขอตั้งสถานีย่อยของรถไฟฟ้าสายสีชมพู
เข้ามาในเมืองทองธานีอีก2สถานีคือ ที่วงเวียน โดยImpactจะทำทางเชื่อมเข้าอาคาร
ส่วนอีกสถานีคือลานทะเลสาบ คาดว่าจะเสร็จในปี 2023
5.ประโยชน์จากศูนย์ประชุมสิริกิต์ปิดปรับปรุง ทำให้ได้ลูกค้ามาใช้บริการImpact ตอนนี้ได้มาสามราย
และกำลังเจรจาอีกหลายราย ได้ผลตอบรับดี คาดว่าบางรายอาจมาใช้พื้นที่Impactเพิ่มหลังศูนย์ประชุมสิริกิต์เสร็จ
6.เงินสดที่ผู้ถือหน่วยลงทุนสอบถามว่าจะไปทำอะไรที่ได้ผลตอบแทนมากกว่านี้ ซึ่งได้แค่0.62%สำหรับจำนวนเงิน
270ลบ ผู้บริหารตอบว่า เงินส่วนนึงเก็บไว้สำหรับจ่ายปันผล อีกส่วนคือสำหรับเสริมสภาพคล่องให้บริษัท
7.ส่วนการจราจรที่ติดขัดตอนนี้รวมไปถึงตอนสร้างรถไฟฟ้าเข้าเมืองทองจะติดมากขึ้น ผู้บริหารรับเรื่องไว้พิจารณา
8.การขึ้นค่าเช่า ปกติเราสามารถขึ้นค่าเช่ากับร้านค้าตามสัญญาทุก2-3ปี ตามอัตราเงินเฟ้อ
9.การเติบโตของรายได้และกำไร ประมาณ 4-5%ต่อปี ถ้าต้องการให้โตมากกว่านี้ต้องเป็นการซื้อเพิ่มจากทางBLAND
โดยการกู้ยืมเงินหรือเพิ่มทุน
ขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่านที่มาให้ข้อมูลครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3146
จัดทัพลงทุนอย่างไรให้ประสบความสำเร็จตอนที่3 ถือเป็นตอนสุดท้ายแล้วครับ
Propose-Driven Asset Allocation คือการจัดสินทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนรวมไปถึงบุคคลธรรมดาทั่วไปที่ซื้อสินทรัพย์ตามที่จัดแบ่งไว้ตั้งแต่แรก
การจัดสินทรัพย์ในการลงทุน คุณสมจินต์ใช้คำว่า การจัดทัพลงทุน
เปรียบเสมือนการจัดทีมฟุตบอล ซึ่งจะมีกองหน้า กองกลาง และ กองหลัง
โดย กองหน้า มีหน้าที่สร้างความมั่งคั่ง
ตราสารที่ลงได้แก่ หุ้นนั่นเอง
ส่วนกองกลาง มีไว้สร้างกระแสเงินสด หรือ รักษาอำนาจการซื้อ
ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกองหน้าได้ เพราะเราให้กองหน้าตัดสินลงทุนตามกลยุทธ
บางครั้งต้องหาเงินมาเพิ่มในช่วงที่เหมาะสมโดยย้ายจากกองกลางมา
ดังนั้นปกติกองกลางจะลงในตราสารหนี้ระยะยาว
กองหลัง มีวัตถุประสงค์ไว้คุ้มครองเงินต้น เพื่อให้มีสภาพคล่องในการจับจ่าย. ดังนั้นจึงลงในตราสารหนี้ระยะสั้น
หลักการลงทุนแบบ Propose-Driver Asset Allocation มีหลักการดังนี้
1.การลงทุนของแต่ละคนต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
โดยต้องรู้เรา คือรู้จักตัวเองว่าเหมาะสมกับการลงทุนสินทรัพย์อะไรบ้าง
รู้เขา หมายถึงรู้จักสินทรัพย์ที่จะลงทัน
รูว่าถ้าหยิบมาใช้ จะรับความเสี่ยงได้อย่างไร จับmatchให้ดี
2.เงินที่จัดหา ต้องระวังอย่าให้เงินไปกระจุกลงในอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพราะถ้าพลาดก็จะเสียหายเยอะ ถ้ามีหลักการที่ดี ไม่สดุดขาล้มเอง
เราก็จะประสบความสำเร็จในการลงทุน
การจัดทัพ มีแนะนำไว้ทั้งหมด 5 ชุด โดย
แบ่งอัตราส่วน ระหว่าง หุ้น : Short-term Bond
1. 15% : 85%. ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นต่อปี 5.88%
2. 30% : 70%. Return 7.78%
3. 50% : 50%. Return 9.89%
4. 70% : 30%. Return 11.53%
5. 100%: 0%. Return 13.05%
การจัดแบบแรก มีความเสี่ยงที่น้อยมาก แต่ผลตอบแทนก็น้อยตาม
ไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว
การจัดแบบที่สองถึงแบบที่สี่
ขึ้นกับความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละท่าน
ส่วนการจัดแบบที่ห้า เป็นการลงทุนในหุ้นมากเกินไป ความเสี่ยงมากสุด
ไม่เหมาะกับคนธรรมดา
การลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยพอสมควร ด้วยความเสี่ยงที่รับได้ เมื่อลงทุนระยะยาว ซึ่งได้ผ่านความผันผวนระหว่างทาง
สุดท้ายจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
หลักการจัดพอร์ต
1. แนวคิด 100-อายุตัวเอง
2. Target Date Fund ของค่าย Vangaurd ซึ่งให้นำ้หนักแต่ละAssetตามอายุ ซึ่งจะถือหุ้นอยู่ระดับนึง และช่วงหลังเกษียณจะถือหุ้นเป็นจำนวนแน่นอน เช่น 30%ตลอดไป
การบ้าน ให้ผู้อ่านลองจัดพอร์ตการลงทุนที่ตัวเองรับความเสี่ยงได้
มีหุ้นอยู่กี่%
ตัวอย่างในการลงทุน Jim & Sue ซึ่งเป็นคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำ
แต่งงานแล้วJimรักภรรยามาก และเชื่อฟังแม่ยาย เมื่อเงินออกให้จ่ายให้ตัวเองเสมอ หมายถึง ก่อนการนำเงินไปใช้จ่ายก็แบ่งส่วนนึงเก็บเพื่อเกษียณ โดย บอกเจ้านายให้หักเงินเดือน10%ไปลงทุน เป็นเวลา30ปี
มีกลไกของการออมและนำเงินไปลงทุนอย่างเคร่งครัด มีวินัยทางการเงิน
ท้ายสุดก็ทำให้ทั้งคู่มั่งคั่งมีเงินใช้จ่ายยามเกษียณ
การลงทุนอัตโนมัติ ช่วยเปลี่ยนนิสัย จากใช้จ่ายก่อน และ ออมทีหลัง
และใช้กลยุทธ์ลงทุนแบบ Dollar cost average คือทยอยลงทุนทุกเดือนด้วยจำนวนเงินเท่าๆกัน ทำให้ราคาที่ซื้อเป็นราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์นั้น
ช่วงหุ้นตก ก็ซื้อไปจำนวนหน่วยมากขึ้น ช่วงหุ้นขึ้นก็ซื้อได้จำนวนหน่วยลดลงแต่พอร์ตก็ใหญ่ขึ้นเพราะหุ้นที่ซื้ออยู่ในพอร์ตมีมูลค่ามากขึ้นนั่นเอง
สำหรับคนที่ไม่เข้าใจเรื่องหุ้น ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นแทนได้
แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการเลือกกองทุนให้ถูกต้อง
(สำหรับคนทำงาน ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ ข้าราชการที่มี กบข
ก็สามารถใช้หลักการ ออมก่อน โดยตัดเงินเข้ากองทุนได้เลย
ส่วนคนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถซื้อกองทุน RMFซึ่งมีหลักการคล้ายกัน และ นำไปลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ได้เหมือนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ก็นำไปลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน แต่รายละเอียดในการลดหย่อนต่างกัน)
3D ในการออมเงิน หมายถึง Decisionในแต่ละข้อคือ
1. การตั้งเป้า
2. นำ้หนักของแต่ละสินทรัพย์ที่จะลงทุน
3. ออมเดือนละเท่าไหร่ เพื่อนำมาลงทุน แต่ต้องพยายามออมทุกเดือนให้เป็นนิสัย
KAS Model of Performance
Knowledge + Action = Success
ความรู้ที่ศึกษามายังไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการปฏิบัติด้วย
ขอให้ประสบความสำเร็จทุกคนนะครับ
Propose-Driven Asset Allocation คือการจัดสินทรัพย์ตามวัตถุประสงค์ของผู้ลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนรวมไปถึงบุคคลธรรมดาทั่วไปที่ซื้อสินทรัพย์ตามที่จัดแบ่งไว้ตั้งแต่แรก
การจัดสินทรัพย์ในการลงทุน คุณสมจินต์ใช้คำว่า การจัดทัพลงทุน
เปรียบเสมือนการจัดทีมฟุตบอล ซึ่งจะมีกองหน้า กองกลาง และ กองหลัง
โดย กองหน้า มีหน้าที่สร้างความมั่งคั่ง
ตราสารที่ลงได้แก่ หุ้นนั่นเอง
ส่วนกองกลาง มีไว้สร้างกระแสเงินสด หรือ รักษาอำนาจการซื้อ
ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกองหน้าได้ เพราะเราให้กองหน้าตัดสินลงทุนตามกลยุทธ
บางครั้งต้องหาเงินมาเพิ่มในช่วงที่เหมาะสมโดยย้ายจากกองกลางมา
ดังนั้นปกติกองกลางจะลงในตราสารหนี้ระยะยาว
กองหลัง มีวัตถุประสงค์ไว้คุ้มครองเงินต้น เพื่อให้มีสภาพคล่องในการจับจ่าย. ดังนั้นจึงลงในตราสารหนี้ระยะสั้น
หลักการลงทุนแบบ Propose-Driver Asset Allocation มีหลักการดังนี้
1.การลงทุนของแต่ละคนต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
โดยต้องรู้เรา คือรู้จักตัวเองว่าเหมาะสมกับการลงทุนสินทรัพย์อะไรบ้าง
รู้เขา หมายถึงรู้จักสินทรัพย์ที่จะลงทัน
รูว่าถ้าหยิบมาใช้ จะรับความเสี่ยงได้อย่างไร จับmatchให้ดี
2.เงินที่จัดหา ต้องระวังอย่าให้เงินไปกระจุกลงในอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพราะถ้าพลาดก็จะเสียหายเยอะ ถ้ามีหลักการที่ดี ไม่สดุดขาล้มเอง
เราก็จะประสบความสำเร็จในการลงทุน
การจัดทัพ มีแนะนำไว้ทั้งหมด 5 ชุด โดย
แบ่งอัตราส่วน ระหว่าง หุ้น : Short-term Bond
1. 15% : 85%. ผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นต่อปี 5.88%
2. 30% : 70%. Return 7.78%
3. 50% : 50%. Return 9.89%
4. 70% : 30%. Return 11.53%
5. 100%: 0%. Return 13.05%
การจัดแบบแรก มีความเสี่ยงที่น้อยมาก แต่ผลตอบแทนก็น้อยตาม
ไม่เหมาะกับการลงทุนระยะยาว
การจัดแบบที่สองถึงแบบที่สี่
ขึ้นกับความเหมาะสมกับลูกค้าแต่ละท่าน
ส่วนการจัดแบบที่ห้า เป็นการลงทุนในหุ้นมากเกินไป ความเสี่ยงมากสุด
ไม่เหมาะกับคนธรรมดา
การลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง ได้ผลตอบแทนเฉลี่ยพอสมควร ด้วยความเสี่ยงที่รับได้ เมื่อลงทุนระยะยาว ซึ่งได้ผ่านความผันผวนระหว่างทาง
สุดท้ายจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
หลักการจัดพอร์ต
1. แนวคิด 100-อายุตัวเอง
2. Target Date Fund ของค่าย Vangaurd ซึ่งให้นำ้หนักแต่ละAssetตามอายุ ซึ่งจะถือหุ้นอยู่ระดับนึง และช่วงหลังเกษียณจะถือหุ้นเป็นจำนวนแน่นอน เช่น 30%ตลอดไป
การบ้าน ให้ผู้อ่านลองจัดพอร์ตการลงทุนที่ตัวเองรับความเสี่ยงได้
มีหุ้นอยู่กี่%
ตัวอย่างในการลงทุน Jim & Sue ซึ่งเป็นคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำ
แต่งงานแล้วJimรักภรรยามาก และเชื่อฟังแม่ยาย เมื่อเงินออกให้จ่ายให้ตัวเองเสมอ หมายถึง ก่อนการนำเงินไปใช้จ่ายก็แบ่งส่วนนึงเก็บเพื่อเกษียณ โดย บอกเจ้านายให้หักเงินเดือน10%ไปลงทุน เป็นเวลา30ปี
มีกลไกของการออมและนำเงินไปลงทุนอย่างเคร่งครัด มีวินัยทางการเงิน
ท้ายสุดก็ทำให้ทั้งคู่มั่งคั่งมีเงินใช้จ่ายยามเกษียณ
การลงทุนอัตโนมัติ ช่วยเปลี่ยนนิสัย จากใช้จ่ายก่อน และ ออมทีหลัง
และใช้กลยุทธ์ลงทุนแบบ Dollar cost average คือทยอยลงทุนทุกเดือนด้วยจำนวนเงินเท่าๆกัน ทำให้ราคาที่ซื้อเป็นราคาเฉลี่ยของสินทรัพย์นั้น
ช่วงหุ้นตก ก็ซื้อไปจำนวนหน่วยมากขึ้น ช่วงหุ้นขึ้นก็ซื้อได้จำนวนหน่วยลดลงแต่พอร์ตก็ใหญ่ขึ้นเพราะหุ้นที่ซื้ออยู่ในพอร์ตมีมูลค่ามากขึ้นนั่นเอง
สำหรับคนที่ไม่เข้าใจเรื่องหุ้น ก็สามารถลงทุนผ่านกองทุนรวมหุ้นแทนได้
แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการเลือกกองทุนให้ถูกต้อง
(สำหรับคนทำงาน ที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ ข้าราชการที่มี กบข
ก็สามารถใช้หลักการ ออมก่อน โดยตัดเงินเข้ากองทุนได้เลย
ส่วนคนที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถซื้อกองทุน RMFซึ่งมีหลักการคล้ายกัน และ นำไปลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ได้เหมือนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ก็นำไปลดหย่อนภาษีได้เหมือนกัน แต่รายละเอียดในการลดหย่อนต่างกัน)
3D ในการออมเงิน หมายถึง Decisionในแต่ละข้อคือ
1. การตั้งเป้า
2. นำ้หนักของแต่ละสินทรัพย์ที่จะลงทุน
3. ออมเดือนละเท่าไหร่ เพื่อนำมาลงทุน แต่ต้องพยายามออมทุกเดือนให้เป็นนิสัย
KAS Model of Performance
Knowledge + Action = Success
ความรู้ที่ศึกษามายังไม่เพียงพอ ต้องอาศัยการปฏิบัติด้วย
ขอให้ประสบความสำเร็จทุกคนนะครับ
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3147
ของที่มีคุณค่าต้องใช้เวลาทั้งนั้น
ดังนั้นไม่จำเป็นต้องรีบ
ถ้าคนรอบข้างเขาจะเร็วกว่าเรา นั่นก็เป็นแนวทางของเขา เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เหมือนกันและบริบทของชีวิตก็แตกต่างกัน
เราไปที่สปีดของเรา คนอื่นเป็นม้าตีนต้น ส่วนเราเป็นม้าตีนปลาย
สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่ใครเข้าเส้นชัยก่อนหรือหลัง
สิ่งสำคัญคือเราสามารถประคับประคองความฝันและการกระทำจนเข้าถึงเส้นชัยของเราเองต่างหาก
Cr. https://anontawong.com/2018/08/01/good- ... take-time/
ดังนั้นไม่จำเป็นต้องรีบ
ถ้าคนรอบข้างเขาจะเร็วกว่าเรา นั่นก็เป็นแนวทางของเขา เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานไม่เหมือนกันและบริบทของชีวิตก็แตกต่างกัน
เราไปที่สปีดของเรา คนอื่นเป็นม้าตีนต้น ส่วนเราเป็นม้าตีนปลาย
สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่ใครเข้าเส้นชัยก่อนหรือหลัง
สิ่งสำคัญคือเราสามารถประคับประคองความฝันและการกระทำจนเข้าถึงเส้นชัยของเราเองต่างหาก
Cr. https://anontawong.com/2018/08/01/good- ... take-time/
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3148
สัมมนา Thailand’s Future Driving Prosperity
Mr. Kittipong Asawapichayon Country Manager : Software Group IBM Thailand
คุณกิติพงษ์ มาพูดถึง Disruptive technology โดย IBM ได้ศึกษา จากผู้บริหารใน112ประเทศ พบว่าความคิดเห็นที่ สำรวจ
2015,2017 ได้แตกต่างกันโดย ทิศทางของธุรกิจในอีก2-3ปีข้างหน้า ได้เปลี่ยนแปลง %ของการโฟกัสในตลาดใหม่ลดลงจาก 63% to 43%
การ Reinventor จะoutperform ในส่วนของ revenue growth , profitability และเป็นผู้นำในส่วน innovation
มีการนำ watson ของ IBM มาช่วยในธุรกิจ เช่น BH ปกติคุณหมอต้องอ่านบทความทางการแพทย์160ชมต่อสัปดาห์ถึงตามทัน
แต่สัปดาห์นึงมี168ชม ซึ่งไม่สามารถทำได้ เลยเอา Watson ซึ่งเป็นAIมาช่วยอ่านแทน นอกจากนี้ยังมีการนำใช้ในสถาบันการเงิน
รวมถึง PTTRM ซึ่งปกติเรื่องการตรวจ Letter of credit ต้องมีความละเอียด รอบคอบ แต่ตอนนี้ได้ใช้Watsonมาช่วยอ่านแทนแล้ว
ทางเพจได้เสริมในส่วนของWatsonว่ามีที่มาอย่างไร ก่อนไปต่อ
จุดกำเนิดของ IBM Watson
IBM Watson เป็นที่รู้จักครั้งแรกตอนเอาชนะการแข่งขันในรายการเกมทางโทรทัศน์ของอเมริกาที่ชื่อว่า Jeopardy! แต่อันที่จริงแล้วเบื้องหลังของการสร้าง Watson
เป็นเรื่องของการสร้างระบบถาม-ตอบคำถามที่อิงกับลักษณะภาษาตามธรรมชาติของมนุษย์ (natural language)
แม้มนุษย์จะเข้าใจคำถามหรือปัญหาเหล่านี้ แต่คอมพิวเตอร์ในเวลานั้นไม่สามารถทำได้นั่นเอง
ชัยชนะของ Watson ในเกม Jeopardy! เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ Watson ในปัจจุบัน เพราะความสามารถของ Watson ถูกพัฒนาไปไกลกว่าการตอบคำถามที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเท่านั้น
แต่เป็นเรื่องขององค์ประกอบ 3 สวนคือการทำความเข้าใจ (understand) ให้เหตุผล (reason) และสามารถเรียนรู้ (learn) จากข้อมูลรวมถึงปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ได้
IBM เรียกคุณสมบัติเหล่านี้ของ Watson ว่าเป็น “Cognitive Computing” (ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการเรียนรู้)
Incumbents Strike back
1. Dancing with disruptive หมายถึงให้พยายามตามเทรนของdisruptive ถ้าเราทำไม่ได้ก็สามารถซื้อบริษัทที่ทำเพื่อสามารถเข้าสู่ธุรกิจนั้นอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างเช่น Walmart ซื้อ Jet เพื่อเข้าสุ่ธุรกิจใหม่ หรือ Unilever สามารถเข้าสู่ตลาดใบมีดโกนได้ เมื่อซื้อบริษัทที่ขายอุปกรณ์โกนหนวดทางonline สามารถแข่งขันกับ P&G ได้
ทั้งที่ไม่เคยมีBU นี้มาก่อน
2. Trust in the Journey ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค โดยการสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารว่าเข้าใจความต้องการของลูกค้าไหม ปรากฏว่าส่วนใหญ่ตอบว่าเข้าใจ แต่การสำรวจครั้งต่อมา
ปรากฏว่าผู้บริหารเข้าใจความต้องการผู้บริโภคไม่ถูกต้อง เป็นการยากที่จะเข้าใจลูกค้า การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญ เป็นการตรวจสอบความต้องการของลูกค้าว่าชอบอะไร
ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ต้องเป็นข้อมูลล่าสุด
ตัวอย่างเช่น DHL มีโครงการที่ศึกษามากมายเช่น การเอาโดรนมาช่วยส่งของ
Muji ซึ่งเป็นบริษัทขายเสื้อผ้าที่มีdesignเรียบง่าย แต่หลังจากรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า ปรากฏว่าแบบที่เอามาจากความคิดของลูกค้าขายดีกว่าแบบที่บริษัทคิดหลายเท่า
3. Orchestrating the future เป็นเรื่องเกี่ยวกับ platform ใกล้ตัว เราควรสร้างplatformของเราเองหรือjoinกับคนอื่น ตอนนี้จะต้องพิจารณาว่าเราควรอยู่platformที่joinกับคนอื่นรวมถึงคู่แข่งด้วย
นักลงทุนจะให้คุณค่ากับบริษัทที่มีplatform8เท่าของบริษัทที่ไม่มีplatform
ตัวอย่างเช่น Bean Technology ที่ขายอุปกรณ์แปรงฟันผ่านonline สร้างสเกลจากเล็กๆไปสู่ตลาดขายประกัน โดยให้หมอฟันช่วยขาย ใครมีสุขภาพฟันดี ก็คิดเบี้ยต่ำลง
4. Innovation in motion พนักงงานระดับล่างจะรู้งานในส่วนที่ทำดี เราให้โอกาสเขาแชร์ข้อมูลกับองค์กร เพื่อปรับเปลี่ยนprocessได้ เช่น Woodsideที่ออสเตรเลีย มีพนักงานที่มีความสามารถแต่เกษียณ
มาถ่ายทอดความรู้ลงในระบบ Lesson learn ซึ่งคือwatsonเพื่อมาสอนคนรุ่นหลัง
สรุป Disruptiveจะอยู่กับเรา ซึ่งไม่สามารถหนีได้ ต้องปรับองค์กรให้อยู่รอดได้
1. ต้องเอาAIมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล
2. สร้างplatform สร้างความร่วมมือกันในองค์กร
3. เราต้องช่วยกันยกระดับความร่วมมือกันในองค์กร เพื่อพัฒนา skill , cultureให้ไปด้วยกันได้
Mr. Kittipong Asawapichayon Country Manager : Software Group IBM Thailand
คุณกิติพงษ์ มาพูดถึง Disruptive technology โดย IBM ได้ศึกษา จากผู้บริหารใน112ประเทศ พบว่าความคิดเห็นที่ สำรวจ
2015,2017 ได้แตกต่างกันโดย ทิศทางของธุรกิจในอีก2-3ปีข้างหน้า ได้เปลี่ยนแปลง %ของการโฟกัสในตลาดใหม่ลดลงจาก 63% to 43%
การ Reinventor จะoutperform ในส่วนของ revenue growth , profitability และเป็นผู้นำในส่วน innovation
มีการนำ watson ของ IBM มาช่วยในธุรกิจ เช่น BH ปกติคุณหมอต้องอ่านบทความทางการแพทย์160ชมต่อสัปดาห์ถึงตามทัน
แต่สัปดาห์นึงมี168ชม ซึ่งไม่สามารถทำได้ เลยเอา Watson ซึ่งเป็นAIมาช่วยอ่านแทน นอกจากนี้ยังมีการนำใช้ในสถาบันการเงิน
รวมถึง PTTRM ซึ่งปกติเรื่องการตรวจ Letter of credit ต้องมีความละเอียด รอบคอบ แต่ตอนนี้ได้ใช้Watsonมาช่วยอ่านแทนแล้ว
ทางเพจได้เสริมในส่วนของWatsonว่ามีที่มาอย่างไร ก่อนไปต่อ
จุดกำเนิดของ IBM Watson
IBM Watson เป็นที่รู้จักครั้งแรกตอนเอาชนะการแข่งขันในรายการเกมทางโทรทัศน์ของอเมริกาที่ชื่อว่า Jeopardy! แต่อันที่จริงแล้วเบื้องหลังของการสร้าง Watson
เป็นเรื่องของการสร้างระบบถาม-ตอบคำถามที่อิงกับลักษณะภาษาตามธรรมชาติของมนุษย์ (natural language)
แม้มนุษย์จะเข้าใจคำถามหรือปัญหาเหล่านี้ แต่คอมพิวเตอร์ในเวลานั้นไม่สามารถทำได้นั่นเอง
ชัยชนะของ Watson ในเกม Jeopardy! เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ Watson ในปัจจุบัน เพราะความสามารถของ Watson ถูกพัฒนาไปไกลกว่าการตอบคำถามที่มีอยู่ในฐานข้อมูลเท่านั้น
แต่เป็นเรื่องขององค์ประกอบ 3 สวนคือการทำความเข้าใจ (understand) ให้เหตุผล (reason) และสามารถเรียนรู้ (learn) จากข้อมูลรวมถึงปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้ได้
IBM เรียกคุณสมบัติเหล่านี้ของ Watson ว่าเป็น “Cognitive Computing” (ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีการเรียนรู้)
Incumbents Strike back
1. Dancing with disruptive หมายถึงให้พยายามตามเทรนของdisruptive ถ้าเราทำไม่ได้ก็สามารถซื้อบริษัทที่ทำเพื่อสามารถเข้าสู่ธุรกิจนั้นอย่างรวดเร็ว
ตัวอย่างเช่น Walmart ซื้อ Jet เพื่อเข้าสุ่ธุรกิจใหม่ หรือ Unilever สามารถเข้าสู่ตลาดใบมีดโกนได้ เมื่อซื้อบริษัทที่ขายอุปกรณ์โกนหนวดทางonline สามารถแข่งขันกับ P&G ได้
ทั้งที่ไม่เคยมีBU นี้มาก่อน
2. Trust in the Journey ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค โดยการสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารว่าเข้าใจความต้องการของลูกค้าไหม ปรากฏว่าส่วนใหญ่ตอบว่าเข้าใจ แต่การสำรวจครั้งต่อมา
ปรากฏว่าผู้บริหารเข้าใจความต้องการผู้บริโภคไม่ถูกต้อง เป็นการยากที่จะเข้าใจลูกค้า การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญ เป็นการตรวจสอบความต้องการของลูกค้าว่าชอบอะไร
ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ต้องเป็นข้อมูลล่าสุด
ตัวอย่างเช่น DHL มีโครงการที่ศึกษามากมายเช่น การเอาโดรนมาช่วยส่งของ
Muji ซึ่งเป็นบริษัทขายเสื้อผ้าที่มีdesignเรียบง่าย แต่หลังจากรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า ปรากฏว่าแบบที่เอามาจากความคิดของลูกค้าขายดีกว่าแบบที่บริษัทคิดหลายเท่า
3. Orchestrating the future เป็นเรื่องเกี่ยวกับ platform ใกล้ตัว เราควรสร้างplatformของเราเองหรือjoinกับคนอื่น ตอนนี้จะต้องพิจารณาว่าเราควรอยู่platformที่joinกับคนอื่นรวมถึงคู่แข่งด้วย
นักลงทุนจะให้คุณค่ากับบริษัทที่มีplatform8เท่าของบริษัทที่ไม่มีplatform
ตัวอย่างเช่น Bean Technology ที่ขายอุปกรณ์แปรงฟันผ่านonline สร้างสเกลจากเล็กๆไปสู่ตลาดขายประกัน โดยให้หมอฟันช่วยขาย ใครมีสุขภาพฟันดี ก็คิดเบี้ยต่ำลง
4. Innovation in motion พนักงงานระดับล่างจะรู้งานในส่วนที่ทำดี เราให้โอกาสเขาแชร์ข้อมูลกับองค์กร เพื่อปรับเปลี่ยนprocessได้ เช่น Woodsideที่ออสเตรเลีย มีพนักงานที่มีความสามารถแต่เกษียณ
มาถ่ายทอดความรู้ลงในระบบ Lesson learn ซึ่งคือwatsonเพื่อมาสอนคนรุ่นหลัง
สรุป Disruptiveจะอยู่กับเรา ซึ่งไม่สามารถหนีได้ ต้องปรับองค์กรให้อยู่รอดได้
1. ต้องเอาAIมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล
2. สร้างplatform สร้างความร่วมมือกันในองค์กร
3. เราต้องช่วยกันยกระดับความร่วมมือกันในองค์กร เพื่อพัฒนา skill , cultureให้ไปด้วยกันได้
-
- Verified User
- โพสต์: 195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3149
มีเกมมาให้พี่ๆทุกท่านได้ร่วมสนุกกันครับ ผมได้ลองเรียง ratio ของบริษัทในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 10 บริษัท
ปิดชื่อบริษัทไว้เพื่อจะได้ไม่มีการ bias และหากดูแต่ตัวเลขพี่ๆคิดว่าอยากลงทุนในบริษัทไหนครับ
ปล. สนุกๆขำๆนำครับอย่าซีเรียส ^^
ปิดชื่อบริษัทไว้เพื่อจะได้ไม่มีการ bias และหากดูแต่ตัวเลขพี่ๆคิดว่าอยากลงทุนในบริษัทไหนครับ
ปล. สนุกๆขำๆนำครับอย่าซีเรียส ^^
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
....ความโลภจะนำนักลงทุนส่วนมาก ไปแสวงหาทางลัดเพื่อความสำเร็จในการลงทุน
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
แทนที่จะคาดหวังผลตอบแทนทบต้นที่เหมาะสมในระยะยาว ....
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 3150
น้องนัท nuthjira ขอเป็นตารางราคา EPS จากปี2018-2020 ได้มั้ยครับ พี่จะตั้งใจตอบเลย
อ่ะเล่นซะหน่อย
1.หุ้นอสังหาพึ่งเข้าตลาด ออริ
3. GPM ดีกว่าชาวบ้านเขา มีเจ้าเดียว ป้าสุ
นอกนั้นไม่รู้ละ
6.นี่ดูไม่ค่อยดีเลยนะ ROEหด, asset turnหด
9.อันนี้ยังกะหุ้นเทิน -*-
น้องนัทขยันสมกะเป็นเด็กใหม่ไฟแรงแห่งวงการVI เจ้าของเพจคนกดแสนlike นิสัยแสนดี ว่าที่พอร์ตแสนล้าน บ้านแสนตรว. หน้าตาแสนหล่อ แต่หน้า...แสนสาหัส
อ่ะเล่นซะหน่อย
1.หุ้นอสังหาพึ่งเข้าตลาด ออริ
3. GPM ดีกว่าชาวบ้านเขา มีเจ้าเดียว ป้าสุ
นอกนั้นไม่รู้ละ
6.นี่ดูไม่ค่อยดีเลยนะ ROEหด, asset turnหด
9.อันนี้ยังกะหุ้นเทิน -*-
น้องนัทขยันสมกะเป็นเด็กใหม่ไฟแรงแห่งวงการVI เจ้าของเพจคนกดแสนlike นิสัยแสนดี ว่าที่พอร์ตแสนล้าน บ้านแสนตรว. หน้าตาแสนหล่อ แต่หน้า...แสนสาหัส
You only live once, but if you do it right, once is enough.