หุ้นพวก Cyclical ดู PE ลำบากครับ ต้องดูรอบครับ ว่าอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลง แต่เท่าที่เคยอ่านจาก Peter Lynch เวลาลงทุนหุ้นพวก Cyclical ควรซื้อช่วงที่แย่และขายในช่วงที่ดี หรือซื้อตอนที่ PE สูงและขายที่ PE ต่ำแล้วหุ้นพวก Cyclical
ช่วงที่ดีกับช่วงที่แย่
PE ควรจะอยู่ที่เท่าไหร่หละครับบบ
ครบเครื่อง เรื่อง PE
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 31
เพิ่งเห็นครับ กระทู้นี้ดีมากเลย
In search of super stocks
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 33
มีคำถามครับ แล้ว P/E ของหุ้นที่เราเห็นกันใน"อันดับอุตสาหกรรม"ใน settrade นี่เขาคำนวณกันอย่างไรครับ อย่างเช่น CPF วันที่ 27 สค 2552 Settrade บอกว่า P/E 7.29 นี่คำนวณจาก P วันที่เท่าไหร่ แล้ว EPS ของปีไหนบ้าง (เห็นว่าจ่ายปันผลสองครั้ง)
- sai
- Verified User
- โพสต์: 4090
- ผู้ติดตาม: 2
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 34
p น่าจะใช้ของวันล่าสุดที่ปิดทำการแล้ว ส่วน eps ก็ใช้ย้อนหลัง 4 ไตรมาสล่าสุดครับ :lol:peter_pete เขียน:มีคำถามครับ แล้ว P/E ของหุ้นที่เราเห็นกันใน"อันดับอุตสาหกรรม"ใน settrade นี่เขาคำนวณกันอย่างไรครับ อย่างเช่น CPF วันที่ 27 สค 2552 Settrade บอกว่า P/E 7.29 นี่คำนวณจาก P วันที่เท่าไหร่ แล้ว EPS ของปีไหนบ้าง (เห็นว่าจ่ายปันผลสองครั้ง)
Small Details Make a Big Difference
-
- Verified User
- โพสต์: 495
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 35
โอ้ กำลัง อยากรู้ว่า ว่าจะสังเกต PE ยังไงพอดีเลย
ขอบคุณ พี่ี peter_pete ที่ขุดมาให้อ่าน
ขอบคุณ พี่ี peter_pete ที่ขุดมาให้อ่าน
- vi_tal signs
- Verified User
- โพสต์: 631
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 36
ขอบคุณมากครับ :lol:
มันจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 38
practical มากๆครับ
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1232
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 39
P/E ที่เราเห็น ๆ กันอยู่ส่วนใหญ่จะเป็น Current P/E กล่าวคือ คำนวณจาก ราคาปัจจุบัน หารด้วย EPS สี่ไตรมาส ล่าสุด
แต่การใช้ current P/E อย่างเดียว โดยเลือกซื้อบริษัทที่ P/E ต่ำนั้น ประโยชน์ก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุน ที่คำนวณจากการกลับหัว E/P ออกมาว่า เช่น P/E 10 เกิดจาก P=20 บาท E=2 ได้ E/P = 10% นั่นคือเราลงทุน หุ้นละ 20 บาท ซึ่งนำไปบริหารกิจการแล้วได้กำไรกลับมาปีละ 10%
แต่หากเราคาดหวังจะได้ capital gain จากราคาหุ้นที่ขึ้นไป เราต้องรู้ว่ามันจะขึ้นได้อย่างไร ซึ่งคงไม่พ้น การเพิ่มขึ้นของ E และการทัศนคติของตลาดที่ยินยอมให้ P ขึ้นตามเพื่อคง P/E ไว้ที่จำนวนเดิม หรือ สุงขึ้น
current P/E ยังมีข้อจำกัดเรื่อง บริษัทที่ดีจริง ๆ P/E กลับสูงจนไม่กล้าเข้า หรือ ธุรกิจที่เป็น cycle P/E อาจต่ำ จนหลอกให้เราเข้าไปติดกับ
หากประยุกต์นำ P/E มาใช้สำหรับการมองด้านการเติบโตละก็...
P/E อีกตัวที่มองไปข้างหน้า เขาเรียกันว่า forward P/E
คือการหารราคาปัจจุบัน ด้วย คาดการณ์ EPS ไปข้างหน้า
หากใช้ forward P/E เราก็จะสามารถประยุกต์ใช้ได้กับแม้กระทั้ง ธุรกิจที่เป็น cycle แต่สิ่งนี้ต้องการความสามารถในการอ่านตลาด หากเรามองไปข้างหน้าว่า cycle กำลังเป็นขาลง คำนวณ FWD P/E ออกมา ยังไงก็สูงจนรับไม่ได้
ก็จะไม่หลงไปติดกับ current P/E ที่ดูต่ำยั่วน้ำลาย หรือในขณะเดียวกัน current P/E บางบริษัทที่ดูว่าสูง หากลองคำนวน forward P/E แล้ว อาจจะพบว่าตอนนี้ราคามันยังต่ำ น่าเข้าไปสะสมก็เป็นได้
แต่การใช้ current P/E อย่างเดียว โดยเลือกซื้อบริษัทที่ P/E ต่ำนั้น ประโยชน์ก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุน ที่คำนวณจากการกลับหัว E/P ออกมาว่า เช่น P/E 10 เกิดจาก P=20 บาท E=2 ได้ E/P = 10% นั่นคือเราลงทุน หุ้นละ 20 บาท ซึ่งนำไปบริหารกิจการแล้วได้กำไรกลับมาปีละ 10%
แต่หากเราคาดหวังจะได้ capital gain จากราคาหุ้นที่ขึ้นไป เราต้องรู้ว่ามันจะขึ้นได้อย่างไร ซึ่งคงไม่พ้น การเพิ่มขึ้นของ E และการทัศนคติของตลาดที่ยินยอมให้ P ขึ้นตามเพื่อคง P/E ไว้ที่จำนวนเดิม หรือ สุงขึ้น
current P/E ยังมีข้อจำกัดเรื่อง บริษัทที่ดีจริง ๆ P/E กลับสูงจนไม่กล้าเข้า หรือ ธุรกิจที่เป็น cycle P/E อาจต่ำ จนหลอกให้เราเข้าไปติดกับ
หากประยุกต์นำ P/E มาใช้สำหรับการมองด้านการเติบโตละก็...
P/E อีกตัวที่มองไปข้างหน้า เขาเรียกันว่า forward P/E
คือการหารราคาปัจจุบัน ด้วย คาดการณ์ EPS ไปข้างหน้า
หากใช้ forward P/E เราก็จะสามารถประยุกต์ใช้ได้กับแม้กระทั้ง ธุรกิจที่เป็น cycle แต่สิ่งนี้ต้องการความสามารถในการอ่านตลาด หากเรามองไปข้างหน้าว่า cycle กำลังเป็นขาลง คำนวณ FWD P/E ออกมา ยังไงก็สูงจนรับไม่ได้
ก็จะไม่หลงไปติดกับ current P/E ที่ดูต่ำยั่วน้ำลาย หรือในขณะเดียวกัน current P/E บางบริษัทที่ดูว่าสูง หากลองคำนวน forward P/E แล้ว อาจจะพบว่าตอนนี้ราคามันยังต่ำ น่าเข้าไปสะสมก็เป็นได้
แชทบอทสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.chathoon.com/
https://www.chathoon.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1588
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 40
-ปกติการใช้PEเทียบกับ growth นี่เราใช้ forward หรือ currrent PEครับ??
-เราควรนำ dividend เข้ามาคิดใน forward PE ด้วยมั้ยครับ??
รบกวนถามผู้รู้ครับ
-เราควรนำ dividend เข้ามาคิดใน forward PE ด้วยมั้ยครับ??
รบกวนถามผู้รู้ครับ
คนรู้ไม่พูด คนพูดไม่รู้
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 44
ขอบคุณมากครับ :lol:
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 45
อันนี้เป็นการประเมินค่า P/E แบบท่านดร.นิเวศน์ คัดมาให้อ่านครับ
วิเคราะห์หุ้นแบบ VI / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ value investor 8 มีนาคม 2552
นักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่บริหารกองทุนรวมที่ต้องลงทุนซื้อหุ้นจำนวน มากต่างก็อาศัยบทวิเคราะห์หุ้นของ นักวิเคราะห์หุ้นมือ อาชีพ แต่ผมเองแทบไม่ดูบทวิเคราะห์เหล่านั้นเลย เหตุผลก็เพราะวิธีการลงทุนของผมนั้น เป็นการลงทุน “ซื้อธุรกิจ” ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว อย่างน้อยก็ 3- 5 ปี ขึ้นไป ซึ่งไม่มีบทวิเคราะห์ไหนทำ บทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์นั้นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด มองไปที่ผลประกอบการอย่างมากก็ 1-2 ปีข้างหน้า ดังนั้น พวกเขาก็มักจะดูว่าบริษัทจะมีกำไรเท่าไรอิงจากผลประกอบการในปีปัจจุบัน โดยนำเอาภาวะของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาเป็นตัวประกอบ ส่วนผมเองนั้น ผมจะสนใจในด้านของ “โครงสร้าง” ซึ่งเป็นเรื่องที่ถาวรกว่าและไม่ค่อยจะขึ้นกับภาวะแวดล้อมที่จะปรับเปลี่ยน ไปเรื่อย ๆ ซึ่งโดยนัยนี้ ผมจึงไม่ค่อยสนใจภาวะเศรษฐกิจที่มีขึ้นมีลง แต่ผมจะสนใจโครงสร้างของอุตสาหกรรมว่า ในธุรกิจนั้นมีการแข่งขันกันอย่างไร สนใจว่าบริษัทมีจุดเด่นหรือจุดอ่อนอย่างไร ใครคือ “ผู้ชนะ” หรือจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน
การวิเคราะห์หุ้นแต่ ละตัวนั้น แน่นอน จะต้องดูรายละเอียดของแต่ละบริษัท อย่างไรก็ตาม มี “โครงสร้าง” และข้อมูลของธุรกิจบางอย่างที่เป็นตัวบอกว่าเรากำลังเจอธุรกิจที่ดีหรือไม่ดีได้ ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถนำมาให้คะแนนเพื่อที่จะสรุปว่าบริษัทที่เราดูอยู่ เป็นอย่างไร ลองมาดูรายการที่สำคัญ ๆ
ข้อมูลตัวแรกก็คือ กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ roe นี่คือข้อมูลที่ดูง่ายและมีประสิทธิภาพสูง บริษัทที่มี roe สูงคือบริษัทที่ดี ยิ่งสูงก็ยิ่งดี แต่ต้องดูว่าเป็นการสูงอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นปกติ ไม่ใช่สูงแค่ปีสองปีหรือในยามที่อุตสาหกรรมกำลังเป็นขาขึ้น หลักเกณฑ์ง่าย ๆ ในการให้คะแนนก็คือ ถ้าบริษัทมี roe ตั้งแต่ 15% ขึ้นไป เราก็ให้คะแนน บวกหนึ่ง ถ้า roe ตั้งแต่ 10-15 ให้คะแนนเท่ากับศูนย์ ถ้า roe ต่ำกว่า 10% ลงมาให้คะแนนติดลบหนึ่ง คะแนนที่ได้นี้จะเก็บไว้รวมกับคะแนนของข้อมูลตัวต่อไปเพื่อหาคะแนนรวมของ บริษัท
ข้อมูลตัวที่สองก็คือ กระแสเงินสดของกิจการ ถ้ากิจการขายสินค้าแล้วได้เป็นเงินสดในขณะที่เวลาซื้อสินค้าจ่ายเป็นเงิน เชื่อ กระแสเงินสดของกิจการก็จะดี ความจำเป็นต้องระดมเงินมาใช้จากภายนอกเช่นการกู้เงินหรือออกหุ้นก็ จะน้อยและจะเป็นผลดีต่อบริษัท เกณฑ์แบบง่าย ๆ ก็คือ ถ้าบริษัทมีเจ้าหนี้การค้ามากกว่าลูกหนี้การค้ามากเช่นในกรณีของผู้ค้าปลีก หรือบริษัทที่ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงซึ่งทำให้กระแสเงินสดของบริษัทดี ให้คะแนน บวกหนึ่ง ถ้าเจ้าหนี้และลูกหนี้พอ ๆ กันเช่นในกรณีของโรงงานผู้ผลิตจำนวนมาก แบบนี้ให้คะแนนศูนย์ ในกรณีของบริษัทที่มีลูกหนี้การค้ามากแต่มีเจ้าหนี้การค้าน้อย นั่นคือคนที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแต่ต้องจ่ายค่าสินค้าหรือวัตถุดิบในการ ผลิตเป็นเงินสด เช่น ผู้ค้าส่งที่นำสินค้ามาจากต่างประเทศ แบบนี้ก็ให้คะแนน ลบหนึ่ง
ข้อมูลตัวที่สามซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างสำคัญก็คือ ความสามารถในการปรับราคาสินค้าตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ถ้าบริษัทสามารถปรับราคาได้ค่อนข้างจะเร็วหรือทันที ความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ไม่มีและจะทำให้สามารถรักษา ระดับของกำไรได้ค่อนข้างแน่นอน บริษัทที่มีลักษณะของธุรกิจแบบนี้มักจะมีอำนาจทางการตลาดสูง เราให้คะแนน บวกหนึ่ง บริษัทที่สามารถปรับราคาได้แต่ต้องใช้เวลาพอสมควรเช่นภายใน 3 เดือน แบบนี้ให้คะแนนศูนย์ นี่คือบริษัททั่ว ๆ ไปที่มักไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ซื้อได้ทันทีเพราะมี การแข่งขันทางธุรกิจสูง บริษัทที่ไม่มีอำนาจทางการตลาดเลยและเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่บริษัทไม่สามารถ กำหนดราคาได้เลย เช่น ราคาน้ำมัน ถ่านหิน เหล็ก และผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆ แบบนี้เราให้คะแนน ติดลบหนึ่ง
บริษัทที่เป็น dominant firm คือมีขนาดใหญ่กว่าอันดับสองมาก มักจะมีความได้เปรียบในหลาย ๆ ด้าน เฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของต้นทุน ดังนั้น เราให้คะแนน บวกหนึ่ง บริษัทตั้งแต่อันดับหนึ่งแต่ไม่ใช่ dominant firm จนถึงอันดับประมาณ 3 ของอุตสาหกรรม ให้คะแนนศูนย์ บริษัทที่มีอันดับหลังจากนั้นให้คะแนน ติดลบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราพิสูจน์หรือเชื่อได้ว่าขนาดของกิจการไม่ได้มีผลต่อต้นทุนหรือความได้ เปรียบอย่างอื่นในการแข่งขัน เราก็ให้คะแนนศูนย์กับทุกบริษัท
ข้อมูลตัวที่ห้า คือข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัท กิจการบางแห่งเป็นกิจการที่ขยายงานได้โดย “ไม่ต้องลงทุน” นี่คือกิจการที่ใช้หรือต้องลงทุนใน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร และเงินทุนหมุนเวียนของตนเองน้อย และภายในเวลาเพียง 2-3 ปี ก็ได้เงินคืนมาหมด เช่น กิจการค้าปลีกที่อาศัยการเช่าสถานที่เปิดร้านค้าเป็นหลัก กิจการแบบนี้เป็นกิจการที่ดีเพราะจะสามารถขยายงานไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ต้องกู้หรือเพิ่มทุน ทำให้สามารถจ่ายปันผลได้สูง แบบนี้ให้คะแนน บวกหนึ่ง กิจการที่เวลาขยายงานต้องลงทุนสูงพอสมควรอย่างเช่นโรงงานที่ผลิตสินค้า ธรรมดา ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีมากนักเช่นผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือผลิตไฟฟ้าหรือน้ำประปา แบบนี้ให้คะแนน ศูนย์ กิจการที่เป็นโรงงานที่ซับซ้อนและเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเร็วทำ ให้ต้องอัพเกรดโดยการลงทุนอุปกรณ์ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ แบบนี้ให้คะแนน ลบหนึ่ง
ข้อมูลตัวสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงที่เป็นข้อมูลสำคัญก็คือ การเจริญเติบโต กิจการที่โตเร็ว นั่นคือ ในระยะยาวโตเร็วกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจหรือ gdp ตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไป นั่นคือยอดขายโตประมาณปีละ 15% ให้คะแนน บวกหนึ่ง ยอดขายโตตั้งแต่ 5-15% ต่อปีโดยเฉลี่ยให้คะแนน ศูนย์ ยอดขายโตต่ำกว่า 5% ต่อปีในระยะยาวให้คะแนน ลบหนึ่ง การเติบโตของยอดขายที่ว่านี้ต้องเป็นการเติบโตแบบทบต้นและระยะยาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก
รวมคะแนนทั้งหมดของบริษัทที่เราวิเคราะห์ก็จะได้คะแนนที่อาจจะเป็นบวก ลบ หรือเป็น ศูนย์ บริษัทที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ บวก 6 คะแนน ต่ำสุดก็จะได้ ลบ 6 คะแนน ซึ่งคงหาได้ยากพอควร เอาตัวเลขที่ได้บวกด้วย 10 ก็จะได้ค่า pe สูงสุดที่เราจะซื้อหุ้นตัว นั้น นั่นแปลว่า บริษัทที่ดีที่สุดได้คะแนนสูงสุดเราจะซื้อต่อเมื่อ pe ไม่เกิน 16 เท่า บริษัทธรรมดา ๆ ที่คะแนนไม่บวกหรือลบเราก็จะซื้อต่อเมื่อ pe ไม่เกิน 10 เท่า และบริษัทที่แย่มากที่สุดนั้น เราไม่ควรซื้อที่ pe เกิน 4 เท่า และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีวิเคราะห์และซื้อหุ้นแบบ vi เวอร์ชั่นหนึ่ง ที่หยาบ ๆ และคิดในใจได้
_________________
วิเคราะห์หุ้นแบบ VI / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ value investor 8 มีนาคม 2552
นักลงทุนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่บริหารกองทุนรวมที่ต้องลงทุนซื้อหุ้นจำนวน มากต่างก็อาศัยบทวิเคราะห์หุ้นของ นักวิเคราะห์หุ้นมือ อาชีพ แต่ผมเองแทบไม่ดูบทวิเคราะห์เหล่านั้นเลย เหตุผลก็เพราะวิธีการลงทุนของผมนั้น เป็นการลงทุน “ซื้อธุรกิจ” ซึ่งเป็นการลงทุนระยะยาว อย่างน้อยก็ 3- 5 ปี ขึ้นไป ซึ่งไม่มีบทวิเคราะห์ไหนทำ บทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์นั้นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด มองไปที่ผลประกอบการอย่างมากก็ 1-2 ปีข้างหน้า ดังนั้น พวกเขาก็มักจะดูว่าบริษัทจะมีกำไรเท่าไรอิงจากผลประกอบการในปีปัจจุบัน โดยนำเอาภาวะของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาเป็นตัวประกอบ ส่วนผมเองนั้น ผมจะสนใจในด้านของ “โครงสร้าง” ซึ่งเป็นเรื่องที่ถาวรกว่าและไม่ค่อยจะขึ้นกับภาวะแวดล้อมที่จะปรับเปลี่ยน ไปเรื่อย ๆ ซึ่งโดยนัยนี้ ผมจึงไม่ค่อยสนใจภาวะเศรษฐกิจที่มีขึ้นมีลง แต่ผมจะสนใจโครงสร้างของอุตสาหกรรมว่า ในธุรกิจนั้นมีการแข่งขันกันอย่างไร สนใจว่าบริษัทมีจุดเด่นหรือจุดอ่อนอย่างไร ใครคือ “ผู้ชนะ” หรือจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน
การวิเคราะห์หุ้นแต่ ละตัวนั้น แน่นอน จะต้องดูรายละเอียดของแต่ละบริษัท อย่างไรก็ตาม มี “โครงสร้าง” และข้อมูลของธุรกิจบางอย่างที่เป็นตัวบอกว่าเรากำลังเจอธุรกิจที่ดีหรือไม่ดีได้ ข้อมูลเหล่านี้เราสามารถนำมาให้คะแนนเพื่อที่จะสรุปว่าบริษัทที่เราดูอยู่ เป็นอย่างไร ลองมาดูรายการที่สำคัญ ๆ
ข้อมูลตัวแรกก็คือ กำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นหรือ roe นี่คือข้อมูลที่ดูง่ายและมีประสิทธิภาพสูง บริษัทที่มี roe สูงคือบริษัทที่ดี ยิ่งสูงก็ยิ่งดี แต่ต้องดูว่าเป็นการสูงอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นปกติ ไม่ใช่สูงแค่ปีสองปีหรือในยามที่อุตสาหกรรมกำลังเป็นขาขึ้น หลักเกณฑ์ง่าย ๆ ในการให้คะแนนก็คือ ถ้าบริษัทมี roe ตั้งแต่ 15% ขึ้นไป เราก็ให้คะแนน บวกหนึ่ง ถ้า roe ตั้งแต่ 10-15 ให้คะแนนเท่ากับศูนย์ ถ้า roe ต่ำกว่า 10% ลงมาให้คะแนนติดลบหนึ่ง คะแนนที่ได้นี้จะเก็บไว้รวมกับคะแนนของข้อมูลตัวต่อไปเพื่อหาคะแนนรวมของ บริษัท
ข้อมูลตัวที่สองก็คือ กระแสเงินสดของกิจการ ถ้ากิจการขายสินค้าแล้วได้เป็นเงินสดในขณะที่เวลาซื้อสินค้าจ่ายเป็นเงิน เชื่อ กระแสเงินสดของกิจการก็จะดี ความจำเป็นต้องระดมเงินมาใช้จากภายนอกเช่นการกู้เงินหรือออกหุ้นก็ จะน้อยและจะเป็นผลดีต่อบริษัท เกณฑ์แบบง่าย ๆ ก็คือ ถ้าบริษัทมีเจ้าหนี้การค้ามากกว่าลูกหนี้การค้ามากเช่นในกรณีของผู้ค้าปลีก หรือบริษัทที่ขายให้กับผู้บริโภคโดยตรงซึ่งทำให้กระแสเงินสดของบริษัทดี ให้คะแนน บวกหนึ่ง ถ้าเจ้าหนี้และลูกหนี้พอ ๆ กันเช่นในกรณีของโรงงานผู้ผลิตจำนวนมาก แบบนี้ให้คะแนนศูนย์ ในกรณีของบริษัทที่มีลูกหนี้การค้ามากแต่มีเจ้าหนี้การค้าน้อย นั่นคือคนที่ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อแต่ต้องจ่ายค่าสินค้าหรือวัตถุดิบในการ ผลิตเป็นเงินสด เช่น ผู้ค้าส่งที่นำสินค้ามาจากต่างประเทศ แบบนี้ก็ให้คะแนน ลบหนึ่ง
ข้อมูลตัวที่สามซึ่งผมคิดว่าค่อนข้างสำคัญก็คือ ความสามารถในการปรับราคาสินค้าตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ถ้าบริษัทสามารถปรับราคาได้ค่อนข้างจะเร็วหรือทันที ความเสี่ยงที่บริษัทอาจจะขาดทุนจากสต็อกสินค้าก็ไม่มีและจะทำให้สามารถรักษา ระดับของกำไรได้ค่อนข้างแน่นอน บริษัทที่มีลักษณะของธุรกิจแบบนี้มักจะมีอำนาจทางการตลาดสูง เราให้คะแนน บวกหนึ่ง บริษัทที่สามารถปรับราคาได้แต่ต้องใช้เวลาพอสมควรเช่นภายใน 3 เดือน แบบนี้ให้คะแนนศูนย์ นี่คือบริษัททั่ว ๆ ไปที่มักไม่สามารถส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ซื้อได้ทันทีเพราะมี การแข่งขันทางธุรกิจสูง บริษัทที่ไม่มีอำนาจทางการตลาดเลยและเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่บริษัทไม่สามารถ กำหนดราคาได้เลย เช่น ราคาน้ำมัน ถ่านหิน เหล็ก และผลิตผลทางการเกษตรต่าง ๆ แบบนี้เราให้คะแนน ติดลบหนึ่ง
บริษัทที่เป็น dominant firm คือมีขนาดใหญ่กว่าอันดับสองมาก มักจะมีความได้เปรียบในหลาย ๆ ด้าน เฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของต้นทุน ดังนั้น เราให้คะแนน บวกหนึ่ง บริษัทตั้งแต่อันดับหนึ่งแต่ไม่ใช่ dominant firm จนถึงอันดับประมาณ 3 ของอุตสาหกรรม ให้คะแนนศูนย์ บริษัทที่มีอันดับหลังจากนั้นให้คะแนน ติดลบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าเราพิสูจน์หรือเชื่อได้ว่าขนาดของกิจการไม่ได้มีผลต่อต้นทุนหรือความได้ เปรียบอย่างอื่นในการแข่งขัน เราก็ให้คะแนนศูนย์กับทุกบริษัท
ข้อมูลตัวที่ห้า คือข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนของบริษัท กิจการบางแห่งเป็นกิจการที่ขยายงานได้โดย “ไม่ต้องลงทุน” นี่คือกิจการที่ใช้หรือต้องลงทุนใน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร และเงินทุนหมุนเวียนของตนเองน้อย และภายในเวลาเพียง 2-3 ปี ก็ได้เงินคืนมาหมด เช่น กิจการค้าปลีกที่อาศัยการเช่าสถานที่เปิดร้านค้าเป็นหลัก กิจการแบบนี้เป็นกิจการที่ดีเพราะจะสามารถขยายงานไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ต้องกู้หรือเพิ่มทุน ทำให้สามารถจ่ายปันผลได้สูง แบบนี้ให้คะแนน บวกหนึ่ง กิจการที่เวลาขยายงานต้องลงทุนสูงพอสมควรอย่างเช่นโรงงานที่ผลิตสินค้า ธรรมดา ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีมากนักเช่นผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือผลิตไฟฟ้าหรือน้ำประปา แบบนี้ให้คะแนน ศูนย์ กิจการที่เป็นโรงงานที่ซับซ้อนและเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปเร็วทำ ให้ต้องอัพเกรดโดยการลงทุนอุปกรณ์ใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ แบบนี้ให้คะแนน ลบหนึ่ง
ข้อมูลตัวสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงที่เป็นข้อมูลสำคัญก็คือ การเจริญเติบโต กิจการที่โตเร็ว นั่นคือ ในระยะยาวโตเร็วกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจหรือ gdp ตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไป นั่นคือยอดขายโตประมาณปีละ 15% ให้คะแนน บวกหนึ่ง ยอดขายโตตั้งแต่ 5-15% ต่อปีโดยเฉลี่ยให้คะแนน ศูนย์ ยอดขายโตต่ำกว่า 5% ต่อปีในระยะยาวให้คะแนน ลบหนึ่ง การเติบโตของยอดขายที่ว่านี้ต้องเป็นการเติบโตแบบทบต้นและระยะยาวตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก
รวมคะแนนทั้งหมดของบริษัทที่เราวิเคราะห์ก็จะได้คะแนนที่อาจจะเป็นบวก ลบ หรือเป็น ศูนย์ บริษัทที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้ บวก 6 คะแนน ต่ำสุดก็จะได้ ลบ 6 คะแนน ซึ่งคงหาได้ยากพอควร เอาตัวเลขที่ได้บวกด้วย 10 ก็จะได้ค่า pe สูงสุดที่เราจะซื้อหุ้นตัว นั้น นั่นแปลว่า บริษัทที่ดีที่สุดได้คะแนนสูงสุดเราจะซื้อต่อเมื่อ pe ไม่เกิน 16 เท่า บริษัทธรรมดา ๆ ที่คะแนนไม่บวกหรือลบเราก็จะซื้อต่อเมื่อ pe ไม่เกิน 10 เท่า และบริษัทที่แย่มากที่สุดนั้น เราไม่ควรซื้อที่ pe เกิน 4 เท่า และทั้งหมดนี้ก็คือวิธีวิเคราะห์และซื้อหุ้นแบบ vi เวอร์ชั่นหนึ่ง ที่หยาบ ๆ และคิดในใจได้
_________________
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 46
สังเกตุไหมครับว่าแต่ละปัจจัยที่ท่านพูด มันจะสะท้อนออกมาที่ Free cash flow ของบริษัท มันก็คือการประเมินมูลค่าแบบ DCF โดยอ้อม ๆผ่านการตกผลึกความคิดเรื่อง P/E สุดยอดครับ ... :D
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
-
- Verified User
- โพสต์: 35
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 48
อ่านทั้งกระทู้แล้วได้ความรู้เต็มแน่นเลย
ความรู้คือสิ่งที่ควรแบ่งปัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
gkenginvest.blogspot.com
gkengbusinessadministration.blogspot.com
gkenginvest.blogspot.com
gkengbusinessadministration.blogspot.com
- CHOOKY
- Verified User
- โพสต์: 540
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 50
ขอบคุณมากครับ ที่กรุณา ขุดขึ้นมาให้อ่าน
"ค้นหาคุณค่าให้พบ แล้วซื้อหุ้นกิจการที่ดีนั้น ซึ่งมีกำไรต่อเนื่อง ผู้บริหารมีคุณธรรมและความสามารถ ในเวลาที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของกิจการ และถือมันไว้ตราบที่มันยังเป็นธุรกิจที่ดี และยังมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง"
- nACrophiles_117
- Verified User
- โพสต์: 1362
- ผู้ติดตาม: 0
ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 52
กระทู้ดีมากเลย ขอบคุณพี่ๆทุกคนครับ
- untrataro25
- Verified User
- โพสต์: 952
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 59
ขอบคุณมากครับ
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ครบเครื่อง เรื่อง PE
โพสต์ที่ 60
ขอบคุณครับ