เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
-
- Verified User
- โพสต์: 513
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 31
อ่านสนุก ลุกนั่งสบาย จริงๆครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 525
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 32
[quote="sai"][quote="soraroz"][quote="newbie_12"]แวะมาเจิมครับ
Commodity อย่ายึดติดกับราคา อย่าคิดว่าราคาปัจจุบันขึ้นมาจากเท่าไหร่ ให้มองว่า บริษัทที่ตนเองลงทุน มีพื้นฐาน demand และราคาของผลิตภัณฑ์เป็นอย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 29
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 33
ฮามากครับ สนุกจริงๆ จะติดตามอ่านต่อนะครับ
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 39
:cheers: :cheers:
-
- Verified User
- โพสต์: 40
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 41
[quote="newbie_12"]แวะมาเจิมครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 48
กำหนดการออกอากาศ
1. ทาง เนชั่น วันเสาร์ 16-17 น.
2. ทาง truevisions8 วันเสาร์ และวันอังคาร (ฉายซ้า) 22-23 น.
3. ทาง money channel วันอาทิตย์ 8-9 น.
และลำดับการออกอากาศดังนี้ครับ
ลงทุนแบบวอร์เรน บัฟเฟต
24-25เมย และ 1-2 พค
วิถีวีไอไทย
8-9 พค และ 15-16 พค
ดูกันเต็มๆเลยนะครับ
1. ทาง เนชั่น วันเสาร์ 16-17 น.
2. ทาง truevisions8 วันเสาร์ และวันอังคาร (ฉายซ้า) 22-23 น.
3. ทาง money channel วันอาทิตย์ 8-9 น.
และลำดับการออกอากาศดังนี้ครับ
ลงทุนแบบวอร์เรน บัฟเฟต
24-25เมย และ 1-2 พค
วิถีวีไอไทย
8-9 พค และ 15-16 พค
ดูกันเต็มๆเลยนะครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
-
- Verified User
- โพสต์: 248
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 49
ขอตอบว่าคุณเด็กเลี้ยงแกะไม่อยู่ในภาพครับ
เพราะว่าเป็นคนถ่ายภาพนี้เอง :lol:
เพราะว่าเป็นคนถ่ายภาพนี้เอง :lol:
มโนปุพพังคมาธัมมา - ในตัวของเรามีใจเป็นใหญ่
มโนเสฏฐา มโนมยา - ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นธรรมชาติถึงก่อน
มะนะสา เจ ปสันเนนะ - ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้วแต่ใจ
มโนเสฏฐา มโนมยา - ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นธรรมชาติถึงก่อน
มะนะสา เจ ปสันเนนะ - ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้วแต่ใจ
-
- Verified User
- โพสต์: 310
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 54
เพื่อไม่ให้แควนขับ รอนาน...
ขออนุญาตเสนอ บทสัมภาษณ์พี่กูรูขอบสนาม
ผู้ผ่านร้อนผ่านหนาวในตลาดหุ้นมาอย่างโชกโชน
อาจจะไม่ใช่บทสัมภาษณ์แบบถามมาตอบไปเหมือนท่านอื่นๆ เพราะรอบนี้เด็กเลี้ยงแกะ ตั้งโจทย์ไว้ว่า
ช่วยเหลือเหตุการณ์ทางการเมืองให้โหน่ยครับ...
ที่เหลือให้พี่กูรู solo เอง ได้ความดังงจะอี้ เจ้าาา...
ตลาดหุ้นไทยชอบ สันติอหิงสา
ถ้าจะเล่าว่าเหตุการณ์การเมืองใดที่มีผลกระทบแรงสุดกับตลาดหุ้น
ตั้งแต่เปิดดำเนินการมา
น่าจะเป็น ช่วงพฤษภาทมิฬ ( 2535)
ก่อนหน้านั้นความจริงก็มีเรื่อง ปฏิวัติปี 2534
โดยคณะ รสช.ที่ขับไล่รัฐบาลบุฟเฟ่ต์คาบิเนทของนายกชาติชาย ออกไป
เพียงแต่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อในหมู่ประชาชน (แต่ในกลุ่มพวกเขาเอง ไม่รุ)
ผลกระทบจึงไม่ยาว กอปรกับการประกาศเลือกนายกคนใหม่
ที่นำหน้าด้วย อ.(ตอนนั้นเราเดากันใหญ่จะเป็น อาสา อุกฤษณ์
หรือ อำนวย ปรากฏโพยออกที่ม้ามืด อานันท์)
ตลาดหุ้นนิ่งสักพัก เพราะยังเดาไม่ออกว่า
นายกคนใหม่ฝีไม้ลายมืออย่างไร
เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ตลาดก็ค่อยๆกระเตื้องตอบรับและให้ความหวัง
ยิ่งเมื่อเห็นชื่อคณะรัฐมนตรีที่ร่วมรัฐบาลของคุณอานันท์ด้วย
แต่พฤษภาทมิฬ การจลาจลที่มีคนเสียเลือดเนื้อและตายเป็นจำนวนมาก
ตลาดหุ้นของเราก็เป็นพวกสันติอหิงสา ต่อต้านความรุนแรงเหมือนกัน
หุ้นตกทันทีเมื่อเปิดตลาดวันจันทร์
แล้วก็ไหลเป็นน้ำตกเหวนรกอย่างหมดสภาพ
ขณะที่ถนนข้างนอกออฟฟิคที่กูรูทำงาน
ก็เห็นรถทหารลำเลียงเหล่าประชาชนผู้ถูกบังคับ
ให้ถอดเสื้อออกแล้วเอามามัดมือไพล่หลัง
คันแล้ว คันเล่า
อนาคตประเทศไทยช่วงนั้นยิ่งมืดมิด
เพราะถ้าจะเอานายกที่มาจากการเลือกตั้งอีกคนก็คือ พลเอกสมบุญ ระหงษ์
ซึ่งไม่สามารถผ่าทางตันประเทศได้
ตลาดซึมเซาไป 2 วัน จนเย็นวันที่ 20 พฤษภาคม
ประกาศชื่อนายกคนใหม่คือ นายกอานันท์
วันรุ่งขึ้น ตลาดดีดกลับตอบรับทันใด
รายละเอียด ตัวเลข กูรูจำได้ไม่ถนัด
เลยไปค้นมาให้เพิ่มเติ่มดังนี้
สำหรับวิกฤตการเมืองครั้งนี้เช่นกัน ( 10 เมษายน 2553)
ทุกคนกำลังเร่งหาทางออก
ไม่มีครั้งใดที่หน้าจอทีวีจะมีนักวิชาชีพประเภทสันติวิธีออกโรงมากครั้ง นี้
(เออ..กูรูก็แปลกใจ มีอาชีพนี้กันตั้งแต่เมื่อไร)
ตลาดคงจะนิ่งๆซึมๆไปอีกสักพัก แต่เป็นการนิ่งที่พร้อมจะขึ้นได้(แต่ไม่เร็วหรอก)
เพราะปัจจัยพื้นฐานประเทศไม่ได้เปลี่ยนเลย
ยกเว้นบางภาคส่วนที่ต้องใช้เวลาหน่อย ท่องเที่ยว ค้าปลีก
(ขอให้ทุกคนเก็บเงินในกระเป๋าไว้ให้ดี เตรียมการช้อปครั้งใหญ่
ของห้างร้านค้า โรงแรมที่พัก จะต้องมีโปรโมชั่นสนั่นเมืองแน่ๆ
เป็นการฟื้นด้วยเงินคนไทยด้วยกันเองนี่แหละ)
ทุกคนคาดเดาอยู่แล้วว่า
ทางลงน่าจะจบอยู่ได้ไม่กี่แนวทางในวิถีระบอบประชาธิปไตย
(หากไม่มีวิธีการนอกระบอบเข้ามา )
ผลออกมาเป็นอย่างไร ตลาดคงจะไม่วิ่งทันที
ยกเว้นในกรณีที่ดีเกินคาด (ยากมากๆ)
อย่างไรเสีย ห้ามมีคนเสียชีวิตเพิ่มอีกเด็ดขาด
ก็บอกแล้ว ตลาดหุ้นไทย ชอบสันติวิธี
ขอเพิ่มอีกนิดนะคะ
ปรากฏการณ์ Audacious ในตลาดหุ้น
หมายถึงความหาญกล้า ทะยานขึ้น
มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดหดหู่ มีแต่ข่าวหมองเศร้า หมดสิ้นหนทาง
ซึ่งมักจะมาจากผลกระทบทางการเมืองเป็นหลัก
อย่างในกรณีของพฤษภาทมิฬ
เย็นย่ำวันที่ 20 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่ต้องประกาศชื่อนายกคนใหม่
ซึ่งทุกคนคาดอยู่แล้วว่าต้องเป็น พลเอก สมบุญ ระหงษ์
ด้วยหลักการของระบอบประชาธิปไตยขณะนั้นหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียง มากที่สุด
ควรถูกได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกคนใหม่
ขณะนั้นกูรูนั่งรถจะกลับออฟฟิค รถติดอยู่ที่ถนนพญาไท
รอรถไฟขบวนยาวผ่านพ้น
ทันใดนั้น ก็เห็นคนขับรถคันหน้าเปิดประตูออกมา เคาะกระจกรถข้างๆ
คันเดียวไม่พอ เคาะอีกหลายๆคันจนมาถึงคันที่กูรูนั่ง
"พี่ๆ นายกอานันท์ กลับมาแล้ว"
ถามเพื่อนๆในสตูดิโอที่กำลังถ่ายภาพอยู่
พอรู้ข่าวแทบจะโยนกล้องทิ้งด้วยความดีใจ
(ดีที่ไม่ได้โยน)
ทุกคนรู้สึกอยากจะตะโกนแสดงความโล่งใจกับสถานการณ์เฉพาะหน้า
ตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นกัน
เปิดตลาดวันรุ่งขึ้นก็ทะยานเขียวอย่างกล้าหาญ
นี่คือปรากฏการณ์ Audacious ในทางการเมือง
ที่ส่งผลกับเศรษฐกิจและตลาดทุนอย่างแยกไม่ออก
ขออนุญาตเสนอ บทสัมภาษณ์พี่กูรูขอบสนาม
ผู้ผ่านร้อนผ่านหนาวในตลาดหุ้นมาอย่างโชกโชน
อาจจะไม่ใช่บทสัมภาษณ์แบบถามมาตอบไปเหมือนท่านอื่นๆ เพราะรอบนี้เด็กเลี้ยงแกะ ตั้งโจทย์ไว้ว่า
ช่วยเหลือเหตุการณ์ทางการเมืองให้โหน่ยครับ...
ที่เหลือให้พี่กูรู solo เอง ได้ความดังงจะอี้ เจ้าาา...
ตลาดหุ้นไทยชอบ สันติอหิงสา
ถ้าจะเล่าว่าเหตุการณ์การเมืองใดที่มีผลกระทบแรงสุดกับตลาดหุ้น
ตั้งแต่เปิดดำเนินการมา
น่าจะเป็น ช่วงพฤษภาทมิฬ ( 2535)
ก่อนหน้านั้นความจริงก็มีเรื่อง ปฏิวัติปี 2534
โดยคณะ รสช.ที่ขับไล่รัฐบาลบุฟเฟ่ต์คาบิเนทของนายกชาติชาย ออกไป
เพียงแต่ไม่มีการเสียเลือดเนื้อในหมู่ประชาชน (แต่ในกลุ่มพวกเขาเอง ไม่รุ)
ผลกระทบจึงไม่ยาว กอปรกับการประกาศเลือกนายกคนใหม่
ที่นำหน้าด้วย อ.(ตอนนั้นเราเดากันใหญ่จะเป็น อาสา อุกฤษณ์
หรือ อำนวย ปรากฏโพยออกที่ม้ามืด อานันท์)
ตลาดหุ้นนิ่งสักพัก เพราะยังเดาไม่ออกว่า
นายกคนใหม่ฝีไม้ลายมืออย่างไร
เมื่อเวลาผ่านไปพอสมควร ตลาดก็ค่อยๆกระเตื้องตอบรับและให้ความหวัง
ยิ่งเมื่อเห็นชื่อคณะรัฐมนตรีที่ร่วมรัฐบาลของคุณอานันท์ด้วย
แต่พฤษภาทมิฬ การจลาจลที่มีคนเสียเลือดเนื้อและตายเป็นจำนวนมาก
ตลาดหุ้นของเราก็เป็นพวกสันติอหิงสา ต่อต้านความรุนแรงเหมือนกัน
หุ้นตกทันทีเมื่อเปิดตลาดวันจันทร์
แล้วก็ไหลเป็นน้ำตกเหวนรกอย่างหมดสภาพ
ขณะที่ถนนข้างนอกออฟฟิคที่กูรูทำงาน
ก็เห็นรถทหารลำเลียงเหล่าประชาชนผู้ถูกบังคับ
ให้ถอดเสื้อออกแล้วเอามามัดมือไพล่หลัง
คันแล้ว คันเล่า
อนาคตประเทศไทยช่วงนั้นยิ่งมืดมิด
เพราะถ้าจะเอานายกที่มาจากการเลือกตั้งอีกคนก็คือ พลเอกสมบุญ ระหงษ์
ซึ่งไม่สามารถผ่าทางตันประเทศได้
ตลาดซึมเซาไป 2 วัน จนเย็นวันที่ 20 พฤษภาคม
ประกาศชื่อนายกคนใหม่คือ นายกอานันท์
วันรุ่งขึ้น ตลาดดีดกลับตอบรับทันใด
รายละเอียด ตัวเลข กูรูจำได้ไม่ถนัด
เลยไปค้นมาให้เพิ่มเติ่มดังนี้
ข้อมูลในอดีตชี้ว่าปัจจัยการเมืองมี อิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทย
แต่จำกัดเพียงระยะสั้นๆ
หลังจากนั้น การปรับตัวของตลาดเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2535 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ตลาดหุ้นตอบรับทางลบ
โดยดัชนีร่วงลงทันที 65.05 จุด หรือร้อยละ 8.88 จาก 732.89 จุด
ในวันที่ 17 พ.ค. เหลือเพียง 667.84 จุด ในวันที่ 19 พ.ค.
ก่อนจะดีดกลับ 61.30 จุดในอีก 2 วันถัดมา
หลังจากนั้น ตลาดหุ้นก็ตกอยู่ในภาวะซบเซาโดยมีมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน
ลดลงจากไตรมาสแรกประมาณร้อยละ 50 ในไตรมาส 2
ก่อนที่ สถานการณ์จะคลี่คลายลงและกลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างชัดเจนในเดือนก.ย. ของปีนั้น
(คือมีการเลือกตั้ง -กูรู)
ในทำนองเดียวกัน ในปี 2549 เหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.
ทันทีที่ตลาดเปิดทำการในวันที่ 21 ก.ย. ดัชนีทรุดตัวลงทันที 9.99 จุด หรือร้อยละ 1.42
มาอยู่ที่ 692.57 จุด จากระดับปิดที่ 702.56 จุด ณ วันที่ 19 ก.ย.
จากนั้น ดัชนีร่วงลงอีกกว่า 20 จุดในวันที่ 20 ก.ย. มาอยู่ที่ 681.84 จุด
ก่อนจะค่อยๆ ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนต.ค.
(ประกาศนายกคนใหม่คือ พลเอกสุรยุทธ์- กูรู)
ซึ่งจะเห็นได้ว่าดัชนีลดลงน้อยกว่า และจบสิ้นกระบวนการปรับตัวเร็วกว่ากรณีเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ดังนั้น ปัจจัยการเมืองจะมีผลกับดัชนีหุ้นไทยมากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและระยะเวลาของเหตุการณ์
ขณะที่หลังจากจุดสูงสุดของปัญหาการเมืองผ่านพ้นไป
นักลงทุนก็จะกลับมาให้น้ำหนักกับปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น
เช่น ทิศทางเศรษฐกิจที่น่าจะได้รับแรงหนุนจากความเชื่อมั่นการลงทุนที่ดีขึ้น
และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดถัดๆ ไป เป็นต้น
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ดัชนีเฉลี่ยในช่วงปีที่เกิดปัญหาทางการเมือง
กลับสูงกว่าช่วงก่อนเกิดปัญหา
ขณะที่เหตุการณ์ชุมนุมประท้วงรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยล่าสุดวันที่ 26 ต.ค.
ตลาดหุ้นตอบรับทางลบทันที โดยดัชนี SET ปรับลดลงร้อยละ 1.37
แต่ก็กลับฟื้นตัวขึ้นได้ในวันต่อมา เพราะข่าวถูกรับรู้ไปแล้ว
และยังไม่ปรากฎว่ามีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นจนถึงขณะนี้
http://www.positioningmag.com/PRNews/Pr ... x?id=72730
สำหรับวิกฤตการเมืองครั้งนี้เช่นกัน ( 10 เมษายน 2553)
ทุกคนกำลังเร่งหาทางออก
ไม่มีครั้งใดที่หน้าจอทีวีจะมีนักวิชาชีพประเภทสันติวิธีออกโรงมากครั้ง นี้
(เออ..กูรูก็แปลกใจ มีอาชีพนี้กันตั้งแต่เมื่อไร)
ตลาดคงจะนิ่งๆซึมๆไปอีกสักพัก แต่เป็นการนิ่งที่พร้อมจะขึ้นได้(แต่ไม่เร็วหรอก)
เพราะปัจจัยพื้นฐานประเทศไม่ได้เปลี่ยนเลย
ยกเว้นบางภาคส่วนที่ต้องใช้เวลาหน่อย ท่องเที่ยว ค้าปลีก
(ขอให้ทุกคนเก็บเงินในกระเป๋าไว้ให้ดี เตรียมการช้อปครั้งใหญ่
ของห้างร้านค้า โรงแรมที่พัก จะต้องมีโปรโมชั่นสนั่นเมืองแน่ๆ
เป็นการฟื้นด้วยเงินคนไทยด้วยกันเองนี่แหละ)
ทุกคนคาดเดาอยู่แล้วว่า
ทางลงน่าจะจบอยู่ได้ไม่กี่แนวทางในวิถีระบอบประชาธิปไตย
(หากไม่มีวิธีการนอกระบอบเข้ามา )
ผลออกมาเป็นอย่างไร ตลาดคงจะไม่วิ่งทันที
ยกเว้นในกรณีที่ดีเกินคาด (ยากมากๆ)
อย่างไรเสีย ห้ามมีคนเสียชีวิตเพิ่มอีกเด็ดขาด
ก็บอกแล้ว ตลาดหุ้นไทย ชอบสันติวิธี
ขอเพิ่มอีกนิดนะคะ
ปรากฏการณ์ Audacious ในตลาดหุ้น
หมายถึงความหาญกล้า ทะยานขึ้น
มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดหดหู่ มีแต่ข่าวหมองเศร้า หมดสิ้นหนทาง
ซึ่งมักจะมาจากผลกระทบทางการเมืองเป็นหลัก
อย่างในกรณีของพฤษภาทมิฬ
เย็นย่ำวันที่ 20 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่ต้องประกาศชื่อนายกคนใหม่
ซึ่งทุกคนคาดอยู่แล้วว่าต้องเป็น พลเอก สมบุญ ระหงษ์
ด้วยหลักการของระบอบประชาธิปไตยขณะนั้นหัวหน้าพรรคการเมืองที่ได้เสียง มากที่สุด
ควรถูกได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกคนใหม่
ขณะนั้นกูรูนั่งรถจะกลับออฟฟิค รถติดอยู่ที่ถนนพญาไท
รอรถไฟขบวนยาวผ่านพ้น
ทันใดนั้น ก็เห็นคนขับรถคันหน้าเปิดประตูออกมา เคาะกระจกรถข้างๆ
คันเดียวไม่พอ เคาะอีกหลายๆคันจนมาถึงคันที่กูรูนั่ง
"พี่ๆ นายกอานันท์ กลับมาแล้ว"
ถามเพื่อนๆในสตูดิโอที่กำลังถ่ายภาพอยู่
พอรู้ข่าวแทบจะโยนกล้องทิ้งด้วยความดีใจ
(ดีที่ไม่ได้โยน)
ทุกคนรู้สึกอยากจะตะโกนแสดงความโล่งใจกับสถานการณ์เฉพาะหน้า
ตลาดหลักทรัพย์ก็เช่นกัน
เปิดตลาดวันรุ่งขึ้นก็ทะยานเขียวอย่างกล้าหาญ
นี่คือปรากฏการณ์ Audacious ในทางการเมือง
ที่ส่งผลกับเศรษฐกิจและตลาดทุนอย่างแยกไม่ออก
-
- Verified User
- โพสต์: 103
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 56
เขียนได้ขำจริงๆคะ
ว่าแต่น้องเด็กเลี้ยงแกะนี่เป็นใครน้าๆๆ สงสัยๆๆ
ชอบมุกโรยตัวอะ 55555 อ้อ น่าจะแถมมุขจับตำรวจเป็นตัวประกันด้วยนะ 55555555 เดี๋ยวนี้ตำรวจเค้ามีไว้ถูกจับอะ ฮาๆๆๆๆๆๆๆ :B
สมัครเป็นแฟนคลับน้องเด็กเลี้ยงแกะด้วยคนคะ.....
ว่าแต่น้องเด็กเลี้ยงแกะนี่เป็นใครน้าๆๆ สงสัยๆๆ
ชอบมุกโรยตัวอะ 55555 อ้อ น่าจะแถมมุขจับตำรวจเป็นตัวประกันด้วยนะ 55555555 เดี๋ยวนี้ตำรวจเค้ามีไว้ถูกจับอะ ฮาๆๆๆๆๆๆๆ :B
สมัครเป็นแฟนคลับน้องเด็กเลี้ยงแกะด้วยคนคะ.....
-
- Verified User
- โพสต์: 310
- ผู้ติดตาม: 0
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 57
เด็กเลี้ยงแกะ ย้อนมานั่งดูข้อเขียนของบัฟเฟตเมืองไทยหลายรอบแล้ว คิดว่ามีประโยชน์ยิ่งนักในเพลาวิกฤตเช่นนี้
ว่าแล้ว เด็กเลี้ยงแกะหยิบชากลิ่นราสเบอรี่ขึ้นมาจิบพอชุ่มคอแล้วก็ค่อยๆ ละเลียดไวน์ โรมานีกองติ ผ่านปลายลิ้นก่อนจะ บรรจงโพสต์ลงไว้ให้พี่ๆน้อง วีไอ อ่านไว้ว่า
"แม่นป๊ะล่ะ"
เล่นหุ้นหลังปีทอง
เล่นหุ้นหลังปีทอง
ปี 2546 เป็น “ปีทอง” ของตลาดหุ้น เช่นเดียวกัน มันเป็น “ปีทอง” ของการลงทุนของผมด้วย เพราะผมได้ผลตอบแทนเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ภายในปีเดียว ปี 2552 เป็นปีที่ประวัติศาสตร์ “ซ้ำรอย” คือมันเป็นปีทองของตลาดหุ้นและเป็นปีทองของผมอีกครั้งหนึ่ง แน่นอน ผมดีใจ แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในปี 2547 ซึ่งเป็นปี “หลังปีทอง” ผมก็รู้สึกกังวลกับการลงทุนในปี 2553 ซึ่งเป็นปีหลังปีทองเหมือนกัน เพราะในปี 2547 นั้น ดัชนีตลาดหุ้นตกลงไปถึงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่แย่กว่าก็คือ พอร์ตการลงทุนของผมนั้นลดลงถึงเกือบ 30% ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้ง ปี 2553 นี้ก็อาจจะไม่ใช่ปีที่ดีของผม และโดยความเชื่อส่วนตัวผมก็ไม่มองโลกในแง่ดีสำหรับการลงทุนในปีนี้ เพราะผมคิดว่าตลาดหุ้นในปี 2553 นั้นอาจจะไม่สดใสเหมือนปี 2552 เหตุผลนั้นมีหลายเรื่อง
Smiley เรื่องแรก อาจจะเรียกว่าเป็นเรื่องทาง “เท็คนิค” นั่นก็คือ ในปี 2552 นั้น เมื่อเริ่มต้นปีดัชนีตลาดหุ้นอยู่ในระดับต่ำมากเพียงสามร้อยกว่าจุด และถ้าเราพิจารณาว่าตลาดหุ้นนั้นตั้งมากว่า 30 ปี แต่ราคาหุ้นจากร้อยจุดขึ้นมาเป็นแค่สามร้อยกว่าจุด เท่ากับว่าราคาหุ้นขึ้นมาเฉลี่ยเพียงปีละ 3-4% แทบจะไม่คุ้มกับอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น หุ้นก็ดูเหมือนว่าจะไปได้ทางเดียวนั่นคือ “ขึ้น” และหุ้นก็ขึ้นมาจริง ๆ อย่างแรงในปี 2552 แต่เหตุการณ์ในตอนเริ่มปี 2553 นั้นไม่ได้เป็นอย่างนั้น ดัชนีหุ้นได้ขึ้นมาสูงในระยะเวลาอันสั้น โอกาสที่หุ้นจะ “หยุดพัก” หรือปรับตัวลงบ้างก็น่าจะมี ดังนั้น ความไม่แน่นอนของผลตอบแทนในปี 2553 ก็น่าจะมีสูงพอสมควร
Smiley เรื่องที่สอง ในปี 2552 ค่า PE ซึ่งบอกถึงความถูกความแพงของตลาดหุ้นนั้นค่อนข้างต่ำ อาจจะอยู่ที่ 7-8 เท่า การที่หุ้นมีราคาถูกนั้น มองในมุมของ Value Investor แล้ว การลงทุนก็เป็นเรื่องง่ายที่จะทำกำไรสูงและมีความเสี่ยงต่ำ แต่พอถึงปี 2553 ค่า PE ของตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้นมาที่ประมาณ 12-13 เท่า ซึ่งในตลาดหุ้นไทยแล้วก็ไม่ถือว่าหุ้นโดยเฉลี่ยมีราคาถูกอีกต่อไป ดังนั้น การลงทุนในปี 2553 จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำกำไรแบบปี 2552
Smiley เรื่องที่สาม สถานการณ์แวดล้อมในระดับโลกในปี 2552 นั้นอยู่ในสภาพ “เลวร้ายที่สุดในช่วงหลายสิบปี” ในเมืองไทยเองนั้น นอกจากผลกระทบที่มาจากโลกแล้ว เรายังมีปัญหาการเมืองที่รุนแรงภายในประเทศด้วย ดังนั้น รัฐบาลของทุกประเทศจึงต้องทำการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจน เหลือเกือบศูนย์เปอร์เซ็นต์ นี่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ “เลวร้าย” มาก แต่มองแบบ Value Investor ผมกลับเห็นว่านี่คือ “โอกาส” เพราะการที่ทุกสิ่งทุกอย่างแย่ที่สุดแล้ว มันก็มีทางไปทางเดียว นั่นคือ มันจะต้อง “ดีขึ้น” แต่เมื่อเริ่มปี 2553 เศรษฐกิจที่เลวร้ายก็เริ่มฟื้นตัว บางประเทศค่อนข้างแรง หลายประเทศเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ โลกกำลังพูดถึงการลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบของรัฐบาล ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์หลายคนก็ยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะไปได้ด้วยตนเองจริง ๆ หรือยัง ความไม่แน่นอนมีอยู่ เศรษฐกิจอาจจะฟุบลงไปใหม่อย่างที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤติครั้งก่อน ๆ ดังนั้น การเล่นหุ้นในปี 2553 จึงมีทั้งโอกาสที่หุ้นจะขึ้นและลง
Smiley สุดท้าย ก็มาถึงเรื่องของพื้นฐาน นั่นคือ กำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตอนเริ่มปี 2552 นั้น มองย้อนกลับไปที่ผลประกอบการของปี 2551 ก็จะพบว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนตกต่ำลงโดยเฉพาะในไตรมาศสุดท้ายของปี 2551 เหตุผลก็คือ บริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีต่างก็ขาดทุนจากการที่มูลค่าของ สินค้าคงคลังมีราคาลดลง เช่น น้ำมันดิบมีราคาลดลงจากที่เคยเป็น 140 เหรียญต่อบาเรลเหลือเพียง 40 กว่าเหรียญ เช่นเดียวกับราคาปิโตรเคมีหลาย ๆ อย่าง แต่ถ้ามองต่อไป ความเสี่ยงที่ราคาสินค้าจะลดลงต่อนั้นก็มีน้อยมาก ตรงกันข้าม โอกาสที่ราคาโภคภัณฑ์เหล่านั้นจะเพิ่มขึ้นมีมากกว่าและนั่นก็คือสิ่งที่เกิด ขึ้นในปี 2552 ที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มกลับขึ้นมาเป็น 70-80 เหรียญต่อบาเรลในตอนสิ้นปี 2552 ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมาก
แต่ปี 2553 นั้น สถานการณ์ไม่แน่นอนแล้ว เพราะราคาน้ำมันและปิโตรเคมีอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำ โอกาสที่ราคาจะขึ้นนั้นอาจจะพอ ๆ กับที่ราคาจะลง ดังนั้น กำไรของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีในปี 2553 จึงไม่แน่นอนเหมือนปี 2552 ที่ดูเหมือนว่าจะมีแต่ทางขึ้นทางเดียว ความไม่แน่นอนของกำไรของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในปี 2553 ทำให้ผมไม่มั่นใจว่าดัชนีตลาดหุ้นของไทยจะวิ่งไปทางไหน สิ่งที่ผมคิดก็คือ โอกาสที่บริษัทจะมีกำไรก้าวกระโดดอย่างในปี 2552 น่าจะน้อย
ด้วยเหตุผลทั้งหลายที่ กล่าวมาทำให้ผมไม่มองโลกในแง่ดีนักสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นในปีนี้ และถ้าจะซื้อหุ้น ผมก็จะเปลี่ยน “โหมด” การลงทุนจากที่เคยเน้นหุ้นที่อาจจะ “หวือหวา” ที่ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นลงรวดเร็วในปี 2552 มาเป็นหุ้นที่ค่อนข้างมั่นคงและสามารถรักษาระดับการจ่ายปันผลในอัตราที่ดี อย่างต่อเนื่องแทน เป้าหมายสำคัญสำหรับการลงทุนในปี 2553 ของผมก็คือ พยายามรักษาความมั่งคั่งที่ได้มาอย่างรวดเร็วในปี 2552 ไว้ และไม่หวังผลเลิศในปี 2553 แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะขายหุ้นทิ้งแล้วถือเป็นเงินสดไว้ เพราะเงินสดนั้นให้ผลตอบแทนน้อยมากเพียง 1-2 % ในขณะที่การลงทุนในหุ้นนั้น เฉพาะปันผลก็ 3-4% เข้าไปแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด ผมก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ผมคิดไว้นั้นถูกจริงหรือเปล่า มันอาจจะมีปัจจัยอย่างอื่นที่เราคิดไม่ถึงเข้ามากระทบและกลบสิ่งที่เราคิด ไว้ทั้งหมดได้ ดังนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ Stay Calm, Stay Invest ใจเย็นและลงทุนต่อไป เพียงแต่ต้องระมัดระวังมากขึ้นและไม่หวังผลเลิศ
โลกในมุมมองของ Value Investor 23 มกราคม 53
ว่าแล้ว เด็กเลี้ยงแกะหยิบชากลิ่นราสเบอรี่ขึ้นมาจิบพอชุ่มคอแล้วก็ค่อยๆ ละเลียดไวน์ โรมานีกองติ ผ่านปลายลิ้นก่อนจะ บรรจงโพสต์ลงไว้ให้พี่ๆน้อง วีไอ อ่านไว้ว่า
"แม่นป๊ะล่ะ"
เล่นหุ้นหลังปีทอง
เล่นหุ้นหลังปีทอง
ปี 2546 เป็น “ปีทอง” ของตลาดหุ้น เช่นเดียวกัน มันเป็น “ปีทอง” ของการลงทุนของผมด้วย เพราะผมได้ผลตอบแทนเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ภายในปีเดียว ปี 2552 เป็นปีที่ประวัติศาสตร์ “ซ้ำรอย” คือมันเป็นปีทองของตลาดหุ้นและเป็นปีทองของผมอีกครั้งหนึ่ง แน่นอน ผมดีใจ แต่เมื่อมองย้อนกลับไปในปี 2547 ซึ่งเป็นปี “หลังปีทอง” ผมก็รู้สึกกังวลกับการลงทุนในปี 2553 ซึ่งเป็นปีหลังปีทองเหมือนกัน เพราะในปี 2547 นั้น ดัชนีตลาดหุ้นตกลงไปถึงกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ที่แย่กว่าก็คือ พอร์ตการลงทุนของผมนั้นลดลงถึงเกือบ 30% ถ้าประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกครั้ง ปี 2553 นี้ก็อาจจะไม่ใช่ปีที่ดีของผม และโดยความเชื่อส่วนตัวผมก็ไม่มองโลกในแง่ดีสำหรับการลงทุนในปีนี้ เพราะผมคิดว่าตลาดหุ้นในปี 2553 นั้นอาจจะไม่สดใสเหมือนปี 2552 เหตุผลนั้นมีหลายเรื่อง
Smiley เรื่องแรก อาจจะเรียกว่าเป็นเรื่องทาง “เท็คนิค” นั่นก็คือ ในปี 2552 นั้น เมื่อเริ่มต้นปีดัชนีตลาดหุ้นอยู่ในระดับต่ำมากเพียงสามร้อยกว่าจุด และถ้าเราพิจารณาว่าตลาดหุ้นนั้นตั้งมากว่า 30 ปี แต่ราคาหุ้นจากร้อยจุดขึ้นมาเป็นแค่สามร้อยกว่าจุด เท่ากับว่าราคาหุ้นขึ้นมาเฉลี่ยเพียงปีละ 3-4% แทบจะไม่คุ้มกับอัตราเงินเฟ้อ ดังนั้น หุ้นก็ดูเหมือนว่าจะไปได้ทางเดียวนั่นคือ “ขึ้น” และหุ้นก็ขึ้นมาจริง ๆ อย่างแรงในปี 2552 แต่เหตุการณ์ในตอนเริ่มปี 2553 นั้นไม่ได้เป็นอย่างนั้น ดัชนีหุ้นได้ขึ้นมาสูงในระยะเวลาอันสั้น โอกาสที่หุ้นจะ “หยุดพัก” หรือปรับตัวลงบ้างก็น่าจะมี ดังนั้น ความไม่แน่นอนของผลตอบแทนในปี 2553 ก็น่าจะมีสูงพอสมควร
Smiley เรื่องที่สอง ในปี 2552 ค่า PE ซึ่งบอกถึงความถูกความแพงของตลาดหุ้นนั้นค่อนข้างต่ำ อาจจะอยู่ที่ 7-8 เท่า การที่หุ้นมีราคาถูกนั้น มองในมุมของ Value Investor แล้ว การลงทุนก็เป็นเรื่องง่ายที่จะทำกำไรสูงและมีความเสี่ยงต่ำ แต่พอถึงปี 2553 ค่า PE ของตลาดหุ้นก็ปรับตัวขึ้นมาที่ประมาณ 12-13 เท่า ซึ่งในตลาดหุ้นไทยแล้วก็ไม่ถือว่าหุ้นโดยเฉลี่ยมีราคาถูกอีกต่อไป ดังนั้น การลงทุนในปี 2553 จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำกำไรแบบปี 2552
Smiley เรื่องที่สาม สถานการณ์แวดล้อมในระดับโลกในปี 2552 นั้นอยู่ในสภาพ “เลวร้ายที่สุดในช่วงหลายสิบปี” ในเมืองไทยเองนั้น นอกจากผลกระทบที่มาจากโลกแล้ว เรายังมีปัญหาการเมืองที่รุนแรงภายในประเทศด้วย ดังนั้น รัฐบาลของทุกประเทศจึงต้องทำการกระตุ้นเศรษฐกิจและลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงจน เหลือเกือบศูนย์เปอร์เซ็นต์ นี่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ “เลวร้าย” มาก แต่มองแบบ Value Investor ผมกลับเห็นว่านี่คือ “โอกาส” เพราะการที่ทุกสิ่งทุกอย่างแย่ที่สุดแล้ว มันก็มีทางไปทางเดียว นั่นคือ มันจะต้อง “ดีขึ้น” แต่เมื่อเริ่มปี 2553 เศรษฐกิจที่เลวร้ายก็เริ่มฟื้นตัว บางประเทศค่อนข้างแรง หลายประเทศเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อป้องกันเงินเฟ้อ โลกกำลังพูดถึงการลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบของรัฐบาล ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์หลายคนก็ยังไม่แน่ใจว่าเศรษฐกิจจะไปได้ด้วยตนเองจริง ๆ หรือยัง ความไม่แน่นอนมีอยู่ เศรษฐกิจอาจจะฟุบลงไปใหม่อย่างที่เคยเกิดขึ้นในวิกฤติครั้งก่อน ๆ ดังนั้น การเล่นหุ้นในปี 2553 จึงมีทั้งโอกาสที่หุ้นจะขึ้นและลง
Smiley สุดท้าย ก็มาถึงเรื่องของพื้นฐาน นั่นคือ กำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตอนเริ่มปี 2552 นั้น มองย้อนกลับไปที่ผลประกอบการของปี 2551 ก็จะพบว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนตกต่ำลงโดยเฉพาะในไตรมาศสุดท้ายของปี 2551 เหตุผลก็คือ บริษัทขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีต่างก็ขาดทุนจากการที่มูลค่าของ สินค้าคงคลังมีราคาลดลง เช่น น้ำมันดิบมีราคาลดลงจากที่เคยเป็น 140 เหรียญต่อบาเรลเหลือเพียง 40 กว่าเหรียญ เช่นเดียวกับราคาปิโตรเคมีหลาย ๆ อย่าง แต่ถ้ามองต่อไป ความเสี่ยงที่ราคาสินค้าจะลดลงต่อนั้นก็มีน้อยมาก ตรงกันข้าม โอกาสที่ราคาโภคภัณฑ์เหล่านั้นจะเพิ่มขึ้นมีมากกว่าและนั่นก็คือสิ่งที่เกิด ขึ้นในปี 2552 ที่ราคาน้ำมันปรับเพิ่มกลับขึ้นมาเป็น 70-80 เหรียญต่อบาเรลในตอนสิ้นปี 2552 ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นมาก
แต่ปี 2553 นั้น สถานการณ์ไม่แน่นอนแล้ว เพราะราคาน้ำมันและปิโตรเคมีอยู่ในระดับที่ไม่ต่ำ โอกาสที่ราคาจะขึ้นนั้นอาจจะพอ ๆ กับที่ราคาจะลง ดังนั้น กำไรของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีในปี 2553 จึงไม่แน่นอนเหมือนปี 2552 ที่ดูเหมือนว่าจะมีแต่ทางขึ้นทางเดียว ความไม่แน่นอนของกำไรของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ในปี 2553 ทำให้ผมไม่มั่นใจว่าดัชนีตลาดหุ้นของไทยจะวิ่งไปทางไหน สิ่งที่ผมคิดก็คือ โอกาสที่บริษัทจะมีกำไรก้าวกระโดดอย่างในปี 2552 น่าจะน้อย
ด้วยเหตุผลทั้งหลายที่ กล่าวมาทำให้ผมไม่มองโลกในแง่ดีนักสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นในปีนี้ และถ้าจะซื้อหุ้น ผมก็จะเปลี่ยน “โหมด” การลงทุนจากที่เคยเน้นหุ้นที่อาจจะ “หวือหวา” ที่ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นลงรวดเร็วในปี 2552 มาเป็นหุ้นที่ค่อนข้างมั่นคงและสามารถรักษาระดับการจ่ายปันผลในอัตราที่ดี อย่างต่อเนื่องแทน เป้าหมายสำคัญสำหรับการลงทุนในปี 2553 ของผมก็คือ พยายามรักษาความมั่งคั่งที่ได้มาอย่างรวดเร็วในปี 2552 ไว้ และไม่หวังผลเลิศในปี 2553 แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะขายหุ้นทิ้งแล้วถือเป็นเงินสดไว้ เพราะเงินสดนั้นให้ผลตอบแทนน้อยมากเพียง 1-2 % ในขณะที่การลงทุนในหุ้นนั้น เฉพาะปันผลก็ 3-4% เข้าไปแล้ว เหนือสิ่งอื่นใด ผมก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ผมคิดไว้นั้นถูกจริงหรือเปล่า มันอาจจะมีปัจจัยอย่างอื่นที่เราคิดไม่ถึงเข้ามากระทบและกลบสิ่งที่เราคิด ไว้ทั้งหมดได้ ดังนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ Stay Calm, Stay Invest ใจเย็นและลงทุนต่อไป เพียงแต่ต้องระมัดระวังมากขึ้นและไม่หวังผลเลิศ
โลกในมุมมองของ Value Investor 23 มกราคม 53
- sorawut
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2455
- ผู้ติดตาม: 1
เด็กเลี้ยงแกะมาแว้ว (๑๗ เมษ ๕๓)
โพสต์ที่ 58
[quote="nandeandw"]ดูจากในภาพ ไม่น่าจะเลี้ยงอยู่นะครับ
ตัดสินใจว่า ธุรกิจไหนที่คุณต้องการจะเป็นเจ้าของ
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น
และซื้อเมื่อราคาสามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ในอัตราที่เข้าท่าสำหรับการร่วมทำธุรกิจเท่านั้น